11.03.2022 Views

หลักเมือง กุมภาพันธ์ 65

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สำนักงำนปลัดกระทรวงกลำโหม

หน่วยงำนนโยบำยและยุทธศำสตร์ควำมมั่นคง

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ปีที่ ๓๑ ฉบับที ่ ๓๗๑ หลักเมือง กุมภำพันธ์ ๒๕๖๕

www.lakmuangonline.com


๓๓ กุมภำพันธ์ วันทหำรผ่ำนศึก

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ๒ มีทหารไทยจานวนมากที่ถูกปลดปล่อยจากการ

มีทหารไทยจานวนมากที่ถูกปลดปล่อยจากการ

เป็นทหาร จึงได้มีเสียงเรียกร้องขอให้ทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ

ดังนั้น ดังนั้น ในปี ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ กระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

ในด้านนี้โดยตรงจึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่กลับจากปฏิบัติ

การรบและช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบแต่ก็เป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการ

ต่อมากระทรวงกลาโหมได้เสนอ พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์

ทหารผ่านศึกขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ใน

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๓ พ.ศ.๒๔๙๑ จึงได้ยึดเอาวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๓ ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก

ทำไมต้องดอกป๊อปปี้ ทำไมต้องดอกป๊อปปี้

ในทางสากลแล้วถือว่าเป็นดอกไม้ที่สื่อความหมายถึงทหารผ่านศึก ผู้พลีเลือดเนื้อ

และชีวิต เพื่อปกป้องมาตุภูมิอันเป็นที่รัก


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor Consultants

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.วัันชััย เรืืองตรืะกููล

พล.อ.อ.สุุวิิชั จัันทปรืะดิิษฐ์์

พล.อ.ไพบููลย์ เอมพันธุ์ุ์

พล.อ.ยุทธุ์ศัักดิ์์ ศัศัิปรืะภา

พล.อ.ธุ์ีรืเดิชั มีเพียรื

พล.อ.ธุ์วััชั เกูษร์์อังกููรื

พล.อ.สััมพันธุ์์ บุุญญานันต์

พล.อ.อูดิ เบูืองบูน

พล.อ.สิิริิชััย ธุ์ัญญสิิริิ

พล.อ.วิินัย ภัททิยกุุล

พล.อ.อภิชัาต เพ็ญกิิตติ

พล.อ.กิิตติพงษ์ เกูษโกูวัิท

พล.อ.เสุถีียรื เพิมทองอินทร์์

พล.อ.วิิทวััสุ รืชัตะนันทน์

พล.อ.ทนงศัักดิ์์ อภิรัักษ์์โยธุ์ิน

พล.อ.นิพัทธุ์์ ทองเล็กู

พล.อ.สุุรืศัักดิ์์ กูาญจันรััตน์

พล.อ.ศิิริิชััย ดิิษฐ์กูุล

พล.อ.ปรีีชัา จัันทร์์โอชัา

พล.อ.ชััยชัาญ ช้้างมงคล

พล.อ.เทพพงศ์์ ทิพยจัันทร์์

พล.อ.ณััฐ์ อินทรืเจัรืิญ

ที่ปรึกษา

พล.อ.วัรืเกูียรืติ รืัตนานนท์

พล.อ.อ.สุฤษฎ์พงศั์ วััฒนวัรืางกููรื

พล.รื.อ.มนัสุวัี บููรืณัพงศั์ รื.น.

พล.อ.สุรืาวัุธุ์ รืัชัตะนาวัิน

พล.อ.สุนิธุ์ชันกู สุังขจัันทรื์

พล.อ.นุชัิต ศัรืีบูุญสุ่ง

พล.อ.จัิรืวัิทย์ เดิชัจัรืัสุศัรืี

พล.อ.อดิินันท์ ไชัยฤกูษ์

พล.อ.ไพบููลย์ วัรืวัรืรืณัปรืีชัา

พล.อ.ปรืะชัาพัฒน์ วััจันะรืัตน์

พล.ท.กูัมปนาท บูัวัชัุม

พล.ท.สุุรืศัักูดิิ์ วัรืรืณัสุมบููรืณั์

พล.ท.เจัษฎา เปรืมนิรืันดิรื

พล.ท.เรืิงฤทธุ์ิ์ บูัญญัติ

พล.ท.เดิชันิธุ์ิศั เหลืองงามขำา

พล.ท.สุมเกูียรืติ สุัมพันธุ์์

พล.ท.ภัทรืพล ภัทรืพัลลภ

พล.ท.รื่มเกูล้า ปั้นดิี

พล.ท.คมสุัน ศัรืียานนท์

พล.ท.จัิรืศัักูดิิ์ ไกูรืทุกูข์รืาง

พล.ท.ณััฐ์พล เกูิดิชัูชัื่น

พล.ต.ปพน ไชัยเศัรืษฐ์

พล.ต.พจัน์ เอมพันธุ์ุ์

พล.ต.ปรืะจัวับู จัันต๊ะมี

พล.ต.กูานต์นาท นิกูรืยานนท์

พล.ต.หญิง อิษฎา ศัิรืิมนตรืี

ผู้้อำำานวยการ

พล.ต.พัฒนชััย จิินตกูานนท์

รอำงผู้้อำำานวยการ

พ.อ.ชััยวััฒน์ สุวั่างศัรืี

พ.อ.จิิตนาถี ปุณัโณัทกู

กอำงจััดการ

ผู้้จััดการ

น.อ.กูฤษณ์์ ไชัยสุมบััติ

พ.อ.สุุวัเทพ ศิิริิสุรืณั์

พ.อ.สุาโรืจัน์ ธุ์ีรืเนตรื

ประจำำากอำงจััดการ

พ.อ.หญิง สิิริิณีี จังอาสุาชัาติ

พ.ท.ไพบููลย์ รุ่่งโรืจัน์

เหรัญญิก

พ.อ.กูณัพ หงษ์วัิไล

ฝ่่ายกฎหมาย

พล.ต.นิติน ออรุ่่งโรืจัน์

พิิสููจน ์อัักษร

พ.อ.หญิง ใจทิิพย์ อุไพพานิชั

กอำงบรรณาธิิการ

บรรณาธิิการ

น.อ.สููงศัักดิ์์ อัครืปรีีดีี รื.น.

รอำงบรรณาธิิการ

พ.อ.ธุ์นะศัักดิ์์ ปรืะดิิษฐ์์ธุ์รืรืม

น.อ.วััฒนสิิน ปัตพี รื.น.

ผู้้ช่่วยบรรณาธิิการ

น.ท.หญิง กััญญารััตน์ ชููชัาติ รื.น.

ประจำำากอำงบรรณาธิิการ

น.ท.หญิง ฉัันทนี บุุญปักษ์์

พ.ท.หญิง ลลิดิา กล้้าหาญ

รื.ต.หญิง ภัทชัญา นิตยสุุทธิ์์

พ.จั.อ.สุุพจน์์ นุตโรื

จั.ท.หญิง ศุุภรืเพ็ญ สุุพรืรืณั

กอำงบรรณาธิิการ

กูองผลิตสุือ

สำำนัักูงานเลขานุกูารื

สำำนัักูงานปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

โทรื. ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ โทรื.ทหารื ๕๒ ๕๒๐๑๐

สุามารืถีสุ่งขอมูลและแสุดิงควัามคิดิเห็นต่างๆ

ไดิที Email: Printing.opsd@gmail.com

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor’s talk

สุวััสุดิีท่านผูอ่าน กล ับูมาพบูกูันอีกูครืังพร้้อมดิวัยเทศักูาลตรุุษจีีน

(Chinese New Year) ตามมาดิวัยวัันแห่งควัามรัักู (Valentine’s day)

ซึ่่งปรืะเทศัไทยเรืาไดิซึ่่มซึ่ับูวััฒนธุ์รืรืมของทังดิินแดินฝั่่งตะวัันออกูและตะวัันตกู

มาปรืะยุกต ์เขากัับูวัิถีีชีีวิิตของแต่ละครือบูครััวัมาอย่างยาวันาน และยังมีวััน

สำำคััญทางพรืะพุทธุ์ศัาสุนาในห้้วงกูลางเดืือนกุุมภาพันธุ์์ คือ วัันมาฆบููชัา (Makha

Bucha Day) ทีตรืงกัับูวัันข่ น ๑๕ คำา เดืือน ๓ เป็นวัันที พรืะสุงฆ์สุาวักูของ

พรืะพุทธุ์เจ้้าจำำานวัน ๑,๒๕๐ รููปมาปรืะชุุมกัันโดิยมิไดินัดิหมาย และพรืะพุทธุ์เจ้้า

ทรืงแสุดิงโอวัาทปาฏิิโมกข์์ ซึ่่งถืือว่่า เป็นหัวัใจัของพรืะพุทธุ์ศัาสุนาเลยทีเดีียวั

สำำาหรัับูในกิิจักูารืดิานกูารืทหารื มีวัันสำำคััญ คือ “วัันทหารผ่่านศั่กู” ซึ่่งตรืงกัับู

วัันที ๓ กุุมภาพันธุ์์ของทุกปีี เป็นวัันทีรืะลึึกและยกย่่องทหารืทีเสีียชีีวิิตในสุงครืาม

เพือเป็นกูารืรืะลึึกถึึงวีีรืกูรืรืมและเป็นขวััญกำำล ังใจักูับูทหารืที ได้้รัับูบูาดิเจ็็บู

จัากูกูารืปฏิิบััติหนาทีตามแนวัชัายแดินและพืนทีเสุียงภัย และรััฐ์บูาลได้้ก่่อตัง

“องค์กูารืสุงเครืาะห์ทหารผ่่านศั่กู” ข่น วัารืสุารืหลักูเมือง จึึงขอเชิิญชัวันผูอ่าน

ทุกท ่าน เสีียสุละทุนทรััพย์เล็กูๆ นอยๆ อุดิหนุนดิอกป๊๊อปปี้ เพื อนำาไปดููแล

ครือบูครััวัทหารผ่่านศั่กูเหล่านันกัันดิวัยนะครัับู

ตนปีทีผ่านมา หน่วัยงานรืาชักูารืและปรืะชัาชัน มีบูทเรีียนทีตองพ่ง

รืะวัังและมีควัามตรืะหนักูในหลายเรืืองทังจัากูสุถีานกูารืณั์โควิิดิ-๑๙ สุายพันธุ์ุ์

โอมิครือนแม้้จะส่่งผลกูรืะทบูไม่มากูแต่มีกูารืแพร่่กูรืะจัายทีรืวัดิเร็็วั ผูทีหายป่วัย

ยังมีภาวัะจัากูโควิิดิ อาทิ ปวัดิศัีรืษะ เหนือย อ่อนเพลียง่าย หายใจัไม่อิม หรืือ

อาจัรืับูรืสุชัาติและรัับกลิ่่นเปลียนไป

จัากูควัามเขมขนในสุถีานกูารืณั์บ้้านเมืองสู่่ควัามเขมขนของเนือหาใน

วัารืสุารืหลักูเมืองฉับูับูนี ไม่ควัรืพลาดิทีจัะอ่านเรืืองรืาวัดิี ๆ อย่างเช่่น กูองอาสุา

รัักูษาดิินแดิน วัันทหารผ่่านศั่กู สุงครืามต่อตานกูารืกู่อกูารืรืายฯ และสุมรภููมิ

เขาคอทีผูเขียนคืออดีีตทหารืพรืาน ซึ่่งน่าติดิตามเป็นอย่างมากู จันกูวั่าจัะ

พบูกูันใหม่ ฉับูับูหนา...

ซึ่ินเจีียยู่อี ซึ่ินนีฮวัดิไช้้ อังเปาตัวัตัวัไก๊๊ หลงหม่าจิินเสิิน

(เดืือนใหม่นีขอให้้สมปรืารืถีนา ปีใหม่นีขอใหรืำารืวัย

ขออังเปาเยอะ ๆ ขอใหสุุขภาพแข็งแรืง)

๒๐

๑๒

วัันเกูษตรืแห่งชัาติ..

สืืบูพรืะรืาชัปณิิธุ์านเพือกิิจักูารืเกูษตรืไทย

กูองอาสุารัักูษาดิินแดิน...กำำลัังสำำารืองแห่งแว่่นแคว้้นไทย

กูรืมวิิทยาศัาสุตร์์และเทคโนโลยีกูลาโหม

ครืบูรือบู ๓๑ ปี ๑๒ กุุมภาพันธุ์์ ๒๕๖๕

๑๐

ทหารืเรืือทีอุมรืะเบิิดิบูนอนุสุาวัรืีย์ชััยสุมรภููมิคือใครื

ทีทำาให ศัาสุตรืาจัารย์์ ศิิลป์ พีรืะศัรืี เกิิดิควัามปรืะทับูใจั

ปั้นท่าทางเขาไว้้

๑๒

เสุรืิมสิิริิมงคล รือบูเกูาะรััตนโกูสุินทร์์ (ตอนที ๘)

“อิมบุุญ สุุขใจั ในยุค New Normal”

๑๔

กลัับูหลังหัน...กัับพิิพิธุ์ภัณัฑ์์กูลาโหม

ปืนใหญ่โบูรืาณัหนาอาคารืศัาลาว่่ากูารืกูลาโหม (ตอนที ๗)

ตอน : ปืนใหญ่พรืะพิรุุณั...ปืนใหญ่ทีเป็นทีรืูจัักู

มาตังแต่สมััยอยุธุ์ยา


๓๐ ๓๘

๕๖

๔๒

๑๖

เชิิดิชัูเกีียรติิทหารืกูลา

๓ กุุมภาพันธุ์์ วัันทหารผ่่านศั่กู

๑๘

โครืงกูารพััฒนาเครืืองคนหาอุปกูรืณั์

อิเล็กูทรือนิกูสุ์โดิยกูารืวััดค่่าฮาร์์โมนิคสุะทอน

๒๐

สุงครืามต่อตานกูารืกู่อกูารืรืาย

กัับูบูทบูาทของซึ่าอุดีีอารืะเบีีย

Global War on Terror : Saudi Arabia

๒๔

ผูนำาจัิตสุาธุ์ารืณัะด้้านควัามมันคง :

ผูนำาของผูนำยุุคดิิจิิทัลในกูารนำำาพาสัังคมไทย

ใหพนวิิกูฤตและก้้าวัสุู่กูารืเป็นปรืะเทศัทีเจัรืิญ

ยิงใหญ่ในโลกูหลังยุคโควิิดิ-19 (ตอนจับู)

๒๘

พิพิธุ์ภัณัฑ์์กูองทัพบูกูเฉลิิมพรืะเกีียรติิ

๕๒

๓๔

๓๐

สมุุดิปกูขาวัของจีีน เรืือง

“ควัามร่่วัมมือเพือกูารพััฒนารืะหว่่างปรืะเทศั

ของจีีนในยุคใหม่” (ตอนที ๒)

๓๔

รืวัมพลัง

๓๖

เปิดิปรืะตูสู่่เทคโนโลยีป้องกัันปรืะเทศั

พลอากูาศัเอกู ดิรื.ปรีีชัา ปรืะดัับมุุข

ผูอำานวัยกูารืสุถีาบัันเทคโนโลยี

ป้องกัันปรืะเทศั รัับูรืางวััล

“Executive of The Year 2021”

รืางวััลเกีียรติิยศั...บูนเส้้นทางชีีวิิต

๓๘

ยุทธุ์กูารืเสืือดำำาสุมรภููมิเขาคอ ตอนที ๑

ดัับูไฟเขาคอดิวัยศัาสุตร์์พรืะรืาชัารััชักูาลที ๙

ขอคิดิเห็นและบูทควัามที นำาลงในวัารืสุารืหลักูเมืองเป็นของผูเขียน มิใช่่ขอคิดิเห็นหรืือนโยบูายของหน่วัยงานของรััฐ์ และมิไดิผูกพััน

ต่อรืาชักูารืแต่อย่างใดิ สำำนัักูงานเลขานุกูารืสุำนัักูงานปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม ถีนนสุนามไชัย เขตพรืะนครื กูรืุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทรื./โทรืสุารื ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm

พิมพ์ที : บูรืิษัท ธุ์นอรุุณักูารพิิมพ์ จำำากูัดิ ๔๕๗/๖-๗ ถีนนพรืะสุุเมรุุ แขวังบูวัรืนิเวัศั เขตพรืะนครื กูรืุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทรื. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรืสุารื ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘

E-mail : thanaaroon19@gmail.com ออกูแบูบู : บูรืิษัท ธุ์นอรุุณักูารพิิมพ์ จำำากูัดิ

๔๐

๕๔

๔๐

รััฐ์บูาลเตรีียมควัามพร้้อมด้้านพลังงาน

ของปรืะเทศัเนนส่่งเสุรืิมกูารืใช้้พลังงานหมุนเวีียน

๔๒

พลังอำานาจัจัากูมรืดิกูทางวััฒนธุ์รืรืม

๔๖

กูฎหมายเล่าเรืือง กูฎหมายว่่าดิวัย

กูารืคุมครืองขอมูลส่่วันบุุคคล ตอนที ๓

๕๐

บูรืิษัทอีสต์์-อินเดีีย (East India Company)

แห่งอังกูฤษและกำำลัังทหารืสุนับูสุนุน

๕๒

“ไฟเซึ่อร์์” ปลอดภััยมากน้้อยแค่ไหน

กัับูเด็็กูอายุ ๕ - ๑๑ ปี และอายุ ๑๒ - ๑๘ ปี

๕๔

“Praying for your wellness and safety.”

๕๖

แนะนำาอาวุุธุ์เพือนบ้้าน เครืืองบิินขับูไล่

แบูบูซึู่-๓๐เอสุเอ็มอี (Su-30SME)

๕๙

ปริิศันาอักูษรืไขว้้

๖๐

ภาพกิิจักูรืรืม


วันเกษตรแห่งชาติ..

สืบพระราชปณิธานเพื ่อกิจการเกษตรไทย

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ระเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคโบราณมีการ

ทำกิจการเกษตรและธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องจากการเกษตรมาเป็น

เวลานาน ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยหลัก

ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ ๑ ที่มีบันทึกไว้ว่า

“...เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำ มีปลา

ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ

ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่

ค้าช้างค้า ใคร จักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้า

เงือนค้าทองค้า...” (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘-๒๑)

“...ไพร่ใน เมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่า หมากป่าพลู

ทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลาย

ในเมืองนี้ ป่าลาง ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลาย

ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้าง

ได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพยสี ใสกินดี

…ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้

ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา...” (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒-๘)

ระยะเวลาสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายร้อยปีที่กิจการภาค

การเกษตรของไทยยังคงเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของ

4

ประชาชน รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นจาก

การค้าขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั้งจำหน่ายภายในประเทศและ

การส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วยการค้าขายทั้งทางบกและทาง

ทะเล หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

มาเป็นเวลานานตั ้งแต่กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและ

กรุงรัตนโกสินทร์

สำหรับกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบันทึกในพระราชพงศาวดาร

และจดหมายเหตุที่สำคัญ กล่าวคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นยุคที่มีความสำคัญต่อการ

ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอย่างเป็นมาตรฐานกล่าวคือมีการ

ส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้นสอดรับกับระบบการ

ค้าขายระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปและเป็นไปตามความ

ต้องการของตลาดโลก เกษตรกรจึงหันมาปลูกข้าวเพื่อการส่งออก

มากขึ้น ทำให้มีการปลูกพืชอื่น ๆ น้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรม

ในครัวเรือนก็ลดลงด้วยบางที่ก็เลิกผลิตเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่

จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล

ที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริในการส่งเสริมกิจการทางการเกษตรเพื่อวาง

รากฐานให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ โดยในปี พ.ศ.๒๔๕๓ ได้

ทรงสนับสนุนและเป็นผู้ริเริ่มการจัดงานการแสดงกสิกรรมและ

พาณิชยการ ซึ่งในงานมีการแสดงมหรสพ แตรวง การจัดแสดงสินค้า

การเกษตรและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการเพาะปลูกจากใน

ประเทศและต่างประเทศ มีการทำโรงนาสาธิตให้ประชาชนชมเป็น

ตัวอย่าง รวมทั้ง จัดการประกวดพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืช นอกจากนี้

ยังมีการแนะนำให้ประชาชนรู้จักระบบชลประทานและรัฐบาล

สนับสนุนลงทุนจัดงานให้ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนรู้รักพัฒนาพันธุ์พืช

และพันธุ์สัตว์ พัฒนาวิธีการปลูก รองรับระบบจัดการส่งเสริม

การเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการ

ปรับปรุงระบบคมนาคมให้ทันสมัย โดยการสร้างทางรถไฟ ตัดถนน

สายต่าง ๆ ขุดคลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม

การขนส่งสินค้าและผลผลิต

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานการแสดง

กสิกรรมและพาณิชยการขึ้นอีก แต่ไม่มีการแสดงมหรสพเพราะอยู่

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ในระหว่างการไว้ทุกข์พระบรมศพ รัชกาลที่ ๕ การจัดงานครั้งนี้

จึงมีพระบรมราโชบายลดค่าใช้จ่ายในการจัดงาน และลดปริมาณ

การส่งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ อย่างไรก็ตาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้มีการส่งเสริมด้านชลประทานและการบำรุงพันธุ์ข้าว เพื่อหวังผล

ทางเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

หลังจากนั้น ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดงานกิจกรรม

วันเกษตรเรื่อยมา ซึ่งงานกิจกรรมวันเกษตรได้รับความสนใจจาก

ประชาชนในเขตพระนครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก รวมทั้ง

มีการขยายขอบเขตการจัดงานและมีการขยายขอบเขตของการ

จัดงานออกไปอีกหลายสาขา แต่ต่อมาต้องหยุดชะงักไปเนื่องจาก

บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

อันมีสาเหตุมาจากผลพวงของสงครามโลกครั้งที่ ๑ จึงเป็นเหตุ

ให้ต้องหยุดการจัดงานไปหลายปี

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๑ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการ

จัดงานและเป็นการสืบต่อพระราชปณิธานแห่งองค์บูรพกษัตริย์

จึงได้มีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้นระหว่างวันที่ ๓ - ๔

มกราคม ๒๔๙๑ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่

ส่วนราชการ ๒ แห่ง คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกันจัดติดต่อกันเรื่อยมาเป็นประจำ

ทุกปี ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) ทั้งนี้มี

วัตถุประสงค์ของการจัดงานถือหลักการเดิมของการจัดงานตาม

พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่มีการจัดขึ้นเป็นครั้งแรก คือ

๑. เป็นการจัดแสดงต่าง ๆ จะเป็นทางหนึ่งที่ชักนำปลุกใจ

อาณาประชาราษฎร์ ให้ประกอบการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และ

ค้าขายให้เจริญทันสมัย

๒. ให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเกษตรกร ได้เรียนรู้พัฒนาการ

วิชาการใหม่ ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับความ

ก้าวหน้า

๓. ส่งเสริมพัฒนาการวิชาการการเกษตรใหม่ ๆ และเน้น

นโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับทราบความก้าวหน้า และ

พัฒนาการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ

นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้เกษตรกรที่ทำงานหนักมาทั้งปีได้มี

โอกาสพักผ่อนหย่อนใจและหาความสำราญในการเที่ยวชมงาน

หลังจากนั้น รัฐบาลจึงมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น

ทั้งในส่วนภูมิภาคสลับกับส่วนกลาง โดยความร่วมมือกับ

มหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ ต่อมาการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติ

ได้เริ่มจัดขึ้นในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ของทุกปี หลังจากนั้น จึงได้มีการ

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานที่มุ่งเน้นด้านธุรกิจมากขึ้นเพื่อให้

สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม ในเวลาต่อมาบุคลากร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้พร้อมใจปรับเปลี่ยนชื่องานเป็น

“งานเกษตรแฟร์”

สถาบันพระมหากษัตริย์และอดีตบูรพกษัตริย์ของไทย ทรงมี

พระราชวินิจฉัยว่า อาชีพเกษตรกรรม ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่มีความ

สำคัญของประชาชนชาวไทย ดังคำเปรียบที่ว่า เกษตรกรเป็นกระดูก

สันหลังของชาติ ซึ่งนอกจากอาชีพนี้จะสร้างรายได้ให้กับประเทศแล้ว

ยังผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลานาน จึงทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานวันเกษตรขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็น

การรำลึกถึงความสำคัญของการเกษตรกรรม และเพื่อสนับสนุน

ส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร และในเวลาต่อมาได้พัฒนาจนเป็น

วันเกษตรแห่งชาติ ที่เป็นการสร้างองค์ความรู้และยกระดับอาชีพ

เกษตรกรให้เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม

ดังนั้น วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันเกษตรแห่งชาติ

ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทุกท่านร่วมน้อมเกล้าฯ ร ำลึก

ในพระมหากรุณาธิคุณของบูรพมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี

พระผู้ทรงสร้าง พัฒนา และยกระดับกิจกรรมการเกษตรของไทย

เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง ความผาสุกให้แก่ประเทศไทย และทรง

ยังประโยชน์สุขให้แก่พสกนิกรชาวไทยด้วยกันทุกท่านเทอญ

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

5


กองอาสารักษาดินแดน...

กำลังสำรองแห่งแว่นแคว้นไทย

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

“...ขอให้เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนได้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยพยายามฝึกสอนอบรม

ประชาชนให้เข้าใจกิจการในหน้าที่ของตน ทั้งในส่วนตัวของบุคคลของครอบครัว ของหมู่บ้าน

ที่เขาอาศัยอยู่ ตลอดจน ชาติบ้านเมืองในที่สุด เพื่อได้มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกัน ที่จะช่วย

ป้องกันภัยอันตราย และรักษาความสงบในท้องถิ่นของตน ด้วยความองอาจ กล้าหาญ และซื่อสัตย์

สุจริต เพื่อชาติ บ้านเมือง และความเป็นเอกราชของเรา จะได้วัฒนาถาวร...”

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่

เจ้าหน้าที่และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ในพิธีพระราชทานธงประจำกองอาสารักษาดินแดน เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗

พระบรมราโชวาทพระราชทานเบื้องต้นนั้น บ่งบอกถึงความ

สำคัญของกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นกำลังภาคประชาชน

ให้พึงตระหนักถึงหน้าที่ของตนเอง เตรียมความพร้อม ดำรงบทบาท

และประกอบภารกิจสำคัญในการมีส่วนร่วมป้องกันภัยอันตรายและ

รักษาความสงบในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัย บนพื้นฐานของความ

สามัคคีและร่วมมือร่วมใจ ซึ่งจะนำมาสู่การร่วมรักษาเอกราช และ

6

ความสงบสุขของประเทศในภาพรวม

ทั้งนี้ กองอาสารักษาดินแดน เป็นหน่วยงานภาครัฐร่วมกับ

ภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติกองอาสารักษา

ดินแดน พ.ศ.๒๔๙๗ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ ภายหลัง

พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ที่ให้ไว้ ณ วันที่

๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ เพียง ๕ วัน โดยมีบทบัญญัติที่สำคัญในเรื่อง

หน้าที่กองอาสารักษาดินแดน ไว้ใน มาตรา ๑๖ กล่าวคือ

“มาตรา ๑๖ กองอาสารักษาดินแดน มีหน้าที่

(๑) บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทำของข้าศึก

(๒) ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับ

พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

(๓) รักษาสถานที่สำคัญและการคมนาคม

(๔) ป้องกันจารกรรม สดับตรับฟัง และรายงานข่าว

(๕) ทำการช่วยให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหาร

ต้องการและตัดทอนกำลังข้าศึก

(๖) เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุน

กำลังทหารได้เมื่อจำเป็น” นี่เป็นการชี้ให้เห็นถึงวัตถุประสงค์

ของการมีกองอาสารักษาดินแดน เพื่อให้ประเทศมีกำลังภาค

ประชาชน ที่พร้อมเป็นกำลังสำรองในการทำงานสนับสนุนการรักษา

ความมั่นคงของชาติ ช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ทั้งใน

ยามปกติและในยามสงคราม ทั้งนี้ในส่วนของการช่วยเหลือภารกิจ

ทางทหารสามารถดำเนินการได้ใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

ลักษณะแรก : การปฏิบัติหน้าที่ในยามปกติด้วยการป้องกัน

จารกรรม ติดตามข่าว และรายงานข่าว รวมทั้ง อำนวยความสะดวก

แก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ ซึ่งจะช่วยเป็นหู เป็นตา และเป็น

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


กำลังเสริมให้แก่ทหารในการปฏิบัติภารกิจสำหรับงานด้านความ

มั่นคงของประเทศ

ลักษณะที่สอง : การปฏิบัติหน้าที่ในยามสงคราม ด้วยการ

เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลัง

ทหารได้เมื่อจำเป็น รวมทั้ง ตัดทอนกำลังข้าศึก ซึ่งจะช่วยเป็นกำลัง

เสริมให้แก่ทหารในการปฏิบัติภารกิจในการปกป้องเอกราช รักษา

อธิปไตยให้แก่ประเทศชาติ

สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เป็นการรับสมัครจากราษฎร

ชายหญิงที่สมัครใจอาสาเข้ามาเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน

ภายใต้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีการกำหนด

แบ่งส่วนราชการกองอาสารักษาดินแดน ออกเป็น ๒ ส่วน คือ

๑. ส่วนกลาง มี กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

(บก.อส.) รับผิดชอบการบริหารงานในส่วนกลาง โดยมี รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน

๒. ส่วนภูมิภาค มี กองบังคับการกองอาสารักษาดินแดน

จังหวัด (บก.อส.จ.) รับผิดชอบการบริหารงานในส่วนภูมิภาค โดยมี

ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้บังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด

และกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ (ร้อย อส.อ.) โดยนายอำเภอ

เป็นผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ

ทั้งนี้ กิจการอาสารักษาดินแดนของประเทศไทย ได้เริ่มต้น

มีบทบาทที่ชัดเจนในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๖ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

“กองเสือป่า” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๕๔ เป็น

กองพลอาสาสมัครเพื่ออบรมข้าราชการและประชาชนให้รู้จักรักชาติ

รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ และได้อัญเชิญ

พระมหากรุณาธิคุณมาพัฒนาจนเป็น กองอาสารักษาดินแดน

ในปัจจุบัน

จึงกล่าวได้ว่า กองอาสารักษาดินแดน (Volunteer Defense

Corps : VDC) หรือชื่อย่อว่า อส. เป็นองค์การของรัฐ สังกัดกระทรวง

มหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษ

เทียบเท่ากองทัพในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ

กองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ (National Guard) ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้

พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๖ ได้

บัญญัติให้มีคณะกรรมการกลางกองอาสารักษาดินแดน ประกอบด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานโดยตำแหน่ง ซึ่งเรื่องที่สำคัญ

และเป็นการทำงานร่วมกันของกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวง

กลาโหมนั้น กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้ กรมการปกครอง

ทำหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการกอง

อาสารักษาดินแดน และให้หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.)

ทำหน้าที่เป็นฝ่ายอำนวยการฝ่ายทหาร

โดยกองอาสารักษาดินแดนนั้น จะมีลักษณะโครงสร้างองค์กร

เป็นกองกำลังกึ่งทหาร มีชั้นยศและลำดับการบังคับบัญชาเช่นเดียว

กับกองทัพ ซึ่งมีภารกิจและบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ

กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.๒๔๙๗ คือ รักษาความสงบร่วมกับ

พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย

การเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึง

รักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญและการคมนาคม และเป็น

กองกำลังส่วนหนึ่งไว้สำรองที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลัง

ทหารได้เมื่อมีการร้องขอทั้งในยามปกติและยามสงคราม

วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ นี้ เป็นวันครบรอบวันคล้าย

วันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ปีที่ ๖๘ ซึ่งเป็นการบรรจบ

แห่งกิจการการประสานความร่วมมือของทหารและภาคประชาชน

ในการดำเนินภารกิจร่วม เพื่อการปกป้องและเทิดทูนสถาบัน

พระมหากษัตริย์ การรักษาอธิปไตยของชาติ การรักษาความสงบ

เรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ การพัฒนาและแก้ไข

ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ ในการบำบัดทุกข์

บำรุงสุข ให้ประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

7


กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ครบรอบ ๓๑ ปี ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

พลโท สมเกียรติ สัมพันธ์

เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

รมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (Defence Science

and Technology Department (DSTD)) เป็นส่วนราชการ

ขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีภารกิจหน้าที่ในการ

ดำเนินการด้านการวิจัย พัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกัน

ประเทศ รวมทั้งงานมาตรฐานทางทหารของกระทรวงกลาโหม โดย

บริหารจัดการแบบรวมด้านนโยบายและงบประมาณการวิจัยไว้ในระดับ

กระทรวงกลาโหม และแยกการปฏิบัติงานวิจัยไปตามเหล่าทัพ ตลอดจน

ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันและขยายเครือข่ายความร่วมมือ

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยบูรณาการความร่วมมือกับ

หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทั้งในประเทศ

และต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้ด้านงานวิจัย

ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนด้านงานมาตรฐาน

ทางทหารต่าง ๆ ในระดับสากล เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ

กองทัพและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่าง

มั่นคง ยั่งยืน โดยมีเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

การดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ และงานมาตรฐานทางทหาร

๑. โครงการวิจัย พัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกัน

ประเทศ

๑.๑ โครงการพัฒนาเครื่องรบกวนสัญญาณวิทยุแบบเข้ารหัส

สัญญาณ DTMF เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการแก้ไข

ปัญหาการก่อความไม่สงบ การก่อความไม่สงบในพื้นที ่ ๓ จังหวัด

ชายแดนภาคใต้ตามความต้องการของ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ภายในภาค ๔ ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค ๔ สน.) และเป็นไปตามนโยบาย

ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อศึกษา ออกแบบ และสร้าง

ต้นแบบเครื่องรบกวนสัญญาณวิทยุแบบเข้ารหัสสัญญาณ DTMF (แบบ

กระเป๋าหิ้ว) สำหรับนำไปทดลองใช้งานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ

รักษาความปลอดภัยเส้นทาง สถานที่ และบุคคลสำคัญ ตลอดจนการ

ป้องกันการก่อเหตุซ้ำจากการจุดระเบิดของผู้ก่อความไม่สงบ ผลงาน

วิจัยเครื่องรบกวนสัญญาณวิทยุแบบเข้ารหัสสัญญาณ DTMF ได้ผ่าน

การประเมินทางเทคนิคในระดับห้องปฏิบัติการ และผ่านการทดสอบ

และทดลองใช้งานทางยุทธวิธีเรียบร้อยแล้ว มีผลการประเมินความ

พึงพอใจจากผู้ใช้งาน อยู่ในเกณฑ์ “ดีเยี่ยม” ปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีกลาโหม ได้วางแผนและสำรวจความพร้อมในการเตรียม

การขยายผลไปสู่การการผลิต โดยใช้ศักยภาพของห้องปฏิบัติการที่มีอยู่

ในการจัดตั้งเป็นสายการผลิตในลักษณะ การประกอบรวมและทดสอบ

ซึ่งสามารถวางสายการผลิตได้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ชุดต่อปี โดยมีคุณภาพ

และประสิทธิภาพเทียบเท่ากับของที่จัดหาจากต่างประเทศ แต่มี

ลักษณะที่ดีกว่าที่สำคัญ คือ ผลิตได้เองภายในประเทศ จึงง่ายต่อการ

จัดหาและการซ่อมบำรุง มีราคาถูกกว่าจัดหาจากต่างประเทศ

และสามารถพัฒนาเพิ่มเติมขีดความสามารถ หรือเพิ่มประสิทธิภาพ

ได้เองโดยง่าย

๑.๒ โครงการวิจัยและพัฒนาคลังอาวุธอัจฉริยะ (Smart

Weaponary Warehouse) เป็นโครงการวิจัยและพัฒนา โดยนำ

เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้งานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ

บริหารจัดการและการรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธของกองทัพ ให้มี

ความรอบคอบ รัดกุม สะดวก รวดเร็ว สามารถเฝ้าระวัง เฝ้าตรวจ และ

แจ้งเตือนได้อย่างเพียงพอและทันเวลา (แบบ Real Time) ปัจจุบันได้

ต้นแบบคลังอาวุธอัจฉริยะ จำนวน ๑ ระบบ และได้ทดลองใช้งานเป็น

คลังอาวุธต้นแบบ ณ กองพันระวังป้องกัน สำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม (พัน.รวป.สป.) โดยมีคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของโครงสร้าง

ของระบบ ประกอบด้วย ๔ ระบบ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูล (อาวุธ

เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้งาน ลำดับการเข้าถึงและสั่งการ) ระบบการเบิกจ่ายและ

ส่งคืนทางบัญชี(การยืนยันตัวตนของอาวุธแบบคลื่นความถี่วิทยุ(Radio

Frequency Identification Devices : RFID) ระบบรักษาความ

ปลอดภัย (การยืนยันตัวตน การตรวจสอบการเคลื่อนไหว อุณหภูมิ ควันไฟ)

และระบบการเฝ้าตรวจแบบ Real Time (ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่)

จากผลการทดลองใช้งาน เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจและ

เชื่อมั่นในระบบเป็นอย่างมาก ระบบต่าง ๆ สามารถใช้งานได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ โดยกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม มีความ

พร้อมในการออกแบบและติดตั้งระบบได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

ได้แก่ ตามขนาดและรูปแบบของคลังอาวุธ หรือตามความต้องการ

8

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม


ระบบย่อยในการใช้งาน ซึ่งอยู่ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรร เพื่อให้

ได้ระบบบริหารจัดการคลังอาวุธที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัย

สูงตามความต้องการของกองทัพ

๑.๓ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบเฝ้าตรวจแจ้งเตือนพื้นที่

ชายแดนภาคตะวันตกและตะวันออก เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อ

ช่วยเสริมมาตรการเฝ้าตรวจตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นไปตามสั่งการของ

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการประชุม

สภากลาโหม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๔ ที่ให้ทุกเหล่าทัพ

จัดหาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีเฝ้าตรวจและแจ้งเตือนสำหรับนำไป

ใช้เฝ้าระวังป้องกันพื้นที่ชายแดนทางบก ทางน้ำ และพื้นที่ชั้นใน เพื่อ

ให้ครอบคลุมทั้งภัยคุกคามและการดูแลความปลอดภัยของประชาชน

รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกองกำลังป้องกัน

ชายแดนที่มีกำลังพลจำกัด โดยให้ประสานความร่วมมือกับหน่วย

ต่าง ๆ ในการวิจัยและพัฒนาระบบดังกล่าวให้มีผลเป็นรูปธรรม

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้เสนอขอรับการสนับสนุน

งบประมาณ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อดำเนินโครงการ

โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน ๔ หน่วยงาน ประกอบด้วย

กองทัพเรือ (โดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ

(สวพ.ทร.)) รับผิดชอบ จำนวน ๔ โครงการ ได้แก่ ๑) โครงการรั้วไร้สาย

๒) โครงการกล้องเฝ้าตรวจและลาดตระเวน M-CAP ๓) โครงการระบบ

เฝ้าตรวจแจ้งเตือนตามแนวชายแดนด้วยปัญญาประดิษฐ์ และ ๔)

โครงการเรือไร้คนขับสำหรับลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเล (USV)

กองทัพอากาศ (โดย โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

(รร.นนก.) รับผิดชอบ โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอากาศยาน

ไร้คนขับพลังงานแสงอาทิตย์สมรรถนะสูงเพดานบินต่ำเพื่อการเฝ้าตรวจ

เชิงรุกทางอากาศ (UAV M Solar-X) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รับผิดชอบ โครงการการเชื่อมโยงการสื่อสารความเร็วสูงดิจิทัลและดิจิทัล

วอร์รูมสำหรับระบบเฝ้าตรวจแจ้งเตือน และ กรมวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) เป็นหน่วยเจ้าของโครงการ รับผิดชอบ

การบริหารจัดการในการบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน การติดต่อ

ประสานงาน การทดสอบและทดลองใช้งานในพื้นที่จริง รวมทั้งการ

สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนิน

โครงการ ซึ่งหากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จะช่วย

สนับสนุนให้การปฏิบัติภารกิจในการป้องกันการบุกรุกตามแนวชายแดน

การลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย การแจ้งเตือนภัยพิบัติ

และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางด้านอื่น ๆ มีประสิทธิภาพ

มากยิ่งขึ้น

๒. ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพ เพื่อผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์

อย่างเป็นรูปธรรม

๒.๑ ระบบควบคุมการปฏิบัติแบบไร้สายสำหรับชุดป้องกัน

นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี แบบอากาศผ่านไม่ได้ระดับ A

๒.๒ ทุ่นระเบิดอิทธิพลและทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบ

ล่องหน

๒.๓ ถุงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสำหรับป้องกันสารพิษ

๒.๔ แท่งเรืองแสง

๒.๕ สารน้ำตาไหล

๒.๖ ระบบผลิตไฟฟ้าสำรองแบบผสม

๒.๗ แผนที่อิเล็กทรอนิกส์

๒.๘ ชุดป้องกันสารพิษระดับสูง Level A

๒.๙ เครื่อง SCRAMBLE สำหรับวิทยุสื่อสาร

๓. ด้านการมาตรฐานทางทหาร

๓.๑ การกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์

๓.๑.๑ ยุทโธปกรณ์ร่วม จำนวน ๗ รายการ ได้แก่

ยานพาหนะช่วยรบ กระสุนปืนลูกซอง กระสุนยางสำหรับปืนลูกซอง

ยาง Run-flat กระสุนฝึก ขนาด ๓๐ x ๑๖๕ มม. แบบ Target

Practice ปลอกกระสุนปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มม. และชนวนท้ายกระทบ

แตกของกระสุนปืนใหญ่ ขนาด ๑๐๕ มม.

๓.๑.๒ ยุทโธปกรณ์ทางบก จำนวน ๑ รายการ ได้แก่

ระบบรับแรงสะท้อนถอยหลังของ ค.๘๑ มม. (ติดตั้งบน รสพ.๓๐

แบบที ๘๕)

๓.๑.๓ ยุทโธปกรณ์ทางอากาศ จำนวน ๒ รายการ

ได้แก่ การปรับแก้มาตรฐานระบบอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่ง

น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดน้อยกว่า ๑๕๐ กิโลกรัม และการกำหนดมาตรฐาน

ระบบอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้นลงทางดิ่ง Multi-Rotor

๓.๒ การตรวจ/ทดสอบ และการรับรองมาตรฐาน

ยุทโธปกรณ์

๓.๒.๑ ยุทโธปกรณ์ร่วม จำนวน ๙ รายการ ได้แก่ หุ่นยนต์

ตรวจการณ์ หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดยานพาหนะช่วยรบ กระสุนปืน

ลูกซอง ขนาด ๑๒ เกจ ๙ เม็ด แบบ OO Buck กระสุนยางสำหรับ

ปืนลูกซอง แบบมีหางนำทิศ ยาง Run-flat กระสุนปืนเล็ก ขนาด

๕.๕๖ มม. กระสุนปืน ขนาด ๙ มม. และกระสุนปืน ขนาด .45 ACP

๓.๒.๒ ยุทโธปกรณ์อากาศ จำนวน ๑ รายการ ได้แก่

ระบบอากาศยานไร้คนขับพลังงานแสงอาทิตย์ M Solar-X UAV

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้ตระหนักถึงความ

สำคัญของงานด้านการวิจัย พัฒนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และ

นวัตกรรม รวมทั้งงานมาตรฐานทางทหาร ซึ่งมีบทบาทและเป็นกลไก

สำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนากองทัพ เพื่อให้มีความพร้อมต่อการ

รักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติโดยจะมุ่งมั่น ส่งเสริม สนับสนุน

การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ให้มีศักยภาพ และองค์ความรู้ที่เข้มแข็ง สร้างความร่วมมือ และบูรณาการ

ทรัพยากรกับทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนางานวิจัย วิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีของกระทรวงกลาโหม ให้มีความเจริญก้าวหน้าสามารถ

สนับสนุนกองทัพได้อย่างมีคุณภาพ และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับใน

ระดับสากล สามารถผลักดัน เข้าสู่สายการผลิตในอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ

ประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างมั่งคั่ง และมีศักยภาพเพียงพอในการ

ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้น

ในอนาคตได้มั่นคงด้วยการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

9


ทหารเรือที ่อุ้มระเบิด

บนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิคือใคร

ที ่ทำให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดความประทับใจปั้นท่าทางเขาไว้

กองผลิตสื่อ

รู

ปปั้นของเหล่านักรบ ๕ เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ

ทหารอากาศ ตำรวจสนาม และพลเรือน ซึ่งหล่อด้วยทองแดง

ขนาด ๒ เท่าของคนธรรมดา จากฝีมือของศิลปินผู้ปั้นที่เป็นกลุ่ม

ลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี สำหรับทหารเรือที่อุ้มระเบิด

อยู่ในวงแขนนั้น มีข้อมูลระบุว่า มีตัวตนจริง แม้เขาจะไม่ได้เสียชีวิต

ใน “ยุทธนาวีที่เกาะช้าง” ด้วย แต่วีรกรรมที่เขาสร้างไว้นั้นประทับใจ

คนที่ได้รับฟังเรื่องราวเป็นอย่างมาก และเมื่อมีเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรม

ในเรือลำเดียวกัน นำมาเล่าให้นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหาร

สูงสุดฟังพร้อมแสดงท่าประกอบ มีคนถ่ายรูปไว้เป็นจำนวนมาก

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เห็นภาพนั้นก็เกิดความประทับใจไปอีก

คนหนึ่ง จึงนำเอารูปถ่ายนี้เป็นต้นแบบปั้นรูปขึ้นมา

เรื่องราวนี้เกิดขึ้นเมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี

และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ไปเยี่ยมทหารเรือที่ต้องสละเรือใน

10

สงครามครั้งนี้ที่ท่าราชวรดิฐ และให้ทหาร

ที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าเรื่องให้ฟัง ตอนหนึ่ง

พลทหาร สิงห์ นาคมี ที่อยู่ในเรือหลวงธนบุรี

จนนาทีสุดท้ายที่ได้รับคำสั่งให้สละเรือ ได้

เล่าเรื่องของ พลทหาร ชุน แซ่ฉั่ว พลฯ

เตรียมกระสุนป้อมปืนท้ายของเรือหลวง

ธนบุรี พร้อมแสดงท่าทางประกอบอย่าง

ทะมัดทะแมง ทำให้มีคนชอบใจถ่ายรูปกัน

อย่างคึกคัก และเมื่อ ศาสตราจารย์ ศิลป์

พีระศรี เห็นภาพนี้ ก็นำไปเป็นแม่แบบปั้น

ขึ้นสำหรับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

วีรกรรมของ พลทหาร ชุน แซ่ฉั่ว

เป็นเรื่องที่เล่าขานกันมาก เขามีหน้าที่ล ำเลียง

ส่งกระสุนปืนใหญ่ส่งขึ้นป้อมปืน ถ้าขาด

คนทำหน้าที่นี้เมื่อใด ป้อมปืนก็จะขาด

กระสุน ทำให้เรือต้องตกเป็นเป้าให้ข้าศึก

ยิงเอาฝ่ายเดียว ขณะที่ลงไปลำเลียง

กระสุนที่ห้องข้างล่างนั้น กระสุนของ

เรือรบฝรั่งเศสนัดหนึ่งทะลุเข้ามาระเบิด

ในเรือ สะเก็ดระเบิดได้ตัดแขนขวาใต้ศอกของพลทหาร ชุน ห้อย หัวหน้า

ห้องสั่งให้รีบขึ้นไปห้องปฐมพยาบาล แต่พลทหาร ชุน ไม่ยอม

เสียเที่ยว ยังหอบกระสุนด้วยแขนซ้ายเพียงข้างเดียว ไต่บันได

เอากระสุนขึ้นไปส่งป้อมปืนด้วย เมื่อนายป้อมเห็นแขนห้อยรุ่งริ่ง

ก็เกรงว่าจะทำให้ทหารในป้อมเสียขวัญจึงไล่ให้หลบไปข้างล่างอีก

พลทหาร ชุน ก็ยอมลงมาแต่โดยดี แต่พอกลับลงมาห้องกระสุนก็

พบว่าควันพิษจากระเบิดตลบไปทั้งห้องจนอยู่ไม่ได้ ต้องกลับขึ้นไป

ข้างบน แล้วก็ไม่ยอมเสียเที่ยวอีก อุตส่าห์ควานหาระเบิดติดมือขึ้นไป

ส่งให้ป้อมปืนด้วย จากนั้นก็ยังไม่ยอมหยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้

ป้อมปืนไม่ขาดกระสุนยิง จนเมื่อข้าศึกถอยไปแล้วจึงยอมไปห้อง

ปฐมพยาบาล ด้วยความทรหดและกล้าหาญของ พลทหาร ชุน แซ่ฉั่ว

ส่งผลอย่างมากในชัยชนะของยุทธนาวีครั้งนี้ จึงได้รับเหรียญกล้าหาญ

พร้อมประดับยศเป็น พันจ่าเอก ชุน แซ่ฉั่ว

กองผลิตสื่อ


ในเรือหลวงธนบุรี ยังมีทหารเรือไทยที่ใช้แซ่อีกคนหนึ่ง ซึ่งได้

สร้างวีรกรรมจนได้รับเหรียญกล้าหาญและได้ประดับยศพันจ่าเอก

เช่นเดียวกับพันจ่าเอก/ชุน แซ่ฉั่ว ก็คือ พลทหาร เอ่ง แซ่ลิ้ม มีหน้าที่

ประจำอยู่ในหอบังคับการ คอยนำคำสั่งไปยังห้องเครื่องจักร เมื่อ

เรือหลวงธนบุรีถูกยิงนัดแรก กระสุนได้ทะลุเข้าไประเบิดใน

หอบังคับการ ทำให้ นาวาเอก หลวงพร้อม วีรพันธ์ ผู้บังคับการและ

ทหารอีกหลายคนในห้องนั้นเสียชีวิต ที่เหลือก็บาดเจ็บสาหัส พลทหาร

เอ่ง ถูกสะเก็ดระเบิดเข้าที่ลำคอและนิ้วมือ แต่ยังวิ่งฝ่ากระสุน

ของข้าศึกที่ระดมยิงมา นำคำสั ่งสุดท้ายของผู้บังคับการลงไปส่งที่

ห้องเครื่องจักรได้ และยังลงไปช่วยถือท้ายเรือให้ต่อสู้ข้าศึกต่อไป

ขณะนั้นห้องถือท้ายมีควันตลบและน้ำไหลเข้าเรือจนต้องยืนแช่น้ำ

พลทหาร เอ่ง ก็ไม่ห่วงการบาดเจ็บของตัว และเมื่อขึ้นมาข้างบน

ก็ยังไปช่วยดับเพลิงจนได้รับบาดเจ็บครั้งที่ ๒ ถูกสะเก็ดระเบิดเข้าที่

หน้าแข้งและหัวเข่าจนกระดูกแตก ต้องตัดขาพิการไปตลอดชีวิต

แต่เขาก็เป็นทหารไทยคนหนึ่งที่ได้รับการบันทึกวีรกรรมในสงคราม

อินโดจีน

ส่วนในเรือหลวงชลบุรีก็มีทหารไทยสร้างวีรกรรมจน

ได้รับเหรียญกล้าหาญเช่นกัน คือ พลทหาร ป๋อไล้ แซ่เฮง ผู้รับหน้าที่

เป็นเรดาร์ที่ยังไม่มีในเรือรบสมัยนั้น ต้องปีนขึ้นไปบนยอดกระโดง

ส่ายตาไปรอบทิศ เมื่อเห็นเครื่องบินข้าศึกโผล่พ้นทิวเขาที่ใช้เป็นฉาก

บังออกมาก็จะเห็นเป็นคนแรกแล้วตะโกนลงมา ทำให้ปืนเรือยิง

ข้าศึกได้ก่อนจะเข้าถึงตัว ทั้งยังได้มีโอกาสรายงานอีกว่า มีเรือข้าศึก

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

รุมเข้ามา ๓ ด้าน และเมื่อข้าศึกระดมยิงเข้ามา พลทหาร ป๋อไล้

ก็ยังรายงานอยู่บนยอดเสาท่ามกลางห่ากระสุน จนกระทั่งเสา

กระโดงเรือถูกยิงขาดกระจุย ล้มฟาดลงมาทับขายามเสากระโดงที่

ใจถึงจนขาดทั้ง ๒ ข้าง ส่วนตามตัวก็มีเลือดโชก แต่พลทหาร ป๋อไล้

ก็ไม่ได้ร้องครวญคราง กลับตะโกนปลอบใจเพื่อนทหารก่อนจะสิ้นใจ

ด้วยคำเดียวกับที่หลวงพร้อม วีรพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี

ร้องบอกให้เริ่มถล่มเรือข้าศึกว่า “เอามัน เอามัน”

พลทหาร ป๋อไล้ แซ่เฮง ได้รับเลื่อนเป็น พันจ่าเอก ป๋อไล้

แซ่เฮง และได้รับการจารึกชื่อไว้ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์

แห่งชัยชนะ นี่ก็เป็นวีรกรรมของทหารไทย แม้จะมีเชื้อสายใดก็ตาม

เมื่อเกิดในแผ่นดินไทย เขาก็เกิดและเติบโตมาด้วยความเป็นไทย

มีความรักต่อประเทศและกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด เช่นเดียวกับคน

ที่มีสายเลือดไทยทั่วไป ไม่ใช่แค่อาศัยแผ่นดินเกิด

11


เสริมสิริมงคล

รอบเกาะรัตนโกสินทร์ (ตอนที

่ ๘)

“อิ ่มบุญ สุขใจ ในยุค New Normal”

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ารสารหลักเมืองฉบับเดือนกุมภาพันธ์ฉบับนี้ เปิดศักราช

ปีใหม่จีนในปีนี้ด้วยความมุ่งมั่นไปขอพร ไหว้พระที่

“ศาลเจ้าพ่อเสือ” ที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี มีชื่อเสียงเรื่องของการไหว้

เพื่อเสริมอำนาจบารมี ขอพรให้สิ ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต “ปีขาล”

ปีนี้ สำหรับผู้ที่มีความเชื่อในเรื่องปีชง หากได้มีโอกาสไหว้แก้ชง

จะถือเป็นเรื่องดีมาก ๆ ซึ่งมาไหว้สักการะได้ที่ศาลเจ้าตาม

ธรรมเนียมจีน ซึ่งชาวจีนเรียกกันว่า “ตั่วเล่าเอี้ย” หรือ ล่งเน่ยยี่

อีกทั้งยังเชื่อกันว่าควรไหว้“ไฉ่ซิงเอี๊ย (เจ้าพ่อกวนอู)” ที่ศาลเจ้าพ่อเสือ

เพราะเป็นที่ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ว่าใครดวงไม่ดีแต่อยากรุ่งหรือ

ใครมีปัญหาเรื่องเงินทอง ท่านไฉ่ซิงเอี๊ยที่ศาลเจ้าพ่อเสือจะช่วยเหลือ

12

ทำให้ชาวจีนนิยมไปไหว้ขอพรองค์เทพเจ้าจำนวนมาก และ

เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลก่อนเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่จีน ๒๕๖๕ นี้

ให้แก่ผู้อ่าน วันนี้ขอนำท่านมารู้จักกับ....

ศาลเจ้าพ่อเสือ

ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมตัวอาคารของ

ศาลเจ้าพ่อเสือ สร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน

เทพเจ้าประจำศาล คือ เสียนเทียนซั่งตี้หรือ “เจ้าพ่อเสือ” ศาลเจ้าจีน

แต้จิ๋วที่ถือว่าเก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง คนจีนเรียกว่า

“ตั่วเล่าเอี้ย” เป็นศาลเจ้าที่ประดิษฐาน เฮี้ยงเทียนเซียงตี่รูปเจ้าพ่อเสือ

เจ้าพ่อกวนอู และเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของ

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ทั้งคนไทยและจีนเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นที่เลื่องชื่อในเรื่องความ

ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก สำหรับการสร้างศาลประดิษฐานรูปเสือนั้น

เป็นการนำเอากระดูกเสือบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐานบนแท่น

อัญเชิญดวงวิญญาณเสือขอให้ปกปักรักษาประชาชนให้อยู่ร่มเย็น

เป็นสุข ตำนานของเจ้าพ่อเสือที่ชาวบ้านย่านนี้เล่าขานมีความเชื่อมโยง

กับหลวงพ่อพระร่วง วัดมหรรณพาราม (วัดมหรรณพ์) ซึ่งสะท้อน

ถึงความสัมพันธ์ ระหว่างพี่น้องชาวไทยและชาวจีนในละแวกนี้ที่มี

มาช้านาน ศาลเจ้าพ่อเสือมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัย พระบาท

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เดิมตั้งอยู่ริมถนน

บำรุงเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้ขยายถนน

บำรุงเมือง และให้พระยาโชฎีกราชเศรษฐีย้ายศาลมาไว้ที่ทาง

สามแพร่ง ถนนตะนาว จนถึงปัจจุบัน

เชื่อกันว่าทุก ๆ ปี เมื่อปีขาลเวียนมาถึงจะเป็นปีที่มีธุรกิจ

ล้มละลาย บริษัทห้างร้านต่าง ๆ พากันปิดกิจการ ภาระการค้ามี

อุปสรรค อย่างไรก็ตามคัมภีร์โหราศาสตร์จีน (โป๊ยยี่สี่เถี่ยวเก็ง)

บันทึกไว้ว่า “ในปีขาลนี้บุคคลที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเสือแล้ว

(ผู้ที่เกิดปีเสือ) กลับจะเป็นปีที่มีความก้าวหน้าอย่างมากมาย

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ในขณะที่คนอื่นต้องพบกับชะตากรรมที่ถูกผลักดันให้ตกต่ำ ไม่ได้รับ

การเอาใจใส่ในช่วงเวลาอันวุ่นวายของปีเสือนี้”

ในแต่ละวัน ศาลเจ้าพ่อเสือจะคับคั่งไปด้วยผู้คนที่พากันมา

กราบไหว้เพื่อเสริมอำนาจบารมี ความสบายใจ และเพื่อเสริมมงคล

ให้แก่ตัวเองและครอบครัว หาโอกาสไปไหว้พระทำบุญที่ “ศาล

เจ้าพ่อเสือ” ได้ในทุก ๆ โอกาส ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เคย

ขัดขวางกลับคลี่คลายและลดลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ

เราจะพาเที่ยวชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ใดต่อไปนั้น โปรดติดตาม

อ่านต่อในฉบับหน้า

อ้างอิง

https://thai.tourismthailand.org/Attraction

https://horoscope.trueid.net/detail/6g2db6rPBV1M

13


กลับหลังหัน...กับพิพิธภัณฑ์กลาโหม

ปืนใหญ่โบราณ

หน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม (ตอนที ่ ๗)

ตอน : ปืนใหญ่พระพิรุณ...ปืนใหญ่ที ่เป็นที ่รู้จักมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

ถ้

ากล่าวถึงปืนใหญ่ที่ตั ้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหมที่มี

บทบาทและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ปรากฏอยู่ในเอกสาร

ต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนเป็นที่รู้จักของนักวิชาการและผู้ที่ศึกษา

เรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักปืนใหญ่กระบอกนี้

ซึ่งปืนใหญ่กระบอกดังกล่าวมีชื่อว่า “ปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่า”

ฟังจากชื่อของปืนแล้วดูแปลกและน่าสนใจใช่ไหมคะ วันนี้ผู้เขียนจะพา

ไปทำความรู้จักกับปืนใหญ่กระบอกนี้กันค่ะ ว่าจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ

เหมือนชื่อหรือไม่ ...

ปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่า ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการ

กลาโหมฝั่งทิศใต้ติดกับถนนกัลยาณไมตรีใกล้กรมแผนที่ทหารเดิม เป็น

ปืนใหญ่ ๑ ใน ๗ กระบอกที่รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อ

ปี พ.ศ.๒๓๒๙ ปืนมีลำกล้องกว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๓.๕๔ เมตร

เพลาเป็นรูปราชสีห์ มีรูชนวนแบบขวดคล้ายกับปืนใหญ่ของฝรั ่งเศสที่

สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.๒๓๓๙ มีลวดลายคล้ายใบไม้ประดับอยู่โดยรอบ

กระบอก บริเวณใกล้ปากกระบอกทำเป็นรูปคล้ายใบหน้าคนสลับกับ

ลายใบไม้ บนตัวปืนมีหูจับ ๔ หู มีชื่อจารึกบนกระบอกปืนว่า “พระพิรุณ

แสนห่า” และบริเวณท้ายปืนทำเป็นลูกแก้วลวดลาย ซึ่ง SEWELL ได้

กล่าวถึงปืนกระบอกนี้ไว้ในวารสารสยามสมาคม ในบทความเรื่อง

“Notes on Some Old Siamese Guns” ว่าปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่า

กับปืนใหญ่พลิกพสุธาหงาย เป็นปืนใหญ่พี่น้องฝาแฝดกัน อาจเนื่องจาก

มีขนาด รูปแบบ และลวดลายที่เหมือนกันมาก

14

ปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่า

ความน่าสนใจของปืนใหญ่กระบอกนี้ เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อปืน

โดยเป็นการนำชื่อของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูมาตั้งคือ พระพิรุณ เทพเจ้า

แห่งน้ำและฝน และยังเป็นโลกบาลประจำทิศตะวันตก โดยคำว่า

“แสนห่า” ที่ต่อท้าย มีความหมายถึง ฝนที่ตกลงมาปริมาณมากเป็นจำนวน

แสนห่านับไม่ถ้วน (“ห่า” เป็นหน่วยวัดปริมาณน้ำฝนแบบโบราณ

โดยกำหนดว่า ถ้าฝนตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง

เรียกว่าน้ำฝน ๑ ห่า) ปืนใหญ่ชื่อ “พระพิรุณ” ได้ปรากฏว่าเป็นที่รู้จัก

มาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

โปรดให้ทดสอบสติปัญญาของเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์เพื่อให้ข้าราชการ

ในอยุธยายอมรับความสามารถของขุนนางต่างชาติผู้นี้โดยใช้การหาวิธี

ชั่งน้ำหนักปืนกระบอกดังกล่าวว่ามีน้ำหนักเท่าใด

เพลาทำเป็นรูปราชสีห์

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม


บริเวณใกล้ปากกระบอกปืนทำเป็นรูปคล้ายใบหน้าคนสลับกับลายใบไม้

เหล่าข้าราชการต่างหาวิธีเพื่อมาชั่งน้ำหนักปืนแต่ไม่สำเร็จ เนื่องด้วย

ปืนมีน้ำหนักมาก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้

เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ลองทำการชั่งดู ปรากฏว่าทำสำเร็จ โดยใช้วิธีเอา

เรือนางเป็ดลำใหญ่หลายลำมาเทียบขนานกันที่ท่า และลากปืน

พระพิรุณลงไปในเรือ เรือจมลงไปเท่าใดให้ทำเครื่องหมายไว้ และลากปืน

ขึ้นมา นำก้อนอิฐหักและศิลามาชั่งให้ได้น ้ำหนักและทิ้งลงไปในเรือ

ถ้าเรือจมถึงเครื่องหมายที่ทำไว้ ก็จะทำให้ทราบถึงน้ำหนักที่แท้จริงของ

ปืนพระพิรุณ

โดยเรื่องราวของปืนกระบอกนี้ ยังมีการบันทึกไว้ในพระราช

พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ว่า

กองทัพอังวะพยายามขนปืนน้อยใหญ่ในพระนครกลับเมืองของตน

ไปด้วย และเมื่อเรือแล่นมาถึงตลาดแก้วเห็นว่าปืนพระพิรุณมีขนาดใหญ่

เกินกำลังที่จะขนไปได้ จึงให้เข็นปืนขึ้นที่วัดเขมาและระเบิดปืนทิ้งเสีย

และนำเศษทองสำริดกลับไปยังอังวะ อีกทั้งยังได้มีการกล่าวถึง

เหตุการณ์ก่อนหน้าที่กองทัพอังวะจะขนปืนขึ้นเรือกลับเมืองของตน

ว่า เมื่อตอนใกล้เสียกรุง ชาวอยุธยาได้จมปืนพระพิรุณลงในสระแก้ว

บริเวณท้ายปืนทำเป็นลูกแก้วลวดลาย

ภายในพระราชวังหลวง เพื่อซ่อนไม่ให้กองทัพอังวะเห็น ภายหลัง

กองทัพอังวะรู้เข้าจึงให้นำขึ้นมาจากสระ และนำขึ้นเรือกลับไปด้วย

แต่เนื่องจากปืนมีขนาดใหญ่มากจึงได้ถูกระเบิดทิ้งเสียที่วัดเขมา

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

ครั้นถึงในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการหล่อปืนพระพิรุณขึ้นอีกครั้งในปี

พ.ศ.๒๓๑๘ ที่บริเวณสวนมังคุด (ปัจจุบันคือบริเวณหลังโรงพยาบาล

ศิริราช) โดยมีบันทึกอยู่ในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)

ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อปืนชื่อ

พระพิรุณแสนห่า ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๒๙ โดยหล่อขึ้นพร้อมกับปืนใหญ่อีก

๖ กระบอก บริเวณประตูวิเศษไชยศรีพระบรมมหาราชวัง จึงสันนิษฐาน

ได้ว่า ปืนใหญ่พระพิรุณที่หล่อขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีกับปืนใหญ่พระพิรุณ

แสนห่าที่หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นคนละกระบอกกัน เนื่องจาก

มีหลักฐานปรากฏในพระราชพงศาวดารอย่างชัดเจน ถึงการหล่อ

ปืนพระพิรุณทั้ง ๒ กระบอกในช่วงเวลาที่ต่างกัน

ปืนใหญ่พลิกพสุธาหงาย ปืนใหญ่พี่น้องฝาแฝดกับปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่า ตามที่ SEWELL ได้กล่าวถึงในวารสารสยามสมาคม

ในบทความเรื่อง “Notes on Some Old Siamese Guns”

เอกสารอ้างอิง :

จันทนุมาศ (เจิม). พัน. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). [ม.ป.ท.]: โรงพิมพ์เดลิเมล์. ๒๔๘๐.

พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. [ม.ป.ท.]: โอเดียนสโตร์. ๒๔๙๕.

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล. พระศรีสรรเพชญ. กรุงเทพฯ : มติชน. ๒๕๖๐.

ศิริรัจน์ วังศพ่าห์. ปืนใหญ่โบราณในประวัติศาสตร์ชาติไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๕๐.

อำนาจ พุกศรีสุก ... (และคนอื่นๆ). มองประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านศัสตราวุธ. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. ๒๕๕๕.

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

C.A. Seymour Sewell. M.A. “Notes on Some Old Siamese Guns.” Journal of The Siam Society. Vol. xv.PT.I. 1-43.

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

15


เชิดชูเกียรติทหารกล้า

๓ กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ทหารผ่านศึก เป็นผู้ที่ได้ทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องอธิปไตย

และรักษาความมั่นคงของชาติบ้านเมือง มีผลงานแห่งความ

องอาจกล้าหาญที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะ

เป็นการทำสงครามในสมรภูมิใด เหล่าทหารผ่านศึกทุกท่านไม่เคย

ย่อท้อ ไม่เคยหวั่นเกรงต่ออริราชศัตรู ประเทศของเราจึงมีวีรบุรุษ

จากศึกสงครามเกิดขึ้นมากมาย วีรบุรุษเหล่านี้คือตัวแทนแห่งความ

กล้าหาญและเสียสละอย่างแท้จริง เพราะทุกท่านต้องเอาชีวิตเข้าแลก

และรู้ตัวเองดีว่าเมื่อออกสู่สนามรบแล้ว อาจจะได้รับบาดเจ็บ

เสียชีวิต หรือพิการทุพพลภาพ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิด

ความหวั่นเกรงแต่อย่างใด เกียรติประวัติแห่งความกล้าหาญ

ซึ่งวีรบุรุษทหารผ่านศึกรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้กระทำเพื่อชาติบ้านเมือง

มิเพียงได้รับการจารึกอยู่ตามอนุสาวรีย์ นักรบต่าง ๆ เท่านั้น

แต่ยังจารึกอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยไปตราบนาน

เท่านาน

16

เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของทหารผ่านศึก รัฐบาล

จึงได้จัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้น

เพื่อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึก

ครอบครัวทหารผ่านศึกและทหารนอกประจำการ รวมทั้งผู้ที่กำลัง

ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

องค์การฯ ได้พัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานด้านการสงเคราะห์

มาโดยตลอด ซึ่งการสงเคราะห์มีอยู่ ๖ ประเภท ได้แก่ การสงเคราะห์

ด้านสวัสดิการและการศึกษา การสงเคราะห์ด้านอาชีพ

การสงเคราะห์ด้านการเกษตร การสงเคราะห์ด้านการให้สินเชื่อ

การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล และการสงเคราะห์ด้านการ

ส่งเสริมสิทธิและเกียรติ ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ทหารผ่านศึกมีชีวิตความ

เป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและ

ศักดิ์ศรี นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ เชิดชูเกียรติแก่ทหารผ่านศึก

โดยเฉพาะในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันทหารผ่านศึก

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก


เป็นวันสำคัญวันหนึ่งที่ประชาชนชาวไทย จะได้ร่วมรำลึกถึงคุณงาม

ความดีและความเสียสละของทหารผ่านศึก ผู้ยอมสละเลือดเนื้อและ

ชีวิตเป็นชาติพลี รวมทั้งให้การยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ทหารผ่านศึก

ทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นผู้ปกป้องประเทศชาติให้รอดพ้นจาก

ภยันตรายทั้งปวง

สำหรับการจัดงานวันทหารผ่านศึก ประจำปี ๒๕๖๕ องค์การฯ

ได้กำหนดจัดงานภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่

ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยจัดพิธีและกิจกรรม

ต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๒๗ มกราคม ถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ภายใต้ชื่องาน “เชิดชูเกียรติทหารกล้า ๓ กุมภาพันธ์

วันทหารผ่านศึก” โดยมี พลเอก สัณทัศน์ นันทิภาคย์หิรัญ

ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นประธานในพิธี

ประกอบด้วย

- วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๔๕ น.

ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม ณ มัสยิดมูฮายีรีน (ดินแดง)

กรุงเทพมหานคร

- วันอังคารที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น.

ประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์ ณ วัดบ้าน เซเวียร์ (อนุสาวรีย์

ชัยสมรภูมิ) กรุงเทพมหานคร

- วันพุธที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ประกอบพิธีต่าง ๆ ได้แก่

เวลา ๐๖.๐๙ น. พิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง ณ ศาลหลักเมือง

กรุงเทพมหานคร

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

เวลา ๐๘.๐๙ น. พิธีถวายเครื่องสังเวยศาลพระภูมิ ณ บริเวณ

ศาลพระภูมิ หน้าที่ทำการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

เวลา ๐๙.๐๙ น. พิธีทางศาสนาพุทธ ณ ห้องชาตินักรบ

(อาคาร ๒ ชั้นที่ ๒) องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

เวลา ๑๘.๐๐ น. พิธีจุดตะเกียงโบราณ ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

กรุงเทพมหานคร

เวลา ๑๘.๓๐ น. พิธีจุดไฟอนุสรณ์ความร่วมมือและสามัคคี

ของทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน

ณ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

- วันอังคารที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันทหารผ่านศึก

ประกอบพิธีต่าง ๆ ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร ได้แก่

เวลา ๐๙.๐๐ น. พิธีจุดตะเกียงตามประทีปดวงวิญญาณและ

สักการะอัฐิ ณ ห้องจารึกชื่อ ผู้เสียสละชีพเพื่อชาติ ภายในอนุสาวรีย์

ชัยสมรภูมิ

เวลา ๐๙.๓๐ น. พิธีวางพวงมาลา โดยเป็นการประกอบพิธี

วางพวงมาลาของหน่วยงานราชการต่าง ๆ สมาคม ผู้ช่วยทูตฝ่าย

ทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย ตลอดจนทหารผ่านศึก

ทุกสมรภูมิ ร่วมวางพวงมาลา

เวลา ๑๑.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์

วางพวงมาลา

สำหรับการเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา ได้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม

พิธี โดยผู้ที่จะเข้าร่วมพิธี ต้องนำหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย

ประวัติการรับวัคซีนมาแล้ว ๒ เข็ม ผ่านการตรวจ ATK มาแล้ว

ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง หรือผ่านการตรวจ RT-PCR มาแล้วไม่เกิน

๗๒ ชั่วโมง และนำบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก นอกประจำการ หรือ

บัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงกับเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าร่วมพิธี

ในวันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ นับเป็นโอกาสอันดี

ที่พวกเราชาวไทย จะได้ร่วมรำลึกถึงคุณงามความดีและพร้อมใจกัน

สดุดีวีรกรรมของเหล่าทหารหาญ ที่ทำให้พวกเราได้อยู่อย่างร่มเย็น

มาจวบจนปัจจุบัน ในการนี้ จึงขอเชิญชวนชาวไทยทุกหมู่เหล่าร่วม

บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือทหารผ่านศึกและครอบครัวผู้ยากไร้

โดยสามารถร่วมบริจาคได้ที่

บัญชี “องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก” เพื่อสงเคราะห์

ทหารผ่านศึกและครอบครัว ผู้ยากไร้ ธนาคารทหารไทยธนชาต

จำกัด (มหาชน) สาขาโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๐๓๘-๗-๓๑๑๙๓-๙ หรือบริจาคผ่าน

QR Code ขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์

๐ ๒๓๕๔ ๘๕๘๗ ต่อ ๔๑๒๓๕ - ๔๑๒๓๖

17


โครงการพัฒนาเครื ่องค้นหา

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยการวัดค่าฮาร์โมนิคสะท้อน

พันเอก ดร.กิตติ รัตนดิษฐ์

รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ต้นแบบเครื่องค้นหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคนิคการวัดค่าฮาร์โมนิคสะท้อน

ความเป็นมา

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) ดำเนินการ

รวบรวมความต้องการงานวิจัยจากกองอำนวยการรักษาความ

มั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า และอนุมัติโครงการพัฒนาเครื่องค้นหา

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยการวัดค่าฮาร์โมนิคสะท้อน ภายใต้โครงการ

วิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที ่สอง โดยมี กรมสรรพาวุธทหารบก

(สพ.ทบ.) เป็นหน่วยเจ้าของโครงการ และมี พันเอก ยุทธนา ไชยสมบัติ

เป็นนายทหารโครงการ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี

ดร.กิตติคุณ ทองพูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะ

วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นนักวิจัยของโครงการ

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามผลการประชุมการขับเคลื่อน

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๓ ตุลาคม

๒๕๖๒ ที่เห็นชอบให้กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ดำเนินการ

กำหนดความเร่งด่วนในการวิจัยและพัฒนาทางด้านยุทโธปกรณ์เพื่อ

สนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน

ภาคใต้เป็นลำดับแรก โดยให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ป้องกันภัยบุคคล

และเครื่องมือพิเศษในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อศึกษา ออกแบบ และสร้างต้นแบบเครื่องค้นหาอุปกรณ์

อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคนิคการวัดค่าฮาร์โมนิคสะท้อน โดยมีคุณสมบัติ

18

การทำงานเทียบเท่ากับเครื่องตรวจหาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดหา

จากต่างประเทศ จำนวน ๑ ชุด

หลักการทำงาน/ข้อมูลทางเทคนิค

เครื่องค้นหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยการวัดค่าฮาร์โมนิค

สะท้อน จะส่งคลื่นวิทยุความถี่สูงที่ความถี่อ้างอิง และทำการวัด

สัญญาณสะท้อนกลับที่ความถี่ฮาร์โมนิค โดยอาศัยเอกลักษณ์ใน

พฤติกรรมการสั่นพ้องต่อสัญญาณความถี่ของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ

(Semiconductor หรือ Non-Linear Junction) หรือการตรวจจับ

รอยต่อที่ไม่เป็นเชิงเส้น (Non-Linear Junction Detection : NLJD)

ทำให้สามารถจำแนกวงจรอิเล็กทรอนิกส์ออกจากโลหะทั่วไปได้

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ (กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ - กันยายน

๒๕๖๔)

๑) การเตรียมการ : วางแผนการดำเนินงาน ทบทวนวรรณกรรม

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาคุณสมบัติของอุปกรณ์ และจัดทำพิมพ์เขียว

พร้อมข้อมูลการออกแบบ

๒) การจัดหาอุปกรณ์และติดตั้ง : จัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ สร้าง

วงจรต้นแบบ และพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software)

๓) การทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ (ทางเทคนิค) : ทดสอบ

การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ และระบบ รวมทั้งต้นแบบผลงานวิจัย ณ

ห้องปฏิบัติการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จังหวัดสงขลา

พันเอก ดร.กิตติ รัตนดิษฐ์


การทดสอบภาคสนาม (ทางยุทธวิธี)

ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี

๔) การทดสอบในภาคสนาม (ทางยุทธวิธี) : ทดสอบและประเมิน

ผลการใช้งานจริงในพื้นที่จริง ร่วมกับหน่วยใช้งาน คือ หน่วยทำลายล้าง

วัตถุระเบิดอโณทัย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔

ส่วนหน้า (ทลร.อโณทัย กอ.รมน.ภาค ๔ สน.) ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร

จังหวัดปัตตานี

ผลการดำเนินโครงการ

๑) การทดสอบทางเทคนิคและทางยุทธวิธี : ต้นแบบผลงานวิจัย

สามารถใช้งานได้จริง ตรงตามความต้องการของหน่วยใช้งาน โดย

สามารถจำแนกวงจรอิเล็กทรอนิกส์ออกจากวัตถุประเภทอื่นโดยเฉพาะ

อย่างยิ่งวัสดุโลหะได้เป็นอย่างดี และมีคุณลักษณะเฉพาะ (Spec)

การทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ (ทางเทคนิค)

ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

สูงกว่าหรือดีกว่าข้อกำหนด สามารถขยายผลไปสู่การ

ผลิตเพื่อใช้งานจริงได้

๒) การประเมินผลการใช้งาน : ผู้เข้าร่วมการ

ทดสอบทั้งหมดจากหน่วยใช้งาน มีความพึงพอใจ

ต้นแบบผลงานวิจัยคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๙๕

อยู่ในเกณฑ์ “ดีเยี่ยม”

ประโยชน์ที่ได้รับและแนวทางการขยายผล

๑) สามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม ในการวิจัยและพัฒนาทางด้าน

ยุทโธปกรณ์โดยการพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันภัยสำหรับ

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อสนับสนุนการแก้ไข

ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน

ภาคใต้ ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

๒) สามารถขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๕ ที่

กำหนดให้กองทัพจะต้องมีการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์หลัก/สำคัญ

เพื่อนำไปสู่การผลิตและบรรจุใช้ประจำการในอัตราของเหล่าทัพ อย่างน้อย

เหล่าทัพละ ๑ รายการ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

๓) สามารถขยายผลไปสู่การผลิตใช้งานจริง ตามความต้องการ

ของหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ และเป็นการส่งเสริม

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยได้เป็นอย่างดี

๔) หากได้รับการสนับสนุนและผลักดันให้ทำการผลิตสนับสนุน

หน่วยใช้งานตามความต้องการ จะสามารถประหยัดงบประมาณจาก

การจัดหาจากต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก (ราคาจากการวิจัยและ

พัฒนา ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ บาทต่อชุด ราคาจัดหาจากต่างประเทศ

ประมาณ ๕,๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อชุด) โดยประมาณการ

ความต้องการใช้งานเครื่องตรวจหาวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ของวัตถุระเบิดแสวงเครื่องทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า

๕๐ ชุด จะทำให้ประหยัดงบประมาณทั้งสิ้น ไม่น้อยกว่า

๒๔๐ ล้านบาท

๕) ส่งเสริมและสนับสนุน รวมทั้งขับเคลื่อนความ

ร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่างกระทรวง

กลาโหม กับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งภาค

เอกชน ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะส่งผลดีต่อ

การพัฒนาประเทศโดยรวมได้เป็นอย่างดี

๖) สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนา

ยุทโธปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง ได้แก่ เครื่องรบกวน

สัญญาณวิทยุสื่อสารแบบตรวจจับคลื่นความถี่อัตโนมัติ

(Reactive Jammer) และเรดาร์ตรวจจับโพรงใต้พื้นดิน

(GPR)

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

19


สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

กับบทบาทของซาอุดีอาระเบีย

Global War on Terror : Saudi Arabia

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

รองผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

ภาพผู้นำประเทศสมาชิกพันธมิตรการต่อต้านการก่อการร้าย (Counterterrorism Alliance)

“Your highness the king (Mohammed Bin Salman), the terrorist is (the side) who exported

Daesh ideology to the world and they are you,” Hassan Nasrallah (4 th January 2022)

จากการศึกษาในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศนั้น แทบจะ

ไม่พบว่าผู้นำระดับสูงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง/

สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย แต่การที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็มิได้หมายความว่า

จะไม่เกิด โดยเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๕ นายฮัสซัน นาสรัลเลาะห์

(Hassan Nasrallah) ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายเฮสบอลเลาะห์ (Hezbollah)

ได้ออกแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์เนื่องในวาระครบรอบ ๒ ปีในการ

เสียชีวิตของ พลตรี กอเซ็ม สุไลมานีย์ (MG Qassim Suleimani)

อดีตผู้นำกองกำลังรบพิเศษคุดส์ (Quds) ของอิหร่าน ที่ถูกลอบ

สังหารด้วยโดรนของสหรัฐฯ ณ กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก โดยใน

แถลงการณ์มีเนื้อหาที่สร้างความประหลาดใจด้วยการกล่าวว่า

“มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน (Mohammed Bin

Salman) คือผู้นำก่อการร้ายที่แท้จริงอีกทั้งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้การ

สนับสนุนรถยนต์ติดระเบิดให้กับกลุ่มไอซิส สาขาอิรัก (ISIS core)”

บทบาทของซาอุดีอาระเบียจากอดีตสู่ปัจจุบัน

“Before 2003 … Saudi was often uncooperative on

counterterrorism and more part of the problem than

part of the solution…”

Daniel Byman 24 th May 2016

(testified before the House Committee on Foreign Affairs)

“…ประเด็นที่สำคัญที่สุดนั้นก่อนปี ๒๐๐๓ ในสงครามต่อต้าน

การก่อการร้าย ซาอุดีอาระเบียเป็นส่วนของปัญหามากกว่าเป็นส่วน

ของความร่วมมือ…”

หากกล่าวถึงภูมิภาค/เขตพื้นที่ที่มีความร่ำรวยเป็นลำดับ

ต้น ๆ ของโลกแน่นอนว่าเข็มทิศจะมุ่งหันไปที่กลุ่มประเทศรอบอ่าว

อาหรับหรืออ่าวเปอร์เซีย (Gulf States) ที่ประกอบด้วย

ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กาตาร์

20

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


โอมานและคูเวต และได้มีการรวมกลุ่มเพื่อต่อสู้เป้าหมายร่วมกันซึ่ง

ได้แก่ อิหร่าน เนื่องจากหวั่นเกรงต่อกระแสการส่งออกแนวคิดการ

ปฏิวัติอิสลามอิหร่านที่รวมถึงการล้มล้างระบอบการปกครองแบบ

กษัตริย์ กลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย จึงได้สถาปนาคณะมนตรีความ

ร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation

Council : GCC) จากนั้นกลุ ่ม GCC ภายใต้

การนำของซาอุดีอาระเบียจึงได้พัฒนา

ความสัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐฯ เพื่อ

หาพันธมิตรทางด้านความมั่นคงในการ

รับมือกับการขยายอำนาจของประเทศ

มหาอำนาจในภูมิภาค (ตะวันออกกลาง)

ซึ่งได้แก่ อิหร่านและอิรัก โดยครอบคลุม

ในเรื่องการสงครามต่อต้านการก่อการร้าย

(Global War on Terror 2001) ที่

ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช

(George W. Bush) ประกาศเมื่อ

๑๑ ตุลาคม ๒๐๐๑ เพื่อล้างแค้นต่อ

เหตุการณ์โจมตีด้วยเครื่องบิน ณ พื้นที่

สำคัญทางสัญลักษณ์ของสหรัฐฯ

(เหตุการณ์ ๙/๑๑) โดยมุ่งเป้าหมายไปที่

กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ (Al Qaeda)

และผู้ให้การสนับสนุน/พักพิง ซึ่งรัฐบาล

ซาอุดีอาระเบียได้รับบทบาทเป็นแม่ทัพ

ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช

แห่งตะวันออกกลาง มุมมองในอดีต จากการวิเคราะห์รายงาน

คำแถลงการณ์ของนาย Daniel Byman พอสรุปได้ว่าหากพิจารณา

ในเรื่องความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายในห้วงปี ๒๐๐๓

แม้ว่ารัฐบาลซาอุดีอาระเบียจะมีความพยายามตั้งใจเป็นอย่างดี

แผนที่ประเทศกลุ่มอ่าวเปอร์เซีย (Gulf State)

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

21


ก็ยังไม่เพียงพอต่อสภาพการณ์ที่เป็นสภาพที่แท้จริงหากพิจารณา

เชิงลึกโดยการเปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงจากภัยคุกคามกับ

ขีดความสามารถของฝ่ายความมั่นคง ซึ่งจากการวิเคราะห์ดังกล่าว

ตั้งอยู่บนฐานคิดหลัก ๒ ประการคือ ข้อแรก ฝ่ายความมั่นคงนั้น

มองว่ากลุ่มก่อการร้ายฯ เป็นตัวแทนในการต่อสู้กับประเทศคู่ขัดแย้ง

ในภูมิภาค ข้อสอง การเข้าปราบปรามเปรียบเสมือนการกระตุ้น

ให้เกิดเหตุรุนแรงภายในประเทศ

ในห้วงที่ผ่านมามีนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าซาอุดีอาระเบีย

คือผู้อยู่เบื้องหลัง/ให้การสนับสนุนกลุ่ม อัลกออิดะฮ์ ซึ่งผู้เขียนมี

มุมมองที่แตกต่างออกไป เนื่องจากในยุคก่อตั้งกลุ่มก่อการร้าย

อัลกออิดะฮ์ (ยุคสงคราม Afghan-Soviet 1979-1989) ภายใต้การนำ

ของ อัล-ซาวาห์ฮิรี (Al Zawahiri) นั้นมีวัตถุประสงค์ในการต่อสู้กับ

ศัตรู ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก เป็นประเทศล่าอาณานิคมและ

จักรวรรดินิยมที่เข้าสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ซึ่งศัตรูในขณะนั้น คือสหภาพ

โซเวียตและการทำญีฮาด (Jihad) นับว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน

กลุ่มที่สอง เป็นประเทศมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดต่อหลักธรรมเนียมปฏิบัติ

ของคำสอนศาสนาและให้ความร่วมมือกับประเทศต่างความเชื่อทาง

ศาสนา อาทิ ประเทศแอลจีเรีย อียิปต์ จอร์แดน และซาอุดีอาระเบีย

“insufficiently Muslim governments” ซึ่งในอีกมุมมองหนึ่งคือ

ประเทศที่ให้ความร่วมมือกับตะวันตกล้วนต้องการพัฒนาประเทศ

ผ่านความร่วมมือ/ความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ ดังนั้นเมื่อ

อุดมการณ์มีความแตกต่างจึงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของกลุ่ม

ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างหลีกเลี่ยงมิได้เช่นกัน ซึ่งจากการ

22

ติดตามคำประกาศของนายอุซามะฮ์ บิน ลาดิน (Osama bin

Laden) แกนนำคนสำคัญที่ถูกขับไล่ออกจากราชอาณาจักรเมื่อปี

๑๙๙๔ และได้ส่งสารถึงกษัตริย์ฟาห์ฮัส (“an Open Letter to

King Fahd”) ในการกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุนศัตรูต่างศาสนาอีก

ทั้งพบว่ามีการกระตุ้นสมาชิกให้จัดการกับรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย

อย่างต่อเนื่องจึงเป็นที่ประจักษ์ว่าราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียนั้น

ตกเป็นเป้าหมายจากการก่อเหตุรุนแรงเช่นกัน อีกทั้งเมื่อ ๑๒

พฤษภาคม ๒๐๐๓ กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ได้ทำการลอบวาง

ระเบิดที่พักอาศัย ณ กรุงริยาด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

ดังนั้นการฉายไฟไปชี้เป้าว่าซาอุดีอาระเบียเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของ

กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์นั้นอาจจะต้องพิจารณาทบทวนอีกครั้ง

กองกำลังเฮสบอลเลาะห์ในพิธีรำลึกการเสียชีวิตของ

พลตรี กอเซ็ม สุไลมานีย์

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบีย

(Crown Prince Mohammed bin Salman) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

มุมมองอนาคต จากการศึกษาและวิเคราะห์บทบาทการต่อต้าน

การก่อการร้ายพบว่าซาอุดีอาระเบียเป็นแกนนำในการทำ

สงครามต่อต้านการก่อการร้ายโดยเฉพาะในพื้นที่อ่าวเปอร์เซีย โดย

ให้การอนุญาตกับหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายจากกองกำลัง

ชาติตะวันตกใช้พื้นที่ในการวางแผนและปฏิบัติภารกิจ ต่อมาเมื่อ

๑๕ ธันวาคม ๒๐๑๕ มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน

แห่งซาอุดีอาระเบีย (Crown Prince Mohammed bin Salman)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทรงประกาศว่ารัฐบาล

ซาอุดีอาระเบียและประเทศมุสลิม ๓๔ ประเทศได้ร่วมสถาปนา

พันธมิตรการต่อต้านการก่อการร้าย (Counterterrorism Alliance)

เพื่อปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายในอิรัก ซีเรีย อียิปต์ และ

อัฟกานิสถาน โดยศูนย์ปฏิบัติการร่วมมีที่ตั ้งอยู่ ณ กรุงริยาด

ประเทศซาอุดีอาระเบีย อีกทั้งได้เพิ่มบทบาทหน่วยสืบราชการลับ

(Mabahith) และหน่วยข่าวกรองให้เป็นกำลังหลักในการทำหน้าที่

ประสานงานให้การสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารให้แก่ประเทศ

ที่เข้าร่วมและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย อาทิ การทำลายเครือข่าย

กลุ่มก่อการร้ายที่สำคัญ ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์

นายฮัสซัน นาสรัลเลาะห์ (Hassan Nasrallah) ผู้นำกลุ่มก่อการร้าย

เฮสบอลเลาะห์ (Hezboallah) แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์

สาขาคาบสมุทรอาหรับ (Al Qaeda in the

Arabian Peninsula : AQAP) ที่มีที่ตั้งหลัก

ณ ประเทศเยเมน และกลุ่มก่อการร้ายไอซิสที่

เคลื่อนไหวบริเวณราชอาณาจักร ทั้งนี้ความสำเร็จนั้น

มากับความเสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยใน

สงครามต่อต้านการก่อการร้ายส่งผลให้

ซาอุดีอาระเบียตกเป็นเป้าหมายการโจมตีไม่เพียง

แต่กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ แต่ได้กลายเป็นศัตรู

ของกลุ่มก่อการร้ายไอซิสไปในที่สุด ส่งผลให้เมื ่อ

๑ มีนาคม ๒๐๑๙ สถานเอกอัครราชทูต

ซาอุดีอาระเบียประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ต้องออก

ประกาศแจ้งเตือนพลเรือนของตนในสหรัฐฯ ให้

ระวังการถูกลอบทำร้ายจากกลุ่มดังกล่าว ซึ่งในอีก ๓ ปีต่อมา

ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียได้ตกเป็นเป้าหมายจากกลุ่มก่อการร้าย

เฮสบอลเลาะห์เพิ่มขึ้นอีก

จากการวิเคราะห์ พบว่านับจากนี้บทบาทแกนนำในสงคราม

ต่อต้านการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง ภายใต้การกำกับดูแลของ

มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ในระยะสั้นนั้นมีความเสี่ยงต่อ

การถูกโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากกลุ่มก่อการร้าย

ต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมต้องไม่ยอมศิโรราบอย่างง่ายดาย แต่ในระยะยาว

เมื่อทุกประเทศจากทุกวัฒนธรรมหันไฟฉายไปที่เดียวกัน แน่นอน

ว่าความสว่างของแสงจะปรากฏชัดเจน ซึ่งปรากฏการณ์นี้จะส่งผล

ให้กลุ่มก่อการร้ายตกอยู่ในสถานะที่ลำบากและยากต่อการเล็ดลอด

จากการตรวจสอบ และนี้เปรียบเสมือนการมองเห็นเปลวแสงเทียน

ที่ปลายอุโมงค์ (ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย)

References

BBC News 2015, Saudis announce Islamic anti-terrorism coalition,

Middle East, 15 th Dec, viewed 15 th Jan 2021

<https://www.bbc.com/news/world-middle-east-35099318>.

Byman, D 2016, The U.S.-Saudi Arabia Counterterrorism Relationship,

Brookings, 24 th May, Viewed 15 th Jan 2021 <https://www.brook

ings.edu/testimonies/the-u-s-saudi-arabia-counterterrorism-re

lationship/>.

Combating Terrorism Center (CTC) 2002, An Open Letter to King Fahd,

West Point, viewed 15 th Jan 2021 <https://ctc.usma.edu/harmo

ny-program/open-letter-to-king-fahd-from-bin-laden-originallanguage-2/>.

Gavlak, D 2022, Lebanon’s Hezbollah Leader Criticizes Saudi Arabia,

Deepening Rift, VOA News, 4 th Jan, viewed 10 th Jan 2022

<https://www.voanews.com/a/lebanon-s-hezbollah-leader-criticizessaudi-arabia-deepening-rift-/6382168.html>.

The Embassy of the Kingdom of Saudi Arabia 2019, SAUDI ARABIA

AND COUNTERTERRORISM, March, viewed 15 th Jan 2021

<https://www.saudiembassy.net/sites/default/files/SAUDI%20ARA

BIA%20AND%20COUNTERTERRORISM.pdf>.

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

23


สั

งคมไทยของเรา มีคนดี คนเก่ง ที่มีความรู้ความสามารถ

อยู่มากมายพร้อมที่จะทำหน้าที่ของผู้นำยุคดิจิทัลได้แต่อยู่ใน

สภาพที่กระจัดกระจาย ต่างคนต่างอยู่ต่างคนต่างทำงานเลี้ยงตัวเอง

ยังไม่มีการรวบรวม และจัดระเบียบเพื่อนำคนไทยซึ่งมีศักยภาพ

ความเป็นผู้นำยุคดิจิทัลเหล่านั้นมาพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำให้

เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดเป็นพลังสร้างสรรค์ของสังคมไทย

24

ผู้นำจิตสาธารณะ

ด้านความมั ่นคง : ผู้นำของผู้นำยุคดิจิทัล

ในการนำพาสังคมไทยให้พ้นวิกฤตและก้าวสู่การเป็น

ประเทศที ่เจริญยิ

่งใหญ่ในโลกหลังยุคโควิด-19 (ตอนจบ)

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ นี้ น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะใช้สถานการณ์

วิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันให้เป็นโอกาสของสังคมไทย ซึ่งทุก

ภาคส่วนโดยเฉพาะภาครัฐและภาคเอกชน ควรร่วมมือกันค้นหา

คนเหล่านั้นในกลุ่มคนไทยทุกรุ่นทุกวัยให้เจอ แล้วลงทุนสร้างพื้นที่

และโอกาส นำพาคนดีคนเก่งในสังคมเหล่านั้นมาพัฒนาให้มีศักยภาพ

ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งพร้อมเป็นผู้นำยุคดิจิทัลเพื่อนำพาคนไทย

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


ทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกหมู่เหล่าให้ร่วมมือร่วมใจกัน

สามัคคีกลมเกลียวกัน ช่วยกันนำความสงบสุขที่

แท้จริงกลับคืนสู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน และนำพา

สังคมไทยให้ผ่านวิกฤตไปด้วยกัน

ภารกิจในการที่จะค้นหาคนไทยเหล่านี้ให้เจอ

และนำพาให้มาร่วมพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำยุค

ดิจิทัลของตนให้เข้มแข็งและพร้อมที่จะร่วมกันนำพา

ประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า สู่การเป็นประเทศที่

เจริญยิ่งใหญ่ในโลกหลังยุคโควิด-19 เพื่อให้บรรลุ

ความมุ่งหมายร่วมของสังคมไทยในการที่จะก่อให้เกิด

ประโยชน์สุขแก่ทุกคนในชาติของเราตามยุทธศาสตร์ใหม่

สำหรับประเทศไทยนี้ ทำให้สังคมไทยจำเป็นต้องมีคนกลุ่มหนึ่ง

ซึ่งพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์และความสุขส่วนตนมาช่วยทำ

ประโยชน์ให้แก่สังคมไทยโดยรับภารกิจอันสำคัญยิ่งนี้ด้วยการเป็น

ผู้นำของผู้นำยุคดิจิทัล เป็นผู้นำที่เรียกว่า “ผู้นำจิตสาธารณะด้าน

ความมั่นคง” เพื่อทำหน้าที่สร้างผู้นำยุคดิจิทัลให้มีศักยภาพพร้อม

เป็นผู้นำของคนไทยทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายให้ร่วมกันนำพาสังคมไทยให้พ้น

วิกฤตและนำประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่เจริญยิ่งใหญ่ใน

โลกหลังยุคโควิด-19 ได้สำเร็จ

๔. แนวทางการพัฒนา “ผู้นำจิตสาธารณะด้านความมั่นคง”

ในสังคมไทย

“ผู้นำจิตอาสาด้านความมั่นคง” มีความสำคัญต่อความอยู่รอด

ปลอดภัยของคนไทย ต่อความอยู่รอดสวัสดิภาพและความสงบสุข

ของสังคมและประเทศชาติ เป็นผู้ที่จะนำพาคนไทย สังคมไทยและ

ประเทศไทยให้ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดีในทิศทางที่ถูกต้องตาม

ทำนองคลองธรรม

หากพิจารณาสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่จะเห็น

ถึงความสำคัญดังกล่าวได้ชัดเจน ทั้งนี้ ถ้าเราพิจารณาสถานการณ์

ในปัจจุบันในมุมมองด้านความมั่นคง จะพบว่าประเทศไทยกำลัง

ต้องเผชิญภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสังคมไทยใน ๓ ลักษณะ

พร้อม ๆ กัน ได้แก่ ภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของราชอาณาจักรไทย

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

25


ภัยคุกคามต่อความอยู่รอดปลอดภัยในชีวิตของประชาชนและ

ภัยคุกคามต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของโครงสร้างสังคมไทย ทำให้

ระบบการดำเนินงานในการบริหารราชการแผ่นดิน ระบบการดำเนินงาน

ของฝ่ายนิติบัญญัติและระบบราชการดำเนินงานของฝ่ายตุลาการ รวมถึง

ระบบการดำเนินงานและกิจการภาคธุรกิจเอกชนเกิดความสั่นคลอน

มีเสถียรภาพที่ไม่มั่นคงและอาจส่งผลกระทบถึงประชาชน

ทั่วไปซึ่งเกิดความเครียดจากปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้คนไทย

จำนวนมากเริ่มกลายเป็นคนหัวร้อน ใจร้อน โดยไม่รู้ตัวจนบางครั้ง

ได้ทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้คิดพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบถึงผลกระทบ

ที่จะเกิดขึ้นเพราะจิตใจของเขาเหล่านั้นไม่มั่นคงทำให้ขาดสติ

และนำไปสู่ความขัดแย้งไม่สามารถรวมกัน ไม่สามารถร่วมมือร่วมใจ

กันสร้างพลังบวกให้สังคมไทยเพื่อรับมือกับ

ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้คำถามก็คือเราจะทำ

อย่างไรเพื่อช่วยให้สังคมไทยและประเทศไทย

อยู่รอดปลอดภัยจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้น

และสามารถสถาปนาความมั่นคงให้กลับคืน

มาโดยเร็ววัน

สิ่งหนึ่งที่ควรร่วมมือกันทำคือ การ

ประสานคนไทยทุกคน ทุกกลุ่มให้ร่วมมือ

ร่วมใจให้สามัคคีกลมเกลียวกันสร้าง

“พลังบวกของสังคมไทย” ที่มีขนาดเพียงพอ

ให้เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามในครั้งนี้

คำถามต่อไปก็คือ แล้วใครจะเป็นคนทำให้

คนไทยกลุ่มต่าง ๆ ทั้งหลายมาประสานกัน มารวมกันร่วมกันสร้าง

“พลังบวกของสังคมไทย” ร่วมมือร่วมใจกันนำพาสังคมไทยและ

ประเทศไทยให้ผ่านพ้นภัยคุกคามทั้งหลายและร่วมกันทำงานต่าง ๆ

จนบรรลุจุดหมายที่ดีงามร่วมกันนั่นคือเกิดประโยชน์สุขแก่คนไทย

ทุกคนในชาติของเรา

การตอบคำถามนี้ เราต้องทบทวนถึงแหล่งกำเนิดของผู้นำซึ่ง

ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้นำนั้นมีกำเนิดมาได้หลายช่องทางทั้งที่เป็นผู้นำ

โดยกำเนิดตามสายเลือด หรืออาจเป็นโดยการแต่งตั้งและอาจเป็น

ผู้นำที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติโดยสถานการณ์ทำให้เกิดผู้นำตามที่

เหมาะสมกับสถานการณ์หนึ่ง ๆ นอกจากนั้น ผู้นำอาจกำเนิดขึ้นมา

โดยการเรียนรู้ ศึกษา ฝึกฝนตนเองและพัฒนาตนเองจนเกิดภาวะ

26

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


ผู้นำที่เข้มแข็งและสอดคล้องกับสถานการณ์ ประกอบกับได้กระทำ

คุณความดีอย่างต่อเนื่องเป็นที่ศรัทธาของผู้คนจนได้รับการยอมรับ

และยกให้เป็นผู้นำของหมู่ชน ซึ่งจะช่วยให้กำหนดแนวทางที่จะใช้

ในการพัฒนาผู้นำจิตสาธารณะด้านความมั่นคงให้สังคมไทยได้

เมื่อนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาร่วมกับสถานการณ์และ

ความต้องการของสังคมไทยปัจจุบันที่จำเป็นต้องมีพลังบวกของ

สังคมที่เพียงพอในการรับมือภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นพลังที่ต้อง

เกิดจากการประสานให้คนไทยทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน

ทำให้เห็นว่าแนวทางที่ควรนำมาใช้ในการพิจารณาผู้นำจิตสาธารณะ

ด้านความมั่นคงในสังคมไทยคือแนวทาง “สร้าง

นิสัยความเป็นผู้นำจิตสาธารณะที่คิดดี ทำดี”

ด้วยการใช้วิธีให้การศึกษา ให้ฝึกฝนและให้

พัฒนาตนเองของคนไทยให้มีนิสัยดังกล่าว โดย

๑. จัดให้มีแหล่งข้อมูลทั้งหนังสือและ

เอกสารเกี่ยวกับผู้นำจิตสาธารณะและพัฒนา

ภาวะผู้นำในชุมชนและหมู่บ้านต่าง ๆ ให้ทั่วถึง

เพื่อให้คนไทยได้ศึกษาด้วยตนเองอย่าง

ต่อเนื่อง

๒. มีหลักสูตรการเรียน การสอนคุณธรรม

“คิดดี ทำดี” การสอนเกี่ยวกับผู้นำจิตสาธารณะ

และการพัฒนาภาวะผู้นำที่เข้มแข็งในโรงเรียน

ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาตั้งแต่

ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย ให้คนไทยได้

ศึกษาทฤษฎีหลักการและได้ฝึกฝนตนเองใน

บทบาทการเป็นผู้นำจิตสาธารณะด้วยการ

ปฏิบัติกิจกรรมง่าย ๆ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ ๓

ชั่วโมง ให้เกิดนิสัย คิดดี ทำดี ปรารถนาจะเป็น

ผู้นำจิตสาธารณะที่จะทำคุณความดีและ

ประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นแก่คนไทยทุกคน

๓. ให้สถานศึกษาของทหารทุกแห่งจัดให้มีการอบรมและทำ

โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้นำจิตสาธารณะด้านความ

มั่นคงให้แก่คนไทยในวัยทำงานทุกปี โดยดำเนินการตามพื้นที่

ต่าง ๆ ทุกจังหวัด

แนวทางที่ใช้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผู้นำ

จิตสาธารณะด้านความมั่นคงในสังคมไทย ซึ่งเป็นแนวทางพื้นฐาน

ที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคตยิ่งขึ้นไป

ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนสนับสนุน ทั้งโดยตรง

และโดยอ้อมทำให้ได้ข้อมูลจากผู้เขียนที่มี

คุณค่ายิ่งและได้รับการสนับสนุนด้วยกำลังกาย

กำลังใจ ทำให้สามารถเขียนเรื่อง “ผู้นำจิต

สาธารณะด้านความมั่นคง” นี้ได้สำเร็จตาม

ความมุ่งประสงค์ทุกประการ

ที่มาของภาพ : httpsstepplustraining.com, httpsthaiwinner.

com2-min-3, httpswww.thebalancecareers.com ลักษณะ

ผู้นำ, httpswww.youtube.com, httpwww.pmat.or.th4

ประเภทของผู้นำแห่งอนาคต, httpwww.pmat.or.

thการสร้างภาวะผู้นำ 2

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

27


พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ

กองผลิตสื่อ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

พิ

พิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู ่ในกองบัญชาการ

กองทัพบก ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับ

วิวัฒนาการของกองทัพบก ด้วยการรวบรวมและจัดแสดงวัตถุ

ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทัพบก ประกอบด้วย ห้องจัดแสดง

ตัวอย่างของอาวุธที่ใช้ในกองทัพ ธง และเครื่องมือเครื่องใช้ทางทหาร

ห้องแสดงเครื่องแบบ เครื่องหมายทหาร จำลองวีรกรรมและ

เหตุการณ์ของกองทัพบก และห้องแสดงวิวัฒนาการกองทัพบก

นำเสนองานด้านประวัติศาสตร์ ตลอดจนวิวัฒนาการของกองทัพบก

นับตั้งแต่เริ่มมีการสถาปนาอาณาจักรไทยจนถึงปัจจุบัน โดยมี

สถานที่สำคัญ ๆ ที่เปิดให้เข้าชม ดังนี้

สิงห์โลหะคู่ ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ บริเวณ

ปากประตูทางเข้า เดิมเป็นสมบัติของจอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา-

บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์-

วรเดช ทรงเคยดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้บังคับบัญชาการทหารทั่วไป

ผู้บังคับบัญชาการกรมยุทธนาธิการ และเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

ห้องบรรยายสรุป เป็นห้องที่สามารถจุผู้เข้าชมได้ประมาณ ๕๐ คน

สำหรับผู้เข้าเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ฯ จะได้ชมสไลด์มัลติวิชัน ความยาว

28

๑๕ นาที เรื่อง “วิวัฒนาการของกองทัพบก”

อาคารชั้นที่ ๑ “เยี่ยมชมอาวุธโบราณและย้อนประวัติศาสตร์

ชาติไทย” ห้องอาวุธจัดแสดงอาวุธปืนต่าง ๆ ซึ่งกองทัพบกใช้ใน

สงครามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงสงครามเวียดนาม

รวมถึงปืนที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ และปืนที่ยึดได้จากผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์

อาคารชั้นที่ ๒ “ตื่นตากับคทาทองคำแท้และตำราพิชัยสงคราม

โบราณ” ห้องนิทรรศการหมุนเวียนและห้องรับรอง จัดส่วนหนึ่งของ

ห้องให้เป็นนิทรรศการหมุนเวียน เพื่อให้ผู้ชมได้รับทราบเรื่องราว

เพิ่มเติมจากในพิพิธภัณฑ์ฯ

ห้องธงและเครื่องมือเครื่องใช้ทางทหาร จัดแสดงธงชัยเฉลิมพล

ซึ่งกองทัพบกได้รับพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รัชกาลต่าง ๆ ที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ “ธงจุฑาธุชธิปไตย” เป็นธงชัย

เฉลิมพลประจำกองทัพธงแรก ซึ่งรัชกาลที่ ๕ พระราชทานแก่

จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ (เจิม แสงชูโต) เพื่อเป็นผู้แทนพระองค์

ไปปราบพวกจีนฮ่อที่ก่อความวุ่นวายทางภาคเหนือ ส่วนสิ่งของที่ไม่

ควรพลาดชมในห้องนี้ก็คือ “คทาจอมพล” อันเป็นเครื่องหมายแสดง

กองผลิตสื่อ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


เกียรติยศสูงสุดทางทหาร ซึ่งได้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีลักษณะ

เป็นคทาทองคำแท้และยอดเป็นรูปครุฑ นอกจากนี้ยังมี “ทองคำแท่ง”

ที่กรมสรรพาวุธขุดพบที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑

และ “ตำราพิชัยสงคราม” ที่เขียนขึ้นตามฉบับหลวง โดย

พระมหานาคจำลองในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้น

ห้องเครื่องแบบและเครื่องหมายทางทหาร จัดแสดง

วิวัฒนาการเครื่องแบบที่ใช้ในกองทัพบกมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย

กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ สงครามโลกครั้งที่ ๑

สงครามมหาเอเชียบูรพา จนถึงปัจจุบัน

อาคารชั้นที่ ๓ “สักการะพระบรมรูปสมเด็จพระปิยมหาราช

ห้องพระบารมีปกเกล้า” เป็นห้องที่ประดิษฐาน พระบรมรูปขนาด

เท่าพระองค์จริงของสมเด็จพระปิยมหาราชและจัดแสดงภาพ

อดีตผู้บังคับบัญชาการทหารบกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังใช้

ห้องนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีรับ-ส่งหน้าที่ของผู้บัญชาการทหารบก

อีกด้วย

ห้องจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ จัดแสดงเหตุการณ์

จำลองวีรกรรมการรบทางบกครั้งที่สำคัญของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย

ถึงปัจจุบัน

ผู้ที่สนใจเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถทำหนังสือติดต่อล่วงหน้า

อย่างน้อย ๓ วัน และประสานได้โดยตรงที่กรมยุทธการทหารบก

โทรศัพท์ ๐ ๒๒๙๗ ๗๓๔๗

แหล่งที่มา : หนังสือตะลุยเที่ยวเขตทหาร สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

29


สมุดปกขาวของจีน

เรื ่อง “ความร่วมมือเพื ่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” (ตอนที ่ ๒)

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้าราชการบำนาญ

สำ

นักงานสารนิเทศคณะรัฐมนตรีจีน ได้เผยแพร่สมุดปกขาว

ของจีน เรื่อง “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔ โดยสำหรับ

ตอนที่ ๒ นี้ จะกล่าวถึงแนวคิดประชาคมร่วมอนาคตนำความร่วมมือ

ทางการพัฒนาระหว่างประเทศของจีนในยุคใหม่ ซึ่งมีประเด็นที่

น่าสนใจดังนี้

๑. รากฐานทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของความร่วมมือ

ด้านการพัฒนาระหว่างประเทศของจีน เน้นความศรัทธาความ

เชื่อมั่นในคุณค่าการรักษาความยุติธรรมและเสริมสร้างคุณธรรม

ยึดมั่นในแนวคิดเชิงคุณค่าของ “One World, Shared Destiny”

เคารพความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ยุติธรรม

และสมเหตุสมผล รวมทั้งมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนการพัฒนาระดับโลก

โดยยึดมั่นในคุณค่าร่วมกันของสันติภาพ การพัฒนา ความ

ยุติธรรม ประชาธิปไตยและเสรีภาพของมวลมนุษยชาติ รวมทั้ง

ดำเนินตามแนวทางของการพัฒนาอย่างสันติ การพัฒนาแบบเปิด

การพัฒนาความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกัน

30

๒. แนวคิดความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศของ

จีนในยุคใหม่ นับตั้งแต่การประชุมแห่งชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ครั้งที่ ๑๘ โดยความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศของจีน

ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนา

อื่น ๆ ลดความยากจนและปรับปรุงวิถีชีวิตของประชาชนโดยมี

เป้าหมายที่จะทำงานร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดช่องว่างการ

พัฒนาระหว่างเหนือและใต้ กำจัดการขาดดุลในการพัฒนาและสร้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ที่มีความเคารพซึ่งกัน

และกัน ความเป็นธรรม ความยุติธรรมและความร่วมมือแบบ win-win

สร้างโลกแห่งสันติภาพที่ยั่งยืน ความมั่นคงสากล ความมั่งคั่ง

ร่วมกัน การเปิดกว้างและความอดทน ตลอดจนการช่วยเหลือซึ่งกัน

และกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นความร่วมมือใต้-ใต้

โดยสอดคล้องกับขั้นตอนการพัฒนาของตนเองเพื่อบรรลุการพึ่งพา

ตนเอง

๓. ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับความร่วมมือด้านการพัฒนา

ระหว่างประเทศของจีนในยุคใหม่ ได้แก่

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


๓.๑ เคารพซึ่งกันและกันและปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกัน

จีนสนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ

บนพื้นฐานของหลักการ ๕ ประการของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

และยืนยันว่าทุกประเทศไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เข้มแข็งหรืออ่อนแอ

ร่ำรวยหรือยากจน ก็เป็นสมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศที่

เท่าเทียมกัน รวมทั้งดำเนินความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่าง

ประเทศโดยไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และจะไม่

แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง

๓.๒ ทำในสิ่งที่ทำได้ ทำให้ดีที่สุด โดยปฏิบัติตามพันธกรณี

ระหว่างประเทศที่ตรงกับความเข้มแข็งของชาติและให้ความ

ช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ตามขีดความสามารถภาย

ในกรอบความร่วมมือใต้-ใต้ รวมทั้งเคารพความคิดเห็นของประเทศ

กำลังพัฒนาอื่น ๆ อย่างเต็มที่ และกำหนดโครงการความร่วมมือ

ผ่านการปรึกษาหารือที่เป็นมิตร

๓.๓ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์

และแผนพัฒนาของประเทศต่าง ๆ ตอบสนองต่อความต้องการ

ลำดับความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ

กำลังพัฒนา โดยคำนึงถึงการปรับปรุงความเป็นอยู่และความเป็นอยู่

ของประชาชน เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในการพัฒนาและ

เพิ่มความพยายามในการลดความยากจน การลดภัยพิบัติ การศึกษา

สุขภาพและการเกษตร การจ้างงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม

และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งมีส่วนร่วมในปฏิบัติการ

บรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมในกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ผลการพัฒนา

ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นสามารถเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป

๓.๔ สอนวิธีการตกปลาและพัฒนาตนเองให้กับผู้คน

พิจารณาอย่างถ่องแท้ถึงระดับการพัฒนาและความต้องการในการ

พัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ โดยแบ่งปันประสบการณ์

การพัฒนาและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

อย่างไม่สงวนลิขสิทธิ์ รวมทั้งมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความเข้มแข็ง

ให้กับตนเอง ทั้งนี้ รูปแบบต่าง ๆ และผลการปฏิบัติในระยะยาว

จีนได้กำหนดวิธีการช่วยเหลือที่มีลักษณะเฉพาะของจีน

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

31


๓.๕ ส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพ การศึกษาและความ

ร่วมมือทางวิชาการ สนับสนุนการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านการ

บริหารโครงการในประเทศที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการจัดการโครงการ

ในท้องถิ่น ซึ่งประเทศที่มีปัญหาในการชำระหนี้ควรได้รับการแก้ไข

ผ่านการเจรจาทวิภาคี

๓.๖ ก้าวล้ำไปกับยุคสมัย สร้างสรรค์การพัฒนา

ให้สอดคล้องกับแนวโน้มของเวลาและการพัฒนาทั้งในและ

ต่างประเทศ โดยไม่เพียงแต่ยึดมั่นในลักษณะของจีนเท่านั้น แต่ยัง

ปฏิรูปและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็น

ประโยชน์ของประเทศอื่น ๆ และองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้ง

32

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ระบบและกลไกการปฏิรูป ในการปรับปรุงกฎและระเบียบ เสริมสร้าง

วิธีการความร่วมมือ เสริมสร้างเนื้อหาความร่วมมือ ตลอดจนส่งเสริม

คุณภาพและประสิทธิภาพของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่าง

ประเทศ ตามเป้าหมายการพัฒนาและความต้องการความร่วมมือ

ของประเทศกำลังพัฒนา

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

๔. มาตรการเชิงปฏิบัติของจีนสำหรับความร่วมมือด้านการ

พัฒนาระหว่างประเทศ ความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่าง

ประเทศของจีนไม่เพียงแต่เป็นพันธสัญญาที่เคร่งครัดเท่านั้น

ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ประกาศมาตรการเชิงปฏิบัติหลายประการ

สำหรับจีนในการดำเนินความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่าง

ประเทศในโอกาสสำคัญ ๆ ระหว่างประเทศหลายครั้งทำให้จีนมี

ส่วนร่วมในการพัฒนาระดับโลก อาทิ อาศัยแพลตฟอร์มความร่วมมือ

“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” สายแถบและเส้นทาง”

“Belt and Road Initiative : BRI”) เพื่อเพิ่มความช่วยเหลือให้กับประเทศ

กำลังพัฒนาอื่น ๆ การเสนอแผนความร่วมมือกับประเทศก ำลังพัฒนา

ในภูมิภาคต่าง ๆ ผ่านกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาค เป็นต้น

บทสรุป ในโลกปัจจุบันประเทศต่าง ๆ เชื่อมโยงกันและพึ่งพากัน

มากขึ้นเรื่อย ๆ ความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศของ

จีนในยุคใหม่ได้รับการชี้นำโดยการส่งเสริมการสร้างชุมชนที่มี

อนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ ด้วยความมุ่งหมายทางจิตวิญญาณ

ทำให้การพัฒนามีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลจีน

กำลังดำเนินมาตรการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

อย่างจริงจัง ตามมาตรการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น ซึ่งได้ดำเนินการ

ตามกำหนดเวลาหรือกำลังดำเนินไปอย่างเป็นระเบียบและมีความ

คืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2021-01/10/

content_5578617.htm

33


รวมพลัง

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ

รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำเตือนเมื่อ ๒๙

พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

ที่มีชื่อว่า “โอมิครอน” มีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดย

การเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของไวรัสตัวนี้ ยังไม่มีข้อค้นพบที่แน่ชัดว่า

มันกลายพันธุ์มาจากไวรัสตัวไหนกับตัวไหน แต่ที่แน่ ๆ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่

ที่ชื่อ “โอมิครอน” ได้สร้างความเสี่ยงสูงอย่างยิ่งต่อประชากร

ในประเทศทั่วโลก และการที่มีโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนี้ กำลัง

มีแนวโน้มที่เป็นไปได้สูงว่า พวกมันมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งการแพร่

ระบาดที่เพิ่มขึ้น จากความสามารถในการหลบหลีกภูมิต้านทานใน

ตัวมนุษย์ที่เกิดจากวัคซีนทั้งหลายในปัจจุบัน ทั้งพวกมันยังสามารถ

ติดต่อกระจายไปได้อย่างกว้างขวางแม้ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกันตาม

มาตรการที่เคยทำสำเร็จมาแล้วจากการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดิม

ซึ่งก็อาจนำไปสู่สถานการณ์อันเลวร้ายต่อมวลมนุษยชาติอีกครั้งหนึ่ง

ด้วยโอมิครอน ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ

การเพิ่มขึ้นในส่วนการส่งผ่านการแพร่เชื้อ หรือการก่อให้เกิดอันตราย

หรือความเสียหายโดยมีการเปลี่ยนแปลงในทางระบาดวิทยา

(การพัฒนาของเชื้อโรค) ของโควิด-19 ความรุนแรงของโรค หรือการ

เปลี่ยนแปลงในอาการของโรคทางคลินิกที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบ

เชิงลบต่อประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขและมาตรการทาง

34

สังคม หรือการวินิจฉัยวัคซีน รวมทั้งระบบการบำบัดรักษาโรค

ที่มีอยู่

ทั้งนี้ WHO ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนนี้

มีจำนวนการกลายพันธุ์บนโปรตีนหนาม (Spike Protein) ในหลาย

ตำแหน่งอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งบางตำแหน่งก็น่าหวั่นวิตกว่าจะมีอิทธิพล

ต่อแนวโน้มของสถานการณ์โรคระบาด ดังนั้นความเสี่ยงโดยรวมที่

เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจึงอยู่ในระดับสูง

อย่างยิ่งในสถานการณ์ขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไวรัส

โอมิครอนตัวนี ้ ยังเป็นไวรัสที่มนุษย์พบเจอครั้งแรกที่ประเทศ

แอฟริกาใต้ ที่ WHO ได้รับรายงานเรื่องไวรัสตัวนี้ เมื่อวันที่ ๒๔

พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นไวรัสตัวใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ท ำให้

ความรู้ความเข้าใจของสิ่งมีชีวิตตัวนี้ยังมีไม่มากพอ ข้อมูลต่าง ๆ ใน

ห้วงเวลานี้ จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของนักวิชาการและผู้ที่

เกี่ยวข้องกับไวรัสวิทยาเท่านั้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จ ำเป็นต้องทำการ

วิจัยเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน เพื่อทำความเข้าใจถึงความสามารถของ

สายพันธุ์โอมิครอนในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและการติดเชื้อ

ครั้งก่อนหน้า โดยคนทั้งโลกต่างคาดหวังว่า น่าจะมีข้อมูลเพิ่ม

มากขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ


ในขณะที่คนทั้งโลก กำลังตื่นตัวเรื่องโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่

อย่างโอมิครอนที่อุบัติขึ้นใหม่อย่างน่ากังวล แต่อย่าลืมว่าไวรัส

โควิด-19 สายพันธุ์เดิมที่เรียกว่า สายพันธุ์เดลต้า ก็ยังไม่ได้จางหาย

ไปเท่าใดนัก สายพันธุ์เดลต้ายังคงเป็นสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาด

ไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อเดลต้ายัง

ไม่สามารถควบคุมได้เท่าที่ควร จึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ของคนติดเชื้อ

ทั่วโลกมากที่สุดในปัจจุบัน ดร.โซเมีย สวามินาธาน หัวหน้า

นักวิทยาศาสตร์ของ WHO กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อกว่า ๙๙ เปอร์เซ็นต์

ทั่วโลก เกิดจากสายพันธุ์เดลต้า และอัตราการเสียชีวิตส่วนใหญ่

เกิดขึ้นในกลุ่มที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน จึงคิดว่านั่นคือเรื่องที่คนทั้งโลก

ต้องให้ความสำคัญก่อน ในขณะที่ผู้คนต่างเฝ้ารอข้อมูลเพิ่มเติม

อย่างใจจดใจจ่อเกี่ยวกับสายพันธุ์โอมิครอน

จากประสบการณ์ของมนุษยชาติที่ต่อสู้กับภัยคุกคามตัวใหม่

ที่มนุษย์มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าตลอด ๒ ปีที่ผ่านมานี้ มีบทเรียน

สำคัญว่า ไวรัสร้ายตัวนี้ที่ชื่อ “โควิด-19” สามารถแพร่กระจายไป

ได้ทั่วโลก ด้วยการเกาะติดกับมนุษย์ที่มีเชื้อซึ่งแอบซ่อนตัวไปกับ

มนุษย์ที่เดินทางไปมาหาสู่กันจากทวีปสู่ทวีป จากประเทศหนึ่งไป

ยังอีกประเทศหนึ่ง โดยมีมนุษย์เป็นพาหะในการเดินทางเพื่อขยาย

เผ่าพันธุ์ พร้อมกับการคร่าชีวิตผู้คนและท ำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมอันเป็น

ปกติสุขของผู้คนในโลกมาอย่างมากมายอย่างที่มนุษย์หยุดยั้ง

ได้ยาก ปรากฏการณ์นี้ จึงเป็นข้อเตือนใจให้ทุกประเทศต้องตระหนัก

และให้ความสำคัญกับการเตรียมรับมือกับไวรัสร้ายตัวใหม่นี้อย่าง

จริงจังและทันการณ์ เพราะมันสามารถเดินทางไปยังคนทุกดินแดน

ได้แม้จะอยู่ห่างไกลกัน อาทิ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ส ำนัก

ข่าวอัลจาซีรา รายงานว่า อังกฤษ เยอรมนี และอิตาลี เป็นสาม

ประเทศที่พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ขณะที่หลาย

ประเทศได้ระงับการเดินทางจากกลุ่มประเทศแอฟริกาตอนใต้

แล้ว และล่าสุดทางการประเทศญี่ปุ่น ได้ยืนยันการพบ

ผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์โอมิครอนรายแรกที่พบในญี่ปุ่นเป็นทูต

จากประเทศนามิเบีย โดยถูกตรวจพบเชื้อที่สนามบินนาริตะ

นับเป็นผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์รายแรกที่พบในญี่ปุ่น หลังจาก

ที่ทางการญี่ปุ่นเพิ่งจะประกาศปิดประเทศ ห้ามชาวต่างชาติจาก

ทุกประเทศเข้ามายังญี่ปุ่นเป็นเวลา ๑ เดือน โดยเริ่มมีผลอย่างเป็น

ทางการเมื่อ ๓๐ พฤศจิกายนที่ผ่านมา

เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า โอมิครอน กำลังเป็น

เชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำ

ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาใต้ และตั้งแต่นั้น

ได้มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อในเบลเยียม บอตสวานา อิสราเอลและ

ฮ่องกง แม้ว่านักระบาดวิทยาจะกล่าวว่า การระงับการเดินทางอาจ

สายเกินไปที่จะหยุดไม่ให้โอมิครอนระบาดไปทั่วโลก แต่ก็เป็น

มาตรการฉุกเฉินเร่งด่วนประการเดียวที่มีอยู่ในขณะนี้ที่หลาย

ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา บราซิล แคนาดา และกลุ่ม

ประเทศในสหภาพยุโรป รวมทั้งประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ

เริ่มทยอยประกาศระงับการเดินทางหรือจำกัดการเดินทางจาก

แอฟริกาใต้แล้ว ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และเริ่มใกล้

ประเทศไทยเข้ามาทุกที เมื่อสิงคโปร์ ตรวจพบผู้โดยสารจำนวน ๒ ราย

ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยเป็นผู้ที่เดินทางจากประเทศ

แอฟริกาใต้ มาเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินชางงีของสิงคโปร์ เพื่อไปยัง

ปลายทางนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย

โอมิครอน คือตัวอย่างของภัยร้ายของคนทั้งโลกที่สายตา

มนุษย์มองไม่เห็น มันจึงเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ที่น่าสะพรึงกลัวที่

กำลังก่อสงครามกับมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนควร

ตระหนักถึงภยันตรายที่มีต่อมนุษย์ทั้งโลกร่วมกันอย่างไม่ต้องสงสัย

เพราะสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์นี้ พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองให้มีศักยภาพ

สูงขึ้นตลอดเวลา เพื่อต่อสู้กับศักยภาพของมนุษย์อย่างไม่หยุดยั้ง

ซึ่งนั่นจะเป็นบทเรียนสำคัญที่มนุษย์โลกต้องตระหนักถึงสงคราม

ครั้งใหม่นี้ร่วมกัน เพื่อละวางอุดมการณ์หรือแนวความคิดใด ๆ

อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าของมนุษย์ และมุ่งมั่น

รวมพลังของทุกคนในโลก เพื่อเอาชนะสงครามครั้งนี้ให้ได้

ที่มาของภาพ : httpswww.bot.or.thcovid_200330, httpswww.pptvhd36.com

ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ดอมิครอน., www.tnt.com.

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

35


พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบัน

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (ในขณะนั้น) ได้รับการประกาศ

เกียรติคุณรางวัล “นักบริหารดีเด่นแห่งปี” พุทธศักราช ๒๕๖๔

สาขาความมั่นคงแห่งชาติ จาก พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข

องคมนตรี กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิพระดาบส เป็นประธาน

ในพิธี ในโครงการหนึ่งล้านกล้าความดีตอบแทนคุณแผ่นดิน

ณ ห้องชัยพฤกษ์ หอประชุมกองทัพอากาศ

มูลนิธิเพื่อสังคมไทย จัดพิธีมอบรางวัลสตรีตัวอย่างแห่งปี/

นักบริหารดีเด่นแห่งปี/องค์กรดีเด่นแห่งปีประจำปี ๒๕๖๔ เพื่อมอบ

เปิดประตูสู่เทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข

ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

รับรางวัล “Executive of The Year 2021” รางวัลเกียรติยศ...บนเส้นทางชีวิต

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

36

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ประกาศเกียรติคุณและยกย่องบุคคลผู้ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสม

เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและมีผลงานที่เป็น

ประโยชน์ต่อสาธารณชน มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงาน

กิจการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเอง

และความร่วมมือของผู้อื่น ประพฤติตนอยู่ในกรอบของคุณงามความดี

มีคุณธรรมจริยธรรม อีกทั้งมีการตอบแทนคุณแผ่นดินในรูปแบบ

ต่าง ๆ สมควรยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมและสาธารณชน

สืบไป

รางวัล “นักบริหารดีเด่นแห่งปี” พุทธศักราช ๒๕๖๔ สาขา

ความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ นับเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึง

วิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำของ พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข

ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในด้านการ

บริหารองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีป้องกันประเทศ รวมไปถึง

การบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร โดยที่ผ่านมา พลอากาศเอก

ดร.ปรีชา ประดับมุข เป็นบุคคลที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการ

บริหารงานให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย สำเร็จตามพันธกิจ และ

สามารถสร้างความน่าเชื่อถือทำให้องค์กรได้รับการยอมรับจากทุก

ภาคส่วน ซึ่งสะท้อนถึงผลสำเร็จในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของผู้นำ

องค์กร โดยนำองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ในการ “เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี

ป้องกันประเทศในภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของกองทัพไทย

และพันธมิตรอาเซียน” และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในด้าน

ความโปร่งใส สุจริตและมีคุณธรรม อีกทั้งยังปลูกฝังพฤติกรรมสุจริต

ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนรวมของ

ประเทศชาติเป็นที่ตั้ง รวมทั้งตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

ส่วนรวม เพื่อสร้างการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข กล่าวว่า ในการเป็น

ผู้บริหารจัดการองค์กรให้บรรลุไปตามวิสัยทัศน์นั้นไม่ใช่สิ่งที่ผู้บริหาร

จะทำได้แต่เพียงผู้เดียวต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากกลุ่มผู้บริหาร

และพนักงานทุกคนในองค์กรในการร่วมกันทำให้องค์กรเป็นผู้นำ

ด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ สทป. จะมุ่งมั่นและพัฒนา

เทคโนโลยี นวัตกรรม และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อพัฒนา

ประเทศชาติให้ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ในระดับภูมิภาคต่อไป “สทป. คิดเพื่อชาติ คิดเพื่อคุณ”

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

37


พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (ยศในขณะนั้น) รับเสด็จฯ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

บรมนาถบพิตร และถวายงานบนเขาค้อปี ๒๕๒๔

“เ

ยุทธการเสือดำสมรภูมิเขาค้อ

ตอนที ่ ๑

ดับไฟเขาค้อด้วยศาสตร์พระราชารัชกาลที ่ ๙

ปรียบเขาค้อเป็นดั่งหัวใจของเขา หากเราทำลายหัวใจของเขาได้

ส่วนอื่น ๆ ที่เปรียบเสมือนอวัยวะต่าง ๆ ก็จะตายลงทีละน้อย

ความรุนแรงของเขาค้อเวลานี้ เปรียบเสมือนลูกไฟดวงใหญ่ เป็นอั้งโล่

ที่ร้อนแรง หากเอาอะไรใส่ลงไปก็จะหลอมละลาย เราต้องลด

อุณหภูมิของเตาไฟนั้นลงซึ่งทำได้โดยจุดความเย็นให้เกิดขึ้นโดยรอบ

เพื่อลดความร้อนจากเตาไฟนั้น” ข้อความส่วนหนึ่ง จากภาพยนตร์

เทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙ เรื่อง ลุ่มน้ำเข็ก ยุทธศาสตร์พัฒนา

ย้อนไปในยุคสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จบลง ลัทธิ

คอมมิวนิสต์ได้ขยายสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศเพื่อนบ้าน

ของไทยทั้งเวียดนาม ลาว กัมพูชา ได้ถูกลัทธิคอมมิวนิสต์

เข้ายึดครอง เหลือเพียงประเทศไทยที่กำลังถูกรุกอย่างหนัก ซึ่งพื้นที่ป่าเขา

ทุรกันดารใน ๓๖ จังหวัดของประเทศไทยเวลานั้นถูกผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์หรือที่รู้จักกันในชื่อ ผกค. ได้เข้ายึดครองเป็นพื้นที่สีแดง

เสียงปืน เสียงระเบิดที่ ผกค.ยิงต่อสู้กับตำรวจ ทหาร ไทยอาสา

ป้องกันชาติ (ทสปช.) ทหารพราน ดังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะที่

เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ในเวลานั้นมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีภูเขามากมาย

ยากแก่การเข้าไปถึงของเจ้าหน้าที่ของรัฐและไม่สามารถตรวจการ

เห็นได้จากทางอากาศและทางพื้นดิน พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเขาค้อ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔

กรกต เกตุแก้ว

อดีตทหารพรานจู่โจมกองร้อย ๙๑๑ ชค. ๕๑๓ ค่ายปักธงชัย

ประเทศไทย (พคท.) ได้ตั้งฐานปฏิบัติการและเป็นที่มั่นแข็งแรงอยู่

ที่เขาค้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ เรื่อยมา มีการต่อสู้กันระหว่าง

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กับกลุ่มเจ้าหน้าที่จนมีคำพูดที่ว่า “เขาค้อ

ลุกเป็นไฟ” ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หรือ ผกค.เขาค้อ ก็คือชาวเขา

เผ่าม้งที่ร่วมอุดมการณ์กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยปฏิบัติ

การในพื้นที่เขาค้อโดยมีชาวเขาเผ่าม้งในพื้นที่เป็นมวลชน

กองทัพไทยพยายามทำให้แผ่นดินเขาค้อสงบแต่ก็ยังไม่สำเร็จ

ดังนั้นทหารพลร่มป่าหวายจากค่ายเอราวัณจึงถูกส่งไปปราบปราม

ผกค. และถูกยิงในขณะกระโดดร่มลงทำให้ทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

จากวีรกรรมของทหารพลร่มป่าหวายนี้ได้มีการแต่งเพลง ชื่อ

“วีรกรรมเขาค้อ” เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสูญเสียในการรบครั้ง

นั้นอย่างไม่มีวันลืม

แม้จะพยายามส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามเป็นเวลาหลายปี

ก็ยังไม่สามารถดับไฟเขาค้อให้ดับลงได้ ทางกองทัพภาคที่ ๓ จึงได้

นำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัตินั่นคือการ

สร้างทางนำความเจริญเข้าไปในพื้นที่เขาค้อ ทำให้ชาวเขาที่เป็นมวลชน

ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

38

กรกต เกตุแก้ว


“ยุทธการเสือดำ” โดย พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (ยศใน

ขณะนั้น) ภายใต้รหัส “เสือใหญ่” เป็น ผู้บัญชาการกองกำลังผสม

เขาค้อ โดยมีหน่วยทหารที่ร่วมปฏิบัติการในขณะนั้นหลายหน่วยงาน

รวมทั้ง ทหารรับจ้างจากลาว ทหารจีนคณะชาติก๊กมินตั๋ง (KMT)

กองพลที่ ๙๓ ทหารพราน พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ ๑๖๑๗ (พตท.

๑๖๑๗) ทหารม้าและทหารพรานจู่โจมชุดควบคุมและประสานงาน

โครงการ ๕๑๓ (ชค.๕๑๓) ค่ายปักธงชัยจากดินแดนที่ราบสูง

รถแทรกเตอร์ต้องใช้ท่อนไม้ป้องกันกระสุนที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

ยิงโจมตีขณะก่อสร้างถนน

ทหารพรานจู่โจม ชค.๕๑๓ หน่วยรบที่ถูกกล่าวขานว่า “เสือก

ทุกที่ที่มีการรบ” ได้เข้าไปทำหน้าที่ในยุทธการนี้หลายกองร้อย เช่น

กองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ ๙๒๑,๙๔๐,๙๔๑,๙๔๗,๙๔๘,๙๑๑,๙๕๕

และ ๙๕๐ และอีกหลายกองร้อยที่ไม่ได้กล่าวถึงมี พันเอก อัฐพล

จบกลศึก หัวหน้าชุดควบคุมและประสานงานโครงการ ๕๑๓ (หน.

ชค.๕๑๓) จากค่ายปักธงชัยเป็นหัวหน้าส่วนแยกที่ ๑๓ เขาค้อ

พันตรี โพยม เกตุแก้ว เป็นรองหัวหน้าส่วนแยกที่ ๑๓ เขาค้อ

นำกำลังเข้าปฏิบัติภารกิจนี้

พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ เป็นรองผู้บัญชาการกองพล

ทหารราบที่ ๔ (รอง ผบ.พล.ร.๔) เป็น ผู้บัญชาการกองกำลังผสม

เขาค้อ พันเอก สุรเชษฐ์ เดชาติวงศ์ เป็นเสนาธิการกองกำลัง โดยใน

วันอังคารที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ คือวันเปิดยุทธการเสือดำ

พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ รหัส “เสือใหญ่” เป็น ผู้บัญชาการ

กองกำลังผสมเขาค้อ คุมกำลังทั้งหมดที่ร่วมปฏิบัติการในยุทธการ

เสือดำ

ก่อนเริ่มปฏิบัติการ ผู้นำหน่วยต่าง ๆ ได้เข้าประชุมกันที่

บก.ผสม.เขาค้อ เสือใหญ่ได้กล่าวในที่ประชุมว่า “ยุทธการเสือดำ

ครั้งนี้เราจะใช้แผนปฏิบัติ ๒ แผนคือ ๑) จะให้ทหารพรานจู่โจม ๕๑๓

ค่ายปักธงชัย จำนวน ๒ กองร้อยส่งกำลังขึ้นยึดเนินสำคัญไว้เพื่อ

ควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ ผกค.ยิงโจมตีฝ่ายเรา จากนั้นให้รถ

แทรกเตอร์ดันดิน ดันต้นไม้ ทำทางออกไปให้ได้ระยะพอประมาณ

แล้วให้รถแทรกเตอร์ถอยกลับมาจากนั้นให้รถสายพานลำเลียงพล

M-113 ที่ติดปืนกล ๙๓ วิ่งออกไปยิงเคลียร์แล้วถอยกลับเข้ามาจาก

นั้นให้ทหารพรานค่ายปักธงชัยดำเนินกลยุทธ์รุกไปข้างหน้า ทำเป็น

ห้วง ๆ”

เรื่องกำลังจะเริ่มต้นนะครับ จะเกิดอะไรขึ้น และจะสามารถ

ก่อสร้างถนนได้หรือไม่ โปรดติดตามตอนต่อไปครับ รับรองสนุกแน่

ทหารพรานจู่โจม ชค.๕๑๓ ค่ายปักธงชัย คุ้มกันการก่อสร้างถนนบนเขาค้อ ปี พ.ศ.๒๕๒๔

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

39


รัฐบาลเตรียมความพร้อมด้านพลังงาน

ของประเทศเน้นส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต

รองผู้อำนวยการกองเลขานุการ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะ

กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยได้

เน้นให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันหาแนวทางเตรียมความ

พร้อมด้านพลังงานของประเทศไทยให้เพียงพอ

เพื่อไม่ให้ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า ซึ่ง

จะส่งผลให้ราคาไฟฟ้าสูงขึ้น และทำให้เกิดไฟฟ้าตก

ไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ อาจเกิดความเสียหายได้

โดยเฉพาะการสนับสนุนส่งเสริมนำพลังงาน

หมุนเวียนต่าง ๆ มาใช้ ทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์

ลม น้ำ และพลังงานชีวมวลหรือพลังงานสะอาด

เป็นต้น โดยคำนึงถึงประชาชนในพื้นที่ได้รับ

ประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ความร่วมมือร่วมใจ

ของทุกฝ่าย จะนำไปสู่การป้องกันไม่ให้ประเทศเกิด

40

วิกฤตด้านพลังงาน โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๕ ต้องดำเนินการให้มีความ

ก้าวหน้าชัดเจน เกิดผลเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น และขยายการดำเนินการ

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต


ให้เกิดผลสำเร็จต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป เพื่อร่วมกันพลิกโฉม

ประเทศไทยทุกมิติ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการลด

รายจ่าย เพิ่มรายได้ พร้อมแนะให้พิจารณาแยกกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าให้

ชัดเจน ทั้งกลุ่มโรงงาน/เครื่องจักร เกษตรกร สาธารณูปโภคพื้นฐาน

กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีที่ใช้พลังงานมาก ฯลฯ เพื่อกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า

ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นธรรมกับทุกกลุ่มและประชาชนแต่ละ

กลุ่มได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือ

จากภาครัฐตามมาตรการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์

ที่เกิดขึ้น

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ขอให้มีการสร้างความรู้

ความเข้าใจ เรื่องการขับเคลื่อนพลังงานของประเทศให้ประชาชน

รับทราบ เพื่อร่วมมือกันขับเคลื ่อนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดและ

เตรียมความพร้อมในทุกมิติ พร้อมย้ำให้ดำเนินการแผนการขับเคลื่อน

การดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ.

๒๕๖๕ - ๒๕๗๔ รวมถึงโครงการอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

๒๐ ปี แผนปฏิรูปประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที ่ ๑๓ พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี ่ยวข้อง ดูแลเรื่องการใช้

เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก อันจะส่งผล

ให้เกิดไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าตกได้ จึงต้องดูแลไม่ให้ส่งผลกระทบต่อ

การใช้ไฟฟ้าในภาพรวมของประชาชนและประเทศ รวมไปถึง

การแสวงหาความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้การกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน

และถูกต้องตามกฎหมายที่มีอยู่ เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

สำหรับแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของ

ประเทศไทย ระยะปานกลาง พ.ศ.๒๕๖๕ - ๒๕๗๔ โดยกำหนด

วิสัยทัศน์ (Vision) ของแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง ที่มุ่ง

ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการจัดการ

ทรัพยากรในระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่จำเป็น รองรับการเปลี่ยนผ่าน

ไปสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้ายุคใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตร

ต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้มีความสอดคล้องกับแผนแม่บทฯ และ

สถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านสมาร์ทกริด

ของประเทศไทยเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน และ

เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ และจะได้

ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาระบบโครงข่าย

ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศต่อไป

ที่มาของภาพ : pinwheels-gfed8d6c59_1920, renewablegc66e0779a_1920,

windmills-gd02ebf165_1920

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

41


พลังอำนาจ

จากมรดกทางวัฒนธรรม

จุฬาพิช มณีวงศ์

รองบรรณาธิการ วารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

หลังจากนักวิชาการชื่อ โจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) แห่ง

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เสนอแนวคิดรูปแบบใหม่ในการโน้มน้าว

ชักจูงและดึงดูดความสนใจให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงคล้อยตามความคิด

โดยไม่ใช่การบีบบังคับข่มขู่หรือใช้ความรุนแรงเพื่อให้ทำตาม

แตกต่างจากการใช้อำนาจทางเศรษฐกิจหรือทางการทหาร เป็น

อิทธิพลที่ทรงพลังจากวัฒนธรรมการกีฬาหรือแม้แต่การศึกษาและ

เรียกอำนาจนี้ว่า ซอฟต์พาวเวอร์ กล่าวกันว่าคำคำนี้กลายเป็น

คลื่นลูกใหม่ที่ได้รับความสนใจและพูดถึงกันมาก

ที่สุดในวงการต่าง ๆ แม้โดยสภาพความเป็นจริง

หลายประเทศจะมีการใช้ประโยชน์จากซอฟต์

พาวเวอร์ดังกล่าวมาช้านานแล้วก็ตาม

ซอฟต์พาวเวอร์ มีบทบาทสำคัญในการ

สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับหลาย

ประเทศแทนอำนาจแบบเดิม ๆ ตัวอย่างที่

เด่นชัดได้แก่ วัฒนธรรมเกาหลีจากเรื่องอาหาร

มาตรฐานความงามและอุตสาหกรรมบันเทิง

โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมบันเทิงของ

เกาหลี เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่ได้เกิดขึ้นจาก

ความบันเทิง แต่มาจากการวางแผน ส่งเสริม

และอัดฉีดงบประมาณจากภาครัฐมาตั้งแต่ช่วง

ปลายทศวรรษที่ ๑๙๙๐ และเป็นกลยุทธ์ที่

สร้างรายได้ในเชิงธุรกิจอย่างมหาศาล จนส่งผล

ให้เกาหลีใต้ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่สองของ

โลกด้านการใช้ประโยชน์จากซอฟต์พาวเวอร์

รองจากเยอรมนีตามด้วยญี่ปุ่นและไต้หวัน โดย

ญี่ปุ่นได้เริ่มใช้ซอฟต์พาวเวอร์ราวปี พ.ศ.๒๕๕๕

นำจุดแข็งด้านวัฒนธรรม ได้แก่ แฟชั่น เกม

การ์ตูน อาหารซึ่งสอดแทรกทั้งในธุรกิจ ชุมชน

วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ทำให้มีคุณค่าต่อความ

รู้สึกของผู้บริโภค เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้

เดินทางมาเยือน โดยได้รับแรงสนับสนุนจาก

รัฐบาล โดยเฉพาะถูกนำไปใช้ในตอนที่ญี่ปุ่น

เป็นเจ้าภาพโอลิมปิคเกมส์ ๒๐๒๐

สำหรับประเทศไทยซึ่งถูกมองว่ามีความ

พร้อมด้านทุนวัฒนธรรม ทั้งในเรื่องอาหาร

ดนตรี ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรม

ขนบธรรมเนียมประเพณี สามารถใช้ซอฟต์

พาวเวอร์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้หลายทาง

อาทิ ต้มยำกุ้งซึ่งเป็นอาหารที่มีชื่อเสียง

ดังไกลไปทั่วโลกและถือเป็นอาหารในต่างแดน

ที่มีราคาสูง นวดไทยซึ่งถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากฤาษีดัดตนที่เก่าแก่

มวยไทยถูกจัดให้เป็นการต่อสู้แบบ Martial Arts และถูกลอก

เลียนแบบดัดแปลงไปในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Kick Boxing รวมถึง

ละครไทยและภาพยนตร์ไทยที่ในระยะหลังแผ่อิทธิพลไปยังประเทศ

เพื่อนบ้านและมีการส่งออกไปยังตลาดนอก

ความพร้อมของประเทศไทยในการเปิดประตูไปสู่ซอฟต์พาวเวอร์

ดูเหมือนจะขาดเพียงสิ่งเดียวคือ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ผ่านมา

42

จุฬาพิช มณีวงศ์


ซึ่งหากเปรียบเทียบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดของเกาหลีใต้แล้ว

รัฐบาลเกาหลีใต้วางนโยบายสนับสนุนเอกชนอย่างเต็มที่ มีการจัด

ตั้งกองทุนหลักเป็นเงิน ๑,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ให้ผู้ประกอบการ

จัดสรรงบประมาณร้อยละ ๒๐ - ๓๐ แก่เอกชน มีการจัดตั้งบรรษัท

การร่วมลงทุนแห่งชาติในการจัดการ มีกองทุนมากกว่า ๔,๐๐๐ ล้าน

ดอลลาร์ ซึ ่งเงินส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านภาพยนตร์ ซีรีส์ และ

ดนตรี แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ นี้ รัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรี พลเอก

ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายชัดเจนที่จะให้การสนับสนุนซอฟต์

พาวเวอร์ของไทย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในการใช้ประโยชน์เพื่อ

สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง

ภาครัฐและเอกชน โดยเจ้าภาพหลักคือ กระทรวงวัฒนธรรม

นายอิทธิพล คุณปลื ้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรมจะขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและ

นโยบายนายกรัฐมนตรีที่ให้มีการผลักดันการใช้ซอฟต์พาวเวอร์

ความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยใน ๑๕ สาขา

อาทิ ภาพยนตร์ ศิลปะการแสดง แฟชั่น อาหารไทยและการท่องเที่ยว

ทางวัฒนธรรม รวมถึงนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรมในการนำ

คุณค่าของวัฒนธรรมมาต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าและบริการ

ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F ได้แก่ อาหาร

(Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) ผ้าไทยและการออกแบบ

แฟชั่น (Fashion) มวยไทย (Fighting) และการอนุรักษ์และการ

ขับเคลื่อนเทศกาล ประเพณีสู่ระดับโลก (Festival)

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เปิดเผยว่า ประเทศไทยติดอันดับ ๕ ที่มีอิทธิพลด้านมรดกวัฒนธรรม

ของโลก ประจำปี ๒๕๖๔ จากรายงาน World’s Best Countries

for Cultural Heritage influence

2021 โดย CEO WORLD Magazine

ซึ่งเป็นนิตยสารด้านธุรกิจที่

มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ โดยการ

จัดอันดับได้วิเคราะห์และเปรียบ

เทียบข้อมูล ๑๖๕ ประเทศ ใน ๙

ด้าน ได้แก่ สถาปัตยกรรม มรดกงาน

ศิลป์ แฟชั่น อาหาร ดนตรี

วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ สถานที่

ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและการ

เข้าถึงทางวัฒนธรรม ซึ่งประเทศที่คว้า

อันดับที่ ๑ คือ อิตาลี รองลงมา

ได้แก่ กรีซ สเปน อินเดีย และ

ประเทศไทย ทั้งนี้ประเทศไทยมี

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

มรดกทางวัฒนธรรมมากมายที่ประเทศอื ่นไม่มีและเป็นสิ่งที่ไม่ต้อง

ลงทุนซื้อหาแต่สามารถต่อยอดเชื่อมโยงกับจุดแข็งอื่น ๆ ของไทย

อาทิ อาหารไทย มวยไทยซึ่งมีลักษณะโดดเด่นกว่าชาติอื่นและคาด

ไม่ถึงว่าแม้แต่กางเกงมวยไทยก็ขายดีที่สุดในโลก หากไทยรับมือ

ร่วมกับกลุ่มประเทศ CLMV (ได้แก่ ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao PDR) เมียนมา

(Myanmar) และเวียดนาม (Vietnam)) และอินเดีย ในรูปแบบของ

Asian Culture Heritage ก็จะทำให้พลังในการขับเคลื่อนระดับ

ภูมิภาคดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีจากปรากฏการณ์

LALISA ซึ่งเป็นที่นิยมระดับโลก ทำให้ประเทศไทยมีคุณค่าทางมรดก

วัฒนธรรมอย่างมากในสายตาชาวโลก จึงอยากเห็นการบูรณาการ

43


การทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงการ

อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการนำ

เทคโนโลยีมาผสมผสานกับงานศิลปะและได้เขียนไว้ในแผนทุนวิจัย

ที่พร้อมสนับสนุนเรื่องนี้อย่างเต็มที่

นับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจว่า องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์

และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้ดำเนินการสำรวจ

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหรือมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ เพื่อเป็นการคุ้มครองและสนับสนุนวัฒนธรรมที่

จับต้องไม่ได้ ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

แล้วทั้งสิ้น ๕๖๔ รายการ ใน ๑๓๑ ประเทศทั่วโลก ประเทศไทย

ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแล้ว ๓ รายการ ได้แก่

โขนหรือละครรำสวมหน้ากาก ขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ นวดไทย

หรือการนวดแผนไทย ขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒ และล่าสุดโนรา

หรือนาฏศิลป์ในภาคใต้ของไทย ขึ้นทะเบียนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๔ นี้เอง

44

จุฬาพิช มณีวงศ์


ผลสำเร็จจากการขึ้นทะเบียนโนราเป็นมรดกภูมิปัญญาทาง

วัฒนธรรม โดยการประกาศของยูเนสโกเมื่อวันที ่ ๑๕ ธันวาคม

๒๕๖๔ ในลักษณะศิลปะการแสดงพื้นบ้านซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทย

ภาคใต้ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ

มนุษยชาติ เป็นการจุดประกายความหวังในการขึ้นทะเบียนเรื่องอื่น ๆ

ต่อไป ได้แก่ สงกรานต์และต้มยำกุ้งที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา

รวมถึงมวยไทยและผีตาโขนที่อยู่ในขั้นการเตรียมการขอขึ้นทะเบียน

จากยูเนสโก

นอกจากนี้ล่าสุดยูเนสโกยังได้ประกาศให้จังหวัด

เพชรบุรีเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้าน GASTRONOMY หรือ

การสร้างสรรค์การพัฒนาอาหารพื้นถิ่นซึ่งจะช่วยให้เกิด

การขับเคลื่อนไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นการ

ยกระดับการท่องเที่ยวพร้อมไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ระดับฐานรากโดยได้นำอัตลักษณ์ของวัตถุดิบหลักของ

จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ น้ำตาลโตนด เกลือและมะนาว

สร้างสรรค์เป็น “เมืองเพชร์เมือง ๓ รส” แล้วแตกแขนง

เป็นรายการอาหารที่จัดทำเป็นตำรับเมืองเพชร ประกอบด้วย

ยำใหญ่รสเพชร ขนมจีนทอดมัน แกงหัวตาล น้ำพริกกะปิ

ใส่มะแข่วพร้อมเครื่องเคียง ปลาทูเมืองเพชรบุรี

ใบชะครามและผักริมรั้วลวกราดกะทิ ตบท้ายด้วยของหวาน

ขนมข้าวฟ่างเปียก

คนไทยอาจคุ้นชินกับซอฟต์พาวเวอร์ที่เรามีอยู่

มากมายบนผืนแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์หลากหลายด้วย

มรดกทางวัฒนธรรม แต่อีกไม่นานเกินรอซอฟต์พาวเวอร์

เหล่านี้จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นเศรษฐกิจเชิง

สร้างสรรค์ที่นำเงินตราเข้าประเทศอย่างมหาศาลสืบไป ขอเพียง

คนไทยภาคภูมิใจและช่วยกันรักษาต้นทุนอันดีงามนี้ให้คงอยู่ตราบนาน

เท่านาน

ที่มาของภาพ : httpoknation.nationtv.tv, httpsth.wikipedia.org,

httpswww.bangkokbiznews.com, httpswww.nationtv.tv 2, httpswww.

nationtv.tv, httpswww.thaipost.net

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

45


กฎหมายเล่าเรื ่อง

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตอนที

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์

หัวหน้าอัยการทหาร กรมพระธรรมนูญ

ต่อจากฉบับที่แล้ว…

สำ

หรับประการที่สี่ จะเป็นการกล่าวถึง หน้าที่แจ้งรายละเอียด

ตามที่กฎหมายกำหนดแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

สืบเนื่องจากการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะต้อง

กระทำอย่างจำกัดภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หรือตาม

วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อ

เป็นการเตือนถึงหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วน

บุคคลทราบก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลถึง

รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม กรณีที่เจ้าของ

46

ข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือ

สัญญาหรือมีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทำสัญญา รวมทั้ง

แจ้งถึงผลกระทบที่เป็นไปได้จากการไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล ระยะเวลา

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคล สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อในกรณีที่มีตัวแทนหรือ

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้แจ้งข้อมูล สถานที่ติดต่อ และ

วิธีการติดต่อของตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิ

ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ประการที่ห้า หน้าที่ปฏิบัติตามคำขอของเจ้าของข้อมูล

ส่วนบุคคล

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์


เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลก็ย่อมมีหน้าที่ดำเนินการให้สอดคล้องกับ

สิทธิดังกล่าว เช่น ผู้ควบคุมมีหน้าที่ต้องลบข้อมูลส่วนบุคคล ตามสิทธิ

การลบข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการ

เก็บรักษาตามวัตถุประสงค์ ตามมาตรา ๓๓ (๑)

ประการที่หก หน้าที่จัดให้มีกระบวนการในการตรวจสอบ

ติดตาม การปฏิบัติตามกฎหมาย

ด้วยเหตุที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องจัดเตรียม

เอกสารและดำเนินการอื่นจำนวนมาก พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล

ส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ จึงกำหนดหน้าที่แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องบันทึกรายการเกี่ยวกับข้อมูล

ส่วนบุคคล เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและส ำนักงานคณะกรรมการ

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบได้ เช่น บันทึกรายละเอียดว่ามีเก็บ

รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล วัตถุประสงค์ และระยะเวลาในการเก็บ

รวบรวมดังกล่าว ตามมาตรา ๓๙

เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒

กำหนดหน้าที่หลักของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผล

ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ก็จะต้องมี

สภาพบังคับหรือความรับผิด ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดทางแพ่ง โทษ

อาญา และโทษทางปกครอง

ความรับผิดทางแพ่ง จะเป็นการกำหนดให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย

หรือค่าสินไหมทดแทน โดยมีการกำหนดความผิดกรณีผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคล ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจ บริษัท หรือหน่วยงานของรัฐ

ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี ่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย

ข้อมูลส่วนบุคคล กับ กรณีผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ผู้ซึ่ง

ดำเนินการตามคำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ได้ดำเนินการเกี่ยวกับ

ข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อ

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรณีนี้ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเป็น

ค่าเสียหายที่แท้จริงหรือที่เกิดขึ้นจริง (Actual Damage) เพื่อการนั้น

แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าการดำเนินการนั้นจะเกิดจากการ

กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม (มาตรา ๗๗ วรรคหนึ่ง)

เช่น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้จัดให้มีการรักษาความปลอดภัย

ที่เหมาะสม ตามมาตรา ๓๗ แล้วเกิดภัยคุกคามทางระบบคอมพิวเตอร์

ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้มีการนำข้อมูลบัตรประชาชน

ไปฉ้อโกงเกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คิดเป็นเงิน

จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสินไหม

ทดแทนจำนวนดังกล่าว

แต่มีข้อยกเว้นว่า ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล

ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้ควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นพิสูจน์ได้ ๒

ประการ ประการแรก ความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือเกิด

จากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเอง

หรือประการที่สอง เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติ

การตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย

นอกจากนี้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือ

ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ

เพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง ที่ศาลสามารถกำหนด

ได้ตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงนั้น

อันเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษ (Punitive Damage)

โดยต้องคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ความร้ายแรงของความเสียหาย

ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ ผลประโยชน์ที่ผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ สถานะทางการเงิน

ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

การที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

ได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย

สำหรับโทษอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปราม

มิให้มีการกระทำความผิด เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม

มีการกำหนดความผิดทางอาญาดังนี้

ความผิดฐานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง

กล่าวคือ ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอม

จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเกิดความ

เสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

ตามมาตรา ๗๙ วรรคหนึ่ง เช่น โรงพยาบาลแห่งหนึ่งส่งข้อมูลการรักษา

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

47


พยาบาลของนาย ก. ให้แก่บริษัทประกันภัย โดยไม่ขอความยินยอม

จากนาย ก.

แต่หากเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถ

เก็บรวบรวมได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม เช่น เพื่อให้บรรลุ

วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือ

จดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือ

สถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิและ

เสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา ๒๔ (๑)) หรือ เพื่อป้องกัน

หรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล (มาตรา ๒๔

(๒)) เช่น โรงพยาบาลแห่งหนึ่งส่งข้อมูลผลการรักษาพยาบาลของ

นาย ก. ให้แก่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่รับรักษานาย ก.ในภาวะที่นาย ก.

ป่วยจนไม่รู้สึกตัว (Unconscious) โดยไม่ขอความยินยอมจากนาย ก.

หรือเป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วน

บุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของ

ข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น (มาตรา ๒๔ (๓)) หรือ เป็นการ

จำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์

สาธารณะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้

อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา ๒๔ (๔))

หรือเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้น

พื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา ๒๔ (๕))

48

หรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

(มาตรา ๒๔ (๖)) หรือ เป็นการดำเนินกิจกรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย

ที่มีการคุ้มครองที่เหมาะสมของมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรที่ไม่แสวงหา

กำไรที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเมือง ศาสนา ปรัชญา หรือ

สหภาพแรงงานให้แก่สมาชิก ผู้ซึ่งเคยเป็นสมาชิก หรือผู้ซึ่งมีการติดต่อ

อย่างสม่ำเสมอกับมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรตาม

วัตถุประสงค์ดังกล่าวโดยไม่ได้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นออกไป

ภายนอกมูลนิธิสมาคม หรือองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรนั้น (มาตรา ๒๖ (๒))

หรือ เป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะด้วยความยินยอมโดยชัดแจ้ง

ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา ๒๖ (๓))

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์


ด้วยเหตุนี้ การให้ความยินยอมให้มีการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วน

บุคคลนี้จะต้องเป็นความยินยอมโดยชัดแจ้งเท่านั้น หากมีการให้ความ

ยินยอมโดยปริยาย เช่น มีบุคคลนำข้อมูลส่วนบุคคลเปิดเผยต่อ

สาธารณะ และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ยังไม่ใช่

ความยินยอมโดยชัดแจ้ง เช่นนี้แล้ว ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือ

เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

ส่วนบุคคล โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง

ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องรับผิดตามฐาน

ความผิดนี้ หรือเป็นการจำเป็นเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย

การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้น

ต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย (มาตรา ๒๖ (๔)) หรือ เป็นการจำเป็น

ในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับเวชศาสตร์

ป้องกัน ประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุข การคุ้มครองแรงงาน

การประกันสังคม หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สวัสดิการเกี่ยวกับการ

รักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิตามกฎหมาย การคุ้มครองผู้ประสบภัย

จากรถ หรือการคุ้มครองทางสังคม ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

เป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติตามสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคลหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้จัดให้มีมาตรการที่

เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล

ส่วนบุคคล การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ

หรือประโยชน์สาธารณะอื่น ทั้งนี้ ต้องกระทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

ดังกล่าวเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และได้จัดให้มีมาตรการที่เหมาะสม

เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด รวมทั้ง ประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ

โดยได้จัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานและ

ประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา ๒๖ (๕))

ความผิดฐานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลฝ่าฝืนมาตรา ๒๗

วรรคสอง กล่าวคือ ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่น

นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น

ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ตามมาตรา ๗๙ วรรคหนึ่ง

ความผิดฐานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘

กล่าวคือ ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ ประเทศ

ปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่มี

มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ โดยประการที่น่าจะ

ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือ

ได้รับความอับอาย ตามมาตรา ๗๙ วรรคหนึ่ง

ความผิดฐานผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลฝ่าฝืนมาตรา ๒๗

วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ อันเกี่ยวกับ

ข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๖ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อแสวงหาประโยชน์

ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

ความผิดข้างต้นนี้ เนื่องจากเป็นความผิดที่กระท ำแล้วมีผลกระทบ

ต่อผู้ที่ถูกกระทำโดยตรงเท่านั้นไม่กระทบต่อสังคมโดยรวม ดังนั้น

ถ้าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ติดใจเอาความหรือดำเนินคดีกับควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคล ก็สามารถตกลงให้ไม่มีการดำเนินคดีต่อกันได้ อันเป็น

ความผิดอันยอมความได้ (มาตรา ๗๙ วรรคสาม)

ความผิดฐานผู้ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการ

ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ และนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น ตาม

มาตรา ๘๐ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ การเปิดเผยเพื่อ

ประโยชน์แก่การสอบสวน หรือการพิจารณาคดี การเปิดเผยแก่

หน่วยงานของรัฐในประเทศหรือต่างประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ตาม

กฎหมาย การเปิดเผยที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือเฉพาะครั้ง

จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่าง ๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เช่นนี้แล้ว

ผู้ล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไม่ต้องรับผิด

ความผิดฐานกรรมการหรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบ

ในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นสั่งการหรือกระทำความผิด หรือ

ละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำ

ความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

ตามมาตรา ๘๑

(คราวหน้าจะกล่าวถึงโทษปรับทางปกครอง และบทสรุปสำหรับ

หน่วยงานของรัฐในฐานะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผล

ข้อมูลส่วนบุคคล และกำลังพลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล)

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ที่มาของภาพ : httpswww.mdes.go.thสิทธิการคุ้มครอง, www.behindthescene.coรวบรวม

เปิดเผยข้อมูล

49


บริษัทอีสต์-อินเดีย

(East India Company)

แห่งอังกฤษและกำลังทหารสนับสนุน

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

บริษัทอีสต์-อินเดีย (East India Company) อังกฤษแห่งยุโรปดำเนินการค้าขายกับอาณาจักรในเอเชียหลายอาณาจักรตามแนวชายฝั่งทะเล อาณาจักร

อินเดีย ราชวงศ์โมกุล และอาณาจักรจีน ราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) ทั้งสองเป็นอาณาจักรมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและบางครั้งได้ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของ

อำนาจ รวมถึงอาณาจักรสำคัญที่มีเมืองท่าค้าขายหรือท่าเรือ ประกอบด้วยพม่าในยุคที่สามราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) และสยาม บริษัท

อีสต์ - อินเดีย แห่งอังกฤษ การค้าขายที่สำคัญประกอบด้วย ผ้าไหม ฝ้าย เกลือ เครื่องเทศ ดินประสิว ชาและฝิ่น นำสู่ความขัดแย้งกับอาณาจักรต่าง ๆ

ในพื้นที่ มีการรบขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายครั้ง…...…….บทความนี้ กล่าวถึงบริษัทอีสต์-อินเดียและกำลังทหารสนับสนุนปฏิบัติการค้าขายกับอาณาจักร

ต่าง ๆ

ทหารราบเบงกอลพร้อมด้วยอาวุธประจำกายและสัมภาระ ปี พ.ศ.๒๓๘๙

บ๑. กล่าวทั ่วไป

ริษัทอีสต์-อินเดีย (East India Company) แห่งอังกฤษ

มาตั้งสถานีการค้าหรือท่าเรือหลักริมชายฝั่งทะเลของ

อาณาจักรอินเดียปกครองโดยราชวงศ์โมกุล (Mughal Dynasty)

ช่วงแรกกองทัพอังกฤษไม่สามารถจะชนะกองทัพของอินเดีย ต่อมา

จึงสามารถตั้งสถานีการค้าหรือท่าเรือโดยมีกองทหารให้การคุ้มกัน

ประกอบด้วย กองทัพบกบอมเบย์ (Bombay Army) ปี พ.ศ.๒๒๐๕

กำลังพล ๔๔,๐๐๐ นาย (พ.ศ.๒๔๒๙) กองทัพบกมัดราส (Madras

Army) ปี พ.ศ.๒๓๐๐ กำลังพล ๔๗,๐๐๐ นาย (พ.ศ.๒๔๑๙) และ

กองทัพบกเบงกอล (Bengal Army) ปี พ.ศ.๒๒๙๙ เป็นกองทัพขนาดใหญ่

ได้ขยายกำลังพลเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐๕,๐๐๐ นาย (พ.ศ.๒๔๑๙)

ทหารจากประชาชนชาวอินเดียได้รับการฝึกอย่างดีและอาวุธปืนยาว

ที่ทันสมัยในขณะนั้น เรียกว่าทหารชีปอย (Sepoys) ประกอบด้วย

ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่และทหารช่าง แต่มีขีดความ

สามารถในการรบอย่างมาก การรบที่สำคัญคือการรบอังกฤษ - อัฟกัน

ครั้งที่หนึ่ง (First Anglo - Afghan War) อังกฤษประกอบด้วย ทหารราบ

๑๐,๐๐๐ นาย ปืนใหญ่สนาม ๒๐๐ กระบอก ทหารม้าหนัก

๑,๕๐๐ ม้า และส่วนสนับสนุนการช่วยรบ ๓๐,๐๐๐ คน กองทัพอัฟกัน

ประกอบด้วย ทหารราบ ๒๐,๐๐๐ นาย ปืนใหญ่สนาม ๓๐ กระบอก

และทหารม้าเบา ๕,๐๐๐ ม้า อังกฤษไม่สามารถทำการรุกคืบหน้า

จึงสูญเสียทหาร ๔,๗๐๐ นาย ปืนใหญ่สนาม ๔๐ กระบอก ทหารม้าหนัก

๒๐๐ - ๓๐๐ ม้า และส่วนสนับสนุนการช่วยรบ ๑๒,๐๐๐ คน

กองทัพอัฟกัน สูญเสียทหารราบ ๑๒,๐๐๐ นาย ปืนใหญ่สนาม

๑๕ - ๒๐ กระบอก และทหารม้าเบา ๓,๐๐๐ ม้า ปี พ.ศ.๒๓๘๒ -

๒๓๘๕ นำมาสู่การรบครั้งใหม่ในอีก ๓๖ ปี ต่อมาเรียกว่าการรบ

อังกฤษ - อัฟกัน ครั้งที่สอง (Second Anglo - Afghan War) อังกฤษ

ได้รับชัยชนะ พ.ศ.๒๔๒๑ - ๒๔๒๓

๒. ความขัดแย้ง บริษัทอีสต์-อินเดีย (East India

Company) แห่งอังกฤษกับพม่า

บริษัทอีสต์-อินเดีย (East India Company) แห่งอังกฤษ

ดำเนินการค้าขายในสินค้าจำนวนมาก นำมาสู่ความขัดแย้งใน

50

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


อาณาจักรต่าง ๆ รวมทั้ง การเข้ายึดครองเมืองที่สำคัญ

นำมาสู่การรบขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น สงคราม

ฝิ่น ครั้งที่หนึ่ง (First Opium War) กองทัพอังกฤษทหาร

จำนวน ๑๙,๐๖๙ นาย (เป็นทหารอังกฤษ ๙,๐๖๙ นาย)

พร้อมด้วยเรือรบ ๓๗ ลำ กองทัพจีน ทหารจำนวน

๒๒๒,๒๑๒ นาย มีการรบเกิดขึ้นที่เมืองขนาดใหญ่ ๕ เมือง

กองทัพอังกฤษชนะแต่มีการสูญเสียทหาร ๖๙ นาย

และบาดเจ็บ ๔๕๑ นาย การรบได้ยุติลงด้วยสนธิสัญญา

นานกิง ปี พ.ศ.๒๓๘๒ - ๒๓๘๕ ในสมัยจักรพรรดิเต้ากวง

(Daoguang Emperor) สงครามฝิ่น ครั้งที่สอง (Second

Opium War) กองทัพอังกฤษ มีทหารจำนวน ๑๓,๑๒๗ นาย

พร้อมด้วยเรือรบ และการสนับสนุนทหารจาก

กองทัพฝรั่งเศส จำนวน ๗,๐๐๐ นาย กองทัพจีน

๒๐๐,๐๐๐ นาย อังกฤษชนะ แต่ได้สูญเสียทหาร ๑๓๔

นาย ได้รับบาดเจ็บ ๖๔๒ นาย เรือรบจม ๗ ลำ เรือรบ

เสียหาย ๑ ลำ ทหารฝรั่งเศส เสียชีวิต ๒๕ นาย และบาดเจ็บ

๑๔๖ นาย ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๙ - ๒๔๐๓

บริษัทอีสต์-อินเดีย (East India Company) แห่งอังกฤษกับ

อาณาจักรพม่าในยุคที่สาม มีความขัดแย้งตามแนวเขตแดนหลายครั้ง

นำมาสู่สงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ.๒๓๖๗ กองทัพอังกฤษ

ทหารปืนใหญ่บอมเบย์ มีจำนวน ๓ กองพัน (บรรจุกองพันละ ๔ - ๕ กองร้อย)

กองทัพอังกฤษ

ทหารราบบอมเบย์กองพันที่ ๒๙ พร้อมด้วยอาวุธประจำกาย ขณะทำการฝึกทางยุทธวิธี

ปี พ.ศ.๒๔๒๘ กองทัพบกบอมเบย์ (Bombay Army)

มีทหาร ๕๐,๐๐๐ นาย (กองทัพบกและกองทัพเรือ) การรบ

นานประมาณ ๒ ปี ทำการรุกเข้าตีถึงเมืองแปร อังกฤษได้รับชัยชนะ

แต่สูญเสียทหาร ๑๕,๐๐๐ นาย (สูญเสียจากการรบเพียงร้อยละ ๔

ส่วนใหญ่สูญเสียจากโรคภัยและอาหาร) พม่าสูญเสียเมืองยะไข่ เมือง

ทะวาย เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด เป็นเมืองท่าที่สำคัญด้านการ

ค้าขาย อีก ๒๘ ปีต่อมา เกิดความขัดแย้งอีกครั้งเกิดสงครามอังกฤษ

-พม่า ครั้งที่สอง ปี พ.ศ.๒๓๙๕ อังกฤษได้รับชัยชนะ เข้าควบคุม

พม่าตอนล่าง อาณาจักรพม่ามีขนาดเล็กลง พระเจ้าธีบอกษัตริย์

พระองค์ใหญ่ที่ต้องนำอาณาจักรพม่าในยุคที่สาม พร้อมด้วยปัญหา

มากมายที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในอาณาจักรรวมทั้งใน

ราชสำนักพม่า

๓. บทสรุป

สู่สมัยอาณาจักรพม่าในยุคที่สาม ผลจากการแพ้สงครามกับ

บริษัทอีสต์-อินเดีย (East India Company) แห่งอังกฤษรวมสองครั้ง

อาณาจักรพม่าได้สูญเสียดินแดนเป็นจำนวนมากโดยคงเหลือเพียง

พม่าตอนบนเท่านั้น อาณาจักรมีขนาดเล็กลงอย่างมากถึงสมัย

ของพระเจ้าธีบอ เกิดความขัดแย้งในราชสำนักพม่าแห่งมัณฑะเลย์

เริ่มต้นเกิดขึ้นและจะมีผลต่อความมั่นคงของอาณาจักรต่อไป

บรรณานุกรม

๑. https://en.wikipedia.org/wiki/Second_Angro-Burmese_War

๒. https://en.wikipedia.org/wiki/First_Angro-Burma

๓. https://en.wikipedia.org/wiki/Madras_Army

๔. https://en.wikipedia.org/wiki/Bombay_Army

๕. https://en.wikipedia.org/wiki/Bombay_Burmah_Trading_Corporation

๖. https://en.wikipedia.org/wiki/Bengal_Army

๗. https://en.wikipedia.org/wiki/East_India_Company

๘. https://en.wikipedia.org/wiki/Thibaw_Min

๙. https://en.wikipedia.org/wiki/First_Opium_War

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

51


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“ไฟเซอร์”

ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน

กับเด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปี และอายุ ๑๒ - ๑๘ ปี

เมื่อ FDA อเมริกาและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

(อย.) ไทยเริ่มอนุมัติการฉีดวัคซีนในเด็ก มีข้อควรระวังหรือไม่

ผู้ปกครองควรรู้ก่อนให้ลูกหลานฉีดวัคซีนโควิด-19 ข้อมูลจาก

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์

แห่งประเทศไทย ระบุว่า หลังจากได้ทบทวนข้อมูลใหม่ด้านระบาด

วิทยา ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19

ในเด็กและวัยรุ่น มีคําแนะนําเพิ่มเติมจากคําแนะนําฉบับที่ ๓

เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ ดังนี้

เด็กและวัยรุ่น เพศชายอายุ ๑๒ - ๑๘ ปี ให้ฉีดเข็มที่ ๒ ห่าง

จากเข็มแรก ๓ - ๑๒ สัปดาห์ โดยแนะนําการฉีดควรมีระยะห่าง

๘ - ๑๒ สัปดาห์ซึ่งจะดีกว่า ๓ - ๔ สัปดาห์ (การเพิ่มระยะห่าง

ระหว่างเข็ม ๑ และเข็ม ๒ มีผลดีทําให้ระดับภูมิคุ้มกันหลังเข็ม ๒

สูงขึ้น ระยะเวลาป้องกันนานขึ้น และอาจลดความเสี่ยงในการเกิด

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้) วัคซีนที่เหมาะสม คือ วัคซีนชนิด mRNA

ได้แก่

๑) วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของ Pfizer-BioNTech

(ฝาสีม่วง) ขนาด ๓๐ ไมโครกรัม ๐.๓ มิลลิลิตร ฉีดเข้ากล้าม ๒ โดส

ห่างกันอย่างน้อย ๓ สัปดาห์

๒) วัคซีนป้องกันป้องกันโรคโควิด-19 ของ Moderna ขนาด

๑๐๐ ไมโครกรัม ๐.๕ มล. ฉีดเข้ากล้าม ๒ โดส ห่างกันอย่างน้อย

๔ สัปดาห์

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

**แนะนําให้ใช้วัคซีนป้องกันโรค

โควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-

BioNTech เป็นลําดับแรก เนื่องจาก

ข้อมูลการใช้วัคซีนชนิด mRNA ทั้งจาก

ที่ผลิตโดย Pfizer และ Moderna ใน

ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการฉีด

วัคซีนชนิด mRNA มีความสัมพันธ์กับ

การเกิดกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจ

อักเสบในอัตราที่น้อยมาก

เด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปี ให้ฉีดวัคซีน

ชนิด mRNA Pfizer-BioNTech สูตร

สําหรับเด็ก (ฝาสีส้ม) ขนาด ๑๐

ไมโครกรัม ปริมาณ ๐.๒ มิลลิลิตร

เข้ากล้าม ๒ ครั้งห่างกัน ๓ - ๑๒ สัปดาห์

โดยระยะห่าง ๘ - ๑๒ สัปดาห์จะดีกว่า

๓ - ๔ สัปดาห์ เพราะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าประสิทธิภาพของ

วัคซีนโควิด-19 ที่มีต่อเด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปีและ ๑๒ - ๑๘ ปี FDA

อเมริกา ระบุว่า วัคซีนโควิด-19 สูตรสำหรับเด็กสามารถป้องกัน

อาการป่วยโควิด-19 ได้ร้อยละ ๙๐.๗ รวมถึงลดการรักษาตัว

ในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงป่วยหนัก ลดความเสี่ยงโรค MIS-C

และยังลดความเสี่ยงในการเกิดอาการ Long COVID ที่เกิดขึ้น

หลังหายจากโรคโควิด-19 ได้ด้วย

ความปลอดภัย และผลข้างเคียงที่อาจพบได้ของวัคซีนไฟเซอร์

และโมเดอร์นาที่มีต่อเด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปี การศึกษาประสิทธิผลของ

วัคซีน Pfizer-BioNTech ในเด็กอายุระหว่าง ๕ - ๑๑ ปี จํานวน

๑,๕๑๗ รายที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวจํานวนสองเข็มในระยะเวลา

ห่างกัน ๒๑ วันเทียบกับกลุ่มที่ได้ placebo จํานวน ๗๕๑ ราย

พบว่ามีประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีอาการ

และมีผลการตรวจยืนยันการติดเชื้อภายหลังฉีดวัคซีนครบ ๒ เข็ม

ในระยะเวลา ๗ วันเป็นต้นไป จะป้องกันอาการป่วยได้ถึงร้อยละ

๙๐.๗ (๙๕% CI ๖๗.๗ ถึง ๙๘.๓) ระดับ geometric mean titer

(GMT) ของร้อยละ ๕๐ ที่ระยะเวลาหนึ่งเดือนภายหลังการได้รับ

วัคซีนครบ ๒ เข็ม

นอกจากนี้ยังพบว่าวัคซีนมีความปลอดภัย อาการข้างเคียง

เฉพาะที่ของการฉีดวัคซีน Pfizer ในเด็กจากการศึกษาดังกล่าว

มักมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง พบอาการเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีน

52

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


บ่อยที่สุด (ร้อยละ ๗๑ - ๗๔) สําหรับอาการทั้งระบบพบอาการ

อ่อนเพลีย (ร้อยละ ๐.๙) และอาการปวดศีรษะ (ร้อยละ ๐.๓)

บ่อยที่สุด ทั้งนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรงจากการฉีดวัคซีนวัคซีน

ในการศึกษาดังกล่าว เป็นไปได้ว่าจํานวนประชากรเด็กที่ได้รับ

วัคซีนจริงซึ่งมีจํานวนเพียง ๑,๕๑๗ ราย อาจมีจํานวนน้อยเกินกว่า

ที่จะสามารถตรวจจับ ผลข้างเคียงจากวัคซีนที่พบได้ไม่บ่อย

และมีอุบัติการณ์การเกิดที่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๑,๕๑๗ ราย

ดังนั้น จึงยังมีความจําเป็นต้องติดตามข้อมูลด้านความ

ปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีนในประชากรกลุ่มเด็กจากการ

ฉีดจริงในวงกว้างต่อไป

ทำไมเด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แม้ว่าอัตราการ

เสียชีวิตผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเด็กจะต่ำ แต่พบมีรายงานผู้ป่วยเด็ก

ที่มีภาวะการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในร่างกายที่สัมพันธ์กับ

การติดโรคโควิด-19 (Multisystem inflammatory syndrome

in children, MIS-C) ในเด็กจํานวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มี

อาการรุนแรงแม้ว่าเป็นเด็กที่ปกติแข็งแรงดี และในขณะนี้เด็ก

และผู้ปกครองจํานวนมากได้รับผลกระทบจากการที่เด็กไม่ได้ไป

โรงเรียนเป็นระยะเวลานาน

คำแนะนำหลังฉีดวัคซีน mRNA สำหรับเด็ก

แนะนําให้เด็กงดออกกําลังกายอย่างหนักหรือการทํากิจกรรม

อย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกัน

โรคโควิด-19 ชนิด mRNA เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียง

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีด

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ซึ่งถึงแม้จะพบในอัตราที่ต่ำ

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

แต่เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน จึงแนะนําให้เด็กและ

วัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีน

ป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งเข็มที่ ๑ และ ๒ ให้งดการออกกําลังกาย

หรือการทํากิจกรรมอย่างหนัก เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจาก

การฉีดวัคซีน และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่น หน้าอก

หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลม ควรรีบไปพบ

แพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจ

อักเสบ ควรพิจารณาทําการตรวจค้นเพิ่มเติม

วัคซีนไฟเซอร์เด็กต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร

ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมควบคุมโรค (CDC) และองค์การอาหาร

และยา (FDA) ของสหรัฐฯ ซึ่งอ้างอิงจากเอกสารกำกับยาของบริษัท

ไฟเซอร์ ระบุว่าวัคซีนไฟเซอร์สำหรับเด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปี (ฝาสีส้ม)

๑ ขวด มีความเข้มข้นของ mRNA ๑๐ ไมโครกรัม สามารถ

แบ่งฉีดได้ ๑๐ โดส (๑๐ เข็ม) ก่อนนำมาฉีดให้เด็กจะต้องทำละลาย

วัคซีนด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อที่มีความเข้มข้น ๐.๙ เปอร์เซ็นต์

ปริมาตร ๑.๓ มิลลิลิตร เมื่อทำละลายวัคซีนแล้วให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ด้วยปริมาตร ๐.๒ มิลลิลิตร จึงจะถือว่าได้วัคซีนครบ ๑ โดส

หลังได้รับวัคซีนเข็มแรก ต้องเว้นระยะ ๒๑ วันจึงจะสามารถรับ

วัคซีนเข็มที่ ๒ ได้ โดย CDC และ FDA แนะนำว่าหากได้รับวัคซีน

เข็มแรกเป็นไฟเซอร์ จะต้องรับวัคซีนเข็มที่ ๒ เป็นไฟเซอร์เช่น

เดียวกัน วัคซีนไฟเซอร์ฝาส้มสำหรับเด็ก เมื่อละลายจากการแช่แข็งแล้ว

สามารถเก็บได้นาน ๑๐ สัปดาห์ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ๘

องศาเซลเซียส แต่เมื่อเปิดใช้งานแล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกิน ๑๒

ชั่วโมง และต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิระหว่าง ๘ - ๒๕ องศาเซลเซียส

ส่วนวัคซีนไฟเซอร์สำหรับผู้ที่มีอายุ ๑๒ ปีขึ้นไป มี ๒ สูตร

คือ สูตรฝาสีม่วงและสูตรฝาสีเทา โดยฝาสีม่วงเป็นวัคซีนรุ่นใหม่ที่มี

การปรับปรุงส่วนผสม ส่วนสูตรฝาสีเทาเป็นวัคซีนรุ่นแรกที่มีการผลิต

ทั้ง ๒ สูตรสามารถแบ่งฉีดได้ ๖ โดส (๖ เข็ม) ใน ๑ ขวด โดยจะได้

รับวัคซีนในปริมาณ ๓๐ ไมโครกรัม ซึ่งมากกว่าวัคซีนไฟเซอร์สำหรับ

เด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปี

ข้อแตกต่างระหว่างวัคซีน ๒ สูตร คือ ไฟเซอร์ การเตรียม

วัคซีนก่อนฉีดและการเก็บรักษา โดยวัคซีนฝาสีม่วงต้องผสมน้ำเกลือ

ปราศจากเชื้อ ความเข้มข้นร้อยละ ๐.๙ ปริมาตร ๑.๘ มิลลิลิตรก่อน

นำมาฉีด หลังเปิดใช้งานแล้วสามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิ ๒ - ๒๕

องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ๖ ชั่วโมง หากนำออกจากช่องแช่แข็ง

แต่ยังไม่เปิดใช้งาน สามารถเก็บได้ในตู้เย็นอุณหภูมิ ๒ - ๘ องศา

เซลเซียสเป็นเวลานาน ๓๑ วัน ส่วนวัคซีนสูตรฝาสีเทาสามารถนำ

มาฉีดได้โดยไม่ต้องทำละลายก่อนใช้ หลังเปิดใช้งานสามารถเก็บได้

ในอุณหภูมิ ๒ - ๒๕ องศาเซลเซียส นาน ๑ - ๑๒ ชั่วโมง แต่หากนำ

ออกจากช่องแช่แข็งและยังไม่เปิดใช้งาน สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิ

๘ - ๒๕ องศาเซลเซียส นาน ๑๐ สัปดาห์

ทั้งนี้ วัคซีนไฟเซอร์สำหรับเด็กอายุ ๑ - ๑๒ ปีขึ้นไปมีช่วงเว้น

ระหว่างเข็มที่ ๑ และ ๒ อยู่ที่ ๒๑ วันเช่นเดียวกับวัคซีนไฟเซอร์

สำหรับเด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปี

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม https://www.health-th.com

53


ภาษาอังกฤษง่ายๆ สไตล์ครูวันดี

“Praying for your wellness and safety.”

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

นักวิจัยพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

วัสดีค่ะ จำได้ไหมคะ เดือนนี้เดือนอะไร ถ้าไม่แน่ใจก็ลอง

พลิกไปที่หน้าปกด้านล่างทางซ้ายนะคะ

ใช่ค่ะ.........เดือนนี้เดือนกุมภาพันธ์ (February) ปีนี้ มี ๒๘ วัน

และที่สำคัญเดือนนี้เป็นเดือนแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์

ซึ่งไม่ได้สื่อถึงวันแห่งความรักโรแมนติกเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นวันที่

สื่อถึงความรักบริสุทธิ์ มิตรภาพที่สวยงามที่สามารถมอบคำอวยพร

ให้แก่เพื่อน และครอบครัว หรือพี่น้องทหารที่ปฏิบัติหน้าที่

เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติด้วยก็ได้

Happy Valentine’s Day หรือ “สุขสันต์วันแห่งความรัก”

เป็นที่รู้กันว่าประเพณีและวัฒนธรรมของไทย อาจจะทำให้

คนไทยส่วนใหญ่เคอะเขินที่จะแสดงความรักออกมาตรง ๆ ไม่เหมือน

กับฝรั่งที่เขาโอบกอด หอมแก้ม กอดจูบในที่สาธารณะ ดังนั้นเราจะ

มีวิธีการบอกรักแบบง่าย ๆ สบาย ๆ เช่น การส่งการ์ดสวย ๆ หรือ

ถ้าไม่อยากลงทุนก็ส่งรูปผ่านหรือข้อความในทางเฟซบุ๊ก หรือ ไลน์

ก็ได้ค่ะ หรือ หากเขียนภาษาไทยอาจจะพูดตรงเกินไปแล้วจะดูไม่

ค่อยโรแมนติก ก็เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ ดังนั้นการเรียนภาษา

อังกฤษในฉบับนี้ จะเป็นการเรียนคำพูดเพราะ ๆ กินใจ เกี่ยวกับ

54

ความรัก ขอให้ผู้อ่านจินตนาการถึงใบหน้าของคนที่เรารักแล้วอ่าน

ออกเสียงดัง ๆ ทำเสียงนุ่ม ๆ เพราะ ๆ และที่สำคัญอย่าลืมส่ง

ข้อความให้กับคนที่เรารักและคิดถึงด้วยนะคะ เช่น

๑. สำหรับแฟน (เพื่อนชาย) “The more time we spend

together, the more we fall in love with each other.

Happy Valentine’s!” (ยิ่งเราใช้เวลาร่วมกัน ยิ่งตกหลุมรักกัน

มากขึ้น)

๒. สำหรับแฟน (เพื่อนผู้หญิง) “Happy Valentine’s Day

to the most important woman in my life.” (สุขสันต์

วันวาเลนไทน์ สำหรับผู้ที่สำคัญที่สุดในชีวิตผม)

๓. สำหรับสามี “I’m so lucky to be in love with my

best friend, best husband like you.” (ฉันโชคดีเหลือเกินที่ได้

รับความรักจากเพื่อนสนิทที่สุด สามีที่ดีที่สุดแบบคุณ)

๔. สำหรับภรรยา “You’re the reason I am who I am

today. Thank you for everything you do for our family.

Happy Valentine’s Day” (คุณคือเหตุผลที่ผมเป็นผมในวันนี้

ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งที่คุณทำเพื่อครอบครัวของเรา)

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ


๕. สำหรับเพื่อนสนิท “Wishing you a beautiful day

filled with all the love and happiness you deserve.”

(ขอให้เป็นวันที่สวยงาม เต็มไปด้วยความรักและความสุขที่คุณคู่ควร)

๖. สำหรับเด็ก “Wishing a special Valentine’s Day to

a very special kid! ” (ขอให้เป็นวันแห่งความรักพิเศษสุด สำหรับ

สาวน้อย/หนุ่มน้อยที่แสนพิเศษ)

จะสังเกตได้ว่า คำว่า Valentine’s Day จะมีเครื่องหมาย

อะพอสทรอฟี (Apostrophe) (’) และมีอักษร s เพื่อแสดงถึงความ

เป็นเจ้าของ เช่น Minnie’s house (บ้านของมีนนี่), the student’s

room (ห้องของนักเรียน) ดังนั้นเวลาออกเสียง Happy Valentine’s

Day ก็ต้องออกเสียง s ด้วยนะคะ

ต่อไปเราจะอวยพรพี่น้องทหารในวันวาเลนไทน์บ้าง เรา

สามารถส่งให้ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยงาน หรือในภาค

สนาม หรือส่งการ์ดวาเลนไทน์ให้กับทหารต่างประเทศ เพื่อบ่งบอก

ถึงความรัก ความศรัทธาและความเป็นห่วงเขาก็ได้เช่นกัน ในหลาย

ประเทศเด็ก ๆ นักเรียนหรือประชาชนทั่วไปจะเขียนทำการ์ดด้วย

ตนเองและเขียนด้วยลายมือของพวกเขาเอง (a handwritten

letter, note or handmade card) ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับ

ทหารมาก (Soldiers feel extra special when they receive

handmade, individually created valentines.) เราอาจจะ

ต้องหาคำศัพท์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย (Safety) สุขภาพ (Health)

การอยู่ดีกินดี (Wellness) ประเทศชาติ (Country) โดยคำขึ้นต้น

มักจะเขียนว่าทำนองถึงฮีโร่ หรือผู้กล้า แบบนี้ Dear Hero” or

“Dear Brave One.” ตัวอย่างเช่น

- Wishing a very Happy Valentine’s Day to our

soldiers. On this special day, we just wanted you to know

what we all love you and are praying for your wellness

and safety. (ขออวยพรให้ทหารของเรา มีความสุขในวันวาเลนไทน์

ในวันพิเศษนี้ เราแค่อยากให้คุณรู้ว่าเราทุกคนรักคุณและอธิษฐาน

เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคุณ)

- The occasion of Valentine’s Day gives all of us a

chance to thank our soldiers and wish them a very

Happy Valentine’s Day. (เนื่องในโอกาสวันวาเลนไทน์ ทำให้เรา

ทุกคนมีโอกาสขอบคุณทหารของเราและขอให้พวกเขามีความสุข

ในวันวาเลนไทน์)

- To our most loved soldiers, we wish a very Happy

Valentine’s Day to you all. May you all are always happy

and smiling. (ถึงพี่น้องทหารที่เรารักที่สุด เราขออวยพรให้ทุกท่าน

มีความสุขในวันวาเลนไทน์ ขอให้ทุกท่านมีแต่ความสุขและรอยยิ้ม)

ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารจากต่างประเทศเล่าให้ฟังว่า

“The troops are away from their loved ones and friends,

so they really want to know that people back home

appreciate them,” (กำลังพลทหารส่วนใหญ่ อยู่ห่างไกลจากคน

ที่รักและเพื่อน ดังนั้นพวกเขาต้องการรู้ว่า คนที ่บ้านรู้สึกชื่นชม

พวกเขาจริง ๆ”)

ท้ายสุด หากใครยังไม่แสดงความรักในวันวาเลนไทน์ ก็รีบ

แสดงความรักนะคะ หากยังไม่ได้ทำก็แค่คิดจะทำก็ได้ค่ะ อย่าลืมส่ง

กำลังใจให้กับทหารไทยทั่วประเทศด้วยนะคะ มีคำถามเกี่ยวกับ

ภาษาอังกฤษ สามารถปรึกษาอาจารย์วันดีได้ค่ะ ด้วยการส่งอีเมล

มาที่ wandeedrdo@yahoo.com อยากเก่งภาษาอังกฤษ ต้องฟัง

ต้องพูด ต้องอ่าน ต้องเขียน และต้องสื่อสารสม่ำเสมอค่ะ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล : http//snypost.com

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

55


เครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลชนิดสองที่นั่งแบบซู-๓๐เอ็มเคเอ็ม (Su-30MKM) กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ประจำการ ๑๘ เครื่องของฝูงบินขับไล่ที่ ๑๑ ฐานทัพอากาศกองคีดัก

(Gong Kedak) รัฐกลันตัน

แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน

กองทัพอากาศเมียนมา (MAF) มีโครงการจัดหาเครื่องบิน

ขับไล่รุ่นใหม่แบบซู-๓๐เอสเอ็มอี (Su-30SME Flanker-C)

จำนวน ๖ เครื่อง เป็นเงิน ๔๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ จากประเทศ

รัสเซีย เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๑ เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่

รุ่นเก่าแบบเอฟ-๗เอ็ม (F-7M Fishcan) ประจำการ ๒๔ เครื่อง

ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ประจำการมานาน ๓๑ ปี เครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่แบบ

ซู-๓๐เอสเอ็มอี (Su-30SME Flanker-C) เป็นเครื่องบินขับไล่ในยุค

ที่ ๔ (+) ผู้นำทางทหารกองทัพเมียนมาได้เดินทางมาเยี ่ยมชม

โรงงานผลิตเครื่องบินที่ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่๒๒ เมษายน ๒๕๖๒

กองทัพอากาศเมียนมา (MAF) รับมอบเข้าประจำการชุดแรก

ปี พ.ศ.๒๕๖๓ ปัจจุบันกองทัพอากาศเมียนมา อยู่ระหว่างฝึกความ

พร้อมรบของฝูงบินรบแบบซู-๓๐เอสเอ็มอี

เครื ่องบินขับไล่

แบบซู-๓๐เอสเอ็มอี (Su-30SME)

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

เครื่องบินขับไล่โจมตีสองที่นั่งซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย

(TNI-AU) ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๑ ฐานทัพอากาศสุลต่านฮาซานุดดิน (Sultan Hasanuddin)

เมืองมากัสสา จังหวัดสุลาเวสีใต้ (ในภาพประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย เข้าร่วมฝึก

ในรหัส 2016 Military Exercise at Natuna)

56

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ภารกิจต่อสู้ทางอากาศติดตั้งจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ แบบพิสัยใกล้ (AA-11

Archer/R-73), พิสัยกลาง (AA-10 Alamo/R-27) และพิสัยกลางก้าวหน้า (AA-12

Adder/R-77)

เครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลชนิดสองที่นั่งแบบซู-๓๐ (Su-30

Flanker-C) พัฒนามาจากเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบซู-๒๗

แฟลงเคอร์ (Su-27 Flanker) สร้างเครื่องบินต้นแบบจำนวน ๓ เครื่อง

ทำการขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๓๒ ข้อมูลที่สำคัญ

คือ ยาว ๒๑.๙๓ เมตร ช่วงปีก ๑๔.๗ เมตร สูง ๖.๓๖ เมตร น้ำหนัก

ปกติ ๑๗,๗๐๐ กิโลกรัม (๓๙,๑๒๑ ปอนด์) น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด

๓๔,๕๐๐ กิโลกรัม (๗๖,๐๖๐ ปอนด์) ความจุเชื้อเพลิง ๙,๔๐๐

กิโลกรัม (๒๐,๗๒๔ ปอนด์) เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน (Saturn AL-

31FL) ขนาด ๒๗,๕๐๐ ปอนด์ ความเร็วสูงสุด ๒.๐ มัค พิสัยบิน

๓,๐๐๐ กิโลเมตร เพดานบินสูง ๑๗,๓๐๐ เมตร (๕๖,๘๐๐ ฟุต)

ปืนกลอากาศขนาด ๓๐ มิลลิเมตร (GSh-30-1 ลูกกระสุน ๑๕๐ นัด)

ติดตั้งอาวุธ ๑๒ จุด (น้ำหนักรวม ๘,๐๐๐ กิโลกรัม/๑๘,๐๐๐ ปอนด์)

ประจำการปี ๒๕๓๕ ผลิตรุ่นที่สำคัญ คือ ซู-๓๐ รุ่นมาตรฐานกองทัพ

อากาศรัสเซีย ซู-๓๐เค (Su-30K) กองทัพอากาศอินเดีย ซู-๓๐เอ็มเคไอ

เครื่องบินขับไล่แบบซู-๓๐เอสเอ็มอี (Su-30SME Flanker-C) เครื่องแรกของกองทัพอากาศ

เมียนมา รับมอบเข้าประจำการชุดแรกปี พ.ศ.๒๕๖๓

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

เครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลชนิดสองที่นั่งแบบซู-๓๐เอ็มเค๒วี (Su-30MK2V) กองทัพ

อากาศเวียดนาม (VPAF) เริ่มประจำการปี พ.ศ.๒๕๕๖ รวมทั้งสิ้น ๓๖ เครื่อง

(Su-30MKI) รุ่นปรับปรุงใหม่กองทัพอากาศอินเดีย ซู-๓๐เอ็มเคเอ

กองทัพอากาศอัลจีเรีย ซู-๓๐เอ็มเคเอ็ม กองทัพอากาศมาเลเซีย

ซู-๓๐เอสเอ็ม รุ่นปรับปรุงใหม่ เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๔(+)

ซู-๓๐เอสเอ็มอี รุ่นส่งออกของรุ่นซู-๓๐เอสเอ็ม ความเร็ว ๑.๗๕ มัค

พ.ศ.๒๕๕๙ ซู-๓๐เอ็มเคเค รุ่นส่งออกให้กองทัพปลดปล่อย

ประชาชนจีน ซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) กองทัพอากาศ

อินโดนีเซีย (TNI-AU) และ อูกันดา ซู-๓๐เอ็มเค๒วี (Su-30MK2V)

กองทัพอากาศเวียดนาม ซู-๓๐เอ็มเควี (Su-30MKV) กองทัพ

อากาศเวเนซูเอล่า และ ซู-๓๐เอ็ม๒ (Su-30M2) รุ่นปรับปรุงใหม่

มาจากรุ่นซู-๓๐เอ็มเค๒ ประจำการกองทัพอากาศรัสเซีย ๔๐ เครื่อง

ปี พ.ศ.๒๕๕๓ - ๒๕๕๕ ปัจจุบันทำการผลิตกว่า ๖๓๐ เครื่อง

มิตรประเทศรัสเซียนำเข้าประจำการรวม ๑๓ ประเทศ กองทัพอากาศ

อินเดีย (IAF) ประจำการ ๒๗๒ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๖๒ รวมทั้งสิ้น

๑๒ ฝูงบินขับไล่ เครื่องบินขับไล่แบบซู-๓๐ (Su-30) ประจำการใน

กองทัพอากาศรัสเซีย (RAF) และกองบินนาวีกองทัพเรือรัสเซีย

(RNA)

กองทัพอากาศรัสเซียส่งฝูงบินขับไล่แบบซู-๓๐เอสเอ็ม

(Su-30SM) รวม ๑๖ เครื่อง เข้าปฏิบัติการทางทหารประเทศซีเรีย พ.ศ.

๒๕๕๘ บริเวณเมืองลาตาเกีย (Latakia) ตะวันตกของประเทศซีเรีย

ภารกิจคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดทางด้านยุทธศาสตร์แบบตู-๑๖๐

(Tu-160 Blackjack) ทำการทิ้งระเบิดที่หมายของกองกำลังติดอาวุธ

ต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ปฏิบัติการทางทหารร่วมกับเครื่องบินขับไล่แบบ

ซู-๓๕ (Su-35) รวม ๔ เครื่อง นานประมาณ ๔ ปี สูญเสียเครื่องบิน

ขับไล่แบบซู-๓๐เอสเอ็ม รวม ๑ เครื่อง (วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑

นักบินเสียชีวิต ๒ นาย)

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) จัดหาเครื่องบินขับไล่

ชนิดสองที่นั่งแบบ ซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) จำนวน ๖ เครื่อง

เป็นเงิน ๔๗๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ประจำการเดือนกันยายน ๒๕๕๖

นำเข้าประจำการฝูงบินขับไล่ที่๑๑ กองบินขับไล่ที่๕ ฐานทัพอากาศ

57


เครื่องบินขับไล่โจมตีสองที่นั่งแบบซู-๓๐เอ็มเค๒ (Su-30MK2) และเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบซู-๒๗ (Su-27) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) เข้าร่วมทำการฝึกในรหัส พิทซ์ แบล็ค (Pitch Black 2012)

สุลต่านฮาซานุสดิน (Sultan Hasanuddin) เมืองมากัสสา (ทางทิศ

ตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุลาเวสี) จังหวัดสุลาเวสีใต้เพื่อประจำการ

ทดแทนเครื่องบินโจมตีรุ่นเก่าแบบเอ-๔อี(A-4E Skyhawk) ประจำการ

๑๖ เครื่อง เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๖ และจัดหาเครื่องบินขับไล่

รุ่นใหม่แบบซู-๓๕ (Su-35 Flanker-E) จำนวน ๑๑ เครื่อง

เป็นเงิน ๑.๑๔ พันล้านเหรียญสหรัฐ จากประเทศรัสเซีย เมื่อปี

พ.ศ.๒๕๕๗ เครื่องบินขับไล่แบบซู-๓๕ รับมอบชุดแรกปลายปี

พ.ศ.๒๕๖๒ (ปัจจุบันได้ชะลอโครงการ) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย

(TNI-AU) ประจำการด้วยจรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ

แบบเอเอ-๑๑ (AA-11 Archer/R-73) รวม ๘๐ ลูก จรวดนำวิถีพิสัย

กลาง อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอเอ-10 (AA-10 Alamo/R-27) รวม

๒๘๐ ลูก และพิสัยกลางก้าวหน้า อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอเอ-๑๒

(AA-12 Adder/R-77) ไม่ทราบจำนวน

กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่

โจมตีพิสัยไกลชนิดสองที่นั่งแบบซู-๓๐เอ็มเคเอ็ม (Su-30MKM)

จำนวน ๑๘ เครื ่อง เป็นเงิน ๙๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ จัดหาจาก

ประเทศรัสเซีย ได้ติดตั้งอุปกรณ์อะวิโอนิกซ์บางรายการผลิตจาก

ประเทศฝรั่งเศสและอัฟริกาใต้ ประจำการชุดแรก รวม ๒ เครื่อง

เมื่อวันที ่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ พร้อมทั้งฝูงบินจะพร้อมรบเดือน

สิงหาคม ๒๕๕๑ ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๑ ฐานทัพอากาศกองคีดัก (Gong

Kedak) รัฐกลันตัน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ปัจจุบัน

กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ประจำการจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-

อากาศ พิสัยกลางก้าวหน้าเอเอ-๑๒ (AA-12 Adder/R-77) รวม

๑๕๐ ลูก จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอเอ-๑๑

(AA-11 Archer/R-73) รวม ๕๐๐ ลูก และจรวดนำวิถีพิสัยกลาง

อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอเอ-๑๐ (AA-10 Alamo/R-27)

รวม ๒๘๐ ลูก

กองทัพอากาศเวียดนาม (VPAF) ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่

แบบซู-๓๐เอ็มเค (Su-30MK) รวม ๔ เครื่อง และซู-๓๐เอ็มเค๒วี

(Su-30MK2V) รวม ๒๐ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๕๖ จัดหาเพิ่มเติมแบบ

ซู-๓๐เอ็มเค๒วี (Su-30 MK2V) รวม ๑๒ เครื่อง เป็นเงิน ๔๕๐ ล้าน

เหรียญสหรัฐ ปี พ.ศ.๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ ประจำการ ๓ กรมบินขับไล่

ประกอบด้วย กรมบินขับไล่ที่ ๙๓๕ กรมบินขับไล่ที่ ๙๒๓ และกรม

บินขับไล่ที่ ๙๒๗ รวม ๓๖ เครื่อง (ต่อมาประสบอุบัติเหตุตกหนึ่ง

เครื่อง วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๙) กองทัพอากาศเวียดนาม (VPAF)

ประจำการจรวดนำวิถีพิสัยกลาง อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอเอ-๑๐

(AA-10 Alamo/R-27) รวม ๓๒๐ ลูกจรวดนำวิถีพิสัยใกล้อากาศ-

สู่-อากาศ แบบ เอเอ-๑๑ (AA-11 Archer/R-73) รวม ๓๗๕ ลูก

และจรวดนำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลางก้าวหน้าเอเอ-๑๒

(AA-12 Adder/R-77) ไม่ทราบจำนวน

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/Sukhoi_Su-30MKI

๒. en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_Air_Force

๓. en.wikipedia.org/wiki/Royal_Malaysian_Air_Force

๔. en.wikipedia.org/wiki/R-77

๕. en.wikipedia.org/wiki/R-73_(missile)

๖. en.wikipedia.org/wiki/Myanmar_Air_Force

๗. en.wikipedia.org/wiki/Russian_military_intervention_in_the_syri

an_civil_war

๘. en.wikipedia.org/wiki/Russian_Air_Force

58

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ปริศนาอักษรไขว้

สำ

หรับปริศนาอักษรไขว้ในวารสาร

หลักเมืองฉบับนี้ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน

หรือ “วันปีใหม่จีน” ซึ่งมีคำศัพท์ที่น่าสนใจทั้งหมด

๑๒ คำ คำไหนบ้างมาเล่นกันเลยค่ะ Let’s go...

เฉลย

1. FORTUNE COOKIE 2. RED 3. DRAGON DANCE 4. MONEY 5. GOLD 6. ZODIAC

7. FIREWORKS 8. NEW YEAR 9.CHINESE 10. TANGERINE 11. LANTERN 12. ENVELOPE

หลักเมือง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

59


พลเอก ประยุุทธ์์ จัันทร์โอชา นายุกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่่าการกระทรว่งกลาโหม เป็นประธ์านในพิธีีมอบรางวััล องค์์กรทีมีค์ว่าม

เป็นเลิศในการบริหารจััดการด้านการเงินการคล ัง ค์รั งที ๗ ประจำำป ีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยุสำำน ักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม

ได้รับ จำำานว่น ๒ รางวััล ได้แก่ รางวััลประกาศเกียุรติคุุณด้านการตรว่จัสำอบภายุในภาครััฐ ระดับดี และรางวััลประกาศเกียุรติคุุณด้าน

ปลอดค์ว่ามรับผิิดทางละเมิด ระดับดีเด่น โดยมีี พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรว่งกลาโหม พร้อมด้ว่ยุ พลเอก สนิิธ์ชนก สัังขจัันทร์

รองปลัดกระทรว่งกลาโหม ข้นรับรางวััล ณ ต้กสัันติไมตรี ทำาเนียุบรัฐบาล เม่อ ๗ กุมภาพันธ์์ ๒๕๖๕

60


พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรว่งกลาโหม ตรว่จัเยุียุมศูนย์์พัฒนาปิโตรเลียุมภาค์เหน่อ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์์การ

อุตสำาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร พร้อมทำพ ิธีีเปิดการเจัาะ (SPUD) หลุมปิโตรเลียุม FA-PK-65-10 โดยม ี รองปลัด

กระทรว่งกลาโหม และนายุทหารชันผู้้ใหญ่่ของสำำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ร่ว่มพิธีี ณ ศูนย์์พัฒนาปิโตรเลียุมภาค์เหน่อ กรมการ

พลังงานทหาร ศูนย์์การอุตสำาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร อำาเภอฝาง จัังหวััดเชียุงใหม่ เม่อ ๑๐ กุมภาพันธ์์ ๒๕๖๕

หลัักเมืือง กุมืภาพัันธ์์ ๒๕๖๕

61


พลเอก คำำารณ เครืือวิิชฌยุาจัารย์์ จัเรทหารทัว่ไป และค์ณะ ได้เข้าตรว่จัสำอบการปฏิิบัติราชการกองทัพเร่อ ในบทบาทหน้าทีพิทักษ์์

รักษ์าเอกราชและค์ว่ามมันค์งแห่งราชอาณาจัักรจัากภัยุค์ุกค์ามทังภายุนอกและภายุใน ณ กองบัญ่ชาการกองเร่อยุุทธ์การ โดยมีี พลเร่อเอก

สุุวิิน แจ้้งยุอดสุุข ผิู้บัญ่ชาการกองเร่อยุุทธ์การให้การต้อนรับ และจััดให้มีการบรรยุายุสำรุปการปฏิิบัติภารกิจัของหน่ว่ยุและ

การดำาเนินงานภายุใต้สำถานการณ์แพร่ระบาดของโรคต ิดเช่อไวร ัสำโค์โรนา 2019 (COVID-19) ในห้ว่งเว่ลาทีผ่่านมา รว่มทังปัญ่หา

ข้อขัดข้องและข้อเสำนอแนะต่าง ๆ ก่อนทีจัะเยุียุมชมการปฏิิบัติงานของเร่อหลว่งภูมิพลอดุลยุเดช กองเร่อฟริเกตที ๑ และหน่ว่ยุบัญ่ชาการ

สำงค์รามพิเศษ์ทางเร่อ เม่อ ๙ กุมภาพันธ์์ ๒๕๖๕

อน้ง การตรว่จัสำอบการปฏิิบัติราชการของจัเรทหารทัว่ไปในค์รังนีมีวััตถุประสำงค์์หลัก ๒ ประการ คืือ ๑) นำานโยุบายุ เจัตนารมณ์

และข้อห่ว่งใยุของรัฐมนตรีว่่าการกระทรว่งกลาโหมมาแจ้้งให้หน่ว่ยุทราบ และ ๒) รับทราบปัญ่หาข้อขัดข้องในการปฏิิบัติภารกิจั

ของหน่ว่ยุภายุใต้สำถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติิดเช่อไวรััสำโค์โรนา 2019 (COVID-19) รว่มทังข้อเสำนอแนะอ่น ๆ

62


พันตำารว่จัเอกหญิิง อังศุว่รรณ รัตนานนท์ นายุกสำมาค์มภริยุาข้าราชการสำำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม พร้อมด้ว่ยุอุปนายุก

สำมาค์มฯ ได้ส่่งมอบรางวััลให้กับผู้้โชคดีีทีได้รับรางวััลที ๑ รถยุนต์ Toyota Fortuner 2.4 V A/T รางวััลที ๒ ทองคำำาแท่ง หนัก ๕ บาท

และรางวััลที ๓ รถจัักรยุานยุนต์ Honda Wave 110i จัากสำลากบำรุุงสำภากาชาดไทยุของสำมาค์มภริยุาข้าราชการสำำนัักงานปลัดกระทรว่ง

กลาโหม ประจำำปีี ๒๕๖๔ ณ ทีทำาการสำมาค์มฯ (ศรีสำมาน) เม่อ ๑๓ มกราค์ม ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

หลัักเมืือง กุมืภาพัันธ์์ ๒๕๖๕

63


พันตำารว่จัเอกหญิิง อังศุว่รรณ รัตนานนท์ นายุกสำมาค์มภริยุาข้าราชการสำำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม พร้อมด้ว่ยุค์ณะกรรมการ

สำมาค์มฯ ได้ร่ว่มพิธีีทำบ ุญ่เน่องในวัันทีระล้กคล ้ายุว่ันสำถาปนากรมเสม ียุนตรา ค์รบรอบปีที ๑๑๓ ณ ห้องพินิตประชานาถ ในศาลา

ว่่าการกลาโหม เม่อ ๑๗ มกราค์ม ๒๕๖๕

พันตำารว่จัเอกหญิิง อังศุว่รรณ รัตนานนท์ นายุกสำมาค์มภริยุาข้าราชการสำำน ักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม พร้อมด้ว่ยุอุปนายุก

สำมาค์มฯ และค์ณะกรรมการสำมาค์มฯ ได้ร่ว่มงานวัันคล ้ายุว่ันสำถาปนาสำมาค์มแม่บ้านทหารอากาศ ค์รบรอบปีที ๓๗ ณ พิพิธภ ัณฑ์์

กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ เม่อ ๒๖ มกราค์ม ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

64


ดาวน์โหลด ดาวน์โหลด ส.ค.ส. ส.ค.ส. ได้ที่นี่ ได้ที่นี่


Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!