30.09.2022 Views

E-Book หลักเมือง กันยายน 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำนักงำนปลัดกระทรวงกลำโหม

หน่วยงำนนโยบำยและยุทธศำสตร์ควำมมั่นคง

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ปีที่ ๓๑ ฉบับที ่ ๓๗๘ หลักเมือง กันยำยน ๒๕๖๕

www.lakmuangonline.com


เกียรติยศฝากไว้...

“แผ่นดิน”

ให้


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor Consultants

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.วัันชััย เรืืองตรืะกููล

พล.อ.อ.สุุวิิชั จัันทปรืะดิิษฐ์์

พล.อ.ไพบููลย์ เอมพันธุ์ุ์

พล.อ.ยุทธุ์ศัักดิ์์ ศัศัิปรืะภา

พล.อ.ธุ์ีรืเดิชั มีเพียรื

พล.อ.ธุ์วััชั เกูษร์์อังกููรื

พล.อ.สััมพันธุ์์ บุุญญานันต์

พล.อ.อูดิ เบูืองบูน

พล.อ.สิิริิชััย ธุ์ัญญสิิริิ

พล.อ.วิินัย ภัททิยกุุล

พล.อ.อภิชัาต เพ็ญกิิตติ

พล.อ.กิิตติพงษ์ เกูษโกูวัิท

พล.อ.เสุถีียรื เพิมทองอินทร์์

พล.อ.วิิทวััสุ รืชัตะนันทน์

พล.อ.ทนงศัักดิ์์ อภิรัักษ์์โยธุ์ิน

พล.อ.นิพัทธุ์์ ทองเล็กู

พล.อ.สุุรืศัักดิ์์ กูาญจันรััตน์

พล.อ.ศิิริิชััย ดิิษฐ์กูุล

พล.อ.ปรีีชัา จัันทร์์โอชัา

พล.อ.ชััยชัาญ ช้้างมงคล

พล.อ.เทพพงศ์์ ทิพยจัันทร์์

พล.อ.ณััฐ์ อินทรืเจัรืิญ

ที่ปรึกษา

พล.อ.วัรืเกูียรืติ รืัตนานนท์

พล.อ.อ.สุฤษฎ์พงศั์ วััฒนวัรืางกููรื

พล.รื.อ.มนัสุวัี บููรืณัพงศั์ รื.น.

พล.อ.สุรืาวัุธุ์ รืัชัตะนาวัิน

พล.อ.สุนิธุ์ชันกู สุังขจัันทรื์

พล.อ.นุชัิต ศัรืีบูุญสุ่ง

พล.อ.จัิรืวัิทย์ เดิชัจัรืัสุศัรืี

พล.อ.อดิินันท์ ไชัยฤกูษ์

พล.อ.ไพบููลย์ วัรืวัรืรืณัปรืีชัา

พล.อ.ปรืะชัาพัฒน์ วััจันะรืัตน์

พล.ท.กูัมปนาท บูัวัชัุม

พล.ท.สุุรืศัักูดิิ์ วัรืรืณัสุมบููรืณั์

พล.ท.เจัษฎา เปรืมนิรืันดิรื

พล.ท.เรืิงฤทธุ์ิ์ บูัญญัติ

พล.ท.เดิชันิธุ์ิศั เหลืองงามขำา

พล.ท.สุมเกูียรืติ สุัมพันธุ์์

พล.ท.ภัทรืพล ภัทรืพัลลภ

พล.ท.รื่มเกูล้า ปั้นดิี

พล.ท.คมสุัน ศัรืียานนท์

พล.ท.จัิรืศัักูดิิ์ ไกูรืทุกูข์รืาง

พล.ท.ณััฐ์พล เกูิดิชัูชัื่น

พล.ต.ปพน ไชัยเศัรืษฐ์

พล.ต.พจัน์ เอมพันธุ์ุ์

พล.ต.ปรืะจัวับู จัันต๊ะมี

พล.ต.กูานต์นาท นิกูรืยานนท์

พล.ต.หญิง อิษฎา ศัิรืิมนตรืี

ผู้้อำำานวยการ

พล.ต.พัฒนชััย จิินตกูานนท์

รอำงผู้้อำำานวยการ

พ.อ.ชััยวััฒน์ สุวั่างศัรืี

พ.อ.จิิตนาถี ปุณัโณัทกู

กอำงจััดการ

ผู้้จััดการ

น.อ.กูฤษณ์์ ไชัยสุมบััติ

พ.อ.สุุวัเทพ ศิิริิสุรืณั์

พ.อ.สุาโรืจัน์ ธุ์ีรืเนตรื

ประจำำากอำงจััดการ

พ.อ.หญิง สิิริิณีี จังอาสุาชัาติ

พ.ท.ไพบููลย์ รุ่่งโรืจัน์

เหรัญญิก

พ.อ.หญิง พัชัรื์ศัรืัญย์ สุุนทรืาณัฑ์์

ฝ่่ายกฎหมาย

พล.ต.นิติน ออรุ่่งโรืจัน์

พิิสููจน ์อัักษร

พ.อ.หญิง ใจทิิพย์ อุไพพานิชั

กอำงบรรณาธิิการ

บรรณาธิิการ

น.อ.สููงศัักดิ์์ อัครืปรีีดีี รื.น.

รอำงบรรณาธิิการ

น.อ.วััฒนสิิน ปัตพี รื.น.

น.อ.หญิง ฉัันทนี บุุญปักษ์์

ผู้้ช่่วยบรรณาธิิการ

น.ท.หญิง กััญญารััตน์ ชููชัาติ รื.น.

ประจำำากอำงบรรณาธิิการ

พ.ท.หญิง ลลิดิา กล้้าหาญ

พ.ต.วััชัรืเทพย์ ปีตะนีละผลิน

รื.ต.หญิง ภัทชัญา นิตยสุุทธิ์์

พ.จั.อ.สุุพจน์์ นุตโรื

จั.ท.หญิง ศุุภรืเพ็ญ สุุพรืรืณั

กอำงบรรณาธิิการ

กูองผลิตสุือ

สำำนัักูงานเลขานุกูารื

สำำนัักูงานปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

โทรื. ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ โทรื.ทหารื ๕๒ ๕๒๐๑๐

สุามารืถีสุ่งขอมูลและแสุดิงควัามคิดิเห็นต่างๆ

ไดิที Email: Printing.opsd@gmail.com

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005


๓๒

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

๓๓

Editor’s talk

สุวััสุดิีท่านผูอ่านทีรัักู ในทุกปีีงบูปรืะมาณั เป็นทีทรืาบูกูันดีีในหมู่

ขารืาชักูารืปรืะจำำา โดิยเฉัพาะผูทีกำำลัังจัะเกษีียณัอายุรืาชักูารืในปีนีนัน

เดืือนกัันยายนถืือว่่าเป็นเดืือนสุุดท้้ายในกูารทำำางาน และจัะไดิมีโอกูาสุ

พักผ่่อนหลังจัากูปฏิิบััติงานมาเป็นเวัลาหลายปีหรืืออาจัจัะทังชีีวิิตสำำาหรัับู

หลาย ๆ ท่าน ในส่่วันของกูรืะทรืวังกูลาโหมเอง ห้้วงนีก็็จัะมีกิิจักูรืรืมกูารื

เยียมอำาลาหน่วัยของผูบัังคับูบูัญชัารืะดัับูสุูงทีครืบูกูำาหนดิเกษีียณัอายุรืาชักูารื

หลายท่านเช่่นกััน

ว่่ากัันดิวัยแผนกูารืใช้้ชีีวิิตหลังเกษีียณั โดิยจัากูสุถีานกูารืณั์กูารืรืะบูาดิ

ของโรืคโควิิดิ-19 ซึ่่งถืือว่่าเป็นวิิกูฤตกูารืเงินทีได้้รัับูผลกูรืะทบูทัวัทังโลกู

จึึงขอแนะนำากูารืวัางแผนด้้านกูารืเงินเกษีียณัทีถืือเป็นแผนกูารืเงินรืะยะยาวั

ทีอาจมีีปัจัจััยควัามเสุียงต่าง ๆ ทำาใหมีผลกูรืะทบต่่อเป้าหมายและแผน

ของเรืา ดัังนัน เรืาตองมีกูารืสุำารืวัจั ปรืะเมิน และปรัับูเปลียนแผนใหเหมาะ

กัับูสุถีานกูารืณั์ปัจัจัุบััน รืวัมถึึงกูารืคาดิกูารืณั์แนวัโนมในอนาคต อันเป็น

กูารืบูรืิหารืสุมองไปในตัวั

สำำาหรัับูในเนือหาของหลักูเมืองฉับูับูนี เปิดนำำามาดิวัยเกีียรติิปรืะวััติ

ของผูบัังคับูบูัญชัาชัันสููงทีจัะครืบูเกษีียณัอายุรืาชักูารื บูทสุรืุปงาน Defense

& Security 2022 อันเป็นนิทรืรืศักูารืหลักูทีได้้กลัับูมาจััดอีีกูครืังหลังเว้้นว่่าง

จัากูสุถีานกูารืณั์โควิิดิ-19 บูทควัามเกูียวักูับูสุถีานกูารืณั์ควัามมันคงในภูมิภาค

กูารืใช้้ภาษาอังกูฤษ และเทคโนโลยีทางทหารืเช่่นเคย

ส่่งทาย...ในฐ์านะทีวัารืสุารืหลักูเมือง เป็นสุือกูลางในกูารืเผยแพร่่

บูทควัามกิิจักูรืรืมในด้้านกูารืทหารืใหกูับูครือบูครััวัชัาวักูลาโหมมาอย่าง

ยาวันาน ขอเป็นตัวัแทนในกูารืสุ่งควัามปรืารืถีนาดีี รืวัมถึึงคำาอวัยพรืมาถึึง

ท่านผูบัังคับูบูัญชัา พี ๆ ทีเป็นเพือนร่่วัมงานทุกท่่าน ขอบูพรืะคุณัในควัาม

ตังใจัปฏิิบััติหนาทีรัับูใชัรืาชักูารืตลอดิมา ขอใหทุกท่่าน “เกษีียณัสุมาร์์ท

เกษีียณัสุบูาย เกษีียณมีีสุุข และเกษีียณัแข็งแรืง ปรืาศัจัากูโรืคาพยาธุ์ิมากูลำากูรืาย”

ยินดีีตอนรัับูพร้้อมรัับูใช้้เสุมอเมือมีโอกูาสุ แล้้วพบูกูันใหม่ปีงบูปรืะมาณัหนาครัับู

๓๔

เกีียรติิปรืะวััติ พลเอกู วัรืเกีียรติิ รััตนานนท์

ปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

(ดำำารืงตำาแหน่งตังแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กัันยายน ๒๕๖๕)

๑๐

เกีียรติิปรืะวััติ พลเอกู คำารืณั เครืือวิิชัฌยาจัารย์์

จัเรืทหารืทัวัไป

(ดำำารืงตำาแหน่งตังแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กัันยายน ๒๕๖๕)

๑๔

เกีียรติิปรืะวััติ พลอากูาศัเอกู สุฤษฎ์พงศ์์ วััฒนวัรืางกููรื

รืองปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

(ดำำารืงตำาแหน่งตังแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กัันยายน ๒๕๖๕)

๑๘

เกีียรติิปรืะวััติ พลเรืือเอกู มนัสุวัี บููรืณัพงศ์์

รืองปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

(ดำำารืงตำาแหน่งตังแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กัันยายน ๒๕๖๕)

๒๒

เกีียรติิปรืะวััติ พลเอกู สุรืาวุุธุ์ รััชัตะนาวิิน

รืองปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

(ดำำารืงตำาแหน่งตังแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กัันยายน ๒๕๖๕)

๒๖

เกีียรติิปรืะวััติ พลเอกู ปรืะชัาพัฒน์ วััจันะรััตน์

เจ้้ากูรืมพรืะธุ์รืรืมนูญ

(ดำำารืงตำาแหน่งตังแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ กัันยายน ๒๕๖๕)


๓๘

๕๔

๔๐

๕๖

๒๘

๑ กัันยายน ๒๕๖๕

๓๓ ปี สำำนัักูงานตรืวัจัสุอบูภายในกูลาโหม

๒๙

๔ กัันยายน ๒๕๖๕ ๒๗ ปี

กูรืมเทคโนโลยีสุารืสุนเทศัและอวักูาศักูลาโหม

๓๐

๖ กัันยายน ๒๕๖๕

๓๒ ปี กูรืมกูารืสุรืรืพกำำลัังกูลาโหม

๓๑

๑๒ กัันยายน ๒๕๖๕

๑๑๖ ปี กูรืมพรืะธุ์รืรืมนูญ

๓๒

๑๒ กัันยายน ๒๕๖๕

๖๖ ปี ศููนย์พัฒนาปิโตรืเลียมภาคเหนือ

กูรืมกูารืพลังงานทหารื ศููนย์กูารอุุตสุาหกูรืรืม

ป้องกัันปรืะเทศัและพลังงานทหารื

๓๓

๑๘ กัันยายน ๒๕๖๕ ๔๓ ปี ศููนย์อำานวัยกูารื

สุรืางอาวุุธุ์ ศููนย์กูารอุุตสุาหกูรืรืม

ป้องกัันปรืะเทศัและพลังงานทหารื

๓๔

เตรีียมควัามพร้้อมเขาสู่่

กูารืเกษีียณัอายุรืาชักูารื

๓๘

ปรืะโยชน์์ทีไดิจัากูกูารืปรืะชุุมควัามร่่วัมมือ

ทางเศัรืษฐ์กูิจัในภูมิภาคเอเชีีย-แปซึ่ิฟิิกู

(Asia-Pacific Economic Cooperation :

APEC)

๔๐

โครืงกูารพััฒนาอาวุุธุ์ปืนเล็กูยาวั

ตนแบูบู NARAC556 ขนาดิ ๕.๕๖ มิลลิเมตรื

เพือปรืะเมินผลกูารืใช้้งานและเตรีียมกูารื

ขยายผลสุู่อุตสุาหกูรืรืมป้องกัันปรืะเทศั

ขอคิดิเห็นและบูทควัามที นำาลงในวัารืสุารืหลักูเมืองเป็นของผูเขียน มิใช่่ขอคิดิเห็นหรืือนโยบูายของหน่วัยงานของรััฐ์ และมิไดิผูกพััน

ต่อรืาชักูารืแต่อย่างใดิ สำำนัักูงานเลขานุกูารืสุำนัักูงานปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม ถีนนสุนามไชัย เขตพรืะนครื กูรืุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทรื./โทรืสุารื ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm

พิมพ์ที : บูรืิษัท ธุ์นอรุุณักูารพิิมพ์ จำำากูัดิ ๔๕๗/๖-๗ ถีนนพรืะสุุเมรุุ แขวังบูวัรืนิเวัศั เขตพรืะนครื กูรืุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทรื. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรืสุารื ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘

E-mail : thanaaroon19@gmail.com ออกูแบูบู : บูรืิษัท ธุ์นอรุุณักูารพิิมพ์ จำำากูัดิ

๕๙

๔๒

กูารืฝึึกูกูารืรืะดิมสุรืรืพกำำลัังเพือกูารืทหารื

ปรืะจำำปีี ๒๕๖๕ : กูรืสุ.๖๕ (Mobilisation

Exercise 2022 : MOBEX 2022)

๔๖

กลัับูหลังหัน...กัับพิิพิธุ์ภัณัฑ์์กูลาโหม

“เครืืองหมายวัรืรืคตอน และมาตรืาชัังตวังวััดิ

แบูบูโบูรืาณั ทีปรืากูฏิบูนกูรืะบูอกปืืนใหญ่

ด้้านหนาศัาลาว่่ากูารืกูลาโหม”

๔๘

สมุุดิปกูขาวัของจีีน เรืือง “ควัามร่่วัมมือ

เพือกูารพััฒนารืะหว่่างปรืะเทศั

ของจีีนในยุคใหม่” (ตอนที ๘)

๕๒

เป้าปรืะสุงค์ทีแท

๕๔

ภาษาอังกูฤษง่าย ๆ สุไตล์ครููวัันดีี

“I am retired or I was retired.”

๕๖

แนะนำาอาวุุธุ์เพือนบ้้าน จัรืวัดินำาวัิถีีพิสััยใกล้้

อากูาศั-สู่่-อากูาศั เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9)

๕๙

กูารืจััดิงานนิทรืรืศักูารอุุปกูรืณั์ป้องกัันปรืะเทศั

(Defense & Security 2022)

๖๑

ภาพกิิจักูรืรืม


4

เกียรติประวัติ

พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์

ปลัดกระทรวงกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕)

พลเอก

วรเกียรติ รัตนานนท์เกิดเมื่อวันที่๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๕

เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวนพี่น้อง ๔ คนของ พันเอก ณรงค์ และ

นางจรัญ รัตนานนท์ ด้านครอบครัวสมรสกับ พันตำรวจเอกหญิง

อังศุวรรณ รัตนานนท์ มีบุตร ๑ คน คือ นายปิยวุฒิ รัตนานนท์

ด้านการศึกษา จบระดับชั้นมัธยมศึกษา (ม.ศ.๓) จากโรงเรียน

ชลราษฎรอำรุง จากนั้นเข้าสู่ชีวิตทหารด้วยการเป็นนักเรียน

เตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐ และเข้าศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๑

และขณะศึกษาได้รับคัดเลือกให้เป็นหัวหน้านักเรียนนายร้อย เมื่อจบ

การศึกษาและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารแล้ว ได้เข้ารับการศึกษา

ในหลักสูตรตามแนวทางรับราชการ อาทิ หลักสูตรชั้นนายร้อย


และชั้นนายพันเหล่าทหารปืนใหญ่, หลักสูตรเสนาธิการทหารบก

หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ ๗๑, หลักสูตร International Defence

Management Course (U.S.A.) และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกัน

ราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๘

ด้านชีวิตรับราชการ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียน

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ท่านได้รับการบรรจุ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

5


ในหน่วยทหารปืนใหญ่ ตำแหน่งผู้ตรวจการณ์หน้า กองร้อยทหาร

ปืนใหญ่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๒๑ รักษาพระองค์ และได้รับตำแหน่ง

ผู้บังคับกองร้อยในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ซึ่งในห้วงปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๓

ได้มีโอกาสปฏิบัติราชการพิเศษเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่

กองกำลังบูรพา ตามแผนป้องกันประเทศชายแดนไทย-กัมพูชา

ในพื้นที่อำเภออรัญประเทศ และอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

6


และในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับตำแหน่งนายทหารยุทธการและการฝึก

กองพันทหารปืนใหญ่ที่๒๑ รักษาพระองค์ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ - ๒๕๔๖

ท่านได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาของกองทัพบกให้ปฏิบัติ

หน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกประจำสถานเอกอัคร

ราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา และรักษาราชการผู้ช่วยทูต

ฝ่ายทหารบกประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวลลิงตัน

จากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๔๘ ท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

กองแผนและฝึก กรมข่าวทหารบก และรับราชการที่กรมข่าว

ทหารบก จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนข่าวทหารบก,

ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์กรมข่าวทหารบก, รองเจ้ากรมข่าว

ทหารบก, เจ้ากรมข่าวทหารบก, รองเสนาธิการทหารบก และ

เสนาธิการทหารบก ในปี พ.ศ.๒๕๖๓

จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ท่านได้รับพระบรม

ราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่ง

ปลัดกระทรวงกลาโหม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

7


ซึ่งท่านมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม ให้เป็นองค์กรที่มีบทบาทในด้านการกำหนดนโยบายและ

ยุทธศาสตร์ด้านการทหารและความมั่นคง ด้านการเสริมสร้างความ

สัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศและองค์กร

ระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในการ

อำนวยการประสานงานและกำกับดูแล เพื่อให้กระทรวงกลาโหม

เป็นหน่วยงานหลักด้านการป้องกันประเทศ การแก้ไขปัญหาที่

สำคัญของชาติ การพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ การพิทักษ์

รักษาปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การสนับสนุน

รัฐบาลในการขับเคลื่อนและปฏิรูปพัฒนาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคือ

“ประเทศมั่นคง ประชาชนมีความมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ท่านมีคุณลักษณะด้านการทหารและ

นักการทูตที่โดดเด่นแต่แฝงไว้ด้วยความเรียบง่าย อาทิ การปฏิบัติ

หน้าที่ในบทบาทด้านการข่าวกรอง ท่านได้มีส่วนสำคัญในการ

8


ให้ข้อพิจารณาและจัดทำแผนในรายละเอียดการปรับปรุงระบบงาน

ด้านการข่าวของกองทัพบกและการจัดตั้งกองพันข่าวกรองทาง

ทหาร รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยข่าวกรองทางทหารสนับสนุนกองพล

พัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรหรือกองพลทหารราบที่๑๕ ในปัจจุบัน

ในบทบาทนักการทูต ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถและความเป็น

ผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงานส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่าง

ประเทศกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในบทบาทนักบริหาร ฝ่ายเสนาธิการ

ท่านได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่าง

เต็มกำลังความสามารถจนเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา และเป็น

ที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งการบริหารจัดการองค์กร

ในทุกด้านทุกมิติ โดยให้ทุกหน่วยทำงานด้วยความสามัคคี

มองประโยชน์ร่วมกัน คิดร่วมกัน ทำร่วมกัน และยึดมั่นในคุณธรรม เพื่อ

เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน ซึ่งจากการที่ท่านได้

ปฏิบัติหน้าที่และดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ มาโดยตลอด ส่งผลให้ท่าน

ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการบริหาร

การปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕

และได้รับประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ประจำปี ๒๕๖๕ รวมถึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า

โปรดกระหม่อมพระราชทานยศพลเรือเอก และพลอากาศเอก

เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลสืบไป

ตลอดชีวิตที่ผ่านมาท่านได้ดำรงความมุ่งมั่นในความจงรักภักดี

ต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และปฏิบัติหน้าที่ด้วย

ความวิริยะ อุตสาหะ พร้อมอุทิศตนและเสียสละความสุขส่วนตัว

ในการปฏิบัติงานที ่ได้รับมอบหมายด้วยความทุ่มเทและยึดถือ

ประโยชน์ส่วนรวมและกองทัพมาโดยตลอด โดยมีหลักการปฏิบัติงาน

ที่ยึดมั่นเสมอมา คือ “คิดดี พูดดี ทำดี” ท่านจึงเป็นบุคลากร

ที่ทรงคุณค่ายิ่งของกระทรวงกลาโหม และประเทศชาติที่สมควร

แก่การยกย่อง เชิดชู และเป็นแบบอย่างให้อนุชนรุ่นหลังได้ยึดถือ

และระลึกไว้ในความทรงจำตลอดไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

9


เกียรติประวัติ

พลเอก คำรณ เครือวิชฌยาจารย์

จเรทหารทั่วไป

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕)

ลเอก คำรณ เครือวิชฌยาจารย์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มกราคม

พ.ศ.๒๕๐๕ ที่จังหวัดปัตตานี ในครอบครัวค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ของ

คุณพ่อบัวคลี่ คุณแม่รัชนี มีน้องสาว ๒ คนคือ นางกมลมอญ รุ่งเรือง และนางกมลรัตน์

อุทัยเสน

ชีวิตในวัยเยาว์ของท่านคงไม่แตกต่างไปจากเด็กคนอื่นที่ครอบครัวประกอบอาชีพ

ค้าขายในตลาด นั่นคือ เรียนหนังสือที่โรงเรียนใกล้บ้าน หลังเลิกเรียนในแต่ละวันก็ต้อง

กลับมาช่วยพ่อแม่ทำมาค้าขาย ก่อนที่จะได้ไปเที่ยวเล่นซนตามประสาเด็กไปวันวัน

ท่านเรียนหนังสือดีมาตั้งแต่เด็ก ภายหลังสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ปัตตานี ท่านสามารถผ่านการสอบคัดเลือกเข้ารับการศึกษา

ในรั้วสุภาพบุรุษพระรามสี่ ในฐานะนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐ และจบการศึกษา

10


จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๑ ในระดับนักเรียน

เหรียญทอง ใน พ.ศ.๒๕๒๗

ท่านพูดอยู่เสมอว่า ท่านจำเป็นต้องตั้งใจเรียนให้ดีเพราะท่าน

เกิดมาไม่มีต้นทุน ไม่มีทั้งทรัพย์สมบัติไม่มีทั้งชาติตระกูล ความรู้นี่แหละ

จะเป็นทุนของท่านต่อไปในภายภาคหน้า ดังนั้น ชีวิตรับราชการ

ของท่านจึงควบคู่ไปกับการศึกษาตลอดเวลา

ถึงแม้จะเลือกลงที่ไหนก็ได้ แต่ท่านเลือกรับราชการครั้งแรก

ในตำแหน่ง ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ

ที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๕ ปัตตานี จังหวัดบ้านเกิดด้วยพันธะทางใจ

ที่เคยให้ไว้กับเพื่อนสมัยมัธยมเมื่อครั้งมุ่งหน้าไปสอบเข้าศึกษาต่อ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

11


ในเมืองหลวง ด้วยคำมั่นที่ว่า “วันใดจบการศึกษาขอให้ไปช่วยกัน

พัฒนาบ้านเราก่อน”

ภายหลังเข้ารับราชการ ท่านได้เข้ารับการศึกษาต่อ

ในหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ หลายหลักสูตร อาทิ หลักสูตร

โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๗๑ หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการ

ทหารบก ประเทศอังกฤษ รุ่นที่ ๓๐ หลักสูตรปริญญาโท Defence

Studies จากมหาวิทยาลัย New South Wales ประเทศ

ออสเตรเลีย หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ ๔๘ และหลักสูตร

ป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗

ในส่วนของชีวิตรับราชการ ท่านได้ใช้ชีวิตเยี่ยงทหารราบ

ทั้งในที่ตั้งปกติและในสนาม ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัด

12


ชายแดนภาคใต้ เป็นเวลา ๙ ปี ก่อนที่เบนเข็มไปรับราชการในส่วนกลาง

ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และ

เลือกรับราชการในกรมข่าวทหารบก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖

ชีวิตเป็นดั่งละคร จากเด็กบ้านนอกไกลปืนเที่ยงในครอบครัว

ค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่บนเส้นทางทหารอาชีพกลับได้รับราชการ

สนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งสำคัญ ๆ ในหลายบทบาทหลายหน้าที่

เช่น อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รองผู้อำนวยการ

กองข่าว กรมข่าวทหารบก และตำแหน่งสุดท้าย

ในกองทัพบกคือ ผู้ช่วยทูตทหารบก รักษาราชการ

ผู้ช่วยทูตทหารไทย ประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตย

ประชาชนลาว

หลังกลับจากนครหลวงเวียงจันทน์ ท่านย้าย

ไปรับราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะ

นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาทหารสูงสุด

และเติบโตในกรมกิจการชายแดนทหาร จนกระทั่ง

เป็นเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร และสุดท้าย

ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ

ทหารสูงสุด ก่อนที่จะเป็น จเรทหารทั่วไป

จนเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ.๒๕๖๕

พลเอก คำรณฯ ได้รับพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมี

เกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ เป็นบำเหน็จความชอบ

ในราชการแผ่นดิน อีกทั้งยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหาร

ราชองครักษ์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ จวบจนปัจจุบัน

นอกจากนั้น ท่านยังได้รับเหรียญตรามิตรภาพ และเหรียญชัย

มิตรภาพ จากทางการ สปป.ลาว ในฐานะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการ

ส่งเสริมมิตรภาพไทย - ลาว อีกด้วย ทั้งนี้ ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่

ได้รับเกียรตินี้ นับตั้งแต่ สปป.ลาว เปลี่ยนแปลงการปกครอง

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘

ในด้านชีวิตส่วนตัว ท่านใช้ชีวิตในครอบครัวเล็ก ๆ ที่แสนอบอุ่น

กับนางนาลิวัล สกุลเดิม คาคะวารีย์ ภรรยาคู่ชีวิต และนายคณิน

บุตรชายคนเดียว อย่างเรียบง่ายในแบบวัยเยาว์ที่คุ้นเคยอย่างมี

ความสุขเรื่อยมา

หากถามถึงความภาคภูมิใจมากที่สุดในชีวิต คำตอบคงหนี

ไม่พ้นความภาคภูมิใจที่ได้มุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละ ด้วยความรู้

ความสามารถ ซึ่งเป็นต้นทุนเดียวที่มีอยู่อย่างเต็มกำลังในการปฏิบัติ

หน้าที่อย่างต่อเนื่องมาตลอดชีวิตรับราชการนั่นเอง

13


เกียรติประวัติ

พลอากาศเอก สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕)

พลอากาศเอก

สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร

มีชื่อเล่นว่า “ตั้ว” เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐

สิงหาคม ๒๕๐๕ ณ โรงพยาบาลราชวิถี ท่านเกิด

ในครอบครัวตำรวจ โดยเป็นบุตรคนที่ ๒

จากทั้งหมด ๔ คน ของคุณพ่อ พลตำรวจเอก

สนอง วัฒนวรางกูร และ คุณแม่สมพร วัฒนวรางกูร

สมรสกับ คุณอร วัฒนวรางกูร นามสกุลเดิม บูลกุล

มีบุตรี ๑ คน คือ นางสาวปริญฎา วัฒนวรางกูร

14


ด้านการศึกษา ท่านเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ในระดับประถมและระดับ

มัธยมต้น หลังจากจบมัธยมต้นได้เริ่มต้นก้าวเข้าสู่ชีวิตทหาร เมื่อ

สอบผ่านเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๑ ท่านได้เลือกเหล่า

ทหารอากาศ โดยเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๘ เมื่อสำเร็จ

การศึกษา ท่านได้ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นศิษย์การบินของกองทัพ

อากาศ ได้เข้าฝึกบินในรุ่น น. ๗๘ และได้รับการบรรจุเข้าเป็นนักบิน

ประจำกองเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๒๙ โดยเป็นนักบินในกลุ่มนักบิน

ขับไล่/โจมตี ในระหว่างรับราชการ นอกจากการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ

ตามแนวทางของการรับราชการแล้ว ท่านยังได้มีโอกาสได้เข้ารับ

การศึกษาอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ อีกหลายหลักสูตร ได้แก่หลักสูตร

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๖, หลักสูตรวิทยาการ

การจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่๕ และหลักสูตรผู้บริหาร

ระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ ๓๑

ด้านการรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่าง ๆ ได้แก่

ผู้บังคับฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ (นครราชสีมา) ผู้บังคับการกองบิน ๑

(นครราชสีมา) ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย ประจำกรุงลอนดอน

รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหารอากาศ ผู้อำนวยการ

สำนักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือน

ทหารอากาศ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับ

บัญชา และผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศจนกระทั่ง

ท่านได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้

รับราชการในตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม ตามลำดับ

ผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย ประจำกรุงลอนดอน

ด้านการบิน ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่นักบินประจำกอง สังกัด

กองทัพอากาศ ทำการบินกับเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศ

ในขณะนั้น คือ เครื่องบิน F-5 และ F-16 จนมีวุฒิการบินเป็นครู

การบิน (Instructor Pilot) และได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับฝูงบิน ๑๐๓

ซึ่งเป็นหน่วยบิน F-16 ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๐

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

15


ด้านการปฏิบัติหน้าที่ ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ

กองบิน ๑ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๐ - ๒๕๕๒ นอกเหนือจากการ

กำกับดูแลให้การปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นไปด้วย

ความเรียบร้อย ท่านได้ให้ความสำคัญในเรื่องขวัญและกำลังใจ การ

ปรับปรุงงานด้านสวัสดิการที่ข้าราชการควรจะได้รับ การยกระดับ

มาตรฐานคุณภาพชีวิตข้าราชการในกองบิน ๑ ให้ทัดเทียมกับสากล

เป็นผู้บังคับบัญชาที่นั่งอยู่ในใจของข้าราชการกองบิน ๑ ทุกคน

เสมอมา

ในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ท่านได้รับตำแหน่งสูงขึ้นเป็นหัวหน้าคณะ

นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา ท่านได้ดูแลงานด้าน

ยุทธการและโครงการสำคัญต่าง ๆ ทั้งที่เป็นโครงการต่อเนื่องและ

โครงการเริ่มใหม่ของกองทัพอากาศ เช่น โครงการปรับปรุงขีดความ

สามารถเครื่องบินขับไล่ โครงการจัดหาเครื่องบินพระราชพาหนะ

โครงการด้านอวกาศ และยังได้รับมอบหมายงานสำคัญต่าง ๆ อีก

หลายงาน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้ใจที่ผู้บังคับบัญชา

ระดับสูงมีให้ ซึ่งทุกงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ท่านดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกรมควบคุม

การปฏิบัติทางอากาศ ซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่สำคัญในการดูแลควบคุม

การปฏิบัติทางอากาศ เพื่อปกป้องน่านฟ้าไทย ให้ประเทศชาติ

เกิดความมั่นคงปลอดภัยและปราศจากภัยคุกคาม อีกทั้งยังควบคุม

การใช้กำลังทางอากาศในภารกิจบรรเทาสาธารณภัยเพื่อช่วยเหลือ

ประชาชนในอีกทางหนึ่งด้วย

และในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ท่านได้มาปฏิบัติงานที่

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในตำแหน่งรองปลัด

กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายของการรับ

ราชการของท่าน

ในขณะดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ได้

รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบในสายงานด้านกำลังพล

สวัสดิการ กิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ด้านพระธรรมนูญ

ด้านเลขานุการ และด้านการสรรพกำลัง ตลอดจนงาน

ด้านอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่อย่าง

เต็มกำลังความสามารถ ทำให้ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

สำเร็จลุล่วงด้วยดีเสมอมา

16


ตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ในชีวิตรับราชการของท่าน ท่าน

ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการมาด้วยความเสียสละ มุ่งมั่น ทุ่มเท โดยใช้

ประสบการณ์และความรู้ที่สั่งสมมา จนเกิดผลงานอันเป็นประโยชน์

ต่อทางราชการนานัปการ และด้วยบุคลิกส่วนตัวของท่าน ซึ่งเป็น

คนสุภาพเรียบร้อย อารมณ์ดี ไม่ถือตัว เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา

พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้ท่านเป็นที่เคารพรักของ

บุคคลทั่วไป เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา เป็นที่รัก

ของเพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงานทุกระดับตลอดมา

แม้ว่าท่านจะครบวาระเกษียณอายุตามแนวทางของการ

รับราชการใน ๓๐ กันยายนนี้แต่ความทรงจำและความรู้สึกดีๆ จาก

ทุกคนจะยังคงอยู่คู่กับผลงานต่าง ๆ ที่ท่านได้ทำไว้จะยังคงปรากฏ

เป็นเกียรติประวัติและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นหลังสืบไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

17


เกียรติประวัติ

พลเรือเอก มนัสวี บูรณพงศ์

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕)

พลเรือเอก

มนัสวี บูรณพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ ที่กรุงเทพฯ

เป็นบุตรของ พลตำรวจตรี บำเหน็จ และ นางวารี บูรณพงศ์

ด้านครอบครัว

สมรสกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิภาวี บูรณพงศ์ มีธิดาและบุตร คือ

แพทย์หญิงนภัทร บูรณพงศ์ และนักศึกษาแพทย์ณัฐภัทร บูรณพงศ์

18


ด้านการศึกษา

เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรุงเทพฯ จากนั้นสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ ๒๐ และ

นักเรียนนายเรือรุ่นที่ ๗๗ หลังจากสำเร็จการศึกษาที่โรงเรียน

นายเรือ ได้เข้ารับการศึกษาตามแนวทางการรับราชการทหารเรือ

อีกหลายหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรนายทหารประจำเรือ หลักสูตร

นายทหารพรรคนาวิน หลักสูตรนายทหารสื่อสาร หลักสูตร

นายทหารปราบเรือดำน้ำและควบคุมอากาศยานปราบเรือดำน้ำ

หลักสูตรต้นปืน หลักสูตรผู้บังคับการเรือและยุทธวิธีเรือผิวน้ำ

หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ ๕๔ หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ

รุ่นที่๓๘ โดยได้รับรางวัลเอกสารประจำภาคดีเด่น ประจำปีการศึกษา

๒๕๔๙ ได้รับจารึกในแผ่นประวัติของวิทยาลัยการทัพเรือ และผ่าน

การศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ ได้แก่ ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

(บริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาลัย

ป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗

ด้านการรับราชการ

หลังจากสำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ ได้เข้ารับราชการ

ครั้งแรกในตำแหน่ง นายทหารฝึกโรงเรียนสื่อสารทหารเรือ ครูหมวด

การตอร์ปิโด แผนกการปราบเรือดำน้ำและตอร์ปิโด กองฝึกการอาวุธ

กองการฝึกกองเรือยุทธการ หลังจากนั้นได้บรรจุลงปฏิบัติงานตาม

เรือต่าง ๆ การรับราชการได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ได้รับมอบหมาย

ตำแหน่งสำคัญ ดังนี้ ต้นปืนเรือหลวงตองปลิว กองเรือปราบ

เรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ ผู้บังคับการเรือ ต.๙๓ กองเรือตรวจอ่าว

กองเรือยุทธการ นายกราบนักเรียน โรงเรียนชุมพลทหารเรือ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

19


20

ผู้บังคับกองพันนักเรียนนายเรือ กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์

โรงเรียนนายเรือ ขณะดำรงตำแหน่งได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับกองพัน

สวนสนาม กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ

และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ซึ่งเป็นปีกาญจนาภิเษก ปีที่๕๐

รัชกาลที่ ๙ ผู้บังคับกองพันสารวัตรทหารเรือที่ ๑ กรมสารวัตรทหารเรือ

ผู้อำนวยการกองจัดการขนส่ง กรมการขนส่งทหารเรือ ผู้บังคับ

กองดุริยางค์ทหารเรือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ ขณะดำรงตำแหน่ง

ผู้บังคับกองดุริยางค์ทหารเรือ ได้รับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมวงดุริยางค์

ราชนาวี ในการแสดงดนตรีกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๓๓


ผู้อำนวยการกองการกำลังพล กรมกำลังพลทหารเรือ

เสนาธิการฐานทัพเรือกรุงเทพ ผู้บังคับการกรมสารวัตรทหารเรือ

ขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมสารวัตรทหารเรือ ได้ร่วม

ประพันธ์เพลง “มาร์ชสารวัตรทหารเรือ” เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงาน

ให้เป็นที่รู้จัก และแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี เป็นอันหนึ่ง

อันเดียวกันของคนในหน่วย ซึ่งถือเป็นเพลงประจำหน่วยเพลงแรก

นับตั้งแต่ก่อตั้งกรมสารวัตรทหารเรือ ผู้บัญชาการโรงเรียน

ช่างฝีมือทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการ

กองทัพไทย เสนาธิการฐานทัพเรือสัตหีบ รองหัวหน้าคณะนายทหาร

ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา โดยได้ร่วมเป็นผู้ร่วมจัดพิธี

ขบวนเรือพระราชพิธี การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร

โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพิธีบรมราชาภิเษก

รัชกาลที่ ๑๐ พุทธศักราช ๒๕๖๒ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม และที่ปรึกษาพิเศษสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม ก่อนได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม

ขณะดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับมอบหมาย

ให้ดูแลรับผิดชอบในสายงานด้านส่งกำลังบำรุง การจัดซื้อจัดจ้าง

การปฏิบัติเกี่ยวกับงานที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ให้เหล่าทัพ

และส่วนราชการภายนอกกระทรวงกลาโหม งานก่อสร้างและงาน

ปรับปรุงอาคารสถานที่ หรือสิ่งปลูกสร้าง สายงานด้านการแพทย์

และสายงานด้านการเงิน ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้เป็นราชองครักษ์เวรและนายทหารราชองครักษ์ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๗

จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนเป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ตุลาการ

ศาลทหารกลาง ตุลาการศาลทหารสูงสุด และสมาชิกสภากลาโหม

จากประสบการณ์การทำงานในชีวิตรับราชการของท่านนั้น

ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ มุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท กำลังกาย

กำลังใจ และกำลังสติปัญญาอย่างเต็มกำลังความสามารถ

เพื่อทดแทนบุญคุณแผ่นดิน ยึดมั่นในความจงรักภักดี ต่อชาติ

ศาสนา พระมหากษัตริย์อีกทั้งยังให้ความสำคัญต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

และเพื่อนร่วมงานในทุกระดับด้วยความจริงใจ ห่วงใย และสนับสนุน

ในการปฏิบัติงาน ทำให้ภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงด้วยดี

เสมอมา จึงนับเป็นแบบอย่างที่ดีและควรค่าที่จะได้รับการยกย่อง

เชิดชู ให้อนุชนรุ่นหลังและนายทหารรุ่นน้อง ได้สืบสานแนวทาง

ต่อไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

21


เกียรติประวัติ

พลเอก สราวุธ รัชตะนาวิน

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕)

พลเอก

สราวุธ รัชตะนาวิน เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๔

ณ บ้านเลขที่ ๓๕ หมู่ ๑๐ ตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ด้านครอบครัว

สมรสกับ นางปาริชาต รัชตะนาวิน มีธิดา ๒ คน คือ นางสาวชนิกานต์

และเด็กหญิงฉันท์ชนก รัชตะนาวิน

ด้านการศึกษา

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ

และเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๑ หลังจากนั้นเข้ารับ

22


การศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๒ เมื่อส ำเร็จ

การศึกษาในปี ๒๕๒๘ จึงได้เลือกรับราชการในเหล่าทหารปืนใหญ่

สำเร็จหลักสูตรตามแนวทางรับราชการ คือ หลักสูตรชั้น

นายร้อยเหล่าทหารปืนใหญ่ รุ่นที่ ๒๘ หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหาร

ปืนใหญ่ รุ่นที่ ๓๕ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ

ชุดที่ ๗๒ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๙

พ.ศ.๒๕๔๘ ผู้อำนวยการกองกำลังพล

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ

พ.ศ.๒๕๕๒ ผู้อำนวยการโรงงานสร้างปืนใหญ่

และเครื่องยิงลูกระเบิด ศูนย์อำนวยการ

สร้างอาวุธฯ

พ.ศ.๒๕๕๔ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ

พ.ศ.๒๕๕๕ ผู้อำนวยการโรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ

พ.ศ.๒๕๕๗ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

พ.ศ.๒๕๕๘ ผู้อำนวยการโรงงานวัตถุระเบิดทหาร

กรมการอุตสาหกรรมทหารฯ

พ.ศ.๒๕๖๐ ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุน

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

พ.ศ.๒๕๖๒ รองผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร

พ.ศ.๒๕๖๓ ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร

พ.ศ.๒๕๖๔ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

ตำแหน่งหรือราชการพิเศษ

พ.ศ.๒๕๕๘ ราชองครักษ์เวร

พ.ศ.๒๕๕๙ นายทหารพิเศษประจำ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑

รักษาพระองค์

พ.ศ.๒๕๖๔ - ตุลาการศาลทหารสูงสุด

- สมาชิกสภากลาโหม

ประวัติการรับราชการ

พ.ศ.๒๕๒๘ - นายทหารลาดตระเวนและแผนที่

กองร้อยปืนใหญ่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๗๒๒

- รองผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์

พ.ศ.๒๕๓๑ ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์

พ.ศ.๒๕๓๕ นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์

พ.ศ.๒๕๓๗ นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก

กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒๑

พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่

ศูนย์การทหารปืนใหญ่

พ.ศ.๒๕๔๕ หัวหน้ากองกำลังพล ศูนย์การทหารปืนใหญ่

พ.ศ.๒๕๔๗ หัวหน้ากองบริการ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

ห้วงปี พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๑ ระหว่างที่รับราชการ ณ กองพัน

ทหารปืนใหญ่ที ่ ๑ รักษาพระองค์ ได้มีโอกาสออกปฏิบัติราชการ

สนามชายแดนตามแผนป้องกันประเทศ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย

บริเวณ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (ในขณะนั้น)

ได้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ ร่วมสุข ร่วมทุกข์ กับผู้ใต้บังคับบัญชา

ทำให้เข้าใจคำว่า “รั้วของชาติ” อย่างถ่องแท้ ในการเสียสละ

เพื่อปกป้องชาติบ้านเมือง

23


ใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ และพระราชบัญญัติ

โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน การดำเนินการด้านวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ การดำเนินการด้านมาตรฐานทางทหาร

ของกระทรวงกลาโหม งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ

สื่อสารโทรคมนาคมทั้งภาคพื้นดิน และดาวเทียมในการป้องกัน

ประเทศ รวมถึงการดูแลความเรียบร้อย จัดระเบียบความปลอดภัย

ภายในพื้นที่อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (พื้นที่ศรีสมาน)

เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔ มีพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ท่านรับราชการในตำแหน่ง

“รองปลัดกระทรวงกลาโหม” ซึ่งถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณ

อย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัตินำมาซึ่งความภาคภูมิใจ

ต่อตัวท่านเอง และวงศ์ตระกูล

รวมทั้งยังได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้อ ำนวยการศูนย์อำนวยการ

ติดตามสถานการณ์ และแก้ไขปัญหา COVID-19 ของสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งรับผิดชอบทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ

ผู้ป่วย และการบริหารจัดการวัคซีน เพื่อให้มีวัคซีนเพียงพอกับ

กำลังพล และครอบครัว รวมทั้งประสานความร่วมมือกับเทศบาล

นครปากเกร็ด และโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะในการกระจายวัคซีน

ให้กับประชาชน

ขณะดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ท่านได้รับมอบหมาย

จากท่านปลัดกระทรวงกลาโหม ให้ดูแลรับผิดชอบในสายงาน

ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร การออก

24

จากประสบการณ์ในการรับราชการตั้งแต่บรรจุในกองทัพบก

ซึ่งมีโอกาสได้ปฏิบัติราชการสนาม และที่ตั้งปกติ จึงท ำให้เข้าใจปัญหา

และความต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์ที่แท้จริง จนทำให้ได้แนวความคิด

ในการพัฒนากิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตั้งแต่การวิจัย

และพัฒนา การนำผลงานวิจัยพัฒนาเข้าสู่สายการผลิต การพัฒนา

สายการผลิต และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อ

สนับสนุนเหล่าทัพต่าง ๆ อันเป็นการพึ่งพาตนเอง และสามารถนำไป

ต่อยอดสู่การส่งออกไปยังต่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาล


สิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นที ่ประจักษ์มาตลอดระยะเวลา

รับราชการ คือ การน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ พร้อมทั้งยึดมั่นใน

สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นแนวทางในการ

ปฏิบัติงานมาโดยตลอด และด้วยบุคลิกส่วนตัวที่เป็นกันเอง ไม่ถือตัว

ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาในทุกระดับชั้นอย่างเป็นธรรม

ทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชาในทุก ๆ ที่ ที่ท่าน

ได้เป็นผู้บังคับหน่วยมาโดยตลอด ส่งผลให้การปฏิบัติงานที่ผ่าน ๆ มา

ประสบความสำเร็จลุล่วง โดยได้รับความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ

ของผู้ใต้บังคับบัญชาทุก ๆ คนอย่างดีและเต็มใจ

นอกจากนั้น ท่านยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร

และเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งท่านได้สนับสนุนและส่งเสริมให้กำลังพล

มีความรู้ ความสามารถในส่วนที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะในเรื่องของ

เทคโนโลยี ที่ปัจจุบันมีส่วนสำคัญช่วยทำให้การปฏิบัติงาน และ

อำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ท่านได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และ

สติปัญญา ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ

ท่านได้สั่งสมประสบการณ์และความรู้จากการปฏิบัติหน้าที่อย่าง

สม่ำเสมอ อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความขยันหมั่นเพียร

มีความจริงจังต่องานที่ได้รับมอบหมายในทุก ๆ งาน และปฏิบัติตาม

กฎระเบียบบนพื้นฐานของความถูกต้องเป็นหลัก

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

ถึงแม้ว่า ท่านจะต้องเกษียณอายุราชการไปในครั้งนี้

แต่ท่านยังคงทิ้งไว้ซึ่งแบบอย่างที่ควรค่าแก่การนำไปเป็นแนวทาง

ปฏิบัติในทุก ๆ ด้าน เปรียบเสมือนเป็นแรงบันดาลใจ

ให้กับน้อง ๆ ข้าราชการที่กำลังเจริญรอยตามความสำเร็จ

ของพลเอก สราวุธ รัชตะนาวิน ต่อไป

25


เกียรติประวัติ

พลเอก ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์

เจ้ากรมพระธรรมนูญ

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕)

ากชีวิตในวัยเด็กที่ได้รับโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ

วิทยาลัย จากนั้นได้จบการศึกษาปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์

เสริมความแข็งแกร่งด้านกฎหมาย เมื่อพ้นอ้อมอกสถาบันการศึกษา

อันเป็นที่รัก สู่เวทีการทำงาน เป็นอัยการทหารหนุ่มที่พากเพียร

เรียนจบอีกหลายปริญญา ไม่ว่าจะเป็นปริญญาโทด้านนิติศาสตร์

ปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ สาขาบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ และได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยได้

รับปริญญาเอก นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นิติศาสตร์)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สำหรับการศึกษาหลักสูตรทางทหาร เป็นนายทหารเหล่า

ทหารพระธรรมนูญที่จบหลักสูตรหลักจากโรงเรียนเหล่าทหาร

พระธรรมนูญ กรมพระธรรมนูญ โดยจบหลักสูตรชั้นต้น รุ่นที่ ๑๕

หลักสูตรตุลาการพระธรรมนูญ รุ่นที่ ๘ โรงเรียนเหล่าทหาร

พระธรรมนูญ กรมพระธรรมนูญ และเป็นนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ

ที่จบการศึกษาจากเหล่าอื่นหรือสาขาอื่นมากที่สุด คือ จบหลักสูตร

เสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ ๔๒ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

หลักสูตรเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๔๘ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราช

อาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ ๕๙ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบัน

วิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.)

รุ่นที่๖ วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ หลักสูตรผู้บริหาร

กระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) รุ่นที่ ๒๓ วิทยาลัยการ

ยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ ๑๕

สถาบันวิทยาการพลังงาน และหลักสูตรการอบรมอธิบดีอัยการ

รุ่นที่ ๑๒ สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีกับผู้ทรง

คุณวุฒิด้านอื่น เช่น มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับหน่วยงาน

ของรัฐต่าง ๆ ส่งให้เกิดความรู้ทางวิชาการที่นำพาความเจริญรุ่งเรือง

มาให้กับนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ กรมพระธรรมนูญ กล้าที่จะ

เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร ให้กำลังพลมีวินัย

อย่างเคร่งครัด กระตือรือร้น ทุ่มเทอุทิศตนทำงานให้กรม

พระธรรมนูญและหน่วยงานในสายงานของนายทหารเหล่า

พระธรรมนูญ ได้ริเริ่ม ผลักดัน นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

รวมพลังสามัคคี

เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ ได้นำข้าราชการกรม

พระธรรมนูญเข้าร่วมการปล่อยตัวนักกีฬาวิ่งเทรล ในกิจกรรมการวิ่ง

ตามภูมิประเทศบนเส้นทางประวัติศาสตร์ภายใต้ชื่อ “SIAM TRAIL

2019” ที่อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ ตำบลช่องสะเดา

อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ

26


ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้น หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ

ทหาร ตำรวจ และนักวิ่ง เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ปฏิบัติตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม ขณะนั้น ได้

กรุณาสั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการทหาร เมื่อ ๒๔

ตุลาคม ๒๕๖๑ ให้มีศาลทหารต้นแบบ เพื่อเป็นต้นแบบในการ

พัฒนาศาลทหารให้เป็นสากล สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด และ

เมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้น ได้กรุณาสั่งการในที่ประชุม

สภากลาโหม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๒ ให้ทำโครงการศาลทหารต้นแบบใน

ทุกศาลทหารทั่วประเทศ ต่อมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กรุณากำหนด

นโยบายเร่งด่วนให้ส่งเสริมและพัฒนาศาลทหารตามมาตรฐานสากล

จึงได้จัดโครงการประกวดศาลทหารต้นแบบดีเด่นในแต่ละกองทัพภาค

ระยะที่ ๑ ถึง ๓ โดยได้นำคณะเข้าหารือข้อราชการกับ แม่ทัพภาค

๑ - ๔ เพื่อชี้แจงและแนะนำการประกวดศาลทหารต้นแบบดีเด่น

ในแต่ละกองทัพภาค โดยมีผู้บัญชาการมณฑลทหารบก เข้าร่วมรับ

ฟังคำชี้แจง จากนั้นมีการประกวดและมอบรางวัลศาลทหารต้นแบบ

ดีเด่นโดย ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นที่เรียบร้อย

นำพากรมพระธรรมนูญเป็นองค์กรชั้นนำ

ท่านได้กรุณาให้กรมพระธรรมนูญเข้าประกวดตามโครงการ

ประกวด “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี ๒๕๖๔”

(Human Rights Awards 2021) ของกระทรวงยุติธรรม ในฐานะ

ที่กรมพระธรรมนูญให้ความสำคัญเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน และ

นำมาปรับใช้ในภารกิจต่าง ๆ ของกรมพระธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง

ตลอดมา

กรมพระธรรมนูญได้จัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนไว้ เพื่อ

เป็นมาตรฐานและเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร และกำลังพล

สังกัดกรมพระธรรมนูญทุกคน ให้ยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด โดย

สนับสนุนและปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

(Universal Declaration of Human Rights: UDHR) และจัดให้มี

การอบรมกฎหมายต่าง ๆ ทุกลำดับชั้นที่เกี่ยวข้องในด้านสิทธิมนุษยชน

จนนำไปสู่การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และในประการที่สำคัญ

ท่านยืนหยัดเสนอความเห็นทางกฎหมาย เพื่อให้มีการเคารพต่อการ

ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ทำให้กรมพระธรรมนูญได้รับรางวัล

องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น ประเภทภาครัฐ (หน่วยงาน

ระดับกรมหรือเทียบเท่า) ประจำปี ๒๕๖๔ จากนายกรัฐมนตรี

ตลอดระยะเวลา ๓ ปี การดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระธรรมนูญ

กำลังพลเหล่าพระธรรมนูญ ได้เห็นถึงความกระตือรือร้น ทุ่มเทอุทิศตน

ทำงานให้กรมพระธรรมนูญ และหน่วยงานในสายงานของนายทหาร

เหล่าพระธรรมนูญอย่างเต็มกำลังความสามารถ เป็นตัวอย่างในการ

ปฏิบัติงานและประพฤติตนที่ดีของนายทหารเหล่าทหารพระธรรมนูญ

ตลอดไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

27


๑ กันยายน ๒๕๖๕

๓๓ ปี สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

สำ

พลโท ณัฐพล เกิดชูชื่น

ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

นักงานตรวจสอบภายในกลาโหมมีภารกิจด้านการตรวจสอบ

ภายใน เดิมเป็นหน้าที่ของกองตรวจสอบภายใน กรมการเงิน

กลาโหม ต่อมาเพื่อขยายขอบเขตความรับผิดชอบ และให้หน่วยงานตรวจสอบ

ภายในมีความเป็นอิสระ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗

สิงหาคม ๒๕๑๙ จึงได้จัดตั้งสำนักงานตรวจสอบบัญชีกลาโหม เมื่อวันที่

๑ กันยายน ๒๕๓๒ ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้งหน่วย ต่อมามีการประกาศใช้

พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ

สำนักงานรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กระทรวง

กลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒ จึงได้เปลี่ยนนาม

หน่วยเป็น สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

ได้ดำเนินงานตามภารกิจ ดังนี้

การตรวจสอบภายใน ดำเนินการตรวจสอบด้านการเงิน

การบัญชี งบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เงินอุดหนุน การพัสดุและ

ทรัพย์สิน การดำเนินงานสารสนเทศ และการบริหาร ให้แก่สำนักงาน

รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานในสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และ

เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ

การตรวจการปฏิบัติราชการ ดำเนินการตรวจสอบด้านการรักษา

ความปลอดภัย การป้องกันและระงับอัคคีภัย กำลังพล ยานพาหนะ การ

ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการปฏิบัติตามนโยบายปลัด

กระทรวงกลาโหม ให้แก่ สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และ

หน่วยงานในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อให้การปฏิบัติราชการ

เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมีประสิทธิภาพ

การตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ดำเนินการตรวจสอบและ

ประเมินผล การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/งาน ที่มีความสำคัญ

มีความเสี่ยงสูง หรือเชื่อมโยงกับหลายส่วนราชการของหน่วยขึ้นตรง

กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ เพื่อให้การ

ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความคุ้มค่า

การพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ดำเนินการพิจารณารายงาน

กรณีเกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของทางราชการ หรือการ

ทุจริตของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย และ

เหล่าทัพ

งานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา สนับสนุนการปฏิบัติ

งานของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวง

กลาโหม (ค.ต.ป.ประจำ กห.) ซึ่งมีพลเอก รังสาทย์ แช่มเชื้อ เป็นประธาน

คณะกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหมเป็น

กรรมการและเลขานุการ โดยการจัดประชุม และทำหน้าที่ติดตาม

ตรวจสอบ และประเมินผลโครงการตามแนวทางการตรวจสอบและ

ประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ได้รับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงิน

การคลังมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ได้รับจำนวน

๒ รางวัล ได้แก่ รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ

ระดับ “ดี” และรางวัลประกาศเกียรติคุณด้านปลอดความรับผิดทาง

ละเมิด ระดับ “ดีเด่น” ซึ่งถือเป็นขวัญและกำลังใจ ที่เป็นแรงผลักดัน

ให้เกิดการพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

28

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม


๔ กันยายน ๒๕๖๕

๒๗ ปี กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

พลโท เจษฎา เปรมนิรันดร

เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

ภารกิจที่สำคัญของหน่วยในการดำเนินงานด้านกิจการอวกาศ

โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานระบบดาวเทียมสำรวจเพื ่อการ

พัฒนา หรือโครงการ THEOS-2 (Thailand Earth Observation Satellite-2)

เมื่อมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา

วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในปัจจุบัน โดย สำนักงานพัฒนา

เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. เป็น

ผู้ดำเนินงานโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2)

วงเงินประมาณ ๗,๘๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการในภาพรวมของประเทศ

วัตถุประสงค์เพื่อสานต่อภารกิจจากดาวเทียมไทยโชติที่จะหมดอายุ

การใช้งาน และเพื่อการพัฒนาระบบดาวเทียมถ่ายภาพให้สามารถใช้

ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ

สังคม และความมั่นคงทางทหาร

โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา THEOS-2 ประกอบด้วย

การสร้างดาวเทียมจำนวน ทั้งหมด ๒ ดวง คือ

๑. ดาวเทียมดวงหลัก หรือ THEOS-2 สร้างโดย บริษัท AIRBUS

Defense and Space System ประเทศฝรั่งเศส มีอายุการใช้งานตาม

การออกแบบอย่างน้อย ๑๐ ปี มีความละเอียดในการถ่ายภาพ ๐.๕ เมตร/

จุดภาพ

๒. ดาวเทียมดวงเล็ก หรือ THEOS-2 SmallSAT สร้างโดย บริษัท

Surrey Satellite Technology Company ร่วมกับทีมวิศวกรดาวเทียม

ของไทยกว่า ๒๐ คน (บุคลากรของ กระทรวงกลาโหม ๓ นาย) ร่วม

ออกแบบ และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ ดาวเทียม

ดวงเล็กมีอายุการใช้งานตามการออกแบบอย่างน้อย ๓ ปี มีความละเอียด

ในการถ่ายภาพ ๒ เมตร/จุดภาพ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

ในส่วนของความมั่นคง กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ

กลาโหม ได้มีความร่วมมือกับ GISTDA ในการจัดทำโครงการระบบ

ดาวเทียม สำรวจเพื่อการพัฒนา THEOS-2 ให้สามารถรองรับภารกิจด้าน

ความมั่นคงในการถ่ายภาพที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูง โดยได้รับมอบ

อุปกรณ์ในส่วนของความมั่นคง ประกอบด้วย

๑. ระบบสั่งถ่ายภาพทางทหาร (Military User Terminal: MUT)

เป็นโปรแกรมสั่งถ่ายภาพทางทหารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูง

ข้อมูลการสั่งถ่าย และภาพถ่ายดาวเทียมที่ถูกส่งมาจะถูกเข้ารหัสข้อมูล

๒. สถานีรับสัญญาณแบบเคลื่อนที่(Mobile Station) ประกอบด้วย

ระบบจานรับสัญญาณ X-Band ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓.๕ เมตร

มีระบบควบคุมแบบ ๒ แกน XY

๓. ระบบประมวลผลภาพถ่ายดาวเทียมทางทหาร (Military Image

Processing: MIPS) ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย สำหรับ

การจัดทำเป็นฐานข้อมูลกลาง (Data Center) และคอมพิวเตอร์ลูกข่าย

จำนวน ๑๙ เครื่อง สำหรับใช้ในงานประมวลผลภาพถ่ายดาวเทียม

ทางทหาร

๔. รถปฏิบัติการรับสัญญาณข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม จำนวน ๑ คัน

รถสนับสนุนการปฏิบัติการ จำนวน ๑ คัน รถลากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

จำนวน ๒ คัน ระบบ และอุปกรณ์ภายใน จำนวน ๗๘ รายการ และได้รับ

มอบห้องปฏิบัติงาน ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรม จังหวัดชลบุรี จำนวน

๒ ห้อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคง

ของกระทรวงกลาโหม

๕. การฝึกอบรมบุคลากร ประกอบด้วย การฝึกอบรมจากทั้ง บริษัท

AIRBUS และ GISTDA ในการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในการ

ใช้งานอุปกรณ์เพื่อรองรับภารกิจด้านความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประยุกต์ใช้งานภาพถ่ายดาวเทียม THEOS-2 ทางด้านความมั่นคง

สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนภารกิจด้านข่าวกรองการภาพ

(Imagery Intelligence: IMINT) ข่าวกรองภูมิสารสนเทศ (Geospatial

Intelligence: GEOINT) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่หน่วย

งานด้านความมั่นคงของประเทศ

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ

กลาโหม มุ่งหวังที่จะใช้งานระบบและขีดความสามารถภายใต้โครงการ

THEOS-2 ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินภารกิจของกระทรวง

กลาโหม ทั้งด้านการป้องกันประเทศ งานด้านการข่าว การรักษา

ผลประโยชน์ของชาติ และการช่วยเหลือประชาชน อันจะเป็นก้าวที่สำคัญ

ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศของกระทรวงกลาโหม

ต่อไปในอนาคต

29


๖ กันยายน ๒๕๖๕

๓๒ ปี กรมการสรรพกำลังกลาโหม

กรมการสรรพกำลังกลาโหม

พลโท เริงฤทธิ์ บัญญัติ

เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม

กรมการสรรพกำลังกลาโหม เป็นองค์กรนำในงานด้านการระดม

สรรพกำลัง กำลังสำรอง และการสัสดี ของกระทรวงกลาโหม

ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อการบริหารจัดการ

งานการระดมสรรพกำลังกลาโหมให้กับกองทัพไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ

ความผาสุกของประชาชนชาวไทย

การปฏิบัติงานที่สำคัญในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕

๑. ด้านการระดมสรรพกำลัง

การฝึกการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร ประจำปี ๒๕๖๕ เป็น

ส่วนหนึ่งของการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติของสภาความมั่นคง

แห่งชาติ (สมช.) โดยใช้กรอบสถานการณ์การฝึกร่วมกองทัพไทย โดยในปี

พ.ศ.๒๕๖๕ ใช้แผนป้องกันประเทศด้านตะวันตก ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อม

รองรับภัยจากการสู้รบและมุ่งเน้นการฝึกเพื่อสนับสนุนทรัพยากรภายใต้

แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ โดยมี ๒ การฝึก คือ

๑. การฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX) โดย พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์

ปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ ได้กรุณาตรวจเยี่ยมการฝึกฯ เมื่อ ๗

กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ กรมการสรรพกำลังกลาโหม ชั้น ๔ อาคาร สำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม (พื้นที่ศรีสมาน) การฝึกฯ ดังกล่าว ได้เชิญผู้แทน

ส่วนราชการทหาร ส่วนราชการพลเรือนและรัฐวิสาหกิจจากหน่วยงาน

ส่วนกลางที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึกฯ ตามแผนและบทบาทหน้าที่ของ

หน่วยงาน โดยใช้พื้นที่การฝึก ณ กรมการสรรพกำลังกลาโหม และศูนย์

ปฏิบัติการ ๑๐ ด้าน ของแต่ละกระทรวง โดยใช้การแก้ปัญหาโจทย์

สถานการณ์ฝึกฯ ผ่านระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล Video Conference

๒. การฝึกภาคสนาม (FTX) โดย พลเอก สราวุธ รัชตะนาวิน

รองปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ ได้กรุณาตรวจเยี่ยมการฝึกฯ เมื่อ ๔

30

สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ สนามบิน กองพลทหารราบที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี

การฝึกฯ ดังกล่าว ได้เชิญผู้แทนส่วนราชการทหาร ส่วนราชการพลเรือน

รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนจากส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึกฯ

เพื่อซักซ้อมการระดมทรัพยากรจากหน่วยประสานงานหลักที่รับผิดชอบ

ทรัพยากรทั้ง ๑๐ ด้าน ในการสนับสนุนงานการระดมสรรพกำลังในภาวะ

วิกฤต ตามแผนการปฏิบัติของหน่วยที่เกี่ยวข้อง และแผนผนึกกำลังฯ โดย

มุ่งเน้นการประสานงานด้านทรัพยากรระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและ

ส่วนภูมิภาค ตามแผนเตรียมพร้อมทรัพยากรด้านต่าง ๆ ที่หน่วยงาน

กำหนด

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกฯ มีความเข้าใจในหน้าที่เกี่ยวกับ

งานด้านการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหารเป็นอย่างดีโดยสามารถให้การ

สนับสนุนทรัพยากรได้ตามที่ได้รับการร้องขอจากศูนย์ระดมสรรพกำลัง

(ศรส.) ตามความต้องการทางทหารของศูนย์บัญชาการทางทหาร (ศบท.)

ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา ซึ่งเป็นผลดีต่อการเตรียมความพร้อม

และความมั่นคงของประเทศชาติ

๒. ด้านการสัสดี

การตรวจเยี่ยมการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหาร

กองประจำการของ พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม

พร้อมคณะ ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ผู้แทนจากกองทัพบก และผู้แทนกรุงเทพมหานคร ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม

การตรวจเลือกฯ เขตบางคอแหลม ณ สถานที่ตรวจเลือกฯ กองร้อย

กองบังคับการ กองพันทหารสื่อสารที่ ๑ ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ

เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ น. โดยมี พลโท เริงฤทธิ์

บัญญัติ เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม ร่วมให้การต้อนรับ เพื่อเป็นการ

แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีทหารกองประจำการและความจำเป็น

ทางทหาร และความห่วงใยของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อทหารกองเกินที่มา

เข้ารับการตรวจเลือกฯ รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจ

อันดีระหว่างกองทัพกับประชาชนทั่วไป อันจะก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ

กองทัพต่อไป ซึ่งได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การตรวจเยี่ยมการ

ตรวจเลือกฯ โดยผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.๕)

๓. ด้านการกำลังสำรอง

จัดการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนากิจการ

กำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม วัตถุประสงค์การประชุม เพื่อสรุป

ผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนากิจการกำลังพลสำรองของ

กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ประจำปี ๒๕๖๕ และพิจารณา

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ในร่างแผนแม่บทฯ โดยมี พลโท เริงฤทธิ์

บัญญัติ เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม เป็นประธานการประชุม

กรมการสรรพกำลังกลาโหม


๑๒ กันยายน ๒๕๖๕

๑๑๖ ปี กรมพระธรรมนูญ

กรมพระธรรมนูญ

ป็นที่ทราบกันว่า แต่เดิม การศาล การคดีขึ้นอยู่กับปลัดทหารบกใหญ่

กรมยุทธนาธิการ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม

เสนาบดีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า ควรจะมีเอดโวเคตเยเนราล ๑

เสียเหมือนอย่างประเทศอื่น ๆ” ๒ อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า

ล้นกระหม่อมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระผู้พระราชทานกำเนิดกรมพระธรรมนูญ ทำให้มีการตั้ง

กรมพระธรรมนูญทหารบกโดยขึ้นตรงต่อกรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่

๑๒ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ (พุทธศักราช ๒๔๔๙) หลังจากนั้น

มีการตั้งกรมพระธรรมนูญทหารเรือ และได้มีคำสั่งให้รวมกรม

พระธรรมนูญทหารบกกับกรมพระธรรมนูญทหารเรือ เป็นกรม

พระธรรมนูญทหาร ในท้ายที่สุดได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ กรม

พระธรรมนูญทหาร เป็นกรมพระธรรมนูญ และให้ขึ้นต่อปลัดทูลฉลอง

ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ปัจจุบันปี พ.ศ.๒๕๖๕ กรมพระธรรมนูญเป็น

หน่วยงานที่มีการก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา ๑๑๖ ปี มีภารกิจหน้าที่

รับผิดชอบและการดำเนินงานเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายและ

กระบวนการยุติธรรมของทหาร และเป็นหลักประกันให้แก่ผู้บังคับ

บัญชาด้วยการทำหน้าที่เสนอแนะทางกฎหมายที่ถูกต้อง

ในรอบปีที่ผ่านมา กรมพระธรรมนูญ มี พลเอก ประชาพัฒน์

วัจนะรัตน์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ เช่น การ

จัดให้มีการคุ้มครองพยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองพยานใน

คดีที่เกี่ยวกับความมั ่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงยุติธรรม

ประสานมา ในขณะเดียวกัน ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยาน

มณฑลทหารบกครบทุกแห่ง เพื่อให้มีความพร้อมในการคุ้มครองอย่าง

มีประสิทธิภาพ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

พลเอก ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์

เจ้ากรมพระธรรมนูญ

ADVOCATE GENERAL หมายถึง เจ้ากรมพระธรรมนูญ

พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ ๓๑/๘๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๘

นอกจากนี้ กรมพระธรรมนูญได้ดำเนินการตามบันทึกข้อตกลง

ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กับสำนักงานศาลยุติธรรม

สำนักงานอัยการสูงสุด อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีอัยการทหาร

เข้าอบรมหลักสูตรอัยการผู้ช่วย หลักสูตรอัยการจังหวัด หลักสูตรอัยการ

พิเศษฝ่าย หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินคดีและการ

ว่าความของสถาบันนิติวัชร์ สถาบันฝึกอบรมเพื่อการสอบสวนชั้นสูง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการสอบสวนและการดําเนินคดี สำนักงาน

อัยการสูงสุด แล้วแต่กรณี และได้มอบหมายให้ตุลาการพระธรรมนูญ

เข้าอบรมหลักสูตรผู้อำนวยการระดับสูง และหลักสูตรผู้พิพากษา

หัวหน้าศาล ของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม

รวมทั้งมีการจัดวิทยากรแลกเปลี่ยนทางวิชาการ เพื่อให้มีการพัฒนา

กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งมีการพัฒนาหน่วยงานในกระบวนการ

ยุติธรรมทหารอันมีที่มาจากการที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ขณะนั้น) ได้สั่งการในที่ประชุม

สภากลาโหมให้มีการจัดให้มีโครงการศาลทหารต้นแบบทั่วประเทศ

โดยมี พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม (ขณะนั้น)

เป็นผู้ผลักดันโครงการนี้ และ พลเอก ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์

เจ้ากรมพระธรรมนูญ ได้รับนโยบายดังกล่าวมาบริหารจัดการ

โครงการนี้จนเกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ในปีนี้ได้ดำเนินการ

ตามโครงการศาลทหารต้นแบบ ระยะที่ ๓ เกี่ยวกับการเพิ่ม

ประสิทธิภาพการพิจารณาคดีและการปฏิบัติราชการ ส่งผลให้มีการ

พิจารณาคดีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

ในประการสุดท้าย กรมพระธรรมนูญได้รายงานต่อ พลเอก

ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมี พลเอก

วรเกียรติรัตนานนท์ปลัดกระทรวงกลาโหม สนับสนุนให้มีการปฏิบัติ

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งมีผล

ใช้บังคับในปีนี้ เพื่อให้มีการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของเจ้าของ

ข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษา

ความมั่นคงของประเทศ ในการนี้ได้มีการสั่งการให้กรมพระธรรมนูญ

ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติ ซึ่งกรมพระธรรมนูญได้จัดให้มีการ

ประชาสัมพันธ์แก่ส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมเรียบร้อยด้วยดี

ในอนาคตกรมพระธรรมนูญมุ่งมั่นที่จะพัฒนาปรับปรุงงานด้าน

กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทหารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับสภาพการบริหารราชการแผ่นดินที่มี

การปรับเปลี่ยนให้ทันและเหมาะสมต่อการรักษาความมั่นคง

ของประเทศ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

และแนวทางการปฏิบัติงานของปลัดกระทรวงกลาโหมต่อไป

31


ศู

นย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศพปน.

พท.ศอพท.) เป็นส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ตั้งอยู่ที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

มีภารกิจหลักในการสำรวจ ขุดเจาะ ผลิต และกลั่นปิโตรเลียม

นอกจากนี้ยังมีการวิจัยและพัฒนาการผลิตปิโตรเลียม รวมถึง

ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ให้เป็นไปตามนโยบายของทางราชการ เพื่อ

สนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้กรอบแนวทางที่กระทรวง

กลาโหมกำหนด โดยกำหนดงานด้านการปิโตรเลียมบนบกมาประมาณ

เวลา ๖๕ ปี ครอบคลุมพื้นที่ ๗ ลุ่มแอ่ง ได้แก่ ลุ่มแอ่งเชียงราย ลุ่มแอ่ง

เชียงใหม่ลุ่มแอ่งลำพูน ลุ่มแอ่งลำปาง ลุ่มแอ่งแพร่ลุ่มแอ่งพาน-พะเยา

และลุ่มแอ่งฝาง โดยมีพื้นที่ประมาณ ๒๙,๙๖๐ ตารางกิโลเมตร

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ

กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ

พลังงานทหาร ได้ทดลอง คิดค้น ค้นคว้า วิจัย ปรับปรุง และพัฒนา

ขีดความสามารถด้านปิโตรเลียม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนและ

ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหารสามารถ

พึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้ โดยให้ความสำคัญกับการสำรวจค้นหา

แหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองน้ำมัน

เชื้อเพลิง ในกระทรวงกลาโหม รวมทั้งแสวงหากระบวนการผลิตน้ำมันดิบ

ซึ่งแต่เดิมจะทำการผลิตน้ำมันดิบในขั้นปฐมภูมิ(Primary Recovery)

เป็นหลัก มาเป็นการผลิตน้ำมันในขั้นทุติยภูมิ(Secondary Recovery)

และขั้นตติยภูมิ (Tertiary Recovery) เพื่อเพิ่มแรงดันและกวาด

น้ำมันดิบที่หลงเหลืออยู่ภายในชั้นหินกักเก็บเข้าสู่หลุมผลิตได้การผลิต

น้ำมันโดยใช้จุลินทรีย์(Microbial Enhanced Oil Recovery, MEOR)

32

๑๒ กันยายน ๒๕๖๕

๖๖ ปี ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

พลตรี ประจวบ จันต๊ะมี

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ

กรมการพลังงานทหารฯ

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหารฯ

เพื่อทำให้โมเลกุลของของน้ำมันมีขนาดเล็กลง ลดความหนืด และลด

แรงตึงผิวของน้ำมันในชั้นหินกักเก็บ ให้สามารถนำน้ำมันที่ติดค้างขึ้น

มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ปัจจุบันนอกจากการผลิตในขั้นปฐมภูมิแล้ว

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือฯ ได้ดำเนินการผลิตน้ำมันขั้นทุติยภูมิ

“โครงการอัดน้ำแรงดันสูง หรือ Waterflood” ในแหล่งผลิตน้ำมัน

แม่สูน ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตน้ำมันหลักของลุ่มแอ่งฝางที่ผลการดำเนินการ

พบว่ามีอัตราการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย และดำเนินการผลิต

น้ำมันขั้นตติยภูมิโดยใช้เทคนิคการอัดสารอาหารให้จุลินทรีย์(MEOR)

ในแหล่งผลิตน้ำมันแม่สูน และแหล่งผลิตน้ำมันโป่งทรายคำ ส่งผล

ให้หลุมที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้แล้ว หรือได้ในอัตราที่ต่ำมาก

กลับสามารถผลิตน้ำมันดิบได้อีกครั้ง

ตลอดระยะกว่า ๖๖ ปีที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียม

ภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร ได้มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ทั้งด้านบุคลากร

การพัฒนาองค์ความรู้ และประสบการณ์ ตลอดจนมีการนำวิทยาการ

และเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน

องค์กร ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อการ

เปลี่ยนแปลงของยุคสมัย รวมถึงตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนา

ประเทศและระบบราชการ และดำเนินงานตามมาตรการป้องกัน

โรค COVID-19 ของทางราชการอย่างเคร่งครัด ภายใต้การบังคับ

บัญชาของ พลตรี ประจวบ จันต๊ะมี ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนา

ปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เพื่อให้บรรลุภารกิจ เป้าหมาย และ

วัตถุประสงค์ของทางราชการ และดำรงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของ

ประเทศชาติตลอดไป สมดังเจตนารมณ์ของหน่วยที่ว่า

“พลังงานทหาร พลังการทัพไทย”

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหารฯ


๑๘ กันยายน ๒๕๖๕

๔๓ ปี ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ

พลโท คมสัน ศรียานนท์

ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ศ.๒๕๑๘ กองทัพบกต้องประสบปัญหาการขาดแคลนอาวุธ

และกระสุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการลดความช่วยเหลือ

ทางด้านการทหารของชาติพันธมิตร ประกอบกับกองทัพมีภารกิจ

สำคัญในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ศูนย์อำนวยการ

สร้างอาวุธ จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยกองทัพบกตามความคิดริเริ่มของ

พลเอก สัมผัส พาสนยงภิญโญ (ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง

ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ ชั้นยศพลตรี) ที่ได้เห็นถึงความ

สำคัญในการวิจัย การพัฒนาและการผลิตอาวุธบนพื้นฐานของการ

พึ่งพาตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพ และเป็นหลักประกันในด้านความ

มั่นคงทางด้านการทหาร

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ ตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๒ ต่อมา

ได้มีการพัฒนา ทั้งทางด้านการวิจัยการพัฒนา และการผลิต

ยุทโธปกรณ์อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพจนได้รับการรับรอง

มาตรฐาน ISO 9001 ทั้งหน่วยงาน เมื่อ ๑๘

กันยายน ๒๕๔๓

ต่อมาได้ปรับโอนจากหน่วยขึ้นตรงของ

กองทัพบก มาเป็นหน่วยขึ้นตรงของศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๘ มิถุนายน

๒๕๔๕

ปัจจุบันมี พลโท คมสัน ศรียานนท์ เป็น

ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

วิสัยทัศน์ เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากเหล่าทัพใน

มาตรฐานทางทหารของผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพ ทางการบริหาร

การผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพ

พันธกิจ ดำเนินการศึกษา วิจัย พัฒนา และผลิตอาวุธ

ยุทโธปกรณ์ที่มีมาตรฐานทางทหาร และได้รับการยอมรับเพื่อสนับสนุน

กองทัพตามขีดความสามารถในลักษณะของการผลิตเพื่อแจกจ่าย

และการรับการสั่งซื้อ รวมทั้งขยายขีดความสามารถโดยรับการ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานทางทหาร

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ มีการจัดตามอัตราการจัด

เฉพาะกิจหมายเลข ๐๖๐๔ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๔ ส่วน คือ

กองบัญชาการ, โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ, โรงงานสร้าง

ปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด และโรงงานผลิตกระสุนปืนใหญ่

และลูกระเบิดยิง

ในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๕ นี้ เป็นโอกาสอันดีที่ศูนย์อำนวย

การสร้างอาวุธฯ ดำเนินงานมาจนครบรอบปีที่ ๔๓ ซึ่งศูนย์อำนวย

การสร้างอาวุธฯ จะดำรงความมุ่งมั่นในการวิจัยพัฒนา และผลิต

อาวุธ บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพและเป็น

หลักประกันในด้านความมั่นคงทางด้านการทหารของประเทศไทย

ในอนาคตต่อไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

33


เตรียมความพร้อมเข้าสู่

การเกษียณอายุราชการ

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

มื่อถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ก็จะเป็นวันที่พี่ ๆ หลายท่านต้อง

เปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ หลายท่านที่เคยทำงานถึงมืดค่ำก็คงจะได้

ละวางจากภาระทางราชการที่เคยหนักอึ้งและกินเวลาส่วนตัวหรือ

เวลาครอบครัวไปได้ ส่วนอีกหลายท่านก็ได้ปลดเปลื้องพันธะที่เคย

พันธนาการตัวมานานหลายสิบปีออกไป และอีกหลายท่านก็ได้

เตรียมตัวรอรับวันเกษียณอายุราชการมาก่อนหน้านี้แล้ว

นับว่ากาลเวลาแห่งการเกษียณอายุราชการจะเป็นสิ ่งบ่งชี ้ให้

เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตของข้าราชการ หรืออาชีพอื่นที่กำหนดอายุ

ให้หยุดงานเพื่อพักผ่อนในวัยที่สามารถปล่อยวางงานลงไปได้ หรือ

ถ้ามองให้ดีก็คือกาลเวลาเป็นสิ่งกำหนดเงื่อนไขให้มีการเริ่มต้นอายุ

ราชการ และกำหนดเงื่อนไขให้พ้นจากราชการ ซึ่งก็เป็นเรื่องของ

สัจธรรมที่อรรถาธิบายได้ว่า เมื่อมีการเกิดขึ้นก็มีการสิ้นสุดลงไปได้

ตามเงื่อนไขของเวลา

ดังนั้น เรื่องสำคัญที่พึงตระหนักรู้ก็คือ ท่านจะทำอย่างไร

ให้การเกษียณอายุราชการของท่านจะสร้างความสุขให้แก่ตัวท่านเอง

34

และลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในวัยหลังเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้

เพราะทุกท่านพึงเตรียมการให้เกิดความพร้อมก่อนเวลาของการ

เกษียณอายุราชการจะมาถึง รวมทั้งควรที่จะเตรียมตัวให้พร้อม

สำหรับวันดังกล่าวด้วย

ก่อนเข้าสู่วัยหลังเกษียณ เพื่อให้บังเกิดความสบายใจและเกิด

ความสุขกาย สุขใจมากที่สุด โดยเฉพาะควรจะเป็นการเตรียมความ

พร้อมเข้าสู่วัยเกษียณก่อให้เกิดความพึงพอใจ ด้วยการเตรียมตัวด้าน

ร่างกาย จิตใจและสังคม ควบคู่ไปกับการเตรียมจิตใจให้ยอมรับต่อ

สภาพการเปลี่ยนแปลงภายหลังเกษียณอายุราชการ โดยไม่ต้อง

ประสบกับปัญหา ทั้งยังจะช่วยให้เกิดการปรับตัว หรือลดทอนปัญหา

ที่เกิดจากความเครียดอันจะทำให้สุขภาพจิตของท่านดีขึ้น สามารถ

ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในช่วงสุดท้ายของชีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้

การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วัยเกษียณอย่างมีความสุข ควรจะต้องเตรียม

ความพร้อม รวม ๖ ด้าน กล่าวคือ

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


๑. การเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย เราต้องยอมรับว่า

สุขภาพร่างกายถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนิน

ชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้ คนเราจะต้องให้ความสำคัญในการ

ดูแลเอาใจใส่ต่อสุขภาพร่างกายให้ดีเพราะในวัยเกษียณจะเกิดการ

เสื่อมถอยทางด้านร่างกายอย่างชัดเจน ดังนั้น การเตรียมตัวดูแล

สุขภาพของตนเองก่อนถึงวัยเกษียณเพื่อการมีภาวะสุขภาพที่ดีจึง

เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาวะสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมเป็นผล

สืบเนื่องมาจากการรู้จักดูแลสุขภาพของตนเอง ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น

วัยผู้ใหญ่ วัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ ทุกท่านจึงควรตระหนักถึง

ผลกระทบในการดำเนินชีวิตที่จะส่งผลถึงช่วงวัยเกษียณ ด้วยเหตุนี้เอง

ในช่วงก่อนย่างก้าวเข้าสู่วัยเกษียณอายุ ควรจะได้มีการเตรียมตัว

ด้านสุขภาพร่างกายให้พร้อมเพื่อรับกับวัยสูงอายุที่ร่างกายจะมี

ความเสื ่อมโทรมลงอย่างชัดเจน อาทิ ความเสื ่อมทางเซลล์ผิวหนัง

ความเสื่อมทางด้านสายตา ความเสื่อมของระบบการได้ยิน กล้ามเนื้อ

เสื่อมถอย กระดูกเปราะและหักง่าย ความสามารถในการใช้

พลังงานที่ไม่คล่องตัว ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่าง ๆ

ในร่างกายลดลง อาการเกิดโรคจึงเป็นไปได้ง่าย ซึ่งมักจะเริ่มเกิดขึ้น

เมื่อมีอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีเป็นต้นไป ดังนั้น การเตรียมตัวดูแลสุขภาพ

ของตนเองก่อนที่จะถึงวัยเกษียณจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยควร

ดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยการออกกำลังกาย การ

ควบคุมโภชนาการ การพักผ่อน สันทนาการ และการมีสุขภาพจิต

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

ที่ดีการพิจารณาเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และเหมาะสม

กับวัย เพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ละเว้นอบายมุขที่ทำลาย

สุขภาพ และควรตรวจร่างกายเป็นครั้งคราวอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

ส่วนท่านใดที่สุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัวควรได้รับการตรวจตาม

แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง

๒. การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ เพื่อเผชิญกับความ

เปลี่ยนแปลงในลักษณะของการสร้างทัศนคติที่ดีและเตรียมใจที่จะ

เผชิญการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและสังคม ยอมรับความ

เป็นจริง มองโลกในแง่ดี มีการศึกษาหาความรู้ การปฏิบัติตน และ

ศึกษาหลักธรรมทางศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ทำให้จิตใจสบาย

ไม่เคร่งเครียด เพราะศาสนาจะช่วยให้ลดปัญหาความหวั่นไหว

ทางจิต ดังนั้น ผู้สูงวัยควรยึดหลักสันโดษ ควรหมั่นสร้างกุศล ทำสมาธิ

ฝึกฝนจิตใจ ไม่ยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ คำนึงถึงการทำสิ่งดี ๆ

เพื่อตน เพื่อครอบครัวและลดการพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เกิดความ

สุขใจเมื่อสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง

๓. การเตรียมความพร้อมด้านครอบครัวและสังคม ด้วยการ

รักษาสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

แบบเป็นรูปธรรม อาทิ การไปมาหาสู่ เยี่ยมเยียน และติดต่อสื่อสาร

ถึงกันเสมอเป็นประจำ โดยให้ความช่วยเหลือและดูแลกันในยามที่

เดือดร้อน มีความซื่อสัตย์ และให้เวลาแก่สมาชิกในครอบครัว

เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนในครอบครัว ให้ความรักและความเคารพ

ต่อผู้สูงอายุ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในสังคม

๔. การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย เพราะปัญหาที่พบมาก

ในผู้สูงอายุที่มีฐานะปานกลางจนถึงระดับต่ำ มักจะไม่มีที่อยู่

อาศัยเป็นของตนเอง ต้องพึ่งพาลูกหลาน หรือสถานสงเคราะห์

ควรมีการเตรียมตัวเตรียมความพร้อมในด้านที่อยู่อาศัย ดังนั้น ก่อนที่

จะเกษียณอายุ เพื่อเตรียมการในการสะสมทรัพย์สินรวมถึงสถาน

ที่ตั้ง สิ่งแวดล้อมต้องมีความเหมาะสมและการตัดสินใจว่าจะอยู่ร่วม

กับผู้ใด ผู้ให้อาศัยยอมรับหรือไม่ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้การคิดไตร่ตรอง

อย่างรอบคอบมากที่สุด

๕. การเตรียมความพร้อมด้านเวลาและหางานอดิเรก เพราะ

งานอดิเรกมักจะเป็นงานที่ทำในเวลาว่างจากงานประจำ และมี

35


คุณค่าต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ สร้างมิตรภาพอันดีต่อกัน

ให้ความรู้ ฝึกทักษะ และช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ

ซึ่งทำให้ชีวิตมีความสุข ไม่ปล่อยให้มีเวลาว่างมากเกินไป การหางาน

อดิเรกทำตามที่ท่านชอบจะทำให้จิตใจสบายขึ้น ช่วยให้ร่างกายมี

ความเคลื่อนไหว การหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ดังนั้น การใช้เวลาในช่วง

เกษียณอายุในช่วงที่มีเวลามากขึ้นกว่าในอดีต จะเป็นสิ่งสำคัญ

ในการปรับตัวในยามเกษียณอายุเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่มีการ

เตรียมการใช้เวลาว่างไว้ล่วงหน้าจะทำให้เกิดภาวะที่รู้สึกว่า ตนเอง

เป็นบุคคลว่างงาน ไร้ซึ่งประโยชน์และจะส่งผลกระทบต่อจิตใจได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้สูงอายุจะคลายความกังวลและมีความสุขมากขึ้น

ด้วยงานอดิเรก อย่างไรก็ตามงานอดิเรกบางประการควรต้องเรียนรู้

ล่วงหน้า ซึ่งต้องอาศัยการเตรียมทั้งทางด้านร่างกายและฐานะ

การเงินด้วยเช่นกัน

๖. การเตรียมความพร้อมด้านทรัพย์สินเงินทอง โดยเฉพาะ

การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการเงินก้อนสุดท้าย

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพอเพียงกับการดำเนินชีวิตอย่าง

มีความเกษมสุข โดยจะต้องวางแผนการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า

๒๐ - ๓๐ ปี ในลักษณะของเงินออก หรือการซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่า

ไว้เพื่อป้องกันสภาวะเงินเฟ้อในอนาคต รวมทั้งการวางแผนการ

ใช้จ่ายเงินเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยในยามเกษียณอายุ และเตรียมเงิน

ไว้ใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพในยามหลังเกษียณอายุ

ทั้งนี้ หากท่านที่เตรียมตัวเกษียณอายุจะนำแนวปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ในชีวิต

ประจำวันก็จะเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง กล่าวคือ

๑) ความพอประมาณ ด้วยการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม ดูแล

สุขภาพร่างกายให้พร้อมกับวัยสูงอายุที่ร่างกายจะมีความเสื่อมลง

มีการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ให้ครบ ๕ หมู่ มีการออกกำลังกาย

พักผ่อนให้เพียงพอ มีการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเพื่อสะสมทรัพย์สิน

ไว้ใช้ในยามเกษียณ เพื่อการรักษาพยาบาล และการเตรียมที่อยู่อาศัย

ทั้งนี้หากตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท

คำนึงถึงความพอประมาณ ก็จะสามารถบริหารจัดการเงินก้อน

สุดท้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียงกับการดำเนินชีวิตอย่างมี

ความสุข

๒) ความมีเหตุผล ด้วยการพิจารณาด้วยความรอบคอบ

ตระหนักถึงเหตุปัจจัยแวดล้อม ไม่ตัดสินใจตามอารมณ์ โดย

ปราศจากการวิเคราะห์การเตรียมใจที่จะเผชิญการเปลี่ยนแปลงทาง

ด้านร่างกาย ครอบครัวและสังคมการมีเวลาว่างที่มากขึ้น รายได้

ทรัพย์สินเงินทองที่ลดลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ต้องมีความพร้อม

ด้านจิตใจมากขึ้น ยอมรับความเป็นจริง มองโลกในแง่ดี รักษา

สัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว และสร้างความอบอุ่นในครอบครัว

36

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ตลอดจนการมีส่วนร่วมในสังคม มีงานอดิเรกในเวลาว่าง ซึ่งจะทำให้

คลายความกังวลและสร้างความสุขมากขึ้นโดยไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นคน

ไร้ประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบต่อจิตใจ

๓) การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการเตรียมตัวให้พร้อมรับการ

เปลี่ยนแปลง ต้องเรียนรู้ในสัจธรรมและการดำเนินชีวิตได้ด้วยการ

พึ่งพาตนเอง และตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มีการใช้จ่ายให้เหมาะสม

กับฐานะความเป็นอยู่

๔) เงื่อนไขความรู้ ด้วยการพิจารณาวางแผนการดำเนินชีวิต

ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบริหารเงินทอง การบริหารเวลา การบริหาร

สุขภาพ และบริหารเรื่องต่าง ๆ โดยใช้ความรู้และการศึกษาอยู่อย่าง

ต่อเนื่อง

๕) เงื่อนไขคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสันโดษในทาง

พุทธศาสนา โดยลักษณะสันโดษมี๓ ประการ คือ ยินดีตามที่มี ยินดี

ตามกำลัง และยินดีตามสมควร ตลอดจนควรหมั่นปฏิบัติธรรม

เจริญสมาธิ ฝึกฝนทำความเข้าใจในโลกธรรม ๘ คือ มีลาภก็ย่อม

เสื่อมลาภ มียศก็ย่อมเสื่อมยศ มีสรรเสริญก็มีนินทา และมีสุขก็ย่อม

มีทุกข์ โดยเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องรอบตัว

พี่ๆ หลายท่านที่กำลังจะเกษียณอายุราชการต่างวางแผนชีวิต

ก่อนการเกษียณกันมากแล้ว แต่สิ่งที่ท่านจะต้องเผชิญในอนาคต

อันใกล้ พึงวางแผนการบริหารจิตใจให้พร้อมรับกับเรื่องต่าง ๆ ด้วย

สติ และใช้เหตุผลให้มากและสิ่งสำคัญก็คือท่านไม่ควรละเลยเอาใจใส่

ดูแลสุขภาพอนามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์ เพราะนับตั้งแต่วันที่ ๑

ตุลาคม ล่วงไปแล้ว ท่านต้องทำตนให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีความ

มั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีครอบครัวที่อบอุ่น และควร

ใช้ความรู้ความสามารถเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้และ

ทักษะสู่บุคคลรุ่นหลัง ตลอดจนหาโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคม

อย่างมีคุณค่า ดำรงชีวิตอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรีไม่ละเลยการฝึก

จิตใจให้เข้มแข็งอยู่เสมอ โดยใช้แนวทางบนรากฐานปรัชญา

เศรษฐกิจเพื่อตัวท่านเอง และหมั่นรำลึกถึงเพลงในยุคที่ท่านเคยเป็น

หนุ่มเป็นสาว ที่มีเนื้อเพลงว่า

“...ปล่อยให้วันนี้ผ่าน เจ็บปวดอย่างไรก็จะทน พายุจะมา

สักกี่หน พอผ่านพ้นฝนก็โปรยปราย...”

ขอให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขในวัยเกษียณ

ที่มาของภาพ : harli-marten-M9jrKDXOQoU-unsplash-min, 3dfeed51-

f5a9-4d52-bcdf-4a0ea7c38077_900_900, Money_-_Pictures_of_Money--Flickr_flickr.com--photos--pictures-of-money--17123251389,

retiree, 20220308105151-858941327

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

37


ประโยชน์ที ่ได้จากการประชุม

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

(Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC)

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต

รองผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ารประชุมเอเปค หรือ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic

Cooperation: APEC) นับได้ว่าเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อ

ประเทศในภูมิภาคจะได้รับ การที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพเอเปค

จึงถือเป็นเกียรติ และสะท้อนความเชื่อมั่นที่สมาชิกเอเปคมีต่อไทย

โดยภาคส่วนต่าง ๆ ได้ร่วมกันเตรียมการอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ภาคธุรกิจ

นักวิชาการ ชุมชน จนถึงคนรุ่นใหม่ เพื่อร่วมสกัดแนวคิดและวาง

เป้าหมายที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทย ดังนั้นรัฐบาลจึงขอ

เชิญชวนให้คนไทยทุกคนร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยรัฐบาลจะทำหน้าที่

อย่างสุดความสามารถ เพื่อให้การเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ประสบความส ำเร็จ

สร้างประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชนและลูกหลานในอนาคตต่อไป

เอเปค ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ โดยมีเป้าหมายหลัก

คือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้า การลงทุน รวมถึงความร่วมมือใน

ด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ ความร่วมมือด้าน

การเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยง

จากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้าง

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่ง

ของประชาชนในภูมิภาค

38

ปัจจุบัน เอเปค มีสมาชิกจำนวน ๒๑ เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย

มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น

แคนาดา เกาหลีใต้และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน ๑๒ เขตเศรษฐกิจ

ผู้ร่วมก่อตั้ง ทั้งนี้ เอเปคมีประชากรรวมกว่า ๒,๙๐๐ ล้านคน หรือ

ประมาณ ๑ ใน ๓ ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า

๕๓ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ ๑,๗๐๐ ล้านล้านบาท

เกินครึ่งของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของ

การค้าโลก กลไกการทำงานของเอเปคแบ่งการดำเนินงานออกเป็น

ระดับต่าง ๆ ดังนี้ ระดับนโยบาย ได้แก่ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ

เอเปค (APEC Economic Leaders’ Meeting หรือ AELM) การ

ประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting หรือ AMM)

การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible

for Trade Meeting หรือ MRT) การประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปค

(APEC Finance Ministerial Meeting หรือ FMM) และการประชุม

รัฐมนตรี สาขาต่าง ๆ

ประโยชน์ของไทยในการเป็นเจ้าภาพเอเปคในครั้งนี้นั้น

เนื่องจากเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะส่งเสริมนโยบายและทิศทางการ

พัฒนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใน

หลายมิติ โดยไทยจะได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลัง

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต


โควิด-19 ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ได้ยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจให้

เป็นสากล เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาครัฐและ

ภาคเอกชนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากเขต

เศรษฐกิจอื่น ๆ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้ การเป็น

เจ้าภาพการประชุมของไทยท่ามกลางบรรยากาศการฟื้นตัวจาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจใน

ประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูการ

เดินทางและทำธุรกิจแบบพบหน้า และยังเป็นโอกาสให้ไทยได้แสดง

ความพร้อมว่าไทยสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19

ได้โดยยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้พร้อมกัน

สำหรับประเด็นที่ไทยมุ่งผลักดันให้เป็นรูปธรรมและเป็นผลลัพธ์

ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ (๑) การส่งเสริมการค้า

การลงทุนเสรีและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งเป็นหัวใจ

สำคัญของเอเปค ผ่านการขับเคลื่อนการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-

แปซิฟิก (Free Trade Area of Asia-Pacific: FTAAP) ในบริบทของ

การเจริญเติบโตหลังโควิด-19 ที่จะต้องยั่งยืนและสมดุล และเป็น

ประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน (๒) ส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและ

ปลอดภัย ผ่านการจัดตั้งกลไก APEC Safe Passage Taskforce เพื่อ

หารือแนวทางที่ส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย อาทิ การ

อำนวยความสะดวกอาชีพสำคัญ เช่น ลูกเรือ การส่งเสริมการใช้

Public Key Infrastructure ในการแชร์ข้อมูลด้านสุขภาพ ในภูมิภาค

และการขยายคุณสมบัติของบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค

(APEC Business Travel Card: ABTC) ให้ครอบคลุมผู้เดินทาง

กว้างขึ้น และ (๓) การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม

ในเอเปค ด้วยการจัดทำเอกสารผลลัพธ์ระดับผู้นำเพื่อเร่งการพัฒนา

ตามแผนงานของเอเปคไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็ง ยืดหยุ่น ยั่งยืน

ครอบคลุม และสมดุลในยุคหลังโควิด-19 ตามแนวคิด BCG

Economy

กล่าวได้ว่าการมีพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง จะเป็นแรง

ผลักดันแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศ

สมาชิกให้เติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืนต่อไป

ที่มาของภาพ : 001, 002, APEC, ประชุมเอเปค https:www.khaosod.co.th.

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

39


โครงการพัฒนาอาวุธปืนเล็กยาว

ต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร

เพื่อประเมินผลการใช้งานและเตรียมการขยายผลสู่อุตสาหกรรมป ้องกันประเทศ

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

การรับถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวิจัยพัฒนาและผลิตปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร การยิงทดสอบทางขีปนวิธี

ความเป็นมา

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.) ได้ดำเนินโครงการ

พัฒนาอาวุธปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖

มิลลิเมตร เพื่อประเมินผลการใช้งานและเตรียมการขยายผลสู่

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตามนโยบายของปลัดกระทรวง

กลาโหม โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีกลาโหม (ศวพท.วท.กห.) เป็นหน่วยเจ้าของโครงการ

มี พันเอก ดร.กิตติ รัตนดิษฐ์ เป็นนายทหารโครงการ ระยะเวลา

ดำเนินโครงการ ๗ เดือน (มีนาคม - กันยายน ๒๕๖๔) งบประมาณ

โครงการ จำนวน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยเป็นการพัฒนาต่อยอด

จากการดำเนินกิจกรรมศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตชิ้นส่วน

ปืนเล็ก ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร ที่ใช้ศักยภาพโรงงานผลิตอาวุธของ

บริษัท เนแรค อาร์มส อินดัสตรี จำกัด

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑) เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาการ

ผลิตอาวุธปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร

(ขนาดความยาวลำกล้อง ๑๔.๕ นิ้ว และ ๒๐ นิ้ว) จาก บริษัท

เนแรค อาร์มส อินดัสตรี จำกัด

๒) เพื่อทดสอบและประเมินผลการใช้งานอาวุธปืนเล็กยาว

ต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร (ขนาดความยาว

ลำกล้อง ๑๔.๕ นิ้ว และ ๒๐ นิ้ว) ในการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีของ

40

การทดสอบขั้นโรงงานและการทดสอบตาม กมย.กห. การทดสอบการใช้งานทางยุทธวิธี

ภาพตัวอย่างการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี และการทดสอบปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร

หน่วยทหารของกระทรวงกลาโหม เพื่อเตรียมการการขยายผลสู่

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ข้อมูลทางเทคนิค/หลักการทำงานของระบบ

ปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร

เป็นต้นแบบงานวิจัย (Development Prototype) มีพื้นฐานการ

พัฒนามาจากปืนเล็กยาวตระกูล Colt AR-15 ของประเทศ

สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประจำการอยู่ในกองทัพไทย และสำนักงาน

ตำรวจแห่งชาติ ในหลายรุ่นด้วยกัน เช่น ปืนเล็กยาวจู่โจม M16A1

ปืนเล็กสั้น Commando (CAR-15) และปืนเล็กสั้น M4 เป็นต้น

ปืนเล็กยาวต้นแบบนี้ ทำงานด้วยระบบแก๊สลูกสูบช่วงชักสั้น มีตัวหมุน

ปรับระดับอัตราการยิง ลำกล้องวางในโครงปืนส่วนบนแบบลอย

อิสระ โครงปืนส่วนล่างเป็นแบบมาตรฐานปืนเล็กยาวตระกูล AR-15

คันบังคับการยิงปรับได้ ๓ ระดับ คือ ห้ามไก (Safe) ยิงทีละนัด

(Semi) และยิงกล (Auto) มีความแข็งแรงทนทาน สามารถปฏิบัติการ

ได้ทุกสภาพอากาศ น้ำหนักเบา แรงถอยต่ำ คล่องตัว สามารถใช้กับ

กระสุนปืนเล็กยาวขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร มาตรฐาน NATO ได้ทั้ง

แบบ M193 และ M855 ขนาดความจุ ๓๐ นัด องค์ประกอบ

ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของปืน ร้อยละ ๘๐ สามารถผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่

มีอยู่ภายในประเทศ โดยมีต้นทุนไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทต่อกระบอก

เมื่อเทียบกับการนำเข้าอาวุธประเภทเดียวกันประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท

ต่อกระบอก

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม


ปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร ขนาดความยาวลำกล้อง ๑๔.๕ นิ้ว (ซ้าย) และความยาวลำกล้อง ๒๐ นิ้ว (ขวา)

ผลการดำเนินโครงการ

๑) การส่งบุคลากรของศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรม

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (ศวพท.วท.กห.) และศูนย์

อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ

พลังงานทหาร (ศอว.ศอพท.) จำนวน ๑๐ นาย เข้ารับการถ่ายทอด

องค์ความรู้ด้านการวิจัยพัฒนาและการผลิตอาวุธปืน เป็นเวลา ๑ เดือน

จาก บริษัท เนแรค อาร์มส อินดัสตรี จำกัด เพื่อให้บุคลากร

ของกองทัพสามารถที่จะทำการผลิตได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การ

ออกแบบ การทดสอบวัสดุก่อนนำเข้าสายการผลิต การผลิตชิ้นส่วน

ด้วยเครื่องจักรกลที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง การตรวจสอบ

คุณภาพและมาตรฐานของชิ้นส่วน การประกอบรวมชิ้นส่วนให้เป็น

ปืนทั้งกระบอก การทดสอบคุณภาพและมาตรฐานของปืนทั้ง

กระบอกด้วยการทดสอบขนาด น้ำหนักและสภาพการประกอบรวม

การทดสอบและควบคุมตามมาตรฐานการผลิต รวมทั้งการใช้งาน

และการปรนนิบัติและซ่อมบำรุง

๒) การรับมอบปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖

มิลลิเมตร จำนวน ๒๕ กระบอก จากบริษัท เนแรค อาร์มส อินดัสตรี

จำกัด ประกอบด้วย อาวุธปืนเล็กยาวต้นแบบ ขนาดความยาว

ลำกล้อง ๑๔.๕ นิ้ว จำนวน ๑๐ กระบอก และขนาดความยาว

ลำกล้อง ๒๐ นิ้ว จำนวน ๑๕ กระบอก ที่ผ่านการทดสอบขั้นโรงงาน

และการทดสอบตามมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม

ที่ ๔/๒๕๖๓ โดยผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกรายการ

๓) ทำการสุ่มเลือกปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC ขนาด ๕.๕๖

มิลลิเมตร ขนาดความยาวลำกล้อง ๑๔.๕ นิ้ว และ ๒๐ นิ้ว จำนวน

อย่างละ ๒ กระบอก ไปทำการยิงทดสอบทางขีปนวิธี ณ โรงงาน

วัตถุระเบิดทหาร เมื่อ ๒๙ – ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยทดสอบใน

เรื่องของความเร็วต้นของกระสุน ความแม่นยำของกลุ่มกระสุน และ

ระบบการทำงานของอาวุธปืน ด้วยกระสุนชนิด M193 และ M855

ซึ่งผลการทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ทั้ง ๔ กระบอก

๔) การทดสอบใช้งานทางยุทธวิธี โดยเชิญหน่วยงานต่าง ๆ

เข้าร่วมการทดสอบจำนวน ๙ หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์การทหารราบ (ศร.)

ศูนย์การทหารม้า (ศม.) กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์

หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (กรม ทย.รอ.อย.) หน่วยบัญชาการ

นาวิกโยธิน (นย.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) กองพล

ทหารราบที่ ๙ (พล.ร.๙) ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอว.ศอพท.) กอง

กำกับการต่อต้านการก่อการร้าย (อรินทราช ๒๖) และกองพันระวัง

ป้องกัน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (พัน.รวป.สป.) โดยได้

ดำเนินการทดสอบทางยุทธวิธี ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี กองพลทหารราบ

ที่ ๙ ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

จำนวนทั้งสิ้น ๒๕ นาย และมีผลการประเมินการใช้งานอยู่ในเกณฑ์

“ดี” คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละในแต่ละสถานีทดสอบ ๔ สถานี

ดังนี้

สถานีที่ ๑ : อาวุธศึกษา ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๗๐.๙๒

สถานีที่ ๒ : การทดสอบสมรรถนะและระบบการทำงานของ

อาวุธปืน ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๗๐.๗๙

สถานีที่ ๓ : การทดสอบความคล่องตัวของการใช้อาวุธปืน

ขณะเคลื่อนที่ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๗๑.๔๓

สถานีที่ ๔ : การทดสอบการนำพาอาวุธปืนไปกับผู้ใช้งาน

ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๗๐.๐๐

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการทดสอบ ได้ตรวจพบปัญหาข้อขัดข้องจาก

การทดสอบใช้งานทางยุทธวิธี โดยมีข้อเสนอแนะ เพื่อให้มีการ

พัฒนาปรับปรุงก่อนที่จะนำไปผลิตใช้งานในกองทัพต่อไป

๕) กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้รายงานสรุป

ผลการดำเนินงานโครงการให้ปลัดกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อกรุณารับทราบแล้ว เมื่อ ๒๑ กันยายน

๒๕๖๔

ประโยชน์ที่ได้รับและแนวทางการขยายผล

๑) ได้ปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖ ขนาด

ความยาวลำกล้อง ๑๔.๕ นิ้ว จำนวน ๑๐ กระบอก และขนาดความ

ยาวลำกล้อง ๒๐ นิ้ว จำนวน ๑๕ กระบอก เพื่อประเมินผลการ

ใช้งานและเตรียมการขยายผลสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

๒) ในปัจจุบัน ปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 ขนาด ๕.๕๖

มิลลิเมตรนี้ อยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เป็นต้นแบบวิศวกรรม

(Engineering Prototype) โดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอว.ศอพท.)

เพื่อเตรียมการผลิตใช้ในราชการต่อไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

41


การฝึก

การระดมสรรพกำลังเพื

่อการทหาร

ประจำปี ๒๕๖๕ : กรส.๖๕ (Mobilisation Exercise 2022 : MOBEX 2022)

กรมการสรรพกำลังกลาโหม

ารระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร เป็นการดำเนินการตามแผน

ผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ ซึ่ง

กำหนดการระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนมาสนับสนุนการปฏิบัติ

การทางทหาร โดยมีวงรอบ ๓ ขั้นตอน คือ ๑) การเตรียมการ :

เป็นการปฏิบัติในภาวะปกติโดยฝ่ายทหารจัดกำลังปฏิบัติหน้าที่ตาม

แผนป้องกันประเทศ ในขณะที่ฝ่ายพลเรือนทั้งหน่วยงานภาครัฐ

รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน จะเตรียมความพร้อมให้การสนับสนุน

การปฏิบัติการของฝ่ายทหารตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ

๒) การระดมทรัพยากร : เป็นการปฏิบัติเมื่อสถานการณ์เกิดความ

ขัดแย้งหรือภัยคุกคาม มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ ้นหรือได้เกิดขึ ้นแล้ว

ตามระดับความรุนแรง ๑ - ๔ ฝ่ายทหารจะพร้อมเข้าดำเนินการ

ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และสามารถขอรับการสนับสนุนทรัพยากร

จากฝ่ายพลเรือน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางทหาร

โดยการดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย และแผนต่าง ๆ

ที่สนับสนุนการป้องกันประเทศ และ ๓) การเลิกระดมทรัพยากร :

เป็นการปฏิบัติหลังจากสถานการณ์ความขัดแย้งหรือภัยคุกคามได้

ยุติลง ซึ่งจะมีการดำเนินการชดเชยและชดใช้ค่าทดแทนหรือค่าเสียหาย

ต่อทรัพยากรที่ทหารนำไปใช้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ แผนผนึก

42

กำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ ได้กำหนดให้มีหน่วยงาน

หลักที่รับผิดชอบการเตรียมทรัพยากรจำเป็นทางทหาร ๑๐ ด้าน

ได้แก่ ๑) ด้านกำลังคน มีกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยประสาน

งานหลัก ๒) ด้านอาหาร มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วย

ประสานงานหลัก ๓) ด้านน้ำ มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยประสานงานหลัก ๔) ด้านการคมนาคม

มีกระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยประสานงานหลัก ๕) ด้านเทคโนโลยี

กรมการสรรพกำลังกลาโหม


สารสนเทศและการสื่อสาร มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ

สังคม เป็นหน่วยประสานงานหลัก ๖) ด้านการแพทย์และ

สาธารณสุข มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยประสานงานหลัก

๗) ด้านอุตสาหกรรมและปัจจัยการผลิต มีกระทรวงอุตสาหกรรม

เป็นหน่วยประสานงานหลัก ๘) ด้านเชื้อเพลิงและพลังงาน

มีกระทรวงพลังงานเป็นหน่วยประสานงานหลัก ๙) ด้านการ

ประชาสัมพันธ์ มีกรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยประสานงานหลัก

และ ๑๐) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและอื่น ๆ มีกระทรวงมหาดไทย

เป็นหน่วยประสานงานหลัก และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถ

ปฏิบัติงานร่วมกันได้ อย่างประสานสอดคล้อง เป็นระบบและมี

ประสิทธิภาพ กรมการสรรพกำลังกลาโหม ร่วมกับสำนักงานสภา

ความมั่นคงแห่งชาติ จัดการฝึกการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร

อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ภายใต้ชื่อ กรส. : การฝึกการระดมสรรพกำลัง

เพื่อการทหาร หรือ MOBEX : Mobilisation Exercise

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

43


โดยแบ่งการฝึกเป็น ๒ รูปแบบ ได้แก่ การฝึกปัญหาที่บังคับการ

(CPX: Command Post Exercise) เพื่อฝึกการวางแผน อำนวยการ

และประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแผนปฏิบัติการ

ต่าง ๆ ซึ่งในปีนี้ ได้จัดการฝึกในห้วงวันที่ ๖ - ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕

ณ กรมการสรรพกำลังกลาโหม และที่ตั้งปกติของหน่วยงานหลัก

ที่รับผิดชอบ ทั้ง ๑๐ ด้าน และได้จัดการฝึกภาคสนาม (FTX:

Field Training Exercise) เพื่อทดสอบการปฏิบัติตามขั้นตอน

การระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ ในห้วงวันที่ ๓ - ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕

ณ พื้นที่ฝึก สนามบิน กองพลทหารราบที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี โดย

เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างส่วนราชการทหาร ส่วนราชการ

พลเรือน รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน โดยใช้กรอบสถานการณ์

ฝึกร่วมกองทัพไทย ตามแผนป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการ

ฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ(C-MEX : Crisis Management

Exercise) โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

รับผิดชอบ เพื่อมุ่งเน้นการรับมือกับภัยจาก

การสู้รบ รวมทั้งสาธารณภัยและภัยคุกคาม

รูปแบบใหม่ สำหรับการฝึกในครั้งนี้แบ่งพื้นที่การฝึก

ภาคสนาม ออกเป็น ๖ พื้นที่ ได้แก่ ๑. พื้นที่ศูนย์

ประสานงานและการติดต่อสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเพื่อ

เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

และศูนย์ติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยในพื้นที่และ

หน่วยส่วนกลางผ่านระบบสารสนเทศ โดยมี

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรม

ประชาสัมพันธ์ และกระทรวงมหาดไทย เป็น

ผู้ประสานงานในพื้นที่ร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่

๒. พื้นที่ดำเนินการด้านกำลังพล จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับกำลังพลจาก

พื้นที่การรบ เตรียมการฟื้นฟูในการส่งเข้าพื้นที่การรบหรือส่งกลับ

ทดแทนกำลังต่อไป รวมถึงดำเนินการกับผู้อพยพบางส่วนที่มีความ

จำเป็นกรณีพลัดหลง/ตกค้างจากพื้นที่การรบก่อนส่งกลับพื้นที่

ปลอดภัย โดยมี กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง

มหาดไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ ่งแวดล้อม เป็น

ผู้ประสานงานในพื้นที่๓. พื้นที่เตรียมพร้อมด้านอาหาร อุตสาหกรรม

และปัจจัยการผลิต จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากร

ด้านอาหาร และอุตสาหกรรมและปัจจัยการผลิต เพื่อสนับสนุนการ

ปฏิบัติทางทหาร โดยมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวง

อุตสาหกรรม เข้าร่วมเป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ ๔. พื้นที่การระดมรถ

จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง

ในการขนส่งยุทโธปกรณ์ สิ่งอุปกรณ์ กำลังพล และประชาชน โดยมี

44

กรมการสรรพกำลังกลาโหม


กระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงาน เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่

๕. พื้นที่โรงพยาบาลสนาม จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการรักษาพยาบาล

แก่กำลังพล และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยมี กระทรวง

สาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้

ประสานงานในพื้นที่ร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่๖. พื้นที่การเคลื่อน

ย้ายทางอากาศ จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการขนย้ายบุคลากรและ

อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปฏิบัติในภารกิจการส่งกลับสายแพทย์

โดยมี กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวง

พลังงาน เป็นผู้ประสานงานในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยทหาร โดยมี

กิจกรรมการฝึกการระดมทรัพยากรจำนวน ๑๐ ด้าน ได้แก่

๑. ด้านกำลังคน : ระดมผู้เชี่ยวชาญ ด้านชำระล้างสารพิษการพิสูจน์

เอกลักษณ์บุคคล และการแพทย์ ๒. ด้านอาหาร : ระดมอาหาร

ประเภทต่าง ๆ ทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง ๓. ด้านน้ำ : ระดมรถ

บรรทุกน้ำ รถขุดเจาะน้ำบาดาล รถผลิตน้ำดื่มพร้อมบรรจุขวดและ

น้ำดื่ม ๔. ด้านการคมนาคม : ระดมรถโดยสารปรับอากาศ รถบรรทุก

กึ่งพ่วงชานต่ำ และเฮลิคอปเตอร์ สนับสนุนการขนส่งให้กับหน่วย

ทหาร ในการเคลื่อนย้ายกำลังพลยุทโธปกรณ์ ๕. ด้านเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร : ระดมอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

และระบบสารสนเทศ ได้แก่ ระบบโทรศัพท์ประจำที่ วิทยุสื่อสาร

รถสื่อสารดาวเทียม และระบบบริการอินเทอร์เน็ต ๖. ด้านการ

แพทย์และสาธารณสุข : ระดมบุคลากรทางการแพทย์และ

สาธารณสุข และอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

ร่วมกับทางทหาร ๗. ด้านอุตสาหกรรมและปัจจัยการผลิต : ระดม

โรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยการผลิตตามความจำเป็นของกองทัพ

๘. ด้านเชื้อเพลิงและพลังงาน : เชื้อเพลิงและพลังงานภาคพื้น และ

น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ๙. ด้านการประชาสัมพันธ์: ระดมเครื่อง

มือในการประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์

แหล่งผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ จากส่วนกลาง พื้นที่จังหวัด

กาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียง และ ๑๐. ด้านสิ่งอำนวยความ

สะดวกด้านอื่น ๆ ระดมรถผลิตกระแสไฟฟ้า รถตรวจสอบทะเบียน

ราษฎร์

การฝึกการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร เป็นการบูรณาการ

ร่วมกันของทุกภาคส่วนด้วยความร่วมมือร่วมใจ การมีความรู้

ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การได้ฝึกซ้อมการปฏิบัติร่วมกัน

อย่างทุ่มเท จริงจัง และสม่ำเสมอตลอดมา ส่งผลให้การฝึก

มีพัฒนาการและความก้าวหน้าที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็น

หลักประกันความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมเพื่อเสริมสร้าง

ความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชนสืบไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

45


กลับหลังหัน...กับพิพิธภัณฑ์กลาโหม

่องหมายวรรคตอน

“เครื

และมาตราชั ่งตวงวัดแบบโบราณ

ที ่ปรากฏบนกระบอกปืนใหญ่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม”

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

ถ้

าท่านใดเคยเข้ามาชมปืนใหญ่โบราณที่จัดแสดงอยู่ด้านหน้าศาลา

ว่าการกลาโหม เคยสังเกตกันไหมว่า บนกระบอกปืนใหญ่

ทุกกระบอกจะมีการจารึกชื่อเอาไว้เพื่อให้ทราบว่าปืนใหญ่กระบอกนั้น

มีชื่อว่าอะไร และเพื่อป้องกันการสับสน รวมถึงการเรียกชื่อผิดพลาดนั่นเอง

โดยการตั้งชื่อปืนใหญ่ทุกกระบอกพระมหากษัตริย์เป็นผู้พระราชทาน

ชื่อให้ มีหลักฐานกล่าวถึงในหนังสือตำราปืนใหญ่ ซึ่งเป็นตำราที่

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลมาจากตำราภาษา

อังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๔ และนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะปืนใหญ่

และรายชื่อปืนใหญ่ที่มีไว้รักษาพระนคร พ.ศ.๒๓๖๙ ว่า

เมื่อปี จ.ศ.๑๑๗๗ (พ.ศ.๒๓๘๕) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้พระราชทานชื่อปืนใหญ่ทั้งเก่าและใหม่ที่เคย

ประจำการในกองทัพสยาม โดยพระราชทานชื่อปืนใหญ่ จำนวน ๙๑

กระบอก และให้จารึกชื่อเหล่านั้นไว้บนกระบอกปืนด้วย บางท่านที่เคย

มาชมปืนใหญ่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม อาจเคยเห็นมาบ้างแล้ว

46

ปืนใหญ่พรหมมาศปราบมาร ใช้ดินดำน้ำหนัก ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง

ว่านอกจากมีการจารึกชื่อบนกระบอกปืนแล้ว ยังมีการจารึกตัวเลขและ

สัญลักษณ์ที่มีลักษณะแปลกตาเอาไว้ด้วยเช่นกัน แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบ

ว่ามีความหมายอย่างไร วันนี้ผู้เขียนจะมานำเสนอให้ได้ทราบกันค่ะ …

มาตราชั่งตวงวัดแบบไทยโบราณ เรียกว่า ตีนครุหรือตีนกา

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม


วิธีการอ่านสัญลักษณ์วรรคตอน ชื่อปืน ขนาดและน้ำหนักของกระสุน

การจารึกชื่อรวมถึงรายละเอียดบนปืนใหญ่แต่ละกระบอกที่ตั้ง

อยู่หน้าศาลาว่าการกลาโหมนั้น ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ :

สัญลักษณ์ขึ้นต้น ส่วนที่๒ : ชื่อปืน ขนาดกระสุนและน้ำหนักของดินดำ

และส่วนที่ ๓ : สัญลักษณ์ปิดท้าย

ส่วนที่ ๑ คือ สัญลักษณ์ขึ้นต้น จะมีลักษณะเป็นวงกลม (๏) เรียก

ว่าฟองมัน/ตาไก่ เป็นเครื่องหมายวรรคตอน ที่นิยมใช้ในหนังสือไทย

สมัยโบราณ เช่น สมุดไทย ใช้เมื่อขึ้นต้นบท ตอน หรือเรื่อง การนำ

มาใช้ในที่นี้ หมายถึง การเขียนนำหน้าหรือเปิดเรื่องก่อนที่จะเขียน

ประโยคแรก

ส่วนที่ ๒ คือ ชื่อของปืนใหญ่กระบอกนั้น ๆ และสัญลักษณ์ที่อยู่

ถัดไปจากชื่อปืน คือ ขนาดของกระสุนและน้ำหนักของดินดำที่ใช้ใน

การขับกระสุนสำหรับปืนใหญ่แต่ละกระบอก โดยใช้มาตราชั่งตวงวัด

ปืนใหญ่มารประไลย จารึกแค่ฟองมัน ต่อมาคือ ชื่อปืน

และอังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร เพื่อแสดงให้ทราบว่าประโยคนี้จบแล้ว

ตัวอย่างการใช้วรรคตอนฟองมันและอังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร

ที่ปรากฏบนสมุดไทยดำ

แบบไทยโบราณเป็นตัวบอก มีลักษณะเป็นรูปเครื่องหมายบวก

เรียกว่า ตีนครุหรือตีนกา ( ) ใช้สำหรับบอกจำนวน ได้แก่ เหนือเส้น

ตั้ง คือ ชั่ง มุมบนซ้าย คือ ตำลึง มุมบนขวา คือ บาท มุมล่างขวา คือ

สลึง มุมล่างซ้าย คือ เฟื้อง และใต้เส้นตั้ง คือ ไพ (ดูภาพประกอบ)

ถ้าบนกระบอกปืนใหญ่จารึกว่า “เหราใจร้าย กระสุน ๕ นิ้ว ดินหนัก

” หมายความว่า ปืนใหญ่กระบอกนี้ ชื่อ เหราใจร้าย ใช้กระสุนขนาด

๕ นิ้ว ใช้ดินดำในการขับกระสุนน้ำหนัก ๒ ชั่ง เพราะถ้าใส่มากเกินไป

หรือน้อยเกินไปกว่าที่กำหนด จะทำให้ปืนใหญ่ไม่สามารถใช้งานได้ และ

อาจทำให้เกิดความเสียหายได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อเทียบมาตราส่วน

ในปัจจุบัน ๑ ชั่งเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม ดังนั้น ปืนใหญ่กระบอกนี้

จึงต้องใช้ดินดำหนัก ๒,๔๐๐ กรัม

ส่วนที่ ๓ คือ สัญลักษณ์อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) หรือ

วรรคตอนของไทยโบราณ ใช้เติมท้ายเมื่อจบประโยคบริบูรณ์ เป็นที่

น่าสังเกตว่าปืนใหญ่โบราณด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหมทั้ง ๔๐ กระบอก

ไม่ได้มีการจารึกสัญลักษณ์ครบหมดทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวไปข้างต้น

บางกระบอกอาจมีแค่ฟองมัน ชื่อปืน และอังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร

แต่ทุกกระบอกจะมีการเริ่มต้นด้วยฟองมันก่อนเริ่มประโยค และมี

อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตรปิดท้ายทุกครั้ง

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความชาญฉลาดของคนสมัยก่อน ที่

คิดวิธีในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและมาตราชั่งตวงวัดต่าง ๆ เพื่อ

เป็นสื่อกลางหรือสื่อสารให้คนในสมัยนั้นเข้าใจได้ตรงกัน และมี

ประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป ซึ่งเครื่องหมายวรรคตอนและ

มาตราวัดแบบไทยเช่นนี้พบเห็นได้ค่อนข้างยากแล้วในปัจจุบัน

หากท่านใดมีโอกาสแวะมาชมปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม

อย่าลืมมาลองอ่านกันดูนะคะ

เอกสารอ้างอิง :

บุญเลิศ วิวรรณ์. "นามปืนใหญ่ในตำนาน : ยุทธการตัดไม้ข่มนามด้วยภาษา." วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ ๘ ฉบับ ๑ (ม.ค.-มิ.ย.๖๐). ๒๑๑-๒๒๙.

ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระบาทสมเด็จพระฯ. ๒๓๕๑-๒๔๐๘. ตำราปืนใหญ่โบราณ. [ม.ป.ท.] : โรงพิมพ์พระจันทร์.

๒๔๗๖. สืบค้นเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ จาก http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/

frontend/Info/item/dc:165711.

ศิริรัจน์ วังศพ่าห์. ปืนใหญ่โบราณในประวัติศาสตร์ชาติไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. ๒๕๕๐.

อรณิชา สาลีกงชัย. “ที่มาและค่านิยมในการตั้งชื่อปืนใหญ่.” สืบค้นเมื่อ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ จาก http://www.google.com

http://www.google.com

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

47


สำ

นักงานสารนิเทศคณะรัฐมนตรีจีน ได้เผยแพร่สมุดปกขาว

ของจีน เรื่อง “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๔ โดยสำหรับ

ตอนที่ ๘ นี้ จะกล่าวถึงการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่าง

ประเทศและความร่วมมือไตรภาคี ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

๑. จุดยืนโดยรวมในการแลกเปลี่ยน

ระหว่างประเทศและความร่วมมือแบบไตรภาคี

โดยจีนเปิดกว้างสำหรับการแลกเปลี่ยนและความ

ร่วมมือแบบไตรภาคีในด้านการพัฒนาระหว่าง

ประเทศ และจะยังคงยึดมั่นในจุดยืนของตนใน

ฐานะประเทศกำลังพัฒนา หารือกับภาคีที่

เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินความร่วมมือแบบไตรภาคี

เสริมสร้างแนวทางและวิธีการของความร่วมมือ

ด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ เพิ่มระดับและ

ขีดความสามารถของความร่วมมือด้านการพัฒนา

ระหว่างประเทศ กล่าวคือ

สมุดปกขาวของจีน

เรื ่อง “ความร่วมมือเพื ่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” (ตอนที ่ ๘)

พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้าราชการบำนาญ

๑.๑ ส่งเสริมการจัดตั้งหุ้นส่วนการพัฒนาระดับโลกที่

เท่าเทียมและสมดุลยิ่งขึ้น ทั้งนี้จีนยึดถือหลักการ “ความรับผิดชอบ

ร่วมกัน แต่แตกต่างกัน” (“ ”) และยึดมั่นในสถานะ

ช่องทางหลักของความร่วมมือเหนือ - ใต้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนเสริม

ที่เป็นประโยชน์สำหรับความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ

48

พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


โดยประเทศที่พัฒนาแล้วควรปฏิบัติตามข้อผูกพันความช่วยเหลือ

ด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการในเวลาที่เหมาะสมและเต็มจำนวน

รวมทั้ง เพิ่มความช่วยเหลือให้กับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะ

ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ตลอดจนสนับสนุนประเทศ

กำลังพัฒนาในการสำรวจตามเงื่อนไขของประเทศ เส้นทางการ

พัฒนาประเทศกำลังพัฒนา ควรกระชับความร่วมมือใต้ - ใต้ และมุ่งมั่น

ที่จะบรรลุความสามัคคีอีกทั้งการพึ่งพาตนเอง ทั้งนี้ องค์กร

ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยมีสหประชาชาติเป็นแกนหลัก ควร

ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างการแบ่งปันข้อมูลและการประสาน

งานกับทุกฝ่าย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนา

ระหว่างประเทศผ่านช่องทางพหุภาคีอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะการ

ส่งเสริมให้ภาคเอกชน องค์กรภาคประชาชนและองค์กรการกุศล

มีบทบาทมากขึ้น

๑.๒ พัฒนาความร่วมมือไตรภาคีอย่างต่อเนื่องในด้านการ

พัฒนาระหว่างประเทศ ซึ่งจีนสั่งสมประสบการณ์มากมายใน

กระบวนการพัฒนาประเทศที่พัฒนาแล้วและองค์กรระหว่าง

ประเทศมีข้อได้เปรียบที่แข็งแกร่งในด้านเงินทุนและเทคโนโลยีโดย

จีนยินดีที่จะหารือกับภาคีอื่น ๆ เกี่ยวกับเส้นทางความร่วมมือเฉพาะ

ที่เสริมจุดแข็งของกันและกัน และบรรลุการทำงานร่วมกันเพื่อให้

ประเทศผู้รับได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ การดำเนินความร่วมมือ

แบบไตรภาคีควรเคารพนโยบายความคิดและรูปแบบของทุกฝ่าย

อย่างเต็มที่ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเคารพ

ซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ร่วมกันและการ

เรียนรู้จากผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ

และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งการ

วางรากฐานที่ดีสำหรับความร่วมมือแบบ

ไตรภาคี โดยจีนยินดีที่จะเรียนรู้อย่าง

กระตือรือร้นจากประสบการณ์ที่ประสบ

ความสำเร็จในระดับนานาชาติและแนวทาง

ปฏิบัติที่มีประสิทธิผล

๑.๓ มีความจำเป็นต้องเคารพ

อำนาจอธิปไตยและอำนาจการปกครองของ

ประเทศผู้รับอย่างเต็มที่ โดยยึดมั่นใน

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

49


หลักการของ “ประเทศผู้รับเสนอ ประเทศผู้รับตกลง และประเทศ

ผู้รับเป็นผู้นำ” (“

”) ทั้งนี้ความร่วมมือ

ควรมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการด้านมนุษยธรรม การดำรง

ชีวิตและการจ้างงานของประเทศผู้รับ รวมทั้งเพิ่มการพัฒนาที่

สามารถพึ่งพาตนเองได้

๒. การเจรจาและแลกเปลี่ยน

ความร่วมมือในทางปฏิบัติให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

( ) ตามหลักการของการ

เปิดกว้างและความอดทน ซึ่งจีนได้เพิ่มการ

สื่อสารและการแลกเปลี่ยนกับประเทศและ

องค์กรอื่น ๆ อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นและดำเนิน

ความร่วมมือในทางปฏิบัติและความร่วมมือ

แบบไตรภาคี กล่าวคือ

๒.๑ การเจรจาและการให้

คำปรึกษาที่ลึกซึ้ง รวมทั้งมีส่วนร่วมอย่าง

แข็งขันในการประชุมและกิจกรรมระหว่าง

ประเทศ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการ

พัฒนาระหว่างประเทศ และช่วยให้ประเทศ

กำลังพัฒนาบรรลุการเติบโตโดยรวม โดยการเป็นเจ้าภาพการ

สัมมนาร่วมกับระบบการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในจีน เพื่อการ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือใต้ - ใต้ การพัฒนาที่

ยั่งยืน การสร้างฉันทามติการส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างการกำกับ

ดูแลของธนาคารโลกโดยเพิ่มเสียงและการเป็นตัวแทนของประเทศ

50

พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


กำลังพัฒนาในธนาคารโลก ทำให้เพิ่มความเข้าใจการเรียนรู้ซึ่งกัน

และกัน ความไว้วางใจซึ่งกันและกันและความร่วมมือระหว่างกัน

๒.๒ พัฒนาความร่วมมือในทางปฏิบัติกับองค์กรระหว่าง

ประเทศ โดยตั้งแต่ปี ๒๐๑๖ (พ.ศ.๒๕๕๙) ภายใต้กองทุนความร่วมมือ

ใต้ - ใต้ จีนได้ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า ๑๐

องค์กร เช่น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และโครงการ

อาหารโลก ฯลฯ เพื่อแนะนำประสิทธิภาพและประสบการณ์ของ

ความช่วยเหลือของจีนในการจัดตั้งกองทุน China-UNESCO Trust

Fund ซึ่งได้ให้ประโยชน์แก่ครูมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน จากจำนวนกว่า

๑๐ ประเทศในแอฟริกา

๒.๓ การเพิ่มเงินบริจาคและส่งเสริมการจัดหาเงินทุนร่วมกัน

ในการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับธนาคารโลก

เพื่อสนับสนุนการลดความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศ

กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด เป็นต้น

บทสรุป ความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาเป็นส่วนสำคัญ

ของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติปี ๒๐๓๐ (พ.ศ.

๒๕๗๓) ซึ่งจีนเป็นผู้สนับสนุนและดำเนินการในการเป็นหุ้นส่วนเพื่อ

การพัฒนาระดับโลก โดยมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเจรจาและ

แลกเปลี่ยนกับสถาบันระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเจรจา

แลกเปลี่ยนระดับทวิภาคีและการดำเนินความร่วมมือแบบไตรภาคี

ในลักษณะที่เปิดกว้าง อันจะเป็นประโยชน์และเป็นแรงผลักดันใหม่

ให้กับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2021-01/10/

content_5578617.htm

ที่มาของภาพ : 0-2, 1-47, c-4, EX1fdqreSXJtVDwJFJ46, image1170x-

530cropped, UNFPA_supplies_arrive_in_the_Huanggang_Hubei_

Province

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

51


เป้าประสงค์ที ่แท้

พลโท ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ

รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

ฏิกิริยาโต้กลับอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

ยักษ์ใหญ่แห่งเอเซียเคยแสดงออกมาให้ชาวโลกได้เห็นว่า จีน

แผ่นดินใหญ่มีอำนาจเหนือชาวจีนบนเกาะไต้หวัน และที่สำคัญที่สุด

เป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนในจุดยืนนโยบายจีนเดียวมาตลอดของ

สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปฏิกิริยาโต้กลับเข้าใส่ทั้งสหรัฐอเมริกา

และไต้หวันอย่างรุนแรงหลังจากที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรของ

สหรัฐฯ ได้หาญกล้าท้าทายนโยบายจีนเดียวอย่างบ้าบิ่นท่ามกลาง

ความวิตกกังวลของประชาคมโลกในท่าทีของคนระดับผู้นำในสภา

ของสหรัฐฯ ผู้ให้การสนับสนุนไต้หวันมาโดยตลอดถึงขั้นตราเป็น

กฎหมายมาช้านานในการเข้าช่วยเหลือไต้หวันทันทีที่ถูกรุกราน

การกระทำของผู้นำระดับสูงทางการเมืองของสหรัฐฯ ครั้งนี้ เห็นได้

ชัดเจนว่าเป็นการส่งสัญญาณท้าทายยักษ์ใหญ่อย่างจีนโดยไม่

ยำเกรงต่อศักยภาพทางทหารของยักษ์ใหญ่เอเซียอย่างที่ไม่เคย

เกิดขึ้นมาก่อน

ทันทีที่มีการเหยียบแผ่นดินไต้หวันของประธานสภาผู้แทน

ราษฎรสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการทั้งที่จีนเคยทักท้วงและประกาศ

เตือนมาโดยตลอดว่าอย่าทำ เพราะการเยือนไต้หวันของนางแนนซี

52

เพโลซี เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นการละเมิดข้อตกลง

นโยบายจีนเดียวที่รับรองโดยสหประชาชาติ (UN) และเป็นการ

ละเมิดอธิปไตยของจีนอย่างชัดเจน ถือเป็นการเล่นกับไฟ และ

หายนะจากไฟนั้นก็จะเผาผลาญประเทศผู้สนับสนุนการแยกตัวเป็น

อิสระของไต้หวันอย่างรุนแรง ด้วยการประกาศซ้อมรบด้วยกระสุนจริง

อันเป็นการแสดงแสนยานุภาพทางทหารของจีนที่ห่างจาก

ชายฝั่งไต้หวันไม่ถึง ๒๐ กิโลเมตร และพรั่งพร้อมด้วยอาวุธ

ยุทโธปกรณ์จำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัยของจีน

จำนวนมากกว่า ๑๐๐ ลำ ขีปนาวุธยิงระยะไกล เรือรบและยานยนต์

สงครามจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยปฏิบัติการทางทหารของจีน

ใกล้เกาะไต้หวัน ตอกย้ำเจตนารมณ์ของยุทธการที่สื่อมวลชนของ

ทางการจีนรายงานว่า การซ้อมรบครั้งนี้คือยุทธการรวมชาติและ

การฝึกปิดล้อมเกาะไต้หวัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าจีนสามารถเข้า

ควบคุมไต้หวันได้โดยสมบูรณ์แล้ว

หลังจากที่ทางการจีนประกาศว่าปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นการ

ซ้อมรบด้วยกระสุนจริงรอบเกาะไต้หวันผ่านพ้นไปได้ ๔ วัน

ตามกำหนดการเดิม สำนักงานความปลอดภัยทางการเดินเรือของ

พลโท ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ


จีนก็ได้ประกาศว่า กองทัพจีนจะขยายเวลาการซ้อมรบขนานใหญ่ด้วย

กระสุนจริงทั้งทางทะเลและทางอากาศอย่างเบ็ดเสร็จในลักษณะนี้

ออกไปอีก ๑ เดือน ทั้งในทะเลโป๋ไห่ (Bohai Sea) ตั้งแต่วันที่ ๘

สิงหาคม ไปจนถึงวันที่ ๘ กันยายนนี้ ควบคู่กันไปในพื้นที่ตอนใต้

ของทะเลเหลือง (Yellow Sea) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน

โดยจีนจะเดินหน้าซ้อมรบทางทะเลและอากาศรอบเกาะไต้หวัน

อย่างเข้มข้นต่อไป เน้นทดสอบศักยภาพการยิงในการโจมตีภาคพื้นดิน

และการโจมตีทางอากาศพิสัยไกล ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการ

รวมชาติ และการปิดล้อมเกาะไต้หวันทั้งทางทะเลและทางอากาศ

เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และไต้หวันเห็นว่าจีน

ควบคุมไต้หวันได้โดยสมบูรณ์

ปฏิกิริยาของจีนที่ตอบโต้สหรัฐฯ และไต้หวันก็

รุนแรงก้าวร้าวเช่นกัน โดยแถลงการณ์จากกระทรวง

การต่างประเทศจีน มีใจความสำคัญเน้นย้ำว่า

การกระทำของ นางแนนซี เพโลซี และ สหรัฐฯ ครั้งนี้

ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของจีนและหลักการจีนเดียว

อย่างชัดเจน ตลอดจนละเมิดคำมั่นที่ได้ตกลงกันไว้

ในปี ๑๙๗๙ ที่สหรัฐฯ ยอมรับในจีนเดียวและจะไม่

ปฏิบัติการใด ๆ ในรูปแบบทางการกับไต้หวัน แต่การ

ที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ เดินทางด้วยเครื่องบิน

ในนามรัฐบาลสหรัฐฯ ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็น

ทางการ จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ

ไม่เคารพและยึดมั่นในคำมั่นที่ให้ไว้ต่อจีนและ

ประชาคมโลก ตามด้วยปฏิบัติการทางทหารของจีนขนานใหญ่ที่สุด

เท่าที่เคยมีมารอบเกาะไต้หวันอย่างโจ่งแจ้งเช่นกัน เป็นการปฏิบัติ

การที่ต้องการส่งสัญญาณให้สหรัฐฯ และไต้หวันได้เห็นว่า อย่าได้

ลองดีกับหลักการจีนเดียว รวมทั้งท้าทายอธิปไตยของจีน

อย่างเด็ดขาด เพราะจีนได้เคยประกาศแล้วว่า จีนพร้อมทุกวิถีทาง

แม้กระทั่งการใช้กำลังทางทหารโดยไม่ลังเลแม้แต่น้อยหากมีใคร

ละเมิดหลักการจีนเดียวรวมทั้งท้าทายอธิปไตยของจีน

การซ้อมรบทุกด้านทุกทิศรอบเกาะไต้หวัน ทั้งทางทะเลและ

ทางอากาศด้วยการใช้กระสุนจริง รวมทั้งอาวุธนานาชนิด รวมทั้ง

ประกาศเตือนว่า เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่ายในห้วงเวลาของการ

ปฏิบัติการทางทหารครั้งนี้ อย่าเข้ามาในเขตน่านน้ำและน่านฟ้าใน

พื้นที่รอบเกาะไต้หวันอย่างเด็ดขาดในขณะที่ผู้นำสหรัฐฯ ก็มีท่าทีที่

อ่อนลง โดยแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของนางเพโลซี

โดยระบุว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้สนับสนุนการเยือนไต้หวันครั้งนี้ของ

นางเพโลซี ตามที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุเมื่อวันที่๒๒ กรกฎาคม

ว่าสหรัฐฯ คิดว่าไม่ใช่ความคิดที่ดีและชี้ว่าอาจเป็นการยั่วยุจีน

ซึ่งยึดมั่นในนโยบายจีนเดียวมาโดยตลอด ในขณะที่ทำเนียบขาว

ของสหรัฐฯ ย้ำว่า การเดินทางเยือนไต้หวันของประธานสภาผู้แทน

ราษฎรของสหรัฐฯ นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน และ

ยืนยันว่าเป็นการตัดสินใจของนางเพโลซีแต่ผู้เดียว ดังนั้น ปฏิกิริยา

โต้กลับทางทหารของจีนตลอด ๔ วันที่ผ่านมาและขยายต่ออีก ๑

เดือนข้างหน้านี้ จึงไม่ใช่แค่การซ้อมรบธรรมดาอย่างที่เคยผ่านมา

หากแต่เป็นการปิดล้อมเพื่อเข้ายึดเกาะไต้หวันโดยสมบูรณ์

นับเป็นการส่งสัญญาณชัด ๆ ว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน

ที่ไม่อาจมีใครท้าทายได้ นี่คือเป้าประสงค์ที่แท้จริงของจีนที่สหรัฐฯ

และโลกต้องเข้าใจ

ที่มาของภาพ : p1 https:www.tnnthailand.com., จีนซ้อมรบ

https:news.trueid.net, https:www.infoquest.co.th

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

53


ภาษาอังกฤษง่าย ๆ สไตล์ครูวันดี

“I am retired or I was retired.”

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

นักวิจัยพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ยั

งค่ะ ผู้เขียนยังไม่เกษียณค่ะ รออีก ๔ ปี มีคนถามมาว่า คำว่า

ผมเกษียณแล้วจะพูดว่ายังไง ถ้าตอบง่าย ๆ เช่น I am retired.

หรือหากเพิ่งเกษียณก็พูดว่า I have just retired. ถ้าหากเกษียณมา

หลายปีแล้ว ก็สามารถพูดว่า I have been retired for several

years. หรือจะเกษียณปีหน้าก็พูดว่า I will be retired next year.

หรือกำลังจะเกษียณเร็ว ๆ นี้ ก็พูดแบบย้ำว่า I am going to be

retired soon. หากเป็นทหารก็สามารถพูดว่า I am retired from

the service on September 2022 ก็ได้ค่ะ ส่วนบางคนถามว่า

I am retired กับ I was retired. แตกต่างกันอย่างไร ตอบง่าย ๆ ค่ะ

I am retired ก็หมายความว่า เพิ่งเกษียณไม่นานมานี้ ส่วนประโยค

I was retired ก็เกษียณมานานแล้วจ้า บางคนเขาอาจจะถามคุณว่า

คุณเกษียณแล้วหรือยังรับราชการอยู่ เขาก็จะถามว่า Are you

retired? หรือ Are you still an active officer?

เรามาเรียนรู้คำภาษาอังกฤษในกลุ่มของคำว่า Retire ในศัพท์

บัญญัติราชบัณฑิตยสภามีความหมายดังนี้ แปลว่า การออกจากงาน

ออกจากตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่ง Retired person คือ เกษียณอายุ

ผู้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ Retirement แปลว่า การพ้นจากตำแหน่ง

หน้าที่ การเกษียณอายุ Retirement annuity แปลว่า บำนาญเหตุ

ออกจากงาน บำนาญเกษียณอายุ Retirement by rotation

การออกจากตำแหน่งตามวาระ เป็นต้น เรามาอ่านประโยคการใช้

คำว่า retire กันค่ะ

54

I often wonder what it would be like to retire to the

country.

ฉันคิดอยู่บ่อย ๆ ว่าจะเป็นยังไงนะถ้าเกษียณแล้วไปอยู่ใน

ชนบท

Age discrimination is illegal and retirement is mandatory

in only a few occupations.

การเลือกปฏิบัติทางอายุเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายและการเกษียณ

อายุมีผลบังคับใช้ในอาชีพเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น

At our company, the retirement age is 60.

ที่บริษัทของเรา อายุเกษียณคือ ๖๐ ปี

Before he retired, he had handed over charge of

his office to me.

ก่อนที่เขาจะเกษียณ เขาได้มอบอำนาจหน้าที่ในสำนักงาน

ของเขาให้ผม

By the time my father retires, he will have worked

for almost thirty years.

เมื่อถึงเวลาที่พ่อเกษียณ พ่อของฉันก็จะทำงานมาเกือบ

สามสิบปีแล้ว

My grandfather has retired because of his health

condition. คุณปู่เกษียณ เพราะปัญหาทางสุขภาพ

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ


เมื่อพูดถึงการเกษียณ ตอนเราเด็ก ๆ ผู้เขียนมองว่าคนที่อายุ

๖๐ นั้น ดูอาวุโส หรือแก่มาก แต่พอตอนนี้ อายุ ๕๖ แล้ว ทำไมเรา

ยังมองว่าเรายังไม่แก่เลย มีบทความหลายบทความที่พูดถึงการ

เกษียณอายุและเข้าใจอารมณ์ของคนที่เกษียณอย่างไร เรามาอ่านการ

วิเคราะห์อาการของคนที่เกษียณกันค่ะ

๑. Struggling to “switch off” from work mode and

relax, especially in the early weeks or months of

retirement.

• พยายาม “ปิด” จากโหมดการทำงานและพักผ่อนโดยเฉพาะ

ในช่วงสัปดาห์แรกหรือหลายเดือนของการเกษียณอายุ

๒. Feeling anxious at having more time on your

hands, but less money to spend.

• รู้สึกกระวนกระวายใจที่จะมีเวลามากขึ้น แต่มีเงินใช้

น้อยลง

๓. Finding it difficult to fill the extra hours you now

have with meaningful activity.

• พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลาพิเศษในการทำกิจกรรมที่ดีๆ

๔. Losing your identity. If you’re no longer a doctor,

teacher, designer, sales person, electrician, or driver, for

example, who are you?

• สูญเสียความเป็นตัวตน ถ้าคุณไม่ได้เป็นหมอ อาจารย์

นักออกแบบ พนักงานขาย ช่างไฟฟ้า หรือคนขับรถอีกต่อไป

เช่น ถามตัวเองว่าคุณเป็นใคร?

๕. Feeling isolated without the social interaction of

being around your coworkers.

• รู้สึกโดดเดี่ยว โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในการอยู่ใกล้ ๆ

เพื่อนร่วมงานของคุณ

๖. Experiencing a decline in how useful, important,

or self-confident you feel.

• รู้สึกว่าคุณรู้สึกมีประโยชน์ สำคัญ หรือมั่นใจในตัวเองลดลง

๗. Adjusting your routine or maintaining your

independence now you’re at home with your spouse

during the day.

• ปรับกิจวัตรของคุณหรือรักษาความเป็นอิสระของคุณให้ได้

ในตอนนี้ เช่น อยู่ที่บ้านกับสมาชิกในครอบครัว

๘. Some retirees even feel guilty about receiving

money from a pension without directly working for it.

• ผู้เกษียณอายุบางคน รู้สึกผิดที่ได้รับเงินจากเงินบำนาญ

โดยไม่ได้ทำงานให้โดยตรง

คราวนี้เรามาอ่านบทความให้กำลังใจสำหรับผู้ที่เกษียณกับการ

เริ่มต้นชีวิตใหม่ ๆ หลังเกษียณกันค่ะ

๑. As long as I am breathing, in my eyes, I am just

beginning. - Criss Jami

• ตราบใดที่ฉันยังคงหายใจ ในสายตาของฉันยังคงบอกว่านั่น

เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น

๒. Be willing to be a beginner every single morning.

– Meister Eckhart

• จงเป็นผู้ที่เริ่มต้นใหม่ในทุก ๆ เช้า

๓. Beginnings could happen more than once or in

different ways. – Rachel Joyce

• การเริ่มต้นเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งครั้งและหลากหลายทาง

ท้ายนี้ขอฝากวารสารหลักเมืองให้ข้าราชการบำนาญติดตาม

และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้มุมมอง แนวคิด ประสบการณ์อันล้ำค่า

กับอาจารย์วันดีได้ที่ไลน์ ๐๙ ๒๙๔๙ ๒๓๕๑ ขอบพระคุณค่ะ

ที่มาของภาพ : เกษียณ1 https:www.manarom.com, เกษียณ3 https:twitter.

com, เกษียณ2 https:www.manarom.com

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

55


เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบเอฟ-๑๖ เอดีเอฟ (F-16ADF) กองทัพอากาศไทย ปลายปีกติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9)

กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ประจำการเครื่องบินขับไล่

เอฟ-๑๖ซี/ดี(F-16C/D Blk-52) รวม ๑๘ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๔๒

จัดหาเพิ่มเติมอีก ๓ ครั้ง รวม ๖๒ เครื่อง ฝูงบินที่ ๑๔๐ ฝูงบินที่ ๑๔๓

และฝูงบิน ๑๔๕ ติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้แบบเอไอเอ็ม-๙ไซไวเดอร์

(AIM-9J/P Sidewinder) ประจำการรวม ๔๐๐ ลูก เอฟ-๑๖ซี/ดี

(F-16C/D Blk-52) ประจำการระยะเวลานาน มีโครงการปรับปรุงใหม่

รวม ๖๐ เครื่อง ประกอบด้วย เอฟ-๑๖ซี (F-16C) รวม ๒๐ เครื่อง

และเอฟ-๑๖ดี (F-16D) รวม ๔๐ เครื่อง เป็นเงิน ๒.๔๓ พันล้าน

เหรียญสหรัฐ ปี พ.ศ.๒๕๕๗ เริ่มต้นปรับปรุงปีพ.ศ.๒๕๕๙ ระยะเวลา

ประมาณ ๕ - ๖ ปี ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย จัดหาจรวดนำวิถีเอไอ

เอ็ม-๙เอ็กซ์-๒ (AIM-9X-2 Sidewinder) รวม ๓๐ ลูก เป็นเงิน

๔๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘ นอกจากนี้

ประจำการเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลเอฟ-๑๕เอสจี (F-15SG)

รวม ๒ ฝูงบิน ประกอบด้วย ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๔๒ รวม ๒๐ เครื่อง

และฝูงบินขับไล่ที่ ๑๔๙ รวม ๒๐ เครื่อง ติดตั้งด้วยจรวดนำวิถี

พิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9 Sidewinder)

จัดหาจรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-๙ เอ็กซ์-๒ (AIM-9X-2Sidewinder)

56

แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน

จรวดนำวิถีพิสัยใกล้

อากาศ-สู่-อากาศ เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9)

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

เพิ่มเติมรวม ๒๐ ลูก เป็นเงิน ๓๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ปี พ.ศ.๒๕๕๖

จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9

Sidewinder) ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำการปี พ.ศ.

๒๔๙๙ ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศ กองบินทหารเรือ และ

กองบินนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา จรวดนำวิถีพิสัยใกล้แบบเอไอเอ็ม-๙

(AIM-9) นำออกปฏิบัติการทางอากาศหลายสมรภูมิทั่วโลกที่สำคัญ

คือสงครามทางอากาศเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ยิงจรวดนำวิถีแบบ

เอไอเอ็ม-๙ รวม ๔๕๒ ลูก ประกอบด้วย กองทัพอากาศ (F-4C/D/E

เครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลแบบเอฟ-๑๖ดี (F-16D) กองทัพอากาศสิงคโปร์ ติดตั้งจรวดน ำวิถี

พิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9 Sidewinder) ที่ปลายปีกทั้งสองด้าน

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินขับไล่เอฟ/เอ-๑๘ดี (F/A-18D Hornet) กองทัพอากาศมาเลเซีย ฝูงบันขับไล่ที่ ๑๘ ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) ปลายปีกติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้เอไอเอ็ม-๙

(AIM-9 Sidewinder)

และ F-105D) ยิงเครื่องบินขับไล่เวียดนามเหนือตก รวม ๓๔ เครื่อง

(MiG-17/MiG-19/MiG-21) และกองบินนาวี กองทัพเรือ

(F-8E/C/H และ F-4B/J) ยิงเครื่องบินขับไล่เวียดนามเหนือตก รวม

๔๖ เครื่อง (MiG-17/MiG-19/MiG-21) จรวดนำวิถีแบบเอไอเอ็ม-

๙แอล (AIM-9L) ข้อมูลที่สำคัญคือ น้ำหนัก ๘๖ กิโลกรัม หัวรบหนัก

๙.๔ กิโลกรัม ยาว ๒.๘๙ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒๗ มิลลิเมตร

ช่วงปีก ๒๗๙.๔ มิลลิเมตร ความเร็ว ๒.๕ มัค นำวิถีด้วยอินฟราเรด

ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็ง และระยะยิง ๑ - ๓๕.๔ กิโลเมตร

จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9

Sidewinder) ผลิตออกมาเป็นรุ่นหลักรวม ๑๓ รุ่น คือรุ่นเอไอเอ็ม-

๙เอ (AIM-9A) ประจำการปี พ.ศ.๒๔๙๙ กองบินทหารเรือ รุ่นเอไอ

เอ็ม-๙บี(AIM-9B) กองทัพอากาศ นำออกปฏิบัติการทางทหารปีพ.ศ.

๒๕๐๑ ผลิตกว่า ๘๐,๐๐๐ ลูก รุ่นเอไอเอ็ม-๙ซี (AIM-9C) กองบิน

ทหารเรือ ผลิต ๑,๐๐๐ ลูก รุ่นเอไอเอ็ม-๙ดี (AIM-9D) กองบินทหารเรือ

ผลิต ๑,๐๐๐ ลูก รุ่นเอไอเอ็ม-๙อี (AIM-9E) กองทัพอากาศ

ประจำการปี พ.ศ.๒๕๑๐ ผลิต ๕,๐๐๐ ลูก นำออกปฏิบัติการทาง

ทหารสงครามเวียดนาม รุ่นเอไอเอ็ม-๙จี (AIM-9G) กองบินทหารเรือ

ประจำการปี พ.ศ.๒๕๑๓ ปฏิบัติการทางทหารในสงครามเวียดนาม

รุ่นเอไอเอ็ม-๙เอช (AIM-9H) กองบินทหารเรือ ประจำการปี พ.ศ.

๒๕๑๕ รุ่นเอไอเอ็ม-๙เจ (AIM-9J) กองทัพอากาศ รุ่นเอไอเอ็ม-๙แอล

(AIM-9L) ปี พ.ศ.๒๕๒๐ รุ่นเอไอเอ็ม-๙เอ็ม (AIM-9M) ผลิตปี พ.ศ.

๒๕๒๖ รุ่นเอไอเอ็ม-๙พี (AIM-9P) กองทัพอากาศ และผลิตเพื่อการ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

ส่งออก รุ่นเอไอเอ็ม-๙อาร์ (AIM-9R) กองบินทหารเรือ และรุ่นเอไอ

เอ็ม-๙เอ็กซ์ (AIM-9X) ประจำการกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เดือน

พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖ ผลิตขึ้น ๑๕,๗๕๐ ลูก (กองทัพสหรัฐอเมริกา

จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ

แบบเอไอเอ็ม-๙แอล (AIM-9L Sidewinder)

ยาว ๒.๘๙ เมตร (รุ่น AIM-9B ยาว

๒.๘๒ เมตร) และน้ำหนัก ๘๖ กิโลกรัม

(รุ่น AIM-9B หนัก ๗๐.๓๙ กิโลกรัม)

จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ แบบเอไอเอ็ม-๙เอ็กซ์ (AIM-9X Sidewinder) ปี

พ.ศ. ๒๕๔๖ ผลิตขึ้น ๑๕,๗๕๐ ลูก (กองทัพสหรัฐอเมริกา ๑๐,๐๘๐ ลูก) ติดตั้งกับเครื่องบิน

ขับไล่แบบเอฟ-๑๖ซี/ดี (F-16C/D Blk-50/52 เอฟ-๑๕ซี/ดี/อี/เอสจี (F-15C/D/E/SG)

เอฟ/เอ-๑๘เอ/บี/ซี/ดี/อี/เอฟ (F/A-18A/B/C/D/E/F) และเอฟ-๒๒เอ (F-22A)

57


เครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๖ ดี (F-16D) ชนิดสองที่นั่ง กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU)

ขณะทำการบิน (วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒)

๑๐,๐๘๐ ลูก ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ซี/ดี (F-16C/D Blk-

50/52) เอฟ-๑๕ซี/ดี/อี/เอสจี (F-15C/D/E/SG) เอฟ/เอ-๑๘เอ/บี/

ซี/ดี/อี/เอฟ (F/A-18A/B/C/D/E/F) และเอฟ-๒๒เอ (F-22A) และรุ่น

เอไอเอ็ม-๙เอ็กซ์-๒ (AIM-9X-2) เป็นรุ่นย่อย ปี พ.ศ.๒๕๕๓ ผลิตรวม

๒,๓๗๕ ลูก ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ซี/ดี (F-16C/D Blk-

50/52) เอฟ-๑๕เอสจี (F-15SG) เอฟ/เอ-๑๘เอ/บี/อี/เอฟ (F/A-

18A/B/E/F) และเอฟ-๓๕เอ/บี/ซี (F-35A/B/C)

จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่-อากาศ เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9

Sidewinder) มิตรประเทศสหรัฐอเมริกานำเข้าประจำการ ๔๖

ประเทศ กลุ่มประเทศเอเชียนำเข้าประจำการ ๒๐ ประเทศ (อาเซียน

ประจำการ ๕ ประเทศ ประกอบด้วย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์

อินโดนีเซีย และไทย)

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) ประจำการด้วยเครื่องบิน

ขับไล่แบบเอฟ-๑๖ (F-16C/D Blk-52ID) ได้รับการช่วยเหลือจาก

สหรัฐอเมริกา เป็นเครื่องบินมือสอง เอฟ-๑๖ซี/ดี บล็อค ๒๕

(F-16C/D Blk 25) รวม ๒๔ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๓๓ จะต้องซ่อมขั้นโรงงาน

(ขั้นห้า) จึงนำเข้าประจำการใหม่ เป็นเงิน ๗๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ

ประจำการปี พ.ศ.๒๕๖๑ รวม ๒ ฝูงบิน ประกอบด้วย ฝูงบินขับไล่

ที่ ๓ และฝูงบินขับไล่ที่ ๑๖ พร้อมด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่นชนิดสอง

ที่นั่งแบบที-๕๐ไอ (T-50i) รวม ๑๖ เครื่อง ประจำการชุดแรกปี พ.ศ.

๒๕๕๗ ฝูงบินที่ ๑๒ ติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่อากาศ

เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9J/P) ประจำการรวม ๑๗๕ ลูก ต่อมาจัดหา

จรวดนำวิถีเพิ่มเติมแบบเอไอเอ็ม-๙เอ็กซ์-๒ (AIM-9X-2) รวม ๓ ลูก

เป็นเงิน ๔๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘

กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่

โจมตีเอฟ/เอ-๑๘ดี (F/A-18D Hornet) รวม ๘ เครื่อง ฝูงบินขับไล่

ที่ ๑๘ ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) ด้านทิศตะวันตก

ของประเทศ ติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้ อากาศ-สู่อากาศ เอไอเอ็ม-๙

(AIM-9) ประจำการรวม ๒๑๐ ลูก (รุ่นเอไอเอ็ม-๙เอ็กซ์-๒

รวม ๒๐ ลูก เป็นเงิน ๕๒ ล้านเหรียญสหรัฐ)

กองทัพอากาศไทย (RTAF) ประจำการเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖

(F-16) ประกอบด้วย เอฟ-๑๖ เอดีเอฟ (F-16ADF) ฝูงบินขับไล่

ที่ ๑๐๒ (ต่อมาได้โอนประจำฝูงบินที่ ๑๐๓) เอฟ-๑๖เอ/บี (F-16A/B

Blk-15 OCU) ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๐๓ เอฟ-๑๖เอเอ็ม/บีเอ็ม (F-16AM/

BM เทียบเท่า F-16C/D Blk-50/52 ปี พ.ศ.๒๕๕๔ - ๒๕๖๐ ดำเนินการ

เป็น ๓ เฟส) ฝูงบินขับไล่ที่ ๔๐๓ และเครื่องขับไล่แบบกริเพ่น

(Gripen JAS-39C/D) ฝูงบินขับไล่ที่ ๗๐๑ พร้อมด้วยเครื่องบินขับไล่

เอฟ-๕ (F-5 Super Tigris) ฝูงบินขับไล่ที่ ๒๑๑ และเครื่องบินฝึก

ไอพ่นที-๕๐ (T-50) ฝูงบินที่๔๐๑ ติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้อากาศ-

สู่อากาศ แบบเอไอเอ็ม-๙ (AIM-9) รุ่นอี (AIM-9E) รุ่นเจ (AIM-9J)

และรุ่นพี (AIM-9P)

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF) ประจำการด้วยเครื่องบินฝึก

แบบเอฟเอ-๕๐พีเอช (FA-50PH) รวม ๒ เครื่อง ประจำการชุดแรก

เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐ ฝูงบินที่ ๗ ฐานทัพอากาศบาเซ (Base

Air Base) อยู่ที่จังหวัดปัมพันกา (Pampanga) ตอนกลางของเกาะ

ลูซอน ติดตั้งจรวดนำวิถีพิสัยใกล้อากาศ-สู่-อากาศแบบ เอไอเอ็ม-๙แอล

(AIM-9L)

เครื่องบินฝึกไอพ่นแบบเอฟเอ-๕๐ พีเอช (FA-50PH) กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ปลายปีก

ติดตั้งจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานเอไอเอ็ม-๙แอล (AIM-9L)

58

บรรณานุกรม

๑. https://en.wikipedia.org/wiki/AIM-9_Sidewinder

๒. https://en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_Air_Force

๓. https://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Malaysian_Air_Force

๔. https://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Thai_Air_Force

๕. https://en.wikipedia.org/wiki/Republic_of_Singapore_Air_Force

๖. https://en.wikipedia.org/wiki/Philippine_Air_Force

๗. https://en.wikipedia.org/wiki/Vietnam_War

๘. https://en.wikipedia.org/wiki/KAI_T-50_Golden_Eagle

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


การจัดงานนิทรรศการ

อุปกรณ์ป้องกันประเทศ

(Defense & Security 2022)

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต

รองผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ารจัดงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศหรือดีเฟนส์ แอนด์

ชิคิวริตี้ เป็นการจัดแสดงยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทางด้าน

ความมั่นคง ผลสำเร็จจากการจัดงานในครั้งที่ผ่าน ๆ มาเป็นที่

ยอมรับว่างาน ดีเฟนส์ แอนด์ ซิคิวริตี้ เป็นงานที่มีความสำคัญใน

ระดับภูมิภาคเอเชีย เป็นนิทรรศการทางทหารที่นำอาวุธยุทโธปกรณ์

และเทคโนโลยีด้านความมั่นคงที่ทันสมัยจากนานาประเทศ มาจัด

แสดงโดยครอบคลุมในมิติต่าง ๆ อย่างครบถ้วน รวมถึงผู้ผลิต

ผู้ประกอบการจากประเทศต่าง ๆ ได้นำอาวุธยุทโธปกรณ์และ

ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความมั่นคง ปลอดภัย และการบรรเทา

สาธารณภัยมาร่วมจัดการแสดงในงานนี้ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์

ต่อกองทัพไทยและนานาประเทศในภาพรวม

โดยในพิธีเปิด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงาน

นิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ (Defense & Security 2022)

ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม ถึง ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ที่อาคาร

ชาเลนเจอร์ ๑ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค

เมืองทองธานี โดยมี พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงกลาโหม พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๕

59


พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ และคณะ

นายทหารระดับสูง พร้อมด้วยแขกผู้ทรงเกียรติจากนานาชาติ

เข้าร่วมงาน

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่เป็นประธานในพิธีเปิด พลเอก ประยุทธ์ฯ

ได้เดินเยี่ยมชมงานจัดแสดงเทคโนโลยีอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่

ที่ทันสมัย เพื่อใช้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและความมั่นคง โดย

เฉพาะงานวิจัยและพัฒนาในหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหม และ

60

ภาคเอกชนของประเทศไทย ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ฯ

ได้ชื่นชมภาคเอกชนไทยถึงพัฒนาการ

และขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศ พร้อมย้ำว่ากระทรวง

กลาโหมและรัฐบาล พร้อมสนับสนุนเสริม

ความแข็งแกร่งของภาคเอกชนภายใน

ประเทศ ให้พร้อมเป็นฐานการผลิตอาวุธ

ยุทโธปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคง

ปลอดภัยและการบรรเทาสาธารณภัยให้

กองทัพและประเทศในภูมิภาค

สำหรับงานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกัน

ประเทศ (Defense & Security 2022) ครั้งนี้

นับเป็นการจัดงานครั้งที่ ๑๐ โดยมี กระทรวง

กลาโหม เป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดงาน

และได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ

ด้านยุทโธปกรณ์ชั้นนำจากหลายประเทศทั่วโลก ได้นำยุทโธปกรณ์

และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาร่วมแสดง โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด

“พลังแห่งความร่วมมือ” อันจะทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความ

ร่วมมือ การสร้างเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ซึ่งจะ

ก่อให้เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์ทั้งในระดับองค์กรและ

ระดับบุคคลที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้การจัดงานในครั้งนี้ยังได้รับการ

ตอบรับอย่างดียิ่ง โดยได้รับเกียรติจากคณะบุคคลสำคัญจาก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ เอกอัครราชทูต

ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ตลอดจนผู้ผลิต ผู้ประกอบการจากประเทศ

ต่าง ๆ ที่ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมแสดงผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้

นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดให้มีการสัมมนานานาชาติ

(International Seminar) เรื่อง “ทิศทาง และแนวทางขับเคลื่อน

การส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในอนาคต” โดยมี

พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะ

ประธานกรรมการอำนวยการประสานงานการจัดนิทรรศการ

อุปกรณ์ป้องกันประเทศ (Defense & Security 2022) เป็นประธาน

ในการจัดการสัมมนาดังกล่าว รวมถึงการสัมมนาในหัวข้อ

“การพัฒนาอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงของประเทศไทยให้เป็น

ศูนย์กลางอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงแห่งอาเซียน” และการจัดการ

บรรยายทางวิชาการ โดยผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ

ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

กล่าวได้ว่าการจัดนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ

(Defense & Security 2022) ในครั้งนี้ สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือ

เป็นอย่างดีจากผู้ผลิตและผู้ประกอบการจากประเทศต่าง ๆ ทำให้

งานนี้เป็นงานนิทรรศการทางทหารและความมั่นคงที่ประสบ

ความสำเร็จในระดับภูมิภาคและเกิดประโยชน์ต่อกองทัพไทย

และนานาประเทศในภาพรวม

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต


Activities

พลเอก ประยุุทธ์์ จัันทร์โอชา รัฐมนตรีว่่าการกระทรว่งกลาโหม เป็นประธ์านเปิดงาน Defense & Security 2022 การจััดการ

แสดงเทคโนโลยีีด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เทคโนโลยีีเพ่อคว่ามมันคง และการรักษาคว่ามปลอดภััยุ ซึ่่งมีบริษัทต่าง ๆ จัาก

ต่างประเทศร่ว่มแสดงผลงานวิิจััยุและผลิตภััณฑ์์ โดยุได้เยุียุมชมการจััดแสดงเทคโนโลยีี งานวิิจััยุและพัฒนาในหน่ว่ยุงานสังกัดกระทรว่ง

กลาโหม และเยุียุมชมเทคโนโลยีีผลิตภััณฑ์์ด้านคว่ามมันคง ปลอดภััยุและการบรรเทาสาธ์ารณภััยุทีผลิตของภัาครัฐ ภัาคเอกชน

ในประเทศและต่างประเทศ โดยม ี พลเอก ชัยุชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่ว่ยุว่่าการกระทรว่งกลาโหม พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์

ปลัดกระทรว่งกลาโหม และนายุทหารชันผ้้ใหญ่ของสำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ร่ว่มคณะ ณ ศ้นย์์แสดงสินค้าอิมแพค เม่องทองธ์านี

เม่อ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕

หลัักเมืือง กันยายน ๒๕๖๕

61


Activities

พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรว่งกลาโหม

เป็นประธ์านในพิธีีเปิดสัมมนานานาชาติพิเศษ ทิศทางและแนว่ทาง

ขับเคล่อนการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยุ

ในอนาคต โดยม ี รองปลัดกระทรว่งกลาโหม และนายุทหาร

ชันผ้ใหญ่ของสำน ักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ร่ว่มพิธีี ณ ห้อง

จั้ปิเตอร์ ๑๒ – ๑๓ อาคารชาเลนเจัอร์ เม่องทองธ์านี เม่อ

๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕

พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรว่งกลาโหม

เป็นประธ์านในพิธีีทำบุุญวัันคล้ายุว่ันสถาปนา ศ้นย์์พัฒนาปิโตรเลียุม

ภัาคเหน่อ กรมการพลังงานทหาร ศ้นย์์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร ครบรอบปีที ๖๖ และมอบทุนให้แก่

นักเรียุนและเด็กทีมีคว่ามต้องการพิเศษ โดยมีี รองปลัดกระทรว่ง

กลาโหม และนายุทหารชันผ้ใหญ่ของสำน ักงานปลัดกระทรว่ง

กลาโหม ร่ว่มคณะ ณ ศ้นย์์พัฒนาปิโตรเลียุมภัาคเหน่อ กรมการ

พลังงานทหาร ศ้นย์์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ

พลังงานทหาร เม่อ ๗ กันยุายุน ๒๕๖๕

62


พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรว่งกลาโหม พร้อมด้ว่ยุ พันตำารว่จัเอกหญิง อังศุว่รรณ รัตนานนท์ นายุกสมาคม

ภริิยุาข้าราชการสำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ได้นำาคณะนายุทหารชันผ้้ใหญ่พร้อมภริิยุา บันท่กเทปโทรทัศน์อาเศียุรว่าท

ถว่ายุพระพรชัยุมงคล เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี

พันปีหลว่ง ๙๐ พรรษา ณ สถานีวิิทยุุโทรทัศน์กองทัพบก เม่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

หลัักเมืือง กันยายน ๒๕๖๕

63


พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรว่งกลาโหม และ พันตำารว่จัเอกหญิง อังศุว่รรณ รัตนานนท์ นายุกสมาคมภริิยุาข้าราชการ

สำนัักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ร่ว่มพิธีีทำบุุญตักบาตรถว่ายุพระราชกุศล ณ ท้องสนามหลว่ง จัากนั นได้นำาคณะนายุทหารชันผ้ใหญ่

พร้อมภริิยุาเข้าท้ลเกล้าถว่ายุแจกัันดอกไม้ พร้อมทังลงนามถว่ายุพระพร เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ

พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลว่ง ๙๐ พรรษา ณ ศาลาสหทัยุสมาคม ในพระบรมมหาราชวััง เม่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕

พลเอก ว่รเกียุรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรว่งกลาโหม และ พันตำารว่จัเอกหญิง อังศุว่รรณ รัตนานนท์ นายุกสมาคมภริิยุาข้าราชการ

สำน ักงานปลัดกระทรว่งกลาโหม ได้รับมอบเคร่องหมายุคว่ามสามารถในการบิน ชันกิตติมศักดิ ของกองทัพอากาศ จัาก

พลอากาศเอก นภัาเดช ธููปะเตมีย์์ ผ้บ ัญชาการทหารอากาศ ณ ห้องสุรศักดิมนตรี ในศาลาว่่าการกลาโหม เม่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

64


ศูนย์กีฬา

สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน)

เปิดบริการ

- วันอังคาร - – วันศุกร์ – ตั้งแต่เวลา ๑๕๐๐ ๑๕๐๐ – ๒๐๐๐ – ๒๐๐๐

- วันพุธ - วันพุธ ตั้งแต่เวลา ๑๓๐๐ ๑๓๐๐ – ๒๐๐๐ – ๒๐๐๐

- วันเสาร์ - – อาทิตย์ – และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๑๐๐๐ ๑๐๐๐ – ๒๐๐๐ – ๒๐๐๐

(เฉพาะแบดมินตัน และสนุ๊กเกอร์ เปิดให้บริการถึงเวลา ๒๑๐๐)

*** *** (หยุดให้บริการในวันจันทร์)

อัตราค่าบริการ

อัตราค่าบริการ

ลาดับ ลาดับ ชนิดกีฬา

ข้าราชการ

และครอบครัว

บุคคลทั่วไป หมายเหตุ

๑ ๑ ว่ายน้า ว่ายน้า คนละ คนละ ๒๐ ๒๐ บาท บาท คนละ คนละ ๖๐ ๖๐ บาท บาท

๒ ๒ เทเบิลเทนนิส ๒๐ ๒๐ บาท/ชม./โต๊ะ ๖๐ ๖๐ บาท/ชม./โต๊ะ ๔ โต๊ะ ๔ โต๊ะ

๓ ๓ แบดมินตัน ๕๐ ๕๐ บาท/ชม./สนาม ๑๕๐ ๑๕๐ บาท/ชม./สนาม ๖ สนาม ๖ สนาม

๔ ๔ ฟุตซอล ฟุตซอล ๑๐๐ ๑๐๐ บาท/ชม. ๖๐๐ ๖๐๐ บาท/ชม.

๕ ๕ สวอคช สวอคช ๕๐ ๕๐ บาท/ชม./คน ๑๐๐ ๑๐๐ บาท/ชม./คน ๒ ห้อง ๒ ห้อง

๖ ๖ บาสเกตบอล ไม่คิดค่าบริการ ๕๐๐ ๕๐๐ บาท/ชม.

๗ ๗ กอล์ฟซิมมูเลเตอร์ ๒๐๐ ๒๐๐ บาท/ชม. ๓๐๐ ๓๐๐ บาท/ชม. ๒ ห้อง ๒ ห้อง

๘ ๘ พัตต์กอล์ฟ ไม่คิดค่าบริการ ๑๐๐ ๑๐๐ บาท/ชม./คน

๙ ๙ ห้องออกกาลังกาย ห้องออกกาลังกาย ไม่คิดค่าบริการ คนละ คนละ ๖๐ ๖๐ บาท บาท

หมายเหตุ ข้าราชการและครอบครัวกรุณาแสดงบัตรประจาข้าราชการ

ข้าราชการและครอบครัวกรุณาแสดงบัตรประจาข้าราชการ

อาคารอเนกประสงค์ สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (พื้นที่ศรีสมาน) หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๐๒ ๕๖๐๐ ๕๖๐๐ ๕๔๘๑ ๕๔๘๑


Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!