30.09.2022 Views

E-Book หลักเมือง กันยายน 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ศู

นย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศพปน.

พท.ศอพท.) เป็นส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ตั้งอยู่ที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

มีภารกิจหลักในการสำรวจ ขุดเจาะ ผลิต และกลั่นปิโตรเลียม

นอกจากนี้ยังมีการวิจัยและพัฒนาการผลิตปิโตรเลียม รวมถึง

ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ให้เป็นไปตามนโยบายของทางราชการ เพื่อ

สนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้กรอบแนวทางที่กระทรวง

กลาโหมกำหนด โดยกำหนดงานด้านการปิโตรเลียมบนบกมาประมาณ

เวลา ๖๕ ปี ครอบคลุมพื้นที่ ๗ ลุ่มแอ่ง ได้แก่ ลุ่มแอ่งเชียงราย ลุ่มแอ่ง

เชียงใหม่ลุ่มแอ่งลำพูน ลุ่มแอ่งลำปาง ลุ่มแอ่งแพร่ลุ่มแอ่งพาน-พะเยา

และลุ่มแอ่งฝาง โดยมีพื้นที่ประมาณ ๒๙,๙๖๐ ตารางกิโลเมตร

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ

กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ

พลังงานทหาร ได้ทดลอง คิดค้น ค้นคว้า วิจัย ปรับปรุง และพัฒนา

ขีดความสามารถด้านปิโตรเลียม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนและ

ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหารสามารถ

พึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้ โดยให้ความสำคัญกับการสำรวจค้นหา

แหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองน้ำมัน

เชื้อเพลิง ในกระทรวงกลาโหม รวมทั้งแสวงหากระบวนการผลิตน้ำมันดิบ

ซึ่งแต่เดิมจะทำการผลิตน้ำมันดิบในขั้นปฐมภูมิ(Primary Recovery)

เป็นหลัก มาเป็นการผลิตน้ำมันในขั้นทุติยภูมิ(Secondary Recovery)

และขั้นตติยภูมิ (Tertiary Recovery) เพื่อเพิ่มแรงดันและกวาด

น้ำมันดิบที่หลงเหลืออยู่ภายในชั้นหินกักเก็บเข้าสู่หลุมผลิตได้การผลิต

น้ำมันโดยใช้จุลินทรีย์(Microbial Enhanced Oil Recovery, MEOR)

32

๑๒ กันยายน ๒๕๖๕

๖๖ ปี ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

พลตรี ประจวบ จันต๊ะมี

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ

กรมการพลังงานทหารฯ

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหารฯ

เพื่อทำให้โมเลกุลของของน้ำมันมีขนาดเล็กลง ลดความหนืด และลด

แรงตึงผิวของน้ำมันในชั้นหินกักเก็บ ให้สามารถนำน้ำมันที่ติดค้างขึ้น

มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ปัจจุบันนอกจากการผลิตในขั้นปฐมภูมิแล้ว

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือฯ ได้ดำเนินการผลิตน้ำมันขั้นทุติยภูมิ

“โครงการอัดน้ำแรงดันสูง หรือ Waterflood” ในแหล่งผลิตน้ำมัน

แม่สูน ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตน้ำมันหลักของลุ่มแอ่งฝางที่ผลการดำเนินการ

พบว่ามีอัตราการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย และดำเนินการผลิต

น้ำมันขั้นตติยภูมิโดยใช้เทคนิคการอัดสารอาหารให้จุลินทรีย์(MEOR)

ในแหล่งผลิตน้ำมันแม่สูน และแหล่งผลิตน้ำมันโป่งทรายคำ ส่งผล

ให้หลุมที่ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้แล้ว หรือได้ในอัตราที่ต่ำมาก

กลับสามารถผลิตน้ำมันดิบได้อีกครั้ง

ตลอดระยะกว่า ๖๖ ปีที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียม

ภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร ได้มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ทั้งด้านบุคลากร

การพัฒนาองค์ความรู้ และประสบการณ์ ตลอดจนมีการนำวิทยาการ

และเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน

องค์กร ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อการ

เปลี่ยนแปลงของยุคสมัย รวมถึงตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนา

ประเทศและระบบราชการ และดำเนินงานตามมาตรการป้องกัน

โรค COVID-19 ของทางราชการอย่างเคร่งครัด ภายใต้การบังคับ

บัญชาของ พลตรี ประจวบ จันต๊ะมี ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนา

ปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เพื่อให้บรรลุภารกิจ เป้าหมาย และ

วัตถุประสงค์ของทางราชการ และดำรงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของ

ประเทศชาติตลอดไป สมดังเจตนารมณ์ของหน่วยที่ว่า

“พลังงานทหาร พลังการทัพไทย”

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหารฯ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!