04.04.2022 Views

หลักเมืองมีนาคม 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำนักงำนปลัดกระทรวงกลำโหม

หน่วยงำนนโยบำยและยุทธศำสตร์ควำมมั่นคง

วี-๙๓ เอส

เครื่องบินที่เก่าแก่ที่สุด

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ปีที่ ๓๑ ฉบับที ่ ๓๗๒ หลักเมือง มีนำคม ๒๕๖๕

www.lakmuangonline.com


ตราจักร สมอ ปีก ปีก สอดเรียงกันภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ

สัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม

พระมหาพิชัยมงกุฎ

พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์

กงจักร

กองทัพบกและทหารบก

สมอ สมอ

ภาพศาลาว่าการกลาโหม

กองทัพเรือและทหารเรือ

อาคารที่ทาการใหญ่ของกระทรวงกลาโหม

อาคารที่ทาการใหญ่ของกระทรวงกลาโหม

ปีกนก ปีกนก

หรือศูนย์รวมของทหารทุกเหล่าทัพ

กองทัพอากาศและทหารอากาศ

ซึ่งเป็นอาคารพระราชทานของพระบาท

สัญลักษณ์ในภาพรวม

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การสอดประสานของทุกกองทัพหรือเหล่าทัพ

ที่ทางานหรือปฏิบัติภารกิจร่วมกัน

ที่ทางานหรือปฏิบัติภารกิจร่วมกัน

อย่างบูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน

ภายใต้พระบรมเดชานุภาพแห่งองค์

พระมหากษัตริย์

ในพระราชสถานะ จอมทัพไทย

๘ ๘ เมษายน

วันสถาปนากรมยุทธนาธิการ

ตามประกาศ

พระบรมราชโองการ ที่ชื่อว่า ที่ชื่อว่า

ประกาศจัดการทหาร

ช่อชัยพฤกษ์

เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๘ เมษายน ๒๔๓๐ ๒๔๓๐

ความสง่างาม ชัยชนะ ชัยชนะ

และความเจริญรุ่งเรือง

รวงข้าว

ความงอกงามและอุดม

สมบูรณ์และพรั่งพร้อม

ของกาลังพล ของกาลังพล

๑๓๕ ๑๓๕ ปี ปี

วันครบรอบการสถาปนากระทรวงกลาโหม

นับแต่ปี นับแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๐ จนถึงปัจจุบัน

ผ้าแพร

การประกาศหรือการนามาซึ่ง

การประกาศหรือการนามาซึ่ง

เกียรติภูมิ เกียรติคุณ

เกียรติศักดิ์ศรีของกระทรวง

กลาโหมและทหารหาญ

พื้นสีม่วงคราม

สีประจากระทรวงกลาโหม สีประจากระทรวงกลาโหม ซึ่งมีการบันทึกไว้ว่า

สีม่วงคราม หรือสีลูกหว้า

กลาโหมเทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง

คาขวัญที่สะท้อนให้เห็นถึงปณิธานอันแรงกล้า

คาขวัญที่สะท้อนให้เห็นถึงปณิธานอันแรงกล้า

ของกระทรวงกลาโหม


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor Consultants

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์

พล.อ.อู้ด เบื้องบน

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล

พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล

พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์

พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ

ที่ปรึกษา

พล.อ.วรเกียรติ รัตนานนท์

พล.อ.อ.สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร

พล.ร.อ.มนัสวี บูรณพงศ์ ร.น.

พล.อ.สราวุธ รัชตะนาวิน

พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์

พล.อ.นุชิต ศรีบุญส่ง

พล.อ.จิรวิทย์ เดชจรัสศรี

พล.อ.อดินันท์ ไชยฤกษ์

พล.อ.ไพบูลย์ วรวรรณปรีชา

พล.อ.ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์

พล.ท.กัมปนาท บัวชุม

พล.ท.สุรศักดิ์ วรรณสมบูรณ์

พล.ท.เจษฎา เปรมนิรันดร

พล.ท.เริงฤทธิ์ บัญญัติ

พล.ท.เดชนิธิศ เหลืองงามขำา

พล.ท.สมเกียรติ สัมพันธ์

พล.ท.ภัทรพล ภัทรพัลลภ

พล.ท.ร่มเกล้า ปั้นดี

พล.ท.คมสัน ศรียานนท์

พล.ท.จิรศักดิ์ ไกรทุกข์ร้าง

พล.ท.ณัฐพล เกิดชูชื่น

พล.ต.ปพน ไชยเศรษฐ

พล.ต.พจน์ เอมพันธุ์

พล.ต.ประจวบ จันต๊ะมี

พล.ต.กานต์นาท นิกรยานนท์

พล.ต.หญิง อิษฎา ศิริมนตรี

ผู้อำนวยการ

พล.ต.พัฒนชัย จินตกานนท์

รองผู้อำนวยการ

พ.อ.ชัยวัฒน์ สว่างศรี

พ.อ.จิตนาถ ปุณโณทก

กองจัดการ

ผู้จัดการ

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ

พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์

พ.อ.สาโรจน์ ธีรเนตร

ประจำกองจัดการ

พ.อ.หญิง สิริณี จงอาสาชาติ

พ.ท.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์

เหรัญญิก

พ.อ.กณพ หงษ์วิไล

ฝ่ายกฎหมาย

พล.ต.นิติน ออรุ่งโรจน์

พิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช

กองบรรณาธิการ

บรรณาธิการ

น.อ.สูงศักดิ์ อัครปรีดี ร.น.

รองบรรณาธิการ

พ.อ.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม

น.อ.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

น.ท.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.

ประจำกองบรรณาธิการ

น.ท.หญิง ฉันทนี บุญปักษ์

พ.ท.หญิง ลลิดา กล้าหาญ

ร.ต.หญิง ภัทชญา นิตยสุทธิ์

พ.จ.อ.สุพจน์ นุตโร

จ.ท.หญิง ศุภรเพ็ญ สุพรรณ

กองบรรณาธิการ

กองผลิตสื่อ

สำานักงานเลขานุการ

สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ โทร.ทหาร ๕๒ ๕๒๐๑๐

สามารถส่งข้อมูลและแสดงความคิดเห็นต่างๆ

ได้ที่ Email: Printing.opsd@gmail.com

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor’s talk

สวัสดีท่านผู้อ่าน ขอนำทุกท่านผ่านลมหนาวเข้าสู่ไอร้อนของเดือนมีนาคม

เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาในรอบปีที่เราได้สัมผัสทั้งความร้อนแรงของมวลอากาศที่มี

ค่าอุณหภูมิเฉลี ่ยรายวันสูงถึง ๓๕ องศาเซลเซียส สลับกับพายุฤดูร้อนในห้วง

เวลาเย็น แน่นอนว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น มักจะมาพร้อมกับความร้อนแรงใน

เหตุบ้านการเมืองที่ทวีมากขึ้นตามอุณหภูมิ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเดือนนี้ เราได้เห็น

จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายวันที่สูงเกิน ๒๐,๐๐๐ ราย จากรายงานของ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจำนวนตัวเลขผู้ป่วยยังไม่รวมถึงผู้ป่วย

ที่ตรวจ ATK แล้วไม่รายงานผล กลุ่มที่ไม่มีอาการ ไม่ยอมตรวจ ซึ่งมีนักวิชาการ

ประมาณการยอดจำนวนเต็มจากผู้ป่วยจริงทั่วประเทศว่าอาจสูงถึง ๕๐,๐๐๐ ราย

เลยทีเดียว ทว่ายังมีความคลายกังวลอยู่บ้าง เมื่อทราบว่า คนในประเทศ

ส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนไปแล้วประมาณร้อยละ ๗๐ ประกอบกับโควิดสายพันธุ์

โอไมครอนนั้นไม่รุนแรง จนอาจกลายเป็น “โรคประจำถิ่นในไม่ช้า” นอกเหนือ

จากความร้อนแรงของโควิด-19 ยังมีอีกความร้อนแรงที่ทั้งโลกจับตามอง

คือ สถานการณ์ความขัดแย้งของสหพันธรัฐรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลกระทบ

ต่อเศรษฐกิจโลก ถือได้ว่าเป็นความขัดแย้งทางระบอบการปกครองที่ทรงอิทธิพล

ทั้ง ๒ ระบอบ จนนำไปสู่การใช้กำลังทหารและยุทโธปกรณ์เต็มอัตรา

จากที่ไม่เคยปรากฏตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒

สำหรับวารสารหลักเมืองฉบับนี้ ประเดิมภาพหน้าปกด้วยเครื่องบิน

โจมตีแบบที่ ๑ (บ.จ.๑) หรือ V-93S หรือเครื่องบินแบบที่ ๒๓ เป็นเครื่องบิน

ที่มีความสำคัญต่อประวัติการบินของกองทัพอากาศที่ผลิตขึ้นมาใช้งานเอง

เป็นเครื่องบินแบบแรกที่ทำการสู้รบทางอากาศกับเครื่องบินข้าศึกในกรณีพิพาท

อินโดจีนไทย – ฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา ในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

ซึ่งผู้อ่านจะไม่ได้เห็นบ่อยๆ ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ขอเชิญได้ศึกษา

รายละเอียดภายในเล่มพร้อมกับเนื้อหาสาระต่างๆ อีกมากมาย

ส่งท้ายในเดือนมีนาคม ที่มีวันสำคัญของชาววารสารหลักเมืองคือ

วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ครบ ๓๓ ปี เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงหน่วยหนึ่ง

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุม

การผลิตวารสารหลักเมืองมาอย่างยาวนาน จึงขอนำแนวคิดของท่านผู้นำหน่วย

ท่านปัจจุบันที่เตือนกำลังพลให้ “มีสติ” และรอบคอบในการปฏิบัติภารกิจด้าน

การเลขานุการและการประชาสัมพันธ์ มิให้เพิ่มความร้อนระอุไปตามสภาพ

การณ์ทั่งปวง ด้วยบทกลอนสั้น ๆ ที่กล่าวถึง “ตน เตือน ตน” ก่อนจะพบกันใหม่

ในวารสารหลักเมืองฉบับพิเศษ เดือนเมษายนครับ

“ตนเตือนตน ให้พ้นผิด ตนเตือนจิตได้ ใครจะเหมือน

ตนเตือนตนไม่ได้ ใครจะเตือน ตนแชเชือน ใครจะเตือน ให้ป่วยการ”

๑๖

๑๙

๔ ๘

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชวิสัยทัศน์...วิวัฒน์การคมนาคม

เสริมสิริมงคล รอบเกาะรัตนโกสินทร์ (ตอนจบ)

“อิ่มบุญ สุขใจ ในยุค New Normal”

๑๐

๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ๓๓ ปี สำนักงานเลขานุการ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

๑๒

๘ เมษายน ๒๕๖๕

วันคล้ายวันสถาปนากรมการเงินกลาโหม

๑๓๕ ปี กรมการเงินกลาโหม

๑๔

กลับหลังหัน...กับพิพิธภัณฑ์กลาโหม

“ศาลากระโจมแตร ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

ในสมัยรัชกาลที่ ๖”

๑๖

กฎหมายเล่าเรื่อง

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตอนที่ ๔


๓๐

๓๘

๒๒

๔๔ ๓๖

๕๒

๑๙

“3 NEW : สิ่งที่คนไทยควรรู้

เพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จในชีวิต

ยุคหลังโควิด-19 ท่ามกลางการกำเนิดขึ้น

ของโลกใหม่บนดินแดนแห่ง METAVERSE”

๒๒

เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ประตูสู่การส่งเสริม

กิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

๒๖

เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๑ (บ.จ.๑)

Vought V-93S Corsair

๓๐

สมุดปกขาวของจีน เรื่อง

“ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” (ตอนที่ ๓)

๓๔

เงื่อนไขในแดนลับ

๔๘

๓๖

ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“ศูนย์สาธิตการเกษตรกรรม ตามหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่ายสุรนารี”

๓๘

ยุทธการเสือดำสมรภูมิเขาค้อ ตอนที่ ๒

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เขาค้อ

ถล่มด้วยปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ๕๗

(ปรส.๕๗)

๔๐

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

รับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศ

ในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง

ครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๓

๔๒

การส่งมอบยุทโธปกรณ์พิเศษผลงานวิจัย

ประจำปี ๒๕๖๕

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพัน

ต่อราชการแต่อย่างใด สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm

พิมพ์ที่ : บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำกัด ๔๕๗/๖-๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘

E-mail : thanaaroon19@gmail.com ออกแบบ : บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำกัด

๕๖

๔๔

ก้าวข้ามอดีตสู่อนาคต…ไทย-ซาอุดิอาระเบีย

๔๘

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

กับภารกิจการต่อต้านการก่อการร้าย

“Mission (not) Accomplished”

๕๒

สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“ปลดล็อค...กัญชาทางการแพทย์เสรี”

๕๔

บริษัทอีสต์-อินเดีย (East India Company)

อังกฤษและกองทัพ

๕๖

แนะนำอาวุธเพื่อนบ้าน เครื่องบินฝึกไอพ่น

สองที่นั่งแบบยัค-๑๓๐ (Yak-130 Mitten)

๕๙

ปริศนาอักษรไขว้

๖๐

ภาพกิจกรรม


พระบาทสมเด็จพระนั ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชวิสัยทัศน์...วิวัฒน์การคมนาคม

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

การเดินทัพและคมนาคมเพื่อการส่งกำลังบำรุงกองทัพในขณะนั้น

จำเป็นจะต้องยกพลไปตามคลองสำโรง ล่องน ้ำบางปะกงไปยัง

แขวงเมืองปราจีนบุรี จากนั้นเดินทัพทางบกเข้าเขมรที่พระตะบอง

นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทย

ได้มีการทำสงครามกับเวียดนาม ซึ่งเป็นสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน

ถึง ๑๔ ปี เรียกว่า “สงครามอานามสยามยุทธ” หรือ สงคราม

ระหว่างสยามกับอานามหรืออันนัม (เวียดนาม) โดยมีเหตุปัจจัย

มาจากการที่ญวนพยายามเข้าแทรกแซงกิจการภายในเขมรและลาว

ซึ่งในขณะนั้นทั้งสองประเทศต่างอยู่ภายใต้การปกครองของไทย

พระบาทสมเด็จพระนั ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพบก

และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือยกกองทัพ

ไปตีหัวเมืองเขมรและญวน โดยให้สมทบกันที่เมืองไซง่อน ทั้งนี้ เส้นทาง

4

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

เจ้าพระยาบดินทรเดชา

(สิงห์ สิงหเสนี)

พนมเปญและเดินทางสู่เวียดนาม เมื่อเป็นเช่นนี้การเดินทางทางน้ำ

โดยใช้คลองสำโรงจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก

ต้องใช้เส้นทางนี้เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำ

บางปะกง สำหรับใช้เป็นเส้นทางขนส่งยุทธปัจจัย เสบียงและลำเลียง

กำลังพลให้มีความสะดวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเดินทาง

โดยใช้คลองสำโรงนั้น ประสบปัญหาในเรื่องความไม่สะดวกเพราะ

ต้องล่องเรืออ้อมไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ

ที่เริ่มต้นเข้าสู่ปากคลองสำโรงที่พระประแดง (อำเภอพระประแดง)

ผ่านบ้านคลองทับนาง บ้านบางพลี (อำเภอบางพลีใหญ่) บ้านเศียร

จรเข้ใหญ่ (ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง) บ้านคลองหอมสิน

(ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ) ก่อนจะออกแม่น้ำบางปะกง

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


เจ้าพระยาพระคลัง

(ดิศ บุนนาค)

ที่ท่าสะอ้าน (ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา)

แล้วจึงขึ้นบกเพื่อเดินทางไปจังหวัดปราจีนบุรี

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง

สายใหม่คือ คลองแสนแสบต่อจากคลองมหานาค (ซึ่งเคยขุดใน

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จากเชิง

ภูเขาทองเชื่อมคลองรอบกรุง คลองบางกะปิและคลองหัวหมากไป

ยังคลองสามเสนช่วงปลายหรือคลองตัน) โดยขุดคลองเชื่อมต่อจาก

คลองตันผ่านทุ่งบางกะปิตัดเข้าแม่น้ำบางปะกง ผ่านไปยังปากน้ำ

โยทะกาซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำ

ปราจีนบุรี ที่เป็นเส้นทางเชื่อมเส้นทางระหว่างเมืองนครนายก เมือง

ฉะเชิงเทราและเมืองปราจีนบุรี ตามแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำ

บางปะกง ก่อนจะเข้าเมืองอรัญประเทศและประเทศเขมร ทั้งยัง

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี

(ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองดำเนินการขุดคลองอยู่ถึง ๓ ปีเศษ จึงขุด

คลองจนสำเร็จในปี พ.ศ.๒๓๘๓ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร

กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า

“...ครั้นมาถึงเดือน ๒ ขึ้น ๔ ค่ำ (ตรงกับวันเสาร์ที ่ ๓๐

ธันวาคม ๒๓๘๐) จึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยา

ศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี เป็นแม่กองจ้างจีนขุดคลอง ตั้งแต่

หัวหมากไปถึงบางขนาก เป็นทาง ๑,๓๓๗ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก

ลึก ๔ ศอก กว้าง ๖ ศอก ราคาเส้นละ ๗๐ บาท...”

สำหรับคลองแสนแสบนี้มีความยาวนับตั้งแต่ปลายคลอง

มหานาคบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านคลองบางกะปิและคลอง

หัวหมากไปยังคลองตัน ผ่านคลองแสนแสบเหนือ ไปออกแม่น้ำ

บางปะกง เป็นคลองสายหลักระยะทาง ๗๓.๘ กิโลเมตร ซึ่งนับว่า

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี

(ทัต บุนนาค)

เป็นคลองสำคัญที่ผ่านย่านสำคัญของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ย่าน

มหานาคในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตปทุมวัน

เขตราชเทวี เขตวัฒนา เขตห้วยขวาง เขตสวนหลวง เขตบางกะปิ

เขตวังทองหลาง เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง เขตมีนบุรี

เขตคลองสามวาและเขตหนองจอก ไปออกแม่น้ำบางปะกงที่เขต

อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

นอกจากนี้ เมื่อมีการขุดคลองแล้วยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ราษฎรหักร้างถางป่ารกปรับแต่งเป็นท้องทุ่ง ไร่นา และมีการตั้ง

ชุมชนเรียงรายเป็นระยะจำนวนมากตามคลองซอยที่แยกจากคลอง

แสนแสบ โดยมีคลองซอยสำคัญ ๒ ฟากฝั่ง กล่าวคือ

๑) คลองซอยฝั่งซ้าย หรือคลองทางฝั่งทิศเหนือเรียงจาก

ปากคลองด้านติดคลองผดุงกรุงเกษมไปทางตะวันออก ได้แก่ ลำราง

ตาป่วน คลองวัดตึก คลองจั่น คลองวัดบึงทองหลาง คลองบางเตย

คลองกุ่ม คลองบางชัน คลองสามวา เป็นต้น

๒) คลองซอยฝั่งขวา หรือคลองทางฝั่งทิศใต้เรียงจาก

ปากคลองด้านติดคลองผดุงกรุงเกษมไปทางตะวันออก ได้แก่ คลอง

ต้นสน คลองหัวหมาก คลองบ้านม้า คลองสะพานสูง คลองเจ๊ก

คลองหลอแหล คลองลาดบัวขาว คลองสองต้นนุ่น คลองลำหิน

คลองเจียรดับ คลองลำปลาทิว คลองนครเนื่องเขต คลองหลวงแพ่ง

คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เชื่อมต่อไปคลองสำโรง ลำต้อยติ่ง

เป็นต้น

5


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยัง

ปรากฏเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับคลองแสนแสบนี้

โดยเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๕๑ เสด็จพระราชดำเนิน

ทำพิธีเปิดการเดินรถไฟสายตะวันออกคือ กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา

ที่สถานีหัวลำโพง เมื่อเสร็จพระราชพิธีแล้วได้เสด็จประพาส

ทางรถไฟไปยังแขวงเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งแต่เดิมทรงกำหนดว่าจะ

เสด็จพระราชดำเนินกลับทางรถไฟเหมือนเที่ยวเสด็จพระราชดำเนิน

ไป แต่ทรงมีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรคลองแสนแสบ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดกระบวนเรือกลับทางคลอง

และทรงประทับแรมกลางทางในคลองแสนแสบถึง ๒ คืน และมี

พระราชประสงค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปอย่างเงียบๆ ไม่ให้

ประชาชนทราบเหมือนการเสด็จประพาสต้นแต่มีข่าวแพร่ออกไป

จึงมีประชาชนตั้งโต๊ะรับเสด็จริมคลองเป็นอันมาก ซึ่งทรงพระอักษร

บันทึกการเดินทางไว้ว่า

“...ออกเรือ ๒ โมงกับ ๑๙ นาที เข้าประตูน้ำไม่ช้า เหตุด้วย

เป็นเวลาน้ำขึ้น เปิดน้ำไม่ถึงศอกได้ระดับ ตามทางแต่งเครื่องบูชา

เสียแล้ว...”

ซึ่งในเวลาเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าว เป็นห้วงเวลาที่มีการ

6

ลอกคลองแสนแสบพอดี จึงมีเรือขุด ๔ ลำ และทรงขึ้นตรวจเรือขุด

ที่มีฝรั่งควบคุมด้วย คืนแรกทรงประทับแรมที่วัดปากบึง ซึ่งทรง

พระอักษรบันทึกไว้ว่า

“...ที่วัดนี้มีโบสถ์ฝาก่ออิฐ แต่อยู่ในกลางบึง ซึ่งน้ ำแห้งดินแตก

ระแหง แต่ยังแลเห็นบัวอยู่ มีสิ่งซึ่งเป็นที่น่าสังเกตคือหอจัตุรมุขซึ่ง

เหมือนหอไตรย แต่อาจเป็นพระบาทก็ได้ เพราะไม่มีหนังสือไว้เป็น

อันขาด ไม่มีถนนเลย มีพระอยู่แต่ ๓ รูปครึ่ง คือตาบอดเสียองค์หนึ่ง

ทำกับเข้า (ข้าว) และกินเข้า (ข้าว) บนการเปรียญ...

...มาแถบนี้มีที่ว่างมาก มีตัวแมลงมาก แต่ยุงน้อยกว่าบางกอก

ความจริงยังไม่เคยกัด แต่เขาว่ามี ข้อกันดารของคลองนี้เรื่องน้ำจืด

มีประตูเสียน้ำนอนคลอง แต่ใช้ไม่ได้ด้วยขุ่นค่น ชาวบ้านเขาใช้

น้ำบ่อ...”

ปัจจุบัน คลองแสนแสบ นับได้ว่าเป็นเส้นทางการสัญจรทางน้ำ

ที่สำคัญของกรุงเทพมหานครอีกหนึ่งสายที่สามารถเชื่อมเส้นทาง

น้ำจากเขตชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานครชั้นใน ออกไปสู่

กรุงเทพมหานครชั้นนอกและชานพระนคร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือก

ของการเดินทางทดแทนการเดินทางและการจราจรทางบกทั้งการ

สัญจรระบบถนนและระบบรางที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะใน

สภาวะที่กรุงเทพมหานครประสบปัญหาวิกฤตการจราจรและปัญหา

มลภาวะจากฝุ่น PM2.5 ทั้งนี้เนื่องจากลำคลองช่วงที่อยู่ในเขต

กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณกว่า ๔๕ กิโลเมตร และความ

กว้างของคลองประมาณ ๒๐ - ๓๐ เมตร อีกทั้งยังเป็นคลองสายหลัก

ในการคมนาคมระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำบางปะกง และ

ยังมีการขุดคลองซอยขึ้นอีกเป็นจำนวนประมาณ ๑๐๑ คลอง

นอกจากนี้ คลองแสนแสบ ยังทำหน้าที่ระบายน้ำที่สำคัญอีกด้วย

เพราะสามารถระบายถ่ายเทน้ำระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำ

บางปะกงเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือน้ำแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวได้ว่า คลองแสนแสบเป็นคลองที่มีแนวเส้นทางพาดผ่าน

กลางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครทางแนวทิศตะวันออกและตะวันตก

มีลักษณะสำคัญคืออยู่ในเส้นทางที่ผ่านเขตที่อยู่อาศัยของประชาชน

ที่มีความหนาแน่น อยู่ในแนวพื้นที่เขตเศรษฐกิจและพื้นที่เขต

เกษตรกรรม จึงส่งผลให้คลองแสนแสบเป็นคลองสายสำคัญที่ถูกนำ

ไปใช้ประโยชน์ที่มีความหลากหลาย กล่าวคือ

๑. การคมนาคมและขนส่ง เนื่องจากคลองแสนแสบเป็นเส้น

ทางสัญจรทางน้ำที่มีศักยภาพสูงสำหรับใช้ในการเดินทาง เป็นระบบ

การขนส่งทางเลือกทดแทนการขนส่งทางถนนและทางระบบราง ใน

การเดินทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครชั้นในออกไปทางตะวันตก

เพื่อชดเชยเส้นทางทางบกที่มีปัญหาวิกฤตการจราจรเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ สามารถขนส่งมวลชนชาวกรุงเทพมหานครด้วยเรือเครื่องกลาง

ลำคลองสามารถขนส่งประชาชนได้จำนวนประมาณนับแสนคนต่อ

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


แผนที่คลองแสนแสบ

วัน โดยมีเส้นทางการเดินเรือตั้งแต่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนน

ราชดำเนิน ถึงท่าวัดศรีบุญเรือง เขตบางกะปิ

๒. การระบายน้ำ คลองแสนแสบเป็นคลองแกนสายหลัก

รองรับระบบเครือข่ายร่องน้ำในเขตชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร

เพื่อรองรับน้ำจากลำรางสายต่าง ๆ ในการระบายน้ำ ซึ่ง

มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยใช้วิธีสูบน้ำ

จากท่อระบายน้ำลงสู่คลองแสนแสบ และผลักดันน้ำให้

ระบายลงสู่ลำน้ำที่เชื่อมต่อทางทิศตะวันออกของ

กรุงเทพมหานครคือ แม่น้ำบางปะกง

๓. แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม เนื่องจาก

ภูมิประเทศช่วงปลายของคลองแสนแสบซึ่งเริ่มตั้งแต่

เขตมีนบุรีและเขตหนองจอก นับเนื่องไปจนถึงจังหวัด

ฉะเชิงเทราพบว่า คุณภาพของน้ำในลำคลองมีคุณภาพที่

ดีกว่าส่วนที่อยู่ในช่วงต้นและกลาง จึงส่งผลให้มีการท ำการ

เกษตรกรรมด้วยน้ำจากลำคลอง โดยส่วนใหญ่เป็นการทำ

สวนเกษตร และการทำนาในพื้นที่หลังคลอง รวมทั้งการ

ปลูกผักลอยน้ำ ดังจะเห็นได้จากการทำการเกษตรริมคลอง

แสนแสบชานเมืองไปจนถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา

การขุดคลองแสนแสบ จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ

อันเกิดมาจากพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จ

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลใน

การสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อการศึกสงครามในรัชสมัย

ของพระองค์ และเพื่อการสร้างเส้นทางสัญจรของชาว

พระนคร ตลอดจนพัฒนาเป็นเส้นทางระบายน้ำสำหรับ

ป้องกันปัญหาเรื่องน้ำท่วมและน้ำแล้งของกรุงเทพมหานคร

ตลอดจนเพื่อการเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรกรรมของประชาชนอัน

เกิดขึ้นบริเวณริมคลอง ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

และสร้างความเจริญให้แก่กรุงเทพมหานครอย่างมีประสิทธิภาพ

และมีความยั่งยืน จึงนับเป็นพระราชวิสัยทัศน์แห่งองค์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการสร้างความเจริญรุ่งเรือง

ให้แก่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศทั้งใน

การคมนาคมและเกษตรกรรม

วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ

แห่งพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนพสกนิกรไทยทุกท่าน

ร่วมน้อมเกล้าฯ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ บูรพมหากษัตริย์แห่ง

พระราชวงศ์จักรี พระผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง

แสนแสบ จนสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ

ของกรุงเทพมหานคร และยกระดับกิจกรรมการเกษตรกรรมของไทย

เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง ความผาสุกและยังประโยชน์สุขให้แก่

พสกนิกรชาวไทยด้วยกันทุกท่านเทอญ

อานามสยามยุทธ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

7


เสริมสิริมงคล

รอบเกาะรัตนโกสินทร์ (ตอนจบ)

“อิ ่มบุญ สุขใจ ในยุค New Normal”

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ด้

วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังคงต้องปฏิบัติตาม

คำแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะไปขอพรไหว้พระ

เสริมสิริมงคลให้กับชีวิตตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอบเกาะรัตนโกสินทร์

ในยุค New Normal ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้อ่านทุกท่านอยากไปเที่ยวชม

ความวิจิตรงดงาม ดังนั้นวารสารหลักเมืองในฉบับนี้จึงขอนำเสนอ...

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารเป็นวัดเก่าแก่อายุมากกว่า

๒๐๐ ปี ใช้เวลาสร้าง ๓ รัชกาล เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธ

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ มีพระราชดำรัสให้สร้างขึ้นในช่วง

ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๑ ในพื้นที่ของพระนครชั้นใน โดยมี

8

พระราชประสงค์ให้มีพระวิหารขนาดใหญ่เทียบเท่ากับพระวิหาร

วัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี

หรือ พระโต พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์พระร่วงของยุค

สุโขทัย ที่อัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย

แต่ยังสร้างมิทันสำเร็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ได้

เสด็จสวรรคตก่อน จึงมิได้ประดิษฐานเป็นสังฆาราม ชาวบ้านจึงเรียกว่า

วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้า

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

รัชกาลที่ ๒ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการสร้างต่อ และทรงแสดง

ฝีพระหัตถ์ไว้เป็นอนุสรณ์โดยทรงสร้างบานประตูกลางจำหลักพระวิหาร

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ด้วยฝีพระหัตถ์ร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นจิตรภักดี แต่ก็

ยังมิทันแล้วเสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะสร้างพระวิหารจนสำเร็จในปี พ.ศ.

๒๓๙๐ แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถและศาลา

การเปรียญ พร้อมทั้งสร้างสัตตมหาสถาน และสร้างกุฏิสำนักสงฆ์

ประดิษฐานสังฆาราม พระราชทานนามว่า วัดสุทัศนเทพวราราม

และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

ยังได้ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลา

การเปรียญให้คล้องกันว่า พระศรีศากยมุนี พระพุทธตรีโลกเชษฐ์

และพระพุทธเสรฏฐมุนี

วัดประจำรัชกาลที่ ๘

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีพระบรม

ราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระอัฐมรามาธิบดินทร ประดิษฐานอยู่ และมีการอัญเชิญพระบรม

ราชสรีรางคารของพระองค์มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์

พระศรีศากยมุนี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ ทั้งนี้ ในทุกวันที่ ๙ มิถุนายน

ของทุกปี ก็จะมีการจัดพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล

คล้ายวันสวรรคตของพระองค์ด้วย

ตำนาน เปรตวัดสุทัศน์

แน่นอนว่าอีกหนึ่งอย่างที่คนคุ้นหูกับตำนานเปรตวัดสุทัศน์

แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ว่า วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรวิหาร

เคยมีเปรตจริงหรือไม่ เพราะเป็นเพียงความเชื่อและข้อสันนิษฐาน

จากเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ในอดีตเท่านั้น ด้วยมีคนเชื่อว่า

เคยเห็นเปรตในบริเวณวัดสุทัศน์ในยามค่ำคืน แต่แท้จริงแล้วเป็นเงา

ของเสาชิงช้าที่คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเปรตนั่นเอง นอกจากนี้

ภายในพระวิหารก็ยังมีเสาต้นหนึ่ง ใกล้ ๆ กับองค์พระศรีศากยมุนี

ปรากฏให้เห็นภาพจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมากในอดีต คือ ภาพของ

เปรตตนหนึ่งนอนพาดกายโดยมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาสังขาร ซึ่งเป็น

ไปได้ว่า ภาพนี้อาจเป็นที่มาของ “เปรตวัดสุทัศน์” ก็เป็นได้

๐ ในฉบับหน้า สำหรับคนสายมูห้ามพลาด เราจะพาไป

สะสมแต้มบุญกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วไทย ติดตามอ่านกันต่อ

ในฉบับหน้า

อ้างอิง

https://www.facebook.com/WatSuthatBangkok/

https://travel.trueid.net/detail/2RvMAOjQ4K8z

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

9


๑ มีนาคม ๒๕๖๕

๓๓ ปี สำนักงานเลขานุการ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

พลตรี พัฒนชัย จินตกานนท์

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สำ

นักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นอีก

หน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญ และเป็นหน่วยขึ้นตรงของ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่มีภารกิจหลักในงานด้าน

เลขานุการ และงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้บังคับบัญชาของ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้พัฒนา

ศักยภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของบุคลากรและวิสัยทัศน์

การบริหารจัดการที่มีหลากหลายมิติและรูปแบบของแผนงาน

ตามโครงการต่าง ๆ สนองตอบต่อนโยบายผู้บังคับบัญชาและความ

เปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในห้วง ๓ ปีที่ผ่าน

มาเกิดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ ของสำนักงานเลขานุการฯ มีการปรับ

รูปแบบการปฏิบัติงานเพื่อให้สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New

Normal)

จากภารกิจงานด้านเลขานุการและงานด้านการ

ประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม ได้มีการพัฒนาบุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่าง

ต่อเนื่อง เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ รองรับภารกิจและสร้าง

ความเชื่อมั่นให้กับผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะในปัจจุบัน งาน

ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหมได้มีความเชื่อมโยงกับงาน

ปฏิบัติการจิตวิทยา และงานกิจการพลเรือนเช่นเดียวกับงานด้าน

เลขานุการที่ต้องเกี่ยวข้องกับการรับรองผู้บังคับบัญชา และงานพิธี

10

ต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ทั้งในการประสานงานและ

การปฏิบัติต่อหน่วยข้างเคียง ภายใต้การดูแลของ พลตรี พัฒนชัย

จินตกานนท์ เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ได้วาง

แนวทางนโยบาย การบูรณาการการทำงานด้านเลขานุการให้

ผู้ปฏิบัติงานด้านเลขานุการของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ รวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ตามรูปแบบภารกิจในทิศทางที่

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากรากฐานข้อมูลที่เที่ยงตรง ด้วยความ

ละเอียดรอบคอบ มีสติ ภายใต้แนวคิด “ตนเตือนตน”

สำหรับผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ในเรื่องการสร้าง

ความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

สำนักงานเลขานุการฯ ได้จัดกิจกรรมโครงการและงานพิเศษ

ที่อำนวยประโยชน์ต่อสังคม อาทิ โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย

ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่ได้

ดำเนินการมาจนถึงปีที่๑๔ โดยเป็นการแสดงพลังเครือข่ายเยาวชน

จิตสำนึกรักเมืองไทยดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม

มีสภาเด็กและเยาวชนทั่วประเทศร่วมกันดำเนินกิจกรรม จำนวน

๗๗ กิจกรรม ได้รับความร่วมมือจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ทำให้มีสภาเด็กและเยาวชนมีศักยภาพ

ในการทำกิจกรรมร่วมกับราชการและประชาชนได้เป็นอย่างดี

การขับเคลื่อนเครือข่ายสีขาวเพื่อความมั่นคงของ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในเรื่องการพิทักษ์รักษาและเทิดทูน

สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดคือ สถาบันพระมหากษัตริย์

ได้รับการเทิดทูนอย่างสมพระเกียรติ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมย่อย

คือ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ ผ่านระบบออนไลน์และการผลิตสื่อ

ประชาสัมพันธ์ เพื่อนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้มีความรู้ความ

เข้าใจและมีความเป็นกลางทางสังคมในการป้องกันและทำความ

เข้าใจมิให้มีการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์

การขยายผลการดำเนินงานของหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม ผ่านเสียงตามสาย ป้ายบิลบอร์ด ทั้งที่ตั้งอยู่ใน

ศาลาว่าการกลาโหมและศรีสมาน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสาร

สนเทศ อาทิ เว็บไซต์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม เว็บไซต์หลักเมืองออนไลน์ เว็บไซต์เครือข่ายสีขาว สป.

เว็บไซต์รัฐบาลไทย และแอปพลิเคชัน G-News เพจสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม เพจสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม เพจเครือข่ายสีขาวเพื่อความมั่นคง สป. เพจหลักเมือง

ออนไลน์ เพจจิตสำนึกรักเมืองไทย กลุ่มไลน์ PR.สป. กลุ่มไลน์สถานี

วิทยุสีขาว กลุ่มไลน์คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ กห. กลุ่มไลน์

สื่อมวลชนสายทหาร Tiktok และ YouTube ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดตาม

เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีระบบ

อินเทอร์เน็ตมาใช้ในการช่วยเผยแพร่งานผลิตสื่อด้วยการจัดทำ

คลังภาพออนไลน์ วารสารหลักเมืองออนไลน์ และมัลติมีเดีย

ออนไลน์ มาให้บริการเพื่อความสะดวกรวดเร็วอีกด้วย

ในโอกาสวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๕ นับเป็นโอกาสอันดีที่

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำเนินงาน

มาครบ ๓๓ ปี ซึ่งสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพ และปฏิบัติภารกิจ

ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ ภายใต้ปณิธาน

ที่ว่า “เลขานุการก้าวหน้า ประชาสัมพันธ์ก้าวไกล ผลิตสื่อทันสมัย

ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง”

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

11


๘ เมษายน ๒๕๖๕

วันคล้ายวันสถาปนากรมการเงินกลาโหม

๑๓๕ ปี กรมการเงินกลาโหม

บริการทันใจ ซื ่อสัตย์ โปร่งใส ทันสมัย สามัคคี

พลโท เดชนิธิศ เหลืองงามขำ

เจ้ากรมการเงินกลาโหม

กรมการเงินกลาโหมเป็นต้นกำเนิดของการดำเนินงาน ด้านการเงิน

ในกิจการทหารอย่างเป็นระบบ และมีระเบียบแบบแผน โดย

๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรม

ยุทธนาธิการ โดยแยกงานการเงินไว้ในกรมใช้จ่าย ปัจจุบันตามอัตรา

การจัดหน่วย เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

และมีฐานะหัวหน้าเหล่าสายวิทยาการด้านการเงินมีหน้าที่เกี่ยวกับ

การเงิน การบัญชี เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ และการควบคุม

การใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ

มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในกระบวนการทำงานและการให้

บริการให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว

วิสัยทัศน์

กรมการเงินกลาโหมเป็นองค์กรหลักในการบริหารและ

ให้บริการด้านการเงิน การบัญชี เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ และ

การควบคุมการใช้จ่ายเงินให้มีความถูกต้อง ทันสมัย โปร่งใส และ

มีประสิทธิภาพ

พันธกิจ

๑. ดำเนินการรับจ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน และการบัญชีของ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

๒. ดำเนินการเรื่องเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ของข้าราชการ

ในสังกัดกระทรวงกลาโหม

กรมการเงินกลาโหม

๓. ควบคุม พิจารณา ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกเงิน

งบประมาณการจัดทำบัญชีถือจ่าย อัตราเงินเดือนในการขอบรรจุ

ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานราชการ ตลอดจนเงินค่าใช้จ่าย

ต่างประเทศของกระทรวงกลาโหม

๔. พัฒนาระบบงานและการบริหารทางการเงิน การบัญชี

ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง คำชี้แจง เกี่ยวกับการเงิน

และการบัญชีของกระทรวงกลาโหม รวมทั้งการฝึกอบรมในเรื่อง

ดังกล่าว

๕. วิเคราะห์และพัฒนาการใช้เครื ่องคอมพิวเตอร์ในงาน

การเงินและการบัญชีของส่วนราชการขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของ กรมการเงินกลาโหม ประจำ

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔

๑. งานการเบิกจ่ายเงินและการบัญชี

กรมการเงินกลาโหม เป็นหน่วยเบิกจ่ายเงินจากกระทรวง

การคลังเพื่อให้บริการด้านการเงินแก่ หน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม องค์การ

สงเคราะห์ทหารผ่านศึกและหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย

รักษาพระองค์ และรวมถึงหน่วยงานในต่างประเทศ ๒ หน่วยงาน

คือ สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นและ

สำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ

ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

๒. งานเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

๒.๑ ดำเนินการระบบบริการผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ แบบ

เบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อให้บริการกับผู้รับเบี้ยหวัด

บำนาญและทายาท โดยสามารถให้บริการ ณ จุดเดียวทุกกระบวนงาน

ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

และสังคม (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ส่วนที่ ๓ ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๔

๒.๒ การจัดปัจฉิมนิเทศข้าราชการผู้ที่เกษียณอายุราชการ

และผู้ที่เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดประจำ

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ให้กับข้าราชการสังกัด สำนักงาน

รัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

12

กรมการเงินกลาโหม


๓. งานปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบการเงิน

การบัญชี และงานด้านสิทธิกำลังพล ของ กระทรวงกลาโหม

๓.๑ เสนอ ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง

และประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ ของข้าราชการพลเรือนกลาโหม

พ.ศ. .... แก่คณะรัฐมนตรี

๓.๒ ร่าง พ.ร.ฎ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม

พ.ศ. .... (กรมเสมียนตรา อยู่ระหว่างปรับแก้ไขตามข้อสังเกต

คณะกรรมการกฤษฎีกา)

๔. งานพัฒนาบุคลากร

๔.๑ จัดการศึกษาหลักสูตรนายทหารการเงินชั้นนายพัน

รุ่นที่ ๑๓ ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

๔.๒ หลักสูตรเพิ่มพูนขีดความสามารถและสมรรถนะการ

บริหารงาน ด้านการเงิน การคลัง และการบัญชี

๔.๓ หลักสูตรเพิ่มพูนองค์ความรู้สำหรับข้าราชการเหล่า

กง. ระดับปฏิบัติการ

๕. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

๕.๑ ระบบงานการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน

ของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ของหน่วยขึ้นตรง

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และสำนักงานรัฐมนตรี

๕.๒ พัฒนาระบบงานบัญชีเงินราชการ ของ กง.กห.

๕.๓ พัฒนาระบบประมวลผลใบจ่ายเงินเดือน

อิเล็กทรอนิกส์ (e-Slip) ได้พัฒนาต่อยอดให้ระบบสามารถใช้งาน

ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเข้าใช้ระบบได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบ

อินเทอร์เน็ต

๕.๔ พัฒนาระบบ โครงการลดการใช้กระดาษในการจัด

ทำเอกสารขอเบิกเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Defence

Paperless Disbursement Project: e-DPS) ของหน่วยขึ้นตรง

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อสนองตอบนโยบายรัฐบาลเพื่อ

มุ่งสู่การปฏิบัติงานในระบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ในอนาคต

๖. การปฏิบัติงานตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงิน

ทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยกรมการเงินกลาโหม ได้รับ

วงเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

ในการให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือ

ผู้ประสบภัย ในวงเงิน ๕๐ ล้านบาท ซึ่งกรมการเงินกลาโหม จะ

จัดสรรเงินเหล่านี้ให้กับหน่วยที่ออกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย

กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกเงินจากคลังเป็นเงินทดรองราชการ

เพื่อทดรองจ่ายในกรณีที่เกิดภัยพิบัติฉุกเฉิน และมีความจำเป็น

เร่งด่วนที่ต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

เฉพาะหน้าแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ

กรมการเงินกลาโหม จะมุ่งมั่น พัฒนา

ในการให้บริการทางด้านการเงิน สู่ความเป็นเลิศ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

13


กลับหลังหัน...กับพิพิธภัณฑ์กลาโหม

“ศาลากระโจมแตร

ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

ในสมัยรัชกาลที ่ ๖”

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

ภาพที่ ๑ : ภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖ บริเวณด้านหน้าอาคารศาลาว่าการ

กลาโหม จะสังเกตเห็นศาลากระโจมแตรทางด้านขวามือ และทางด้านซ้าย

คือปืนใหญ่เมื่อเทียบกับผังการจัดวางปืนใหญ่แล้ว ตรงกับการจัดวางครั้งที่ ๒

ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ - ๒๔๖๖ โดยปืนใหญ่ที่เห็นในภาพ คือปืนใหญ่หมายเลข

๒๘, ๒๙ และ ๓๐ (ปืนใหญ่นิลนนท์แทงเขน ปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่า และ

ปืนใหญ่เสือทนอาหาร)

ท่

านผู้อ่านคงรู้สึกแปลกใจและสงสัยกับหัวข้อที่ผู้เขียนจะน ำเสนอ

ในฉบับนี้ใช่ไหมคะว่าบริเวณด้านหน้าอาคารศาลาว่าการ

กลาโหมเคยมีศาลากระโจมแตรตั้งอยู่ตั้งแต่เมื่อใด และทำไม

ในปัจจุบันถึงไม่มีให้เห็นแล้ว มาติดตามกันค่ะ ว่าศาลาดังกล่าวคือ

ศาลาอะไร มีหน้าที่การใช้งานอย่างไร และเพราะเหตุใดจึงมาตั้งอยู่

ด้านหน้าอาคารที่ทำการของทหารแห่งนี้

ศาลากระโจมแตร มีลักษณะเป็นศาลาโปร่ง ผังเป็นทรง

แปดเหลี่ยม และมีเสารองรับด้านในจำนวน ๘ เสา โดยศาลาลักษณะนี้

นิยมสร้างไว้ในอุทยาน สวน หรือสวนสาธารณะ สำหรับไว้เป็นสถานที่

บรรเลงเพลงฝรั่งหรือดนตรีอื่น ๆ ซึ่ง พลเรือตรีหญิง อารยา

อัมระปาล อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ ได้เคยอธิบายเกี่ยวกับศาลา

ลักษณะนี้ไว้ว่า “คำว่า กระโจมแตร ถอดความมาจากภาษาอังกฤษ

ว่า Music Pavilion หมายถึงศาลาโปร่งที่ตั้งกลางสวนหรือสนาม

เพื่อใช้บรรเลงดนตรีขับกล่อม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่ไทย

รับมาใช้”

สำหรับศาลากระโจมแตรด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

ได้พบอยู่ในภาพถ่ายเก่าที่ถ่ายขึ ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยตั้งอยู่

บริเวณประตูทางเข้า (ฝั่งถนนกัลยาณไมตรี) ๑ หลัง และประตู

ทางออก (ฝั่งถนนหลักเมือง) อีก ๑ หลัง เมื่อนำภาพถ่ายดังกล่าวมา

พิจารณาเปรียบเทียบกับผังการจัดวางปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการ

กลาโหม ครั้งที่ ๒ ช่วงปี พ.ศ.๒๔๖๕ - ๒๔๖๖ จะเห็นได้ว่าจากใน

ภาพที่ ๒ : ภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖ จะสังเกตเห็นว่ามีศาลากระโจมแตร

ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม จำนวน ๒ หลัง

14

ภาพที่ ๓ : ภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖

มีศาลากระโจมแตรตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม


ผังการจัดวางปืนใหญ่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ครั้งที่ ๒ ช่วงปี

พ.ศ.๒๔๖๕ - ๒๔๖๖ ในกรอบสีเขียว คือ ปืนใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายเก่า

ภาพถ่ายที่ ๑ และในกรอบสีแดง คือ ปืนใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายเก่า

ภาพถ่ายที่ ๒, ๓

ภาพถ่ายที่ ๒ และ ๓ ปืนใหญ่จำนวน ๓ กระบอก ที่วางอยู่เยื้องกับ

ศาลากระโจมแตร (มุมซ้ายของภาพ) เทียบกับผังการจัดวางครั้งที่

๒ แล้ว ตรงกับตำแหน่งของปืนใหญ่หมายเลข ๓๕ ๓๖ และ ๓๗ คือ

ปืนใหญ่ขอมดำดิน ปืนใหญ่พระอิศวรปราบจักรวาล และปืนใหญ่

ฝรั่งร้ายปืนแม่น จึงสันนิษฐานได้ว่าศาลากระโจมแตรทั้ง ๒ หลัง

คงถูกสร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวหรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย

และไม่น่าที่จะสร้างขึ้นก่อนหน้าสมัยรัชกาลที่ ๖

ต่อมาศาลากระโจมแตรดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนออกไป

เนื่องจากไม่ได้ถูกใช้งานแล้ว แต่ไม่สามารถระบุ ปี พ.ศ.ที่ชัดเจนว่า

ถูกรื้อถอนไปเมื่อใด สันนิษฐานว่าคงก่อนปี พ.ศ.๒๔๘๙ เนื่องจาก

ในภาพถ่ายทางอากาศของศาลาว่าการกลาโหมและบริเวณใกล้เคียง

ภาพถ่ายด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม ปี พ.ศ.๒๕๕๗ บริเวณที่เคย

เป็นที่ตั้งศาลากระโจมแตรถูกปรับเปลี่ยนเป็นที่ตั้งของน้ำพุ ก่อนที่ในปัจจุบัน

จะถูกรื้อลง

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

ศาลากระโจมแตรที่พระราชวังสราญรมย์ ที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖

ยังคงมีให้เห็นอยู่จนถึงปัจจุบัน

ที่ถ่ายโดยวิลเลียม ฮันท์ ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ นั้น ไม่พบว่ามีศาลา

กระโจมแตรตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารแล้ว และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๗

ทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดทำน้ำพุประดับไฟแสงสี

และบรรเลงเครื่องดนตรี เพื่อจัดแสดงต่อหน้าสาธารณชนในบริเวณ

เดียวกับที่ตั้งศาลากระโจมแตรทั้ง ๒ หลัง ซึ่งปัจจุบันน้ำพุดังกล่าว

ก็ไม่ได้มีการเปิดใช้งานแล้วเช่นกัน จึงทำให้ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้

เป็นพื้นที่โล่งเป็นเพียงที่ตั้งของหมู่ปืนใหญ่โบราณเท่านั้น

สำหรับหน้าที่การใช้งานของศาลากระโจมแตรทั้ง ๒ หลัง

ก่อนที่จะทำการรื้อถอนออกไปนั้น มีจุดประสงค์ไว้สำหรับเป็นที่ฝึกซ้อม

และบรรเลงแตรฝรั่งหรือวงโยธวาทิต และสำหรับให้หมู่ทหาร

เป่าแตรถวายความเคารพ และถวายพระเกียรติในขณะเสด็จ

พระราชดำเนินเข้าออกพระบรมมหาราชวัง ซึ่งการสร้างศาลา

ลักษณะนี้สันนิษฐานว่าอาจเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๖ ที่โปรด

ให้สร้างไว้สำหรับใช้บรรเลงดนตรีตามแบบยุโรป เนื่องจากที่

พระราชวังสราญรมย์และพระราชวังบางปะอิน ก็ได้มีการสร้างศาลา

กระโจมแตรเอาไว้ในสมัยของพระองค์ด้วยเช่นกัน และยังคงมีให้เห็น

อยู่จนถึงปัจจุบัน

ภาพประกอบ :

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ : นายดิษพงษ์ เนตรล้อมวงษ์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร : ฝ่ายประชาสัมพันธ์พระราชวังบางปะอิน. “กระโจมแตร.” สืบค้น

เมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ จาก : http://informationbangpainpalace.blogspot.com/2016/04/blog-post_24.html : “พระราชวังสราญรมย์.” สืบค้นเมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ จาก https://

palacebangkok.wordpress.com

เอกสารอ้างอิง :

กระทรวงกลาโหม. ศาลาว่าการกลาโหม. กองกลาง สำนักงานสนับสนุน กรมเสมียนตรา. ๒๕๔๘. : “ .” ๑๓๒ เรื่องเล่าศาลาว่าการกลาโหม.

กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ๒๕๖๒. : “กระโจมแตรหน้าศาลาว่าการกลาโหมและเพลงฝรั่งยี่แฮม (๒๕๖๓).” สืบค้นเมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔. จาก

เพจหน่วยวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. : โลจน์ นันทิวัชรินทร์ (๒๕๖๓). : “ทหารเรือขึ้นบก แกะรอยหมุด

หมายแรกบนบกของกองทัพเรือไทย บนพื้นที่ประวัติศาสตร์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์.” สืบค้นเมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕. จาก https://readthecloud.co/first-navy-office/ พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

15


กฎหมายเล่าเรื ่อง

กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตอนที ่

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์

หัวหน้าอัยการทหาร กรมพระธรรมนูญ

สำ

หรับโทษปรับทางปกครอง เป็นการกำหนดขึ้นเพื่อตักเตือน

ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วน

บุคคลทราบถึงหน้าที่ แตกต่างจากโทษปรับทางอาญาที่มีขึ้นเพื่อ

จริยธรรมทางสังคมในกรณีดังนี้

๑. กรณีโทษปรับทางปกครองตามมาตรา ๘๒

กรณีการกระทำดังต่อไปนี้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจ

ต้องโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท

๑.๑ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่แจ้งให้เจ้าของข้อมูล

ส่วนบุคคลก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลถึง

รายละเอียด ดังนี้ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓

๑.๑.๑ วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมเพื่อ

การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเปิดเผย

๑.๑.๒ แจ้งให้ทราบถึงกรณีที่เจ้าของข้อมูล

ส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญา

หรือมีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทำสัญญา รวมทั้ง

แจ้งถึงผลกระทบที่เป็นไปได้จากการไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล

๑.๑.๓ ข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีการเก็บรวบรวมและ

ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมไว้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนด

ระยะเวลาดังกล่าวได้ชัดเจน ให้กำหนดระยะเวลาที่อาจคาดหมาย

ได้ตามมาตรฐานของการเก็บรวบรวม

๑.๑.๔ ประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งข้อมูล

ส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมอาจจะถูกเปิดเผย

๑.๑.๕ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อในกรณีที่มีตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่

16

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์


คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้แจ้งข้อมูล สถานที่ติดต่อ และวิธีการ

ติดต่อของตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

๑.๑.๖ สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ได้แจ้ง

มีดังนี้

๑) สิทธิในการถอนความยินยอม ตาม

มาตรา ๑๙ วรรคห้า

๒) สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนา

ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล

ดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง

๓) สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับ

ตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วน

บุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือ

ใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดย

อัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการ

อัตโนมัติ มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง

๔) สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ

เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง ขอให้

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบหรือทำลาย หรือทำให้

ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของ

ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง

๕) สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

๖) สิทธิในการร้องขอให้ผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคลดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้อง มาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง

๗) สิทธิร้องเรียนในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งลูกจ้างหรือ

ผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล

ส่วนบุคคล ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหรือประกาศ

ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้มาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง

๑.๒ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนินการตามคำขอ

เข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลล่าช้า หรือเกินกว่าสามสิบวัน

นับแต่วันที่ได้รับคำขอ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคสี่

๑.๓ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่จัดให้มีบันทึกรายการ

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม วัตถุประสงค์ของการเก็บ

รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคล ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิและ

วิธีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลที่มีสิทธิ

เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและเงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลนั้น

การใช้หรือเปิดเผยโดยไม่ต้องขอความยินยอม การปฏิเสธคำขอหรือ

การคัดค้าน คำอธิบายเกี่ยวกับมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย

อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง

๑.๔ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูล

ส่วนบุคคลไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของตน

อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง

๑.๕ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล

ส่วนบุคคลไม่จัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์อย่างเพียงพอ หรืออำนวย

ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการปฏิบัติหน้าที่

อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง

๑.๖ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูล

ส่วนบุคคลสั่งให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกจากงาน

หรือเลิกสัญญาการจ้างด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา

๔๒ วรรคสาม

๑.๗ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ขอความยินยอมตาม

แบบหรือข้อความที่คณะกรรมการประกาศกำหนด อันเป็นการ

ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ วรรคสาม

๑.๘ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่แจ้งเจ้าของข้อมูลส่วน

บุคคลถึงผลกระทบจากการถอนความยินยอม อันเป็นการไม่ปฏิบัติ

ตามมาตรา ๑๙ วรรคหก

๑.๙ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่แจ้งวัตถุประสงค์ใหม่ที่

มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างไปจาก

วัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเดิม และการแจ้งรายละเอียดตามมาตรา ๒๓

17


กรณีทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จาก

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา

๒๕ วรรคสอง

๒. กรณีโทษปรับทางปกครองตามมาตรา ๘๓

การกระทำดังต่อไปนี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจ

ต้องโทษปรับทางปกครองไม่เกินสามล้านบาท

๒.๑ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ทำการเก็บรวบรวม

ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเจ้าของ

ข้อมูลส่วนบุคคลไว้ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑

๒.๒ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้เก็บรวบรวมได้เท่าที่

จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคล อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒

๒.๓ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลส่วน

บุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจาก

แหล่งอื่นที่ไม่ได้มาจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง อันเป็นการ

ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๔

๒.๔ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลส่วน

บุคคลจากแหล่งอื่นที่ไม่ได้มาจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

โดยตรง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง

๒.๕ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วน

บุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้กับ

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗

วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง

๒.๖ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วน

บุคคลไปยังต่างประเทศ โดยประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่าง

18

ประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีมาตรฐานการ

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ อันเป็นการ

ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘

๒.๗ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวม

ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นต่อไป ทั้งที่เจ้าของ

ข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้าน อันเป็นการไม่ปฏิบัติ

ตามมาตรา ๓๒ วรรคสอง

๒.๘ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่จัดให้มี

มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที ่เหมาะสม

อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ (๑)

๒.๙ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดำเนิน

การเพื่อป้องกันมิให้ผู้นั้นใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วน

บุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบในกรณีที่

ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่

ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการไม่ปฏิบัติ

ตามมาตรา ๓๗ (๒)

๒.๑๐ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่จัดให้มีระบบการตรวจ

สอบเพื่อดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการ

ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ (๓)

๒.๑๑ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่แจ้งเหตุละเมิดข้อมูล

ส่วนบุคคลแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ (๔)

๒.๑๒ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลนอกราชอาณาจักร

ไม่ตั้งตัวแทน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ (๕)

๒.๑๓ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลขอความยินยอมโดยการ

หลอกลวงหรือทำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์

อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๓

๒.๑๔ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์

ใหม่และแจ้งรายละเอียดตามมาตรา ๒๓ ในกรณีทำการเก็บรวบรวม

ข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

โดยตรง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ ซึ่งนำมาใช้บังคับโดย

อนุโลมตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง

๒.๑๕ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วน

บุคคลชนิดพิเศษไปต่างประเทศโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของ

กฎหมาย อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม

โปรดติดตามอ่านบทความกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูล

ส่วนบุคคล สำหรับโทษปรับทางปกครองตามมาตราอื่น ๆ ได้ในฉบับ

เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕

แหล่งที่มา : httpsmedium.com ข้อมูลส่วนบุคคล, httpswww.bangkokbanksme.com

การทำลายข้อมูล, httpsmonsterconnect.co.th การขโมยข้อมูล, httpswww.hrconsultant.training

ความยินยอม

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์


“3 NEW : สิ ่งที ่คนไทยควรรู้

เพื ่อความอยู่รอดและความสำเร็จในชีวิตยุคหลังโควิด-19

ท่ามกลางการกำเนิดขึ้นของโลกใหม่บนดินแดนแห่ง METAVERSE”

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

“ค

วามอยู่รอดและความสำเร็จในชีวิต” เป็นความต้องการ

พื้นฐานที่ทุกคนปรารถนา การที่คนเราจะสามารถรักษาตัว

ให้อยู่รอดและประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น จำเป็นจะต้อง

เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่จำเป็น สำหรับพัฒนาตนเองให้มีขีดความ

สามารถที่จะรักษาตัวเองให้อยู่รอดได้ในทุกสภาพแวดล้อม เรียนรู้

ที่จะปรับปรุงตนเองให้สามารถเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างสอดคล้องสมดุลและสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง

ที่เกิดขึ้นให้เป็นโอกาสในการก้าวไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ผู้ที่จะ

ประสบความสำเร็จในชีวิตต้องมีความตั้งใจจริงที่จะทุ่มเทเวลาส่วน

หนึ่งในชีวิตของตนให้กับการสร้างความสำเร็จในชีวิต ซึ่งไม่ใช่ได้มา

ด้วยความบังเอิญหรือรอให้โชคช่วยโดยไม่ลงมือทำสิ่งใด ๆ เลย

สังคมในยุคนี้ แม้จะมีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้นมากมาย แต่ใน

เวลาเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น ก็ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา

ในโลกด้วยเช่นกัน ทำให้สังคมปัจจุบันกลายเป็นสังคมที่เต็มไปด้วย

โอกาสที่รอท้าทายความสามารถของผู้ที่ปรารถนาจะประสบ

ความสำเร็จในชีวิต ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมองเห็นโอกาส และสามารถ

ใช้โอกาสที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์เพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จในชีวิต

ตามที่ตนต้องการได้

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

19


การที่จะมองเห็นโอกาส และสามารถใช้โอกาสให้เป็น

ประโยชน์ในการบรรลุถึงความสำเร็จในชีวิต ได้นั้น ต้องรู้จักเรียนรู้

สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับสร้างความสำเร็จ และเรียนรู้ความ

เปลี่ยนแปลงที่เป็นไปของทุกสิ่งรอบตัว แล้วมองหาสิ่งที่ตนเองชอบ

และมีความถนัดมากที่สุด โดยกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน

แล้วทุ่มเทชีวิตจิตใจทำสิ่งนั้นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจนบรรลุถึง

จุดหมายแห่งความสำเร็จที่ต้องการโดยไม่ย่อท้อ

สิ่งที ่ต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จในชีวิต

ยุคโควิด-19 ท่ามกลางการกำเนิดขึ้นของโลกใหม่บนดินแดนแห่ง

METAVERSE นั้น มีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง แต่ที่นับว่าเป็น

หลักสำคัญและเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่ างมีนัยสำคัญ

มี ๓ สิ่ง สิ่งแรกคือ “NEW NORMAL”

ในปี ๒๕๖๔ ที่ผ่านมาเราคนไทยทุกคนคงต้องพบกับความ

เหนื่อยยากกันทุกคน มากบ้าง น้อยบ้าง แต่เราก็ยังคงยืนหยัดรับมือ

กับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ และอยู่รอดกันมาได้ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง

และความร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันจากทุกฝ่ายทำให้

ผ่านมาได้ถึงวันนี้ หนทางข้างหน้าที่เราคนไทยจะต้องร่วมกันเดินต่อ

ไปนั้น ยังคงไม่มีความชัดเจนและยากต่อการประเมินคาดการณ์

สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ หลักการและวิธีการจัดทำประมาณ

สถานการณ์ในรูปแบบเดิมที่ใช้มาล้าสมัยไม่มีขีดความสามารถพอที่

จะคาดการณ์สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน

ทุกสิ่งรอบตัวเรากำลังเปลี่ยนแปลงไปในอัตราเร่งที่สูงมาก ทั้งด้าน

เทคโนโลยี ด้านสังคม ด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการ

ปกครอง ทั้งการเมืองระหว่างประเทศ และการเมืองภายในประเทศ

รวมทั้งด้านการป้องกันประเทศ เช่น กรณีของรัสเซียและยูเครนที่

เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน สิ่งที่เราเรียกว่า NEW NORMAL ซึ่งเป็นสิ่งที่

เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยี

และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โลกที่เรา

20

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


เคยอยู่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เราต้องรู้ NEW NORMAL ที่เกิด

ขึ้นแล้ว ทำความเข้าใจแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เปิดใจให้กว้าง มองไป

ข้างหน้า กล้าคิด กล้าทำ ในสิ่งที่ดีและเตรียมพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ ๆ

ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน

นับตั้งแต่ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้

“โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19”

เป็นโรคติดต่ออันตราย ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๓ ประมาณ ๒ ปี

ที่ผ่านมา ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้

เกิดสิ่งที่เรียกว่า “NEW NORMAL” ทั้งในสังคมระดับสังคมโลกและ

ภายในประเทศ ส่งผลให้คนไทยทุกรุ่นทุกวัยต้องปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมการดำเนินชีวิตใหม่ เพื่อให้ดำรงชีวิตรอดอย่างปลอดภัย

และได้ส่งผลกระทบต่อการป้องกันประเทศของทหารทั้งในการ

ปฏิบัติหน้าที่ของทหารตามปกติประจำวันและการปฏิบัติตาม

แผนการป้องกันประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกศึกษาของกำลังพล

ต้องหยุดชะงักและล่าช้าออกไป

ถึงวันที่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายได้สรุปว่า ต่อจากนี้ไปโรคโควิด-19

จะยังคงอยู่กับเราต่อไป ไม่ได้หายหรือหมดไป คนไทยทุกคน

จะต้องเรียนรู้และปรับตัวเองให้สามารถอยู่กับโรคโควิด-19 นี้ให้ได้

ต้องดูแลสุขภาพอนามัยของตนให้แข็งแรง และปฏิบัติตามมาตรการ

ป้องกันต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ให้คุ้นชินกับ NEW NORMAL ไม่ว่า

จะเป็นการล้างมือ การรักษาระยะห่างทางสังคม การใส่หน้ากาก

อนามัย ซึ่งจะคงอยู่กับเราทุกคนไปอีกระยะหนึ่ง ต้องเรียนรู้การใช้

อุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ที่จะลดการสัมผัสลง การใช้เงินผ่านระบบ

E-MONEY โดยไม่ต้องจับต้องตัวเงิน การเปิดปิดประตูโดยใช้

เซ็นเซอร์ การใช้ลิฟต์ที่ไม่ต้องแตะสัมผัสปุ่มโดยมีเซ็นเซอร์ควบคุม

เพียงเอานิ้วไปใกล้ ๆ ไม่ต้องกดก๊อกน้ำในห้องน้ำซึ่งควบคุมโดย

เซ็นเซอร์เวลาล้างมือในห้องน้ำเพียงแค่นำมือไปใต้ก๊อกน้ำโดยไม่ต้อง

สัมผัส เพื่อช่วยลดการติดต่อของเชื้อโรค เป็นต้น

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราต้องปรับเปลี ่ยน

รูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตเป็นแบบ NEW NORMAL จากการที่

เคยชินกับการออกจากบ้านไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือไปช้อปปิ้ง

ตามห้างหรือศูนย์การค้า ทุกคนต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอด

ด้วยการอยู่บ้าน ลดการเดินทาง ทำงานที่บ้าน เรียนที่บ้าน สั่งซื้อ

สินค้าจากบ้าน ทำให้ใช้เวลาอยู่บ้านนานขึ้น ทำให้มีความต้องการ

อุปกรณ์เครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน รวมทั้งอุปกรณ์

เครื่องออกกำลังกายประจำที่บ้านเพิ่มมากขึ้น สินค้าของกินของใช้

จะเน้นการดูแลสุขภาพมากขึ้น การเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ มีการ

เว้นระยะห่าง มีการตรวจคัดกรอง และการบันทึกการเข้า-ออก

จนปัจจุบันประชาชนทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตจนกลายเป็นความ

ปกติใหม่กันไปแล้ว และหลายคนกำลังเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น

และเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินชีวิตมากขึ้น

จากการที่เชื้อไวรัสโควิด-19 จะยังอยู่กับเราต่อไปจะทำให้เป็น

ตัวเร่งให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า NEXT NORMAL หรือเรียกว่าชีวิตวิถีใหม่

ลำดับต่อไป ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการดำเนิน

ธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะไปยุติลงเมื่อใด

เราทุกคนคงต้องอดทนและก้าวข้ามสถานการณ์การแพร่ระบาด

ของโควิด-19 นี้ให้ได้ การเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดปลอดภัย

ในช่วงเวลานี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

นอกจากการปรับตัวให้สอดคล้องกับ NEW NORMAL ที่เกิด

ขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเราคงต้องอยู่ร่วม

กับโรคนี้ต่อไปแล้ว เรายังต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมรับมือและปรับตัวให้

สอดคล้องกับ เรียกว่า NEXT NEW NORMAL ในโลกใหม่ ที่เกิดจาก

ผลกระทบของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลง

อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล

(โปรดติดตามอ่านต่อในฉบับหน้าครับ)

แหล่งที่มา : alibaba-new retail-metaverse, How-COVID-19-is-Helping-Countries-

Transform-into-Cashless-Societies, httpswww.careervisaassessment.commetaverse,

httpswww.it24hrs.com2021metaverse-thai-word, httpswww.prachachat.

netictnews-543328, httpswww.weprthai.nettag, metaverse

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

21


เปิดประตูสู่เทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ

ประตูสู่การส่งเสริม

กิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ปั

จจุบันโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามและความท้าทายที่รุนแรง

ในหลากหลายรูปแบบ และส่งผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่

โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ไปจนถึง Disruptive

Technology และวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้

จะเป็นบททดสอบความสามารถในการปรับตัวของสังคม ประเทศชาติ

และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะ

22

อย่างยิ่งในมิติด้านความมั่นคง เนื่องจากผู้คนในสังคมต่างเฟ้นหา

ความมั่นคงของตนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ที่วิวัฒน์ขึ้นใหม่ ทำให้

รัฐต้องเผชิญกับความยุ่งยากมากขึ้นในการสนองตอบตามความ

ต้องการ และความคาดหวังของผู้คนในสังคมที่มีความเป็นการเมือง

มากขึ้น มีความเชื่อมโยง และบูรณาการการใช้ข้อมูลข่าวสารผ่าน

เทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลให้ลดทอนความสำคัญของสถาบันหลัก

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


และระบบดั้งเดิมลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความร่วมมือระหว่าง

ประเทศอันเกิดจากการมีภัยคุกคามร่วมกัน ดังนั้นความมั่นคงของ

รัฐจึงไม่สามารถจำกัดอยู่ที่ความมั่นคงทางทหารเพียงอย่างเดียว

อีกต่อไป

ยุทโธปกรณ์มากมายจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ

ในส่วนของกองทัพเท่านั้น แต่ได้ถูกนำไปใช้ในด้านอื่น ๆ กันอย่าง

แพร่หลาย (Dual–Use Technology) ดังนั้น การเตรียมความพร้อม

ในการรับมือจากภัยคุกคามทุกรูปแบบนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพื่อ

ช่วยในการพิทักษ์รักษาอธิปไตย ปกป้องผลประโยชน์ และความ

มั่นคงของชาติ ตลอดจนดูแลความสงบสุขของประชาชน ให้

พ้นจากภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผ่านมาคงเป็นที่ทราบกันดีว่า

ประเทศไทยของเรานั้นได้จัดหายุทโธปกรณ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศ

เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียงบประมาณ และ

ขาดดุลทางการค้าเป็นจำนวนมาก ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

กระทรวงกลาโหมโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และเหล่าทัพ

ได้ร่วมมือกันผลักดันการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

เพื่อการพึ่งพาตนเอง และลดการนำเข้ายุทโธปกรณ์ ด้วยการศึกษา

ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งมอบ

ให้เหล่าทัพได้นำไปทดสอบ และทดลองใช้งานตามมาตรฐานที่

กำหนดก่อนจะนำเข้าประจำการ ทั้งนี้เมื่อมีความต้องการมากขึ้น

ก็จะนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาพัฒนาถ่ายทอดไปสู่ภาคเอกชนที่มี

ขีดความสามารถและศักยภาพ เพื่อผลิตไว้ใช้งานในกองทัพ และ

สามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดไปสู่

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อการส่งออกได้ในที่สุด อย่างไรก็ดี

การลงทุนด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศนั้นมีต้นทุนในการ

ดำเนินการค่อนข้างสูงมาก และต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง อีกทั้งยังมี

ตลาดที่ค่อนข้างจำกัดทั้งภายในและต่างประเทศ หากไม่ได้รับการ

ส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนโดยภาครัฐอย่างจริงจัง อาจทำให้ยากที่

จะประสบความสำเร็จ และไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับ

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงจากต่างประเทศได้

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. เป็นหน่วยงาน

ตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๖๒

มีหน้าที่และอำนาจในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศ รวมไปถึงสามารถจัดตั้งนิติบุคคล การเข้าร่วมทุน ถือหุ้น

หรือเป็นหุ้นส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมี

วัตถุประสงค์ที่สำคัญ ในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

23


อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม และหน่วยงานอื่น

ของรัฐ รวมถึงภาคเอกชนในการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี

ป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ด้วยเหตุนี้สถาบัน

เทคโนโลยีป้องกันประเทศจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนา

ศักยภาพในการผลิตยุทโธปกรณ์โดยสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ

ด้านความมั่นคง และด้านการสร้างความสามารถ

ในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออก

อุตสาหกรรมความมั่นคงนั้น สทป. เป็นองค์การ

มหาชนเพียงรายเดียวในประเทศที่สามารถดำเนิน

กิจการดังกล่าวได้ อีกทั้งรัฐบาลยังได้กำหนดให้

เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษอันดับที่ ๑๑

(S-Curve 11) และได้ออกนโยบายสนับสนุน

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาทิ การยกเว้นภาษี

เงินได้นิติบุคคล ๘ ปี โดยไม่กำหนดวงเงิน การ

ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อการ

ส่งออก เป็นต้น นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังได้ให้

ความเห็นชอบในหลักการให้สถาบันเทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ พิจารณาความเหมาะสมความ

เป็นไปได้ในการจัดเตรียมพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

เพื่อเป็นศูนย์รวมกำลังการผลิตเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติ

โดยคาดหมายว่าอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (Defense Industry)

จะเป็นตลาดที่มีศักยภาพขนาดใหญ่ในอนาคต ดังนั้น

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจะต้องเร่งยกระดับขับเคลื่อน

24

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


อุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วน ผลักดันให้เกิดต้นแบบยุทโธปกรณ์ที่

เกิดจากการวิจัยและพัฒนาที่ตรงตามความต้องการของกองทัพ และ

มีมาตรฐานได้รับการยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งจะต้องสามารถ

นำเอาต้นแบบยุทโธปกรณ์ไปขยายผลเชิงพาณิชย์ในขั้นอุตสาหกรรม

เพื่อเข้าสู่สายการผลิต รวมทั้งมีการให้บริการหลังการขายเพื่อเป็น

หลักประกันให้เกิดความมั่นใจและความต่อเนื่องในการใช้งาน หรือ

สามารถซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์เพื่อยืดอายุการใช้งานและต่อยอด

เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทัพในห้วงเวลา อันจะส่งผล

ให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการป้องกันประเทศ

ได้อย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

เกี่ยวข้อง เกิดการจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ อันจะ

ช่วยทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

และสังคม รวมทั้งการขยายตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจ (Multiplier)

ซึ่งจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลประโยชน์ของชาติ

ในเชิงบวก ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้ผลักดันให้เกิด

โครงการร่วมทุนในกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสำเร็จแล้ว

จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่ โครงการอากาศยานไร้คนขับ (UAV)

โครงการอาวุธและกระสุน และโครงการยานเกราะล้อยางแบบ

๔ x ๔ นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศกำลังเตรียม

ความพร้อมที่จะดำเนินโครงการต่าง ๆ ให้ครอบคลุมตามเทคโนโลยี

เป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ยินดีที่จะร่วมมือ และสนับสนุนหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาค

เอกชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีความสนใจ

หรือมีขีดความสามารถและศักยภาพ มาร่วมดำเนินกิจการ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง

ภายในประเทศและก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพของ

คนไทยในด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ลดการนำเข้า

มุ่งเป้าการส่งออก นำมาซึ่งผลประโยชน์ของชาติและความ

ภาคภูมิใจในความสามารถของคนไทย นอกจากจะ

เป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในด้านการทหารแล้ว

ยังเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ

ประเทศไทยในอนาคตได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

25


เครื ่องบินโจมตีแบบที ่ ๑ (บ.จ.๑)

Vought V-93S Corsair

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

ครื่องบิน วี-๙๓เอส หรือเครื่องบินแบบที่ ๒๓ เป็นเครื่องบินที่มี

ความสำคัญต่อประวัติการบินของกองทัพอากาศและของประเทศชาติ

ในหลายด้าน ๆ อาทิ เป็นเครื ่องบินที่กองทัพอากาศผลิตขึ้นมา

ใช้งานเองภายใต้สิทธิบัตรจากบริษัทผู้ผลิตต่างประเทศเป็นจำนวน

มากถึง ๑๐๐ เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องบินที่กองทัพอากาศได้ทำการผลิต

ภายใต้สิทธิบัตรเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นเครื่องบินแบบแรก

ที่ทำการสู้รบทางอากาศกับเครื่องบินข้าศึกในกรณีพิพาทอินโดจีน

ไทย - ฝรั่งเศส รวมทั้งสร้างชื่อเสียงและสร้างเกียรติประวัติในการ

ปฏิบัติภารกิจอย่างมากมายในกรณีพิพาทอินโดจีนไทย-ฝรั่งเศส

และสงครามมหาเอเชียบูรพา

๑. การเข้าประจำการ

เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๗๗ กรมทหารอากาศได้รับอนุมัติ

จากกระทรวงกลาโหมให้ทำการจัดหาอากาศยานแบบใหม่มาใช้งาน

และกรมทหารอากาศได้ทำหนังสือแจ้งตัวแทนบริษัท เคอร์ติสส์-ไรท์

(Curtiss-Wright) และ ยูไนเต็ด แอร์คราฟท์ (United Aircraft)

ในประเทศสยาม ในความต้องการจัดหาเครื ่องบินขับไล่

และเครื่องบินสังเกตการณ์ รวมทั้งสิทธิบัตรการผลิตภายในประเทศ

บริษัท เคอร์ติสส์-ไรท์ เสนอเครื่องบินขับไล่แบบ ฮอว์ค๒ (HawkII)

ซึ่งมีประจำการอยู่ในกองทัพอากาศจีนจำนวนมาก นอกจากนี้

26

ยังได้เสนอเครื่องบินสังเกตการณ์ แบบ

ฟัลคอน (Falcon) รุ่นล่าสุด เครื่องบินทั้งสอง

แบบติดตั้งเครื่องยนต์ ไรท์ ไซโคลน (Wright

Cyclone)

สำหรับบริษัท ยูไนเต็ด แอร์คราฟท์ ได้

เสนอขายเครื่องบิน ชานซ์ วอจท์ คอร์แซร์

วี-๙๓ (Chance Vought Corsair V-93) รุ่น

ปรับปรุงใหม่ซึ่งมีความอ่อนตัวในการนำไป

ใช้งานและมีประจำการอยู่ในกองทัพเรือ

สหรัฐอเมริกาและกองทัพในหลายประเทศ

โดยบริษัท ชานซ์ วอจท์ ได้แนะนำเครื่องบิน

วี-๙๐ ซี่รี่ (V-90 Series) รุ่นส่งออกขายให้

กับกองทัพต่างประเทศ เครื่องบินคอร์แซร์

วี-๙๓ ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่น แพรทท์ & วิทนีย์

ฮอร์เนต เอสดี (Pratt & Whitney Hornet SD)

ภาพถ่ายหลวงล่าฟ้าเริงรณ กับเครื่องบิน คอร์แซร์

เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๘

ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีซูเปอร์ชาร์จ กำลัง ๖๗๕ แรงม้า ทำให้

เครื่องบินมีสมรรถนะทางการบินสูงในการบินที่ระยะสูง ซึ่งจะเป็น

ประโยชน์ต่อประเทศสยามเมื่อนำมาใช้ปฏิบัติภารกิจในเขต

เทือกเขาสูง

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ


รุ่นไรท์ ไซโคลน อาร์-๑๘๒๐-เอฟ-๕๓ กำลัง ๗๕๐ แรงม้า ซึ่งเป็นเครื่องยนต์

แบบเดียวกับที่ติดตั้งกับเครื่องบินแบบ ๑๗ (ฮอว์ค ๓) ทำให้มี

สมรรถนะทางการบินสูงกว่าเครื่องบินแบบ ๒๓ รุ่นตรวจการณ์และ

ทิ้งระเบิด แต่กองทัพอากาศได้สร้างขึ้นมาเพียง ๒ - ๓ เครื่องเท่านั้น

เครื่องบินรุ่น โอ๓ ยู-๖

หลังจากการประกอบเสร็จแล้วและทำการทดสอบ กรม

อากาศยานได้บรรจุเครื่องบิน วี-๙๓ ในกองบินน้อยที่ ๑ ดอนเมือง

(กองบินตรวจการณ์) กำหนดแบบเป็น “เครื่องบินแบบที่ ๒๓” และ

ภายหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาได้เปลี่ยนชื่อแบบเป็น “เครื่องบิน

โจมตีแบบที่ ๑ (บ.จ.๑)”

พ.ศ.๒๔๗๗ กรมโรงงานทหารอากาศ ที่บางซื่อ ได้สร้าง

เครื่องบินโจมตี-ตรวจการณ์ แบบ ๒๓ (คอร์แซร์ วี-๙๓) ออกใช้

ราชการชุดแรก จำนวน ๒๕ เครื่อง โดยสามารถสร้างแล้วเสร็จในปี

พ.ศ.๒๔๗๙ จากนั้นในปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้สร้างขึ้นอีก จำนวน ๒๕

เครื่อง เป็นรุ่นที่สอง บรรจุเข้าประจำการในกองบินน้อยที่ ๒

(ตรวจการณ์) ที่ดอนเมือง และทดแทน บ.ท.๑ ที่กองบินน้อยที่ ๓

(ทิ้งระเบิด) นครราชสีมา นอกจากนี้ยังบรรจุประจำการที่กองบิน

น้อยที่ ๕ (ทั่วไป) ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งตั้งขึ้นมาใหม่๑

เครื่องบินแบบ ๒๓ รุ่นพิเศษ ซึ่งกองทัพอากาศได้พัฒนาขึ้นมาเอง

ในงานแสดงการบินครั้งแรก

เครื่องบินแบบ ๒๓ ในงานแสดงการบินครั้งแรกของประเทศไทย

และของเอเชีย ระหว่างวันที่ ๑ - ๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๑

(ในเวลานั้นวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย)

นักบินและเครื่องบินแบบ ๒๓ ที่กองบินน้อยที่ ๓ นครราชสีมา

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒

ในงานแสดงการบินครั้งแรก กองทัพอากาศยังได้นำเครื่องบิน

แบบ ๒๓ รุ่นพิเศษ ซึ่งกองทัพอากาศได้พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งจะมีความ

แตกต่างจากเครื่องบิน วี-๙๓ ที่จัดซื้อมาใช้งานและผลิตภายใต้

สิทธิบัตร โดยติดตั้งใบพัด ๓ กลีบ และติดตั้งเครื่องยนต์ลูกสูบ

Edward M.Young. Aerial Nationalism A History of Aviation in Thailand. PP111-121

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

งานแสดงการบินครั้งแรกของประเทศไทย

จัดขึ้นที่ดอนเมือง

27


พ.ศ.๒๔๘๒ กรมช่างอากาศสร้างเครื่องบินฝึกขั้นสูงแบบ ๕

(บ.ฝ.๕) จำนวน ๑๐ เครื่อง โดยดัดแปลงจากเครื่องบินแบบ ๒๓

กำหนดแบบเป็น “เครื่องบินแบบ ๘๗” ติดตั้งเครื่องยนต์ลูกสูบแบบ

แพรทท์ & วิทนีย์ ฮอร์เนต อาร์-๙๗๕ อี ๓ กำลัง ๔๒๐ แรงม้า

เพื่อบรรจุเป็นเครื่องบินฝึกของโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศที่

ทุ่งกุดทอง นครราชสีมา

เครื่องบินแบบ ๘๗ เครื่องบินฝึกขั้นสูงแบบ ๕ (บ.ฝ.๕)

๒. เกียรติประวัติที่สำคัญของเครื่องบินแบบที่ ๒๓

ในกองทัพอากาศ

กรณีพิพาทอินโดจีนไทย - ฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๘๔ (มกราคม พ.ศ.

๒๔๘๔ - กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๔) การสู้รบทางอากาศครั้งแรกของไทย

หมู่บินลาดตระเวนจันทบุรี เครื่องบินแบบ ๒๓ กองบินผสมพิเศษ

จันทบุรี สนามบินเนินพลอยแหวน ช่วงปี พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔

กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ตั้ง “กองทัพพายัพ” ขึ้น เพื่อร่วม

รุกรบและป้องกันตามหลักการร่วมยุทธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

เครื่องบินแบบ ๒๓ สังกัดกองบินน้อยผสมที่ ๘๐

เครื่องบินแบบ ๒๓ สังกัดกองบินน้อยผสมที่ ๘๐

ที่สนามบินเชียงราย เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕

ในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เครื่องบินแบบ ๒๓ มีบทบาท

ในการรบมาก เมื่อครั้งฝรั่งเศสบินล้ำแดน กองทัพอากาศได้ส่ง

เครื่องบินแบบ ๒๓ ปฏิบัติงานดินแดนเขตข้าศึก ทำลายที่หมาย

โดยตามคำสั่งกองทัพอากาศสนามทางวิทยุ

28

ในสงครามมหาเอเชียบูรพา เครื่องบินแบบที่ ๒๓ มีบทบาท

สำคัญในการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน - ตรวจการณ์ โจมตีทาง

อากาศ ถ่ายรูปทางอากาศ ส่งกลับทางอากาศทางสายแพทย์ รับ-ส่ง

กำลังพล โดยถอดปืนหลังออกสามารถลำเลียงผู้โดยสารได้ ๒ คน

รวมทั้งปฏิบัติภารกิจทิ้งเวชภัณฑ์ให้กำลังทางบก

พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ


การถ่ายภาพทางอากาศจากเครื่องบินแบบ ๒๓

ในสงครามมหาเอเชียบูรพา นอกจากเครื่องบินแบบ ๒๓ จะ

มีบทบาทสำคัญในการรบแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการฝึกนักบิน

ของกองทัพอากาศอีกด้วย เนื่องจากองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทยใช้

สนามบินดอนเมืองเป็นฐานทัพอากาศที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ ซึ่ง

เป็นเป้าหมายที่อาจจะถูกโจมตีทางอากาศได้ทุกเวลา เพื่อให้การฝึก

ศิษย์การบินดำเนินไปโดยต่อเนื่อง กองทัพอากาศจึงเคลื่อนย้ายกอง

โรงเรียนการบินจากดอนเมืองไปตั้งใหม่ที่ตำบล กุดทอง อำเภอเมือง

จังหวัดนครราชสีมา เครื่องบินที่ใช้ในการฝึกในสมัยนั้นเครื่องบินฝึก

ขั้นต้นใช้เครื่องบินแบบ ๘๖ (แอฟโร่ ๕๐๔ เอ็น) และเครื่องบิน

แบบ ๘๗ (คอร์แซร์ หัวยาว) เครื่องบินฝึกขั้นปลายใช้เครื่องบินแบบ

๒๓ (คอร์แซร์ หัวสั้น) เครื่องบินแบบ ๑๗ (ฮอว์ค ๓) และ บ.ข.๗

(โบอิ้ง พี-๑๒อี)

ดินแดนในเขตสหรัฐไทยเดิมถึงเมืองเชียงตุง มีการใช้สีพรางเขียวแต่

ใช้ธงแดงช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของไทยแทนธงชาติวงกลมที่คล้าย

ของกองทัพอากาศอังกฤษ เพื่อป้องกันการสับสนของฝ่ายเดียวกัน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องบินแบบ ๒๓ กำหนดแบบใหม่

ว่า “เครื่องบินโจมตีแบบที่ (บ.จ.๑)”

๓. การปลดประจำการ

กองทัพอากาศปลดประจำการเครื่องบินแบบ ๒๓ หรือ บ.จ.๑

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓

บ.จ.๑ ในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ

บ.จ.๑ ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบิน

แห่งชาติ มีหมายเลข C/N 14682 ได้รับจากกรมช่างอากาศ เมื่อ

วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒ เดิมติดตั้งเครื่องยนต์ของ บ.ฝ.๖

หมายเลข R1340 AN1 ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้เปลี่ยนเป็น

เครื่องยนต์ WASP Si H2 No. PC513510

เครื่องบินแบบ ๘๗ (บ.ส.๕)

ในช่วงปลายสงครามมหาเอเชียบูรพา กองทัพอากาศสูญเสีย

เครื่องบินไปจำนวนมากจากการสู้รบและอุบัติเหตุ รวมทั้งประสบ

ปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุงและซ่อมบำรุงทำให้มีเครื่องบินพร้อม

ใช้งานลดลงจากจำนวนที่มีใช้งานจริง

ในช่วงสงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เครื่องบินแบบ

๒๓ ใช้สีบรอนซ์เงิน ในช่วงต้นสงครามมหาเอเชียบูรพาใช้สีพราง

เขียวเช่นเดียวกับเครื่องบินแบบ ๑๗ แต่ช่วงที่มีการบุกเข้ายึดครอง

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

สีเดิมของ บ.จ.๑ เป็นสีพราง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๑

เปลี่ยนเป็นสีเงิน บ.จ.๑ หมายเลข C/N 14682 เป็นเครื่อง วี-๙๓ เอส

ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีตั้งแสดงทั่วโลก

อ้างอิง : ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

29


สมุดปกขาวของจีน

เรื ่อง “ความร่วมมือเพื ่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” (ตอนที ่ ๓)

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้าราชการบำนาญ

สำ

นักงานสารนิเทศคณะรัฐมนตรีจีน ได้เผยแพร่สมุดปกขาว

ของจีน เรื่อง “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔ โดยสำหรับ

ตอนที่ ๓ นี้ จะกล่าวถึงความคืบหน้าของการร่วมมือพัฒนาระหว่าง

ประเทศของจีนซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. การขยายขนาดความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี

๒๐๑๓ - ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๖๑) จีนได้ให้ความช่วยเหลือแก่

๑๒๒ ประเทศ และองค์กรพหุภาคีระหว่างประเทศ รวมทั้งระดับ

ภูมิภาค ๒๐ แห่งในเอเชีย แอฟริกา ละตินอเมริกา แคริบเบียน

โอเชียเนียและยุโรป ในบรรดาประเทศเหล่านี้มี ๓๐ ประเทศใน

เอเชีย ๕๓ ประเทศ ในแอฟริกา ๙ ประเทศ ในโอเชียเนีย ๒๒ ประเทศ

ในละตินอเมริกา และแคริบเบียน รวมอีก ๘ ประเทศในยุโรป กล่าวคือ

30

๑.๑ จีนได้เพิ่มขนาดของกองทุนช่วยเหลือจากต่าง

ประเทศอย่างต่อเนื่องและขยายขอบเขตความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ตั้งแต่ปี ๒๐๑๓ - ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๖๑) ความช่วยเหลือ

จากต่างประเทศของจีนเป็นจำนวนเงิน ๒.๗๐๒ พันล้านหยวน

ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือฟรีเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยและเงินกู้ตาม

สัมปทาน ในจำนวนนี้มีการให้ความช่วยเหลือฟรี ๑๒๗.๘ พันล้านหยวน

คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๓๐ ของความช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งหมด

ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการสร้าง

โครงการสวัสดิการสังคมขนาดเล็กและขนาดกลาง

๑.๒ ดำเนินความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ความร่วมมือทางวิชาการ ความช่วยเหลือด้านวัสดุและกองทุนความ

ร่วมมือใต้ - ใต้ และโครงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมฉุกเฉิน

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


๑.๓ การให้เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยจำนวน ๑๑.๓ พันล้านหยวน

ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๔.๑๘ ของความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการ

สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะทางสังคมและโครงการ

ทำมาหากิน

๑.๔ จัดหาเงินกู้สัมปทานความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

จำนวน ๑๓๑.๑ พันล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๕๒ ของความ

ช่วยเหลือจากต่างประเทศทั้งหมด เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนา

อื่น ๆ ในการสร้างโครงการการผลิตที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

และสังคม ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และขนาดกลาง

การจัดหาอุปกรณ์ครบชุดผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลและไฟฟ้า บริการ

ด้านเทคนิคและอื่น ๆ เป็นต้น

๒. วิธีการที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งวิธี

การดำเนินการช่วยเหลือของจีนนั้นขึ้นอยู่กับ

การสร้างของชุดโครงการจัดหาวัสดุและ

ดำเนินความร่วมมือทางเทคนิค การเพิ่ม

โครงการกองทุนช่วยเหลือความร่วมมือ

ใต้ - ใต้ใหม่ และคิดค้นวิธีการและวิธีการช่วย

เหลือจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี

๒๐๑๓ - ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๕๖ - ๒๕๖๑)

ได้แก่

๒.๑ ช่วยสร้างชุดโครงการที่สมบูรณ์

ทั้งหมด ๔๒๓ โครงการ โดยเน้นที่โครงสร้าง

พื้นฐานการเกษตรและสาขาอื่น ๆ

๒.๒ จัดหาวัสดุทั่วไป โดยได้ให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุ

ทั้งหมด ๘๙๐ ชุด ใน ๑๒๔ ประเทศและภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่รวมถึง

อุปกรณ์เครื่องจักรกล อุปกรณ์ทดสอบยานพาหนะขนส่ง ยาและ

อุปกรณ์ทางการแพทย์

๒.๓ ดำเนินความร่วมมือทางเทคนิค โดยดำเนินโครงการ

ความร่วมมือทางวิชาการ ๔๑๔ โครงการใน ๙๕ ประเทศและภูมิภาค

ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดการในภาคอุตสาหกรรม

การปลูกและการเพาะพันธุ์ทางการเกษตร วัฒนธรรมและการศึกษา

การฝึกอบรมด้านกีฬา การแพทย์และสุขภาพ การพัฒนาพลังงาน

สะอาด การให้คำปรึกษาด้านการวางแผนและสาขาอื่น ๆ

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

31


๒.๕ กองทุนช่วยเหลือความร่วมมือใต้ - ใต้

โดยในช่วงปลายปี ๒๐๑๙ (พ.ศ.๒๕๖๒) จีนได้ดำเนิน

โครงการ ๘๒ โครงการกับองค์กรระหว่างประเทศ

๑๔ แห่ง เช่น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และ

องค์การอนามัยโลก ฯลฯ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการ

เกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การลดความ

ยากจน การฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ สุขภาพแม่และเด็ก

เป็นต้น

๒.๖ จัดส่งทีมแพทย์ช่วยเหลือโดยสิ้นปี

๒๐๑๙ จีนได้ส่งทีมแพทย์ทั้งหมด ๒๗,๔๘๔ ทีม ไปยัง

๗๒ ประเทศ

๒.๗ ส่งอาสาสมัครรุ่นเยาว์และครูสอน

ภาษาจีนอาสาสมัครมากกว่า ๒๐,๐๐๐ คน ไปยังกว่า

๘๐ ประเทศ

๒.๘ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

ฉุกเฉินแก่ ๖๐ ประเทศรวมถึงจัดหาวัสดุและอุปกรณ์

ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในกรณีฉุกเฉิน การส่งทีม

กู้ภัยและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

๒.๙ การลดหรือยกเว้นหนี้ของประเทศ

ที่เกี่ยวข้องซึ่งยากจน ซึ่งจีนปลดหนี้เงินกู้ปลอด

ดอกเบี้ยรวม ๙๘ รายการ โดยมียอดสะสม ๔.๑๘๔

พันล้านหยวน

๒.๔ ดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

โดยผ่านการดำเนินการสัมมนาฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ

สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน

32

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

๓. ความก้าวหน้าใหม่ในการจัดการการปฏิรูปเพื่อปรับตัวให้

เข้ากับการพัฒนาของสถานการณ์ใหม่ได้ดีขึ้น โดยจีนได้ปฏิรูประบบ

และกลไกความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ปรับปรุงระดับการ

บริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือ

ด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในยุคใหม่

๓.๑ ในการปฏิรูประบบ จีนได้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือ

เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งชาติเป็นหน่วยงานโดยตรง

ภายใต้คณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนเมษายน ปี ๒๐๑๘ (พ.ศ.๒๕๖๑)

๓.๒ ปรับปรุงกลไกการประเมินผู้เชี่ยวชาญของโครงการ

ช่วยเหลือ เพื่อปรับปรุงคุณภาพและเชิงลึกของการศึกษาความเป็น

ไปได้ของโครงการ รวมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

บทสรุป ขนาดของความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่าง

ประเทศของจีน ซึ่งได้ขยายเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีความ

โน้มเอียงไปสู่ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในเอเชียและแอฟริกา

ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนาตามข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”

/ “สายแถบและเส้นทาง” “Belt and Road Initiative

: BRI”) เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ใน

ประเทศและต่างประเทศได้ดีขึ้น ดังนั ้น จีนจึงได้ปฏิรูประบบการ

จัดการ วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างแข็งขันที่จะทำให้ผลของความร่วมมือ

ดียิ่งขึ้นและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของความร่วมมือด้านการ

พัฒนาระหว่างประเทศ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2021-01/10/content_5578617.htm

33


เงื ่อนไขในแดนลับ

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ

รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

ปั

ญหาความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการ

พิสูจน์ทราบอย่างแน่ชัดว่า เป็นการกระทำอย่างเป็นกระบวนการ

มียุทธศาสตร์ และแผนงานการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ จึงส่งผล

ให้การต่อสู้กับรัฐสามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน การขับเคลื่อน

การต่อสู้ของขบวนการแห่งนี้ ยังคงดำรงความต่อเนื่องมาเป็น

เวลาหลายสิบปี โดยเน้นยุทธศาสตร์การยึดครองประชาชนในหมู่บ้าน

เป็นฐาน และอาศัยการบ่มเพาะแนวความคิดการก่อความไม่สงบให้กับ

ประชาชนเป้าหมายในพื้นที่ โดยอาศัยรากเหง้าทางประวัติศาสตร์

ชาติพันธุ์ เป็นเงื่อนไขสำคัญร่วมกับการใช้ความเป็นตัวตนเฉพาะถิ่น

ในพื้นที่ และหลักความเชื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย

ทางยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างความรู้สึก

นึกคิดให้ประชาชนในพื้นที่มีความเห็นต่างจากรัฐ เพื่อนำประชาชน

เหล่านั้นมาเป็นแนวร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่แห่งนี้

ในที่สุด ซึ่งรัฐได้ใช้ความพยายามอย่างแรงกล้าที่จะลดและขจัดเงื่อนไข

ต่าง ๆ ดังกล่าว โดยเฉพาะเงื่อนไขที่แกนนำขบวนการฯ มักจะปลุกปั่นว่า

ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ

ด้วยบริบทของคำว่า ยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน เป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับ

ประเทศไทยที่คนส่วนใหญ่ยังไม่มีความคุ้นเคยในเรื ่องนี้ หากแต่

34

สามารถใช้แนวทางยุติธรรมเปลี่ยนผ่านนี้ มาประยุกต์ใช้ในการแก้

ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ปลายด้ามขวานได้ ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีการ

ดำเนินงานที่เข้มแข็ง เป็นระบบ มีการไปพูดคุยกับผู้คนที่เกี่ยวข้องด้วย

การเข้าไปรับฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นหาความจริง ทั้งนี้ อาจจะ

เป็นในรูปแบบของการทำประชาพิจารณ์เพื่อให้ได้ความรู้ที่เป็นองค์รวม

ทั้งนี้ กระบวนการทางยุติธรรมสามารถหล่อหลอมให้ประชาชนผู้หลงผิด

และเคยเห็นต่างจากรัฐให้เปลี่ยนความคิด ปรับทัศนคติในการมอง

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่อีกแง่มุมหนึ่ง และรอบด้านมากขึ้น เพื่อให้

เกิดการคิดเชิงบวก (Positive Thinking) มากขึ้น ด้วยการมีส่วนร่วม

ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและเคยหลงผิด เห็นต่างจากรัฐ ไม่ให้สร้างและ

ขยายเครือข่ายแบ่งแยกดินแดน ตลอดจนไม่ให้กลับมากระทำความผิดซ้ำ

อันเป็นการตัดวงจรขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่แห่งนี้ได้อย่าง

แท้จริง

ด้วยยุติธรรมเปลี่ยนผ่านเพื่อการร่วมมือกันแก้ปัญหาและ

ร่วมพัฒนาท้องถิ่นตามแนวทางสันติวิธี (Peaceful Way) อันจะเป็น

ประโยชน์ต่อการนำความสงบสุขมาสู่พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ได้อีกครั้งหนึ่งนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบกลไกของเรือนจำที่ควบคุม

ผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงในพื้นที่ปลายด้ามขวาน จะต้องสอดประสานกัน

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ


อย่างแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกันกับหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่

เพื่อให้เกิดระบบยุติธรรมเปลี่ยนผ่านนี้ เกิดประโยชน์กับงานด้านความ

มั่นคง โดยเฉพาะผู้หลงผิดทั้งที่ยังเป็นจำเลยและผู้ต้องขังในคดีความ

มั่นคง และมีโอกาสสูงในการส่งต่อขยายความคิดเห็นต่างในแง่มุม

ต่าง ๆ กับรัฐไปยังผู้ต้องขังคดีอื่น ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในเรือนจำ

ต่าง ๆ ในพื้นที่

แม้กระบวนการในเรือนจำที่มีในปัจจุบันจะดำเนินการด้วยการ

เคารพในสิทธิความเชื่อ และวิถีชีวิตตามหลักศาสนาอย่างมากแล้ว

ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารฮาลาล ที่ประกอบอาหาร

ด้วยผู้ต้องขังชาวมุสลิมเอง หรือการละหมาดตามห้วงเวลาที่กำหนด

ในหลักศาสนาอิสลาม การปรับห้วงเวลารับประทานอาหารของพี่น้อง

ผู้ต้องขังชาวมุสลิมให้เหมาะสมในห้วงถือศีลอด ตลอดจนการถ่ายทอด

คำสอนตามหลักศาสนาก็ตาม หากแต่สภาพของความคิดที่ยังเป็น

ปัญหาคับข้องใจของผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงก็คือ การที่พวกเขาไม่ได้

รับความยุติธรรมเท่าที่ควร เหล่านี้คือเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลให้ผู้พ้นโทษ

และออกไปจากเรือนจำไปแล้ว ตลอดจนครอบครัว มีโอกาสความเป็น

ไปได้สูงที่จะมีความหวาดระแวงการดำเนินการของรัฐอยู่ต่อไป ซึ่งล่อแหลม

ต่อการตกเป็นเป้าหมายในการขยายแนวร่วมของขบวนการแบ่งแยก

ดินแดนในรูปแบบต่าง ๆ ที่สืบทอดและร่วมขยายแนวคิดการเห็นต่าง

จากรัฐ เพราะความคิดของการไม่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม

เหล่านั้น ได้ถูกแผ่ขยายถ่ายทอดไปยังกลุ่มผู้ต้องขังรายอื่น ๆ โดยเฉพาะ

ผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงฯ ด้วยกันในเรือนจำ ตลอดจนบุคคลใน

ครอบครัวที่มาเยี่ยมในเรือนจำ อันจะเป็นการขยายต่อความเห็นต่าง

จากรัฐให้กว้างขวางออกไป ด้วยเงื่อนไขความไม่เชื่อมั่นในระบบของรัฐ

ตามที่กล่าวอ้าง

ด้วยสภาพของความคิดในปัจจุบันของผู้ต้องขัง ที่สืบเนื่องจาก

การที่ส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับในกระบวนการพิจารณาคดีที่ผ่านมา

ข้างต้น ยังส่งผลให้กลุ่มผู้ต้องขังเหล่านั้น มีความคิดที่ขุ่นเคืองรัฐ ด้วย

คิดว่า รัฐ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้นเหตุที่ทำให้คนในครอบครัวของเขา

ต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ด้วยความยากลำบาก ด้วยผู้ต้องขังส่วนใหญ่เป็น

หลักสำคัญในการหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งเมื่อคนเหล่านี้ถูกพิจารณาว่า

มีความผิดในคดีความมั่นคงฯ ตามที่ถูกกล่าวหา จึงทำให้ถูกจำขังใน

เรือนจำ อันส่งผลให้คนอันเป็นที่รักของคนเหล่านี้ต้องลำบากในการ

ใช้ชีวิต ความรู้สึกเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำความคับข้องใจของผู้ต้องขังเหล่านี้

ให้มีความเห็นต่างจากรัฐมากขึ ้นเรื่อย ๆ และมีแนวโน้มของความคับ

ข้องใจจนเป็นเหตุของความคิดแปลกแยกแตกต่างจากรัฐมากขึ้น

รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวของผู ้ต้องขังที่ยังคงรู ้สึกไม่ปลอดภัย

ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นเดิมของตน ด้วยหวาดระแวงจากการสืบทอด

ความคิดต่อ ๆ กัน และคิดไปเองว่า อาจถูกเจ้าหน้าที่รัฐเพ่งเล็ง

ตรวจสอบพฤติกรรมเป็นพิเศษ จนถึงขั้นคิดไปว่าอาจถูกยัดเยียดข้อหา

ความมั่นคง เหล่านี้คือต้นตอของความเห็นต่างจากรัฐ อันเป็นเงื่อนไข

ในเรือนจำซึ่งถือเป็นแดนลับจากโลกภายนอกที่ล่อแหลมต่อการขยาย

แนวคิดแปลกแยกจากขบวนการแบ่งแยกดินแดน ให้เกิดแนวร่วม

ขบวนการฯ ได้โดยง่าย บนพื้นฐานของการไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในกระบวนการยุติธรรมของรัฐ ซึ่งนั่นจะเป็นมูลเหตุสำคัญในการขยาย

ความคิดคับข้องใจ ออกห่างจากรัฐ และมีแนวโน้มในการปลีกตัว

ออกห่างจากรัฐมากขึ้น ทั้งตัวผู้ต้องขังเอง ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว

และมิตรสหายในพื้นที่ให้ออกห่างจากรัฐ และมีโอกาสเข้าเป็นแนวร่วม

ในขบวนการแบ่งแยกดินแดน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ได้ในที่สุด

กระบวนการสร้างความเห็นต่างจากรัฐในเรือนจำ จึงเป็นเงื่อนไขในแดนลับ

ที่หน่วยงานความมั่นคงจะมองข้ามไม่ได้

แหล่งที่มา : httpsmgronline.com559000007480201., httpswww.bangkokbiznews.

com640x390_561980_1412155542., httpswww.mtoday.co.th., httpswww.

pptvhd36., httpswww.pptvhd36.webp

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

35


ศูนย์การเรียนรู้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“ศูนย์สาธิตการเกษตรกรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่ายสุรนารี”

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ศู

นย์ฯ นี้ตั้งอยู่ระหว่างถนนพิบูลละเอียดกับถนนเดชอุดม

ติดสวนน้ำบุ่งตาหลั่วเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙ มีเป้าหมาย

เพื่อเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้

และกว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ

สำหรับประชาชนในท้องถิ่น ภายในศูนย์ฯ แบ่งออกเป็น

อาคารนิทรรศการศูนย์การเรียนรู้ เป็นหัวใจหลักของศูนย์ฯ

มีลักษณะเป็นอาคาร ๓ ชั้น จัดแสดงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในรูปแบบของนิทรรศการ วีดิทัศน์และข้าวของเครื่องใช้ ไม่ว่าจะ

เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ระบบนิเวศในนาข้าว ประโยชน์ของป่า

และการปลูกพืชผักให้เหมาะสมกับฤดูกาล เป็นต้น

อาคารนิทรรศการศูนย์ศิลปาชีพ เป็นอาคารที่รวบรวมงาน

ศิลปาชีพทั่วภาคอีสาน ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม

ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงส่งเสริมมานานกว่า ๓๐ ปี

โดยนำผลงานของกลุ่มศิลปาชีพอันหลากหลายมาจัดแสดงไว้ ทั้งผ้าไหม

เครื่องจักสาน ดอกไม้ประดิษฐ์ และเครื่องปั้นดินเผา ซึ ่งแต่ละชิ้น

ล้วนงดงามและประณีตเป็นอย่างยิ่ง

36

บ้านเกษตรกร การจำลองแบบเหมือนจริงของบ้านชนบท

อย่างง่าย ๆ ซึ่งอยู่ได้ตามแบบพอมีพอกิน โดยผู้เข้าชมสามารถจดจำ

ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งยังมีการสาธิตการทำบัญชีแบบ

ง่าย ๆ ให้ดูด้วย โดยผู้เข้าชมจะเห็นถึงแนวทางการนำหลักปรัญญา

เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ศูนย์จำหน่ายสินค้าศิลปาชีพ ภายในมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์

อันหลากหลายในราคาย่อมเยา แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ การจำลอง

ที่ดินเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยจัดแบ่งที่ดินเป็นส่วน ๆ เพื่อเลี้ยงปลา

โคเนื้อ หมู เป็ดเทศ ไก่ไข่ ปลูกข้าว รวมทั้งทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้เองเพื่อ

รักษาสิ่งแวดล้อม อันจะนำมาซึ่งรายได้และความเป็นอยู่อย่างพอเพียง

นอกจากนี้ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ยังมีห้องประชุมสัมมนา จำนวน ๒ ห้อง

พร้อมเครื่องขยายเสียงอุปกรณ์การนำเสนอต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่

หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ทั้งนี้

ศูนย์การเรียนรู้ฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้จัดฐานการเรียนรู้

จำนวน ๑๖ ฐาน ทำการอบรมเผยแพร่ความรู้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมศึกษา

ดูงาน สำหรับประชาชนผู้สนใจที่จะท่องเที่ยว พักผ่อน ทางศูนย์ฯ

ได้จัดเตรียมสถานที่พักซึ่งมีทั้งบ้านแบบน๊อกดาวน์ จำนวน ๑๐ หลัง

และยังมีเต็นท์ไว้บริการอีกจำนวน ๓๐ หลัง

**ศูนย์ฯ เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ -

๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม เว้นแต่การทำกิจกรรมในศูนย์ฯ**

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ ๒

ค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ๐ ๔๔๒๕ ๙๙๘๐

หรือติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก ศูนย์สาธิตการเกษตรกรรม ตามหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่ายสุรนารี

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

37


ยุทธการเสือดำสมรภูมิเขาค้อ

ตอนที ่ ๒

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เขาค้อ

ถล่มด้วยปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ๕๗ (ปรส.๕๗)

เฮลิคอปเตอร์กันชิพของกองทัพบกช่วยยิงสนับสนุนในสนามรบ

ช้าวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ รถแทรกเตอร์ของทหารช่าง

ช.พัน ๔ ทั้งแบบ D-4 จนถึง D-9 และรถแทรกเตอร์ของ

กรมทางหลวงถูกนำขึ้นไปทำทาง ทหารพรานจู่โจม ชุดควบคุมและ

ประสานงานโครงการ ๕๑๓ (ชค.๕๑๓) ค่ายปักธงชัย กองร้อย ๙๔๐

และกองร้อย ๙๔๘ ได้ออกไปวางกำลังเป็นรูปตัวยูคว่ำ คุ้มกันรถทำทาง

โดยมี พันตรี เดชา สถิรอังกูร และหัวหน้ายอดเป็นผู้นำในการคุ้มกัน

เช้าวันนั้นสายหมอกสีขาวได้โรยตัวลงมาอย่างหนาแน่นปกคลุม

ทั่วเขาค้อจนดูขาวโพลน วันนี ้ทหารทุกหน่วยต่างก็ทำหน้าที่ของแต่

ละหน่วยที่ได้รับมอบหมาย เสียงไม้เสียดสีกันดัง เอี๊ยด อ๊าด เอี๊ยด อ๊าด

แสงอาทิตย์พยายามแทรกซอนฝ่าสายหมอกลงสู่เขาค้ออย่างยากเย็น

กรกต เกตุแก้ว

อดีตทหารพรานจู่โจมกองร้อย ๙๑๑ ชค. ๕๑๓ ค่ายปักธงชัย

นกไพรในป่ากว้างเขาค้อโบยบินออกหากินตามวิถีของสัตว์โลก

ทหารพรานจู่โจมทั้งสองกองร้อยได้แทรกซึมอย่างเงียบกริบ

เข้าไปวางกำลังเป็นรูปตัวยูคว่ำในพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้รถแทรกเตอร์

สร้างทางผ่าน ปืนทุกกระบอกของทหารพรานจู่โจมกองร้อย ๙๔๐

และกองร้อย ๙๔๘ กระชับมั่นพร้อมเผชิญเหตุยิงสังหารศัตรูตลอดเวลา

ทหารพรานทั้งสองกองร้อยวางกำลังรูปตัวยูคว่ำ โดยมีรัศมีประมาณ

๖๐ เมตร

รถแทรกเตอร์ D-9 ของทหาร ช.พัน ๔ ติดเครื่องยนต์ดังกระหึ่มขึ้น

และเริ่มถากถางดันต้นไม้ทำทางเสียงรถแทรกเตอร์ดังกระหึ่ม

สะท้านเขาค้อ พลขับบังคับรถเดินหน้าถากถางดินและต้นไม้ ทางด้าน

หลังใกล้ ๆ กับรถแทรกเตอร์มีรถสายพานลำเลียงพล M-113 ติดปืนกล ๙๓

ติดเครื่องกระหึ่มเตรียมเข้ามาแทนที่แทรกเตอร์ เพื่อยิงเคลียร์ทำลาย

กลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่อาจซุ่มโจมตีรถแทรกเตอร์

ทหารพรานค่ายปักธงชัยทั้งสองกองร้อยวางกำลังคุ้มกันอยู่ห่าง

ออกไป สายตาของนักรบกล้าทุกนายเพ่งมองปานเรด้าร์เพื่อค้นหา

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ไปรอบ ๆ แต่เพราะภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบ

มีต้นไม้รก จึงไม่เห็นสิ่งผิดปกติหรือเห็นการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์ (ผกค.) ที่มาขัดขวางการสร้างทางในวันนั้นเหตุการณ์

ยังเงียบสงบ

เวลานี้เสียงกระหึ่มสะท้านเขาค้อของรถแทรกเตอร์ คนขับก ำลัง

บังคับรถให้ดันดินและต้นไม้ทำทาง ทำไปได้เพียงยี่สิบเมตรเท่านั้น

ทันใดนั้นก็มีเสียงระเบิดกึกก้องของปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ๕๗

(ปรส.๕๗) ของผู ้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์คำรามขึ้นจากเนินเขาลูกปืน

ปรส.๕๗ พุ่งลงมาจากเขาสูงที่ห่างออกไปร้อยกว่าเมตร ลูก ปรส.๕๗

พุ่งตรงเข้าหารถแทรกเตอร์ของกองพันทหารช่างที่ ๔ อย่างเร็ว

38

รถสายพานลำเลียงพล M-113 ติดปืนกล ๙๓ ทหารพรานจู่โจม ชค.๕๑๓ ค่ายปักธงชัยที่ได้รับบาดเจ็บ

กรกต เกตุแก้ว


ทหารพรานจู่โจม ชค.๕๑๓ ค่ายปักธงชัย ในสมรภูมิเขาค้อ ปี พ.ศ.๒๕๒๔

ลูกปืน ปรส.แหวกอากาศดังแฟ้ด ลูก ปรส.๕๗ สองลูกพุ่งเข้ามา

เร็วมากและเข้ากระทบเป้าอย่างจัง มีเสียงระเบิดดังกึกก้องขึ้นมาไล่ ๆ

กันสองครั้ง ตูมแรกลูก ปรส.๕๗ พุ่งชนรถแทรกเตอร์ ตูมที่สองลูก

ปรส.ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์พุ่งเข้าชนรถลำเลียงพล APC

M-113 ทำให้รถทั้ง ๒ คันได้รับความเสียหายทันที ลูกปืน ปรส.๕๗

ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ทั้งสองลูกช่างแม่นยำปานมือปืนทีมชาติ

ไทยเลย ลูกหนึ่งพุ่งเข้าตรงสายพานตีนตะขาบของรถแทรกเตอร์ทำให้

สายพานขาดสะบั้น รถแทรกเตอร์หยุดนิ่งทันที ตูมที่ ๒ ลูก ปรส.

พุ่งเข้าชนข้างรถสายพานลำเลียงพล ลูก ปรส.ทะลุเข้าไปในรถทำให้

ทหารที่อยู่ในรถได้รับบาดเจ็บหลายนาย นับเป็นการเปิดสงคราม

อย่างเป็นทางการ

จากนั้นเสียงปืนเสียงระเบิดของทั้งสองฝ่ายก็บรรเลงเพลงรบ

ถี่ยิบ ดังกึกก้องกัมปนาทสะท้านเขาค้อ พื้นที่ยึดครองสำคัญของ

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เขาค้อ

พื้นที่เขาค้อที่เงียบสงบมานาน

ไม่เคยมีทหารหน่วยไหนเข้าไป

ถึงมาหลายปีแล้ว วันนี้วันที่ ๑๗

กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ได้มีนักรบไทย

หลายหน่วยรวมทั้งทหารพราน

จู่โจม ชค.๕๑๓ ค่ายปักธงชัย

ได้บุกเข้าไปถึงรังใหญ่ฐาน

ที่มั่นอันแข็งแกร่งของผู้ก่อ

การร้ายคอมมิวนิสต์เขาค้อ แล้ว

ครับท่านผู้อ่าน

ในสงครามไม่มีความ

ปรานีทั้งสองฝ่ายย่อมอยากจะ

เป็นผู้ชนะ สิ่งที่ตามมาคือความ

เจ็บและความตายที่ทั้งสองฝ่าย

ต่างมอบให้กัน วันนี้เสียงปืน

เสียงระเบิดจึงดังกึกก้องเขาค้อ

ทหารพราน กรกต เกตุแก้ว

ร้อย ทพ.จู่โจม ๙๑๑ ค่ายปักธงชัย

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

ตลอดทั้งวัน ผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์เขาค้อยิงถล่ม

ด้วยปืน ปรส.๕๗ ปืน ค.๖๐

ปืนกลจาน ปืนอาก้า และนานาอาวุธ ทหารพรานตอบโต้ด้วย

ปืนกลจาน ปืนอาก้า จรวดอาร์พีจี ปืน ค.๘๒ ปรส.๘๒

ทหารหลักจากกองทัพภาคที่ ๓ ยิงถล่มด้วยปืนเอ็ม ๑๖ เอ็ม

๗๙ ปืนกล เอ็ม ๖๐ เสียงมัจจุราชในรูปของอาวุธสงครามนานาชนิด

คำรามกึกก้องเขาค้อ แม้ว่าจะถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ขัดขวาง

อย่างหนักแต่รถแทรกเตอร์คันที่ไม่ได้รับความเสียหายก็ทำทางดันดิน

ต่อไป ท่ามกลางเสียงปืนเสียงระเบิดที่ยิงปะทะกันตลอดเวลา

ทหารพรานจู่โจมค่ายปักธงชัยกองร้อย ๙๔๐ - ๙๔๘ ปะทะกับ

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ทั้งวันจนแทบจะไม่มีเวลาหายใจ จนเวลา

ล่วงเลยไปถึงบ่ายก็ยังไม่หยุดปะทะ ไม่มีเวลาแม้แต่จะกินข้าว

กินน้ำ เวลาบ่ายโมงเสือใหญ่ พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (ยศในขณะนั้น)

ผู้บัญชาการกองกำลังเขาค้อได้วิทยุขอการสนับสนุนทางอากาศจาก

เฮลิคอปเตอร์กันชิพ

บ่ายวันนั้นเฮลิคอปเตอร์กันชิพสามลำได้บินเข้ามาทำการโจมตี

ทางอากาศ (Air Strike) ยิงปืนกลอากาศและยิงจรวดฝักลงไปรอบ

พื้นที่การสู้รบ เสียงปืนกลอากาศ ปืนกลรวมแกน และจรวดฝัก

ดังสะท้านเขาค้อ พรึด! พรึด! พรึด! พรึด แฟ้ต ตูม! แฟ้ต ตูม! ลูกจรวด

ที่ติดอยู่ที่ขาสกีของเฮลิคอปเตอร์ยิงออกไปเสียงดังแฟ้ด!

ลูกจรวดพุ่งลงรอบ ๆ ทหารพรานค่ายปักธงชัยที่กำลังยิงปะทะ

กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ตกอยู่ห่างประมาณ ๔๐ เมตรระเบิด

บึ้ม! ต้นไม้หักโครมครามควันสีขาวลอยกระจาย เสียงยิงปะทะกันของ

ทหารไทยกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เขาค้อค่อย ๆ เบาบางลงไปและ

เงียบเสียงไปเมื่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ถูกเฮลิคอปเตอร์กันชิพยิง

ถล่มอย่างหนักในวันนั้น

เฮลิคอปเตอร์กันชิพยิงอยู่นานจนความมืดของราตรีกาลได้ปิด

ม่านสีดำลงมาแผ่ปกคลุมทั่วสมรภูมิเขาค้อ ทิ้งไว้แต่ความเงียบสงัด

วังเวง! ปานว่าที่ตรงนี้ไม่เคยมีการสู้รบกันมาก่อนเลยมีเพียงสายลม

พัดยอดไม้บนเขาค้อดังอู้อู้ ได้พักเหนื่อยซะทีนักรบไทยหลังจากยิง

ต่อสู้กันมาทั้งวันและเฉียดตายกันมา

ผลการปะทะกันกับผู้ก่อการร้ายในวันนี้ความเสียหายของฝ่าย

ทหารไทยรถแทรกเตอร์และรถสายพานลำเลียงพล M-113 ถูกยิง

ได้รับความเสียหายอย่างละคัน ส่วนทหารพรานจู่โจมค่ายปักธงชัย

ได้รับบาดเจ็บ ๓ นาย มีนายสิบ ๑ นาย ทหารพราน ๒ นาย แม้ว่าจะ

ปะทะกันหนักทั้งวันแต่ทหารพรานของเราก็ถือว่าสูญเสียน้อยมาก

ส่วนทหารหลักที่ร่วมปฏิบัติภารกิจนี้ได้รับความสูญเสียอย่าง

มากจากการยิงปะทะกันทั้งวันมีทหารของกองพันทหารราบที่ ๑

กรมทหารราบที่ ๔ (ร.๔ พัน๑) เสียชีวิต ๕ นาย บาดเจ็บ ๒๒ นาย

เป็นนายทหาร ๑ นาย ทหารเกณฑ์ ๒๑ นาย

กำลังเข้มข้นสงครามระหว่างทหารไทยกับผู้ก่อการร้ายเขาค้อ

กำลังเริ่มขึ้น ติดตามอ่านกันในตอนต่อไปครับ

39


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

รับรางวัลองค์กรที ่มีความเป็นเลิศ

ในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง

ครั้งที ่ ๗ ประจำปี ๒๕๖๓

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต

รองผู้อำนวยการกองเลขานุการ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

2019 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก

รัฐบาลได้มีการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังให้มีความ

สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อบรรเทาผลกระทบได้

อย่างตรงจุดทันต่อสถานการณ์ และเป็นที่พอใจของพี่น้องประชาชน

คนไทยทุกกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน สิ่งสำคัญจำเป็นต้องอาศัย

ความร่วมมือร่วมใจกันของทุกหน่วยงานเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการ

บริหารงานภาครัฐ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมี ความมั่นคง มั่งคั่ง

ยั่งยืน ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ

ดังนั้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้หน่วยงาน พลเอก ประยุทธ์

จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ได้เป็นประธานในการมอบรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการ

บริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ครั้งที่ ๗ ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ.๒๕๖๓ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี นายอาคม

เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสันติ พร้อมพัฒน์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บริหารกระทรวงการคลัง และ

ผู้แทนส่วนราชการ มหาวิทยาลัย หน่วยงานอื่นของรัฐที่ได้รับรางวัล

เข้าร่วมในพิธี โดยในการมอบรางวัลครั ้งนี้ สำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม ได้รับ ๒ รางวัล ได้แก่ รางวัลประกาศเกียรติคุณ

ด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ ระดับดี และรางวัลประกาศ

เกียรติคุณด้านปลอดความรับผิดทางละเมิด ระดับดีเด่น

พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย

40

พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เข้ารับ

รางวัลอันทรงคุณค่านี้ด้วยตนเอง

การได้รับรางวัลในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานด้านการ

ตรวจสอบภายในที่เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและ

จรรยาบรรณ การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่กระทรวงการคลัง

กำหนด และด้านปลอดความรับผิดทางละเมิด แสดงให้เห็นถึงการ

บริหารงานอย่างมีคุณธรรม ชัดเจน รอบคอบ โปร่งใส มีมาตรการ

ควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดและความเสียหายหรือ

เกิดการทุจริตภายในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งส่งผลให้การ

ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับของ

หน่วยงานภายนอกกระทรวงกลาโหม

โดยภายในงาน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหม ได้กล่าวแสดงความยินดีและชื่นชมหน่วยงานที่ได้รับรางวัล

เนื่องจากรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการ

เงินการคลัง ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติและเป็นความภาคภูมิใจของ

หน่วยงาน ที่จะส่งเสริมการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังในภาพรวม

ของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ นายก

รัฐมนตรียังได้กล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า การได้รับรางวัลถือเป็น

เรื่องที่ยาก แต่การรักษารางวัลไว้นั้น เป็นเรื่องที่ยากกว่า ขอให้หน่วย

ช่วยกันทำงานและเดินหน้าต่อไปอย่างรอบคอบ ลดผลกระทบด้าน

การเงินการคลัง และปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารจัดการการเงินการ

คลังให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ การขับเคลื่อนนโยบายทางเศรษฐกิจ

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต


โดยรวมของประเทศให้มีเสถียรภาพ สิ่งสำคัญจะต้องมีการบริหาร

จัดการภาครัฐที่ดี มีการตรวจสอบ ไม่ทุจริต มีความโปร่งใส ซึ่งจะช่วย

ลดปัญหาและขจัดปัญหาด้านการเงินการคลังของประเทศได้ รัฐบาล

ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการภาครัฐ โดยกำหนดตาม

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร

จัดการภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และสอดคล้อง

กับทิศทางการพัฒนาประเทศในทุกมิติ

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้แสดง

ความขอบคุณทุกหน่วยงานที่มุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง

มาโดยตลอด ขอให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง

ในภาพรวมของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนา

ประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป พร้อมกล่าวย้ำว่า

รางวัลที่ดีที่สุดคือ เกียรติยศและความไว้วางใจจากผู้อื่นที่มอบให้กับ

ตัวเรา

สำหรับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้าน

การเงินการคลังฯ พิจารณาประเมินตามขั้นตอนการบริหารด้านการ

เงินการคลัง ๕ มิติ ประกอบด้วย มิติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง มิติด้าน

การเบิกจ่าย มิติด้านการบัญชีภาครัฐ มิติด้านการตรวจสอบภายใน

ภาครัฐ และมิติด้านปลอดความรับผิดทางละเมิด ซึ่งแต่ละมิติได้มีการ

ปรับปรุงเกณฑ์ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยในปีนี้

จัดพิธีมอบรางวัลฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ จำนวน

๕๔ รางวัล แบ่งออก ๙ ประเภท ได้แก่

๑. รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการจัดซื้อจัดจ้าง

๒. รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการเบิกจ่าย

๓. รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการบัญชีภาครัฐ

๔. รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ

๕. รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านปลอดความรับผิดทางละเมิด

๖. รางวัลบุคคล/ทีมงานที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ

ด้านการเงินการคลัง

๗. รางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศรายด้าน

๘.รางวัลประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่มีการพัฒนาการ

ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง และ

๙. รางวัลประกาศเกียรติคุณส่งเสริมความเป็นเลิศในการ

บริหารจัดการด้านการเงินการคลัง

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ยังได้ฝากให้ทุกหน่วยงานช่วยกันเร่งสร้างความเชื่อมั่น ถึงแม้จะมีการ

กล่าวให้ร้ายบิดเบือนข้อเท็จจริง ขอให้ช่วยกันชี้แจง สร้างความเข้าใจ

ที่ถูกต้อง อย่าให้การบิดเบือนมาบั่นทอนกำลังใจ ยอมรับความเห็นต่าง

แล้วนำเอาความเห็นที่เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากช่องทางต่าง ๆ

มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

41


การส่งมอบ

ยุทโธปกรณ์พิเศษผลงานวิจัย

ประจำปี ๒๕๖๕

พันเอก ดร.กิตติ รัตนดิษฐ์

รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

มื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ พลโท สมเกียรติ สัมพันธ์ เจ้ากรม

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ส่งมอบยุทโธปกรณ์พิเศษ

ผลงานวิจัย ให้แก่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

โดยมี พลตรี ประเสริฐ กิตติรัต ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๔๒/

ผู้แทนผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ เป็นผู้รับมอบ

ณ มณฑลทหารบกที่ ๔๒ ค่ายเสนาณรงค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด

สงขลา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที ่จังหวัด

ชายแดนภาคใต้ ภายใต้แผนการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนการแก้ไข

ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวง

กลาโหม และสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๕ ในการดำรงความต่อเนื่องในการ

สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ อาทิ ปัญหาความไม่สงบ

ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนตาม

นโยบายของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เห็นชอบให้

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ดำเนินการวิจัยและพัฒนา

ทางด้านยุทโธปกรณ์เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที ่จังหวัด

ชายแดนภาคใต้เป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ป้องกันภัย

บุคคลและเครื่องมือพิเศษ ซึ่งในปีนี้มีผลงานวิจัยที่ส่งมอบให้แก่

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า จำนวน

๗ ผลงาน ดังนี้

42

๑. เครื่องค้นหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยการวัดค่าฮาร์โมนิค

สะท้อน จำนวน ๑ เครื่อง

๒. ระบบเฝ้าระวังและแจ้งเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน จำนวน

๑ ระบบ

๓. ระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

(AI) จำนวน ๒ ระบบ

๔. ระบบเฝ้าตรวจแจ้งเตือนในพื้นที่เมืองด้วยปัญญาประดิษฐ์

แบบเคลื่อนที่ (Mobile AI) จำนวน ๑ ระบบ

พันเอก ดร.กิตติ รัตนดิษฐ์


๕. กำแพงกันกระสุนด้วยบล็อกประสาน จำนวน ๑๒ กำแพง

๖. เครื่องมือเฝ้าตรวจการบุกรุกฐานปฏิบัติการ จำนวน

๓ เครื่อง

๗. รั้วสายดัก จำนวน ๔ ระบบ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อจัดสร้างอุปกรณ์ที่พัฒนามาจากอุปกรณ์ต้นแบบ

ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง

จัดสร้างอุปกรณ์เพื่อรักษาชีวิตและความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่

ที่ปฏิบัติภารกิจในเขตพื้นที่อันตราย โดยผลงานที่ได้จะต้องสำเร็จ

ในระยะเวลาอันสั้น ลงทุนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับที่จัดหาจาก

ต่างประเทศ

๒. เพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการยุทโธปกรณ์พิเศษผลงาน

วิจัย การสรรหาโจทย์วิจัย การวิจัยและพัฒนา การจัดสร้างอุปกรณ์

ต้นแบบ การส่งมอบ การฝึกอบรม/สาธิตการใช้งาน การติดตาม

ประเมินผลการใช้งานยุทโธปกรณ์พิเศษผลงานวิจัย สนับสนุนให้

เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานต่าง ๆ ที่ปฏิบัติการในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้

๓. เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายนักวิจัยภายนอกกระทรวง

กลาโหม เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันที่ดำเนินการเกี่ยวกับเทคโนโลยี

ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะที่เป็น

ประโยชน์ต่อการวิจัยพัฒนา สร้างการเรียนรู้และพัฒนาขีด

ความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านยุทโธปกรณ์พิเศษ

๔. สนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ สนองตามนโยบายผู้บังคับ

บัญชาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด

ชายแดนภาคใต้

ผลการประชุมหารือร่วมกับผู้แทนหน่วยใช้งานของกองอ ำนวยการ

รักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

๑. ความต้องการงานวิจัยที่มีความสำคัญเร่งด่วนของกอง

อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

๑.๑ อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่

พร้อมติดตั้งกล้องและอุปกรณ์เสริม สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ

ปิดล้อมตรวจค้น เพื่อตรวจการณ์ ติดตาม รวมทั้งทิ้งปล่อยอาวุธ

กระสุนและแก๊สน้ำตาได้

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

๑.๒ รถสะเทินน้ำสะเทินบก ที่สามารถบรรทุกเจ้าหน้าที่

ปฏิบัติการ จำนวน ๔ นาย มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสามารถกันกระสุนและติดตั้งระบบ

ควบคุมการยิงเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการยิงภายในตัวรถได้

๒. การบริหารจัดการยุทโธปกรณ์พิเศษผลงานวิจัยที่ส่งมอบ

๒.๑ ให้หน่วยใช้งานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคง

ภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ประเมินผลการใช้งานยุทโธปกรณ์พิเศษ

ผลงานวิจัยที่ได้รับมอบภายหลังการใช้งานเป็นระยะเวลา ๑ ปี

พร้อมทั้งข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไข

๒.๒ ให้กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม รับผิดชอบ

ในการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์พิเศษผลงานวิจัยที่ยังคงมีความต้องการ

ใช้งาน

๓. การขอรับการสนับสนุนการดำรงสภาพหรือเพิ่มประสิทธิภาพ

ยุทโธปกรณ์พิเศษ

ให้กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม หาแนวทางในการ

ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงยุทโธปกรณ์พิเศษ โดยร่วมกับเครือข่าย

การวิจัย ซึ่งที่ผ่านมา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔

ส่วนหน้า ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการดำรงสภาพหรือเพิ่ม

ประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์พิเศษที่มีใช้งานอยู่จากการจัดหาจาก

ต่างประเทศ

43


ก้าวข้ามอดีตสู่อนาคต…

ไทย-ซาอุดิอาระเบีย

กำ

ลังเป็นที่จับตาและขยับตัวเดินหน้าเพื่อขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว

ของทุกภาคส่วน ภายหลังจากหน้าประวัติศาสตร์ทางการ

ทูตระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบระหว่าง พลเอก

ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหม เดินทางไปเยือนซาอุดิอาระเบีย เพื่อปรับความสัมพันธ์

ระหว่างสองประเทศตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน

อับดุลอาซีซ อัล ซะอุด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดิอาระเบีย ท่ามกลางความ

หวังว่า ฟ้าที่เปิดกว้างระหว่างทั้งสองในรอบกว่า ๓๐ ปีจะนำมาซึ่ง

ความสำเร็จและเป็นโอกาสที่จะสร้างจุดเปลี่ยนในการพลิกผัน

เศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย

ภูมิภาคตะวันออกกลางมีความสำคัญในหลายด้านหากย้อน

ไปดูประวัติศาสตร์ของประเทศในภูมิภาคแห่งนี้จะเป็นแหล่ง

อารยธรรมและแหล่งกำเนิดของศาสนาที่สำคัญของโลก ๓ ศาสนา

คือ ยูดาห์ คริสต์ และอิสลาม รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่

สำคัญของโลกมุสลิมทั้ง ๓ แห่ง คือ นครเมกกะ นครมาดีนะฮ์ และ

นครยารุซาเล็ม ส่วนความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์เป็นแหล่งพลังงาน

ธรรมชาติที่มหาศาลมีทั้งก๊าซ น้ำมันและพลังงานทดแทน และยัง

44

จุฬาพิช มณีวงศ์

รองบรรณาธิการ วารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

เป็นจุดเชื่อมโยงกันระหว่าง ๓ ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรปและ

ทวีปแอฟริกา ฉะนั้นตรงนี้ที่ทำให้หลายประเทศต่างให้ความสำคัญ

เป็นพิเศษต่อภูมิภาคนี้ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานแล้ว

ภูมิภาคนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของปัญหาผู้ลี้ภัย ปัญหาการก่อการร้าย

ที่แทรกซึมเข้าถึงยุโรปได้โดยง่าย ดังนั้นยุโรปจึงให้ความสำคัญกับ

ภูมิภาคแห่งนี้เป็นอย่างมาก ประกอบกับสามารถเป็นแหล่งกระจาย

สินค้า และทางผ่านของสินค้าจากเอเชียเข้าสู่ยุโรปและแอฟริกา

โดยมีทะเลแดง และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ

จุฬาพิช มณีวงศ์


มีฐานทัพของประเทศมหาอำนาจมากมายรายล้อมอยู่ในพื ้นที่เพื่อ

ชิงความได้เปรียบในภูมิภาค มีการขยายอำนาจและขอบเขตอิทธิพล

กันเองตลอดเวลา

สำหรับประเทศไทยภูมิภาคตะวันออกกลาง มีความสำคัญใน

บริบทของการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ประเทศไทยต้องการความร่วมมือในด้านข่าวกรอง และการต่อต้าน

การก่อการร้ายเป็นแหล่งความมั่งคั่งทางพลังงาน เป็นตลาดที่ไทย

สามารถส่งออกแรงงานได้ เป็นจุดเชื่อมต่อในการขยายการค้าส่งต่อ

ไปยังยุโรปและเอเชียกลาง และยังมีความสำคัญกับประเทศไทยใน

ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอุตสาหกรรมอาหาร

ฮาลาล

เมื่อเอ่ยถึงตะวันออกกลาง เราสามารถหลับตานึกถึงดินแดนที่

ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรป เอเชียและแอฟริกา ครอบคลุมอาณาบริเวณ

กว้างขวางตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกาชายฝั่งตะวันออกของ

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือที่เรียกว่า พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

(Fertile Crescent) และบริเวณคาบสมุทรอาระเบียดินแดนรอบ

อ่าวเปอร์เซีย ตะวันออกกลางมีทั้งหมด ๑๖ ประเทศ บาห์เรน โอมาน

อียิปต์ อิหร่าน ตุรกี อิรัก อิสราเอล จอร์แดน คูเวต กาตาร์

ซาอุดิอาระเบีย เลบานอน ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และ

ดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา) โดยเฉพาะสำหรับ

ซาอุดิอาระเบียนั้น เพียงแค่มหานครเมกกะดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของ

ชาวมุสลิมเป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนพากันไปเยือน เป็นประเทศที่ใหญ่

ที่สุดในคาบสมุทรอาหรับหรือตะวันออกกลาง มีมัสยิดฮารอม

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

ซึ่งเป็นมัสยิดที่สำคัญที่สุดทางอิสลาม ซึ่งทุกปีจะมีเทวานักแสวงบุญ

เดินทางมาประกอบพิธีทางศาสนาซึ่งเรียกกันว่า “พิธีฮัจญ์”

เป็นจำนวนมาก

ซาอุดิอาระเบีย นับเป็นประเทศอาหรับประเทศแรก ๆ ที่

สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม

พ.ศ.๒๕๐๐ โดยในระยะแรกยังไม่มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต คงมี

เพียงการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางกงสุลระหว่างกัน โดยไทยเปิดสถาน

กงสุลใหญ่ที่เมืองเจดดาห์ และซาอุดิอาระเบียเปิดสถานกงสุลใหญ่

ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๘

คณะรัฐมนตรีซึ่งมีมติเห็นชอบแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำ

ซาอุดิอาระเบียความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่าง

ราบรื่นมีการแลกเปลี่ยนการเยือนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง

45


เกิดคดีโจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล คดีฆาตกรรมนักการ

ทูตซาอุดิอาระเบีย (๓ คดี รวม ๔ ศพ) และคดีการหายสาบสูญ

ของนักธุรกิจซาอุดิอาระเบียระหว่างปี พ.ศ.๒๕๓๒ - ๒๕๓๓ ความ

สัมพันธ์ก็สั่นคลอนและนำไปสู่ผลกระทบหลายด้าน ก่อนความ

สัมพันธ์ระหว่าง ๒ ประเทศประสบปัญหา ซาอุดิอาระเบียมีความ

สำคัญต่อไทยหลายด้านนับตั้งแต่การเป็นตลาดแรงงานที่ใหญ่ที่สุด

ของไทยในตะวันออกกลาง บางช่วงเคยมีแรงงานสูงสุดถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน

นำรายได้เข้าประเทศเฉลี่ยปีละ ๙,๐๐๐ ล้านบาท ไทยนำเข้า

น้ำมันดิบจากซาอุดิอาระเบียมากเป็นอันดับ ๓ รองจากสหรัฐอาหรับ

เอมิเรตส์ UAE และโอมาน เฉลี่ยปีละ ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ ล้านดอลล่าสหรัฐ

เป็นตลาดคู่ค้าที่สำคัญอันดับ ๒ ของไทย ในตะวันออกกลาง

เป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามที่แต่ละปีมีผู้แสวงบุญชาวไทย

เดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ประมาณปีละ ๑๐,๐๐๐ คน และ

ซาอุดิอาระเบียยังเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือไทยในด้าน

ต่าง ๆ อาทิ เงินกู้เพื่อการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้า การก่อสร้าง

อิสลามวิทยาลัยในจังหวัดยะลา

ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ซาอุดิอาระเบียมี

มาตรการตอบโต้ ได้แก่ การห้ามมิให้คนซาอุดิอาระเบียเดินทางมาไทย

การไม่ออกวีซ่าให้คนไทยไปทำงานในซาอุดิอาระเบียเพิ่มขึ้น การไม่ให้

การตรวจลงตราไป-กลับแก่คนไทยในซาอุดิอาระเบียที่ประสงค์

จะเดินทางกลับประเทศ และการลดระดับตัวแทนทางการทูต

เป็นระดับอุปทูต

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ

ต่างประเทศ กล่าวว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐบาลไทยหลายชุดได้

พยายามที่จะหาหนทางปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้

กลับเป็นปกติแต่ในรัฐบาลชุดนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้เรื่องราว

ต่าง ๆ พัฒนามาถึงจุดนี้และบรรยากาศเป็นใจ ผลักดันให้เกิดการประชุม

ร่วมกันหลายครั้ง อาจกล่าวได้ว่าในช่วง ๖ ปี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามเรื่องนี้

และมีความมุ่งมั่นตลอดมาโดยการพบปะหารือระหว่างท่านนายกรัฐมนตรี

46

จุฬาพิช มณีวงศ์


กับองค์มกุฎราชกุมารก็เป็นไปอย่างดีมาก เดิมที่มีการตกลงกัน

ว่าการหารือจะสั้นกระชับ เน้นเรื่องหลัก ๆ ที่สะท้อนการปรับความ

สัมพันธ์เป็นปกติ แต่ปฏิบัติจริงทั้งสองกลับพูดคุยกันได้เรื่อย ๆ ใน

บรรยากาศที่เป็นกันเอง และผู้นำทั้งสองกลับพูดคุยตกลงกันเป็น

รูปธรรม เช่น พร้อมซื้อไก่ฮาลาลจากไทย และพร้อมเปิดเส้นทางบิน

ระหว่างสองประเทศโดยเร็ว เพื่อให้คนสองประเทศไปมาหาสู่กันได้

และในช่วงอาหารกลางวันองค์มกุฎราชกุมารได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรี

หลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องฟอร์มูล่าวัน อี-สปอร์ต แอนิเมชั่น ไปจนถึง

เรื่องสุขภาพ

ภาพรวมที่ออกมาจึงเป็นการหารือที่ดีมากมีผลสำเร็จใน

๙ ด้าน ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการท่องเที่ยว พลังงาน แรงงาน อาหาร

สุขภาพ ความมั่นคง การศึกษา ศาสนา การค้าการลงทุนและการ

กีฬา ทั้งองค์มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรี เป็นนักปฏิบัติที่ต้องการ

เห็นทุกอย่างบรรลุผลอย่างรวดเร็ว ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงให้คุณค่า

ต่อพลวัตที่เกิดขึ้นและความร่วมมือที่จะช่วยกันขับเคลื่อนต่อไป

นายดอน ปรมัตถ์วินัย ยังได้กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศ

ที่มีศักยภาพ ขณะนี้เรามีความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มอาหรับ

ทุกประเทศ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์กับซาอุดิอาระเบียอาจ

ไม่เต็มที่ การที่นายกรัฐมนตรีคอยผลักดัน กระตุ้น และติดตามผล

อย่างใกล้ชิดเป็นการยากที่ทำให้ทุกอย่างเดินไปได้อย่างคล่องตัวใน

การหารือกับฝ่ายซาอุดิอาระเบียไม่ได้พูดถึงคำสั่งต่าง ๆ ในอดีต

เพราะเขาก้าวข้ามไปอย่างสิ้นเชิงแล้วเราอยากเห็นความสัมพันธ์ไทย

กับประเทศต่าง ๆ และกลับซาอุดิอาระเบียที่ได้ฟื้นขึ้นมาอย่างยาก

ลำบากสามารถเข้าไปได้อย่างสง่างามเกิดประโยชน์และทรงคุณค่าอย่าง

ยั่งยืนโดยคนไทยทุกคนมีส่วนในการช่วยกันส่งเสริมความสัมพันธ์

คาดว่าภายในเดือนนี้เราจะเริ ่มได้เห็นกลไกในการหารือ

ทวิภาคีระหว่างสองประเทศแผนแม่บทความร่วมมือการเตรียมการ

ในด้านต่าง ๆ โดยจะมีการเดินทางไปมาหาสู่กันของพลเมือง

ทั้งสองประเทศ จะมีการเปิดเที่ยวบินตรง การเดินทางไปเยือน

ซาอุดิอาระเบียของภาคเอกชนไทยเพื่อแสวงหาโอกาสในการค้าขาย

และธุรกิจ และนับเป็นนิมิตหมายอันดีที่เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน

บิน อับดุลอาซีซ อัล ซะอุด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซาอุดิอาระเบีย ทรงตอบที่จะเดิน

ทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการซึ่งจะทำให้ทุกอย่างมีความชัดเจน

มากยิ่งขึ้น

นับเป็นความสำเร็จที่ทุกฝ่ายแสดงความหวังที่จะท ำให้เกิดการ

ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอย่างที่หลายฝ่ายต่างรอคอย

แหล่งที่มา : httpsmatichon.co.th., httpswww.pptvhd36.comnews (2)., httpswww.

thaipost.nethi-light72576., httpswww.thairath.co.thnewsforeign2301057.

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

47


ภาพประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และคณะที่ปรึกษาในขณะสั่งการสังหารนายอาบู บักร์ อัล-บักดาดี ผู้นำของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส เมื่อ ๒๘ ตุลาคม ๒๐๑๙

ที่มา https://www.bbc.com/news/world-us-canada-50212011

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

กับภารกิจการต่อต้านการก่อการร้าย

“Mission (not) Accomplished”

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

รองผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

“Soleimani’s killing an act of (international) terrorism”

Noam Chomsky (2021)

“การสังหาร พลตรี สุไลมานี นับว่าเป็นการกระทำความผิดเข้าข่ายการก่อการร้าย”

ทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศึกษาหนังสือ

“The Precipice: Neoliberalism, the Pandemic and

the Urgent Need for Social Change” เขียนโดย Dr.Noam

Chomsky นักวิชาการด้านความมั่นคง จาก สถาบันเทคโนโลยี

แมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่ได้แสดงความเห็นว่า นโยบายด้านการ

ต่างประเทศในมิติด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ เป็นการ

ดำเนินการที่ผิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากการใช้

กำลังบังคับผ่านปฏิบัติการทหารบนอธิปไตยของรัฐอื่นหรือที่เรียกว่า

“การสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม” (extrajudicial killings)

ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายอีกทั้งวิธีการในการกำจัดศัตรู

นับว่าเข้าข่ายความผิดการก่อการร้ายเสียเอง “Act of International

Terrorism” ซึ่งในการวิจารณ์ครั้งนี้สืบเนื ่องมาจากกรณี

เหตุการณ์ เมื่อ ๓ มกราคม ๒๐๒๐ ที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์

(Donald Trump) ได้ตัดสินใจส่งโดรน (Drone) ติดจรวดแบบ

MQ-9 (Reaper) ที่ประจำการ ณ ประเทศใกล้เคียง (คูเวต/สหรัฐ

อาหรับเอมิเรตส์) ทำการบินเข้าสู่น่านฟ้า ณ กรุงแบกแดดของอิรัก

48

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


เพื่อสังหาร พลตรี กอเซ็ม สุไลมานี ผู้นำกองกำลังรบพิเศษของ

อิหร่าน (Quds Force) ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำกองกำลัง

ชาวชิอะห์ในอิรักเข้าต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายไอซิส (ISIS) ในอิรัก/

ซีเรีย จนนำไปสู่ชัยชนะ หลังจากอ่านหนังสือของ Dr.Noam Chomsky

จึงเกิดคำถามที่มิได้สงสัยว่าการกระทำของสหรัฐฯ เข้าข่ายการ

ก่อการร้ายตามที่กล่าวหรือไม่ หากแต่เกิดคำถามว่าเหตุใดสงคราม

ต่อต้านการก่อการร้ายยังคงไม่สิ้นสุด

เมื่อ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ผู้เขียนได้นำเสนอในวารสาร

หลักเมือง เรื่อง “การกลับมาของกลุ่มก่อการร้าย ไอซิส” ที่เป็นการ

เขียนเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์การก่อการร้ายจากกรณี

พลโท James Mingus ผู้อำนวยการด้านยุทธการประจำเสนาธิการ

ทหารร่วม กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ให้ถ้อยแถลงการณ์ต่อหน้า

คณะกรรมาธิการทหารของสมาชิกวุฒิสภา (Senate Armed

Services Committee) เมื่อ ๒๔ ตุลาคม ๒๐๒๑ ต่อความห่วงกังวล

ว่ากลุ่มก่อการร้ายไอซิสกำลังวางแผนโจมตีสหรัฐฯ ภายใน ๖ - ๑๒ เดือน

ข้างหน้า ส่วนกลุ่มอัลกออิดะฮ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตอลีบาน

สามารถโจมตีสหรัฐฯ ได้ภายใน ๑ - ๒ ปีข้างหน้า ซึ่งจากความ

กังวลจึงนำไปสู่การส่งกำลังเฉพาะกิจกลับเข้าสู่ซีเรีย ภายใต้ภารกิจใหม่

ในการไล่ล่าแกนนำของกลุ่มก่อการร้ายไอซิสคือ นายอาบู อิบราฮิม

อัล-ฮาชีมี อัล-กูราจี (Abu Ibrahim al-Hashimi al-Qurayshi) แต่

นาย อัล-กูราจี มิยอมที่จะตกเป็นเชลยจึงตัดสินใจที่จะปลิดชีพ

ตนเองด้วยระเบิดพลีชีพ ทั้งนี้คำถามที่จะต้องขีดเส้นใต้หลายๆ ครั้ง

คือ ข้อแรก การสังหารผู้นำระดับสูงของกลุ่มก่อการร้ายสามารถ

ทำให้องค์กรล่มสลายหรือไม่ และข้อสุดท้าย (ซึ่งเป็นที่มาของการ

เขียนวิเคราะห์บทความนี้) คือ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะผู้นำ

กองทัพสามารถทำให้ภารกิจการต่อต้านการก่อการร้ายสำเร็จลุล่วง

หรือไม่ (Mission Accomplished?) เนื่องจากเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี

(ปี ๒๐๐๑ - ปัจจุบัน) แม้ว่าผู ้นำคนสำคัญของกลุ ่มก่อการร้ายได้ถูก

สังหารลงแต่สถานการณ์การก่อการร้ายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั่วโลก

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับนโยบายการปฏิบัติการโจมตีก่อน

(Preemptive Strike)

“A preemptive strike is a military operation …to

preempt an enemy’s ability to attack you.”

Barry Strauss (2017); Hoover Institution, Stanford

University

จากการศึกษาบทความของ Dr.Barry Strauss จากสถาบัน

ด้านความมั่นคงฮูเวอร์ (Hoover) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

(Stanford University) ได้อธิบายความหมายของนโยบายการ

ปฏิบัติการโจมตีก่อน (Preemptive Strike) ว่าหากการดำเนินการ

ภาพ Dr. Noam Chomsky

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

49


ภาพ งานแถลงข่าวเมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๘ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา (Barrack Obama)

และ รองประธานาธิบดี โจเซฟ ไบเดน (Joseph Biden) (ตำแหน่งในขณะนั้น)

ที่มา https://www.cnbc.com/2021/03/26/why-former-president-barack-obama-picked-joe-biden-as-his-vp-we-couldnt-have-been-more-different.html

ทางการทูตไม่เป็นผลสำเร็จจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กำลังบังคับ

ผ่านปฏิบัติการทหารที่เป็นการจัดการกับข้าศึกก่อนที่จะถูกโจมตีซึ่ง

ในเรื่องของการจัดการปัญหาการก่อการร้ายพบว่าสหรัฐฯ เลือกที่

จะใช้มาตรการการปฏิบัติการโจมตีก่อนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

หากวิเคราะห์นโยบายด้านต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ เริ่ม

ตั้งแต่เหตุวินาศกรรม (๙/๑๑) ที่กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ใช้เครื่องบิน

พุ่งชนสถานที่สำคัญของสหรัฐฯ พบว่า ตั้งแต่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

คนที่ ๔๓ จนถึงคนที่ ๔๖ (ปัจจุบัน) ต่างคงดำรงไว้ซึ่งนโยบายการ

ปฏิบัติการโจมตีก่อน ผ่าน End-Ways-Means เดิมโดย End

(Stage) คือการกำจัดผู้นำของกลุ่มก่อการร้ายจะนำไปสู่การสิ้นสุด

ของการก่อการร้าย ด้วย Means คือการใช้กำลังทหารในการเข้า

จัดการขั้นเด็ดขาด ซึ่งหากพิจารณาจำแนกบทบาทของ

ประธานาธิบดีฯ ในแต่ละยุคพบว่าการเดินหมากเพื่อรุกฆาต

(Checkmate) นั้นยังไม่สามารถนำไปสู่เป้าหมายได้อีกทั้งการเดิน

หมากกลับกลายเป็นการเดินหมากไปสู่ทางตัน และจะต้องกลับมา

ทบทวนกระบวนยุทธ์ใหม่และเริ่มกระดานใหม่ทุกครั้ง

(อดีต) ภายหลังจากเหตุการณ์ ๙/๑๑ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ทุกคน (๔ คน) ได้ดำเนินนโยบายการปฏิบัติการโจมตีก่อน เริ่มตั้งแต่

นาย George W. Bush (43 rd : ปี ค.ศ.๒๐๐๑ - ๒๐๐๙) ที่นับว่า

เป็นคนแรกที่ได้เริ่มเดินหมากบนกระดานสงครามการต่อต้านการ

ก่อการร้ายโดยเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๐๐๑ ได้ประกาศสงครามฯ ที่

50

นำไปสู่การระดมสรรพกำลังจากประเทศพันธมิตรในการกรีฑาทัพ

มุ่งหน้าเข้าสู่สมรภูมิรบในอัฟกานิสถาน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะ

รุกฆาตไปที่ นายอุซามะฮ์ บิล ลาดิน (Osama Bin Laden) แกนนำ

กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์และขับไล่กลุ่มตอลีบานที่สงสัยว่าให้การ

สนับสนุนกลุ่มอัลกออิดะฮ์ (ซึ่งไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้)

แต่สุดท้ายจะต้องตั้งกระดานใหม่ให้กับประธานาธิบดี บารัค

โอบามา (Barrack Obama) (44 th : ปี ค.ศ.๒๐๐๙ - ๒๐๑๗)

จึงสังหารนาย บิล ลาดิน ได้เมื่อ ๒ พฤษภาคม ๒๐๑๑ ประเด็น

ที่น่าสนใจคือ แม้นว่าแกนนำกลุ่ม อัลกออิดะฮ์ได้เสียชีวิตลงไม่เพียง

กลุ่มอัลกออิดะฮ์ที่ยังคงเคลื่อนไหว อีกทั้งยังได้เกิดกลุ่มก่อการร้าย

ISIL/ISIS ขึ้นมาใหม่ โดย นายโอบามา ประกาศการคงไว้ซึ่งภารกิจ

การต่อต้านการก่อการร้ายในตะวันออกกลางเพื่อลดความเสี่ยงจาก

การก่อการร้ายภายในประเทศ โดยจะต้องการลดขีดความสามารถ

และการทำลายกลุ่มก่อการร้าย ISIL/ISIS ให้หมดสิ้นไป “to

Degrade and Ultimately Destroy the Terrorist Group, ISIL/

ISIS” นั้นหมายถึงกระดานหมากใหม่ได้ตั้งขึ ้นอีกครั้งภายใต้การ

กำกับดูแลของประธานาธิบดี นายโดนัลด์ ทรัมป์ (45 th : ปี ค.ศ.

๒๐๑๗ - ๒๐๒๑) ที่ได้สั่งการให้สังหารบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ

กลุ่มก่อการร้าย ๒ คน ได้แก่ เมื่อ ๒๗ ตุลาคม ๒๐๑๙ นายอาบู บักร์

อัล-บักดาดีผู้นำของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส ซึ่งจากการศึกษารายงาน

ของกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ (USCENTCOM) และหน่วยข่าวกรอง

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


ด้านความมั่นคงสหรัฐฯ (Defense Intelligence Agency)

ต่างเห็นพ้องว่าการสังหารนาย อัล-บักดาดี นั้นมิได้ลดทอนขีดความ

สามารถ/ความตั้งใจของกลุ่มก่อการร้ายแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อ ๓

มกราคม ๒๐๒๐ ยังได้ส่งโดรน แบบ MQ-9 (Reaper) ใช้สังหาร

พลตรี กอเซ็ม สุไลมานี ณ กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก ซึ่งการกระทำ

ในครั้งนี้ Dr.Noam Chomsky ระบุว่าเป็นการสังหาร

นอกกระบวนการยุติธรรมและผิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

(ปัจจุบัน) ประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Joseph Biden)

(46 th : ปีค.ศ.๒๐๒๑ - ปัจจุบัน) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี

สมัย นายโอบามา ได้กลายเป็นผู้นำทัพในการต่อสู้กับการก่อการร้าย

และเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าประธานาธิบดี ไบเดน แม้นว่าจะเป็น

ผู้นำสหรัฐฯ คนแรกที่สามารถถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานตาม

สัญญาที่ให้ไว้เมื่อครั้งหาเสียง แต่สุดท้ายยังคงไว้ซึ่งนโยบายการ

ต่างประเทศแบบสายเหยี่ยว (hawkish) ด้วยการดำรงไว้ซึ่งหลักการ

ปฏิบัติการโจมตีก่อน โดยสามารถวิเคราะห์ได้ว่าภายหลังจาก พลโท

James Mingus ได้ให้ถ้อยแถลงการณ์ต่อสมาชิกวุฒิสภาเพียง ๓ เดือน

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน จึงตัดสินใจส่งหน่วยรบพิเศษเพื่อสังหาร

แกนนำคนใหม่ของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส อีกครั้งซึ ่งหากวิเคราะห์

ผ่านทฤษฎีแนวคิดของ Dr.Noam Chomsky ที่กล่าวว่าการใช้

อำนาจเด็ดขาดในการจัดการกับศัตรูเกิดจากความเกรงกลัวที่จะถูก

ลงมือก่อนอันเนื่องมาจากความหวั่นเกรงว่าภัยคุกคามจะก่อตัวเพื่อ

ทำร้ายตนเอง ดังนั้นจึงอาจพอสรุปได้ว่า การลงมือก่อนของสหรัฐฯ

อาจกระทำเพื่อเป็นการปกป้องตนเองจากการวิเคราะห์ภัยคุกคาม

ที่เป็นไปได้และเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ

การตอบคำถามตอนต้นของบทความนี้พอสรุปได้ว่า ข้อแรก

การสังหารผู้นำระดับสูงของกลุ่มก่อการร้ายสามารถทำให้องค์กร

ล่มสลายหรือไม่คำตอบคือ “ไม่ อีกทั้งยังทำให้เกิดองค์กรใหม่ขึ้น”

และข้อสุดท้าย ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะผู้นำกองทัพ

สามารถทำให้ภารกิจการต่อต้านการก่อการร้ายสำเร็จลุล่วงหรือไม่

(Mission Accomplished?) คำตอบคือ “ไม่, Mission Not

Accomplished”

References

Chomsky, N (2021), The Precipice: Neoliberalism, the Pandemic and

the Urgent Need for Social Change, Haymarket Books, Chicago

Herb, J., Liebermann, O. & Star B. (2022), “ISIS leader killed in US-led

Syria raid, Biden says,” CNN News, 3rd Feb, viewed 4th Feb 2022

<https://edition.cnn.com/2022/02/03/world/syria-us-specialforces-raid-intl-hnk/index.html>.

Martinez, L (2020), Pentagon report says al-Baghdadi death had little

impact on ISIS leadership and operations, ABC News, 5th Feb,

viewed 8 th Feb <https://abcnews.go.com/Politics/pentagon-report-albaghdadi-death-impact-isis-leadership/story?id=68755044>.

Strauss, B (2017), Preemptive Strikes and Preventive Wars: A Histo

rian’s Perspective, Hoover Institution, Stanford University, 29 th

Aug, viewed 8 th Feb 2022 < https://www.hoover.org/research/

preemptive-strikes-and-preventive-wars-historians-perspective>.

ภาพ Drone แบบ MQ-9 (Reaper) ระยะบิน ๑,๘๐๐ กิโลเมตร ความเร็ว ๔๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ใช้สังหาร พลตรี กอเซ็ม สุไลมานีย์

ที่มา Arab Weekly <https://thearabweekly.com/reaper-drones-crucial-us-keeping-eyes-isis>.

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

51


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“ปลดล็อค...

กัญชาทางการแพทย์เสรี”

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กั

ญชาเป็นพืชที่มีผลออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และใช้เป็นยารักษา

โรคมาตั ้งแต่ยุคโบราณหลายพันปีมาแล้วก่อนการเกิดศาสนา

ซึ่งมีหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อว่ามนุษย์ในสมัยนั้นใช้กัญชาเพื่อ

เหตุผลทางจิตวิญญาณ จากการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อายุราว

๑๐,๐๐๐ ปี สันนิษฐานว่ามนุษย์ในยุคนั้นใช้กัญชา เผาไฟที่ด้านในสุด

ของถ้ำ เพื่อสูดดมควันจากการเผาไหม้ของกัญชา นอกจากนั้นยัง

มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่ามีการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ใน

ทางการแพทย์ ทั้งจากประเทศอังกฤษที่มีหนังสือกล่าวถึงการใช้กัญชา

ในการรักษาโรคซึมเศร้า รักษาอาการปวดประจำเดือน

ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ มีรายงานจากรัฐเวอร์จีเนีย สหรัฐอเมริกา ว่า

ในกัญชาที่มีการแปรรูปแบบความเข้มข้นสูงจะโจมตีเซลล์มะเร็งใน

ร่างกายและยังคงรักษาเซลล์ที่ดีไว้โดยทีมวิจัยสรุปว่ามันอาจเป็นการ

รักษาที่ถูกต้องสำหรับมะเร็ง เพราะมันทำงานได้อย่างรวดเร็วและ

ทำงานได้เป็นอย่างดี

การใช้ยาตามตำรับยาการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์

แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เผยแพร่

52

ข้อมูลตำรับยาในทางการแพทย์แผนไทย ๑๖ ตำรับ ตัวอย่างเช่น

ตำรับยาศุขไสยาสน์ มีที่มาจากคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ข้อบ่งใช้

ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร ฟื้นฟูกำลังผู ้ป่วยเรื้อรัง ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ในสตรีมีครรภ์ ผู้ที่ไข้สูง ตำรับยาน้ำมันสนั่นไตรภพมีที่มาจากตำรายา

จารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามข้อบ่งใช้ แก้กษัยเหล็ก

ลดอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มะเร็งมดลูก มะเร็งตับในระยะ

เริ่มต้น ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายที่มีภาวะ

เส้นเลือดแตกเป็นใยแมงมุม ในผู้ป่วยที่มีตับวาย ในผู้ป่วยที่ใช้ยา

ละลายลิ่มเลือด และยังมียาตามตำรับการแพทย์แผนไทยอีก ๑๔

ตำรับที่กรมแพทย์แผนไทยได้รับรองตามตำรับเดิมของคัมภีร์แพทย์

แผนไทยโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ ตำรายาจารึกในวัด

พระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์พระยา

พิศณุประสาทเวช ร.ศ.๑๒๘ ตำรับยาอายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ

ตำรับยาเวชศาสตร์วัณ์ณณา ตำรับยาคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์)

เภสัชวิทยาคลินิกของกัญชาทางการแพทย์(Clinical pharmacology

of medical cannabis) กัญชาประกอบด้วยสารอย่างต่ำ

๖๐ ชนิด ส่วนสำคัญที่รู้จักกันดีก็คือ cannabinoids ซึ่งเป็น active

component ของกัญชา ได้แก่ delta-9 tetrahydrocannabinol

(THC) ซึ่งออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้เกิดการเสพติด ส่วนสารอีก

ประเภทหนึ่งคือ cannabidiol (CBD) นั้นไม่ทำให้เสพติด และมี

รายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ปกป้องการเสื่อม

ของเซลล์ประสาทและต้านการชัก

การศึกษาในห้องปฏิบัติการและการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ

กับสัตว์ทดลองพบว่า THC และ CBD แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

หลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก มะเร็งเต้านม

มะเร็งปากมดลูก (Sledzinski, 2018) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการ

อักเสบ (anti-inflammatory Hasenoehr, 2017) และฤทธิ์ต้านเชื้อ

แบคทีเรีย (Appendino, 2008)

การใช้ประโยชน์ทางยาของกัญชา Nabizmols หรือชื่อทางการค้า

ว่า Sativex คือสารสกัดของ THC และ CBD ในอัตราส่วน ๑ : ๑

ใช้รักษาอาการปวดของเส้นประสาท (neuropathic pain)

ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัว

ไวเกิน (overactive bladder; OAB) รักษาอาการอาเจียน

(antiemetic effect) และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple

sclerosis; MS)

มีการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ในหลายประเทศ

และหลายรูปแบบ ได้แก่ การสูบ การใช้สารสกัดกัญชาหยอดใต้ลิ้น

การรักษาโรคทางผิวหนังก็ใช้การทา ในการรักษาริดสีดวงหรือมะเร็ง

ปากมดลูกก็ใช้การเหน็บทางทวารหรือช่องคลอด

เทคนิคในการสกัดและวิเคราะห์สารสำคัญในกัญชาเพื่อการ

แพทย์ ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองการใช้กัญชาเพื่อ

รักษาผู้ป่วย โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่พิสูจน์แล้วว่าอาการ

หรือโรคที ่รักษาแล้วได้ผลดีคือ ๑) Nausea and vomiting from

chemotherapy อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด

๒) Epilepsy ลมชักรักษายาก ๓) Multiple sclerosis อาการเกร็ง

จากปลอกหุ้มประสาทอักเสบ ๔) Neuropathic pain ปวดระบบ

ประสาท

ส่วนการรักษาที่น่าจะได้ประโยชน์คือ พาร์กินสัน (Parkinson)

อัลไซเมอร์ (Alzheimer) ปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis)

โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) มะเร็งระยะสุดท้าย (Cancer,

end stage) และโรคอื่น ๆ ระยะสุดท้าย (Severe diseases, end

stage) ส่วนการรักษาที่ต้องการการวิจัยเพิ่มคือ โรคมะเร็ง

ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์แผนไทยได้

ส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑๕๐ แห่ง

ปลูกกัญชาทางการแพทย์ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน ปลูกกัญชาตำบล

ละ ๕๐ ต้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ในแต่ละชุมชน

ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ออกกำหนดมาตรฐานกัญชาในระดับอุตสาหกรรม โดยมาตรฐาน ISO

17025 และมาตรฐาน Thai Pharmacopoeia ในสารสกัดมาตรฐาน

๕ ชนิด ได้แก่ ๑. Isolate CBD powder 99% ๒. CBD 100 mg/

ml ๓. THC 10 mg/ml ๔. THC 17 mg/ml ๕. THC 27 mg/ml

เพื่อนำไปผลิตยา ตำรับยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เวชสำอาง

ต่อไป

สรุป การใช้กัญชาในทางการแพทย์ของไทยยังมีช่องทางที่จะ

พัฒนาต่อยอดได้อีกมาก เพื่อจะได้มีการวิเคราะห์/วิจัยเพิ่มเติมในสาร

อื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกัญชา และการสกัดสารที่มี

สรรพคุณทางยาเพื่อนำไปวิจัยในการนำไปใช้เพื่อผลการรักษาใน

ทางการแพทย์ หรือที่มีผลต่อสรีรวิทยา หรือการรักษาโรคหรือสภาวะ

ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อขยายความครอบคลุมและสรรพคุณในการ

ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้มากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรคที่ยัง

ไม่มีผลการวิจัยมายืนยันการรักษา เพราะยังสามารถทำการศึกษาวิจัย

ในการสกัดสารสำคัญต่าง ๆ อีกหลายชนิดของกัญชาว่าจะมีผลต่อ

การรักษาโรคใดได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น และอาจนำมาใช้แทน

ยาทางเคมีในปัจจุบันได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการสั่งยาจาก

ต่างประเทศ และอาจลดภาระค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยได้ใน

อนาคต

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม https://www.health-th.com

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

53


บริษัทอีสต์-อินเดีย

(East India Company)

อังกฤษและกองทัพ

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

บริษัทอีสต์ - อินเดีย (East India Company : EIC) อังกฤษ ได้ค้าขายกับอาณาจักรในเอเชียหลายอาณาจักรตามแนวชายฝั่งทะเล อาณาจักร

อินเดียราชวงศ์โมกุล (Mughul Dynasty) โดยพระเจ้าบาบูร์ รบชนะสุลต่านเดลฮี พ.ศ.๒๐๙๙ ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ บริษัทอีสต์ - อินเดีย ได้เข้าควบคุม

เมืองท่าค้าขายหรือท่าเรือของอินเดีย บริษัทอีสต์-อินเดียอังกฤษ การค้าขายที่สำคัญ ประกอบด้วย ผ้าไหม ฝ้าย เกลือ เครื่องเทศ ดินประสิว ชา และฝิ่น

นำมาสู่ความขัดแย้งกับอาณาจักรต่าง ๆ ที่สำคัญคือ อาณาจักรจีนและอาณาจักรพม่าในยุคที่สาม มีการรบขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายครั้ง….......…บทความนี้

กล่าวถึงบริษัทอีสต์ - อังกฤษ กองทัพเพื่อขยายอำนาจทางทหารสนับสนุนการค้าขาย

(Sepoy) มีเครื่องแบบทหารเหมือนยุโรป ปี พ.ศ.๒๓๐๗ เพิ่มกำลัง

ทหารเป็น ๑๙ กองพัน (แต่ละกองพันจะมีทหารพื้นเมืองอินเดีย

ประมาณร้อยละ ๙๐) ต่อมาบริษัทอีสต์ - อินเดีย (East India Company

: EIC) ถึงปี พ.ศ.๒๔๐๐ ได้ขยายอำนาจทางการค้าเพิ่มมาก

ยิ่งขึ้นและเพิ่มกำลังทหารใหม่เป็น ๗๔ กรมทหาร

๒. บริษัทอีสต์ - อินเดีย (East India Company: EIC)

อังกฤษกับการขยายอำนาจทางทหาร

บริษัทอีสต์- อินเดีย (East India Company : EIC) อังกฤษ

ได้ขยายอำนาจทางทหารมีการรบที่สำคัญหลายครั้งในดินแดนของ

อินเดีย ประกอบด้วยการรบที่เพลเซย์ (Battle of Plassey) อังกฤษ

ก๑. กล่าวทั ่วไป

ารขยายอำนาจทางทหารเพื่อสนับสนุนการค้าของอังกฤษ

ผ่านทางบริษัทอีสต์ - อินเดีย (East India Company : EIC)

ตั้งสถานีการค้า (ท่าเรือหลักริมชายฝั่งทะเล) กำลังทหารที่สำคัญคือ

กองทัพบกเบงกอล (Bengal Army) ปี พ.ศ.๒๓๐๐ มีกำลังรบ

๕ กองพัน ต่อมาได้กำลังทหารมากยิ่งขึ้น ทหารทำการรบคือทหาร

พื้นเมืองที่อังกฤษนำมาฝึกทำการรบแบบทหารยุโรปเรียกว่าทหารชีปอย

54

ทหารราบเบงกอลพร้อมด้วยอาวุธประจำกาย

และสัมภาระ ขณะปฏิบัติการทางทหาร

ทหารราบเบงกอลกองพันที่ ๒๑ ของหน่วยทหารราบเบงกอล

ปี พ.ศ.๒๓๖๒

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


สงครามอังกฤษ-ไมซอร์ ครั้งที่สอง (Second Anglo-Mysore War)

ปี พ.ศ.๒๓๒๓ - ๒๓๒๗

ทหาร ๗๕๐ นาย พร้อมด้วยทหารชีปอย (Sepoy) รวม ๒,๑๐๐ นาย

ปืนใหญ่รวม ๘ กระบอก รบชนะอาณาจักรโมกุล (ปัจจุบันคือเมือง

พาลาสชิ รัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย) วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.

๒๓๐๐ สงครามอังกฤษ - ไมเซอร์ ครั้งที่หนึ่ง (First Anglo - Mysore

War) พ.ศ.๒๓๑๐ สุลต่านไมซอร์ (ปัจจุบันอยู่ที่รัฐกรณาฏกะ ด้าน

ตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย) มีการรบใหญ่ ๒ ครั้ง อังกฤษเข้าตี

ไม่สำเร็จ สงครามอังกฤษ - มหาราษฎร์ (First Anglo - Maratha War)

ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ.๒๓๑๘ - ๒๓๒๕ อังกฤษเข้าตีอาณาจักรมา ราษฎร์

ทหารราบจากกองทัพบริษัทอิสต์-อินเดีย (EIC) ขณะทำการรบกับกองทัพ

อาณาจักรไมซอร์ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๒๖ ในสงครามอังกฤษ-ไมซอร์

ครั้งที่สอง (Second Anglo-Mysore War) พ.ศ.๒๓๒๓ - ๒๓๒๗

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

(ปัจจุบันคือ รัฐมหาราษฎร์ ทางด้านทิศตะวันตกตอนกลางของ

อินเดีย) อังกฤษทหาร ๙๓,๐๐๐ นาย และเรือรบ ๒๓ ลำ อาณาจักร

มาราษฎร์ ทหาร ๑๔๖,๐๐๐ นาย และเรือรบ ๑๔ ลำ อังกฤษเข้าตี

ไม่สำเร็จ สงครามอังกฤษ - ไมซอร์ ครั้งที่สอง (Second Anglo -

Mysore War) ได้รับการสนับสนุน จากฝรั่งเศสและดัชท์ พ.ศ.๒๓๒๓

- ๒๓๒๗ อังกฤษเข้าตีไม่สำเร็จ สงครามอังกฤษ - ไมซอร์ ครั้งที่สาม

(Third Anglo - Mysore War) พ.ศ.๒๓๓๓ - ๒๓๓๕ อังกฤษเข้าตี

สำเร็จ สงครามอังกฤษ - ไมซอร์ ครั้งที่สี่ (Fourth Anglo - Mysore

War) พ.ศ.๒๓๔๑ - ๒๔๔๒ อังกฤษเข้าตีสำเร็จ สงครามอังกฤษ -

มหาราษฎร์ ครั้งที่สอง (Second Anglo - Maratha War) ครั้งที่หนึ่ง

พ.ศ.๒๓๔๖ - ๒๓๔๘ อังกฤษ ทหารม้า ๔ กรม ทหารราบ ๒ กรม

พร้อมส่วนสนับสนุน และทหารชีปอย (Sepoy) รวม ๑๗ กองพัน

พร้อมปืนใหญ่ อังกฤษเข้าตีสำเร็จ และสงครามอังกฤษ - มหาราษฎร์

ครั้งที่สาม (Third Anglo - Maratha War) พ.ศ.๒๓๖๐ - ๒๓๖๒

อังกฤษเข้าตีสำเร็จ

บริษัทอีสต์ - อินเดีย (East India Company : EIC) อังกฤษ

มีความขัดแย้งกับอาณาจักรพม่าในยุคที่สาม เรียกว่า สงครามอังกฤษ

- พม่า ครั้งที่หนึ่ง สมัยพระเจ้าบาจิดอ (King Bagyidaw) มีการรบ

ขนาดใหญ่ ๔ ครั้ง พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๖๙ ทหารอังกฤษ ๕๐,๐๐๐ นาย

แต่สูญเสียทหารจำนวนมาก (จากไข้ป่า) ทำการรบนาน ๑ ปี ๑๑ เดือน

อังกฤษชนะสงคราม แต่ใช้งบประมาณทางทหารสูงมาก ประมาณ

๕ - ๑๓ ล้านปอนด์ (เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.๒๕๖๓ ประมาณ ๔๐๐ -

๑,๑๒๐ ล้านปอนด์) และสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่สอง สมัยพระเจ้า

ปากัน (King Pagan) พ.ศ.๒๓๙๕ - ๒๓๙๖ ทำการรบนาน

๙ เดือน อังกฤษชนะสงคราม

๓. บทสรุป

บริษัทอีสอินเดีย (East India Company : EIC) อังกฤษ

เข้าควบคุมเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรอินเดียโมกุล (Mughul

Dynasty) ริมชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน กองทัพใช้ในการป้องกันสถานี

การค้าและขยายอำนาจทางทหารโดยการเข้าตีเมืองต่างๆ อยู่ลึกจาก

ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อบริษัทอีสต์ - อินเดีย (East India

Company : EIC) มีการรบที่สำคัญเกิดขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดเข้า

ควบคุมอาณาจักรอินเดียได้ทั้งหมด ต่อมาขยายอำนาจทางทาง

ทิศตะวันออกคืออาณาจักรพม่าในยุคที่สาม

บรรณานุกรม

๑. https://en.wikipedia.org/wiki/Second_Angro-Burmese_War

๒. https://en.wikipedia.org/wiki/First_Angro-Burma

๓. https://en.wikipedia.org/wiki/Madras_Army

๔. https://en.wikipedia.org/wiki/Bombay_Army

๕. https://en.wikipedia.org/wiki/Mughal_Empire

๖. https://en.wikipedia.org/wiki/Bengal_Army

๗. https://en.wikipedia.org/wiki/East_India_Company

๘. https://en.wikipedia.org/wiki/Secon_Anglo-Mysore_War

๙. https://en.wikipedia.org/wiki/First_Anglo-Maratha_War

55


เครื่องบินฝึกไอพ่นสองที่นั่งยัค-๑๓๐ (Yak-130) ภารกิจโจมตีเบา สามารถติดตั้งอาวุธรวม ๙ จุด (น้ำหนักรวม ๓,๐๐๐ กิโลกรัม) ประกอบด้วยกระเปาะจรวด (S-13) และจรวดนำวิถีอากาศ

สู่อากาศ พิสัยใกล้ (AA-11 Archer/R-73)

กองทัพอากาศเวียดนาม (VPAF) รับมอบเครื่องบินฝึกไอพ่น

ชนิดสองที่นั่งรุ่นใหม่แบบยัค-๑๓๐ (Yak-130) ชุดแรก

รวม ๖ เครื่อง เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๖๔ จัดหารวม ๑๒ เครื่อง

เป็นเงิน ๓๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒ รับมอบครบตาม

โครงการปี พ.ศ.๒๕๖๖ เพื่อประจำการทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น

ชนิดสองที่นั่งรุ่นเก่าแบบแอล-๓๙ซี (L-39C Albatros) ประจำการ

๒๕ เครื่อง ประจำการมานานกองทัพอากาศเวียดนาม (VPAF)

ประจำการด้วย เครื่องบินขับไล่แบบซู-๒๗ (Su-SK Flanker)

รวม ๑๑ เครื่อง และเครื่องบินขับไล่แบบซู-๓๐ (Su-30MK2

Flanker-C) ผลิตจากประเทศรัสเซีย รวม ๓๕ เครื่อง

เครื่องบินฝึกไอพ่นชนิดสองที่นั่งยัค-๑๓๐ พัฒนาในปี พ.ศ.

๒๕๓๔ เพื่อประจำการทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบแอล-๓๙

56

แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน

เครื ่องบินฝึก

ไอพ่นสองที ่นั ่งแบบยัค-๑๓๐

(Yak-130 Mitten)

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

เครื่องบินฝึกไอพ่นผลิตจากเชโกสโลวาเกีย (ขณะนั้นยังไม่ได้แยก

เป็นสาธารณรัฐเชค) ประจำการในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและ

พันธมิตร ผลิตปี พ.ศ.๒๕๑๔ - ๒๕๓๙ รวม ๒,๙๐๐ เครื่อง ประจำการ

๔๑ ประเทศ (รวมทั้งกองทัพอากาศไทย) เครื่องบินฝึกสอง

ที่นั่งยัค-๑๓๐ ออกแบบเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๓๖ ทำการบิน

ครั้งแรกเมื่อวันที่๒๕ เมษายน ๒๕๓๙ เพื่อฝึกนักบินไอพ่นสู่เครื่องบิน

ขับไล่ที่ทันสมัยต่อไป ประกอบด้วย มิก-๒๙ (MiG-29 Fulcrum)

ซู-๒๗ (Su-27 Flanker) ซู-๓๐ (Su-30 Flanker-C) และซู-๓๓

(Su-33 Flanker-D) ข้อมูลที่สำคัญคือ ขนาดยาว ๑๑.๔๙ เมตร

ช่วงปีก ๙.๘๔ เมตร สูง ๔.๗๖ เมตร พื้นที่ปีก ๒๓.๕๒ ตารางเมตร

น้ำหนักบินขึ้นปกติ ๔,๖๐๐ กิโลกรัม (๑๐,๑๔๑ ปอนด์) น้ำหนักบิน

ขึ้นสูงสุด ๑๐,๒๙๐ กิโลกรัม (๒๒,๖๘๖ ปอนด์) เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินฝึกไอพ่นชนิดสองที่นั่งแบบยัค-๑๓๐ (Yak-130) ยาว ๑๑.๔๙ เมตร ช่วงปีก ๙.๘๔

เมตร สูง ๔.๗๖ เมตร น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๑๐,๒๙๐ กิโลกรัม (๒๒,๖๘๖ ปอนด์) เครื่องยนต์

เทอร์โบแฟน (Al-222-25) แรงขับขนาด ๕,๕๑๐ ปอนด์ (๒ เครื่องยนต์) ความเร็วสูงสุด

๑,๐๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง รัศมีทำการรบ ๕๕๕ กิโลเมตร พิสัยบินไกลสุด ๒,๑๐๐ กิโลเมตร

และเพดานบินสูง ๑๒,๕๐๐ เมตร (๔๑,๐๐๐ ฟุต)

(Al-222-25) ขนาด ๕,๕๑๐ ปอนด์ (รวม ๒ เครื่องยนต์) ความเร็ว

สูงสุด ๑,๐๖๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง รัศมีทำการรบ ๕๕๕ กิโลเมตร

เพดานสูง ๑๒,๕๐๐ เมตร (๔๑,๐๐๐ ฟุต) และติดตั้งอาวุธ ๙ จุด

(น้ำหนัก ๓,๐๐๐ กิโลกรัม) ผลิตรุ่นหลักรวม ๔ รุ่น คือ รุ่นฝึกสอง

ที่นั่ง รุ่นโจมตีเบา (Yak-131) ติดตั้งปืนกลอากาศแบบจีเอส

เอช-๓๐-๑ ขนาด ๓๐x๑๖๕ มิลลิเมตร ทดแทนเครื่องบินโจมตี

ซู-๒๕ (Su-25 Frogfoot) รุ่นต่อต้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Yak-

133PP) และรุ่นลาดตระเวนทางยุทธวิธี(Yak-133R) กองทัพอากาศ

รัสเซีย (RAF) จัดหาครั้งแรกปี พ.ศ.๒๕๔๘ รวม ๑๒ เครื่อง และ

จัดหาเพิ่มเติม ๗๒ เครื่อง ประจำการศูนย์ฝึกที่๗๘๖ ฐานทัพอากาศ

โบริสซอกเล็บซ์ค (Borisoglebsk) ทิศตะวันตกของประเทศ ปัจจุบัน

ประจำการ ๑๐๙ เครื่อง (พ.ศ.๒๕๖๑) มีโครงการจัดหาเข้าประจำการ

ทั้งสิ้น ๒๐๐ เครื่อง ปัจจุบันเครื่องบินฝึกไอพ่นแบบยัค-๑๓๐

ได้ผลิตขึ้นรวม ๑๗๗ เครื่อง (พ.ศ.๒๕๖๓)

รัสเซียพัฒนาร่วมกับประเทศอิตาลีได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์

มาตรฐานของสหรัฐอเมริกาแบบฮันนี่เวลล์ (Honeywell F-124

-GA-200) ขนาด ๖,๓๐๐ ปอนด์ (๒ เครื่องยนต์) ความเร็ว ๑,๐๕๙

กิโลเมตรต่อชั่วโมงและบินได้นาน ๒.๗๕ ชั่วโมง (พร้อมด้วยถังน้ำมัน

อะไหล่) เครื่องบินต้นแบบของเครื่องบินฝึกชนิดสองที่นั่ง ทำการ

ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ มีชื่อเรียกใหม่ว่าแบบ

เอ็ม-๓๔๖ (M-346 Master) เพื่อเป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นให้กับนักบิน

ขับไล่ที่จะประจำการกับเครื่องบินขับไล่ที่ผลิตจากมาตรฐานนาโต้

กองทัพอากาศอิตาลีประจำการ ๑๘ เครื่อง (ปัจจุบันประจำการ

๒๒ เครื่อง มีชื่อเรียกใหม่ว่า T-346A) ต่อมาสิงคโปร์ได้นำเข้าประจำ

การฝูงบินที่ ๑๕๐ ฐานทัพอากาศอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ประจำการ

๑๒ เครื่อง และขายให้กับกองทัพมิตรประเทศที่สนใจ

เครื่องบินฝึกไอพ่นชนิดสองที่นั่งแบบยัค-๑๓๐ มิตรประเทศ

ประจำการ ๗ ประเทศคือ อัลจีเรีย (๑๖ เครื่อง) ประจำการด้วย

มิก-๒๙ (MiG-29S/UB) รวม ๔๖ เครื่อง และซู-๓๐ รวม ๕๗ เครื่อง

เครื่องบินฝึกไอพ่นชนิดสองที่นั่งแบบยัค-๑๓๐ (Yak-130) กองทัพอากาศเมียนมา (MAF) ได้รับมอบชุดแรก ๓ เครื่อง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๐ รับมอบชุดที่สอง ๓ เครื่อง

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐ และรับมอบชุดสุดท้าย ๖ เครื่อง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

57


เครื่องบินฝึกไอพ่นสองที่นั่งแบบยัค-๑๓๐ (Yak-130) กองทัพอากาศลาว (LPLAAF) รับมอบเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๑ จากประเทศรัสเซีย (เหลืออีก ๖ เครื่อง) รับมอบอีกครั้ง

เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๒

เบลารุส (๑๒ เครื่อง) ประจำการด้วย มิก-๒๙ รวม ๓๙ เครื่อง และ

ซู-๓๐ รวม ๔ เครื่อง จัดหาอีก ๘ เครื่อง บังกลาเทศ (๑๔ เครื่อง)

ประจำการด้วยมิก-๒๙ รวม ๘ เครื่อง ซีเรีย (๓๖ เครื่อง) ประจำการ

ด้วยมิก-๒๓ (MiG-23BN Flogger) รวม ๘๗ เครื่อง มิก-๒๙

รวม ๒๙ เครื่อง และซู-๒๔ (Su-24 Fencer) รวม ๑๖ เครื่อง ผลิต

จากประเทศรัสเซีย เมียนมา (๑๘ เครื่อง) ลาว (๑๐ เครื่อง) และ

เวียดนาม (๑๒ เครื่อง)

กองทัพอากาศเมียนมา (MAF) จัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นชนิด

สองที่นั่งรุ่นใหม่แบบยัค-๑๓๐ รวม ๑๒ เครื่อง จากประเทศรัสเซีย

ปี พ.ศ.๒๕๕๘ รับมอบชุดแรกรวม ๓ เครื ่อง เมื่อเดือนมีนาคม

พ.ศ.๒๕๖๐ รับมอบชุดที่สองอีก ๓ เครื่อง เมื่อเดือนพฤศจิกายน

พ.ศ.๒๕๖๐ และรับมอบชุดสุดท้าย ๖ เครื่อง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์

พ.ศ.๒๕๖๑ เพื่อทำการฝึกนักบินขับไล่รุ่นใหม่ให้ก้าวสู่เครื่องบินขับไล่

ที่ทันสมัยกว่าที่ประจำการอยู่ ปัจจุบันกองทัพอากาศเมียนมา

ประจำการด้วยเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ที่ผลิตจากประเทศรัสเซีย

รวม ๒ แบบ คือเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบมิก-๒๙ ฟัลครั่ม และ

รุ่นฝึกสองที่นั่ง รวมทั้งสิ้น ๓๐ เครื่อง เครื่องบินขับไล่แบบมิก-๒๙

ความเร็ว ๒.๒๕ มัค ติดตั้งอาวุธ ๗ จุด (น้ำหนัก ๔,๐๐๐ กิโลกรัม)

และเครื่องบินขับไล่แบบซู-๓๐เอสเอ็มอี จำนวน ๖ เครื่อง เครื่อง

บินขับไล่แบบซู-๓๐เอสเอ็มอีความเร็ว ๒.๐ มัคพิสัยบินไกล ๓,๐๐๐

กิโลเมตร และติดตั้งอาวุธ ๑๒ จุด (บรรทุกอาวุธ ๘,๐๐๐ กิโลกรัม)

กองทัพอากาศลาว (LPLAAF) รับมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นชนิด

สองที่นั่งรุ่นใหม่แบบยัค-๑๓๐ จำนวน ๔ เครื่อง เมื่อวันที่ ๒๐

ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ลงนามจัดหาเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐

จำนวน ๑๐ เครื่อง จากประเทศรัสเซีย ที่เหลืออีก ๖ เครื่อง รอการ

รับมอบ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ นำมาทำการบิน

แสดงงานสวนสนามวันก่อตั้งกองทัพประชาชนลาวครบรอบ ๗๐ ปี

ทางตอนเหนือของเมืองหลวงคือกรุงเวียงจันทน์ ปัจจุบันกองทัพ

อากาศลาว มีทหารประจำการ ๓,๕๐๐ นาย และเครื่องบินขับไล่

รวม ๒ ฝูงบิน

กองทัพอากาศเวียดนาม (VPAF) รับมอบเครื่องบินฝึกไอพ่นชนิดสองที่นั่งรุ่นใหม่แบบ

ยัค-๑๓๐ (Yak-130) ชุดแรก รวม ๖ เครื่อง เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๖๔ จัดหารวม ๑๒ เครื่อง

เป็นเงิน ๓๕๐ ล้าน เหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒ รับมอบครบตามโครงการปี พ.ศ.๒๕๖๖

58

บรรณานุกรม

๑. https://en.wikipedia.org/wiki/Yakovlev_Yak-130

๒. https://en.wikipedia.org/wiki/Bangladesh_Air_Force

๓. https://en.wikipedia.org/wiki/Myanmar_Air_Force

๔. https://en.wikipedia.org/wiki/Alenia_Aermacchi_M-346_Master

๕. https://en.wikipedia.org/wiki/Republic_of_Singapore_Air_Force

๖. https://en.wikipedia.org/wiki/Lao_Peoper%27s_Liberration_Army_Air_Force

๗. https://en.wikipedia.org/wiki/Alenia_Aermacchi_M-346_Master

๘. https://en.wikipedia.org/wiki/Russian_Air_Force

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ปริศนาอักษรไขว้

ริศนาอักษรไขว้ในวารสารหลักเมืองฉบับนี้

เหมาะกับสายแคมป์ปิ้ง เดินป่า กางเต็นท์

ชมธรรมชาติที่สวยงาม มีคำศัพท์ที่น่าสนใจทั้งหมด

๑๘ คำ คำไหนบ้างมาเล่นกันเลยค่ะ Let’s go...

เฉลย

1. BEARS 2. POOL 3. FIRE 4. PLAYGROUND 5. MURPHY 6. PICNIC 7. LANTERN 8. BALL

9. STARS 10. CHIPMUNK 11. FISHING 12. RIVER 13. FROGS 14. BICYCLES 15. CAMPING

16. TENT 17. MARSHMALLOW 18. HIKE

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๖๕

59


พลเอก วรเกียรติิ รัตินานนท์์ ปลัดกระท์รวงกลาโหม เป็นประธานในการติรวจเยียมกิจกรรมโครงการจิติอาสาพัฒนา

“เราทำำาความ ดี ด้วยหัวใจ” ของสำน ักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม (พ้นท์ีศรีสมาน) ทำำาความสะอาดปรับปรุงภููมิทััศน์ ณ โรงเรียน

นวมินท์ราชิินูทิิศ หอวัง นนทบุุรี ชุุมชินหมูบ้านมิติรประชิา วัดเร้องเวชิมงคล และคลองบ้านเกา จังหวัดนนทบุุรี เม้อ ๒ มีนาคม ๒๕๖๕

60


พลเอก วรเกียรติิ รัตินานนท์์ ปลัดกระท์รวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการจิตสำำนึึกรักเม้องไท์ย ปีท์ี ๑๔ ประจำปีี ๒๕๖๕

ในรูปแบบออนไลน์ ผ่่านระบบ Zoom ซึ่่งเป็นโครงการของสำนัักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม โดย สำนัักงานเลขานุการสำนัักงานปลัด

กระท์รวงกลาโหม สำาหรับการดำาเนินโครงการนีมุงเน้นการสร้างความรัก ความสามัคคีของคนในชิาติิ โดยให้เยาวชินเสนอโครงการ

สาธารณประโยชน์์เข้าประกวดบนแนวคิด “รวมคิด รวมทำำา รวมพลังสร้างสรรค์ สังคมไท์ย” และ “วัยรุนม้ออาชีีพ...อะไรก็ติามท์ีคุณถนัด

มารวมกัน” ณ ห้องพินิติประชิานาถ ภูายในศาลาวาการกลาโหม เม้อ ๒๓ กุมภูาพันธ์ ๒๕๖๕

หลัักเมืือง มีีนาคมื ๒๕๖๕

61


พลเอก คำารณ เคร้อวิชิฌยาจารย์ จเรท์หารท์ัวไป และคณะ ได้เข้าติรวจสอบการปฏิิบัติิราชิการสำนัักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม

ในบท์บาทด ้านอุติสาหกรรมป้องกันประเท์ศและพลังงานท์หาร ณ ศูนย์การอุติสาหกรรมป้องกันประเท์ศและพลังงานท์หาร

อาคารสำน ักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม ศรีสมาน โดยมี พลเอก ไพบูลย์ วรวรรณปรีชิา ผู่้อำานวยการศูนย์การอุติสาหกรรม

ป้องกันประเท์ศและพลังงานท์หาร ให้การต้้อนรับและจัดให้มีการบรรยายสรุปการปฏิิบัติิภูารกิจของหนวย และการดำาเนินงาน

ภูายใต้้สถานการณ์แพรระบาดของโรคติิดเชิ้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในห้วงเวลาท์ีผ่่านมา รวมท์ังปัญหา ข้อขัดข้องและ

ข้อเสนอแนะต่่าง ๆ เม้อ ๘ มีนาคม ๒๕๖๕

พลเอก คำารณ เคร้อวิชิฌยาจารย์ จเรท์หารท์ัวไป และคณะ ได้เข้าเยี ยมชิมการปฏิิบัติิงานของศูนย์พัฒนาปิโติรเลียมภูาคเหน้อ

กรมการพลังงานท์หาร ศูนย์การอุติสาหกรรมป้องกันประเท์ศและพลังงานท์หาร อำาเภูอฝาง จังหวัดเชีียงใหม โดยมี พลตรีี ประจวบ

จันต๊๊ะมี ผู่้อำานวยการศูนย์พัฒนาปิโติรเลียมภูาคเหน้อ ให้การต้้อนรับ เม้อ ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ท์ังนี การเยียมชิมการปฏิิบัติิงานของ

ศูนย์พัฒนาปิโติรเลียมภูาคเหน้อ เป็นสวนหนึงของการติรวจสอบการปฏิิบัติิราชิการของสำน ักงานปลัดกระท์รวงกลาโหมในบท์บาท์

ด้านอุติสาหกรรมป้องกันประเท์ศและพลังงานท์หาร หลังจากท์ีได้เข้ารับฟัังการบรรยายสรุป ณ ศูนย์การอุติสาหกรรมป้องกันประเท์ศ

และพลังงานท์หาร

62


พันตำำารวจเอกหญิง อังศุวรรณ รัตินานนท์์ นายกสมาคมภริิยาข้าราชิการสำนัักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม พร้อมด้วย อุปนายก

สมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมออกจำาหนายดอกป๊อปปีจากมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวท์หารผ่่านศึก ให้กับ พลเอก

วรเกียรติิรัตินานนท์์ ปลัดกระท์รวงกลาโหม รองปลัดกระท์รวงกลาโหม หัวหน้าหนวยขึนติรง รวมท์ังกำลัังพลของสำนัักงานปลัดกระท์รวง

กลาโหม ณ ศาลาวาการกลาโหม และสำนัักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม (พ้นท์ีศรีสมาน) เม้อ ๑ กุมภูาพันธ์ ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

หลัักเมืือง มีีนาคมื ๒๕๖๕

63


พันตำำารวจเอกหญิง อังศุวรรณ รัตินานนท์์ นายกสมาคมภริิยาข้าราชิการสำนัักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม พร้อมด้วย อุปนายก

สมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ได้เดินท์างติรวจเยี ยมโครงการต่่าง ๆ ของสมาคมฯ เพ้อติิดติามความค้บหน้าและรับท์ราบปัญหา

ข้อขัดข้อง ณ ศูนย์พัฒนาปิโติรเลียมภูาคเหน้อ กรมการพลังงานท์หาร ศูนย์การอุติสาหกรรมป้องกันประเท์ศและพลังงานท์หาร

อำาเภูอฝาง จังหวัดเชีียงใหม ระหวางวันท์ี ๙ - ๑๐ กุมภูาพันธ์ ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

64



Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!