04.04.2022 Views

หลักเมืองมีนาคม 65

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

พระบาทสมเด็จพระนั ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชวิสัยทัศน์...วิวัฒน์การคมนาคม

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

การเดินทัพและคมนาคมเพื่อการส่งกำลังบำรุงกองทัพในขณะนั้น

จำเป็นจะต้องยกพลไปตามคลองสำโรง ล่องน ้ำบางปะกงไปยัง

แขวงเมืองปราจีนบุรี จากนั้นเดินทัพทางบกเข้าเขมรที่พระตะบอง

นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทย

ได้มีการทำสงครามกับเวียดนาม ซึ่งเป็นสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน

ถึง ๑๔ ปี เรียกว่า “สงครามอานามสยามยุทธ” หรือ สงคราม

ระหว่างสยามกับอานามหรืออันนัม (เวียดนาม) โดยมีเหตุปัจจัย

มาจากการที่ญวนพยายามเข้าแทรกแซงกิจการภายในเขมรและลาว

ซึ่งในขณะนั้นทั้งสองประเทศต่างอยู่ภายใต้การปกครองของไทย

พระบาทสมเด็จพระนั ่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา

โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพบก

และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือยกกองทัพ

ไปตีหัวเมืองเขมรและญวน โดยให้สมทบกันที่เมืองไซง่อน ทั้งนี้ เส้นทาง

4

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

เจ้าพระยาบดินทรเดชา

(สิงห์ สิงหเสนี)

พนมเปญและเดินทางสู่เวียดนาม เมื่อเป็นเช่นนี้การเดินทางทางน้ำ

โดยใช้คลองสำโรงจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก

ต้องใช้เส้นทางนี้เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำ

บางปะกง สำหรับใช้เป็นเส้นทางขนส่งยุทธปัจจัย เสบียงและลำเลียง

กำลังพลให้มีความสะดวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเดินทาง

โดยใช้คลองสำโรงนั้น ประสบปัญหาในเรื่องความไม่สะดวกเพราะ

ต้องล่องเรืออ้อมไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ

ที่เริ่มต้นเข้าสู่ปากคลองสำโรงที่พระประแดง (อำเภอพระประแดง)

ผ่านบ้านคลองทับนาง บ้านบางพลี (อำเภอบางพลีใหญ่) บ้านเศียร

จรเข้ใหญ่ (ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง) บ้านคลองหอมสิน

(ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ) ก่อนจะออกแม่น้ำบางปะกง

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!