12.07.2015 Views

รายงานประจำปี พ.ศ. 2552 - โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

รายงานประจำปี พ.ศ. 2552 - โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

รายงานประจำปี พ.ศ. 2552 - โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

A n n u a l R e p o r t2 0 0 9A n n u a l R e p o r t 2 0 0 9 M a h i d o l W i t t a y a n u s o r n S c h o o lM a h i d o l W i t t a y a n u s o r n S c h o o lMahidol Wittayanusorn School (MWITS)364 Moo 5, Salaya, Phutthamonthon,Nakhon Pathom 73170, Thailand.Tel. 0-2849-7000Fax. 0-2849-7102Website: www.mwit.ac.thE-mail: school@mwit.ac.th


สารบัญพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี8สารจากประธานกรรมการบริหารโรงเรียน16สารจากผู้อำนวยการโรงเรียน 18บทสรุปผู้บริหาร 20ผลสำเร็จการดำเนินงานของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีงบประมาณ <strong>2552</strong>28ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานขององค์กร 301.1 เหตุผลของการจัดตั้งโรงเรียน 301.2 วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ 321.3 ความเป็นมาของโรงเรียน 321.4 วิสัยทัศน์ 331.5 พันธกิจ 341.6 เป้าหมายในการบริหาร 341.7 คณะกรรมการบริหารโรงเรียน 36ตอนที่ 2 ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 1 482.1 การสรรหาและคัดเลือกนักเรียน 482.2 การพัฒนาบุคลากรและผลงานดีเด่นของบุคลากร 55ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 2 723.1 หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong> 723.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 753.3 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 773.4 กิจกรรมฝึกประสบการณ์ในศูนย์วิจัย 813.5 การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการกับนักเรียนนานาชาติ 833.6 การส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ด้วยตนเอง 873.7 โครงงานของนักเรียน 903.8 กิจกรรมโอลิมปิกวิชาการ 953.9 ผลการเรียนและผลการทดสอบของนักเรียน 983.10 การติดตามนักเรียนเก่า 102


ตอนที่ 4 ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 3 1064.1 การสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 1064.2 ความร่วมมือทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ หน่วยงาน องค์กร 109และสถาบันการศึกษาต่างๆตอนที่ 5 ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 4 1105.1 การให้บริการวิชาการแก่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 1105.2 โครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น1135.3 การให้บริการศึกษาดูงาน 1155.4 การให้บริการจัดค่ายดาราศาสตร์ 115ตอนที่ 6 เป้าหมายสำคัญที่เป็นจุดเน้นในการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2553 1166.1 การคัดเลือกนักเรียน 1166.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1166.3 การพัฒนาครู 1186.4 การบริการวิชาการ 1186.5 การดำเนินงานในภาพรวม 118ตอนที่ 7 รายงานการเงิน 120


อาจจะไม่ได้ศึกษา หรือนึกไม่ถึงมาก่อนว่ามหาวิทยาลัยมหิดลนั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่มีโรงเรียนสาธิตเพราะฉะนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะตั้งโรงเรียนขึ้นมาในเขตนั้น เพราะว่ามหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้ทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนโรงเรียนมัธยมนั้นอยู่ในความดูแลของกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น ทางด้านกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานในส่วนของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก็ไม่สามารถจะจัดการเรื่องนี้ได้ ก็ต้องช่วยกันผลักดันเรื่องนี้มา ใช้เวลาพอสมควร เมื่อได้ที่สร้างโรงเรียนแล้ว ท่านเจ้าคุณซึ่งตั้งแต่ตอนอยู่ที่วัดแล้วก็ได้ช่วยหาอุปกรณ์การศึกษาเช่น คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ท่านก็หามา หรือหาซื้อมาให้นักเรียนใช้ตั้งแต่ตอนนั้น พอกลับมาที่โรงเรียน ขณะนั้นงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้มาก็ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของโครงการที่คิดกันไว้ได้มาเพียงส่วนเดียว จึงค่อนข้างจะแออัด คับแคบมาก ส่วนครูบาอาจารย์ก็ทำงานเกินความสามารถของบุคคลที่จะทำได้ ซึ่งหลายท่านก็เริ่มมีคำถามว่านี่หรือโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ที่จริงควรจะเป็นอย่างไรแต่ก่อนนี้อยู่โรงเรียนอื่นๆ ก็มีข้าวของ มีสิ่งของ มีอุปกรณ์ที่ดีกว่านี้ และมีคนสนับสนุน มีเงินทุน มีทุกอย่างสนับสนุนมากกว่านี้ จำนวนบุคลากรก็มีพอเพียงไม่ต้องทำงานเหนื่อยขนาดนี้ ก็ไปถึง ก็เริ่มคิดว่าจะทำอย่างไร เวลานั้น เมื่อได้รับข่าวอย่างนี้ก็ได้ปรึกษาอาจารย์หลายๆ ท่าน ซึ่งก็อยู่ในที่นี้ เจอใครก็ขอให้ท่านไปช่วยเหลือ ก็ปรากฏว่ามีคนช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ของที่จะต้องซื้อให้โรงเรียนมีแม้กระทั่งทีวีเทปบันทึกเสียง สำหรับอุปกรณ์ง่ายๆ เล็กๆ น้อยๆ ตอนนั้นคอมพิวเตอร์ทั้งหมดก็จัดหามา พอดีเริ่มทำโครงการกองทุน IT ใหม่ๆ ก็ทำในเรื่องของการจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ให้ ส่วนบุคลากรได้จากมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่มาเสริมเป็นอาสาสมัคร แล้วยังได้อาสาสมัครจากในวัง เข้ามาช่วยเหลือในกิจกรรมบางอย่าง เช่น ห้องปฏิบัติการเนื้อเยื่อ ก็ทำกันเองทั้งนั้นแล้วก็ได้คนในนครปฐม ตอนนั้นจะได้อาคารก็ไม่ได้ อย่าว่าแต่อาคาร เส้นทางถนนที่จะเดินทางเข้ามาโรงเรียนก็ยังไม่มี ก็ต้องค่อยๆ ทำไปทีละน้อย11


รู้ลึก รู้กว้างสมัยที่ข้าพเจ้าเรียนหนังสือ เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกว่า สมมติว่าถ้าเราเรียนการใช้อุปกรณ์เครื่องหนึ่ง ถ้าเราใช้เฉพาะอุปกรณ์ที่ใหม่ล่าสุดมา ซึ่งของใหม่ล่าสุดเราก็รู้ว่ากดปุ่ม ก็มีคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ในตัว มีเวิร์ดโปรเซสเซอร์ มีคอมพิวเตอร์ทำให้เองเสร็จ เราจะไม่เข้าใจ การที่จะสามารถสร้างสรรค์ให้อุปกรณ์สมัยใหม่ยิ่งขึ้นไปอีก บางทีเราจะมีโอกาสดีกว่า ถ้าเราศึกษาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ล้าสมัยที่สุด ของที่ล้าสมัยที่สุดจะทำให้เรามองเห็นปรัชญาหรือความคิดที่ว่า ของพวกอย่างนี้มีขึ้นมาได้อย่างไร แล้วก็ปรับขึ้นไป โดยใช้วิชาต่างๆ ที่ห้อมล้อมอยู่มาทำ คือทุกคนต้องมีจินตนาการ และมีความสามารถรู้ลึกในสิ่งที่เรียน รู้ให้แตกฉาน ลึกซึ้ง แต่ถึงแม้จะรู้ลึกในขณะเดียวกันก็ต้องรู้กว้าง คือสามารถที่จะเอาวิชาอื่นๆ ที่เราไม่ได้เรียนโดยตรงนำมาโยงกัน คือโยงกันได้ว่าวิชานี้กับวิชานั้นเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่แค่ว่าต่างคนต่างอยู่แยกกันต้องรวมกันได้ ทั้งในด้านที่เป็นเนื้อหาของแต่ละวิชา และด้านที่จะต้องพูดกับคนอื่นให้เข้าใจกัน เช่นเราเรียนวิศวะก็ต้องพูดกับเพื่อนที่เป็นนักบัญชีได้ หรือที่เป็นหมอได้ เราเองต้องเข้าใจอะไรที่กว้างพอสมควร พวกนี้ก็เป็นคุณสมบัติที่ต้องมีศิลปะ ดนตรี และกีฬาที่ไปเห็นในต่างประเทศหลายแห่ง เขาเน้นว่า นักเรียนที่เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ดีเด่น ก็ต้องเป็นคนที่รู้รอบ คือต้องรู้วิชาอื่นด้วย เช่น ต้องเป็นคนมีศิลปะ ศิลปะนี้ช่วยเรื่องของความสร้างสรรค์ด้วยทั้งศิลปะประเภททัศนศิลป์ วาดภาพ หรือบางคนอาจจะสนใจถ่ายภาพ สนใจดนตรี หรือการแสดงต่างๆ อีกอย่างหนึ่งที่จะมีประโยชน์คือ กีฬา ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เพราะร่างกายที่แข็งแรงนี้ก็จะเป็นที่อยู่ของจิตใจที่เข้มแข็ง แข็งแรง อีกอย่างหนึ่งคือ ทั้งกีฬาและดนตรี หรือศิลปะนั้นจะเป็นสะพานเชื่อมให้เราได้ไปรู้จักคนอื่นอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นสมาชิกชมรมดนตรีไทย สมมติว่าปวดท้องขึ้นมาก็ไปหาเพื่อนสมาชิกชมรมดนตรีไทยที่เป็นหมอ ปวดฟันก็ไปหาสมาชิกที่เป็นทันตแพทย์ การมีเพื่อนฝูงที่สนิทกันอยู่ในวงแล้วสามารถที่จะมาปรึกษากันได้ ดูรู้สึกสนิทสนมกันดีกว่าคนนอก อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า การที่จะไปคุยกับใครซึ่งไม่เคยรู้จักกันเลย บางทีจะไปคุยเรื่องวิทยาศาสตร์เลยทีเดียวไม่ได้ ก็ต้องไปใช้ทางด้านดนตรีกีฬา จึงเป็นเรื่องดีที่สุดที่จะไปฝึก เมื่อเป็นนักดนตรีด้วยกัน หรือเป็นนักกีฬาด้วยกัน ก็จะได้ประโยชน์ในการที่จะติดต่อกันต่อไป13


ความคาดหวังสูงอีกอย่างหนึ่งที่ได้เคยพูดกับนักเรียนไว้รุ่นหนึ่งว่า นักเรียนที่นี่รู้สึกว่ามีความสามารถในการค้นคว้า เพราะรู้จักระเบียบวิธีวิจัย ทำอย่างไรจะค้นคว้าได้ เรื่องนี้ก็สอนกันแล้ว ส่วนการที่จะรายงานให้คนอื่นอ่าน ให้เขาเข้าใจว่าเราได้ค้นพบอะไรนั้นเป็นเรื่องที่สองที่ต้องฝึก ขั้นที่สามก็คือ ต้องรู้สิทธิของตนเองและผู้อื่น คืออาจจะต้องรู้กฎหมายสมัยใหม่ เช่น เรื่องสิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา ต้องเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเอง พอที่จะไม่ให้ใครมาละเมิดสิทธิของตน และตัวเองไม่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่น ก็เป็นสิ่งที่เราอาจจะหวังมากสำหรับนักเรียนที่นี้ ไม่ใช่แต่นักเรียนเท่านั้น อาจารย์ก็เช่นเดียวกัน มีความคาดหวังอาจารย์สูงมาก คืออาจารย์ที่นี่จะต้องทำงานตลอดเวลา ต้องค้นคว้าล่วงหน้า ต้องเข้ากับนักเรียนได้ ต้องถามไถ่ มีอะไรเกิดขึ้นกับนักเรียนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เจ็บป่วยเป็นอะไรก็ต้องคอยดู คอยจับตาสังเกต ทางด้านวิชาการของตัวเอง ก็ไม่ใช่ว่าเรียนจบจากมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนแล้ววิชาแค่นั้นจะเพียงพอ นักเรียนก้าวหน้าไป โลกก็ก้าวหน้าไป อาจารย์ก็ต้องทำตัวให้พร้อมเสมอที่จะให้ก้าวหน้าต่อไปมากมาย อาจจะไม่พอใจหรือโกรธที่กรรมการหรือผู้บังคับบัญชาเคี่ยวเข็ญ แต่ว่าทำไปทำมาก็รู้สึกว่าครูบาอาจารย์ก็จะสนุกสนุกไปด้วยกัน คนที่สนุกกับการเรียน สนุกกับการทำงาน ก็จะต้องอยู่ได้ และประสบความสำเร็จช่วยกันคิดช่วยกันทำที่ผ่านมาอาจารย์ธงชัยก็เป็นคนที่เอาจิตใจใส่ คือผูกพันกับสถานที่ รวมทั้งคณะกรรมการบริหารหรือแม้แต่กรรมการต่างๆ ของโรงเรียน ก็รู้สึกว่าทุกท่านมีความผูกพัน อันนี้ได้ทราบเพราะว่ามีโอกาสได้ประชุมร่วมกับครูบาอาจารย์และกรรมการทุกภาคการศึกษา ก่อนที่จะเปลี่ยนภาคใหม่ เราก็จะมาประชุมกันประมาณ 3-4 ชั่วโมง ทางโรงเรียนจะเตรียมข้อมูลมาอย่างดีว่า โรงเรียนมีความเคลื่อนไหวอย่างไร มีความสำเร็จอะไร และมีข้อที่ยังต้องแก้ไขอย่างไร ทุกคนก็ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ สร้างความก้าวหน้า แก้ปัญหาเหล่านั้นไป 14


สร้างมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติโรงเรียนพยายามสนับสนุนส่งนักเรียนให้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ให้ได้ไปร่วมสัมมนา ร่วมพบปะกับนักเรียนในวัยเดียวกันตามที่ต่างๆ ทั่วโลกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การไปอยู่ต่างประเทศนั้น ก็มีปัญหาหลายอย่าง มีอุปสรรคด้านภาษา อุปสรรคด้านหลักสูตร วิชาการพื้นฐานที่เรียนมาอาจจะไม่เหมือนกัน สถานที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น เราก็ต้องพยายามที่จะปัดเป่าปัญหาเหล่านี้ เท่าที่ผ่านมาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปค่อนข้างจะดี ไม่มีปัญหา ก็มีบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ว่ามีอะไรเหนือบ่ากว่าแรงที่เราจัดการไม่ได้ ที่ข้าพเจ้าพยายามทำอยู่ก็คือ ไปที่ไหนก็พยายามไปหาซื้อหรือว่าไปขอแบบเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลายมาให้สะสมไว้ มีมาจากจีน อังกฤษ และอีกหลายๆ แห่ง เพื่อที่จะเอามาให้อาจารย์ที่นี่วิเคราะห์ดูว่า ในโรงเรียนที่อยู่ในระดับเดียวกันในต่างประเทศ เขามีเนื้อหาการเรียนอย่างไรบ้าง มีตรงไหนที่เราก็มี ตรงไหนที่เรามีแล้วเขาไม่มี หรือตรงไหนที่เขามีแล้วเราไม่มี เหมาะสมหรือไม่ที่เราจะเพิ่มเติมหรือปรับปรุง และมีไว้สำหรับช่วยนักเรียนที่จะไปเรียนต่อ ทั้งเตรียมตัวทางด้านภาษาด้วย อย่างภาษาจีน สมมติว่านักเรียนได้เรียนภาษาจีน แต่ว่าภาษาจีนในด้านวิชาการ ในเนื้อหาวิชาการนั้น คงไม่ได้เรียนเท่าที่ควร ก็ต้องให้ดูพอเป็น เพื่อเตรียมตัวว่าเราจะไปพบอะไร ไปพบสิ่งใดบ้าง ก็พยายามที่จะเตรียมนักเรียนเหล่านี้ระบบระเบียบที่ดีเท่าที่ผ่านมา ทำได้ดีมาก ถึงจะมีปัญหาอะไรบ้าง ก็อย่าท้อถอย รายละเอียดก็มีเยอะ เช่น การคัดเลือกนักเรียนใหม่ ก็พยายามจะทำให้เป็นระบบที่ยุติธรรม ที่เป็นกลางมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การสรรหา ไม่ว่าจะเป็นการสรรหาผู้อำนวยการ การสรรหากรรมการ ทุกอย่างมีระบบระเบียบซึ่งคิดว่าดีที่สุดเท่าที่จะดีได้แล้ว ทุกคนก็พยายามทำด้วยความตั้งใจพรพระราชทานขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตามความเชื่อของทุกคน รวมทั้งความตั้งใจอันดี ความขยันขันแข็งของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งครู นักเรียน กรรมการ และบุคคลภายนอกที่มาช่วยเหลือ ขอบันดาลให้ทุกคนมีกำลังกาย กำลังใจ ที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะทำงานเพื่อให้ความตั้งใจ ความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันนั้น ประสบความสำเร็จ15


สารจากประธานกรรมการบริหารโรงเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์พิเศษ เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบในการดูแล สร้างเสริม และพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ให้ก้าวไปเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของประเทศ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมอันจำเป็นต่อความอยู่รอดของประเทศในอนาคต รวมทั้งเป็นผู้ที่มีวินัย รู้หน้าที่ รับผิดชอบ และมีจิตสำนึกในประโยชน์สาธารณะ ผลงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นภารกิจที่บุคลากรของโรงเรียนมหิดลวิทยานสุรณ์ ได้ปฏิบัติลุล่วงมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันฟันฝ่าอุปสรรค และพยายามปฏิบัติหน้าที่ บริหารงานให้เหมาะสมกับเวลาที่มีจำกัด ด้วยความมุ่งมั่น สร้างสรรค์งาน ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ปีพุทธศักราช <strong>2552</strong> นับเป็นปีมหามงคลอย่างใหญ่หลวงของโรงเรียนอีกวาระหนึ่งที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอประชุมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) ห้องประชุมศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์เกตุทัต ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ และห้องประชุม ดร.โกวิทวรพิพัฒน์ ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ทรงพระราชทานพระราโชวาทอันทรงคุณค่ายิ่ง แก่คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครู เจ้าหน้าที่ และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รวมทั้งทรงร่วมกิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ด้วยความสนพระทัยยิ่ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ นอกจากนี้ในแต่ละภาคการศึกษาพระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโรงเรียน และรับพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาโรงเรียนซึ่งคณะกรรมการโรงเรียนจะน้อมอัญเชิญพระราชดำริทั้งหลายไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่อไป16


โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ผ่านจากจุดที่เป็นความฝันและความคาดหวัง มาเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก และได้เริ่มขยายผลสู่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยอีก12 แห่ง ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ ซึ่งส่วนหนึ่งมีพื้นฐานจากการบริหารงานที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานที่มุ่งมั่นและเป็นระบบ มีการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลงานอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน ที่เน้นการกำกับติดตาม ดูแล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอน พัฒนานักเรียนให้เป็นทั้งคนเก่งเต็มตามศักยภาพและคนดีมีศีลธรรม เป็นกำลังสำคัญร่วมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพและแข่งขันได้ในอนาคตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันท์ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์17


สารจากผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์รายงานประจำปีของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดในมาตรา 37 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ.2543 โดยนำเสนอผลงานโรงเรียนในปีงบประมาณที่ล่วงมา บัญชีทำการพร้อมทั้งรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของคณะกรรมการ โครงการ และแผนงานที่จะจัดทำในภายหน้า ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน 2 ชุด ชุดแรกมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกรเป็นประธาน ได้หมดวาระเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม <strong>2552</strong> ชุดที่ 2 มี ศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุชาดากีระนันท์ เป็นประธาน เริ่มวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม <strong>2552</strong> คณะกรรมการทั้งสองชุด ได้กำหนดนโยบายและกำกับทิศทางการทำงานของโรงเรียน โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ 2 ประการ คือ 1. พัฒนาโรงเรียนให้สามารถสรรหาและจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความสามารถสูงทางด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล จุดประกายและส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนเห็นความสำคัญ เห็นคุณค่า และมีความมุ่งมั่นที่จะประกอบอาชีพเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์นักคิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต เป็นทั้งคนเก่ง คนดี และคนที่มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ ทั้งกายและใจ2. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นต้นแบบในการสรรหาและจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูงด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สามารถขยายผลต่อไปในวงกว้างได้ การดำเนินงานปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนสามารถดำเนินงานตามเป้าหมาย ทั้งที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา นโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการประเมินการปฏิบัติงานของโรงเรียนตามตัวชี้วัดของ กพร. และการประเมินตนเองของโรงเรียน อยู่ในระดับสูง นักเรียนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ นอกจากมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมากแล้ว ยังมีผลงานด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนของโรงเรียนเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่น ที่จะกลับมาเป็นนักวิจัยนักประดิษฐ์ นักคิดค้น สร้างองค์ความรู้ให้กับสังคมและประเทศชาติ 18


การจะพัฒนานักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนไปสู่การเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นักเรียนจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอก ในสาขาที่ตนเองรัก ถนัด และสนใจ และเป็นความต้องการของประเทศชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีโครงการในระดับอุดมศึกษา เพื่อสานต่อและต่อยอด พัฒนานักเรียนเหล่านี้ให้มีอุดมการณ์ที่มั่นคง รวมถึงการมีแหล่งงาน และมีงบประมาณสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษาเหล่านี้ได้มีโอกาสทำการค้นคว้าวิจัย ประดิษฐ์ คิดค้น อย่างเต็มศักยภาพ ตัวชี้วัดความสำเร็จที่แท้จริงในการดำเนินงาน คือ การทำให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าของตนเอง ที่สามารถจะเรียนรู้และเติบโตเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้น มีผลงานหรือองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น โรงเรียนหวังว่าสังคมจะเห็นความสำคัญ และให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในลักษณะนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้นต่อไปผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์19


บทสรุปผู้บริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ของรัฐ มีพันธกิจหลักในการพัฒนาต้นแบบและนำร่องการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกโรงเรียนดำเนินการสรรหาและคัดเลือกนักเรียน ที่มีศักยภาพสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จากทั่วประเทศ เข้ามาเป็นนักเรียนของโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีละ240 คน โดยใช้วิธีกรองหลายขั้นตอน ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย ยึดหลักความโปร่งใส ยุติธรรม และเที่ยงตรงตามหลักวิชา นอกจากการคัดเลือกนักเรียนของโรงเรียนตามปกติแล้วโรงเรียนยังให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการดำเนินการคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเข้าเรียนในห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่งและได้ดำเนินการรับสมัคร และจัดสอบนักเรียนรอบแรกให้กับโครงการจัดตั้งห้องวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีก 5 แห่ง โดยใช้วิธีการ และหลักเกณฑ์เดียวกันกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช<strong>2552</strong> โดยเริ่มใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รุ่นปีการศึกษา <strong>2552</strong> หลักสูตรดังกล่าวนอกจากครอบคลุมสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ สอดคล้องกับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) การสอบความถนัดทั่วไป (GAT) การวัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ (PAT1) และการวัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์(PAT2) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติแล้ว ยังได้เพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้นตามศักยภาพ ความถนัด และความสนใจของนักเรียน สาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่ม 1 ของรายวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาได้จัดให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอวน.นอกจากนี้ ยังจัดหลักสูตรให้มีลักษณะเป็นหลักสูตรเฉพาะบุคคล (Customized curriculum) ให้มากขึ้น โดยสนับสนุนให้นักเรียนแต่ละคนได้เลือกเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สาขาใดสาขา


หนึ่ง (คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี หรือชีววิทยา) ที่มีสาระการเรียนรู้ครอบคลุมหลักสูตรของสอวน. โดยสามารถเรียนจบหลักสูตรตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเมื่อนักเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จะมีเวลาเลือกเรียนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตามความรัก และความสนใจได้มากขึ้น นักเรียนที่มีความถนัดและความสนใจมากเป็นพิเศษในสาขาวิชาคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง สามารถเลือกเรียนรายวิชาการเรียนล่วงหน้า (AP Courses) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ระดับเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong> ได้เพิ่มรายวิชาบังคับที่เป็นพื้นฐานในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้นด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่ (1) รายวิชา Nature of Science andScientific Inquiry (2) รายวิชาสัมมนาวิทยาศาสตร์ และ (3) รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ และกำหนดให้รายวิชาทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นวิชาบังคับเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งรายวิชานอกจากนี้โรงเรียนยังได้เปิดรายวิชาเลือก “ภาษาจีนเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์” และ “ภาษาฝรั่งเศสเพื่อวิทยาการ” โดยใช้ตำราคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่โรงเรียน เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับรายวิชาทั้งสองด้วยโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ได้แก่ การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาดูงาน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมชุมนุม ค่ายวิชาการ ค่ายปฏิบัติธรรม ค่ายบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล และเกิดความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม โรงเรียนมีความเชื่อว่า กิจกรรมดังกล่าวจะสามารถพัฒนาทักษะและคุณลักษณะนิสัยของนักเรียนให้เป็นไปตามอุดมการณ์และเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียนในเรื่องการทำงานวิจัย ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ แนวคิด และวิถีชีวิตในการทำงานของนักวิจัยในแต่ละสาขา และเพื่อเป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจของนักเรียนในการศึกษาต่อ หรือวางแผนเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเป็นนักวิจัยในอนาคต โรงเรียนจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสฝึกประสบการณ์กับนักวิจัยสาขาต่างๆ22


โรงเรียนมีความเชื่อว่า หากนักเรียนได้มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการกับนักเรียนชั้นนำของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน จะช่วยทำให้นักเรียนของโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมากขึ้นมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับเพื่อนนักเรียนในต่างประเทศที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการในอนาคต ทำให้นักเรียนของโรงเรียนสามารถสร้างเครือข่ายทางวิชาการได้มากขึ้น โรงเรียนมีโครงการสนับสนุนให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียนต่างชาติ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนเครือข่ายในต่างประเทศ และ (2) โครงการจัดส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันวิชาการ เข้าค่ายวิชาการ หรือเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศ โรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ค้นคว้า ทดลองสืบเสาะ แสวงหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานตามความสนใจเพื่อให้อัจฉริยภาพและความสามารถพิเศษของนักเรียนแต่ละคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน มีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่ได้มาตรฐาน และทันสมัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การค้นคว้า ทดลอง และฝึกปฏิบัติต่างๆ มีศูนย์วิทยบริการหรือห้องสมุด ที่มีสื่อความรู้ทุกรูปแบบ เปิดให้บริการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ การค้นคว้าวิจัย จนถึงเวลา22.00 น. ทุกวันในช่วงเปิดภาคเรียน มีระบบสายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงทุกอาคารภายในโรงเรียน มีจุดเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ (Computer Outlet) มากกว่า 400 จุด นอกจากนั้นยังมีระบบสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (wireless) ทั่วบริเวณโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการศึกษาเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ขนาดความเร็ว ในประเทศ 73 Mbps และความเร็วต่างประเทศ 25 Mbps23


การทำโครงงานของนักเรียนนับว่าเป็นกิจกรรมที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้น โรงเรียนจึงให้ความสำคัญกับการทำโครงงานของนักเรียนเป็นอย่างมากและกำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องทำโครงงานและนำเสนอผลงานทั้งในรูปของการบรรยายและโปสเตอร์ จึงจะถือว่าสำเร็จการศึกษาโรงเรียนสนับสนุนให้นักเรียนส่งเค้าโครงของโครงงาน (Project Proposal) เพื่อขอทุนสนับสนุนการทำโครงงานของนักเรียนจากหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนขอความอนุเคราะห์ใช้ห้องปฏิบัติการและขอความอนุเคราะห์บุคลากรจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยต่างๆ มาเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงให้การปรึกษาในการทำโครงงานของนักเรียน อีกทั้งยังสนับสนุนให้นักเรียนนำโครงงานไปเสนอในที่ประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีโครงงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 72 โครงงาน และมีโครงงานที่ได้รับคัดเลือกไปนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 23 โครงการ และนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ 14 โครงการ ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 10 คน ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ผลปรากฏว่า นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 2 เหรียญ ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และฟิสิกส์ เหรียญเงิน จำนวน 5 เหรียญ ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ 1 เหรียญ สาขาวิชาเคมี และฟิสิกส์ สาขาวิชาละ 2 เหรียญ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 2 เหรียญ ในสาขาวิชาโลกและอวกาศ และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ และได้รับเกียรติคุณประกาศ 1 ใบ ในสาขาวิชาดาราศาสตร์ฟิสิกส์ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET)ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั่วประเทศ บวก2-4 SD (σ) หรือประมาณเปอร์เซนไทล์ที่ 99.9 24


การสอบวัดผลความถนัดทั่วไป (GAT) และการสอบวัดความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ(PAT) จัดโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีผลการสอบ GAT อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 98.01-99.78 (คะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนทั้งประเทศประมาณ 2.00-2.85 SD) และผลการสอบ PAT อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 96.51-99.99 (คะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนทั้งประเทศประมาณ 1.81-4.25 SD) พันธกิจที่สำคัญของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์อีกประการหนึ่งคือ การเป็นโรงเรียนต้นแบบในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้กับโรงเรียนหรือหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ ผลการดำเนินการในการให้บริการวิชาการในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> ได้แก่• การให้บริการวิชาการแก่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ให้ความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานและให้บริการวิชาการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ตั้งแต่ปีการศึกษา2550 เป็นต้นมา โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่ง ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับความร่วมมือจากสำนักทดสอบทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รับเป็นที่ปรึกษาประเมินผลสำเร็จที่โรงเรียนให้บริการทางวิชาการแก่โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง สรุปได้ดังนี้ผลการดำเนินการบริการวิชาการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า ผลสำเร็จของการบริการวิชาการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กล่าวคือ ผู้บริหารโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ได้อย่างดี ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และครูผู้สอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยต่างมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ มีการนำหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ มีการใช้ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ และมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลสำเร็จการให้บริการวิชาการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง25


• โครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้นำร่องโครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี <strong>2552</strong> เพื่อดำเนินการค้นหานักเรียนที่กำลังเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่มีศักยภาพสูงเยี่ยมด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มาส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพระยะยาวต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี (ม.1-ม.3) มีนักเรียนในโครงการ 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 514 คน รุ่นที่ 2 จำนวน535 คน รวม 1,049 คน มีศูนย์ดำเนินการภายใต้การดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐในภูมิภาคต่างๆ รวม 13 ศูนย์ และศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ อีก 1 ศูนย์ปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับความร่วมมือจากคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ทำการประเมินผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์ในระดับปานกลาง/พอใช้ ซึ่งน้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนักเรียนโรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ น้อยกว่ากลุ่มนักเรียนโรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ แต่มีความคิดวิจารณญาณมากกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่า มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ระดับดีมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างดี และมีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างดี นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 2 มีความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับค่อนข้างดี และปานกลางตามลำดับ โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มนักเรียนโรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์เล็กน้อย มีความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และความคิดวิจารณญาณระดับดีและมากกว่ากลุ่มนักเรียน โรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ระดับดีมาก ส่วนเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างดี ประโยชน์ และความรู้สึกที่นักเรียนได้รับจากโครงการอยู่ในระดับมาก 5 ลำดับ เรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ (1) ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกการยอมรับความสามารถ และเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น (2) ฝึกทักษะการจัดการ การวางแผน และการทำงานร่วมกัน (3) ได้พัฒนาความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเกินกว่าหลักสูตรปกติ (4) ได้ฝึกการคิดแบบวิเคราะห์สังเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินผล และความคิดสร้างสรรค์ (5) ทำให้เกิดความต้องการศึกษาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง26


ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โรงเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับมัธยมศึกษามาโดยตลอด ผลการดำเนินงานอันเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและกลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานของโรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างๆภารกิจทั้งหลายที่ดำเนินการลุล่วงมาด้วยดีจนเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนนั้น เกิดจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกภาคส่วนของโรงเรียน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ภายนอกที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามโรงเรียนยังมีภารกิจที่จะต้องพัฒนาให้ก้าวต่อไปอีกมากโดยมีเป้าหมายสูงสุดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประเทศชาติพัฒนากำลังคนผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่มีศักยภาพสูงเยี่ยม เป็นหัวรถจักรช่วยลากจูงประเทศ พัฒนาประเทศจากสังคมผู้บริโภคเป็นสังคมผู้ผลิตให้มากขึ้นช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพสูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่บนเวทีโลกได้อย่างสง่างาม27


ผลสำเร็จการดำเนินงานของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีงบประมาณ <strong>2552</strong> สรุปได้ดังตารางกิจกรรม หน่วยนับ เป้าหมาย ผล1. ผลสำเร็จของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ 1.1 จำนวนโครงงานที่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง โครงงาน 9 14เพื่อร่วมแสดงงานประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.) หรือประชุมวิชาการระดับประเทศและระดับนานาชาติ1.2 จำนวนโครงงานของนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกไป โครงงาน 23 23ร่วมแสดงผลงานในระดับนานาชาติ1.3 จำนวนโครงงานของนักเรียนที่ได้รับทุน โครงงาน 66 72สนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก2. ผลสำเร็จของโครงการโอลิมปิกวิชาการของโรงเรียน 2.1 ร้อยละของจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่ได้รับ ร้อยละ 25.00 26.19การคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่าย 1 ใน5 สาขาวิชาที่ดำเนินการโดย สสวท. เทียบกับนักเรียนที่เข้าค่าย 1 จากทุกโรงเรียนทั่วไป2.2 ร้อยละของจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่ได้รับ ร้อยละ 27.00 26.28การคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่าย 2 ใน5 สาขาวิชาที่ดำเนินการโดย สสวท. เทียบกับนักเรียนที่เข้าค่าย 2 จากทุกโรงเรียนทั่วไป2.3 จำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศใน 6 สาขาวิชาที่ดำเนินการโดย สสวท. 5 สาขาวิชา และสอวน.1 สาขาวิชาคน 9 928


กิจกรรม หน่วยนับ เป้าหมาย ผล3. ผลการทดสอบของโรงเรียน 3.1 ผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน PR >90 99.993.2 ผลทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) PR 90 98.013.3 ผลทดสอบศักยภาพทางคณิตศาสตร์ (PAT1) PR 90 99.993.4 ผลทดสอบศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ (PAT2) PR 90 99.963.5 ผลทดสอบศักยภาพด้านภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ย คะแนน >500 533เทียบกับคะแนน TOEFL (PBT)4. ผลสำเร็จด้านการศึกษาต่อของนักเรียนของโรงเรียน 4 .1 จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนเข้าศึกษาต่อใน คน 37 34ประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับปริญญาตรีที่จัดสอบโดย ก.พ. หรือการสอบแข่งขันทั่วไปโดยหน่วยงานอื่น4.2 จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนเข้าศึกษาต่อใน คน 41 15ประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับปริญญาตรีจากแหล่งทุนต่างๆ4.3 ร้อยละของนักเรียนที่ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 96.39 94.07และเทคโนโลยี4.4 ร้อยละของนักเรียนที่ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 22.17 18.22พื้นฐาน5. ร้อยละของนักเรียนเก่าของโรงเรียนที่มีผลการเรียน ร้อยละ 47.59 45.11สะสมมากกว่า 3.50 ขึ้นไป ในมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย6. ร้อยละของผลสำเร็จในการให้บริการกับโรงเรียน ร้อยละ 85 86.67จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง และโรงเรียนเครือข่ายเป้าหมาย7. ร้อยละความพึงพอใจของครูจากโรงเรียนจุฬาภรณ ร้อยละ 85 81.25ราชวิทยาลัยและโรงเรียนเครือข่ายเป้าหมายต่อการใช้บริการศูนย์สื่อของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์8. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาวิธีการจัดการศึกษา ระดับ 5 5สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ9. ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมและนำกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based Learning) มาใช้ในการเรียนการสอนระดับ 5 529


1ข้อมูลพื้นฐานขององค์กร1.1 เหตุผลของการจัดตั้งโรงเรียนพระราชกฤษฎีการจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2543 ได้ระบุเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาไว้ดังนี้ “โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัยพัฒนาและนักประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียน ตลอดจนมีการจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะสายวิทยาศาสตร์เท่านั้น โดยไม่มีการสอนสายศิลป์และสายอื่น จำนวน 13 แห่งขึ้น เพื่อจัดการศึกษาให้แก่นักเรียน แต่หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนยังคงเป็นเช่นเดียวกับโรงเรียนทั่วไปขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้เด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการและหลักสูตรที่มีลักษณะพิเศษ อันแตกต่างไปจากการเรียนการสอนในโรงเรียนปกติ ดังนั้นสมควรได้มีการจัดให้มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้นโดยเฉพาะเพื่อให้เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นให้แก่นักเรียนที่มีความสามารถเป็นพิเศษในทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีคุณภาพสูงเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในการที่จะสร้างนักวิชาการอันยอดเยี่ยมของประเทศ และเพื่อที่จะให้โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมีการบริหารและจัดการเรียนการสอนที่มีความเป็นอิสระ คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สมควรกำหนดให้เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน จึงได้นำโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มาจัดตั้งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นต้นแบบแก่โรงเรียนในลักษณะดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้”


1.2 วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. 2543 ได้กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ไว้ดังนี้มาตรา 7 ให้โรงเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กที่มีศักยภาพสูงทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาตรา 8 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 ให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่หลักดังนี้1) ดำเนินการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นความเข้มข้นของการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพสูงทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์2) จัดทำหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับใช้ในโรงเรียน3) ดำเนินการและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน4) ให้บริการพิเศษทางด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์1.3 ความเป็นมาของโรงเรียนเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีหาวิทยาลัยมหิดลและดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้ร่วมลงนามในโครงการความร่วมมือจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาบนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา กิ่งอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามโรงเรียนนี้ว่า “มหิดลวิทยานุสรณ์” ตามคำกราบบังคมทูลของกรมสามัญศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2535โรงเรียนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ใช้พระราชลัญจกร“มหิดล” เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรก ในปีการศึกษา2534 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2534 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง รองเจ้าคณะจังหวัดภาคที่ 14 วัดไร่ขิง อนุญาตให้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมของวัดไร่ขิง ต.วัดไร่ขิง อ.สามพรานจ.นครปฐม เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จึงได้ย้ายมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งบนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดลจวบจนปัจจุบัน32


ต่อมามีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 สาระสำคัญส่วนหนึ่งกำหนดให้มีการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้วยรูปแบบที่เหมาะสม ให้เต็มตามศักยภาพของบุคคลนั้นๆ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ดร.ธงชัยชิวปรีชา) จึงเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ ให้พิจารณาสร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ขึ้น ผู้เกี่ยวข้องได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงทราบ จึงพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาว่า สมควรจะดำเนินการที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์หรือไม่ เพราะเป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ควรจะพัฒนาให้เป็นโรงเรียนที่นำร่องการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเต็มรูปแบบดังนั้น เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2543 จึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่มีสถานภาพเป็นองค์การมหาชนขึ้น โดยการสนับสนุนของนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)และโดยการผลักดันของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอาคม เอ่งฉ้วน) ในขณะนั้น ให้ยุบเลิกโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เดิม ซึ่งสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สินและเงินงบประมาณของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไปเป็นของโรงเรียนที่ตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชกฤษฎีกา สำหรับข้าราชการก็ให้มีสิทธิ์เลือกที่จะเป็นพนักงานขององค์กรใหม่ หรือโอนย้ายไปรับราชการที่ส่วนราชการอื่น1.4 วิสัยทัศน์ เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ต้นแบบของรัฐ นำร่องสรรหาและจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก มีจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัยและนักประดิษฐ์คิดค้นมีสุขภาพพลานามัยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม รักการเรียนรู้มีความเป็นไทย มีความมุ่งมั่นพัฒนาประเทศชาติ มีเจตคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมโลกและธรรมชาติ33


1.5 พันธกิจ1. พัฒนาต้นแบบ และนำร่องการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก2. พัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้ทัดเทียมโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก3. ดำเนินการและส่งเสริมให้หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน 4. ให้บริการพิเศษทางด้านการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 1.6 เป้าหมายในการบริหาร 1. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ต้นแบบของรัฐ มีการบริหารจัดการดำเนินการสรรหาและจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาให้มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมสูง2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณธรรมและจริยธรรมสูง เช่น2.1 มีผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยเฉลี่ยสูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ 902.2 มีผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โดยเฉลี่ยสูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ 902.3 ผลทดสอบศักยภาพด้านภาษาอังกฤษโดยเฉลี่ยก่อนจบการศึกษาเมื่อเทียบคะแนน TOEFL สูงกว่า 5002.4 มีผลงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เผยแพร่ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ปีละมากกว่า 30 โครงงาน2.5 โครงงานของนักเรียนได้รับคัดเลือกไปแสดงผลงานในต่างประเทศปีละมากกว่า 20 โครงงาน2.6 นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของนักเรียนทั้งหมด2.7 นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าร้อยละ 902.8 นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน ได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ 50 อันดับแรกของโลกตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 52.9 นักเรียนเก่าของโรงเรียนได้รับทุนการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในต่างประเทศด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านละไม่น้อยกว่า 8 คน2.10 นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความเป็นผู้นำในทุกด้านมีความภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทย รักความเป็นไทย มีจิตวิญญาณของนักวิจัยนักประดิษฐ์คิดค้น นึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมมุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคมและประเทศชาติ34


3. ครูของโรงเรียนมีคุณวุฒิสูง ความรู้ความสามารถสูง เทคนิคการสอนดี มุ่งมั่นพัฒนาการสอนและวิจัย มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิญญาณของความเป็นครู3.1 ครูของโรงเรียนร้อยละ 90 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ภายในปีงบประมาณ 25533.2 ครูของโรงเรียนร้อยละ 90 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก ภายในปีงบประมาณ 25603.3 ครูของโรงเรียนแต่ละคนต้องพัฒนาตนเอง โดยเข้าฟังบรรยาย อบรมสัมมนา ศึกษาดูงานฯลฯ ไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมงต่อปี สามารถพัฒนาการเรียนการสอนและให้คำแนะนำในการทำโครงงานวิจัย ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้เพิ่มขึ้น3.4 ครูของโรงเรียนมีผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย เผยแพร่ ปีละไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง4. ให้บริการวิชาการในการคัดเลือกและการดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยและโรงเรียนอื่นๆ โดยใช้ต้นแบบและกระบวนการบริหารจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นแหล่งเรียนรู้ทางบริหารจัดการและวิชาการด้านต่างๆ5. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีระบบบริหารจัดการที่ดี เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ ประชาชนมีส่วนร่วม มีความคล่องตัวในการดำเนินการ โปร่งใส และตรวจสอบได้ตลอดเวลา35


1.7 คณะกรรมการบริหารโรงเรียนพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ.2543 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโรงเรียน เพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา หน้าที่หลักของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีดังต่อไปนี้1. กำหนดนโยบายและให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของโรงเรียน2. อนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงินของโรงเรียน3. ออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ3.1 การจัดแบ่งส่วนงานและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงาน3.2 การกำหนดอัตราตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง อัตราเงินเดือนค่าจ้างสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ตลอดจนการสรรหา คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอนครูและเจ้าหน้าที่3.3 การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุและทรัพย์สิน การจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน 4. กระทำการอื่นใดที่เป็นการต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียนนอกจากนั้น คณะกรรมการบริหารโรงเรียนยังทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์บริหารงานภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการของโรงเรียน คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ตั้งแต่ชุดแรก จนถึงชุดปัจจุบัน เป็นดังนี้36


ชุดที่ 1 (ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2544-20 มิถุนายน 2548) ประกอบด้วยที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียน1. ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต2. ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำประธานกรรมการบริหารโรงเรียน3. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกรกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ4. ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์5. รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ6. ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิต ผิวนิ่มกรรมการโดยตำแหน่ง8. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ)9. ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน)10. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(นางพรนิภา ลิมปพยอม)11. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ(นายวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์) 12. รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ดร.พิศาล สร้อยธุหร่ำ)กรรมการและเลขานุการ13. ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์(ดร.ธงชัย ชิวปรีชา)37


ชุดที่ 2 (ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน 2548-27 กรกฏาคม <strong>2552</strong> ประกอบด้วยที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียน1. ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต (ถึงแก่กรรม)2. ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำประธานกรรมการบริหารโรงเรียน3. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกรกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ4. ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์5. รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ6. ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์7. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์38


กรรมการโดยตำแหน่ง8. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร)9. ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน)10. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(คุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา)11. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ(นายบัณฑูร สุภัควณิช) 12. ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์)กรรมการและเลขานุการ13. ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์(ดร.ธงชัย ชิวปรีชา)ชุดปัจจุบัน (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม <strong>2552</strong>-ปัจจุบัน) ประกอบด้วยที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียน1. ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร2. รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ3. ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน4. ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ5. ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์7. ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า8. ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์39


กรรมการโดยตำแหน่ง9. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร)10. ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน)11. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน)12. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ(นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ)13. ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร)กรรมการและเลขานุการ14. ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์)40


คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ชุดปัจจุบัน)ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวุฒิการศึกษา• B.Sc.in Engineering (First Class Honors.) ElectricalEngineering, University of Glasgow, U.K.• Ph.D. (Microwave Acoustic Materials) ElectricalEngineering, University of Glasgow, U.K.• Cert. Alternative Energy, University of Florida,Gainesville, USAประสบการณ์• หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดีคณะพลังงานและวัสดุคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• ประธานคณะทำงานโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ• ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม• อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษาปัจจุบัน• นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา• ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• ประธานกรรมการสถาบันวิทยาการการเรียนรู้รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวุฒิการศึกษา• ปริญญาตรีสาขา Zoology จาก University of Wisconsin, USA.• ปริญญาโท สาขา Genetics จาก University of Wisconsin, USA.• Ph.D. สาขา Genetics จาก University of Hawaii, USA.ประสบการณ์• อาจารย์ประจำ สอนและวิจัยในสาขาพันธุศาสตร์และชีวสถิติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ• ผู้ชำนาญการ สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี• คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ• ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)• อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ• นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง• กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต• นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย และสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทยปัจจุบัน• กรรมการบริหารมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา• กรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาฯ(สอวน.)• กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ• ประธานอนุกรรมการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษและการจัดการศึกษาพิเศษด้านอาชีวศึกษา• กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโครงการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ (สควค.)• กรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ• ที่ปรึกษา โครงการพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของสพฐ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี• ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ• ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสภามหาวิทยาลัยคริสเตียน• ประธานอนุกรรมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ• กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์41


ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวุฒิการศึกษา• B.Sc.(Eng.) 1st Class Honors, Electrical Engineering,Imperial College, University of London, U.K.• Ph.D. Electrical Engineering, Imperial College, Universityof London, U.K.• วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่น 31ประสบการณ์• คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง• อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง• ประธานกรรมการบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด• นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ปัจจุบัน• ประธานกรรมการธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย• ประธานกรรมการบริหาร สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ• ประธานกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์• กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ ธนาคารสินเอเซียจำกัด (มหาชน)• กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวุฒิการศึกษา• ปริญญาโทและเอก สถิติศาสตร์ Harvard University, USA.• พาณิชยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญทอง)คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประสบการณ์• อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ• คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• ประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• กรรมการ TOEFL Policy Council• Visiting Assistant Professor ภาควิชาสถิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกาปัจจุบัน• ประธานคณะกรรมการดำเนินงานร้านภูฟ้า• กรรมการและกรรมการตรวจสอบสภากาชาดไทย• กรรมการมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก• กรรมการและกรรมการตรวจสอบธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)• กรรมการและกรรมการตรวจสอบบริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน)• นายกสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย• ข้าราชการบำนาญ42


ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวุฒิการศึกษา• ปริญญาเอก สาขาอินทรีย์เคมี Oxford University, U.K.• ปริญญาตรีเคมี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง London University, U.K. ประสบการณ์• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี• ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ• ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ• ที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)• ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสกับ ศาสตราจารย์พอล บอเยอร์ (ผู้ได้รับรางวัลโนเบล)• ศาสตราจารย์เยี่ยม มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก• Distinguished Scholar-in-Residence ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด• งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานด้านการพัฒนายาต้านมาลาเรีย โดยเฉพาะกลุ่มของยาที่เรียกว่า แอนติโฟเลต และชีวเคมีพื้นฐานของมาลาเรีย• ค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา ค้นพบเอนไซม์ใหม่ และวิถีปฏิกิริยาใหม่ของเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการพัฒนายาต้านมาลาเรียชนิดใหม่• ประธานมูลนิธิบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย• ประธานโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน(Junior Science Talent Project – JSTP)• รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี และ รางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์• รางวัล ASEAN Science and Technology Meritorious ServiceAward จากองค์การอาเซียน • รางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. จากการได้รับการอ้างอิงผลงานวิจัยสูงสุด• รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น• รางวัล Nikkei Asia Prize for Science, Technology and Innovationจากนิกเกอิ ญี่ปุ่น และหนังสือพิมพ์ The Nation ได้จัดให้เป็นหนึ่งในสามสิบห้าคนผู้มีบทบาทสูงต่อประเทศไทยในช่วงสามสิบห้าปีที่ผ่านมาศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวุฒิการศึกษา• ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร• ปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางโภชนาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสสาซูเซทท์(MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา• ประกาศนียบัตรแพทย์ฝึกหัดเฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา• ประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านเฉพาะเด็ก ณ โรงพยาบาลเด็กแห่งเมืองบอสตัน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา • แพทยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยม อันดับ 2 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประสบการณ์• ผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและโภชนาการ ของ FAO สำนักงานใหญ่ ที่กรุงโรมประเทศอิตาลื • ตำแหน่งศาสตราจารย์ 11 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล • รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ฝ่ายพัฒนาและปฏิบัติการ• รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ฝ่ายวางแผนและวิจัย • ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศสาขาอาหารแช่เยือกแข็ง และสาขาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในอาหาร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์• การวิจัยสูตรอาหารเพื่อรักษาโรคอุจจาระร่วงในทารกและเด็กเล็ก • มีผลงานด้านวิจัยและวิชาการ จำนวน 85 เรื่อง เป็นหนังสือและตำราจำนวน 15 บท• รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช • บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (ด้านสาธารณสุข) จากคณะกรรมการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ• รับพระราชทานเหรียญรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในวันอาหารโลก จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งองค์การสหประชาชาติ • ปริญญาโภชนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล• นักสุขศึกษาดีเด่น ระดับนโยบาย จากสมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการแห่งประเทศไทย• ราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์ สมาคมกุมารแพทย์ กรมอนามัย สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล• ผู้สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากสำนักงานส่งเสริมสุขภาพและองค์การยูนิเซฟ43


ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวุฒิการศึกษา• วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 42 • Ph.D. (Physics) Arizona State University• M.S. (Physics) Indiana University• วท.ม. (ฟิสิกส์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• กศ.บ. (เกียรตินิยม) วิชาเอกฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตรประสบการณ์• คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี• สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549-2551• ประธานที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ทวท.) สองวาระ• ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์(ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์)• ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ• ประธานคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรเรียนล่วงหน้ามาตรฐานกลาง (Central Advanced Placement Program)• คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ (รักษาการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี• ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม• คณะกรรมการสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา• รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับอุดมศึกษาของสมาคมวิทยาศาสตร์ฯพ.ศ. 2532• รางวัลเกียรติยศศิษย์เก่าดีเด่น มศว. และรางวัลอาจารย์ดีเด่นกองทุน เลกิ้น เลาเกเซ่น อนุสรณ์ • รางวัลโล่เกียรติยศ ผู้บรรยายวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรครบ 5 ปีการศึกษาปัจจุบัน• อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี • Vice President, Association of Universities of Asia and thePacific (AUAP)• Executive Board Committee, International Consortium forEducation Dev. (ICED)• นายกเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท.)• กรรมการบริหารสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)• กรรมการการศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ วปอ.• กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและมหาวิทยาราชภัฎสุราษฏร์ธานี44ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวุฒิการศึกษา• เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 35• Ph.D. Doctorat en droit สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัย RobertShuman ฝรั่งเศส• ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต (D.E.A.) สาขากฎหมายมหาชนมหาวิทยาลัย Strasbourg III ประเทศฝรั่งเศส • ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประสบการณ์• คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์• ประธานกรรมการบัณฑิตธรรมศาสตร์• ประธานคณะกรรมการปฏิรูปการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร• ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กระทรวงศึกษาธิการ• ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานศาลปกครอง และ ที่ปรึกษากฎหมายของประธานวุฒิสภา• ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย• ที่ปรึกษากฎหมายสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์• ที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)• ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน การจัดระบบโครงสร้างองค์กรรัฐการจัดตั้งและบริหารองค์การมหาชน และ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดโครงสร้างและระบบบริหารงานทางการศึกษา• กรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี • กรรมการกฤษฎีกา (กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์)• กรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)• กรรมการในคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์• กรรมการบริหารสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์• กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ • อนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชนในคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ• อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการกำหนดหลักการจัดและพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.• อ.ก.พ.ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูปัจจุบัน• อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร)กรรมการโดยตำแหน่งวุฒิการศึกษา• แพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล• วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ จากแพทยสภา • Fellowship Training สาขา Critical Care Medicine จากมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ และสาขา Injury Epidemiology จาก Centers for Disease Control Atlanta, Georgia, USA.• หลักสูตร วปอ. จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรประสบการณ์• เลขาธิการสมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย • รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล• เลขานุการสภามหาวิทยาลัยมหิดล• รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล • อนุกรรมการสอบเพื่อวุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทั่วไป ของแพทยสภา• รองคณบดีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพงานและทรัพย์สินคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล• อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช• เลขาธิการสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล• ประธานคณะกรรมการตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม• คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม• ประธานกรรมการมูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช• รองประธานกรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ คนที่ 2• รองประธานมูลนิธิรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์• คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลปัจจุบัน• อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน)กรรมการโดยตำแหน่งวุฒิการศึกษา• การศึกษาระดับหลังปริญญาเอก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสันสหรัฐอเมริกา• ปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสันสหรัฐอเมริกา• ปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาเคมี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส สหรัฐอเมริกาประสบการณ์• ที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน• กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น• กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา• กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน• รองอธิการบดีอาวุโส ฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• ประธานคณะอนุกรรมการอาเซียน ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร• กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ• กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย• ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ• ผู้ดำเนินงานโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป โครงการหลวงโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ• รองคณบดี (ฝ่ายวิชาการ) คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• รองคณบดี (ฝ่ายวิชาการ) คณะพลังงานและวัสดุสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี• ประธานสายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีปัจจุบัน• ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 45


เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน)กรรมการโดยตำแหน่งวุฒิการศึกษา• Ph.D. Science Education, University of Kansas, U.S.A. • M.A. Curriculum & Instruction, University of Kansas,U.S.A• ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่นประสบการณ์• ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ• รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ• รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) • ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา • ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานโยบายและวางแผนการจัดการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา• ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา • ผู้อำนวยการกองวิจัยการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา• นักบริหารดีเด่น สาขาการจัดองค์กรการศึกษา ประจำปี 2541โดย มูลนิธิเพื่อสังคมไทย <strong>2552</strong>• ศิษย์เก่าเกียรติยศ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประจำปี 2545 โดย สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น• ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2551 มหาวิทยาลัยขอนแก่นปัจจุบัน• เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ(นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ)กรรมการโดยตำแหน่งวุฒิการศึกษา• Post-Graduated Diploma (Development Studies),มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, สหราชอาณาจักร• Master of Art (Development Studies: Public Policyand Administration), ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์• รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดีมาก) สาขาบริหารรัฐกิจ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประสบการณ์• รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ• ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ• ผู้อำนวยการสำนักประเมินผล• ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบงบประมาณ• เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 9 ชช• ผู้อำนวยการส่วนประเมินแผนงานและโครงการที่ 5• ผู้อำนวยการส่วนการงบประมาณปัจจุบัน• ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ46


ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร)กรรมการโดยตำแหน่งวุฒิการศึกษา• Ph.D. (Computer Science Teaching) University of North Texas,Denton, TX, USA• คม. (การศึกษาวิทยาศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• วท.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป: เคมี-ชีววิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประสบการณ์• รองผู้อำนวยการ (วิชาการ)• ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (สนับสนุนวิชาการ)• หัวหน้าสำนักงานอำนวยการ / หัวหน้าสำนักนโยบายและแผน• หัวหน้าสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ • ผู้ชำนาญการสาขาคอมพิวเตอร์• วิจัยร่วมกับนานาชาติ ในโครงการศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (SITES) Module 1, Module 2 และ SITES 2006 • Advisory Committee for the Partners in Learning Program,Microsoft (Thailand)• Appointed Country Coordinator for the international GLOBE(Global Learning and Observations to Benefit the Environment)Program, USA• Appointed Project Manager (Thai Counterpart) for the Australian-Thai Collaborative Project-School Digital Curriculum ResourcesInitiative Thailand (SDCRIT) (ร่วมมือกับ Curriculum Corporation &The Learning Federation ประเทศออสเตรเลีย และ สวทช. สพฐ. และสป.ศธ. ในโครงการพัฒนาสื่อคุณภาพสูงวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับโรงเรียนไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการ)• ร่วมมือกับ UNESCO และ NRIES พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับครูวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียนนำร่อง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว • ร่วมมือกับ JICA, Sri Lanka พัฒนาผู้บริหารการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศศรีลังกา ด้านการพัฒนาและซ่อมสร้างอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา • ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พัฒนาโรงเรียนผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (School Training Centers for ICT)ภายใต้โครงการ ร่วมมือ ไทย-ออสเตรเลีย Capacity Building of ThaiEducation Reform (CABTER) • ร่วมมือกับ Stanford Research Institute, Berkley, California พัฒนานักวิชาการ สสวท. เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการพัฒนาสื่อดิจิทัลการฝึกอบรมครูและการวัดประเมินผล ปัจจุบัน• ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์)กรรมการและเลขานุการวุฒิการศึกษา• Doctor of Philosophy (Biochemistry) University CollegeLondon, U.K. • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีวเคมี) มหาวิทยาลัยมหิดล • วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) มหาวิทยาลัยมหิดลประสบการณ์• กรรมการสภาวิทยาลัยมิชชัน • คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ• รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ• หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ• รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ• รองหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์• อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน• กรรมการสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน• เลขาธิการสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2546-2549)• คณะทำงานส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (ผู้แทนมหาวิทยาลัย)พ.ศ. 2545-2551• กรรมการโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ญี่ปุ่นสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (NRCT-JSPS) ประจำปี 2545 และ 2544 (JFY 2002, JFY 2001)• คณะทำงานติดตามและประเมินผลการวิจัยทางวิชาการของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน• ประธานโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ • Science Advisory Committee (MUA Science Counterpart)สำหรับโครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย-ออสเตรเลียด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ (TASEAP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540ปัจจุบัน• ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์47


2ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 1พัฒนาต้นแบบ และนำร่องการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน สำหรับผู้มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก2.1 การสรรหาและคัดเลือกนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกนักเรียนที่มีศักยภาพสูงด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากทั่วประเทศเข้ามาเป็นนักเรียนของโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีละ 240 คน โดยใช้วิธีกรองหลายขั้นตอนด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย ยึดหลักความโปร่งใสยุติธรรม และเที่ยงตรงตามหลักวิชานอกจากการคัดเลือกนักเรียนของโรงเรียนตามปกติแล้ว โรงเรียนยังให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าเรียนในห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง แห่งละ 1 ห้องเรียน (24 คน) และได้ดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนรอบแรกให้กับโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(โครงการ วมว.) อีกด้วย โดยใช้วิธีการและหลักเกณฑ์เดียวกันกับการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา <strong>2552</strong> โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 240 คน เป็นนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร 128 คน และจากโรงเรียนในจังหวัดอื่นๆ 112 คน เป็นนักเรียนชาย 158 คน และหญิง 82 คนผลการสอบวัดระดับเชาวน์ปัญญาและความถนัดทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีการศึกษาต่างๆ ปรากฏในตาราง 1-3และแผนภาพ 1-2 48


ตาราง 1 ระดับเชาวน์ปัญญาของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียน โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ปีการศึกษา 2548-<strong>2552</strong>ระดับเชาวน์ปัญญาปีการศึกษา2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>ปกติ (normal) 0% 0% 0% 0% 0%ฉลาด (bright) 35.00% 19.17% 22.91% 21.32% 20.83%ฉลาดมาก (superior) 44.17% 35.41% 57.92% 64.34% 63.75%สูงกว่าฉลาดมาก (above superior) 20.83% 45.42% 19.17% 13.34% 15.42%ตาราง 2 ผลการสอบวัดความถนัดทางการเรียน (SAT) ของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีการศึกษา 2548-<strong>2552</strong>คะแนน T ความหมายปีการศึกษา2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>ต่ำกว่า 45 อ่อน/ต้องปรับปรุง 0% 0% 0.42%* 0% 0%45-54 พอใช้/ปานกลาง 0% 0% 4.17%* 0.82%* 0.42%*55-64 ดี/เก่ง 19.58% 39.17% 44.58% 35.25% 25.83%ตั้งแต่ 65 ขึ้นไป ดีมาก/เก่งมาก 80.42% 60.83% 50.83% 63.93% 73.75%* นักเรียนกลุ่มนี้มีผลการสอบวัดเชาวน์ปัญญาอยู่ในกลุ่มฉลาดขึ้นไป จึงได้รับการคัดเลือกตาราง 3 จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2548-<strong>2552</strong> จำแนกตามเพศปีการศึกษา ปริมาณ ชาย หญิง รวม2548จำนวนคน 129 111 240ร้อยละ 53.75 46.25 1002549จำนวนคน 144 95 239ร้อยละ 60.25 39.75 1002550จำนวนคน 161 79 240ร้อยละ 67.08 32.92 1002551จำนวนคน 167 77 244ร้อยละ 68.44 31.56 100<strong>2552</strong>จำนวนคน 158 82 240ร้อยละ 65.83 34.17 10050


แผนภาพ 1 ร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2548 – <strong>2552</strong> จำแนกตามเพศ1009080706050403020100ชาย หญิง67.08 68.44 65.8353.75 60.2546.25 39.7532.92 31.56 34.172548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>51


1009080706050403020100กรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาค62.0857.74 55.00 56.97 53.3345.0046.6737.9242.2643.032548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>โรงเรียนได้ดำเนินการรับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง และนักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์โครงการ วมว. ระหว่าวันที่ 1-31 สิงหาคม <strong>2552</strong> จำนวนผู้สมัครดังรายละเอียดตามตาราง 4 และแผนภาพ 3 52


ตาราง 4 จำนวนนักเรียนที่สมัครสอบคัดเลือกเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนเลือกเพียง เลือกเป็น เลือกเป็นแห่งเดียว ลำดับแรก ลำดับที่สองรวม1. มหิดลวิทยานุสรณ์ 9,107 9,701 842 19,6502. จุฬาภรณราชวิทยาลัย ทั้ง 12 แห่ง 298 842 9,696 10,8362.1 จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย 83 114 439 6362.2 จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก 26 88 610 7242.3 จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี 6 53 637 6962.4 จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย 8 129 380 5172.5 จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร 21 55 455 5312.6 จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ 10 59 487 5562.7 จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี 14 78 3,479 3,5712.8 จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี 21 36 1,033 1,0902.9 จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี 3 26 799 8282.10 จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช 54 84 790 9282.11 จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง 19 83 460 5622.12 จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล 33 37 127 1973. โครงการ วมว. - - - 2,4573.1 สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ - - - 4583.2 ราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา - - - 8133.3 ดรุณสิกขาลัย กรุงเทพมหานคร - - - 3713.4 มอ.วิทยานุสรณ์ จ.สงขลา - - - 6293.5 สาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.ปัตตานี - - - 18653


แผนภาพ 3 จำนวนผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีการศึกษา 2548-25532553<strong>2552</strong>25512550254925485,00010,000 15,000 20,000 25,000จำนวนผู้สอบคัดเลือก19,65017,22821,82621,15917,53915,84854


2.2 การพัฒนาบุคลากรและผลงานดีเด่นของบุคลากร2.2.1 การพัฒนาบุคลากร บุคลากรที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ภารกิจของโรงเรียนบรรลุตามเป้าหมายที่คาดหวัง โรงเรียนจึงมีนโยบายในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโรงเรียนตั้งเป้าไว้ว่า ครูของโรงเรียนร้อยละ 90 จะมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาที่สอนภายในปีงบประมาณ 2553 และร้อยละ 20 จะมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกภายในปีงบประมาณ 2560 โรงเรียนจึงสนับสนุนให้ครูของโรงเรียนมีโอกาสศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ55


ปัจจุบันโรงเรียนมีครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอน (รวมหัวหน้าสาขาวิชา) รวมทั้งสิ้น 88 คน มีวุฒิการศึกษาหรืออยู่ระหว่างการศึกษาต่อดังรายละเอียดในตาราง 5ตาราง 5 วุฒิการศึกษาและสถานภาพการศึกษาต่อของครู ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong>จำนวน (คน)รายการกลุ่มกลุ่มกลุ่มครูบริหารปฏิบัติการรวม1. กรอบอัตราที่ได้รับความเห็นชอบประจำปี <strong>2552</strong> 20 91 53 1642. เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการบรรจุแล้ว 19 79 52 1502.1 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก 1 1 1 32.2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท 15 48 20 832.3 อยู่ระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอก 9 1 10• ศึกษาต่อต่างประเทศ - (4) - (4)• ศึกษาต่อในประเทศ (เต็มเวลา) - (1) - (1)• ศึกษาต่อในประเทศ (นอกเวลา) - (1) (1) (2)• กลับมาปฏิบัติงานแล้ว และอยู่ระหว่าง - (3) - (3)การทำวิทยานิพนธ์2.4 อยู่ระหว่างการศึกษาระดับปริญญาโท 14 23 37• ศึกษาต่อต่างประเทศ - (2) (1) (3)• ศึกษาต่อในประเทศ (นอกเวลา) - (1) (12) (13)• กลับมาปฏิบัติงานแล้ว และอยู่ระหว่าง - (11) (10) (21)การทำวิทยานิพนธ์2.5 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี 3 7 6 163. อัตรารอการบรรจุ 1 12 2 15นอกจากการพัฒนาบุคลากรโดยการสนับสนุนให้ลาไปศึกษาต่อแล้ว โรงเรียนยังพัฒนาบุคลากรโดยการจัดประชุมระดมความคิดภายในโรงเรียน จัดให้มีระบบการนิเทศภายในสาขาวิชา จัดให้มีครูพี่เลี้ยงดูแลครูบรรจุใหม่ ตลอดจนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาฝึกอบรมบุคลากรที่โรงเรียน รวมทั้งการส่งบุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรมสัมมนาที่จัดโดยหน่วยงานภายนอก ค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่ครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนแต่ละคนได้รับการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆ รายละเอียดดังแสดงในตาราง 656


ตาราง 6 ค่าเฉลี่ยปริมาณการพัฒนาตนเองของครูและเจ้าหน้าที่ในปีงบประมาณ 2548-<strong>2552</strong>หน่วย: Man-dayรูปแบบการพัฒนาบุคลากรปีงบประมาณ2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>การเข้าร่วมอบรม สัมมนา ที่จัดโดยหน่วยงาน 3.64 2.09 1.24 3.72 6.55ภายนอกทั้งในและต่างประเทศการเข้าร่วมอบรม สัมมนา ที่จัดโดยโรงเรียน 20.87 14.33 13.78 5.47 5.45การศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ 2.70 5.94 7.91 4.19 2.90รวม 27.21 22.36 22.93 13.38 14.902.2.2 บุคลากรดีเด่นในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้ดำเนินการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น 4 ประเภท ได้แก่ ครูในดวงใจ ครูดีเด่น เจ้าหน้าที่ดีเด่น และครูผู้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนดีเด่น วิธีการคัดเลือกครูในดวงใจ ดำเนินการโดยให้นักเรียนเป็นผู้ลงคะแนนเลือกครูที่ตนเองชื่นชอบ ครูที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะได้รับการประกาศชื่อให้เป็นครูในดวงใจของนักเรียน ในส่วนของ ครูดีเด่น และเจ้าหน้าที่ดีเด่น จะให้ครูและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเลือก ครูและเจ้าหน้าที่ที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับการประกาศชื่อให้เป็นครูดีเด่น และเจ้าหน้าที่ดีเด่นประจำปี สำหรับเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนดีเด่น คณะกรรมการที่โรงเรียนมอบหมายจะทำการประเมินและให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด เพื่อคัดเลือกเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่นักเรียนได้รับเป็นสำคัญผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่มีคะแนนสูงสุด จะประกาศให้เป็นครูผู้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนดีเด่นประจำปี57


ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีผู้ที่ได้รับประกาศชื่อให้เป็นบุคลากรดีเด่น ดังนี้1. ครูในดวงใจอันดับที่หนึ่ง นางสาวจำเริญ เจียวหวานอันดับที่สอง นางสาวอรวรรณ ปิยะบุญอันดับที่สาม นางสาวศศินี อังกานนท์อันดับที่สี่ นางสุภานันท์ สุจริตอันดับที่ห้า นายวชิรศรณ์ แสงสุวรรณ2. ครูดีเด่นอันดับที่หนึ่ง นายไห่ หยางอันดับที่สอง นางสาวจำเริญ เจียวหวานอันดับที่สาม นางสาวสุชาวดี บูรณสมภพอันดับที่สี่ นางราศิยส วงศ์ศิลปกุลอันดับที่ห้า นางสาวสถาพร วรรณธนวิจารณ์นางปราณี ดิษรัฐกิจ58


3. เจ้าหน้าที่ดีเด่นอันดับที่หนึ่ง นางสาวนัทธมน ศรีเนตรอันดับที่สอง นายลิ้ม ปิ่นทองอันดับที่สาม นางสาวอรวรรณ เข็มสม4. ครูผู้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนดีเด่นอันดับที่หนึ่ง นายสุรเชษฐ์ กฤชแสงโชติอันดับที่สอง นางศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์อันดับที่สาม นายศราวุทธ แสงอุไรรางวัลชมเชย นางสาวอัมพร บุญญาสถิตสถาพร59


2.2.4 ผลงานวิชาการของครูโรงเรียนส่งเสริมให้ครูทำงานวิจัยทั้งงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และงานวิจัยในชั้นเรียน ตลอดจนเขียนและตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารวิชาการหรือนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการระดับประเทศและระดับนานาชาติในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> ครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับทุนสนับสนุนในการทำวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 6 ทุน มีผลงานวิจัยของครูที่ได้รับคัดเลือกให้เสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 26 ผลงาน มีบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวน 6บทความ นอกจากนี้ยังมีบุคลากรของโรงเรียนอีกจำนวนมากได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการต่างๆ ดังรายละเอียดในตาราง 760


ตาราง 7 ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของครูชื่อ-นามสกุล ผลงาน หมายเหตุ1. นายสรชัย แซ่ลิ่ม ได้รับรางวัลครูที่ปรึกษาดีเด่นจากการประกาศผลรางวัลยุววิจัยยางพารา ปี 2551 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการทำงานวิจัย 2. นายชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง การพัฒนาสื่อการสอนห้องปฏิบัติการเคมีเสมือนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสอนได้รับทุน NSC 2008(2) นายชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง 3. น.ส.จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา(2) นายชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง4. นายวัลลภ คงนะ วิชาเคมีใช้ในระบบออนไลน์บทความ “พลิกฐานพีระมิดเปลี่ยนความคิดสร้างขุมคลังแห่งความรู้”บทความ “การใช้ห้องปฏิบัติการเคมีเสมือนเป็นสื่อการสอนวิชาเคมี” เผยแพร่ใน นิตยสาร สสวท.ปีที่ 37 ฉบับที่ 161 กรกฎาคม-สิงหาคม <strong>2552</strong>โครงการวิจัย “การสร้างสื่อการสอนโมเดลกระดาษจากการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการศึกษาโครงสร้างสารโคเวเลนต์”โครงการวิจัย “การพัฒนาและเผยแพร่สื่อการสอนห้องปฏิบัติการเคมีเสมือนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนเคมี”โครงการวิจัย “การพัฒนาสื่อการสอนห้องปฏิบัติการเคมีเสมือนใช้ในระบบ e-Learning”หนังสือประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตหลักสูตรและการสอน Graduate DiplomaProfession Experience inCurriculum and Instructionฉบับประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่ 11-15 บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ปรึกษา : - ดร.ธงชัย ชิวปรีชา- รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่มที่ปรึกษา : รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่ม ที่ปรึกษา : - ดร.ธงชัย ชิวปรีชา - รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่มที่ปรึกษา : - ดร.ธงชัย ชิวปรีชา- รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่ม ได้รับทุนอุดหนุนโครงการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 12เป็นเงิน 15,000 บาท61


ชื่อ-นามสกุล ผลงาน หมายเหตุ5. น.ส.สุภาวดี ศรีทาหาญ บทความ “เรียนเคมีจากการถอดรหัสปริศนาลับสมองซูโดะกุ(SUDOKU)” เผยแพร่ในนิตยสาร สสวท. ปีที่ 37 ฉบับที่161 กรกฎาคม-สิงหาคม <strong>2552</strong> ที่ปรึกษา : - รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่ม - ผศ.ดร.รัชฎา บุญเต็ม 6. นายศราวุทธ แสงอุไร (4) นายวัลลภ คงนะ โครงการวิจัย “การสร้างและทดสอบเซลล์ไฟฟ้า อากาศ-อลูมิเนียมอย่างง่ายเพื่อใช้ในการเรียนการสอนไฟฟ้าเคมี”7. น.ส.อรวรรณ ปิยะบุญ สื่อการสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์เรื่องเซลล์ (Cell Online)The efficiency of thesupernatant from Metarhiziumanisopliae for aradicating thetermites Coptotermescurvugnathus ตีพิมพ์เผยแพร่ในKMITL Science Journal8. นางจริยา พรจำเริญงานวิจัย “การพัฒนาสื่อการสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์เรื่องDNA กับการสังเคราะห์โปรตีน”การศึกษาผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้กับนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ :กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ปีการศึกษา 2550 ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารครูวิทยาศาสตร์ ปีที่ 15มกราคม-ธันวาคม 2551ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เป็นผู้มีความสามารถสูงทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ศึกษาคุณลักษณะของผู้มีปรีชาญาณทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ปีการศึกษา 2551ที่ปรึกษา : - รศ.ดร.ธนิต ผิวนิ่ม - ผศ.ดร.รัชฎา บุญเต็มได้รับทุน NSC 2008 ได้รับทุนสนับสนุนจาก NSCสวทช.ที่ปรึกษา : - นายพงษ์เทพ บุญศรีโรจน์(สสวท.)- นางนันทิยา บุญเคลือบ(สสวท.)62


ชื่อ-นามสกุล ผลงาน หมายเหตุ9. นางพรรณวิภา ดารามาศ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลิกล้มการ เข้าร่วมโครงการระบบการจัดการคุณภาพสินค้าเกษตร (GAP)ข้าวในตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 10. น.ส.สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒน์พันธุ์การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนรายวิชาภูมิศาสตร์เรื่อง โลก โครงสร้างทางด้านธรณีวิทยา และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์11. นายบุญนที ศักดิ์บุญญารัตน์ สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ ชื่อ “ตรรกศาสตร์ในรหัสคอมพิวเตอร์”12. นางศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์(11) นายบุญนที ศักดิ์บุญญารัตน์13. Dr.Donald S. Persons14. Mr. Niall MaLachlanผลงาน “ระบบจำลองความคิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์”English Proficiency TestReliability: A ComparativeStudy of Upper SecondaryStudent Scores on TOEFL,IELTS, CU-TEP andMWIT-TEP Examsรางวัลชมเชยการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย NSC 2009 ได้รับทุนสนับสนุน 3,000 บาทจากการประกวดในโครงการการแข่งขันโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่13 (NSC2010) ประเภทสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ ระดับครู 63


ตาราง 8 ผลงานของครูที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการชื่อ-นามสกุล หัวข้อ การประชุมวิชาการ1. น.ส.อรวรรณ ปิยะบุญ โครงการการใช้สารสกัดซาโปนิน โครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นอย่างหยาบจากโคนของหน่อไม้ฝรั่งในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคผิวหนังในมนุษย์สื่อการสอนสำหรับการเรียนรู้ งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ออนไลน์เรื่องเซลล์ (Cell Online) คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 192. น.ส.ธัญญรัตน์ ดำเกาะ3. น.ส.ศิริมาส สุขประเสริฐ(2) น.ส.ธัญญรัตน์ ดำเกาะ4. น.ส.ทิพนาถ อันตรเสน5. น.ส.สุภานันท์ แซ่ลิ้มงานวิจัย “Biological capabilityof antagonistic microorganismsin controlling leaf fall of Pararubber sprouts caused byPhytophthora parasiticaการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ระยะสั้นโดยอาศัยการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Project-BasedLearning Technique forTeaching Mini-Course)การจัดแสดงโปสเตอร์การเรียนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงการ(Project-Based inEnvironmental Science Class)การพัฒนาความคิดในการทำปฏิบัติการเรื่อง การสกัดดีเอ็นเอโดยรูปแบบการสืบเสาะหาความรู้(The Thinking Developmentin DNA Extraction LaboratoryTeaching by using InquiryCycle Teaching Model)(วทร.19)นำเสนอภาคโปสเตอร์ในงานTSB 2009 The 21st AnnualMeeting and InternationalConference of Thai Societyfor Biotechnology 2009 งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19(วทร. 19)งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19(วทร. 19) งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19 (วทร. 19)64


ชื่อ-นามสกุล หัวข้อ การประชุมวิชาการ6. น.ส.สมฤทัย หอมชื่น การศึกษาลักษณะสัณฐานของดอกมะละกอในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสาครงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19 (วทร. 19)Effects of fermentedbioextracts for growthinhibition of leaf-fall fungiin rubber tree (ร่วมกับนักวิจัยจากหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (STEL) ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)A comparison of effectivenessof staining methods forstomatal tissue7. นายชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง การใช้สถานการณ์จำลองและห้องปฏิบัติการเคมีเสมือนเพื่อเป็นสื่อการสอนวิชาเคมี8. น.ส.จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา9. น.ส.สุภาวดี ศรีทาหาญ10. นายเกียรติภูมิ รอดพันธ์11. นายศราวุทธ แสงอุไร12. นายวีรวุฒิ เทียนขาว(10) นายเกียรติภูมิ รอดพันธ์13. นายสาโรจน์ บุญเส็ง14. น.ส.สิริหทัย ศรีขวัญใจการประยุกต์ใช้เครื่อง UV-Visspectrophotometer กับการเตรียมสารละลายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนเรื่องStereochemistry โดยเน้นการใช้โปรแกรม Chem Officeการพัฒนาชุดกล่อง Spectroscopeอย่างง่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการประมาณค่าความยาวคลื่นของเส้นสเปกตรัมของปรอทจากภาพถ่ายดิจิตอลศึกษาการหาจุดสมมูลของปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่โดยใช้ หัววัด pHนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ ในงาน The 3 rd BotanicalConference of Thailandณ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19(วทร. 19)งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19(วทร. 19)งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19(วทร. 19) งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19 (วทร. 19)งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19 (วทร. 19)65


ชื่อ-นามสกุล หัวข้อ การประชุมวิชาการ15. นายสรชัย แซ่ลิ่ม เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่องปฏิบัติการทดลองไทเทรตกรด-เบส โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการสอนปกติงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19 (วทร. 19)(6) น.ส. สมฤทัย หอมชื่น(15) นายสรชัย แซ่ลิ่ม16. น.ส.สุชาวดี บูรณสมภพ17. น.ส.สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์18. นายชิดเฉลิม คงประดิษฐ์19. น.ส.อุษา จีนเจนกิจ20. นายอิทธิพล สวัสดิวงค์ไชย(2) น.ส.ธัญญรัตน์ ดำเกาะ21. น.ส. อารีย์ สักยิ้ม22. น.ส.นิธิกานต์ คิมอิ๋งการศึกษาลักษณะสัณฐานของดอกมะละกอในจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาครเรียนรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ด้วยประวัติศาสตร์ : กรณีศึกษาเรื่องไฟฟ้าเคมีความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะรายวิชากับการใช้สื่อ ICT ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยาผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่ออัตราการตายของลูกน้ำยุงลายสวน (Aedes albopictus)23. น.ส.เมษสุวัลย์ พงษ์ประมูล ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการฟักของไข่หอยเชอรี่(Pomacea canaliculata)24. นายโอภาส พระเทพ การขยายพันธุ์เสน่ห์จันทน์ขาวโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสำหรับอุตสาหกรรมสุคนธบำบัด25. น.ส.ลลิต์ภัทร ดวงสว่าง วงสืบพันธุ์และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนระยะไกลคิเดียของหอยมุกน้ำจืดงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19 (วทร. 19)งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ครั้งที่ 19(วทร. 19)โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์งานเกษตรแห่งชาติ <strong>2552</strong>มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนงานเกษตรแห่งชาติ <strong>2552</strong>มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนงานประชุมเพื่อเสนอรายงานความก้าวหน้า/ปิดโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 66


ชื่อ-นามสกุล หัวข้อ การประชุมวิชาการ26. น.ส.วรณิสร์ กลิ่นทอง งานวิจัย “Optimization foMyceliat Growth ofEctomycorrhizal FungiAstraeus odoratus andAstraeus asiaticusที่ปรึกษา : ผศ.ดร.จิตรตรา เพียภูเขียว (ภาควิชาพฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย)นำเสนอภาคบรรยาย จัดโดยBIOTEC ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี27. นายวชิรศรณ์ แสงสุวรรณ์ งานวิจัย “The Development ofIssue-Based Learning onEthics in a Science Classroom”ที่ปรึกษา : - ว่าที่ร.ต. ดร.มนัส บุญประกอบ (สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มศว.)- รศ.ดร.สมสรร วงษ์อยู่น้อย(สำนักทดสอบทางการศึกษามศว.)- ผศ.ดร.ศิรินุช เทียนรุ่งโรจน์(ผู้อำนวยการสำนัคอมพิวเตอร์มศว.)• นำเสนอในงานประชุมวิชาการThe Sixteenth InternationalConference on Learningณ University of Barcelonaประเทศสเปน โดยได้รับทุนสนับสนุนการไปนำเสนอครั้งนี้จาก สสวท. ในวงเงิน 80,000บาท• ตีพิมพ์ในวารสาร TheInternational Journal ofLearning 67


ตาราง 9 บุคลากรที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการอบรม สัมมนา หรือการประชุมวิชาการชื่อ-นามสกุล หัวข้อ หน่วยงานที่จัด1. นายพรชัย โกพัฒตา เทคนิคการสร้างสื่อการสอนด้วยโปรแกรม MS PowerPointขั้นสูงการประชุมวิชาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์2. นายบุญนที ศักดิ์บุญญารัตน์3. นายวิทวัส พันมุณี4. น.ส.เลาขวัญ งามประสิทธิ์5. น.ส.ปทุมศิริ สงศิริ68เรียนรู้สื่อประกอบการสอนระบบหุ่นยนต์พื้นฐานการสร้างและตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม GIMP 6. น.ส.รังสิมา สายรัตนทองคำ กิจกรรมการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้พีชคณิต Paper Sizes(6) น.ส.รังสิมา สายรัตนทองคำ7. นายสุวัฒน์ ศรีโยธี8. นายชิดเฉลิม คงประดิษฐ์(7) นายสุวัฒน์ ศรีโยธีLogic Games6-8 ต.ค. 51การประชุมวิชาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์6-8 ต.ค. 51การประชุมวิชาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์6-8 ต.ค. 51โรงเรียนราชินีบน15 ต.ค. 51โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์1 ธ.ค. 51โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์10 พ.ย. 51กระบวนการคิดเชิงคณิตศาสตร์ โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์15 ธ.ค. 519. ดร.สุมาลี ไวยโรจน์ วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ10.นายอนุชา ประทุมมา11.นายคมศิลป์ โคตมูล(9) ดร.สุมาลี ไวยโรจน์12.นางปราณี ดิษรัฐกิจกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการประชุมเชิงปฏิบัติการสอนรายวิชา Nature of Scienceand Scientific Inquiry 13.นายคมศิลป์ โคตมูล(4) น.ส.เลาขวัญ งามประสิทธิ์ Data Structure ในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาชนบท พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 12 ก.พ. 52สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 25 ก.พ. และ3 มี.ค. 52โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์28 ก.พ. 52ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) 19-22 มี.ค. 52


ชื่อ-นามสกุล หัวข้อ หน่วยงานที่จัด14. นางอัจฉรา เก่งบัญชา วิทยากรอบรมครูสอนพระพุทธศาสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย19-21 เม.ย. 5215. นางพรรณวิภา ดารามาศ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี16. น.ส.สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒน์พันธุ์ การเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต20-24 เม.ย. 5217. นายศราวุทธ แสงอุไร 18. นายเกียรติภูมิ รอดพันธ์ 19. น.ส.นิธิกานต์ คิมอิ๋ง 20. น.ส.วรณิสร์ กลิ่นทอง 21. น.ส.เมษสุวัลย์ พงษ์ประมูล 22. น.ส.สมฤทัย หอมชื่น 23. น.ส.ทิพนาถ อันตรเสน24. น.ส.สุภานันท์ แซ่ลิ้ม 25. น.ส.ลลิต์ภัทร ดวงสว่าง26. น.ส.ศิริมาศ สุขประเสริฐ27. นายวีรวุฒิ เทียนขาว 28. นายอิทธิพล สวัสดิวงค์ไชย29. นายชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง 30. น.ส.สุภาวดี ศรีทาหาญ 31. นายวัลลภ คงนะ32. นายสรชัย แซ่ลิ่ม 33. นายสาโรจน์ บุญเส็ง 34. น.ส.สิริหทัย ศรีขวัญใจ(15)นางพรรณวิภา ดารามาศ (16)น.ส.สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์การพัฒนาชุดกล่องสเปกโตรสโคปอย่างง่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการประมาณค่าความยาวคลื่นของเส้นสเปกตรัมจากภาพถ่ายดิจิตอลให้แก่คณะครูโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยการทำสื่อการเรียนชีววิทยาด้วยโปรแกรม Adobe Captivateการทำ Animation ด้วยโปรแกรมAdobe Image Readyโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์1 พ.ค. 52โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์1-3 พ.ค. 52โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์1-3 พ.ค. 52การใช้เครื่อง Data Logger โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์1-3 พ.ค. 52การสร้างสื่อการสอนห้องปฏิบัติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์การเคมีเสมือน1-3 พ.ค. 52โปรแกรม Chem Draw โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์1-3 พ.ค. 52การใช้ ICT ในการเรียนการสอนเรื่อง PowerPoint ขั้นสูง และPhotoshop(24)น.ส.สุภานันท์ แซ่ลิ้ม กรรมการสอบจุลนิพนธ์ นักศึกษาหลักสูตร วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)(32)นายสรชัย แซ่ลิ่ม อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและสมดุลเคมี(17)นายศราวุทธ แสงอุไร ผู้จัดการค่ายอย่างสร้างสรรค์(30)น.ส.สุภาวดี ศรีทาหาญ สำหรับเด็กโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์1-3 พ.ค. 52มหาวิทยาลัยศิลปากร19 พ.ค. 52โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยชลบุรี 12 มิ.ย. 52สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 28 มิ.ย.-1 ก.ค. 5269


ชื่อ-นามสกุล หัวข้อ หน่วยงานที่จัด(29)นายชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.นครปฐม11 ก.ค. 5235. น.ส.ธัญญรัตน์ ดำเกาะ การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์11-12 ก.ค. 52(35)น.ส.ธัญญรัตน์ ดำเกาะ (25)น.ส.ลลิต์ภัทร์ ดวงสว่างการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์25-26 ก.ค. 5236. น.ส.สถาพร วรรณธนวิจารณ์ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเพชรบุรี 31 ก.ค. 52(29)นายชัยวัฒน์ เชื้อมั่ง (31)นายวัลลภ คงนะ การสร้างสื่อการสอนห้องปฏิบัติการเคมีโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” จ.พระนครศรีอยุธยา1-3 ส.ค. 5237. นายโอภาส พระเทพ ความหลากหลายทางชีวภาพของไวรัส และแบคทีเรียกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โรงเรียนสารวิทยา 22 ส.ค. 52(36)น.ส.สถาพร วรรณธนวิจารณ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยการนำเสนอโครงงาน”(32)นายสรชัย แซ่ลิ่ม การจัดการสัมมนาทางวิทยาศาสตร์70ปทุมธานี 23 ส.ค. 52โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยปทุมธานี 23 ส.ค. 52


ชื่อ-นามสกุล หัวข้อ หน่วยงานที่จัด(36)น.ส.สถาพร วรรณธนวิจารณ์ กรรมการตัดสินการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ในงานวันวิชาการของเขตพื้นที่การศึกษาเขต 3 กรุงเทพมหานคร38. นายสุรพล ฤทธิ์รวมทรัพย์ กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยใน พระราชูปถัมภ์ฯ39. นางพวงรัตน์ จรรยาศักดิ์ กรรมการคัดเลือกหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน(38)นายสุรพล ฤทธิ์รวมทรัพย์(39)นางพวงรัตน์ จรรยาศักดิ์การออกแบบการสอนและนวัตกรรมการผลิตสื่อส่งเสริมการอ่าน(39)นางพวงรัตน์ จรรยาศักดิ์ ห้องสมุดมีชีวิตกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน(38)นายสุรพล ฤทธิ์รวมทรัพย์ การจัดการศึกษาและการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนโรงเรียนปัญญาวรคุณ 31 ส.ค. 52สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีสมาพันธ์องค์กรเพื่อพัฒนาหนังสือและการอ่าน และสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ผู้บริหารด้านการศึกษาจากสปป.ลาว นักวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการต่างประเทศ71


3ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 2พัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ทัดเทียมโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก3.1 หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong>ครึ่งแรกของปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong> ซึ่งจะเริ่มใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รุ่นปีการศึกษา <strong>2552</strong>หลักสูตรดังกล่าวมีจุดเน้น ดังนี้ 1. พัฒนานักเรียนรอบด้านทั้งพุทธิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา2. จัดสาระการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานให้ครอบคลุมหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ3. จัดสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมให้นักเรียนเลือกเรียนตามศักยภาพความถนัดและความสนใจเป็นรายบุคคล รวมถึงการเลือกเรียนรายวิชาการเรียนล่วงหน้า (Advanced Placement Program) ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ที่มีสาระการเรียนรู้ระดับเดียวกันกับระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 ของไทย ระดับ A-Level ของประเทศอังกฤษ ระดับ AP Course ของประเทศสหรัฐอเมริกาและระดับเดียวกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาประเทศ4. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ5. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน 6. ส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 72


หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong> นอกจากครอบคลุมสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ สาระการเรียนรู้ของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) การสอบความถนัดทั่วไป (GAT) การวัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ (PAT1) และการวัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ (PAT2) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ยังได้เพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้นตามศักยภาพ ความถนัดและความสนใจของนักเรียน นักเรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน 39.0 หน่วยกิต รายวิชาเพิ่มเติมกลุ่ม 1จำนวน 40.0 หน่วยกิต และเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่ม 2 ไม่เกิน 6.0 หน่วยกิต รวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 85.0 หน่วยกิต โดยสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่ม 1 ของรายวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาได้จัดให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอวน. นอกจากนี้ยังจัดหลักสูตรให้มีลักษณะเป็นหลักสูตรเฉพาะบุคคล (Customized curriculum) ให้มากขึ้นโดยสนับสนุนให้นักเรียนแต่ละคนได้เลือกเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่ง(คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เคมี หรือชีววิทยา) ที่มีสาระการเรียนรู้ครอบคลุมหลักสูตรของ สอวน. โดยให้เรียนจบตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (เข้าค่ายเรียนตอนปิดภาคเรียนเดือนตุลาคมและเดือนมีนาคม-เมษายน) เพื่อให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมโอลิมปิกวิชาการ สอวน. ซึ่งจะจัดในเดือนพฤษภาคมของทุกปีได้ และเมื่อเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จะทำให้มีเวลาเลือกเรียนหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตามความรัก และความสนใจได้มากขึ้น นักเรียนที่มีความถนัดและความสนใจมากเป็นพิเศษในสาขาวิชาคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง สามารถเลือกเรียนรายวิชาการเรียนล่วงหน้า (AP Courses) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ระดับเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong> ได้เพิ่มรายวิชาบังคับที่เป็นพื้นฐานในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์คิดค้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่ (1) รายวิชา Nature of Science andScientific Inquiry (2) รายวิชาสัมมนาวิทยาศาสตร์ (เดิมเป็นรายวิชาเลือก) และ (3) รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ (เดิมเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน) และได้กำหนดให้รายวิชาทักษะชีวิต (Life Skills)เป็นวิชาบังคับเพิ่มขึ้นอีกรายวิชาหนึ่งด้วยนอกจากนี้โรงเรียนยังเปิดรายวิชาเลือก “ภาษาจีนเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์” และ“ภาษาฝรั่งเศสเพื่อวิทยาการ” โดยใช้ตำราคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่โรงเรียน เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับรายวิชาทั้งสองด้วย74


3.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีการกำหนดอุดมการณ์และเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนที่ชัดเจน มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามจุดเน้นของหลักสูตร และสอดคล้องกับอุดมการณ์และเป้าหมายที่กำหนด ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนมีผลการดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สำคัญดังนี้1. รายวิชา Nature of Science and Scientific Inquiryโรงเรียนได้ทดลองนำร่องเปิดสอนรายวิชา Nature of Science and Scientific Inquiry ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ปีการศึกษา 2551 และปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งเพื่อจัดทำหลักสูตรและเตรียมจัดการเรียนการสอนรายวิชาดังกล่าวซึ่งจะเป็นวิชาบังคับตามหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong>โรงเรียนได้ส่งครูของโรงเรียนจำนวน 3 คน ไปเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา Nature of Science and Scientific Inquiry กับ Dr.David Workmanณ Illinois Mathematics and Science Academy (IMSA) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อกลับมาสอนรายวิชาดังกล่าว75


2. การพัฒนาศักยภาพด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยแบ่งนักเรียนเป็น 3 ระดับตามศักยภาพของนักเรียน ได้แก่ (1) ระดับ Pre-Intermediate (2) ระดับ Intermediate และ (3)ระดับ Advanced นอกจากนั้นยังได้จัดกลุ่มการเรียนให้เล็กลงเหลือประมาณ 12-16 คนต่อกลุ่มจากการประเมินเบื้องต้นพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจและมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนที่สูงขึ้น3. การเปิดรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมชุมนุม จากจุดเน้นของหลักสูตร ที่มุ่งเน้นการจัดสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมให้นักเรียนเลือกเรียนตามศักยภาพความถนัดและความสนใจเป็นรายบุคคลให้มากที่สุด ในแต่ละภาคเรียนโรงเรียนจึงได้เปิดรายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมชุมนุมที่หลากหลายให้นักเรียนได้เลือกเรียน จำนวนรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมชุมนุมที่เปิดให้นักเรียนได้เลือกเรียน ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> ดังรายละเอียดในตาราง 10 และ 11ตาราง 10 จำนวนรายวิชาเพิ่มเติมที่เปิดให้นักเรียนเลือกเรียน ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong>กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาคเรียน/ปีการศึกษา2/2551 1/<strong>2552</strong>รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ 43 36หรือการงานอาชีพและเทคโนโลยีรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หรือสังคมศึกษา ศาสนา 22 37และวัฒนธรรมหรือศิลปะ หรือสุขศึกษาและพลศึกษา หรือภาษาต่างประเทศรวม 65 73ตาราง 11 จำนวนกิจกรรมชุมนุมที่เปิดให้นักเรียนเลือก ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong>ประเภทชุมนุมภาคเรียน/ปีการศึกษา2/2551 1/<strong>2552</strong>ชุมนุมวิชาการ 33 39ชุมนุมกีฬาและการออกกำลังกาย 13 10ชุมนุมสังคมศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี 28 34ชุมนุมอื่นๆ 13 15รวม 87 9876


3.3 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ได้แก่ การฟังบรรยายพิเศษการศึกษาดูงาน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมชุมนุม ค่ายวิชาการ ค่ายปฏิบัติธรรม ค่ายบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล และเกิดความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม โรงเรียนมีความเชื่อว่า กิจกรรมดังกล่าวจะสามารถพัฒนาทักษะและคุณลักษณะนิสัยของนักเรียนให้เป็นไปตามอุดมการณ์และเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนได้เป็นอย่างดี กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแต่ละกิจกรรม มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้ตาราง 12 จุดมุ่งหมายเฉพาะของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน1. ค่ายวิชาการ กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า1 ครั้งๆ ละไม่ต่ำกว่า 3 วัน2. ค่ายปฏิบัติธรรม กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า1 ครั้งๆ ละไม่ต่ำกว่า 3 วันกิจกรรม จุดมุ่งหมายเฉพาะ3. การเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 12ชุมนุม (ชุมนุมวิชาการไม่น้อยกว่า 3 ชุมนุมชุมนุมเกี่ยวกับการออกกำลังกายไม่น้อยกว่า3 ชุมนุม ชุมนุมเกี่ยวกับสังคมศึกษา ศาสนาศิลปวัฒนธรรมและดนตรีไม่น้อยกว่า 3ชุมนุม)4. การศึกษาดูงานในศูนย์วิจัยด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 8 ครั้งเพื่อให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตกลางแจ้งในธรรมชาติ ฝึกความอดทนความสามารถในการทำงานร่วมกันและมีความสามารถในการแก้ปัญหา ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งด้านธรรมชาติ/กายภาพด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านวิถีการดำรงชีวิต สามารถตั้งคำถามที่หลากหลายเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมดังกล่าวที่สามารถนำไปเป็นหัวข้อในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้แล้วเลือกหัวข้อหนึ่งมาดำเนินการหาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ภายในระยะเวลาที่เข้าค่ายเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติศาสนกิจที่ถูกต้องภายใต้บรรยากาศที่เป็นจริงสอดคล้องกับศาสนาที่นักเรียนนับถือได้รับการฝึกฝน ปลูกฝัง ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยเห็นคุณค่าในตนเอง และได้รับประสบการณ์ในการฝึกจิตให้สงบ (ฝึกสมาธิเบื้องต้น)เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้ร่วมทำกิจกรรมชุมนุมกับเพื่อนได้ทำกิจกรรมที่ตนเองรัก ถนัด และสนใจ เพื่อพัฒนาความสามารถเฉพาะบุคคลที่แตกต่างกันไป ทั้งด้านวิชาการ กีฬาสังคมศึกษา ภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี เพื่อให้นักเรียนเกิดความรัก เห็นความงามในการทำงานวิจัยเห็นบรรยากาศในการทำงานวิจัย และอาชีพงานวิจัยที่หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกประกอบอาชีพด้านการวิจัยในอนาคต เกิดแนวคิดในการกำหนดหัวข้อในการทำโครงงาน และได้สร้างความสัมพันธ์กับนักวิจัยเพื่อเป็นที่ปรึกษาโครงงานของนักเรียน77


กิจกรรม จุดมุ่งหมายเฉพาะ5. การศึกษาดูงานด้านสังคมศึกษา ภาษาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและโบราณคดีกำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง6. การฟังบรรยายพิเศษจากนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 8 ครั้ง7. การฟังบรรยายพิเศษ ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพและความฉลาดทางอารมณ์ กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง8. การฟังบรรยายพิเศษ ด้านสังคมศึกษาภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 6 ครั้งให้นักเรียนเกิดจิตสำนึกในความเป็นไทย มีความซาบซึ้งมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย หวงแหน และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ภาษา ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีไทย และฝึกทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศให้นักเรียนเกิดความรัก เห็นความงาม และเห็นคุณค่าในการทำงานวิจัย ได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยที่หลากหลายเกิดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพนักวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกประกอบอาชีพด้านการวิจัยในอนาคต และสร้างความสัมพันธ์กับนักวิจัยเพื่อเป็นที่ปรึกษาโครงงานของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น มีแนวทางในการปรับปรุงตนเอง และรู้จักการใช้ชีวิตในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเพื่อให้นักเรียนเกิดจิตสำนึกที่ดีในความเป็นไทย เกิดความซาบซึ้ง มีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย หวงแหน และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ภาษาไทย และประเพณีไทยรู้จักและชื่นชมบุคคลตัวอย่างที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งเปิดโลกทัศน์ในการเข้าใจและซึมซับความงามของภาษาต่างประเทศ เพื่อนำมาพัฒนาทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนถึงการนำเทคโนโลยี ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของต่างประเทศมาพัฒนาบ้านเมือง78


กิจกรรม จุดมุ่งหมายเฉพาะ9. การอ่านหนังสือจากรายการที่โรงเรียนกำหนด กำหนดให้นักเรียนอ่านจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 ชื่อเรื่อง10. การบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียนกำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 40ชั่วโมง11. การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 40 ชั่วโมง12. การออกกำลังกายและเล่นกีฬา กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 240ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 45 นาที13. การพบครูที่ปรึกษาประจำชั้นหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติ กำหนดให้นักเรียนเข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ80 ของวันเปิดเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่าอย่างหลากหลาย มีพื้นฐานในการอ่าน และมีวิจารญาณในการเลือกอ่านหนังสือได้ตามความรัก ความสนใจของตนเองและมีนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาลักษณะนิสัยของการเป็นผู้ให้ ทั้งต่อเพื่อนพี่ น้อง ผู้ด้อยโอกาส และสังคมทั่วไป พัฒนาลักษณะนิสัยเกิดความหวงแหน เห็นคุณค่าและช่วยทำนุบำรุงสาธารณสถาน เห็นและเข้าใจสภาพปัญหาของสังคมโดยเฉพาะสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างหลากหลายของคนในสังคม เกิดความสำนึกและความรับผิดชอบในการพัฒนาสังคมร่วมกัน มีความมุ่งมั่นและปรารถนาที่จะใช้ความสามารถของตนเองตอบแทนสังคมและแผ่นดินเกิดเพื่อฝึกอุปนิสัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยดี โดยสามารถเลือกประเภทของการออกกำลังกายตามความสนใจให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นและนักเรียนได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน พบปะนัดหมาย สื่อสาร ทบทวนกิจกรรม รับฟังข้อปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวปฏิบัติตนในโรงเรียนและในสังคม79


ตาราง 13 เกณฑ์ขั้นต่ำและผลการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยเฉลี่ยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2548-<strong>2552</strong>กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หน่วยเกณฑ์ขั้นต่ำค่าเฉลี่ยที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม แต่ละปีการศึกษา2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>1. ค่ายวิชาการ ครั้ง 1 1.60 1.22 1.17 1.10 1.082. ค่ายปฏิบัติธรรม ครั้ง 1 1.01 1.06 1.04 1.01 1.013. กิจกรรมชุมนุม ชุมชน 12 16.50 16.30 15.96 14.14 14.244. การศึกษาดูงานนอกสถานที่4.1 ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี4.2 ด้านสังคมศึกษา ภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และโบราณคดี5. การฟังบรรยาย5.1 ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี5.2 ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพและ ความฉลาดทางอารมณ์5.3 ด้านสังคมศึกษา ภาษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี6. การอ่านหนังสือจากรายการที่โรงเรียนกำหนดครั้งครั้งครั้งครั้งครั้ง838469.855.0814.484.8912.059.375.0013.425.039.808.663.7810.054.398.468.253.479.064.396.748.393.289.654.577.00ชื่อ 50 60.39 56.29 51.58 52.74 53.12เรื่อง7. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียน ชั่วโมง 40 89.86 104.77 77.50 74.28 83.798. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน ชั่วโมง 40 74.46 69.64 65.92 65.19 63.44และสังคม9. การออกกำลังกายและเล่นกีฬา ครั้ง 240 308.24 278.11 268.87 268.94 274.4410. การพบครูที่ปรึกษาประจำชั้น ครั้ง 480 524.13 534.35 527.69 542.68 523.8680


3.4 กิจกรรมฝึกประสบการณ์ในศูนย์วิจัย เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียนในเรื่องการทำงานวิจัย ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ แนวคิด และวิถีชีวิตในการทำงานของนักวิจัยในแต่ละสาขา และเพื่อเป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจของนักเรียนในการศึกษาต่อ หรือวางแผนเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเป็นนักวิจัยในอนาคต โรงเรียนจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสฝึกงานกับนักวิจัยสาขาต่างๆ ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้จัดส่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จำนวน 89 คนไปฝึกประสบการณ์ในศูนย์วิจัยจำนวน 34 แห่ง เป็นเวลาเฉลี่ยคนละประมาณ 2 สัปดาห์ ดังรายละเอียดในตาราง 14ตาราง 14 รายชื่อหน่วยงานหรือศูนย์วิจัยที่นักเรียนไปฝึกประสบการณ์วิจัยสถานที่ จำนวนนักเรียนสาขาชีววิทยา1. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 12. ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 33. ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 24. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 25. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 16. ภาควิชาอายุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 17. สถาบันส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 118. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 29. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 110. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 211. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 212. สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 513. สำนักสัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา 214. ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 315. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 816. ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 317. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 118. ฝ่ายปฏิบัติการสาหร่าย สถาบันพัฒนาและศึกษาอบรมโรงงานต้นแบบ 1มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน 81


สถานที่ จำนวนนักเรียนสาขาวิชาคณิตศาสตร์19. ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 420. ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 121. ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2สาขาวิชาเคมี22. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 223. ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 424. ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 425. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1วิทยาเขตปัตตานีสาขาวิชาฟิสิกส์26. หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล 227. หอดูดาวเกิดแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ 128. ภาควิชาฟิสิกส์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3สาขาวิชาคอมพิวเตอร์29. ชมรมนักประดิษฐ์วิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 730. สถาบันจีโนมส์ 131. NECTEC: Thai Cert 332. NECTEC: IMG 3รวม8982


3.5 การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการกับนักเรียนนานาชาติโรงเรียนมีความเชื่อว่า หากนักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการกับนักเรียนชั้นนำของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน จะช่วยทำให้นักเรียนของโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมากขึ้นมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับเพื่อนนักเรียนต่างประเทศที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการในอนาคต ทำให้นักเรียนของโรงเรียนสามารถสร้างเครือข่ายทางวิชาการได้มากขึ้น โรงเรียนมีโครงการสนับสนุนให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียนต่างชาติ จำนวน2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนเครือข่ายต่างประเทศ และ (2) โครงการจัดส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันวิชาการ เข้าค่ายวิชาการ หรือเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> นักเรียนของโรงเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ และด้านศิลปวัฒนธรรมกับนักเรียนต่างประเทศ ดังนี้3.5.1 โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนกับโรงเรียนเครือข่ายต่างประเทศโรงเรียนได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนเครือข่ายต่างประเทศ จำนวน 18โรงเรียน จาก 11 ประเทศทุกๆ ปีโรงเรียนจะส่งนักเรียนและครูของโรงเรียนไปแลกเปลี่ยนทางวิชาการและศิลปวัฒนธรรมในต่างประเทศในช่วงปิดภาคฤดูร้อน (เมษายน-พฤษภาคม) และจัดกิจกรรมเพื่อต้อนรับนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้ส่งนักเรียนของโรงเรียน จำนวน 81 คนและครูของโรงเรียนจำนวน 13 คนเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนเครือข่ายต่างประเทศ จำนวน 12 แห่งดังตาราง 1583


ตาราง 15 การส่งนักเรียนและครูของโรงเรียนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนและครูของโรงเรียนเครือข่ายต่างประเทศ ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong>วัน เดือน ปีสถาบัน/ประเทศผู้เข้าร่วมกิจกรรมนักเรียน ครู1-3 ตุลาคม 2551 Raffles College, Singapore 2 29-25 ตุลาคม 2551 Droste-Hulshoff-Gymnasium, Meersburg, Germany 13 225-31 ตุลาคม 2551 Ritsumeikan Senior High School, Japan 4 215-20 มีนาคม <strong>2552</strong> Weizmann Institute of Technology, Israel 4 1Affiliated High School to Yunnan Normal8-15 เมษายน <strong>2552</strong>University, China3 116 เมษายน- Camborne Science & Community College,6 พฤษภาคม <strong>2552</strong> United Kingdom10 219 เมษายน- 5 2Leo Baeck Education Center, Israel1 พฤษภาคม <strong>2552</strong>National University of Singapore High School of 10 220–27 เมษายน <strong>2552</strong>Mathematics and Science, Singapore20–29 เมษายน <strong>2552</strong> Yishun Junior College, Singapore 4 220–29 เมษายน <strong>2552</strong> Raffles Institution, Singapore 6 127 เมษายน – 15 พฤษภาคม <strong>2552</strong>Korea Science Academy of KAIST, Korea 10 228 เมษายน – 17 พฤษภาคม <strong>2552</strong>Ritsumeikan Senior High School, Japan 10 2รวม 81 21โรงเรียนได้จัดกิจกรรมทั้งด้านวิชาการและด้านศิลปวัฒนธรรมให้แก่คณะครูและนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายในต่างประเทศที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนของโรงเรียน อาทิ• การจัดให้ครูจากโรงเรียนเครือข่ายฯ สอนร่วมกับครูของโรงเรียน และเข้าสังเกตการสอนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาการและการสอนซึ่งกันและกัน• การศึกษาดูงานในหน่วยงานและศูนย์วิจัยต่างๆ ร่วมกับนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และการศึกษาดูงานสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย• การจัดสอนเกี่ยวกับดนตรีไทย การทำอาหารไทย นาฏศิลป์ไทย และศิลปะการป้องกันตัวของไทยให้นักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> คณะครูและนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายในต่างประเทศที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนของโรงเรียนมีนักเรียนจำนวน 85 คน และครูจำนวน 11 คน จาก 5 โรงเรียนดังตาราง 1684


ตาราง 16 นักเรียนโรงเรียนเครือข่ายต่างประเทศที่เดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนของโรงเรียน ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong>วัน เดือน ปีสถาบัน/ประเทศผู้เข้าร่วมกิจกรรมนักเรียน ครู16-27 ธันวาคม 2551 Leo Baeck Education Center, Israel 14 26-24 มกราคม <strong>2552</strong> Droste-Hulshoff-Gynansium, Meersburg, Germany 15 212-30 มกราคม <strong>2552</strong> Korea Science Academy, Korea 10 123 กรกฎาคม – 12 1Ritsumeikan Senior High School, Japan13 สิงหาคม <strong>2552</strong>2-7 กันยายน <strong>2552</strong>National University of Singapore High School ofMathematics and Science, Singapore10 2รวม 85 8ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนจัดส่งครูและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันวิชาการเข้าค่ายวิชาการ หรือเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศ จำนวน 15 ครั้ง มีนักเรียนจำนวน 47 คนและครูจำนวน 17 คน ดังตาราง 17ตาราง 17 การส่งครูและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ เสนอผลงาน และเข้าร่วมประชุมวิชาการต่างประเทศ ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong>วัน เดือน ปี กิจกรรม สถานที่1-5 เมษายน <strong>2552</strong> 1. The 3 rd International ProjectOlympiad 2009 INEPO-EUROASIA (Competition)8-16 เมษายน <strong>2552</strong> 2. Students Science Fair inHong He Province (PosterPresentation: 4 projects)20-30 เมษายน <strong>2552</strong> 3. Part of Exchange Program(2 projects)4. Part of Exchange Program(2 projects)5. Part of Exchange Program(2 projects)Baku INEPO EUROASIAOrganization, Azerbaijanสถานที่นักเรียน ครู2 1Affiliated High School toYunnan Normal University,China8 1Raffles College, Singapore 2 1Yishun Junior College,SingaporeNational University ofSingapore of Mathematicsand Science, Singapore222185


วัน เดือน ปี กิจกรรม สถานที่4-7 พฤษภาคม <strong>2552</strong> 6. Kolmogorov Readings(Science ProjectCompetition: 2 projects)19-22 พฤษภาคม 7. International Students<strong>2552</strong>26-30 พฤษภาคม<strong>2552</strong>Science Fair 2009 (1 project)8. Singapore InternationalScience Challenge 2009(Competition: 2 projects)6-10 มิถุนายน <strong>2552</strong> 9. The 2 nd Singapore NationalChemistry Week (Workshop)22-26 มิถุนายน <strong>2552</strong> 10. ASMS International ScienceFair 2009: ScientistsWorking to Save theEnvironment (3 projects)6-30 กรกฎาคม <strong>2552</strong> 11.The 4 th Dr. Bessie F.Lawrence InternationalSummer Science Institute forPre University Students21-28 กรกฎาคม <strong>2552</strong> 12.The 22 nd International YoungPhysicists Tournament-ThePhysics World Cup1-3 ตุลาคม <strong>2552</strong> 13. Poster Presentation at theOfficial Opening of theRaffles Institution ScienceHubKolmogorov School ofMoscow State University,RussiaNational Junior College,SingaporeNational Junior College,SingaporeSingapore NationalInstitute of Technology,SingaporeAustralian Science andMathematics School,AustraliaWeizmann Institute ofScience, IsraelNankai University, Tianjin,Chinaสถานที่นักเรียน ครู2 1223611111 -Raffles College, Singapore 2 225-31 ตุลาคม <strong>2552</strong> 14. The 4 th International Students Ritsumeikan Senior High 4 2Science FairSchool. Japan15-20 มีนาคม <strong>2552</strong> 15. The Shalheveth Freier Weizmann Institute of 4 1Physics Tournament Technology, Israelรวม 47 175186


3.6 การส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ด้วยตนเองโรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ค้นคว้า ทดลองสืบเสาะ แสวงหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานตามความสนใจเพื่อให้อัจฉริยภาพและความสามารถพิเศษของนักเรียนแต่ละคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน มีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่ได้มาตรฐาน และทันสมัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การค้นคว้า ทดลอง และฝึกปฏิบัติต่างๆ มีศูนย์วิทยบริการหรือห้องสมุด ที่มีสื่อความรู้หลากหลายรูปแบบ เปิดให้บริการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ การค้นคว้าวิจัย จนถึงเวลา 22.00 น. ทุกวันในช่วงเปิดภาคเรียน มีระบบสายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงทุกอาคารภายในโรงเรียน มีจุดเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ (Computer Outlet) มากกว่า 400 จุด นอกจากนั้นยังมีระบบสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (wireless) ทั่วบริเวณโรงเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการศึกษาเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ขนาดความเร็ว ในประเทศ 73 Mbps และความเร็วต่างประเทศ 25 Mbps87


ตาราง 18 จำนวนหนังสือและสื่อในศูนย์วิทยบริการ (สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong>)หน่วยปีงบประมาณรายงานนับ 2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>1. จำนวนหนังสือ เล่ม 48,679 54,280 60,086 66,203 69,999• กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี• กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ร้อยละ 51.80 52.10 51.74 49.96 48.82เล่ม 25,215 28,279 31,091 33,073 34,173ร้อยละ 37.38 37.24 37.37 37.89 38.27เล่ม 18,197 20,214 22,455 25,083 26,792• หนังสือส่งเสริมการอ่านร้อยละ 10.82 10.66 10.89 12.15 12.91เล่ม 5,267 5,787 6,540 8,047 9,0342. จำนวนสื่อโสตทัศน์ รายการ 5,661 6,140 7,052 7,626 8,2613. จำนวนวารสาร รายการ 65 86 95 95 100• วารสารภาษาไทย รายการ 60 70 78 75 80• วารสารภาษาต่างประเทศ รายการ 5 16 17 20 204. จำนวนหนังสือพิมพ์ ฉบับ 15 11 14 11 185. ฐานข้อมูลออนไลน์* รายการ 1 2 3 5 66. Video on Demand ** รายการ 70 201 274 369 415หมายเหตุ *ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้โรงเรียนสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลวิชาการและงานวิจัยต่างประเทศ จำนวนประมาณ60 ฐาน**Video on Demand หมายถึง ระบบการแพร่ภาพและเสียงวิดีทัศน์จากคลังข้อมูลวิดีทัศน์(Video Server) สู่ผู้ชมที่อยู่ในระบบเครือข่ายภายในโรงเรียน สื่อสารผ่านระบบจัดการข้อมูลวิดีทัศน์แบบ Streaming file โดยผู้ชมสามารถเลือกเรื่องที่ต้องการชมได้ตามประสงค์โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่88


ตาราง 19 แสดงปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ต ปีงบประมาณ <strong>2552</strong>ปีงบประมาณตุลาคม 2551พฤศจิกายน 2551ธันวาคม 2551มกราคม <strong>2552</strong>กุมภาพันธ์ <strong>2552</strong>มีนาคม <strong>2552</strong>เมษายน <strong>2552</strong>พฤษภาคม <strong>2552</strong>มิถุนายน <strong>2552</strong>กรกฎาคม <strong>2552</strong>สิงหาคม <strong>2552</strong>กันยายน <strong>2552</strong>ต่างประเทศ (25 Mbps) ภายในประเทศ (73 Mbps)สูงสุด เฉลี่ย สูงสุด เฉลี่ย11.4 Mbps 3.55 Mbps 47.4 Mbps 10.2 Mbps(45.60%) (14.20%) (64.93%) (13.97)16.1 Mbps 3.94 Mbps 41.9 Mbps 14.7 Mbps(64.40%) (15.76%) (57.40%) (20.14%)15.8 Mbps 3.41 Mbps 56.8 Mbps 13.0 Mbps(63.20%) (13.64%) (77.81%) (17.81%)15.7 Mbps 3.16 Mbps 42.8 Mbps 14.5 Mbps(62.80%) (12.64%) (58.63%) (19.86%)15.7 Mbps 4.12 Mbps 43.8 Mbps 15.2 Mbps (62.80%) (16.48%) (60.00%) (20.82%)15.11 Mbps 2.56 Mbps 31.61 Mbps 5.80 Mbps (60.44%) (10.24%) (43.30%) (7.95%)9.85 Mbps 1.28 Mbps 32.55 Mbps 3.20 Mbps(39.40%) (5.12%) (44.59%) (4.38%)16.14 Mbps 2.83 Mbps 35.93 Mbps 6.75 Mbps(64.56%) (11.32%) (49.22%) (9.25%)17.39 Mbps 4.29 Mbps 39.54 Mbps 12.75 Mbps(69.56%) (17.16%) (54.16%) (17.47%)23.18 Mbps 4.01 Mbps 61.58 Mbps 13.02 Mbps(92.72%) (16.04%) (84.36%) (17.84%)18.92 Mbps 4.86 Mbps 58.19 Mbps 19.84 Mbps(75.68%) (19.44%) (79.71%) (27.18%)17.70 Mbps 4.67 Mbps 62.59 Mbps 20.41 Mbps(70.80%) (18.68%) (85.74%) (27.96%)89


3.7 โครงงานของนักเรียนการทำโครงงานของนักเรียนนับว่าเป็นกิจกรรมที่มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนพัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ นักคิดค้น โรงเรียนจึงให้ความสำคัญกับการทำโครงงานของนักเรียนเป็นอย่างมาก และกำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องทำโครงงานและนำเสนอผลงานทั้งในรูปของการบรรยายและโปสเตอร์ จึงจะถือว่าสำเร็จการศึกษาโรงเรียนได้สนับสนุนให้นักเรียนส่งเค้าโครงของโครงงาน (Project Proposal) เพื่อขอทุนสนับสนุนการทำโครงงานของนักเรียนจากหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนขอความอนุเคราะห์ใช้ห้องปฏิบัติการและขอความอนุเคราะห์บุคลากรจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยต่างๆ มาเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงให้การปรึกษาในการทำโครงงานของนักเรียน อีกทั้งยังสนับสนุนให้นักเรียนนำโครงงานไปเสนอในที่ประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีโครงงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 72 โครงงาน และมีโครงงานที่ได้รับคัดเลือกไปนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 23 โครงงาน และนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับประเทศ จำนวน 14 โครงงาน ตาราง 20 หน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการทำโครงงานของนักเรียน 90หน่วยงานที่สนับสนุนทุนในการทำโครงงาน1. โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพื้นที่ภาคกลาง สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการทำวิจัย (สกว.)2. โครงการยุววิจัยไม้ผล สำนักประสานงานชุดโครงการยุววิจัยไม้ผล สกว.คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการทำวิจัย (สกว.)3. โครงการยุววิจัยยางพารา สำนักประสานงานชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา” ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์4. โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NationalSoftware Contest 2009: NSC 2009)5. โครงการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young ScientistCompetition 2010: YSC 2010)6. โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) ประจำปี พ.ศ.<strong>2552</strong> (ประเภททุนสนับสนุนระยะยาว)รวมจำนวนโครงงานที่ได้รับทุนสนับสนุน4477381272


ตาราง 21 โครงงานของนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกไปเสนอผลงานที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติวันที่ การประชุมวิชาการ จำนวนโครงงาน3-4 ตุลาคม 2551 The Research Education Congress. Raffles Institute, 2Singapore26-30 ตุลาคม 2551 International Student Science Fair 2008, Ritsumeikan 3High School, Japan1-5 เมษายน <strong>2552</strong> ประชุมวิชาการ Azerbaijan 17-16 เมษายน <strong>2552</strong> 24th Yunnan Adolescents Science and Technology 4Invention Contest China20-27 เมษายน <strong>2552</strong> Nation University of Singapore High School of1Mathematics and Science, Singapore20-29 เมษายน <strong>2552</strong> Yishun Junior College, Singapore 220-29 เมษายน <strong>2552</strong> Ruffles Institution, Singapore 24-7 พฤษภาคม <strong>2552</strong> XIX Annual “Sakharov’ Readings, Russia 219-22 พฤษภาคม <strong>2552</strong> International Student Fair 2009 (ISSF2009), Singapore 125-31 พฤษภาคม <strong>2552</strong> Singapore International Science Challenge : SISC, 2Singapore21-22 มิถุนายน <strong>2552</strong> Australia Science and Mathematics School3International Science Fair 2009, Australiaรวม23ตาราง 22 จำนวนโครงงานของนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกไปเสนอผลงานที่ประชุมวิชาการระดับประเทศวันที่ การประชุมวิชาการ จำนวนโครงงาน31 ตุลาคม-2 พ.ย.2551 การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี10แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 34 จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร25-27 มีนาคม <strong>2552</strong> การประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 2ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล25-27 มีนาคม <strong>2552</strong> การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 4 2รวม1491


ตาราง 23 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับประเทศ ณ ที่ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 34 (วทท.34) จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. 2551 ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษา1. การดูดซับทองแดงโดยใช้ถ่านที่ผลิตจากยางรถยนต์เหลือใช้รางวัลที่ 2 ประเภทบุคคลระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(สาขากายภาพ) น.ส.ชุตินันท์ รัตนกาญจน์ น.ส.จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา ตาราง 24 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ศูนย์ภาคกลาง ปี <strong>2552</strong> ระหว่างวันที่ 16-17 สิงหาคม <strong>2552</strong> ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี 1. การควบคุมโรครากขาวจากเชื้อรา Rigidoporus lignosusของต้นยางพาราโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์92ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษารางวัลชนะเลิศ น.ส.ธนพร จิระวิชชเลิศ น.ส.อรวรรณ ปิยะบุญประเภททีม สาขา น.ส.ศุทธินี เผือกขาวผ่องชีวภาพ 2. ผลของสมุนไพรไทยกวาวเครือขาว Pueraria mirifica ต่อพฤติกรรมของหนูแรทที่ได้รับบาดเจ็บทางเส้นประสาทส่วนปลาย3. การเปรียบเทียบผลสารจากเชื้อรา Metarhizium anisopliaeและเชื้อรา Beauveria bassianaมีผลต่ออัตราการตาย ของปลวกCoptotermes curvignathus4. การผลิตถ่านกัมมันต์จากถ่านไม้ยางพารา5. การใช้ทฤษฎีเพื่อศึกษาการดูดซับของซัลเฟอร์ไดออกไซด์บนท่อนาโนคาร์บอน: ระเบียบวิธีแบบDFT6. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการติดสีย้อมเนื้อเยื่อสำหรับการศึกษากายภาพปากใบพืชบางชนิด7. การใช้เปลือกกล้วยน้ำว้าเพื่อกำจัดสีย้อมรางวัลรองชนะเลิศประเภททีม สาขาชีวภาพรางวัลชมเชยประเภททีม สาขาชีวภาพรางวัลรองชนะเลิศประเภททีม สาขากายภาพรางวัลชมเชยประเภททีม สาขากายภาพรางวัลรองชนะเลิศประเภทเดี่ยว สาขาชีวภาพรางวัลรองชนะเลิศประเภทเดี่ยว สาขากายภาพน.ส.กมลชนก ตันโชติกุลน.ส.ขวัญกมล เดชาติวงศ์ณ อยุธยานายก้องภพ ยงรัตนกิจนายณัฐยุตม์ มหิทธาฟองกุลนายธนบัตร สมบูรณ์ทรัพย์นายปิยวัช วิบูลย์เจริญกิจจานายกุลวิชญ์ อโนทัยสถาพรนายศุภสัณห์ เกียรติสุวรรณ์นายณัฐดนัย เนตินายรัชพล งามสมนายอานันท์ พฤกษ์มหาชัยกุลนายชนาธิป ไชยเหล็กนายสวัสดิวิทย์ กุลบุตรน.ส.อรวรรณ ปิยะบุญน.ส.อรวรรณ ปิยะบุญนายสรชัย แซ่ลิ่มนายสาโรจน์ บุญเส็งนางสมฤทัย แก้วบุญน.ส.สิริหทัย ศรีขวัญใจ


ตาราง 25 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ในงานจุฬาวิชาการ 2551ระหว่างวันที่ 26-30 พฤศจิกายน 2551 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษารางวัลชนะเลิศ น.ส.อรวรรณ ปิยะบุญเงินรางวัล 10,000 บาท1. ผลของสมุนไพรไทยกวาวเครือขาวต่อการพัฒนาความเจ็บปวดหลังการบาดเจ็บของเส้นประสาทบางส่วนในหนูแรท2. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของการเลี้ยงแบคทีเรีย E. coli เพื่อให้มีการผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีน E ในรูปโปรตีนที่ละลายน้ำรางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 7,000 บาทน.ส.กมลชนก ตันติโชติกุลน.ส.ขวัญกมล เดชาติวงศ์ ณ อยุธยาน.ส.นฤภร ไพศาลกิจน.ส.พิมพิกา หาญวัฒนานุกูลน.ส.อรวรรณ ปิยะบุญตาราง 26 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Young Scientist Competition (YSC 2009) ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ <strong>2552</strong>ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2น.ส.อรวรรณ ปิยะบุญเงินรางวัล 30,000 บาท1. ผลของสมุนไพรไทยกวาวเครือขาวต่อการพัฒนาความเจ็บปวด หลังการบาดเจ็บของเส้นประสาทบางส่วนในหนูแรท2. ผลของแบคทีเรียBacillus thuringiensissubp. Aizawai INT2 ต่ออัตราการฟักไข่ของยุงลายบ้าน Aedes aegypti3. เครื่องมือสำหรับวัดค่าสัมประสิทธิความเสียดทานสถิตโดยใช้เทคนิคการเคลื่อนที่ในแนววงกลม รางวัลชมเชยเงินรางวัล 4,500 บาทรางวัลชมเชย เงินรางวัล 4,500 บาทน.ส.กมลชนก ตันติโชติกุลน.ส.ขวัญกมล เดชาติวงศ์ ณ อยุธยานายพงศธร แสนโครตนายธนวุฒิ จิตสินธุนันท์นายวนัท วุฒิกุลประพันธ์น.ส.นิธิกานต์ คิมอิ๋งนายถารัชต์ ศิรินุกุลวัฒนา นายพรมงคล จิ้มลิ้ม93


ตาราง 27 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC 2009) ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ <strong>2552</strong>ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษา1. โปรแกรมแปลงโน้ตดนตรีไทยสำหรับเครื่องดนตรีสากลรางวัลชมเชยเงินรางวัล 10,000 บาทน.ส.เพชรลดา อาชวานันทกุล นางศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์ตาราง 28 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอในการประชุมวิชาการโครงการยุววิจัยยางพาราปี 2551 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการทำวิจัย (สกว.) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 10-13 มีนาคม <strong>2552</strong>ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษารางวัลผลงานวิจัยดีเด่น น.ส.ขัตติยาพร บำรุงเกาะ น.ส.สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์นายพิศุทธิ์ ปิยกีรติกุลนายสุทธิพจน์ พรมตะพาน1. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์จำแนกศักยภาพของที่ดินในการปลูกยางพารา: กรณีศึกษาอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี2. การควบคุมโรครากขาวจากเชื้อรา Rigidoporuslignosus ของต้นยางพาราโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์3. กาวยางแท่งจากน้ำยางข้นรางวัลชมเชยผลงานวิจัยดีเด่นรางวัลที่ 1 โปสเตอร์ดีเด่นน.ส.ธนพร จิระวิชชเลิศ น.ส.ศุทธินี เผือกขาวผ่องน.ส.กัณฐรวี ศิริโชติน.ส.จิดาภา เอี่ยมวัฒน์นายณัฏฐวุฒิ จิรอร่ามน.ส.อรวรรณ ปิยะบุญน.ส.อรวรรณ ปิยะบุญตาราง 29 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอในการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม <strong>2552</strong> ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษารางวัลการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ระดับดีเลิศ1. ผลสมุนไพรไทยPueraria mirifica ต่อพฤติกรรมหนูแรทที่ได้รับการบาดเจ็บทางเส้นประสาทส่วนปลายน.ส.กมลชนก ตันโชติกุล น.ส.ขวัญกมล เดชาติวงค์ณ อยุธยาน.ส.อรวรรณ ปิยะบุญน.ส.สุพิน ชมพูพงษ์94


ตาราง 30 โครงงานที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอในการประกวดโครงงาน ณ Singapore International Science Challenge 2009 ครั้งที่ 2 ณ National Junior College ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 25-30 พฤษภาคม <strong>2552</strong> ชื่อโครงงาน รางวัลที่ได้รับ ชื่อนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษารางวัลเหรียญเงิน นายศุภสิน นกร่อน น.ส.อรวรรณ ปิยะบุญ(Distinction Award)1. การใช้อาร์เอ็นเอสายคู่ ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของInfectious Hyperdermal andHematopoietie Necrosis Virus(IHHNV) ในกุ้งขาวแวนนาไม(Paneuse vannamei) ภายหลังการได้รับเชื้อ2. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการติดสีย้อมเนื้อเยื่อสำหรับการศึกษากายภาพปากใบพืชบางชนิด3.8 กิจกรรมโอลิมปิกวิชาการเกียรติบัตรนายชนาธิป ไชยเหล็ก นางสมฤทัย แก้วบุญโครงการโอลิมปิกวิชาการ เป็นโครงการที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียนที่มีความรัก ความสนใจและความสามารถพิเศษทางด้านคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือคอมพิวเตอร์ ที่ต้องการศึกษาเฉพาะทางอย่างลึกซึ้งจริงจัง การเข้าร่วมโครงการเป็นวิธีทางหนึ่งในการทดสอบความสามารถทางวิชาการของนักเรียนของโรงเรียน ซึ่งจะต้องแข่งขันกับนักเรียนจากทั่วประเทศ 3.8.1 กิจกรรมโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ (โอลิมปิก สอวน.)โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมนักเรียนของโรงเรียนทั้ง 6 สาขาวิชาผลการดำเนินงานกิจกรรมโอลิมปิก สอวน. ของโรงเรียนอยู่ในระดับดีมาก โรงเรียนได้นำหลักสูตรโอลิมปิก สอวน. มาผนวกเข้าไปในการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมของโรงเรียน ตามหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong>ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> นักเรียนของโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิก สอวน. ในสาขาวิชาต่างๆ รายละเอียดดังตาราง 3195


ตาราง 31 ผลการแข่งขันโอลิมปิก สอวน. ปีงบประมาณ <strong>2552</strong>จำนวนผู้เข้าแข่งขัน รางวัลที่ได้รับสาขาวิชา สถานที่แข่งขัน ทั้งหมด รร.มหิดลฯ เหรียญ เหรียญ เหรียญ เกียรติคุณทอง เงิน ทองแดง ประกาศ1. คณิตศาสตร์ รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ 125 10 1/11 2/22 6/33 -2. ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ 90 6 2/9 3/15 1/27 -ม.ขอนแก่น3. คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ 117 18 4/8 5/18 4/35 -ม.วลัยลักษณ์4. ฟิสิกส์ รร.เตรียมทหาร 133 22 5/12 3/17 7/38 1/195. เคมี คณะวิทยาศาสตร์ 96 15 8/20 5/25 2/36 -ม.นเรศวร6. ดาราศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลราชธานี48 7 1/3 0/4 0/7 2/14หมายเหตุ (1) ตัวเลขในช่องผลการแข่งขัน ตัวเลขแรก หมายถึงจำนวนรางวัลที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับ ตัวเลขหลัง หมายถึงจำนวนรางวัลทั้งหมดของการแข่งขันในสาขาวิชานั้นๆ (2) ศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ถูกกำหนดให้ส่งเข้าแข่งขันได้ไม่เกินตามจำนวนที่แสดงในตาราง96


3.8.2 กิจกรรมโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เป็นผู้จัดกิจกรรมโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ การแข่งขันและคัดเลือกนักเรียนเข้าค่ายฝึกอบรม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1จำนวนประมาณ 125 คน (สาขาวิชาละประมาณ 25 คน) หลังจากค่าย 1 แล้วจะคัดเลือกให้เหลือเพียงประมาณ 75 คน(สาขาวิชาละประมาณ 15 คน) เพื่อเข้าค่ายฝึกอบรมครั้งที่ 2และจากประมาณ 75 คนที่เข้าค่าย 2 นี้จะคัดเลือกให้เหลือประมาณ 25 คน เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในประเทศต่างๆ ที่หมุนเวียนเป็นเจ้าภาพในแต่ละปีในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีนักเรียนของโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่าย 1 ใน 5 สาขาวิชาที่ดำเนินการโดย สสวท. จำนวน 56 คน จากนักเรียนทั้งหมด 210 คนคิดเป็นร้อยละ 26.67 และได้รับคัดเลือกเข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการค่าย 2 ใน 5 สาขาวิชา จำนวน 36 คน เมื่อเทียบกับนักเรียนที่เข้าค่าย 2 จากทุกโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 26.28ในแต่ละปี สสวท. จะคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ รวมทั้งสิ้น 23 คน และมูลนิธิ สอวน.จะคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ สาขาวิชาโลกและอวกาศและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จำนวน 6 คน ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> นักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ จำนวน 10 คนในสาขาวิชาต่างๆ ดังปรากฏในตาราง 32ตาราง 32 ผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. <strong>2552</strong>สาขาวิชาจำนวนผลการแข่งขันประเทศที่ผู้แทนที่เป็น เหรียญ เหรียญ เหรียญ เกียรติคุณแข่งขันนร.มหิดลฯ ทอง เงิน ทองแดง ประกาศ1. คณิตศาสตร์ เยอรมนี - - - - -2. คอมพิวเตอร์ บัลกาเรีย 2 1 1 - -3. เคมี อังกฤษ 2 - 2 - -4. ชีววิทยา ญี่ปุ่น - - - - -5. โลกและอวกาศ ไต้หวัน 1 - - 1 -6. ฟิสิกส์ เม็กซิโก 3 1 2 - -7. ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ อิหร่าน 2 - - 1 1รวม 10 2 5 2 197


3.9 ผลการเรียนและผลการทดสอบของนักเรียน3.9.1 ผลการเรียนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ทุกระดับชั้นอยู่ในระดับสูงมากนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนมากกว่าร้อยละ 80 มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่า3.50 รายละเอียดดังตาราง 33ตาราง 33 คะแนนเฉลี่ยสะสมของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2548-<strong>2552</strong>ระดับคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>2.51-3.00คน - - 1 - 4ร้อยละ - - 0.43 - 1.673.01-3.25คน 2 2 6 7 11ร้อยละ 0.89 0.85 2.56 2.97 4.603.26-3.50คน 11 22 21 25 19ร้อยละ 4.91 9.36 8.97 10.59 7.953.51-3.75คน 41 62 50 68 58ร้อยละ 18.30 26.38 21.37 28.81 24.273.76-3.99คน 149 140 150 128 124ร้อยละ 66.52 59.57 54.10 54.24 51.884.00คน 21 9 6 8 23ร้อยละ 9.38 3.83 2.56 3.39 9.62จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา224 235 234 236 2393.9.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET)ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test: O-NET)ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีค่าสูงมาก คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนประมาณเท่ากับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั่วประเทศ บวก 2-4 SD (σ) หรือประมาณเปอร์เซนไทล์ที่ 99.99 รายละเอียดดังตาราง 3498


ตาราง 34 ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เทียบกับโรงเรียนทั่วประเทศ วิชาภาษาไทยสังคมศึกษาภาษาอังกฤษคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์รวม 5 วิชาปีการ ประเทศ โรงเรียนศึกษา x SD x SDหมายเหตุ2551 46.42 14.00 74.10 6.42 x มหิดล = x ประเทศ + 1.98 SD ประเทศ2550 50.70 14.01 78.00 6.93 x มหิดล = x ประเทศ + 1.95 SD ประเทศ2549 50.33 15.23 80.87 6.70 x มหิดล = x ประเทศ + 2.00 SD ประเทศ2551 34.67 8.19 55.47 7.99 x มหิดล = x ประเทศ + 2.54 SD ประเทศ2550 37.76 9.45 60.90 8.92 x มหิดล = x ประเทศ + 2.45 SD ประเทศ2549 37.94 10.13 61.56 8.12 x มหิดล = x ประเทศ + 2.33 SD ประเทศ2551 30.64 9.78 66.96 10.98 x มหิดล = x ประเทศ + 3.71 SD ประเทศ2550 30.93 10.77 71.99 11.18 x มหิดล = x ประเทศ + 3.81 SD ประเทศ2549 32.37 12.21 74.97 10.19 x มหิดล = x ประเทศ + 3.49 SD ประเทศ2551 35.98 16.27 89.59 6.04 x มหิดล = x ประเทศ + 3.30 SD ประเทศ2550 32.49 12.17 84.09 10.37 x มหิดล = x ประเทศ + 4.24 SD ประเทศ2549 29.56 14.32 90.62 7.88 x มหิดล = x ประเทศ + 4.26 SD ประเทศ2551 33.65 10.51 74.48 8.45 x มหิดล = x ประเทศ + 3.88 SD ประเทศ2550 34.62 12.53 80.09 9.11 x มหิดล = x ประเทศ + 3.74 SD ประเทศ2549 34.88 12.21 79.48 8.03 x มหิดล = x ประเทศ + 3.65 SD ประเทศ2551 181.33 45.68 360.58 29.51 x มหิดล = x ประเทศ + 3.92 SD ประเทศ2550 186.65 48.74 375.07 34.12 x มหิดล = x ประเทศ + 3.86 SD ประเทศ2549 185.04 172.87 387.49 28.33 x มหิดล = x ประเทศ + 3.09 SD ประเทศ99


การสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และการสอบวัดความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT)จัดโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ผลการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เทียบกับนักเรียนทั่วประเทศ ในปีการศึกษา <strong>2552</strong> มีการสอบ 3 ครั้งนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีผลการสอบ GAT อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 98.01-99.78(คะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนทั้งประเทศประมาณ 2.00-2.85 SD) และผลการสอบ PAT อยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 96.51-99.99 (คะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนทั้งประเทศประมาณ 1.81-4.25 SD)ดังตาราง 35ตาราง 35 ผลการสอบ GAT PAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ปีการศึกษา <strong>2552</strong> เทียบกับนักเรียนทั่วประเทศ วิชา ครั้งที่ความถนัดทั่วไปGATคณิตศาสตร์PAT 1วิทยาศาสตร์PAT 2วิศวกรรมศาสตร์PAT 3สถาปัตยกรรมศาสตร์PAT 4วิชาชีพครูPAT 5ประเทศ โรงเรียนเทียบหมายเหตุx S.D. x S.D.เปอร์เซ็นไทล์1 78.09 44.32 204.28 40.56 x มหิดล=x ประเทศ+2.85 S.D. ประเทศ 99.782 84.82 55.48 209.90 41.32 x มหิดล=x ประเทศ+2.25 S.D. ประเทศ 98.793 106.77 55.59 221.01 34.10 x มหิดล=x ประเทศ+2.06 S.D. ประเทศ 98.011 88.33 30.63 203.10 41.70 x มหิดล=x ประเทศ+3.75 S.D. ประเทศ 99.992 87.11 31.14 215.98 46.06 x มหิดล=x ประเทศ+4.14 S.D. ประเทศ 99.993 63.56 25.91 173.39 42.78 x มหิดล=x ประเทศ+4.24 S.D. ประเทศ 99.991 90.47 18.03 148.90 26.30 x มหิดล=x ประเทศ+3.24 S.D. ประเทศ 99.942 87.93 17.66 142.36 25.40 x มหิดล=x ประเทศ+3.08 S.D. ประเทศ 99.903 81.65 16.52 136.68 25.50 x มหิดล=x ประเทศ+3.33 S.D. ประเทศ 99.961 108.66 26.17 170.95 27.88 x มหิดล=x ประเทศ+2.38 S.D. ประเทศ 99.132 97.86 28.56 170.21 30.26 x มหิดล=x ประเทศ+2.53 S.D. ประเทศ 99.433 86.73 24.65 153.55 29.92 x มหิดล=x ประเทศ+2.71 S.D. ประเทศ 99.661 98.29 34.94 161.63 16.93 x มหิดล=x ประเทศ+1.81 S.D. ประเทศ 96.512 103.46 41.78 180.00 19.65 x มหิดล=x ประเทศ+1.83 S.D. ประเทศ 96.653 80.21 30.39 139.65 17.01 x มหิดล=x ประเทศ+1.96 S.D. ประเทศ 97.481 129.82 18.72 154.00 12.00 x มหิดล=x ประเทศ+1.29 S.D. ประเทศ 90.18 100


3.9.3 ผลการวัดความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษโรงเรียนได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนสูงมาก เพราะถือว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล และการศึกษาต่อไปในอนาคต โรงเรียนจึงกำหนดเป้าหมายไว้ว่า นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียน ควรมีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเฉลี่ยเทียบคะแนน TOEFL (PBT) ประมาณ 500 โรงเรียนได้ดำเนินการประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกปี โดยใช้แบบทดสอบ CU-TEP ของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแบบทดสอบ MWITS-TEP ของโรงเรียน แล้วเทียบเป็นคะแนนTOEFL ผลการประเมินมีรายละเอียดแสดงในตาราง 36ตาราง 36 ผลการประเมินความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ปีการศึกษา 2546-2551 ด้วยแบบทดสอบ CU-TEP และแบบทดสอบ MWITS-TEP เมื่อเทียบเป็นคะแนน TOEFLช่วงคะแนนร้อยละของจำนวนนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา2546 2547 2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>ความหมายมากกว่า 700 - - - - - - - expert user650 – 700 - - - - 0.4 0.4 - very good user600 – 649 0.5 2.5 1.8 6.0 5.6 9.6 5.93 good user550 – 599 9.6 12.4 16.7 15.0 23.9 26.4 30.51 very competent user500 – 549 27.7 24.7 39.8 33.5 32.9 29.6 42.37 competent user450 – 499 45.7 40.6 34.9 39.1 28.6 27.2 16.95 moderate user400 – 449 16.5 19.8 6.8 6.4 8.5 6.8 4.24 marginal userต่ำกว่า 400 - - - - - - - very limited userรวม 100 100 100 100 100 100 100คะแนนเฉลี่ย 489 493 510 513 519.8 530.21 533ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 42.27 49.50 44.31 47.21 51.36 51.60 47 สูงสุด 616 613 628 647 669 658 642ต่ำสุด 403 403 410 410 403 414 411101


3.10 การติดตามนักเรียนเก่า โรงเรียนมีความภูมิใจในนักเรียนเก่าของโรงเรียนเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาที่นักเรียนเรียนอยู่ที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนได้พยายามปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้มีความมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียน เพื่อกลับมาสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ แม้นักเรียนจะสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้ว โรงเรียนยังคงติดตามและสนับสนุนให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอดทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาอุดมการณ์ที่โรงเรียนได้ปลูกฝังในช่วง 3 ปีที่อยู่กับโรงเรียนให้มั่นคงและยั่งยืนในขณะเดียวกัน โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเก่าได้ชักชวนเพื่อนนิสิตนักศึกษาคนอื่นๆ เข้ามาร่วมอุดมการณ์และทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเป็นการขยายอุดมการณ์ของการเป็นคนดี คนเก่ง มีจิตสาธารณะมุ่งที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ ตอบแทนพระคุณของแผ่นดินเกิดของตนเองอย่างเต็มความสามารถให้แผ่ขยายออกไปมากขึ้นปีงบประมาณ <strong>2552</strong> นักเรียนเก่า จำนวน 31 คนได้เข้าร่วมโครงการ “พี่สอนน้อง สอนเสริมวิชาการ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย” เพื่อทบทวนและเพิ่มเติมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้แก่น้องๆ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนได้ติดตามนักเรียนเก่าอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย คณะสาขาวิชาที่เรียน ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการได้รับทุนการศึกษาของนักเรียนเก่าทุกคน และในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ของแต่ละปี โรงเรียนจะรวบรวมข้อมูลผลการเรียนในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนเก่าของโรงเรียนนักเรียนรุ่นที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2547-2549 ที่ศึกษาต่อณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 350 คน ปรากฏว่านักเรียนเก่าของโรงเรียนร้อยละ 46.57 มีผลการเรียนระดับอุดมศึกษาเฉลี่ยมากกว่า 3.50 นักเรียนส่วนหนึ่งได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ณ วันที่ 1 มีนาคม <strong>2552</strong> แสดงดังตาราง 37นักเรียนรุ่นที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเมื่อปีการศึกษา 2546 ขณะนี้ส่วนใหญ่ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว โรงเรียนได้ติดตามว่านักเรียนรุ่นนี้ได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกมากน้อยเพียงใด ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม <strong>2552</strong> พบว่า นักเรียนรุ่นนี้ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทหรือเอกจำนวน 45 คน ในจำนวนนี้ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ จำนวน 14 คน 102


ตาราง 37 จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศตั้งแต่ปีการศึกษา 2546-<strong>2552</strong>ประเภททุนการศึกษาปีการศึกษา2546 2547 2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>1. ทุนพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 1 2 1 2. ทุนเล่าเรียนหลวง 1 3. ทุนโอลิมปิกวิชาการ 2 4 1 9 5 8 44. ทุน ก.พ. 1 1 5. ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ (ก.พ.) 4 8 8 17 10 26. ทุนไทยพัฒน์ (ก.พ.) 6 5 3 4 2 37. ทุนบริษัทวิทยุการบิน (ก.พ.) 1 2 8. ทุนปตท.สผ. (ก.พ.) 1 1 9. ทุนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (ก.พ.) 1 10. ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย (ก.พ.) 1 11. ทุนสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (ก.พ.) 1 12. ทุนสำนักงานโทรคมนาคมแห่งชาติ (ก.พ.) 2 113. ทุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ก.พ.) 1 1 14. ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น 1 1 1 1 3 515. ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส 1 1 16. ทุนรัฐบาลรัสเซีย 1 1 17. ทุนรัฐบาลสโลวัก 1 18. ทุนรัฐบาลสิงคโปร์ 1 19. ทุนรัฐบาลเกาหลี 1 2 20. ทุน Thai Alumni Scholarship 1 21. ทุนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 1 1 22. ทุนมหาวิทยาลัย George Washington 1 23. ทุนมหาวิทยาลัย Grinnell 1 24. ทุนมหาวิทยาลัย Indiana 1 25. ทุนมหาวิทยาลัย KAIST 3 7 726. ทุนมหาวิทยาลัย Lafayette 1 27. ทุนมหาวิทยาลัย Lawrence 1 28. ทุนมหาวิทยาลัย Nanyang 1 1 29. ทุนมหาวิทยาลัย Ritsumeikan 1 2 30. ทุนมหาวิทยาลัย Rochester Institute of Technology 1 31. ทุนมหาวิทยาลัย Wesleyan 1 32. ทุน University of Canterbury 2 4 2 1 1 233. ทุนส่วนตัว 2 4 2 1 1 2รวม 15 26 21 31 39 36 27103


ตาราง 38 จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา <strong>2552</strong> ที่ได้รับทุนศึกษาต่อภายในประเทศประเภททุน สาขาวิชา สถาบันจำนวนนร.1. ทุน พสวท. (ตรี-เอก) วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 12. ทุนโอลิมปิกวิชาการ วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13. ทุนศรีตรังทอง วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 84. ทุนโครงการ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 15. ทุนสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ 2สิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์6. ทุนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1เทคโนโลยีแห่งชาติ7. ทุนบริษัท Western Digital วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 28. ทุนบริษัทเชฟรอนประเทศไทย จำกัด วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 19. ทุนมูลนิธิไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1รวมจำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนศึกษาต่อในประเทศ 21104


ตาราง 39 จำนวนนักเรียนศึกษาต่อในสาขาวิชาต่างๆ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546-<strong>2552</strong>สาขาวิชาจำนวนนักเรียนชั้น ม. 6 แต่ละปีการศึกษา2546 2547 2548 2549 2550 2551 <strong>2552</strong>1. วิทยาศาสตร์ 47 49 38 40 50 42 472. แพทยศาสตร์ 59 88 102 80 90 121 1083. วิศวกรรมศาสตร์ 38 38 41 65 56 44 474. ทันตแพทยศาสตร์ 9 12 14 15 9 7 95. เภสัชศาสตร์ 15 18 11 14 10 4 76. นิติศาสตร์ 5 6 3 2 2 3 57. เศรษฐศาสตร์ 8 8 3 7 5 7 48. บัญชี 4 5 8 3 2 2 49. เกษตรศาสตร์ - - - 1 2 - 210. บริหารธุรกิจ - 2 1 2 2 - 211. สัตวแพทยศาสตร์ 8 - - 3 - 2 112. เทคนิคการแพทย์ - - - - 1 - 113. สถาปัตยกรรมศาสตร์ 3 4 1 - 3 1 114. มัณฑนศิลป์ - - - - - - 115. อุตสาหกรรมการเกษตร - - 1 - - 1 -16. ศิลปศาสตร์ - - 1 - - 1 -17. จิตวิทยา - - - 1 - 1 -18. ประมง 1 - - - 1 - -19. สังคมวิทยา - - - - 1 - -20. นิเทศศาสตร์ 2 2 - - - - -21. สัตวศาสตร์ - 1 - 2 - - -22. สิ่งแวดล้อม - 1 - - - - -23. เทคโนโลยีสารสนเทศ 1 - - - - - -24. รัฐศาสตร์ 1 - - - - - -25. วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 1 - - - - - -รวม 202 234 224 235 234 236 239105


4ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 3ดำเนินการส่งเสริมให้หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ปกครอง นักเรียนเก่าตลอดจนหน่วยงาน และสถาบันต่างๆ สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนเป็นจำนวนมาก การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนดังกล่าว แบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ การช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และการช่วยเหลือทางด้านวัสดุครุภัณฑ์และงบประมาณ4.1 การสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ปกครองและครู อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา และสวัสดิภาพของครูและนักเรียน เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนปัจจุบันนายแพทย์บุญ วนาสิน เป็นนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นอุปนายกสมาคมฯ มีกรรมการบริหารสมาคมฯ ที่มาจากผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 12 คน และจากคณะครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน จำนวน 12 คนปีงบประมาณ <strong>2552</strong> คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานและให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งสิ้น จำนวน 6 ครั้ง นอกจากนั้น คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ยังได้เข้าร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนในการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการบริหารสมาคมผู้ปกครองและครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครูและเจ้าหน้าที่ ผู้แทนนักเรียนเก่า และผู้แทนนักเรียนปัจจุบัน เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม <strong>2552</strong> ณ โรงแรมเมธาวลัย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีปีงบประมาณ <strong>2552</strong> สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวนทั้งสิ้น 1,916,061.31 บาท ให้กับโรงเรียนเพื่อนำไปจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้106


(1) สนับสนุนการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในศูนย์วิทยบริการของโรงเรียน(2) สนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น งาน MWITS Science Fair กิจกรรมกีฬาสีงานวันนัยความทรงจำ งานวัน Home Coming Day งานราตรีศรีตรัง การจัดค่ายบำเพ็ญประโยชน์และค่ายวิชาการ ฯลฯ(3) สนับสนุนการไปเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการของนักเรียนของโรงเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ(4) สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาครูของโรงเรียน ในการไปศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ(5) สนับสนุนการเชิญวิทยากรชาวต่างประเทศมาพัฒนาครูของโรงเรียน ในส่วนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณของโรงเรียนได้นอกจากนี้ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ยังได้ร่วมจัดกิจกรรมกีฬาสีกิจกรรมมหิดลวิทยานุสรณ์สัมพันธ์ เป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครอง นักเรียน และครู เนื่องในโอกาสเปิดภาคเรียน และกิจกรรมงานวันเกียรติยศที่จัดให้กับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของทุกๆ ปีด้วย4.2 ความร่วมมือทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ หน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษาต่างๆโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการและการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการดำเนินงานของโรงเรียนการพัฒนานักเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นอย่างดีมาโดยตลอด ในปีงบประมาณ<strong>2552</strong> โรงเรียนได้รับการสนับสนุน ดังนี้108


ตาราง 40 การสนับสนุนจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และหน่วยงานภายนอกกิจกรรม ปริมาณ หน่วย• ที่ปรึกษาทางวิชาการของสาขาวิชา/ฝ่าย 27 คน• อาจารย์/วิทยากรบรรยายพิเศษให้กับนักเรียน 43 คน• หน่วยงานที่อนุญาตให้นักเรียนศึกษาดูงาน 58 แห่ง• สถาบันที่ให้ความร่วมมือในการฝึกประสบการณ์วิจัย 34 แห่ง• หน่วยงานที่ให้ใช้สถานที่ในการจัดค่ายวิชาการ 7 แห่ง• หน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการทำโครงงานของนักเรียน 6:72 หน่วยงาน:ทุน• จำนวนทุนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา 32 ทุน• หน่วยงานที่ให้สถานที่สอบคัดเลือกนักเรียน ม.4 83 แห่ง• สถาบันการศึกษาที่ให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น34 แห่ง109


5ผลการดำเนินงานตามพันธกิจที่ 4ให้บริการพิเศษทางด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พันธกิจสำคัญของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ประการหนึ่งคือ การเป็นโรงเรียนต้นแบบ ในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนหรือหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้ขยายผลการดำเนินงานของโรงเรียนให้บริการทางวิชาการแก่สังคมหลายประการ ได้แก่ 5.1 การให้บริการวิชาการแก่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ให้ความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานและให้บริการวิชาการโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ตั้งแต่ปีการศึกษา2550 เป็นต้นมา โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับความร่วมมือจากสำนักทดสอบทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นที่ปรึกษาประเมินผลสำเร็จที่โรงเรียนให้บริการทางวิชาการแก่โรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง สรุปได้ดังนี้• ประสิทธิผลการให้บริการวิชาการเมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินการบริการวิชาการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง กับเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า ผลสำเร็จของการบริการวิชาการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 กล่าวคือ ผู้บริหารโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ได้อย่างดี ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และครูผู้สอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย110


มีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ มีการนำหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ มีการนำสื่อ ICTมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ และมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลสำเร็จการให้บริการวิชาการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง• จุดแข็ง จุดอ่อน ของการบริการวิชาการจุดแข็ง1) การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ทำให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง ได้รับงบประมาณมากขึ้น การบริหารจัดการด้านงบประมาณคล่องตัวขึ้น ส่งผลให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย 12แห่ง มีขวัญและกำลังใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบอย่างเต็มกำลังความสามารถ2) การสนับสนุนของผู้บริหารและครูโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ทำให้ผู้บริหารและครูโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษมากยิ่งขึ้น มีสื่อ ICT เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และได้ทราบแหล่งเรียนรู้และแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมายดีขึ้น3) การจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์อันได้แก่ ครุภัณฑ์การศึกษา เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โปรแกรมช่วยสอน ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน และงบประมาณสนับสนุนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ให้แก่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย12 แห่ง ทำให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยสามารถจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างดีจุดอ่อนการเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในห้องวิทยาศาสตร์ โดยคำนึงถึงจำนวนรับนักเรียนตามแผน มากกว่าความสามารถของนักเรียนจะทำให้พิสัยความสามารถของนักเรียนในห้องวิทยาศาสตร์กว้างมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของครู และจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้112


5.2 โครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้นำร่องโครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาตั้งแต่ปี 2548 จนถึง ปี <strong>2552</strong> เพื่อดำเนินการค้นหานักเรียนที่กำลังเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีศักยภาพสูงเยี่ยมด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มาส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพระยะยาวต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี (ม.1-ม.3) มีนักเรียนในโครงการ 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 514 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 535 คน รวม 1,049 คน มีศูนย์ดำเนินการภายใต้การดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ในภูมิภาคต่างๆ รวม 13ศูนย์ และศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ อีก 1 ศูนย์ปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้รับความร่วมมือจากคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ทำการประเมินผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ด้านคณิตศาสตร์ในระดับปานกลาง/พอใช้ ซึ่งน้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มนักเรียนโรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ น้อยกว่ากลุ่มนักเรียนโรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ แต่มีความคิดวิจารณญาณมากกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่า มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ระดับดี มีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ค่อนข้างดี และมีเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างดี 113


นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 2 มีความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับค่อนข้างดี และปานกลางตามลำดับโดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มนักเรียนโรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์เล็กน้อย มีความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และความคิดวิจารณญาณระดับดีและมากกว่ากลุ่มนักเรียน โรงเรียนที่มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ มีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ระดับดีมาก ส่วนเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างดี นักเรียนประเมินตนเองว่า มีการเปลี่ยนแปลงศักยภาพด้านความใฝ่รู้ทางวิทยาศาสตร์(Scientific Curiosity) สติปัญญา (Cognitive Ability) ความสามารถในการคิดเกี่ยวกับการคิด(Meta-Cognitive Ability) หรืออภิปัญญา และบทบาทการเป็นผู้นำการทำงานเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ (Effective Leadership in Group Work) เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับมาก/โดยที่ นักเรียนเองและผู้ปกครองระบุตรงกันว่าเป็นผลมาจากโครงการส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพฯรองลงมาคือโรงเรียน และจากทางบ้านและครอบครัว ตามลำดับประโยชน์ และความรู้สึกที่นักเรียนได้รับจากโครงการอยู่ในระดับมาก 5 ลำดับ เรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ (1) ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม ฝึกการยอมรับความสามารถ และเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น (2) ฝึกทักษะการจัดการ การวางแผน และการทำงานร่วมกัน (3) ได้พัฒนาความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเกินกว่าหลักสูตรปกติ (4) ได้ฝึกการคิดแบบวิเคราะห์สังเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินผล และความคิดสร้างสรรค์ (5) ทำให้เกิดความต้องการศึกษาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้งอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานได้ประเมินความรู้ความสามารถของนักเรียน ซึ่งเป็นผลจากการทำโครงงานอยู่ในระดับดีทุกคน คุณลักษณะเรียงลำดับจากค่าสถิติสูงไปต่ำ คือ (1) ทักษะการสื่อสาร(2) ทักษะการนำเสนอข้อมูล (3) ความคิดสร้างสรรค์ (4) การคิดแก้ปัญหา (5) ความคิดวิจารณญาณ(6) ทักษะในการสืบค้นข้อมูล ส่วนความรู้ความเข้าใจในการวิธีการ ทักษะ เกี่ยวกับการทำโครงงาน ผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ศักยภาพของนักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น และเห็นว่านักเรียนมีความสุขในการเข้าร่วมโครงการ มีพัฒนาการในการคิดเพิ่มขึ้น กระตือรือร้นในการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มีความเอื้ออาทร และใช้เหตุผลในการค้นหาความจริง หรือข้อสรุป และช่วยในการตัดสินใจ ผู้ปกครองเองส่วนมากเห็นด้วย ถ้าหากนักเรียนจะมุ่งเรียนเพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ปีงบประมาณ 2551 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดต่างๆ ขยายโครงการจากเดิมที่โรงเรียนจัดทำเป็นโครงการนำร่องจำนวน 14 ศูนย์ เป็น 52 ศูนย์ โดยได้รับการสนับสนุนทางด้านวิชาการจาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ จากการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า114


1. กรอบการดำเนินงานและการดำเนินงานของแต่ละจังหวัดเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ มีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการบ้าง แต่แก้ไขได้ ไม่มีการต่อต้านระหว่างการดำเนินการ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นไปด้วยดี 2. การประชุมระหว่างคณะทำงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจง และทำความเข้าใจในเป้าหมาย วิธีการและผลลัพธ์ของโครงการ มีบางจังหวัดที่ยังเกิดความคลาดเคลื่อนในเป้าหมายและวิธีการ3. จากการสังเกต แต่ละจังหวัดมีความเอาใจใส่ต่อนักเรียนที่เข้าโครงการเป็นอย่างดี 4. กิจกรรมวิชาการในค่ายพัฒนาศักยภาพ ผู้ดำเนินการตระหนักและให้ความสำคัญกับศักยภาพของนักเรียนมากกว่าเนื้อหา มีเพียงผู้ปกครองบางส่วนที่เห็นว่าควรจะเน้นความเข้มข้นของเนื้อหาด้วย5.3 การให้บริการศึกษาดูงาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โรงเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับมัธยมศึกษามาโดยตลอด ผลการดำเนินงานอันเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับและกลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานของโรงเรียนต่างๆแต่ละปีมีผู้มีความประสงค์มาศึกษาดูงานที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จำนวนมาก ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาและการบริหารจัดการหลักสูตร การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาสื่อการสอน ปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีผู้มาศึกษาดูงานจำนวน 56 คณะ 1,800 คน จำแนกเป็นครู 1,114 คน ผู้บริหาร 170 คน นักเรียนนักศึกษา 439 คน บุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ 77 คน 5.4 การให้บริการจัดค่ายดาราศาสตร์โรงเรียนมีสื่อการสอนดาราศาสตร์ และระบบภาพยนตร์ดาราศาสตร์ 3 มิติ ซึ่งได้ลิขสิทธิ์จากSwinburne University ประเทศออสเตรเลีย สื่อดังกล่าวเป็นสื่อการเรียนการสอนดาราศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงมาก โรงเรียนได้ใช้สื่อดังกล่าวในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรค่ายดาราศาสตร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2-4 ที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดทำขึ้น โดยที่นักเรียนแต่ละช่วงชั้นเมื่อมาเข้าค่ายเป็นเวลา 1 หรือ 2 วัน สามารถเรียนรู้วิชาดาราศาสตร์ที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้จัดบริการค่ายดาราศาสตร์ให้กับนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ จำนวน 9 ค่าย มีนักเรียนเข้ารับการอบรมจำนวน 369 คน ครูเข้าร่วมกิจกรรมค่ายจำนวน 38 คน และมีครูและนักเรียนขอเข้าชมภาพยนตร์ดาราศาสตร์ 3 มิติ 18 ครั้ง จำนวน 2,082 คน 115


6เป้าหมายสำคัญที่เป็นจุดเน้นในการดำเนินงานปีงบประมาณ 25536.1 การคัดเลือกนักเรียนในปีงบประมาณ 2553 โรงเรียนมีแผนที่จะวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องมือ และวิธีการที่ใช้ในการคัดเลือกนักเรียนที่โรงเรียนได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการและเครื่องมือ หลังจากนั้นโรงเรียนจะจัดให้มีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิโดยใช้ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นฐานในการระดมความคิด เพื่อหาวิธีการคัดเลือกนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นขณะเดียวกัน โรงเรียนก็จะยังคงดำเนินการคัดเลือกนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง และดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนรอบแรก ให้กับโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการวมว.) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อเนื่องต่อไป6.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกจากจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย ให้นักเรียนได้สามารถเลือกเรียนหรือเลือกเข้าร่วมกิจกรรมตามความรัก ความถนัด ความสามารถ และความสนใจอย่างที่เคยปฏิบัติมาในปีก่อนๆ แล้ว การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2553 จะมีจุดเน้นเพิ่มเติม ดังนี้1) นำแนวคิดการจัดการเรียนการสอนแบบ Inquiry-Based & Problem-Based Learningมาใช้ให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะพยายามขยายแนวคิดดังกล่าวไปยังโรงเรียนอื่นๆ ให้มากขึ้นด้วย2) จัดหาสถานที่และส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทุกคน ได้ไปฝึกประสบการณ์ในศูนย์วิจัยต่างๆ เฉลี่ยคนละประมาณ 2 สัปดาห์3) ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษให้มากขึ้น116


4) ปรับปรุงโครงการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนในต่างประเทศให้มีจุดเน้นทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น5) ให้ความสำคัญกับการทำโครงงานของนักเรียนมากขึ้น โดยจะพยายามเชิญชวนนักวิจัยจากหน่วยงานภายนอกมาเป็นที่ปรึกษาโครงงานของนักเรียนให้มากขึ้น และจัดให้นักเรียนมีเวลาในการไปทำโครงงาน ณ ศูนย์วิจัย หรือสถาบันอุดมศึกษา ภายนอกมากขึ้น6) ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสไปเสนอผลงาน แข่งขันทางวิชาการ และเข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิชาการในต่างประเทศให้มากขึ้น6.3 การพัฒนาครูครูเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพการจัดการศึกษา ในปีงบประมาณ 2553 โรงเรียนดำเนินการพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ครูแต่ละคนได้รับโอกาสการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสมเท่าเทียมกันให้มากขึ้น โรงเรียนตั้งเป้าว่าครูแต่ละคนควรได้รับการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่างๆไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมงต่อปีการส่งเสริมการศึกษาต่อเพื่อเสริมสร้างครูในอนาคต ก็จะดำเนินการตามแผนที่วางไว้ โดยมีเป้าหมายว่าในปีงบประมาณ 2560 ครูของโรงเรียนประมาณร้อยละ 20 จะมีวุฒิปริญญาเอกในสาขาวิชาที่สอน6.4 การบริการวิชาการนอกจากการดำเนินการสนับสนุนโครงการห้องวิทยาศาสตร์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยและโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแล้ว ในปีงบประมาณ 2553 โรงเรียนจะพยายามพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิสก์บนฐานข้อมูลของโรงเรียนให้มากขึ้น ให้นักเรียน ครู และผู้สนใจอื่นๆ ภายนอก สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้จากฐานข้อมูลของโรงเรียนได้มากขึ้นในระบบออนไลน์6.5 การดำเนินงานในภาพรวมในปีงบประมาณ 2553 โรงเรียนมีเป้าหมายในการดำเนินงานในภาพรวมให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่โรงเรียนและ กพร. ได้ร่วมกันกำหนดขึ้น ดังนี้118


ตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตัวชี้วัด เป้าหมายปี 2553มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 60) 1.1 ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) โดยเฉลี่ยของนักเรียนของโรงเรียน 90%ile1.2 ผลการทดสอบความถนัดเฉพาะวิชาชีพ (PAT)โดยเฉลี่ยของนักเรียนของโรงเรียน 1.2.1 คณิตศาสตร์ (PAT1)1.2.2 วิทยาศาสตร์ (PAT2)1.3 จำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติใน 6 สาขาวิชาทั้งที่ดำเนินการโดย สสวท. 5 สาขาวิชาและสอวน. 1 สาขาวิชา1.4 ผลสำเร็จของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์1.4.1 จำนวนโครงงานที่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อร่วมแสดงงานประชุมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วทท.) หรือที่ประชุมวิชาการระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ1.4.2 จำนวนโครงงานของนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกไปร่วมแสดงผลงานในต่างประเทศ1.4.3 จำนวนโครงงานของนักเรียนที่ได้รับรางวัลจากการประกวดของสมาคมฯ ระดับประเทศและระดับ นานาชาติ1.5 ผลสำเร็จด้านการศึกษาต่อของนักเรียนของโรงเรียน1.5.1 ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับทุนเข้าศึกษาต่อในประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับปริญญาตรีจากแหล่งทุนเป้าหมาย1.5.2 จำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาตรีขึ้นไป1.5.3 ร้อยละของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อตั้งแต่ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยชั้นนำ 50 ลำดับแรกของสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1.5.4 จำนวนนักเรียนที่ศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1.5.5 ร้อยละของนักเรียนที่ศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน1.6 จำนวนรายวิชาในหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช <strong>2552</strong> ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Problem-Based Learning หรือ Inquiry- Based Learning1.7 ผลสำเร็จของการส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน1.7.1 จำนวนหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการให้นักเรียนทำโครงงานวิจัยและฝึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์1.7.2 ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับผลการประเมินจากหน่วยงานวิจัยในระดับดีขึ้นไป80%ile80%ile8 คน8 โครงงาน21 โครงงาน10 โครงงานร้อยละ 3034 คนร้อยละ 19222 คนร้อยละ 182 รายวิชา18 หน่วยงานร้อยละ 601.8 ร้อยละของผลสำเร็จในการให้บริการกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ร้อยละ 80มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ (ร้อยละ 10) 2.1 ร้อยละความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่องานบริการของโรงเรียน ร้อยละ 852.2 ร้อยละความพึงพอใจของหน่วยงานภายนอกที่โรงเรียนให้บริการ ร้อยละ 85มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 10) 3.1 ระดับความสำเร็จในการใช้ต้นทุนต่อหน่วยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของโรงเรียน ระดับ 33.2 ระดับความสำเร็จในการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ว่าด้วยการเงินและการบัญชี ระดับ 3พ.ศ. 2543มิติที่ 4 มิติด้านการกำกับดูแลกิจการและพัฒนาองค์การ (ร้อยละ 20) 4.1 ระดับการพัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาองค์การ ระดับ 3119


7รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเสนอ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และงบรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน ของโรงเรียนมหิดลวิทยานสุรณ์ (องค์การมหาชน) ซึ่งผู้บริหารของโรงเรียนฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2551 ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่นในสำนักงานเดียวกันกับข้าพเจ้า ซึ่งแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 15 มกราคม <strong>2552</strong>ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินได้แสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้นตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้าข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปบริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัดกรุงเทพมหานครวันที่ 10 มีนาคม 25532010/172/7837(นายธนะวุฒิ พิบูลย์สวัสดิ์)ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 6699120


โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551งบแสดงฐานะการเงินบาทหมายเหตุ <strong>2552</strong> 2551สินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 3 220,593,990.66 219,902,093.43ลูกหนี้เงินยืม 4 291,800.00 907,450.00รายได้ค้างรับ 5 194,416.50 518,889.89วัสดุคงเหลือ 2.6, 6 450,321.10 432,477.67สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 7 44,270.00 402,237.44รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 221,574,798.26 222,163,148.43สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอาคารและอุปกรณ์ (สุทธิ) 2.7, 9 321,045,091.61 316,443,095.46สินทรัพย์ระหว่างดำเนินการ 10 - 11,013,130.00สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (สุทธิ) 2.8, 11 3,009,102.75 2,127,248.91รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 324,054,194.36 329,583,474.37รวมสินทรัพย์ 545,628,992.62 551,746,622.80(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์) ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (นางสาววาสนา รัตนศรีทอง)หัวหน้าฝ่ายคลังและพัสดุหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้122


โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ)บาทหมายเหตุ <strong>2552</strong> 2551หนี้สินหนี้สินหมุนเวียนเจ้าหนี้ 12 2,121,519.72 2,316,059.56ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 13 1,461,238.00 1,225,590.75รายได้รับล่วงหน้า 14 4,201,000.00 4,048,800.00รายได้จากเงินบริจาคและสนับสนุนโครงการรอการรับรู้ 15 1,740,386.96 1,376,414.33หนี้สินหมุนเวียนอื่น 16 1,949,925.48 776,469.18รวมหนี้สินหมุนเวียน 11,474,070.16 9,743,333.82หนี้สินไม่หมุนเวียนรายได้จากการรับบริจาคอาคาร 17 20,841,658.87 22,923,254.02อุปกรณ์และครุภัณฑ์รอการรับรู้กองทุนสวัสดิการผู้ปฏิบัติงานโรงเรียน 18 35,661.96 44,438.79หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 19 1,219,276.00 1,365,496.00รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 22,096,596.83 24,333,188.81รวมหนี้สิน 33,570,666.99 34,076,522.63สินทรัพย์สุทธิ 512,058,325.63 517,670,100.17สินทรัพย์สุทธิทุนประเดิม 20 95,124,768.68 95,124,768.68กองทุนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 21 33,073,144.60 26,234,727.88รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสม 22 383,860,412.35 396,310,603.61รวมสินทรัพย์สุทธิ 512,058,325.63 517,670,100.17(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์) ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (นางสาววาสนา รัตนศรีทอง)หัวหน้าฝ่ายคลังและพัสดุหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้123


โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)งบรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551บาทหมายเหตุ <strong>2552</strong> 2551รายได้จากการดำเนินงานรายได้จากรัฐบาลรายได้จากเงินงบประมาณ 23 257,229,300.00 233,507,900.00รวมรายได้จากรัฐบาล 257,229,300.00 233,507,900.00รายได้จากแหล่งอื่นรายได้ค่าหอพักนักเรียน 9,327,500.00 9,275,500.00รายได้จากเงินบริจาค 3,408,785.00 3,206,630.00รายได้จากเงินบริจาคและสนับสนุนโครงการ 15 2,153,100.00 2,507,154.42รายได้ดอกเบี้ยรับ 4,969,903.64 6,846,535.38รายได้อื่น 24 13,687,416.99 11,677,596.05รวมรายได้จากแหล่งอื่น 33,546,705.63 33,513,415.85รวมรายได้จากการดำเนินงาน 290,776,005.63 267,021,315.85ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่าใช้จ่ายบุคลาหร 25 86,897,907.75 81,351,721.57ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 26 134,774,632.67 98,287,602.61ค่าใช้จ่ายจากเงินบริจาคและสนับสนุนโครงการ 15 2,153,100.00 2,437,800.00ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 27 41,527,817.61 39,649,555.78ทุนการศึกษา 31,570,000.00 31,394,000.00รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 296,923,458.03 253,120,679.96รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงาน (6,147,452.40) 13,900,635.89บวก กำไร (ขาดทุน) จากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ - (391,890.98)รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (6,147,452.40) 13,508,744.91(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี นาคะผดุงรัตน์) ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (นางสาววาสนา รัตนศรีทอง)หัวหน้าฝ่ายคลังและพัสดุหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้124

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!