12.07.2015 Views

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong>AG-BION e w s l e t t e rISSN: 1906-5817ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2552 Vol. 1 No. 4 October - December 2009 Research Outreachว่าด้วยการวิจัย 4สัมภาษณ์พิเศษ : ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ ผู้บุกเบิกการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวานของไทย 10ความเข้าใจผิดเรื่องการดูแลต้นสะละ 13การใช้ประโยชน์จากเห็ดเรืองแสง 14ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


ผลงานเด่น<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> :ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อปรับปรุงพันธ์ุยูคาลิปตัส ระหว่าง<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong>และศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี บริษัท เอส ซี จี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน)เอส ซี จี เปเปอร์ (SCG paper)เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเยื่อกระดาษและบรรจุภัณฑ์ ในเครือ เอส ซี จี หรือ ซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม งานวิจัยและพัฒนาเพื่อก่อให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ ๆตลอดเวลา จากแนวทางดังกล่าวทำให้เกิดความร่วมมือเพื่อที่ปรับปรุงพันธ์ุยูคาลิปตัสซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเยื่อกระดาษโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ความร่วมมือนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2549จากทีมอาจารย์ของ<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ได้เข้าช่วยทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการปลูกยูคาลิปตัสในภาคตะวันตก ทำให้เกิดความร่วมมือมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมเริ่มต้นขึ้น และจากการที่ SCG paper มีความต้องการจะใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่มาทำการปรับปรุงพันธ์ุยูคาลิปตัส ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการผลิตเยื่อมากขึ้น จึงได้มีการหารือระหว่างผู้บริหารของบริษัทฯ และศูนย์ฯ โดยบริษัทฯ เห็นว่า ศูนย์ฯ เป็นแหล่งที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ ทำให้สามารถใช้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์นี้ต่อยอดให้กับนักวิจัยของบริษัทฯ ให้สามารถทำงานวิจัยในด้านนี้ได้รวดเร็วขึ้นกว่าการที่บริษัทฯ สร้างองค์ความรู้และประสบการณ์เอง บริษัทฯ ได้ตกลงในความร่วมมือดังกล่าวนี้ โดยมีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีชีวภาพขึ้นใน<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> การทำวิจัยในศูนย์ฯนอกจากจะได้รับการปรึกษาจากทีมอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว บริษัทฯสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการจัดหาอุปกรณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีราคาแพงได้เนื่องจากสามารถใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการกลางร่วมกับคณาจารย์และนักวิจัยของศูนย์ฯ ได้การดำเนินงานวิจัยในมหาวิทยาลัย นอกจากการเป็นการต่อยอดองค์ความรู้และได้รับคำแนะนำจากทีมคณาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว นักวิจัยของบริษัทฯ ยังทำงานในสถานที่ที่มีความตื่นตัวทางวิชาการอยู่ตลอดเวลาสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นวารสาร หนังสือ ตลอดจนการเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งศูนย์ฯ ได้จัดให้มีอย่างสม่ำเสมอ การดำเนินการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่นั้น เป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในหลาย ๆ ด้าน การที่บริษัทฯ ได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยทำให้สามารถทำงานวิจัยในเชิงลึกได้ โดยที่บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องมีนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในทุก ๆ ด้าน ในปัจจุบัน SCG paper มีงานวิจัยทั้งที่อยู่ในระหว่างการวิจัย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในส่วนที่อยู่ระหว่างการวิจัย ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เพื่อลดปริมาณลิกนินในคุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG paper และคณะ เข้าเยี่ยมชมผลงานความร่วมมือเนื้อไม้ การเพิ่มความทนทานต่อสภาพแวดล้อมให้กับยูคาลิปตัส ส่วนงานวิจัยที่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลในการจำแนกพันธ์ุ และการศึกษาความหลากหลายของต้นพ่อแม่พันธ์ุที่ใช้ในการผสมพันธ์ุ การพัฒนาเทคนิดการคัดเลือกยูคาลิปตัสทนดินเนื้อปูน เป็นต้นความร่วมมือระหว่างผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัยคือฝ่ายบริษัทฯ กับฝ่ายที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญคือเหล่าคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ค่อยปรากฏในประเทศเรามากเท่าใดนัก ทำให้ในช่วงแรกเกิดข้อท้วงติงว่าอาจไม่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงนั้น สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงด้วยความร่วมมือเช่นเดียวกับที่<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong>ร่วมมือกับ SCG paper ผลจากความร่วมมือกันระหว่างศูนย์ฯ และ SCG paper ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการวิจัย ทำให้การวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธ์ุยูคาลิปตัสของ SCG paper นั้นมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาพันธ์ุยูคาลิปตัสโรงเรือนสำหรับปลูกทดสอบยูคาลิปตัสของ SCG paper ภายใน<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนต้นกล้ายูคาลิปตัสที่ปรับปรุงพันธ์ุด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่


คณะที่ปรึกษาพงศ์เทพ อัครธนกุลวิชัย โฆสิตรัตนจุลภาค คุ้นวงศ์พิศาล ศิริธรพิทยา สรวมศิริวัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ดสุมิตรา ภู่วโรดมเสริมศิริ จันทร์เปรมพีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์จรัสศรี นวลศรีประวิตร พุทธานนท์ปิยะดา ตันตสวัสดิ์พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์บรรณาธิการสุจินต์ ภัทรภูวดลผู้ช่วยบรรณาธิการจุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์อรอุบล ชมเดชกองบรรณาธิการจริยา หมื่นแก้วชิตพันธุ์ คติวัฒน์นุช ศตคุณเนตรนภา ปัญญามูลพรทิพย์ ทองคำพรรณทิพย์ กาญจนอุดมการพัชรินทร์ จูมีศรัณย์พร ทิวจิรกุลศรุชา เสนกันหาสุคณา ศรีทับอมรรัตน์ จันทนาอรพินท์อรอุษา ลาวินิจอัญชนา อินทรกำแหงอัญชลี วงษาบทความและข้อความที่ตีพิมพ์ใน<strong>ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> เป็นความคิดเห็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ไม่มีส่วนรับผิดชอบ หรือผูกพันอย่างใด ข้อมูลบางส่วนอาจตีพิมพ์ผิดพลาด ศูนย์ฯ ยินดีแก้ไขให้ในฉบับต่อไปออกแบบและจัดทำโดยบริษัท โกลด์ ฟีกเกอร์ จำกัดโทรศัพท์ 02-883-5163-4 โทรสาร 02-883-0419คุยกับบรรณาธิการต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านและผู้ติดตาม<strong>ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร หลายท่านได้กรุณาให้คำแนะนำต่างๆ และได้ติดต่อแจ้งเปลี่ยนชื่อและที่อยู่เพื่อให้เราจัดส่งข่าวสารฯ ให้ท่านได้อย่างถูกต้อง กองบรรณาธิการยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ และหากท่านต้องการติดต่อให้เราจัดส่งข่าวสารฯ ไปที่ใด สามารถแจ้งได้ทาง e-mail หรือท่านสามารถติดตามอ่านข่าวสารฯ ทุกฉบับได้จากเว็บไซต์ http://www.cab.kps.ku.ac.thข่าวสารฯ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 4 ที่นำเสนอข้อมูลในด้านการสร้างหุ้นส่วนทางวิชาการของศูนย์ฯ กับ เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งท่านสามารถติดตามแนวคิดนี้ได้ในส่วนของ คุยกับผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรนอกจากนี้ยังมีบทความที่แสดงให้เห็นบทบาทของวิทยาศาสตร์ “จากศูนย์ฯ สู่สวน”ผ่านงานวิจัยของ ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ เรื่อง ความเข้าใจผิดเรื่องการดูแลต้นสะละสำหรับบทสัมภาษณ์พิเศษ เป็นการสัมภาษณ์ ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ : ผู้บุกเบิกการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวานของไทย และยังมีข่าวสารที่น่าติดตามเรื่อง การใช้ประโยชน์จากเห็ดเรืองแสงอยู่ส่วนของ AgBiotech Hot Newsท้ายสุดนี้ขอขอบพระคุณท่านผู้เขียนบทความและอีกหลายๆ ท่านที่สละเวลาให้กองบรรณาธิการได้ไปสัมภาษณ์ ซึ่งทำให้เราสามารถตีพิมพ์ข่าวสารฯ นี้ให้มีเนื้อหาที่น่าติดตามพบกันปีหน้า 2553 สวัสดีค่ะ สุจินต์ ภัทรภูวดลagrsujp@ku.ac.thผลงานเด่น<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong>: ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อปรับปรุงพันธ์ุยูคาลิปตัสคุยกับผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: ว่าด้วยการวิจัยแนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร:<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลสัมภาษณ์พิเศษ ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำ: “ผู้บุกเบิกการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวานของไทย” สารบัญPERDO TODAY: การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับประเทศไทย 12เรื่องน่ารู้ AgBiotech: จากศูนย์ฯ สู่สวน: ความเข้าใจผิดเรื่องการดูแลต้นสะละ 13AgBiotech Hot News: การใช้ประโยชน์จากเห็ดเรืองแสงภาพข่าวกิจกรรม246101416


คุยกับผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: ว่าด้วยการวิจัย“เราไม่ใช่ประเทศเล็ก แต่เราลงทุนในการวิจัยกันเสมือนประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ”ระยะหลัง ๆ นี่ในแวดวงมหาวิทยาลัย มีการพูดคุยวิพากย์วิจารณ์เรื่องโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติกันมากโครงการนี้เป็นโครงการของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ที่ได้คัดเลือกสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย 9 แห่ง เพื่อที่จะให้ความสนับสนุนให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ผมจะไม่ขอแจงรายละเอียดของโครงการนี้ในขณะนี้ เท่าที่ได้รับทราบว่า สกอ. ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการได้ โดยใช้งบประมาณจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 หรือที่เรียกว่า Stimulus Package 2(SP2) ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ ยังไม่มีการยืนยันว่ามหาวิทยาลัยวิจัยทั้ง 9 แห่ง จะได้รับงบประมาณจำนวนเงินมากน้อยเท่าใด และคงต้องรอให้ SP2 ผ่านการประชุมของรัฐสภาก่อนถึงจะได้รับเงิน สร้างความกังวลเรื่องจะได้เงินหรือไม่ได้เงิน แต่ประชาคมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยได้รับคำยืนยันจากท่านนายกรัฐมนตรีว่าจะจัดงบให้พอเพียง ซึ่งแปลว่าถ้าเป็นไปตามวงเงินที่ว่า มหาวิทยาลัยวิจัยแต่ละแห่งจะได้รับเงินงบประมาณ ในวงเงินไม่กี่ร้อยล้านบาทต่อปี รัฐบาลมีแผนเพิ่มงบประมาณวิจัยของประเทศไทยขึ้นอีก จนถึงประมาณร้อยละ 1 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศ ก็ต้องรอกันไปด้วยความหวัง4AG-BIOพูดถึงเรื่องงบประมาณวิจัยของประเทศไทยนี่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐ ระบุว่าประเทศไทยใช้งบประมาณในการวิจัยปีละประมาณ 15,000 ล้านบาท เป็นงบวิจัยของรัฐประมาณร้อยละ 60 และเอกชนประมาณร้อยละ 40วงเงินขนาดนี้ต้องถือว่าน้อยมาก สำหรับประเทศที่มีประชากรมากกว่า 60 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 1 ของประชากรโลก มีโครงสร้างเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีพลังงานและวัตถุดิบ เพื่อผลิตสินค้าส่งออก โดยมีขนาดของเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์มวลรวม จัดในกลุ่ม 30 ประเทศแรกของโลก ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารติดอันดับ 1-20 อันดับแรกของโลกสี่สิบกว่ารายการ แต่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีในอนาคต 10 ปีข้างหน้า ที่รายงานของ CIA ประเมินว่าอยู่ราว ๆอันดับประมาณที่ 70 ใกล้เคียงกับประเทศอูกานด้า ในแอฟริกาถ้าผมจะสรุปภาพง่าย ๆ ก็คือ มองในด้านขนาดของเศรษฐกิจ และประชากร เราไม่ใช่ประเทศเล็ก แต่เราลงทุนในการวิจัยกันเสมือนประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ


ผมมีข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ 3-4 ข้อ เล่าสู่กันฟัง ดังนี้ :1. งบประมาณวิจัยภาครัฐ สำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขาของประเทศไทย รวมกันทั้งประเทศน้อยกว่างบวิจัยเฉพาะด้านการเกษตรด้านเดียวของรัฐบาลกลางประเทศอินเดีย2. เราใช้งบวิจัยรวมกันทั้งประเทศต่อปี น้อยกว่างบประมาณวิจัยของมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งที่จัดในกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ 20 แห่งแรกของสหรัฐอเมริกา3. งบวิจัยของประเทศไทย มีวงเงินใกล้เคียงกับงบวิจัยสำหรับมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐขนาดกลาง ๆ แห่งหนึ่งของอเมริกาเท่านั้น4. มูลค่าผลผลิตที่เกิดจากบริษัทประมาณ 4,000 บริษัทรอบ ๆ เมืองบอสตัน ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้อานิสงค์จากงานวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์(MIT) เพียงสถาบันเดียว มีค่าใกล้เคียงกับผลผลิตมวลรวมของประเทศไทย และอาฟริกาใต้ ซึ่งแปลว่ามหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาเพียงมหาวิทยาลัยเดียว สามารถสร้างเทคโนโลยีที่มีมูลค่าได้เท่าเทียมกับผลผลิตมวลรวมของประเทศเราทั้งประเทศมองสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองรอบ ๆ ตัวขณะนี้ผมไม่แน่ใจว่าเราจะปรับปรุงโครงสร้างการวิจัยของประเทศกันอย่างไร? จะเพิ่มงบวิจัยของประเทศเราให้ขึ้นไปเป็น 7-8 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 1% ของ GDP ได้หรือไม่? เราจะลืมตาอ้าปากด้วยการเพิ่มทุนทางปัญญาให้กับสังคมเราอย่างไร? เอาล่ะ! ในเมื่อเหตุการณ์ปัจจุบันเราอยู่ในสภาพที่มีงบประมาณวิจัยน้อย การสร้างมูลค่าเพิ่มจากงบวิจัยที่ได้รับอย่างจำกัด และการเพิ่มประสิทธิภาพจากเงินทุกบาทที่ลงทุนวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องร่วมแรงร่วมใจ ร่วมลงทุน ร่วมตรวจสอบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการวิจัยกันมากขึ้น ที่สำคัญที่สุดเราต้องเชื่อมั่นว่า การวิจัยที่ดีจะนำมาซึ่งการเรียนรู้การพัฒนา เป็นการเพิ่มทุนทางปัญญาให้กับประเทศ ประชาคมวิจัยไทยต้องทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น ทั้งทางด้านการกินการอยู่ และการมีปัญญา ผมเคยเรียนเสนอผู้บริหารวงการวิจัยท่านหนึ่งว่า คำถามสามัญ ๆ สำหรับถามนักวิจัยก่อนอนุญาตให้นำเงินภาษีไปใช้ในกิจกรรมที่เรียกว่า “วิจัย” มี 2 ชุด ชุดคำถามแรก เป็นคำถามสำหรับถามนักวิจัย ที่ประกาศว่าตัวเองอยากทำงานวิจัยพื้นฐาน(basic research) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คำถามที่จะใช้ถามนักวิจัยกลุ่มนี้ควรถามง่าย ๆ ว่า วิจัยแล้วข้อมูลที่ได้จากการวิจัยทำให้ผู้คนฉลาดขึ้นหรือไม่? ถ้าฉลาดขึ้น ใครฉลาด? นักวิจัย? นักศึกษา? หรือชุมชน? หรือประเทศ? หรือมนุษยชาติ? วิจัยเสร็จแล้วความรู้ที่ทำให้ผู้คนฉลาดขึ้น เป็นความรู้ที่เป็น “สากล” หรือ“ท้องถิ่น” จะสื่อสารกับผู้เสียภาษี ซึ่งเป็นผู้ลงทุนให้วิจัย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาคมวิจัยอย่างไร? จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษลงพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ประเภทมี high impact factorและจะอธิบายผู้เสียภาษีทราบกันอย่างไรว่าเขาก็ได้ประโยชน์?ส่วนคำถามอีกชุดหนึ่ง สำหรับไว้ถามนักวิจัยที่ทำงานแนวประยุกต์ ได้แก่ คำถามที่ว่า วิจัยแล้วแก้ปัญหาได้หรือไม่? ใช้ประโยชน์ได้หรือไม่? ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ ผู้เสียภาษี คนยากคนจน คนรวย ผู้บริโภค หรือผู้ประกอบการ? ไทยหรือเทศ? วิจัยเสร็จแล้วจะสื่อสารกับภาคผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคประชาคมนักวิจัย และผู้เสียภาษีที่ลงทุนให้ทำวิจัยด้วยวิธีไหน?อย่างไร? ผมเคยคุยกับผู้บริหารงานวิจัยของประเทศเพื่อนบ้านเราคนหนึ่ง เขาเล่าว่าสำหรับเขาจะมีคำถามนักวิจัยเพียงคำถามเดียวว่า “วิจัยเสร็จแล้วผลงานขายได้หรือไม่?” วิธีคิดอย่างนี้เหมาะหรือไม่เหมาะกับเราอย่างไร?สำหรับความเห็นของผม ถ้าหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณวิจัยได้คำตอบต่อคำถามต่าง ๆ อย่างชัดเจนจากนักวิจัย ก็จะเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจได้ว่า รัฐควรลงทุนเงินภาษีจากราษฎรในการวิจัยหรือไม่ และควรมีใครบ้างที่จะเป็นหุ้นส่วนในการลงทุนและการดำเนินการวิจัยในโครงการต่าง ๆสูตรของการลงทุนก็ง่าย งานวิจัยที่เป็นสาธารณประโยชน์ผู้ลงทุนควรเป็นผู้เสียภาษี โดยผ่านกลไกงบประมาณของระบบหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นหุ้นส่วนกับเอกชนที่มีสำนึก และอยากแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับงานวิจัยที่จะมีผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรง กลุ่มผู้ประกอบการ สถาบันตัวแทนผลิตภัณฑ์หรือสินค้ากองทุนผลิตภัณฑ์ ฯลฯ และรัฐในฐานะตัวแทนผู้บริโภค ที่จะได้ประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ควรร่วมกันลงทุน ข่าวสารของศูนย์ฯ ฉบับนี้มีบทความ และบทสัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับการร่วมวิจัยและให้บริการ ระหว่างนักวิจัยของ<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> กับ กลุ่มเกษตรกร และภาคเอกชน เป็นตัวอย่างใกล้ตัวที่เก็บมาเล่าสู่กันฟัง หวังว่าคงเป็นประโยชน์ พงศ์เทพ อัครธนกุล5AG-BIO


แนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong>ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ณ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันร่วมของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สบว) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านการศึกษา เงินสนับสนุนวิจัยบางส่วนและครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรรวมทั้งแหล่งทุนสนับสนุนอื่น ๆ จากทั้งภายในประเทศ รวมทั้งแหล่งทุนจากต่างประเทศ พร้อมทั้งดำเนินการประสานงาน และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการวิจัยกับคณาจารย์ในภาควิชาต่าง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้แก่ ภาควิชาพฤกษศาสตร์, ภาควิชาจุลชีววิทยา, และภาควิชาชีววิทยา รวมทั้งอาจารย์จากภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีบัณฑิตที่ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาภายใต้โครงการ จบการศึกษาไปแล้วในระดับปริญญาโท จำนวน 62 คน ระดับปริญญาเอก 14 คน โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและอยู่ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ฯ ดังนี้ 6AG-BIO


1.งานวิจัยด้านจุลินทรีย์ ได้มีการศึกษาวิจัยด้านการปรับปรุงสายพันธ์ุจุลินทรีย์ เช่น Bacillusthuringiensis เพื่อใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยศึกษากลไกการควบคุมการแสดงออกของยีนที่สร้าง Crystal toxin ทั้งในระดับ transcription และ translation การศึกษาแบคทีริโอซินจากเชื้อในกลุ่ม Lactic acid bacteria การศึกษาเชื้อStreptomyces และราเอนโดไฟท์ในการควบคุมราโรคพืชชนิดต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการคัดกรองเชื้อ Streptomyces และเชื้อราที่สร้างสารออกฤทธิ์ชีวภาพชนิดใหม่ และได้ศึกษาการสร้างเอนไซม์ที่มีประโยชน์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น เอนไซม์ N-acylhomoserine lactonase ที่เป็น Quenching enzyme ยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบหลายชนิดที่ก่อโรคในพืช เอนไซม์ chitinaseที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราหรือหนอนแมลงศัตรูพืช การศึกษาการฟอกกาวไหมโดยใช้เอนไซม์ที่มีความจำเพาะจากเชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติ เพื่อลดการใช้สารเคมี อีกทั้งสามารถควบคุมคุณภาพในกระบวนการฟอกได้ ซึ่งการใช้เอนไซม์จากแบคทีเรียที่แยกได้ (LC-1-1, LC-1-6) จะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดีกว่าการใช้สารฟอก และเส้นไหมมีคุณภาพดีไม่แยกตัว นอกจากนี้มีการศึกษายีสต์ทนร้อน โดยศึกษาบทบาทของยีนที่ทำให้ยีสต์เจริญเติบโตได้ที่อุณหภูมิสูงและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองต่อสภาวะความเครียดจาก Osmotic pressure กับการทนร้อนเพื่อให้เข้าใจกลไกพื้นฐานระดับโมเลกุลของการเจริญเติบโตของยีสต์ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาสายพันธ์ุยีสต์ที่มีคุณสมบัติทนร้อนและผลิตเอทานอลอย่างมีประสิทธิภาพงานวิจัยด้านจุลินทรีย์อื่น ๆ ได้แก่ การศึกษาผลของสารสกัดจากbrewery yeast และเชื้อราน้ำบางชนิดเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบอาหารสัตว์ การศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายคลอโรอนิลีนจากเชื้อ Acinetobacter sp. และการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ (biocatalyst) ที่สามารถทำงานได้ในระบบ two-liquidphase system จากเชื้อแบคทีเรีย2.งานวิจัยด้านพืช ได้มีการศึกษาพันธุศาสตร์โมเลกุลของยีนที่สำคัญของยางพารา เช่นการศึกษาเรื่องการเกิดอาการเปลือกแห้งชนิดที่เนื้อเยื่อตายถาวร การศึกษายีนที่ควบคุมการสร้างอนุภาคยาง การจับตัวกันของอนุภาคยาง รวมทั้งการควบคุมการแสดงออกของยีนโดย RNAขนาดเล็ก งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือของนักวิจัย ระหว่างภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนา ประเทศฝรั่งเศส(Institute for Research and Development, IRD) และ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยการใช้พืชต้นแบบในการสร้างโปรตีนจากกุ้งเพื่อใช้เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และตัวป้องกันการติดไวรัสในกุ้ง โดยใช้Arabidopsis thaliana ในการศึกษาการแสดงออกของโปรตีนจากกุ้ง รวมทั้งการศึกษา และปรับปรุงกระบวนการแสดงออกของโปรตีนในพืชให้เพิ่มมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน หรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันของกุ้งก่อนการติดเชื้อไวรัส7AG-BIO


3.งานวิจัยด้านสัตว์และเซลล์จากสัตว์ ได้มีการพัฒนาเทคนิค Loop mediated isothermalamplification (LAMP) ร่วมกับเทคนิค Lateral flowdipstick (LFD) เพื่อการตรวจหาเชื้อไวรัสหัวเหลืองในกุ้งและแมลงพาหะเพื่อพัฒนากรรมวิธีตรวจเชื้อไวรัสหัวเหลืองแบบใหม่โดยการผนวกเทคนิคทั้งสองอย่างไว้ด้วยกัน ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยนี้คือการได้เทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยโรคที่มีราคาถูก สะดวก รวดเร็ว มีความจำเพาะและมีความไวสูง สามารถใช้ได้อย่างเหมาะในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม อีกทั้งสามารถทำการวิจัยต่อยอดเพื่อผลิตชุดตรวจสำเร็จรูปเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีโครงการศึกษาชีวโมเลกุลของปัจจัยรุนแรงและการสร้าง toxin ในเชื้อ lysogenized Vibrio harveyi พบว่าแบคทีริโอฟาจ VHS1 สามารถเพิ่มความรุนแรงของเชื้อ Vibrio harveyi ในการก่อโรคในกุ้งมากกว่า 100 เท่า เชื้อที่มี VHS1 จะสร้างโปรตีนที่ทำให้กุ้งตายมากและเร็วขึ้น โดยโปรตีนทำให้มีการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดทั้งในของกุ้งและปูทะเล ส่วนโครงการที่เกี่ยวกับการใช้เซลล์ของสัตว์ได้มีการศึกษาการยับยั้งการแสดงออกของยีนไวรัสอย่างถาวรในเซลล์ของกุ้งกุลาดำโดยได้มีการพัฒนาเว็กเตอร์ที่สร้างshort hairpin RNA หรือ shRNA ในเซลล์กุ้ง ส่วนที่เป็นโครงสร้างของ stem หรือ double stranded RNA(dsRNA) นั้นจะกระตุ้นขบวนการ RNA interference(RNAi) ซึ่งเป็นกลไกนำไปสู่การทำลาย RNA เป้าหมายอย่างจำเพาะ และเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่ใช้ในการลดการแสดงออกของยีนไวรัสชนิดต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุก่อโรคที่สำคัญในกุ้งกุลาดำ ทำให้สามารถป้องกันโรคกุ้ง โดยเฉพาะที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานที่เกี่ยวกับการใช้ mammalian cells ได้มีงานวิจัยที่คัดเลือกสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สกัดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Streptomyces และเชื้อรามาทดสอบความเป็นพิษกับ mammalian cell lines และทดสอบความอยู่รอดของเซลล์หลังได้รับสารสกัด การทดลองนี้สามารถนำมาประกอบการพิจารณาฤทธิ์ทางชีวภาพ และความเป็นพิษของสาร เพื่อการนำสารสกัดนี้ไปประยุกต์ใช้ให้ได้จริงในอนาคต4.งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร (Foodbiotechnology module) ประกอบด้วย งานวิจัย 4กลุ่ม ได้แก่ 1. จุลชีววิทยาอาหาร (Food microbiology) 2. เคมีอาหาร (Food chemistry and food flavor research) 3. อาหารเพื่อสุขภาพและสุขอนามัยอาหาร (Functional foodand food hygiene) 4. พลาสติกที่สลายได้ทางชีวภาพ(Biodegradable plastic) โดยมุ่งเน้นงานวิจัยที่นำผลิตผลการเกษตรมาใช้ประโยชน์โดยวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น ซีอิ๊วจากการหมักถั่วเหลืองและแป้ง และน้ำปลาจากการหมักปลาและเกลือ แล้วศึกษาจุลินทรีย์ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตเพื่อนำไปสู่การผลิตกล้าเชื้อ รวมทั้งศึกษารสชาติ และสารที่ให้รสชาติของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการนำสารใยอาหาร(Dietary Fiber) จากวัสดุพลอยได้จากข้าวโพด หน่อไม้ฝรั่งสับปะรด มาทำอาหารเสริมสุขภาพ มีการนำวัสดุพลอยได้จากมันสำปะหลัง น้ำมัน และอ้อย มาผลิตพลาสติกที่สลายได้ทางชีวภาพ Polyhydroxyalkanoates (PHAs) เพื่อประยุกต์ใช้ในอาหารและทางการแพทย์ 8AG-BIO


5.งานวิจัยด้าน Chemical and Bioprocess Engineering การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการชีวภาพ เพื่อสังเคราะห์อนุภาคนาโนจากโพลีแลคโตน และ dextrans สำหรับเป็นระบบนำส่งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ทั้งทางด้านการเกษตร อาหาร การแพทย์ และเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิจัยที่ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและรีโอโลยี(rheology) ของผลิตภัณฑ์อาหารเหลวและการศึกษาการอบแห้งแบบพ่นฝอย (spray drying) และการเกาะกลุ่ม(agglomeration) ของผลิตภัณฑ์ชนิดผงแห้งของสารประเภทต่าง ๆ เช่น แป้ง, กลูแคน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตสาร γ-amino butyric acid (GABA) โดยใช้จุลินทรีย์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบทางการเกษตร6.งานบริการด้านการวิเคราะห์ และตรวจสอบ การวิเคราะห์โปรตีน และลำดับของกรดอะมิโน ด้วยระบบ Matrix-assisted laser desorption/ionization Timeof Fight/ Time of fight (MALDI-TOF/TOF) ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถให้บริการในการตรวจสอบ Protein Fingerprintด้วยระบบ MS และการหาลำดับของกรดอะมิโน ด้วยระบบ MS/MS และวิเคราะห์ผลผ่านMatrix Science Database ทั้งยังสามารถให้บริการในการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักโมเลกุลของลำดับนิวคลีโอไทด์สายสั้น และโพลิเมอร์ได้ รวมทั้งการให้บริการใช้เครื่อง spray dryในการอบแห้งผลิตภัณฑ์9AG-BIO


สัมภาษณ์พิเศษ“ผู้บุกเบิกการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวานของไทย”ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หลำกรรมการผู้จัดการบริษัท สวีทซีดส์ จำกัด และบริษัท ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน จำกัดจากอาจารย์มหาวิทยาลัย สู่การเป็นผู้นำการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวานลูกผสมและผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการปลูกข้าวโพดหวานในเมืองไทยเดิมเคยทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วลาออกไปทำงานกับบริษัทเมล็ดพันธ์ุประมาณ 12 ปี แต่เกิดปัญหาภายในบริษัทที่ต่างประเทศ จึงต้องเปลี่ยนงาน เมื่อออกมาแล้ว มีคนชวนไปทำงานอื่นๆ แต่ก็ยังยืนยันจะทำงานกับข้าวโพด โดยทำกับข้าวโพดไร่ แต่เมื่อทำงานไปได้ซักปี ก็คิดว่าไม่มีทางที่จะทำงานกับข้าวโพดไร่แล้วรุ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าตอนนั้นประเทศไทยมีการเปลี่ยนจากพันธ์ุผสมเปิดเป็นพันธ์ุลูกผสม โดยช่วงนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้วกว่า 50 % และก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่เป็นผู้ครองตลาด ถึงแม้ว่าเราจะมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาพันธ์ุได้ แต่ไม่มีทางทำตลาดได้จึงเปลี่ยนมาทำข้าวโพดหวาน ซึ่งตอนนั้นไม่มีใครสนใจ โดยบริษัทยักษ์ใหญ่มองว่าไม่มีตลาดเมล็ดพันธ์ุข้าวโพดหวาน และก็ไม่มีใครสนใจทำงานวิจัยอย่างจริงจัง แต่ในตอนที่ตัดสินใจทำนั้นก็ยังไม่ได้คิดถึงเรื่องการตลาดเป็นหลักสนใจแต่เรื่องปรับปรุงพันธ์ุเท่านั้น พันธ์ุที่มีอยู่เดิมก็เป็นพันธ์ุผสมเปิด ทำงานอยู่ได้ประมาณปี ก็สามารถได้พันธ์ุใหม่ออกมาเป็นพันธ์ุลูกผสม มีคุณสมบัติที่ดีในตอนนั้น แต่ถ้ามาเทียบกับมาตรฐานของปัจจุบันก็ถือว่าแย่มาก โดยเมื่อนำไปให้เกษตรกรปลูก เกิดกระแสตอบรับที่ไม่ดี เนื่องจากฝักมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพันธ์ุผสมเปิดที่มีอยู่แล้ว เกษตรกรยังมาพูดให้เจ็บใจว่า อาจารย์เอาพันธ์ุอะไรมาให้ปลูก หมายังเมินเลย แต่เราก็ตอบกลับไปว่า สักวันหมาจะต้องตามอาจารย์ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนาพันธ์ุข้าวโพดหวานจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และแปรรูปผลผลิตอย่างครบวงจรในตอนนั้นผู้ที่ทำอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานกระป๋องก็มองหาข้าวโพดเพื่อมาบรรจุกระป๋อง มีการนำเข้าพันธ์ุจากประเทศอเมริกา แต่พันธ์ุไม่สามารถปรับตัวได้ จึงนำพันธ์ุที่ปรับปรุงได้ไปคุยกับบริษัท โดยบริษัทริเวอร์แคว มีความสนใจมากเพราะว่าต้องการเอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ จึงไปทำงานให้เขาโดยเขาบอกว่าไม่มีความรู้เรื่องข้าวโพดหวานเลย จึงเข้าไปจัดทำระบบให้เขาเป็นแบบระบบ contract farming หรือระบบลูกไร่ ในช่วงปีแรกที่ทำยากมากเพราะไม่มีใครรู้จักข้าวโพดหวานใส่กระป๋อง ปีแรกมีแปลงปลูกแค่ 35 ไร่ ต้องไปติดต่อเกษตรกร ขับรถหาแปลงปลูกจนมีแปลงปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 1000 ไร่แล้วก็เพิ่มขึ้นอีกเป็น 3,000 ไร่ แล้วก็ขึ้นมาเป็น 10,000 ไร่ คนก็เริ่มมองเห็นอนาคตของข้าวโพดหวาน ตอนนั้นก็ยังช่วยที่ริเวอร์แควอยู่ในเรื่องการจัดการวัตถุดิบ จัดทำระบบ หาพนักงานส่งเสริมให้ ซึ่งเราก็มาคิดว่าตลาดมันมีแนวโน้มเป็นไปได้แล้ว ก็ต้องเริ่มมีการพัฒนาพันธ์ุข้าวโพดหวานอย่างจริงจัง ก็เลยวางมือด้านวัตถุดิบ แต่ก็ยังช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีอยู่ ซึ่งโรงงานอื่นๆ ก็เริ่มสนใจมาขอคำปรึกษา เราก็ให้คำปรึกษาจัดระบบต่างๆ รวมถึงตำแหน่งที่ตั้งของโรงงาน วางเครื่องจักร และการจัดการวัตถุดิบ จึงเป็นการให้ความรู้อย่างครบวงจร ตั้งแต่เรื่องพันธ์ุจนถึงการจัดการวัตถุดิบ อุตสาหกรรมเมล็ดพันธ์ุข้าวโพดหวานนั้น เจริญขึ้นมาจาก 35กิโลกรัม จนถึง 1 ตัน มาเป็น 3 ตัน 10 ตัน และ 50 ตัน จนสูงสุด 500 ตันต่อปี เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว แต่มีบริษัทอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย ถือได้ว่าโครงการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวานนั้นมีองค์กรร่วมมาก โดยมีองค์กรร่วมถึงสิบสององค์กร โดยพันธ์ุที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นพันธ์ุที่พัฒนาต่อยอดจากพันธ์ุแรกประมาณหนึ่งปีให้หลัง เรียกว่าพันธ์ุ ATS2 เป็นพันธ์ุที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยและองค์กรมาก ในแง่ของวงการข้าวโพดหวานทำให้คนรู้จักพันธ์ุนี้ และรู้จักข้าวโพดหวานจากประเทศไทย เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดหวานที่ออกจากประเทศไทยได้จากพันธ์ุ super sweet ทั้งหมด ในขณะที่ในช่วงเวลานั้นผลผลิตจากประเทศอเมริกา ได้มาจากข้าวโพดหวานธรรมดาเป็นส่วนใหญ่ และพันธ์ุ super sweet เป็นส่วนน้อย พันธ์ุข้าวโพด ATS2 นี้จัดเป็นพันธ์ุประวัติศาสตร์ได้หรือไม่การพัฒนาพันธ์ุข้าวโพดหวาน ATS2 ใช้เวลาประมาณสองปีกว่าๆ ซึ่งสามารถทำได้ในตอนนั้น แต่ปัจจุบันอาจใช้เวลาเท่านี้ไม่ได้ เนื่องจากมาตรฐานข้าวโพดหวานในปัจจุบันสูงมาก โดยใช้พันธ์ุนี้อยู่เกือบสิบปี และเริ่มจะลดความนิยมลงไปในปี 2547 หากจะบอกว่าพันธ์ุ ATS2 เป็นพันธ์ุข้าวโพดพันธ์ุประวัติศาสตร์ คงไม่สามารถเทียบได้กับข้าวโพดพันธ์ุสุวรรณ 1 ที่มีคุณสมบัติทนโรคราน้ำค้างที่พัฒนาโดย ศาสตราจารย์ สุจินต์ จินายน เนื่องจากผู้ที่ทำงานปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดทุกคนต้องรู้จักพันธ์ุนี้ และมีการใช้สายพันธ์ุนี้เป็นฐานการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดไปทั่วโลก สำหรับพันธ์ุ ATS2 นั้นเป็นพันธ์ุข้าวโพดหวานลูกผสมพันธ์ุแรกที่ใช้ในอุตสาหกรรมข้าวโพดอย่างจริงจัง และใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีรายงานการนำพันธ์ุนี้ไปศึกษา พัฒนาต่อยอดบ้างอาจอ้างได้ว่าข้าวโพดพันธ์ุ ATS2 ก็เป็นพันธ์ุข้าวโพดหวานลูกผสมที่สำคัญพันธ์ุหนึ่งของประเทศได้เช่นกันอาจารย์มองสถานภาพปัจจุบันด้านอุปสรรคและปัญหาของวงการเมล็ดพันธ์ุและอุตสาหกรรมเมล็ดพันธ์ุข้าวโพดไว้อย่างไรในช่วงปี 2551 เป็นปีทองของพืชไร่ทุกชนิด คือราคาพืชไร่ทุกชนิดสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แต่ในปี 2552 นี้กลับสู่สภาพปกติ แต่ก็ยังคงราคาสูงนิดๆสำหรับข้าวโพด ทั้งข้าวโพดหวาน และข้าวโพดไร่ ถ้าไม่มีการปรับปรุงพันธ์ุต้องบอกว่าเกษตรกรไม่สามารถอยู่รอดได้ โดยจากการปรับปรุงพันธ์ุทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยข้าวโพดไร่ตั้งแต่เริ่มทำงานมาจนถึงทุกวันนี้ จากการพัฒนาพันธ์ุให้ผลผลิตจากประมาณ 300 เป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนข้าวโพดหวานจาก 1 ตันต่อไร่ เป็น 3-4 ตันต่อไร่ ในขณะที่ราคาผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยถึงแม้จะมีความรู้ด้านการจัดการปุ๋ยมาช่วย แต่ก็ไม่สามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นได้อย่างก้าวกระโดด เนื่องจากศักยภาพของพันธ์ุพืชเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาพันธ์ุพืชเข้ามาช่วยด้านข้าวโพดไร่ ยังไม่มีปัญหาอะไร ยกเว้นเรื่องสิทธิบัตรคุ้มครองพันธ์ุพืชโดยเมล็ดพันธ์ุที่มีในตลาดนั้น ส่วนหนึ่งนั้นได้จากการผลิตเมล็ดพันธ์ุที่ไม่ผิดในแง่กฎหมาย แต่ผิดในแง่จริยธรรม เนื่องจากเป็นการผลิตจากพันธ์ุที่มาจากการขโมยพันธ์ุพ่อแม่ ที่มีคนอื่นพัฒนาไว้แล้ว เรียกเมล็ดพันธ์ุผี แล้วนำมาปลูกขายเป็นเมล็ดพันธ์ุของตนเอง และขายในราคาต่ำกว่าเจ้าของสายพันธ์ุตัวเองซึ่งเมล็ดพันธ์ุผีมักจะไม่สามารถรักษาคุณสมบัติของสายพันธ์ุเองไว้ได้ เนื่องจากการจัดการที่เกิดจากความไม่รู้ ที่อาจจะแตกต่างกับเจ้าของสายพันธ์ุ ทำให้10AG-BIO


คุณภาพของเมล็ดพันธ์ุผีไม่ดีเท่ากับเมล็ดพันธ์ุของเจ้าของเอง ซึ่งตรงนี้มองว่าแทนที่เราจะไปไล่จับคนที่ขโมยพันธ์ุ แต่เราให้ความรู้กับเกษตรกร เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างของคุณภาพของเมล็ดพันธ์ุที่ได้ ซึ่งผมก็พยายามอยู่นอกจากนี้ยังมีเรื่องการจัดการดินและปุ๋ย ซึ่งเป็นจุดที่เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบมากโดยเฉพาะสองปีที่ผ่านมาที่ปุ๋ยมีราคาแพง ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องปุ๋ยสารอาหารต่ำ โดยเกษตรกรเข้าใจว่าที่เคยปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหนึ่งลูก แล้วตอนนี้ก็ใส่ปุ๋ยหนึ่งลูกข้าวโพดควรจะได้รับปุ๋ยเท่ากัน ทั้งที่แต่เดิมเคยใส่สูตร15-15-15 แต่ปัจจุบันใช้ 15-3-3 ซึ่งมีสารอาหารต่ำกว่า แต่เกษตรกรไม่ทราบจึงทำให้ถูกหลอกให้ซี้อปุ๋ยที่มีคุณภาพต่ำกว่าได้ศักยภาพที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในการผลิตเมล็ดพันธ์ุในการปรับปรุงพันธ์ุในเขตร้อน ถือว่าประเทศไทยเป็นแนวหน้า เราเป็นผู้นำในการส่งออกเมล็ดพันธ์ุ ประมาณปีละสองพันกว่าล้านบาท รวมถึงข้าวโพดเอง โดยผู้ปลูกแถวเอเชียใต้ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธ์ุที่มาจากประเทศไทยถึงแม้ว่าการส่งออกเมล็ดพันธ์ุข้าวโพดของไทยในแต่ละปีมีมูลค่าสูง แต่บริษัทที่เป็นของประเทศไทยนั้นมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ แล้วก็เป็นบริษัทหลักในการส่งออกด้วย เช่น บริษัท มอนซานโต ไพโอเนีย ซินเจนทาเป็นต้น ดังนั้นก็เหมือนอุตสาหกรรมอื่นๆ คือเราเป็นเหมือนรับจ้างผลิต ได้ค่าตอบแทนเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค่าแรงงาน ดังนั้นหากเราจะภูมิใจที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ก็สามารถภูมิใจได้ แต่จะภูมิใจมากขึ้นถ้าการส่งออกนั้นมาจากบริษัทที่เป็นของคนไทย ซึ่งจะทำให้เกิดได้โดยบริษัทต้องเห็นความสำคัญของงานวิจัยมากขึ้น ซึ่งรัฐก็ต้องมีส่วนช่วยในการสนับสนุนความรู้ด้านเทคโนโลยีต่างๆ การฝึกและการสร้างคน รวมทั้งการทำงานร่วมกัน แบ่งปันผลประโยชน์กัน อีกทั้งส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กฎหมายคุ้มครองพันธ์ุพืชที่เข้มแข็ง โดยปัจจุบัน การคุ้มครองพันธ์ุของบริษัทเป็นการทำโดยการทำพันธ์ุลูกผสม ในขณะที่ประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองพันธ์ุพืชที่เข้มแข็งสามารถพัฒนาพันธ์ุที่เป็นพันธ์ุผสมเปิดได้ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการเพิ่มมูลค่าข้าวโพดเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลหรือน้ำตาลเราคงไม่สามารถใช้ข้าวโพด เพื่อเป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทนได้สำหรับประเทศไทย เนื่องจากสามารถนำไปทำอาหารสัตว์ หรือประโยชน์อย่างอื่นได้ดีกว่า ประกอบกับไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนราคา เมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานจากพืชอื่นๆ เช่น ส่วนเหลือจากมันสำปะหลัง หรือกากน้ำตาล ข้าวโพดสามารถนำมาทำประโยชน์หรือผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องได้อีกมากเช่น corn syrup นั้นตัวข้าวโพดเองสามารถทำได้ และเคยมีคนให้ความสนใจจะตั้งโรงงานผลิต corn syrup ในประเทศไทยมานานแล้ว โดยอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในอเมริกานั้นส่วนใหญ่ใช้ corn syrup แทนน้ำตาล เนื่องจากให้ความหวานมากกว่า แต่ในประเทศไทยติดขัดเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับอ้อยทำให้ไม่สามารถตั้งโรงงานได้ ประกอบกับประเทศไทยมีการเพิ่มมูลค่าให้กับข้าวโพดโดยการทำเป็นอาหารสัตว์ และข้าวโพดที่ผลิตได้ในประเทศไทยนั้นยังไม่เพียงพอต่อการใช้งานด้วย จึงคิดว่ายังเป็นไปไม่ได้ หรือไม่มีแนวโน้มที่จะนำข้าวโพดไปผลิตน้ำตาลการขยายตลาดข้าวโพดเข้าสู่ประเทศจีนประเทศจีนเป็นประเทศที่นำเข้าข้าวโพดหวานจากไทยเป็นจำนวนมากถ้าย้อนมองไปในอดีตประเทศจีนไม่ได้ให้ความสำคัญในการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวาน จะมีก็แต่ข้าวโพดข้าวเหนียว เมื่อมียอดการนำเข้าสูง ในช่วงสิบปีที่ผ่าน ตอนนี้จึงให้ความสำคัญและเร่งการปรับปรุงพันธ์ุข้าวโพดหวานมากขึ้น นอกจากนี้มีการจัดงานอุตสาหกรรมข้าวโพด และเชิญนักวิชาการจากประเทศไทยไปบรรยายในเรื่องเกี่ยวกับทำอย่างไรจึงมีความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจข้าวโพดหวาน ซึ่งผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานในไทย ก็มีความรู้สึกกลัวการแข่งขันกับประเทศจีน แต่โดยส่วนตัวมองว่าไม่น่ากลัว เนื่องจากการผลิตข้าวโพดหวานในประเทศจีนมีสองเขต คือเขตเหนือ มีระบบการผลิตคล้ายอเมริกา แต่มีโรงงานเล็กๆ แบบไทย ซึ่งในเขตนี้ไม่สามารถจะไปแข่งในตลาดโลกได้อีกเขตหนึ่งคือ เขตใต้ ซึ่งมองว่าเหมือนจะแข่งขันกับประเทศไทยได้ แต่ประเทศจีนมีสภาพอากาศที่แปรผันค่อนข้างมาก ทำให้ไม่สามารถปลูกข้าวโพดได้ตลอดปีอย่างประเทศไทย รวมทั้งต้นทุนการผลิต ซึ่งมีราคาหน้าโรงงานสูงกว่าในประเทศไทยเกือบหนึ่งเท่า ดังนั้นจึงไม่คิดว่าจะแข่งขันกับประเทศไทยได้ในแง่ของเมล็ดพันธ์ุนั้น มองว่าธุรกิจเมล็ดพันธ์ุเป็นธุรกิจท้องถิ่นที่หากมีการวิจัยปรับปรุงพันธ์ุภายในประเทศที่เข้มแข็ง พันธ์ุที่นำเข้าไม่มีทางที่จะมาแข่งขันได้ ซึ่งในประเทศจีนตอนนี้สำหรับข้าวโพดหวานนั้นยังไม่เข้มแข็ง ยังคงมีการนำเข้าเมล็ดพันธ์ุจากต่างประเทศอยู่ การเปิดการค้าเสรีจะมีผลกระทบต่อเกษตรกร หรือธุรกิจเมล็ดพันธ์ุอย่างไร และจะกระทบต่อการเป็นผู้นำในการผลิตเมล็ดพันธ์ุของเราหรือไม่ในแง่เมล็ดพันธ์ุการเปิดการค้าเสรีทำให้เราได้เปรียบ เนื่องจากเราเป็นผู้นำด้านเมล็ดพันธ์ุ เราสามารถไปผลิตที่ไหนก็ได้ ไม่มีปัญหาจากกำแพงภาษี หากจะมีก็เป็นการกีดกันทางการค้าในรูปอื่น เช่น โรคและแมลง เป็นต้นในส่วนของผลิตผลจากเมล็ดพันธ์ุน่าจะเสียเปรียบ เพราะว่าสามารถนำเข้าวัตถุดิบในแง่ของอาหารสัตว์ได้ถูกกว่า ประกอบกับรัฐอาจมีการประกันราคาทำให้ราคาผลผลิตในประเทศสูงกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหา และทำให้เราเสียเปรียบอยู่ คิดว่าเป็นปัญหาด้านกฎหมายคุ้มครองพันธ์ุพืช ที่ส่งผลให้เราไม่สามารถนำเข้าแหล่งพันธุกรรมจากต่างประเทศ เพื่อช่วยในการปรับปรุงพันธ์ุพืชได้ ในขณะที่ต่างประเทศสามารถนำเข้า หรือเปิดโอกาสการนำเข้าได้ง่ายกว่า ยกตัวอย่างเช่นประเทศอินเดีย ซึ่งเดิมก็ไม่อนุญาตให้นำเข้า แต่ปัจจุบันเปิดโอกาสให้นำเข้าได้ง่ายขึ้น ปัญหาอีกอย่างที่คิดว่าเป็นข้อผิดพลาด คือรัฐบาลลดกำลังคนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดช่องว่างของการส่งต่อความรู้ของนักวิชาการขึ้น เนื่องจากว่าการทำงานด้านปรับปรุงพันธ์ุพืชต้องมีการฝึกฝน หาประสบการณ์จริงที่อยู่ในแปลงปลูก รวมถึงการจัดการที่มีขนาดแปลง หรือพันธ์ุทดสอบที่มากกว่าตอนเรียน ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ทำให้เป็นปัญหาที่ไม่ได้ฝึกฝนคน หรือไม่มีคนมาทดแทนได้อย่างทันท่วงที ในส่วนของการลงทุนของรัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยถือว่ายังน้อย แต่เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคก็ถือว่ายังสูงกว่า นอกจากนี้แนวทางการวิจัยนอกจากทำงานวิจัยเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ยังต้องคำนึงถึงงานวิจัยที่ตอบสนองต่อโจทย์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศด้วย การใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในการปรับปรุงพันธ์ุอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด“การจะนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ได้ ต้องมีโจทย์ปัญหาที่ชัดเจน”และผู้ที่จะใช้ประโยชน์ได้ต้องผสมผสานกัน ทั้งการปรับปรุงพันธ์ุแบบดั้งเดิมและเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสอดคล้องกันนอกจากนี้ยังต้องมีข้อมูลรวมถึงงานวิจัยเกี่ยวกับฐานพันธุกรรมพืช เพื่อช่วยในการปรับปรุงพันธ์ุได้มากขึ้น ถ้ามองภาคเอกชนเปรียบเทียบกับภาครัฐจะเห็นว่างานวิจัยด้านปรับปรุงพันธ์ุพืชนั้นภาคเอกชนจะเข้มแข็งกว่า ในขณะที่งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธ์ุ ที่ทำได้ในห้องปฏิบัติการนั้นภาครัฐจะเข้มแข็งกว่า ดังนั้นถ้าให้เกิดประโยชน์น่าจะมีส่วนที่เป็นห้องปฏิบัติการเพื่อการบริการ ซึ่งสามารถให้บริการทั้งบริษัทขนาดเล็กและใหญ่ได้ หรืออาจเป็นการร่วมโครงการวิจัยโจทย์วิจัยควรมาจากภาคผลิต ซึ่งคือภาคเอกชน และปัจจุบันยังเป็นการปรับปรุงพันธ์ุแบบดั้งเดิม และให้เทคโนโลยีชีวภาพมาเสริมเพื่อสามารถตอบโจทย์ และแก้ปัญหาได้ตรงจุด ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด11AG-BIO


PERDO TODAYการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับประเทศไทยสบว. โครงการวิจัยเชิงบูรณาการ: สนับสนุนการพัฒนาวิจัยสู่สังคมไทยจากสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทยที่ผ่านมานั้น มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นภาระของประเทศที่ต้องจัดหาแหล่งพลังงานทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะแหล่งพลังงานประเภทซากดึกดำบรรพ์ คือ ปิโตรเลียม และถ่านหิน ซึ่งมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถทดแทนได้ทัน และไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อมนุษย์ในอนาคต จึงนำมาสู่วิกฤติการณ์ด้านพลังงานและส่งผลกระทบต่อระบบสมดุลทางเศรษฐกิจของโลก :$-;


เรื่องน่ารู้ AgBiotech: จากศูนย์ฯ สู่สวน : ความเข้าใจผิดเรื่องการดูแลต้นสะละสุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ <strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนเมื่อเสียงรายงานหยุดลง พลันเกิดความเงียบกริบในกลุ่มชาวสวนของชมรมผู้ปลูกสะละจันทบุรีที่มานั่งฟังทั้งห้องประชุม พร้อมกับสีหน้าที่ไม่เชื่อในสิ่งที่เพิ่งได้ยิน ชาวสวนผู้กล้าคนหนึ่งตัดความเงียบด้วยเสียงพูดว่า “ที่อาจารย์เสนอมาเป็นผลจากการทดลอง ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” ผู้รายงานรู้สึกประหลาดใจว่า งานวิทยาศาสตร์ของตน กลายเป็นงานไสยศาสตร์เกษตรไปได้อย่างไร ข้อสรุปจากการพูดคุยในช่วงต่อมาคือว่ารายงานที่เสนอนั้นเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับที่ชาวสวนเข้าใจมาโดยตลอดชาวสวนนิยมปลูกไม้ยืนต้นบังแดดให้ต้นสะละจนสวนมีร่มเงาอย่างหนาแน่นและมีการให้น้ำปริมาณมากด้วยความถี่สูง ตามลักษณะที่สังเกตจากสภาพตามธรรมชาติที่ต้นสะละขึ้นได้ คือเป็นพื้นที่ชื้นแฉะริมน้ำและอยู่ในร่มต้นไม้ใหญ่ ชมรมผู้ปลูกสะละจันทบุรี เป็นผู้ให้งบประมาณเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางสรีรวิทยาของสะละและมังคุดเอง จึงตั้งใจมาฟังผลการศึกษา แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดมาก่อน เพราะผลการวัดศักยภาพการสังเคราะห์แสงของใบสะละ พบว่าใบสะละต้องการความเข้มแสงสูงปานกลาง (สูงกว่า700 μmolPPF m -2 s -1 ) คือใบต้องได้รับแดด การปลูกไม้บังแดดทำให้ใบสะละได้รับความเข้มแสงต่ำเกือบตลอดทั้งวัน ใบจึงดำเนินกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ไม่เต็มที่ ความเข้มแสงที่ต่ำกลายเป็นตัวจำกัดที่รุนแรงของกระบวนการสังเคราะห์แสงของใบสะละความเข้มแสงที่ต่ำส่งผลต่อเนื่องให้ปากใบเปิดได้น้อย ทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสงถูกจำกัดเพิ่มขึ้นอีก เพราะวัตถุดิบคือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่เข้าใบได้น้อย สภาพสวนที่มีต้นไม้คลุมปิดแน่นทึบเมื่อเกิดร่วมกับการให้น้ำมาก ทำให้อัตราคายน้ำของใบสะละเกิดในระดับต่ำสภาพของต้นเช่นนี้ทำให้อัตราลำเลียงธาตุอาหารพืชและอาหารที่ปรุงได้จากการสังเคราะห์แสงอยู่ในระดับต่ำไปด้วย ส่งผลให้ต้นสะละมีอัตราเติบโตต่ำผลกระทบที่ไม่คาดคิดอีกเรื่อง เกิดในเขตรากของต้นสะละที่ได้รับน้ำมากเกินจำเป็น ซึ่งแสดงออกด้วยค่าพลังงานกำกับก้อนดินตลอดชั้นรากที่สูงเกือบตลอดเวลา ทำให้ดินมีการถ่ายเทอากาศได้น้อย เมื่อเกิดควบคู่กับสภาพเคมีของดินที่เป็นกรดจัด ทำให้ไอออนหลายชนิดละลายออกมามากจนมีระดับเป็นพิษได้ ซึ่งในกรณีนี้คือแมงกานีสที่เป็นพิษและแสดงออกที่ใบ (สุมิตรา ภู่วโรดม สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ข้อสรุปจากผลการวิเคราะห์ใบสะละ) ใบสะละในสวนเกือบทั้งหมดมีจุดไหม้ มีอาการเหลืองแห้งเกือบทุกทางใบ คุณปรีชา ปิยารมย์ ที่เป็นเจ้าของสวนสะละและผู้กล้าของชมรมผู้ปลูกสะละจันทบุรี ตัดสินใจปรับเปลี่ยนสภาพสวนไม่นานหลังจากได้รับทราบรายงานเบื้องต้นของการศึกษานี้ ในเดือนกันยายน 2548 มีการตัดต้นไม้ใหญ่ที่บังแดดออกจำนวนหนึ่ง จนสวนมีสภาพโปร่งทำให้แดดส่องถึงต้นสะละได้มากขึ้น และได้ลดปริมาณน้ำที่ให้ต้นสะละ โดยมีกำหนดการให้น้ำจากค่าที่อ่านได้ของเครื่องวัดแรงดึงน้ำ ซึ่งทำให้ดินมีสภาพแห้งขึ้นและอากาศเข้าสู่รากต้นสะละได้มากขึ้นสิ่งที่คุณปรีชาได้ปรับเปลี่ยนสภาพของสวน มีดังนี้1. ตัดลดจำนวนต้นสะละ ซึ่งลดการบังแดดจากทางใบที่ซ้อนกันเอง 2. ตัดลดจำนวนต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกบังแดด3. ลดความถี่ของการให้น้ำแบบฉีดฝอยผลที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพสวน มีดังนี้1. ใบสะละมีความเขียวสด และมีจุดเหลืองแห้งลดลงอย่างชัดเจน2. ผลผลิตต่อต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างชัดเจน ทำให้ผลผลิตรวมทั้งสวนเท่าเดิม แม้จำนวนต้นสะละลดลง3. ลดค่าใช้จ่ายของการให้น้ำและปุ๋ยทั้งสวน4. คุณภาพของเนื้อผลดีขึ้น ลดอาการหัวดำและหัวยุบในเดือนธันวาคมถัดมา สภาพต้นสะละมีการเปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัดในทางที่สมบูรณ์มากขึ้น ใบใหม่ที่คลี่ออกมีแผ่นใบที่มีความเขียวมากขึ้น ในขณะที่จุดสีเหลืองลดลงอย่างชัดเจน เพราะเมื่อมีการให้น้ำลดลง แมงกานีสละลายออกมาน้อยลงด้วย รากที่หายใจได้ทำให้การนำเข้าธาตุอาหารพืชของรากเพิ่มขึ้น ใบที่ได้รับแสงมากเพียงพอและปากใบเปิดได้มากขึ้น ทำให้ทั้งอัตราสังเคราะห์แสงและคายน้ำเพิ่มขึ้น เมื่อมีกระแสคายน้ำ ธาตุอาหารพืชต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแคลเซียมในดินจะถูกพาเข้าสู่ใบและผลสะละได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการลดผลกระทบของแมงกานีส ผลลัพธ์ที่เกินการคาดหมายคือไม่เพียงผลผลิตสะละต่อต้นสูงขึ้น เนื้อสะละยังมีคุณภาพดีขึ้น กล่าวคืออาการหัวดำหัวยุบ ซึ่งเป็นเนื้อที่เน่าดำเพราะพิษของแมงกานีสเริ่มลดลงสะละพันธ์ุดั้งเดิม คือ เนินวงศ์ แสดงอาการหัวดำหัวยุบมาก ในขณะที่พันธ์ุใหม่คือพันธ์ุสุมาลีมีอาการน้อยกว่า เพราะใบมีอัตราสังเคราะห์แสงและคายน้ำที่สูงกว่า ลำต้นและใบมีขนาดใหญ่กว่า หลังจากรายงานผลแล้วชาวสวนจำนวนมากขึ้นได้ทยอยปรับสภาพสวนให้โปร่ง เพราะเห็นผลชัดว่าต้นสะละที่ได้แดดจะมีเนื้อผลที่เต็ม อาการหัวดำลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับผลที่เก็บได้จากสวนที่ยังร่มครึ้มแบบเดิม จะยังพบเห็นเนื้อผลดำทั้งลูกก็มีในปีปัจจุบัน คุณปรีชาประเมินให้ฟังว่า ชาวสวนประมาณครึ่งหนึ่งได้ปรับเปลี่ยนสภาพสวนแล้ว โดยมีข้อสังเกตว่าให้ใบสะละได้แดดโดยตรงได้ แต่โคนต้นต้องให้ร่ม เพื่อที่ผลสะละจะได้ไม่ถูกแดดเผา ชาวสวนมีการเปลี่ยนไปปลูกพันธ์ุสุมาลีเพิ่มขึ้น ผลผลิตของคุณปรีชามีผู้จองไปขายในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทำให้ผลิตให้ไม่ทันต่อความต้องการ งานวิจัยพื้นฐานที่เริ่มต้นเหมือนไม่รู้ว่าทำแล้วจะนำไปขยายผลอย่างไรและออกค่าใช้จ่ายโดยกลุ่มเกษตรกรเอง กลับกลายเป็นเรื่องที่นำไปปรับเปลี่ยนแนวการจัดการสวนสะละได้โดยสิ้นเชิง ประโยคประโลมใจที่ได้รับตอนรายงานผลมาจากชาวสวนอาวุโสที่เป็นแพทย์เกษียณแล้ว ที่กล่าวว่า “เพิ่งเห็นว่าวิทยาศาสตร์ช่วยชาวสวนได้”13AG-BIO


AgBiotech Hot News การใช้ประโยชน์จากเห็ดเรืองแสงสุรีย์พร บัวอาจ และ วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่นเห็ดเรืองแสง(luminescentmushroom) คือ เห็ดที่สามารถเปล่งแสงได้ทั้งตอนกลางวันและในที่มืด เราจะสังเกตเห็นแสงนั้นได้ในที่มืด เพราะแสงในตอนกลางวันนั้นสว่างกว่าแสงที่มาจากเห็ด ซึ่งแสงที่เปล่งออกมาอาจเป็นสีเขียวอมฟ้า หรือสีเขียวอมเหลืองตามแต่ชนิดของเห็ด สาเหตุที่เห็ดเรืองแสงนั้นเพื่อดึงดูดแมลงที่หากินในเวลากลางคืนให้เข้ามากัดกินดอกเห็ด เพื่อช่วยในการแพร่กระจายสปอร์ไปได้ไกลๆ ปรากฏการณ์เรืองแสงก็เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในพืชและสัตว์บางชนิด เห็ดเหล่านี้จะเปล่งแสงได้โดยไม่ปล่อยความร้อนออกมา (cold light) ซึ่งแตกต่างไปจากแสงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ เช่น แสงของเทียนไข แสงของหลอดไฟ เป็นต้น ซึ่งเป็นแสงที่ให้พลังงานความร้อน ปรากฏการณ์เรืองแสงนี้เรียกว่า ไบโอลูมิเนสเซนซ์ ในต่างประเทศได้รายงานพบเห็ดที่เรืองแสงจำนวนมากเช่นเห็ด Omphalotus nidiformis ที่เปล่งแสงสีเขียวในเวลากลางคืน ซึ่งความสว่างที่เปล่งออกมาจะขึ้นอยู่กับสถานที่ที่เห็ดขึ้นบางครั้งพบว่าแสงสว่างนี้เพียงพอที่จะใช้อ่านหนังสือได้ สำหรับในประเทศไทยคณะนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรมหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย รศ.ดร.วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ น.ส.สุรีย์พร บัวอาจ ผศ.ดร.อนันต์ หิรัญสาลีและ ผศ.ดร.เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล ได้รายงานการพบเห็ดเรืองแสงOmphalotus sp. เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2545 บริเวณพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่โคกภูตากาอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยเห็ดชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับเห็ดนางรม แต่จัดเป็นเห็ดพิษ ต่อมาคณะผู้วิจัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณวิจัยระดับมหาบัณฑิต จาก<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนางสาวสุรีย์พร บัวอาจ ได้ศึกษาถึงการบ่งชี้ในระดับชนิดของเห็ดเรืองแสงที่พบในเขตโคกภูตากา (PW1 และ PW2) และเห็ดที่พบในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยอาศัยข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ ในส่วนITS1-5.8S-ITS2 rDNA พบว่าลำดับนิวคลีโอไทค์ของเห็ดทั้ง 3 สายพันธุ์มีความเหมือนกับลำดับนิวคลีโอไทด์ของเห็ด Neonothopanusnambi โดยมีค่าความเหมือน (identity)เท่ากับ 94 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกับเมื่อเปรียบเทียบลักษณะรูปร่าง สีของดอก และลักษณะสปอร์รวมทั้งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดเรืองแสง (Prof. Dr. Roy Watling,สวนพฤกษศาสตร์ Kew, Surley, สหราชอาณาจักร Dr. Matin Kirchmair, InstituteMicrobiology, University of Innsbruck,Innsbruck, Austria และ Dr. J.M. Monclavo,Centre for Biodiversity and ConservationBiology, Toronto, Canada) จึงสรุปว่าเห็ดเรืองแสงทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ คือเห็ดเรืองแสงที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neonothopanusnambi (Speg.) Petersen & Krisaiเนื่องจากเห็ดเรืองแสงนั้นตามปกติจะเป็นเห็ดพิษ และมีรายงานในต่างประเทศว่าเห็ดเรืองแสงสามารถสร้างสารพิษหลายชนิด ซึ่งน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาถึงการนำเอาสารพิษเหล่านั้นไปใช้ในด้านการควบคุมโรคพืช โดยการใช้เห็ดเรืองแสงชนิดนี้ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมะเขือเทศ เนื่องด้วยมะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันทั่วไป “แต่” ปัญหาสำคัญของการผลิตมะเขือเทศซึ่งพบระบาดทั้งในเขตหนาวและเขตร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ซึ่งขั้นตอนในการนำสารพิษจากเห็ดเรืองแสงมาใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน และไม่แตกต่างจากการเพาะเห็ดเพื่อการบริโภคโดยทั่วไปเกษตรกรสามารถทำเองได้ ด้วยการนำเชื้อเห็ดมาเพาะเลี้ยงแยกเชื้อจนได้เส้นใย หลังจากนั้นจะเป็นการเตรียมก้อนเชื้อเห็ดในก้อนขี้เลื่อย บ่มเชื้อไว้ให้เชื้อเห็ดเจริญเติบโตประมาณ 1 เดือน จนก้อนเชื้อเห็ดมีเส้นใยเดินเต็มถุง จึงนำเส้นใยที่ได้มาขยี้ให้แยกจากกัน นำมาผสมกับดินที่ใช้ปลูกมะเขือเทศ ผลปรากฏว่าสามารถทำลายไส้เดือนฝอยรากปมได้ถึงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือการใช้วิธีการเลี้ยงเห็ดชนิดนี้ในอาหารเหลว แล้วสกัดสารพิษจากน้ำเลี้ยงเห็ดชนิดนี้ เมื่อนำไปทดสอบกับตัวอ่อนระระที่ 2 ของไส้เดือนฝอยรากปมทำให้ไส้เดือนฝอยรากปมตายเกือบ 100 % เช่นกันแม้จะได้ข้อสรุปที่แน่ชัดแล้วว่าเห็ดเรืองแสงสามารถควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ แต่ก่อนที่จะผลิตและเผยแพร่14AG-BIO


จำเป็นต้องมีการวิจัยต่อไป โดยคณะผู้วิจัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต จาก<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยร่วมมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นางสาวสุรีย์พร บัวอาจ และคณะนักวิจัย ได้ศึกษาต่อไปว่าสารที่มีผลต่อไส้เดือนฝอยรากปมคือสารอะไร และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีประโยชน์ในดินหรือไม่ซึ่งปัจจุบันนี้ทางคณะผู้วิจัยได้ทราบว่าสารที่มีผลต่อไส้เดือนฝอยรากปม คือสาร aurisin A และเมื่อทดสอบสารaurisin A จากเห็ดเรืองแสงต่อไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น500 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลต่อการตายของตัวอ่อนระยะที่ 2 (J2)ได้ 100 % ในเวลา 1 นาที รองลงมา คือ ที่ระดับความเข้มข้น 100มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีผลต่อการตาย ในระดับ 100% ภายในเวลา30 นาที ส่วนที่ระดับความเข้มข้น 10 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลต่อการตายของ ในระดับ 100% ภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับการทดสอบสาร aurisin A ต่อสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมาย ได้แก่ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช (Steinernema carpocapsae)และเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์กำจัดโรคพืช คือ Bacillus subtilisจำนวน 3 ไอโซเลต พบว่า สาร aurisin A ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ นั้น ไม่มีผลต่อการตายของไส้เดือนฝอย S. carpocapsaeและไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว จากการศึกษาผลของสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงNeonothopanus nambi และผลกระทบต่อไส้เดือนฝอยรากปมและสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมายอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ของสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงได้อย่างถูกต้อง และพัฒนาต่อไปเพื่อใช้ในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี อันจะเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม เพื่อช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในที่สุด ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้คงต้องอาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์หลายแขนง เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปจากการรายงานผลงานวิจัย การค้นพบเห็ดเรืองแสงชนิดนี้รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้คณะวิจัยได้รับรางวัลถึง 6 รางวัล คือ • นางสาวสุรีย์พร บัวอาจ ได้รับรางวัลที่ 1 ในการนำเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม ในงานการนำเสนอผลงานและความก้าวหน้างานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นโครงการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ประจำปี 2548 • นางสาวสุรีย์พร บัวอาจ ได้รับรางวัลที่ 2 ในการนำเสนอผลงานทางวิชาการสัมมนาวิชาการเกษตร ประจำปี 2550 คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 22 มกราคม 2550 ในรูปแบบของโปสเตอร์• วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์, สุรีย์พรบัวอาจ, อนันต์ หิรัญสาลี และเพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล ได้รับรางวัลThe first prize in best posterpresentation category ในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ในระดับนานาชาติ ในการประชุมวิชาการ “The5th International Symposium onBiocontrol and Biotechnology” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2550ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย จัดโดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย, ประเทศไทย ซึ่งในการประชุมวิชาการนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากทั่วโลกรวมประมาณ 250 คน จากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนีอังกฤษ ไอร์แลนด์ ไนจีเรีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เวียดนาม และ ไทย เป็นต้น • นางสาวสุรีย์พร บัวอาจ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2550 ระดับดี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระดับปริญญาโท จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่18 มกราคม 2551• รศ.ดร.วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ ได้รับรางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปี 2550 ระดับดี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551• นางสาวสุรีย์พร บัวอาจ, รศ.ดร.วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์,รศ.ดร.สมเดช กนกเมธากุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และนางสาวรัศมี เล็กพรม ได้รับรางวัลในการนำเสนอผลงานทางวิชาการจากโปสเตอร์ดีเด่น (Poster Award Winners) ในสาขา PlantBiotechnology เรื่อง “Characterization of bioactivecompounds from luminescent mushroom(Neonothopanus nambi) and their effect on rootknotnematode and non-target organisms” ในการประชุมวิชาการนานาชาติ Agricultural BiotechnologyInternational Conference (ABIC) 2009: AgriculturalBiotechnology for Better Living and a Clean Environmentซึ่งจัดประชุมโดย สวทช. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23-25 กันยายน 2552 การประชุมฯ นี้มีผู้ร่วมการประชุม เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั่วโลก และมีโปสเตอร์ที่นำเสนอด้าน Plant Biotechnology จำนวน 179 โปสเตอร์รางวัลที่ได้นั้น นอกจากเกียรติบัตรแล้ว ยังได้รับเงินรางวัลอีกจำนวน 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา15AG-BIO


ภาพข่าวกิจกรรม1-2 ตุลาคม 2552 <strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (AG-BIO/PERDO) ร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรและ The Southeast Asian Regional Center for Graduate Study and Research in Agriculture(SEARCA) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เรื่อง “International Conference on KnowledgeManagement in Agricultural Biotechnology : The Asia Experience” ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์กรุงเทพฯ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรระหว่างประเทศ28 ตุลาคม 2552 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การศึกษาการพัฒนาเรณูของเฮเซลนัทด้วยกล้องจุลทรรศน์และเครื่องหมายโมเลกุล” โดย อาจารย์ ดร.ฉันทลักษณ์ ติยายนภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องสุขุมอัศเวศน์ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้สนใจเข้าฟังบรรยายจำนวน 38 คน28 ตุลาคม 2552 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “ความรู้เบื้องต้นและการใช้งานอย่างถูกวิธีของ Biohazard Safety Cabinet” โดย คุณสุนทร โคตรสุ (ProductManager, ESCO) บริษัท กิบไทย จำกัด ณ ห้องสุขุม อัศเวศน์ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้สนใจเข้าร่วมฟังบรรยาย จำนวน 35 คน6 พฤศจิกายน 2552 <strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยร่วมมหาวิทยาลัยขอนแก่น<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้การต้อนรับกรรมการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสถาบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 30 คน เข้าเยี่ยมชมดูงานความปลอดภัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ ณ <strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยร่วมมหาวิทยาลัยขอนแก่น11-13 พฤศจิกายน 2552 <strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติเรื่อง การประเมินสถานภาพและการหาแนวทางในการอนุรักษ์สัตว์ป่าตระกูล Large mammal ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธ์ุ ณ ห้องประชุม A420 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 64 คน11 พฤศจิกายน 2552 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังขอร่วมแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิตทุกท่านในงานรับพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งมีมหาบัณฑิตจำนวน 7 คน ที่สำเร็จการศึกษาโดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในงานวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 3 คน จากหลักสูตรสัตวศาสตร์ 3 คน และจากหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ 1 คนติดต่อขอรับข่าวสารฯ ได้ที่หน่วยประสานงาน: <strong>ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ตู้ ปณฝ. 1028 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10903สำนักงาน: บางเขนอาคารพิพิธภัณฑ์แมลง 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-942-8361, 02-942-7133 โทรสาร 02-942-8258สำนักงาน: กำแพงแสนชั้น 1 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0 3428-2494 ถึง 7 โทรสาร 0 3428-2498www.cab.kps.ku.ac.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!