11.07.2015 Views

พืชพลังงานทดแทน ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - ศูนย์เทคโนโลยี ...

พืชพลังงานทดแทน ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - ศูนย์เทคโนโลยี ...

พืชพลังงานทดแทน ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร - ศูนย์เทคโนโลยี ...

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong>AG-BION e w s l e t t e r ISSN: 1906-5817ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2552 Vol. 1 No. 2 April - June 2009 2ต้นกล้วยไม้ที่ได้รับการถ่ายยีน cpACO จากมะละกอแบบ Antisense ผลิตเอทิลีนน้อยลง 10พืชพลังงานกับความท้าทายของการเกษตรไทย13ข่าวสารพลังงานชีวภาพ14<strong>พืชพลังงานทดแทน</strong> ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


ผลงานเด่น<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร :ต้นกล้วยไม้ที่ได้รับการถ่ายยีน cpACO จากมะละกอแบบ Antisense ผลิตเอทิลีนน้อยลงยีน ACC oxidase หรือยีน ACO เป็นยีนหนึ่งที่ควบคุมการผลิตเอทิลีนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่อยู่ในสถานะก๊าซที่มีบทบาทสำคัญต่อคุณภาพและอายุการใช้งานของไม้ดอก โดยทั่วไปดอกไม้ที่สร้างเอทิลีนได้น้อยจะมีอายุของการใช้งานนานกว่าดอกไม้ที่สร้างเอทิลีนมาก งานวิจัยของ<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร โดย ผศ.ดร.เสริมศิริ จันทร์เปรมร่วมกับ ดร. ปาริชาติ เบิร์นส์ นักวิจัยจาก BIOTEC และนิสิตบัณฑิตศึกษาของศูนย์ฯคือ นางสาวรักชนก โคโต นิสิตปริญญาเอก และ นางสาวปิยนุช ศรชัย นิสิตปริญญาโท ได้ศึกษาการยับยั้งการผลิตเอทิลีนในกล้วยไม้สกุลหวาย โดยนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย โดยดร. ปาริชาติ ได้โคลนยีน จากมะละกอ ซึ่งมีความแตกต่างกับยีน ACO ของกล้วยไม้ประมาณ 33 เปอร์เซนต์ และ รักชนกได้ถ่ายยีน antisense ACO ของมะละกอเข้าสู่กล้วยไม้ สกุลหวาย 2 พันธุ์ คือบอม 17 และ เอียสกุล และศึกษาการแสดงออกในสภาพปลอดเชื้อ ต่อมา ปิยนุช ศึกษาการแสดงออกของยีนโดยตรวจวัดการผลิตเอทิลีนในกล้วยไม้ที่อายุ 1 และ 6 เดือนหลังย้ายปลูก ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโตกราฟฟีพบว่า กล้วยไม้ที่ได้รับการถ่ายยีน antisense ACO จากมะละกอ ผลิตเอทิลีนต่ำกว่ากล้วยไม้ที่ไม่ได้รับการถ่ายยีน ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวนี้ ปิยนุช ได้นำเสนอในของการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลดีเด่นในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายขณะนี้งานวิจัยอยู่ระหว่างการศึกษาอายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้ในเบื้องต้นพบว่าเมื่อใช้วิธีการรมก๊าซเอทิลีน ดอกจากต้นที่ได้รับการถ่ายยีนเหี่ยวช้ากว่าดอกจากต้นปกติ แสดงให้เห็นว่ายีนจากมะละกอสามารถยับยั้งการสร้างเอทิลีนในกล้วยไม้ได้ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราคงจะมีกล้วยไม้ที่ดอกบานทนนานขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกเป็นสินค้าส่งออกคณะที่ปรึกษาพงศ์เทพ อัครธนกุลวิชัย โฆสิตรัตนจุลภาค คุ้นวงศ์พิศาล ศิริธรพิทยา สรวมศิริวัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ดสุมิตรา ภู่วโรดมเสริมศิริ จันทร์เปรมพีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์จรัสศรี นวลศรีประวิตร พุทธานนท์ปิยะดา ตันตสวัสดิ์พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์บรรณาธิการสุจินต์ ภัทรภูวดลผู้ช่วยบรรณาธิการจุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์อรอุบล ชมเดชกองบรรณาธิการจริยา หมื่นแก้วชิตพันธุ์ คติวัฒน์นุช ศตคุณเนตรนภา ปัญญามูลพรทิพย์ ทองคำพรรณทิพย์ กาญจนอุดมการพัชรินทร์ จูมีศรัณย์พร จิวธิรกุลศรุชา เสนกันหาสุคณา ศรีทับอมรรัตน์ บัวคล้ายอรอุษา ลาวิณิชอัญชนา อินทรกำแหงบทความและข้อความที่ตีพิมพ์ใน<strong>ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและลิขสิทธิ์ของผู้เขียน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือผูกพันอย่างใด ข้อมูลบางส่วนอาจตีพิมพ์ผิดพลาด ศูนย์ฯ ยินดีแก้ไขให้ในฉบับต่อไป


คุยกับบรรณาธิการด้วยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในต้นเดือนมิถุนายนนี้คงทำให้ใครต่อใครกลับมาคิดถึงพลังงานทดแทนกันอีกครั้ง <strong>ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร</strong> ฉบับที่สอง จึงได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพืชพลังงาน โดยเฉพาะบทสัมภาษณ์พิเศษกับ อาจารย์ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด เรื่อง“พืชพลังงานกับความท้าทายของการเกษตรไทย” ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ และบทความที่เปี่ยมไปด้วยสาระดีๆ ที่จะช่วยเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง <strong>พืชพลังงานทดแทน</strong> ได้นำมารวมไว้ในฉบับนี้ด้วย ในโอกาสนี้ขอแนะนำ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ที่มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยร่วมเพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของศูนย์ฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยเด่นของศูนย์ฯ และข่าวสารที่ทันสมัย ตลอดจนกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย สุดท้ายนี้กองบรรณาธิการรอฟัง ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นจากท่านผู้อ่าน เพื่อนำมาปรับปรุงรูปแบบและเนื้อหาของข่าวสาร ให้น่าติดตามมากยิ่งขึ้น โดยติดต่อได้ที่agrsujp@ku.ac.th ด้วยความปรารถนาดีบรรณาธิการผลงานเด่น<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร:ต้นกล้วยไม้ที่ได้รับการถ่ายยีน cpACO จากมะละกอแบบ Antisense ผลิตเอทิลีนน้อยลงคุยกับผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: พืชพลังงานแนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร:<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่นPERDO TODAYสัมภาษณ์พิเศษ: “พืชพลังงานกับความท้าทายของการเกษตรไทย” AgBiotech Hot News: ข่าวสารพลังงานชีวภาพสารบัญ24691013เรื่องน่ารู้ AgBiotech: <strong>พืชพลังงานทดแทน</strong> 14ภาพข่าวกิจกรรม16


คุยกับผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: พืชพลังงานหลายปีมาแล้วผมเคยได้รับเชิญไปให้ข้อมูลกับกรรมาธิการด้านการเกษตรของวุฒิสภา บรรยากาศคล้ายคลึงกับที่เห็นในภาพยนตร์ฝรั่ง ทางรัฐสภาเขาจัดโต๊ะให้ผมนั่งกลางห้อง ห้อมล้อมด้วยวุฒิสมาชิกซึ่งคอยตั้งคำถามมีคำถามหลายข้อที่ดีใจที่มีโอกาสตอบ คำถามข้อหนึ่งที่ยังจำติดมาถึงทุกวันนี้ ได้แก่ “จะทำการเกษตรไม่ให้กระทบกระเทือนสภาพแวดล้อมอย่างไร?” วันนั้นผมตอบไปอย่างชัดถ้อยชัดคำ “ทำไม่ได้หรอกครับ” เล่นเอาวุฒิสมาชิกบางท่านที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ชอบการอนุรักษ์ มีสีหน้าไม่ค่อยพอใจ! ผมเลยขอขยายความหน่อยหนึ่ง ด้วยการย้อนกลับไปอดีตสักสองหมื่นปีที่มนุษย์เริ่มใช้เครื่องมือ ในการปลูกพืชและต้อนสัตว์เข้ามาเลี้ยงในคอกแทนการออกล่า นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มนุษย์ได้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของโลกมากมายจนไม่สามารถหวนกลับไปสภาพเดิมได้ แต่การเกษตรทำให้มนุษย์มีอาหารพอเพียงกับความต้องการ ซึ่งเมื่อผนวกกับวิทยาการด้านการแพทย์ ประชากรของมนุษย์เรา Homosapiens ได้เพิ่มจากจำนวนไม่กี่ล้าน ไม่กี่แสนคน ก่อนคนเราจะรู้จักทำการเกษตร จนถึงประมาณ 6 พันล้านคนในปัจจุบัน ทุกๆ ครั้งที่มนุษย์โบราณเปิดป่าเพื่อเปิดพื้นที่ใหม่ในการทำเกษตร สภาพแวดล้อมก็ถูกคุกคาม ถึงแม้แต่ทุกวันนี้ทุกครั้งที่เราได้เปิดหน้าดิน ไขน้ำเข้าเทือกสวนไร่นา ขุดบ่อเลี้ยงปลา จัดหาปศุสัตว์มาเข้าคอกเลี้ยง สภาพแวดล้อมของมนุษย์ หรือที่เรียกกันหรูๆ ว่า “มนุษยนิเวศ” ก็ถูกเปลี่ยนไป!สิ่งสำคัญ คือ เราต้องไม่ไร้เดียงสาในเรื่องนี้ เรารู้ว่าสภาพแวดล้อมของโลกถึงแม้ไม่มีหมู่มวลมนุษย์ ก็ไม่อยู่ในสภาพคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ความต้องการพื้นที่อยู่อาศัยถนนหนทาง เขื่อนกักน้ำ การเกษตร ทุกรูปแบบ ต่างมีผลต่อสภาพแวดล้อมทั้งนั้น จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับการจัดการเทคโนโลยีประเด็นสำคัญที่นักวิชาการเกษตร เกษตรกร และผู้บริโภคต้องตระหนักร่วมกัน คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ที่เป็นผลจากการทำการเกษตรกรรมนั้น ให้พยายามจำกัดให้อยู่ในขอบเขตที่พอรับได้ พอที่จะยั่งยืนถนอมโลกใบสีฟ้าของเราใบนี้ไปได้ อย่างน้อยก็ชั่วอายุขัยของมนุษยชาติ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางท่านบอกว่าน่าจะเหลืออีกไม่นาน อย่างเก่งก็ไม่เกินแสนปี Homo sapiens คงกลายพันธุ์ไปเป็นสปีซีส์ใหม่ ถ้าไม่ทำอะไรบ้าบิ่น เช่น สงครามนิวเคลียร์จนสูญพันธุ์ หรือมีโรคระบาดอะไรที่จะเกิดขึ้นล้างผลาญชนเผ่าเราที่ควบคุมไม่ได้ ฯลฯ ผมเคยสรุปไว้กว้างๆ เมื่อหลายปีก่อนว่า เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะเห็นว่าภารกิจของภาคเกษตรกรรมนั้น มีด้วยกัน4 ประการ คือ (1) ผลิตอาหารให้พอเพียงกับความต้องการAG-BIO


ของหมู่มวลมนุษย์ (2) มอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เกษตรกรและผู้บริโภค (3) อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และ(4) จรรโลงไว้ซึ่งวัฒนธรรมพื้นบ้าน ทั้ง 4 ข้อนี้ ผมทำเป็นแผ่นประกาศติดไว้ที่ อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร <strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ด้วยความหวังว่าผู้ที่ผ่านไปมา โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษา จะได้รู้สึกภาคภูมิว่าการเป็นเกษตรกร และเป็นนักวิชาการเกษตรนั้น เป็นอาชีพที่มีเกียรติ ที่ผดุงความเป็นมนุษยชาติ ไม่ใช่อาชีพที่ต่ำต้อยอะไรเลย! ถึงปัจจุบันนี้ ในยุคเศรษฐกิจหดตัว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และวิกฤติการณ์ทางด้านพลังงาน ผมคิดว่าภารกิจของเกษตรกรรม 4 ด้าน ที่เคยสรุปไว้ ไม่น่าจะครอบคลุมประเด็นต่างๆ ที่ภาคเกษตรกำลังเผชิญ ต้องเพิ่มภารกิจทางด้าน การใช้ภาคเกษตรเป็นที่ผลิตพลังงานชีวภาพและวัสดุที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรมเช่น เยื่อไม้ เนื้อไม้ พลาสติกย่อยสลายฯลฯ การใช้อาหารพวกแป้ง น้ำตาลน้ำมันพืช ไปแปรรูปเป็นพลังงานชีวภาพ ก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันมากมาย ฝ่ายอนุรักษนิยมบอกว่า“เป็นบาปอย่างมหันต์ ถ้าประเทศไทยมุ่งให้ภาคเกษตรมาผลิตพลังงานในขณะที่หลายประเทศยังเผชิญภาวะอดอยาก!” อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมักเป็นนักวิชาการเกษตรที่เป็นห่วงเป็นใยในเรื่องการเพิ่มรายได้ และการเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรแย้งว่า “การปล่อยให้เกษตรกรไทยไม่มีทางเลือกและปล่อยให้สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ เป็นทั้งบาป และเป็นการกดขี่คุณภาพชีวิตของเกษตรกรไม่ให้มีรายได้สูงพอเป็นความคิด นโยบาย การกระทำที่ขาดความรับผิดชอบ!”การใช้วัตถุดิบทางการเกษตรไปทำพลังงาน ทำให้มีความต้องการมากขึ้น ราคาสินค้าเกษตรที่เคยถูกกดให้ต่ำ เช่นมันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ต่างมีราคาสูงขึ้น ตามหลักเศรษฐศาสตร์ด้านอุปสงค์-อุปทานผมเคยนั่งคุยหารือในประเด็นนี้กับนักวิชาการเกษตรระดับแนวหน้าของโลก 3-4 คน ต่างก็มีความเห็นเดียวกันว่าในขณะที่ความต้องการใช้พลังงานของประเทศต่างๆ ยังสูงอยู่การหาแหล่งพลังงานทดแทน ยังไม่เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทันทีทันควัน ความต้องการพืชอาหารเพื่อไปทำพลังงานก็จะยังคงมีอยู่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออดีตวุฒิสมาชิกของรัฐอิลลินอยส์ นายโอบามา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน โอบามาก็คงดูเรื่องฐานเสียงที่มาจากรัฐอิลลินอยส์ และรัฐข้างเคียงในตอนกลางประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ผลิตข้าวโพดแหล่งใหญ่ของโลก การสนับสนุนไม่ว่าจะโดยหลับตาข้างหนึ่ง หรือเปิดตาทั้งสองข้างให้ราคาข้าวโพด และถั่วเหลืองสูงขึ้น โดยให้เกิดการแข่งขันเรื่องอุปสงค์ระหว่างใช้ข้าวโพดเป็นอาหารหรือพลังงาน ก็น่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ ใน 4 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยเราไม่มีแหล่งพลังงานทางเลือกที่มากมายนัก ฟังจากท่านผู้รู้บอกว่าลมไม่แรงพอ ไม่ว่าจะเป็นลมบก ลมทะเล ที่จะอำนวยประสิทธิภาพ การใช้พลังงานจากใบพัดที่ออกแบบรุ่นใหม่ พลังงานแสงแดดของเราศักยภาพไม่สูงอย่างที่คิด เพราะมีเมฆบังบ่อยมาก โดยเฉพาะในฤดูฝนตำแหน่งที่ตั้งของประเทศถึงแม้จะได้แดดทั้งปี แต่วันหนึ่งมีแดดดีๆ เพียง8-10 ชั่วโมง อีกทั้งเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยังมีราคาค่อนข้างแพงหันไปมองก๊าซในอ่าวไทยก็รู้กันอยู่ว่ามีจำกัด พลังงานนิวเคลียร์ ก็เถียงกันไม่เสร็จเสียที ว่าจะเอาหรือไม่เอาถ้าเอาก็ต้องรอจองคิวก่อสร้างกัน10-20 ปี! ก็คงหนีไม่พ้นที่ต้องใช้พืชเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ และชีวมวลใช้คลอโรฟิลในพืชจับพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้พื้นดินและธาตุอาหารในดินที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ใช้น้ำฝนหรือน้ำจากแหล่งอื่นๆ และที่สำคัญ คือ ใช้ทักษะทางเกษตรกรรมที่มีอยู่ผลิตคาร์โบไฮเดรท น้ำมันพืช และชีวมวล เพื่อทดแทนความต้องการพลังงานบางส่วน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานโดยไม่ทำให้ความมั่นคงทางอาหารของคนไทยอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงข่าวสารฯ ฉบับนี้มีบทความบางตอน ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพลังงาน ก็หวังว่าเกิดประโยชน์และความรู้แก่ผู้อ่านพงศ์เทพ อัครธนกุลAG-BIO


แนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันร่วม ของศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นอกจากได้ดำเนินงานตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์ความเป็นเลิศฯ แล้วยังดำเนินการประสานและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายภาคีวิจัยภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงทำให้มีนักวิจัยของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นบุคลากรจากคณะเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์ และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยมีจุดเน้นการวิจัยร่วมกัน ดังนี้AG-BIO


1. ด้านจุลินทรีย์ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาศึกษาจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นโทษและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์โดยการศึกษาจุลินทรีย์ที่เป็นโทษนั้น เน้นการพัฒนาเทคนิคและวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการวินิจฉัยโรคพืชและโรคสัตว์ ส่วนการศึกษาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์นั้น เน้นการใช้การควบคุมศัตรูพืช การปรับปรุงคุณภาพอาหารคนและอาหารสัตว์ รวมทั้งเห็ดรา2. ด้านพืช การใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาศึกษาเกี่ยวกับข้าวเหนียวพื้นเมืองเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงสายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ทางโภชนาการเภสัชกรรมและการแพทย์ รวมทั้งประโยชน์ด้านอื่นๆ3. ด้านสัตว์การใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาศึกษาพันธุกรรมในไก่พื้นเมือง โคพื้นเมือง และสัตว์น้ำเศรษฐกิจพื้นเมือง การผลิตวัคซีนที่สำคัญในการป้องกันรักษาโรคในสัตว์AG-BIO


ด้านการบริการวิชาการ1. การให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น ห้องปฏิบัติการกลาง ห้องปฏิบัติการด้านโรคพืช (ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล ห้องปฏิบัติการเชื้อราวิทยา ห้องปฏิบัติการไส้เดือนฝอย ห้องปฏิบัติการซีรั่มวิทยา)ห้องปฏิบัติการการปรับปรุงพันธุ์พืช ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตว์2. การเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการ เช่น การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์, การจัดอบรมเทคโนโลยีพีซีอาร์ และการประยุกต์ใช้ทางการเกษตรและการจัดฝึกอบรมเห็ด 3. การจัดบรรยายพิเศษและสัมมนาโดยนักวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาล่าสุดได้จัดบรรยายพิเศษ เรื่องGood Seed and PlantPractice โดย Dr.PaulHendrikx เมื่อวันที่ 30มกราคม 2552 และเรื่องCurrent Status of WildSilk-Moths Research andBusiness โดย ProfesserDr.H. Akai4. การบริการวิชาการที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งมีงานบริการเด่น ได้แก่ 4.1 การจำแนกสายพันธุ์ยาสูบเตอร์กีสให้กับบริษัท อาดัมส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้เทคนิคลายพิมพ์ดีเอ็นเอ แสดงให้เห็นความแตกต่างของยาสูบสายพันธุ์ใหม่ของไทย กับสายพันธุ์ของตุรกี และแสดงถึงเอกลักษณ์ดีเอ็นเอประจำพันธุ์ยาสูบ ทำให้สามารถติดตาม ตรวจสอบได้ ส่งผลในด้านสิทธิบัตรคุ้มครองพันธุ์พืชเนื่องจากยาสูบสายพันธุ์ดังกล่าวมีคุณลักษณะเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมยาสูบ และสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรที่ปลูกยาสูบไม่น้อยกว่า 20,000ครัวเรือน 4.2 การตรวจรับรองเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออก ศูนย์ฯได้ให้บริการแก่บริษัทที่ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผัก และผลไม้เพื่อการส่งออก ทั้งในระดับแปลงปลูก และตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ ครอบคลุมเขตพื้นที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ก่อให้เกิดอาชีพและเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกรกว่า 1,000 ครัวเรือนสถานที่ติดต่อ <strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตรมหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้น 2 อาคาร AG07คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002โทรศัพท์ / โทรสาร 043 - 342880 E-mail : agbiotechconrc@kku.ac.thAG-BIO


PERDO TODAYเมื่อวันที่ 27-29 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สบวได้จัดการประชุมสัมมนา เรื่อง “แนวทางการดำเนินงานตามแผนพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศระยะที่ 3 (2553-2557)” ขึ้น ณโรงแรม พินนาเคิล แกรนด์ จอมเทียน รีสอร์ท แอนด์สปา จังหวัดชลบุรี เพื่อรายงานสถานภาพการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาฯ รวมทั้งชี้แจงถึงนโยบายต่างๆ จากการประชุม คณะกรรมการบริหารสำนักฯ ให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการของศูนย์ฯ ได้รับทราบ และเร่งรัดวิธีการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อความคล่องตัวในการประสานงานร่วมกัน รวมทั้งการสร้างความเข้าใจร่วมกันในเรื่องต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูลทางบัญชี ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของ สบวเป็นต้นในการประชุมสัมมนาครั้งนี้ มีเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง “การสื่อสารองค์กร” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประสานงานเรื่องการทำงานระหว่าง สบว กับ ศูนย์ฯ และผู้บริหารกับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก โดยมี ดร.อภิสรา อนงคณะตระกูลเป็นวิทยากรมาบรรยาย และนำกิจกรรม ทำให้เห็นปัญหาและการแนวทางแก้ไขเรื่องการสื่อสารองค์กรได้å รศ.ดร.ชัยยุทธ ขันทปราบ ผอ.สบว กำลังพูดคุยกับวิทยากร ดร.อภิสราอนงคณะตระกูลç รศ.ดร.ชัยยุทธ ขันทปราบ ผอ.สบว บรรยายเรื่อง “แนวทางการดำเนินงานตามแผนพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศระยะ ที่ 3” é กิจกรรมการสื่อสารองค์กรระหว่างเจ้าหน้าที่ สบว กับศูนย์ฯ è กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ข่าวสาร/กิจกรรม/สัมมนา/อบรมสบว เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ “2552 ปีแห่งคุณภาพการอุดมศึกษาไทย” (NationalConference: 2009 The Year of Thai Higher Education Quality Enhancement) ระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี รายละเอียดของกำหนดการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ ดูได้ที่http://www.mua.go.th/data_pr/higher_education2009/table040652.doc สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สบว (S&T Postgraduate Education and Research Development Office, PERDO)ที่ตั้ง: อาคารจุฬาวิชช์ 1 ชั้น 5 จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ถ.อังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 www.perdo.or.th Tel: 02 252 9467-8 Fax: 02 252 9466AG-BIO


สัมภาษณ์พิเศษดร.เดชรัต สุขกำเนิด ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์“พืชพลังงานกับความท้าทายของการเกษตรไทย”ในฐานะนักเศรษศาสตร์เกษตร อาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมในงานด้านพลังงานได้อย่างไรเริ่มเข้ามาทำงานด้านนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งช่วงนั้นมีวิกฤตเศรษฐกิจและมีปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานโดยขณะนั้นมีโรงไฟฟ้าที่ตัดสินใจสร้างไปแล้วแต่ความต้องการการใช้พลังงานลดลงประกอบกับการเริ่มเปิดการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายย่อย รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าใหม่ๆ เข้ามา ได้แก่ ชีวมวลก๊าซชีวภาพ แต่ขณะนั้นยังมีข้อติดขัดด้านโครงสร้างราคาที่ยังไม่จูงใจ ดังนั้น เมื่อมีปัจจัยด้านโครงสร้างราคา การลงทุน และความเหมาะสมอื่นๆ ทำให้เศรษฐศาสตร์ เข้ามามีบทบาท โดยมีส่วนช่วยในการวางโครงสร้างด้านพลังงานดังกล่าวปัจจุบันได้มีส่วนช่วยเกี่ยวกับภาคไฟฟ้า โดยช่วยในส่วนการวางแผนระบบไฟฟ้า เช่น พยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า เพื่อตอบคำถามว่า เราต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดไหนประเภทใด ได้แก่ ถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานหมุนเวียน และเราควรลงทุนกับโรงไฟฟ้าแบบใด หรือควรลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานแค่ไหน การประมวลแผน และเสนอแผนทางเลือกเกี่ยวกับพลังงานจากภาควิชาการ และภาคสังคมเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาล ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับภาวะการณ์จริงทั้งด้านภาคการผลิต และภาคบริโภคทิศทางด้านพลังงานทางเลือกของไทยสำหรับพลังงานทางเลือก เดิมคิดว่ามีศักยภาพน้อยแต่ความจริง ณ ปัจจุบันมีศักยภาพการผลิตที่สูงกว่าที่เคยประเมินไว้ หากแบ่งพลังงานทางเลือกเป็นลูกคลื่นของความสำเร็จ สามารถแบ่งได้ 3 ลูกคลื่น ได้แก่ 1. การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล แกลบ และชานอ้อยซึ่งลูกคลื่นนี้นับได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยมีการพัฒนาทำเป็นรูปแบบพาณิชย์แล้ว2. พลังงานจากก๊าซชีวภาพจากการใช้ของเหลือในกระบวนการผลิตแป้งมัน ซึ่งกำลังดำเนินการ และคาดว่าจะประสบความสำเร็จในไม่ช้านี้3. พลังงานชีวมวล ที่ไม่ได้จากการเผาไหม้ หรือชีวมวลที่ไม่ได้นำมาผลิตไฟฟ้าโดยตรง ได้แก่ น้ำมันดีเซลและเอทานอลจากวัตถุดิบชีวมวล หรือการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากชีวมวล ซึ่งลูกคลื่นที่ 1 และ 2 นั้นยังต้องการโอกาสในการพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ส่วนลูกคลื่นที่ 3 ยังคงต้องการการรวบรวมองค์ความรู้ในด้านต่างๆ มาช่วยเสริมซึ่งต้องเชื่อมโยงกับด้านเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากความต้องการไฟฟ้าและพลังงานแต่ละช่วงเวลาของปีแตกต่างกันและพลังงานชีวภาพสามารถตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหานี้ได้โดยเราสามารถกักเก็บวัตถุดิบ และเร่งผลิตพลังงานให้ตอบสนองต่อความต้องการในช่วงที่มีความต้องการใช้พลังงานมากได้ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีต้นทุนสูงการแก่งแย่งด้านทรัพยากร ระหว่างการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน เมื่อมองในมุมทางเศรษฐศาสตร์จะถือว่าเป็นโอกาสมากกว่าการแก่งแย่งพื้นที่ หรือปัจจัยการผลิต เพราะมีทางเลือกในการใช้ทรัพยากร หากเป็นไปตามกลไกตลาดเนื่องจากว่าหากช่วงใดที่ราคาผลิตผลการเกษตรต่ำ ก็สามารถนำไปผลิตไฟฟ้า หรือพลังงานได้ ทั้งนี้ปัจจุบัน พืชที่เรานำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกได้แก่ แกลบ ที่ได้มาจากโรงสีข้าว กากน้ำตาลจากการผลิตน้ำตาล ของเสียจากการทำแป้งมันสำปะหลัง น้ำมันจากปาล์มน้ำมัน ซึ่งตอนนี้พืชที่มีศักยภาพที่นำมาผลิตพลังงาน10AG-BIO


ชีวมวล ในประเทศไทยยังเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท หรือเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตมากกว่า และในอนาคตเราต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เราสามารถนำผลผลิตที่มากขึ้นนี้ไปรองรับความต้องการอาหารและพลังงานได้พลังงานชีวภาพสามารถมาส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมเกษตรได้อย่างไรเมื่อประมาณการสัดส่วนการใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และบ้านเรือนเกษตร เป็นร้อยละ 50 30 และ 20 ตามลำดับ โดยชีวมวลนอกเหนือจากการนำไปผลิตพลังงานอย่างเดียว ยังสามารถส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเกษตรมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้นทั้งทางด้านความต้องการพลังงาน และการผลิตพลังงานยกตัวอย่าง ได้แก่ โรงงานน้ำมันปาล์มที่จัดอยู่ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งเดิมต้องซื้อน้ำมันเตามาเพื่อใช้ในโรงงาน แต่ปัจจุบันใช้เศษทะลายปาล์มมาผลิตไอน้ำ หรือผลิตไฟฟ้า และของเสียจากการหีบน้ำมันปาล์ม ก็สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งโรงงานอาจใช้ไฟฟ้านั้นเองหรือขายให้การไฟฟ้าก็ได้ ส่วนน้ำมันปาล์มที่ได้ก็มีทางเลือกในการขายได้สองทาง คือ ขายเป็นน้ำมันพืชหรือขายไปทำไบโอดีเซล ดังนั้นจะเห็นว่าเสริมศักยภาพแก่ภาคอุตสาหกรรม โดยการลดต้นทุน และเพิ่มทางเลือกมากขึ้น เราจะส่งเสริมหรือผลักดันให้พัฒนาพลังงานชีวภาพอย่างไรการจะส่งเสริมหรือผลักดันพัฒนาพลังงานชีวภาพจำเป็นต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงรูปแบบการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จแล้ว มาเป็นแรงจูงใจ ปัจจุบันหลายหน่วยอุตสาหกรรม มีความพร้อมในด้านปัจจัยการลงทุน แต่ยังขาดความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะทำให้เชื่อมั่นหรือตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งความพร้อมตรงนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หรือหน่วยงาน อย่างไรก็ตามเมื่อมีรูปแบบการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จแล้วมาเป็นแรงจูงใจในไม่ช้า หลายๆ หน่วยงานที่ยังไม่แน่ใจ ก็จะต้องดำเนินการเพื่อลดความเสียโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามการดำเนินการควรคำนึงถึงกลไกตลาดที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้อย่างแท้จริงด้วย ปัญหากลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาพลังงานชีวภาพปัญหากลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่พบปัจจุบัน ได้แก่การกำหนดโครงสร้างราคา เช่น กรณีการกำหนดราคาเอทานอลของรัฐบาลที่อิงกับประเทศบราซิล ซึ่งเมื่อมองดูเทคโนโลยีการผลิตแล้วประเทศบราซิลซึ่งพัฒนาและผลิตเอทานอลมาก่อนเรา30 ปี ดังนั้น ทำให้บราซิลสามารถผลิตเอทานอลด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเรา กลไกตลาด เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีผลอย่างมากที่ต้องรู้ และเข้าใจ ดังเช่นในกรณีของการผลิตไฟฟ้าจากแกลบ ซึ่งมีการดำเนินการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลโดยโรงงานไฟฟ้าดังนั้นจึงต้องการวัตถุดิบสำหรับป้อนเข้าโรงไฟฟ้า ซึ่งตามเงื่อนไขการค้าขายเดิมเมื่อเกษตรกรขายข้าวเปลือก แกลบเป็นของโรงสี ดังนั้นเมื่อนำแกลบไปขายเพื่อผลิตไฟฟ้าผลประโยชน์จากส่วนนี้ทั้งหมดจะเป็นของโรงสี ไม่ได้กระจายสู่เกษตรกร หรือกรณีการผลิตเอทานอลจากอ้อย ซึ่งใช้กากน้ำตาลที่เป็นส่วนเหลือจากโรงงาน ผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกเป็นของโรงงานเช่นกันดังนั้น หากเราส่งสัญญาณการตลาดที่ผิด หรือวางแผนตั้งแต่แรกไม่ดี ก็จะทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาจากโครงสร้างราคาของเชื้อเพลิงและวัตถุดิบสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเราจะสามารถรับมือกับความผันผวนของราคาได้อย่างไร11AG-BIO


วิธีแก้ไขปัญหาด้านกลไกทางเศรษฐศาสตร์ สร้างความเข้มแข็งให้ถึงชุมชนเราควรมีการวางแผนให้รอบคอบ และควรมีหน่วยงานกลางมาจัดการด้านพลังงานชีวภาพ เนื่องจากมีภาคการเกษตรมาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เอื้อประโยชน์กับทุกฝ่ายมากที่สุด และลดการแก่งแย่งทรัพยากรการผลิต การจัดการอาจจะกระทำโดยสร้างกลไกภาษี หรือหักเงินเข้ากองทุน หรือรัฐบาล เมื่อผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลแล้วนำเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์เพื่อเกษตรกร หรือภาคการเกษตร เลือกผลิตพลังงานจากชีวมวลจากวัตถุดิบที่สามารถเอื้อประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนได้กรณีของการผลิตเอทานอลจากอ้อย โดยใช้กากน้ำตาล แต่หากเราเลือกผลิตจากน้ำอ้อยด้วย ซึ่งปั จ จุ บั น ใช้ น้ ำ อ้ อ ย ผ ลิ ตน้ำตาลอย่างเดียว ผลประโยชน์ส่วนนี้ก็จะสามารถแบ่งไปสู่เกษตรกรได้ นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกในการผลิตเมื่อมีกลไกราคามาเกี่ยวข้องเช่น เมื่อราคาน้ำตาลตกต่ำก็สามารถย้ายวัตถุดิบมาผลิตเอทานอลได้ และปัจจุบันที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น และแนวโน้มสูงขึ้น เราสามารถใช้เอทานอลมาทดแทน หรือชดเชยได้โดยการผลิตเอทานอลมากขึ้น แต่ปัจจุบันที่เราผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลเพียงอย่างเดียว ทำให้เป็นข้อจำกัดของการผลิต ซึ่งถ้านำน้ำอ้อยมาผลิตด้วยก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตเอทานอลได้ และนำผลกำไรไปช่วยเกษตรกรได้ ปัจจุบันราคาน้ำตาลที่เราส่งออกมีราคาต่ำกว่าที่บริโภคในประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันราคากับต่างประเทศได้ ในขณะที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรทำให้มีการบวกเพิ่มราคาน้ำตาลให้กับผู้บริโภคในประเทศ ดังนั้นหากเรานำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ได้ วิธีแก้ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ให้ชุมชนพึ่งตนเองด้านพลังงานได้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงในระยะยาว โดยไม่ตอบโจทย์เพียงด้านเดียว คือ ผลิตสินค้าเพื่อขายให้ได้ราคาที่สูงที่สุด แต่ทำอย่างไรให้ตนเองมีความมั่นคง ลดความเสี่ยงได้แก่ เกษตรกรอาจแบ่งปันพื้นที่ส่วนหนึ่ง สำหรับปลูกพืชอาหารเพื่อใช้บริโภค หรือแปรรูปเป็นพลังงาน ไม่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อจุดประสงค์เดียวเท่านั้นเทคโนโลยีชีวภาพจะมีบทบาทกับการพัฒนาพลังงานชีวภาพได้อย่างไรเพื่อให้สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมถึงการลดต้นทุนการผลิต เรายังต้องการความรู้ การวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต ยกตัวอย่าง เรายังต้องการงานวิจัยเพื่อกระบวนการหมัก ที่ต้องการสายพันธุ์จุลินทรีย์ หรือสายพันธุ์พืชเฉพาะอย่างที่เหมาะกับการผลิต และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ในขณะที่เรามีพื้นที่เพาะปลูกเท่าเดิมแต่เราต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เพื่อรองรับทั้งอาหารและพลังงาน เทคโนโลยีชีวภาพจะมีส่วนช่วยได้ในการพัฒนาพันธุ์พืช ให้มีผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้นหรือพัฒนาปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่ให้เราสามารถแปรรูปวัตถุดิบเป็นพลังงานได้มากที่สุด โดยกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพน้อยที่สุดความท้าทายของการพัฒนาพลังงานชีวภาพในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ คือ ทำอย่างไรที่จะมีโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม สำหรับทุกฝ่าย ทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค และเกษตรกร อีกทั้งยังแข่งขันได้ในตลาดโลก ในส่วนของนักเทคโนโลยีชีวภาพที่ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มศักยภาพการผลิต หรือการแปรรูปพลังงานให้ได้ดีที่สุด และนักธุรกิจจะทำอย่างไรให้มีรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ทำอย่างไรให้ชุมชนพึ่งตนเองด้านพลังงานมากขึ้น โดยอาศัยความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและอื่นๆ ประกอบ เช่น การแปรรูปของเสียในชุมชนเพื่อผลิตเป็นพลังงาน เช่น การหมักชีวภาพจากของเสียในชุมชน และสุดท้ายคือความท้าทายที่จะทำอย่างไรให้สามารถเชื่อมโยงนักวิชาการในสาขาต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านพลังงานชีวภาพ และสื่อให้ประชาคมเข้าใจได้12AG-BIO


AgBiotech Hot News ข่าวสารพลังงานชีวภาพคาดการณ์สถานภาพปัจจุบันและอนาคตของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลังงานชีวภาพรุ่นที่ 2ฟรอสและซูลิแวน รายงานการวิเคราะห์และคาดการณ์สถานภาพปัจจุบันและอนาคตของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลังงานชีวภาพรุ่นที่ 2 อันได้แก่ เซลลูโลซิกหรือลิกโนเซลลูโลซิกที่เป็นองค์ประกอบของเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินของชีวมวล ซึ่งเป็นพลังงานที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ไม่ใช้แหล่งอาหารและต่างจากพลังงานชีวภาพรุ่นที่ 1 ที่ผลิตได้จากพืชอาหารได้แก่ ข้าวโพด อ้อยมันสำปะหลัง เป็นต้น รายงานระบุว่าวัตถุดิบที่นิยมใช้ในการผลิตพลังงานชีวภาพรุ่นที่ 2 คือ เซลลูโลซิกชีวมวลสำหรับนำมาผลิตเอทานอล ได้แก่ สิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร หญ้าต่างๆ และไม้โตเร็ว วัตถุดิบที่นำมาผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ สบู่ดำ และสาหร่าย ในรายงานนี้ยังเน้นให้เห็น 5ประเด็นสำคัญของพลังงานชีวภาพรุ่นที่ 2คือ (1) เทคโนโลยีเกือบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตพลังงานชีวภาพรุ่นที่ 2 อยู่ในสถานะที่พร้อมจะผลิตในเชิงการค้า และอาจทำได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า (2) ถึงแม้จะไม่มีการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต แต่การเข้าถึงและการนำวัตถุดิบไปใช้ได้โดยง่าย จะเร่งให้เกิดความมั่นใจในการผลิตเชิงการค้าในระยะยาว (3) ในอนาคตการนำสาหร่ายมาผลิตเป็นพลังงานจะให้ผลตอบแทนที่ดี (4) ญี่ปุ่นได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบพืชพลังงาน คาเมไลนา สบู่ดำ และสาหร่ายในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (5) นโยบายและเป้าหมายในการใช้พลังงานทดแทนในระยะยาว ของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา จะมีส่วนสำคัญในการยอมรับพลังงานชีวภาพรุ่นที่ 2 และช่วยในการผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน ในปี 2020ที่มา http://www.frost.com/prod/servlet/pressrelease.pag?docid=163689393รายงานความก้าวหน้างานวิจัยด้านจุลชีววิทยาในการผลิตพลังงานชีวภาพยุคใหม่จุลชีพถูกมองว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาพลังงานชีวภาพยุคใหม่ ในการประชุมสามัญประจำของสมาคมนักจุลชีววิทยาของสหรัฐอเมริกา มีการรายงานความก้าวหน้างานวิจัยพัฒนาพลังงานชีวภาพยุคใหม่ โดยอาศัยเครื่องมือด้านจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ มาร์ตินเคลเลอร์ จากกรมพลังงานของสหรัฐอเมริการายงานว่า ขณะนี้กำลังศึกษาแบคทีเรียที่เจริญได้ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ที่ชื่อว่า Anaerocellum ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเซลลูโลสไปเป็นเอทานอลได้โดยตรง ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า consolidatedbioprocessing” (CBP) โดยเชื้อนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตเซลลูโลสเอทานอลจากวิธีการดั้งเดิมที่ใช้ยีสต์ในการเปลี่ยนเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาล และเปลี่ยนน้ำตาลให้เปลี่ยนเอทานอลอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้เอนเดรส ซริมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจาก บริษัท LS9 นครซานฟานซิสโกได้รายงาน การผลิตไบโอดีเซลภายในขั้นตอนเดียว โดยการใช้จุลินทรีย์ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ในขณะที่ ทิม โดนาฮู จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้รายงานการใช้จุลชีพที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่า Rhodobacter sphaeroides ในการผลิตไฮโดรเจนจากเซลลูโลสและแสงอาทิตย์ สุดท้ายนี้ จิม เลียวได้ดัดแปลงพันธุกรรมของแบคทีเรีย E.coli ทำให้สามารถผลิตไอโซบิวทานอลได้สำเร็จ ซึ่งไอโซบิวทานอลนี้ถือว่าเป็นพลังงานชีวภาพยุคใหม่ที่มีศักยภาพที่มา http://www.eurekalert.org/pub_releases/2009-05/asfm-swt051409.php13AG-BIO


เรื่องน่ารู้ AgBiotech: <strong>พืชพลังงานทดแทน</strong>รศ.ดร. สนธิชัย จันทร์เปรมภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐมเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาราคา1. พืชที่ใช้ผลิตแอลกอฮอล์น้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นถึง(เอทานอล) เพื่อผสมในน้ำมันเบนซินเกือบ 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเป็นแก๊สโซฮอล์ต่างๆ พืชที่น่าสนใจทำให้ราคาน้ำมันประเภทต่างๆ ในที่สุดคือ อ้อยและมันสำปะหลังประเทศพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย และสูงเนื่องจากเป็นพืชที่มีการปลูกภายในเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว สร้างประเทศ เกษตรกรมีความชำนาญในความเดือดร้อนให้กับทุกภาคส่วนการปลูก หากมีการนำเทคโนโลยีแม้ในขณะนี้ราคาน้ำมันดิบจะลดลงปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีให้ผลผลิตสูง เข้าไปส่งเสริมแล้ว การเพิ่มผลผลิตจะเหลือประมาณ 65-70 เหรียญสหรัฐฯเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ทำได้ไม่ยาก นอกจากนี้การสร้างโรงต่อบาร์เรลแล้วก็ตาม แนวโน้มของกลั่นเอทานอลก็สามารถทำได้ทันทีราคาน้ำมันดิบก็ยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเช่นกัน เพราะเทคโนโลยีมีพร้อมอยู่ด้วยความจริงที่ว่า สักวันหนึ่งน้ำมันแล้ว โดยเมื่อนำกากน้ำตาล 1 ตัน มาดิบจะต้องหมดไปจากโลก ดังนั้นหมักจะได้แอลกอฮอล์ 260 ลิตร ในปัจจุบันจึงมีการพูดถึงการปลูกพืชเพื่อขณะที่มันสำปะหลัง 1 ตันหมักแล้วนำไปผลิตเป็นพลังงาน หรือที่เรียกว่าจะได้แอลกอฮอล์ประมาณ 180 ลิตร<strong>พืชพลังงานทดแทน</strong> เนื่องจากพืชชนิดนี้แต่เมื่อพิจารณาต้นทุนในการผลิตสามารถผลิตน้ำมันที่ใช้ในกระบวนการของพืชทั้งสองชนิดแล้ว พบว่า ต้นทุนเผาไหม้ในเครื่องยนต์ได้ แต่จะไม่มีในการผลิตแอลกอฮอล์ต่อลิตรใกล้วันหมดไปจากโลก ตราบเท่าที่ยังมีผลสบู่ดำระยะผลสีเหลืองเป็นระยะที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยว จะให้ผลผลิตน้ำมันสูง เคียงกันพื้นที่ที่จะใช้เพาะปลูกพืชประเภทนี้2. พืชที่ใช้ผลิตไบโอดีเซล เพื่อนอกจากนี้<strong>พืชพลังงานทดแทน</strong>ยังมีประโยชน์ ในแง่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์โดยตรง (B100) หรือผสมกับลดภาวะโลกร้อนอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจกได้ เนื่องจากน้ำมันดีเซล (B2, B5 หรือ B10 เป็นต้น) พืชที่มีศักยภาพคือเมื่อมีการเผาไหม้น้ำมันชนิดต่างๆ ที่ได้จากน้ำมันดิบปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ สำหรับปาล์มน้ำมันจัดเป็นพืชที่ให้สารประกอบคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบของน้ำมันดิบผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่แก่ผู้ปลูกสูงสุด เนื่องจากให้จะถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกปลดปล่อยผลผลิตและมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง แต่อาจมีปัญหาการแย่งและสะสมอยู่ในอากาศ ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก แต่ถ้าเป็นตลาดระหว่างการผลิตเพื่อบริโภค กับการผลิตเพื่อใช้เป็นน้ำมันหรือแอลกอฮอล์ที่ได้จาก<strong>พืชพลังงานทดแทน</strong> ก็ก่อให้เกิดไบโอดีเซล เพราะน้ำมันปาล์มใช้ได้ทั้งการอุปโภคและบริโภคก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นกัน แต่น้ำมันหรือแอลกอฮอล์นี้ส่วนสบู่ดำนั้นน้ำมันที่ผลิตได้สามารถนำไปเติมในเครื่องยนต์จะมีต้นกำเนิดจากกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นดีเซลได้โดยตรง โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์หรือกระบวนการที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นจึงเป็นเหมือนการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำมันเลย แต่ปัญหาคือผลผลิตrecycle คาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ได้เพิ่มปริมาณก๊าซดังกล่าวต่อพื้นที่ต่ำ การสุกแก่ของผลไม่พร้อมกัน ต้องทยอยเก็บในบรรยากาศแต่อย่างใดทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง จึงต้องแก้ไขโดยการปรับปรุงพันธุ์<strong>พืชพลังงานทดแทน</strong>ที่มีศักยภาพสำหรับบ้านเราให้มีผลผลิตสูงขึ้น และสุกแก่พร้อมกัน หรือสามารถใช้แบ่งเป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือเครื่องจักรในการเก็บผลได้14AG-BIO


คุณสมบัติ สบู่ดำ ปาล์มน้ำมันผลผลิต น้อยกว่า ปริมาณผลผลิตในปีหลังๆ ยังไม่ชัดเจน สูงกว่า มีข้อมูลปริมาณผลผลิตชัดเจนระยะเวลาให้ผลผลิต 1 ปี 3 ปีปริมาณน้ำมัน 20-25% 19-20 %สภาพภูมิอากาศ สามารถทนสภาพร้อนและแห้งแล้งได้ ต้องการพื้นที่ที่มีความชื้นสูงเพียงพอต้องการน้ำ 50 ลิตร/ต้น/วัน 200 ลิตร/ต้น/วันอัตราแลกเปลี่ยนน้ำมัน สูงกว่า (4 กก.:1 กก.) ต่ำกว่า (5 กก.:1 กก.)ประโยชน์/โอกาสอื่น - มีสรรพคุณทางยา สร้างมูลค่าเพิ่มได้ - พัฒนาสายพันธุ์ได้หลากหลายเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสบู่ดำกับปาล์มน้ำมันจะเห็นได้ว่า สบู่ดำได้เปรียบปาล์มน้ำมันในเรื่องของการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า ต้องการน้ำและการดูแลรักษาน้อยกว่า มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงกว่า แต่ผลผลิตต่ำกว่าปาล์มน้ำมัน และต้องเสียค่าแรงในการเก็บสูง อีกทั้งมีสารพิษในลำต้น และเมล็ด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นการปลูกสบู่ดำจึงควรปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ หรือตามที่ว่างเปล่า เพื่อเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์สูงที่สุด และควรมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ผลสบู่ดำสุกแก่พร้อมกันมากขึ้นรวมทั้งพันธุ์ที่ไม่มีหรือมีสารพิษน้อย เพื่อให้สามารถนำกากสบู่ดำที่เหลือจากการบีบน้ำมันมาทำเป็นอาหารสัตว์ได้ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกทางหนึ่งด้วย ส่วนปาล์มน้ำมันนั้นควรปลูกในพื้นที่ที่มีน้ำฝนและความชื้นในอากาศสูง เพื่อให้ปาล์มสามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มศักยภาพ และควรมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่มีฝนน้อยกว่าภาคใต้ของประเทศ จะทำให้การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ และอาจมีการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่นพันธุ์เพื่อการบริโภค หรือพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นสินค้าอุปโภคต่างๆหรือพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการทำไบโอดีเซล เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อหญ้า Switchgrass เป็นหญ้าพืชอาหารสัตว์ที่เจริญเติบโตเร็ว ปลูกครั้งเดียวสามารถตัดได้หลายครั้งทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีต้น poplar เป็นไม้ยืนต้นโตเร็ว ให้เยื่อใยสูง จึงเหมาะต่อการปลูกเพื่อผลิตเป็นเยื่อกระดาษและการเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์- เป็นพืชอาหารใช้ได้กว้างขวาง - มีข้อจำกัดในการพัฒนาพันธุ์ลดการแย่งตลาดน้ำมันปาล์มระหว่างการบริโภคกับอุปโภค นั่นเอง3. พืชที่ให้ชีวมวลสูง เพื่อนำเอาชีวมวลไปเผาให้เกิดความร้อนสำหรับนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ในโรงงานผลิตเช่นการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือนำไปแปรเปลี่ยนเป็นเอทานอลในกระบวนการcellulosic ethanol เป็นต้น พืชที่มีศักยภาพคือพืชที่เจริญเติบโตเร็ว และให้ชีวมวลสูง ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง เช่น พืชตระกูลหญ้าบางชนิดไม้โตเร็วต่างๆ ที่สามารถสร้างเนื้อไม้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งงานวิจัยในพืชกลุ่มนี้ในบ้านเรายังมีไม่มากนัก และยังไม่ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญเมื่อเทียบกับสองกลุ่มแรกแต่อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จาก<strong>พืชพลังงานทดแทน</strong>เหล่านี้จะมีมากหรือน้อย ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลด้วย ว่าจะมีการสนับสนุนทั้งในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เงินทุนวิจัย ภาษีที่เกี่ยวข้อง ตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สิ่งเหล่านี้ต้องมีความชัดเจน และต้องลงมือปฏิบัติเสียแต่เนิ่นๆเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ทันต่อเหตุการณ์ และความต้องการใช้<strong>พืชพลังงานทดแทน</strong>เหล่านี้ ซึ่งจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน15AG-BIO


ภาพข่าวกิจกรรม7 เมษายน 2552 <strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนาวิชาการให้แก่นิสิต และผู้ที่สนใจเข้าฟังในหัวข้อเรื่อง “The Soybean: Evolution of theWorld Most Important Legume” โดย Dr. Akito Kaga จาก National Instituteof Agrobiological Science, Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น5 มิถุนายน 2552 <strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดปฐมนิเทศนิสิตบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2552 ณ ห้องA106 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้กล่าวต้อนรับ และให้ข้อแนะนำแก่นิสิตบัณฑิต9-10 เมษายน 2552 ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น <strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคโนโลยี PCR และการประยุกต์ใช้ทางการเกษตร ให้แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจ โดยมีผู้เข้าร่วม 60 คน5 มิถุนายน 2552 <strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนรองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ รองผู้อำนวยการ<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร และผู้บริหารจากคณะต่างๆ ของวิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมต้อนรับ ดร.ฉันทวิทย์ สุชาตานนท์รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา คุณเอกพงษ์ เลาหะเทียนสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ และคุณฉายดรุณ เอี่ยมภักดิ์ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ เยี่ยมชมการดำเนินการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ<strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนติดต่อขอรับข่าวสารฯ ได้ที่หน่วยประสานงาน: <strong>ศูนย์เทคโนโลยี</strong>ชีวภาพเกษตร ตู้ ปณฝ. 1028 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10903สำนักงาน: บางเขนอาคารพิพิธภัณฑ์แมลง 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-942-8361, 02-942-7133 โทรสาร 02-942-8258สำนักงาน: กำแพงแสนชั้น 1 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0 3428-2494 ถึง7 โทรสาร 0 3428-2498www.cab.kps.ku.ac.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!