30.01.2015 Views

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

และในฐานะผู้อำนวยการคนใหม่ ศ.ดร.สุภา<br />

เพ่งพิศ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสถาบันพัฒนา<br />

สุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมุ่งเน้น<br />

ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทั้ง<br />

สายวิชาการและสายสนับสนุน ให้เห็นถึงความ<br />

สำคัญของงาน และสร้างเสริมทักษะที่จำเป็น<br />

ในการทำงาน เพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ<br />

ของบุคลากร ให้สามารถสร้างผลงานที่ใช้ใน<br />

การนำเสนอเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ โดย<br />

จะใช้หลักในการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของ<br />

เจ้าหน้าที่ และใช้หลักการเป็นผู้นำแบบเพื่อการ<br />

เปลี่ยนแปลง โดยใช้จิตวิญญาณในการบริหาร<br />

งาน<br />

สำหรับภารกิจงานนั้นจะพัฒนางานตาม<br />

ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลทั้ง ๙<br />

ยุทธศาสตร์หลัก โดยพัฒนาคุณภาพงานบริการ<br />

งานวิชาการและงานวิจัยของสถาบัน ฯ ในส่วน<br />

เนื้องาน ศ.ดร.สุภา ได้กล่าวว่าวิสัยทัศน์ที่ท่าน<br />

ตั้งไว้จะมุ่งเน้นถึงนั้น ได้แก่<br />

๑. เรื่องการเพิ่มบทบาทของสถาบันฯในการ<br />

เป็นผู้นำทางด้านสุขภาพในกลุ่มประเทศ<br />

อาเซียนให้มีบทบาทที่ชัดเจนและเข้มแข็งมาก<br />

ขึ้นทั้ง ด้านการศึกษา การบริการวิชาการ และ<br />

การวิจัย ที่ต้องเพิ่มบทบาทให้ชัดเจนในการเป็น<br />

ศูนย์ประสานงานทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน<br />

ขององค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating<br />

Centre for Primary Health Care) ทั้งนี้ ต้อง<br />

มีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ<br />

กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่<br />

เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างต้นแบบในการดำเนินงาน<br />

และศูนย์สาธิตทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข<br />

มูลฐานให้แก่ประชาคมอาเซียนและนานาชาติ<br />

ต่อไป<br />

๒. ขยายขอบเขตความร่วมมือแบบสห<br />

วิทยาการในการพัฒนางานและบริการร่วมกับ<br />

คณะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย<br />

และระดับนานาชาติ เช่น หลักสูตรการศึกษา<br />

อบรมที่ประยุกต์ใช้ได้ครอบคลุมทุกสภาวะ<br />

สุขภาพแบบไร้พรมแดนสถาบันฯต้องรับบทบาท<br />

ในการเป็นศูนย์ประสานงาน และการจัดการ<br />

ข้อมูลทางสุขภาพและประสานความร่วมมือใน<br />

ระดับนานาชาติ (Centre for Global Health)<br />

๓. การพิจารณาถึงภาวะความต้องการและ<br />

การเปลี่ยนแปลงของตลาดเพื่อพัฒนาและสร้าง<br />

หลักสูตรใหม่ให้ทันกับภาวะความเปลี่ยนแปลง<br />

ของโลก (Global Changes)<br />

๔. เน้นงานวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบในการแก้<br />

ปัญหาด้านสุขภาพ โดย<br />

เน้นการแก้ปัญหาแบบ<br />

องค์รวมให้ได้ต้นแบบที่<br />

มีประสิทธิภาพและมี<br />

ประสิทธิผล ซึ่งสามารถ<br />

เชื่อมโยงผลงานผลวิจัย<br />

ดังกล่าวไปใช้ในการ<br />

ดำเนินงานได้จริง เพื่อ<br />

ปรับและพัฒนางาน<br />

สาธารณสุข และเครือ<br />

ข่ายงานวิจัย ทำให้มีผล<br />

งานตีพิมพ์และเผยแพร่ในระดับนานาชาติให้<br />

เพิ่มขึ้น<br />

๕. การมีส่วนร่วมกิจกรรมกับชุมชน ภาครัฐ<br />

ภาคธุรกิจ และสื่อสารมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยน<br />

ประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านทฤษฏี<br />

และปฏิบัติ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของ<br />

สถาบันฯทั้งทางตรงโดยใช้สื่อบุคคล และผ่าน<br />

สื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนและส่ง<br />

เสริมศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาไทย<br />

ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ<br />

ศ.ดร.สุภา กล่าวทิ้งท้ายด้วยความเชื่อมั่นว่า<br />

“จากการที่ดิฉันได้มีโอกาสสนทนากับเจ้าหน้าที่<br />

ของสถาบันฯ ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานมา<br />

หลายปี บวกกับความกระตือรือร้นของเจ้า<br />

หน้าที่ทุกคน ดิฉันเชื่อว่าสถาบันพัฒนาสุขภาพ<br />

อาเซียนจะมีบทบาทและชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ<br />

ในประชาคมอาเซียน และต่อไปในระดับโลกใน<br />

อีกสองปีข้างหน้านี้” <strong>MU</strong><br />

เสวนาการดูแลผู้ป่วย<br />

ระยะท้าย ในมิติจิต<br />

วิญญาณพรทิพา สุดวิเศษ<<br />

เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้อง<br />

ประชุมสระบัว ชั้น ๑ อาคารประชาสังคม<br />

อุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา คุณหญิงจำนงศรี<br />

(รัตนิน) หาญเจนลักษณ์ ผู้บริจาคที่ดินในจังหวัด<br />

ประจวบคีรีขันธ์ ให้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อ<br />

สร้างศูนย์พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบ<br />

วงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย เป็นวิทยากร<br />

ในการเสวนา “การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ใน<br />

มิติจิตวิญญาณ” จัดโดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ภายในงานเสวนาเป็นไปอย่างกันเอง คุณ<br />

หญิงจำนงศรี ได้แนะนำและกล่าวถึงการดูแลผู้<br />

ป่วยระยะท้ายว่า “เราจะต้องเข้าใจพื้นฐานของ<br />

ตัวเองเสียก่อน ต้องทำความเข้าใจในการที่เรา<br />

จะไปดูแลผู้ป่วยระยะท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่<br />

ในจิตใจของเขาเต็มไปด้วยความกลัว ความเจ็บ<br />

ปวด ซึ่งถ้าเราไปดูแลผู้ป่วยในฐานะที่เราเป็นคน<br />

ดูแล นั่นไม่ใช่การดูแลที่มีมิติจิตวิญญาณ เราจะ<br />

ต้องเข้าใจและสามารถยอมรับกับวาระสุดท้าย<br />

ของชีวิต ต้องทำจิตให้บริสุทธิ์ ที่ไม่มีอะไรเข้ามา<br />

เจือปน เช่น ความกังวล ความโกรธ หรือความ<br />

รู้สึกต่างๆ และไม่ควรคิดในเรื่องความคาดหวัง<br />

เพราะสิ่งที่ต่อยอดของความคาดหวังคือ การ<br />

ผิดหวัง และการสมหวัง ทำให้ชีวิตของเราเต็ม<br />

ไปด้วยความคาดหวัง ซึ่งจะมาปิดบังการที่เรา<br />

จะสามารถสัมผัสกับความจริง”<br />

ในช่วงท้าย ได้มีการถามตอบเกี่ยวกับการ<br />

ดูแลผู้ป่วย โดยผู้ที่เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ ได้ข้อคิด<br />

และวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งสามารถนำ<br />

ข้อแนะนำของคุณหญิงจำนงศรีไปดูแลผู้ป่วย<br />

ระยะท้ายได้อย่างเข้าใจ และมีความสุขที่สุด <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 23

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!