30.01.2015 Views

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

Special Article<br />

ธนาโชค ตติเจริญ<<br />

เทคนิคการประเมินคุณภาพ<br />

ทางด้านสีเนื้อผลของกีวีฟรุต<br />

โดยทั่วไปกีวีฟรุตที่นิยมวางจำหน่ายมี ๒<br />

กลุ่ม คือ พันธุ์เนื้อเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า<br />

Actinidia deliciosa และพันธุ์เนื้อเหลือง<br />

(Actinidia chinensis) ผลกีวีฟรุตที่พบเห็นใน<br />

ท้องตลาดนั้นนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น<br />

นิวซีแลนด์ และจีน ปัจจุบันประเทศไทย<br />

สามารถปลูกกีวีฟรุต และให้ผลผลิตได้แล้วภาย<br />

ใต้การบริหารจัดการของมูลนิธิโครงการหลวง<br />

แต่ปัญหาที่พบเสมอของกีวีฟรุตที่ผลิตใน<br />

ประเทศไทย คือ ความไม่สม่ำเสมอของสีเนื้อ<br />

ผลเมื่อเวลารับประทาน ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระ<br />

ทบต่อความมั่นใจ และความประทับใจของผู้<br />

บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อในครั้งต่อไป ถึงแม้ว่าจะ<br />

มีการสุ่มตรวจคุณภาพก่อนวางจำหน่ายตามวิธี<br />

ปกติ แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะในขั้น<br />

ตอนการตรวจจำเป็นต้องผ่าทำลายเพื่อ<br />

ประเมินดูสีเนื้อภายใน ส่งผลให้เกิดการสูญเสีย<br />

ผลผลิตโดยเฉพาะกลุ่มคุณภาพสูงที่สามารถวาง<br />

จำหน่ายในท้องตลาดได้ นอกจากนี้ในการตรวจ<br />

ประเมินคุณภาพแต่ละครั้งจะต้องทำลายผลทิ้ง<br />

เป็นจำนวนมากนำไปสู่การสูญเสียรายได้ ดังนั้น<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย<br />

เกษตรศาสตร์ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยของ<br />

มูลนิธิโครงการหลวงดำเนินโครงการวิจัยที่จะ<br />

นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อ<br />

หาวิธีการประเมินคุณภาพสีเนื้อผลแบบไม่<br />

ทำลายตัวอย่าง<br />

เทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ใน<br />

การประเมินลักษณะสีเนื้อผลโดยไม่จำเป็นต้อง<br />

ทำลายผลได้ก็คือ Near Infrared spectroscopy<br />

(NIRs) ซึ่งมีหลักการทำงาน คือเครื่อง NIRs จะ<br />

ปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 700-1100<br />

nm ไปยังวัตถุ ซึ่งวัตถุแต่ละชนิดนั้นจะมีองค์<br />

ประกอบทางเคมีอินทรีย์ที่แตกต่างกัน และจะ<br />

ดูดกลืนความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างตามแต่<br />

ชนิดขององค์ประกอบสารเคมีอินทรีย์ภายใน<br />

วัตถุนั้นๆ หลังจากนั้นแสงจะสะท้อนกลับไปยัง<br />

จุดรับของตัวเครื่อง NIRs ก็จะได้ค่าสเปคตรัมที่<br />

แสดงการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นแตกต่าง<br />

กันไปตามชนิดขององค์ประกอบสารเคมีอินทรีย์<br />

แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่าสเปคตรัมขององค์<br />

ประกอบทางเคมีอินทรีย์มาตรฐาน<br />

จากการใช้เครื่อง NIRs ประเมินสีเนื้อกับกลุ่ม<br />

ผลกีวีฟรุตทั้งกลุ่มเนื้อเขียว และเนื้อเหลืองใน<br />

ระยะเก็บเกี่ยวปกติที่ผลิตได้จากสถานีเกษตร<br />

หลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เปรียบเทียบ<br />

กับค่าการประเมินสีเนื้อผลจากเครื่อง Chroma<br />

meter แล้วนำค่าที่ได้จากทั้งสองมาเทียบเพื่อ<br />

สร้างสมการในการประเมินลักษณะสี สมการ<br />

การประเมินสีเนื้อผลที่ได้จากผลกีวีฟรุตกลุ่มนี้ที่<br />

เรียกว่า Calibration set จะถูกนำไปทดสอบ<br />

ความแม่นยำของสมการด้วยลักษณะสีเนื้อของ<br />

ผลในกลุ่ม validation set ก่อนที่จะนำสมการ<br />

ที่ได้ไปใช้จริง ต่อจากนี้ไปจะสามารถทำนายสี<br />

เนื้อผลกีวีฟรุตในเวลารวดเร็วด้วยเครื่อง NIRs<br />

โดยการอ่านค่าจากเครื่องที่ทราบผลทันทีใน<br />

เวลาไม่กี่วินาที และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องผ่า<br />

ทำลายผลทิ้ง ทำให้ลดความสูญเสียผลผลิตกีวี<br />

ฟรุตได้อีกด้วย <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 9

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!