30.01.2015 Views

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

• Quality Matters https://www.qualitymatters.org/rubric<br />

ผู้บรรยายกล่าวเพิ่มเติมว่าเราควรต้องพัฒนา<br />

อาจารย์ โดยทำความเข้าใจอาจารย์ ตระหนักถึง<br />

ความรู้สึกของอาจารย์ให้ดี ทำให้เกิด Professional<br />

Trust และทำให้อาจารย์ตระหนักว่าตน<br />

เป็นผู้รับผิดชอบต่อคุณภาพของระบบ<br />

e-learning ที่ตนเองดูแลอยู่ ทั้งนี้ อาจใช้ระบบ<br />

peer review เป็นการประเมินอาจารย์ด้วย<br />

กันเองมาช่วยประเมินคุณภาพของระบบ<br />

e-learning ที่อาจารย์ดูแลอยู่นั้นก็ได้ ตัวอย่าง<br />

ของระบบนี้ได้แก่ระบบที่ใช้ที่ Massey <strong>University</strong><br />

ชื่อ Massey Peer Assistance and Review<br />

of Teaching (PART) ที่ http: //peerreview.<br />

masseay.ac.nz<br />

ผู้บรรยายคนต่อมามาจาก UAE ได้กล่าวว่า<br />

UAE ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องมีและใช้<br />

iPad ตั้งแต่เมษายน ๒๕๕๕ หลังจากได้เริ่ม<br />

มาตรการนี้แล้ว ผลกระทบในเชิงบวกที่เห็นได้ชัด<br />

ได้แก่ นักศึกษามี Engagement, Motivation,<br />

Perception of student creativity เพิ่มขึ้นมี<br />

ความรู้สึกว่า โลกใบนี้เล็กลง และตนเองเป็น<br />

พลเมืองของโลกมากขึ้นและทำให้เกิด<br />

กระบวนการคิดใหม่ทำใหม่ในด้าน methodology,<br />

course content และ assessment ในระบบ<br />

e-learning<br />

ผู้บรรยายคนถัดมามาจาก Hong Kong ใน<br />

เรื่อง Learning through content creation<br />

ในหัวข้อนี้ ผู้บรรยายกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยี<br />

อย่างเหมาะสม ผู้ที่เป็นผู้วางแผนในการนำ<br />

เทคโนโลยีมาใช้ ควรพิจารณา high level criteria<br />

ทั้งในด้านกระบวนการ ผู้ใช้ วิธีการจัดการ<br />

เรียนการสอน และด้านเทคนิค และควรสร้าง<br />

กระบวนการทบทวนและพัฒนา โดยเหนี่ยวนำ<br />

ให้เกิดการรวมกลุ่มของอาจารย์ที่มีความตั้งใจที่<br />

จะพัฒนา e-learning ให้มีคุณภาพและทำ<br />

อาจารย์กลุ่มนี้ให้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ<br />

กำหนดทิศทางการพัฒนา e-learning ของ<br />

สถาบันและพยายามกำหนดให้มี community<br />

engagement ในทุกระดับของอาจารย์ถ้าเป็น<br />

ไปได้<br />

สำหรับประเด็นของการพัฒนาคุณภาพ ควร<br />

ให้ครอบคลุมทั้ง content, teaching process<br />

และ learning process ควรให้มีการศึกษาถึง<br />

pedagogy ใหม่ ที่เน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพ<br />

ของ e-learning สำหรับทิศทางการพัฒนา ควร<br />

มองไปถึงเป้าหมายของ e-learning ที่เป็น social<br />

learning ที่เน้นลักษณะการมีส่วนร่วมของ<br />

อาจารย์และนักศึกษา มีความยั่งยืน และที่ส ำคัญ<br />

ที่สุด คือต้องมีลักษณะ professor friendly<br />

ผู้บรรยายถัดมาคือ Marc Prensky (marcprensky@gmail.com)<br />

ซึงเป็นผู้แต่งหนังสือ<br />

เรื่อง Brain Gain และอื่นๆ ได้กล่าวถึงนักศึกษา<br />

ในปัจจุบันซึ่งเป็น digital natives และมีความ<br />

สามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดีกว่าอาจารย์<br />

สถาบันการศึกษาและอาจารย์ควรปรับปรุง<br />

กระบวนการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความ<br />

คาดหวังของนักศึกษา ซึ่งเติบโตมาในยุคและ<br />

สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แตก<br />

ต่างจากในยุคที่อาจารย์เติบโตมามากและจะ<br />

ต้องมีชีวิตและทำงานอยู่ในโลกและสิ่งแวดล้อม<br />

ในอนาคตที่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเป็น<br />

อย่างไร นักศึกษาในยุคนี้มีความสามารถด้าน<br />

การใช้เทคโนโลยีที่สูงมาก มีความคล่องตัวและ<br />

พึ่งพาเทคโนโลยีได้ เปรียบเสมือนเทคโนโลยีเป็น<br />

อากาศที่ใช้หายใจ สมองของนักศึกษาในยุคนี้<br />

เป็นสมองที่ถูก enhanced โดยเทคโนโลยี หรือ<br />

extended brain เราควรปรับตัวเพื่อให้สมอง<br />

ของนักศึกษาเหล่านี้ได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการ<br />

ที่ดีที่สุด<br />

นักศึกษาในยุคนี้ควรจะมีความตระหนักว่า<br />

สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นความถูกต้องในปัจจุบัน อาจ<br />

จะถูกพิสูจน์ได้ว่าผิดพลาดในอนาคต เมื่อมีผู้ถาม<br />

ผู้นำด้านวิชาการและการศึกษาท่านหนึ่ง ว่าเรา<br />

ควรจะส่ง message อะไรถึงนักศึกษาใน<br />

ศตวรรษที่ ๒๑ นี้ ท่านกล่าวว่า “Everything I<br />

am about to tell you is wrong.” ดังนั้น<br />

ความสามารถในการหาความรู้ รู้เท่าทัน และ<br />

พัฒนาตนเองจึงเป็นทักษะที่สำคัญของพลเมือง<br />

ในศตวรรษที่ ๒๑<br />

ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทำให้โลก<br />

สามารถเชื่อมต่อกันได้ในลักษณะที่ไม่เคยเป็นมา<br />

ก่อน เราควรฉวยโอกาสจากความก้าวหน้านี้เพื่อ<br />

สร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ที่ดีกว่าเดิม เพราะ<br />

ถึงแม้ในอดีต การศึกษาก็คือ การ “Connecting<br />

brains to people and resources through<br />

the best available ways possible”เทคโน<br />

โลยีในอนาคตจะทำให้ประชากรในโลกเชื่อมต่อ<br />

กันอย่างรวดเร็วและทั่วถึงเปรียบเสมือนคนหนึ่ง<br />

คนเป็นหนึ่ง node ของ network ดังนั้นเราควร<br />

จะมองการศึกษาเป็น hierarchy ของ network<br />

นั้นการใช้เทคโนโลยี ไม่ควรจะมองเป็นเพียงนำ<br />

มาใช้เพื่อ leverage traditional education<br />

เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นรากฐานที่สำคัญของ<br />

กระบวนการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑ ทุกวันนี้<br />

ประชากร ๒ ใน ๓ ของโลกมี mobile phones<br />

เราคงไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเทคโนโลยีการ<br />

เชื่อมต่อจะเป็นอย่างไรในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า แต่<br />

ICT-Based <strong>University</strong><br />

รศ.อาทิตย์ อังกานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ<<br />

อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ หรือ device<br />

เปรียบเสมือนเพียงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สิ่งที่<br />

สำคัญกว่า คือ connection ดังนั้น ผู้บรรยาย<br />

กล่าวว่าเราควรปรับเปลี่ยนความสนใจจากจุดมุ่ง<br />

หมายที่เป็นเรื่องเล็กน้อยไปเป็นจุดมุ่งหมายที่ยิ่ง<br />

ใหญ่และกว้างขวางกว่า เช่น ไม่ควรจะมองเพียง<br />

ระบบ e-learning ว่าเป็น repository ของ<br />

digitally converted learning material แต่<br />

ควรใช้ให้เกิดการเปลี่ยน rote thinking ให้เป็น<br />

critical and creative thinking เป็นต้น<br />

สำหรับอาจารย์ บทบาทของอาจารย์ควรเป็น<br />

อะไรที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ทำไม่ได้ โดย<br />

เฉพาะอย่างยิ่ง การที่อาจารย์มี empathy ต่อ<br />

นักศึกษา และการกระตุ้นในนักศึกษาเกิด passion<br />

และโดยเฉพาะการทำให้นักศึกษาได้ทราบ<br />

ถึง passion ของตนเอง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญใน<br />

การประสบความสำเร็จในชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑<br />

อาจารย์หรือสถาบันควรจะให้นักศึกษามีส่วน<br />

สำคัญในการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีทีจะใช้ ใน<br />

เรื่องการเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ควรจะ<br />

approach แบบ bottom up กับนักศึกษาสิ่ง<br />

สำคัญ คือ เป้าหมายของการฝึกให้นักศึกษาคุ้น<br />

เคยกับ technical skill และควรสนใจว่า<br />

นักศึกษาทำอะไรได้ (ในภาพใหญ่) มากกว่า<br />

กำหนดเครื่องมือที่นักศึกษาจะต้องใช้ เนื่องจาก<br />

เครื่องมือมีการพัฒนาตลอด ยกตัวอย่างเช่น<br />

หากต้องการให้นักศึกษา ค้นคว้า เขียน และทำ<br />

รายงานเป็น เดิมอาจจะใช้ห้องสมุด สมุดจด และ<br />

การพูดหน้าชั้น พัฒนามาเป็นการใช้ internet<br />

resource, word processor และ PowerPoint<br />

และต่อมาก็อาจพัฒนาเป็น social research<br />

tools, blogging และการสร้าง video เป็นต้น<br />

ผู้บรรยายเน้นการสร้าง video ว่าเป็น skill พื้น<br />

ฐานที่คนในศตวรรษที่ ๒๑ ควรจะมี เนื่องจาก<br />

เครื่องมือในการสร้าง video มีอยู่หลากหลาย<br />

และการเผยแพร่ทำได้ง่ายมาก ผู้ที่รู้สึกอึดอัด<br />

เวลาถูกถ่าย video ควรเอาชนะความอึดอัดนั้น<br />

และยอมรับเทคโนโลยีนี้ และใช้ให้เป็นผู้บรรยาย<br />

กล่าวว่า “Video is a serious mean of discourse,<br />

replacing text. Make the student<br />

make video than text.”<br />

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง framework ของ 21 st<br />

Century Skills มี resource ที่น่าสนใจที่ International<br />

Society for Technology in<br />

Education https://www.iste.org/<br />

สุดท้าย สิ่งสำคัญที่อาจารย์และผู้บริหารการ<br />

ศึกษาควรถามตัวเองเสมอ คือคำถามที่ว่า “If<br />

we have tech, how can we use it to<br />

enhance learnings” <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 5

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!