19.01.2018 Views

กลาโหม

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

รอยเวลา...<strong>กลาโหม</strong>


ภาพเรียงร้อย “รอยเวลา..<strong>กลาโหม</strong>”<br />

ให้แนบโน้มสำนึกรำลึกถึง<br />

เกียรติประวัติแกร่งกล้าที่ตราตรึง<br />

ยิ่งผูกพันลึกซึ้งร่มเรือนเรา<br />

คือเรือนแหล่งแห่งรักและศักดิ์ศรี<br />

กว่าร้อยปีกี่รุ่นยังอุ่นเหย้า<br />

บันทึกภาพประทับใจในแสงเงา<br />

เพื่อบอกเล่าเรียงร้อย..รอยเวลา<br />

คำประพันธ์: จิระนันท์ พิตรปรีชา


รอยเวลา...<strong>กลาโหม</strong><br />

สารบัญ<br />

ISBN 978 – 974 – 9752 – 42 - 5<br />

พิมพ์ครั้งที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔<br />

จัดพิมพ์โดย สำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

อำนวยการ<br />

พลตรี ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

นาวาอากาศเอก ธวัชชัย รักประยูร ผู้อำนวยการกองกลาง<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

จิระนันท์ พิตรปรีชา ประธานที่ปรึกษา กลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

บรรณาธิการ<br />

พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

ธีรภาพ โลหิตกุล กลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

เกรียงไกร ไวยกิจ กลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

เพ็ญพัฒน์ มรกตวิศิษฎ์ กลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

กองบรรณาธิการ<br />

กองประชาสัมพันธ์<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

ศิลปกรรม สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์<br />

ถ่ายภาพ กลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

ภาพปกหน้า<br />

เกรียงไกร ไวยกิจ<br />

ภาพปกหลัง อำนาจ เกตุชื่น<br />

ผลิต<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จำกัด โทร ๐ ๒๘๐๓ ๒๖๙๔ – ๗<br />

เปิดประตู...สู่<strong>กลาโหม</strong><br />

ศรีสง่าแห่งราชธานี<br />

จากฉางข้าวหลวง ถึงโรงทหารหน้า<br />

สู่ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

ซุงปูรากฐาน<br />

สถาปัตยกรรมตะวันตกตระการตา<br />

สิ่งศักดิ์สิทธิ์และมรดกล้ำค่า<br />

ในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

สีหนาทปืนไฟ<br />

เกียรติภูมิปืนใหญ่<strong>กลาโหม</strong><br />

<strong>กลาโหม</strong>สามสายธาร<br />

ชีวิตและงานไม่เคยหยุดนิ่ง<br />

<strong>กลาโหม</strong>รักษ์ราษฎร์<br />

ทุกข์ฤาสุข...เคียงข้างประชาชน<br />

จดหมายเหตุ ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

แลไปข้างหน้า <strong>กลาโหม</strong><br />

บทกวี โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา<br />

๑๐<br />

๑๒<br />

๒๔<br />

๓๖<br />

๕๔<br />

๗๒<br />

๑๐๖<br />

๑๒๐<br />

๑๒๔<br />

๑๓๘


เปิดประตู...สู่<strong>กลาโหม</strong>


หาก<br />

เอ่ยถึง “กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>” ใครๆต่างต้องนึกถึงภาพอาคารงามสง่า<br />

และอุทยานปืนใหญ่โบราณที่ตั้งตระหง่านอยู่ใกล้กับศาลหลักเมือง<br />

และวัดพระศรีรัตนศาสดารามอันเป็นศูนย์กลางพระนครแต่ครั้งอดีต แต่น้อยคนนักที่<br />

จะรู้ว่าสถานที่แห่งนี้มีความเป็นมาเช่นไร ภายในอาคารประกอบด้วยหน่วยงานอะไร<br />

บ้าง และยังมีมรดกศิลปกรรมล้ำค่าอื่นใดที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ ณ ที่แห่งนี้<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> จึงได้จัดทำหนังสือ “รอยเวลา...<strong>กลาโหม</strong>” เล่ม<br />

นี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู ้และภาพประทับใจจากอาคารสถานที่แห่งนี้สู ่สาธารณชน โดย<br />

ได้รับความร่วมมือจาก กลุ ่มสห+ภาพ:ชุมชนคนถ่ายภาพ (www.fotounited.net)<br />

ดำเนินการบันทึกภาพและจัดพิมพ์<br />

ตลอดช่วงเวลาสามสัปดาห์ ที่คณะช่างภาพกว่ายี่สิบชีวิตได้เข้ามาสำรวจแทบ<br />

ทุกซอกมุม ภายในบริเวณศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>แห่งนี้ โดยมีคณะเจ้าหน้าที่จากกอง<br />

ประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> เป็นผู้อำนวย<br />

ความสะดวก นำชม และรวบรวมข้อมูลให้คำอธิบาย อีกทั้งไมตรีจิตที่ได้รับจาก<br />

ข้าราชการที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในสถานที่นี้ สิ่งที่ช่างภาพทุกท่านได้แสดงออกอย่าง<br />

ชัดเจนก็คือ ความอัศจรรย์ใจระคนภาคภูมิใจเมื่อได้เห็นมรดกสถาปัตยศิลป์ของชาติซึ่ง<br />

ผ่านการใช้งาน ยาวนานกว่าหนึ่งร้อยปี ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี และอารมณ์ความ<br />

รู้สึกดังกล่าว ก็ได้รับการถ่ายทอดสู่ผลงานภาพถ่ายที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้เช่นกัน<br />

“รอยเวลา..<strong>กลาโหม</strong>” เล่มนี้ เป็นการแบ่งปันความรู้และภาพประทับใจจากหน่วย<br />

งานราชการ ที่มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติและรักษาความมั่นคงภายในราช<br />

อาณาจักร สู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่ายามศึก<br />

หรือยามสงบ กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>ได้ทำหน้าที่ รับใช้ชาติ ราษฎร์ ราชัน ในทุกๆ ด้าน<br />

อย่างเข้มแข็งเต็มกำลังความสามารถ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป คณะผู้จัดทำ<br />

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นสื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง เหล่าทหาร<br />

หาญ และพี่น้องประชาชนให้ได้รู้จักกับ “กระทรวง” ที่อยู่เบื้องหลัง ภารกิจสำคัญ<br />

เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น และได้ตระหนักถึงคุณค่าความงดงาม ของอาคารประวัติศาสตร์<br />

แห่งนี้ ในแง่มุมที่ไม่เคยผ่านสายตามาก่อน<br />

คณะผู้จัดทำ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong>


หาก การปฏิรูปประเทศไปสู ่ความทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ เป็น<br />

เหตุผลสำคัญยิ่งยวด ที่ทำให้สมเด็จพระปิยมหาราชาของชาวสยาม<br />

รักษาเอกราชของชาติไว้ได้ ในห้วงยามที่มหาอำนาจตะวันตกกำลังไล่ล่าอาณานิคม<br />

อยู่รอบข้างอย่างเมามัน<br />

และหากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศ จากแบบจัตุสดมภ์ (เวียง วัง<br />

คลัง นา) ที่มีมานานนับหลายศตวรรษ มาสู่ระบบบริหารราชการ ด้วยกระทรวง ทบวง<br />

กรม เป็นความจำเป็นต้องปฏิรูปในลำดับต้น ๆ<br />

กรมทหารหน้า ซึ่งมีภารกิจสำคัญยิ่งในการปกปักรักษาเอกราชและอธิปไตยแห่ง<br />

กรุงสยาม ด้วยเป็นหน่วยกำลังหลักทำหน้าที่รักษาพระนคร แห่นำตามเสด็จ จุกช่อง<br />

ล้อมวง ประจำตามหัวเมืองประเทศราช ตลอดจนเมื่อมีการเกณฑ์ทัพ กองทหารหน้า<br />

จะเป็นกองกำลังหลัก จึงนับเป็นหน่วยงานสำคัญในลำดับแรกของการปฏิรูปประเทศ<br />

12


ศรีสง่าแห่งราชธานี<br />

จากฉางข้าวหลวง<br />

ถึงโรงทหารหน้า<br />

สู่กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>


โดยมี เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ซึ่งต่อมาคือ จอมพล<br />

เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แม่ทัพ<br />

ใหญ่ผู้ปราบศึกฮ่อและเงี้ยว เป็นผู้รับสนองพระบรม<br />

ราชโองการ และเป็นทั้งนายสถาปนิก วิศวกร และ<br />

แม่กองงานคนสำคัญในการก่อสร้างสถานที่ตั้งกรม<br />

กองทหารให้เป็นที่ถาวร ถูกต้องด้วยแบบแผนและ<br />

สุขลักษณะทัดเทียมกรมกองทหารในยุโรป<br />

โดยท่านเพียรใช้เวลาว่างออกหาสถานที่ต่าง ๆ ที่<br />

เหมาะสม กระทั่งไปพบฉางข้าวขนาดใหญ่ ๗ ฉาง ใกล้<br />

วังร้างของเจ้านายสมัยต้นรัตนโกสินทร์หลายวัง ระหว่าง<br />

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กับสะพานช้างโรงสีปัจจุบันกว้าง<br />

๓ เส้น ๑๐ วา ยาว ๕ เส้น เป็นฉางข้าวหลวงที่สร้างไว้<br />

เก็บข้าวในราชการทหารใช้ยามฉุกเฉิน หรือยามสงคราม<br />

ก่อนรัชสมัยพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยแต่ละ<br />

ฉางชำรุดทรุดโทรม และถูกทิ้งไว้ตามยถากรรม ควรแก่<br />

การรื้อถอน เพื่อสร้างที่ทำการกรมทหารหน้าให้เป็น<br />

ถาวรปึกแผ่น และทันสมัยตามแบบแผนของกรมทหาร<br />

ในต่างประเทศ<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ จึงสั่งให้นายทหารทำแผนที่<br />

พร้อมถ่ายภาพประกอบ และเชิญมิสเตอร์โยอาคิม<br />

กรัสซี (Joachim Grassi) นายช่างสถาปนิกชาวอิตาลี<br />

ที่เข้ามารับใช้เบื้องพระยุคลบาทในช่วงต้นรัชกาล ผู้<br />

ออกแบบพระอุโบสถทรง “กอทิก รีไววัล” (Gothic<br />

Revival) ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ และเป็นผู้อำนวย<br />

14<br />

(รูปบนซ้าย) ภาพเหล่าผู้บังคับบัญชาทหาร<br />

บกที่นำทหารเข้าร่วมเฉลิมพระเกียรติภาย<br />

หลังการทูลเกล้าถวายพระคฑาจอมทัพ<br />

แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ณ ภายในศาลาว่าการ<br />

<strong>กลาโหม</strong> เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๖<br />

(รูปล่างซ้าย) ภาพถ่ายทางอากาศ<br />

อาคารศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> เมื่อ<br />

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖<br />

(รูปขวา) เจ้าหมื่นไวยวรนาถ<br />

(เจิม แสง-ชูโต) แม่กองการก่อสร้าง<br />

โรงทหารหน้า ตามพระบรมราชโองการฯ


ขบวนทหารรักษาพระองค์ร่วมพิธี<br />

แห่เฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์<br />

ผ่านหน้าศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

การก่อสร้างที่มีชื่อเสียงของเมืองไทยในยุคนั้น เป็นผู้<br />

สเก็ตช์รูปร่างตึกที่จะสร้างขึ้น พร้อมทั้งทำรายจ่ายงบ<br />

ประมาณโดยละเอียด<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

รัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรและทรงสดับคำอธิบายที่<br />

ทูลเกล้าฯ ถวายของเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ก็มีพระราช<br />

กระแสรับสั่งว่าทรงเห็นความจำเป็นตามคำถวายบังคม<br />

ทูลทุกประการ แม้งบประมาณการก่อสร้างเพื่อวาง<br />

รากฐานกิจการทหารในครั้งนี้ จะสูงถึง ๕,๐๐๐ ชั่ง หรือ<br />

ราว ๔๐๐,๐๐๐ บาทในเวลานั้น ขณะที่รายได้ของแผ่น<br />

ดินจะมีอยู่ไม่มาก<br />

แต่ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงตั้งใน<br />

พระราชหฤทัยมั่น ที่จะทรงขวนขวายหามาให้จนสำเร็จ<br />

ตามความมุ่งหมายนั้น แม้ว่าในการก่อสร้างจริง เจ้า<br />

หมื่นไวยวรนาถ จะขอพระราชทานเปลี่ยนแบบจากเดิม<br />

อาคาร ๒ ชั้น เป็นอาคาร ๓ ชั้น เพื่อรองรับการขยาย<br />

กองทัพในอนาคต ซึ่งต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น<br />

เงินทั้งสิ้น ๗,๐๐๐ ชั่ง หรือราว ๕๖๐,๐๐๐ บาท ค่า<br />

เครื่องตกแต่งและเครื่องประกอบอีก ๑๒๕ ชั่ง หรือราว<br />

๑๐,๐๐๐ บาท ใช้เวลาในการก่อสร้างนานเกือบ ๓ ปี<br />

จนกระทั่ง...<br />

15


วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๒๗ พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว ทรงประกอบพระราช<br />

พิธีเปิดอาคาร “โรงทหารหน้า” เป็นปฐมฤกษ์ ด้วยรูป<br />

ลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมผสานตาม<br />

พระราชนิยม ซึ่งอาคารสูง ๓ ชั้นนี้ จุทหารได้ประมาณ<br />

๑ กองพลน้อย สำหรับเป็นที่อยู่ของทหารประจำการ<br />

รักษาพระนคร และเป็นที่รวมอาวุธ สัตว์พาหนะ ยาน<br />

พาหนะ เสบียงอาหาร รวมทั้งโรงครัว<br />

ประวัติศาสตร์จารึกว่า นับเป็นอาคารที่ใหญ่ยิ่งและ<br />

งามสง่าที่สุดอาคารหนึ่งในพระนครหลวงเวลานั้น ทั้ง<br />

ยังมีกำลังพลและอาวุธยุทธภัณฑ์มารวมกันเป็นปึกแผ่น<br />

อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การทหารแห่ง<br />

ราชอาณาจักรสยาม<br />

ในการนี้ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหเถร)<br />

ทูลถวายบทพระคาถาประจำโรงทหารหน้า ๔ คาถา<br />

ให้เจ้าหมื่นฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลือกบทพระคาถา...<br />

วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐ สาเธตุ วุฑฺฒิโย... มี<br />

หมายความว่า “ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อม<br />

ด้วยปวงทหาร จงมีชัยชนะ ยังความเจริญสำเร็จใน<br />

แผ่นดินเทอญ”<br />

คาถาบทนี้ ประดับไว้ที่หน้าบันโรงทหารหน้า มา<br />

ตราบจนเป็นศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>ในปัจจุบัน<br />

ทั้งนี้ ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ มีพระบรมราชโองการ<br />

โปรดเกล้าฯ ให้รวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน<br />

โดยตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง “กรมยุทธนาธิการ” และ<br />

ต่อมา ยกระดับเป็น “กระทรวงยุทธนาธิการ” ในปี<br />

พุทธศักราช ๒๔๓๓ ในการนี้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขนาน<br />

นาม “โรงทหารหน้า” ว่า “ศาลายุทธนาธิการ” ก่อนจะ<br />

เปลี่ยนเป็น “ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>” ในปี พุทธศักราช<br />

๒๔๓๙<br />

ดังนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้ง “กรมยุทธนาธิการ”<br />

ปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ จึงถือเป็นหมุดหมายสำคัญแห่ง<br />

การก่อเกิดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> และนับเป็นปีที่ ๑ แห่ง<br />

การสถาปนากระทรวงอันสง่างามที่เป็นศูนย์บัญชาการ<br />

กองทัพแห่งสยามประเทศมาตราบจนวันนี้<br />

อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู ่หัว รัชกาลที่ ๖ กระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

บังคับบัญชาทหารบกฝ่ายเดียว ด้วยโปรดเกล้าฯ ให้<br />

ทหารเรือแยกไปตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือ กระทั่งถึงรัช<br />

สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู ่หัว โปรดเกล้าฯ<br />

ให้ยุบกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> แต่<br />

ทหารอากาศยังมีฐานะเป็น “กรมทหารอากาศ”<br />

จนภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี<br />

พุทธศักราช ๒๔๗๕ แล้ว จึงยกฐานะกรมทหารอากาศ<br />

เป็นกองทัพอากาศ ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ส่งผลให้<br />

กิจการทหารไทยที่มีทั้ง กองทัพบก กองทัพเรือและ<br />

กองทัพอากาศ เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวง<br />

<strong>กลาโหม</strong>เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๔๘๑ ตราบ<br />

จนปัจจุบัน<br />

ซึ่งแม้ว่าในภายหลัง จะมีอาคารกระทรวง ทบวง<br />

กรม เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย แต่เป็นที่ประจักษ์แล้ว<br />

ว่า แม้กาลเวลาจะผันผ่านมานานกว่าศตวรรษ ทว่า<br />

ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ยังดำรงสถานะเป็น “ศรีสง่าแห่ง<br />

ราชธานี” อยู่มิเสื่อมคลาย<br />

16<br />

(รูปบนซ้าย) พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน<br />

ธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วยทหาร<br />

ภายในพระบรมมหาราชวัง<br />

(รูปบนขวา) สมเด็จพระสังฆราช<br />

(สา ปุสฺสเทวมหาเถร) สถิตวัด<br />

ราชประดิษฐ์ฯ ผู้ทรงผูกบทคาถา<br />

ประจำศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ถวาย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เพื่อทรงเลือกพระราชทาน<br />

ประจำศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>


(รูปบน) ด้านหน้าศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>เมื่อแรกสร้างเสร็จ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

(รูปล่างซ้าย)เหล่าทหารช่างที่ถ่ายภาพร่วมกับ นายพลเอก<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชย กรมพระกำแพงเพชร<br />

อัครโยธิน จเรทหารช่าง ภายในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

(รูปล่างขวา) การแต่งกายของเหล่าทหารในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่<br />

17


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพระราชทาน<br />

กระบี่และปริญญาบัตร แก่นายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน<br />

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรือ<br />

อากาศ ณ สนามภายในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ปีพุทธศักราช ๒๕๒๑<br />

18


นายทหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งสามเหล่าทัพ พร้อมด้วยคณะผู้ช่วยทูต<br />

ฝ่ายการต่างประเทศประจำประเทศไทย เข้าร่วมพิธีพระราชทาน<br />

กระบี่ และปริญญาบัตรแก่นายทหารที่สำเร็จการศึกษาฯ<br />

19


20


สมุหพระ<strong>กลาโหม</strong> – เสนาบดีกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> – รัฐมนตรีว่าการกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

21


22


23<br />

ปลัดทูลฉลอง – ปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong>


ซุงปูรากฐาน<br />

สถาปัตยกรรมตะวันตกตระการตา


“...ข้าขอปฏิญาณสาบานตน<br />

หากใครมาประจญพลีชีพให้<br />

เลือดเนื้อทุกทุกหยาด เพื่อเอกราชของไทย<br />

ขอให้ชาติไทยยงยืน...”<br />

(“ทหารของชาติ” เพลงประจำสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

คำร้อง - พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ / ทำนอง – พระเจนดุริยางค์)<br />

25<br />

ทหาร<br />

ของชาติ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม สังคมจะเข้มแข็ง<br />

ต้องเริ่มจากรากฐานที่แข็งแกร่ง ฉันใด อาคารขนาดใหญ่อย่าง<br />

“โรงทหารหน้า” ซึ่งคงทนถาวรมาจนเป็น “ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>” ในปัจจุบัน พึงต้อง<br />

มาจากการวางรากฐานที่แข็งแกร่งในอดีต ฉันนั้น<br />

ภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของบรรพชนไทยแต่โบราณ ในการวางรากฐานอาคาร<br />

ขนาดใหญ่ ไม่ใช่การตอกเสาเข็มรองรับฐานราก แต่จะใช้วิธีขุดหลุมใหญ่เท่าตัวอาคาร<br />

ที่จะก่อสร้าง ความลึกอย่างน้อยสิบเมตร แล้วชักลากซุงไม้สักลงไปนอนเรียงกันเป็น<br />

ตับ สลับแนวขึ้นมาหลายชั้น เรียกว่าฐานรากแผ่ แล้วจึงเอาหินบดอัดลงไป เทฐานพื้น<br />

ระดับดินแล้วจึงก่อสร้างอาคารบนนั้น<br />

ซุงไม้สักที่เป็นฐานรากนับพันต้นนี้จะอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน ทำให้ไม้เปียกอยู่<br />

ตลอดเวลาและจะไม่ผุ เป็นฐานรากที่แข็งแกร่งไปได้หลายร้อยปี จึงเรียกภูมิปัญญาเช่นนี้<br />

อีกอย่างว่า “ซุงปู” ใช้ในการก่อสร้างสถานที่สำคัญ ดังหลักฐานคือพระบรมราชโองการ


ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวบูรณ<br />

ปฏิสังขรณ์พระบรมบรรพต หรือภูเขาทอง ตอนหนึ่งว่า...<br />

“...ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัด บุนนาค)<br />

ก่อสร้างพระเจดีย์ ขุดรากลึกลงไปถึงโคลน แล้วเอา<br />

หลักแพทั้งต้นเป็นเข็ม ห่มลงไปจนเต็มที่ แล้วเอาไม้ซุง<br />

เป็นเข็มและปูเป็นตาราง แล้วก่อศิลาแลงขึ้นมาเสมอ<br />

ดิน จึงก่อด้วยอิฐในระหว่างองค์ ได้เอาศิลาที่ราษฎรมา<br />

ขาย บรรจุไว้เต็ม...”<br />

นอกจากนั้น ยังเป็นภูมิปัญญาที่ใช้สร้างวังทั้งหลาย<br />

อาทิ วังบูรพาภิรมย์ สร้างถนนสายสำคัญ คือถนน<br />

ราชดำเนิน รวมทั้ง อาคารโรงทหารหน้า ซึ่งเป็นอาคารสี่<br />

ด้านสามชั้น การก่อสร้างใช้อิฐเผาสามโคกเมืองปทุมธานี<br />

แต่โครงสร้างอาคารภายในใช้ไม้สักเป็นวัสดุหลัก โดยมี<br />

รอกเป็นเครื่องทุ่นแรง ส่วนแรงงานใช้กรรมกรชาวจีน<br />

เป็นส่วนใหญ่<br />

ผู ้ออกแบบอาคารโรงทหารหน้า คือ มิสเตอร์โยอาคิม<br />

กรัสซี (Joachim Grassi) นายช่างสถาปนิกชาวอิตาลี ที่<br />

เข้ามารับราชการในสยาม สังกัดกรมโยธาธิการ คนไทย<br />

สมัยนั้นเรียกกันหลายแบบ อาทิ “ยูกิง แกรซี” หรือ<br />

“กราซี” บ้าง “เย เกรซิ” บ้าง หรือ “ซินญอครัสซี” บ้าง<br />

แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร เขาคือผู้สนองแนวพระ<br />

ราชดำริล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ในอันที่จะ “...บูชา<br />

พระพุทธศาสนาด้วยของแปลกปลาด แลเพื่อให้อาณา<br />

ประชาราษฎร์ทั้งปวง ชมเล่นเป็นของแปลก...” ด้วยการ<br />

ออกแบบพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ที่บางปะอิน<br />

พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ทว่ามี<br />

รูปทรง “กอทิก รีไววัล” (Gothic Revival) แบบโบสถ์<br />

คริสต์ทั้งหลายในยุโรป<br />

นอกจากนั้น นายโยอาคิม กรัสซี ยังเป็นผู้ออกแบบ<br />

ก่อสร้างอาคารศาลสถิตยุติธรรม หนึ่งในอาคารที่บ่ง<br />

บอกว่าสยามประเทศมีความเป็นอารยะในด้านการ<br />

ยุติธรรม (ปัจจุบันคืออาคารศาลฎีกา) รวมทั้งอาคาร<br />

“ศุลกสถาน” หรือกรมศุลกากร อันงามสง่าริมฝั่งแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา และยังได้ร่วมงานกับเจ้านาย ขุนนางและ<br />

พ่อค้าจำนวนหนึ่ง ก่อตั้ง “บริษัทขุดคลองและคูนา<br />

สยาม” มีผลงานที่ยังปรากฏถึงปัจจุบัน คือ คลองรังสิต<br />

และคลองแยกทั้งหลาย<br />

ในการออกแบบอาคารโรงทหารหน้า กรัสซีกำหนด<br />

เป็นศิลปะตะวันตกแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นพระราชนิยม<br />

ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ คือสถาปัตยกรรมแบบนีโอ<br />

คลาสสิก (Neo Classicism) ผสมกับแบบนีโอ ปัลลา<br />

เดียน (Neo Palladianism) ซึ่งสมัยนั้นนิยมใช้เป็นแบบ<br />

สร้างอาคารราชการ เพื่อให้ได้บรรยากาศเคร่งขรึม สง่า<br />

งาม แลดูน่าเกรงขาม<br />

เอกลักษณ์ของอาคารแนวนี้ คือ มีผังแบบสี่เหลี่ยม<br />

จัตุรัสล้อมสนามภายใน ซึ่งเป็นแบบที่ “ปัลลาดิโอ”<br />

สถาปนิกชาวอิตาลีใช้ในการออกแบบจัตุรัสเธียเน<br />

(Pallazo Thiene) แห่งเมือง วิเจนซา (Vicenze)<br />

ภาพฐานรากอาคารและผนังอาคารที่รองรับ<br />

น้ำหนักอาคารที่ก่อสร้างโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> เมื่อ<br />

ปีพุทธศักราช ๒๔๒๕<br />

26


อธิบายภาพ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอ<br />

ปัลลาเดียน (Neo Palladianism) คือ มีผัง<br />

แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมสนามภายใน ซึ่งเป็น<br />

แบบที่ “ปัลลาดิโอ” สถาปนิกชาวอิตาลีใช้ใน<br />

การออกแบบจัตุรัสเธียเน (Pallazo Thiene)<br />

แห่งเมืองวิเจนซา (Vicenze) ประเทศอิตาลี<br />

ประเทศอิตาลี ปี พ.ศ. ๒๐๙๓ ผังแบบนี้มีที่มาจากผัง<br />

บ้านโบราณของชาวโรมัน สถาปนิกสมัยเรอเนสซองซ์<br />

(Renaissance) นิยมปรับใช้กับคฤหาสน์หรือวังขนาด<br />

ใหญ่ เพราะสามารถรับแสงสว่างได้ดี โดยสีของอาคาร<br />

เป็นสีไข่ไก่ตัดขอบเขียวและขาว ตามแบบของอาคาร<br />

ยุคนีโอ คลาสสิกในตะวันตก<br />

กล่าวได้ว่า อาคารโรงทหารหน้า หรือศาลาว่าการ<br />

<strong>กลาโหม</strong> แข็งแกร่งและสง่างามได้ด้วยการผสมผสาน<br />

ภูมิปัญญาตะวันออกเข้ากับศิลปะตะวันตกโดยแท้<br />

พลเรือตรี ศาสตราจารย์ สมภพ ภิรมย์ เรียก<br />

อาคารแนวนี้ว่า “สถาปัตยกรรม<strong>กลาโหม</strong>” (Military<br />

Architecture) หมายถึง ป้อมปราการ (ปราการ คือ<br />

กำแพง) ค่าย คู ประตูเมือง หอรบ คลังสรรพาวุธ คลัง<br />

ยุทโธปกรณ์ อนุสรณ์สถาน อนุสาวรีย์เทิดทูนวีรกรรม<br />

แด่วีรชนผู้ทำการรบต่อสู้อริราชศัตรู ประตูชัย ตลอด<br />

จนโรงเรียนที่สอนวิชาการทหาร โดยรวมเรียกว่า<br />

“สถาปัตยกรรม<strong>กลาโหม</strong>”<br />

27<br />

ในขณะที่อาจารย์สมชาติ จึงศิริอารักษ์ แห่งคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิเคราะห์<br />

ไว้ในหนังสือ “สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม สมัย<br />

รัชกาลที่ ๔ – พ.ศ. ๒๔๘๐” ว่าโดยภาพรวมแล้ว โรง<br />

ทหารหน้า หรือศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> เป็นอาคารที่เรียบ<br />

ง่าย แต่สวยงามตามคติ “เรียบง่ายที่สูงศักดิ์” (Noble<br />

simplicity)<br />

ตราบจนปัจจุบัน ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ยังถือเป็น<br />

จิตวิญญาณ เกียรติประวัติ และศักดิ์ศรีที่สั่งสมมานาน<br />

ของกองทัพไทย อันควรค่าแก่การสืบทอดรักษาไว้ เฉก<br />

เช่นที่ท่านอดีตปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> พลเอก ธีรเดช<br />

มีเพียร อุปมาไว้ว่า<br />

“...ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> เป็นเสมือนเครื่องบ่งบอก<br />

ถึงรากเหง้า และตัวตนของกิจการทหารไทย ซึ่งมีอายุ<br />

ยืนยาวกว่า ๑๐๐ ปี มีความศักดิ์สิทธิ์ สง่างาม และเป็น<br />

ความภาคภูมิใจ ที่ไม่อาจสรรหาสิ่งใดมาทดแทนได้...”


29


รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> เป็นศิลปะตะวันตก<br />

แบบผสมผสาน ซึ่งเป็นพระราชนิยมในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕<br />

คือศิลปะแบบนีโอ คลาสสิก (Neo Classicism) ผสมกับ<br />

นีโอ ปัลลาเดียน (Neo Palladianism) ซึ่งสมัยนั้นนิยมใช้เป็นแบบ<br />

สร้างอาคารราชการ เพื่อให้ได้บรรยากาศเคร่งขรึม สง่างาม แลดูน่าเกรงขาม<br />

30


32


33


34


35


สิ่งศักดิ์สิทธิ์และมรดกล้ำค่า<br />

ในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐ สาเธตุ วุฑฺฒิโย<br />

ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อมด้วยปวงทหาร<br />

จงมีชัยชนะ ยังความเจริญสำเร็จในแผ่นดินเทอญ<br />

(บทพระคาถาทูลถวายล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕<br />

โดยสมเด็จพระสังฆราช สา ปุสฺสเทวมหาเถร)<br />

ประดับอยู่ ณ หน้าบันอาคารศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>


หน้าบันกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

ปูนปั้นตราพระเกี้ยว ประดิษฐานเหนือกงจักร<br />

ล้อมช้างสามเศียร มีคชสีห์และราชสีห์อัญเชิญ<br />

พระมหาเศวตฉัตรประดับด้านซ้ายและ<br />

ขวา ด้านล่างทำเป็นลายรูปแถบผ้าประดับ<br />

ลายพันธุ์พฤกษา จารึกบทพระคาถา..<br />

วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐ สาเธตุ วุฑฺฒิโย<br />

ผูกโดยสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร)<br />

แปลว่า “ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อมด้วย<br />

ปวงทหาร จงมีชัยชนะ ยังความเจริญสำเร็จ<br />

ในแผ่นดินเทอญ” คาถาบทนี้ ประดับที่<br />

หน้าบันโรงทหารหน้า มาตราบจนเป็น<br />

ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>ในปัจจุบัน<br />

ผ่าน กาลเวลาในประวัติศาสตร์มายาวนาน<br />

ถึง ๑๒๕ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕<br />

ไม่อาจปฏิเสธว่า ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> คือ ๑ ในราชการ<br />

สถานไม่กี่แห่งในสยามประเทศ ที่มีอายุเกินศตวรรษ<br />

ทว่ายังได้รับการทำนุบำรุงให้แข็งแรง เป็นสง่าราศีและ<br />

ความภาคภูมิใจของแผ่นดินมิเสื่อมคลาย<br />

ทั้งยังเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการเดิมหน่วยเดียว คือ<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong> สืบเนื่องยาวนานผ่านร้อนหนาวมา<br />

ตั้งแต่สมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัย จนล่วงเข้าระบอบ<br />

ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข<br />

ผ่านกระแสเทคโนโลยีโลกจากยุคอนาล็อก จนถึง<br />

ยุคดิจิทัล ผ่านเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติ<br />

มานับครั้งไม่ถ้วน<br />

37<br />

นอกจากบทพระคาถาทูลถวายล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕<br />

โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) ที่จารึก<br />

ไว้ ณ หน้าบันแล้ว ภายในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ยังมีสิ่ง<br />

ศักดิ์สิทธิ์ และมรดกตกทอดทางการทหารอันล้ำเลอ<br />

ค่า ชนิดหาค่ามิได้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ของ<br />

บรรดาข้าราชการทหารทุกหมู่เหล่าที่ปฏิบัติงานภายใน<br />

ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ต่างให้การเคารพสักการะเพื่อ<br />

ความเป็นสิริมงคลในชีวิตตนเองและครอบครัว<br />

เป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึงบุญคุณ<br />

ภูมิปัญญา ความสามารถ และความเหนื่อยยากของ<br />

บรรพชนไทย ในการปกปักรักษาผืนแผ่นดินไว้ให้ลูก<br />

หลานไทยในวันนี้


พระพุทธนวราชตรีโลกนาถศาสดา<strong>กลาโหม</strong>พิทักษ์<br />

พระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว เป็นพระประธานประจำพุทธศาสนสถานของกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> พระนาม<br />

“พระพุทธนวราชตรีโลกนาถศาสดา<strong>กลาโหม</strong>พิทักษ์” แปลว่า “พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ผู้เป็นพระศาสดา ผู้เป็นที่พึ่งในโลกทั้ง ๓ ผู้พิทักษ์รักษาปวงทหาร<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>”ประดิษฐาน ณ ห้องเจ้าพ่อหอกลอง บริเวณชั้น ๓ กองอนุศาสนาจารย์ กรมเสมียนตรา<br />

38


ศาลเจ้าพ่อหอกลอง<br />

ตั้งอยู่ ณ บริเวณสนามภายในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ประดิษฐานรูปปั้น<br />

เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ทหารเอกพระเจ้าตากสินมหาราช มีความเชี่ยวชาญ<br />

ทางหอก และชอบให้ทหารตีกลองศึกในยามออกรบ เหล่าทหารจึง<br />

ขนานนามท่านว่า “เจ้าพ่อหอกลอง” เป็นแบบอย่างของนักรบผู้หาญกล้า<br />

วีรกรรมของท่านเป็นที่เคารพสักการะของเหล่าทหารหาญจวบจนปัจจุบัน<br />

39


40


พญาคชสีห์ (ภาพซ้าย)<br />

เป็นสัตว์ในตำนาน มีลักษณะผสมราชสีห์กับคชสาร<br />

ตามคติไทยถือว่าช้างเป็นสัตว์ประจำชาติ ซึ่งใช้ใน<br />

ราชการสงคราม ราชสีห์เปรียบได้กับคุณลักษณะ<br />

ของข้าราชการ ดังนั้น คชสีห์ จึงสอดคล้องกับ<br />

ข้าราชการที่ออกศึกสงครามคือทหาร โดยสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> จึงได้จัดสร้างประติมากรรม<br />

พญาคชสีห์ ๒ องค์ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี<br />

และศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> มีอายุครบ ๑๒๐ ปี<br />

เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของข้าราชการทหาร<br />

แล้วนำมาประดิษฐาน ณ ประตูด้านทิศเหนือและ<br />

ทิศใต้ของหน้าศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> โดยองค์ด้าน<br />

ทิศใต้ชื่อ “พญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์” และ<br />

องค์ด้านทิศเหนือ ชื่อ “พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์”<br />

อันสื่อความหมายถึงภาระหน้าที่ของทหาร<br />

ในการปกป้องประเทศชาติและพระมหากษัตริย์<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาท<br />

สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพขวา)<br />

ประดิษฐาน ณ ห้องสำนักงานผู้บังคับบัญชา<br />

กรมเสมียนตรา ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และ<br />

เป็นพระอนุชาต่างมารดาในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔<br />

ทรงโปรดวิทยาการสมัยใหม่ ทรงศึกษาวิทยาการ<br />

จากตะวันตก แล้วนำกลับมาใช้ในสยามประเทศ<br />

อาทิ การต่อเรือรบ เรือกลไฟ การฝึกทหารแบบ<br />

ยุโรป และวิชาการแพทย์แผนใหม่ ทรงนิพนธ์<br />

ตำราเกี่ยวกับปืนใหญ่สำหรับสอนทหารไทย ทรง<br />

ทำนุบำรุงกำลังด้านทหารเรือ ทรงโปรดปรานการ<br />

ต่อเรือรบ รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรง<br />

ตำแหน่ง “ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า” ด้วย<br />

41


พระบรมรูปหล่อโลหะ และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพซ้าย)<br />

ประดิษฐาน บริเวณด้านหน้าห้องภาณุรังสี ด้วยทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างโรงทหารหน้าขึ้นเพื่อใช้<br />

ในกิจการทหาร ทรงวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดิน<br />

ด้านต่างๆ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยเฉพาะ<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญต่อกิจการทหาร<br />

พระรูปสลักหินอ่อน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าฯ<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (ภาพขวา)<br />

พระนามเดิม เจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ โอรสองค์ที่ ๔๕<br />

ในรัชกาลที่ ๔ ทรงมีปรีชาชาญทางการทหาร ทั้งที่มีได้ทรงศึกษา<br />

วิชาการทหารจากต่างประเทศ เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕<br />

ทรงปฏิรูปการทหารของสยามประเทศ โปรดเกล้าฯ<br />

ให้พระองค์เจ้าภาณุรังสีดำรงตำแหน่งสำคัญทางทหารตามลำดับ<br />

คือ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ เสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

และเสนาธิการกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> (รัฐมนตรีว่าการกระทรวง<strong>กลาโหม</strong>)<br />

ดำรงพระอิสริยยศสูงสุด จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศา<br />

ภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

43


44


รูปปั้นและภาพเขียน จอมพลและ<br />

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง – ชูโต) (ภาพซ้าย)<br />

บุตรพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง – ชูโต) ท่าน<br />

เป็นผู้วางรากฐานและปรับปรุงการทหารบกในด้าน<br />

ต่างๆ ทั้งการตั้งกองทหารอาสาและเครื่องแบบ<br />

ทหาร การปฏิวัติยศทหาร ให้กำเนิดโรงเรียนนายร้อย<br />

ทหารบก รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างโรง<br />

ทหารหน้า หรือศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>ในปัจจุบัน<br />

อารักขเทวสถาน (ภาพขวา)<br />

เดิมเป็นที่ตั้งครุภัณฑ์และยุทธภัณฑ์ของเหล่าทหารม้า<br />

มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ภายใต้ตัวอาคารประกอบ<br />

ด้วยเสาไม้สักทรงกลม ก่ออิฐถือปูนหุ้มทับเสาไว้<br />

เป็นส่วนใหญ่ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ มีน้ำมันไหลออก<br />

มาจากเสาไม้สักกลางห้องบริเวณหัวเสา ซึ่งตาม<br />

โบราณเชื่อว่า มีรุกขเทวดาสถิตอยู่ จึงมีข้าราชการ<br />

ที่มีจิตศรัทธานำแผ่นทองคำเปลวมาปิดและ<br />

นำสิ่งของมาสักการบูชา แล้วมักประสบความสำเร็จ<br />

ตามที่ได้อธิษฐานไว้ จึงเป็นที่เคารพกราบไหว้ของ<br />

ข้าราชการที่ปฏิบัติงานภายในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

45


เสาธงชาติ หน้ากระทรวง<strong>กลาโหม</strong> (ภาพซ้าย)<br />

เป็นเสาธงชาติที่มีความสง่างามและมีความโดน<br />

เด่นเป็นเอกลักษณ์อยู่คู่กับกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

จัดสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ในโอกาส<br />

เฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ จึงมีความสูง ๒๕ เมตร<br />

ห้องภาณุรังษี (ภาพขวา)<br />

ตั้งอยู่บริเวณมุขกลาง ชั้นที่ ๓ ของศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

เดิมเคยเป็นห้องเก็บศัสตราวุธและพิพิธภัณฑ์ทหาร<br />

ต่อมา เป็นห้องที่ทำการกองทัพบก จนถึงสมัย<br />

จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีและ<br />

รัฐมนตรีการว่ากระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ได้สั่งการให้สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> หาชื่อเฉพาะสำหรับห้อง<br />

ประชุมสภา<strong>กลาโหม</strong> กรมเสมียนตราจึงได้เสนอชื่อ<br />

“ห้องภาณุรังษี” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่<br />

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

ปัจจุบันใช้เป็นห้องประชุมและประกอบพิธี<br />

สำคัญ เช่น การประชุมสภา<strong>กลาโหม</strong>


47


48


ห้องสุรศักดิ์มนตรี (ภาพซ้าย)<br />

เดิมเป็นที่ประชุมผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อมา ในสมัยจอมพลถนอม<br />

กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ได้สั่งการให้สำนักงานปลัด<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ตั้งชื่อห้องนี้ว่า ห้องสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง – ชูโต) เพื่อรำลึกถึงผู้มีบทบาท<br />

ในการก่อสร้างศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ปัจจุบัน ใช้เป็นห้องประชุมและห้องประกอบพิธีสำคัญ<br />

อาทิ พิธีประดับเครื่องหมายยศนายทหารชั้นนายพล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

ธงปลัดทูลฉลอง (ภาพขวา)<br />

ธงประจำตำแหน่งปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> หรือปลัดทูลฉลองแต่ในอดีต ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดี<br />

กระทรวง ที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา สืบต่อมาจนถึงรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ จึงเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น “ปลัดกระทรวง”<br />

49


50


ตราประทับของส่วนราชการ (ภาพซ้าย)<br />

ใช้ประทับลงบนหนังสือราชการ โดยมีรูปสัญลักษณ์ประจำหน่วยนั้นๆ<br />

แกะสลักเป็นร่องลึกลงบนด้ามงาช้างในภาพเป็นตราประทับของเหล่าทหารการเงิน<br />

สมุดไทยดำ (ภาพขวา)<br />

ทำจากเปลือกไม้ชนิดต่างๆ เช่น เปลือกปอ เปลือกข่อย เปลือกสา ใบสับปะรด เป็นแผ่นยาวติดกัน<br />

พับกลับไปกลับมาได้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขียนได้ทั้ง ๒ ด้าน ในลักษณะจดหมายเหตุบ้าง<br />

หมายรับสั่งบ้าง ตำนานบ้าง วรรณกรรมเรื่องต่างๆ บ้าง เรียก “สมุดไทย” มี ๒ สี ได้แก่<br />

สีดำ และสีขาว สำหรับสีดำ จะย้อมกระดาษเป็นสีดำ เรียกว่า “สมุดไทยดำ”<br />

51


ห้องกำปั่น<br />

เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของปลัดบาญชี<strong>กลาโหม</strong> ต่อมา กรมการเงิน<strong>กลาโหม</strong><br />

ได้รับผิดชอบตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยขึ้นครั้งแรก ตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของ<br />

กรมการเงิน<strong>กลาโหม</strong> ในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม<br />

กว้าง ๔.๕๐ เมตร ยาว ๖.๕๐ เมตร และสูง ๒.๗๗ เมตร ภายในกรุด้วยเหล็กกล้า<br />

แข็งแรงทุกด้าน ใช้เป็นที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน ประตูห้องมีที่ใส่กุญแจ ๓ ชั้น<br />

ประกอบด้วยลูกกุญแจชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ปัจจุบันยกเลิกการใช้งานแล้ว


สีหนาทปืนไฟ<br />

เกียรติภูมิปืนใหญ่<strong>กลาโหม</strong>


เอกราชคงคู่ฟ้า เมืองไทย มั่นเอย<br />

มีสีหนาทปืนไฟ ต่อสู้<br />

จารึกเกียรติเกริกไกร คงมั่น เคียงดาว<br />

ขานเพื่อชนไทยรู้ ก่อเกื้อศรัทธาฯ<br />

พันเอก ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ –ผู้ประพันธ์<br />

55


สำ<br />

หรับประชาชน ปืนใหญ่<strong>กลาโหม</strong>อาจเป็น<br />

จุดนัดพบที่ดีเยี่ยม ในยามที่มีคลื่นมหาชน<br />

ล้นหลาม มาเที่ยวชมงานมหรสพสมโภช ณ ท้องสนาม<br />

หลวง แต่นั่นก็สะท้อนความจริงว่าอาคารหน่วยราชการ<br />

ที่มีปืนใหญ่โบราณจำนวนมากตั้งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์<br />

มีเพียงหนึ่งเดียวในพระนครหลวง<br />

สำหรับทหารของชาติ แม้วันนี้ เทคโนโลยีการรบสมัย<br />

ใหม่จะแปรเปลี่ยนศัสตราวุธอันเกรียงไกรในอดีต ให้เป็น<br />

เพียงโบราณวัตถุ ตั้งวางท้าแดด ลม และฝนอยู ่ทุกคืนวัน<br />

ทว่าแท้ที่จริง นี่คือสัญลักษณ์แห่งแสนยานุภาพ<br />

ของกองทัพ ที่เคยทำการรบอย่างหาญกล้า เพื่อปกปัก<br />

รักษาผืนแผ่นดินแห่งเอกราชและอิสรภาพผืนนี้ไว้ให้<br />

ลูกหลานไทย<br />

สีหนาทปืนไฟ หรือปืนใหญ่โบราณทั้ง ๔๒ กระบอก ที่<br />

เด่นตระหง่านอยู ่บนสนามด้านหน้าศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

จึงนับเป็นเกียรติภูมิของชาติที่อนุชนรุ่นหลังพึงจดจำ<br />

รำลึกและร่วมภาคภูมิใจ ว่าครั้งหนึ่ง ปืนใหญ่เหล่านี้เคย<br />

เคียงข้างบรรพชนไทย พิทักษ์ปกป้องปิตุภูมิอันสง่างาม<br />

นี้ไว้ด้วยความเหนื่อยยาก<br />

ทั้งนี้ สามารถจำแนกปืนใหญ่โบราณทั้ง ๔๒ กระบอก<br />

ตามหลักฐานที่ปรากฏได้ ๕ ประเภทคือ ปืนใหญ่ที่<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ประกอบด้วย นารายน์<br />

สังหาญ มารประไลย ไหวอรนพ พระพิรุณแสนห่า<br />

พลิกพะสุธาหงาย พระอิศวรปราบจักรวาฬ และ พระ<br />

กาลผลาญโลกย<br />

ปืนใหญ่ที่สร้างขึ้นจากต่างประเทศ ประกอบด้วย<br />

อัคนิรุท ,SMICVEL, P ๑๐๐๙ ๑๘๖๐, P๑๐๑๐ ๑๘๖๐,<br />

มักกะสันแหกค่าย เหราใจร้าย มังกรใจกล้า คนธรรพ<br />

แผลงฤทธ พรหมมาศปรายมาร ลมประลัยกัลป นิลนน<br />

แทงแขน ไวยราฟฟาดรถ และมะหาจักรกรด<br />

ปืนใหญ่ที่ได้จากการไปราชการสงคราม แล้วนำ<br />

กลับมา ประกอบด้วย พญาตานี ชะนะหงษา และ<br />

ปราบอังวะ<br />

ปืนใหญ่ที่สร้างในประเทศไทย พุทธศักราช ๒๓๓๕<br />

โดยหลวงบรรจงรจนา ประกอบด้วย ศิลป์นารายน์<br />

ปีศาจเชือดฉีกกิน ธรณีไหว ไฟมหากาล มารกระบิล และ<br />

ปล้องตันหักคอเสือ<br />

ปืนใหญ่อื่นๆ ที่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือการ<br />

ได้มา ประกอบด้วย พระมหาฤกษ์ พระมหาไชย ถอน<br />

พระสุเมรุ ไตรภพพ่าย จีนสาวไส้ ไทยใหญ่เล่นหน้า ฝรั่ง<br />

ร้ายปืนแม่น ขอมดำดิน ยวนง่าง้าว เสือร้ายเผ่นทยา<br />

น สายอสุนีแผ้วราตรี มุวิดทลวงฟัน และแมนแทงทวน<br />

คุณค่าและความหมายของปืนใหญ่โบราณหน้าศาลา<br />

ว่าการ<strong>กลาโหม</strong>ทั้ง ๔๒ กระบอก สำแดงให้ประจักษ์ใน<br />

“กาพย์ห่อโคลง เห่ชมปืนปืนใหญ่กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>”<br />

อันงดงามด้วยเกียรติประวัติความเป็นมา ผสานกับ<br />

สุนทรียศิลป์ในการร้อยเรียงฉันทลักษณ์ โดย พันเอก<br />

ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ในสังกัด<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ตอนหนึ่งว่า...<br />

สีหนาทปืนไฟ รักษาไทยหลายชั่วยาม<br />

ป้องแดนดินถิ่นสยาม ทุกเขตคามคงเป็นไท<br />

สี่สิบสองเรียงราย สื่อความหมายอันเกรียงไกร<br />

ยืนยงดำรงไว้ บอกพิสัยแห่งโยธิน ฯ<br />

59


ปืนพระมหาฤกษ์<br />

ใช้ยิงเป็นสัญญาณยกทัพ และในพระราชพิธี ลักษณะเด่นคือมีลายประดับเป็นลวดลายคร่ำเงิน<br />

เป็นปืนใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็น<br />

ปืนคู่แฝด หล่อด้วยสัมฤทธิ์ มีขนาดเท่ากัน คือ มีความยาว ๒.๒๐ เมตร ลำกลองกว้าง ๑๑๕ มิลลิเมตร<br />

60


ปืนพระมหาไชย<br />

ใช้ยิงเป็นสัญญาณยามมีชัยชนะ ลักษณะเด่นคือมีลวดลายทอง<br />

เป็นปืนใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็นปืนคู่แฝด หล่อด้วยสัมฤทธิ์ มี<br />

ขนาดเท่ากัน คือ ๒.๒๐ เมตร ลำกล้องกว้าง ๑๑๕ มิลลิเมตร<br />

61


ปืนพระอิศวรปราบจักรวาฬ (ภาพบน)<br />

เป็นปืนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายกนกหน้าสิงห์งดงาม ที่เพลา<br />

มีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงสร้างหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ราวปี พ.ศ.๒๓๓๐<br />

ปืนพระกาลผลาญโลกย (ภาพขวา)<br />

หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายหน้าสิงห์ประกอบกนกสวยงาม<br />

เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีกจับกนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราชทรงสร้างหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชย<br />

ศรี ราวปี พ.ศ. ๒๓๓๐ โดยหล่อเป็นปืนคู่แฝดกับปืนพระอิศวรปราบจักรวาฬ<br />

62


63


ปืนมารประไลย<br />

หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีห่วงสำหรับยก ๔ ห่วง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คนมีลวดลายและรูปคนมีปีก เพลามีรูปดอกไม้ รูชนวนมีฝาปิดเปิด<br />

ประดับรูปหนุมาน ท้ายลำกล้องทำเป็นรูปสังข์หรือเขางอนมีลวดลาย<br />

ประจัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้าง<br />

หล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ราวปี พ.ศ.๒๓๓๐<br />

64


ปืนไหวอรนพ<br />

หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก มีลวดลายประดับ เพลามีรูปดอกไม้<br />

รูชนวนธรรมดา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้าง<br />

หล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ราวปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

65


66


ปืนพระพิรุณแสนห่า (ภาพซ้าย)<br />

หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีลวดลายประดับ มีห่วงสำหรับจับยก<br />

๔ ห่วง มีรูปราชสีห์เผ่นผงาดที่เพลา รูชนวนมีรูปกนกหน้าสิงห์<br />

ขบท้ายรูปลูกฟัก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้าง<br />

ให้หล่อ ณ สวนมังคุด บริเวณโรงพยาบาลวังหลัง คือศิริราชพยาบาล<br />

อย่างไรก็ตาม ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ฉบับของ<br />

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๐<br />

( ปีที่สร้างยังเป็นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)<br />

ปืนผลิกพะสุธาหงาย (ภาพขวา)<br />

เป็นปืนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีห่วงสำหรับจับยก ๔ ห่วง มีลวดลาย<br />

ประดับประดา เพลามีรูปคชสีห์ รูชนวนมีรูปกนก ท้ายรูปลูกฟัก<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้าง ให้หล่อ<br />

ที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ราวปี พ.ศ.๒๓๓๐<br />

67


ปืนพญาตานี (ภาพบน)<br />

มีห่วงใหญ่สำหรับจับยก ๔ ห่วง ตอนท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป ทำเป็นรูปสังข์ หรือเขางอน ที่เพลามีรูป<br />

ราชสีห์สลักงดงาม ไม่มีลวดลายประดับ มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในบรรดาปืนใหญ่โบราณที่ตั้งไว้หน้ากระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

นางพญาตานีศรีวัน เจ้าเมืองปัตตานี (จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน ) ให้นายช่างชาวจีนฮกเกี้ยน แซ่หลิม ชื่อเคียม ซึ่งชาวมลายู<br />

เรียก หลิมโต๊ะเคียม เป็นผู้สร้าง ณ ตำบลบ้านกะเสะ (กรือเซะ) ในเมืองปัตตานี วันเดือนปีที่หล่อไม่ปรากฏในหลักฐาน<br />

สมเด็จพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพ เสด็จยกทัพไปรบพม่า<br />

ซึ่งยกมาตีหัวเมืองภาคใต้ ครั้งทรงชนะข้าศึกแล้ว ได้ทรงปราบปรามหัวเมืองภาคใต้ มีชัยชนะราบคาบ<br />

แล้ว ได้ปืนกระบอกนี้มาจากเมืองปัตตานี เมื่อปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ.๑๑๔๗ (พ.ศ.๒๓๒๙) แล้วนำมา<br />

ทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๙<br />

ปืนนารายณ์สังหาญ (ภาพขวา)<br />

เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีวงแหวนใหญ่สำหรับจับยก ๔ วง ท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป<br />

ทำเป็นรูปสังข์หรือเขางอนเกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงสร้าง ให้หล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ราวปีพ.ศ.๒๓๓๐<br />

68


69


ปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวง<strong>กลาโหม</strong>ทั้ง ๔๒ กระบอก<br />

แบ่งตามยุคสมัยการสร้างได้ดังนี้<br />

ยุคที่ ๑ : กรุงศรีอยุธยา<br />

๑. ปืนอัคนิรุท สร้างเมื่อปี ๒๑๖๗ โดยประเทศสเปน<br />

๒. ปืน SMICEL สร้างเมื่อปี ๒๑๖๘ โดยประเทศสเปน<br />

๓. ปืน เหราใจร้าย สร้างเมื่อปี ๒๒๑๐ โดย ยาน เดอะ ล่าครัวกซ์<br />

๔. ปืนมังกรใจหล้า สร้างเมื่อปี ๒๒๑๓ โดย ยาน เดอะ ล่าครัวกซ์<br />

๕. ปืนชะนะหงษา สร้างเมื่อปี ๒๓๑๐ โดย ยาน เจ เบรังเยร์ / ฝรั่งเศษ<br />

ยุคที่ ๒ : กรุงธนบุรี<br />

๖. ปืนคนธรรพแผลงฤทธ สร้างเมื่อปี ๒๓๑๑ โดยเจ เบรังเบร์ / ฝรั่งเศษ<br />

๗. ปืนมะหาจักรกรด สร้างเมื่อปี ๒๓๑๑ โดย เจ เบรังเยร์ / ฝรั่งเศษ<br />

๘. ปืนปราบอังวะ สร้างเมื่อปี ๒๓๑๐ โดย เจ เบรังเยร์ / ฝรั่งเศษ<br />

๙. ปืนพิรุณแสนห่า สร้างเมื่อปี ๒๓๒๐ โดย สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

ยุคที่ ๑ : กรุงรัตนโกสินทร์<br />

๑๐. ปืนพระอิศวรปราบจักรวาฬ สร้างเมื่อปี ๒๓๓๐ โดย รัชกาลที่ ๑<br />

๑๑. ปืนนารายณ์สังหาญ สร้างเมื่อปี ๒๓๓๐ โดย รัชกาลที่ ๑<br />

๑๒. ปืนพลิกพะสุธาหงาย สร้างเมื่อปี ๒๓๓๐ โดย รัชกาลที่ ๑<br />

๑๓. ปืนมารประไลย สร้างเมื่อปี ๒๓๓๐ โดย รัชกาลที่ ๑<br />

๑๔. ปืนไหวอรนพ สร้างเมื่อปี ๒๓๓๐ โดย รัชกาลที่ ๑<br />

๑๕. ปืนพระกาลผลาญโลกย สร้างเมื่อปี ๒๓๓๐ โดย รัชกาลที่ ๑<br />

๑๖. ปืนปีศาจเชือดฉีกกิน สร้างเมื่อปี ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๗. ปืนธรณีไหว สร้างเมื่อปี ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๘. ปืนไฟมหากาล สร้างเมื่อปี ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๙. ปืนมารกระบิล สร้างเมื่อปี ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๐. ปืนศิลป์นารายน์ สร้างเมื่อปี ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๑. ปืนปล้องตันหักคอเสือ สร้างเมื่อปี ๒๓๓๕<br />

โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๒. ปืนพรหมมาศปราบมาร สร้างเมื่อปี ๒๓๓๕<br />

โดย เจ เบรังเยร์ / ฝรั่งเศส<br />

๒๓. ปืนลมประไลยกัลป สร้างเมื่อปี ๒๓๔๑<br />

โดยเจ เบรังเยร์ / ฝรั่งเศษส<br />

๒๔. ปืน P ๑๐๐๙ ๑๘๖๐ สร้างเมื่อ ๒๔๐๓<br />

๒๕. ปืน P ๑๐๑๐ ๑๘๖๐ สร้างเมื่อ ๒๔๒๙<br />

๒๖. ปืนพญาตานี สร้างเมื่อปี ๒๓๒๙<br />

๒๗. ปืนไทยใหญ่เล่นหน้า<br />

๒๘. ปืนฝรั่งร้ายปืนแม่น<br />

๒๙. ปืนขอมดำดิน<br />

๓๐. ปืนยวนง่าง้าว<br />

๓๑. ปืนมุงิดหลวงฟัน<br />

๓๒. ปืนแมนแทงทวง<br />

๓๓. ปืนจีนสาวไส้<br />

๓๔. ปืนมักกะสันแหกค่าย<br />

๓๕. ปืนนิลนนแทงแขน<br />

๓๖. ปืนไวยราพฟาดรถ<br />

๓๗. ปืนเสือร้ายเผ่นทยาน<br />

๓๘. ปืนสายอสุนีแผ้วราตรี<br />

๓๙. ปืนถอนพระสุเมรุ<br />

๔๐. ปืนไตรภพพ่าย<br />

๔๑. ปืนพระมหาฤกษ์<br />

๔๒. ปืนพระมหาไชย<br />

หมายเหตุ : ตั้งแต่ ปืนลำดับที่ ๒๗ – ๔๒ ไม่ทราบปีที่สร้าง<br />

และผู้สร้าง


<strong>กลาโหม</strong>สามสายธาร<br />

ชีวิตและงานไม่เคยหยุดนิ่ง


“...สำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> เปรียบเสมือนมันสมองของ<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>อย่างแท้จริง โดยทำหน้าที่กำหนดเป้าหมาย<br />

ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินการด้านความมั่นคง ที่เชื่อม<br />

โยงจากรัฐบาลไปยังหน่วยปฏิบัติ...ให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง<br />

เกิดประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล...เพื่อตอบสนองเจตนารมณ์<br />

ของประเทศ ประชาชน และสังคมไทย...”<br />

จากหนังสือ “สู่เป้าหมาย” ตัวตน จิตวิญญาณ และความมุ่งมั่น<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> พ.ศ.๒๕๕๓<br />

หน่วย<br />

งานในสังกัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ประกอบด้วยสำนักงานรัฐมนตรี<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> กองทัพไทย (ทำหน้าที่ควบคุม<br />

กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ) และ กรมราช<br />

องครักษ์<br />

บุคลากรผู้ขับเคลื่อนภารกิจในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> จึงมีทั้งทหารบก ทหารเรือ<br />

ทหารอากาศ ประหนึ่งสายธารหลักสามสาย ไหลรินมารวมกันเป็นมหานทีใหญ่ หล่อ<br />

เลี้ยงความบริบูรณ์แห่งกองทัพไทย<br />

จากภารกิจพิทักษ์ปกป้องประเทศชาติที่มีมาแต่ในอดีต ผ่านความเปลี่ยนแปลงแห่ง<br />

ยุคสมัย สู่ความท้าทายและภัยคุกคามใหม่ในปัจจุบันและอนาคต ทั้งความแปรปรวน<br />

ของธรรมชาติขนาดใหญ่ การก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติ ภัยคุกคามที่<br />

มิใช่การเกิดจากกำลังทหาร อาทิ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว หลบหนีเข้าเมือง สงคราม<br />

ข้อมูลข่าวสาร โรคระบาดที่รุนแรงมากขึ้น การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ การปะทะ<br />

ด้วยกำลังขนาดย่อยตามแนวชายแดนและทะเลอาณาเขต และสงครามจำกัดเขต<br />

ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> จึงมีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับความ<br />

เปลี่ยนแปลงบนโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง โดยจำแนกเป็น ๑๖ ภารกิจสำคัญ อันประกอบด้วย<br />

• ภารกิจด้านการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันประเทศ<br />

• ภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คลื่นความถี่และกิจการ<br />

อวกาศ<br />

• ภารกิจด้านกิจการกำลังพลและสวัสดิการ<br />

• ภารกิจด้านกิจการข่าว<br />

• ภารกิจด้านการส่งกำลังบำรุง<br />

• ภารกิจด้านกิจการงบประมาณ<br />

• ภารกิจด้านงานกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทหาร<br />

75


76


• ภารกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<strong>กลาโหม</strong><br />

• ภารกิจด้านการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

และพลังงานทหาร<br />

• ภารกิจด้านการเงินและธนกิจ<br />

• ภารกิจด้านการสรรพกำลัง<strong>กลาโหม</strong><br />

• ภารกิจด้านการตรวจสอบภายใน<br />

• ภารกิจด้านการประชาสัมพันธ์และเลขานุการ<br />

• ภารกิจด้านการดำเนินกิจการสภา<strong>กลาโหม</strong><br />

• ภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัย<br />

• ภารกิจด้านการสารบรรณ<br />

ท่ามกลางหมู่อาคารแบบนีโอ ปัลลาเดียน ที่ดู<br />

เคร่งขรึม ประดับประดาด้วยศิลปะนีโอ คลาสสิก อัน<br />

สง่างาม ของศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> บุคลากรผู้ขับเคลื่อน<br />

๑๖ ภารกิจสำคัญ อันประกอบด้วยกำลังพลจากเหล่า<br />

ทหารบก เหล่าทหารเรือ และเหล่าทหารอากาศ จึงไม่<br />

เคยหยุดนิ่ง<br />

จากรุ่งเช้าจรดค่ำคืน ทุกองคาพยพในอาคาร<br />

ประวัติศาสตร์แห่งกองทัพไทย มุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจใน<br />

ความรับผิดชอบ ด้วยสำนึกในปณิธานที่จำขึ้นใจ...<br />

<strong>กลาโหม</strong>เทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง !<br />

77


82


83


84


85


88


89


93


94


95


97


99


100


101


<strong>กลาโหม</strong>รักษ์ราษฎร์<br />

ทุกข์ฤาสุข...เคียงข้างประชาชน


“...ทหารไทยนั้น นอกจากจะทำหน้าที่สู้รบ<br />

ป้องกันประเทศ เพื่อธำรงรักษาเอกราชอธิปไตย<br />

กับทั้งอิสรภาพของชาติแล้ว ยังทำหน้าที่พัฒนา<br />

บ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน<br />

ด้วยหน้าที่ประการหลังนี้ ต้องถือว่าเป็นเหมือน<br />

ภารกิจหลักอย่างหนึ่งของทหาร ซึ่งทุกคนจะต้อง<br />

ปฏิบัติโดยเคร่งครัดเสมอเหมือนกับการสู้รบ...”<br />

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

พระราชทาน ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนาม<br />

ของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๕<br />

ทหาร<br />

คือลูกหลานของประชาชน ทุกข์ของพี่น้อง<br />

ประชาชน จึงเป็นทุกข์ของทหารด้วย แม้<br />

ภารกิจหลักในฐานะ “รั้วของชาติ” ยังคงหนักอึ้งอยู่บนบ่า แต่<br />

ยามใดที่มีเหตุด่วนอันรบกวนความสงบสุขของประชาชน ทหาร<br />

ของชาติทุกเหล่าทัพ ต้องพร้อมระดมสรรพกำลังเข้าช่วยขจัด<br />

ปัดเป่า บรรเทาทุกข์ ปลอบโยนและซับน้ำตา<br />

107


108


ทุกข์...จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด<br />

การก่อการร้าย ขบวนการค้ามนุษย์ อาชญากรข้ามชาติ<br />

ฯลฯ กระทั่งเข้าร่วมสนับสนุนองค์การสหประชาชาติ ใน<br />

ภารกิจเพื่อสันติภาพและมนุษยธรรม อาทิ การปฏิบัติ<br />

งานในติมอร์ตะวันออก อิหร่าน อิรัก กองกำลังหมู่เรือ<br />

ปราบโจรสลัดในโซมาเลีย กองกำลังเฉพาะกิจ ๙๘๐<br />

ไทย/ดาร์ฟู ในซูดาน ฯลฯ<br />

ทั้งนี้ เพื่อกระบวนการสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา และ<br />

สันติสุข ให้เกิดขึ้นในประชาคมโลก<br />

109<br />

อย่างไรก็ตาม แม้ในยามปกติ ทหารของชาติยัง<br />

ตระหนักถึงภาระหน้าที่ในการยกระดับคุณภาพชีวิต<br />

ประชาชนให้ดีขึ้น อาทิ การพัฒนาอาชีพและชุมชน<br />

โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวชายแดนหรือถิ่นทุรกันดาร<br />

ตามโครงการในพระราชดำริ และโครงการของกองทัพ<br />

ด้วยสำนึกอันแน่วแน่ว่า<br />

ทุกข์ฤาสุข ทหารของชาติจะอยู่เคียงข้าง<br />

ประชาชนเสมอ


110


111


112


113


115


116


117


118


119


จดหมายเหตุ ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>


รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

• วันอาทิตย์ มกราคม ๒๔๒๙<br />

• วันศุกร์ที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐<br />

• วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ๒๔๓๐<br />

• วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๓๑<br />

• พุทธศักราช ๒๔๓๒<br />

• วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๓๕<br />

• วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗<br />

• วันที่ ๖ มกราคม ๒๔๔๐<br />

• วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๖<br />

จัดสมโภชเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ที่โรงทหารหน้า ในการนี้พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน<br />

โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองโรงทหารหน้าเพื่อเป็นที่ทำการของกรมยุทธนาธิการ ซึ่งเป็นวันเดียวกับการ<br />

ประกาศจัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ<br />

เหล่าทหารบก ๕ กรม สังกัดกรมยุทธนาธิการกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่โรงทหารหน้า ในการนี้โปรดเกล้าฯ<br />

ให้ขนานนามโรงทหารหน้าว่า ศาลายุทธนาธิการ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธาน ในงานราตรีสโมสร เนื่อง<br />

ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาที่ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการทรงจัดถวายฯ<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ใช้ศาลายุทธบริการเป็นกองบัญชาการ ปราบกบฏอังยี่โรงสีปล่องเหลี่ยมบางรัก และโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จำขังพวกกบฏฯ ทีคุกภายใน ศาลายุทธนาธิการ (ด้านทิศตะวันออก)<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทาน ธงประจำหน่วยทหารบก ๕<br />

กรม ที่สนามกลางในศาลายุทธนาธิการ<br />

โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ย้ายที่ทำการจาก ศาลาการลูกขุนในฝ่ายขวาในพระบรมมหาราชวังมาอยู่ ณ<br />

ตึกกลางของศาลายุทธนาธิการ ในการนี้โปรดเกล้าฯ ให้ขนานนาม ศาลายุทธนาธิการใหม่ว่า ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน<br />

มาทรงเป็นองค์ประธานในงานราตรีสโมสร เนื่องในการสมโภชเสด็จกลับจากการประพาสทวีปยุโรป ครั้งที่ ๑<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสร็จพระราชดำเนินมาพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่ผู้<br />

บัญชาการกรมทหารบกและเหล่าทหาร เนื่องในโอกาสที่กรมทหารบกทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมทัพ<br />

รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

• วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๘<br />

• ระหว่างพุทธศักราช<br />

๒๔๕๙ - ๒๔๖๐<br />

• ตุลาคม ๒๔๖๐<br />

พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล) เสนาบดีกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> กราบบังคมทูลเชิญพระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธานในงานราตรีสโมสรเนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงได้รับการ<br />

ทูลเกล้าฯ ถวายพระยศ พลเอกแห่งกองทัพบกอังกฤษ ณ ห้องประชุมกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักพงษ์ภูจนาก<br />

กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเป็นองค์ประธานจัดทำ พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่ไทยโบราณ ที่สนามหน้าศาลา<br />

ว่าการ<strong>กลาโหม</strong> *<br />

โปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวน พิธีพระยายืนชิงช้าประจำพุทธศักราช ๒๔๖๐ ณ ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> โดยนายพลโท<br />

พระยาสีหราชเดโชไชย (แย้ม ณ นคร) ปลัดทูลฉลองกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> เป็นพระยายืนชิงช้า<br />

122


รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

• ตุลาคม ๒๔๗๔<br />

• วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พร้อมด้วยพระบรมศานุวงศ์ เสด็จ<br />

พระราชดำเนินไปเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ห้องรับรองกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ชั้น ๒ (ห้องสุรศักดิ์มนตรี)<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู ่หัว เสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานการประชุมใหญ่ที่ศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>เกี่ยว<br />

กับกิจการทหาร<br />

รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

• วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๙๓<br />

• ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๖-๒๔๙๘<br />

• วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๘<br />

• วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๙๙<br />

• วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒<br />

• วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๑๓<br />

• วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานประกาศนียบัตรหลักสูตรเสนาธิการ<br />

ทหารบก ชุดที่ ๒๘ บริเวณ ห้องประชุมกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> ชั้นที่ ๒ (ห้องสุรศักดิ์มนตรี)<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong> โดยมติสภา<strong>กลาโหม</strong>ได้อนุมัติ ให้ทำการรื้อถอนอาคารหมู ่ชั้นเดียวประกอบด้านทิศตะวันออก<br />

ของศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong>เพื่อทำการก่อสร้างอาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ใช้เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ระหว่างเจ้าหน้าที่ ไทย – อเมริกัน ในวาระฉลองครบรอบ ๕ ปี แห่งสนธิ<br />

สัญญาว่าด้วยการช่วยเหลือทางการทหารระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณสนามภายในศาลา<br />

ว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรและเข็มหลักสูตรของวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๑ หลักสูตรเสนาธิการทหารบกและหลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ ที่ห้องประชุม<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>ชั้น ๒ (ห้องสุรศักดิ์มนตรี)<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร แก่นักเรียน<br />

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า นักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายเรืออากาศ ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด ณ สนาม<br />

ภายในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong> **<br />

จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นประธานในพิธีสวนสนามอำลาผู้บังคับบัญชาของกองกำลังทหารไทยผลัดที่๔ ที่<br />

ไปร่วมรักษาสันติภาพกับกองกำลังทหารสหรัฐฯ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม ที่สนามภายในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานกระบี่ และปริญญาบัตร<br />

แก่นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายเรืออากาศ ณ สนามภายในศาลาว่าการ<br />

<strong>กลาโหม</strong><br />

* นับเป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งครั้งแรก<br />

** นับเป็นการพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรของ สาม เหล่าทัพเป็นครั้งแรกในศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

123


แลไปข้างหน้า....<br />

กระทรวง<strong>กลาโหม</strong>


จาก<br />

ฉางข้าวหลวง ถึงโรงทหารหน้า สู่ศาลาว่าการ<br />

<strong>กลาโหม</strong> เป็นเวลายาวนานกว่า ๑ ศตวรรษ ที่หมู่<br />

อาคารรูปทรงสถาปัตยกรรมตะวันตก อันเป็นศรีสง่าแห่งราชธานี<br />

รัตนโกสินทร์แห่งนี้ ตั้งตระหง่านผ่านห้วงยามแห่งความเปลี่ยนแปลง<br />

ในบ้านเมือง...ครั้งแล้วครั้งเล่า<br />

อุปมาดั่งกระทรวง<strong>กลาโหม</strong> หน่วยราชการหลักของชาติที่ตั้งอยู่<br />

ณ หมู่อาคารนี้มานานครบ ๑๒๕ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ แม้<br />

วันเวลาจะผันผ่านไปเพียงใด กระแสคลื่นแห่งโลกาภิวัตน์จะซัดสาด<br />

รุนแรงแค่ไหน แต่ประชาชนไทยยังมั่นใจได้ว่า กระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

จะยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นหลักในการปกป้องอธิปไตยของชาติ<br />

รับใช้ชาติ ราษฎร์ ราชันย์ ทั้งยามศึกและยามสงบ อย่างเข้มแข็ง<br />

เต็มกำลังความสามารถดังเดิม<br />

หากจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้าง นั่นคือความพยายามปรับ<br />

ตัว และพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อสามารถยืนบนเวทีโลกได้<br />

อย่างทัดเทียม เป็นที่น่าภาคภูมิใจของชาวไทย<br />

แลไปข้างหน้า กระทรวง<strong>กลาโหม</strong> จึงไม่เพียงยึดมั่นภารกิจปกป้อง<br />

อธิปไตยของชาติเป็นหลัก หากยังตระหนักถึงความสำคัญของภารกิจ<br />

ให้ความร่วมมือกับทุกองคาพยพของแผ่นดิน ในการพัฒนาประเทศ<br />

ชาติ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตามแนวพระบรม<br />

ราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า....<br />

“...หน้าที่พัฒนาบ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน<br />

ต้องถือเป็นเหมือนภารกิจหลักหนึ่งของทหาร ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติ<br />

โดยเคร่งครัดเสมอเหมือนกับการสู้รบ...”<br />

ดังนั้น เมื่อรวมภารกิจปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และ<br />

ราชวงศ์จักรีอันเป็นที่รักยิ่งแล้ว มโนสำนึกของข้าราชการทุกหน่วย<br />

งาน ทุกเหล่าทัพ ภายใต้สังกัด<strong>กลาโหม</strong> จึงพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่ง<br />

ใจเดียวกัน ในอันที่จะปฏิบัติตามคำขวัญที่ว่า<br />

“<strong>กลาโหม</strong>เทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง”<br />

...มิคลอนแคลนชั่วกาลนาน<br />

125


127


130


131


133


แสงเงาเก่ากาลสานส่องสร้าง<br />

เส้นทางวันนี้ที่สดใส<br />

เยี่ยมเรือนเยือนยลดลใจ<br />

จุดไฟแห่งศิลป์จินตนา<br />

ปืนใหญ่เรียงหน้า<strong>กลาโหม</strong><br />

ดวงโคมระเบียงเคียงฝา<br />

สักทองอาคารตระการตา<br />

งามสง่าคชสีห์ฤทธิไกร<br />

มรดกที่พิทักษ์เฝ้ารักษา<br />

เก็บมาแบ่งปันสรรฝากให้<br />

ภาพร้อยรอยเรื่องประเทืองใจ<br />

ประเทศไทยประทับค่าสง่างาม<br />

คำประพันธ์: จิระนันท์ พิตรปรีชา


ที่ปรึกษา<br />

พลโท พิณภาษณ์ สริวัฒน์<br />

พลตรี ธนรัตน์ รื่นเริง พลตรี เนรมิต มณีนุตร์<br />

ประธานคณะทำงาน<br />

พลตรี ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์ เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

รองประธานคณะทำงาน<br />

พันเอก สุรชาติ จิตต์แจ้ง รองเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

คณะทำงาน<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์<br />

พันเอก ณภัทร สุขจิตต์<br />

นาวาอากาศเอก ธวัชชัย รักประยูร<br />

นาวาเอก พรหมเมธ อติแพทย์<br />

พันเอก ทวี สุดจิตร์<br />

พันเอกหญิง ฉันทนา กรสมิท<br />

พันเอก ปณิธาน กาญจนวิโรจน์<br />

พันโท ปิยะวัฒน์ ปานเรือง<br />

นาวาโท วัฒนสิน ปัตพี<br />

นาวาโทหญิง รสสุคนธ์ ทองใบ<br />

นาวาตรี ฐิตพร น้อยรักษ์<br />

ร้อยเอก ไพบูลย์ รุ่งโรจน์<br />

ร้อยเอก จิโรตม์ ชินวัตร<br />

ร้อยเอกหญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร์<br />

ร้อยโท ยอดเยี่ยม สงวนสุข<br />

ร้อยโทหญิง ลลิดา ดรุนัยธร<br />

พันจ่าอากาศเอก ศุภกิจ ภาวิไล<br />

พันจ่าอากาศเอก ภัทร์ศรัณย์ ยุกตานนท์<br />

จ่าสิบเอกหญิง ธิดารัตน์ ทองขจร<br />

จ่าสิบโท ชัยอภิชาติ วุฒิโสภณ<br />

สิบเอก วีรศักดิ์ มาแสวง<br />

จ่าอากาศเอก เชาวลิต พรหมบุตร<br />

หม่อมหลวง วรธิษณ์ วรวรรณ<br />

ธัญลักษณ์ ยางงาม<br />

สห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

จิระนันท์ พิตรปรีชา<br />

เพ็ญพัฒน์ มรกตวิศิษฏ์<br />

เกรียงไกร ไวยกิจ<br />

ธีรภาพ โลหิตกุล<br />

ถ่ายภาพ<br />

วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ๕๘, ๑๑๖<br />

ชำนิ ทิพย์มณี ๙๐ (บนซ้าย), ๙๒<br />

นิติศักดิ์ ประสิทธิ์ศิลป์ ๒๕, ๕๙, ๖๒, ๖๕, ๖๗, ๖๘, ๑๐๐, ๑๑๒, ๑๑๓ (บน)<br />

วรรณี ชัชวาลทิพากร ๓๑ (ล่าง), ๕๔,<br />

ธีรภาพ โลหิตกุล ๓๐ (บน), ๕๕,<br />

เกรียงไกร ไวยกิจ ๔, ๗, ๑๐-๑๑, ๓๑ (บน), ๓๗, ๕๐, ๕๖-๕๗, ๘๔, ๑๒๐,<br />

๑๒๕-๑๒๗, ๑๒๘ (ล่าง), ๑๓๖ (บน), ๑๓๗<br />

พิชญ์ เยาว์ภิรมย์ ๔๑, ๕๑, ๕๒-๕๓, ๑๑๗ (บน), ๑๒๙, ๑๔๐<br />

เกษม พึ่งจิตต์ประไพ ๗๒-๗๓,<br />

อัครินทร์ อัศววารินทร์ ๓๕, ๙๔ (บนซ้าย), ๑๓๒ (บน)<br />

ชฎาธาร ฉายปุริยานนท์ ๑๐๔-๑๐๕, ๑๓๑, ๑๔๐<br />

ดำริห์ วงษ์สุนา ๒๔, ๓๕ (บน), ๓๖, ๗๐-๗๑, ๘๖-๘๗, ๑๑๑<br />

ประพันธ์ ไกรศักดาวัฒน์ ๓๔, ๑๐๒-๑๐๓, ๑๓๘-๑๓๙<br />

สุพจน์ ศรีมณีชัย ๑๔๒<br />

กัมพล คุ้มวงษ์ ๒-๓, ๒๙ (ล่าง), ๓๐ (ล่าง), ๘๘, ๑๐๖, ๑๑๔, ๑๑๙,<br />

๑๒๔, ๑๓๖ (ล่าง), ๑๔๑<br />

วีระยุทธ พิริยะพรประภา ๑๒-๑๓, ๓๙, ๑๐๑, ๑๓๕ (บน), ๑๔๑<br />

อำนาจ เกตุชื่น ๘๙, ๙๙ (ล่าง), ๑๐๗, ๑๓๒ (ล่าง)<br />

สุนันท์ คุณากรไพบูลย์ศิริ ๒๗, ๓๘, ๔๒, ๔๗, ๔๘, ๗๔-๗๕, ๗๘-๗๙, ๘๕, ๙๓, ๙๔,<br />

๙๗ (บน), ๙๘, ๑๑๐, ๑๑๓ (ล่าง), ๑๑๕, ๑๑๗ (ล่าง),<br />

๑๓๐, ๑๓๔ (ล่าง)<br />

สว่าง จริยปรัชญากุล ๖ (บน), ๔๐, ๔๓, ๔๕, ๖๖, ๖๙, ๙๑, ๙๗ (ล่าง),<br />

๙๙ (บน),<br />

เอกรินทร์ เอกอัจฉริยะวงศ์ ๓๓, ๔๖, ๘๓ (ขวา), ๙๐ (ล่างซ้าย), ๙๖, ๑๓๔ (ล่าง)<br />

ชัชวาล ดาจันทร์ ๑๑๘<br />

จริยา จุฬาธรรมกุล ๒๖ (ขวา), ๔๔, ๑๒๘ (บน), ๑๔๐, ๑๔๑<br />

วริญญา วัชราทิตย์ ๒๙ (บน),<br />

ภานุมาศ มหิศยา ๘-๙, ๓๒, ๑๓๔ (บน), ๑๔๐, ๑๔๑<br />

กุมารินทร์ กาศคำสุข ๖ (ล่าง), ๒๘, ๖๓, ๖๔, ๑๓๓<br />

ภาพจาก<strong>กลาโหม</strong> ๑๔-๒๓, ๒๖, ๔๙, ๖๐-๖๑, ๗๖-๗๗, ๘๐-๘๓, ๑๐๘-๑๐๙


ขอขอบคุณ<br />

พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

กรมเสมียนตรา<br />

สำนักงบประมาณ<strong>กลาโหม</strong><br />

สำนักนโยบายและแผน<strong>กลาโหม</strong><br />

กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์<br />

พันเอก ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

พันเอก พรเพิ่ม โพธิผละ<br />

กองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ ๑๑<br />

พันโท ทศรถ โตคุ้มภัย<br />

นาวาตรีหญิง อัจฉรียา มินวงษ์<br />

กองรักษาการณ์ กระทรวง<strong>กลาโหม</strong><br />

ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ที่ปฏิบัติงานภายในอาคารศาลาว่าการ<strong>กลาโหม</strong><br />

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร<br />

รัตนโกสินทร์ ไอร์แลนด์ คอนโดมิเนียม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!