01.02.2015 Views

2552 - กระทรวงการต่างประเทศ

2552 - กระทรวงการต่างประเทศ

2552 - กระทรวงการต่างประเทศ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

บทบาทไทยในเวทีพหุภาคีและประเด็นสำคัญของโลก<br />

ร่วมกำหนดท่าทีในการประชุมทุกเวทีของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง<br />

(Mekong River Commission - MRC) ซึ่งมีกรมทรัพยากรน้ำ<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลัก<br />

<br />

<br />

4. การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์<br />

กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งเสริมบทบาทของไทยด้าน<br />

ความมั่นคงของมนุษย์ในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งในกรอบเครือข่าย<br />

ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network) และกรอบ<br />

กลุ่มเพื่อนความมั่นคงของมนุษย์ (Group of Friends of Human<br />

Security) โดยไทยได้เข้าร่วมการประชุมในทั้งสองกรอบอย่างแข็งขัน<br />

ทุกปี ไทยเห็นว่าการพิจารณาเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ควรมีความ<br />

สมดุลระหว่างอิสรภาพจากความหวาดกลัว (Freedom from Fear)<br />

กับอิสรภาพจากความต้องการ (Freedom from Want) ซึ่ง<br />

สอดคล้องกับการที่ประชาคมระหว่างประเทศหันมาตระหนักถึง<br />

ความเชื่อมโยงกันระหว่างสันติภาพและความมั่นคงกับการพัฒนา<br />

ไทยให้ความสำคัญกับ Freedom from Want โดยเน้นการดำเนินงาน<br />

ที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และการได้มาซึ่งปัจจัยสี่ของการดำรง<br />

ชีวิตเพื่อการกินดีอยู่ดีของประชาชน<br />

สำหรับกิจกรรมในการเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์<br />

ของกระทรวงการต่างประเทศซึ่งอิงแนวทางที่เสนอโดยโครงการ<br />

ว่าด้วยการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) มีรายละเอียด ดังนี้<br />

4.1 ความมั่นคงด้านสุขภาพ (health security) กระทรวง<br />

การต่างประเทศได้อาศัยกรอบ Foreign Policy and Global<br />

Health Initiative (FPGHI) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยบราซิล ฝรั่งเศส<br />

อินโดนีเซีย นอร์เวย์ เซเนกัล แอฟริกาใต้และไทย ในการผลักดัน<br />

ข้อมติในสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 63 ในการส่งเสริมความ<br />

มั่นคงด้านสุขภาพ โดยให้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างประเด็น<br />

สาธารณสุขกับนโยบายต่างประเทศ โดยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ<br />

เช่น การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ H1N1 มิได้เป็นเรื่องที่ควร<br />

หารือเป็นการเฉพาะในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุขในเวทีสมัชชา<br />

อนามัยโลกเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่จำต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและ<br />

ทักษะการเจรจาต่อรองของนักการทูตในการกำหนดนโยบายและ<br />

การหามาตรการในการรับมือและแก้ไขปัญหาท้าทายเหล่านี้<br />

นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม FPGHI ได้มีถ้อยแถลงร่วม<br />

ในเรื่องไข้หวัดใหญ่ H1N1 โดยสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี<br />

ในการผลิตวัคซีนให้แก่ประเทศที่มีศักยภาพและการจัดตั้งกลไก<br />

การเงินเพื่อจัดซื้อวัคซีนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา<br />

4.2 ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม (environmental security)<br />

ได้แก่ การคุ้มครองประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากภัยพิบัติ<br />

ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำลายสิ่งแวดล้อมของมนุษย์<br />

เอง ซึ่งในเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมมือกับเครือข่าย<br />

ความมั ่นคงของมนุษย์ (Human Security Network - HSN)<br />

ในการหารือเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ<br />

ต่อความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มผู้อ่อนแอ<br />

(vulnerable groups) เช่น สตรี เด็ก และผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่ง<br />

กลุ่ม HSN เห็นว่าประเทศพัฒนาแล้วควรเน้นนโยบายด้านการลด<br />

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation)ให้มากกว่านี้ ส่วนประเทศ<br />

กำลังพัฒนาควรเน้นไปที่นโยบายด้านการปรับตัว (adaptation)<br />

เป็นสำคัญ ทั้งนี้กลุ่ม HSN ได้หารือถึง <br />

(1) ระบบการเตือนภัยล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ<br />

(early warning system) <br />

(2) การระดมความร่วมมือระหว่างประเทศและเงินสนับสนุน<br />

เพื่อหามาตรการบรรเทาปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ<br />

(3) การถ่ายทอดเทคโนโลยี<br />

4.3 ความปลอดภัยส่วนบุคคล (personal security) <br />

4.3.1 ปัญหายาเสพติด กระทรวงการต่างประเทศได้มี<br />

บทบาทแข็งขันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเจรจายกร่าง<br />

ปฏิญญาการเมืองและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการควบคุมยาเสพติด<br />

ระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับการรับรองในที่ประชุมระดับสูงของคณะ<br />

กรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 52 เมื่อเดือน<br />

มีนาคม <strong>2552</strong> อีกทั้งได้ร่วมกับเปรูเสนอข้อมติเรื่อง “Promoting<br />

best practices and lessons learned for the sustainability<br />

and integrality of alternative development” ซึ่งเรียกร้องให้มี<br />

การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาทางเลือกและเสนอให้มีการจัด<br />

International Conference on Alternative Development โดย<br />

กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ สำนักงานป้องกันและปราบปราม<br />

82 รายงานประจำปี กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. <strong>2552</strong>

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!