01.02.2015 Views

2552 - กระทรวงการต่างประเทศ

2552 - กระทรวงการต่างประเทศ

2552 - กระทรวงการต่างประเทศ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

บทบาทไทยในเวทีพหุภาคีและประเด็นสำคัญของโลก<br />

แก้ไขวิกฤตการเงิน การฟื ้นฟูเศรษฐกิจโลก และอาหาร<br />

พร้อมทั้งกล่าวเปิดการอภิปรายในการประชุมในหัวข้อ “Growth<br />

via Travel and Tourism” โดยกล่าวถึงมาตรการระยะสั้น/กลาง/<br />

ยาว ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่มีต่อธุรกิจ<br />

ท่องเที่ยวของไทย<br />

<br />

<br />

6. การทูตพหุภาคีเพื่อประชาชน<br />

เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่มีผลกระทบ<br />

ต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง และบทบาทของไทยในเวที<br />

พหุภาคีและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อประชาชนและหน่วยงาน<br />

ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและเข้าใจถึงพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามใน<br />

กรอบกฎหมายหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ กระทรวงการ<br />

ต่างประเทศได้ดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ <br />

6.1 ด้านสิทธิมนุษยชน<br />

6.1.1 การอบรมเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจในจังหวัด<br />

ชายแดนภาคใต้เรื่องสิทธิมนุษยชน มีขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 17-18<br />

สิงหาคม <strong>2552</strong> โดยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศให้การบรรยาย<br />

เรื่อง สิทธิมนุษยชน องค์การระหว่างประเทศ และปัญหาจังหวัด<br />

ชายแดนภาคใต้ แก่เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่ปฏิบัติงานในพื้นที่<br />

จำนวน 2 ครั้ง ตามคำเชิญของกรมข่าวทหารบก เมื่อเดือน<br />

สิงหาคม และเดือนกันยายน <strong>2552</strong> โดยเน้นถึงความสำคัญที่ไทย<br />

ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิ<br />

มนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ<br />

และความสำคัญของสิทธิมนุษยชนต่อการปฏิบัติหน้าที่รักษาความ<br />

มั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมนี้เป็นการปฏิบัติตามนโยบาย<br />

ของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและ<br />

คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่<br />

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ <br />

6.1.2 การจัดทำคู่มือสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่ความ<br />

มั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วม<br />

พัฒนาคู่มือสิทธิมนุษยชนและบัตรสิทธิมนุษยชน (human rights<br />

soldiers card) ซึ่งเป็นความริเริ่มของกองทัพบก เพื่อแจกจ่ายให้<br />

กับกำลังพลในกองทัพ โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ในสามจังหวัด<br />

ชายแดนภาคใต้ คู่มือสิทธิมนุษยชนจะประกอบไปด้วยความหมาย<br />

และความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิ<br />

มนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีและพันธกรณีที่ไทยจะต้องปฏิบัติ<br />

ตาม และสิทธิมนุษยชนกับการปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคง ส่วนบัตร<br />

สิทธิมนุษยชนจะประกอบไปด้วยข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติด้าน<br />

สิทธิมนุษยชนในขณะปฏิบัติหน้าที่รักษาความมั่นคง นับเป็นพัฒนาการ<br />

ที่สำคัญของไทยในการพยายามสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิ<br />

มนุษยชนให้กับเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายของไทย <br />

6.1.3 การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมุนษยชนให้กับ<br />

สาธารณชน โดยที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 48 ประเทศแรกที่ได้ร่วม<br />

รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อปี 2490 (ค.ศ. 1948)<br />

และเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ<br />

มนุษยชน และปีสากลแห่งการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในปี <strong>2552</strong><br />

กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความ<br />

ตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับสาธารณชน โดยได้ปรับปรุงคำแปล<br />

ปฏิญญาสากลฯ ให้มีความทันสมัยและเข้าใจง่ายสำหรับประชาชน<br />

ทั่วไป นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังได้จัดหนังสือปฏิญญาฯ<br />

สำหรับเด็กและเยาวชน และหนังสือปฏิญญาฯ อักษรเบรลล์ สำหรับ<br />

ผู้พิการทางสายตา ทั้งนี้ได้แจกจ่ายสื่อการเรียนรู้ดังกล่าวไปยังสถาบัน<br />

การศึกษา ห้องสมุด และมูลนิธิคนตาบอดทั่วประเทศ รวมทั้ง ยังได้<br />

เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปฏิญญาสากลฯ ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และ<br />

หนังสือพิมพ์ เป็นจำนวน 30 ตอน และทางเว็บไซต์ www.mfa.go.th<br />

/humanrights เพื่อร่วมสร้างความตระหนักรู้ในสังคมไทย เกี่ยวกับ<br />

สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดอย่างเท่าเทียมกัน<br />

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมจัดกิจกรรมกับกระทรวงศึกษาธิการในการอบรม<br />

ครูอาจารย์เกี่ยวกับการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน<br />

เพื่อให้การเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนเป็นไปอย่าง<br />

กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ <br />

6.1.4 การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ Universal<br />

Periodic Review (UPR) โดยที่ประเทศไทยมีกำหนดนำเสนอรายงาน<br />

การทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยภายใต้กลไก UPR ของ<br />

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2554 ดังนั้น เพื่อ<br />

ให้การจัดทำและการนำเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะมนตรีสิทธิ<br />

88 รายงานประจำปี กระทรวงการต่างประเทศ พ.ศ. <strong>2552</strong>

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!