10.07.2015 Views

รายงานประจำปี 2552 - การท่าเรือแห่งประเทศไทย

รายงานประจำปี 2552 - การท่าเรือแห่งประเทศไทย

รายงานประจำปี 2552 - การท่าเรือแห่งประเทศไทย

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ท่าเรือกรุงเทพมีโครงการให้เอกชนเช่าพื้นที่นอกเขตรั้วศุลกากร โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 4 โซน ประกอบด้วย1. พัฒนาเป็นอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชยนาวี (Maritime Business Center) 2. พัฒนาศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า เช่น เขตปลอดอากร คลังสินค้าทั ่วไปและทัณฑ์บนเป็นต้น 3. พัฒนาศูนย์บริการการค้าธุรกิจครบวงจร เช่น ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ศูนย์แสดงสินค้า และศูนย์ประชุม เป็นต้น4. พัฒนาอาคารสำนักงานในรูปแบบทันสมัย เช่น อาคารสำนักงาน บริษัทสายการเดินเรือ Freight Forwarder Shipping การประกันภัยขนส่งต่างๆ เป็นต้น ท่าเรือแหลมฉบังได้จัดสรรพื้นที่ออกเป็น 7 โซน เพื่อให้การใช้พื้นที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจท่าเรือ ซึ่งได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเปิดให้เอกชนเช่า และมีเอกชนเช่าแล้ว คือ โซนที่ 5ส่วนโซนที่ 3 และ 7 ยังเหลือพื้นที่เล็กน้อย และโซนอื่นๆ จะทยอยให้เอกชนเช่าพัฒนาต่อไปท่าเรือภูมิภาค 1. ท่าเรือเชียงแสน การท่าเรือฯ เตรียมเข้าบริหารประกอบการท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 แทนท่าเรือเชียงแสนในปัจจุบัน โดยประสานความร่วมมือให้กรมเจ้าท่า นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้การท่าเรือฯ เป็นผู้บริหารท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 2 ในขณะเดียวกัน การท่าเรือฯ ได้เตรียมความพร้อมด้านการลงทุนเครื่องมือทุ่นแรง ระบบ IT รวมทั้งการปรับโครงสร้างบุคลากรให้เหมาะสมพร้อมเปิดให้บริการ เมื่อกรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 25552. ท่าเรือระนอง มีศักยภาพด้านการสนับสนุนโครงการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทางฝั่งอันดามัน ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำนวนมากเข้ามาใช้บริการที่ท่าเรือระนอง ดังนั้น การท่าเรือฯ จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) วางแผนพัฒนาพื้นที่หลังท่าเป็นคลังน้ำมันดีเซลปลอดอากร เพื่อสนับสนุนงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และเพื่อการส่งออก ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุน การขนส่งน้ำมันทางบก โดยเปลี่ยนเป็นการขนส่งทางน้ำแทน และจะช่วยลดความเสี่ยงด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านความปลอดภัย ด้วยการติดตั้งระบบการบรรทุกขนถ่ายน้ำมัน ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2554พัฒนาท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port)การท่าเรือฯ มีนโยบายพัฒนาท่าเรือให้เป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ ลดระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และบุคลากรในการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่สำคัญอาทิ จัดซื้อฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟท์แวร์ (Software) และจัดทำระบบการเชื่อมต่อ NationalSingle Windows (NSW) ของรัฐบาล เพื่อผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่หน่วยงานแต่ละแห่งการพัฒนาระบบบริหารจัดการ การท่าเรือฯ ได้นำระบบบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVM) และนำระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมมาใช้ พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM) โดยจัดทำโครงการประเมินประสิทธิผลโครงสร้างองค์กร การปรับโครงสร้างองค์กร และการประมาณการอัตรากำลังของการท่าเรือฯ เพื่อให้การท่าเรือฯ มีโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลังที่เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินการตามภารกิจหลักของหน่วยงานและสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของการท่าเรือฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีแผนในการจัดทำระบบวางแผนทดแทนตำแหน่ง (Succession Plan) และแผนการจัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงานโดยอิงตัวชี้วัด (KPI) ในปีงบประมาณต่อไปด้วยรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 57

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!