13.07.2015 Views

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>รายงานสรุปผล</strong><strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2554สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากุมภาพันธ์ 2555


คํานําการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นภารกิจหลักที่สําคัญยิ่งในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ประชาชนบริโภคมีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานตามที่ได้กําหนดไว้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้กําหนดแผนเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพภายใต้ความรับผิดชอบทั้ง 6ประเภท ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสําอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย และวัตถุเสพติด ทั้งที่ผลิตและจําหน่ายในประเทศ นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน โดยพิจารณาสุ่มตัวอย่างให้สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงที่จะก่ออันตรายต่อผู้บริโภค ส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และตรวจวิเคราะห์เบื้องต้นโดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (Primary screening test)เนื่องด้วยข้อจํากัดในเรื่องงบประมาณในการการสุ่มตัวอย่างและ<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong> จึงเป็นไปได้ยากที่จะสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ได้ครอบคลุมทุกประเภทที่มีจําหน่ายในท้องตลาด แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ใน<strong>รายงานสรุปผล</strong><strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong> ประจําปีงบประมาณ2554 ก็พอทําให้ทราบถึงสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ในระดับหนึ่ง และเป็นข้อมูลสําหรับการวางมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาขอขอบคุณสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการให้ความร่วมมือเก็บตัวอย่างและตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยดีเสมอมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า<strong>รายงานสรุปผล</strong><strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ประจําปีงบประมาณ 2554 นี้ จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป(นายพิพัฒน์ ยิ่งเสรี)สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากุมภาพันธ์ 2555i


ตารางที่ 16 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2554ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาตารางที่ 17 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ประจําปีงบประมาณพ.ศ.2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาตารางที่ 18 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ประจําปีงบประมาณพ.ศ.2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาตารางที่ 19 ผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาดในส่วนภูมิภาค ดําเนินการโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2554หน้าผ-82ผ-83ผ-84ผ-85iv


บทสรุปเสนอทสรุปเสนอผู้บริหาร<strong>รายงานสรุปผล</strong><strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong> ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้รวบรวมข้อมูลผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ทั่วประเทศ ทั้งในส่วนกลางที่ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และส่วนภูมิภาคที่ดําเนินการโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด รายงานฯ ฉบับนี้ได้รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ท้องตลาด การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย โครงการพัฒนา กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน เรื่องร้องเรียน เป็นต้น และรวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้ตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) และตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ในรายงานฉบับนี้ทําให้ทราบถึงสถานการณ์ผลิตภัณฑ์สุขภาพในรอบปี และปัญหาที่พบของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ในระดับหนึ่ง และเป็นข้อมูลสําหรับการวางมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ โดยสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ในภาพรวม ดังต่อไปนี้1. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร จากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารในส่วนกลางที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่เข้ามาตรฐานสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ พบข้อบกพร่องร้อยละ 56.30เนื่องจากพบวัตถุเจือปนอาหารไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด 2) น้ําผึ้ง พบข้อบกพร่องร้อยละ43.33 เนื่องจากมีคุณภาพไม่เข้ามาตรฐานตามประกาศ และ 3) อาหารทั่วไปที่ห้ามใส่สี พบข้อบกพร่องร้อยละ 42.00 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สีผสมในอาหารไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด2. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา จากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาในส่วนกลางที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด พบว่า Silymarin tablet, Rammipril tablet/ capsule ไม่เข้ามาตรฐานสูง ร้อยละ 50 เนื่องจากปริมาณตัวยาสําคัญผิดมาตรฐาน และ Sulfamethoxazole +trimethoprim tablet/capsule ไม่เข้ามาตรฐานสูง ร้อยละ 7.32 เนื่องจากการละลายของยา(Dissolution) ผิดมาตรฐาน3. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง จากผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องสําอางดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า ไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 17.03 โดยส่วนมากพบสารห้ามใช้ ได้แก่ ไฮโดรควิโนน ปรอท กรดวิตามินเอ เช่นเดียวกับในส่วนภูมิภาคพบผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 13.72 โดยส่วนใหญ่พบสารห้ามใช้ ได้แก่ ไฮโดรควิโนน สารประกอบปรอท และกรดวิตามินเอ4. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พบถุงมือสําหรับการตรวจโรค ไม่เข้ามาตรฐานถึงร้อยละ 36.63 สาเหตุการไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากการรั่วซึมน้ํา/แรงดึงเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความยืดเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความหนาชั้นเดียวที่ปลายนิ้ว5. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างวัตถุอันตรายในส่วนกลาง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด/ฆ่าเชื้อที่ประกอบด้วยกรด Hydrochloric acid และBenzalkonium Chloride ผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดแมลงรูปแบบต่างๆ และผลิตภัณฑ์เหยื่อกําจัดหนูผลิตภัณฑ์ที่พบไม่ได้มาตรฐานมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดแมลง ประเภทชอล์กกําจัดแมลง ไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 25 รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์กําจัดเห็บหมัดสุนัข และผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นพื้นผิวกําจัดแมลงคลานชนิดของเหลว1


6. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด ข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานทั้งก่อนและหลังออกสู่ตลาดในส่วนกลาง ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2, 3, 4 และยาเสพติดให้โทษในประเภท 2, 3 พบว่า วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3, 4 ไม่เข้ามาตรฐานจํานวน1 ตัวอย่าง คือ Lorazepam ไม่ผ่านมาตรฐานในหัวข้อ Related substance คิดเป็นร้อยละ 1.15 ของผลวิเคราะห์ที่ได้รับทั้งสิ้น 87 ตัวอย่าง จากจํานวนตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ทั้งสิ้น 143 ตัวอย่าง7. ผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ชุมชน พบปัญหาคุณภาพค่อนข้างสูงร้อยละ 34.74ในผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรปัญหาและอุปสรรค1. ด้วยงบประมาณที่จํากัด บุคลากรไม่เพียงพอ และค่าตรวจวิเคราะห์ที่มีราคาสูง ทําให้หน่วยงานไม่สามารถเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ2. ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้ายาไม่มีการเก็บ Retain Sample หรือเก็บน้อยเกินไปจนไม่สามารถนํามาวิเคราะห์ได้3. ความล่าช้าของการได้รับผลวิเคราะห์ เนื่องจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีภาระงานประจําในการวิเคราะห์ตัวอย่างเช่นกัน ทําให้มีขีดจํากัดในการรับงานวิเคราะห์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา4. ข้อจํากัดในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เช่น วัตถุเสพติด เนื่องจากสารมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์จําเป็นต้องขอความร่วมมือจากสถานประกอบการ ซึ่งมีปริมาณจํากัด มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับว่ามีการแจ้งผลิตหรือไม่ ดังนั้น หากมีการเก็บตัวอย่างในปีงบประมาณนั้นๆ แต่ไม่ได้มีการผลิตชนิดนั้นเกิดขึ้น จะส่งผลให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่สามารถวิเคราะห์ได้5. หน่วยงานวิเคราะห์กําหนดเงื่อนไขในการส่งตัวอย่างเพิ่มเติมภายหลัง โดยมิได้แจ้งไว้ในการประสานจัดทําแผนการเก็บตัวอย่าง ทําให้การเก็บตัวอย่างไม่เป็นไปตามเป้าหมาย6. การตรวจสอบคุณภาพยานําเข้า พบปัญหาหน่วยงานวิเคราะห์ไม่มีสารมาตรฐาน ทําให้ต้องขอสารมาตรฐานจากผู้นําเข้า ซึ่งใช้เวลารอคอยนาน และบางครั้งไม่ได้รับความร่วมมือ ส่งผลให้การเก็บตัวอย่างไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด7. ผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์บางรายการไม่ได้ระบุชื่อผลิตภัณฑ์หรือรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ที่ทําให้สามารถสืบค้นต่อได้ หากมีข้อสงสัยจะต้องประสานขอข้อมูลจากสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดผู้รายงานข้อเสนอแนะ1. ควรมีการประสานกับสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานในภูมิภาค ให้ทราบแนวทางการเก็บตัวอย่างเพื่อการเฝ้าระวังไปในทิศทางและมาตรฐานการปฏิบัติงานเดียวกัน ตลอดจนการนําผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการปัญหาของระบบในภาพของระดับประเทศ โดยมีกองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานเพื่อบูรณาการแผนเก็บตัวอย่างของทุกผลิตภัณฑ์ และติดตามรวบรวมผลวิเคราะห์ในส่วนภูมิภาค เพื่อให้สามารถสรุปผลในภาพรวมของประเทศได้2


2. ควรพัฒนาฐานข้อมูล และระบบรายงานผลวิเคราะห์ทั้งประเทศ เพื่อให้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีข้อมูลผลวิเคราะห์ที่สะท้อนให้เห็นภาพรวมของคุณภาพผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติดทั่วทั้งประเทศ ในเชิงปริมาณ และคุณภาพ รวมถึงพัฒนาระบบรายงานระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้เป็นระบบเครือข่าย3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องเร่งรัดการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพให้สามารถตรวจวัดคุณภาพได้มากกว่าและรวดเร็ว หรืออาจต้องถ่ายโอนบทบาทการตรวจคุณภาพในเชิงการให้บริการผู้ประกอบการ ได้แก่ ภาคเอกชน เพื่อมุ่งเน้นบทบาทการตรวจวิเคราะห์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค3


กรอบการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีภารกิจหลักในการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ กลวิธีหนึ่งของการกํากับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพมาตรฐาน คือ การสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพตรวจสอบคุณภาพ อันจะทําให้มีข้อมูลและนําไปสู่การวิเคราะห์ผลและแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกทิศทาง ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพภายใต้กรอบแนวทางการจัดทําแผนเก็บตัวอย่าง ดังต่อไปนี้1. โครงการตามนโยบาย เพื่อผลักดันคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับนโยบาย2. การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ท้องตลาด เพื่อตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อการออกใบอนุญาต/ทะเบียน และพิสูจน์ว่ามีคุณภาพเพียงพอที่จะวางจําหน่ายในท้องตลาดได้3. การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย เพื่อใช้เป็นข้อมูลด้านการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัย และนําข้อมูลที่ได้มาประเมินผลการดําเนินงาน ได้แก่ การเก็บตัวอย่างเพื่อการแก้ไขปัญหาคุณภาพและความปลอดภัย และเก็บตัวอย่างเพื่อประเมินสถานการณ์4. โครงการศึกษาวิจัย เพื่อประกอบการศึกษาวิจัย5. โครงการพัฒนา เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบการผลิตให้ได้ตรงตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต6. กรณีพิเศษ/ ฉุกเฉิน เพื่อเป็นการติดตามตรวจสอบกรณีเร่งด่วนที่สงสัยว่าผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค7. เรื่องร้องเรียน เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ตามที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมาแล้วแต่กรณี4


ผลการดําเนินการเก็บตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์สุขภาพเทียบกับเป้าหมายในปีงบประมาณ 2554 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รวบรวมผลการดําเนินการ เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเทียบกับเป้าหมาย (รายละเอียดดังตารางที่ 1 หน้า ผ-1) สามารถสรุปผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างฯ เทียบกับเป้าหมายจําแนกตามรายผลิตภัณฑ์ ดังต่อไปนี้1. ผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างตามเป้าหมายในส่วนกลาง1.1 ผลิตภัณฑ์อาหาร สรุปผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างเทียบกับเป้าหมาย ดังต่อไปนี้- ผลิตภัณฑ์อาหารเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 4,250 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 4,464 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 105.04- ผลิตภัณฑ์อาหารนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา วางแผนการเก็บตัวอย่าง จํานวน 18,010ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 16,650 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 92.451.2 ผลิตภัณฑ์ยา สรุปผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างเทียบกับเป้าหมาย ดังต่อไปนี้- ผลิตภัณฑ์ยาเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 500 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 628 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 125.60- ผลิตภัณฑ์ยานําเข้า ณ ด่านอาหารและยา วางแผนการเก็บตัวอย่าง จํานวน 4,265 ตัวอย่างเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 5,016 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 117.611.3 ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง สรุปผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างเทียบกับเป้าหมาย ดังต่อไปนี้- ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 600 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 575 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 95.83- ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 220ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 315 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 143.181.4 ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ สรุปผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างเทียบกับเป้าหมาย ดังต่อไปนี้- ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต จําหน่ายในท้องตลาด และโรงพยาบาลวางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 370 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 391 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 105.68- ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน100 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 118 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 118.001.5 ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย สรุปผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างเทียบกับเป้าหมาย ดังต่อไปนี้- ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต ผู้นําเข้า และผู้จําหน่ายในท้องตลาด5


วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 384 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 369 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 96.09 โดยการเก็บตัวอย่างที่มิได้ตามเป้าหมาย คือ กรณีพิเศษ/ฉุกเฉินและเรื่องร้องเรียน- ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 30ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 38 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 126.671.6 ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และที่จําหน่ายให้สถานพยาบาล วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 265 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 291ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 109.811.7 ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน สรุปผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างเทียบกับเป้าหมาย ดังต่อไปนี้- ผลิตภัณฑ์อาหารผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 1,703 ตัวอย่างเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 1,861 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 109.28- ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 82 ตัวอย่างเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 98 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 119.51- ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 190ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 284 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 149.47- ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน วางแผนการเก็บตัวอย่างจํานวน 41 ตัวอย่างเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 66 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 160.982. ผลการดําเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาค2.1 ผลิตภัณฑ์อาหาร วางแผนการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด จํานวน7,812 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 15,114 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 193.472.2 ผลิตภัณฑ์ยา วางแผนการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด จํานวน 472ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 544 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 115.252.3 ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง วางแผนการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด จํานวน1,021 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 1,148 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 112.442.4 ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ วางแผนการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาดจํานวน 46 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 97 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 210.872.5 ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย วางแผนการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและผู้จําหน่ายในท้องตลาดจํานวน 59 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 37 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 62.716


2.6 ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด วางแผนการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด จํานวน22 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ตามแผนการเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 40 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 181.82<strong>รายงานสรุปผล</strong>การตรวจวิเคราะห์ฉบับนี้ ได้รวบรวมผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ทั่วประเทศ และผลการตรวจวิเคราะห์ตามโครงการอาหารปลอดภัย สรุปผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ในภาพรวมได้ดังตารางที่ 1 หน้า ผ-1 รายละเอียดผลการตรวจวิเคราะห์จําแนกตามรายผลิตภัณฑ์จะได้กล่าวถึงในส่วนต่อไป7


ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งในส่วนกลางที่ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และในส่วนภูมิภาคที่ดําเนินการโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด รวมถึงผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน และผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารตามโครงการความปลอดภัยด้านอาหาร สรุปผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร ดังต่อไปนี้ก. ผลิตภัณฑ์อาหารดําเนินการโดยส่วนกลาง1. ผลิตภัณฑ์อาหารเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ได้ทั้งสิ้น 3,497 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานทั้งสิ้น 2,901 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 82.96 (รายละเอียดจําแนกรายผลิตภัณฑ์ดังตารางที่ 2 หน้า ผ-4) ผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาคุณภาพสูง ได้แก่1) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จากผลการตรวจวิเคราะห์ ไนเตรต ไนไตรท์ กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก จํานวนทั้งสิ้น 119 ตัวอย่าง พบว่าพบข้อบกพร่อง 67 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 56.30 (67 ตัวอย่างจาก 119 ตัวอย่าง) รอผลการวิเคราะห์ 1 ตัวอย่าง โดยมีสาเหตุจากการตรวจพบวัตถุเจือปนอาหาร ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ.2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ดังนี้- พบกรดซอร์บิก 16 ตัวอย่าง- พบกรดเบนโซอิก 29 ตัวอย่าง- พบกรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก 11 ตัวอย่าง- พบกรดเบนโซอิก/กรดซอร์บิก/โซเดียมไนเตรต 1 ตัวอย่าง- พบโซเดียมไนไตรต์, โซเดียมไนเตรตและกรดซอร์บิก 1 ตัวอย่าง- พบโซเดียมไนไตรต์, โซเดียมไนเตรตและกรดเบนโซอิก 3 ตัวอย่าง- พบโซเดียมไนไตรต์ 1 ตัวอย่าง- พบโซเดียมไนไตรต์และโซเดียมไนเตรต 5 ตัวอย่าง2) น้ําผึ้ง จากผลการตรวจวิเคราะห์ ความชื้น น้ําตาลรีดิวซิ่ง, น้ําตาลกลูโคส, น้ําตาลฟรุคโตสน้ําตาลมอลโตส, น้ําตาลซูโครส ค่าไฮดรอกซีเมทธิลเฟอร์ฟิวรัล ค่าไดแอสเตสแอกติวิตี (โกเต สเกล) จํานวนยีสต์และเชื้อรา Pathogenic Bact 2 ตัว (Salmonella spp., Staphylococcus aureus) จํานวนทั้งสิ้น 30ตัวอย่าง พบว่าพบข้อบกพร่อง 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 43.33 (13 ตัวอย่างจาก 30 ตัวอย่าง) โดยพบข้อบกพร่องกรณีมีคุณภาพไม่เข้ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 211) พ.ศ.2543 เรื่องน้ําผึ้ง ดังนี้- พบไฮดรอกซีเมทธิลเฟอร์ฟิวรัล 4 ตัวอย่าง- พบยีสต์ 1 ตัวอย่าง- พบน้ําตาลรีดิวซิ่งและไดแอสเตสแอกติวิตี (โกเต สเกล) 1 ตัวอย่าง- พบน้ําตาลริดิวซิ่งและน้ําตาลซูโครส 2 ตัวอย่าง- พบยีสต์และรา 1 ตัวอย่าง- พบน้ําตาลรีดิวซิ่ง/น้ําตาลซูโครสและไดแอสเตสแอกติวิตี(โกเต สเกล) 3 ตัวอย่าง8


- พบน้ําตาลรีดิวซิ่ง/น้ําตาลซูโครส/ไดแอสเตสแอกติวิตี/และไฮดรอกซีเมทธิลเฟอร์ฟิวรัล 1 ตัวอย่าง3) อาหารทั่วไปที่ห้ามใส่สี จากผลการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณสี จํานวนทั้งสิ้น 100ตัวอย่าง ได้รับผลวิเคราะห์ จํานวน 50 ตัวอย่าง พบว่าพบข้อบกพร่อง 21 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 42.00(21 ตัวอย่างจาก 50 ตัวอย่าง) และอยู่ระหว่างรอผลวิเคราะห์ 50 ตัวอย่าง โดยมีสาเหตุที่พบข้อบกพร่องจากการตรวจพบสีในอาหาร ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ.2547เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร- พบสีซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ และปองโซ 4 อาร์ 2 ตัวอย่าง- พบสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู เอ็ฟซีเอ็ฟ 5 ตัวอย่าง- พบสีตาร์ตราซีน 8 ตัวอย่าง- พบสีเออริโธรซีน 4 ตัวอย่าง- พบสีซันเซ็ต เย็ลโลว์ FCF และตาร์ตราซีน 1 ตัวอย่าง- พบสีซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ 1 ตัวอย่าง2. ผลิตภัณฑ์อาหารนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารนําเข้า จํานวนทั้งสิ้น 14,710 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานร้อยละ 99.05 (14,570 ตัวอย่าง) ไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 0.95 (140 ตัวอย่าง) (รายละเอียดจําแนกรายผลิตภัณฑ์ดังตารางที่ 4 หน้า ผ-46)จากผลการตรวจวิเคราะห์ พบผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาคุณภาพมาตรฐานสูง ได้แก่1) พืชและผลิตภัณฑ์ ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จํานวนทั้งสิ้น 1,333 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 50 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.75 โดยแบ่งเป็น- สารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง 22 ตัวอย่าง นําเข้าจาก จีน แคนาดา อเมริกา ออสเตรเลียอินเดีย- โลหะหนัก 12 ตัวอย่าง นําเข้าจาก จีนและญี่ปุ่น- วัตถุกันเสีย 9 ตัวอย่าง นําเข้าจาก จีน- สารให้ความหวาน 3 ตัวอย่าง นําเข้าจาก จีนและอิสราเอล- สี 2 ตัวอย่าง นําเข้าจาก ญี่ปุ่น- ยาฆ่าแมลงและอฟลาทอกซิน 1 ตัวอย่าง นําเข้าจาก อินเดีย- วัตถุกันเสียและโลหะหนัก 1 ตัวอย่าง นําเข้าจาก จีน2) สัตว์และผลิตภัณฑ์ ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จํานวนทั้งสิ้น 856 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน18 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.10 โดยแบ่งเป็น- โลหะหนัก 11 ตัวอย่าง นําเข้าจาก บังคลาเทศ ปากีสถาน พม่า ฮ่องกง แคนาดา ไต้หวัน- สี 5 ตัวอย่าง นําเข้าจาก จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น- จุลินทรีย์ 1 ตัวอย่าง นําเข้าจาก มาเลเซีย- สารเร่งเนื้อแดง กลุ่มเบต้าอะโกรนิส 1 ตัวอย่าง นําเข้าจาก บราซิล3) ซอส พบปัญหาการใช้สีและวัตถุกันเสีย ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 123 ตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐาน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.69 โดยแบ่งเป็น- วัตถุกันเสีย 3 ตัวอย่าง นําเข้าจาก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน- สี 3 ตัวอย่าง นําเข้าจาก ญี่ปุ่น สก็อตแลนด์- วัตถุกันเสียและสี 1 ตัวอย่าง นําเข้าจากญี่ปุ่น9


ข. ผลิตภัณฑ์อาหารดําเนินการโดยส่วนภูมิภาครวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด ได้จํานวน 15,077 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานจํานวน 13,850 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 91.86 ผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาคุณภาพสูง ได้แก่ น้ําบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และน้ําแข็ง ไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากพบจุลินทรีย์ความเป็นกรดด่าง และความกระด้าง นมโรงเรียน ไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากพบจุลินทรีย์ และคุณค่าของนมไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ปริมาณโปรตีน ปริมาณไขมัน พบเมลามีนและสารในกลุ่มเมลามีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากพบวัตถุกันเสีย (ดังตารางที่ 19 หน้า ผ-85)ค. ผลิตภัณฑ์อาหารตามนโยบายอาหารปลอดภัยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ฯ สํานักอาหาร (Mobile Unit)ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุขได้ดําเนินการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สามารถสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ ได้ดังนี้1) การตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนทางด้านจุลินทรีย์ในอาหาร เป็นการตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์ได้แก่ Total Plate Count (TPC), Coliforms, E.Coli, S.aureus, Yeast และ Mold โดยมีตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ในภาพรวมทั้งประเทศทั้งสิ้น 10,457 ตัวอย่าง พบอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ไม่เข้ามาตรฐาน 2,151 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.57 พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีการปนเปื้อนมากที่สุด คือ Coliforms จากผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 8,750 ตัวอย่าง พบไม่เข้ามาตรฐาน2,051 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.442) การตรวจวิเคราะห์สารปลอมปนทางด้านทางเคมีในอาหาร โดยสารเคมีที่ตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ยาฆ่าแมลง บอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารกันรา สารฟอกขาว สารเร่งเนื้อแดง แอฟลาทอกซิน สารโพลาร์ในน้ํามันทอดอาหาร สีสังเคราะห์ ปริมาณกรดน้ําส้มในน้ําส้มสายชู กรดแร่อิสระในน้ําส้มสายชู ความเป็นกรดด่างของหน่อไม้ปี๊บ ความเป็นกรดด่างของน้ําดื่ม/น้ําแข็ง ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ําดื่ม/น้ําแข็ง ปริมาณคลอรีนในน้ําดื่ม/น้ําแข็ง และไอโอดีนในเกลือบริโภค จากผลการทดสอบอาหารในภาพรวมทั้งประเทศ 154,789ตัวอย่าง พบสารปลอมปนทางเคมีในอาหารไม่เข้ามาตรฐาน 5,266 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.40 ตัวอย่างพบว่าสารเคมีที่เจือปนอาหารที่พบไม่เข้ามาตรฐานสูงที่สุด คือ ไอโอดีนในเกลือบริโภค จากผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 104 ตัวอย่าง พบไม่เข้ามาตรฐาน 48 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 46.15 (รายละเอียดดังตารางที่ 3 หน้า ผ-44)ง. ผลิตภัณฑ์อาหารผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารดําเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์โดยศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ซึ่งดําเนินการเก็บตัวอย่างทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จํานวนทั้งสิ้น 1,795 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 1,407 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.38(ดังตารางที่ 15 หน้า ผ-81)10


ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาทั้งในส่วนกลางและและส่วนภูมิภาค สรุปผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ดังรายละเอียดต่อไปนี้ก. ผลิตภัณฑ์ยาดําเนินการโดยส่วนกลาง1. ผลิตภัณฑ์ยาเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และนําสั่งยาในประเทศโดยรวมทั้งสิ้น 496 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานจํานวน 421 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 84.88 ไม่เข้ามาตรฐานจํานวน 28 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.65เป็นการตรวจเอกลักษณ์ยาจํานวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.01 ไม่สามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้จํานวน 42ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 8.47 (รายละเอียดจําแนกรายผลิตภัณฑ์ ดังตารางที่ 5 หน้า ผ-55) ผลิตภัณฑ์ยาที่พบไม่เข้ามาตรฐานสูง ได้แก่1) Silymarin tablet ผลวิเคราะห์ ๔ รายการ เข้ามาตรฐาน ๒ รายการ ไม่เข้ามาตรฐาน ๒รายการ สาเหตุเนื่องมาจาก ปริมาณตัวยาสําคัญผิดมาตรฐาน ปัญหาที่พบเป็นตัวอย่างยาที่เก็บจากสถานที่ผลิตยารายเดียว ทั้งนี้ จะได้เสนอคณะทํางานพิจารณาปัญหาคุณภาพยา กลุ่มงานกํากับยาหลังออกตลาดสํานักยา ประสานกับผู้ผลิตยาดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพยาดังกล่าวต่อไป2) Rammipril tablet/ capsule ผลวิเคราะห์ ๑๐ รายการ เข้ามาตรฐาน ๖ รายการ ไม่เข้ามาตรฐาน ๔ รายการ สาเหตุเนื่องมาจาก ปริมาณตัวยาสําคัญผิดมาตรฐาน ปัญหาที่พบเป็นตัวอย่างยาที่เก็บจากสถานที่นําสั่ง ๓ รายการ สถานที่ผลิตยา ๑ รายการ ทั้งนี้ จะได้เสนอคณะทํางานพิจารณาปัญหาคุณภาพยา กลุ่มงานกํากับยาหลังออกตลาด สํานักยา ประสานกับผู้นําสั่งยาฯ และผู้ผลิตยาดังกล่าวเพื่อหารือในส่วนของการปรับปรุงการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพยาดังกล่าวต่อไป3) Sulfamethoxazole + trimethoprim tablet/ capsule ผลวิเคราะห์ ๔๑ รายการ เข้ามาตรฐาน ๓๘ รายการ ไม่เข้ามาตรฐาน ๓ รายการ สาเหตุเนื่องมาจาก การละลายของยา (Dissolution) ผิดมาตรฐาน ปัญหาที่พบเป็นตัวอย่างยาจากสถานที่ผลิตยาในประเทศ ๓ ราย ทั้งนี้ จะได้เสนอคณะทํางานพิจารณาปัญหาคุณภาพยา กลุ่มงานกํากับยาหลังออกตลาด สํานักยา ประสานกับผู้ผลิตยาดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพยาดังกล่าวต่อไป2. ผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชเคมีภัณฑ์นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชเคมีภัณฑ์นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชเคมีภัณฑ์นําเข้า จํานวนทั้งสิ้น 4,984 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานร้อยละ 99.88 (4,978 ตัวอย่าง) ไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 0.12 (6 ตัวอย่าง) (รายละเอียดจําแนกรายผลิตภัณฑ์ดังตารางที่ 6 หน้า ผ-58)จากผลการตรวจวิเคราะห์ พบผลิตภัณฑ์ยาสําเร็จรูปที่พบปัญหาคุณภาพสูง ได้แก่- OMEPRAZOLE cap พบปัญหาการละลายของตัวยาไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 13 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.08 โดยนําเข้าจากประเทศอินเดีย11


- ยาแผนโบราณ พบปัญหาการใช้โลหะหนัก คือ สารหนู และพบเชื้อจุลินทรีย์ คือClostridium spp. ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 42 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.76 โดยนําเข้าจากประเทศจีน- Isotretinoin จํานวน 1 ตัวอย่าง พบความสม่ําเสมอผิดมาตรฐาน นําเข้าจากประเทศไต้หวันข. ผลิตภัณฑ์ยาดําเนินการโดยส่วนภูมิภาคผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาในส่วนภูมิภาค รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ได้จํานวน 511ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 396 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 77.5 ไม่เข้ามาตรฐาน 82 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ16.05 ผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาคุณภาพสูง คือ ยาสมุนไพร/ยาแผนโบราณ ตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ โดยพบยาแผนปัจจุบัน สเตียรอยด์ และโลหะหนัก (ดังตารางที่ 19 หน้า ผ-85)ค. ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ดําเนินการเก็บตัวอย่างทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน โดยภาพรวมทั้งประเทศ ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จํานวนทั้งสิ้น 95 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 59 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ62.11 (รายละเอียดดังตารางที่ 16 หน้า ผ-82)12


ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554ในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สรุปผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ก. ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางดําเนินการโดยส่วนกลาง1. ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด 417 ตัวอย่าง พบว่าได้มาตรฐานตามที่กําหนด จํานวน 346 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ82.97 และพบว่าไม่ได้มาตรฐานตามที่กําหนด จํานวน 71 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 17.03 (รายละเอียดดังตารางที่ 7 หน้า ผ-61)ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่พบปัญหาคุณภาพสูง ได้แก่ เครื่องสําอางที่ประกาศผลวิเคราะห์ว่ามีสารห้ามใช้ ปรอท ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ กรดอะเซลาอิก จากผลการตรวจวิเคราะห์ 64 ตัวอย่าง พบว่าไม่เข้ามาตรฐาน 48 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75.00 สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน เนื่องจากพบสารห้ามใช้ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ และปรอท2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ในปีงบประมาณ 2554 ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์เครื่องสําอางนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ทั้งสิ้น 305 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 275 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 90.16 ไม่เข้ามาตรฐาน 30 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.84 (รายละเอียดดังตารางที่ 8หน้า ผ-65) ผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาไม่เข้ามาตรฐานสูง คือ1) ผลิตภัณฑ์ย้อมผม พบว่า มีปริมาณสารสําคัญไม่ตรงตามที่แจ้งรายละเอียด หรือระบุไว้บนฉลาก p-phenylenediamine, m-phenylenediamine, Resorcinol และ hydrogen peroxide ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 50 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 17 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.00 นําเข้าจากประเทศจีน เกาหลี ไต้หวัน สเปน อินเดีย อิตาลี และอเมริกา2) ผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณทําให้ผมดํา พบปัญหาการใช้สารที่กําหนดปริมาณการใช้ เช่นp-phenylenediamine, Resorcinol ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 9 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 2ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 22.22 นําเข้าจากประเทศจีน3) ผลิตภัณฑ์ตกแต่งใบหน้า จากผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้- บลัชออน พบปัญหาการใช้สีที่ห้ามใช้ และมีการใช้สีที่ไม่ได้ขออนุญาตใช้ ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 14.29 นําเข้าจากประเทศจีนและเกาหลี- ลิปสติก พบปัญหาการใช้สีที่ห้ามใช้ และมีการใช้สีที่ไม่ได้ขออนุญาตใช้ ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 32 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 12.50 นําเข้าจากประเทศจีน- อายแชโดว์ พบปัญหาการใช้สีห้ามใช้ ซึ่งได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 9 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 11.11 นําเข้าจากประเทศจีน13


- ผลิตภัณฑ์ดัดหรือยืดผม พบว่า มีปริมาณสาระสําคัญไม่ตรงตามที่แจ้งรายละเอียดหรือระบุไว้บนฉลากคือ Trioglycolic acid ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 32 ตัวอย่าง ไม่เข้ามาตรฐาน 2ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 6.25 นําเข้าจากประเทศจีนและไต้หวันข. ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางดําเนินการโดยส่วนภูมิภาครวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ได้ทั้งสิ้น 1,144 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานจํานวน 983 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 85.93 ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เข้ามาตรฐาน ส่วนใหญ่พบสารห้ามใช้ในเครื่องสําอาง ได้แก่ ไฮโดรควิโนนสารประกอบของปรอท กรดวิตามินเอ และตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ (ดังตารางที่ 19 หน้า ผ-85)ค. ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ดําเนินการเก็บตัวอย่างทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน โดยภาพรวมทั้งประเทศ ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จํานวนทั้งสิ้น 274 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 192 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ70.07 (ดังตารางที่ 17 หน้า ผ-83)14


ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สรุปผลการตรวจวิเคราะห์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ก. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายดําเนินการโดยส่วนกลาง1. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต ผู้นําเข้า และผู้จําหน่ายในท้องตลาด จากจํานวนตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ 369 ตัวอย่าง ได้รับผลวิเคราะห์จํานวน 361 ตัวอย่าง รอผลวิเคราะห์อีก 8ตัวอย่าง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2554) ซึ่งเป็นผลวิเคราะห์หาปริมาณสารสําคัญ และทดสอบประสิทธิภาพ ผลการทดสอบพบวัตถุอันตรายได้มาตรฐาน 315 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 87.26 ไม่ได้มาตรฐาน 34 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.42 และไม่สามารถสรุปผลได้ 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.32เมื่อพิจารณาเฉพาะการเก็บตัวอย่างเพื่อประเมินสถานการณ์ พบได้มาตรฐาน 308 ตัวอย่างจากจํานวนตัวอย่าง 351 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 87.75 ซึ่งต่ํากว่าปี 2553 เพียงเล็กน้อย ตัวแปรที่สําคัญประการหนึ่งคือ ผลวิเคราะห์ที่ไม่อาจสรุปผลได้มี 12 รายการ หากไม่นับรวมด้วย ผลิตภัณฑ์จะมีมาตรฐานร้อยละ 90.86(รายละเอียดดังตารางที่ 11 หน้า ผ-70)ในปี ๒๕๕4 ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญ ผลิตภัณฑ์ที่พบไม่ได้มาตรฐานมากที่สุดเช่นเดียวกับปี 2553 คือ ผลิตภัณฑ์ชอล์กกําจัดแมลง พบไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 25 รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์กําจัดเห็บหมัดสุนัข ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 24.14 และผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นอัดก๊าซ พบไม่ได้มาตรฐานร้อยละ6.67 สําหรับผลิตภัณฑ์เหยื่อ หรือผงโรยกําจัดแมลง ปลวก ซึ่งในปี 2553 พบไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ๒๕.๐๐ ในปี 2554 พบได้มาตรฐานร้อยละ 100 เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลการทดสอบประสิทธิภาพในปี 2553พบได้มาตรฐานร้อยละ 100 ในทุกรายการที่ทดสอบ แต่ในปี 2554 พบว่าผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นอัดก๊าซ ผลการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียงร้อยละ 76.67 มาตรการดําเนินการกรณีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน คือหากเก็บจากสถานที่จําหน่าย หรือสถานที่มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง จะทําการเก็บซ้ํา ณ สถานที่ผลิตหรือนําเข้า แต่ถ้าเก็บจากสถานที่ผลิต หรือนําเข้า จะให้ผู้ประกอบการเรียกคืนสินค้าจากท้องตลาด หรือแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไข หากกระทําผิดซ้ําจะดําเนินคดี2. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา จํานวน 36 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานจํานวน 31 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ86.11 ไม่เข้ามาตรฐานจํานวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.89 (รายละเอียดดังตารางที่ 12 หน้า ผ-77 )ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย พบปัญหาว่ามีปริมาณสารสําคัญ เช่น Allethrinisomers, Temephos,Cypermethrin, Permethrin, Tetramethrin ไม่ตรงตามปริมาณที่แสดงบนฉลาก มีจํานวนไม่เข้ามาตรฐาน5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.86 นําเข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย และอินเดียข. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายดําเนินการโดยส่วนภูมิภาคจากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในส่วนภูมิภาค จํานวน 33 ตัวอย่าง พบเข้ามาตรฐานจํานวน 29 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 87.88 (รายละเอียดดังตารางที่ 19 หน้า ผ-86)16


ค. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ดําเนินการเก็บตัวอย่างทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน โดยภาพรวมทั้งประเทศ ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จํานวนทั้งสิ้น 63 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 53 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ84.13 (รายละเอียดดังตารางที่ 18 หน้า ผ-84)17


ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สรุปดังรายละเอียดต่อไปนี้ก. ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติดดําเนินการโดยส่วนกลางในปีงบประมาณ 2554 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ดําเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด ส่งตรวจวิเคราะห์ 291 ตัวอย่าง ได้รับผลวิเคราะห์ 159 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 158ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 99.37 ไม่เข้ามาตรฐาน 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.63 (รายละดังตารางที่ 13หน้า ผ-78)ทั้งนี้ ในจํานวนตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ 291 ตัวอย่างนั้น มีตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เพื ่อประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 3, 4 และยาเสพติดประเภท3 เพื่อประกอบการขึ้นทะเบียน/ ต่ออายุทะเบียน และการเก็บตัวอย่างวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ยาเสพติดประเภท 2 ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดซื้อเพื่อจําหน่ายให้สถานพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้รับบริการว่าวัตถุเสพติดที่ซื้อจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีคุณภาพมาตรฐาน และการเก็บตัวอย่างเพื่อประเมินสถานการณ์ (วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3, 4) จํานวนทั้งสิ้น 143ตัวอย่าง ปรากฏว่าผลวิเคราะห์ที่ได้รับกลับมา 87 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 86 ตัวอย่าง และไม่ผ่านมาตรฐาน1 ตัวอย่าง (รอผลวิเคราะห์ 56 ตัวอย่าง) ซึ่งตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐาน คือ Lorazepam ไม่ผ่านมาตรฐานในหัวข้อ Related Substances รายละเอียดตามตารางแนบท้ายข. ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติดดําเนินการโดยส่วนภูมิภาคจากผลการตรวจวิเคราะห์วัตถุเสพติดที่ดําเนินการโดยส่วนภูมิภาค จํานวน 40 ตัวอย่าง พบเข้ามาตรฐานทั้งหมด18


ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในปีงบประมาณ 2554 หน่วยงานที่ดําเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพส่งตรวจวิเคราะห์ได้ระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สรุปได้ดังต่อไปนี้ปัญหา อุปสรรค1. การสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์1.1 ปัญหาจากผู้ผลิต หรือนําสั่งฯ บางรายแจ้งว่าผลิตหรือนําสั่งยาเพื่อรักษาทะเบียน และมีรายงานการผลิตหรือนําสั่งฯ แจ้งมาที่สํานักงานฯ โดยคณะทํางานที่ทําแผนใช้ข้อมูลดังกล่าวในการอ้างอิงเพื่อเก็บตัวอย่าง แต่เมื่อไปยังสถานที่ผลิตหรือนําสั่งฯกลับพบว่าไม่มีการเก็บ retained sample ดังนั้น มาตรการในการแก้ปัญหาดังกล่าว อาจต้องพิจารณาการดําเนินการตามกฏหมาย หากไม่มีการเก็บ retained sampleกล่าวคือในกรณีผู้ผลิตยาถือเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๕(๖) ส่วนผู้นําหรือสั่งยาฯ ถือเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๗(๖)นอกจากนี้บางรายเก็บปริมาณ retained sample น้อยจนไม่สามารถทําการวิเคราะห์ได้ เช่น เก็บเพียง ๑๐เม็ด หรือ ๑ แผง เป็นต้น ซึ่งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องระบุให้เก็บในปริมาณที่พอเพียงในการวิเคราะห์ ดังนั้นอาจต้องพิจารณาการดําเนินการตามกฏหมายเช่นกัน และจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการรายงานการผลิตหรือนําสั่งฯ ที่เป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานด้วย1.2 งบประมาณที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ และบุคลากรงานเฝ้าระวังมีจํากัด ส่งผลกระทบต่อการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด2. การส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์2.1 ปัญหาจากหน่วยตรวจวิเคราะห์รายงานผลวิเคราะห์ยาต่ํากว่าปริมาณที่ส่งวิเคราะห์ โดยพบปัญหาอย่างชัดเจนในยา Brompheniramine tablet ซึ่งส่งตัวอย่างวิเคราะห์ ๓๐ ตัวอย่าง แต่ส่งรายงานผลวิเคราะห์เพียง ๕ ตัวอย่าง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเกิดจากปัญหาใด นอกจากนี้ตัวอย่างยากรณีพิเศษ/ร้องเรียน / ดําเนินการตามกฎหมาย ได้รับรายงานเพียง ๑๒๒ ตัวอย่าง จากที่ส่งวิเคราะห์ ๒๒๓ ตัวอย่างเนื่องจากจํานวนตัวอย่างมีการเก็บเกินปริมาณที่กําหนดตามแผน คือ ๑๐๐ ตัวอย่าง สาเหตุจากปีงบประมาณ๒๕๕๔ มีการดําเนินการกับยาผิดกฎหมายจํานวนมาก และหน่วยตรวจวิเคราะห์มีข้อจํากัดที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ตามจํานวนที่ส่งวิเคราะห์ ดังนั้น ควรนําปัญหาดังกล่าวแจ้งให้หน่วยตรวจวิเคราะห์ทราบตั้งแต่การทําแผนครั้งต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต2.2 ความล่าช้าของการได้รับผลวิเคราะห์ เนื่องจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีภาระงานประจําในการวิเคราะห์ตัวอย่างเช่นกัน ทําให้มีขีดจํากัดในการรับงานวิเคราะห์ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนั้น เพื่อเป็นการเร่งรัดผลวิเคราะห์ให้ทันกับสถานการณ์ จึงควรจะมีการประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐหรือเอกชน ที่ได้รับรองคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ (ISO 17025) เป็นหน่วยตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ที่ทันต่อการจัดการ และสามารถนําผลการตรวจวิเคราะห์ไปดําเนินการทางกฎหมายได้2.3 ข้อจํากัดในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เนื่องจากสารมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์จําเป็นต้องขอความร่วมมือจากสถานประกอบการ ซึ่งมีปริมาณจํากัด มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับว่ามีการแจ้งผลิต19


หรือไม่ ดังนั้นหากมีการเก็บตัวอย่างในปีงบประมาณนั้นๆ แต่ไม่ได้มีการผลิตวัตถุเสพติดชนิดนั้นเกิดขึ้น จะส่งผลให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่สามารถวิเคราะห์ได้2.4 หน่วยงานวิเคราะห์กําหนดเงื่อนไขในการส่งตัวอย่างเพิ่มเติมภายหลัง โดยมิได้แจ้งไว้ในการประสานจัดทําแผนการเก็บตัวอย่าง เมื่อสํานักด่านอาหารและยาส่งตัวอย่าง ก็ไม่รับตรวจวิเคราะห์ ทําให้การเก็บตัวอย่างไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น กรณีไม่รับวิเคราะห์ยาสัตว์ หรือการไม่รับวิเคราะห์เภสัชเคมีภัณฑ์เป็นต้น2.5 การตรวจสอบคุณภาพยานําเข้า พบปัญหาหน่วยงานวิเคราะห์ไม่มีสารมาตรฐาน สํานักด่านอาหารและยาต้องขอสารมาตรฐานจากผู้นําเข้า ซึ่งใช้เวลารอคอยนาน และบางครั้งไม่ได้รับความร่วมมือ ส่งผลให้การเก็บตัวอย่างของด่านอาหารและยาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด3. ผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ที่ได้รับ3.1 การวิเคราะห์ภาพรวมของการเก็บตัวอย่างวัตถุเสพติด ยังขาดข้อมูลในส่วนภูมิภาคซึ่งให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดดําเนินการ เนื่องจากปัญหาหลายอย่างซึ่งเป็นปัญหาทั้งจากโครงสร้างหน่วยงานซึ่งการดําเนินงานของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ไม่ได้ขึ้นตรงกับสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (งบประมาณค่าตรวจวิเคราะห์) ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้เป็นผู้ให้งบประมาณกับสาธารณสุขจังหวัด และอีกทั้งยังมีข้อขัดข้องในการประสานงานจัดทําแผนเก็บตัวอย่างร่วมกันเพื่อให้สามารถวางแผนเก็บตัวอย่างให้สะท้อนภาพที่แท้จริงของคุณภาพผลิตภัณฑ์3.2 ในปี 2554 จากการสังเกตผลวิเคราะห์ที่ไม่ได้มาตรฐานส่วนใหญ่สูงหรือต่ํากว่าเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อย และส่วนใหญ่เป็นสารกําจัดแมลงกลุ่ม Pyrethroids จากการหารือร่วมกับหน่วยตรวจวิเคราะห์พบว่า อาจมีปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อผลการตรวจวิเคราะห์ เช่น isomers ของสารโดยเฉพาะสารป้องกันกําจัดแมลงกลุ่ม Pyrethroids บางกลุ่ม ซึ่งหากใช้สารมาตรฐานที่ไม่ตรงกัน มีผลทําให้ผลการวิเคราะห์คลาดเคลื่อนได้ ปัจจัยอื่นที่สําคัญ คือ วิธีวิเคราะห์ สูตรส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นอกจากนี้ การรายงานผลการทดสอบของหน่วยตรวจวิเคราะห์มีการรายงานเป็นกลุ่ม isomers โดยไม่ได้ระบุว่าเป็น isomer ตัวใด ทําให้การประเมินผลวิเคราะห์ไม่อาจตัดสินได้ว่าผิดมาตรฐานหรือไม่ ดังนั้น จึงควรต้องหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการเพื่อการแก้ไขปัญหาต่อไป3.3 ผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์บางรายการไม่ได้ระบุชื่อผลิตภัณฑ์หรือรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ที่ทําให้สามารถสืบค้นต่อได้ หากมีข้อสงสัยจะต้องประสานขอข้อมูลจากสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดผู้รายงานข้อเสนอแนะ1. ควรมีการประสานกับสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานในภูมิภาค ให้ทราบแนวทางการเก็บตัวอย่างเพื่อการเฝ้าระวังไปในทิศทางและมาตรฐานการปฏิบัติงานเดียวกัน ตลอดจนการนําผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการปัญหาของระบบในภาพของระดับประเทศ โดยมีกองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานเพื่อบูรณาการแผนเก็บตัวอย่างของทุกผลิตภัณฑ์ และติดตามรวบรวมผลวิเคราะห์ในส่วนภูมิภาค เพื่อให้สามารถสรุปผลในภาพรวมของประเทศได้2. ควรพัฒนาฐานข้อมูล และระบบรายงานผลวิเคราะห์ทั้งประเทศ เพื่อให้สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยามีข้อมูลผลวิเคราะห์ที่สะท้อนให้เห็นภาพรวมของคุณภาพผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติดทั่วทั้งประเทศ ใน20


เชิงปริมาณ และคุณภาพ รวมถึงพัฒนาระบบรายงานระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้เป็นระบบเครือข่าย3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องเร่งรัดการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพให้สามารถตรวจวัดคุณภาพได้มากกว่าและรวดเร็ว หรืออาจต้องถ่ายโอนบทบาทการตรวจคุณภาพในเชิงการให้บริการผู้ประกอบการ ได้แก่ ภาคเอกชน เพื่อมุ่งเน้นบทบาทการตรวจวิเคราะห์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค21


ภาคผนวก


ตารางที่ 1 สรุปผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2554ประเภทผลิตภัณฑ์ เป้าหมาย ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายเข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานพบเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานพบเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลส่วนกลางอาหาร 22,260 28,349 127.35 25,442 23,911 1,531 - 93.98 6.02 -• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด 4,250 4,464 105.04 3,497 2,901 596 - 82.96 17.04 -- โครงการตามนโยบาย 660 661 100.15 601 544 57 - 90.52 9.48 -- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 2,990 2,989 99.97 2,319 2,029 290 - 87.49 12.51 -- กรณีพิเศษ และเรื่องร้องเรียน 600 814 135.67 577 328 249 - 56.85 43.15 -• ทดสอบเบื้องต้นโครงการความปลอดภัยด้านอาหาร - 7,235 - 7,235 6,440 795 - 89.01 10.99 -• นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา 18,010 16,650 92.45 14,710 14,570 140 - 99.05 0.95 -- โครงการตามนโยบาย 7,700 6,671 86.64 4,840 4,722 118 - 97.56 2.44 -- กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน 310 671 216.45 562 558 4 - 99.29 0.71 -- ทดสอบเบื้องต้น 10,000 9,308 93.08 9,308 9,290 18 - 99.81 0.19 -ยา 4,765 5,644 118.45 5,480 5,399 34 47 98.52 0.62 0.86• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด 500 628 125.60 496 421 28 47 84.88 5.65 9.48- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 400 405 101.25 374 362 12 - 96.79 3.21 -- กรณีพิเศษ และเรื่องร้องเรียน 100 223 223.00 122 59 16 47 48.36 13.11 38.52• นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา 4,265 5,016 117.61 4,984 4,978 6 - 99.88 0.12 -- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 195 131 67.18 108 103 5 - 95.37 4.63 -- กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน 70 48 68.57 39 38 1 - 97.44 2.56 -- ทดสอบเบื้องต้น 4,000 4,837 120.93 4,837 4,837 0 - 100.00 0.00 -เครื่องสําอาง 820 890 108.54 722 621 101 - 86.01 13.99 -• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด 600 575 95.83 417 346 71 - 82.97 17.03 -- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 400 466 116.50 355 294 61 - 82.82 17.18 -ผ-1ได้รับผลวิเคราะห์ร้อยละ


ประเภทผลิตภัณฑ์ เป้าหมาย ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานพบเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานพบเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล- กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน และเรื่องร้องเรียน 200 109 54.50 62 52 10 - 83.87 16.13 -• นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา 220 315 143.18 305 275 30 - 90.16 9.84- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 190 282 148.42 272 244 28 - 89.71 10.29 -- กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน 30 33 110.00 33 31 2 - 93.94 6.06 -เครื่องมือแพทย์ 470 509 108.30 495 459 36 - 92.73 7.27 -• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต จําหน่ายในท้องตลาด และ 370 391 105.68 391 355 36 - 90.79 9.21 -โรงพยาบาล- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 340 362 106.47 362 335 27 - 92.54 7.46 -- กรณีพิเศษ (เรื่องร้องเรียน/วิเคราะห์ซ้ํา/ดําเนินคดี) 30 29 96.67 29 20 9 - 68.97 31.03 -• นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา 100 118 118.00 104 104 0 - 100.00 0.00 -- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 100 118 118.00 104 104 0 - 100.00 0.00 -วัตถุอันตราย 414 407 98.31 397 346 39 12 87.15 9.82 3.02• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด 384 369 96.09 361 315 34 12 87.26 9.42 3.32- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 354 355 100.28 351 308 31 12 87.75 8.83 3.42- กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน และเรื่องร้องเรียน 30 14 46.67 10 7 3 - 70.00 30.00 -• นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา 30 38 126.67 36 31 5 - 86.11 13.89 -- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 30 38 126.67 36 31 5 - 86.11 13.89 -วัตถุเสพติด 265 291 109.81 159 158 1 - 99.37 0.63 -• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และที่จําหน่ายให้สถานพยาบาล 265 291 109.81 159 158 1 - 99.37 0.63 -- โครงการตามนโยบาย 100 140 140.00 68 68 0 - 100.00 0.00 -- การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 145 143 98.62 85 84 1 - 98.82 1.18 -- กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน และเรื่องร้องเรียน 20 8 40.00 6 6 0 - 100.00 0.00 -ผ-2


ประเภทผลิตภัณฑ์ เป้าหมาย ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานพบเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานพบเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน 2,016 2,309 114.53 2,227 1,711 434 82 76.83 19.49 3.68• อาหาร 1,703 1,861 109.28 1,795 1,407 322 66 78.38 17.94 3.68• ยาจากสมุนไพร 82 98 119.51 95 59 33 3 62.11 34.74 3.16• เครื่องสําอาง 190 284 149.47 274 192 72 10 70.07 26.28 3.65• วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน 41 66 160.98 63 53 7 3 84.13 11.11 4.76ส่วนภูมิภาคอาหาร 21,212 190,925 - 190,888 183,021 7,830 37 95.88 4.10 0.02• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด 7,812 15,114 193.47 15,077 13,850 1,190 37 91.86 7.89 0.25• ทดสอบเบื้องต้นโครงการความปลอดภัยด้านอาหาร - 158,011 - 158,011 151,389 6,622 - 95.81 4.19 -• นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา 13,400 17,800 132.84 17,800 17,782 18 - 99.90 0.10 -ยา 472 544 115.25 511 396 82 33 77.50 16.05 6.46• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด 472 544 115.25 511 396 82 33 77.50 16.05 6.46เครื่องสําอาง 1,021 1,148 112.44 1,144 983 157 4 85.93 13.72 0.35• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด 1,021 1,148 112.44 1,144 983 157 4 85.93 13.72 0.35เครื่องมือแพทย์ 46 97 210.87 97 94 3 0 96.91 3.09 0.00• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต จําหน่ายในท้องตลาด และ 46 97 210.87 97 94 3 0 96.91 3.09 0.00โรงพยาบาลวัตถุอันตราย 59 37 62.71 33 29 0 4 87.88 0.00 12.12• เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด 59 37 62.71 33 29 0 4 87.88 0.00 12.12วัตถุเสพติด 22 40 181.82 40 40 0 0 100.00 0.00 0.00ผ-3


ตารางที่ 2 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภท วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน• โครงการตามนโยบาย Food Safety 660 661 100.15 601 544 57 90.52 9.48 -1. เนื้อหมู - B-agonist 150 150 100 150 116 34 77.33 22.67 พบ Salbutamol ไม่เข้ามาตรฐาน (33)พบ Clenbuterol 1.7 มคก/กก.(1)2. เนื้อสัตว์ (กุ้ง/หมู/ไก่/เครื่องใน) - ยาปฏิชีวนะ- Nitrofurans* กุ้ง วิเคราะห์ Malachitegreen เพิ่ม3. กลุ่มอาหารที่ปนเปื้อนAflatoxin เช่น ถั่ว ผลิตภัณฑ์เครื่องเทศ และชาสมุนไพร80 80 100 80 70 10 87.50 12.50 พบ-3-Amino-2-oxazolidinone:AOZ มคก/กก (9)พบ Sulfathiazole มคก/กก.(1)- Aflatoxin 100 100 100 100 100 0 100.00 0.00 -4. เกลือ - ไอโอดีน 30 14 103 14 14 0 100.00 0.00 -17 17 11 6 64.71 35.29 พบไอโอดีนไม่เข้ามาตรฐาน (6)5. อาหารที่ได้จากเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม- GMO(ชนิด และปริมาณ) 300 300 100 240 233 7 97.08 2.92 พบยีน 35S,NOS,npt II และ 55-1papaya(2)ผ-4


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์5.1 ผลิตภัณฑ์ข้าวโพด, ถั่วเหลือง5.2 ข้าวสารเจ้า, ผลิตภัณฑ์จากข้าว5.3 ข้าวสาลีและแป้งสาลี(Flour)5.4 มันฝรั่งสด มันฝรั่งแช่แข็งและมันฝรั่งทอดกรอบ5.5 มะละกอสดดิบและมะละกอสดสุก5.6 มะเขือเทศสดวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานพบการ contaminate จาก RRsมากกว่า 5% (3)พบ RRs มากกว่า5% แต่ไม่ติดฉลาก(2)• การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐาน 2,990 2,989 99.97 2,319 2,029 290 87.49 12.51 -1. น้ําบริโภคกทม. ดําเนินการ- Pathogenic BactSalmonella spp.Staphylococcusaureus- E.coli/100 ml.- MPN coliform/100 ml.- ฟลูออไรด์, pH, ความกระด้าง170 189 111.18 189 182 7 96.30 3.70 พบ MPN Coliforms 8.8/100 มล.(1)พบค่า pH (6)ผ-5


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์2. น้ําแข็งหลอด/ ซองกทม. ดําเนินการวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน- Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.Staphylococcus aureus- E.coli/100 ml.- MPN coliform/100 ml.สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน90 69 76.67 69 62 7 89.86 10.14 พบ MPN Coliforms/100 มล.,S.aureus และE.coli (1)พบ MPN Coliforms/100 มล.และE.coli (1)พบ MPN Coliforms/100 มล. (2)พบค่า pH (2)พบ S.aureus/50 มล.(1)3. ไอศกรีม - Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.StaphylococcusaureusBacillus cereusListeria monocytogenes- E.coli/100 ml.- TPC- ชนิดและปริมาณสี10 10 100 10 6 4 60.00 40.00 พบ B.cereus (3)พบจํานวนแบคทีเรีย (1)ผ-6


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์4. นมพาสเจอร์ไรส์/ UHT - โปรตีน, มันเนย, เนื้อนมไม่รวมมันเนย- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.,StaphylococcusaureusBacillus cereus ,Listeria monocytogenes- Coliform- E.coli- TPC- เมลามีนวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน10 11 110 11 9 2 81.82 18.18 พบเนื้อนมไม่รวมไขมัน (ร้อยละของน้ําหนัก) 6.89 และ ไขมัน 2.91 (1)พบจํานวนแบคทีเรีย 1.5x104 (1)ผ-7


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์5. เครื่องดื่มชนิดเหลว - Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus,Clostridium perfringens,Listeriamonocytogenes- E.coli/100 ml.- MPN coliform/100 ml.- วัตถุกันเสีย (เบนโซเอต,ซอร์เบต)- SO2- ชนิดและปริมาณสี- จํานวนยีสต์และราวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน80 80 100 79 75 4 94.94 5.06 พบสีอัลลูร่า เรด (1)พบสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลูเอ็ฟซีเอ็ฟ (1)พบกรดเบนโซอิก/กรดซอร์บิก/สีตาร์ตราซีนและสีซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ(1)พบกรดเบนโซอิค (1)6. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ลดน้ําหนัก)- Fenfluramine- Ephedrine- Phenophthaline- Sibutramine50 50 100 42 38 4 90.48 9.52 พบ Sibutramine (4)ผ-8


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์7. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ - ไนเตรต ไนไตรท์- กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิกวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน120 120 100 119 52 67 43.70 56.30 พบกรดซอร์บิก (16), พบกรดเบนโซอิก (29)พบกรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก (11)พบกรดเบนโซอิก/กรดซอร์บิก/โซเดียมไนเตรต (1)พบโซเดียมไนไตรต์,โซเดียมไนเตรตและกรดซอร์บิก(1)พบโซเดียมไนไตรต์,โซเดียมไนเตรตและกรดเบนโซอิก(3)พบโซเดียมไนไตรต์ (1),พบโซเดียมไนไตรต์และโซเดียมไนเตรต (5)8. เส้นก๋วยเตี๋ยว (ชนิดเส้นสด) - SO2- กรดเบนโซอิก, กรดซอร์บิก9. อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท- Flat Sour- ตะกั่ว- ดีบุก30 30 100 30 29 1 96.67 3.33 พบกรดเบนโซอิก 1,128 มก/กก. (1)30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -ผ-9


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์10. ผลิตภัณฑ์อาหาร10.1 ที่มีการโฆษณาด้านลดความอ้วน10.2 ที่มีการโฆษณาด้านสรรพคุณทางเพศ- Alprazolam- Diazepam- Sibutramine- Sildenafil- Tadalafil- Vardenafil10.3 ที่มียากลุ่มสเตียรอยด์ - Dexamethasone- Prednisolone11. นมดัดแปลงสําหรับทารก/อาหารทารก/อาหารเสริมสําหรับเด็กวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringens12. นมเปรี้ยว - Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- Protein13. ไข่เยี่ยวม้า - ตะกั่ว- Pathogenic Bact (3 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Clostridiumperfringensสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน50 50 100 50 50 0 100.00 0.00 -30 30 100 10 8 2 80.00 20.00 พบ Sildenafil (2)50 50 100 41 41 0 100.00 0.00 -100 100 100 100 100 0 100.00 0.00 -50 50 100 50 43 7 86.00 14.00 พบโปรตีน (Nx6.38) (ร้อยละของน้ําหนัก) (7)30 30 100 28 25 3 89.29 10.71 พบตะกั่ว (3)ผ-10


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์14. ผลไม้ 3 รสอบแห้ง - สารกันเสีย (กรดเบนโซอิก,กรดซอร์บิก)- วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ําตาล (ปริมาณSaccharine,Cyclamate)- SO2วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน120 120 100 115 68 47 59.13 40.87 พบโซเดียมซัยคลาเมต (15)พบโซเดียมซัยคลาเมตและซัคคาริน (4)พบโซเดียมซัยคลาเมตและกรดเบนโซอิก (1)พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์และกรดเบนโซอิก (1)15. อาหารพร้อมบริโภค(คุกกี้ บิสกิต แครกเกอร์ ขนมปังกรอบ)- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringens16. ขนมปัง (ขนมปังสไลด์) - Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonellaspp.,Staphylococcusaureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringens- สารกันเสีย (กรดเบนโซอิก,กรดซอร์บิก)60 60 100 60 60 0 100.00 0.00 -30 30 100 29 24 5 82.76 17.24 พบกรดซอร์บิค (5)ผ-11


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์17. อาหารกึ่งสําเร็จรูป17.1 ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บบะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้นที่ปรุงแต่ง/เครื่องปรุงวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน- Pathogenic Bact, (กรมวิทย์ 4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringens- E.Coli MPN- TPC- จํานวนเชื้อรา- สารห้ามใช้ (ซาลิซิลิค)สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100 30 29 1 96.67 3.33 พบ B.cereusและรา (1)17.2 ข้าวต้มและโจ๊กที่ปรุงแต่ง- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp. ,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringens- E.Coli MPN- จํานวนเชื้อรา- สารห้ามใช้ (ซาลิซิลิค)30 30 100 29 24 5 82.76 17.24 พบ B.cereus (5)ผ-12


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์17.3 แกงจืดและซุปชนิดเข้มข้นชนิดก้อน ชนิดผง หรือชนิดแห้งวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp. ,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringens- E.Coli MPN- จํานวนเชื้อรา- สารห้ามใช้ (ซาลิซิลิค)สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -17.4 น้ําพริกแกง - Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus,Clostridium perfringens- E.Coli MPN- จํานวนเชื้อรา- สารกันเสีย (กรดเบนโซอิก,กรดซอร์บิก)- สารห้ามใช้ (ซาลิซิลิค)- ชนิดและปริมาณสีสังเคราะห์30 30 100 30 18 12 60.00 40.00 พบกรดเบนโซอิก (8)พบ B.cereus/กรัม (2)พบ รา/กรัม (2)ผ-13


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์18. เครื่องดื่มชนิดแห้ง/ผง - MPN Coliform- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp. ,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringensListeriamonocytogenes- จํานวนยีสต์และรา- กรดซอร์บิกวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน100 100 100 0 0 0 0.00 0.00 -19. สาหร่ายทั้งชนิดปรุงรส/ใช้ปรุงอาหาร- ปรอท- ตะกั่ว- สารหนู (InorganicArsenic)20. ชาสมุนไพร - แคดเมี่ยม- ตะกั่ว- ชนิดและปริมาณสี- Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus50 50 100 50 49 1 98.00 2.00 พบตะกั่ว (1)50 50 100 0 0 0 0.00 0.00 -ผ-14


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์21. น้ําจิ้ม/ซอส21.1 ซอสบางชนิด - กรดเบนโซอิก, กรดซอร์บิก- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonellaspp.,Staphylococcusaureus,Bacillus cereus ,Clostridium perfringens21.2 ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน- กรดเบนโซอิก, กรดซอร์บิก- Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus,Clostridium perfringensสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100 30 26 4 86.67 13.33 พบกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก (4)70 70 100 70 41 29 58.57 41.43 พบกรดซอร์บิค (29)22. กาเฟอีนในเครื่องดื่ม22.1 กาแฟปรุงสําเร็จชนิด ปริมาณกาเฟอีน 30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -เหลว22.2 ชาปรุงสําเร็จชนิดเหลว ปริมาณกาเฟอีน 30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -22.3 เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน ปริมาณกาเฟอีน 30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -23. น้ําปลา - ปริมาณไนโตรเจน- กรดกลูตามิค/ไนโตรเจน- กรดเบนโซอิก50 50 100 50 45 5 90.00 10.00 พบไนโตรเจนทั้งหมด (1)พบกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมด(3)พบกรดกลูตามิคต่อไนโตรเจนทั้งหมด/ไนโตรเจนทั้งหมด/กรดเบนโซอิก (1)ผ-15


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน24. ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง(ย่อย)24.1 คุณภาพทางเคมี - 3-MCPD 30 30 100 30 29 1 96.67 3.33 พบ 3-MCPD (1)24.2 คุณภาพทางจุลินทรีย์ - Pathogenic Bact (4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus,Clostridium perfringens30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -25. นมพาสเจอร์ไรส์/UHT (นมที่แจกในโรงเรียน)- Pathogenic Bact. (4 ตัว)Salmonella spp. ,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus ,Listeria monocytogenes- โปรตีน, มันเนย,เนื้อนมไม่รวมมันเนย- TPC, E.coli, Coliform- เมลามีน50 50 100 36 33 3 91.67 8.33 พบโปรตีน (1)พบไขมัน (ร้อยละของน้ําหนัก) (1)พบแบคทีเรียและB.cereus (1)ผ-16


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน26.อาหารใส่สี26.1 อาหารทั่วไปที่ห้ามใส่สี - ชนิดและปริมาณสี 100 100 100 50 29 21 58.00 42.00 พบสีซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟและปองโซ 4 อาร์ (2)พบสีตาร์ตราซีน (8)พบสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลูเอ็ฟซีเอ็ฟ (5)พบสีเออริโธรซีน (4)พบสีซันเซ็ต เย็ลโลว์ FCF และตาร์ตราซีน (1)พบสีซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ (1)26.2 ชา(ผงสําเร็จรูป) - ชนิดและปริมาณสี 30 30 100 30 28 2 93.33 6.67 พบสีซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ (2)26.3 อาหารที่เสี่ยงว่าใส่สีเกินเช่น อาหารพร้อมบริโภค ลูกอม- ชนิดและปริมาณสี 80 80 100 80 77 3 96.25 3.75 พบสีอัลลูร่า เรด และสีตาร์ตราซีน (1)พบสีเออริโธรซีน (1)พบสีอัลลูร่า เรดและสีบริลเลียนท์บลูเอ็ฟซีเอ็ฟ (1)27. อาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน Enterobactersakazakii27.1 นมผงดัดแปลง - Enterobacter sakazakii 50 50 100 50 50 0 100.00 0.00 -สําหรับทารก27.2 อาหารทารก - Enterobacter sakazakii 50 50 100 50 50 0 100.00 0.00 -ผ-17


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน28. พืชผักและผลไม้แห้ง - SO 2 130 130 100 62 48 14 77.42 22.58 พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (8), พบปรอท(1)- ตะกั่ว พบตะกั่ว (3), พบตะกั่วและปรอท (1)- ปรอท พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (1)29. น้ําแร่ - ฟลูออไรด์- ตะกั่ว, แคดเมียม, ปรอท,สารหนู (Total Arsenic)- จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค (2ตัว) Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- สิ่งแปลกปลอม เช่นสาหร่าย, ตะไคร่และตะกอน30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -ผ-18


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์30.น้ําผึ้ง - ความชื้น- น้ําตาลรีดิวซิ่ง, น้ําตาลกลูโคส, น้ําตาลฟรุคโตส,น้ําตาลมอลโตส, น้ําตาลซูโครส- ค่าไฮดรอกซีเมทธิลเฟอร์ฟิวรัล- ค่าไดแอสเตสแอกติวิตี (โกเต สเกล)- จํานวนยีสต์และเชื้อรา- จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค (2ตัว) Salmonella spp. ,Staphylococcus aureusวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100 30 17 13 56.67 43.33 พบไฮดรอกซีเมทธิลเฟอร์ฟิวรัล(4),พบยีสต์ (1)พบน้ําตาลรีดิวซิ่งและไดแอสเตสแอกติวิตี(โกเต สเกล) (1)พบน้ําตาลริดิวซิ่งและน้ําตาลซูโครส(2)พบยีสต์และรา (1)พบน้ําตาลรีดิวซิ่ง/น้ําตาลซูโครสและไดแอสเตสแอกติวิตี(โกเต สเกล) (3)พบน้ําตาลรีดิวซิ่ง/น้ําตาลซูโครส/ไดแอสเตสแอกติวิตี/และไฮดรอกซีเมทธิลเฟอร์ฟิวรัล (1)31.นมพาสเจอร์ไรส์ - Pathogenic Bact. (4 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus,Listeria monocytogenes- โปรตีน, มันเนย,เนื้อนมไม่รวมมันเนย- TPC, E.coli, Coliform- เมลามีน30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -ผ-19


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์32. อาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการ UHT32.1 นมโค - Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- E.coli- TPC32.2 นมปรุงแต่ง - Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- E.coli- TPC32.3 ผลิตภัณฑ์ของนม - Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- TPCวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน50 50 100 33 31 2 93.94 6.06 พบแบคทีเรีย/0.1 มล.(2)50 50 100 36 35 1 97.22 2.78 พบแบคทีเรีย/0.1 มล.(1)50 50 100 26 26 0 100.00 0.00 -33. อาหารฮาลาล - DNA เนื้อหมู 30 30 100 0 0 0 0.00 0.00 -34. อาหารเจ - DNA เนื้อสัตว์ 30 30 100 30 20 10 66.67 33.33 พบดีเอ็นเอจําเพาะเนื้อไก่ (1)พบดีเอ็นเอจําเพาะของไก่,ปลา,ปลาหมึกหรือกุ้ง (3)พบดีเอ็นเอจําเพาะของปลา ปลาหมึกหรือกุ้ง (6)35. กลุ่มอาหารที่ปนเปื้อน35.1 Nitrofurans - Nitrofurans 50 50 100 17 17 0 100.00 0.00 -ผ-20


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน35.2 เมลามีน - เมลามีน, กรดซัยยานูริค 30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -36. นมผง36.1 นมปรุงแต่ง (ชนิดแห้ง)- Pathogenic Bact. (3 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus30 30 100 30 28 2 93.33 6.67 พบ B.cereus/กรัม (2)36.2 ผลิตภัณฑ์นม (ชนิดแห้ง)37. น้ํานมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (UHT)- Pathogenic Bact. (3 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Bacillus cereus- MPN Coliform- Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- Protein จากถั่วเหลือง38. กาแฟปรุงสําเร็จรูป (ชนิดผง) - กาเฟอีน, วัตถุกันเสีย,ความชื้น, ยีสต์และเชื้อรา- MPN.Coliform- E.Coli- Pathogenic Bact (3 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Clostridiumperfringens30 30 100 0 0 0 0.00 0.00 -30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -30 30 100 30 29 1 96.67 3.33 พบกาเฟอีน มก./100 มล.(1)ผ-21


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์39. ช็อคโกแล็ต - ชนิดและปริมาณวัตถุให้ความหวานแทนน้ําตาล(Aspartam, Acesulfame K)- Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureusวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100 0 0 0 0.00 0.00 -40. เนย - ไขมัน- ความชื้น- เกลือโซเดียมคลอไรด์- สารกันเสีย (กรดเบนโซอิก,กรดซอร์บิก)41. เนยเทียม - ไขมัน- ความชื้น- Pathogenic Bact (3 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus,Clostridiumperfringens- สารกันเสีย (กรดเบนโซอิก,กรดซอร์บิก)30 30 100 13 13 0 100.00 0.00 -30 30 100 0 0 0 0.00 0.00 -ผ-22


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์42. น้ํามันพืช42.1 น้ํามันปาล์ม - ค่าเพอร์ออกไซด์, ค่าของกรด- วัตถุกันหืน, กรดไขมัน42.2 น้ํามันและไขมัน - ค่าเพอร์ออกไซด์, ค่าของกรด- วัตถุกันหืน, สารโพล่าร์- ส่วนประกอบของกรดไขมันทั้งหมด43. น้ําส้มสายชู - กรดน้ําส้ม- SO244. เครื่องดื่มเกลือแร่ - MPN Coliform- E.coli- Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- ชนิดและปริมาณวัตถุให้ความหวานแทนน้ําตาล(Aspartam)วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100 0 0 0 0.00 0.00 -30 30 100 0 0 0 0.00 0.00 -30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -30 30 100 30 30 0 100.00 0.00 -45. แยม เยลลี่ มาร์มาเลดในภาชนะบรรจุปิดสนิท- MPN Coliform- ชนิดและปริมาณวัตถุให้ความหวานแทนน้ําตาล(Aspartam, Acesulfame K)30 30 100 0 0 0 0.00 0.00 -ผ-23


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์46. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ - MPN E.coli- Pathogenic Bact (2 ตัว)Salmonella spp.,Staphylococcus aureus- พยาธิวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100 5 5 0 100.00 0.00 -• กรณีพิเศษ 400 429 107.25 259 125 134 48.26 51.74 -1.กาแฟ ตามประกาศฯ เรื่อง กาแฟ, 400 1 - 0 1 พบกาเฟอีน 117.2 มก/100 มล.(1)สเตียรอยด์,ปริมาณโครเมี่ยมคุณภาพมาตรฐานตาม5 - 4 0 -ประกาศฯ เรื่อง กาแฟAlprazolam,Diazepam,Sib1 - 0 0 -utramineSibutramine 5 - 1 4 พบ Sibutramine (3), พบ Sildenafil2.แป้งและผลิตภัณฑ์ วัตถุกันเสีย (เบนโซเอต) 5 - 2 0 -กรดเบนโซอิก/กรดซอร์บิก/2 - 0 0 -SO 2จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค 2 - 2 0 -3.น้ํามัน ค่า POLAR 8 - 5 2 พบค่าโพลาร์ (2)10 - 0 4 พบปริมาณสารโพลาร์ มากกว่าร้อยละ40 (4)ผ-24


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์4.อาหารพร้อมบริโภคทันทีวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตามประกาศฯ จุลินทรีย์ของกระทรวงฯ,เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ,ปริมาณและชนิดโซเดียมไนไตรท์ โซเดียมไนเตรทคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง มาตรฐานด้านจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคและอัลฟาท็อกซินชนิดและปริมาณวัตถุกันเสียและจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคชนิดและปริมาณไขมันสัตว์และไขมันพืชคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง มาตรฐานด้านจุลินทรีย์,ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสียสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน1 - 1 0 -2 - 2 0 -1 - 1 0 -1 - 0 0 -1 - 0 1 พบกรดซอร์บิค,ยีสต์ และรา (1)เชื้อจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค 1 - 0 0 -ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย 6 - 2 4 พบกรดซอร์บิก (4)S.aureus, Salmonella 3 - 0 0 -ผ-25


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์5.อาหารสําเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีแช่แข็งวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานเชื้อจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคS.aureus, Salmonellaและปริมาณ B.cereus,C.perfringensตามประกาศฯ และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน20 - 0 0 -1 - 0 1 พบB.cereus/0.01กรัม (1)6.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Sildenafil 1 - 1 0 -Fenfluramine,Ephedrine,Phenophthaline,Sibutramine,สเตียรอยด์,ยาปฏิชีวนะกลุ่มยาที่ฆ่าเชื้อราและปริมาณphytoestrogen1 - 0 0 -ตามประกาศฯ ฉบับที่ 293เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร5 - 0 0 -ผ-26


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน7. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ Tetrodotoxin 7 - 7 0 -DNA ไก่ 3 - 0 3 พบDNAจําเพาะของไก่ (2)พบDNAจําเพาะของหมูและไก่ (1)DNA หมู 4 - 4 0 -กรดเบนโซอิก 1 - 1 0 -DNA หมู ,DNA ไก่ 2 - 0 2 พบDNAจําเพาะของไก่ (1)พบDNAจําเพาะของหมูและไก่ (1)วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซเอท/1 - 0 0 -ไนเตรต/ไนไตรท์)ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย(กรดเบนโซอิก/กรดซอร์บิก/ไนเตรต/ไนไตรท์)8 - 0 3 พบกรดเบนโซอิค (3)ปริมาณของไนเตรต ไนไตรต1 - 0 0 -และกรดเบนโซอิกชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย 7 - 7 0 -ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย2 - 0 0 -และบอแรกซ์ไนเตรต/ไนไตรต์/ฟอร์มาลีน/2 - 2 0 -เชื้อจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค8. อาหารทั่วไป (ผักบุ้ง/ถั่วพู) สีสังเคราะห์ 2 - 2 0 -8.1 พริกไทย/พริกขี้หนู เชื้อรา,อัลฟาท๊อกซิน,และสิ่งแปลกปลอม เช่น มอด แมลง2 - 0 2 พบสิ่งแปลกปลอมและรา (1)พบสิ่งแปลกปลอม/ยีสต์/รา (1)8.2 ปลาทับทิม ยาปฏิชีวนะ 2 - 2 0 -ผ-27


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานยาปฏิชีวนะและฟอร์มัลดีไฮด์ 1 - 1 0 -8.3 ข้าว GMOs 12 - 0 0 -9. ชา คุณภาพมาตรฐาน ตามประกาศฯ เรื่อง ชา1 - 0 1 พบMPN Coliform มากกว่า 23/100มล.(1)Sibutramine 1 - 1 0 -ตามประกาศฯ เรื่อง ชา,กรดซาลิไซลิก, ชนิดของสีและปริมาณ1 - 0 1 พบMPN Coliform 3.6/100 มล.(1)10. น้ําบริโภคฯ ตามประกาศฯฉบับที่ 61(พ.ศ.2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534)เรื่อง น้ําบริโภคฯ14 - 4 0 -11. น้ํามันปาล์ม Acid Value, Peroxide7 - 7 0 -Vaiue, ค่าโพลาร์, กลิ่นหืน12. น้ําปลา ปริมาณไอโอดีน 74 - 16 49 พบไอโอดีนไม่เข้ามาตรฐาน (49)14. เกลือ ปริมาณไอโอดีน (ด้วยวิธี46 - 0 42 พบไอโอดีนไม่เข้ามาตรฐาน (42)ICP-MS)ปริมาณไอโอดีน 11 - 4 1 พบไอโอดีนไม่เข้ามาตรฐาน (1)ปริมาณไอโอดีน 6 - 0 0 -13. เครื่องดื่มฯ คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯเครื่องดื่มฯ,ยาแผนปัจจุบัน ได้แก่Dexamethasone,Prednisolone,ยาปฎิชีวนะ3 - 2 0 -ผ-28


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง เครื่องดื่มฯPathogenictBact(Salmonellaspp.,S.aureus,B.cereus,C.perfringens) /E.coli /MPN Coliform/SO(2)/วัตถุกันเสีย/สี/ยีสต์/ราสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน15 - 4 0 -9 - 0 0 -DEHP (Di (2-ethylhexyl))กรมวิทย์ฯบริการ1 - 1 0 -14.นมโคคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง นมโค และเมลามีน3 - 3 0 -คุณภาพมาตรฐานตาม2 - 1 0 -ประกาศฯ เรื่อง นมโคปริมาณเมลามีน 1 - 1 0 -คุณภาพตามประกาศฯ เรื่องนมโค, จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคสารพิษ (toxin) ของเชื้อจุลินทรีย์5 - 5 0 -ผ-29


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์15.นมปรุงแต่ง16.ไอศกรีมวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง นมโค และมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง นมปรุงแต่งและเมลามีนPathogenic Bact (4ตัว),E.coli/100ml.,TPC,ชนิดและปริมาณสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน2 - 0 0 -2 - 2 0 -4 - 4 0 -Pathogenic Bact (2ตัว),E.coli/100ml.,TPC,ชนิดและปริมาณ3 - 3 0 -17. ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่แข็ง สารกัมมันตรังสี สนง.ปรมณูเพื่อสันติ18. ผลไม้ (แอปเปิ้ล) สารกัมมันตรังสี สนง.ปรมณูเพื่อสันติ19. นมเปรี้ยว คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง นมเปรี้ยว20. น้ํานมถั่วเหลืองฯ คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง น้ํานมถั่วเหลืองฯ3 - 3 0 -1 - 1 0 -12 - 3 5 พบยีสต์และรา (3), พบยีสต์ (2)3 - 0 0 -ผ-30


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์21. เครื่องดื่มเกลือแร่ คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่22. น้ําผึ้ง ตามประกาศฯ ฉบับที่ 139และ 211 เรื่อง น้ําผึ้งวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน4 - 0 0 -1 - 0 0 -23. ขนมปัง คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง มาตรฐานด้านจุลินทรีย์,ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย1 - 0 0 -24. เนยเทียม ตามประกาศฯ ฉบับที่ 207พ.ศ.2543 เรื่อง เนยเทียม25. เนย ตามประกาศฯ ฉบับที่ 227พ.ศ.2544 เรื่อง เนย และหาชนิดของปริมาณไขมันสัตว์,ไขมันพืช2 - 0 0 -3 - 0 0 -ตามประกาศฯ เรื่อง เนย 1 - 0 0 -26. วุ้นสําเร็จรูปฯ เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 1 - 0 0 -27. ครีม ปริมาณเมลามีน 3 - 3 0 -28. ผลิตภัณฑ์ของนม ปริมาณเมลามีน 1 - 1 0 -ผ-31


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง ผลิตภัณฑ์นม และมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน1 - 0 0 -29. ไข่เยี่ยวม้า ชนิดและปริมาณของโลหะหนัก (ตะกั่ว)30. วัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศฯ ฉบับที่ 98เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน1 - 0 0 -3 - 0 0 -31. อาหารเจ DNA เนื้อสัตว์ 17 - 9 8 พบDNA จําเพาะของปลา ปลาหมึกหรือกุ้ง (7)พบDNA จําเพาะของไก่,ปลา ปลาหมึกหรือกุ้ง(1)32. ลูกอม ชนิดและปริมาณสี 4 - 0 0 -33. อาหารปิดสนิท คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท1 - 0 0 -34. เครืองดื่มที่ผสมกาเฟอีน ปริมาณ Caffeine 11 - 0 0 -35. คาเฟอีน (วัตถุดิบ) คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ ฉ.98 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน1 - 0 0 -ผ-32


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่วปรอท สารหนูสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน3 - 0 0 -ผ-33


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน• กรณีร้องเรียน 200 385 192.50 318 203 115 63.84 36.16 -1.อาหารเจ DNA หมู กุ้ง ไก่ เนื้อวัว ปลาปลาหมึก200 101 - 57 44 พบDNAจําเพาะของปลา ปลาหมึกหรือกุ้ง (37)พบDNAจําเพาะของปลาปลาหมึกหรือกุ้ง,ไก่,หมู(2)พบDNAจําเพาะของปลา ปลาหมึกหรือกุ้ง,ไก่ (1)พบDNAจําเพาะของปลา ปลาหมึกหรือกุ้ง,หมู (4)DNA จากเนื้อสัตว์ เช่น หมูไก่ ปลา เนื้อ5 - 2 3 พบDNA จําเพาะของไก่ (2)พบDNA จําเพาะของไก่,ปลา ปลาหมึกหรือกุ้ง(1)2.อาหารพร้อมบริโภคทันที จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคและ3 - 3 0 -เชื้อราจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค 3 - 3 0 -จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคและ2 - 2 0 -กลิ่นหืนสารหนูทั้งหมด (TotalArsenic)1 - 1 0 -จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคและสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ แมลง,ชิ้นส่วนแมลงจุลินทรีย์เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ1 - 0 1 พบสิ่งแปลกปลอม เช่น ชิ้นส่วนแมลง(1)4 - 4 0 -ผ-34


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค(Salmonella spp,S.aureus, B.cereus,C.perfringens)คุณภาพมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ตามประกาศฯเรื่องมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค,สิ่งแปลกปลอม ได้แก่ เศษโลหะคุณภาพตามเกณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จุลินทรีย์เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ (Salmonella spp,S.aureus, B.cereus,C.perfringens)สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน3 - 3 0 -1 - 1 0 -1 - 1 0 -1 - 1 0 -GMOs 1 - 0 1 พบดีเอ็นเอจําเพาะอาหารตัดแต่งพันธุกรรม (1)คุณภาพมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค ตามประกาศฯ มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์3 - 3 0 -ชนิดและปริมาณสี 1 - 1 0 -ผ-35


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ (เชื้อB.cereus ,C.perfringens)ให้ระบุปริมาณด้วยเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ, เชื้อราและสิ่งแปลกปลอม เช่น ยุง3.เครื่องดื่มปิดสนิท สิ่งแปลกปลอม เช่น ถุงมือยาง, ยางตามประกาศฯ เรื่องเครื่องดื่มฯ,ยาแผนปัจจุบันกลุ่มสเตียรอยด์ได้แก่ Dexamethasone,Prednisoloneคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง เครื่องดื่มฯ,สิ่งแปลกปลอม ปริมาณกาเฟอีนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ,ยีสต์,เชื้อรา และสิ่งแปลกปลอมเช่น ถุงมือยาง, ยางสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน3 - 0 0 -1 - 0 1 พบสิ่งแปลกปลอม (1)1 - 0 0 -1 - 0 1 พบความชื้น (ร้อยละโดยน้ําหนัก) 6.4(1)3 - 3 0 -2 - 0 2 พบสิ่งแปลกปลอม และเชื้อรา (2)ตามประกาศฯ ฉบับที่ 214พ.ศ.2543 เรื่อง เครื่องดื่มฯตามประกาศฯ เรื่อง เครื่องดื่มฯ และสิ่งแปลกปลอม33 - 20 2 พบเชื้อรา (1), พบกรดเบนโซอิค/ยีสต์/รา/MPN Coliforms/E.coli (1)2 - 0 0 -ผ-36


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์4.ภาชนะบรรจุวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานประเภทและชนิดของสิ่งที่ปนเปื้อนมากับตัวอย่างตามประกาศฯ ฉ.295 (พศ.2548) เรื่อง กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทําจากพลาสติก ยกเว้นตะกั่ว/แคดเมี่ยม เนื่องจากเครื่องมือตรวจวิเคราะห์เสียสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน1 - 0 1 พบสิ่งแปลกปลอม (1)3 - 3 0 -5.วัตถุเจือปนอาหาร โลหะหนัก, สารบอแรกซ์ 1 - 1 0 -ตามประกาศฯ ฉบับที่ 2812 - 0 0 -เรื่อง วัตถุเจือปนอาหารตามประกาศฯ ฉบับที่ 281เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร(เป็นวัตถุเจือปนชนิดลักษณะผสม)2 - 0 0 -6.กาแฟ Sibutramine 22 - 7 15 พบ Sibutramine (15)Sildenafil 1 - 0 1 พบ Tadalafil (1)ตามประกาศฯ เรื่อง กาแฟ 4 - 2 0 -Alprazolam,Diazepam,Sib1 - 0 0 -utramineSildenafil, Tadalafil,Vardenafil2 - 0 0 -ผ-37


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง กาแฟและ Sibutramineตามประกาศฯ เรื่อง กาแฟและFenfluramine,EphedrinePhenophthaline,Sibutramineสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน3 - 1 0 -1 - 1 0 -7. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ ฉบับที่ 293พ.ศ.2548เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและSibutramine1 - 1 0 -Sibutramine,Transenamic1 - 0 0 -acidSibutramine 37 - 10 26 พบ Sibutramine (26)Fenfluramine,Ephedrine,Phenophthaline,Sibutramine9 - 7 1 พบ Sibutramine (1)ตามประกาศฯ ฉบับที่ 293พ.ศ.2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร24 - 4 0 -ผ-38


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตามประกาศฯ เรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยาฆ่าแมลง ตามประกาศฯฉบับที่ 288 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้างตะกอนและ PathogenicBact (Salmonella spp.,s.aureus.,Bcereus.,C.perfringens)สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน1 - 1 0 -1 - 1 0 -ชนิดและปริมาณกวาวเครือ 1 - 0 0 -Sildenafil, Tadalafil,2 - 1 0 -VardenafilSibutramine1 - 1 0 -และสเตียรอยด์8. ครีม คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ ฉบับที่ 208พ.ศ.2543 เรื่อง ครีม3 - 3 0 -9. นมโค คุณภาพตามประกาศฯ ฉบับที่ 265 พ.ศ.2545เรื่อง นมโค2 - 0 2 พบจํานวนแบคทีเรีย 8.4x10 4 (1)พบไขมัน 2.55 (ร้อยละของ นน.) และจํานวนแบคทีเรีย 2.2x10 7 (1)ผ-39


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตามประกาศฯ ฉบับที่ 265พ.ศ.2545 เรื่อง นมโค(โปรตีน,มันเนย,เนื้อนมไม่รวมมันเนย,Salmonella,S.aureus,TPC,เมลามีน)10. วัตถุแต่งกลิ่นรส ชนิดและปริมาณของกรดซิตริก (ธรรมชาติ),ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสียสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน1 - 1 0 -1 - 0 1 พบกรดซอร์บิก 340.8 มก/กก. และกรดซิตริก 3.2 กรัม/100 มล.(1)เชื้อแอลฟาท็อกซิล 1 - 0 0 -11. อาหารปิดสนิท คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ ฉบับที่ 144เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท12 - 10 1 พบค่าความเป็นกรด-ด่าง 3.38 (1)สิ่งแปลกปลอมว่าคืออะไรและเป็นอันตรายหรือไม่ตามประกาศฯ เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท(เฉพาะเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ)1 - 0 1 พบรา 7.3x10 3 และสิ่งแปลกปลอม(1)1 - 1 0 -ผ-40


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ ฉบับที่ 144 เรื่องอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และสิ่งแปลกปลอมเช่น วัสดุโลหะสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน2 - 2 0 -12. ผลิตภัณฑ์ของนม ตามประกาศฯ ฉบับที่ 267พ.ศ.2545 เรื่อง ผลิตภัณฑ์ของนม1 - 1 0 -จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค 3 - 3 0 -13. ซอสปิดสนิท ตามประกาศฯ ฉบับที่ 200พ.ศ.2543 เรื่อง ซอสปิดสนิท1 - 1 0 -ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย 1 - 1 0 -14.ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จุลินทีย์ที่ทําให้เกิดโรค,จุลิ4 - 4 0 -นทรีย์ที่ทําให้เรืองแสงไนเตรต,ไนไตรท์,กรดเบนโซ1 - 0 1 พบกรดเบนโซอิก 1,724.9 มก/กก.(1)อิก,กรดซอร์บิก,สารบอแรกซ์ไนเตรต,ไนไตรท์,กรดเบนโซ3 - 0 0 -อิก,กรดซอร์บิก,DNA เนื้อสัตว์วัตถุกันเสียและเชื้อจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค4 - 0 4 พบกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก (4)ผ-41


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์15.ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยฯตามประกาศฯ เรื่องผลิตภัณฑ์ปรุงรสฯ16.อาหารกึ่งสําเร็จรูป ตามประกาศฯ เรื่อง อาหารกึ่งสําเร็จรูปสิ่งแปลกปลอม เช่น ชิ้นส่วนของสัตว์และแมลง17.ผลิตภัณฑ์จากแป้ง จุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรค(Salmonella spp,S.aureus, B.cereus ,C.perfringens)/ สารฟอกขาว/วัตถุกันเสียวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน2 - 1 0 -2 - 2 0 -2 - 2 0 -2 - 2 0 -18.หมากฝรั่งและลูกอม ชนิดและปริมาณสี 1 - 1 0 -19.อาหารทั่วไป (น้ําตาลทราย) เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 1 - 1 0 -ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 1 - 1 0 -19.1 ข้าว ชนิดและปริมาณสี 1 - 1 0 -19.2 เห็ดหลินจือ สิ่งแปลกปลอม เช่น ชิ้นส่วน1 - 0 1 พบสิ่งแปลกปลอม (1)พลาสติก19.3 กาน่าชาย ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย 1 - 0 0 -19.4 เนื้อไก่ ฟอร์มัลดีไฮด์ 10 - 9 1 พบฟอร์มาลดีไฮด์ (1)19.5 เครื่องเทศ เชื้อแอลฟาท็อกซิล 1 - 0 0 -19.6 ตังไฉ่ ชนิดและปริมาณสี,สิ่งแปลกปลอม เช่น ดิน ทรายกรวด หิน1 - 0 0 -ผ-42


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์20.นมเปรี้ยว ตามประกาศฯ เรื่อง นมเปรี้ยววิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน6 - 3 3 พบยีสต์ 4.8x10 3 (1), พบยีสต์ 680กรัม และ โปรตีน (1),พบจํานวนแลกติกแอซิคแบคทีเรีย 7.0x10 5 (1)21. ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่แข็ง สารกัมมันตรังสี สนง.ปรมณู 3 - 3 0 -เพื่อสันติ22. ชาสมุนไพร สิ่งแปลกปลอม 1 - 1 0 -23. น้ําบริโภคฯ ตามประกาศฯ เรื่อง น้ํา2 - 2 0 -บริโภคฯ24. เกลือ คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ เรื่อง เกลือบริโภค1 - 0 1 พบไอโอดีน 3.8 มก/กก.(1)25. อาหารสําหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ําหนักตามประกาศฯ ฉ.121 พศ.2532 เรื่อง อาหารสําหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ําหนักและSibutramine3 - 0 0 -26. ซอสบางชนิด ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสีย 1 - 1 0 -27. ชา คุณภาพมาตรฐานตามประกาศฯ ฉบับที่ 196 เรื่องชา2 - 0 0 -รวม4,250 4,464 105.04 3,497 2,901 596 82.96 17.04 -ผ-43


ตารางที่ 3 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารตามโครงการความปลอดภัยด้านอาหาร ประจําปีงบประมาณ 2554การตรวจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รวมทั้งประเทศวิเคราะห์ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่างวิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้า วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้า วิเคราะห์ เข้ามาตรฐาน ไม่เข้ามาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานมาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน• ผลการตรวจวิเคราะห์ปนเปื้อนทางจุลินทรีย์1. Total Plate 81 81 0 100.00 0.00 171 157 14 91.81 8.19 252 238 14 94.44 5.56Count(TPC)2. Coliforms 1,020 732 288 71.76 28.24 7,730 5,967 1,763 77.19 22.81 8,750 6,699 2,051 76.56 23.443. E.Coli 81 81 0 100.00 0.00 440 427 13 97.05 2.95 521 508 13 97.50 2.504. S.aureus 81 81 0 100.00 0.00 306 276 30 90.20 9.80 387 357 30 92.25 7.755. Yeast 273 232 41 84.98 15.02 273 232 41 84.98 15.026. Mold 274 272 2 99.27 0.73 274 272 2 99.27 0.73รวม(จุลินทรีย์) 1,263 975 288 77.20 22.80 9,194 7,331 1,863 79.74 20.26 10,457 8,306 2,151 79.43 20.57• ผลการตรวจวิเคราะห์สารปลอมปนทางเคมีในอาหาร1. ยาฆ่าแมลง 1,601 1,470 131 91.82 8.18 62,374 59,098 3,276 94.75 5.25 63,975 60,568 3,407 94.67 5.332. บอแรกซ์ 383 383 0 100.00 0.00 27,745 27,617 128 99.54 0.46 28,128 28,000 128 99.54 0.463. ฟอร์มาลีน 691 659 32 95.37 4.63 13,457 13,086 371 97.24 2.76 14,148 13,745 403 97.15 2.854. สารกันรา 441 418 23 94.78 5.22 17,596 17,461 135 99.23 0.77 18,037 17,879 158 99.12 0.885. สารฟอกขาว 531 531 0 100.00 0.00 16,285 16,283 2 99.99 0.01 16,816 16,814 2 99.99 0.016. สารเร่งเนื้อ 179 167 12 93.30 6.70 1,759 1,735 24 98.64 1.36 1,938 1,902 36 98.14 1.86แดง7. แอฟลาทอก 486 426 60 87.65 12.35 1,194 1,111 83 93.05 6.95 1,680 1,537 143 91.49 8.51ซิน8. สารโพลาร์ใน 279 251 28 89.96 10.04 3,521 3,313 208 94.09 5.91 3,800 3,564 236 93.79 6.21น้ํามันทอดอาหาร9. สีสังเคราะห์ 561 473 88 84.31 15.69 2,088 1,789 299 85.68 14.32 2,649 2,262 387 85.39 14.61ร้อยละผ-44


การตรวจวิเคราะห์10. ปริมาณกรดน้ําส้มในน้ําส้มสายชู11. กรดแร่อิสระในน้ําส้มสายชู12. ความเป็นกรดด่างของหน่อไม้ปี๊บ13. ความเป็นกรดด่างของน้ําดื่ม/น้ําแข็ง14. ความกระด้างของน้ําดื่ม/น้ําแข็ง15. ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ําดื่ม/น้ําแข็ง16. ปริมาณคลอรีนในน้ําดื่ม/น้ําแข็งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค รวมทั้งประเทศได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละวิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้า วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้า วิเคราะห์ เข้ามาตรฐาน ไม่เข้า เข้า ไม่เข้ามาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานมาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน96 59 37 61.46 38.54 318 269 49 84.59 15.41 414 328 86 79.23 20.7796 96 0 100.00 0.00 340 339 1 99.71 0.29 436 435 1 99.77 0.23131 106 25 80.92 19.08 4 4 0 100.00 0.00 135 110 25 81.48 18.52131 114 17 87.02 12.98 714 673 41 94.26 5.74 845 787 58 93.14 6.86131 126 5 96.18 3.82 710 574 136 80.85 19.15 841 700 141 83.23 16.77131 130 1 99.24 0.76 131 130 1 99.24 0.76712 706 6 99.16 0.84 712 706 6 99.16 0.8417. ไอโอดีนใน 104 56 48 53.85 46.15 104 56 48 53.85 46.15เกลือบริโภครวม(เคมี) 5,972 5,465 507 91.51 8.49 148,817 144,058 4,759 96.80 3.20 154,789 149,523 5,266 96.60 3.40รวม(ทั้งหมด) 7,235 6,440 795 89.01 10.99 158,011 151,389 6,622 95.81 4.19 165,246 157,829 7,417 95.51 4.49ผ-45


ตารางที่ 4 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบประเภทผลิตภัณฑ์ที่ส่งวิเคราะห์ตามเป้าหมายวิเคราะห์ เข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหาส่วนกลาง 18,010 16,650 92.45 14,710 14,570 140 99.05 0.95• Foodsafety 7,700 6,671 86.64 4,840 4,722 118 97.56 2.441. กาแฟสําเร็จรูป Cadmium(Cd),Mercury(Hg),Ochratoxin A, Listeriamonocytogenes50 100 200.00 77 77 0 100.00 0.002. เครื่องดื่ม Aflatoxins,Cadmium(Cd),Mercury(Hg), Patulin,Synthetic colour,Bacillus cereus,Clostridiumperfringens,Salmonella spp.,Staphylococcusaureus, Listeriamonocytogenes300 327 109.00 243 242 1 99.59 0.41 โลหะหนัก (1) สิงคโปร์ (1)ผ-46


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์3. ช็อกโกแลต Aflatoxins,Cadmium(Cd),Mercury(Hg),PotassiumAcesulfame, Sodiumcyclamate, Syntheticcolour, Salmonellaspp., Staphylococcusaureusวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา400 241 60.25 187 185 2 98.93 1.07 โลหะหนัก (1),สี (1)จีน(1),เวียดนาม(1)4. ซอสทุกชนิด 3-MCPD, Benzoicacid, Sorbic acid,Synthetic colour,Bacillus cereus,Clostridiumperfringens,Salmonella spp.,Staphylococcusaureus300 176 58.67 123 116 7 94.31 5.69 สี (3),วัตถุกันเสีย(3),วัตถุกันเสียและสี (1)ญี่ปุ่น(4),จีน(1),สิงคโปร์(1),สก็อตแลนด์(1)5. ถั่ว นัต และผลิตภัณฑ์ Aflatoxins, Benzoicacid, Sorbic acid,GMOs400 283 70.75 194 191 3 98.45 1.55 อฟลาทอกซิน (3) จีน(2),อินเดีย (1)ผ-47


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์6. ธัญพืชและผลิตภัณฑ์ Acrylamide,Aflatoxins,Arsenic(As),Cadmium(Cd), GMOs7. นมและผลิตภัณฑ์ Bacillus cereus,Enterobactersakazakii, Listeriamonocytogenes,Salmonella spp.,Staphylococcusaureus,Chloramphenicol,Nitrofuran metaboliteวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา300 150 50.00 111 111 0 100.00 0.00500 367 73.40 302 302 0 100.00 0.008. น้ํามันและไขมัน Acid Value, PeroxideValue, Propyl gallate,BHA, BHT,Benzo(a)pyrene9. แป้งและผลิตภัณฑ์ Acrylamide, Benzoicacid, Sorbic acid,Sulphur dioxide,GMOs30 41 136.67 27 24 3 88.89 11.11 ความหืน (3) ญี่ปุ่น (1),ออสเตรเลีย(1),อิตาลี (1)400 499 124.75 351 341 10 97.15 2.85 วัตถุกันเสีย (9),DNA (1)ไต้หวัน(1),เวียดนาม (8),บัลเกเรีย (1)ผ-48


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์10. ผลิตภัณฑ์สําหรับปรุงแต่งวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายBenzoic acid, Sorbicacid, Syntheticcolour, Potassiumacesulfame, Saccharinได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา300 143 47.67 98 84 14 85.71 14.29 สี (3),วัตถุกันเสีย (11)ไต้หวัน (3),อิตาลี (2),อเมริกา(5),เมเธอร์แลนด์(2),ออสเตรเลีย (2)11. ผลิตภัณฑ์ที่อาจมียาแผนปัจจุบัน12. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารAlprazoran,Dexamethasone,Diazepan,Prednisolone,Sibutramine,Sildenafil, Stretoid,Tadalafil, VardenafilArsenic(As),Cadmium(Cd),Lead(Pb), Mercury(Hg)20 8 40.00 6 6 0 100.00 0.00200 279 139.50 240 235 5 97.92 2.08 โลหะหนัก (5) มาเลเซีย (2),นิวซีแลนด์ (1),อเมริกา(2)ผ-49


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์13. พืชและผลิตภัณฑ์ Aflatoxins,Acrylamide,Arsenic(As),Cadmium(Cd),Lead(Pb),Mercury(Hg),Aspartame, Sodiumcyclamate,Potassiumacesulfame,Saccharin, Benzoicacid, Sorbic acid,GMOs, Pesticides,Carbendazim,Sulphur dioxide,Synthetic colour,Sudan 1,4,Salmonella spp.วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา2,500 2,028 81.12 1,333 1,283 50 96.25 3.75 ยาฆ่าแมลง(20),ยาฆ่าแมลงและอฟลาทอกซิน(1),โลหะหนัก(12),วัตถุกันเสีย(9),วัตถุกันเสียและโลหะหนัก(1),สารให้ความหวาน(3),สี(2),อฟลาทอกซิน(2)จีน(36),อเมริกา(4),อินเดีย(4),ญี่ปุ่น(3),อิสราเอล(1),แคนาดา(1),ออสเตรเลีย(1)ผ-50


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์14. สัตว์และผลิตภัณฑ์ Benzo(a)pyrene,Brombuterol,Clenbuterol,Ractopamine,Salbutamol,Chloramphenicol,Nitrofuranmetabolite,Cadmium(Cd),Lead(Pb),Mercury(Hg), Sorbicacid, Sulphonamides,Sulphur dioxide,Synthetic colour,Clostridiumperfringens, L.monocytogenes,Salmonella spp.วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา1,000 1,162 116.20 856 838 18 97.90 2.10 โลหะหนัก(11),สี(5),จุลินทรีย์(1),Ractopamine(1)บังคลาเทศ(3),เวียดนาม(2),จีน(2),ฮ่องกง(2),แคนาดา(1),ปากีสถาน(2),มาเลเซีย(1),บราซิล(1),พม่า(2),ไต้หวัน(1),ญี่ปุ่น(1)15. หมากฝรั่งและลูกอม/วุ้นสําเร็จรูปและขนมเยลลี่PotassiumAcesulfame,Saccharin, Sodiumcyclamate, Syntheticcolour300 257 85.67 184 181 3 98.37 1.63 สารให้ความหวาน(1),สี(2)จีน(2),ฟิลิปินส์(1)ผ-51


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์16. อาหารกึ่งสําเร็จรูป Bacillus cereus,Clostridiumperfringens,Salmonella spp.,Staphylococcusaureus17. อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท18. อาหารที่อาจปลอมปนสารเมลามีนวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายClostridiumbotulinumสารเมลามีนและสารในกลุ่มเมลามีนได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา100 102 102.00 51 49 2 96.08 3.92 จุลินทรีย์ (2) จีน(1),เกาหลี(1)100 109 109.00 80 80 0 100.00 0.00500 399 79.80 377 377 0 100.00 0.00• กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน 310 671 216.45 562 558 4 99.29 0.71 สารอาหาร(1),สี(1),จุลินทรีย์(2)ไทย(3),สิงคโปร์(1)• ทดสอบเบื้องต้น 10,000 9,308 93.08 9,308 9,290 18 99.81 0.19 ยาฆ่าแมลง(18) จีน(16) ,นิวซีแลนด์(1),เวียดนาม(1)ผ-52


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหาส่วนภูมิภาค 13,400 17,800 132.84 17,800 17,782 18 99.90 0.10• เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ1. พืชและผลิตภัณฑ์ Aflatoxins,Acrylamide,Arsenic(As),Cadmium(Cd),Lead(Pb),Mercury(Hg),Aspartame, Sodiumcyclamate,Potassiumacesulfame,Saccharin, Benzoicacid, Sorbic acid,GMOs, Pesticides,Carbendazim,Sulphur dioxide,Synthetic colour,Sudan 1,4,Salmonella spp.400 436 109.00 436 418 18 95.87 4.13300 272 90.67 272 268 4 98.53 1.47 ยาฆ่าแมลง(4) จีน (4)ผ-53


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์2. สัตว์และผลิตภัณฑ์ Benzo(a)pyrene,Brombuterol,Clenbuterol,Ractopamine,Salbutamol,Chloramphenicol,Nitrofuranmetabolite,Cadmium(Cd),Lead(Pb),Mercury(Hg), Sorbicacid, Sulphonamides,Sulphur dioxide,Synthetic colour,Clostridiumperfringens, L.monocytogenes,Salmonella spp.วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวน ร้อยละที่ส่ง ตามวิเคราะห์ เป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา100 164 164.00 164 150 14 91.46 8.54 E.coli (12),โลหะหนัก(2)ลาว (12),พม่า (2)• ทดสอบเบื้องต้น 13,000 17,364 133.57 17,364 17,364 0 100.00 0.00รวม 31,410 34,450 109.68 32,510 32,352 158 99.51 0.49ผ-54


ตารางที่ 5 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทได้รับผลผลิตภัณฑ์วิเคราะห์• การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย- Brompheniraminetablet- Calcium carbonatetablet- Cefaclor dry syrup USP + BP(Iden+Assay+related)วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายเข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล๔๐๐ ๔๐๕ ๑๐๑.๒๕ ๓๗๔ ๓๖๒ ๑๒ 0 ๙๖.๗๙ ๓.๒๑ 0.00USP+BP(iden+assay) ๓๐ ๓๐ ๑๐๐.๐๐ ๕ ๕ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00USP(Iden+assay) ๑๐๐ ๑๒๙ ๑๒๙.๐๐ ๑๒๙ ๑๒๘ ๑ 0 ๙๙.๒๒ ๐.๗๘ 0.00 ปริมาณตัวยาสําคัญ ๑ตัวอย่าง๙ ๙ ๑๐๐.๐๐ ๙ ๙ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00- Ceftriaxone injection BP (Iden๓๐ ๒๕ ๘๓.๓๓ ๒๔ ๒๔ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00Assay+Bacterialendotoxin)- Clopidogrel tablet ตามทะเบียน ๔ ๔ ๑๐๐.๐๐ ๔ ๔ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00- Clotrimazole vaginal USP : Iden Assay ๒๐ ๒๘ ๑๔๐.๐๐ ๒๔ ๒๔ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00insert- Fluorometholone eye USP(iden+assay+pH+s ๔ ๔ ๑๐๐.๐๐ ๔ ๔ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00dropterile)- Furosemide injection USP+BP(Iden+assay+bacterialendotoxin)๒๐ ๕ ๒๕.๐๐ ๕ ๕ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานผ-55


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- Glucosamine powder,capsule, tabletวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าไม่เข้าเข้า ไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลตามทะเบียน, Assay ๕๐ ๕๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐ ๔๙ ๑ 0 ๙๘.๐๐ ๒.๐๐ 0.00 น้ําหนักเฉลี่ย ๑ตัวอย่าง- Lisinopril tablet Assay ๔ ๔ ๑๐๐.๐๐ ๔ ๔ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00- Metoclopramide USP+BP(iden+assay+ ๑๐ ๑๑ ๑๑๐.๐๐ ๑๐ ๑๐ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00injectionpH+sterile)- Miconazole cream USP+BP (Iden+assay) ๔๐ ๓๑ ๗๗.๕๐ ๓๑ ๓๐ ๑ 0 ๙๖.๗๗ ๓.๒๓ 0.00 ปริมาณตัวยาสําคัญ ๑ตัวอย่าง- Minoxidil lotion USP (Iden+Assay) ๑๕ ๘ ๕๓.๓๓ ๘ ๘ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00- Ramipril tablet, capsule BP (assay+dissol+content)๑๐ ๑๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐ ๖ ๔ 0 ๖๐.๐๐ ๔๐.๐๐ 0.00 ปริมาณตัวยาสําคัญ ๔ตัวอย่าง- Silymarin tablet ตามทะเบียน ๔ ๔ ๑๐๐.๐๐ ๔ ๒ ๒ 0 ๕๐.๐๐ ๕๐.๐๐ 0.00 Related substance๒ ตัวอย่าง- Sulfamethoxazole +trimethoprim tablet,capsuleUSP Iden, Assay,Dissol- Timolol eye drop USP(iden+assay+pH+sterile)๓๐ ๔๑ ๑๓๖.๖๗ ๔๑ ๓๘ ๓ 0 ๙๒.๖๘ ๗.๓๒ 0.00 ปริมาณตัวยาสําคัญ ๒ตัวอย่าง๒๐ ๑๒ ๖๐.๐๐ ๑๒ ๑๒ ๐ 0 ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ 0.00 การละลาย ๓ ตัวอย่างผ-56


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์• ยากรณีพิเศษ/ ร้องเรียน/ ดําเนินการตามกฎหมายวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายแล้วแต่กรณี ๑๐๐ ๒๒๓ ๒๒๓.๐๐ได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าไม่เข้าเข้า ไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล๑๒๒ ๕๙ ๑๖ ๔๗ ๔๘.๓๖ ๑๓.๑๑ 38.52รวม ๕๐๐ ๖๒๘ 125.60 ๔๙๖ ๔๒๑ ๒๘ ๔๗ 84.88 5.65 9.48- ปริมาณตัวยาสําคัญ๗ ตัวอย่าง- น้ําหนักเฉลี่ย ๑ตัวอย่าง- ปริมาณตัวยาสําคัญและน้ําหนักเฉลี่ย ๒ตัวอย่าง- การละลาย ๑ตัวอย่าง- ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์๒ ตัวอย่าง- ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก ๑ตัวอย่าง- ความปราศจากเชื้อ๒ ตัวอย่างผ-57


ตารางที่ 6 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์ได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่างเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน• ประเมินสถานการณ์ 195 131 67.18 108 103 5 95.37 4.63- CLOTRIMAZOLE tab % Active Ingredient 3 1 33.33 0 0 0 0.00 0.00Dissolution- CLOTRIMAZOLE % Active Ingredient 5 1 20.00 0 0 0 0.00 0.00cream or solution pH- DOBUTAMINE inj % Active Ingredient 10 7 70.00 3 3 0 100.00 0.00pH- ESTRADIOL tab % Active Ingredient 10 3 30.00 3 3 0 100.00 0.00Content uniformity- ETHINYLESTRADIOL % Active Ingredient 5 0 0.00 0 0 0 0.00 0.00tabContent uniformity- Felodipine tab % Active Ingredient 8 11 137.50 2 2 0 100.00 0.00- GLUCOSAMINE capor powderDissolution% Active IngredientDissolution10 4 40.00 4 4 0 100.00 0.00- INDAPAMIDE tab % Active Ingredient 5 3 60.00 2 2 0 100.00 0.00Dissolution- LEVOTHYROXINE % Active Ingredient 3 1 33.33 1 1 0 100.00 0.00SODIUM tab- MEDROXYPROGESTERONEACETATE tab% Active IngredientDissolution or pH5 1 20.00 1 1 0 100.00 0.00- MEGESTROL tab % Active IngredientDissolutionวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมาย3 1 33.33 1 1 0 100.00 0.00ผ-58ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- METOPROLOLTARTRATE tabวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์% Active IngredientDissolution- OMEPRAZOLE cap % Active IngredientDissolution- RAMIPRIL tab or cap % Active IngredientDissolution- RANITIDINE HCl tab % Active IngredientDissolution- TICLOPIDINE HCl tab % Active IngredientDissolution- TIZANIDINE HCl tab % Active IngredientDissolution- TRAMADOL HCl tab % Active IngredientDissolution- TRIAMCINOLONEACETONIDE inj% Active IngredientpH- VANCOMYCIN HCl inj % Active IngredientpHendotoxin- VERAPAMIL HCl tab % Active IngredientDissolution- OXYTOCIN ยาคนและยาสัตว์- ENROFLOXACIN (ยาสัตว์)ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่างเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน5 6 120.00 6 6 0 100.00 0.00ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา10 14 140.00 13 10 3 76.92 23.08 การละลายของตัวยาBuffer stage (3)9 7 77.78 7 7 0 100.00 0.0010 8 80.00 8 8 0 100.00 0.003 1 33.33 1 1 0 100.00 0.003 3 100.00 3 3 0 100.00 0.003 5 166.67 5 5 0 100.00 0.005 0 0.00 0 0 0 0.00 0.0010 1 10.00 1 1 0 100.00 0.005 3 60.00 2 2 0 100.00 0.00% Active Ingredient 3 1 33.33 1 1 0 100.00 0.00pH% Active Ingredient 12 1 8.33 1 1 0 100.00 0.00ผ-59อินเดีย (3)


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่างเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน ประเทศที่พบเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานปัญหา- OXYTETRACYCLINE % Active Ingredient 10 0 0.00 0 0 0 0.00 0.00(ยาสัตว์)- Tylosin tatrate or % Active Ingredient 10 1 10.00 1 1 0 100.00 0.00phosphate- ยาแผนโบราณ เชื้อจุลินทรีย์ 30 47 156.67 42 40 2 95.24 4.76 Clostridium spp.(1) จีน (2)โลหะหนักสารหนู(1)• กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน 70 48 68.57 39 38 1 97.44 2.56 ความสม่ําเสมอ(1) ไต้หวัน(1)• ทดสอบเบื้องต้นเภสัชเคมีภัณฑ์4,000 4,837 120.93 4,837 4,837 0 100.00 0.00รวม 4,265 5,016 117.61 4,984 4,978 6 99.8796 0.12ผ-60


ตารางที่ 7 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/วิเคราะห์ เป้า จํานวน ร้อยละ ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานประเภทผลิตภัณฑ์หมาย ที่ส่ง ตาม วิเคราะห์ เข้า ไม่เข้า เข้า ไม่เข้าวิเคราะห์ เป้าหมาย มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐาน• การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย1. แก้ไขปัญหาคุณภาพมาตรฐาน1.1 เครื่องสําอางที่ประกาศผลวิเคราะห์ว่ามีสารห้ามใช้- ปรอท, ไฮโดรควิโนน, กรดวิตามินเอ, กรดอะเซลาอิก400 466 116.50 355 294 61 82.817 17.183150 165 110 162 105 57 64.815 35.18550 64 128.00 64 16 48 25.00 75.00 พบสารห้ามใช้ ปรอท, กรดวิตามินเอ2 รายการ, ปรอท 1 รายการ1.2 เครื่องสําอางที่มีปัญหาผสมปนเปื้อน /เชื้อจุลินทรีย์- ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด- ผงขัดผิวหน้า- มาร์สหน้า- ผงพอกหน้า- ผลิตภัณฑ์บํารุงเส้นผม- ตกแต่งทรงผม- เปลี่ยนสีผม100 101 101.00 98 89 9 90.82 9.18 ยาสีฟัน 1 รายการ, ผลิตภัณฑ์บํารุงผิว 2 รายการ, ผงขัดผิวหน้า 2รายการ, ผลิตภัณฑ์พอกผิวหน้า 1รายการ, มาร์สหน้า 1 รายการ,ผลิตภัณฑ์บํารุงเส้นผม 3 รายการจํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัม- เชื้อจุลินทรีย์ 3 3 3 0- เชื้อจุลินทรีย์ 2 2 1 1 จํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัม- เชื้อจุลินทรีย์ 4 4 3 1 จํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัม- เชื้อจุลินทรีย์ 2 2 1 1 จํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัม- เชื้อจุลินทรีย์ 8 5 2 3 จํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัม 3 รายการ- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0ผ-61


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- แชมพู- ครีมนวดผม-บํารุงผิว- ยาสีฟัน- มาสคาร่า- อายแชร์โดว์- บํารุงรอบดวงดา- ตกแต่งใบหน้า- ทําความสะอาดผิว- สบู่ก้อน- แป้งตลับ- แป้งฝุ่น- แป้งน้ํา- ลิปสติก- ลิปมัน- ผ้าอนามัย2. ประเมินสถานการณ์2.1 เครื่องสําอางที่ผสม ปนเปื้อนสารห้ามใช้และโลหะหนัก- ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดผิว- แชมพูวิเคราะห์เป้าหมายจํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่างเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน- เชื้อจุลินทรีย์ 11 11 11 0- เชื้อจุลินทรีย์ 3 3 3 0- เชื้อจุลินทรีย์ 27 27 25 2 จํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัม- เชื้อจุลินทรีย์ 3 3 2 1 จํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัม- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 10 10 10 0- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 6 6 6 0- เชื้อจุลินทรีย์ 5 5 5 0- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 3 3 3 0- เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0- เชื้อจุลินทรีย์ 5 5 5 0250 301 120.40 193 189 4 97.927 2.0775 127 169.33 97 95 2 97.938 2.06Dioxane 38 37 37 0Dioxane 4 3 3 0ผ-62


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- แป้งฝุ่น- ผลิตภัณฑ์บํารุงผิวหน้า- รอบดวงตา- ป้องกันแสงแดด- ยาสีฟัน- โฟมล้างหน้า- ทาสิวฝ้า2.2 ผลิตภัณฑ์ ย้อมผม/เปลี่ยนสีผม /ฟอกสีผิว/สีขน- เปลี่ยนสีผม- ยืดผม2.3 เครื่องสําอางที่ผสมสีห้ามใช้- ยาทาเล็บ- ตกแต่งใบหน้า- ลิปสติก2.4 เครื่องสําอางใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น/เยื่อบุอ่อน- น้ํายาบ้วนปาก- สบู่เหลว- ทําความสะอาดจุดซ่อนเร้นวิเคราะห์เป้าหมายจํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่างเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานโลหะหนัก, asbestos 57 31 29 2 arsenic น้อยกว่า 2.5 ไมโครกรัม/กรัม 2 รายการ เป็นปริมาณที่อาเซียนยอมรับได้สารห้ามใช้ 9 8 8 0โลหะหนัก 1 1 1 0สารห้ามใช้, โลหะหนัก 1 1 1 0โลหะหนัก 9 9 9 0Dioxane 2 1 1 0สารห้ามใช้ 6 6 6 075 74 98.67 22 22 0 100.00p-phenylenediamine,71 19 19 0resorcinolthioglycolic acid 3 3 3 050 50 100.00 32 31 1 96.875 3.13 ตรวจพบสารปรอทซึ่งเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ตามประกาศฯสีห้ามใช้ 19 9 8 1 พบสีห้ามใช้สีห้ามใช้ 7 5 5 0สีห้ามใช้ 24 18 18 050 50 100.00 42 41 1 97.619 2.38เชื้อจุลินทรีย์ 20 16 16 0เชื้อจุลินทรีย์ 1 1 1 0เชื้อจุลินทรีย์ 16 12 12 0ผ-63


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- ยาสีฟัน• กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน• เรื่องร้องเรียนรวมวิเคราะห์เป้าหมายจํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่างเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานเชื้อจุลินทรีย์ 13 13 12 1 จํานวน Total Colony Count เกิน1000 โคโลนี/กรัมสารห้ามใช้, เชื้อจุลินทรีย์, สีห้ามใช้, การระคายเคือง100 34 34.00 7 6 1 85.714 14.286 พบสารห้ามใช้ 1 รายการสารห้ามใช้, เชื้อจุลินทรีย์, สีห้ามใช้, การระคายเคือง100 75 75.00 55 46 9 83.636 16.364 พบสารห้ามใช้ 6 รายการ, พบสารที่ทําให้เกิดการระคายเคือง 3รายการ600 575 95.83 417 346 71 82.974 17.026ผ-64


ตารางที่ 8 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ได้รับผลประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน• การประเมินสถานการณ์190 282 148.42 272 244 28 89.71 10.291. ผลิตภัณฑ์ดัดหรือยืดผมThioglycolic acid 30 34 113.33 32 30 2 93.75 6.25 Thioglycolic acid (2) จีน (1),ไต้หวัน (1)2. ผลิตภัณฑ์ย้อมผม P-Phenylenediamine,Resorcinol, m-phenylenediamine3. ผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณทําให้ผมดําเช่น แชมพู โลชั่นใส่ผมหรือครีมบํารุงผมวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์m-phenylenediamineP-PhenylenediamineResorcinolร้อยละตามเป้าหมาย40 52 130.00 50 33 17 66.00 34.00 p-phenylenediamine,Resorcinol (9)Resorcinol 0.365 (2)p-phenylenediamine (1)m-phenylenediamine(1),p-phenylenediamine(1),Resorenol (2), Hydrogenpetoxide (1)10 9 90.00 9 7 2 77.78 22.22 p-phenylenediamine,Resorcinol (1)Resorcinol(1)4. ยาสีฟัน Diethylene glycol 10 14 140.00 14 14 0 100.00 0.005. ผลิตภัณฑ์ตกแต่งใบหน้า เช่นสีห้ามใช้ เช่นCINo.15585 CINo.45170 หรือสีอื่นที่ห้ามใช้- อายแชโดว์ 20 9 45.00 9 8 1 88.89 11.11 สีห้ามใช้ (1) จีน (1)- บลัชออน 20 14 70.00 14 12 2 85.71 14.29 สีห้ามใช้ (1), ไม่ได้ขออนุญาตใช้สี (1)ประเทศที่พบปัญหาจีน(7),เกาหลี(1),ไต้หวัน(1),สเปน(1),อินเดีย(1),อิตาลี(4),อเมริกา(2)จีน(2)จีน (1), เกาหลี(1)ผ-65


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน- มาสคาร่า อายไลเนอร์ 10 23 230.00 21 21 0 100.00 0.00ประเทศที่พบปัญหา- ลิปสติก 20 32 160.00 32 28 4 87.50 12.50 สีห้ามใช้ (3), ไม่ได้ขออนุญาตใช้สี (1)หรือผลิตภัณฑ์ตกแต่งใบหน้าอื่นๆ6. ผลิตภัณฑ์ที่อาจ ตามประกาศฯ 30 95 316.67 91 91 0 100.00 0.00ปนเปื้อนจุลินทรีย์ เช่นอายแชโดว์ บลัชออนแชมพู มาสคาร่า อายไลเนอร์ โลชั่นเป็นต้น• กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน 30 33 110.00 33 31 2 93.94 6.06 Hydrogen petoxide(1),พบ Glycolic acid และLactic acid ไม่พบ Salicylicacid (1)จีน (4)จีน(1),ไต้หวัน(1)รวม 220 315 143.18 305 275 30 90.16 9.84ผ-66


ตารางที่ 9 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต จําหน่ายในท้องตลาด และโรงพยาบาล ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่ง ร้อยละตาม ได้รับผล จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานวิเคราะห์ เป้าหมาย วิเคราะห์เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน• การเฝ้าระวังตามปกติ- ถุงยางอนามัย340 362 106.47 362 335 27 92.54 7.46 -255 270 105.88 270 269 1 99.63 0.37 ความดันและปริมาตรขณะแตกก่อนบ่มเร่ง- ถุงมือสําหรับการตรวจโรค- ถุงมือสําหรับการศัลยกรรม- เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ• กรณีพิเศษ(เรื่องร้องเรียน/วิเคราะห์ซ้ํา/ดําเนินคดี)- วิเคราะห์ซ้ํา- ร้องเรียน- กรณีพิเศษรวม55 66 120.00 66 42 24 63.64 36.36 การรั่วซึมน้ํา/แรงดึงเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความยืดเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความหนาชั้นเดียวที่ปลายนิ้ว15 13 86.67 13 11 2 84.62 15.38 การรั่วซึมน้ํา15 13 86.67 13 13 - 100.00 - -30 29 96.67 29 20 9 68.97 31.0326 26 17 9 65.38 34.62 การรั่วซึมน้ํา/แรงดึงเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความยืดเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความดันและปริมาตรขณะแตกก่อนบ่มเร่ง/ความหนาชั้นเดียวที่ปลายนิ้ว3 3 3 - 100.00 -- -370 391 105.68 391 355 36 90.79 9.21 -ผ-67


ตารางที่ 10 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ได้รับผลประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์• การประเมินสถานการณ์- กระบอกฉีดยาผ่าน ตามมอก.777-2552 ข้อ 3.1, 4.1,ผิวหนังปราศจากเชื้อ 4.2, 4.4, 5.4, 6, 6.1 และ 7ชนิดใช้ครั้งเดียว- กระบอกฉีดยาอินซูลินปราศจากเชื้อชนิดใช้ครั้งเดียวตามประกาศฯฉบับที่ 16 ข้อ 4,5ยกเว้นข้อ 4.8 และ 4.11 หรือมอก.2084- Contact Lens ค่าสายตา(power)ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง(diameter)ความโค้ง(base curve)วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน10 16 160.00 15 15 0 100.00 0.005 12 240.00 12 12 0 100.00 0.0020 36 180.00 32 32 0 100.00 0.00ประเทศที่พบปัญหา- เข็มฉีดยาชนิดใช้ครั้งเดียวตามมอก.1398-2540 ข้อ 4.1,4.2, 5.1.1, 5.2, 5.4, 6.1 และ 810 13 130.00 9 9 0 100.00 0.00- ชุดให้สารละลายทางหลอดเลือดใช้ครั้งเดียวตามมอก. 1426-2546 ข้อ3.2.3,3.2.4, 3.2.10 และ 3.2.1210 1 10.00 0 0 0 0.00 0.00- Hot-cold pack การรั่วซึมcompression testdrop testอุณหภูมิ5 3 60.00 3 3 0 100.00 0.00ผ-68


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน- เครื่องมือแพทย์ ความปราศจากเชื้อ 30 30 100.00 26 26 0 100.00 0.00ปราศจากเชื้อ- HIV test kit แบบ ตามประกาศฯฉบับที่ 35 พ.ศ. 10 7 70.00 7 7 0 100.00 0.00rapid test 2550รวม 100 118 118.00 104 104 0 100.00 0.00ประเทศที่พบปัญหาผ-69


ตารางที่ 11 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาด ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์ส่งวิเคราะห์ได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่างร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานเป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล• การเฝ้าระวังตามปกติเพื่อทราบสถานการณ์ 354 355 100.28 351 308 31 12 87.749 8.83 3.421. ประเมินสถานการณ์ 247 248 100.40 245 214 19 12 87.35 7.76 4.90- ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดฆ่าเชื้อที่ประกอบด้วยกรดhydrochloric acidปริมาณสารสําคัญ- hydrochloricacid20 20 100.00 20 18 2 0 90.00 10.00 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ - รายการ- ปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์ 2รายการประเทศที่พบปัญหา(กรณีนําเข้า)-- ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดฆ่าเชื้อที่ประกอบด้วยbenzalkoniumchlorideปริมาณสารสําคัญ- benzalkoniumchloride20 20 100.00 20 20 0 0 100.00 0.00 -- ผลิตภัณฑ์ทาไล่แมลง ปริมาณสารสําคัญ- DEET- Ethylbutylacetylaminopropionate ฯลฯ20 20 100.00 20 18 2 0 90.00 10.00 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ 1รายการ- ปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์ 1รายการฟิลิปปินส์ผ-70


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นอัดก๊าซส่งวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพการไล่ยุงปริมาณสารสําคัญ- Permethrin- Deltamethrin- Cypermethrin- Chorpyrifos- Flurmethrin- Imiprotin ฯลฯเป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานประเทศที่พบปัญหา(กรณีนําเข้า)20 20 100.00 20 20 0 0 100.00 0.00 -30 30 100.00 30 25 2 3 83.33 6.67 10.00 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ 2รายการ- ไม่สรุปผล 3รายการเนื่องจากรายงานผลเป็นallethrinisomers ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นสารใดมาเลเซียทดสอบประสิทธิภาพแมลงบิน แมลงคลาน(ยุงและแมลงสาบ)30 30 100.00 30 23 7 76.67 23.33 ผลการทดสอบแมลงคลานไม่ผ่าน 7 รายการ-ผ-71


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นพื้นผิวกําจัดแมลงคลานชนิดของเหลว- ผลิตภัณฑ์เทราดดินกําจัดแมลงชนิดของเหลวส่งวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญ- Cypermethrin- Deltamethrin- Permethrin- Chorpyrifos- Bifenthrinทดสอบประสิทธิภาพแมลงสาบปริมาณสารสําคัญ- Cypermethrin- Deltamethrin- Permethrin- Chorpyrifos- Bifenthrin- ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง ปริมาณสารสําคัญ- Esbiothrin- d-Allethrinทดสอบประสิทธิภาพยุงเป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 31 103.33 30 26 4 0 86.67 13.33 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ 4รายการ- ปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์ - รายการประเทศที่พบปัญหา(กรณีนําเข้า)15 15 100.00 13 12 1 0 92.31 7.69 -10 10 100.00 10 10 0 0 100.00 0.00 -20 20 100.00 20 17 0 3 85.00 0.00 15.00 ไม่สรุปผล 3รายการเนื่องจากรายงานผลเป็นallethrinisomers20 20 100.00 20 19 1 0 95.00 5.00 ---ผ-72


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- ผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงชนิดเครื่องไฟฟ้า- ผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงชนิดแผ่น MATส่งวิเคราะห์เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานปริมาณสารสําคัญ 3 3 100.00 3 2 0 1 66.67 0.00 ไม่สรุปผล 1รายการเนื่องจากรายงานผลเป็นallethrinisomersปริมาณสารสําคัญ 3 3 100.00 3 1 0 2 33.33 0.00 ไม่สรุปผล 2รายการเนื่องจากรายงานผลเป็นallethrinisomersประเทศที่พบปัญหา(กรณีนําเข้า)--- ผลิตภัณฑ์เหยื่อกําจัด ปริมาณสารสําคัญ 3 3 100.00 3 3 0 0 100.00 0.00 -หนู- ผลิตภัณฑ์มุ้งชุบ ปริมาณสารสําคัญ 3 3 100.00 3 0 0 3 0.00 0.00 100.00 เนื่องจากไม่ทราบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เช่น ค่า denierเพื่อใช้ในการคํานวณความเข้มข้น-ผ-73


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์2. โครงการแก้ไขปัญหาคุณภาพมาตรฐาน- ผลิตภัณฑ์กําจัดเห็บหมัด (รูปแบบของเหลวแชมพู หยดครั้งเดียว(spot))ส่งวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญ- Cyperrmethrin- Flumethrin- Permethrin- Cabaryl- Diazinon- Amitraz- fipronil ฯลฯเป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล107 107 100.00 106 94 12 0 88.68 11.32 0.00สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน30 30 100.00 29 22 7 0 75.86 24.14 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ 2รายการ- ปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์ 5รายการประเทศที่พบปัญหา(กรณีนําเข้า)-- ผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดแมลงชนิดของเหลวรูปแบบ Fogging, ULV- ผลิตภัณฑ์กําจัดลูกน้ํายุงปริมาณสารสําคัญ- Permethrin- Deltamethrin- Chorpyrifos- Bifenthrinปริมาณสารสําคัญ- Temephosทดสอบประสิทธิภาพ30 30 100.00 30 27 3 0 90.00 10.00 -20 20 100.00 20 19 1 0 95.00 5.00 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ -รายการ- ปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์ 1รายการ20 20 100.00 20 20 0 0 100.00 0.00-ผ-74


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์- ผลิตภัณฑ์ชอล์กกําจัดแมลง- ผลิตภัณฑ์เหยื่อ หรือผงโรยกําจัดแมลง ปลวกส่งวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญ- Cyperrmethrin- Deltamethrinฯลฯปริมาณสารสําคัญ- Deltamethrin- Permethrin- Bifenthrin- Cypermethrin- Azamethifos- Bendiocarbฯลฯเป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน4 4 100.00 4 3 1 0 75.00 25.00 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ 1รายการ- ปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์ -รายการประเทศที่พบปัญหา(กรณีนําเข้า)3 3 100.00 3 3 0 0 100.00 0.00 --• กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน 20 11 55.00 8 6 2 0 75.00 25.00 0.00ปริมาณสารสําคัญ 15 11 73.33 8 6 2 75.00 25.00 - ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์ 1รายการ- ปริมาณต่ํากว่าเกณฑ์ 1รายการ-ทดสอบประสิทธิภาพ5 0 0.00 0 0 0 0.00 0.00 -ผ-75


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์ส่งวิเคราะห์เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่างไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเข้ามาตรฐานร้อยละไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลสาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐาน• เรื่องร้องเรียน 10 3 30.00 2 1 1 0 50.00 50.00 0.00ปริมาณสารสําคัญ 5 3 60.00 2 1 1 0 -ทดสอบ5 0 0.00 0 0 0 0 -ประสิทธิภาพรวม 384 369 96.09 361 315 34 12 87.258 9.42 3.32หมายเหตุ ปริมาณสูงหรือต่ํากว่าเกณฑ์ หมายถึง ปริมาณสารสําคัญที่วิเคราะห์ได้เมื่อเทียบกับที่ขึ้นทะเบียนไว้หรือที่ระบุที่ฉลาก โดยพิจารณาจากเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่กําหนดประเทศที่พบปัญหา(กรณีนําเข้า)ผ-76


ตารางที่ 12 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย นําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ได้รับผลประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์• การประเมินสถานการณ์ผลิตภัณฑ์กําจัดแมลงมด ปลวก แมลงสาบ ยุงทุกรูปแบบเชิด สเปรย์ผง น้ําวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์สารสําคัญตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ร้อยละตามเป้าหมายจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน30 38 126.67 36 31 5 86.11 13.89 Allethrinisomers (1),Temephos(1),Cypermethrin (1),Permethrin(1),Tetramethrin(1)รวม 30 38 126.67 36 31 5 86.11 13.89ประเทศที่พบปัญหาจีน(3),มาเลเซีย(1),อินเดีย(1)ผ-77


ตารางที่ 13 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน• โครงการตามนโยบาย 100 140 140.00 68 68 0 100.00 0.00- ยาเสพติดให้โทษของกลาง ตรวจเอกลักษณ์ปริมาณตัวยา 100 140 140.00 68 68 0 100.00 0.00ความบริสุทธิ์(รอผล72ตัวอย่าง)• ประเมินก่อนออกสู่ตลาด 45 37 82.22 8 7 1 87.50 12.50- วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3,4และยาเสพติดให้โทษในประเภท 3- วัตถุออกฤทธิ์ และยาเสพติดในประเภท2ตรวจตามมาตรฐานคุณภาพประกอบคําขอขึ้นทะเบียนในวจ3ตรวจมาตรฐานคุณภาพประกอบคําขอซื้อ / ขายร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์15 5 33.33 4 3 1 75.00 25.00 ตัวอย่างLorazepamไม่ผ่านมาตรฐานในหัวข้อrelatedsubstance(รอผล1ตัวอย่าง)30 32 106.67 4 4 0 100.00 0.00(รอผล28ตัวอย่าง)จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานประเทศที่พบปัญหาผ-78


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์จํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานเข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐาน• ประเมินสถานการณ์ 100 106 106.00 77 77 0 100.00 0.00- วัตถุออกฤทธิ์ในประภท3,4และยาเสพติดให้โทษในประเภท3ปริมาณตัวยาuniformitydissolutionimpurities100 106 106.00 77 77 0 100.00 0.00(รอผล29ตัวอย่าง)• กรณีพิเศษ / ฉุกเฉิน 10 8 80.00 6 6 0 100.00 0.00- วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2,3,4และยาเสพติดให้โทษในประเภท3ปริมาณตัวยาuniformity10 8 80.00 6 6 0 100.00 0.00(รอผล 2ตัวอย่าง)• เรื่องร้องเรียน 10 0 0.00 0 - - - -- วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2,3,4และยาเสพติดให้โทษในประเภท3ปริมาณตัวยาuniformity10 0 0.00 0 - - - -รวม 265 291 109.81 159 158 1 99.37 0.63ประเทศที่พบปัญหาผ-79


ตารางที่ 14 ผลวิเคราะห์การเก็บตัวอย่างวัตถุเสพติด แยกตามชื่อตัวยา ประจําปีงบประมาณ 2554ลําดับ ชื่อตัวยาสําคัญ ประเภท จํานวนตัวอย่าง ผลวิเคราะห์หมายเหตุที่ส่งวิเคราะห์ ผ่าน ไม่ผ่าน รอผล1 Codeine Phosphate ย.ส.2 1 12 Methadone Hydrochloride ย.ส.2 1 13 Morphine ย.ส.2 11 114 Camphorateed Opium Tincture ย.ส.3 5 1 45 Codeine สูตรผสม ย.ส.3 8 2 66 Diphenoxylate ย.ส.3 1 17 Ephedrine Hydrochloride ว.จ.2 2 1 18 Flunitrazepam ว.จ.2 1 19 Ketamine Hydrochloride ว.จ.2 1 110 Methylphenidate ว.จ.2 4 411 Midazolam ว.จ.2 6 612 Phentermine Hydrochloride ว.จ.2 2 213 Clonazepam ว.จ.4 6 614 Alprazolam ว.จ.4 30 28 215 Chlordiazepoxide Hydrochloride ว.จ.4 4 416 Clorazepate Dipotassium ว.จ.4 7 2 517 Diazepam ว.จ.4 33 3318 Lorazepam ว.จ.4 16 10 1 519 Phenobarbital ว.จ.4 2 220 Prazepam ว.จ.4 1 121 Pinazepam ว.จ.4 1 1รวมทั้งสิ้น 143 86 1 56กลุ่มพัฒนาระบบ กองควบคุมวัตถุเสพติดข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2554หมายเหตุ : ตัวอย่าง Lorazepam ไม่ผ่านมาตรฐาน ในหัวข้อ related substance เป็นตัวอย่างที่ส่งเพื่อประกอบการต่ออายุทะเบียนผ-80


ตารางที่ 15 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายโครงการยกระดับคุณภาพสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนให้ได้มาตรฐานได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าเข้า ไม่เข้าไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน มาตรฐานมาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล(รอผล)ตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล• อาหาร 1,703 1,861 109.28 1,795 1,407 322 66 78.38 17.94 3.68* ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 54ผ-81


ตารางที่ 16 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายโครงการยกระดับคุณภาพสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนให้ได้มาตรฐานได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าเข้า ไม่เข้าไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล(รอผล)ตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล• ยาสมุนไพร 82 98 119.51 95 59 33 3 62.11 34.74 3.16* ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 54ผ-82


ตารางที่ 17 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายโครงการยกระดับคุณภาพสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนให้ได้มาตรฐานได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าเข้า ไม่เข้าไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน มาตรฐานมาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล(รอผล)ตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล• เครื่องสําอาง 190 284 149.47 274 192 72 10 70.07 26.28 3.65* ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 54ผ-83


ตารางที่ 18 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายผลิตโดยวิสาหกิจชุมชน ประจําปีงบประมาณ 2554 ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์• วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนวิเคราะห์ เป้าหมาย จํานวนที่ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายโครงการยกระดับคุณภาพสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชนให้ได้มาตรฐานได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้าเข้า ไม่เข้าไม่เข้ามาตรฐานมาตรฐาน มาตรฐาน มาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล(รอผล)ตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล41 66 160.98 63 53 7 3 84.13 11.11 4.76* ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 54ผ-84


ตารางที่ 19 ผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิตและจําหน่ายในท้องตลาดในส่วนภูมิภาค ดําเนินการโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2554กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย ส่งวิเคราะห์• การเฝ้าระวังตามปกติเพื่อทราบสถานการณ์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานส่วนภูมิภาคตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล(รอผล)เข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลยา 472 544 115.25 511 396 82 33 77.50 16.05 6.46 ยาสมุนไพร/ยาแผนโบราณ :ตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์พบสเตียรอยด์ พบยาแผนปัจจุบันโลหะหนักอาหาร 7,812 15,114 193.47 15,077 13,850 1,190 37 91.86 7.89 0.25 - น้ําบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ําแข็ง : จุลินทรีย์ ความเป็นกรดด่าง ความกระด้าง- นมโรงเรียน : จุลินทรีย์ คุณค่าของนม ปริมาณโปรตีน ปริมาณไขมัน พบเมลามีนและสารในกลุ่มเมลามีน- เส้นก๋วยเตี๋ยว : วัตถุกันเสีย- เกลือบริโภค : ตกมาตรฐานปริมาณไอโอดีน- น้ําปลา : โซเดียมคลอไรด์ ปริมาณไนโตรเจน กลูตามิคต่อไนโตรเจน- ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ : จุลินทรีย์วัตถุกันเสีย- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร :พบยาแผนปัจจุบัน sibutramineผ-85


กรอบกิจกรรม/ประเภทผลิตภัณฑ์วิเคราะห์ เป้าหมาย ส่งวิเคราะห์ร้อยละตามเป้าหมายได้รับผลวิเคราะห์เข้ามาตรฐานจํานวนตัวอย่าง ร้อยละ สาเหตุที่ไม่เข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผล(รอผล)เข้ามาตรฐานไม่เข้ามาตรฐานตรวจเอกลักษณ์/ไม่สรุปผลเครื่องมือแพทย์ 46 97 210.87 97 94 3 0 96.91 3.09 0.00 ถุงมือตรวจโรค : ตกมาตรฐานด้านการรั่วซึมน้ํา และความยืดเมื่อขาดเครื่องสําอาง 1,021 1,148 112.44 1,144 983 157 4 85.93 13.72 0.35 - พบสารห้ามใช้ในเครื่องสําอาง- ตกมาตรฐานด้านจุลินทรีย์วัตถุอันตราย 59 37 62.71 33 29 0 4 87.88 0.00 12.12 พบเมทานอลเกิน 1%v/v ในผลิตภัณฑ์วัตถุเสพติด 22 40 181.82 40 40 0 0 100.00 0.00 0.00 -รวมทั้งประเทศ 9,432 16,980 180.03 16,902 15,392 1,432 78 91.07 8.47 0.46 -* ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 54ผ-86


<strong>รายงานสรุปผล</strong><strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong> ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2554สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่ปรึกษา1. นายนรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา2. นายสมชาย ปรีชาทวีกิจ ผู้อํานวยการกองแผนงานและวิชาการ3. นายสมศักดิ์ สุหร่ายพรหม กลุ่มติดตามและประเมินผล กองแผนงานและวิชาการขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ผู้ให้ข้อมูล1. นายปิ่นพงศ์ อินทรพาณิช สํานักยา2. นางสาวพิทยา เหล่าสมบัติ สํานักอาหาร (หน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่)3. นางสาวใจรัก ลอยสงเคราะห์ สํานักอาหาร (หน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่)4. นางสาวรณิดา จิวารุ่งเรือง กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น5. นางสาวแววตา ประพัทธ์ศร กลุ่มควบคุมเครื่องสําอาง6. นางสุดาวรรณ อ่วมอ่อง กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย7. นายศิริชัย ศุภรัตนเมธา กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย8. เจ้าหน้าที่สํานักด่านอาหารและยา9. เจ้าหน้าที่กองควบคุมเครื่องมือแพทย์10.เจ้าหน้าที่กองควบคุมวัตถุเสพติดจัดทําโดย1. นางสาวเจตสุภา ลลิตอนันต์พงศ์ กลุ่มติดตามและประเมินผล กองแผนงานและวิชาการ2. นางสาวจินดารัตน์ เหล่าพิพัฒน์ไพบูลย์ กลุ่มติดตามและประเมินผล กองแผนงานและวิชาการสอบถามข้อมูล โทร. 0-2590-7290, 7292E-mail : jetsupa@fda.moph.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!