13.07.2015 Views

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สรุปผลการตรวจวิเคราะห์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ก. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายดําเนินการโดยส่วนกลาง1. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต ผู้นําเข้า และผู้จําหน่ายในท้องตลาด จากจํานวนตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ 369 ตัวอย่าง ได้รับผลวิเคราะห์จํานวน 361 ตัวอย่าง รอผลวิเคราะห์อีก 8ตัวอย่าง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2554) ซึ่งเป็นผลวิเคราะห์หาปริมาณสารสําคัญ และทดสอบประสิทธิภาพ ผลการทดสอบพบวัตถุอันตรายได้มาตรฐาน 315 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 87.26 ไม่ได้มาตรฐาน 34 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.42 และไม่สามารถสรุปผลได้ 12 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.32เมื่อพิจารณาเฉพาะการเก็บตัวอย่างเพื่อประเมินสถานการณ์ พบได้มาตรฐาน 308 ตัวอย่างจากจํานวนตัวอย่าง 351 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 87.75 ซึ่งต่ํากว่าปี 2553 เพียงเล็กน้อย ตัวแปรที่สําคัญประการหนึ่งคือ ผลวิเคราะห์ที่ไม่อาจสรุปผลได้มี 12 รายการ หากไม่นับรวมด้วย ผลิตภัณฑ์จะมีมาตรฐานร้อยละ 90.86(รายละเอียดดังตารางที่ 11 หน้า ผ-70)ในปี ๒๕๕4 ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญ ผลิตภัณฑ์ที่พบไม่ได้มาตรฐานมากที่สุดเช่นเดียวกับปี 2553 คือ ผลิตภัณฑ์ชอล์กกําจัดแมลง พบไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 25 รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์กําจัดเห็บหมัดสุนัข ไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 24.14 และผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นอัดก๊าซ พบไม่ได้มาตรฐานร้อยละ6.67 สําหรับผลิตภัณฑ์เหยื่อ หรือผงโรยกําจัดแมลง ปลวก ซึ่งในปี 2553 พบไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ๒๕.๐๐ ในปี 2554 พบได้มาตรฐานร้อยละ 100 เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลการทดสอบประสิทธิภาพในปี 2553พบได้มาตรฐานร้อยละ 100 ในทุกรายการที่ทดสอบ แต่ในปี 2554 พบว่าผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นอัดก๊าซ ผลการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพียงร้อยละ 76.67 มาตรการดําเนินการกรณีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน คือหากเก็บจากสถานที่จําหน่าย หรือสถานที่มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง จะทําการเก็บซ้ํา ณ สถานที่ผลิตหรือนําเข้า แต่ถ้าเก็บจากสถานที่ผลิต หรือนําเข้า จะให้ผู้ประกอบการเรียกคืนสินค้าจากท้องตลาด หรือแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไข หากกระทําผิดซ้ําจะดําเนินคดี2. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายนําเข้า ณ ด่านอาหารและยา จํานวน 36 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานจํานวน 31 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ86.11 ไม่เข้ามาตรฐานจํานวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.89 (รายละเอียดดังตารางที่ 12 หน้า ผ-77 )ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย พบปัญหาว่ามีปริมาณสารสําคัญ เช่น Allethrinisomers, Temephos,Cypermethrin, Permethrin, Tetramethrin ไม่ตรงตามปริมาณที่แสดงบนฉลาก มีจํานวนไม่เข้ามาตรฐาน5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.86 นําเข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย และอินเดียข. ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายดําเนินการโดยส่วนภูมิภาคจากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในส่วนภูมิภาค จํานวน 33 ตัวอย่าง พบเข้ามาตรฐานจํานวน 29 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 87.88 (รายละเอียดดังตารางที่ 19 หน้า ผ-86)16

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!