13.07.2015 Views

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ข. ผลิตภัณฑ์อาหารดําเนินการโดยส่วนภูมิภาครวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด ได้จํานวน 15,077 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐานจํานวน 13,850 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 91.86 ผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาคุณภาพสูง ได้แก่ น้ําบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และน้ําแข็ง ไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากพบจุลินทรีย์ความเป็นกรดด่าง และความกระด้าง นมโรงเรียน ไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากพบจุลินทรีย์ และคุณค่าของนมไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ปริมาณโปรตีน ปริมาณไขมัน พบเมลามีนและสารในกลุ่มเมลามีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากพบวัตถุกันเสีย (ดังตารางที่ 19 หน้า ผ-85)ค. ผลิตภัณฑ์อาหารตามนโยบายอาหารปลอดภัยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ฯ สํานักอาหาร (Mobile Unit)ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุขได้ดําเนินการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สามารถสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ ได้ดังนี้1) การตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนทางด้านจุลินทรีย์ในอาหาร เป็นการตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์ได้แก่ Total Plate Count (TPC), Coliforms, E.Coli, S.aureus, Yeast และ Mold โดยมีตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ในภาพรวมทั้งประเทศทั้งสิ้น 10,457 ตัวอย่าง พบอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ไม่เข้ามาตรฐาน 2,151 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.57 พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีการปนเปื้อนมากที่สุด คือ Coliforms จากผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 8,750 ตัวอย่าง พบไม่เข้ามาตรฐาน2,051 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23.442) การตรวจวิเคราะห์สารปลอมปนทางด้านทางเคมีในอาหาร โดยสารเคมีที่ตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ยาฆ่าแมลง บอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารกันรา สารฟอกขาว สารเร่งเนื้อแดง แอฟลาทอกซิน สารโพลาร์ในน้ํามันทอดอาหาร สีสังเคราะห์ ปริมาณกรดน้ําส้มในน้ําส้มสายชู กรดแร่อิสระในน้ําส้มสายชู ความเป็นกรดด่างของหน่อไม้ปี๊บ ความเป็นกรดด่างของน้ําดื่ม/น้ําแข็ง ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ําดื่ม/น้ําแข็ง ปริมาณคลอรีนในน้ําดื่ม/น้ําแข็ง และไอโอดีนในเกลือบริโภค จากผลการทดสอบอาหารในภาพรวมทั้งประเทศ 154,789ตัวอย่าง พบสารปลอมปนทางเคมีในอาหารไม่เข้ามาตรฐาน 5,266 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.40 ตัวอย่างพบว่าสารเคมีที่เจือปนอาหารที่พบไม่เข้ามาตรฐานสูงที่สุด คือ ไอโอดีนในเกลือบริโภค จากผลการตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น 104 ตัวอย่าง พบไม่เข้ามาตรฐาน 48 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 46.15 (รายละเอียดดังตารางที่ 3 หน้า ผ-44)ง. ผลิตภัณฑ์อาหารผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารดําเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์โดยศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ซึ่งดําเนินการเก็บตัวอย่างทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ได้รับผลการตรวจวิเคราะห์จํานวนทั้งสิ้น 1,795 ตัวอย่าง เข้ามาตรฐาน 1,407 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.38(ดังตารางที่ 15 หน้า ผ-81)10

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!