13.07.2015 Views

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

รายงานสรุปผล การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำ ... - ศูนย์วิทยบริการ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บทสรุปเสนอทสรุปเสนอผู้บริหาร<strong>รายงานสรุปผล</strong><strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong> ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้รวบรวมข้อมูลผล<strong>การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ</strong>ทั่วประเทศ ทั้งในส่วนกลางที่ดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และส่วนภูมิภาคที่ดําเนินการโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด รายงานฯ ฉบับนี้ได้รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ท้องตลาด การเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย โครงการพัฒนา กรณีพิเศษ/ฉุกเฉิน เรื่องร้องเรียน เป็นต้น และรวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้ตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) และตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์ในรายงานฉบับนี้ทําให้ทราบถึงสถานการณ์ผลิตภัณฑ์สุขภาพในรอบปี และปัญหาที่พบของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ในระดับหนึ่ง และเป็นข้อมูลสําหรับการวางมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ โดยสรุปผลการตรวจวิเคราะห์ในภาพรวม ดังต่อไปนี้1. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร จากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารในส่วนกลางที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่เข้ามาตรฐานสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ พบข้อบกพร่องร้อยละ 56.30เนื่องจากพบวัตถุเจือปนอาหารไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด 2) น้ําผึ้ง พบข้อบกพร่องร้อยละ43.33 เนื่องจากมีคุณภาพไม่เข้ามาตรฐานตามประกาศ และ 3) อาหารทั่วไปที่ห้ามใส่สี พบข้อบกพร่องร้อยละ 42.00 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สีผสมในอาหารไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด2. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา จากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยาในส่วนกลางที่เก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต และจําหน่ายในท้องตลาด พบว่า Silymarin tablet, Rammipril tablet/ capsule ไม่เข้ามาตรฐานสูง ร้อยละ 50 เนื่องจากปริมาณตัวยาสําคัญผิดมาตรฐาน และ Sulfamethoxazole +trimethoprim tablet/capsule ไม่เข้ามาตรฐานสูง ร้อยละ 7.32 เนื่องจากการละลายของยา(Dissolution) ผิดมาตรฐาน3. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง จากผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องสําอางดําเนินการโดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่า ไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 17.03 โดยส่วนมากพบสารห้ามใช้ ได้แก่ ไฮโดรควิโนน ปรอท กรดวิตามินเอ เช่นเดียวกับในส่วนภูมิภาคพบผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 13.72 โดยส่วนใหญ่พบสารห้ามใช้ ได้แก่ ไฮโดรควิโนน สารประกอบปรอท และกรดวิตามินเอ4. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พบถุงมือสําหรับการตรวจโรค ไม่เข้ามาตรฐานถึงร้อยละ 36.63 สาเหตุการไม่เข้ามาตรฐานเนื่องจากการรั่วซึมน้ํา/แรงดึงเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความยืดเมื่อขาดก่อนบ่มเร่ง/ความหนาชั้นเดียวที่ปลายนิ้ว5. ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างวัตถุอันตรายในส่วนกลาง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด/ฆ่าเชื้อที่ประกอบด้วยกรด Hydrochloric acid และBenzalkonium Chloride ผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดแมลงรูปแบบต่างๆ และผลิตภัณฑ์เหยื่อกําจัดหนูผลิตภัณฑ์ที่พบไม่ได้มาตรฐานมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ป้องกันกําจัดแมลง ประเภทชอล์กกําจัดแมลง ไม่เข้ามาตรฐานร้อยละ 25 รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์กําจัดเห็บหมัดสุนัข และผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นพื้นผิวกําจัดแมลงคลานชนิดของเหลว1

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!