11.05.2016 Views

PSC Annual Report 2012

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>Annual</strong> <strong>Report</strong>. <strong>2012</strong> Public service center Office of the Prime Minsiter Office of the Permanent Secretary the Prime Minister’s office<br />

<strong>Annual</strong> <strong>Report</strong> <strong>2012</strong><br />

www.1111.go.th<br />

ตู้ ปณ. ๑๑๑๑<br />

ทำเนียบรัฐบาล<br />

จุดบริการประชาชน ๑๑๑๑<br />

ทำเนียบรัฐบาล<br />

รายงานประจำปี<br />

๒๕๕๕<br />

เชื่อมโยงเครือข่ายทั่วประเทศ<br />

สายด่วนของรัฐบาล<br />

๑๑๑๑<br />

บริการประทับใจ<br />

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล<br />

ศูนยรบเรองราวรองทุกขของรฐบ<br />

ศนย์รับเรื่องราวร้องทกข์ของรัฐบาล<br />

ศูนย์บริการประชาชน<br />

รับใช้ประชาชน<br />

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี


สารจาก …<br />

นายสมพาศ นิลพันธ์<br />

ผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา<br />

รวมทั้งภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชน<br />

จํานวนมากให้ได้รับความเดือดร้อน สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี โดยศูนย์บริการประชาชน ในฐานะ<br />

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ได้มีบทบาทสําคัญในการประสานการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา<br />

ความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งรายบุคคล องค์กรประชาชน และส่วนรวม โดยในหลายปีงบประมาณ<br />

ที่ผ่านมาประชาชนที่ยื่นเรื่องร้องทุกข์ผ่านศูนย์บริการประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี<br />

ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ มีประชาชนรายย่อยยื่นเรื่องร้องทุกข์ จํานวน ๑๑๗,๑๖๒ ครั้ง<br />

ซึ่งสามารถดําเนินการเรื่องร้องทุกข์ให้มีผลเป็นที่ยุติได้ร้อยละ ๙๖.๘๕ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มมวลชน<br />

ยื่นข้อเรียกร้องอีกจํานวน ๑๗๑ ครั้ง โดยศูนย์บริการประชาชน สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

ได้ประสานงานเพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่กลุ่มมวลชน และเพื่อให้ปัญหาความเดือดร้อนได้เข้าสู่<br />

กระบวนการการพิจารณาแก้ไขโดยเร่งด่วน<br />

ในการนี้ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี โดยศูนย์บริการประชาชนได้ยึดหลักธรรมาภิบาล<br />

ในการบริหารองค์กร โดยมีเป้าหมายสําคัญเพื่อ “ประโยชน์สุขของประชาชน” และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา<br />

ขีดสมรรถนะขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการให้บริการในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา<br />

ความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างหลากหลายและเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อตอบสนอง<br />

ต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น<br />

ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณรัฐบาลที่เล็งเห็นถึงความสําคัญ และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง<br />

ในการดําเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้ง ขอขอบคุณส่วนราชการทุกภาคส่วน<br />

และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชน ที่มีส่วนสําคัญยิ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว<br />

สุดท้ายนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ของศูนย์บริการประชาชน สํานักงาน<br />

ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ และประชาชน ในการได้รับทราบข้อมูล ผลการ<br />

ดําเนินงานด้านการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน<br />

(นายสมพาศ นิลพันธ์)<br />

ผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี


สารจาก ...<br />

ผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน<br />

ศูนย์บริการประชาชน สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการรับเรื่องร้องทุกข์<br />

ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม ให้คําแนะนําเกี่ยวกับกฎหมายและการดําเนินคดีแก่ประชาชนที่มายื่นคําร้อง<br />

หรือขอคําแนะนําจากนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กับประสานงาน<br />

เพื่อแก้ไขปัญหาและอํานวยความสะดวกแก่มวลชนที่มาพบหรือชุมนุมร้องเรียน ตลอดจนตรวจสอบเรื่องร้องเรียน<br />

ในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาสําคัญที่เป็นกรณีเร่งด่วน<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ ศูนย์บริการประชาชนได้ปฏิบัติภารกิจสําคัญนอกเหนือ<br />

จากภารกิจหลัก โดยได้รับมอบหมายภารกิจการดําเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในการสร้าง<br />

ความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตยซึ่งศูนย์บริการประชาชน<br />

ได้ดําเนินการในฐานะเลขานุการคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดําเนินงานตามข้อเสนอแนะ<br />

ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ในส่วนที่เกี่ยวข้อง<br />

กับมาตรการด้านการเยียวยาทางแพ่งและการฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่นซึ่งได้มีการช่วยเหลือเยียวยา<br />

ด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง (พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๓)<br />

นอกจากนี้ ศูนย์บริการประชาชนยังได้มีส่วนร่วมในการดําเนินการตามยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุก<br />

ของรัฐบาล ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยการรับเรื่องจากช่องทางไปรษณีย์ “ตู้รับเรื่องร้องเรียน<br />

การทุจริต Stop Corruption” และประสานดําเนินการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง<br />

อีกทั้ง กระบวนงานการจัดการเรื่องร้องทุกข์ของศูนย์บริการประชาชน ยังได้รับการคัดเลือกให้นํามา<br />

จัดทําข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ส่วนราชการและจังหวัดจัดทําข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใส<br />

ในการปฏิบัติราชการ หน่วยงานละ ๑ ข้อเสนอ ในการนี้ ยังมีภารกิจที่สําคัญด้านอื่นๆ เช่น การส่งเสริม<br />

การมีส่วนร่วมของประชาชน และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของกลุ่มมวลชน เป็นต้น ซึ่งศูนย์บริการประชาชน<br />

ได้ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวสําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้<br />

ความสําเร็จในภารกิจทั้งหลายนี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรศูนย์บริการประชาชน<br />

ทุกระดับ รวมทั้งความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอิสระ<br />

ซึ่งต่างเป็นปัจจัยสําคัญ ในการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน<br />

(นางสุปราณี จันทรัตนวงศ์)<br />

ผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน


สารบัญ<br />

สารจากผู้ช่วยปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (นายสมพาศ นิลพันธ์)<br />

สารจากผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน<br />

ส่วนที่ ๑<br />

ข้อมูลทั่วไป<br />

- อํานาจหน้าที่ ๑<br />

- วิสัยทัศน์ ๑<br />

- พันธกิจ ๑<br />

- โครงสร้างส่วนราชการ ๒<br />

- อัตรากําลัง ๓<br />

- บุคลากร ๔<br />

- ช่องทางการให้บริการ ๑๒<br />

- แผนที่ทําเนียบรัฐบาล และสถานที่ตั้งศูนย์บริการประชาชน ๑๓<br />

- ขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการเรื่องร้องทุกข์ ๑๔<br />

ส่วนที่ ๒<br />

สรุปผลการดําเนินงานของศูนย์บริการประชาชน<br />

- ภารกิจด้านการประสานมวลชนและองค์กรประชาชน ๑๘<br />

- ภารกิจตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้รับมอบหมาย ๒๖<br />

- ภารกิจเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ๒๙<br />

- ภารกิจด้านคณะกรรมการ / คณะอนุกรรมการ ๓๐<br />

- การประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ๓๒<br />

- การดําเนินโครงการพัฒนาขีดสมรรถนะและศักยภาพการบริหารจัดการ ๓๔<br />

ส่วนที่ ๓<br />

สรุปผลการดําเนินการเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน ๔๐


๑<br />

ข้อมูลทั่วไป<br />

ศูนย์บริการประชาชนเป็นส่วนราชการระดับสํานัก เดิมสังกัดสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีภายหลังจากการปฏิรูป<br />

ระบบราชการ ได้โอนกิจการบริหาร และอํานาจหน้าที่มาสังกัดสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชกฤษฎีกา<br />

โอนกิจการบริหารและอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕<br />

พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕<br />

อํานาจหน้าที่<br />

ศูนย์บริการประชาชนมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้<br />

๑. ดําเนินการเกี่ยวกับการร้องทุกข์ ร้องเรียนขอความเป็นธรรม และการขอความช่วยเหลือที่มีผู้ยื่นคําร้องต่อ<br />

นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน<br />

๒. ให้คําแนะนําเกี่ยวกับกฎหมายและการดําเนินคดีแก่ประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือและขอคําแนะนําจาก<br />

นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

๓. ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาและอํานวยความสะดวกแก่มวลชนที่มาพบหรือชุมนุมร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี<br />

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

๔. ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาสําคัญที่เป็นกรณีเร่งด่วน<br />

๕. ดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘<br />

๖. ดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒<br />

๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย<br />

วิสัยทัศน์<br />

เป็นองค์กรกลางในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล และเป็นศูนย์กลางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มี<br />

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อประโยชน์สุขและตอบสนองการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานภาครัฐ<br />

พันธกิจ<br />

๑. พัฒนาช่องทางการร้องทุกข์ในทุกช่องทางให้เป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล<br />

๒. พัฒนาระบบเครือข่ายให้เป็นศูนย์ประสานเร่งรัดติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ<br />

ประชาชน<br />

๓. เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง<br />

๔. พัฒนากระบวนการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเป็นระบบ


๒<br />

โครงสร้างส่วนราชการ<br />

ศูนย์บริการประชาชน มีการแบ่งโครงสร้างอย่างเป็นทางการเป็น ๓ ส่วน และ ๑ ฝ่าย ดังนี้<br />

ผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน<br />

ส่วนบริการ<br />

ประชาชน ๑<br />

ส่วนบริการ<br />

ประชาชน ๒<br />

ส่วนประสานมวลชน<br />

และประเมินผล<br />

ฝ่ายบริหารงาน<br />

ทั่วไป<br />

โดยที่โครงสร้างอย่างเป็นทางการเป็นโครงสร้างตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

สํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและ<br />

ภายนอกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทําให้โครงสร้างอย่างเป็นทางการไม่สามารถรองรับและตอบสนอง<br />

การดําเนินภารกิจและการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

ในการนี้ ศูนย์บริการประชาชน ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารงานภายในศูนย์บริการประชาชนใหม่ประกอบด้วย ๖ ส่วน<br />

และ ๑ ฝ่าย ดังนี้<br />

ผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชน<br />

ส่วนดําเนินการ<br />

เรื่องราวร้องทุกข์ ๑<br />

ส่วนดําเนินการ<br />

เรื่องราวร้องทุกข์ ๒<br />

ส่วนดําเนินการ<br />

เรื่องราวร้องทุกข์ ๓<br />

ส่วนประสาน<br />

มวลชนและองค์กร<br />

ประชาชน<br />

ส่วนการมีส่วนร่วม<br />

ของประชาชน<br />

ส่วนแผนและ<br />

ประเมินผล<br />

ฝ่ายบริหาร<br />

ทั่วไป


๓<br />

อัตรากําลัง<br />

ศูนย์บริการประชาชน มีอัตรากําลังทั้งสิ้น ๑๒๖ อัตรา ประกอบด้วย ข้าราชการ ๔๙ อัตรา พนักงานราชการ ๗๗ อัตรา<br />

อัตรากําลังข้าราชการ<br />

๑. ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง (ผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน) ๑ อัตรา<br />

๒. ตําแหน่งประเภทวิชาการ<br />

๒.๑ ระดับเชี่ยวชาญ ๑ อัตรา<br />

๒.๒ ระดับชํานาญการพิเศษ ๗ อัตรา<br />

๒.๓ ระดับชํานาญการ ๒๔ อัตรา<br />

๒.๔ ระดับปฏิบัติการ ๑๐ อัตรา<br />

๓. ตําแหน่งประเภททั่วไป<br />

๓.๑ ระดับชํานาญงาน ๕ อัตรา<br />

๓.๒ ระดับปฏิบัติงาน ๑ อัตรา<br />

อัตรากําลังพนักงานราชการ<br />

รวม ๔๙ อัตรา<br />

- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๔๔ อัตรา<br />

- นิติกร ๑๘ อัตรา<br />

- นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ๑ อัตรา<br />

- เจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒ อัตรา<br />

- เจ้าพนักงานธุรการ ๓ อัตรา<br />

- เจ้าหน้าที่ธุรการ ๒ อัตรา<br />

- เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ๗ อัตรา<br />

รวม ๗๗ อัตรา<br />

(ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕)


ผู้บริหารศูนย์บริการประชาชน<br />

๔<br />

นางสุปราณี จันทรัตนวงศ์<br />

ผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน<br />

นายสมเจตน์ โรจน์พัฒนากุล<br />

นายทศพร สุวรรณาภิรมย์<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการพิเศษ ผู้อํานวยการส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๑<br />

รักษาการในตําแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านมวลชน<br />

นายสมพงษ์ ไวถนอมสัตว์ นายอภัย เจริญมิตร นายพันศักดิ์ เจริญ<br />

ผู้อํานวยการส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๒ ผู้อํานวยการส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๓ ผู้อํานวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน<br />

นายอิทธิพล ช่างกลึงดี<br />

นางมาลินี ภาวิไล<br />

ผู้อํานวยการส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้อํานวยการส่วนแผนและประเมินผล<br />

นางศรีสําอาง โกศาสตร์<br />

หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป


ส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๑<br />

๕<br />

นายทศพร สุวรรณาภิรมย์<br />

ผู้อํานวยการส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๑<br />

นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ นางสาวสายชล กําเนิดบง นางศิรินทร เดชาภิวุฒิ นายขจรศักดิ์ นาคชัง<br />

นิติกรชํานาญการ นิติกรชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ<br />

นายวิวัฒน์ วิธีเจริญ นางสาววราภรณ์ หินอ่อน นางสาวสุภาภรณ์ กลิ่นขจร นายเฉลิมพงษ์ ผิวดํา<br />

เจ้าพนักงานธุรการชํานาญงาน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นางสาวรสริน กองเกิดสุข นางสาวกฤษฎาพร ทองรักษ์ นายวิรัช คําใส นางสาวมนัฐดา หนชัย<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นางสาววิยะดา ปัททะทุม นางสาวยุวดี แก้วรัฐ นายยศพงษ์ งามรัตนไพบูลย์ นางสาวรัตนาภรณ์ เนตรทอง<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นิติกร นิติกร นิติกร<br />

นางสาวศรสลัก อ่อนสําลี<br />

พนักงานบันทึกข้อมูล<br />

นางสาวรัชนีกร แสนทวีสุข<br />

พนักงานบันทึกข้อมูล


ส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๒<br />

๖<br />

นายสมพงษ์ ไวถนอมสัตว์<br />

ผู้อํานวยการส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๒<br />

นายวิสุทธิ์ ฉัตรานุฉัตร นางสาวฐิติรัตน์ สุวรรณราช นายจตุพร เณรนุ่ม นางสาวสมใจ บุญทวีกุล<br />

นิติกรชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ<br />

นางสาวภาวนา ทองศรี นางสาวอุทัยวรรณ พวกไธสง นายรังสรรค์ ตั้งใจงาม นางสาวอรชิสา นิพากรเมธ<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นิติกรปฏิบัติการ เจ้าพนักงานธุรการชํานาญงาน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นางสาวอรนุช ปลื้มโต๊ะสะอาด นายขจร ป้อมคํา นางสาวรัตติยา สุทธิสติพล นายมานพ หรั่งสีสุทธิ์<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นางสาวซอเฟีย จรัลศาส์น นายนิติธร ชูปาน นางสาววาสนา ธนะกูลบริภัณฑ์ นางสาวปาริชาติ ทองพันชั่ง<br />

นิติกร นิติกร นิติกร นิติกร<br />

นางสาวปูรณี วิริยะนิธิกรณ์ นางสาวลดาทิพย์ พูลบางยุง นางวอรัญญา วันเต๊ะ<br />

นิติกร พนักงานบันทึกข้อมูล พนักงานบันทึกข้อมูล


ส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๓<br />

๗<br />

นายอภัย เจริญมิตร<br />

ผู้อํานวยการส่วนดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๓<br />

นางสาวมีนา เหล่าหะเกียรติ นายปิติพงศ์ เลิศพิสุทธิ์โสภณ นางสาวสุวีรยา ทองพิทักษ์ นางสาวจันทิมา เจริญสุข<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นิติกรชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ<br />

นายพงษ์พันธ์ มูลมงคล นางชนาวลัย นิยมผล นางสาวนงนุช สายัณห์ นายนิคม ขําเถื่อน<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นายสมชาย พันธุ์สกุล ว่าที่ ร้อยตรีธนายุทธ พินิจมนตรี นางสาวอัญญาภรณ์ อินทปัญญ์ นางสาวนุชรี มุ่งหมาย<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นางสาวสุธิดา บุตรสาธรรม นางสาวสุทธาสินี ประพุทธ์พิทยา นางสาววรรณพร โพธิถาวรนันท์ นายภิภพ กัณฑ์ฉาย<br />

นิติกร นิติกร นิติกร เจ้าพนักงานธุรการ<br />

นางสาวสุกัญญา ไชยวารี<br />

พนักงานบันทึกข้อมูล


ส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน<br />

๘<br />

นายพันศักดิ์ เจริญ<br />

ผู้อํานวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน<br />

นางสาววรวีวรรณ บุญศิริธรรมชัย นายสาธิต สุทธิเสริม นางสาวนฎาพรรณ ภิโสรมย์ นายปิยะพงค์ ไทยเสรีกุล<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นิติกรชํานาญการ นิติกรปฏิบัติการ นิติกรปฏิบัติการ<br />

นายสารีหัน อิหม่ําเหม นางสาวศุภลักษณ์ ทองเดช นายกิติศักดิ์ บัวน้ําอ้อม นางสาวมลวรรณ หมายถิ่นกลาง<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นายชาย ชื่นชม นายรังสรรค์ สดสายทอง นางสาวสุทัตตา สุทัศน์กุล นางสาวลมุล วรไวย<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นายเทอดศักดิ์ บัวทอง นางสาวจีรนันท์ นาคพัด นางสาวสุทธิดา ปานสง่า นางสาวจุติพร มณีนิล<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นิติกร<br />

นายวัชเรนทร์ คําเครื่อง นายธรรรมฤทธิ์ ศักดิ์ทอง นายพงษ์ศักดิ์ พ่วงทรัพย์<br />

นิติกร นิติกร พนักงานบันทึกข้อมูล


ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชน<br />

๙<br />

นายอิทธิพล ช่างกลึงดี<br />

ผู้อํานวยการส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชน<br />

นายยศสันธ์ เรืองสรรงามสิริ นางสาวธัชธร ปั้นสุวรรณ นายภูวนัย จันสุกศรี นายอรรถพล พรประสิทธิ์รัตนา<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นิติกรปฏิบัติการ นิติกรปฏิบัติการ<br />

นางสาวนันท์นภัส แสงแจ่ม นางสาวดารณี สว่างศรี นางสาวภาฤดี ฉินวิวัฒน์ นายนิทัศน์ ชื่นชม<br />

นิติกร นิติกร นิติกร นิติกร<br />

นายยงยศ นงเกษม นางสาวกชณิกา เหลืองทอง นายกิตติพงษ์ ปลูกชาลี นายพรสุรักษ์ อารีราษฎร์<br />

นิติกร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นางสาวปรมาภรณ์ เนียมกุลรักษ์ นางสาวกนกอร เกษคํา นางสาวญาณี อมรขจรเดช นางสาวพรพรรณ เบญจภัทรากุล<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานบันทึกข้อมูล


ส่วนแผนและประเมินผล<br />

๑๐<br />

นางมาลินี ภาวิไล<br />

ผู้อํานวยการส่วนแผนและประเมินผล<br />

นางจุฑามาศ ศิริชัยสุทธิกร นางกุลธิดา มาแจ้ง นางสาวทิพสุคนธ์ นีระพจน์ นางสาวน้อมจิตร ทิพย์มณี<br />

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชํานาญการ<br />

นายสมเจตน์ ทับมา นางสาวทุติยาภรณ์ เจริญผล นายสิทธิชัย พัฒเย็น นางสาวกรกนก เล็กเจริญ<br />

นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นายพสธร เกริกฤทธิ์ นางสาวอาริยา เรืองสรรงามสิริ นางสาวผุสดี จีนใจตรง นางสาวอัจจิมา แซ่ว่อง<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นางสาววิไลรัตน์ สมเพราะ นางสาวสุชาดา เผือกเจริญ นายภูเบศ อัศนียวงศ์<br />

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการคอมพิวเตอร์<br />

นางสาวศศิณัฏฐ์ แรงเพ็ชร์ นางสาวพรปรียา สมเพราะ<br />

พนักงานบันทึกข้อมูล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน


๑๑<br />

ฝ่ายบริหารทั่วไป<br />

นางศรีสําอาง โกศาสตร์<br />

หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป<br />

นางวิมลรัตน์ ศรีเพ็ญ นางวรรณรักษ์ ภู่รักษ์ นายสุภิญญา ตาดี นางสาวศรุดา นิยมพงษ์<br />

เจ้าพนักงานธุรการชํานาญงาน เจ้าพนักงานธุรการชํานาญงาน เจ้าพนักงานธุรการชํานาญงาน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน<br />

นายธีระวัฒน์ ทองพีรพันธุ์ นางประนอม กลิ่นหอม<br />

เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ


ช่องทางการให้บริการ<br />

๑๒<br />

สายด่วนของรัฐบาล ๑๑๑๑<br />

www.1111.go.th<br />

ตู้ ปณ.๑๑๑๑ ทําเนียบรัฐบาล กทม. จุดบริการประชาชน ๑๑๑๑


สถานที่ตั้งศูนย์บริการประชาชน<br />

๑๓


๑๔<br />

ขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการเรื่องราวร้องทุกข์ ๔ ช่องทาง<br />

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการ สายด่วนของรัฐบาล ๑๑๑๑<br />

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ร้องเรียนทางโทรศัพท์ สายด่วนของรัฐบาล ๑๑๑๑<br />

กรณีปกติ (ไม่ใช้เวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงมากและไม่ซับซ้อน)<br />

สรุป ๔ ขั้นตอน ๑ จุดบริการ รวมระยะเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง / เรื่อง<br />

ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนที่ ๓<br />

ขั้นตอนที่ ๔<br />

ประชาชนร้องเรียนผ่าน<br />

สายด่วนของรัฐบาล<br />

๑๑๑๑<br />

เจ้าหน้าที่รับสาย<br />

สอบถามรายละเอียด<br />

และบันทึกข้อมูล<br />

ในระบบฯ<br />

- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล<br />

ข้อเท็จจริง<br />

- พิจารณาแนวทางการแก้ปัญหา<br />

- พิจารณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง<br />

แจ้งให้ผู้ร้องทราบ<br />

การดําเนินการ<br />

เบื้องต้น<br />

ประสานหน่วยงาน<br />

ที่เกี่ยวข้องพิจารณา<br />

หรือรับทราบแล้วแต่กรณี<br />

ทางโทรศัพท์ / โทรสาร/<br />

Web Portal / e-mail และ<br />

บันทึกการดําเนินการ<br />

ในระบบฯ


๑๕<br />

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการ จุดบริการประชาชน ๑๑๑๑<br />

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่เดินทางมาร้องเรียนที่จุดบริการประชาชน ๑๑๑๑ ทําเนียบรัฐบาล<br />

กรณีปกติ (ไม่ใช้เวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงมากและไม่ซับซ้อน) และประสานส่งหน่วยงานทางโทรศัพท์ / โทรสาร /Web Portal / e-mail<br />

สรุป ๔ ขั้นตอน ๑ จุดบริการ รวมระยะเวลาประมาณ ๑.๓๘ วันทําการ / เรื่อง<br />

ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนที่ ๓<br />

ขั้นตอนที่ ๔<br />

ผู้ร้องเดินทางมา<br />

ร้องเรียนที่จุดบริการ<br />

ประชาชน ๑๑๑๑<br />

ทําเนียบรัฐบาล<br />

เจ้าหน้าที่<br />

ให้การต้อนรับ /<br />

รับและอ่าน<br />

คําร้อง<br />

เจ้าหน้าที่เข้าสู่<br />

ระบบฯ เพื่อบันทึก<br />

ข้อมูลเรื่องร้องเรียน<br />

ในระบบฯ<br />

ตรวจสอบข้อมูล<br />

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ<br />

เรื่องร้องเรียน<br />

พิจารณาเรื่องและ<br />

หน่วยงานที่<br />

เกี่ยวข้อง<br />

ประสานส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง<br />

พิจารณาหรือรับทราบแล้วแต่กรณี<br />

ทางโทรศัพท์ /โทรสาร / Web Portal/<br />

e-mail และบันทึก<br />

การดําเนินการในระบบฯ<br />

แจ้งให้ผู้ร้องทราบการดําเนินการ<br />

เบื้องต้น และบันทึกการดําเนินการ<br />

ในระบบฯ<br />

๑.๕ ชั่วโมง<br />

๑.๕ ชั่วโมง<br />

๑ วันทําการ


แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการ เว็บไซต์ www.1111.go.th<br />

๑๖<br />

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ส่งเรื่องร้องเรียน<br />

ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีปกติ (ไม่ใช้เวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงมากและไม่ซับซ้อน)<br />

สรุป ๔ ขั้นตอน ๑ จุดบริการ รวมระยะเวลาประมาณ ๓.๐๙ วันทําการ / เรื่อง<br />

ขั้นตอนที่ ๑<br />

ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นตอนที่ ๔<br />

ผู้ร้องส่งเรื่องร้องเรียนทาง<br />

ระบบอิเล็กทรอนิกส์<br />

ผ่านเว็บไซต์/e-mail<br />

ส่วน / ฝ่าย<br />

- อ่านเรื่อง<br />

- คัดแยกประเภทของเรื่อง<br />

- มอบหมายงาน<br />

เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบฯ<br />

เพื่อรับงาน อ่าน /<br />

บันทึกข้อมูล<br />

เรื่องร้องเรียนและ<br />

บันทึกข้อมูลในระบบฯ<br />

ตรวจสอบข้อมูล<br />

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ<br />

เรื่องร้องเรียน<br />

พิจารณาเรื่องและ<br />

หน่วยงานที่<br />

เกี่ยวข้อง<br />

ส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาผ่าน<br />

หรือรับทราบแล้วแต่กรณี ผ่านทางโทรศัพท์ /<br />

โทรสาร / Web Portal /e-mail และบันทึก<br />

การดําเนินการในระบบฯ<br />

แจ้งให้ผู้ร้องที่ร้องเรียนทราบ<br />

การดําเนินการเบื้องต้นและบันทึก<br />

การดําเนินการในระบบฯ


แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการดําเนินการ ตู้ ปณ. ๑๑๑๑<br />

๑๗<br />

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่ส่งเรื่องร้องเรียนทางไปรษณีย์กรณีปกติ<br />

สรุป ๖ ขั้นตอน ๑ จุดบริการ รวมระยะเวลาประมาณ ๙ วันทําการ / ๑ เรื่อง<br />

ขั้นตอนที่ ๑<br />

ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนที่ ๓<br />

ขั้นตอนที่ ๔<br />

ขั้นตอนที่ ๕<br />

ขั้นตอนที่ ๖<br />

- ผู้ร้องส่งเรื่องร้องเรียนที่เป็น<br />

หนังสือรับจาก ตู้ ปณ. ๑๑๑๑<br />

นรม. รอง นรม. รมต.นร. อื่นๆ<br />

- ฝบท.คัดแยกเรื่องเข้าส่วน/ ฝ่าย<br />

ส่วน/ฝ่าย<br />

- รับงานจาก ฝบท.<br />

- คัดแยกประเภท<br />

เรื่อง<br />

- มอบหมายงาน<br />

จนท. ตรวจสอบข้อมูล<br />

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ<br />

เรื่องร้องเรียน<br />

จนท. บันทึก<br />

ข้อมูล<br />

เรื่องร้องเรียน<br />

ในระบบฯ<br />

- พิจารณาเรื่องร้องเรียน<br />

- ทําหนังสือตอบผู้ร้อง<br />

- เสนอผู้บังคับบัญชา<br />

ลงนาม<br />

กรณีที่เป็นหนังสือ<br />

- ส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทาง<br />

โทรศัพท์ / โทรสาร / Web Portal / e-mail<br />

และบันทึกการดําเนินการในระบบฯ<br />

- ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนาม<br />

-บันทึกการดําเนินการในระบบฯ<br />

แจ้งให้ผู้ร้องที่ร้องเรียน<br />

ทราบ<br />

การดําเนินการเบื้องต้นและ<br />

บันทึกการดําเนินการในระบบฯ<br />

๑ วันทําการ<br />

๑ วันทําการ<br />

- พิจารณาเรื่องร้องเรียน<br />

- ทําหนังสือส่งเรื่องให้<br />

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง<br />

- ทําหนังสือตอบผู้ร้อง<br />

- เสนอผู้บังคับบัญชาลงนาม<br />

- ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงนาม<br />

- บันทึกการดําเนินการ ในระบบฯ<br />

แจ้งให้ผู้ร้องทราบ<br />

การดําเนินการเบื้องต้น<br />

ส่งหน่วยงาน<br />

ที่เกี่ยวข้องพิจารณา<br />

๖ วันทําการการ<br />

๑ วันทําการการ


สรุปผลการดําเนินงานของศูนย์บริการประชาชนประจําปี<br />

งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕<br />

ภารกิจด้านการประสานมวลชนและองค์กรประชาชน<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี โดยศูนย์บริการประชาชน ได้ดําเนินการประสานมวลชนและ<br />

องค์กรประชาชนที่มายื่นข้อเรียกร้อง ดังกรณีตัวอย่าง ดังนี้<br />

เดือนมกราคม ๒๕๕๕<br />

๑๘<br />

วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ กลุ่มชมรมผู้เพาะเลี้ยงกุ้งคุณภาพจังหวัดราชบุรี จํานวนประมาณ ๔๐ คน ขอให้ช่วยเหลือเกษตรกร<br />

ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําในพื้นที่น้ําจืด<br />

วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ กลุ่มคนเลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์ จํานวน ๑๙ คน ขอให้พิจารณาการผ่อนผันจับกุม กลุ่มคนเลี้ยงช้าง<br />

และขอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนเลี้ยงช้าง<br />

วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕ กลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี จํานวน ๑๔ คน<br />

ขอให้มีการเร่งรัดแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาการสร้างเขื่อนสิรินธร


เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕<br />

๑๙<br />

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จํานวนประมาณ ๓๐ คน ขอให้เร่งรัดการจัด<br />

ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)<br />

วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทของประเทศไทย จํานวน ๑๕ คน ขอให้แก้ไขปัญหาการจําหน่าย<br />

สลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา<br />

เดือนมีนาคม ๒๕๕๕<br />

วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๕ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดและชมรมพัฒนาสับปะรดไทยกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลัง<br />

จังหวัดชลบุรี จํานวนประมาณ ๒๐๐ คน ขอให้แก้ไขปัญหาราคาสับปะรดและมันสําปะหลังตกต่ํา และเสนอให้มีการแต่งตั้ง<br />

คณะกรรมการแก้ไขปัญหา โดยมีตัวแทนเกษตรกรเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าว


๒๐<br />

วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เครือข่ายคนไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง จํานวนประมาณ ๓๐๐ คน ขอให้อนุญาตให้<br />

ตัวแทนเครือข่ายคนไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เข้าพบและประชุมหารือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย<br />

ที่ทํากิน การฟื้นฟูวัฒนธรรม และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและชาวกะเหรี่ยง<br />

เดือนเมษายน ๒๕๕๕<br />

วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (สภฟ.) จํานวนประมาณ ๒๐ คน ขอให้ปรับบัญชี<br />

โครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับอัตราเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างขั้นต่ํา<br />

เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ กลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างฝายราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และกลุ่มราษฎร<br />

ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ําพัฒนาชนบทห้วยก๊ากว๊าก จังหวัดร้อยเอ็ด จํานวนประมาณ ๔๐๐ คน ขอให้<br />

ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างฝายราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และอ่างเก็บน้ําพัฒนาชนบทห้วยก๊ากว๊าก<br />

จังหวัดร้อยเอ็ด


เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕<br />

๒๑<br />

เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จํานวนประมาณ ๗๐ คน ขอให้คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่ม<br />

แอลกอฮอล์แห่งชาติ พิจารณาร่างประกาศตามพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จํานวน ๓ ฉบับ คือ<br />

ร่างประกาศห้ามขายและห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในโรงงานอุตสาหกรรม ร่างประกาศห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่ม<br />

แอลกอฮอล์ในสถานที่รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ และร่างประกาศห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรถยนต์ทุกประเภท<br />

ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมทั้งท้ายรถกระบะ<br />

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ กลุ่มสมาพันธ์ชุมชนแห่งประเทศไทย จํานวนประมาณ ๓๐ คน ขอให้จัดสรรเงินงบประมาณ<br />

ให้แก่เกษตรกร ในการกู้ยืมเพื่อชําระหนี้และเป็นเงินทุนประกอบอาชีพ รวมทั้งพักชําระหนี้ให้กับเกษตรกร<br />

และพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมาพันธ์ชุมชนแห่งประเทศไทย<br />

เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) จํานวนประมาณ ๕๐ คน ขอให้พิจารณา<br />

ดําเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทํากินและที่อยู่อาศัยของขบวนการฯ โดยขอให้มีการเจรจาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม


เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕<br />

๒๒<br />

เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ กลุ่มราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัด<br />

นนทบุรี จํานวน ๑๓ คน ขอให้เร่งรัดการจ่ายเงินเยียวยาในอัตราที่เป็นธรรม<br />

เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ กลุ่มองค์กรแนวร่วมผู้ค้าสลากในราคาควบคุม จํานวนประมาณ ๓๐ คน ขอให้พิจารณาจัดสรร<br />

สลากกินแบ่งรัฐบาลเพิ่มให้กับผู้พิการที่ประกอบอาชีพจําหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล<br />

เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร จํานวนประมาณ ๓๐๐ คน ขอให้ผู้ว่าราชการ<br />

จังหวัดสมุทรสาครทบทวนกระบวนการพิจารณาดําเนินการทางปกครอง กรณีการจัดสรรเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการ<br />

ในกระทรวงสาธารณสุข


เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕<br />

๒๓<br />

เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เครือข่ายแก้ไขปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย : ไทยพลัดถิ่น เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคม<br />

และการเมือง และเครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม จํานวนประมาณ ๓๐ คน ขอให้ชะลอการพิจารณา<br />

ร่างกฎกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. ... เข้าสู่<br />

กระบวนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี<br />

เมื่อวันที่ ๑๖ และ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ชมรมผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์นําเข้า จํานวนประมาณ ๑๕๐ คน ขอคัดค้าน<br />

ร่างกฎกระทรวงคมนาคมว่าด้วยการงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้ว พ.ศ. ...<br />

เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ สมาพันธ์เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนแห่งประเทศไทย จํานวนประมาณ ๓๐๐ คน ขอให้พิจารณา<br />

ช่วยเหลือเพิ่มค่าครองชีพและความมั่นคงในอาชีพให้แก่ลูกจ้างชั่วคราว สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน<br />

กระทรวงศึกษาธิการ


เดือนสิงหาคม ๒๕๕๕<br />

๒๔<br />

เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ กลุ่มราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากน้ําเสียและสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณพื้นที่ตําบล<br />

หนองแหนและตําบลเกาะขนุน อําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวนประมาณ ๖๐ คน ขอให้พิจารณาแก้ไขปัญหา<br />

ความเดือดร้อนจากน้ําเสียและสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม<br />

เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ เครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย (คอท.) จํานวนประมาณ ๘๐ คน ได้ยื่นแถลงข่าว<br />

เรื่อง “กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาดจริงหรือ”<br />

เดือนกันยายน ๒๕๕๕<br />

เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๕ เครือข่ายเกษตรกรสวนยางพารา มะพร้าว ปาล์มน้ํามัน จํานวนประมาณ ๒๐๐ คน<br />

ขอให้แก้ไขปัญหายางพารา มะพร้าว และปาล์มน้ํามันมีราคาตกต่ํา


๒๕<br />

เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๕ กลุ่มราษฎรตําบลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวนประมาณ ๓๐๐ คน ได้ติดตาม<br />

ความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตําบลบางไทร อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอื่นๆ<br />

เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ จํานวนประมาณ ๕๐ คน ขอคัดค้านการนําเข้าเนื้อสัตว์ปีก (เนื้อและ<br />

เนื้อสุก) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน<br />

เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ ชมรมผู้ใช้แรงงาน การไฟฟ้านครหลวง จํานวนประมาณ ๓๐ คน ขอให้พิจารณาทบทวนการปรับ<br />

เพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft)


ภารกิจตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้รับมอบหมาย<br />

การดําเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล<br />

๑. การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย<br />

การดําเนินการในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดําเนินงานตามข้อเสนอแนะ<br />

ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.)<br />

ความเป็นมา นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดําเนินงานตามข้อเสนอแนะของ<br />

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและ<br />

ค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธานกรรมการ<br />

ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ) เป็นเลขานุการ และผู้อํานวยการศูนย์บริการประชาชน<br />

เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ปคอป. มีอํานาจหน้าที่พิจารณาข้อเสนอแนะของ คอป. ให้มีการดําเนินการเกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว<br />

และเสนอแนะมาตรการ กลไกและวิธีการส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟู อย่างเหมาะสมเป็นธรรม เป็นไปตามหลักนิติธรรม<br />

และความเสมอภาค เพื่อนําไปสู่ความปรองดองและความสมานฉันท์<br />

กรอบการดําเนินการ ใน ๔ ประเด็นหลัก คือ<br />

๑. การดําเนินงานเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่เหนือความขัดแย้ง<br />

ทางการเมือง<br />

๒. การดําเนินการเกี่ยวข้องกับมาตรการเยียวยาทางอาญาและการใช้หลักนิติธรรม/หลักยุติธรรมที่เหมาะสม<br />

๓. การดําเนินงานเกี่ยวกับมาตรการ ด้านการเยียวยาทางแพ่งและการฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น<br />

๔. การรณรงค์ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์<br />

ผลการดําเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕<br />

๑. ปคอป. ได้ประสานขอความร่วมมือกับสํานักงานอัยการสูงสุด ให้ตรวจสอบการแจ้งข้อหาและการดําเนินคดีกับผู้ถูก<br />

กล่าวหาและจําเลย และให้ผู้ต้องหาและจําเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง<br />

และครอบครัว<br />

๒. ได้มีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินตามหลักมนุษยธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง (พ.ศ. ๒๕๔๘ -<br />

๒๕๕๓) โดยตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของหลักฐาน เอกสารก่อนจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว<br />

๓. คณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ ได้อนุมัติกรณีประธาน ปคอป. ขออนุมัติในหลักการต่อ<br />

นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดําเนินโครงการจัดเวทีเสวนา หาทางออกประเทศไทย<br />

ในการนี้ ปคอป. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นหลายคณะ เพื่อให้การดําเนินการบรรลุตามเป้าหมายที่กําหนด<br />

๒๖


การประชุมคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดําเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ<br />

และค้นหาความจริงเพื่อการปองดองแห่งชาติ (ปคอป.)<br />

๒๗<br />

การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเยียวยาทางแพ่งและการฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น<br />

การประชุมคณะอนุกรรมการกํากับทิศทางการดําเนินการจัดเวทีประชาเสวนา<br />

๒. นโยบายป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง<br />

การดําเนินการรับเรื่องร้องเรียนจากตู้ไปรษณีย์ “ตู้รับเรื่องร้องเรียนการทุจริต Stop Corruption”<br />

เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในงานประกาศแนวทางการดําเนินการในระยะต่อไปของ<br />

รัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในการนี้ ศูนย์บริการประชาชน<br />

ได้เข้าร่วมดําเนินการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยการรับเรื่องจากตู้ไปรษณีย์ “ตู้รับเรื่องร้องเรียนการทุจริต Stop Corruption”<br />

เพื่อดําเนินการต่อไป


๒๘<br />

๓. การจัดทําข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ<br />

นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ส่วนราชการและจังหวัดจัดทําข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการ<br />

ปฏิบัติราชการหน่วยงานละ ๑ ข้อเสนอ โดยมอบหมายให้สํานักงาน ก.พ.ร. เป็นเจ้าภาพ และได้ลงนามในคําสั่งสํานัก<br />

นายกรัฐมนตรี ที่ ๑๔๖/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อ<br />

สร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ โดยมีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานที่ปรึกษา รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

(นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล) เป็นประธานกรรมการ และปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ)<br />

ร่วมเป็นกรรมการ โดยในส่วนของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ได้มีมติคัดเลือก กระบวนงานการจัดการเรื่องร้องทุกข์<br />

ของศูนย์บริการประชาชน ซึ่งศูนย์บริการประชาชนได้นํากระบวนงานการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ มาจัดทํา<br />

ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย<br />

๕ กิจกรรมหลัก ดังนี้<br />

๑. การอบรมหลักสูตรกฎหมายและระเบียบเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์ ประกอบด้วย ๗ หลักสูตร<br />

๑.๑ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๒<br />

๑.๒ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๘<br />

๑.๓ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐<br />

๑.๔ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕<br />

๑.๕ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙<br />

๑.๖ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙<br />

๑.๗ หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายป่าไม้และที่ดิน<br />

๒. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ เทคนิคการปฏิบัติงาน<br />

๓. การปรับปรุง “คู่มือการปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์”<br />

๔. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานภายในองค์กร<br />

๕. สร้างกลไกทางการบริหารเพื่อมอบหมายผู้รับผิดชอบตรวจสอบการดําเนินการเรื่องร้องทุกข์ทางระบบการจัดการ<br />

เรื่องราวร้องทุกข์


ภารกิจเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน<br />

๒๙<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ศูนย์บริการประชาชนได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ<br />

ประชาชน ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.๒๕๔๘ ดังนี้<br />

ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ จังหวัดนครพนม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่<br />

จากหน่วยงานในสังกัดราชการส่วนท้องถิ่น เครือข่ายธรรมาภิบาลจังหวัดและที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ในพื้นที่ ๓<br />

จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม รวมจํานวน ๒๔๐ คน<br />

ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่<br />

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตําบล ในพื้นที่ ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัด<br />

สุพรรณบุรี จังหวัดอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง เครือข่ายชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรีและธรรมาภิบาลจังหวัดสุพรรณบุรี<br />

รวมจํานวน ๒๐๐ คน


ภารกิจด้านคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ<br />

ศูนย์บริการประชาชนได้รับมอบหมายให้ดําเนินการในฐานะกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการต่างๆ<br />

ที่นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งขึ้น โดยมีตัวอย่างคณะกรรมการ ดังนี้<br />

๓๐<br />

คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของราษฎรกลุ่มคนเลี้ยงช้าง<br />

คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน ๔ ภาค<br />

การแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรและข้าราชการ


การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทํากิน<br />

๓๑<br />

คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)<br />

คณะกรรมการอํานวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า


การประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่<br />

๓๒<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ รัฐบาลได้จัดให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่จํานวน ๖ ครั้ง เพื่อขับเคลื่อน<br />

นโยบาย และลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่โดยตรง เพื่อนําปัญหาต่างๆ มากําหนดเป็นนโยบาย<br />

ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของประชาชน<br />

ในการนี้ ศูนย์บริการประชาชนได้ร่วมเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์และประสานงานกลุ่มเครือข่าย<br />

องค์กรประชาชน และประชาชนทั่วไป ที่มายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี โดยศูนย์บริการประชาชน<br />

ได้ตั้งจุดบริการประชาชนเพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ทั้งจากกลุ่มเครือข่ายองค์กรประชาชน และประชาชนทั่วไป<br />

ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๓ – ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ ณ จังหวัดเชียงใหม่<br />

ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๐ – ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ จังหวัดอุดรธานี<br />

ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๗ – ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ จังหวัดภูเก็ต<br />

ครั้งที่ ๔ วันที่ ๒๐ – ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ จังหวัดกาญจนบุรี


ครั้งที่ ๕ วันที่ ๑๘ – ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ จังหวัดชลบุรี<br />

๓๓<br />

ครั้งที่ ๖ วันที่ ๒๗ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ จังหวัดสุรินทร์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี


การดําเนินโครงการพัฒนาขีดสมรรถนะและศักยภาพ<br />

การบริหารจัดการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. พ ๒๕๕๕<br />

เมื่อวันที่ ๗ – ๙ กันยายน ๒๕๕๕ ศูนย์บริการประชาชนได้จัดอบรมสัมมนาโครงการพัฒนาขีดสมรรถนะและศักยภาพ<br />

การบริหารจัดการ ณ สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีกิจกรรม ดังนี้<br />

การปาฐกถาพิเศษ “มุมมองผู้บริหารกับการพัฒนาขีดสมรรถนะและศักยภาพการบริหารจัดการ<br />

หน่วยงาน สปน.”<br />

๓๔


ศึกษาดูงาน ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธ<br />

รินธร จังหวัดเพชรบุรี<br />

๓๕


๓๖<br />

การประชุมเชิงปฏิบัติการและระดมความคิดเห็นของบุคลากร ศบช. เรื่อง การกําหนดแนวทาง<br />

การพัฒนาขีดสมรรถนะและศักยภาพ<br />

ดสมรรถนะและศักยภาพการบริหารจัด การบริหารจัดการ


๓๗<br />

การประชุมเชิงปฏิบัติการและระดมความคิดเห็นของบุคลากร ศบช. เรื่อง การกําหนดแนวทางการ<br />

พัฒนาขีดสมรรถนะและศักยภาพการบริหารจัดการ<br />

การ


ศบช. เปิดบ้าน<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ. พ ๒๕๕๕ ได้มีส่วนราชการต่างๆ ให้ความสนใจมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดําเนินการเรื่องราว<br />

มาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการดําเนินการเรื่องราว<br />

ร้องทุกข์ ณ ศูนย์บริการประชาชน สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ดังนี้<br />

จเรทหารอากาศ<br />

๓๘


กระทรวงสาธารณสุข<br />

๓๙


สรุปผลการดําเนินการเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ประชาชนได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ ผ่านช่องทางการร้องทุกข์ภายใต้ชื่อ ๑๑๑๑<br />

๔ ช่องทาง ได้แก่ สายด่วนของรัฐบาล ๑๑๑๑ ตู้ ปณ. ๑๑๑๑ เว็บไซต์ www.1111.go.th และจุดบริการประชาชน ๑๑๑๑ จํานวนรวม<br />

๑๑๗,๑๖๒ ครั้ง รวมจํานวนเรื่อง ๗๙,๗๒๒ เรื่อง ซึ่งศูนย์บริการประชาชนได้ดําเนินการชี้แจงให้คําปรึกษา แนะนํา และ<br />

ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ โดยดําเนินการเรื่องร้องทุกข์ให้มีผลเป็นที่ยุติได้ร้อยละ ๙๖.๔๔<br />

ทั้งนี้ สรุปสถิติการร้องทุกข์ได้ ดังนี้<br />

สถิติการใช้บริการจําแนกตามช่องทางการร้องทุกข์ ๑๑๑๑ (๔ ช่องทาง)<br />

๔๐<br />

สถิติการใช้บริการจําแนกตามประเภทเรื่อง


สถิติการใช้บริการจําแนกตามประเด็นเรื่องที่มีการร้องทุกข์มากที่สุด ๑๐ ลําดับแรก<br />

๔๑<br />

ลําดับ<br />

ที่<br />

ประเภทเรื่อง จํานวนเรื่อง<br />

๑ สวัสดิการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย ๕,๖๐๘<br />

๒ ไฟฟ้า ๕,๑๙๖<br />

๓ เหตุเดือดร้อนรําคาญ ๕,๑๒๕<br />

๔ กล่าวโทษหรือร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ๓,๗๓๖<br />

๕ วิกฤตน้ํา (อุทกภัย+ภัยแล้ง) ๓,๖๙๖<br />

๖ กล่าวโทษหรือร้องเรียนข้าราชการตํารวจ ๒,๘๖๐<br />

๗ ยาเสพติด ๒,๘๐๓<br />

๘ ถนน ๒,๕๗๘<br />

๙ การบริการขนส่งทางบก ๒,๔๒๕<br />

๑๐ กล่าวโทษหรือร้องเรียนข้าราชการพลเรือน ๑,๙๔๘


จํานวนเรื่องร้องทุกข์จําแนกตามประเภทเรื่อง เรียงตามลําดับประเภทเรื่องหลักที่มีการร้องทุกข์มากที่สุด<br />

๔๒<br />

ลําดับ ประเภทเรื่องหลัก ประเภทเรื่องรอง จํานวน (เรื่อง) ร้อยละ<br />

ที่<br />

๑ สังคมและสวัสดิการ สาธารณูปโภค ๑๔,๔๗๓ ๑๘.๑๕<br />

(๑)<br />

สังคมเสื่อมโทรม ๘,๘๑๒ ๑๑.๐๕<br />

(๓)<br />

สวัสดิการสงเคราะห์ ๗,๗๖๙ ๙.๗๕<br />

การพนัน ๒,๒๙๖ ๒.๘๘<br />

ปัญหาแรงงาน ๑,๒๒๕ ๑.๕๔<br />

สาธารณสุข ๑,๐๒๕ ๑.๒๙<br />

จัดระเบียบสังคม ๑,๐๐๗ ๑.๒๖<br />

ปัญหาที่ดิน ๙๕๒ ๑.๑๙<br />

การศึกษา ๘๑๘ ๑.๐๓<br />

ปัญหาที่อยู่อาศัย ๕๓๐ ๐.๖๖<br />

สถานภาพของบุคคล ๔๔๘ ๐.๕๖<br />

ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ๓๑๙ ๐.๔๐<br />

ประกันสังคม ๒๔๗ ๐.๓๑<br />

สิทธิมนุษยชน ๒๒๔ ๐.๒๘<br />

หลักประกันสุขภาพ ๑๖๖ ๐.๒๑<br />

การกีฬา ๓๖ ๐.๐๕<br />

รวม ๔๐,๓๔๗ ๕๐.๖๑<br />

๒ การเมือง - การปกครอง กล่าวโทษหรือร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๑๑,๐๕๔ ๑๓.๘๖<br />

(๒)<br />

นโยบายของรัฐบาล ๗,๒๘๓ ๙.๑๔<br />

การใช้อํานาจของหน่วยงานของรัฐ ๒,๒๔๓ ๒.๘๑<br />

การเมือง ๗๔๑ ๐.๙๓<br />

ปัญหาความมั่นคง ๒๗๙ ๐.๓๕<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ ๘๔ ๐.๑๑<br />

รวม ๒๐,๘๙๙ ๒๖.๒๒<br />

๓ เศรษฐกิจ การเกษตร ๑,๙๑๐ ๒.๔๐<br />

ปัญหาหนี้สิน ๑,๒๙๔ ๑.๖๒<br />

รายได้ ๑,๐๖๖ ๑.๓๔<br />

การค้า ๙๘๗ ๑.๒๔<br />

การเงิน ๕๗๘ ๐.๗๒<br />

การลงทุน ๓๓๘ ๐.๔๒<br />

การคลัง ๓๒๕ ๐.๔๑<br />

ราคาพลังงาน ๒๕๔ ๐.๓๒<br />

อุตสาหกรรม ๑๒๐ ๐.๑๕<br />

รวม ๖,๘๗๒ ๘.๖๒


๔๓<br />

ลําดับ ประเภทเรื่องหลัก ประเภทเรื่องรอง จํานวน (เรื่อง) ร้อยละ<br />

ที่<br />

๔ ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาน้ําผิวดิน ๔,๐๕๑ ๕.๐๘<br />

และสิ่งแวดล้อม ปัญหาของเสีย ๖๕๗ ๐.๘๒<br />

ปัญหาในพื้นที่ป่า ๓๙๔ ๐.๔๙<br />

นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม<br />

๑๓๗ ๐.๑๗<br />

คุณภาพอากาศและเสียง ๑๑๗ ๐.๑๕<br />

สัตว์ป่าและพืชป่า ๑๑๑ ๐.๑๔<br />

ทรัพยากรธรณี ๙๒ ๐.๑๒<br />

คุณภาพน้ํา ๘๐ ๐.๑๐<br />

ปัญหาน้ําบาดาล ๓๘ ๐.๐๕<br />

ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ๑๔ ๐.๐๒<br />

รวม ๕,๖๙๑ ๗.๑๔<br />

๕ กฎหมาย การเสนอและตรากฎหมาย ๒,๙๔๕ ๓.๖๙<br />

การกระทําความผิดอาญา ๑,๑๒๕ ๑.๔๑<br />

การบังคับตามกฎหมาย ๖๖๒ ๐.๘๓<br />

การใช้สิทธิหรือข้อพิพาทระหว่างเอกชน ๓๙๖ ๐.๕๐<br />

รวม ๕,๑๒๘ ๖.๔๓<br />

รวมทั้งสิ้น ๗๙,๗๒๒ ๑๐๐.๐๐<br />

หมายเหตุ : (๑) (๒) (๓) หมายถึง ลําดับที่ที่มีจํานวนเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด ๓ ลําดับแรก<br />

จากตารางแสดงจํานวนเรื่องร้องทุกข์ข้างต้นพบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ประชาชนร้องทุกข์ในประเภทเรื่องต่างๆ<br />

รวมทั้งสิ้น ๗๙,๗๒๒ เรื่อง โดยร้องทุกข์ในประเภทเรื่องหลักด้านสังคมและสวัสดิการมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเมือง -<br />

การปกครอง และด้านเศรษฐกิจ ตามลําดับ<br />

สําหรับประเภทเรื่องรองที่ประชาชนร้องทุกข์มากที่สุด ได้แก่ สาธารณูปโภค รองลงมา คือ กล่าวโทษหรือร้องเรียน<br />

เจ้าหน้าที่ของรัฐ และสังคมเสื่อมโทรม ตามลําดับ<br />

ส่วนประเภทเรื่องย่อยที่ประชาชนร้องทุกข์มากที่สุด ได้แก่ เรื่อง ขอให้ซ่อมแซมไฟฟ้ากับขยายและติดตั้งปรับปรุง<br />

ระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า รองลงมา คือ การปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่และอํานวยความสะดวกในการให้บริการของเจ้าหน้าที่รัฐ<br />

และการแก้ไขปัญหาเหตุเดือดร้อนรําคาญจากเสียง/กลิ่นเหม็น ตามลําดับ


๔๔<br />

จํานวนเรื่องร้องทุกข์และผลการดําเนินการของหน่วยงาน (ไม่รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด)<br />

เรียงตามลําดับหน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด<br />

รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

ลําดับ<br />

หน่วยงาน<br />

ดําเนินการจนได้<br />

ที่<br />

จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

รอผลการพิจารณา<br />

(เรื่อง) จํานวน จํานวน<br />

ข้อยุติ<br />

ร้อยละ ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

จํานวน จํานวน<br />

ร้อยละ ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๑ กระทรวง ๑๙,๖๙๖ ๕๙.๐๙ ๑๕,๕๗๗ ๗๙.๐๙ ๔,๑๑๙ ๒๐.๙๑ ๓,๐๔๓ ๗๓.๘๘ ๑,๐๗๖ ๒๖.๑๒<br />

๑.๑ กระทรวงยุติธรรม ๒,๕๔๕ ๗.๖๓ ๒,๔๒๓ ๙๕.๒๑ ๑๒๐ ๔.๗๒ ๘๘ ๗๓.๓๓ ๓๒ ๒๖.๖๗<br />

๑.๒ สํานักนายกรัฐมนตรี ๒,๓๒๓ ๖.๙๗ ๒,๑๓๑ ๙๑.๗๓ ๑๙๒ ๘.๒๗ ๑๒๖ ๖๕.๖๓ ๖๖ ๓๔.๓๘<br />

๑.๓ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๑,๙๐๓ ๕.๗๑ ๑,๓๓๖ ๗๐.๒๐ ๕๖๗ ๒๙.๘๐ ๔๘๐ ๘๔.๖๖ ๘๗ ๑๕.๓๔<br />

๑.๔ กระทรวงอุตสาหกรรม ๑,๖๒๙ ๔.๘๙ ๑,๕๗๑ ๙๖.๔๔ ๕๘ ๓.๕๖ ๔๕ ๗๗.๕๙ ๑๓ ๒๒.๔๑<br />

๑.๕ กระทรวงมหาดไทย ๑,๕๗๑ ๔.๗๑ ๑,๐๕๓ ๖๗.๐๓ ๕๑๘ ๓๒.๙๗ ๔๓๒ ๘๓.๔๐ ๘๖ ๑๖.๖๐<br />

๑.๖ กระทรวงการคลัง ๑,๕๕๖ ๔.๖๗ ๑,๐๗๓ ๖๘.๙๖ ๔๘๓ ๓๑.๐๔ ๓๖๖ ๗๕.๗๘ ๑๑๗ ๒๔.๒๒<br />

๑.๗ กระทรวงคมนาคม ๑,๓๕๑ ๔.๐๕ ๑,๐๙๖ ๘๑.๑๓ ๒๕๕ ๑๘.๘๗ ๑๘๔ ๗๒.๑๖ ๗๑ ๒๗.๘๔<br />

๑.๘ กระทรวงสาธารณสุข ๑,๒๙๓ ๓.๘๘ ๑,๐๔๖ ๘๐.๙๐ ๒๔๗ ๑๙.๑๐ ๑๔๖ ๕๙.๑๑ ๑๐๑ ๔๐.๘๙<br />

๑.๙ กระทรวงศึกษาธิการ ๑,๑๐๘ ๓.๓๒ ๗๐๕ ๖๓.๖๓ ๔๐๓ ๓๖.๓๗ ๒๗๖ ๖๘.๔๙ ๑๒๗ ๓๑.๕๑<br />

๑.๑๐ กระทรวงพาณิชย์ ๙๕๙ ๒.๘๘ ๘๓๓ ๘๖.๘๖ ๑๒๖ ๑๓.๑๔ ๘๗ ๖๙.๐๕ ๓๙ ๓๐.๙๕<br />

๑.๑๑ กระทรวงแรงงาน ๘๐๘ ๒.๔๒ ๔๙๗ ๖๑.๕๑ ๓๑๑ ๓๘.๔๙ ๒๓๓ ๗๔.๙๒ ๗๘ ๒๕.๐๘<br />

๑.๑๒ กระทรวงการพัฒนาสังคม ๗๙๑ ๒.๓๗ ๓๗๙ ๔๗.๙๑ ๔๑๒ ๕๒.๐๙ ๒๖๑ ๖๓.๓๕ ๑๕๑ ๓๖.๖๕<br />

และความมั่นคงของมนุษย์<br />

๑.๑๓ กระทรวงพลังงาน ๗๘๐ ๒.๓๔ ๗๒๓ ๙๒.๖๙ ๕๗ ๗.๓๑ ๓๖ ๖๓.๑๖ ๒๑ ๓๖.๘๔<br />

๑.๑๔ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ๔๑๔ ๑.๒๔ ๒๓๒ ๕๖.๐๔ ๑๘๒ ๔๓.๙๖ ๑๔๘ ๘๑.๓๒ ๓๔ ๑๘.๖๘<br />

และสิ่งแวดล้อม<br />

๑.๑๕ กระทรวงกลาโหม ๒๔๓ ๐.๗๓ ๑๕๗ ๖๔.๖๑ ๘๖ ๓๕.๓๙ ๖๙ ๘๐.๒๓ ๑๗ ๑๙.๗๗<br />

๑.๑๖ กระทรวงเทคโนโลยี ๑๔๒ ๐.๔๓ ๑๑๘ ๘๓.๑๐ ๒๔ ๑๖.๙๐ ๑๖ ๖๖.๖๗ ๘ ๓๓.๓๓<br />

สารสนเทศและการสื่อสาร<br />

๑.๑๗ กระทรวงการต่างประเทศ ๑๒๑ ๐.๓๖ ๗๖ ๖๒.๘๑ ๔๕ ๓๗.๑๙ ๒๘ ๖๒.๒๒ ๑๗ ๓๗.๗๘<br />

๑.๑๘ กระทรวงวัฒนธรรม ๙๐ ๐.๒๗ ๗๕ ๘๓.๓๓ ๑๕ ๑๖.๖๗ ๑๐ ๖๖.๖๗ ๕ ๓๓.๓๓<br />

๑.๑๙ กระทรวงการท่องเที่ยว ๕๒ ๐.๑๖ ๓๗ ๗๑.๑๕ ๑๕ ๒๘.๘๕ ๙ ๖๐.๐๐ ๖ ๔๐.๐๐<br />

และกีฬา<br />

๑.๒๐ กระทรวงวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี<br />

๑๗ ๐.๐๕ ๑๔ ๘๒.๓๕ ๓ ๑๗.๖๕ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐


รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

จํานวน ร้อยละ เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

ลําดับ<br />

(เรื่อง)<br />

หน่วยงาน<br />

ดําเนินการจนได้<br />

ที่<br />

รอผลการพิจารณา<br />

จํานวน จํานวน<br />

ข้อยุติ<br />

ร้อยละ ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง) จํานวน จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๒ หน่วยงานอื่น ๘,๑๗๔ ๒๔.๕๒ ๖,๙๔๖ ๘๔.๙๘ ๑,๒๒๘ ๑๕.๐๒ ๘๖๘ ๗๐.๖๘ ๓๖๐ ๒๙.๓๒<br />

๒.๑ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ๗,๐๐๒ ๒๑.๐๑ ๖,๑๕๙ ๘๗.๙๖ ๘๔๓ ๑๒.๐๔ ๖๑๑ ๗๒.๔๘ ๒๓๒ ๒๗.๕๒<br />

๒.๒ สํานักงานคณะกรรมการ ๒๕๕ ๐.๗๗ ๒๒๑ ๘๖.๖๗ ๓๔ ๑๓.๓๓ ๒๑ ๖๑.๗๖ ๑๓ ๓๘.๒๔<br />

กิจการกระจายเสียง กิจการ<br />

โทรทัศน์และกิจการ<br />

โทรคมนาคมแห่งชาติ<br />

๒.๓ ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒๕๐ ๐.๗๕ ๑๗๔ ๖๙.๖๐ ๗๖ ๓๐.๔๐ ๕๓ ๖๙.๗๔ ๒๓ ๓๐.๒๖<br />

๒.๔ สํานักงานเลขาธิการสภา ๑๕๘ ๐.๔๗ ๑๕๕ ๙๘.๑๐ ๓ ๑.๙๐ ๐ ๐.๐๐ ๓ ๑๐๐.๐๐<br />

ผู้แทนราษฎร<br />

๒.๕ สํานักงานพระพุทธศาสนา ๑๔๙ ๐.๔๕ ๘๖ ๕๗.๗๒ ๖๓ ๔๒.๒๘ ๓๖ ๕๗.๑๔ ๒๗ ๔๒.๘๖<br />

แห่งชาติ<br />

๒.๖ สภาทนายความ ๕๔ ๐.๑๖๒ ๕ ๙.๒๖ ๔๙ ๙๐.๗๔ ๓๗ ๗๕.๕๑ ๑๒ ๒๔.๔๙<br />

๒.๗ สํานักงานคณะกรรมการ ๔๕ ๐.๑๓ ๑๔ ๓๑.๑๑ ๓๑ ๖๘.๘๙ ๑๖ ๕๑.๖๑ ๑๕ ๔๘.๓๙<br />

กํากับและส่งเสริมการ<br />

ประกอบธุรกิจประกันภัย<br />

๒.๘ สํานักงานกองทุนหมู่บ้าน ๓๘ ๐.๑๒ ๑๙ ๕๐.๐๐ ๑๙ ๕๐.๐๐ ๑๗ ๘๙.๔๗ ๒ ๑๐.๕๓<br />

และชุมชนเมืองแห่งชาติ<br />

๒.๙ สํานักงานกองทุนฟื้นฟูและ ๓๕ ๐.๑๑ ๔ ๑๑.๔๓ ๓๑ ๘๘.๕๗ ๒๒ ๗๐.๙๗ ๙ ๒๙.๐๓<br />

พัฒนาเกษตรกร<br />

๒.๑๐ สํานักงานคณะกรรมการ ๒๙ ๐.๐๙ ๑๔ ๔๘.๒๘ ๑๕ ๕๑.๗๒ ๔ ๒๖.๖๗ ๑๑ ๗๓.๓๓<br />

ป้องกันและปราบปราม<br />

ยาเสพติด<br />

๒.๑๑ สํานักงานอัยการสูงสุด ๒๒ ๐.๐๗ ๔ ๑๘.๑๘ ๑๘ ๘๑.๘๒ ๑๔ ๗๗.๗๘ ๔ ๒๒.๒๒<br />

๒.๑๒ สํานักงานคณะกรรมการ ๒๑ ๐.๐๖ ๑๘ ๘๕.๗๑ ๓ ๑๔.๒๙ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

การเลือกตั้ง<br />

๒.๑๓ สํานักงานป้องกันและ ๑๑ ๐.๐๓ ๑๐ ๙๐.๙๑ ๑ ๙.๐๙ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

ปราบปรามการฟอกเงิน<br />

๒.๑๔ สํานักงานคณะกรรมการ ๑๑ ๐.๐๓ ๘ ๗๒.๗๓ ๓ ๒๗.๒๗ ๒ ๖๖.๖๗ ๑ ๓๓.๓๓<br />

ป้องกันและปราบปราม<br />

การทุจริตแห่งชาติ<br />

๒.๑๕ สํานักงานคณะกรรมการ ๙ ๐.๐๓ ๙ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ<br />

๒.๑๖ สํานักพระราชวัง ๘ ๐.๐๒๕ ๕ ๖๒.๕๐ ๓ ๓๗.๕๐ ๒ ๖๖.๖๗ ๑ ๓๓.๓๓<br />

๒.๑๗ สํานักราชเลขาธิการ ๗ ๐.๐๒ ๖ ๘๕.๗๑ ๑ ๑๔.๒๙ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๑๘ ศาลปกครอง ๗ ๐.๐๒ ๕ ๗๑.๔๓ ๒ ๒๘.๕๗ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๑๙ สํานักงานศาลยุติธรรม ๗ ๐.๐๒ ๔ ๕๗.๑๔ ๓ ๔๒.๘๖ ๒ ๖๖.๖๗ ๑ ๓๓.๓๓<br />

๒.๒๐ ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียน<br />

ในประเทศ<br />

๖ ๐.๐๒ ๐ ๐.๐๐ ๖ ๑๐๐.๐๐ ๖ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๔๕


ลําดับ<br />

ที่<br />

หน่วยงาน<br />

๒.๒๑ สํานักงานคณะกรรมการ<br />

ป้องกันและปราบปราม<br />

การทุจริตในภาครัฐ<br />

รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

จํานวน ร้อยละ เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

(เรื่อง)<br />

ดําเนินการจนได้<br />

จํานวน<br />

ข้อยุติ<br />

รอผลการพิจารณา<br />

(เรื่อง)<br />

ร้อยละ<br />

จํานวน<br />

(เรื่อง)<br />

ร้อยละ<br />

จํานวน<br />

(เรื่อง)<br />

ร้อยละ<br />

จํานวน<br />

(เรื่อง)<br />

ร้อยละ<br />

๕ ๐.๐๑ ๒ ๔๐.๐๐ ๓ ๖๐.๐๐ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๒๒ แพทยสภา ๕ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๕ ๑๐๐.๐๐ ๒ ๔๐.๐๐ ๓ ๖๐.๐๐<br />

๒.๒๓ สํานักงานคณะกรรมการ ๕ ๐.๐๑ ๒ ๔๐.๐๐ ๓ ๖๐.๐๐ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

กํากับหลักทรัพย์และตลาด<br />

หลักทรัพย์<br />

๒.๒๔ สํานักงานผู้ตรวจการ<br />

แผ่นดิน<br />

๕ ๐.๐๑ ๕ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๒๕ สํานักงานกองทุนสนับสนุน<br />

การวิจัย<br />

๔ ๐.๐๑ ๒ ๕๐.๐๐ ๒ ๕๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๒๖ สํานักงานการตรวจเงิน<br />

แผ่นดิน<br />

๔ ๐.๐๑ ๒ ๕๐.๐๐ ๒ ๕๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๒๗ สํานักงานทรัพย์สิน<br />

ส่วนพระมหากษัตริย์<br />

๓ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๒๘ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ๓ ๐.๐๑ ๒ ๖๖.๖๗ ๑ ๓๓.๓๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๒๙ สํานักงานคณะกรรมการ ๓ ๐.๐๑ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

พิเศษเพื่อประสานงาน<br />

โครงการอันเนื่องมาจาก<br />

พระราชดําริ<br />

๒.๓๐ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภค<br />

ในกิจการโทรคมนาคม<br />

สํานักงานคณะกรรมการ<br />

กิจกรรมโทรคมนาคม<br />

แห่งชาติ<br />

๒.๓๑ สํานักงานกองทุนสนับสนุน<br />

การสร้างเสริมสุขภาพ<br />

๒.๓๒ สถาบันทดสอบทาง<br />

การศึกษาแห่งชาติ<br />

(องค์การมหาชน)<br />

๒ ๐.๐๑ ๑ ๕๐.๐๐ ๑ ๕๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐<br />

๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๓๓ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว<br />

(องค์การมหาชน)<br />

๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๓๔ ทันตแพทยสภา ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐<br />

๒.๓๕ พรรคประชาธิปัตย์ ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๓๖ ราชบัณฑิตยสถาน ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๓๗ สํานักงานคณะกรรมการ<br />

วิจัยแห่งชาติ<br />

๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๓๘ คณะกรรมการกิจการ ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

กระจายเสียงและกิจการ<br />

โทรทัศน์แห่งชาติ<br />

๒.๓๙ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒.๔๐ สํานักงานคณะกรรมการ<br />

สุขภาพแห่งชาติ<br />

๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐<br />

๒.๔๑ ศาลรัฐธรรมนูญ ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๔๖


ลําดับ<br />

ที่<br />

หน่วยงาน<br />

รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

จํานวน ร้อยละ เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

(เรื่อง)<br />

ดําเนินการจนได้<br />

รอผลการพิจารณา<br />

จํานวน จํานวน<br />

ข้อยุติ<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง) จํานวน จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๕,๔๖๔ ๑๖.๓๙ ๓,๔๘๙ ๖๓.๘๕ ๑,๙๗๕ ๓๖.๑๕ ๑,๕๑๐ ๗๖.๔๖ ๔๖๕ ๒๓.๕๔<br />

๓ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน<br />

ในกํากับกระทรวง<br />

๓.๑ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๑,๖๗๑ ๕.๐๑ ๑,๑๗๔ ๗๐.๒๖ ๔๙๗ ๒๙.๗๔ ๓๘๔ ๗๗.๒๖ ๑๑๓ ๒๒.๗๔<br />

ในกํากับกระทรวงมหาดไทย<br />

๓.๑.๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ๗๑๙ ๒.๑๖ ๔๖๒ ๖๔.๒๖ ๒๕๗ ๓๕.๗๔ ๑๙๕ ๗๕.๘๘ ๖๒ ๒๔.๑๒<br />

๓.๑.๒ การประปาส่วนภูมิภาค ๔๐๐ ๑.๒๐ ๒๘๙ ๗๒.๒๕ ๑๑๑ ๒๗.๗๕ ๘๘ ๗๙.๒๘ ๒๓ ๒๐.๗๒<br />

๓.๑.๓ การไฟฟ้านครหลวง ๓๘๕ ๑.๑๕ ๓๐๖ ๗๙.๔๘ ๗๙ ๒๐.๕๒ ๖๔ ๘๑.๐๑ ๑๕ ๑๘.๙๙<br />

๓.๑.๔ การประปานครหลวง ๑๖๗ ๐.๕๐ ๑๑๗ ๗๐.๐๖ ๕๐ ๒๙.๙๔ ๓๗ ๗๔.๐๐ ๑๓ ๒๖.๐๐<br />

๓.๒ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๑,๕๔๕ ๔.๖๓ ๖๐๕ ๓๙.๑๖ ๙๔๐ ๖๐.๘๔ ๗๔๕ ๗๙.๒๖ ๑๙๕ ๒๐.๗๔<br />

ในกํากับกระทรวงการคลัง<br />

๓.๒.๑ ธนาคารออมสิน ๔๐๒ ๑.๒๑ ๑๔๕ ๓๖.๐๗ ๒๕๗ ๖๓.๙๓ ๒๐๑ ๗๘.๒๑ ๕๖ ๒๑.๗๙<br />

๓.๒.๒ ธนาคารเพื่อการเกษตร ๓๓๐ ๐.๙๙ ๑๔๖ ๔๔.๒๔ ๑๘๔ ๕๕.๗๖ ๑๖๔ ๘๙.๑๓ ๒๐ ๑๐.๘๗<br />

และสหกรณ์การเกษตร<br />

๓.๒.๓ สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ๒๔๑ ๐.๗๒ ๑๕๒ ๖๓.๐๗ ๘๙ ๓๖.๙๓ ๗๖ ๘๕.๓๙ ๑๓ ๑๔.๖๑<br />

๓.๒.๔ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ๑๖๒ ๐.๔๙ ๕๗ ๓๕.๑๙ ๑๐๕ ๖๔.๘๑ ๙๓ ๘๘.๕๗ ๑๒ ๑๑.๔๓<br />

๓.๒.๕ ศูนย์อํานวยการปฏิบัติการ ๑๕๓ ๐.๔๖ ๖ ๓.๙๒ ๑๔๗ ๙๖.๐๘ ๗๓ ๔๙.๖๖ ๗๔ ๕๐.๓๔<br />

แก้ไขปัญหาหนี้สิน<br />

ภาคประชาชน<br />

๓.๒.๖ ธนาคาร กรุงไทย จํากัด ๙๑ ๐.๒๗ ๓๓ ๓๖.๒๖ ๕๘ ๖๓.๗๔ ๕๒ ๘๙.๖๖ ๖ ๑๐.๓๔<br />

(มหาชน)<br />

๓.๒.๗ กองทุนเงินให้กู้ยืม ๗๐ ๐.๒๑ ๓๒ ๔๕.๗๑ ๓๘ ๕๔.๒๙ ๓๓ ๘๖.๘๔ ๕ ๑๓.๑๖<br />

เพื่อการศึกษา<br />

๓.๒.๘ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ๕๔ ๐.๑๖ ๑๑ ๒๐.๓๗ ๔๓ ๗๙.๖๓ ๓๗ ๘๖.๐๕ ๖ ๑๓.๙๕<br />

ขนาดกลางและขนาดย่อม<br />

แห่งประเทศไทย<br />

๓.๒.๙ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ๒๘ ๐.๐๘ ๑๖ ๕๗.๑๔ ๑๒ ๔๒.๘๖ ๑๐ ๘๓.๓๓ ๒ ๑๖.๖๗<br />

๓.๒.๑๐ กองทุนบําเหน็จบํานาญ ๕ ๐.๐๑ ๓ ๖๐.๐๐ ๒ ๔๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

ข้าราชการ<br />

๓.๒.๑๑ โรงงานยาสูบ ๔ ๐.๐๑ ๓ ๗๕.๐๐ ๑ ๒๕.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๒.๑๒ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ๒ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๕๐.๐๐ ๑ ๕๐.๐๐<br />

กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด<br />

๓.๒.๑๓ บริษัท ธนารักษ์พัฒนา ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

สินทรัพย์ จํากัด<br />

๓.๒.๑๔ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

สุขุมวิท จํากัด<br />

๓.๒.๑๕ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๔๗


ลําดับ<br />

ที่<br />

หน่วยงาน<br />

รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

จํานวน ร้อยละ เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

(เรื่อง)<br />

ดําเนินการจนได้<br />

รอผลการพิจารณา<br />

จํานวน จํานวน<br />

ข้อยุติ<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง) จํานวน จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๑,๑๒๒ ๓.๓๗ ๙๙๘ ๘๘.๙๕ ๑๒๔ ๑๑.๐๕ ๘๗ ๗๐.๑๖ ๓๗ ๒๙.๘๔<br />

๓.๓ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน<br />

ในกํากับกระทรวงคมนาคม<br />

๓.๓.๑ องค์การขนส่งมวลชน ๗๑๑ ๒.๑๓ ๖๕๗ ๙๒.๔๑ ๕๔ ๗.๕๙ ๔๗ ๘๗.๐๔ ๗ ๑๒.๙๖<br />

กรุงเทพ<br />

๓.๓.๒ การรถไฟแห่งประเทศไทย ๑๕๗ ๐.๔๗ ๑๒๔ ๗๘.๙๘ ๓๓ ๒๑.๐๒ ๑๘ ๕๔.๕๕ ๑๕ ๔๕.๔๕<br />

๓.๓.๓ บริษัท ขนส่ง จํากัด ๑๒๔ ๐.๓๗ ๑๑๒ ๙๐.๓๒ ๑๒ ๙.๖๘ ๗ ๕๘.๓๓ ๕ ๔๑.๖๗<br />

๓.๓.๔ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ๖๑ ๐.๑๘ ๕๖ ๙๑.๘๐ ๕ ๘.๒๐ ๒ ๔๐.๐๐ ๓ ๖๐.๐๐<br />

๓.๓.๕ บริษัท ท่าอากาศยานไทย ๒๗ ๐.๐๘ ๑๙ ๗๐.๓๗ ๘ ๒๙.๖๓ ๕ ๖๒.๕๐ ๓ ๓๗.๕๐<br />

จํากัด (มหาชน)<br />

๓.๓.๖ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ๒๕ ๐.๐๗ ๒๑ ๘๔.๐๐ ๔ ๑๖.๐๐ ๒ ๕๐.๐๐ ๒ ๕๐.๐๐<br />

แห่งประเทศไทย<br />

๓.๓.๗ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ๑๔ ๐.๐๔ ๗ ๕๐.๐๐ ๗ ๕๐.๐๐ ๕ ๗๑.๔๓ ๒ ๒๘.๕๗<br />

๓.๓.๘ บริษัท การบินไทย จํากัด ๒ ๐.๐๑ ๑ ๕๐.๐๐ ๑ ๕๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

(มหาชน)<br />

๓.๓.๙ บริษัท ระบบขนส่งมวลชน ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

กรุงเทพ จํากัด (มหาชน)<br />

๓.๔ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๖๖๓ ๑.๙๙ ๔๖๔ ๖๙.๙๘ ๑๙๙ ๓๐.๐๒ ๑๗๙ ๘๙.๙๕ ๒๐ ๑๐.๐๕<br />

ในกํากับกระทรวงเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศและการสื่อสาร<br />

๓.๔.๑ บริษัท ทีโอที จํากัด ๔๓๑ ๑.๒๙ ๒๗๗ ๖๔.๒๗ ๑๕๔ ๓๕.๗๓ ๑๔๑ ๙๑.๕๖ ๑๓ ๘.๔๔<br />

(มหาชน)<br />

๓.๔.๒ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ๒๑๙ ๐.๖๖ ๑๗๘ ๘๑.๒๘ ๔๑ ๑๘.๗๒ ๓๕ ๘๕.๓๗ ๖ ๑๔.๖๓<br />

๓.๔.๓ บริษัท กสท โทรคมนาคม ๑๓ ๐.๐๔ ๙ ๖๙.๒๓ ๔ ๓๐.๗๗ ๓ ๗๕.๐๐ ๑ ๒๕.๐๐<br />

จํากัด (มหาชน)<br />

๓.๕ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน<br />

ในกํากับกระทรวง<br />

การพัฒนาสังคมและ<br />

ความมั่นคงของมนุษย์<br />

๑๖๕ ๐.๔๙ ๘๖ ๕๒.๑๒ ๗๙ ๔๗.๘๘ ๓๗ ๔๖.๘๔ ๔๒ ๕๓.๑๖<br />

๓.๕.๑ การเคหะแห่งชาติ ๑๖๓ ๐.๔๘ ๘๖ ๕๒.๗๖ ๗๗ ๔๗.๒๔ ๓๕ ๔๕.๔๕ ๔๒ ๕๔.๕๕<br />

๓.๕.๒ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ๒ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

(องค์การมหาชน)<br />

๓.๖ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๑๓๔ ๐.๔๐ ๘๒ ๖๑.๑๙ ๕๒ ๓๘.๘๑ ๒๔ ๔๖.๑๕ ๒๘ ๕๓.๘๕<br />

ในกํากับกระทรวงสาธารณสุข<br />

๓.๖.๑ สํานักงานหลักประกัน ๑๓๑ ๐.๓๙ ๗๙ ๖๐.๓๑ ๕๒ ๓๙.๖๙ ๒๔ ๔๖.๑๕ ๒๘ ๕๓.๘๕<br />

สุขภาพแห่งชาติ<br />

๓.๖.๒ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน<br />

แห่งชาติ<br />

๓ ๐.๐๑ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๔๘


๔๙<br />

รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

จํานวน ร้อยละ เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

ลําดับ<br />

(เรื่อง)<br />

หน่วยงาน<br />

ดําเนินการจนได้<br />

ที่<br />

รอผลการพิจารณา<br />

จํานวน จํานวน<br />

ข้อยุติ<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง) จํานวน จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๓.๗ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๗๘ ๐.๒๓ ๕๑ ๖๕.๓๘ ๒๗ ๓๔.๖๒ ๙ ๓๓.๓๓ ๑๘ ๖๖.๖๗<br />

ในกํากับกระทรวงศึกษาธิการ<br />

๓.๗.๑ สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา ๕๙ ๐.๑๘ ๔๒ ๗๑.๑๙ ๑๗ ๒๘.๘๑ ๔ ๒๓.๕๓ ๑๓ ๗๖.๔๗<br />

๓.๗.๒ สํานักงานคณะกรรมการ ๗ ๐.๐๒ ๔ ๕๗.๑๔ ๓ ๔๒.๘๖ ๑ ๓๓.๓๓ ๒ ๖๖.๖๗<br />

ส่งเสริมสวัสดิการและ<br />

สวัสดิภาพครู และบุคลากร<br />

ทางการศึกษา<br />

๓.๗.๓ สํานักงานรับรองมาตรฐาน ๓ ๐.๐๑ ๒ ๖๖.๖๗ ๑ ๓๓.๓๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐<br />

และประเมินคุณภาพ<br />

การศึกษา (องค์การมหาชน)<br />

๓.๗.๔ มหาวิทยาลัยมหิดล ๒ ๐.๐๑ ๑ ๕๐.๐๐ ๑ ๕๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐<br />

๓.๗.๕ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๗.๖ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๗.๗ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐<br />

๓.๗.๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

นครสวรรค์<br />

๓.๗.๙ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๗.๑๐ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๗.๑๑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๘ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๒๘ ๐.๐๘ ๑๐ ๓๕.๗๑ ๑๘ ๖๔.๒๙ ๑๖ ๘๘.๘๙ ๒ ๑๑.๑๑<br />

ในกํากับกระทรวงกลาโหม<br />

๓.๘.๑ องค์การสงเคราะห์ทหาร ๒๘ ๐.๐๘ ๑๐ ๓๕.๗๑ ๑๘ ๖๔.๒๙ ๑๖ ๘๘.๘๙ ๒ ๑๑.๑๑<br />

ผ่านศึก ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์<br />

๓.๙ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๒๑ ๐.๐๖ ๖ ๒๘.๕๗ ๑๕ ๗๑.๔๓ ๘ ๕๓.๓๓ ๗ ๔๖.๖๗<br />

ในกํากับกระทรวงพลังงาน<br />

๓.๙.๑ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ๑๐ ๐.๐๓ ๓ ๓๐.๐๐ ๗ ๗๐.๐๐ ๗ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

แห่งประเทศไทย<br />

๓.๙.๒ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ๘ ๐.๐๒ ๓ ๓๗.๕๐ ๕ ๖๒.๕๐ ๑ ๒๐.๐๐ ๔ ๘๐.๐๐<br />

๓.๙.๓ สํานักงานคณะกรรมการ ๓ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๓ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๓ ๑๐๐.๐๐<br />

กํากับกิจการพลังงาน<br />

๓.๑๐ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๑๖ ๐.๐๕ ๘ ๕๐.๐๐ ๘ ๕๐.๐๐ ๖ ๗๕.๐๐ ๒ ๒๕.๐๐<br />

ในกํากับกระทรวง<br />

การท่องเที่ยวและกีฬา<br />

๓.๑๐.๑ การกีฬาแห่งประเทศไทย ๑๑ ๐.๐๓ ๗ ๖๓.๖๔ ๔ ๓๖.๓๖ ๒ ๕๐.๐๐ ๒ ๕๐.๐๐<br />

๓.๑๐.๒ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๕ ๐.๐๑ ๑ ๒๐.๐๐ ๔ ๘๐.๐๐ ๔ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐


๕๐<br />

ลําดับ<br />

ที่<br />

หน่วยงาน<br />

รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

จํานวน ร้อยละ เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

(เรื่อง)<br />

ดําเนินการจนได้<br />

รอผลการพิจารณา<br />

จํานวน จํานวน<br />

ข้อยุติ<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง) จํานวน จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๑๐ ๐.๐๓ ๓ ๓๐.๐๐ ๗ ๗๐.๐๐ ๗ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๑๑ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน<br />

ในกํากับกระทรวงอุตสาหกรรม<br />

๓.๑๑.๑ การนิคมอุตสาหกรรม ๘ ๐.๐๒ ๑ ๑๒.๕๐ ๗ ๘๗.๕๐ ๗ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

แห่งประเทศไทย<br />

๓.๑๑.๒ สํานักงานคณะกรรมการ ๒ ๐.๐๑ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

ส่งเสริมการลงทุน<br />

๓.๑๒ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๗ ๐.๐๒ ๑ ๑๔.๒๙ ๖ ๘๕.๗๑ ๕ ๘๓.๓๓ ๑ ๑๖.๖๗<br />

ในกํากับกระทรวงเกษตร<br />

และสหกรณ์<br />

๓.๑๒.๑ สํานักงานกองทุนสงเคราะห์ ๔ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๔ ๑๐๐.๐๐ ๔ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

การทําสวนยาง<br />

๓.๑๒.๒ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ๒ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๕๐.๐๐ ๑ ๕๐.๐๐<br />

๓.๑๒.๓ องค์การสวนยาง ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๑๓ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๒ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

ในกํากับกระทรวงพาณิชย์<br />

๓.๑๓.๑ องค์การคลังสินค้า ๒ ๐.๐๑ ๐ ๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๓.๑๔ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

ในกํากับสํานักนายกรัฐมนตรี<br />

๓.๑๔.๑ บริษัท อสมท จํากัด ๑ ๐.๐๐๓ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

(มหาชน)<br />

๓.๑๕ รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงาน ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

ในกํากับกระทรวง<br />

ทรัพยากรธรรมชาติ<br />

และสิ่งแวดล้อม<br />

๓.๑๕.๑ องค์การสวนสัตว์ ๑ ๐.๐๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๑ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

รวมทั้งสิ้น ๓๓,๓๓๔ ๑๐๐.๐๐ ๒๖,๐๑๒ ๗๘.๐๓ ๗,๓๒๒ ๒๑.๙๗ ๕,๔๒๑ ๗๔.๐๔ ๑,๙๐๑ ๒๕.๙๖<br />

จากตารางแสดงจํานวนเรื่องร้องทุกข์ข้างต้นพบว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ หน่วยงานต่างๆ ได้รับการประสานงาน<br />

เรื่องร้องทุกข์รวมทั้งสิ้น ๓๓,๓๓๔ เรื่อง โดยเรียงตามลําดับจากหน่วยงานที่ได้รับการประสานงานมากที่สุด ได้แก่ สํานักงาน<br />

ตํารวจแห่งชาติ รองลงมา คือ กระทรวงยุติธรรม สํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม<br />

ตามลําดับ<br />

สําหรับรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์เรียงตามลําดับจากหน่วยงานที่ได้รับการประสานงานมากที่สุด<br />

ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รองลงมา คือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และ<br />

การประปาส่วนภูมิภาค ตามลําดับ


ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด ๕ ลําดับแรก<br />

(แสดงเฉพาะประเด็นเรื่องที่มีการร้องทุกข์มาก)<br />

๕๑<br />

ลําดับ<br />

ที่<br />

กระทรวง/หน่วยงาน ประเด็นเรื่อง<br />

๑ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ยาเสพติด และบ่อนการพนัน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- การแจ้งเบาะแสการลักลอบจําหน่ายและเสพยาเสพติดประเภทยาบ้า ยาไอซ์ กัญชา ใบกระท่อม และยาอี<br />

- การแจ้งเบาะแสการลักลอบเปิดบ่อนการพนัน/เล่นการพนันประเภท พนันทายผลฟุตบอล ไพ่ ไฮโล หวยจับยี่กี หวยปิงปอง<br />

ตู้ม้า และตู้สล๊อต<br />

เหตุเดือดร้อนรําคาญ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาเหตุเดือดร้อนรําคาญจากเสียง/กลิ่นเหม็นจากบ้านเรือน ร้านอาหาร สถานประกอบการ โรงงาน<br />

และกลุ่มวัยรุ่นขับขี่รถจักรยานยนต์<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาการจอดรถ การวางจําหน่ายสินค้ากีดขวางทางเท้า และการจราจร<br />

กล่าวโทษหรือร้องเรียนข้าราชการตํารวจ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ปรับปรุงการอํานวยความสะดวก<br />

ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจ การตั้งด่านตรวจ และการปฏิบัติตามอํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตํารวจ<br />

๒ กระทรวงยุติธรรม การเสนอและตรากฎหมาย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒<br />

๓ สํานักนายกรัฐมนตรี การเสนอและตรากฎหมาย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบัญญัติกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒<br />

๔ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

ผลกระทบจากนโยบายและโครงการของรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนและ<br />

ขยายเวลาการเข้าร่วมโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี<br />

พืชผลและราคาสินค้า โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้พิจารณาปรับเพิ่มราคาพืชผลทางการเกษตรประเภท มันสําปะหลัง ยางพารา สับปะรด มังคุด มะพร้าว ลําไย<br />

หอมหัวแดง และข้าวโพด<br />

- แสดงความคิดเห็นและขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการนําเข้าและลดภาษีนําเข้าเส้นไหม<br />

วิกฤตน้ํา โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอความช่วยเหลือในการจัดทําฝนเทียมให้แก่ประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง<br />

- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย<br />

ผลกระทบจากนโยบายและโครงการของรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี<br />

- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์โครงการรับจํานําข้าวเปลือก โดยเห็นควรลดหย่อนหลักเกณฑ์<br />

ให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่การเกษตร หากแต่มีการชําระภาษีบํารุงท้องที่ (ภ.บ.ท.๕) ให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้<br />

- ขอให้พิจารณาจ่ายเงินชดเชยเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย<br />

๕ กระทรวงอุตสาหกรรม ผลกระทบจากนโยบายและโครงการของรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการแสดงความคิดเห็น กรณีได้รับผลกระทบหากยกเลิก<br />

การใช้แร่ใยหินไครโซไทล์


๕๒<br />

ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด ๕ ลําดับแรก<br />

(แสดงเฉพาะประเด็นเรื่องที่มีการร้องทุกข์มาก)<br />

ลําดับ<br />

ที่<br />

รัฐวิสาหกิจ ประเด็นเรื่อง<br />

๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไฟฟ้า โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า และติดตั้งระบบจําหน่ายกระแสไฟฟ้า<br />

- ขอให้ปรับปรุงระบบการจ่ายไฟฟ้า ซ่อมแซมเสา/สายไฟฟ้า และแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง<br />

- ขอให้ตรวจสอบการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าสูงเกินจริง<br />

๒ องค์การขนส่งมวลชน<br />

กรุงเทพ<br />

๓ บริษัท ทีโอที จํากัด<br />

(มหาชน)<br />

๔ ธนาคารออมสิน<br />

๕ การประปาส่วนภูมิภาค<br />

กล่าวโทษหรือร้องเรียนพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ปรับปรุงการอํานวยความสะดวก<br />

ในการให้บริการของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค<br />

การบริการขนส่งทางบก โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เพิ่มจํานวนและขยายเส้นทางเดินรถโดยสารประจําทาง<br />

- ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารของรถโดยสารประจําทาง<br />

กล่าวโทษหรือร้องเรียนพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ปรับปรุงการอํานวยความสะดวก<br />

ในการให้บริการของพนักงานเก็บเงิน/พนักงานขับรถโดยสาร<br />

โทรศัพท์ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องกรณี ดังนี้<br />

- ชมเชยการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน หมายเลขสายด่วน ๑๑๑๑<br />

- ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ และแก้ไขปัญหาสัญญาณโทรศัพท์<br />

- ขอให้ปรับปรุงระบบการให้บริการสอบถามเลขหมายโทรศัพท์ ๑๑๓๓ ๑๑๗๗ และ ๑๑๐๐<br />

- ขอให้ตรวจสอบการคิดอัตราค่าเช่าสัญญาณรักษาคู่สายและค่าบํารุงรักษา<br />

อินเตอร์เน็ต โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ปรับปรุงแก้ไข และติดตั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตของ<br />

บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน)<br />

หนี้สินนอกระบบ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอความช่วยเหลือนําหนี้สินนอกระบบเข้าสู่ระบบของธนาคารออมสิน<br />

- ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินค้างชําระ และขยายเวลาผ่อนผันชําระหนี้<br />

- ขอความช่วยเหลือจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ํา<br />

การขออนุมัติสินเชื่อ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอความอนุเคราะห์อนุมัติสินเชื่อ เพื่อนําไปเป็นทุนประกอบอาชีพ<br />

และชําระหนี้นอกระบบ<br />

น้ําประปา โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาน้ําประปาไม่ไหล ไหลอ่อน และคุณภาพน้ําประปา<br />

- ขอให้ตรวจสอบการเรียกเก็บค่าน้ําประปาสูงเกินจริง<br />

กล่าวโทษหรือร้องเรียนพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ปรับปรุงการอํานวยความสะดวก<br />

ในการให้บริการของเจ้าหน้าที่


จํานวนเรื่องร้องทุกข์และผลการดําเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และจังหวัด<br />

โดยเรียงตามลําดับจาก อปท. และจังหวัดที ่ได้รับการประสานงานเรื ่องร้องทุกข์มากที่สุด<br />

๕๓<br />

รวม<br />

วัตถุประสงค์ของการประสานงาน<br />

เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

ลําดับที่ อปท./จังหวัด จํานวน ร้อยละ<br />

ดําเนินการจนได้ข้อยุติ รอผลการพิจารณา<br />

(เรื่อง)<br />

จํานวน จํานวน<br />

ร้อยละ ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง) จํานวน<br />

จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๑ กรุงเทพมหานคร ๕,๑๒๑ ๒๕.๘๑ ๓,๐๙๔ ๖๐.๔๒ ๒,๐๒๗ ๓๙.๕๘ ๑,๖๖๔ ๘๒.๐๙ ๓๖๓ ๑๗.๙๑<br />

๒ จังหวัดปทุมธานี ๑,๗๓๖ ๘.๗๕ ๙๖๖ ๕๕.๖๕ ๗๗๐ ๔๔.๓๕ ๖๗๖ ๘๗.๗๙ ๙๔ ๑๒.๒๑<br />

๓ จังหวัดนนทบุรี ๑,๕๔๗ ๗.๘๐ ๗๙๒ ๕๑.๒๐ ๗๕๕ ๔๘.๘๐ ๖๖๓ ๘๗.๘๑ ๙๒ ๑๒.๑๙<br />

๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๙๘๒ ๔.๙๕ ๕๕๕ ๕๖.๕๒ ๔๒๗ ๔๓.๔๘ ๓๙๑ ๙๑.๕๗ ๓๖ ๘.๔๓<br />

๕ จังหวัดนครสวรรค์ ๕๖๒ ๒.๘๓ ๓๙๘ ๗๐.๘๒ ๑๖๔ ๒๙.๑๘ ๑๓๙ ๘๔.๗๖ ๒๕ ๑๕.๒๔<br />

๖ จังหวัดสมุทรปราการ ๔๐๘ ๒.๐๖ ๓๓๕ ๘๒.๑๑ ๗๓ ๑๗.๘๙ ๖๔ ๘๗.๖๗ ๙ ๑๒.๓๓<br />

๗ จังหวัดนครปฐม ๓๙๓ ๑.๙๘ ๑๙๑ ๔๘.๖๐ ๒๐๒ ๕๑.๔๐ ๑๘๗ ๙๒.๕๗ ๑๕ ๗.๔๓<br />

๘ จังหวัดสงขลา ๓๖๙ ๑.๘๖ ๓๐๔ ๘๒.๓๘ ๖๕ ๑๗.๖๒ ๖๓ ๙๖.๙๒ ๒ ๓.๐๘<br />

๙ จังหวัดนครราชสีมา ๓๖๘ ๑.๘๕ ๒๔๓ ๖๖.๐๓ ๑๒๕ ๓๓.๙๗ ๑๑๐ ๘๘.๐๐ ๑๕ ๑๒.๐๐<br />

๑๐ จังหวัดเชียงใหม่ ๓๒๗ ๑.๖๕ ๑๙๖ ๕๙.๙๔ ๑๓๑ ๔๐.๐๖ ๑๑๒ ๘๕.๕๐ ๑๙ ๑๔.๕๐<br />

๑๑ จังหวัดชลบุรี ๓๑๑ ๑.๕๗ ๒๔๕ ๗๘.๗๘ ๖๖ ๒๑.๒๒ ๖๓ ๙๕.๔๕ ๓ ๔.๕๕<br />

๑๒ จังหวัดขอนแก่น ๒๗๓ ๑.๓๘ ๑๓๖ ๔๙.๘๒ ๑๓๗ ๕๐.๑๘ ๑๓๑ ๙๕.๖๒ ๖ ๔.๓๘<br />

๑๓ จังหวัดนครศรีธรรมราช ๒๖๗ ๑.๓๕ ๑๕๐ ๕๖.๑๘ ๑๑๗ ๔๓.๘๒ ๘๓ ๗๐.๙๔ ๓๔ ๒๙.๐๖<br />

๑๔ จังหวัดร้อยเอ็ด ๒๖๐ ๑.๓๑ ๑๑๒ ๔๓.๐๘ ๑๔๘ ๕๖.๙๒ ๑๓๗ ๙๒.๕๗ ๑๑ ๗.๔๓<br />

๑๕ จังหวัดลพบุรี ๒๕๑ ๑.๒๖ ๑๑๑ ๔๔.๒๒ ๑๔๐ ๕๕.๗๘ ๑๓๗ ๙๗.๘๖ ๓ ๒.๑๔<br />

๑๖ จังหวัดสุรินทร์ ๒๔๕ ๑.๒๓ ๑๑๐ ๔๔.๙๐ ๑๓๕ ๕๕.๑๐ ๑๒๑ ๘๙.๖๓ ๑๔ ๑๐.๓๗<br />

๑๗ จังหวัดพิจิตร ๒๓๔ ๑.๑๘ ๑๖๐ ๖๘.๓๘ ๗๔ ๓๑.๖๒ ๖๙ ๙๓.๒๔ ๕ ๖.๗๖<br />

๑๘ จังหวัดพิษณุโลก ๒๒๘ ๑.๑๕ ๑๕๗ ๖๘.๘๖ ๗๑ ๓๑.๑๔ ๖๑ ๘๕.๙๒ ๑๐ ๑๔.๐๘<br />

๑๙ จังหวัดอุบลราชธานี ๒๒๒ ๑.๑๒ ๑๓๒ ๕๙.๔๖ ๙๐ ๔๐.๕๔ ๗๘ ๘๖.๖๗ ๑๒ ๑๓.๓๓<br />

๒๐ จังหวัดสมุทรสาคร ๒๐๓ ๑.๐๒ ๑๕๒ ๗๔.๘๘ ๕๑ ๒๕.๑๒ ๔๕ ๘๘.๒๔ ๖ ๑๑.๗๖<br />

๒๑ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑๙๙ ๑.๐๐ ๑๓๗ ๖๘.๘๔ ๖๒ ๓๑.๑๖ ๕๘ ๙๓.๕๕ ๔ ๖.๔๕<br />

๒๒ จังหวัดสระบุรี ๑๙๖ ๐.๙๙ ๑๔๑ ๗๑.๙๔ ๕๕ ๒๘.๐๖ ๕๑ ๙๒.๗๓ ๔ ๗.๒๗<br />

๒๓ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๑๘๕ ๐.๙๓ ๑๓๐ ๗๐.๒๗ ๕๕ ๒๙.๗๓ ๕๕ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๒๔ จังหวัดอุดรธานี ๑๘๑ ๐.๙๑ ๑๐๔ ๕๗.๔๖ ๗๗ ๔๒.๕๔ ๖๗ ๘๗.๐๑ ๑๐ ๑๒.๙๙<br />

๒๕ จังหวัดสุพรรณบุรี ๑๘๐ ๐.๙๑ ๑๐๐ ๕๕.๕๖ ๘๐ ๔๔.๔๔ ๗๕ ๙๓.๗๕ ๕ ๖.๒๕<br />

๒๖ จังหวัดศรีสะเกษ ๑๗๖ ๐.๘๙ ๑๐๙ ๖๑.๙๓ ๖๗ ๓๘.๐๗ ๕๙ ๘๘.๐๖ ๘ ๑๑.๙๔<br />

๒๗ จังหวัดฉะเชิงเทรา ๑๗๓ ๐.๘๗ ๑๑๕ ๖๖.๔๗ ๕๘ ๓๓.๕๓ ๕๓ ๙๑.๓๘ ๕ ๘.๖๒<br />

๒๘ จังหวัดบุรีรัมย์ ๑๗๒ ๐.๘๗ ๙๘ ๕๖.๙๘ ๗๔ ๔๓.๐๒ ๖๙ ๙๓.๒๔ ๕ ๖.๗๖<br />

๒๙ จังหวัดกาญจนบุรี ๑๖๕ ๐.๘๓ ๑๐๑ ๖๑.๒๑ ๖๔ ๓๘.๗๙ ๖๓ ๙๘.๔๔ ๑ ๑.๕๖<br />

๓๐ จังหวัดเชียงราย ๑๔๐ ๐.๗๐ ๙๗ ๖๙.๒๙ ๔๓ ๓๐.๗๑ ๔๑ ๙๕.๓๕ ๒ ๔.๖๕<br />

๓๑ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๑๓๙ ๐.๗๐ ๑๐๖ ๗๖.๒๖ ๓๓ ๒๓.๗๔ ๓๒ ๙๖.๙๗ ๑ ๓.๐๓<br />

๓๒ จังหวัดชัยภูมิ ๑๓๙ ๐.๗๐ ๙๔ ๖๗.๖๓ ๔๕ ๓๒.๓๗ ๔๐ ๘๘.๘๙ ๕ ๑๑.๑๑<br />

๓๓ จังหวัดสุโขทัย ๑๓๘ ๐.๗๐ ๑๐๕ ๗๖.๐๙ ๓๓ ๒๓.๙๑ ๓๒ ๙๖.๙๗ ๑ ๓.๐๓<br />

๓๔ จังหวัดมหาสารคาม ๑๓๓ ๐.๖๗ ๖๐ ๔๕.๑๑ ๗๓ ๕๔.๘๙ ๖๒ ๘๔.๙๓ ๑๑ ๑๕.๐๗<br />

๓๕ จังหวัดปราจีนบุรี ๑๓๓ ๐.๖๗ ๙๔ ๗๐.๖๘ ๓๙ ๒๙.๓๒ ๓๗ ๙๔.๘๗ ๒ ๕.๑๓<br />

๓๖ จังหวัดชัยนาท ๑๓๑ ๐.๖๖ ๕๗ ๔๓.๕๑ ๗๔ ๕๖.๔๙ ๖๐ ๘๑.๐๘ ๑๔ ๑๘.๙๒<br />

๓๗ จังหวัดลําปาง ๑๓๐ ๐.๖๕ ๘๙ ๖๘.๔๖ ๔๑ ๓๑.๕๔ ๓๘ ๙๒.๖๘ ๓ ๗.๓๒<br />

๓๘ จังหวัดกําแพงเพชร ๑๒๘ ๐.๖๔ ๙๖ ๗๕.๐๐ ๓๒ ๒๕.๐๐ ๒๙ ๙๐.๖๓ ๓ ๙.๓๘<br />

๓๙ จังหวัดราชบุรี ๑๒๖ ๐.๖๓ ๘๘ ๖๙.๘๔ ๓๘ ๓๐.๑๖ ๓๕ ๙๒.๑๑ ๓ ๗.๘๙<br />

๔๐ จังหวัดสิงห์บุรี ๑๒๔ ๐.๖๒ ๖๕ ๕๒.๔๒ ๕๙ ๔๗.๕๘ ๕๖ ๙๔.๙๒ ๓ ๕.๐๘<br />

๔๑ จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑๒๑ ๐.๖๑ ๗๒ ๕๙.๕๐ ๔๙ ๔๐.๕๐ ๔๕ ๙๑.๘๔ ๔ ๘.๑๖


รวม<br />

เพื่อทราบ เพื่อพิจารณา<br />

ลําดับ<br />

อปท./จังหวัด<br />

ที่<br />

จํานวน ร้อยละ<br />

ดําเนินการจนได้ข้อยุติ รอผลการพิจารณา<br />

(เรื่อง)<br />

จํานวน<br />

จํานวน<br />

ร้อยละ ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

จํานวน<br />

จํานวน<br />

ร้อยละ<br />

ร้อยละ<br />

(เรื่อง)<br />

(เรื่อง)<br />

๔๒ จังหวัดสกลนคร ๑๒๑ ๐.๖๑ ๗๙ ๖๕.๒๙ ๔๒ ๓๔.๗๑ ๓๖ ๘๕.๗๑ ๖ ๑๔.๒๙<br />

๔๓ จังหวัดอุตรดิตถ์ ๑๑๖ ๐.๕๘ ๘๒ ๗๐.๖๙ ๓๔ ๒๙.๓๑ ๓๓ ๙๗.๐๖ ๑ ๒.๙๔<br />

๔๔ จังหวัดอ่างทอง ๑๑๐ ๐.๕๕ ๖๖ ๖๐.๐๐ ๔๔ ๔๐.๐๐ ๔๒ ๙๕.๔๕ ๒ ๔.๕๕<br />

๔๕ จังหวัดระยอง ๙๗ ๐.๔๙ ๖๒ ๖๓.๙๒ ๓๕ ๓๖.๐๘ ๓๔ ๙๗.๑๔ ๑ ๒.๘๖<br />

๔๖ จังหวัดภูเก็ต ๙๕ ๐.๔๘ ๗๓ ๗๖.๘๔ ๒๒ ๒๓.๑๖ ๒๑ ๙๕.๔๕ ๑ ๔.๕๕<br />

๔๗ จังหวัดกระบี่ ๙๒ ๐.๔๖ ๕๙ ๖๔.๑๓ ๓๓ ๓๕.๘๗ ๓๑ ๙๓.๙๔ ๒ ๖.๐๖<br />

๔๘ จังหวัดอุทัยธานี ๘๘ ๐.๔๔ ๖๑ ๖๙.๓๒ ๒๗ ๓๐.๖๘ ๒๗ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๔๙ จังหวัดนครพนม ๘๓ ๐.๔๒ ๕๙ ๗๑.๐๘ ๒๔ ๒๘.๙๒ ๒๒ ๙๑.๖๗ ๒ ๘.๓๓<br />

๕๐ จังหวัดชุมพร ๘๓ ๐.๔๒ ๖๘ ๘๑.๙๓ ๑๕ ๑๘.๐๗ ๑๕ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๕๑ จังหวัดสระแก้ว ๘๐ ๐.๔๐ ๔๕ ๕๖.๒๕ ๓๕ ๔๓.๗๕ ๓๕ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๕๒ จังหวัดนครนายก ๗๙ ๐.๔๐ ๕๔ ๖๘.๓๕ ๒๕ ๓๑.๖๕ ๒๕ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๕๓ จังหวัดเพชรบุรี ๗๔ ๐.๓๗ ๔๕ ๖๐.๘๑ ๒๙ ๓๙.๑๙ ๒๘ ๙๖.๕๕ ๑ ๓.๔๕<br />

๕๔ จังหวัดจันทบุรี ๗๓ ๐.๓๗ ๔๖ ๖๓.๐๑ ๒๗ ๓๖.๙๙ ๒๕ ๙๒.๕๙ ๒ ๗.๔๑<br />

๕๕ จังหวัดเลย ๗๓ ๐.๓๗ ๔๓ ๕๘.๙๐ ๓๐ ๔๑.๑๐ ๒๙ ๙๖.๖๗ ๑ ๓.๓๓<br />

๕๖ จังหวัดตรัง ๗๒ ๐.๓๖ ๕๕ ๗๖.๓๙ ๑๗ ๒๓.๖๑ ๑๕ ๘๘.๒๔ ๒ ๑๑.๗๖<br />

๕๗ จังหวัดพัทลุง ๗๑ ๐.๓๖ ๓๙ ๕๔.๙๓ ๓๒ ๔๕.๐๗ ๓๒ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๕๘ จังหวัดพังงา ๖๗ ๐.๓๔ ๔๒ ๖๒.๖๙ ๒๕ ๓๗.๓๑ ๒๒ ๘๘.๐๐ ๓ ๑๒.๐๐<br />

๕๙ จังหวัดยโสธร ๖๗ ๐.๓๔ ๔๐ ๕๙.๗๐ ๒๗ ๔๐.๓๐ ๒๖ ๙๖.๓๐ ๑ ๓.๗๐<br />

๖๐ จังหวัดตาก ๖๕ ๐.๓๓ ๓๕ ๕๓.๘๕ ๓๐ ๔๖.๑๕ ๒๖ ๘๖.๖๗ ๔ ๑๓.๓๓<br />

๖๑ จังหวัดมุกดาหาร ๖๔ ๐.๓๒ ๓๐ ๔๖.๘๘ ๓๔ ๕๓.๑๓ ๓๓ ๙๗.๐๖ ๑ ๒.๙๔<br />

๖๒ จังหวัดหนองบัวลําภู ๖๓ ๐.๓๒ ๔๗ ๗๔.๖๐ ๑๖ ๒๕.๔๐ ๑๕ ๙๓.๗๕ ๑ ๖.๒๕<br />

๖๓ จังหวัดนราธิวาส ๕๘ ๐.๒๙ ๓๗ ๖๓.๗๙ ๒๑ ๓๖.๒๑ ๑๙ ๙๐.๔๘ ๒ ๙.๕๒<br />

๖๔ จังหวัดอํานาจเจริญ ๕๗ ๐.๒๙ ๔๒ ๗๓.๖๘ ๑๕ ๒๖.๓๒ ๑๔ ๙๓.๓๓ ๑ ๖.๖๗<br />

๖๕ จังหวัดพะเยา ๕๗ ๐.๒๙ ๓๐ ๕๒.๖๓ ๒๗ ๔๗.๓๗ ๒๖ ๙๖.๓๐ ๑ ๓.๗๐<br />

๖๖ จังหวัดแพร่ ๕๒ ๐.๒๖ ๓๑ ๕๙.๖๒ ๒๑ ๔๐.๓๘ ๒๐ ๙๕.๒๔ ๑ ๔.๗๖<br />

๖๗ จังหวัดลําพูน ๕๒ ๐.๒๖ ๒๔ ๔๖.๑๕ ๒๘ ๕๓.๘๕ ๒๖ ๙๒.๘๖ ๒ ๗.๑๔<br />

๖๘ จังหวัดน่าน ๕๐ ๐.๒๕ ๒๘ ๕๖.๐๐ ๒๒ ๔๔.๐๐ ๒๑ ๙๕.๔๕ ๑ ๔.๕๕<br />

๖๙ จังหวัดหนองคาย ๔๐ ๐.๒๐ ๑๓ ๓๒.๕๐ ๒๗ ๖๗.๕๐ ๒๖ ๙๖.๓๐ ๑ ๓.๗๐<br />

๗๐ จังหวัดสตูล ๓๙ ๐.๒๐ ๒๓ ๕๘.๙๗ ๑๖ ๔๑.๐๓ ๑๖ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๗๑ จังหวัดสมุทรสงคราม ๓๗ ๐.๑๙ ๓๐ ๘๑.๐๘ ๗ ๑๘.๙๒ ๖ ๘๕.๗๑ ๑ ๑๔.๒๙<br />

๗๒ จังหวัดยะลา ๓๖ ๐.๑๘ ๒๐ ๕๕.๕๖ ๑๖ ๔๔.๔๔ ๑๔ ๘๗.๕๐ ๒ ๑๒.๕๐<br />

๗๓ จังหวัดระนอง ๓๑ ๐.๑๖ ๑๗ ๕๔.๘๔ ๑๔ ๔๕.๑๖ ๑๔ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๗๔ จังหวัดปัตตานี ๓๐ ๐.๑๕ ๑๖ ๕๓.๓๓ ๑๔ ๔๖.๖๗ ๑๔ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

๗๕ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๒๘ ๐.๑๔ ๙ ๓๒.๑๔ ๑๙ ๖๗.๘๖ ๑๖ ๘๔.๒๑ ๓ ๑๕.๗๙<br />

๗๖ จังหวัดตราด ๒๓ ๐.๑๒ ๑๔ ๖๐.๘๗ ๙ ๓๙.๑๓ ๗ ๗๗.๗๘ ๒ ๒๒.๒๒<br />

๗๗ จังหวัดบึงกาฬ ๕ ๐.๐๓ ๐ ๐.๐๐ ๕ ๑๐๐.๐๐ ๕ ๑๐๐.๐๐ ๐ ๐.๐๐<br />

รวมทั้งสิ้น ๑๙,๘๔๔ ๑๐๐.๐๐ ๑๒,๐๖๑ ๖๐.๗๘ ๗,๗๘๓ ๓๙.๒๒ ๖,๘๖๗ ๘๘.๒๓ ๙๑๖ ๑๑.๗๗<br />

จากตารางแสดงจํานวนเรื่องร้องทุกข์ข้างต้นพบว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น<br />

และจังหวัดต่างๆ ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์รวมทั้งสิ้น ๑๙,๘๔๔ เรื่อง โดยเรียงตามลําดับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น<br />

และจังหวัดที่ได้รับการประสานงานมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร รองลงมาคือ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี จังหวัด<br />

พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดนครสวรรค์ ตามลําดับ<br />

๕๔


ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัดที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์มากที่สุด<br />

๕ ลําดับแรก (แสดงเฉพาะประเด็นเรื่องที่มีการร้องทุกข์มาก)<br />

๕๕<br />

ลําดับ<br />

ที่<br />

อปท./จังหวัด ประเด็นเรื่อง<br />

๑ กรุงเทพมหานคร<br />

๒ ปทุมธานี<br />

๓ นนทบุรี<br />

สวัสดิการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี<br />

- ขอให้เร่งจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย กรณีซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน<br />

จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท<br />

- ขอให้เร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ๕,๐๐๐ บาท กรณีรายชื่อตกหล่น<br />

- ขอความอนุเคราะห์ขยายเวลายื่นหลักฐานการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย และกรณีเงินซ่อมแซม<br />

ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน<br />

เหตุเดือดร้อนรําคาญ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากเสียง กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง และควันไฟจากสถานประกอบการ สิ่งปลูกสร้าง โรงงาน<br />

สถานบันเทิง ร้านค้า บ้านเรือน รถบรรทุกดิน สุนัขกับแมวจรจัด และการเผาขยะ<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาการวางจําหน่ายสินค้า การติดตั้งป้ายโฆษณาบนบาทวิถี และการจอดรถกีดขวางการจราจร<br />

- ขอความช่วยเหลือในการกําจัดวัชพืช ขุดลอกคูคลอง ท่อระบายน้ํา เพื่อแก้ไขและป้องกันน้ําท่วม<br />

ถนน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมสัญญาณไฟกับป้ายสัญลักษณ์จราจร ไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง<br />

บาทวิถี การก่อสร้างและซ่อมแซมถนน และสะพานลอยคนเดินข้าม<br />

สวัสดิการสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย กรณีเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน จ่ายตามจริง<br />

แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท<br />

- ขอให้เร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ๕,๐๐๐ บาท กรณีรายชื่อตกหล่น<br />

- ขอความอนุเคราะห์ขยายเวลาการยื่นหลักฐานการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย และกรณีเงินซ่อมแซม<br />

ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน<br />

- ขอความอนุเคราะห์เครื่องอุปโภคบริโภค ถุงยังชีพ ยา และเรือ<br />

ถนน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมสัญญาณไฟจราจร ศาลาที่พักผู้โดยสาร ถนน สะพานข้ามคลอง สะพานกลับรถ สะพานลอย<br />

คนเดินข้าม และบาทวิถี<br />

เหตุเดือดร้อนรําคาญ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากเสียง กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง และควันไฟจากสถานประกอบการ โรงงาน ร้านค้า<br />

บ้านเรือน รถบรรทุกดิน สุนัขจรจัด อู่ซ่อมรถยนต์ และการเผาขยะ<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาการวางวัสดุก่อสร้าง การวางจําหน่ายสินค้าบนบาทวิถี การจอดรถ และจัดเก็บขยะมูลฝอย<br />

กับกระสอบทรายกีดขวางการจราจร<br />

- ขอความช่วยเหลือในการกําจัดวัชพืช ขุดลอกคูคลอง ท่อระบายน้ํา และซ่อมแซมท่อ/ฝาท่อ/ประตูระบายน้ํา<br />

เพื่อแก้ไขและป้องกันน้ําท่วม<br />

สวัสดิการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เร่งการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย กรณีเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน จ่ายตามจริง<br />

แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท<br />

- ขอให้เร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ๕,๐๐๐ บาท กรณีรายชื่อตกหล่น<br />

- ขอให้ขยายระยะเวลาเปิดรับลงทะเบียนการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และกรณีเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและ<br />

ทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน<br />

- ขอความอนุเคราะห์เครื่องอุปโภคบริโภค ถุงยังชีพ ยา กระสอบทราย และเรือ<br />

- ขอให้เร่งระบายน้ําท่วมขัง ขุดลอกท่อระบายน้ํา คูคลอง กําจัดวัชพืช เพื่อแก้ไขปัญหาน้ําท่วม และน้ําเน่าเสีย<br />

เหตุเดือดร้อนรําคาญ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากเสียง กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง และควันไฟจากสถานประกอบการ โรงงาน ร้านค้า<br />

บ้านเรือน รถบรรทุกดิน สุนัขจรจัด และการเผาขยะ<br />

- ขอให้แก้ไขปัญหาการติดตั้งป้ายโฆษณา การวางจําหน่ายสินค้าบนบาทวิถี และการจอดรถกีดขวางการจราจร<br />

ผลกระทบจากนโยบายและโครงการของรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เร่งพิจารณาเงินสนับสนุนโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี<br />

- ขอให้ปรับปรุงการอํานวยความสะดวกในการให้บริการของเจ้าหน้าที่เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล


๕๖<br />

ลําดับ<br />

ที่<br />

๔ พระนครศรีอยุธยา<br />

๕ นครสวรรค์<br />

อปท./จังหวัด ประเด็นเรื่อง<br />

สวัสดิการสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เร่งการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย กรณีเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน จ่ายตามจริง<br />

แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท<br />

- ขอให้เร่งจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ๕,๐๐๐ บาท กรณีรายชื่อตกหล่น<br />

- ขอให้ขยายระยะเวลาเปิดรับลงทะเบียนการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และกรณีเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและ<br />

ทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน<br />

- ขอความอนุเคราะห์เครื่องอุปโภคบริโภค ถุงยังชีพ ยา กระสอบทราย และเรือ<br />

ผลกระทบจากนโยบายและโครงการของรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เร่งพิจารณาจ่ายเงินโครงการรับจํานําข้าวเปลือกนาปี และนาปรัง<br />

- ขอให้ปรับปรุงการอํานวยความสะดวกในการให้บริการของเจ้าหน้าที่แจกคูปอง และสถานที่รับคูปองส่วนลด โครงการ<br />

สินค้าเบอร์ ๕ เยียวยาผู้ประสบอุทกภัย<br />

ถนน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมถนน สะพานข้ามแม่น้ํา และก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้าม<br />

- ขอให้เร่งรื้อถอนคันดินกั้นน้ําที่กีดขวางการจราจรออกจากทางสัญจร<br />

สวัสดิการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เร่งการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยกรณีเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหายบางส่วน จ่ายตามจริง<br />

แต่ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท<br />

- ขอให้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย กรณีพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย<br />

ผลกระทบจากนโยบายและโครงการของรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ดังนี้<br />

- ขอให้เร่งพิจารณาดําเนินการจ่ายเงินโครงการรับจํานําข้าวเปลือกนาปี และนาปรัง<br />

- ขอให้ตรวจสอบการดําเนินการของลานรับจํานํามันสําปะหลัง<br />

ถนน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องทุกข์กรณี ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซมก่อสร้างถนน และสะพานข้ามแม่น้ํา

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!