15.09.2016 Views

lakmuang 293

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง<br />

วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่<br />

โครงการฝนหลวง<br />

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

www.<strong>lakmuang</strong>online.com


อาศิรวาท ๑๒ สิงหามหาราชินี<br />

ธ ทรงเป็น มิ่งขวัญ รังสรรค์ชาติ เกื้อกูลราษฎร์ บำรุงไทย ให้ไพศาล<br />

ทรงนิยาม สยามรัฐ ชัชวาล สุขสราญ ทุกทิศา นภาลัย<br />

กลาโหม ประโคมชัย ในทั่วหล้า เชิญเทวา พรประพรม สมสมัย<br />

นิรมิต ฤทธาฤกษ์ อันเกริกไกร น้อมเทิดไท้ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ<br />

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ<br />

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ<br />

ในสังกัดกระทรวงกลาโหม


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์<br />

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล<br />

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์<br />

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์<br />

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา<br />

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร<br />

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร<br />

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์<br />

พล.อ.อู้ด เบื้องบน<br />

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ<br />

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล<br />

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ<br />

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท<br />

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์<br />

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์<br />

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก<br />

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์<br />

ที่ปรึกษา<br />

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล<br />

พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์<br />

พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ<br />

พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ร.น.<br />

พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ<br />

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล<br />

พล.อ.นพดล ฟักอังกูร<br />

พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์<br />

พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม<br />

พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ<br />

พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล<br />

พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี<br />

พล.ท.ดำรงศักดิ์ วรรณกลาง<br />

พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร<br />

พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน<br />

พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ<br />

พล.ท.เดชา บุญญปาล<br />

พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์<br />

พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน<br />

พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์<br />

พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ<br />

พล.ต.สราวุฒิ รัชตะนาวิน<br />

ผู้อำนวยการ<br />

พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์<br />

รองผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส<br />

พ.อ.ยุทธนินทร์ บุนนาค<br />

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ<br />

กองจัดการ<br />

ผู้จัดการ<br />

น.อ.ธวัชชัย รักประยูร<br />

ประจำกองจัดการ<br />

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ<br />

พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม<br />

พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์<br />

เหรัญญิก<br />

พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์<br />

ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

ร.ท.เวช บุญหล้า<br />

ฝ่ายกฎหมาย<br />

น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ<br />

พิสูจน์อักษร<br />

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำรง<br />

กองบรรณาธิการ<br />

บรรณาธิการ<br />

น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.<br />

รองบรรณาธิการ<br />

พ.อ.ทวี สุดจิตร์<br />

พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์<br />

ผู้ช่วยบรรณาธิการ<br />

พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช<br />

ประจำกองบรรณาธิการ<br />

น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ<br />

น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.<br />

พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม<br />

พ.ต.หญิง สิริณี ศรประทุม<br />

พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร<br />

ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ<br />

ร.ท.หญิง พัชรี ชาญชัยพิชิต<br />

ร.ต.จิรวัฒน์ ถนอมธรรม<br />

จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง<br />

จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง<br />

น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น.<br />

พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง<br />

น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น.<br />

พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต<br />

ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.<br />

ร.ต.ศุภกิจ ภาวิไล<br />

ร.ท.วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน<br />

ร.ต.หญิง กันยารัตน์ พุกพัก<br />

จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค<br />

ส.อ.ธีร์นริศวร์ ขอพึ่งธรรม


บทบรรณาธิการ<br />

วันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม เป็นอีกวันสำคัญของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะ ในวโรกาสมหามงคล<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา สมเด็จพระบรม<br />

โอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระปณิธานที่จะจัดกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ เพื่อ<br />

เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม<br />

ราชินีนาถ และเป็นการแสดงความสามัคคีร่วมกันของประชาชนชาวไทย ภายใต้ชื่อ “ Bike for mom<br />

ปั่นเพื่อแม่” ซึ่งกำหนดจัดกิจกรรม ในวันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น.<br />

เป็นต้นไป และกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมประวัติศาสตร์จัดพร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศ<br />

โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ นำขบวนปั่นจักรยาน ด้วยพระองค์เอง<br />

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีหลายกรณีที่เป็นกระแสกวนใจการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล<br />

อาทิ กรณีคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EU) ประกาศให้ใบเหลืองประเทศไทย ในเรื่องการทำประมง<br />

ผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing กรณีกลุ่มนักศึกษานำโดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มดาวดิน ออกมา<br />

เรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย รวมถึงกรณีการส่งกลับอุยกูร์ ๑๐๙ คน ไปยังสาธารณรัฐประชาชน<br />

จีน โดยเฉพาะในกรณีการเรียกร้องประชาธิปไตยและอุยกูร์ ถูกเชื่อมโยงให้น้ำหนักไปในเรื่องเสรีภาพ<br />

และสิทธิมนุษยชน และมีกระแสกดดันจากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศตะวันตกที่ไม่เห็นด้วยกับ<br />

การดำเนินการของรัฐบาล แต่จากบทบาทท่าทีของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประชาชน<br />

เริ่มมีความเข้าใจในเรื ่องดังกล่าวกับงานความมั่นคง ยกตัวอย่างเช่น กรณีของชาวอุยกูร์ ทุกประเทศ<br />

ในภูมิภาคนี้ก็ถือปฏิบัติในลักษณะเดียวกับประเทศไทย จึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติที่ประเทศไทยจะดำเนิน<br />

การในลักษณะดังกล่าว และก็ถือเป็นเรื่องปกติที่จะได้รับกระแสกดดันและไม่เห็นด้วย แต่ก็เป็นเรื่อง<br />

ที่น่ายินดีที่ประชาชนในประเทศเริ่มมีความเข้าใจ<br />

การให้ข้อมูลข่าวสาร การทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบ<br />

เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และทำให้เกิดแนวคิดไปในแนวทางเดียวกัน<br />

นับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินให้ประเทศได้ก้าวเดินไปอย่างมั่นคง<br />

ยั่งยืน ซึ่งช่องทางที่ท่านผู้อ่านจะได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาล อีกช่องท่างหนึ่งคือ<br />

จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน เอกสารประชาสัมพันธ์นี้ผลิตเผยแพร่ทุก ๑๕ วัน เริ่มเผยแพร่<br />

ฉบับแรกตั้งแต่วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านได้ทาง www.prd.go.th<br />

แต่อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านอย่าลืมที่จะติดตามอ่านวารสารหลักเมืองนะครับ<br />

2


ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๓ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

๔<br />

อัคราภิรักษศิลปิน...<br />

เกริกก้องธรณินสยาม<br />

๘<br />

๕๒ ปี วันคล้ายวัน<br />

สถาปนา โรงงาน<br />

เภสัชกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ<br />

และพลังงานทหาร<br />

๑๐<br />

๙ แผ่นดินของการ<br />

ปฏิรูประบบราชการ<br />

พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

(ตอนที่ ๒)<br />

๑๔<br />

บทบาทอินเดีย<br />

ต่อความมั่นคงของไทย<br />

๑๖<br />

ความคืบหน้า<br />

การแก้ปัญหา การทำ<br />

ประมงผิดกฎหมาย<br />

(IUU Fishing)<br />

๑๘<br />

แสนยานุภาพของชาติ<br />

ต่างๆ ในทะเลจีนใต้<br />

๒๒<br />

บทสัมภาษณ์<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เรื่อง กระทรวงกลาโหม<br />

หลักประกันความมั่นคง<br />

ของชาติ เคียงข้าง<br />

ประชาชน<br />

๒๖<br />

โครงการฝนหลวง<br />

สำคัญอย่างไร<br />

๘<br />

๒๒<br />

๓๒<br />

๔๘<br />

๑๖<br />

๒๖<br />

๓๖<br />

๕๒<br />

๔<br />

๑๘<br />

๓๐<br />

๔๐<br />

๖๒<br />

๒๘<br />

การอนุรักษ์ช้าง<br />

๓๐<br />

โครงการจิตสำนึก<br />

รักเมืองไทย<br />

๓๒<br />

Cyber Supremacy<br />

“กำลังรบ ที่ไม่เผยตัว”<br />

๓๖<br />

ดุลยภาพทางการทหาร<br />

ของประเทศอาเซียน<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์<br />

เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙<br />

๔๐<br />

เทคโนโลยี ระบบไฟฟ้า<br />

เครื่องกลจุลภาค<br />

(MEMS) กับการใช้งาน<br />

ทางทหาร<br />

๔๔<br />

การบริหารอำนาจ<br />

๔๘<br />

การสถาปนาราชธานี<br />

กรุงหงสาวดีใหม่<br />

๒๑๕๖<br />

๕๒<br />

การใช้บทสนทนาใน<br />

ภาษาอังกฤษ<br />

๕๔<br />

สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

“สวย-หล่อ<br />

ด้วยคอลลาเจน”<br />

๖๒<br />

กิจกรรมสมาคมภริยา<br />

ข้าราชการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm<br />

พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

3


4


อัคราภิรักษศิลปิน...<br />

เกริกก้องธรณินสยาม<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

พระราชกรณียกิจนานัปการที่สมเด็จ<br />

พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง<br />

บำเพ็ญตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยังคงจารึก<br />

อยู่ในจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความจงรักภักดีและ<br />

น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพสกนิกร<br />

ชาวไทย รวมทั ้ง ยังเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา<br />

ของชาวโลก ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจทั้งปวง<br />

ทรงบำเพ็ญเพื่ออำนวยประโยชน์และสร้าง<br />

ความสุขให้เกิดขึ้นต่อประชาชนและประเทศ<br />

ชาติทั้งสิ้น อันประกอบด้วย โครงการศิลปาชีพ<br />

โครงการป่ารักษ์น้ำ แนวพระราชดำริเพื่อแก้ไข<br />

ปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชน แนว<br />

พระราชดำริเพื่อสิทธิสตรี และโครงการ จำนวน<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

มากมายอันเกิดจากพระราชดำริและพระ<br />

ราชเสาวนีย์ โดยทุกพระราชกรณียกิจล้วน<br />

แล้วแต่เกิดจากพระราชปณิธานที่ทรงมี<br />

พระราชประสงค์เพื่อความมั่นคงเป็นปึกแผ่น<br />

ของประเทศและความสุขของประชาชน จึงทรง<br />

บำเพ็ญด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และบ่งบอก<br />

ให้สังคมไทยรับรู้รับทราบถึงพระราชวิริยภาพ<br />

และพระอัจฉริยภาพเป็นอย่างดี<br />

แต่ยังมีประชาชนชาวไทยจำนวนไม่น้อย<br />

ที่ยังไม่ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระ<br />

ราชกรณียกิจอันสำคัญที่ทรงมีต่อประเทศชาติ<br />

อีกประการหนึ ่งคือ พระราชกรณียกิจในเรื่อง<br />

ของศิลปกรรม ซึ่งในระยะเวลาไม่น้อยกว่า<br />

๕๐ ปีที่ผ่านมา พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อ<br />

ศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาไทย ทรงตระหนัก<br />

ในคุณค่าของศิลปะของไทยที่มีความงดงาม<br />

มีเอกลักษณ์ มีความประณีต และเป็นสมบัติ<br />

อันทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งของแผ่นดินไทย<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการทำนุบำรุง<br />

รักษา ฟื้นฟู และอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ<br />

ที่กำลังจะสูญสิ้นไปตามกาลเวลา และกำลัง<br />

ถูกคุกคามอย่างหนักจากกระแสวัฒนธรรม<br />

ที่ถาโถมมาจากภายนอกประเทศ ทั้งจากโลก<br />

ตะวันตกและประเทศในทวีปเอเชีย ให้คง<br />

สภาพและในบางส่วนที่ลบเลือนหายไป<br />

ให้กลับคืนมาเป็นสมบัติและเป็นศิลปกรรมของ<br />

5


ประเทศและผืนแผ่นดินไทยเพื่อสืบทอดไปยัง<br />

อนุชนรุ่นต่อไป<br />

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม<br />

ราชินีนาถ ทรงมีพระราชกุศโลบายในการรักษา<br />

และการสืบทอดศิลปกรรมของไทย โดยทรง<br />

เริ่มจากการอนุรักษ์งานศิลปะทั้งปวงที่มีอยู่<br />

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสืบค้น สืบเสาะ<br />

แสวงหางานศิลปะท้องถิ่นและภูมิปัญญา<br />

ท้องถิ่นที่กำลังลบเลือนไปจากสังคมไทยและ<br />

รวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้<br />

มีการคิดค้นพัฒนากรรมวิธีในการผลิตและ<br />

สร้างสรรค์งานศิลปะให้สามารถประยุกต์<br />

ใช้ได้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างความ<br />

สะดวกในการผลิตงาน ทรงส่งเสริมและ<br />

สนับสนุนให้มีการสร้างกระบวนการผลิตงาน<br />

อย่างเป็นมาตรฐานและเป็นศาสตร์ให้สามารถ<br />

ดำเนินงานสืบต่อไปได้อย่างเป็นระบบเชิง<br />

วิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งสำคัญที่เป็นปัญหาใหญ่<br />

ของงานศิลปกรรมไทยคือการบริหารจัดการ<br />

ทางการตลาดเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์อันเกิด<br />

จากภูมิปัญญาไทยให้แพร่หลายไปสู่สากล<br />

จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดวางระบบทางการ<br />

ตลาดเพื่อสร้างตราผลิตภัณฑ์ (brand) และ<br />

ให้มีการวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ<br />

เพื่อนำสินค้าสู่ผู้บริโภคได้อย่างสะดวกภายใต้<br />

บริบทของระบบการตลาดในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้<br />

งานศิลปกรรมที่ทรงส่งเสริมและสนับสนุนที่<br />

ประจักษ์ต่อสาธารณชน ประกอบด้วย<br />

งานด้านหัตถศิลป์ ซึ่งทรงสนับสนุนให้<br />

ประชาชนชาวไทยชนบทมีงานศิลปหัตถกรรม<br />

เป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจากการประกอบ<br />

อาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลัก ทำให้<br />

ประชาชนมีรายได้เพิ่มพูนมากขึ้น ดังจะ<br />

เห็นได้จากผ้าทอมือของไทยจากผ้าไหม<br />

ที่เป็นหัตถกรรมที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศ<br />

ได้เห็นความงดงามและประณีตของผ้าไทย<br />

ซึ่งมีเทคนิคในการทอที่มีความวิจิตรพิสดาร<br />

สามารถรังสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ<br />

ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแพรวา ผ้าขิด ผ้าจก ผ้ายก<br />

ผ้าปัก<br />

งานด้านประณีตศิลป์ ซึ ่งส่วนใหญ่เป็น<br />

เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง เครื่องประดับทั้งที่เป็น<br />

งานดินเผา งานเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม<br />

งานลงยา และอื่นๆ เครื่องจักสานที่ต่างประเทศ<br />

รู้จักกันดีคือ เครื่องจักสานย่านลิเภา<br />

6<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


งานคีตศิลป์ ทั้งงานศิลปะประเภท<br />

ดนตรีไทย นาฏศิลป์ซึ่งเป็นที่ประจักษ์กันดีคือ<br />

ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟู “โขน” ที่เป็นความงดงาม<br />

ทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ<br />

ประเทศ<br />

นอกจากนี้ ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษา<br />

ค้นคว้า และรวบรวมศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ<br />

งานศิลปกรรม อาทิ งานสถาปัตยกรรม งาน<br />

จิตรกรรม งานประติมากรรม และงานวรรณคดี<br />

ให้เป็นมรดกทางปัญญาและมรดกทางศิลปะ<br />

ของประเทศให้คงอยู่ รวมทั้ง พัฒนาให้มี<br />

ความเจริญรุ่งเรืองสำหรับถ่ายทอดคุณค่า<br />

ไปยังอนุชนรุ่นต่อๆ ไป<br />

พระราชกรณียกิจทั้งปวงขององค์<br />

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

ที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปกรรมอันบังเกิดจาก<br />

พระราชหฤทัยที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและ<br />

ห่วงใยต่ออาณาประชาราษฎร์ นับเป็นความ<br />

ปลาบปลื้มปีติในจิตใจพสกนิกรชาวไทยเป็น<br />

อย่างยิ่งและก่อเกิดให้ประชาชนทั่วประเทศ<br />

ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้มีการ<br />

ถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระ<br />

ราชสมัญญานานัปการ ซึ่งในปีพุทธศักราช<br />

๒๕๕๕ เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่สมเด็จ<br />

พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง<br />

เจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในการนี้<br />

กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้กราบบังคม<br />

ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์<br />

ท่าน คือ อัคราภิรักษศิลปินซึ่งมีความหมายว่า<br />

ศิลปินยิ่งใหญ่ผู้ปกปักรักษางานศิลปะ เพื่อ<br />

น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรง<br />

บำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ในการอนุรักษ์ดูแล<br />

และส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมของ<br />

ชาติไทย ให้มีความวัฒนาถาวรเป็นอัตลักษณ์<br />

ของชาติไทยอย่างมั่นคง<br />

เนื่องในวันมหามงคล ๑๒ สิงหาคม<br />

๒๕๕๘ ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา<br />

ขององค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม<br />

ราชินีนาถ ผู้เขียนใคร่ขอเชิญชวนพสกนิกร<br />

ชาวไทยร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมี<br />

พระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำ บำเพ็ญพระราช<br />

กรณียกิจ เพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่<br />

มหาชนชาวไทย สร้างเอกลักษณ์ของความเป็น<br />

ไทย และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น<br />

ให้แก่ประเทศชาติ ด้วยการบำเพ็ญคุณงาม<br />

ความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และ<br />

น้อมเกล้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคลด้วยความ<br />

จงรักภักดี พร้อมกราบอาราธนาคุณพระศรี<br />

รัตนตรัย และอานุภาพแห่งสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์<br />

ทั่วสากล ได้โปรดอภิบาลประทานพรชัยมงคล<br />

ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เจริญด้วย<br />

จตุรพิธพรชัย มีพระราชประสงค์จำนงหมาย<br />

ในสิ่งใด ขอจงสัมฤทธิ์ดังพระราชหฤทัย<br />

ปรารถนา สถิตเป็นองค์มิ่งขวัญของมหาชน<br />

ชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์กาลด้วยเทอญ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

7


๕๒ ปี วันคล้ายวันสถาปนา<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศและพลังงานทหาร<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศ<br />

ไทยเกิดภาวะการขาดแคลนยา<br />

และเวชภัณฑ์ กรมแพทย์เหล่าทัพ<br />

แก้ปัญหาโดยทำการผลิตและจัดหาเอง<br />

ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ต่อมากองทัพไทย<br />

ได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจาก<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา พันโท Paul F Austin<br />

เภสัชกรที่ปรึกษาฝ่ายการแพทย์จัสแม็คไทย<br />

ได้เสนอแนะให้จัดตั้งหน่วยสิ่งอุปกรณ์สาย<br />

แพทย์และผลิตภัณฑ์ร่วม เพื่อแก้ปัญหา<br />

ดังกล่าวกระทรวงกลาโหม จึงได้อนุมัติให้จัดตั้ง<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหารขึ้น โดยเป็นหน่วย<br />

ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และได้กระทำพิธีเปิดในวันที่ ๒๓ สิงหาคม<br />

พ.ศ. ๒๕๐๖ มีที่ตั้ง ณ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม ๔<br />

กรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุน<br />

เงินทุนหมุนเวียนจากกระทรวงการคลัง<br />

ตลอด ๕๑ ปีที่ผ่านมา โรงงานเภสัชกรรม<br />

ทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

และพลังงานทหาร ได้มีการพัฒนาและเติบโต<br />

อย่างต่อเนื่อง โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ<br />

มีภารกิจในการผลิต รับจ้างผลิต จัดหา วิจัย<br />

วิเคราะห์ ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้และ<br />

จำหน่ายส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม<br />

ส่วนราชการอื่นและประชาชน ปัจจุบันมี<br />

พลตรี อนุมนตรี วัฒนศิริ ผู้อำนวยการโรงงาน<br />

เภสัชกรรมทหารฯ เป็นผู้บังคับบัญชา โรงงาน<br />

เภสัชกรรมทหารฯ ได้มีการพัฒนามาตาม<br />

ลำดับ ปัจจุบันมีเภสัชกรปฏิบัติงาน ๓๘<br />

นาย มีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย<br />

มีการวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาสูตรตำรับยา<br />

อย่างต่อเนื่อง ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตยา<br />

8<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร


ที่มี GMP จากกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี<br />

๒๕๔๕ เป็นต้นมา และก้าวสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น<br />

GMP PIC/S พร้อมทั้งได้นำระบบสารสนเทศ<br />

ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้<br />

ในการบริหารจัดการการผลิตและจัดจำหน่าย<br />

ยาและเวชภัณฑ์ และได้จัดทำเว็บไซต์ของ<br />

หน่วย “www.dpfthailand.com เพื่อเผยแพร่<br />

ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบ<br />

ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์<br />

และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี<br />

พ.ศ.๒๕๔๖ และการปฏิรูประบบบริหารราชการ<br />

ภาครัฐ โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ จึงได้<br />

ปรับระบบปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ<br />

เกิดประสิทธิผลมุ่งมั่นในปณิธาน “ผลิตยา<br />

คุณภาพ เพื่อกองทัพ และประชาชน”ภายใต้<br />

วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำด้านคุณภาพในการผลิต<br />

ยาเพื่อความมั่นคง”“To be the Quality<br />

leader in defensive pharmaceutical<br />

manufacturing” โดยเป็นศูนย์กลางการผลิต<br />

จัดหา วิจัย ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อความมั่นคง<br />

ของกระทรวงกลาโหมที่ทันสมัยได้มาตรฐาน<br />

สากล สามารถสนับสนุนกองทัพและประเทศ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในยามปกติและ<br />

สงคราม<br />

การสนับสนุนกิจการของกระทรวง<br />

กลาโหม โดยการผลิตยาจำเป็นพื้นฐานและ<br />

ยาที่ใช้ในการปฏิบัติการตามแผนป้องกัน<br />

ประเทศ ค้นคว้า วิจัย ผลิตสารต้านพิษ เช่น<br />

ยาฉีดอะโทรปีนซัลเฟต ยาเวชกรรมป้องกันทาง<br />

การทหาร เช่น ผงโรยเท้าและโลชั่นทากันยุง<br />

การเตรียมแผนการระดมสรรพกำลังการสำรอง<br />

ยาและเวชภัณฑ์คงคลังเพื่อสนับสนุนภารกิจ<br />

ของหน่วยเหนือ เช่น การป้องกันประเทศ<br />

การก่อความไม่สงบภายใน การสนับสนุนยา<br />

และเวชภัณฑ์แก่มิตรประเทศ การเข้าร่วม<br />

คณะทำงานแพทย์ทหารอาเซียนเพื่อให้การ<br />

สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ในสภาวะฉุกเฉิน<br />

กรณีเกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม ภัยหนาว<br />

การสนับสนุนโครงการพระราชดำริและรักษา<br />

สันติภาพของสหประชาชาติ<br />

การพึ่งพาตนเอง โดยใช้ทรัพยากรใน<br />

ประเทศเป็นวัตถุดิบในการผลิต เน้นการใช้<br />

สมุนไพรทดแทนสารเคมีจากต่างประเทศ<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ ได้ปรับปรุงอาคาร<br />

สำหรับผลิตยาสมุนไพรจนกระทั่งได้รับ<br />

มาตรฐานตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการ<br />

ผลิตยา (GMP) ประเภทสมุนไพรจากสำนักงาน<br />

คณะกรรมการอาหารและยา ในปี ๒๕๕๑<br />

รวมถึงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร<br />

จากสมุนไพรเพื่อรองรับความต้องการของ<br />

ผู้บริโภค<br />

การให้ความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้า<br />

วิจัยและพัฒนา โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ<br />

ได้แสวงหาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา<br />

ของรัฐและองค์การเภสัชกรรมในด้านต่างๆ<br />

อาทิ เช่น ร่วมมือกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน<br />

และกรมแพทย์ทหารบก ในการวิจัยและพัฒนา<br />

สารทากันยุง Insect Repellent milky Lotion<br />

ความเข้มข้น ๓๓ เปอร์เซ็นต์ สำหรับยุงก้นปล่อง<br />

ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมาเลเรีย ร่วมมือ<br />

กับมหาวิทยาลัยมหิดล วิจัย และพัฒนาสูตร<br />

ยาต้านพิษ อาวุธชีวเคมีและยากำพร้าและ<br />

การวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับยาใหม่ ร่วมมือ<br />

กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการ<br />

ศึกษาวิจัยชีวสมมูลของยาสามัญใหม่ ร่วมมือ<br />

กับมหาวิทยาลัยศิลปากรวิจัยพัฒนาและ<br />

วิจัยเภสัชตำรับ และร่วมมือกับมหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ ในการศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์<br />

สมุนไพร รวมทั้งการที่โรงงานเภสัชกรรม<br />

ทหารฯ อุทิศตนเป็นแหล่งฝึกศึกษาและ<br />

ดูงานของนักศึกษา และบุคลากรจากภาครัฐ<br />

และเอกชน จำนวนปีละมากกว่า ๑๐๐ คน<br />

นอกจากนี้นักวิจัยของโรงงานเภสัชกรรม<br />

ทหารฯ ยังได้ทำการวิจัยสูตรตำรับแผ่นปิดแผล<br />

ห้ามเลือดจากไคโตซาน ซึ่งเป็นสารสกัด<br />

จากเปลือกกุ้งปูและแกนปลาหมึกได้เป็นผล<br />

สำเร็จ จนถึงขั้นนำเข้าสู่สายการผลิตต่อไป<br />

ในปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ<br />

ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาเพื่อขึ้นทะเบียน<br />

ตำรับยา Pseudoephedrine HCL จำนวน ๓<br />

ตำรับ และการวิจัยและพัฒนายา Morphine<br />

Sulfate injection 10 mg/ml เพื่อสนับสนุน<br />

ให้คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวง<br />

สาธารณสุข<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ เป็นสมบัติ<br />

ของกองทัพและประชาชน ความภาคภูมิใจ<br />

ของหน่วยคือการได้รับความเชื่อถือ ความ<br />

เชื่อมั่นจากผู้บังคับบัญชาและผู้รับบริการ<br />

ปัจจุบันหน่วยมีศักยภาพเพียงพอที่จะสนอง<br />

ความต้องการต่อภารกิจของหน่วยเหนือได้<br />

ทุกสถานการณ์ กำลังพลทุกนายพร้อมที่จะ<br />

ปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท เสียสละ และจะพัฒนา<br />

ขีดความสามารถ คุณภาพ มาตรฐานอย่าง<br />

ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ<br />

กองทัพ และประชาชนตลอดไป<br />

9


พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

(ตอนที่ ๒)<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม<br />

แผ่นดิน<br />

ของการปฏิรูประบบราชการ<br />

10 สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


พระราชดำริเกี่ยวกับการเศรษฐกิจ<br />

การส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ<br />

เนื่องจากการค้าขายกับต่างประเทศนำรายได้<br />

เข้าสู่รัฐจำนวนมาก เป็นสินค้าส่งออกที่ล้วนมา<br />

จากส่วยรัฐไม่ต้องลงทุนมาก กิจการค้ากับต่าง<br />

ประเทศคึกคักมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกรมหมื่นเจษฎา<br />

บดินทร์ทรงกำกับ และยิ่งเห็นเด่นชัดในรัชกาล<br />

ที่ ๓ โดยเฉพาะการค้ากับจีน เป็นไปในรูปการค้า<br />

แบบบรรณาการ เพราะให้ผลประโยชน์เต็มเม็ด<br />

เต็มหน่วย นอกจากจีนแล้วยังมีประเทศ<br />

คู่ค้าอื่นๆ อีก คือ สิงคโปร์ ปีนังและมะละกา<br />

การที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงทำการค้าขายกับต่างประเทศต่อเนื่องเป็น<br />

เวลานาน ทรงเก็บเงินรายได้จากกิจการนี้เป็น<br />

เงินพระคลังข้างที่ไว้ในถุงแดง เป็นจำนวนถึง<br />

๔๐,๐๐๐ ชั่ง เพื่อใช้สอยในการแผ่นดิน<br />

การที่ทรงยินยอมทำสนธิสัญญาเบอร์นี่<br />

กับอังกฤษเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๙ ทำให้การค้า<br />

กับต่างประเทศขยายตัวมาก มีเรือสินค้าต่างชาติ<br />

เข้ามาค้าขายมากกว่าเดิม คงเป็นผลสืบเนื่อง<br />

มาจากนโยบายรัฐ สนับสนุนการค้าขายกับ<br />

ต่างชาติอย่างเสรี ดังที่พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริตั้งแต่ต้น<br />

รัชกาลมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนทั่วไป<br />

ทำการค้าขายให้ได้รับผลประโยชน์ทั่วกัน<br />

การส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรม<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรมอย่าง<br />

เด่นชัด เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่มีความ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

สำคัญยิ่ง ขณะเดียวกันรัฐต้องควบคุมการ<br />

ส่งออกเพื่อป้องกันการขาดแคลนข้าวภายใน<br />

ประเทศ ด้วยการออกกฎหมายควบคุมราคา<br />

ข้าวและห้ามมิให้นำข้าวออกนอกประเทศ<br />

ยกเว้นว่าปีนั้นมีข้าวพอกินไป ๓ ปี จึงนำข้าว<br />

ออกนอกประเทศได้ ทรงออกพระราชกำหนด<br />

ให้ยกเลิกการบังคับซื้อข้าวส่งฉางหลวงให้<br />

ชาวนานำมาส่งขึ้นฉางหลวงด้วยตนเอง หรือ<br />

จะยอมเสียค่าจ้างขนส่งแก่เจ้าพนักงานก็ได้<br />

ใช้ที่ตวงข้าวตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด นอกจากนี้<br />

ทรงมีนโยบายเพิ่มผลผลิตด้วยการส่งเสริมให้<br />

ชาวนาทำนาปีละ ๒ ครั้ง หากพื้นที่ใดรกร้าง<br />

ก็ให้เจ้าเมือง กรมการเมืองคิดหาทางเพาะปลูก<br />

ให้เกิดประโยชน์<br />

ด้านอุตสาหกรรม พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีนโยบายให้รัฐผลิต<br />

น้ำตาลทราย ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดโลกกำลัง<br />

ต้องการ โดยเฉพาะน้ำตาลทรายจากไทย<br />

มีคุณภาพดีกว่าที่อื่น ทรงส่งเสริมอุตสาหกรรม<br />

ต่อเรือ ซึ่งเป็นกิจการที่ทำรายได้ให้แก่รัฐอย่าง<br />

มากอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานและ<br />

ไม้ที่ใช้ต่อเรือมีราคาถูกและยังหาได้ง่ายเช่น<br />

เดียวกับอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ เฉพาะ<br />

แร่เหล็กและดีบุก เป็นสินค้าออกที่สำคัญ<br />

เนื่องจากการอุตสาหกรรมในยุโรปกำลังเฟื่องฟู<br />

และต้องการวัตถุดิบ เช่น ดีบุก ไปใช้ในการ<br />

ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคหลายรูปแบบ<br />

11


การผดุงความยุติธรรมและความสงบสุข<br />

แก่บ้านเมือง<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงธำรงความบริสุทธิ์ยุติธรรมแก่อาณา<br />

ประชาราษฎร์ ให้ความสำคัญกับการปกครอง<br />

และทรงเห็นแก่ประโยชน์และความถูกต้อง<br />

ของราษฎรเป็นสำคัญ หลักฐานที่สนับสนุน<br />

พระราชดำรินี้ สืบเนื่องจากกรณีการสำเร็จ<br />

โทษกรมหมื่นรักษรณเรศ พระราชวงศ์ชั้น<br />

12<br />

ผู้ใหญ่ที่มีผู้กล่าวหาว่าพิจารณาคดีไม่ยุติธรรม<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง<br />

ไต่สวนและพบว่ากรมหมื่นรักษรณเรศมีความผิด<br />

ตามคำกล่าวหา ก็ทรงพิพากษาให้ได้รับโทษ<br />

สถานหนักเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง<br />

การแสดงถึงความยุติธรรมที่ชัดเจนอีก<br />

ประการหนึ่ง คือ การออกพระราชกำหนด<br />

พุทธศักราช ๒๓๖๗ เนื่องจากพระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นใจในความทุกข์ยาก<br />

ของชาวนาที่ถูกข้าราชการ คือ ข้าหลวงเสนาที ่<br />

มีหน้าที่ประเมินการเก็บอากรนาหลังการเก็บ<br />

เกี่ยวใช้อำนาจและอภิสิทธิ ์แก่ชาวนา ใจความ<br />

สำคัญของพระราชกำหนดฉบับนี้ คือ ให้ยกเลิก<br />

การบังคับซื้อข้าวส่งฉางหลวง แต่ให้ชาวนานำ<br />

มาส่งขึ้นฉางหลวงด้วยตนเอง หรือจะยอมเสีย<br />

ค่าจ้างขนส่งแก่เจ้าพนักงานก็ได้ โดยให้ใช้ที่<br />

ตวงข้าวตามมาตรฐานที่รัฐกำหนด เพื่อลด<br />

ปัญหาการฉ้อโกงของขุนนางและข้าราชการ<br />

ยิ่งกว่านั้น ยังทรงให้ข้าราชการที่เคยได้รับการ<br />

ยกเว้น ไม่ต้องเสียค่านามาแต่ก่อน ต้องเสีย<br />

หางข้าว ค่านาไร่ละ ๒ ถัง เหมือนราษฎรทั่วไป<br />

การผดุงความยุติธรรมอีกประการหนึ่ง<br />

ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระราชทานให้แก่ราษฎร คือ ทรงตั้งกลอง<br />

สำหรับให้ราษฎรตีร้องทุกข์พระราชทานชื่อว่า<br />

“กลองวินิจฉัยเภรี”<br />

การดำเนินนโยบายต่างประเทศ<br />

การติดต่อทางการทูตกับประเทศตะวันตก<br />

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นผลจากการ<br />

ขยายตัวของตลาดการค้าในเอเชีย หลังจาก<br />

ที่อังกฤษทำการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์<br />

ศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ อังกฤษส่ง<br />

จอห์น ครอว์ฟอร์ด เข้ามาขอแก้ไขการเก็บภาษี<br />

และการค้าขายบางอย่างที่รัฐบาลไทยผูกขาด<br />

อยู่ เพื่อดูท่าทีของฝ่ายไทยและหาโอกาสตกลง<br />

ในเรื่องดินแดนแหลมมลายู ซึ่งบางส่วนเคย<br />

เป็นของไทยแต่การเจรจาต้องล้มเหลว<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว อังกฤษส่งคณะทูตที่มีร้อยเอก<br />

เฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นหัวหน้า เข้ามาขอเจริญ<br />

สัมพันธไมตรี เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๘ อีกครั้ง<br />

ผลของการเจรจาเป็นที่ตกลง มีการทำสนธิ<br />

สัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ต่อกัน<br />

เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๖๙<br />

ประกอบด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรี<br />

รวม ๒๔ ข้อ และสนธิสัญญาทางการพาณิชย์<br />

ที่แยกออกอีกฉบับหนึ่งรวม ๖ ข้อ นับเป็นสนธิ<br />

สัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับ<br />

แรกที่ไทยทำกับต่างประเทศตะวันตกในสมัย<br />

กรุงรัตนโกสินทร์<br />

การทำสนธิสัญญากับอังกฤษฉบับนี้ ไทย<br />

ไม่เสียผลประโยชน์มากนัก แม้ว่าจะต้องยกเลิก<br />

ระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเก็บภาษี<br />

จากเรือของพ่อค้าอังกฤษรวมเป็นอย่างเดียว<br />

เรียกภาษีปากเรือ ทั้งนี้ เพราะสนธิสัญญาฉบับ<br />

นี้มีผลใช้บังคับเฉพาะพ่อค้าอังกฤษและคนใน<br />

บังคับของอังกฤษเท่านั้น และเรือสำเภาของ<br />

พ่อค้าอังกฤษในแต่ละปี ก็เดินทางมาค้าขายน้อย<br />

อยู่แล้ว การทำสนธิสัญญาจึงน่าจะเป็นผลให้เรือ<br />

ของพ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายมากกว่าเดิม<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


นอกจากนี้ การค้าทางเรือของรัฐบาลและ<br />

ขุนนางข้าราชการยังสามารถดำเนินต่อไปได้<br />

ด้วย เพราะไม่มีกำหนดห้ามในสัญญา ยิ่งกว่านั้น<br />

การทำสนธิสัญญายังเป็นผลให้รัฐบาลมี<br />

รายได้เพิ่มมากขึ้นจากการเก็บภาษี เนื่องจาก<br />

รัฐบาลได้กำหนดให้มีการผูกขาดการจัดเก็บ<br />

ภาษีอากรจากสินค้าหลังจากที่ได้มีการทำ<br />

สนธิสัญญาและตั้งภาษีสินค้าใหม่ ๓๘ อย่าง<br />

ดังกล่าวมาแล้ว ที่สำคัญคือการค้ากลับตกอยู่<br />

ในมือพระคลังตามเดิมเพราะแม้ว่าพ่อค้า<br />

อังกฤษจะซื้อและขายสินค้าใดๆ ต้องแจ้ง<br />

ให้เจ้าพนักงานของพระคลังทราบเสียก่อน<br />

หมายความว่าพระคลังจะเป็นผู้กำหนดราคา<br />

สินค้า ทำให้รัฐบาลสามารถขึ้นภาษีสินค้าที่<br />

พ่อค้าในประเทศขาย โดยการโอนการเสียภาษี<br />

ที่เพิ ่มขึ้นให้แก่พ่อค้าต่างชาติ จะเห็นได้ว่า แม้<br />

สนธิสัญญานี้จะทำให้อิทธิพลทางการค้าของ<br />

พระคลังและข้าราชการลดลงในทางทฤษฎี แต่<br />

ในทางปฏิบัติยังคงมีอยู่<br />

การศาสนา<br />

ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญที่ช่วยเกื้อหนุน<br />

ความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้แก่รัฐ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี<br />

พระราชศรัทธาแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา<br />

ทรงรักษาศีลบำเพ็ญทาน ทำนุบำรุงคณะสงฆ์<br />

สร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามกว่า ๖๐ วัด<br />

ทรงประกอบพระราชกุศลอย่างสม่ำเสมอใน<br />

รัชกาลนี้ มีการรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎก<br />

ไว้เป็นหลักฐานไม่น้อยกว่า ๗ เล่ม แม้ว่าจะ<br />

ทรงเคร่งครัดในพระบวรพุทธศาสนา แต่ก็<br />

มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่นทรงแสดงพระองค์<br />

อัครศาสนูปถัมภก กล่าวคือ ได้พระราชทาน<br />

พระบรมราชานุญาตให้มีการเผยแพร่คริสต์<br />

ศาสนาในเมืองไทย ทั้งนิกายโรมันคาธอลิกและ<br />

โปรเตสแตนท์ อีกทั้งยังทรงเปิดโอกาสให้<br />

มิชชันนารีสมัยนั้นได้ถ่ายทอดวิทยาการตะวันตก<br />

ให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งมีทั ้งพระบรมวงศานุวงศ์และ<br />

ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่รวมอยู่ด้วย รวมทั้งรักษา<br />

โรคโดยใช้ยาแผนปัจจุบันให้แก่ผู้มารักษาได้<br />

อย่างเสรี เหตุการณ์ด้านพระพุทธศาสนาใน<br />

ประเทศไทยที่แสดงให้เห็นพระราชหฤทัยและ<br />

พระราชดำริที่กว้างขวางของพระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเกิดนิกายใหม่ที่<br />

เรียกว่าธรรมยุติกนิกาย ซึ่งเป็นการปฏิรูปการ<br />

พระศาสนาครั้งใหญ่ โดยพระสมณเจ้า เจ้าฟ้า<br />

มงกุฎสมมติวงศ์ ขณะทรงพระผนวชอยู่ ณ วัด<br />

บวรนิเวศวิหาร พระสงฆ์นิกายใหม่นี้มีจุดมุ่ง<br />

หมายที่จะปฏิบัติพระธรรมเพื่อให้ทั้งตนเอง<br />

และผู้อื่นหลุดพ้นจากความทุกข์ ถือสันโดษ<br />

และเคร่งครัดในพระธรรมวินัย<br />

จากแนวพระราชดำริและพระราช<br />

จริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวข้องกับการพระศาสนา<br />

ดังกล่าว ทำให้สังคมไทยในเวลานั้นอยู่ร่วมกัน<br />

ได้อย่างสมานฉันท์และร่มเย็นเป็นสุข<br />

13


บทบาทอินเดีย<br />

ต่อความมั่นคงของไทย<br />

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

สภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้<br />

จัดการอภิปรายทางวิชาการ<br />

เรื่อง “บทบาทอินเดียต่อความ<br />

มั่นคงของไทย” เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๘<br />

ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ ซึ่งมี<br />

สาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้<br />

๑. บทบาทของสาธารณรัฐอินเดีย ใน<br />

กรอบความร่วมมือความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล<br />

สำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทาง<br />

14<br />

วิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal<br />

Initiative for Multi - Sectoral Technical and<br />

Economic Cooperation : BIMSTEC) และ<br />

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและ<br />

เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging<br />

Market) อันประกอบด้วย สหพันธ์สาธารณรัฐ<br />

บราซิล สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐ<br />

อินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และ<br />

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ (Brazil, Russia, India,<br />

Chaina and South Africa : BRICS) ต่อผล<br />

ประโยชน์ด้านความมั่นคงของไทย สรุปได้ว่า<br />

อินเดียต้องการเข้ามามีบทบาทในเอเชียมากขึ้น<br />

ดังนั้น การที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มแสดง<br />

ถึงศักยภาพความเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชีย<br />

จึงทำให้อินเดียเข้าร่วมกับองค์การระหว่าง<br />

ประเทศ ทั้ง BIMSTEC และ BRICS เพื่อ<br />

ผลักดันหรือสนับสนุนบทบาทของตนในเวที<br />

ระหว่างประเทศ โดยประเทศไทยสามารถใช้<br />

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม


โอกาสในด้านตลาดที่ใหญ่ของอินเดีย และ<br />

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่อยอดทางภาค<br />

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้<br />

๒. ความสัมพันธ์และความร่วมมือในเชิง<br />

หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย - อินเดีย สรุปได้ว่า<br />

ไทยและอินเดียมีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน<br />

ในหลายด้าน ได้แก่ การทูตและการเมือง<br />

การทหาร ความมั่นคง การค้าและการลงทุน<br />

การท่องเที่ยว ความเชื่อมโยงทางการคมนาคม<br />

วัฒนธรรม ศาสนา และประชาชน การศึกษา<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการกงสุล<br />

ซึ่งอินเดียและไทยต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน<br />

ทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ไทยมีที่ตั้งที่เป็นจุด<br />

ยุทธศาสตร์ทำให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับ<br />

ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก<br />

เฉียงใต้และเอเชียตะวันออก รวมทั้งเอเชียใต้<br />

ส่วนอินเดียถือเป็นมหาอำนาจในเอเชีย<br />

ประเทศหนึ่งที่สามารถสร้างดุลยภาพในการ<br />

ดำเนินนโยบายต่างประเทศในภูมิภาค ดังนั้น<br />

จึงควรรักษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย<br />

กับอินเดียที่มีมายาวนาน เพื่อผลประโยชน์<br />

ร่วมกันต่อไป<br />

๓. สถานการณ์ด้านการข่าว ภัยคุกคาม<br />

ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของไทย สรุปได้<br />

ว่า อินเดียมีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ไม่มี<br />

ประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง<br />

อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายต่อกลุ่ม<br />

แบ่งแยกดินแดนของนายนเรนทรา โมดี<br />

นายกรัฐมนตรีอินเดีย อาจส่งผลให้กลุ่ม<br />

แบ่งแยกดินแดนเข้ามาเคลื่อนไหวในไทยได้<br />

สำหรับสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐ<br />

อิสลามปากีสถาน ยังคงติดตามนโยบายของ<br />

อินเดียอย่างระมัดระวัง นอกจากนี ้ การขาด<br />

ดุลการค้ากับไทยเป็นผลให้อินเดียทบทวนการ<br />

ทำข้อตกลงว่าด้วยการค้าเสรี (Free-Trade<br />

Agreement : FTA) กับไทย และอาจส่งผล<br />

กระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยได้ซึ่งที่ผ่าน<br />

มาอินเดียได้ห้ามนำเข้าสินค้าประเภทอัญมณี<br />

จากไทยโดยอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าที่มาจาก<br />

แหล่งเดียวกันเป็นเหตุ เป็นต้น<br />

นับได้ว่าอินเดียเป็นประเทศมหาอำนาจ<br />

ที่มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและ<br />

ความมั่นคงในภูมิภาคจากการเป็นประเทศที่<br />

มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีความก้าวหน้าทาง<br />

เทคโนโลยีสูง และมีความเข้มแข็งทางการ<br />

ทหาร สามารถสร้างดุลยภาพและความเจริญ<br />

ก้าวหน้าให้เกิดขึ้นในภูมิภาคได้ ในขณะที่<br />

ไทยมีจุดแข็งสำคัญที่ทำให้อินเดียต้องการเข้า<br />

มาปฏิสัมพันธ์ คือ การมีภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็น<br />

ศูนย์กลางของภูมิภาคเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค<br />

ต่างๆ และเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดี<br />

กับอินเดียมาอย่างยาวนาน ไทยจึงควรใช้<br />

จุดแข็งดังกล่าวในการพัฒนาความสัมพันธ์กับ<br />

อินเดียให้ใกล้ชิดยิ่งขึ ้นเพื่อผลประโยชน์ร่วม<br />

กันโดยการส่งเสริมการค้า การลงทุน และ<br />

การเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งร่วมกันแก้ไข<br />

ปัญหาด้านความมั่นคง โดยเฉพาะในเรื่องการ<br />

ก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติที่อินเดีย<br />

ให้ความสำคัญ และอาจส่งผลกระทบต่อความ<br />

มั่นคงของไทย<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

15


ความคืบหน้าการแก้ปัญหา การทำ<br />

ประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)<br />

พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต<br />

ภ<br />

ายใต้ข้อจำกัดด้านเวลาและ<br />

สภาพปัญหาความขัดแย้ง<br />

ภายในประเทศ หลาย ๆ ปัญหา<br />

รัฐบาลได้พยายามแก้ไขอย่างจริงจัง แม้ว่า<br />

ปัญหาเหล่านั้นจะมีมาอย่างยาวนานแล้ว<br />

ก็ตาม เช่นเดียวกับปัญหาการทำประมงผิด<br />

กฎหมาย (IUU Fishing) ซึ่งในเรื ่องนี้ พลเอก<br />

ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึง<br />

ความคืบหน้าในการแก้ปัญหาการทำประมงผิด<br />

กฎหมายหลังจากที่คณะกรรมาธิการสหภาพ<br />

ยุโรป (อียู) ประกาศให้ใบเหลืองประเทศไทย<br />

ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง<br />

ลงพระปรมาภิไธยพระราชบัญญัติประมง<br />

พุทธศักราช ๒๕๕๘ แล้ว และจะประกาศใน<br />

ราชกิจจานุเบกษา ในเร็ว ๆ นี้ ขณะเดียวกัน<br />

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเกี่ยวกับการยกพระราช<br />

กำหนด เพื่อมาอุดช่องว่างของกฎหมายบาง<br />

16<br />

ประเด็นที่สหภาพยุโรปต้องการ<br />

อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้ นายกรัฐมนตรี<br />

สามารถใช้อำนาจตามมาตรา ๔๔ ในรัฐธรรมนูญ<br />

ฉบับปัจจุบันได้ อาทิ การให้อำนาจทหารเรือ<br />

ในการตรวจตราเรือทุกลำก่อนออกจากท่าเรือ<br />

ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เช่น หากพบเรือล ำใด<br />

มีอวนลากจะไม่อนุญาตให้ออกเรือเด็ดขาด<br />

เพื่อไม่ให้มีโอกาสในการนำอวนลากไปใช้<br />

จับปลา นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือ<br />

สื่อมวลชนให้นำเสนอข่าวในกรณีการแก้ปัญหา<br />

การทำประมงผิดกฎหมายว่ารัฐบาลกำลัง<br />

พยายามแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง<br />

ในส่วนของการแก้ปัญหาที่ประชุมได้มี<br />

ข้อสรุปร่วมกันว่า ในเรื่องกฎหมายขณะนี้<br />

พระราชบัญญัติประมงที่ปรับปรุงขึ้นได้ผ่านการ<br />

พิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)<br />

เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอการประกาศใน<br />

ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะประกาศใน<br />

เร็ววันนี้ และจะมีผลบังคับใช้ภายใน ๖๐ วัน<br />

อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติประมงฉบับ<br />

ดังกล่าว อาจจะมีรายละเอียดบางกรณีที่<br />

จำเป็นต้องเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุมได้กำหนดให้<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งดำเนินการ<br />

จัดทำกฎหมายลูก และอาจรวมถึง พระราช<br />

กำหนดเพื่อให้ครอบคลุมทุกกฎกติกาที่สหภาพ<br />

ยุโรปได้ตั้งข้อเรียกร้องไว้<br />

ในส่วนของการจัดทำ National Plan<br />

of Actions ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

ได้ศึกษาและกำหนดแผนงานไว้นานแล้ว และ<br />

มีกำหนดจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะ<br />

รัฐมนตรีต่อไป ซึ่งในแผนปฏิบัติการดังกล่าว<br />

จะลงรายละเอียดถึงระดับการนำข้อกฎหมาย<br />

และระเบียบต่าง ๆ รวมทั ้งการกำหนดบทบาท<br />

หน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติ<br />

พันตรีหญิง สมจิตร พวงโต


อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการจัดระบบเฝ้า<br />

ติดตามเรือประมงขณะออกจับสัตว์น้ำต้อง<br />

ดำเนินการเรื่องการแจ้งเข้า - ออกท่าเรือ ซึ่งเรา<br />

เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ที่ผ่านมา<br />

และจะดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกจังหวัด<br />

ทุกท่าเรือ ภายในเดือนพฤษภาคม<br />

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กองทัพเรือ<br />

เร่งรัดการติดตั้ง VMS ในเรือประมง ทั้งนี้ ตาม<br />

กฎหมายเดิมกำหนดให้ติดตั้ง VMS ในเรือ<br />

ประมงขนาดมากกว่า ๖๐ ตันกรอสขึ้นไป ซึ่งมี<br />

จำนวน ๑,๙๙๖ ลำ แต่ในกฎหมายใหม่กำหนด<br />

ให้เรือประมงขนาดตั้งแต่ ๓๐ - ๖๐ ตันกรอส<br />

ซึ่งมีจำนวน ๓,๔๖๒ ลำ ต้องติดตั ้ง VMS<br />

ด้วย โดยแม้ขณะนี้กฎหมายยังไม่ประกาศใช้<br />

อย่างเป็นทางการ แต่ที่ประชุมมีมติเร่งรัดให้<br />

ประชาสัมพันธ์ให้เรือประมงดำเนินการติดตั้ง<br />

ไปล่วงหน้าแล้ว เพื่อแสดงความมุ่งมั ่นต่อการ<br />

แก้ไขปัญหา โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน<br />

เดือนมิถุนายน การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ<br />

สินค้าประมงตั้งแต่ผู้บริโภคปลายทางจนถึง<br />

ต้นทางของการจับสัตว์น้ำเป็นกรณีที ่ต้อง<br />

ดำเนินการควบคู่กันไปเพื่อสร้างความมั่นใจ<br />

ให้กับผู้บริโภค ซึ่งทำให้ตรวจสอบได้ว่าสินค้า<br />

นั้นเป็นสินค้าที่ได้จากการทำประมงที่ถูกต้อง<br />

ตามกฎหมายในทุกขั้นตอน<br />

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหมได้สั่งการให้ตั้ง Core<br />

Team เพื่อกำกับการทำงานของทุกหน่วย<br />

โดยจะประชุมติดตามงานทุก ๒ สัปดาห์ โดย<br />

กำหนดให้ทุกอย่าง ต้องแล้วเสร็จภายใน<br />

๓ เดือน และในขณะที่รอการประกาศใช้<br />

กฎหมายอย่างเป็นทางการ เพื่อมิให้เกิด<br />

ช่องว่างของการทำงานจะมีการจัดตั้ง<br />

คณะทำงานชุดเฉพาะกิจ โดยมีกรมเจ้าท่า<br />

เป็นหน่วยหลักและให้ทุกส่วน ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง<br />

กรมประมง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการ<br />

สังคมร่วมกันจัดชุดลงตรวจสอบเรือประมง<br />

ทั้งหมดให้ปฏิบัติตามกฎหมายของทุกหน่วย<br />

ที่เกี่ยวข้อง โดยคณะทำงานชุดเฉพาะกิจ<br />

จะประจำทุกท่า เพื่อให้เรือทุกลำได้รับการ<br />

ตรวจสอบ<br />

สำหรับในส่วนของกระทรวงการต่าง<br />

ประเทศได้ออกเอกสารและเดินสายชี้แจง<br />

สหภาพยุโรป ถึงรูปธรรมการแก้ไขปัญหาของ<br />

ประเทศไทย ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้<br />

กระทรวงพาณิชย์ชี้แจงประเทศคู่ค้าและบริษัท<br />

ที่สั่งซื้อสินค้าประมงของไทย เพื่อสร้างความ<br />

เชื่อมั่นว่าประเทศไทยได้ดำเนินการทุกอย่าง<br />

เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบการทำประมงของ<br />

สหภาพยุโรป เนื่องจากการสั่งซื้อสินค้าประมง<br />

โดยปกติจะเป็นการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า<br />

ดังนั้นการสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าดังกล่าว<br />

จะทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาตลาด และ<br />

ยอดการจำหน่ายอย่างต่อเนื่องต่อไป<br />

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาการทำ<br />

ประมงที่ผิดกฎหมายจะดำเนินการได้อย่าง<br />

ครบถ้วนสมบูรณ์จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ<br />

จากผู้ประกอบการ โดยจะต้องไม่เอาประโยชน์<br />

ความสะดวกสบาย และการละเลยข้อกฎหมาย<br />

ต่าง ๆ ที่เคยปฏิบัติกันมาเป็นที่ตั้ง แต่ต้องให้<br />

ความร่วมมืออย่างจริงจังกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้<br />

ประเทศก้าวผ่านปัญหาครั้งนี้ไปได้ร่วมกัน<br />

ข้อมูลจาก : ผลการประชุมคณะอนุกรรมการ<br />

การแก้ปัญหาประมงที่ผิดกฎหมาย<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

17


แสนยานุภาพของ<br />

ชาติต่างๆ ในทะเลจีนใต้<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ<br />

ในน่านน้ำทะเลจีนใต้มีความ<br />

ปัจจุบันสถานการณ์ความขัดแย้ง<br />

ร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ<br />

นอกจากจะเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพลังงาน<br />

จำนวนมหาศาลแล้ว ยังเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่<br />

มหาอำนาจและชาติต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-<br />

แปซิฟิค ต่างอ้างถึงกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ<br />

ทั้งเหตุผลจากการประกาศเขตเศรษฐกิจ<br />

จำเพาะและหลักฐานทางประวัติศาสตร์<br />

จนเกิดเป็นข้อพิพาทที่ยังไม่สามารถหาข้อ<br />

ยุติได้ ทำให้ประเทศที่มีข้อพิพาทต่างเสริมสร้าง<br />

แสนยานุภาพกันอย่างขนานใหญ่ เพื่อหวัง<br />

18<br />

สร้างดุลอำนาจขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว บทความนี้<br />

จะขอนำเสนอแสนยานุภาพของแต่ละประเทศ<br />

ที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้โดย<br />

สังเขป<br />

จีน เป็นประเทศที่มีบทบาทโดดเด่นที่สุด<br />

ประเทศหนึ่งในกรณีข้อพิพาทเหนือทะเลจีนใต้<br />

ทั้งนี้จากการประกาศแผนที่ "เส้น ๙ จุด"<br />

(nine-dotted-line) ที่แสดงถึงอาณาเขต<br />

ของตน โดยลากเส้นลงมาจากเกาะไหหนาน<br />

หรือ "ไหหลำ" ของจีนบริเวณอ่าวตั๋งเกี๋ย ขนาน<br />

กับชายฝั่งเวียดนามมาจนถึงเกาะบอร์เนียว<br />

บริเวณรัฐซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับ<br />

เลียบชายฝั่งบรูไน ผ่านรัฐซาบาห์ ตัดตรง<br />

เข้าไปในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เลาะชายฝั่ง<br />

ของจังหวัดปาลาวัน เรื่อยไปจนถึงเกาะลูซอน<br />

แล้วขึ้นไปสิ้นสุดที่เกาะไต้หวัน อาณาเขต<br />

ดังกล่าวครอบคลุมหมู่เกาะพาราเซลและหมู่<br />

เกาะสแปรตลีอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยก๊าซ<br />

ธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมหาศาลเข้าไป<br />

ด้วย ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับเวียดนาม<br />

มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนและไต้หวันที่ต่าง<br />

อ้างกรรมสิทธิ์เช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้เกิด<br />

พื้นที่ทับซ้อนระหว่างจีนกับอินโดนีเซียบริเวณ<br />

หมู่เกาะ "นาทูน่า" (Natuna) อีกด้วย<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


นอกจากนี้ยังทำให้สิงคโปร์เข้ามาเกี่ยวพัน<br />

ในข้อพิพาทอีกประเทศหนึ่ง เพราะแผนที่<br />

"เส้น ๙ จุด" ของจีน ครอบคลุมเส้นทางเดิน<br />

เรือที่สำคัญของโลกที่เดินทางผ่านช่องแคบ<br />

มะละกา ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจ<br />

ของสิงคโปร์อีกด้วย<br />

ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ จีน<br />

ได้ทำการดัดแปลงแนวหินโสโครก ซึ่งเป็น<br />

พื้นที่พิพาทสำคัญในหมู่เกาะสแปรตลีของ<br />

ทะเลจีนใต้ที่ชื่อ "กางเขนเพลิง" (Fiery Cross<br />

Reef) หรือที่จีนเรียกว่า "หยงชู" (Yongshu)<br />

ฟิลิปปินส์เรียกว่า "กากิติงงัน" (Kagitingan)<br />

ส่วนเวียดนามเรียกว่า "ดา ชู ต๊าป" (Da<br />

Chu Thap) โดยสร้างสนามบินที่มีทางวิ่ง<br />

ยาว ๓,๐๐๐ เมตร พร้อมท่าเรือขนาดใหญ่<br />

สำหรับแนวหินโสโครก "กางเขนเพลิง" นับเป็น<br />

หนึ่งในเจ็ดแนวหินโสโครกที่ครอบครอง<br />

โดยจีน และถูกอ้างกรรมสิทธิ์โดยฟิลิปปินส์<br />

เวียดนามและไต้หวันเช่นเดียวกัน แต่จีน<br />

ก็ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีการก่อสร้างสนามบิน<br />

ในหมู่เกาะข้อพิพาทแห่งนี้ ฟิลิปปินส์ก็มีการ<br />

ก่อสร้างสนามบินที่มีความยาว ๑,๒๐๐ เมตร<br />

ขึ้นที่เกาะ "ปากาซา" (Pagasa) เขตจังหวัด<br />

"ปาลาวัน" (Palawan) สามารถรองรับเครื่องบิน<br />

ขับไล่และเครื่องบินลำเลียงแบบ ซี-๑๓๐ ได้<br />

ส่วนมาเลเซียก็ก่อสร้างสนามบินยาว ๑,๐๖๗<br />

เมตรขึ ้นที่ "แนวหินนกนางแอ่น" (Swallow<br />

Reef) ซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์และเข้าครอบครองมา<br />

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ทางด้านเวียดนามก็มีการ<br />

ก่อสร้างสนามบินที่มีความยาว ๖๑๐ เมตร<br />

ที่เกาะ "ลากอส" (Lagos) ด้วยเช่นกัน<br />

แสนยานุภาพของจีนในน่านน้ำ<br />

ทะเลจีนใต้ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก คือ<br />

เครื่องบินรบที่จะถูกนำมาใช้ถ่วงดุลอำนาจ<br />

กับชาติต่างๆ ในทะเลจีนใต้ นั่นคือ เครื่อง<br />

บินแบบ เจ-๒๐ “มังกรทรงพลัง” (J-20<br />

Mighty Dragon) ซึ่งเป็นเครื่องบินรบยุคที่ ๕<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

(5 th Generation) รุ่นแรกของจีน เครื่องบิน<br />

เจ-๒๐ มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว รูปทรงของปีกเป็น<br />

รูปสามเหลี่ยม มี ๒ เครื่องยนต์ ใช้เทคโนโลยี<br />

การผลิตขั้นสูง โลกตะวันตกได้ตรวจพบเครื่องบิน<br />

รุ่นนี้จำนวน ๖ ลำ กำลังทดสอบการบินครั้งแรก<br />

ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๒ โดย ๒ ลำสุดท้ายตรวจ<br />

พบเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ และใน<br />

ปี พ.ศ.๒๕๕๔ จีนได้เปิดตัวเครื่องบินรุ่นนี้เพื่อ<br />

แสดงแสนยานุภาพต่อรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ<br />

ขณะเดินทางเยือนจีน แหล่งข่าวตะวันตกคาดว่า<br />

เครื่องบินแบบ เจ-๒๐ จะสามารถปฏิบัติการได้<br />

จริงระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๒<br />

เครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ นี้เป็นเครื่องบิน<br />

ที่มีระยะทำการไกล พร้อมเทคโนโลยีล่องหน<br />

(stealth) มีระบบอาวุธติดตั้งภายในลำตัว<br />

เครื่องถึง ๒ ระบบ สามารถติดตั้งได้ทั้งอาวุธ<br />

ปล่อยนำวิธีแบบอากาศสู่อากาศ และอากาศ<br />

สู่พื้นหรืออาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำ ส่วน<br />

หัวของเครื่องมีลักษณะทางอากาศพลศาสตร์<br />

ที่คล้ายคลึงกับเครื่องบินแบบ เอฟ-๒๒<br />

แรพเตอร์ (F-22 Raptor) ของสหรัฐฯ อย่างมาก<br />

ณ เวลานี้โลกตะวันตกยังไม่ทราบแน่ชัดว่า<br />

เครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ ถูกออกแบบมาเพื่อ<br />

ภารกิจใดเป็นหลัก โดยอาจจะมีภารกิจครอง<br />

อากาศหรือภารกิจอเนกประสงค์ที่คล้ายกับ<br />

เครื่องบินรบแบบ เอฟ-๑๕ อีเกิล (F-15 Eagle)<br />

แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือ เครื่องบินรบรุ่นนี้ถูกผลิต<br />

ขึ้นมาเพื่อเป็นคู่ต่อสู้โดยตรงกับเครื่องบินรบ<br />

แบบ เอฟ-๒๒ แรพเตอร์และแบบ เอฟ-๑๕<br />

อีเกิลของสหรัฐฯ ที่สิงคโปร์มีใช้ในประจำการ<br />

ส่วนแสนยานุภาพทางเรือที่สำคัญของจีน<br />

ในน่านน้ำทะเลจีนใต้คือ กองเรือยกพลขึ้นบก<br />

ขนาดใหญ่แบบ-๗๑ (Type-71) ชั้น "ฉางไป่<br />

ชาน" (Changbai Shan) ที่เพิ่งเข้าประจำการ<br />

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ เรือยกพลขึ้นบกชั้นนี้<br />

เปรียบเสมือนฐานปฏิบัติการลอยน้ำขนาดใหญ่<br />

ตัวเรือมีความยาว ๒๑๐ เมตร กว้าง ๒๘ เมตร<br />

ระวางขับน้ำ ๒๐,๐๐๐ ตัน สามารถบรรทุก<br />

ทหารนาวิกโยธินได้ ๑ กองพันหรือประมาณ<br />

๕๐๐ - ๘๐๐ นาย บรรทุกรถสะเทินน้ำสะเทินบก<br />

ได้ ๑๕ - ๒๐ คัน และบรรทุกเฮลิคอปเตอร์<br />

โจมตีแบบ แซด-๘ หรือแซด-๙ (จีนออกเสียงว่า<br />

จื่อ-๘ หรือ จื่อ-๙) ได้อีกจำนวน ๔ ลำ ปัจจุบัน<br />

จีนมีเรือยกพลขึ้นบกชั้นนี้จำนวนทั้งหมด ๓ ลำ<br />

ประกอบด้วยเรือ "ฉางไป่ ชาน", เรือ "คุนหลุน<br />

ชาน" (Kunlun Shan) และเรือ "จิงกาง ชาน"<br />

(Jinggang Shan) โดยเรือทั้งสามลำสังกัดใน<br />

"กองเรือทะเลใต้" (South Sea Fleet) รับผิด<br />

ชอบพื้นที่ทะเลจีนใต้ ประจันหน้ากับไต้หวัน<br />

และประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีนในพื้นที่<br />

ดังกล่าว นอกจากนี้จีนกำลังต่อเรือชั้น "ฉางไป่<br />

ชาน" อีก ๓ ลำ โดยคาดว่าจะนำเข้าประจำการ<br />

ในกองเรือทะเลตะวันออก (East Sea Fleet)<br />

เพื่อเผชิญหน้ากับญี่ปุ่น สำหรับเรือ "ฉางไป่<br />

ชาน" ของจีน (หมายเลข ๙๘๙) เคยปรากฏโฉม<br />

พร้อมกับเรือฟริเกต "หวูฮั่น" (Wuhan) และ<br />

เรือฟริเกต "ไฮเคา" (Haikou) ในการซ้อมรบ<br />

ทางทะเลของจีนเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๕๗ บริเวณ<br />

พื้นที่ใกล้ช่องแคบ "ลอมบอค" (Lombok) ซึ่ง<br />

ตั้งอยู่ระหว่างเกาะบาหลีและเกาะลอมบอค<br />

ของอินโดนีเซียมาแล้ว<br />

ปัจจุบันโลกตะวันตกได้มีการจำลอง<br />

สถานการณ์ในการส่งกำลังทหารเข้ายึด<br />

หมู่เกาะ "สแปรตลี" ของจีน เหมือนที่เคยปฏิบัติ<br />

กับเวียดนามกรณีหมู่เกาะ "พาราเซล" (Paracel<br />

Islands) ในทะเลจีนใต้มาแล้วในปี พ.ศ.๒๕๑๖<br />

และ พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยในสถานการณ์จำลองนี้ได้<br />

นำแนวคิด "การปฏิวัติกิจการด้านการทหาร"<br />

(RMA : Revolution in Military Affairs)<br />

ที่จีนศึกษาแนวคิดและหลักนิยมของสหรัฐฯ<br />

เป็นต้นแบบในการพัฒนากองทัพของตน<br />

จนถึงขนาดที่เรียกว่า ".. แปลตำราของ<br />

สหรัฐฯ ทุกตัวอักษร ..” แนวคิดนี้ถูกบรรจุไว้ใน<br />

ยุทธศาสตร์ชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ และกลาย<br />

เป็นหลักนิยมในการยุทธของจีนที่กำหนดว่า<br />

".. สงครามท้องถิ่นภายใต้สภาวะเทคโนโลยี<br />

ขั้นสูง ..” ซึ ่งหมายถึง กองทัพจีนจะมุ่งทำการ<br />

รบในพื้นที่ที่จำกัด โดยใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มี<br />

เทคโนโลยีชั้นสูงเข้าทำการรบอย่างรุนแรงและ<br />

เด็ดขาด โดยการรบในลักษณะนี้จะจำกัดเวลา<br />

จำกัดพื้นที่และจำกัดเป้าหมายทางการเมือง<br />

ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จีนจะใช้เรือยกพล<br />

ขึ้นบกแบบ-๗๑ ชั้น "ฉางไป่ ชาน" ส่งกำลัง<br />

ทหารนาวิกโยธินจำนวน ๑ - ๒ กองพัน พร้อม<br />

รถสะเทินน้ำสะเทินบก ๒๐ - ๓๐ คัน สนับสนุน<br />

ด้วยเครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ เข้ายึดครอง<br />

เกาะใดเกาะหนึ่งในหมู่เกาะ "สแปรตลี" อย่าง<br />

รวดเร็ว จากนั้นจะดัดแปลงที่มั่นบนเกาะเป็น<br />

แนวตั้งรับ พร้อมๆ กับเรือเผินลมของจีนที่มี<br />

19


ที่มั่นอยู่ที่ฐานทัพ บนเกาะ "วู้ดดี้" (Woody)<br />

หรือที่จีนเรียกว่า "ยงซิง” (Yongxing) ใน<br />

หมู่เกาะพาราเซล จะทำหน้าที่ลำเลียงยุทธ<br />

สัมภาระ อาวุธหนัก อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้<br />

อากาศยาน รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้าน<br />

เรือผิวน้ำเข้าไปเสริมความมั่นคง ณ ที่หมาย<br />

เพื่อใช้ในการต่อต้านการเข้าตีตอบโต้ของ<br />

ข้าศึกที่มุ่งจะเข้ายึดพื้นที่ดังกล่าวคืนนั่นเอง<br />

สหรัฐฯ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่แม้ไม่มี<br />

พื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ แต่สหรัฐฯ ก็ถือว่า<br />

พื้นที่ในเอเชีย-แปซิฟิคเป็นเขตอิทธิพลดั้งเดิม<br />

ของตนมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒<br />

การเติบโตและแผ่ขยายอาณาเขตของจีน<br />

เข้ามาในทะเลจีนใต้ได้สร้างความกังวลให้กับ<br />

สหรัฐฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการคุ้มครอง<br />

เรือสินค้าจำนวน ๙๐,๐๐๐ - ๑๐๐,๐๐๐ ลำ<br />

ที่เดินทางผ่านช่องแคบมะละกาในแต่ละปี<br />

ทำให้สหรัฐฯ มีการเพิ่มแสนยานุภาพเข้ามาใน<br />

ภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อหวังถ่วงดุลอำนาจ<br />

กับจีน เช่น การส่งอากาศยานชั้นยอดเข้าไป<br />

ประจำการในญี่ปุ่น เช่น อากาศยานไร้นักบิน<br />

หรือ ยูเอวี รุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุดรุ่นหนึ่ง<br />

คือ อาร์คิว-๔ "โกลบอล ฮอว์ค" (RQ-4 Global<br />

Hawk) ซึ่งสามารถตรวจการณ์พื้นที่ได้ถึง<br />

๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ภายในเวลาเพียง<br />

๑ วัน และเครื่องบินขับไล่ที่ได้รับการยอมรับว่า<br />

ดีที่สุดในโลกในยุคปัจจุบัน คือ เอฟ-๓๕ (F-35)<br />

เข้าไปประจำการในญี่ปุ่น นอกเหนือไปจาก<br />

การส่งเครื่องบินแบบ วี-๒๒ ออสเพรย์ (V-22<br />

Osprey) ไปเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก<br />

สหรัฐฯ ยังมีแผนที่จะส่งเรือโจมตีชายฝั่ง<br />

(Littoral Combat Ship : LCS) ชั้น “ฟรีดอม”<br />

(Freedom) จำนวน ๔ ลำเข้ามาประจำการ<br />

อยู่ที่ฐานทัพเรือ "ชางงี" (Changi Naval Base :<br />

CNB) ของสิงคโปร์ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๓ หลังจาก<br />

ที่เคยส่งเรือโจมตีชายฝั่งชั้นนี้คือ เรือ "ยูเอสเอส<br />

ฟรีดอม" (USS Freedom) เข้ามาประจำการ<br />

เป็นเวลา ๖ เดือนเพื่อเป็นการชิมลางเมื่อ<br />

ปีที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันสหรัฐฯ ส่งเรือโจมตี<br />

ชายฝั่งชั้นดังกล่าวอีกลำหนึ่งคือเรือ "ยูเอส<br />

เอส ฟอร์ต เวิร์ธ” (USS Fort Worth) เข้า<br />

มาประจำการ และเพิ่งเกิดการเผชิญหน้ากับ<br />

เรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ ๐๕๔ เอ<br />

(Type 054A) ชื่อ "หยานเฉิง" (Yancheng)<br />

ของจีน เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘<br />

ที่ผ่านมา ขณะเรือดังกล่าวของสหรัฐฯ ลาดตระเวน<br />

ผ่านหมู่เกาะสแปรตลี โดยถูกเรือรบของจีน<br />

แล่นตามประกบอยู่ตลอดเวลา แม้ทางเรือ<br />

"ยูเอสเอส ฟอร์ต เวิร์ธ" ของสหรัฐฯ จะวิทยุ<br />

ไปยังเรือ "หยานเฉิง" ของจีนว่า น่านน้ำที่กำลัง<br />

ปฏิบัติการอยู่นี้เป็นน่านน้ำสากล แต่เรือรบ<br />

ของจีนก็ยังคงแล่นตามอยู่อีกระยะหนึ่ง ก่อนที่<br />

จะแยกออกไปอย่างสงบ<br />

เรือโจมตีชายฝั่งของสหรัฐฯ ชั้น "ฟรีดอม"<br />

เป็นเรือรบที่มีเทคโนโลยีล้ำยุคและทันสมัย<br />

ที่สุดของสหรัฐฯ รุ่นหนึ่ง มีระวางขับน้ำ<br />

๓,๙๐๐ ตัน ยาว ๑๑๘ เมตร ความเร็วสูงสุด<br />

๔๕ นอต (๘๓ กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ระยะทำการ<br />

๖,๕๐๐ กิโลเมตรที่ความเร็ว ๑๘ นอต มีขีด<br />

ความสามารถในการปฏิบัติการรบในเขตน้ำตื้น<br />

ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งไปจนถึงทะเลเปิด ซึ่งเป็น<br />

ลักษณะเฉพาะตัวของทะเลจีนใต้ เนื่องจาก<br />

เป็นทะเลที่เต็มไปแนวหินปะการัง หินโสโครก<br />

โขดหินสลับกับทะเลน้ำลึกที่เรือพิฆาตทั่วไป<br />

ไม่สามารถปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้สหรัฐฯ จะยืนยันอยู่<br />

เสมอว่า ตนพร้อมที่จะกลับเข้ามาในภูมิภาค<br />

เอเชีย-แปซิฟิคตามนโยบาย "ปรับสมดุลย์"<br />

(Rebalancing Policy) ของประธานาธิบดีบารัก<br />

โอบาม่าก็ตาม แต่สถานการณ์ที่กำลังแปร<br />

เปลี่ยนไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นความปราชัย<br />

ของรัฐบาลอิรักต่อกลุ่มไอเอส แนวโน้มที่เต็ม<br />

ไปด้วยอุปสรรคของรัฐบาลอัฟกานิสถานกับ<br />

กลุ่มตาลีบัน ตลอดจนวิกฤติกาลในยูเครน<br />

ทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องถอยห่างออกจาก<br />

ภูมิภาคนี้เรื่อยๆ<br />

เวียดนาม เป็นอีกประเทศหนึ่งที่อ้าง<br />

กรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีในทะเลจีนใต้<br />

โดยเวียดนามเรียกว่าหมู่เกาะนี้ว่า "ควาน เด๋า<br />

เตรือง ซา" (Quan Dao Troung Sa) ในขณะที่<br />

จีนเรียกว่า "นาน ชา" (Nan Cha) ปัจจุบัน<br />

20<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


เวียดนามครอบครองเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ<br />

เกาะ "สแปรตลี" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อของ<br />

หมู่เกาะ ความขัดแย้งที่ทวีความตึงเครียด<br />

ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เวียดนามมีการสะสมอาวุธ<br />

ยุทโธปกรณ์อย่างขนานใหญ่ เช่น สั่งซื้อเรือ<br />

ดำน้ำพลังงานดีเซลชั้น "กิโล" (Kilo) ที่ทันสมัย<br />

ที่สุดชนิดหนึ่งของรัสเซียจำนวน ๖ ลำ มูลค่า<br />

กว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วย<br />

เรือดำน้ำ "ฮานอย" (Hanoi), "โฮ จิ มินห์ซิตี้"<br />

(Ho Chi Minh City), "ไฮ ฟอง" (Hai Phong),<br />

"ดา นัง" (Da Nang), "คานห์ หัว" (Khanh Hoa)<br />

และ "บา เรีย - วัง เทา" (Ba Ria - Vung Tau)<br />

สำหรับยุทธศาสตร์ของเวียดนามคือการใช้เรือ<br />

ดำน้ำเหล่านี้ทำหน้าที่เสมือน "เพชฌฆาตเงียบ"<br />

ปฏิบัติการอยู่ ในบริเวณดินแดนข้อพิพาท<br />

ใต้ท้องทะเลจีนใต้นั่นเอง เนื่องจากเรือดำน้ำ<br />

ชั้น "กิโล" นี้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีที่มีขีดความ<br />

สามารถในการทำลายเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำและ<br />

อากาศยานของข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

สำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง<br />

อากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่อง<br />

บินขับไล่ประสิทธิภาพสูง ๒ ที่นั่งและ ๒<br />

เครื่องยนต์แบบ ซู-๓๐ เอ็มเค ๒ เพิ่มขึ้นอีก<br />

จำนวน ๑๒ ลำจากรัสเซีย จากเดิมที่เคยสั่งซื้อ<br />

มาแล้วจำนวน ๒๐ ลำในปี พ.ศ.๒๕๕๒ และ<br />

๒๕๕๓ ซึ่งทำให้เวียดนามมีฝูงบิน ซู-๓๐ ถึง<br />

๓ ฝูงด้วยกัน เครื่องบินที่สั่งซื้อครั้งล่าสุดมีการส่ง<br />

มอบในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ พ.ศ.๒๕๕๘ เครื่องบิน<br />

รุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น<br />

เพื่อมุ่งทำลายเรือผิวน้ำเป็นหลัก โดยเวียดนาม<br />

ได้จัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือแบบ<br />

เอเอส-๑๗ คริปตอน รุ่น เคเอช-๓๕เอ จาก<br />

รัสเซียจำนวน ๑๐๐ ลูกและแบบ เอเอส-๑๔ รุ่น<br />

เคเอช-๒๙ ที เพื่อนำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่<br />

แบบ ซู-๓๐ และซู-๒๗ ที่มีอยู่เดิมอีกด้วย<br />

สิงคโปร์ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความ<br />

กังวลอย่างมากต่อการขยายอิทธิพลของจีนใน<br />

ทะเลจีนใต้ เนื่องจากทะเลจีนใต้แห่งนี้ถือเป็น<br />

เส้นทางเดินเรือที่สำคัญจากช่องแคบมะละกา<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

ซึ่งถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของตน<br />

สิงคโปร์จึงมีการเสริมกำลังอย่างขนานใหญ่<br />

โดยสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ<br />

ลอคฮีด มาร์ติน เอฟ-๓๕ (Lockheed Martin<br />

F-35) จากสหรัฐฯ เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับ<br />

เครื่องบินรบแบบ เจ-๒๐ ของจีน ซึ่งเครื่อง<br />

บินรุ่นนี้เป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๕ (Fifth<br />

Generation) มีขีดความสามารถหลากหลาย<br />

ทั้งเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นทางอากาศ,<br />

โจมตีภาคพื้นดินและลาดตระเวนตรวจการณ์<br />

หาข่าว อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีล่องหนหรือ<br />

"สเตลท์" (Stealth) ทำให้ยากต่อการตรวจจับ<br />

ด้วยเรดาห์อีกด้วย<br />

นอกจากนี้กองทัพอากาศสิงคโปร์ยังมี<br />

เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบ เอฟ-๑๕<br />

เอสจี สไตรค์ อีเกิล (F-15 SG Strike Eagle)<br />

จำนวน ๒๔ ลำ โดยสั่งซื้อครั้งแรกในปี พ.ศ.<br />

๒๕๔๘ มูลค่ากว่า ๗๔๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ<br />

พร้อมยุทโธปกรณ์ครบชุด เช่น อาวุธปล่อยนำ<br />

วิถีอากาศสู่อากาศ แบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ แอม<br />

แรม (AIM-120 AMRAAM) ซึ่งมีศักยภาพใน<br />

การทำลายเป้าหมายในทุกสภาพอากาศและ<br />

ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีความเร็ว<br />

เหนือเสียง ๔ มัค, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่<br />

อากาศแบบ เอไอเอ็ม–๙ ไซด์ไวน์เดอร์ (AIM-<br />

9 Sidewinder) นำวิถีด้วยระบบอินฟาเรด มี<br />

ความเร็ว ๒.๕ มัค และระเบิดนำวิถีแบบ เจบียู<br />

๓๘ เจแดม (GBU 38 JDAM) ซึ่งมีบทบาท<br />

อย่างมากในสมรภูมิอิรักและอัฟกานิสถาน<br />

เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๐ สิงคโปร์ได้<br />

สั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ชนิดดังกล่าวเพิ่มเติมอีก<br />

๘ ลำ และ ๔ ลำตามลำดับจนครบ ๒๔ ลำ เมื่อ<br />

เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖<br />

มาเลเซีย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีข้อ<br />

พิพาทเหนือทะเลจีนใต้ และส่งกำลังทาง<br />

เรือเข้าไปครอบครองน่านน้ำบริเวณโขดหิน<br />

โสโครกที่อ้างว่าเป็นของตนจำนวน ๓ เกาะ<br />

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖ และสร้างเป็นสถานี<br />

เทียบเรือเรียกว่า "สถานียูนิฟอร์ม" (Uniform<br />

Station) โดยมาเลเซียเรียกเกาะแนวหิน<br />

ปะการังนี้ว่า "แนวหินนกนางแอ่น" หรือใน<br />

ภาษามลายูเรียกว่า "ลายัง ลายัง" (Layang<br />

Layang) ส่วนจีนเรียกว่า "ดาน วาน เจียว"<br />

(Dan Wan Jiao) โดยมาเลเซียมีการสั่งซื้อเรือ<br />

ดำน้ำสกอร์ปีเน่ (Scorpene) จำนวน ๒ ลำจาก<br />

การร่วมผลิตของประเทศฝรั่งเศสและสเปน<br />

คือ เรือดำน้ำ "ตุนกู อับดุล ราห์มาน" (Tunku<br />

Abdul Rahman) ส่วนเรือดำน้ำอีกลำหนึ่งคือ<br />

เรือดำน้ำ "ตุนกู อับดุล ราซัก" (Tunku Abdul<br />

Razak) เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๓ เรือทั้ง<br />

สองลำนี้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีจากใต้น้ำต่อต้าน<br />

เรือผิวน้ำแบบ เอกโซเซต์ เอสเอ็ม ๓๙ (Exocet<br />

SM39) อันทรงอานุภาพของฝรั่งเศส<br />

จากที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างของ<br />

ยุทโธปกรณ์บางประเภทเท่านั้น เพราะแต่ละ<br />

ประเทศยังมีแสนยานุภาพอื่นๆ อีกมากมาย<br />

ที่ใช้ในการถ่วงดุลอำนาจในทะเลจีนใต้ เช่น<br />

ฟิลิปปินส์ยังมีเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง "เกรโกริ<br />

โอ เดล พิล่าร์" สิงคโปร์ยังมีกองเรือดำน้ำ<br />

"ชาลเลนเจอร์" (Challenger) และชั้น "อาร์เชอร์"<br />

(Archer) ซึ่งเข้าประจำการเมื่อเดือนเมษายน<br />

พ.ศ.๒๕๕๖ นับเป็นเรือดำน้ำที่มีความ<br />

ทันสมัยมากที่สุดรุ่นหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวัน<br />

ออกเฉียงใต้ เป็นต้น เพียงเท่าที่กล่าวมาก็จะ<br />

เห็นได้ว่ายุทโธปกรณ์ของประเทศต่างๆ เป็น<br />

แสนยานุภาพที่มีความใกล้เคียงกันอย่างมาก<br />

ทำให้เป็นที่จับตามองในขณะนี้ว่า บรรดา<br />

ประเทศที่มีข้อพิพาทเหล่านี้จะเลือกหนทาง<br />

ใดในการยุติข้อขัดแย้งดังกล่าว เพราะต่างก็<br />

เชื่อกันว่าทั้งจีน สหรัฐฯ และประเทศต่างๆ<br />

ในอาเซียน ล้วนต่างเป็นประเทศที่ใฝ่สันติ ไม่<br />

ต้องการเลือกหนทางที่รุนแรงเป็นทางออก<br />

อย่างแน่นอน หากแต่ความผิดพลาดจากที่อาจ<br />

เกิดขึ้นจากการเผชิญหน้าอันตึงเครียด อาจส่ง<br />

ผลทำให้เกิดผลตามมาอย่างรุนแรงและคาด<br />

ไม่ถึงเลยทีเดียว<br />

21


สัมภาษณ์ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เรื่อง กระทรวงกลาโหมหลักประกัน<br />

ความมั่นคงของชาติ เคียงข้างประชาชน<br />

โดย คุณชลรัศมี งาทวีสุข เป็นผู้ดำเนินรายการ<br />

ออกอากาศเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา<br />

คุณชลรัศมีฯ บทบาทของกระทรวง<br />

กลาโหมในปัจจุบันมีอะไรบ้างคะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

บางท่านอาจยังไม่ทราบว่า นอกเหนือ<br />

จากบทบาทหน้าที่ในการป้องกันประเทศ<br />

และการปกป้องสถาบันฯ ซึ่งเป็นความ<br />

รับผิดชอบหลัก กฎหมายยังได้กำหนดให้<br />

กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ครอบคลุมภารกิจ<br />

อื่นๆ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาประเทศ การ<br />

ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ การ<br />

ช่วยเหลือประชาชน รวมไปถึงการสนับสนุน<br />

รัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ<br />

22<br />

โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา<br />

ความมั่นคงในมิติที่มีความหลากหลายใน<br />

ปัจจุบัน โดยใช้ศักยภาพทั้งปวงของกองทัพ<br />

สนับสนุนการดำเนินงานทั้งในเรื่องการช่วย<br />

เหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน รวม<br />

ถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน<br />

ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ<br />

คุณชลรัศมีฯ สำหรับความมั่นคงในด้าน<br />

การต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้างคะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

กระทรวงกลาโหมยังมีส่วนในการ<br />

ร่วมรับผิดชอบต่อเสถียรภาพ<br />

ความมั่นคงในภูมิภาคและของ<br />

โลก ขอเรียนว่า ที่ผ่านมาเราได้<br />

มีการส่งกำลังสนับสนุนภารกิจ<br />

รักษาสันติภาพภายใต้กรอบ<br />

สหประชาชาติ และการปฏิบัติการ<br />

เพื่อมนุษยธรรมแล้วไม่น้อยกว่า<br />

๑๘ ภารกิจ ล่าสุดเมื่อเดือน<br />

เมษายนที่ผ่านมา ยังได้จัดหน่วย<br />

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว<br />

ที่ประเทศเนปาล อีกด้วย<br />

บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ<br />

การรักษาความมั่นคงทางทะเลร่วมกับมิตร<br />

ประเทศ กองทัพเรือได้จัดให้มีการลาดตระเวน<br />

บริเวณเขตแดนทางทะเลร่วมกับมาเลเซีย<br />

เวียดนาม เมียนมา และอินเดีย ส่งผลให้เกิด<br />

ความปลอดภัยในเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้า<br />

ซึ่งนับว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ<br />

ทางทะเลที่มีมูลค่ามหาศาล<br />

สำหรับการดำเนินงานเตรียมความ<br />

พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน นั้น ท่าน<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ให้<br />

ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการใช้กลไกการ<br />

ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และการ<br />

ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรี<br />

กลาโหมประเทศคู่เจรจาอีก ๘ ประเทศ<br />

ซึ่งกลไกดังกล่าวนับว่ามีความสำคัญ<br />

อย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจและความ<br />

ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ต้องขอเรียนว่า<br />

ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างไทยกับ<br />

กองทัพมิตรประเทศ โดยเฉพาะประเทศ<br />

เพื่อนบ้านในสมัยรัฐบาลปัจจุบันนี้ถือได้ว่า<br />

ดีที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็น<br />

รากฐานสำคัญในการเสริมสร้างบรรยากาศ<br />

ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน<br />

ของภูมิภาค อันจะนำไปสู่ความมั่นคง ปลอดภัย<br />

และความอยู่ดีกินดีของประชาชนในภูมิภาค<br />

อย่างยั่งยืนต่อไป


และในฐานะที่ไทยและสหพันธรัฐรัสเซีย<br />

เป็นประธานร่วมในคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านการแพทย์ทหาร ได้กำหนดแผนการจัด<br />

ตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนขึ้นในประเทศไทย<br />

ภายในปลายปีนี้ เพื่อเป็นศูนย์ในการประสาน<br />

งานด้านการแพทย์เมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิด<br />

ขึ้นในภูมิภาค<br />

คุณชลรัศมีฯ บทบาทของกระทรวง<br />

กลาโหมในการรักษาความมั่นคง<br />

ปลอดภัยให้กับประชาชนภายในประเทศ<br />

มีอะไรบ้างคะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

การรักษาอธิปไตยตามแนวชายแดน<br />

ถือเป็นความรับผิดชอบหลัก ที่กองทัพไทย<br />

ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้จัดกอง<br />

กำลังป้องกันชายแดนจำนวน ๘ กองกำลัง<br />

และใช้กลไกความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว เช่น<br />

คณะกรรมการชายแดนทั่วไป คณะกรรมการ<br />

ชายแดนส่วนภูมิภาค ชุดประสานงานชายแดน<br />

ส่วนท้องถิ่น ในการป้องกันความขัดแย้งกับ<br />

ประเทศเพื่อนบ้าน นำไปสู่การเสริมสร้าง<br />

ความสงบสุขให้กับประชาชนตามแนว<br />

ชายแดน และนอกเหนือจากภารกิจในการ<br />

รักษาอธิปไตยแล้วกองกำลังเหล่านี้ยังทำหน้าที่<br />

ในการสกัดกั้นยาเสพติด และแรงงานต่างด้าว<br />

โดยในห้วง ๖ เดือนที่ผ่านมา สามารถจับกุม<br />

ผู้ลักลอบขนยาเสพติด ยึดยาบ้า และจับกุม<br />

แรงงานต่างด้าวได้เป็นจำนวนมาก<br />

คุณชลรัศมีฯ สำหรับพื้นที่ที่มีความ<br />

น่าห่วงใยในจังหวัดชายแดนภาคใต้<br />

กระทรวงกลาโหมมีบทบาท อย่างไรคะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

สำหรับการรักษาความปลอดภัยใน<br />

พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวง<br />

กลาโหมมีบทบาทในการสนับสนุนเจ้าหน้าที่<br />

ฝ่ายทหาร เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่มาอย่าง<br />

ต่อเนื่องในกรอบของกองอำนวยการ<br />

รักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า<br />

ซึ่งนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม นอกจากจะให้ความสำคัญกับการ<br />

รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />

ของประชาชนแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการ<br />

น้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง<br />

พัฒนา” รวมทั ้งยึดถือแนวทางสันติ และไม่ใช้<br />

ความรุนแรงในการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งทำให้<br />

สถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยวัดได้<br />

จากสถิติเหตุการณ์และจำนวนการสูญเสีย<br />

ในรอบ ๖ เดือน ที่ลดลงไปกว่าครึ ่งเมื่อเปรียบ<br />

เทียบกับห้วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา<br />

คุณชลรัศมีฯ การสนับสนุนรัฐบาลในการ<br />

แก้ปัญหาของชาติ ไม่ทราบว่าบทบาท<br />

ของกระทรวงกลาโหม ในการสนับสนุน<br />

รัฐบาลที่สำคัญที่กำลังดำเนินการอยู่ใน<br />

ปัจจุบันมีอะไรบ้างคะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

เรื่องนี้ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหมได้กรุณาสั่งการให้<br />

กองทัพดำเนินการสนับสนุนรัฐบาลและคณะ<br />

รักษาความสงบแห่งชาติในการบริหารราชการ<br />

แผ่นดิน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ<br />

ในทุกมิติอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งสนับสนุน<br />

การวางรากฐานเพื่อการปฏิรูปประเทศ และ<br />

การเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์<br />

ให้กับคนในชาติ โดยเฉพาะในเรื่องที่จะต้องมี<br />

การบูรณาการการทำงานของหลายหน่วยงาน<br />

ยกตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาการ<br />

ค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย<br />

(IUU Fishing) ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้เป็น<br />

“วาระแห่งชาติ”นั้น ได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์<br />

บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมง<br />

ผิดกฎหมาย” มีท่านผู้บัญชาการทหารเรือ<br />

เป็นผู้บัญชาการศูนย์ฯ และให้กองทัพเรือ<br />

ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการ<br />

ทางทะเลและชายฝั่ง และปฏิบัติงานร่วมกับ<br />

หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง<br />

การแก้ไขปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน<br />

แบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย กระทรวง<br />

กลาโหมได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการลาดตระเวน<br />

และช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้โยกย้าย<br />

ถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย<br />

มีท่านผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อำนวยการ<br />

ศูนย์ฯ ทำหน้าที่ในการประสานงานกับมิตร<br />

ประเทศในการลาดตระเวนทั้งทางบก ทะเล และ<br />

อากาศ และการให้ความช่วยเหลือผู้โยกย้าย<br />

ถิ่นฐานฯ ให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

23


่<br />

่<br />

คุณชลรัศมีฯ ในการช่วยเหลือประชาชน<br />

กระทรวงกลาโหมได้มีการดำเนินการ<br />

อย่างไรบ้างคะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งศูนย์บรรเทา<br />

สาธารณภัยกระทรวงกลาโหม เพื่อทำหน้าที<br />

เป็นศูนย์ประสานการเตรียมความพร้อม<br />

ในการป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย และช่วย<br />

เหลือประชาชน โดยท่านรัฐมนตรีซึ่งเป็น<br />

ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ ได้ให้นโยบายไว้ว่า “ทหาร<br />

จะต้องเป็นหน่วยงานแรกในการเข้าไป<br />

ให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน<br />

ให้กับประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ” โดยในห้วง<br />

ที่ผ่านมาได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง<br />

ของรัฐบาล ใน ๒ ส่วน<br />

ส่วนแรก เป็นเชิงป้องกัน โดยได้ดำเนิน<br />

การขุดลอกคลองตามโครงการขุดลอกแหล่งน้ำ<br />

การปลูกต้นไม้ เพื่อรักษาผืนป่าต้นน้ำ การ<br />

สร้างฝายชะลอน้ำ การช่วยปรับปรุงสภาพลำน้ำ<br />

รวมทั้งใช้อากาศยานโปรยเมล็ดพันธุ์ไม้ลงใน<br />

พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม<br />

ส่วนที่สอง เป็นการช่วยเหลือเฉพาะหน้า<br />

ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การ<br />

แจกจ่ายน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภค<br />

ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง<br />

โดยได้แจกจ่ายไปแล้วประมาณ ๔๐ ล้านลิตร<br />

การขุดบ่อบาดาลโดยหน่วยบัญชาการ<br />

ทหารพัฒนาของกองบัญชาการกองทัพไทย<br />

และหน่วยทหารช่างของกองทัพบก สำหรับ<br />

กองทัพอากาศก็ได้จัดเครื่องบิน จำนวน ๖<br />

เครื่อง สนับสนุนโครงการฝนหลวงในพื้นที<br />

ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<br />

คุณชลรัศมีฯ ในห้วงเวลาของการ<br />

ปฏิรูปประเทศนี ้อยากทราบว่ากระทรวง<br />

กลาโหมมีการปฏิรูปอย่างไร บ้างคะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

ขอเรียนว่าในเรื่องของการปฏิรูปและการ<br />

ปรับปรุงโครงสร้างนั้น ในส่วนของกระทรวง<br />

กลาโหมเราได้ดำเนินการมาโดยตลอด เพื่อ<br />

ให้ทันต่อสถานการณ์ภัยคุกคามที่มีความ<br />

หลากหลายมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด<br />

เวลา และเมื่อรัฐบาลได้สั่งการให้มีการปฏิรูป<br />

การทำงานของทุกหน่วยงาน เราจึงได้กำหนด<br />

หัวข้อ และ Time line ในการปฏิรูป<br />

ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยแบ่งการดำเนินการ<br />

ออกเป็น ๒ ระยะ<br />

ในห้วงระยะ ๕ ปีแรกนี้จะมุ่งเน้นการ<br />

ดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเรื่องการปฏิรูป<br />

ระบบบริหารจัดการกระทรวงกลาโหม และ<br />

การเสริมสร้างกองทัพให้มีความพร้อมทั้ง<br />

ในเรื่องกำลังพล ยุทโธปกรณ์ หลักนิยม<br />

การฝึกศึกษา การวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเอง และการ<br />

พัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ<br />

ป้องกันประเทศ การปฏิบัติภารกิจร่วมกับ<br />

กองทัพมิตรประเทศและอาเซียน รวมถึงการ<br />

สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของชาติ<br />

ในมิติต่าง ๆ<br />

ในห้วงระยะ ๕ ปีถัดไปจะดำเนินการ<br />

ปรับปรุงโครงสร้างให้มีความสอดรับกับการ<br />

บริหารราชการยุคใหม่ที่มุ่งเน้นความคล่องตัว<br />

มีความทันสมัย และสามารถปฏิบัติภารกิจที ่มี<br />

ความหลากหลายมากยิ่งขึ้น<br />

24


คุณชลรัศมีฯ อีกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ<br />

ของประชาชน อยากเรียนถามถึงเรื่องการ<br />

จัดหาเรือดำน้ำ ของกองทัพเรือค่ะ<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

ขอเรียนว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งคิดกัน<br />

ในสมัยนี้ แต่เป็นเรื่องที่ได้กำหนดไว้ในแผน<br />

พัฒนากองทัพเรือ และมีการเสนอมานานแล้ว<br />

ตั้งแต่ปี ๕๓ แต่มีการชะลอการดำเนินการไว้<br />

ซึ่งเรือดำน้ำนั้นถือเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์<br />

ในการป้องปรามการรุกล้ำอธิปไตยทางทะเล<br />

และการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล<br />

ที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งหลายประเทศในอาเซียน<br />

ตระหนักในเรื่องนี้ดี และได้จัดหาเรือดำน้ำ<br />

มาใช้งานในกองทัพของตนแล้ว สำหรับแผนการ<br />

จัดหา ที่กองทัพเรือเสนอไม่ได้เป็นการดำเนิน<br />

การภายในปีเดียวแต่เป็นแผนระยะยาวในห้วง<br />

๗ ถึง ๑๐ ปี เพราะได้ตระหนักดี ถึงปัญหา<br />

ด้านงบประมาณ ขอเรียนว่าทั้งหมดทั้งปวงนี้<br />

ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวง<br />

กลาโหม ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาในกระทรวง<br />

กลาโหมแล้ว ยังต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อ<br />

พิจารณาความเหมาะสมต่อไป<br />

คุณชลรัศมีฯ ท้ายนี้ท่านมีอะไรอยากจะ<br />

ฝากไปถึงประชาชนที่รับชมรายการอยู่<br />

ในขณะนี้<br />

พลเอก ศิริชัยฯ<br />

อยากฝากไปถึงพี่น้องประชาชน ขอให้<br />

ท่านมีความเชื่อมั่นในกระทรวงกลาโหม ว่าจะ<br />

เป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติและอยู่<br />

เคียงข้างประชาชนในทุกสถานการณ์ โดยท่าน<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารทั้ง ๓ เหล่าทัพ<br />

ทุกท่านมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างเต็มที่<br />

ในการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิต<br />

ของประชาชน เพราะเมื่อประชาชนมีอาชีพ<br />

มีรายได้ อยู่ดีกินดี มีความปลอดภัยในชีวิตและ<br />

ทรัพย์สินแล้ว ก็จะทำให้ประเทศชาติมีความ<br />

มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้ในที่สุด<br />

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.youtube.com/<br />

watch?v=1J67lXU5DYg<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

25


โครงการฝนหลวง<br />

สำคัญอย่างไร<br />

แผนกเผยแพร่ฯ<br />

“โครงการฝนหลวง” คือ<br />

โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วน<br />

พระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างฝนเทียม สำหรับบรรเทา<br />

ความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร จากพระราช<br />

กรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม<br />

พสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่<br />

เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติตราบเท่าทุก<br />

วันนี้ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มี<br />

แนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้<br />

ทำลายป่า การเผาป่า ฯลฯ เป็นสาเหตุให้<br />

สภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลง<br />

26<br />

อย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่<br />

ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความ<br />

เสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ ระหว่าง<br />

ทางที่เสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และ<br />

ทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุม<br />

ท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิด<br />

เป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง<br />

ระยะยาวทั้งๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดว่าน่า<br />

จะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที ่จะช่วยให้<br />

เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้<br />

ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของสภาพอากาศ<br />

และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้ง<br />

อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของ<br />

ฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุม<br />

ตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดู<br />

เพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถ<br />

ดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้<br />

การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธี<br />

การเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุ<br />

สารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้น<br />

ของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน<br />

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อน<br />

ชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัว<br />

แผนกเผยแพร่ฯ


ที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม<br />

กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้น<br />

ขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ<br />

จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หาก<br />

อุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำ<br />

ในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเอง<br />

ของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว<br />

เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้<br />

จึงประกอบด้วย “สูตรร้อน” ใช้เพื่อกระตุ้น<br />

เร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ,<br />

“สูตรเย็น” ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของ<br />

ละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้<br />

เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไก<br />

ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น<br />

ทั้งนี้ ฝนหลวงไม่เพียงแต่จะเป็น<br />

ประโยชน์สำหรับแหล่งน้ำที่จำเป็นต้องใช้ใน<br />

การเพาะปลูกสำหรับเกษตรกรในสภาวะแห้งแล้ง<br />

เท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัญหาฝนแล้งหรือ<br />

ฝนทิ้งช่วงยาวนาน ปัญหาการขาดแคลนน้ำ<br />

เพื่อการอุปโภค บริโภค ภาวะความต้องการ<br />

น้ำกิน น้ำใช้ ที่ทวีความรุนแรงมากในภาค<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากคุณสมบัติ<br />

ของดินในภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปนทรายไม่<br />

สามารถอุ้มซับน้ำได้ จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำ<br />

ได้ดีเท่าที่ควร การเสริมสร้างเส้นทางคมนาคม<br />

ทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะใน<br />

บริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้น<br />

ทางคมนาคมได้ ซึ่งเป็นสิ ่งสำคัญยิ่งเพราะน้ำ<br />

ในแม่น้ำบางสายถือเป็นเส้นทางการขนส่ง<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

สินค้าที่สำคัญ นอกจากนั้นการขนส่งทางน้ำยัง<br />

เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่นอีกด้วย และการ<br />

จราจรทางน้ำยังเป็นอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับผู้<br />

ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรทางบก<br />

ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากสำหรับการ<br />

ป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม<br />

หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด<br />

น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่อง<br />

เข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน ้ำกร่อย และสร้างความ<br />

เสียหายแก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก“ฝนหลวง”<br />

จึงได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจาก<br />

การระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้<br />

ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลงได้<br />

ส่วนด้านการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อน<br />

ภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า<br />

นั้น บ้านเมืองเราเริ่มประสบปัญหาการ<br />

ขาดแคลนพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากมี<br />

ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่สูงขึ้น เมื่อ<br />

เกิดภาวะวิกฤตโดยระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับ<br />

ต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังงานน้ำ<br />

ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การทำฝนหลวงจึงมี<br />

ความสำคัญในหลายๆ ด้าน<br />

การทำฝนหลวงเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่<br />

ต่อการรับรู้ของบุคคลทั่วไป และในประเทศไทย<br />

ยังไม่มีนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้<br />

ในระยะแรกเริ ่มของโครงการฯ ดังนั้น<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นกำลัง<br />

สำคัญ และทรงร่วมในการพัฒนากิจกรรมนี้<br />

ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทรงวางแผนการ<br />

ทดลองปฏิบัติการการติดตามและประเมินผล<br />

ปฏิบัติการทุกครั้งอย่างใกล้ชิดและรวดเร็ว<br />

ชนิดวันต่อวัน ทรงปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง<br />

ในการประสานงาน ขอความร่วมมือจาก<br />

ผู้เชี ่ยวชาญ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อ<br />

สนับสนุนกิจกรรม อาทิ เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา<br />

กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง<br />

ประเทศไทย กองบินตำรวจ กองการสื่อสาร<br />

กรมตำรวจ และกองทัพอากาศ ในรูปของ<br />

ศูนย์อำนวยการฝนหลวงพิเศษสวนจิตรลดา<br />

และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรูปของ<br />

คณะกรรมการดำเนินการทำฝนหลวง ซึ่งการที่<br />

พระองค์ติดตามโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด<br />

มาตลอด และได้ให้แนวทางในการปฏิบัติ<br />

อย่างเป็นรูปธรรม จึงทำให้โครงการฝนหลวง<br />

พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับ<br />

ประเทศอื่นๆ<br />

จากประโยชน์นานัปการของโครงการ<br />

ฝนหลวง อันเกิดจากพระปรีชาสามารถ<br />

และสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคำนึงถึงประโยชน์<br />

ทุกข์สุขของราษฎรชาวไทยเสมอมานั้น<br />

การขนานนามพระองค์ว่า “พระบิดาแห่ง<br />

ฝนหลวง” จึงเป็นการแสดงความรำลึกใน<br />

พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ที่จะคงอยู่ในใจ<br />

ของปวงชนชาวไทยตลอดไป<br />

27


การอนุรักษ์ช้าง<br />

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ช้างเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง<br />

กับสถาบันหลักของประเทศและมีความผูกพัน<br />

กับวิถีชีวิตของคนไทยเสมอมา ตั้งแต่อดีตจนถึง<br />

ปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๖<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมติเลือก<br />

ให้ “ช้างเผือก” เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ<br />

เนื่องจากช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้อง<br />

กับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทย ซึ่งใน<br />

อีก ๓๕ ปีต่อมา ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.<br />

๒๕๔๑ มติคณะรัฐมนตรีประกาศให้วันที่ ๑๓<br />

มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทย<br />

และเยาวชนรุ่นหลังได้รำลึกและตระหนัก<br />

ถึงคุณค่าและความสำคัญของช้างซึ่งเป็นสัตว์<br />

ประจำชาติและเพื่อสร้างจิตสำนึกรัก หวงแหน<br />

พร้อมใจมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ช้างไทย<br />

ให้คงอยู่คู่ประเทศไทย ตราบนานเท่านาน<br />

ช้างในปัจจุบันมี ๒ สายพันธุ์ ได้แก่<br />

๑. ช้างแอฟริกา (Loxodonta Africana)<br />

มีลักษณะเด่นคือ ผิวออกสีน้ำตาล สูงประมาณ<br />

๓.๕ เมตร ใบหูใหญ่กว่าช้างเอเชีย กะโหลก<br />

ศีรษะเล็ก มีมันสมองน้อย<br />

๒. ช้างเอเชีย (Elephas maximus)<br />

เป็นช้างที่กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ๑๓<br />

28<br />

ประเทศ คือ อินเดีย บังคลาเทศ ภูฏาน เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน<br />

มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีลักษณะเด่น คือ ผิวสีออกดำ สูงประมาณ ๓ เมตร ใบหูเล็ก กะโหลก<br />

ศีรษะใหญ่มีมันสมองมาก<br />

ความแตกต่างระหว่างช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา<br />

ลักษณะ ช้างแอฟริกา ช้างเอเชีย<br />

รูปร่างทั่วไป<br />

- หลังแอ่น<br />

- หูใหญ่<br />

- มีงาทั้งเพศผู้และเพศเมีย<br />

- ตีนหน้ามี ๔ เล็บ<br />

- ตีนหลังมี ๓ เล็บ<br />

- หลังโค้ง<br />

- หูเล็ก<br />

- มีงาเฉพาะเพศผู้บางตัว<br />

- ตีนหน้ามี ๕ เล็บ<br />

- ตีนหลังมี ๔ เล็บ<br />

ความสูง<br />

เพศผู้ : ๓.๖ เมตร เพศผู้ : ๒.๗ เมตร<br />

เพศเมีย : ๓ เมตร<br />

เพศเมีย : ๒.๓ เมตร<br />

น้ำหนัก<br />

เพศผู้ : ๕.๕ ตัน<br />

เพศผู้ : ๓.๕ ตัน<br />

เพศเมีย : ๔ ตัน<br />

เพศเมีย : ๓ ตัน<br />

โหนกหัว ๑ ลอน ๒ ลอน<br />

จะงอยปลายงวง ๒ จะงอย ๑ จะงอย<br />

จานวนกระดูกซี่โครง ๒๑ คู่ ๑๙ คู่<br />

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


ช้างป่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ<br />

ธรรมชาติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่ต้องการถิ่น<br />

อาศัยที่อุดมสมบูรณ์และกว้างขวางเพื่อตอบ<br />

สนองต่อความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพ<br />

ช้างช่วยสร้างด่านสัตว์ เปิดแหล่งดินโป่ง<br />

หรือแม้แต่ขุดหาแหล่งน้ำให้สัตว์อื่นๆ ได้ใช้<br />

ประโยชน์ในหน้าแล้งด้วย ฯลฯ พฤติกรรม<br />

เหล่านี้ได้เอื้อประโยชน์ต่อสัตว์ป่าเป็นจำนวน<br />

มาก ฉะนั้นการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของช้างป่าจึง<br />

เป็นการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ<br />

ในระบบนิเวศด้วย<br />

ในปัจจุบัน ช้างจัดเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้<br />

จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการบุกรุกป่าและ<br />

เปลี่ยนแปลงแหล่งอาศัยของช้างป่า เกิดปัญหา<br />

“ช้างติดเกาะ” ผลที่ตามมาคือการล่าและจับ<br />

ช้างป่าทำได้ง่ายขึ้น ช้างป่าออกไปทำลายพืชไร่<br />

และทรัพย์สินของราษฎรได้บ่อยขึ้น ซึ่งจะ<br />

นำมาทั้งการบาดเจ็บและเสียชีวิตของทั้งคน<br />

และช้าง หากไม่มีมาตรการแก้ไขที่เหมาะสม<br />

และยั่งยืน ดังนั้นการอนุรักษ์ช้างจึงเป็นสิ่งที่<br />

คนไทยทุกคนควรจะได้ร่วมมือร่วมใจกัน ทำให้<br />

เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นเพื่อให้ช้างได้รับการดูแล<br />

มีสวัสดิภาพที่ดีสมศักดิ์ศรีที่เป็นสัตว์สัญลักษณ์<br />

ประจำชาติและดำรงเผ่าพันธุ์บนผืนแผ่นดินไทย<br />

ร่วมกับคนไทยตลอดไป<br />

การพิสูจน์งาช้างนั้นหากเป็นการตรวจ<br />

สอบทางกายภาพด้วยตาสามารถตรวจแยก<br />

ได้เฉพาะ งาช้างแมมมอธกับงาช้างปัจจุบัน<br />

(งาช้างเอเชียและงาช้างแอฟริกา) โดยดูจาก<br />

มุมของเส้นลายงาที่หน้าตัดขวางของงาช้าง<br />

นั้น หากเป็นงาช้างแมมมอธ มุมของเส้นลาย<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

จะเป็นมุมแหลมกว่างาช้างปัจจุบัน<br />

ในส่วนของการจำแนกงาช้างแอฟริกา<br />

กับงาช้างเอเชียนั้น ไม่สามารถจำแนกทาง<br />

กายภาพได้ โดยเฉพาะงาช้างที่มีขนาดไม่<br />

ใหญ่มาก และงาช้างที่นำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์<br />

ต่างๆ แล้ว เพราะการตรวจจำแนกชนิดต้อง<br />

ใช้วิธีการตรวจสอบทางพันธุกรรม (DNA)<br />

โดยหากเป็นผลิตภัณฑ์งาช้างชิ้นเล็กๆ การ<br />

ตรวจสอบอาจทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นเสียหาย<br />

เพราะต้องทำการบดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื ่อ<br />

นำมาสกัดสารพันธุกรรม โดยหน่วยปฏิบัติการ<br />

นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ<br />

สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือ DNP WIFOS เป็น<br />

หน่วยงานที่ให้บริการตรวจพิสูจน์พันธุกรรม<br />

ของสัตว์ป่า เพื่อจำแนกชนิดพันธุ์และชนิดพันธุ์<br />

ย่อยของสัตว์ป่า และซากสัตว์ป่าของกลางใน<br />

ชนิดพันธุ์ที่สำคัญ ซึ่งกลุ่มสัตว์ที่สามารถตรวจ<br />

พิสูจน์ได้คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป และ<br />

กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ<br />

ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์งาช้าง สามารถ<br />

นำมาตรวจพิสูจน์เพื่อระบุชนิดพันธุ์ได้ด้วยวิธี<br />

การเนสเดตพีซีอาร์ ( Nested PCR ) โดยชนิด<br />

พันธุ์ที่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ ได้แก่ ช้างเอเชีย<br />

ช้างทุ่งแอฟริกา ช้างป่าแมมมอธ เพื่อประโยชน์<br />

ในการพิจารณาดำเนินคดีโดยมีจุดประสงค์<br />

เพื่อใช้แก้ปัญหาอาชญากรรมสัตว์ป่า และ<br />

ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทย<br />

อย่างยั่งยืน<br />

ประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๘ ของประเทศ<br />

ได้แก่ ไทย จีน มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์<br />

อูกันตา แทนซาเนีย และเคนย่า ที่อนุสัญญา<br />

ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า<br />

และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) จัดให้เป็น<br />

ประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับการค้างาช้างที่<br />

ผิดกฎหมายและถูกกล่าวหาว่าไม่มีมาตรการ<br />

ควบคุมการค้างาช้างภายในประเทศอย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ<br />

คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๖<br />

กันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ ให้ความเห็นชอบแผน<br />

ปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย ( Thailand<br />

National Ivory Action Plan) ฉบับแก้ไข<br />

จำนวน ๕ กิจกรรมดังนี้<br />

๑. การออกระเบียบและกฎหมายที่<br />

เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการค้า<br />

งาช้าง<br />

๒. การจัดทำระบบทะเบียนข้อมูล<br />

ผู้ประกอบกิจการค้างาช้างและรายการสินค้า<br />

งาช้างข้อมูลการครอบครองงาช้างบ้านและ<br />

งาช้างแอฟริกาที่ถูกกฎหมายและข้อมูลงาช้าง<br />

ของกลาง<br />

๓. การกำกับดูแลและการบังคับใช้<br />

กฎหมาย<br />

๔. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความ<br />

เข้าใจเกี่ยวกับพันธกรณีตามอนุสัญญา CITES<br />

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการ<br />

กำกับดูแลการค้างาช้างบ้านต่อประชาชน<br />

ทั่วไป ผู้ค้างาช้าง เจ้าของช้างและแจ้งเตือน<br />

ชาวต่างชาติ ไม่ให้ซื้องาช้างและไม่นำออกจาก<br />

ประเทศไทย<br />

๕. ติดตามและประเมินผล<br />

ผลิตภัณฑ์งาช้างที่มีขายในท้องตลาด<br />

- งาช้างสมบูรณ์ หรืองาท่อน (รวมถึง<br />

งาช้างแกะสลัก)<br />

- ผลิตภัณฑ์จากงาช้าง อาทิ เครื่อง<br />

ประดับ ของใช้ เครื่องมือ อุปกรณ์และสิ่งของ<br />

ใดๆ ที่ทำจากงานช้างหรือมีงาช้างเป็นส่วน<br />

ประกอบ<br />

วัสดุทดแทนงาช้าง<br />

- กระดูกสัตว์ แตกต่างจากฟัน เขี้ยว<br />

หรืองาสัตว์ คือมีร่องหรือรูขนาดเล็ก ลักษณะ<br />

คล้ายกับรอยขูด ขีด กระจายทั่วเนื้อและผิว<br />

กระดูกซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พบในฟัน เขี้ยวและ<br />

งาของสัตว์<br />

- เรซิน ถูกขึ้นรูปหรือใส่แบบพิมพ์<br />

เพื่อเลียนแบบงาและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง<br />

และมีวิธีการทำให้เกิดลายพิมพ์บนผิว<br />

บางครั้งเรซิ่นก็ถูกนำมาผสมกับเศษงาหรือผงงา<br />

อีกด้วย แต่ทั้งนี้เรซิ่นจะมีความมันวาวกว่างา<br />

และรูปแบบรายจะไม่เป็นธรรมชาติและ<br />

หากถูกความร้อนจะได้กลิ่นของพลาสติก<br />

29


โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย<br />

แผนกแผนและโครงการฯ<br />

จิตสำนึกในการป้องกันประเทศ<br />

สืบเนื่องจากนโยบายการสร้าง<br />

และรักษาความมั่นคงภายใต้<br />

ผลผลิตการสร้างความปรองดองสมานฉันท์<br />

ของคนในชาติ โดยสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมที่ต้องการสร้างความรัก ความสามัคคี<br />

ของคนในชาติ ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข<br />

ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี<br />

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม จึงได้จัด “โครงการจิตสำนึก<br />

รักเมืองไทย” ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (เริ่มดำเนิน<br />

โครงการตั้งแต่ปี ๒๕๕๒) ดำเนินการโดย<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก<br />

และการมีส่วนร่วมทางสังคม ตลอดจนความ<br />

รับผิดชอบต่อสาธารณะ โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชน<br />

ของชาติที่เป็นพลังอันบริสุทธิ์และรอยต่อที่<br />

สำคัญของสังคมไทย โดยจัดเวทีให้กับเยาวชน<br />

นักเรียน นิสิต นักศึกษาจากทั่วประเทศ ได้<br />

สะท้อนแนวคิดและมุมมองต่อสถานการณ์ทาง<br />

สังคมไทยที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา<br />

ตลอดจนแนวทางที่ควรเป็นไปของสังคมใน<br />

30<br />

แผนกแผนและโครงการฯ


มุมมองของเยาวชนสู่การนำเสนอ<br />

ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์ อาทิเช่น<br />

ผลงานจิตรกรรมภาพวาด ในการ<br />

จัดการประกวดในปีที่ ๑ ผลงาน<br />

ภาพถ่ายและภาพยนตร์สั้นในปีที่<br />

๒ ผลงานภาพถ่าย สปอตโทรทัศน์<br />

และการประกวดสร้างสรรค์<br />

บทเพลง ในปีที่ ๓, ๔, ๕ และใน<br />

ปีที่ ๖ เป็นการจัดการประกวด<br />

ผลงานโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์<br />

สปอตโทรทัศน์ และการประกวด<br />

สร้างสรรค์บทเพลง<br />

สำหรับในปี ๒๕๕๘ นี้<br />

เป็นการดำเนินโครงการเข้า<br />

สู่ปีที่ ๗ ได้สานต่อแนวความ<br />

คิดและการดำเนินงานของปีที่<br />

ผ่านมา โดยขยายผลสร้างการมี<br />

ส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ของ<br />

สังคม และเสริมสร้างการมีส่วน<br />

ร่วมของหน่วยงานภาครัฐและ<br />

สถาบันการศึกษาต่างๆ ประกอบ<br />

ด้วย สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

กลาโหม โดยสำนักงานเลขานุการสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม สถาบันการศึกษา ทั้ง<br />

ภาครัฐและเอกชนจากทั่วประเทศ สำหรับ<br />

ในปีนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกวด<br />

เพื่อให้เกิดความน่าสนใจในกลุ่มเด็กและ<br />

เยาวชนมากยิ่งขึ้น โดยให้เยาวชนได้มีเวที<br />

แสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์<br />

ผ่านกิจกรรมการประกวดการแสดง ภายใต้<br />

หัวข้อ “Show Time Show Thai” ซึ่งเป็นการ<br />

นำค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ของนายก<br />

รัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบ<br />

แห่งชาติ ในข้อที่ ๕ คือรักษาวัฒนธรรมประเพณี<br />

ไทยอันงดงาม เป็นหัวข้อหลักเพื่อให้เยาวชน<br />

ได้นำเสนอแนวความคิดการแสดงออกทาง<br />

อารมณ์ ความรู้สึก และการเล่าเรื่องผ่านการ<br />

แสดงในเชิงศิลปะการแสดงและดนตรี ผสม<br />

ผสานอัตลักษณ์ความเป็นไทยและความร่วม<br />

สมัยของสังคมไทยในปัจจุบัน<br />

ซึ่งได้กระทำพิธีเปิดและแถลงข่าว<br />

โครงการฯ ไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดี<br />

ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๓๓๐<br />

ณ ห้องพินิตประชานาถ ในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม และได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์<br />

โครงการ (Roadshow) ในภูมิภาคต่างๆ<br />

ทั่วประเทศ ห้วงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘ ประกอบ<br />

ด้วย พื้นที่ภาคเหนือ เมื่อวันพุธที่ ๑๐ มิถุนายน<br />

๒๕๕๘ ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัด<br />

เชียงใหม่, พื้นที่ภาคกลาง-ตะวันตก-ตะวัน<br />

ออก เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘<br />

ณ โรงแรมริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี, พื้นที่<br />

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันอังคารที่<br />

๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมเซ็นทารา<br />

แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัด<br />

ขอนแก่น และพื้นที่ภาคใต้ เมื่อวันอังคาร<br />

ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ โรงแรมทวิน<br />

โลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ จะมีการ<br />

จัดพิธีประกาศผลและมอบรางวัลโครงการ<br />

ในห้วงเดือนกันยายน ๒๕๕๘<br />

ทั้งนี้ สิ่งที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ<br />

ในประการสำคัญ คือ การร่วมกันตระหนักถึง<br />

ปัญหาทางสังคม และการมีส่วนร่วมกันสะท้อน<br />

แนวคิด/และมุมมองทางสังคม สู่การขับเคลื่อน<br />

การแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านกระบวนการร่วมคิด<br />

ร่วมทำ จากการประสานงานกันทั้งองค์กร<br />

ทางการศึกษา และภาคประชาสังคม ที่มี<br />

อุดมการณ์ แนวคิด และเป้าประสงค์เดียวกัน<br />

ที่อยากเห็นประเทศไทย ก้าวเดินไปข้างหน้า<br />

อย่างมีความสุข มีรอยยิ้ม และยินดีร่วมสร้าง<br />

อนาคต ด้วยการสนับสนุนให้เยาวชนเกิด<br />

แนวคิด และแสดงออกถึงความต้องการในการ<br />

มีส่วนร่วมในการกำหนดวิถีความเป็นอยู่ของ<br />

สังคมที่เป็นสุขและมีคุณภาพต่อไป<br />

31


Cyber Supremacy<br />

“กำลังรบ ที่ไม่เผยตัว”<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม<br />

ความเป็นไปของผู้คนในโลกยุคใหม่<br />

มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างกลมกลืนกับ<br />

เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์สูงมาก ผู้คน<br />

สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นอย่างรวดเร็ว<br />

และมีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดหลายอย่างถูก<br />

ทำลายลงด้วยเทคโนโลยีด้านนี้ ในทุกด้านของ<br />

32<br />

ความเป็นไปในชีวิต ผู้คนแทบจะปรับตัวไม่ทัน<br />

กันเลยกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าแบบ<br />

ติดจรวดและดูเหมือนมหัศจรรย์ เหลือเชื่อแต่<br />

ก็เป็นไปได้<br />

โลกในทุกยุคจะมีอยู่สองด้านเสมอ คือ<br />

ด้านสงบและด้านที่เป็นสงคราม ด้านที่สงบนั้น<br />

ก็ใช่ว่าจะราบรื่นไปทุกหย่อมหญ้า หากแต่<br />

ยังเต็มไปด้วยข้อขัดแย้งที่รอการแตกระเบิด<br />

กระจายไปทั ่วทุกภูมิภาคของโลกใบนี้ ปฐมบท<br />

ข้อขัดแย้งก็ยังเป็นเรื ่องอมตะแบบเดิมๆ คือ<br />

ศาสนา เชื้อชาติ ดินแดน ซึ่งดูเหมือนคู่ปรปักษ์<br />

จะมีทั้งที ่เป็นทวิภาคีและพหุภาคีซึ่งตามห ้ำหั ่น<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


กันมาแต่ชาติปางก่อน เกิดสงครามเข่นฆ่า<br />

พยายามทำลายล้างกัน ตามวิธีการแต่ละยุค<br />

สมัย ตั้งแต่ หอก ดาบ ปืน จรวด เครื่องบิน<br />

ขีปนาวุธ ดาวเทียม เลเซอร์ แม้กระทั่งเวทมนต์<br />

คาถา<br />

ปัจจุบัน ที่โลกยุคนี้มีศักย์สงครามตัว<br />

ใหม่ ซึ่งทุกประเทศกำลังเร่งรัดจัดตั้งและ<br />

พัฒนากันมากคือ Cyber Warfare นั่น<br />

หมายความว่า Key Element หรือ Domain<br />

ของพลังอำนาจแห่งสงครามยุคใหม่จะ<br />

ประกอบด้วย Air-Sea-Land-Space and<br />

Cyber สงครามหรือวิกกฤตต่างๆ ทั่วโลกใน<br />

ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑<br />

มี Cyber Warfare เข้ามาเกี่ยวข้องกันอย่าง<br />

ชัดเจน โดยพวกเขาโจมตีกันทาง Cyber เพื่อ<br />

ทำลายหรือทำให้เป็นอุปสรรคต่อระบบ C3I<br />

รวมไปถึงระบบที่เป็นลมหายใจด้านเศรษกิจ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

ของฝ่ายตรงข้ามเช่น ระบบคมนาคม ระบบ<br />

ไฟฟ้า ระบบประปา ระบบโทรคมนาคมและ<br />

กระจายเสียงที่เป็นสาธารณะ ระบบการจราจร<br />

ทางอากาศระบบธนาคารและตลาดหลักทรัพย์<br />

เป็นต้น<br />

ความชัดเจนที่โดดเด่นของบทบาทของ<br />

ศักย์สงครามด้าน Cyber สามารถเรียนรู้ได้<br />

จาก Bosnia and Cosovo Crisis และ Gulf<br />

war ประเทศผู้ถือใหญ่ทางเทคโนโลยีหรือ<br />

ครองความได้เปรียบจาก Cyber Warfare<br />

ซึ่งสามารถเรียกระดับของสงคราม ที่มีความ<br />

ได้เปรียบด้าน Cyber ในช่วงนี้ ได้ว่าระดับ Cyber<br />

Supremacy เหมือนการทำ Air Campaign<br />

ของกำลังทางอากาศ ที่พวกเขาต้องครองความ<br />

เป็นเจ้าอากาศหรือ Air Supremacy ให้ได้<br />

ก่อนเป็นอันดับแรก<br />

วิกกฤตหรือสงคราม Bosnia and<br />

Cosovo Crisis และ Gulf war นั้น สหรัฐฯ<br />

สามารถทำ Cyber Supremacy ได้สำเร็จ<br />

ทำให้ระบบสำคัญหลายอย่างเป็นอัมพาต เปิด<br />

การปฎิบัติการทางทหารด้านอื่นได้เกือบจะ<br />

เสรี แม้กระทั่งสำหรับกำลังทางอากาศ และ<br />

นำไปสู่ชัยชนะในที่สุด และผลของชัยชนะนั้น<br />

ไม่ได้สังเวยชีวิตประชาชนหรือทหารมากมาย<br />

เหมือนอย่างสงครามในอดีต ที่ผู้คนเป็นเรือนแสน<br />

เรือนล้านที่ต้องตายไป บ้านเมืองยับเยิน<br />

ต้องใช้เวลาเกือบชั่วอายุคนในการกู้คืนสภาพ<br />

บ้านเมืองบอบช้ำจากการสงครามอย่าง<br />

แสนสาหัส ดังตัวอย่างของสงครามใหญ่ในอดีต<br />

ที่ใกล้ตัวคือ สงครามโลกครั้งที่ ๒ นั่นเอง<br />

ด้วยความสำคัญยิ่งของศักย์ใหญ่สงคราม<br />

ด้าน Cyber นี้ ทำให้ประเทศเกือบจะทั่วโลก<br />

มีความตื่นตัวให้ความสำคัญขึ้นมามาก มีการ<br />

ศึกษาอย่างจริงจัง ถึงการจัดตั้งองค์กร พัฒนา<br />

บุคลากร จัดหาเทคโนโลยี เปิดสถาบันการ<br />

ศึกษา การหาพันธมิตร เปลี่ยนแปลงแก้ไขเรื่อง<br />

วัตถุประสงค์และนโยบายชาติ กำหนดทิศทาง<br />

ของ กระทรวงกลาโหมตนเองใหม่ รวมไปถึง<br />

ข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันทั้งในภูมิภาค<br />

ตนเองและระหว่างประเทศ<br />

การเริ่มต้นที่เป็นพื้นฐานสำคัญเหนืออื่น<br />

ใดในงานด้าน Cyber Warfare ก่อนที่จะไป<br />

ถึงขั้นก้าวหน้า ในเชิงรุกหรือรับนั้น ก็คือการ<br />

สร้างแนวความคิดที่ถูกต้องและพัฒนาความรู้<br />

ของกำลังพลให้ชัดเจนเสียก่อน ในเรื่อง Cyber<br />

Warfare ที่เป็นไปได้กับสิ่งแวดล้อมของตนเอง<br />

และทิศทางที่ต้องเดินไปในอนาคต เพราะถ้า<br />

หากมี แนวความคิดเชิงยุทธศาสตร์ (Cyber<br />

Strategy Concept) ที่ผิดฝั่งผิดฝาหรือเพี้ยนๆ<br />

ตั้งแต่ต้นแล้ว ในกาลข้างหน้าจะเป็นเรื่องที่<br />

แก้ยาก เสียเวลาและสิ้นเปลืองงบประมาณไป<br />

อย่างน่าเสียดาย เพราะเทคโนโลยีด้านนี้เป็น<br />

เรื่องที่หาได้ไม่ง่าย และต้องลงทุนสูงมาก<br />

แนวความคิดยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อ<br />

การป้องกันประเทศ<br />

Cyber Strategy for National Defense<br />

Concept<br />

ก่อนการเกิดแนวความคิดยุทธศาสตร์<br />

ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศของชาติ<br />

นั้น ต้องมองไปถึงภาพที่ใหญ่กว่าที่เป็น<br />

พื้นฐานในการขับเคลื่อนและไล่ลำดับกันลงมา<br />

คือ เรื่องของรัฐธรรมนูญ ผลประโยชน์แห่งชาติ<br />

วัตถุประสงค์และนโยบายความมั่นคงชาติ<br />

อำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม จนกระทั่ง<br />

มาถึงระดับของ นโยบาย รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม เป็นต้น ข้อมูลสำคัญเหล่านี้<br />

จะเป็นตัวกำหนดกรอบทิศทางในการเดินหน้า<br />

ของแนวความคิดยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อ<br />

การป้องกันประเทศ ต่อไป ซึ่งอาจอธิบาย<br />

อย่างง่ายๆ โดยใช้ชุดแบบจำลองแนวความ<br />

คิดดังนี้<br />

CONCEPT<br />

Objective<br />

CSNDC<br />

DOM<br />

CARE<br />

AID<br />

33


๑. Objective : หลักวัตถุประสงค์ : ใน<br />

ระดับชาติ ได้มีการกล่าวไว้อย่างกว้างๆ และ<br />

ครอบคลุมแล้วคือ การมีศักยภาพในการ<br />

ป้องกันประเทศ สนับสนุนภารกิจที่ไม่ใช่การรบ<br />

และสามารถผนึกกำลังของกองทัพและทุก<br />

ภาคส่วน ในการเผชิญกับภัยคุกคามประเทศใน<br />

ทุกรูปแบบ ซึ่งใคร่ครวญอย่างไร Cyber ก็ต้อง<br />

เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องแน่ๆ<br />

๒. CSNDC : แนวความคิดยุทธศาสตร์<br />

ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศ(Cyber<br />

Strategy for National Defense Concept) :<br />

เป็นกระบวนการทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์<br />

ของชาติ ย่อยสลายให้ละเอียดลงมาอีก<br />

ว่าสุดท้ายแล้วต้องการอะไร<br />

๓. DOM : เป็นผลผลิตจากกระบวนการ<br />

34<br />

ของ CSNDC ทำให้เราทราบว่า จะต้อง<br />

ทำให้เกิดอะไรขึ้นมาบ้างตามแนวความคิด<br />

ยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศ<br />

๓.๑. D : Defensive : เชิงป้องกัน : ต้อง<br />

สามารถรับมือกับภัยคุกคาม Cyber ได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ<br />

๓.๒. O : Offensive : เชิงรุก : สามารถ<br />

เป็นฝ่ายรุกหรือทำสงคราม Cyber ได้<br />

๓.๓. M : Mobilization : การระดม<br />

สรรพกำลัง : สามารถบูรณาการขีดความ<br />

สามารถด้าน Cyber จากทุกองค์กรทั้งภาครัฐ<br />

และเอกชน อีกทั้งการพัฒนาและร่วมมือกับ<br />

มิตรประเทศ<br />

๔. CARE : เป็นชุดความคิดเพื่อพิจารณา<br />

ว่า การเกิดขึ้นของ DOM นั้น ควรคำนึงถึงเรื่อง<br />

ราวที่องค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง เพื่อทำให้<br />

เกิดความเชื่อมั่น หรือเป็นการคิดแบบบริหาร<br />

ความเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุปสรรคใน<br />

วันข้างหน้า<br />

๔.๑. C : Cyber Technology : คือ<br />

กระบวนการบริหารจัดการ ให้ได้มาและใช้งาน<br />

ทั้ง Hardware Software และ Peopleware<br />

๔.๒. A : Allied Force : คือการ<br />

บูรณาการและแสวงหาความร่วมมือกับมิตร<br />

ประเทศ<br />

๔.๓. R : Restriction : คือขีดจำกัด<br />

ด้านงบประมาณ บุคลากร หรือแม้กระทั่ง<br />

สถานการณ์เป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้เทคโนโลยีด้าน<br />

นี้<br />

๔.๔. E : Environment : คือภัยคุกคาม<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ของไซเบอร์ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมไป<br />

ถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมายในราช<br />

อาณาจักรและกฎหมายสากล ตลอดไป<br />

จนกระทั่ง ความคาดหวังที่รัฐบาลมอบให้<br />

กระทรวงกลาโหม ในเรื่องความมั่นคงทั้งปวง<br />

๕. AID : เป็นผลผลิตสุดท้ายที่เห็นขีด<br />

ความสามารถด้านไซเบอร์ที่ชัดเจน เหมือน<br />

เป็นการอธิบาย DOM ในอีกมิติหนึ่ง จำกัน<br />

ง่ายๆ คือ ป้องกัน ป้องปราม ผนึกกำลัง<br />

๕.๑. A : Advantage : มีศักยภาพและ<br />

ความพร้อม สามารถชิงความได้เปรียบใน<br />

ปฎิบัติการไซเบอร์<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

๕.๒. : Integration : สามารถบูรณาขีด<br />

ความสามารถได้ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไป<br />

ถึงประเทศพันธมิตร<br />

๕.๓. D : Disadvantage : สามารถปฎิบัติ<br />

การเชิงรุก จำกัดเสรีหรือลดขีดความสามารถ<br />

ของฝ่ายตรงข้ามได้<br />

โลกในยุคปัจจุบัน โอกาสที่ข้อขัดแย้ง<br />

ในภูมิภาคระหว่างประเทศ จะไปไกลถึงขั้น<br />

สงครามทำลายล้างกันให้สิ้นซากนั้น มีความเป็น<br />

ไปได้น้อยมาก เนื่องจากโลกมีความเป็นอารยะ<br />

มากขึ้น มีองค์กรระหว่างประเทศคอยพิทักษ์<br />

หรือดูแลในเรื่องมนุษยธรรมอย่างเข้มแข็ง<br />

ซาตานที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์อาจมีมาก แต่<br />

ก็มีความเป็นไปได้น้อยที่คนประเภทนี้จะได้<br />

เป็นผู้นำประเทศ เหมือนอย่างในอดีตที่ผ่าน<br />

มาของโลกใบนี้<br />

หากแต่ว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องความ<br />

ขัดแย้งและบาดหมางยังคงมีอยู่ และมีการ<br />

เปลี่ยนวิธีการทำลายกัน ตามเทคโนโลยีใน<br />

ยุคสมัย โลกในศตวรรษที่ ๒๑ นี้ ต้องหนีไม่<br />

พ้นภัยคุกคามด้าน Cyber ซึ่งเมื่อเกิดขึ ้นแล้ว<br />

ผลลัพธ์จะมีค่ามหาศาลต่อความสูญเสียของ<br />

ระบบเศรษฐกิจของชาติ กระทบต่อความเป็น<br />

อยู่ของประชาชนในวงกว้างและในเกือบจะทุก<br />

เรื่องราวของชีวิตประจำวัน<br />

เป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งยวด<br />

ที่ประเทศต้องมีการบริหารจัดการด้านไซเบอร์<br />

ซึ่งในปัจจุบันหน่วยที่มีภารกิจและที่เป็นผู้นำ<br />

ในเรื่องนี้ ถูกวางไว้ที่ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

และอวกาศกลาโหม (ทสอ.กห.) ซึ่งกำลังอยู่<br />

ในขั้นการพัฒนาสร้างหรือนำแนวความคิด<br />

ยุทธศาสตร์ไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศ<br />

(Cyber Strategy for National Defense<br />

Concept) ไปสู่ความเป็นไปได้ ยอมรับได้<br />

ปฎิบัติได้ เชื่อถือได้ และคาดหวังหรือเป็นที่พึ่ง<br />

ได้จากรัฐและประชาชน ต่อไป<br />

35


ดุลยภาพทางการทหารของประเทศอาเซียน<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์<br />

เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) กองทัพบกไทย ประจำการที่กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบกไทยใช้สีเขียวกับ<br />

อากาศยาน<br />

36<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ประเทศอินโดนีเซียจัดซื้อเครื่อง<br />

บินเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่แบบ<br />

เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139)<br />

รวม ๓ เครื่อง จากประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ ๙<br />

พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๗ เพื่อใช้ในภารกิจทาง<br />

ด้านพลเรือนสนับสนุนทางด้านอุตสาหกรรม<br />

แก๊สและน้ำมันในทะเล อินโดนีเซียจะได้รับมอบ<br />

เครื่องบินระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๕๙<br />

เนื่องจากเป็นเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ชนิด<br />

สองเครื่องยนต์จึงสามารถปฏิบัติการทาง<br />

ทะเลได้ดี เฮลิคอปเตอร์รุ่นเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙<br />

(AW-139) พัฒนาร่วมกันระหว่างอิตาลีกับ<br />

สหรัฐอเมริกา โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดวาเรเซ<br />

(Varese) ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี<br />

มีคนงาน ๑๓,๐๕๐ นาย เครื่องบินต้นแบบได้ขึ้น<br />

ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.<br />

๒๕๔๔ ทำการบินทดสอบกว่า ๔,๐๐๐ ชั่วโมง<br />

ผ่านการรับรองของสมาพันธ์การบินนานาชาติ<br />

(FAA) เป็นเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางที่<br />

ใช้งานได้หลายภารกิจประกอบด้วย การขนส่ง<br />

ทางทหาร (กำลังทหารและ VIP), การส่งกลับ<br />

สายแพทย์, การดับไฟป่า, การค้นหาและกู้ภัย<br />

(SAR) ทางทะเลและบนบก, การขนส่งบริเวณ<br />

ชายฝั่งทะเลและการลาดตระเวนทางทะเลเป็น<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ใช้งานได้<br />

ในภารกิจทางด้านทหารและในภารกิจทางด้าน<br />

พลเรือนเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบ เอดับเบิ้ลยู<br />

-๑๓๙ (AW-139) นักบิน ๒ นาย,บรรทุก<br />

ผู้โดยสาร ๑๕ ที่นั่ง,ขนาดยาว ๑๓.๗๗ เมตร,<br />

เส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัดหลัก ๑๓.๘ เมตร<br />

(ใบพัดหลักชนิด ๕ กลีบ และใบพัดหลังชนิด<br />

สี่กลีบ), สูง ๓.๗๒ เมตร, กว้าง ๒.๒๖ เมตร<br />

น้ำหนัก ๓,๖๒๒ กิโลกรัม (๗,๙๘๕ ปอนด์),<br />

น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๖,๔๐๐ กิโลกรัม (๑๔,๑๑๐<br />

ปอนด์), เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ (PT6C-67C)<br />

ให้กำลังขนาด ๑,๕๓๑ แรงม้า (๒ เครื่อง),<br />

อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ๖๕๐ ลิตรต่อ<br />

ชั่วโมง, ความเร็วสูงสุด ๓๑๐ กิโลเมตรต่อ<br />

ชั่วโมง, ความเร็วเดินทาง ๓๐๖ กิโลเมตร<br />

ต่อชั่วโมง, พิสัยบินไกล ๑,๒๕๐ กิโลเมตร<br />

และเพดานบินสูง ๖,๐๙๖ เมตร (๒๐,๐๐๐<br />

ฟุต) สามารถจะติดตั้งปืนกลขนาด ๗.๖๒<br />

มิลลิเมตร (FN MAG ได้สองกระบอก ทางด้าน<br />

ประตูทั้งสองข้าง) ในภารกิจการค้นหาและ<br />

กู้ภัย (SAR) ในพื้นที่การรบทำการผลิตขึ้นใน<br />

ปี พ.ศ.๒๕๔๖<br />

กองทัพอากาศอิตาลีนำเครื่องบิน<br />

เฮลิคอปเตอร์เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) เข้า<br />

ประจำการใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย (SAR<br />

รวม ๑๕ เครื่อง) และการขนส่งรวม ๒๐ เครื่อง,<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) กองทัพอากาศอิตาลี นำเข้า<br />

ประจำการ ๒๐ เครื่อง เป็นรุ่นค้นหาและกู้ภัย (SAR) รวม ๑๕ เครื่อง<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) บรรทุกผู้โดยสาร ๑๕ ที่นั่ง<br />

ขนาดยาว ๑๓.๗๗ เมตร, เส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัดหลัก ๑๓.๘ เมตร (ใบพัดชนิด ๕ กลีบ),<br />

สูง ๓.๗๒ เมตร, กว้าง ๒.๒๖ เมตร, น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๖,๔๐๐ กิโลกรัมและความเร็ว<br />

เดินทาง ๓๐๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ในภาพสำหรับใช้งานด้านพลเรือนประเทศมาเลเซีย)<br />

หน่วยยามฝั่งสเปน (SMSA) ได้ประจำการด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-<br />

๑๓๙ (AW-139) รวม ๙ เครื่องขณะปฏิบัติการเหนือทะเล (ในภาพของหน่วยยามฝั่งสเปน)<br />

37


กองทัพอากาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์<br />

ประจำการ ๒๔ เครื่อง, หน่วยยามฝั่งสเปน<br />

(SMSA) ประจำการ ๙ เครื่อง, หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น<br />

(JCG) ประจำการ ๑๔ เครื่อง (จัดซื้อเพิ่มเติม<br />

และรอรับมอบอีก ๑๐ เครื่อง) และกองทัพ<br />

อากาศกาต้าร์ประจำการ ๑๘ เครื่อง ประเทศ<br />

ที่ได้นำเข้าประจำการในกองทัพรวม ๑๕<br />

ประเทศ (ประเทศในทวีปเอเชียประจำการรวม<br />

๖ ประเทศประกอบด้วยหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น<br />

(JCG) รวม ๒๔ เครื่อง, หน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้<br />

(KCG) รวม ๓ เครื่อง (SAR), บังคลาเทศรวม<br />

๒ เครื่อง (SAR), กาต้า รวม ๑๘ เครื่อง (รุ่นใช้<br />

งานทั่วไป), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รวม ๑๕<br />

เครื่อง รอรับมอบอีก ๙ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๕๘<br />

รวมประจำการทั้งสิ้น ๒๔ เครื่อง และไทย)<br />

และใช้งานในภารกิจทางด้านพลเรือนรวม ๑๗<br />

ประเทศ (ประเทศในทวีปเอเชียนำเข้าประจำการ<br />

๔ ประเทศ ประกอบด้วยด้วย กาต้าร์รวม ๑๖ เครื่อง<br />

(ใช้สนับสนุนการขุดเจาะแก็สและบ่อน้ำมัน),<br />

มาเลเซีย, ญี่ปุ่น (ตำรวจและหน่วยงานดับไฟป่า)<br />

รวม ๑๙ เครื่อง และอินโดนีเซีย รอการรับ<br />

มอบส่วนใหญ่ใช้สนับสนุนในภารกิจสนับสนุน<br />

แท่นขุดเจาะแก๊สและบ่อน้ำมันในทะเล และ<br />

การค้นหากู้ภัยทางทะเล)<br />

ประเทศมาเลเซียนำเครื่องบิน<br />

เฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-<br />

139) ปฏิบัติการทางด้านหน่วยงานทางด้าน<br />

ความมั่นคงทางทะเล (MMEA) รวม ๓ เครื่อง<br />

ได้รับมอบเครื่องบินเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม<br />

พ.ศ.๒๕๕๓ ที่ได้จัดซื้อเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ เป็น<br />

เงิน ๖๑ ล้านเหรียญสหรัฐ ใช้ในภารกิจค้นหา<br />

และกู้ภัย (SAR) ลาดตระเวนชายฝั่งและ<br />

ความมั่นคงทางทะเล สามารถปฏิบัติการได้<br />

นาน ๕ ชั่วโมง ๕๖ นาทีหน่วยงานดับไฟป่า<br />

และกู้ภัยมาเลเซีย (Malaysian Fire and<br />

Rescue Department) ได้จัดซื้อเครื่องบิน<br />

38<br />

หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น (JCG) ประจำการด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙<br />

(AW-139) รวม ๑๔ เครื่อง (รอรับมอบอีก ๑๐ เครื่อง) พร้อมด้วยกว้านที่สามารถจะดึง<br />

ผู้ประสบภัยขึ้นจากทะเลนำขึ้นสู่เครื่องบิน หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น (JCG) มีกำลัง ๑๒,๖๐๐ นาย<br />

มีเครื่องบิน ๗๓ เครื่อง (แยกเป็นเครื่องบิน ๒๗ เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ ๔๖ เครื่อง)<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) เครื่องยนต์ เทอร์โบชาฟท์<br />

(P&W PT6C-67C) ให้กำลังขนาด ๑,๕๓๑ แรงม้ารวม ๒ เครื่องเส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัด<br />

หลัก ๑๓.๘ เมตร (ใบพัดชนิด ๕ กลีบ) อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ๖๕๐ ลิตรต่อชั่วโมง และ<br />

ความเร็วสูงสุด ๓๑๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) หน่วยยามฝั่งเกาหลีใต้(KCG)<br />

ใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยทางทะเล (SAR) ประจำการรวม ๓ เครื่อง ปี พ.ศ.๒๕๕๒ –<br />

๒๕๕๓<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


่<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) กองทัพบกไทย ขณะทำการบิน<br />

เฮลิคอปเตอร์รุ่นใช้งานทางพลเรือนแบบ<br />

เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) รวม ๒ เครื่อง<br />

ได้รับมอบเครื่องบินเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม<br />

พ.ศ.๒๕๕๓ และบริษัทการบินภายในประเทศ<br />

มาเลเซีย (Weststar Aviation) ที่สนับสนุน<br />

การขุดเจาะแก๊สและน้ำมันในทะเล (ทำการ<br />

บินไปลงที่แท่นขุดเจาะเพื่อจะส่งเจ้าหน้าที<br />

ทางเทคนิคไปประจำแท่นขุดเจาะน้ำมันพร้อม<br />

ทั้งนำเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคที่พ้นหน้าที ่กลับสู่<br />

ฐานปฏิบัติการบริเวณชายฝั่ง, การส่งชุดการ<br />

ซ่อมบำรุงแท่นขุดเจาะน้ำมัน และการขนย้าย<br />

ฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคจากแท่นขุดเจาะ<br />

น้ำมันสู่ฐานปฏิบัติการชายฝั่งทะเล) มีใช้งาน<br />

๙ เครื่องและได้จัดซื้อเพิ่มเติมอีก ๒ เครื่อง<br />

ได้รับมอบเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘<br />

ใช้ในภารกิจขนส่งเจ้าหน้าที่ (VIP)<br />

กองทัพบกไทย (RTA) ประจำการด้วย<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบเอดับเบิ้ลยู-๑๓๙<br />

(AW-139) ผลิตจากประเทศอิตาลี รวม ๒<br />

เครื่องได้รับอนุมัติให้จัดซื้อเมื่อเดือนกันยายน<br />

พ.ศ.๒๕๕๕ ทำการแยกชิ้นส่วนมาทางเรือ<br />

เดินทางมาถึงประเทศไทยเดือนธันวาคม พ.ศ.<br />

๒๕๕๖ ทำการประกอบเครื่องบินและทดสอบ<br />

ได้รับมอบเข้าประจำการเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม<br />

พ.ศ.๒๕๕๗ บริเวณลานอเนกประสงค์ภายใน<br />

กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์<br />

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ เอดับเบิ้ลยู-๑๓๙ (AW-139) กองทัพอากาศอังกฤษ<br />

ขณะทำการฝึกกู้ภัยบริเวณชายฝั่งทะเล<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

39


เปิดประตู<br />

สู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

เทคโนโลยี ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (MEMS)<br />

กับการใช้งานทางทหาร<br />

จ<br />

ากความต้องการอุปกรณ์ที่<br />

มีขนาดเล็ก สมรรถนะสูง<br />

และมีราคาไม่สูงในหลายๆ<br />

อุตสาหกรรม ทำให้เทคโนโลยีระบบไฟฟ้า<br />

เครื่องกลจุลภาค หรือ Micro-Electro-<br />

Mechanical System (MEMS) ได้รับการพัฒนา<br />

อย่างกว้างขวาง ซึ่งระบบ MEMS ส่วนใหญ่<br />

จะใช้ในเครื่องมือตรวจจับ (Sensor) และ<br />

Actuator 1 ชนิดต่างๆ เพื ่อวัดค่าต่างๆ เช่น<br />

อุณหภูมิ ความดัน ความเร่ง เป็นต้น คาดว่าในปี<br />

ค.ศ.๒๐๑๗ เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าเครื่องกล<br />

จุลภาคจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง หนึ่ง<br />

หมื่นสองพันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ โดยที่<br />

ส่วนแบ่งทางการตลาดของอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า<br />

เครื่องกลจุลภาคสูงสุด เป็นอุปกรณ์ตรวจวัด<br />

ทางอุตสาหกรรมและยานยนต์ต่างๆ รองลง<br />

มาเป็นอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

(ดูรูปที่ ๑ ประกอบ)<br />

ระบบ MEMS คือ ระบบที่มีขนาดเล็ก<br />

(micro-scale) ที่ประกอบด้วยสองส่วน<br />

หลัก ได้แก่ส่วนที่เป็นระบบเครื่องกล เช่น<br />

microgear หรือ microlever เป็นต้น<br />

และส่วนที่เป็นอิเล็กโทรนิก โดยส่วนที่<br />

เป็นเครื่องกลจะเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่<br />

เพื่อปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง และระบบ<br />

อิเล็กโทรนิกจะควบคุมการเคลื่อนไหวของ<br />

๑<br />

Actuator คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของ<br />

วาล์ว เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการควบคุม ซึ ่งจุดมุ่งหมาย<br />

ของการใช้ Actuator ก็คือความเที่ยงตรงของตำแหน่ง<br />

การเคลื่อนที่ของวาล์วโดยอาศัยการควบคุมจากสัญญาณ<br />

ไฟฟ้า<br />

40<br />

ระบบเครื่องกล หรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการ<br />

เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที ่ของระบบเครื่องกล<br />

โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าเครื่องกล<br />

จุลภาค จะหมายรวมถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง<br />

กับวัสดุหรือกระบวนการที่ใช้ในการสร้าง<br />

ชิ้นส่วน MEMS หรือการประกอบรวมชิ้น<br />

ส่วน MEMS ตลอดจนการประยุกต์ใช้อุปกรณ์<br />

ที่เป็น MEMS นอกจากนี้ ระบบขนาดเล็ก<br />

(Microsystem) จำพวก microchemical<br />

reactor หรือ microthermal system และ<br />

รูปที่๑ แนวโน้มอุตสาหกรรม MEMS<br />

smart material ซึ่งถูกใช้ในลักษณะของ<br />

เครื่องตรวจจับ (sensor) หรือแหล่งกำเนิด<br />

พลังงาน (power source) จะจัดเป็น MEMS<br />

ด้วยเช่นกัน<br />

ในทางทหารนั้น เทคโนโลยีระบบไฟฟ้า<br />

เครื่องกลจุลภาค มีส่วนสำคัญในการพัฒนา<br />

ยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในกองทัพมากมายหลาย<br />

ประเภท ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีกระสุน<br />

ปัจจุบันเทคโนโลยีกระสุนส่วนใหญ่จะตั้งเป้า<br />

ไปที่การพัฒนาให้มีความแม่นยำสูง (High-<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


precision Ammunition) เพื่อให้บรรลุผล<br />

ดังกล่าวจะต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการ<br />

ข่าว (Intelligence) การนำวิถี (Guidance)<br />

และการควบคุม (Terminal Control)<br />

Power MEMS Technology 2 สามารถ<br />

นำมาใช้กับระบบนำวิถีและระบบควบคุมของ<br />

กระสุนความแม่นยำสูง หรือการประยุกต์ใช้<br />

Microthruster ที่อาศัยเทคโนโลยี MEMS<br />

ในส่วนควบคุมการนำทาง (guidance control)<br />

สำหรับอาวุธนำวิถี ซึ่งจะมีส่วนช่วยอย่างมาก<br />

ในเรื่องของการขยายระยะยิงและในขณะ<br />

เดียวกันจะสามารถลดขนาดและน้ำหนักของ<br />

กระสุนและอาวุธนำวิถีได้อีกด้วย<br />

ระบบ ESA (Electronically Steerable<br />

Antenna) ที่ใช้กับระบบเรดาร์ทางทหาร<br />

เป็นอีกหนึ่งระบบที่ต้องใช้ MEMS สวิทช์<br />

รูปที่ ๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี MEMS (ที่มา Yole Research)<br />

๒ Power MEMS Technology จะหมายถึง เทคโนโลยี<br />

ขนาดจุลภาคที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงาน (power<br />

generation) และการแปรสภาพพลังงาน (energy<br />

conversion)<br />

รูปที่ ๓ ระบบกระสุนความแม่นยำสูงที่ต้องใช้ Microthruster Chip<br />

รูปที่ ๔ Thurster Chip ที่อาศัย<br />

เทคโนโลยี MEMS ผลงานวิจัยและ<br />

พัฒนาของ DARPA สหรัฐอเมริกา<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

41


รูปที่ ๕ ระบบ ESA ที่ใช้ MEMS switch (ที่มา MEMS Journal)<br />

รูปที่ ๖ ระบบ Land Warrior ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย อาวุธประจำกาย<br />

หมวกเหล็ก คอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารแบบดิจิตอลและเสียง ระบบระบุตำแหน่งพิกัด เครื่อง<br />

แบบพร้อมเครื่องป้องกัน และยุทโธปกรณ์ประจำตัว<br />

จำนวนหลายพันอันต่อหนึ่งระบบ ซึ่งคุณสมบัติ<br />

ที่สำคัญคือมีน้ำหนักเบา ใช้พลังงานน้อย<br />

และค่าใช้จ่ายต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ<br />

Mechanically Gimbaled Antenna<br />

ระบบ Land Warrior ซึ่งเป็นระบบที่ผนวก<br />

รวมอาวุธและยุทโธปกรณ์ประจำกายทหารราบ<br />

ทั้งหมดเข้าด้วยกันและอาศัยเทคโนโลยีที่<br />

ก้าวหน้าเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถและ<br />

ประสิทธิภาพของทหารเป็นรายบุคคลตั้งแต่<br />

การตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ ขีดความสามารถ<br />

ในการสร้างความเสียหายต่อข้าศึก และความ<br />

อยู่รอดในสนามรบ เนื่องจากระบบทั้งหมดจะ<br />

เป็นสิ่งที่อยู่บนตัวของทหาร ขนาดและน้ำหนัก<br />

จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง เทคโนโลยี MEMS จึงเป็น<br />

ส่วนประกอบสำคัญของระบบอย่างหลีกเลี่ยง<br />

ไม่ได้<br />

เห็นได้ชัดว่า ระบบ MEMS เป็นเทคโนโลยี<br />

แบบ dual use กล่าวคือสามารถใช้งานได้ทั ้ง<br />

ทางทหารและในเชิงพาณิชย์ และมีการพัฒนา<br />

อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นจึงมีระบบ MEMS แบบ<br />

ต่างๆ ให้เลือกใช้ในท้องตลาด ดังนั้นการเลือก<br />

ใช้ MEMS ในลักษณะ COTS (Commercialof-the-Shelf)<br />

จึงเป็นเรื่องปกติในการวิจัย<br />

และพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของ<br />

หน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งหมายรวมถึงสถาบัน<br />

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)<br />

ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการคอยติดตามสถานภาพ<br />

และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี MEMS<br />

จึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง<br />

42<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


รูปที่ ๗ ระบบ Advanced Soldier System ของญี่ปุ่น<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

43


การบริหารอำนาจ<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์<br />

อำนาจเป็นเครื่องมือหลักในการนำ<br />

และบริหารคน ทีมและระบบ ซึ่งผู้นำทุกคน<br />

ต้องเข้าใจและเรียนรู้เพราะไม่มีการสอน<br />

ในหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยใดๆ มีแต่คำกล่าว<br />

ไว้ว่าอำนาจเป็นสิ่งที่มีคุณมากและโทษก็มาก<br />

ด้วยเช่นกัน มันช่วยให้ผู้นำทำงานได้สำเร็จ<br />

ขณะเดียวกันมันก็ก่อให้เกิดการเสพติด<br />

หลงตน ประมาทและเสียคนมามากนักต่อนัก<br />

จากประวัติศาสตร์ทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างดี<br />

ว่าผู้ที่มีอำนาจแล้วไม่รู้จักใช้หรือหลงอำนาจ<br />

และใช้อย่างไม่เหมาะสม ล้วนนำมาซึ่งหายนะ<br />

อำนาจที่ผู้นำจะต้องบริหารให้ได้มีองค์ประกอบ<br />

หลายประการ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างอำนาจ<br />

44<br />

ในตนเอง อำนาจจากการยอมรับ และอำนาจ<br />

ตามตำแหน่ง สัมพันธภาพระหว่างอำนาจที่<br />

ผู้นำต้องรับผิดชอบโดยตรง และอำนาจที่ผู้นำ<br />

ต้องร่วมรับผิดชอบหากผู้นำสามารถบริหาร<br />

ระบบเหล่านี้ได้ด้วยดี อำนาจจะเป็นเครื่องมือที่<br />

ทรงประสิทธิภาพของผู้นำ แต่หากบริหารไม่ได้<br />

อำนาจจะเป็นอาวุธร้ายทำลายตัวผู้นำเอง<br />

หากแบ่งอำนาจออกเป็น ๓ อย่าง คือ<br />

อำนาจในตัวเอง อำนาจจากการยอมรับและ<br />

อำนาจตามตำแหน่งแล้ว อำนาจในตัวเอง<br />

จะเป็นด่านแรกของการสร้างอำนาจอื่นๆ หาก<br />

ใครก็ตามไม่มีอำนาจตรงนี้จะเป็นเรื่องยาก<br />

มากที่จะได้รับอำนาจอื่นๆ หรือหากได้มาก็ไม่<br />

สามารถรองรับหรือรักษาไว้ได้ ผู้นำที่มีอำนาจ<br />

มากนั้นใจต้องใหญ่ จิตต้องชำนาญ กรรมต้อง<br />

สนับสนุน ความสัมพันธ์ต้องเอื้ออำนวยและ<br />

ร่างกายต้องอยู่ในการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับใจต้องยอดเยี่ยม<br />

เพราะเมื่อจิตกับใจทำงานร่วมกันเป็นความ<br />

นึกคิดแล้วจะมีพลังบังคับความอยากและ<br />

ไม่อยาก รวมถึงอารมณ์ที่เป็นตัวก่อได้ทั้งความ<br />

สุขและความทุกข์<br />

สำหรับ อำนาจจากการยอมรับ เกิดจาก<br />

หลายตัวแปรประกอบกัน อาทิ ความเข้าใจ<br />

ผู้คนในทุกสถานการณ์ การยอมรับที่กว้างขวาง<br />

การสร้างบุญคุณ ความเป็นผู้มีผลงานแห่ง<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


ความสำเร็จชัดเจน มีมนุษยสัมพันธ์เป็น<br />

กันเองแต่เป็นอิสระ การเป็นกุญแจสำคัญ<br />

ทางข้อมูลหรือสายงาน และความมียุทธวิธีที่<br />

เหมาะสมกับทุกฝ่าย ปัญหาใหญ่ของโลกทุกวันนี้<br />

คือความไม่เข้าใจกัน ก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ ต่อเนื่อง<br />

ตามมามากมาย เช่น การคิดผิด การตัดสินใจ<br />

ผิดพลาด การพูดผิด การปฏิบัติการผิดพลาด<br />

ความไม่สมานสามัคคี ความไม่ร่วมมือ การ<br />

กล่าวหา ความบาดหมาง ความแตกแยก การตั้ง<br />

ตนเป็นศัตรูและสงครามนานารูปแบบ หากทุกคน<br />

เรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเองและหันมาทำความ<br />

เข้าใจกันและกัน ปัญหาทั้งหลายก็จะหายไป<br />

เกิดพลังสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามยังประโยชน์แก่<br />

ทุกฝ่ายได้สมควร ใครก็ตามที่มีความเข้าใจ<br />

ผู้อื่นยิ่งมากเท่าใดก็จะทำให้เป็นที่รักมากเท่านั้น<br />

อย่างน้อยๆ ผู้นำจะต้องหมั่นเข้าใจผู้อื่นอยู่<br />

เสมอ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนอยาก<br />

เป็นคนดีแม้จะยังดีไม่ได้ทั ้งหมด มนุษย์ทุกคน<br />

อยากเก่งแม้จะเก่งไม่ได้อย่างที่อยากก็ตาม<br />

มนุษย์ทุกคนอยากเป็นที่รักแม้เขาจะยังรัก<br />

คนอื่นไม่เป็นก็ตาม มนุษย์ทุกคนต้องการการ<br />

พัฒนาตนเอง<br />

การเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับอย่าง<br />

กว้างขวาง มีหลักง่ายๆ อยู่ว่า จงยอมรับผู้อื่น<br />

แล้วผู้อื่นจะยอมรับท่าน แต่การยอมรับคน<br />

นั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องยอมรับทุกสิ่ง<br />

ในตัวเขาเพราะธรรมดามนุษย์มีทั้งกิเลสตัณหา<br />

ปัญญา คุณธรรมและความโง่กันถ้วนหน้า ใน<br />

ฐานะผู้นำย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องพาทุกคนไปสู่<br />

สภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งการจะพาใจดวงใดของใครไป<br />

สู่สภาวะที่ดีขึ้นได้จะต้องทำให้เขายอมรับเรา<br />

เชื่อฟังเรา เราจึงจะนำเขาได้ เขาจะยอมรับ<br />

เราก็เมื่อเรายอมรับเขา หากเราดูหมิ่นเหยียด<br />

หยามเขาแล้วก็จะมีแต่เป็นศัตรูทำลายล้างกัน<br />

และตกต่ำกันทั้งคู่ แต่ถ้าเรายอมรับเขาและ<br />

เขายอมรับเราก็จะเป็นการยกระดับกันและ<br />

กัน เป็นประโยชน์สุขกันทุกฝ่าย เมื่อคิดจะเป็น<br />

ผู้นำให้ยิ่งใหญ่ต้องยอมรับชนทุกชั้น ทุกเพศวัย<br />

ทุกระดับการศึกษา ทุกศาสนา ทุกรายได้<br />

นอกจากนี้ ผู้นำที่จะได้รับการยอมรับ<br />

และมีอำนาจเหนือผู้อื่นจะต้องรู้จักการสร้าง<br />

บุญคุณ บุญคุณเป็นหนี้ชนิดหนึ่งซึ่งมักจะต้อง<br />

ชดใช้ด้วยกลไกกรรมเพราะคนส่วนใหญ่ยังมี<br />

ความเชื่อว่า หากไม่ใช้หนี้บุญคุณจะไม่เจริญ<br />

คนที่เป็นหนี ้บุญคุณใครจึงมักจะเกิดสำนึกที่<br />

จะทดแทน ดังนั้นหากเลือกทำความดีกับคน<br />

ที่มีแนวโน้มกตัญญูก่อนจะยังความเจริญแก่<br />

ทุกฝ่าย หากผู้นำได้สร้างบุญคุณแก่คนไว้มาก<br />

ย่อมมีผู้ยินดีพลีตนเพื่อเขามากและยอมรวม<br />

พลังทำการใหญ่ได้ ส่วนคนใจแคบไม่สร้างบุญคุณ<br />

กับคนอื่นจึงไม่มีใครยินดีทำอะไรเพื่อเขา<br />

สั่งก็แล้ว ให้รางวัลก็แล้ว ไม่มีใครตั้งใจทำ หรือ<br />

ทำก็สักแต่ว่าทำอย่างไม่เต็มใจ ผู้นำที่ยิ่งใหญ่<br />

ย่อมยินดีช่วยคนยามเดือดร้อนจึงได้บริวารที่<br />

ภักดีโดยง่าย แต่นักประจบสอพลอมักพยายาม<br />

ช่วยคนเวลาเขาได้ดี พวกนี้เป็นเพียงมิตรเทียม<br />

ส่วนพวกดูหมิ่นเหยียดหยามและไร้น้ำใจต่อคน<br />

เดือดร้อน ไร้เมตตา ยากที่จะมีโอกาสเป็นผู้นำ<br />

ที่ยิ่งใหญ่ ผู้นำที่กำลังได้ดีควรรีบใช้โอกาสสร้าง<br />

บุญคุณอันยิ่งใหญ่แก่ผองชน<br />

การสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นจะเป็น<br />

อีกปัจจัยที่สำคัญต่อการยอมรับอีกประการ<br />

หนึ่ง ความสำเร็จที่มีคุณค่า มีตั้งแต่การค้นคว้า<br />

สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ ความสำเร็จ<br />

ที่คนจำนวนมากปรารถนา ความสำเร็จที่สำเร็จ<br />

ได้ยากและความสำเร็จที่ยังความพึงพอใจ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

45


ให้กับคนทั้งหลาย ไม่ต้องเสียเวลาไปเรียกร้อง<br />

ให้คนสนใจหรือยอมรับ แต่ให้ก้มหน้าก้มตา<br />

สร้างความสำเร็จอย่างชาญฉลาด<br />

ผู้นำในยุคประชาธิปไตยยังต้องสร้าง<br />

ความเป็นกันเอง ไม่ถือตัว ตระหนักรู้ถึง<br />

ความต่างของคนทั้งในด้านความเชื่อและต่าง<br />

วัฒนธรรม รู้จักจำแนกความนิยม ความเชื่อ<br />

ความหลงใหลของแต่ละคนและแต่ละ<br />

ชุมชน เพื่อจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสม<br />

หลักกว้างๆ คือ การยอมรับความแตกต่าง<br />

ประนีประนอมศักดิ์ศรี จรรโลงความดีและ<br />

ประสานประโยชน์ทุกฝ่าย ผู้นำจะต้องไม่ยึด<br />

สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสุดโต่งแต่พร้อมพิจารณา<br />

สิ่งใหม่ๆ และกลั่นกรอง ผสมผสานกับสิ่งเก่าๆ<br />

ให้ลงตัว<br />

อำนาจสุดท้าย คือ อำนาจตามตำแหน่ง<br />

ซึ่งถือเป็นอำนาจที่มาพร้อมกับหน้าที่และ<br />

ความรับผิดชอบ แต่ละความรับผิดชอบจะถูก<br />

กำหนดให้มีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นอำนาจ<br />

ตามกฎหมาย หรือข้อตกลงที่ผู้นำที่ดำรง<br />

ตำแหน่งนั้นสามารถใช้ได้ หากไม่ใช้อาจเข้า<br />

ข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อำนาจประเภทนี้<br />

มีความชัดเจนตามกฎหมาย ผู้คนจึงพยายาม<br />

ไล่ล่าเพื่อให้ได้มา แต่อำนาจตามตำแหน่งย่อมมี<br />

องค์ประกอบของมัน ได้แก่ความเป็นผู้มีความรู้<br />

ความสามารถพิเศษตรงตามตำแหน่ง การ<br />

แสดงบทบาทที่เหมาะสมกับหน้าที่ มีความรับ<br />

ผิดชอบ มีความสัมพันธ์อันพอดีกับผู้เกี่ยวข้อง<br />

ความเป็นที่เข้าใจได้รับความเห็นชอบ หรือ<br />

ฉันทานุมัติจากผู้มีอำนาจ<br />

อำนาจที่มนุษย์มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นอำนาจ<br />

ในตัวเองที่สั่งสมมา อำนาจจากการยอมรับ หรือ<br />

อำนาจจากหน้าที ่และตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับการ<br />

รู้จักใช้อย่างชาญฉลาด เพราะเป็นดาบสองคม<br />

ใช้ดีก็เป็นสุขถ้วนหน้า หากไม่ดีก็อันตราย<br />

หันมาทำลายตนและครอบครัวได้ ผู้นำจึงควร<br />

ยึดหลักการใช้อำนาจโดยใช้ตามข้อตกลงแห่ง<br />

ความรับผิดชอบ ใช้อย่างไม่มีอารมณ์ ใช้เพื่อ<br />

ประโยชน์สุขของทุกฝ่าย ใช้อย่างสอดคล้อง<br />

กับกฎระเบียบ และหลักคุณธรรม ใช้อย่างรู้<br />

ชัดในผลต่อเนื่อง ใช้อย่างสมดุลระหว่างอำนาจ<br />

แต่ละประเภทที่พึงมี ใช้อย่างพอดีในสัมพัทธ์<br />

กับอำนาจของผู้อื่น อย่าใช้อำนาจทำให้ผู้อื่น<br />

เดือดร้อนโดยไม่จำเป็น ใช้อำนาจอย่างตระหนัก<br />

ว่าเป็นสิ่งที่คนมอบให้ นั่นหมายความว่า<br />

จงใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของคนทั้งหลาย หาก<br />

ไม่สามารถควรคืนอำนาจนั้นกลับไป เพราะ<br />

ประชาชนส่วนใหญ่ได้มอบอำนาจให้ชั่วคราว<br />

เพื่อกอปรภารกิจที่ยังประโยชน์แก่เขา หาก<br />

เขาคิดว่าผู้อื่นจะทำให้เขาได้ดีกว่า เขาก็อาจ<br />

ทวงอำนาจนั้นไปให้คนอื่นได้เป็นเช่นนี้ทุกยุค<br />

ทุกสมัย ดังนั้นการได้มาซึ่งอำนาจ และการ<br />

สูญเสียอำนาจ หรือการถ่ายโอนอำนาจจึงเป็น<br />

เรื่องปกติธรรมดาที่ผู้นำต้องเข้าใจ และทำใจ<br />

ไม่ได้ คำแนะนำสำหรับผู้นำก็คือ เมื่อถึงเวลา<br />

ควรเปลี่ยนแปลง จงยินดีปรับเปลี่ยนก่อนที่<br />

จะต้องจำใจเปลี่ยน จะเป็นการฉลาดและ<br />

สง่างามกว่า<br />

การรักษาอำนาจเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง<br />

ที่ยาก คงเคยได้ยินคำกล่าวว่า การได้มาซึ่ง<br />

อำนาจนั้นยาก แต่การรักษาอำนาจ ยิ่งยากเสีย<br />

กว่า ผู้นำพึงรู้วิธีรักษาอำนาจทุกประเภทที่มีอยู่<br />

แล้วใช้ให้มั่นคงและเจริญงอกงามโดยคำนึงถึง<br />

ความมั่นคงในระเบียบวินัย ความไม่กระทบตน<br />

ไม่กระทบคนอื่นโดยไม่จำเป็น การรักษาไว้<br />

ซึ่งส่วนรวม ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติงาน<br />

ความมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ความมี<br />

ระบบดุลอำนาจอย่างเหมาะสม<br />

ต่อจากนั้น ผู้นำยังต้องพัฒนาอำนาจที่มี<br />

อยู่เพื่อให้สามารถประกอบภารกิจได้มากขึ้น<br />

ด้วยการเพิ่มความเข้มข้นขององค์ประกอบ<br />

แห่งอำนาจ ยังความพึงพอใจในปัจจุบันและ<br />

46<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


สร้างความหวังที่ชัดเจนในอนาคต ดูดรับพลัง<br />

สัมพันธภาพในระบบอำนาจสัมพัทธ์ และการ<br />

พัฒนาระบบอำนาจอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะ<br />

ทุกอย่างมีเกิดขึ้น เจริญเติบโต เสื่อมสลาย<br />

ไปในที่สุด รวมทั้งภาวะอำนาจของผู้นำ แต่<br />

ก่อนจะสลาย จุดสูงสุดไปได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับ<br />

การพัฒนา ดังนั้นเมื่อมีอำนาจแล้วต้องรู้จัก<br />

พัฒนาให้เต็มที่ ให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้<br />

ยิ่งอำนาจมากเท่าใดก็ยิ่งสร้างความสำเร็จ<br />

ยิ่งใหญ่ได้มากและง่ายเท่านั้น กล่าวว่าอำนาจ<br />

คือเครื่องมือในการนำ มีอำนาจมากก็มีเครื่องมือ<br />

พร้อมใช้ มีอำนาจน้อยก็ขาดแคลนอุปกรณ์<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

การนำ ไม่มีอำนาจเลยก็นำใครไม่ได้หรือได้<br />

เพียงเล็กน้อย ยากจะประสบความสำเร็จ<br />

คำแนะนำจึงมีอยู่ว่า อย่ารังเกียจอำนาจ<br />

มันเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้นำ แต่อย่าหลงใหลอำนาจ<br />

เพราะเครื่องมือมีไว้ให้ใช้ไม่ได้มีไว้ให้หลง<br />

ขั้นตอนสุดท้ายของผู้นำคือ การมีตัวช่วย<br />

ร่วมรับผิดชอบ ยิ่งภารกิจใหญ่มากเท่าไรก็ยิ่ง<br />

ต้องการคนช่วยและร่วมรับผิดชอบมากเท่านั้น<br />

อำนาจเป็นสิ่งที ่คนมักแย่งชิงกันอยู่เนืองๆ ใน<br />

องค์กรใหญ่ ดังนั้นผู้นำต้องมีระบบการมอบ<br />

อำนาจที่เหมาะสมโดยจัดเป้าหมายภาระ<br />

หน้าที่หรือตำแหน่ง คุณสมบัติของผู้ที่ควรได้รับ<br />

อำนาจชุดหนึ่งๆ ขอบเขตความรับผิดชอบ<br />

และการตัดสินใจ ระบบการตรวจสอบ<br />

การใช้อำนาจ และระยะเวลาแห่งการใช้<br />

อำนาจ<br />

ที่สำคัญสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ ผู้นำ<br />

ควรสร้างระบบการสละอำนาจด้วย ตั้งแต่การ<br />

สร้างทายาท สืบต่ออำนาจ เพราะผู้นำคนหนึ่ง<br />

ไม่สามารถสืบทอดอำนาจตลอดไปได้ หากไม่มี<br />

ระบบทายาทรองรับไว้ อาจเกิดผลเสียหายต่อ<br />

ภารกิจขององค์กรได้ ผู้นำที่มีทายาทสืบทอด<br />

ที่ดีเท่านั้นจักยิ่งใหญ่และดำรงอุดมการณ์ให้<br />

ดำเนินสืบไป<br />

การสละอำนาจอย่างเหมาะสมก่อนที่มี<br />

ความจำเป็นบีบบังคับ จะทำให้ผู้นำก้าวสู่ฐานะ<br />

ที่เหมาะสม อย่าครองอำนาจในสถานการณ์<br />

ไม่เหมาะสมต่อไป จะสร้างความเสียหาย<br />

ทั้งแก่ตนเองและหมู่คณะ หมดโอกาสก้าวหน้า<br />

และอาจพบกับความตกต่ำ ปิดฉากอย่างไม่<br />

คาดฝันได้<br />

ไม่มีใครอยู่ค ้ำฟ้า ผู้นำต้องพร้อมสละ<br />

อำนาจ เมื่อสละแล้วก็จะพบกับความเจริญ<br />

สืบไป<br />

ทั้งหมดนี้คือ ศาสตร์แห่งอำนาจ ที่ผู้นำ<br />

ในทุกภาคส่วน ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ<br />

เพื่อให้ได้ชื่อว่า เป็นผู้นำที่พึงปรารถนา<br />

47


การสถาปนาราชธานี<br />

กรุงหงสาวดีใหม่ ๒๑๕๖<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

48<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ภาพวาด ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต ชาวโปรตุเกสเป็นเจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) ในยุคที่สอง<br />

ของอาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์ตองอูห้วงปี พ.ศ.๒๑๔๒-๒๑๕๖ นาน ๑๓ ปี เป็นห้วงหนึ่ง<br />

ของประวัติศาสตร์พม่า ที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าเมือง<br />

อ<br />

าณาจักรพม่าอยู่ในห้วงช่วงชิง<br />

ความเป็นใหญ่ ระหว่างราชวงศ์<br />

ตองอูที่เป็นเชื้อสายพระเจ้า<br />

บุเรงนอง (King Bayinnaung) พระเจ้ากรุง<br />

อังวะ (Ava) ทรงมีกองทัพขนาดใหญ่เมื่อ<br />

ครอบครองเมืองทางด้านเหนือจึงมีกำลังทหาร<br />

เพิ่มมากขึ้น จึงยกกองทัพลงใต้สู่เมืองสิเรียม<br />

ปากแม่น้ำอิระวดี เป็นการปิดล้อมเมืองครั้งใหญ่<br />

อีกครั้งหนึ่ง มีการต่อสู้อย่างรุนแรงแต่สามารถ<br />

ยึดเมืองสิเรียมได้สำเร็จ อาณาจักรพม่าแห่ง<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

กรุงอังวะ เริ ่มต้นมีอำนาจเหนือเมืองต่างๆ<br />

แห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดี บทความนี้ กล่าวถึง<br />

การสถาปนาราชธานีกรุงหงสาวดีใหม่ พ.ศ.<br />

๒๑๕๖<br />

กล่าวทั่วไป<br />

พระเจ้ากรุงอังวะ (Anaukpetlun Min)<br />

ทรงยกกองทัพใหญ่ลงมาทางด้านใต้ได้เข้าล้อม<br />

เมืองสิเรียม แต่กำแพงเมืองสิเรียมมีความ<br />

มั่นคงล้อมเมืองอยู่นานแม้ว่าจะทุ่มกำลังทหาร<br />

เข้าตีหลายครั้งก็ยังไม่สามารถที่จะหักเข้า<br />

เมืองได้ ในที่สุดสามารถเข้ายึดได้เมืองสิเรียม<br />

เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำปีฉลู พ.ศ.๒๑๕๖ ทหาร<br />

พม่าสามารถจับกุมเจ้าเมืองสิเรียม และเจ้า<br />

เมืองตองอู (นัดจินหน่อง) พระเจ้ากรุงอังวะ<br />

แห่งพม่ามีรับสั่งให้ประหารชีวิตทั้งสองคน<br />

เมื่อรบชนะศึกที่เมืองสิเรียม ปี พ.ศ.๒๑๕๖<br />

ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์พม่าแห่ง<br />

ราชวงศ์ตองอูอย่างแท้จริง พระเจ้ากรุงอังวะ<br />

(Anaukpetlun Min) มีพระอนุชารวม<br />

๒ พระองค์ ประกอบด้วย พระเจ้าทาลุนและ<br />

มังรากะยอชวา (เจ้าเมืองอังวะ)<br />

การสถาปนาราชธานีหงสาวดีใหม่<br />

๒๑๕๖<br />

เมื่อชนะศึกเมืองสิเรียม พ.ศ.๒๑๕๖<br />

พระเจ้ากรุงอังวะมีอำนาจเหนือเมืองต่างๆ<br />

แห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดี พระองค์ทรงย้าย<br />

ราชธานีจากกรุงอังวะ กลับมายังกรุงหงสาวดี<br />

ราชธานีเก่าที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยของ<br />

49


ภาพวาดพระราชวังหลวงกรุงหงสาวดีห้วงที่อยู่ในยุครุ่งโรจน์ แห่งราชวงศ์ตองอูอาณาจักรพม่าในยุคที่ ๒<br />

พระเจ้านันทบุเรง (Nanda Bayin) ได้เสด็จ<br />

ไปประทับที่เมืองตองอูเพื่อจะหนีกองทัพใหญ่<br />

กรุงศรีอยุธยาที่มีจอมทัพคือ สมเด็จพระ<br />

นเรศวร พระราชวังกรุงหงสาวดีถูกกองทัพ<br />

เมืองยะไข่เผาทำลายได้รับความเสียหาย<br />

อย่างหนักเหลือเพียงแต่ซากเมือง (เมืองถูก<br />

ทิ้งร้างนาน ๑๔ ปี) พระเจ้ากรุงอังวะ<br />

(Anaukpetlun Min) ทรงสร้างได้แต่พลับพลา<br />

ที่ประทับแต่ไม่สามารถที่จะบูรณะพระราชวัง<br />

ให้เหมือนเดิมอย่างในอดีตได้ (ใช้งบประมาณ<br />

ในท้องพระคลังเป็นจำนวนมากพร้อมด้วย<br />

ช่างฝีมือเป็นจำนวนมาก แต่ห้วงการรบอัน<br />

ยาวนานจึงเป็นข้อจำกัดอย่างมาก) เพื่อให้<br />

กรุงหงสาวดีเป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครอง<br />

ของอาณาจักรพม่า พระองค์ทรงเริ่มต้นขยาย<br />

อาณาเขตภายในอาณาจักรเพื่อรวมให้เป็นหนึ่ง<br />

เดียวเป็นผลให้มีกองทัพขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง<br />

ทรงเริ่มต้นขยายอาณาจักรไปทางหัวเมือง<br />

มอญทางตอนใต้และสามารถรวบรวมมอญทาง<br />

ตอนใต้ไว้ในอำนาจ ทรงยกกองทัพพร้อมด้วย<br />

ทหาร ๔๐,๐๐๐ นาย เข้าตีเมืองทวายแตกและ<br />

ยกกองทัพเข้าตีเมืองตะนาวศรีโดยการปิดล้อม<br />

เมือง (เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา) แต่ก็ถูก<br />

กองทัพอยุธยาพร้อมด้วยทหารอาสาโปรตุเกส<br />

(๔๐ นาย เพื่อต้องการแก้แค้นแทน ฟิลิป เดอ<br />

บริโต นิโคเต) ต้านทานไว้ได้และสามารถตี<br />

กองทัพพระเจ้าอังวะ ให้ถอยกลับไปได้<br />

กรุงหงสาวดี (Hanthawaddy) ตั้งอยู่<br />

ทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำพะโค เป็น<br />

ราชธานีของมอญมาในอดีตก่อนที่จะเป็น<br />

ราชธานีของอาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์ตองอู<br />

ในสมัยพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ปี พ.ศ.๒๐๘๒<br />

หงสาวดีเจริญรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้า<br />

บุเรงนอง ทรงสร้างพระราชวังมีชื่อเรียกว่า<br />

กัมโพชธานีมีขนาดใหญ่มากมีประตูเมืองทาง<br />

เข้าออกถึง ๑๐ ประตู โดยใช้ช่างจากเมืองขึ ้น<br />

(รวมถึงอยุธยาและเชียงใหม่) มาทำการ<br />

ก่อสร้างกรุงหงสาวดีมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองคือ<br />

พระธาตุมุเตา (พระธาตุชเวมอดอ)<br />

เมื่อเดือน ๑๑ พ.ศ.๒๑๕๗ พระเจ้ากรุงอังวะ<br />

ทรงยกกองทัพจากเมืองเมาะตะมะขึ้นเหนือ<br />

สู่เมืองล้านนา (เชียงใหม่) ที่มีความวุ่นวาย<br />

เมื่อกองทัพพม่าเดินทัพถึงเมืองลำพูนพระเจ้า<br />

เชียงใหม่ สะโดะยอ ทรงทิ้งเมืองเชียงใหม่<br />

กวาดต้อนผู้คนไปยังเมืองลำปาง ต้องทำการรบ<br />

เป็นเวลานานในที่สุดพระเจ้าเชียงใหม่<br />

สิ้นพระชนม์ขณะทำสงครามขุนนางทั้งปวงจึง<br />

ยอมแพ้ พระเจ้ากรุงอังวะ ทรงตั้งพระยาน่าน<br />

เป็นพระเจ้าเชียงใหม่แล้วทรงยกกองทัพกลับสู่<br />

กรุงหงสาวดี เมื่อกองทัพพม่ากลับไปแล้วเมือง<br />

ล้านนา (เชียงใหม่) ก็กลับมาขึ้นกับอาณาจักร<br />

กรุงศรีอยุธยาศูนย์กลางอำนาจการปกครอง<br />

อีกครั้งหนึ่ง ปี พ.ศ.๒๑๗๑ พระเจ้ากรุงอังวะ<br />

ถูกพระราชโอรสคือมังเรทิป (Minyedeippa)<br />

ลอบปลงพระชนม์ พระองค์ทรงอยู่ในราช<br />

สมบัตินาน ๒๓ ปี (พ.ศ.๒๑๔๘ - ๒๑๗๑) ทรง<br />

เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง<br />

50<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


บทสรุป<br />

อาณาจักรพม่าหลังสิ้นพระชนม์<br />

ของพระเจ้านันทบุเรงเป็นผลให้มี<br />

การแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่าง<br />

ราชวงศ์<br />

ราชวงศ์ตองอู พระเจ้ากรุงอังวะ<br />

(Anaukpetlun Min) ทรงสามารถที่จะ<br />

รวบรวมเมืองต่างๆ ภายในอาณาจักร<br />

ให้เป็นหนึ่งเดียว ทรงย้ายราชธานี<br />

มาอยู่ที่กรุงหงสาวดี (Hanthawaddy)<br />

เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของอำนาจการ<br />

ปกครองที่เคยรุ่งโรจน์ในสมัยพระเจ้า<br />

บุเรงนองแต่อาณาจักรพม่าไม่เคยกลับ<br />

มายิ่งใหญ่อย่างในอดีตอีกเลย<br />

ภาพวาด ฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต เจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) ที่ถูกจับได้เมื่อเมืองถูกตีแตกโดยกองทัพพม่าแห่งกรุงอังวะ<br />

(Anaukpetlun Min) ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน ขณะมีอายุ ๔๗ ปี<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

51


Is a three–bedroom<br />

apartment available?<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ<br />

เป็นนักศึกษาทุน<br />

DC หรือ Defence Coopertio<br />

ช่วงที่ผู้เขียน<br />

ซึ่งเรียนปริญญาโทที ่เครือรัฐ<br />

ออสเตรเลียนั้น ประสบการณ์หนึ่งที่น่าตื่นเต้น<br />

ก่อนเริ่มเรียนในมหาวิทยาลัยคือ การหา<br />

บ้านเช่าให้ได้ก่อนเปิดภาคการเรียน และ<br />

ด้วยความที่ผู้เขียนเคยชินกับระบบไทยๆ อยู่<br />

กับบ้านตัวเองมาตลอดชีวิต และไม่เคยคิดว่า<br />

ตัวเองจะต้องไปหาบ้านเช่าที่มีฝรั่งเป็นเจ้าของ<br />

จะต้องสอบถามรายละเอียด เครื่องใช้ต่างๆ<br />

ภายในบ้าน และจะต้องทำสัญญาเช่าต่างๆ นาๆ<br />

การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อเจรจาต่อรองและคุย<br />

กันให้เข้าใจจริงๆ ก่อนย้ายเข้าไปอยู่ในบ้าน<br />

จึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักเรียนไทยในต่างแดน<br />

วารสารหลักเมืองฉบับนี้จะยกตัวอย่างบท<br />

สนทนาในการสอบถามเช่าห้องชุดและแนะนำ<br />

โครงสร้างไวยากรณ์ที่นิยมใช้ในสำนวนที่<br />

เกี่ยวข้องกับการใช้ตัวเลขกับคำนามที่มีสอง<br />

คำนาม ดังนี้<br />

52<br />

Wandee: Hello, I am Wandee Tosuwan. I saw your advertisement in the<br />

classified section of the newspaper. Is a three –bedroom apartment<br />

available? สวัสดีค่ะ ดิฉัน วันดี โตสุวรรณ ค่ะ ดิฉันเห็นประกาศของคุณในหน้าโฆษณา<br />

ในหนังสือพิมพ์ คุณมีห้องชุดสำหรับห้องนอน ๓ ห้องไหมคะ<br />

Manager: Yes, we have three-bedroom apartments available. Do you want<br />

an apartment with or without furniture? มีครับ เรามีห้องชุดที่มี 3 ห้องนอนว่าง<br />

อยู่ครับ คุณต้องการแบบมีอุปกรณ์เครื่องเรือนพร้อม หรือไม่มีครับ<br />

Wandee Well I will be living here only one year. Do you have any<br />

apartment that includes appliances like a stove and a refrigerator?<br />

คือว่า ดิฉันจะอยู่เพียงปีเดียวนะคะ คุณมีห้องชุดที่รวมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เตาอบ หรือ<br />

ตู้เย็น ไหมคะ<br />

Manager: Yes, we do. The apartment rent also includes utilities which are your gas,<br />

electricity, water and others. มีครับ ห้องชุดที่ให้เช่าประกอบด้วย ของใช้ที่ใช้<br />

กับเตาแก็ส ไฟฟ้า น้ำประปา และอื ่นๆ อีกครับ<br />

Wandee ; Great. I like this district because it is fairly close to my office. But before<br />

signing a lease, can I see the apartment this afternoon? เยี่ยมเลย ดิฉันชอบ<br />

สถานที่นี้ เพราะอยู่ใกล้ที่ท ำงานมาก แต่ก่อนที่จะลงนามในสัญญาเช่า ดิฉันขอชมห้องใน<br />

บ่ายนี้ได้ไหมคะ<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


Manager: Surely can. I am glad to show it to you. ได้เลย ผมยินดีที่จะพาคุณชมห้องครับ<br />

เรามาศึกษาการผสมคำนามที่ระบุถึงจำนวนกันดีกว่า เช่น ห้องชุด ๓ ห้องนอน ( Three-bedroom apartment) ด้วยการจำง่ายๆ แบบนี้ค่ะ<br />

a/an/the/ + ตัวเลข + ขีด+ คำนาม (ไม่เติม s หรือ es) + คำนาม (ถ้าเป็นคำนามเอกพจน์ไม่เติม s หรือ es แต่คำนามพหูพจน์<br />

เติม s หรือ es เช่น a four-year plan (แผนสำหรับสี่ปีหนึ่งแผน) แต่ถ้าเป็นแผนสำหรับสี่ปีหลายแผน ก็ต้องเป็น four-year plans.<br />

1. There are several five-lane highways in Houston. มีทางหลวงที่มี ๕ เส้นทางอยู่หลายเส้นในฮุสตัน<br />

2. Sakda works at that thirty-story building. ศักดาทำงานที่อาคาร ๓๐ ชั้นนั้น<br />

3. This is a two-hour meeting. นี้คือการประชุมเป็นเวลา ๒ ชั่วโมง<br />

4. Please me three fifty-baht bills. ขอธนบัตรใบละ ๕๐ บาท ๓ ใบ ครับ<br />

5. We are a part of seven-member group. เราเป็นกลุ่มที่มีสมาชิก ๕ คน<br />

6. I don’t like four –door cars. ฉันไม่ชอบรถยนต์ที่มี ๔ ประตู<br />

7. We are planning to go on a nine-temple tour. เราวางแผนที่จะไปทัวร์วัด ๙ วัด<br />

8. My elder brother has a two-car garage. พี่ชายของฉันมีที่จอดรถสำหรับรถได้ ๒ คัน<br />

9. Did you buy a six-bathroom house? คุณซื้อบ้านที่มีห้องน ้ำ ๖ ห้อง เชียวหรือ<br />

10. This is a two-litre bottle. นี้คือขวดน้ำที่บรรจุได้ ๒ ลิตร<br />

11. John needs two-foot pieces of wood. จอห์นต้องการไม้ความยาว ๒ ฟุต<br />

12. Jinda has a ten-year old daughter. จินดามีลูกสาวอายุ ๑๐ ขวบ ๑ คน<br />

13. He is a four-star general. เขาเป็นนายพล ๔ ดาว<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

“สวย-หล่อ ด้วยคอลลาเจน”<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น หลายคนเป็น<br />

ต้องเริ่มปวดเศียรเวียนเกล้า กับผิวพรรณ<br />

ที่เริ่มหย่อนคล้อยไม่เด้งดึ๋งปึ๋งปั๋งเหมือน<br />

ก่อน อย่าเพิ่งทำหน้าหงอย น้อยใจในชะตา<br />

กรรม เพราะคนเราไม่หยุดสวย หยุดหล่อ<br />

กันแน่ๆ สาระหน้ารู้ทางการแพทย์ประจำ<br />

เดือนนี้สำนักงานแพทย์ฯ จึงชวนพวกเรา<br />

มาดูกันว่าถ้าอยากให้ผิวเด้งใส ไร้ริ้วรอย<br />

ควรทานอาหารชนิดไหนกัน<br />

ถ้าให้นึกถึงอาหารบำรุงผิว เพื่อลดริ้วรอย<br />

ชื่อของคอลลาเจน (Collagen) เป็นต้องผุด<br />

ขึ้นมาในหัวหลายคนเป็นแน่และถูกต้องอย่าง<br />

ที่หลายคนเข้าใจคอลลาเจนคือ สารอาหารที่<br />

ช่วยบำรุงผิวให้มีสุขภาพดีได้จริงและไม่ใช่แค่<br />

คอลลาเจนแบบขวด แบบเม็ด ที่เราคุ้นเคย<br />

เท่านั้นอาหารสดหลายชนิดที่เราๆ รับประทาน<br />

กันอยู่ก็มีคอลลาเจน ที่สำคัญเป็นคอลลาเจนที่<br />

ทรงอานุภาพยิ่งกว่าคอลลาเจนสำเร็จรูปอีก<br />

จริงๆ แล้วคอลลาเจนมีอยู่ในอาหาร<br />

ธรรมชาติด้วย และคอลลาเจนที่อยู่ในอาหารนั้น<br />

เป็นคอลลาเจนที ่ดูดซึมง่าย ให้จำง่ายๆ เลยว่า<br />

ถ้าอยากได้คอลลาเจนไม่ใช่แค่รับประทานจาก<br />

คอลลาเจนแบบขวด หรือแบบเม็ดอย่างเดียว<br />

เพราะคอลลาเจนสำเร็จรูปเหล่านั้น เมื่อกิน<br />

เข้าไปแล้วมันจะถูกร่างกายย่อยแล้วย่อยอีก<br />

จนไม่รู้ว่าตกลงแล้วเหลือคอลลาเจนที่ดูดซึม<br />

เข้าสู่ร่างกายเท่าไหร่ อาจจะปัสสาวะออกหมด<br />

เลยก็ได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่มี<br />

คอลลาเจนตามธรรมชาติจะดีกว่า<br />

ซุปเปอร์ขาไก่ กินแล้วสวยขอยกตัวอย่าง<br />

อาหารที่อุดมไปด้วยคอลลาเจนว่ามีมากมาย<br />

หลายชนิดแต่ต้องรีบเน้นย้ำกันก่อนว่าสำหรับ<br />

คอลลาเจนนั ้นถ้าจะกินให้ได้ประโยชน์จริง<br />

ต้องรับประทานคู่กับวิตามินซี (Vitamin C)<br />

เท่านั ้น “อาหารที่มีคอลลาเจน ตามธรรมชาติ<br />

มีหลายอย่าง แต่ข้อสำคัญคือต้องทานคู่กับ<br />

วิตามินซีด้วย เพราะวิตามินซีจะช่วยดึง<br />

คอลลาเจนเข้าสู่ร่างกายได้ ตัวอย่างเช่น ต้มยำ<br />

ขาไก่ หรือถ้าเป็นคอข้าวต้มกุ๊ยจะรู้จักในชื่อ<br />

‘ซุปเปอร์ตีนไก่’ ซึ่งตีนไก่ หรือขาไก่ที่เราเห็นว่า<br />

เป็นวุ้นๆ จากเอ็นของมันนี่แหละคือ คอลลาเจน<br />

อย่างดีเลยและอย่างที่บอกว่าจะมีแค่คอลลาเจน<br />

อย่างเดียวไม่พอ มันต้องมีอะไรเปรี้ยวๆ เป็น<br />

วิตามินซีด้วย ซึ ่งมันก็คือ ต้มยำขาไก่, ขาไก่ตุ๋น<br />

มะนาวดอง นั่นเอง”<br />

นอกจาก ต้มยำขาไก่รสเปรี้ยวจะถือ<br />

เป็น ‘ซุปสวย’ ที่คุณยกนิ้วเชียร์แล้ว เมนูอื่นๆ<br />

ที่เปี่ยมคอลลาเจนไม่แพ้กันก็ยังมี “อาหาร<br />

อื่นๆ ที่มีคอลลาเจนยังมีอีกหลายชนิด ถ้าเป็น<br />

ฝรั่ง เขาก็รู้จักกินคอลลาเจนมานานแล้วเช่น<br />

ช่วงวันคริสต์มาส จะมีเยลลี่หัวหมูพอฆ่าหมู<br />

54<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ตัวหนึ่งเขาแทบจะไม่ทิ้งอะไรเลย เมื่อได้เนื้อ<br />

ไปแล้วส่วนที่เหลือคือพวกหัวหมู หางหมูนั้น<br />

เขาจะเอามาเคี่ยว ทำเป็นสตูพอทิ้งไว้จนเย็น<br />

มันก็จะกลายเป็นเยลลี่หัวหมู หรือคนจีนก็ทำ<br />

พวกหมูตั้งพวกนั้นก็มีคอลลาเจนเหมือนกัน<br />

กระทั่งอาหารบางอย่างที่สมัยนี้เขานิยมใส่<br />

คอลลาเจนสำเร็จรูปเข้าไป เช่น ส้มตำใส่<br />

คอลลาเจนสำเร็จรูปอย่างนั้นก็ได้คอลลาเจน<br />

เหมือนกัน เหมือนเรากินต้มยำขาไก่เลยเพียง<br />

แต่ว่าอาจจะแพงขึ้นมา เพราะเราต้องไปซื้อ<br />

คอลลาเจนมาจากต่างประเทศทั้งที่คอลลาเจน<br />

แบบไทยๆ เราก็มี”<br />

อาหารทะเล แหล่งรวมคอลลาเจนชั้นเลิศ<br />

อีกแหล่งหนึ่ง “ปลาฉลามเป็นคอลลาเจนชั้นดี<br />

หูของมันก็มีคอลลาเจน แต่อาจจะแพงไป<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

สักหน่อย ดังนั้นเรากินเนื้อปลาฉลามก็ได้ อย่างคน<br />

สมัยก่อนพอเขาเอาหูฉลามส่งขายภัตตาคาร<br />

แล้ว เขาจะเอาเนื้อปลาฉลามมาผัดเผ็ดผัดทั้ง<br />

กระดูกเลย สมัยนี้ถ้าไปแถวเยาวราชก็ยังมี<br />

ผัดเผ็ดปลาฉลามขายอยู่ ราคาไม่แพงนัก หรือจะ<br />

เป็นปลากระเบนก็ได้ คือพวกนี้เป็นสัตว์กระดูก<br />

อ่อน ซึ่งกระดูกอ่อน หรือที่ฝรั่งเรียกคาร์ทีเลจ<br />

(Cartilage) นี่แหละคือ คอลลาเจนอย่างดีเลย<br />

ถึงขั้นมีฝรั่งหัวใสเอามาสกัดเป็นชาร์คคาร์ทีเลจ<br />

(Shark Cartilage - กระดูกอ่อนปลาฉลาม)<br />

ขายกันราคาแพง ทั้งที่จริงแล้วมันคือ คอลลาเจน<br />

กลุ่มเดียวกันเลย”และไม่ใช่แค่ปลาใหญ่<br />

อย่างฉลามไปด้วย ปลาเล็กปลาน้อย กระทั่ง<br />

ปลาหมึก ก็ยังเปี่ยมคอลลาเจนจริงๆ แล้ว<br />

คอลลาเจนที่ดีคือ คอลลาเจนจากพวกอาหาร<br />

ทะเล อย่างเช่น ปลา ปลาหมึก หอยนางรม หรือ<br />

อย่างประเทศญี่ปุ่น จะทำคอลลาเจนมาจาก<br />

ปลาทะเลน้ำลึกทั้งหลายเพราะคอลลาเจน<br />

จากอาหารทะเลจะดูดซึมได้ดีกว่าไก่ แต่จริงๆ<br />

แล้วเรากินอาหารทะเลธรรมดาก็ได้เหมือนกัน<br />

เช่น ต้มยำหัวปลากระพงขาวนี่ก็คอลลาเจน<br />

ทั้งนั้นแต่การกินคอลลาเจนจากอาหารทะเล<br />

จะมีข้อเสียนิดนึง เพราะกลัวจะได้ของแถมเป็น<br />

พวกสารตะกั่ว สารปรอทหรือโลหะหนักที่ตก<br />

อยู่ตามทะเล หลายคนเลยเลือกเป็นพวก<br />

คอลลาเจนสกัดซึ่งพวกนี้จะมีข้อดีคือ มันอาจ<br />

จะทำให้บริสุทธิ์แล้ว ก็อาจจะปลอดภัยหน่อย<br />

แต่เราก็จะต้องแลกกับราคาที่สูงขึ้น”<br />

น้ำต้มกระดูกเมนูสบายกระเป๋าเปี่ยม<br />

ประโยชน์ต่อผิวหลายคนฟังเมนูอาหารทะเล<br />

แล้วกลัวสู้ราคาไม่ไหว ก็ไม่ต้องหวั่นใจไป<br />

เพราะเรามีเมนูราคาย่อมเยากว่ามาเสนอ<br />

ด้วย “ถ้าเกรงว่าปลาฉลามแพงไปหน่อยทาน<br />

น้ำต้มกระดูกไก่ น้ำต้มหมูก็ยังได้เพราะน้ำซุป<br />

เหล่านี้มักเอากระดูกมาต้มซึ่งตรงข้อกระดูก<br />

เหล่านี้ก็มีคอลลาเจนอยู่” ทว่าเข้าใจกันดีว่า<br />

หลายคนกลัวอ้วน ห่วงเรื่องน้ำหนักเกิน เลยฝาก<br />

ทิปส์ง่ายๆ ในการทานอาหารให้ได้คอลลาเจน<br />

แต่ไม่อ้วนมาว่า “ถ้ากลัวอ้วนเราอาจจะใช้<br />

วิธีช้อนไขมันที่อยู่ด้านหน้าซุปออกก่อน เช่น<br />

หากต้มขาไก่ให้เราคอยช้อนไขมันด้านหน้า<br />

ออกระหว่างต้ม แค่นี้น้ำข้างล่างก็ไขมันน้อย<br />

ลงเยอะแล้ว”<br />

ทานคอลลาเจนแค่ไหน..ถึงพอเหมาะ<br />

ก่อนปิดท้ายเรื่องอาหารชะลอวัย ขอฝากความรู้<br />

เรื่องปริมาณที่เหมาะสมในการทาน<br />

คอลลาเจนมาว่า “ปริมาณการทานคอลลาเจน<br />

ถ้าเป็นอาหารสด อย่างเช่น ต้มยำขาไก่ ทาน<br />

วันละหนึ ่งมื้อก็พอ หรือสมมุติทานขาไก่ตุ๋น<br />

มะนาวดองสักหนึ่งถ้วยก็พอแล้ว ส่วนผักโดย<br />

ทั่วไปแล้วจะไม่ค่อยมีคอลลาเจน ยกเว้นบาง<br />

ประเภทเช่น หัวบุก อาจจะมีบ้างแต่ก็ยังสู้<br />

พวกเนื้อไม่ได้ เนื้อจะมีคอลลาเจนเยอะกว่า<br />

แต่อย่างไรก็ตามให้จำไว้เสมอว่าการทานต้องมี<br />

วิตามินซีด้วย ไม่อย่างนั้นกินคอลลาเจนเข้าไป<br />

ก็ไม่มีประโยชน์เลย อันนี้รวมถึงคอลลาเจนทุก<br />

ประเภทครับ ไม่ว่าจะเป็นคอลลาเจนแบบเม็ด<br />

แบบฉีดมันต้องมีการเพิ่มวิตามินซีเข้าไปด้วย<br />

เสมอ เพราะวิตามินซีจะทำให้คอลลาเจน<br />

ดูดซึมได้ดี จึงเป็นอีกหลักการว่าถ้าจะซื้อ<br />

คอลลาเจนเป็นอาหารเสริมให้รู้ไว้เลยว่าถ้ามี<br />

แค่คอลลาเจนอย่างเดียว มันจะไม่ค่อยดูดซึม<br />

พอเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกน้ำย่อยในตัวเรา<br />

ย่อยและขับออกมาเป็นปัสสาวะเกือบหมด<br />

ที่อุตส่าห์ซื้อมาราคาแสนแพงก็ไม่ได้ประโยชน์<br />

อะไรเลย”<br />

55


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานกระบี่ ปริญญาบัตร และเกียรติบัตรแก่<br />

ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สถาบันการศึกษาทางทหารต่างประเทศ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า<br />

ประจำปี ๒๕๕๗ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรี<br />

ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ หอประชุมนักเรียนนายร้อย<br />

พระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก เมื่อ ๒๓ มิ.ย.๕๘<br />

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา<br />

ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จ<br />

แทนพระองค์ทอดพระเนตร การแสดง<br />

กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ ๔๒ โดยมี<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และผู้บัญชาการเหล่าทัพเฝ้ารับเสด็จ<br />

ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรม<br />

แห่งประเทศไทย เขตห้วยขวาง<br />

เมื่อ ๙ ก.ค.๕๘<br />

56


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก<br />

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม ให้การต้อนรับ ดร.โรแลนด์ บุช<br />

(Roland Busch) กรรมการบริหารบริษัท<br />

ซีเมนส์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่<br />

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสเข้า<br />

เยี่ยมคำนับ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม เมื่อ ๑๗ มิ.ย.๕๘<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Shiro Sadoshima (ชิโระ<br />

ซะโดะชิมะ) เอกอัครราชทูตญี่ปุ ่นประจำประเทศไทย ในโอกาสเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๘<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Thierry Viteau (ตีแยรี วีโต)<br />

เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๘<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

57


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเบิกเนตร “ พระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์” โดยมี นางพรวิมล ดิษฐกุล<br />

นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และรองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ หอสวดมนต์ วัดปริวาสราชสงคราม เมื่อ ๖ ก.ค.๕๘<br />

พลอากาศเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมและคณะ เดินทางเยี่ยมชมกิจการกองบิน ๗ และร่วม<br />

ทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐ ก (GRIPEN 39 D)<br />

โดยมี พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ รองผู้บัญชาการ<br />

ทหารอากาศให้การต้อนรับ ณ ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ จังหวัด<br />

สุราษฎร์ธานี เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๕๘<br />

58


พลโท ดอกเตอร์ เดชา เหมกระศรี เลขาธิการสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำคณะนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทย<br />

ที่เดินทางไปเข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๘ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เข้าพบพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อรายงาน<br />

ผลการแข่งขัน ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ มิ.ย.๕๘<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม มอบเครื่องหมายแสดงความสามารถทางการกีฬาชั้น ๑ เสื้อแบบเบลเซอร์และเงินรางวัล<br />

ให้กับ ร้อยโทหญิง จันทร์เพ็ง นนทะสิน นักกีฬาจักรยานที่ได้รับเหรียญเงินประเภทถนน ไทม์ไทรอัล บุคคลหญิง ระยะทาง ๒๙.๔๕ กม. สังกัด<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๘ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมี พลตรี ณภัทร สุขจิตต์<br />

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับมอบ และสิบโทหญิง วิชชุดา ไพจิตรกาญจนกุล นักกีฬายิงปืน ได้รับเหรียญทองจากประเภท<br />

ปืนยาวท่านอน (ทีมหญิง) สังกัด พลสารวัตร หมวดสารวัตรทหารหญิง กองร้อยสารวัตรทหารที่ ๒ กองสารวัตรทหาร สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๖ ณ ประเทศอินโดนีเซีย ณ ห้องยุทธนาธิการ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๓๐ มิ.ย.๕๘<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

59


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายกมล นาคคง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท SK AVANCE ENERGY<br />

ในโอกาสเข้าพบปะหารือ โดยมี รองปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมให้การต้อนรับ<br />

ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๔ มิ.ย.๕๘<br />

พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายอาเมียร์ คายน์ ( Amir Kain) รองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และเจ้ากรมรักษาความปลอดภัยหน่วยงานด้านการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหมรัฐอิสราเอล ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ<br />

ณ ห้องสราญรมย์ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๙ มิ.ย.๕๘<br />

60


พลเอก นพดล ฟักอังกูร เจ้ากรมเสมียนตรา เป็นประธานใน พิธีเปิดกิจกรรมปฏิบัติธรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรม<br />

วงศานุวงศ์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์<br />

ทุกพระองค์ ณ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร เขตคลองสาน เมื่อ ๒๓ มิ.ย.๕๘<br />

พลตรี ณภัทร สุขจิตต์<br />

เลขานุการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม และ<br />

คณะ เดินทางไปเยี่ยมสถานี<br />

วิทยุเครือข่ายสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ณ อำเภอสันป่าตอง จังหวัด<br />

เชียงใหม่ พร้อมเสวนา<br />

โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย<br />

ปีที่ ๗ ในหัวข้อการประกวด<br />

“Show Time Show Thai”<br />

จากค่านิยม หลัก ๑๒ ประการ<br />

ข้อที่ ๕ “รักษาวัฒนธรรม<br />

ประเพณีไทยอันงดงาม” ณ<br />

โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว<br />

จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ ๑๐<br />

มิ.ย.๕๘<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

นางธัญรัศม์ อาจวงษ์ อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จ<br />

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าและตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ<br />

ณ วัดอาวุธวิกสิตารามเขตบางพลัด กทม. เมื่อ ๒๖ มิ.ย.๕๘<br />

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายก<br />

สมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม อุปนายกสมาคมฯ<br />

และกรรมการสมาคมฯ ร่วม เข้าเฝ้า<br />

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี<br />

พระวรราชาทินัดดามาตุ ถวายเงิน<br />

รายได้จากการจำหน่ายสินค้าในงาน<br />

เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ประจำปี ๕๗<br />

ณ วังสวนกุหลาบ เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๕๘<br />

62


นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมแม่บ้านองค์การ<br />

สงเคราะห์ทหารผ่านศึก ณ ห้องประชุมชั้น ๕ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เมื่อ ๓๐ มิ.ย.๕๘<br />

นางธัญรัศม์ อาจวงษ์ อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมจัดกิจกรรม<br />

“โครงการปล่อยเต่าคืนสู่ทะเล” ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ และร่วมวางพวงมาลา<br />

ณ อนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน จังหวัดชลบุรี เมื่อ ๗ ก.ค.๕๘<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

63


นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม เฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ<br />

เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี และร่วมเป็นเกียรติ<br />

ชมการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที ่ ๔๒ บรรเลงโดยวงดุริยางค์ราชนาวี<br />

เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย ณ หอประชุมใหญ่<br />

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อ ๙ ก.ค. ๕๘<br />

64


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานใน พิธีเปิดหอพระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์ โดยมี นางพรวิมล ดิษฐกุล<br />

นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี<br />

ณ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จังหวัดลพบุรี เมื่อ ๑๕ ก.ค.๕๘

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!