13.06.2018 Views

No Title for this magazine

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เปิดประตูบ้านหลังแรกของการทหารไทยยุคใหม่<br />

เผยเกียรติภูมิของโบราณสถานอันสำคัญคู่ชาติ ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคงของประเทศ


วิเชตฺวา พลตาภูป<br />

รฏฺเฐ สาเธตุ<br />

วุฑฺฒิโย<br />

ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้า พร้อมด้วยปวงทหาร<br />

จงมีชัยชนะ<br />

ยังความเจริญให้สำาเร็จ ในแผ่นดินเทอญ<br />

บทมงคลพระคาถาประจำาโรงทหารหน้า หรือศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน<br />

ประดับอยู่ ณ บริเวณมุขกลาง หน้าบันกระทรวงกลาโหม


รวมสรรสาระน่ารู้<br />

ของศาลาว่าการกลาโหม


รวมสรรสาระน่ารู้ของศาลาว่าการกลาโหม<br />

พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖<br />

ISBN 978-974-9752-56-2<br />

เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เลขที่ ๗ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

ประธานที่ปรึกษา พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

คณะที่ปรึกษา พลเอก ปฏิพนธ์ กุลพิจิตร<br />

พลเอก ธราธร ศรียะพันธ์<br />

พลเอก เกษม ยุกตวีระ<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ พลเอก ชาญ โกมลหิรัญ<br />

บรรณาธิการอำนวยการ พลตรี ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์<br />

บรรณาธิการข้อมูล<br />

พลตรี อัครพล ประทุมโทน<br />

บรรณาธิการบทความ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

บรรณาธิการบริหาร<br />

พันเอก ณภัทร สุขจิตต์<br />

รองบรรณาธิการบริหาร พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์<br />

กองบรรณาธิการ<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

พิสูจน์อักษร<br />

พันเอกหญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช, นาวาโทหญิง รสสุคนธ์ ทองใบ<br />

ร้อยเอกหญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร, ร้อยโทหญิง ลลิดา ดรุนัยทร<br />

ภาพประกอบ กลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สว่าง จริยปรัชญากุล<br />

ภาพปกหลัง อำนาจ ชื่นเกตุ<br />

ศิลปกรรม ชัยวัฒน์ สุทธิสินธุ์<br />

อำนวยการผลิต<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

กระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒<br />

www.opsd.mod.go.th<br />

พิมพ์ที่ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด<br />

เลขที่ ๕๕๕ หมู่ ๑๒ ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน<br />

จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๑๐<br />

โทรศัพท์ ๐ ๒๘๑๑ ๗๗๗๘ โทรสาร ๐ ๒๘๑๑ ๗๗๑๕


จากอดีต...<br />

...จวบปัจจุบัน


คำปรารภ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหม นับเป็นมรดกล ้ำค่าที่บรรพบุรุษของเราได้ดูแลรักษา<br />

และทำนุบำรุงมาเป็นอย่างดีจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกาลเวลาในประวัติศาสตร์ของชาติไทย<br />

มายาวนานถึง ๑๒๙ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ และเป็นสถานที่ตั้งของหน่วยราชการเดิม<br />

เพียงหน่วยเดียว คือ กระทรวงกลาโหม ที่มีอายุยืนยาวกว่า ๑ ศตวรรษ ณ สถานที่แห่งนี้<br />

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อกำเนิดงานกิจการทหารสมัยใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ<br />

และยังเป็นสถานที่ที่ได้สั่งสมเกียรติประวัติ เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของเหล่าทหารหาญ<br />

มาอย่างยาวนาน รวมทั้งได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญๆ บนหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย<br />

มากมาย อันเป็นความภาคภูมิใจของเหล่าข้าราชการทหาร ตลอดจนพี่น้องประชาชน<br />

ชาวไทยทุกคน โดยปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ก็ยังคงใช้งานอยู่และได้รับการดูแล อนุรักษ์ให้คงไว้<br />

ซึ่งความแข็งแรง สง่างาม สมดั่งที่เป็นสัญลักษณ์หน่วยงานความมั่นคงของประเทศ<br />

หนังสือ “รวมสรรสาระน่ารู้ของศาลาว่าการกลาโหม” เล่มนี้ เป็นเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่น<br />

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อถ่ายทอดเกียรติประวัติ เกียรติภูมิ<br />

ตลอดจนเกร็ดสาระความรู้ต่างๆ ของสถานที่แห่งความภาคภูมิใจแห่งนี้ สู่ผู้อ่านทุกท่าน<br />

ผู้เป็นเจ้าของประเทศ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกท่านได้รับรู้และเกิดความภูมิใจ<br />

ต่อโบราณสถานอันสำคัญคู่ชาติไทยของเรา ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สื่อสาระเล่มนี้<br />

จะเป็นสื่อกลางบอกกล่าว เล่าเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบันถึงภูมิปัญญา ความสามารถ และ<br />

ความเหนื่อยยากของบรรพชนไทยที่ได้ปกปักรักษามรดกล้ำค่าของแผ่นดินนี้ไว้เป็นอย่างดี<br />

เพื่อเป็นสมบัติของพี่น้องชาวไทยทุกคนสืบต่อๆ ไป<br />

พลเอก<br />

( ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน )<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เมษายน ๒๕๕๖<br />

5


สารบัญ<br />

อาคารและองค์ประกอบภายนอกศาลาว่าการกลาโหม<br />

๑. อาคารภายนอกศาลาว่าการกลาโหม ๑๒<br />

๒. ความโดดเด่นของมุขกลาง ๑๓<br />

๓. ที่ดินที่ใช้สร้างศาลาว่าการกลาโหม ๑๔<br />

๔. ที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม ๑๔<br />

๕. พื้นที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม ๑๕<br />

๖. พระราชประสงค์ในการโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างศาลาว่าการกลาโหม ๑๗<br />

๗. เจตนารมณ์ของฝ่ายทหารต่อการสร้างโรงทหารหน้า ๑๘<br />

๘. สาเหตุของการสร้างโรงทหารหน้าและปรับปรุงกิจการทหาร ๑๘<br />

๙. การดำเนินการก่อสร้างโรงทหารหน้า ๑๙<br />

๑๐. การจัดสรรการใช้ประโยชน์ของโรงทหารหน้า ๒๐<br />

๑๑. บันทึกประวัติการสร้างโรงทหารหน้า ๒๑<br />

๑๒. ความหมายของคำว่า “กลาโหม” ๒๓<br />

๑๓. ที่มาของคำว่า “กลาโหม” ๒๓<br />

๑๔. ความสำคัญและความเป็นมาของ กลาโหม ในยุคโบราณ ๒๔<br />

๑๕. ที่ตั้งของโรงทหารหน้าในอดีต ๒๖<br />

๑๖. การเปิดโรงทหารหน้า ๒๘<br />

๑๗. ที่มาของคำว่า โรงทหารหน้า ๓๐<br />

๑๘. ศาลายุทธนาธิการ ๓๑<br />

๑๙. การต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๓๒<br />

๒๐. สัญลักษณ์ที่หน้าจั่วของมุขกลาง ๓๔<br />

๒๑. คาถาประจำโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ๓๕<br />

๒๒. ประตูเข้าและออก ๓๖<br />

๒๓. สัญลักษณ์ปูนปั้นประดับชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๓๗<br />

๒๔. วิวัฒนาการของกระทรวงกลาโหม ๓๘<br />

๒๕. กรมยุทธนาธิการ : ต้นกำเนิดของกระทรวงกลาโหม ๓๘<br />

๒๖. หน่วยทหารที่มีที่ตั้งในโรงทหารหน้าหรือศาลายุทธนาธิการ ๔๒<br />

๒๗. โรงทหารหน้าอาคารแห่งความสมบูรณ์แบบทางทหาร ๔๒<br />

๒๘. ระบบการผลิตน้ำประปาของโรงทหารหน้า ๔๔<br />

๒๙. การระบบประปาของโรงทหารหน้า ๔๔<br />

๓๐. ระบบสุขาภิบาลในโรงทหารหน้า ๔๕<br />

๓๑. ระบบสาธารณสุขในโรงทหารหน้า ๔๕<br />

๓๒. ระบบไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทยในโรงทหารหน้า ๔๖<br />

หน้า<br />

6


๓๓. การวางระบบไฟฟ้าจากโรงทหารหน้า ๔๖<br />

๓๔. ระบบโทรศัพท์ในโรงทหารหน้า ๔๗<br />

๓๕. การให้บริการแสงสว่างของโรงทหารหน้า ๔๘<br />

๓๖. การให้บริการสาธารณะของโรงทหารหน้า ๔๘<br />

๓๗. หอคอยของโรงทหารหน้า ๕๐<br />

๓๘. การขนานนามที่ทำการกระทรวงกลาโหม ๕๐<br />

๓๙. พญาคชสีห์ ๕๑<br />

๔๐. ภูมิทัศน์หน้าศาลาว่าการกลาโหม ๕๓<br />

๔๑. เสาธงชาติ ๕๖<br />

๔๒. การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ ๕๖<br />

๔๓. ปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม ๕๙<br />

๔๔. ประวัติและความเป็นมาของปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม ๖๐<br />

๔๕. ประเภทของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๖๑<br />

๔๖. การแบ่งยุคของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๖๒<br />

๔๗. รายละเอียดของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๖๔<br />

๔๘. การจัดภูมิทัศน์พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ ๗๑<br />

๔๙. รั้วเหล็กรอบสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๗๓<br />

อาคารและองค์ประกอบภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๕๐. การออกแบบอาคารด้านในของศาลาว่าการกลาโหม ๗๕<br />

๕๑. ผนังอาคารและระเบียงด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๗๕<br />

๕๒. บันไดทางขึ้นลงด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๗๖<br />

๕๓. กันสาดรอบอาคารด้านล่าง ๗๖<br />

๕๔. ลิฟท์โดยสารภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๗๘<br />

๕๕. เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัยทางอากาศที่ศาลาว่าการกลาโหม ๗๘<br />

๕๖. ศาลเจ้าพ่อหอกลอง ๘๐<br />

๕๗. กลองประจำพระนคร ๘๒<br />

๕๘. สัญลักษณ์สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๘๔<br />

๕๙. เกียรติภูมิสนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๘๖<br />

๖๐. เกียรติประวัติของสนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๘๙<br />

๖๑. การฉลองชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน ๙๑<br />

๖๒. สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหมปัจจุบัน ๙๒<br />

๖๓. ต้นไม้ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๙๓<br />

๖๔. ลักษณะอาคารภายในโรงทหารหน้า ๙๖<br />

๖๕. ทหารไทยกับการใช้ประโยชน์ภายในตัวอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๙๖<br />

๖๖. ศาลาว่าการกลาโหมกับการเมืองการปกครองของไทย ๙๗<br />

7


8<br />

๖๗. กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก ๙๘<br />

๖๘. โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก ๙๙<br />

๖๙. ที่ทำการจเรทหาร ที่ปรึกษาทางทหารและจเรทหารทั่วไป ๑๐๑<br />

๗๐. ที่พักทหารของโรงทหารหน้า ๑๐๑<br />

๗๑. ตะรางกลาโหม ๑๐๒<br />

๗๒. โรงทหารหน้า กองบัญชาการปราบกบฏอั้งยี่ ๑๐๒<br />

๗๓. อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๑๐๔<br />

๗๔. ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ๑๐๗<br />

๗๕. อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ๑๐๘<br />

๗๖. การต่อเติมอาคารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๐๙<br />

๗๗. อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก ๑๑๐<br />

๗๘. ห้องอารักขเทวสถาน ๑๑๒<br />

๗๙. ห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม ๑๑๓<br />

๘๐. ห้องประชุมสภากลาโหม ๑๑๔<br />

๘๑. ห้องภาณุรังษี ๑๑๗<br />

๘๒. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ๑๑๘<br />

เจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิดศาลาว่าการกลาโหม<br />

๘๓. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในห้องภาณุรังษี ๑๑๘<br />

๘๔. พระรูปจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาพิมุข ๑๒๐<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชในห้องภาณุรังษี<br />

๘๕. ห้องกัลยาณไมตรี ๑๒๐<br />

๘๖. ห้องสุรศักดิ์มนตรี ๑๒๑<br />

๘๗. อนุสรณ์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ๑๒๒<br />

๘๘. พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน ๑๒๓<br />

๘๙. ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ๑๒๔<br />

๙๐. พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๒๕<br />

พระบิดาทหารปืนใหญ่<br />

๙๑. ห้องขวัญเมือง ๑๒๖<br />

๙๒. ห้องกำปั่นเก็บเงินกระทรวงกลาโหม ๑๒๖<br />

๙๓. ห้องสนามไชย ๑๒๘<br />

๙๔. ห้องสราญรมย์ ๑๒๙<br />

๙๕. ห้องหลักเมือง ๑๓๐<br />

๙๖. วิมานท้าวเวสสุวัณณ์ ๑๓๐<br />

๙๗. ห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม ๑๓๑<br />

๙๘. ห้องยุทธนาธิการ ๑๓๑


๙๙. ห้องพินิตประชานาถ ๑๓๒<br />

๑๐๐. ห้องพิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหม ๑๓๔<br />

๑๐๑. ช่องลอดด้านทิศตะวันออก ๑๓๔<br />

สถานที่และสิ่งสำคัญรอบศาลาว่าการกลาโหม...กรุงรัตนโกสินทร์<br />

๑๐๒. พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ๑๓๗<br />

๑๐๓. ศาลหลักเมือง ๑๓๘<br />

๑๐๔. ท้องสนามหลวง ๑๓๙<br />

๑๐๕. บ้านพักท่าแปดตำรวจ ๑๔๐<br />

๑๐๖. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ๑๔๒<br />

๑๐๗. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ๑๔๓<br />

๑๐๘. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ๑๔๓<br />

๑๐๙. คลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองหลอด ๑๔๕<br />

๑๑๐. เทวาลัยพระศรีวสุนธรา หรือ ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม ๑๔๗<br />

๑๑๑. อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ๑๔๗<br />

๑๑๒. อนุสาวรีย์สหชาติหรืออนุสาวรีย์หมู ๑๔๙<br />

๑๑๓. สะพานปีกุน ๑๔๙<br />

๑๑๔. สะพานหก ๑๕๐<br />

๑๑๕. สะพานช้างโรงสี ๑๕๐<br />

๑๑๖. ถนนสนามไชย ๑๕๒<br />

๑๑๗. ปั๊มน้ำมันสามทหาร ๑๕๓<br />

๑๑๘. ท่ารถรางกระทรวงกลาโหม ๑๕๕<br />

๑๑๙. อาคารกรมพระธรรมนูญ ๑๕๖<br />

๑๒๐. สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม ๑๕๖<br />

๑๒๑. ถนนรอบกระทรวงกลาโหม ๑๕๙<br />

๑๒๒. กรมแผนที่ทหาร ๑๖๒<br />

๑๒๓. พระราชวังสราญรมย์ ๑๖๔<br />

๑๒๔. ชุมชนสามแพร่ง : ย่านการค้าหลังศาลาว่าการกลาโหม ๑๖๗<br />

๑๒๕. สี่กั๊กพระยาศรี : ย่านการค้าบนถนนเจริญกรุงในกำแพงพระนคร ๑๖๘<br />

๑๒๖. สี่กั๊กเสาชิงช้า ๑๖๙<br />

๑๒๗. ย่านการค้าริมถนนเฟื่องนคร ๑๗๐<br />

ปัจฉิมบท ๑๗๓<br />

บทส่งท้าย ๑๗๔<br />

9


ศาลาว่าการกลาโหม คือ สถานที่อันเป็น<br />

การบ่งบอกถึงเกียรติภูมิของกระทรวงกลาโหมและ<br />

ทหารไทยทุกคน อาจจะกล่าวว่าเป็นบ้านหลังแรก<br />

ของทหารไทยในยุคปัจจุบันก็ว่าได้ เนื่องเพราะ<br />

กิจการทหารในยุคใหม่ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหม พร้อมทั้งยังทรงเสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาเปิดโรงทหารหน้า เมื่อวันที่ ๑๘<br />

กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ซึ่งนับเป็นพระ<br />

มหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ทหารไทย<br />

เป็นอย่างยิ่ง<br />

หลายคนคงยังไม่ทราบว่าศาลาว่าการกลาโหม<br />

คือต้นแบบของหน่วยทหารที่สมบูรณ์แบบในสมัย<br />

กว่า ๑๒๐ ปีที่ผ่านมา กล่าวคือมีทั้งไฟฟ้า น้ำประปา<br />

โทรศัพท์ ระบบสาธารณสุข ที่เรียกว่าทันสมัยหรือ<br />

ล้ำยุคมากในห้วงเวลานั้น เป็นอาคารที่สามารถ<br />

บรรจุกำลังพลได้เรือนหมื่น พร้อมยุทโธปกรณ์<br />

และสามารถเคลื่อนที่เข้าปฏิบัติภารกิจได้ทันทีและ<br />

สามารถดำรงชีพของหน่วยได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยัง<br />

เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าและคุณลักษณะอันสูงส่ง<br />

ทางสถาปัตยกรรมอันแฝงไปด้วยความงดงาม<br />

เข้มขลัง และสะท้อนความคิดเชิงสถาปัตย์ที่ผสม<br />

กลมกลืนลงตัวกับประโยชน์ใช้สอย<br />

กล่าวนำ<br />

ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ นี้ ถือว่าเป็นปีที่ ๑๒๖<br />

แห่งการสถาปนากระทรวงกลาโหม และยังเป็น<br />

๑๒๙ ปี แห่งการปฐมฤกษ์การเปิดโรงทหารหน้า<br />

จึงใคร่ขอนำเสนอสิ่งอันเป็นสาระชวนรู้ ชวนคิด<br />

ชวนติดตามเพื่อตอบโจทย์ในสิ่งที่ท่านได้เห็น<br />

ได้สัมผัสจากศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ ทั้งในเรื่อง<br />

ความรู้และเกร็ดความรู้ ตลอดจนความภาคภูมิใจ<br />

ในโบราณสถานอันสำคัญคู่ชาติไทยและเป็นสัญลักษณ์<br />

ของความมั่นคงของชาติ<br />

สำหรับสาระสำคัญ ๑๒๗ เรื่องในหนังสือเล่มนี้<br />

จะเป็นการบอกเรื่องราวอันหลากหลาย อาทิ อาคาร<br />

ภายนอก อาคารภายใน องค์ประกอบของอาคาร<br />

สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในอาคาร บริเวณรอบอาคาร<br />

และความสำคัญ ที่ร้อยเรียงเป็นเรื่องราว รวมถึง<br />

สิ่งของเก่าที่เล่าเรื่องอันเป็นคุณค่าในตัวเอง โดยนำ<br />

เสนอในลักษณะพาท่านผู้อ่านเยี่ยมชมศาลาว่าการ<br />

กลาโหมตั้งแต่ภายนอกอาคาร เข้าสู่ภายในอาคาร<br />

จนถึงสิ่งอื่นๆ ที่รายรอบอาคาร<br />

แต่ก่อนอื่นใคร่ขอทำความเข้าใจก่อนว่า ศาลา<br />

ว่าการกลาโหม หันหน้าไปทางทิศตะวันตกและหาก<br />

ในครั้งต่อไป หากกล่าวถึงทิศต่างๆ ขอให้เข้าใจ<br />

ตรงกัน ดังนี้<br />

ทิศเหนือของอาคาร หันหาศาลหลักเมืองและกรมพระธรรมนูญ<br />

ทิศใต้ของอาคาร หันหาวังสราญรมย์ (กระทรวงการต่างประเทศเดิม) และกรมแผนที่ทหาร<br />

ทิศตะวันออกของอาคาร หันหาคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด)<br />

ทิศตะวันตกของอาคาร หันหาพระบรมมหาราชวัง<br />

หากท่านพร้อมแล้ว<br />

ใคร่ขอนำท่านชมและรับทราบเรื่องสำคัญต่าง ๆ ของศาลาว่าการกลาโหมหรือโรงทหารหน้า ณ บัดนี้<br />

11


อาคารและองค์ประกอบภายนอกศาลาว่าการกลาโหม<br />

๑. อาคารภายนอกศาลาว่าการกลาโหม<br />

โครงสร้างผังอาคารของศาลาว่าการกลาโหม<br />

มีลักษณะเป็นอาคารขนาดสูง ๓ ชั้น รูปสี่เหลี่ยม<br />

ผืนผ้าแคบยาว ๔ หลังต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบ<br />

เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ล้อมรอบสนามขนาดใหญ่ที่มี<br />

อยู่ภายใน โดยสีของอาคารเป็นสีไข่ไก่คั่นด้วย<br />

ขอบเสาที่มีสีขาว<br />

เป็นอาคารที่มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบ<br />

คลาสสิค (Classicism) ในรูปแบบของสถาปนิก<br />

แอนเดรีย พาลลาดิโอ ที่เรียกว่า ศิลปะแบบ<br />

พาลลาเดียน (Palladianism) ที่มีความชัดเจนมากคือ<br />

มีลักษณะผังรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบสนาม<br />

ไว้ภายใน ทั้งนี้เพราะทำให้อาคารสามารถรับแสง<br />

สว่างได้ดี เช่นเดียวกับการออกแบบพาลาโซเธียเน<br />

(Pallazothiene) แห่งเมืองวิเจนซ่า (Vicenze) ประเทศ<br />

อิตาลี ในปี ค.ศ. ๑๕๕๐<br />

ด้านหน้าอาคารทำเป็นประตูเข้าออก ๒ ประตู<br />

อยู่ด้านทิศตะวันตกตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง<br />

บริเวณประตูสวัสดิโสภา มีจุดเด่นทางสถาปัตยกรรม<br />

อยู่ที่มุขกลางด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม อาคาร<br />

ที่ต่อจากมุขกลางมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />

แคบยาวแบบห้องแถว มีระเบียงตั้งอยู่ติดกับ<br />

ตัวอาคารสำหรับใช้เป็นทางเดินเชื่อมอาคารทั้งสี่<br />

เข้าด้วยกัน หลังคาอาคารแถวเป็นทรงปั้นหยา<br />

ไม่ยกสูงชายคากุดแบบอาคารในยุโรป<br />

ตัวอาคารเป็นตึกแถวสี่ด้านก่ออิฐฉาบปูนเรียบ<br />

มีช่องหน้าต่างในช่องผนังทุกช่อง คั่นด้วยเสาอิง<br />

ปูนปั้นนูนต่ำคาดเป็นแนวปล้องเลียนแบบการก่อ<br />

ด้วยอิฐ (Rustication) สำหรับช่องหน้าต่างมีขนาด<br />

แตกต่างกันในแต่ละชั้น โดยชั้นที่สองมีช่องหน้าต่าง<br />

ใหญ่ที่สุด ซึ่งบานหน้าต่างเป็นไม้กรุลูกฟักเรียบแบบ<br />

บานละ มีซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นเรียบในลักษณะที่<br />

แตกต่างกันตามแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบ<br />

คลาสสิค กล่าวคือ<br />

• ชั้นล่าง ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็น<br />

ก้อนก่อของทับหลังแบบโค้งแบน (Flat arch)<br />

• ชั้นที่สอง ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็น<br />

ซุ้มคานเครื่องบน (Architrave)<br />

• ชั้นบนสุด ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็น<br />

ซุ้มหน้าบันโค้งเสี้ยววงกลม (Segmental arch)<br />

หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว จะเห็นว่าอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เป็นอาคารที่เรียบง่าย แต่สวยงาม<br />

ตามคติ เรียบง่ายที่สูงศักดิ์ (Noble simplicity)<br />

ของแนวการออกแบบตามรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />

แบบคลาสสิค<br />

12


๒. ความโดดเด่นของมุขกลาง<br />

จุดเด่นทางสถาปัตยกรรมของมุขกลางด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ถือว่าเป็นการออกแบบที่ลงตัว<br />

กับความเป็นที่ตั้งทางทหาร ซึ่งจะต้องมีความอลังการ ดูสงบ น่าเกรงขาม และบ่งบอกถึงศักยภาพในการ<br />

ปกป้องประเทศชาติ และผสมผสานได้อย่างเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ที่สำคัญที่สุดคือ มีความสมดุล<br />

ในทางสถาปัตยกรรม กล่าวคือ<br />

• อาคารมุขกลางมีลักษณะเป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับใช้เป็นส่วนบังคับบัญชามีประตู<br />

ทางเข้าออกขนาดใหญ่วางขนาบด้านซ้ายและขวา ส่วนหน้าแคบยาวเป็นระเบียงประดับเสาราย<br />

ส่วนกลางเป็นโถงใหญ่ยาว ๕ ช่วงเสา ส่วนท้ายเป็นโถงบันได นอกจากนี้ ยังมีปีกต่อออกไป<br />

อีก ๒ ข้างที่ส่วนท้ายอาคาร สามารถแบ่งออกเป็นห้องขนาดเล็กได้อีกข้างละ ๓ ห้อง เมื่อมอง<br />

ในภาพรวมแล้ว มีผังเป็นรูปตัว T หันส่วนบนเข้าข้างในอาคาร<br />

• มีหลังคาจั่วแบบวิหารกรีก โดยเฉพาะหน้าจั่วนี้มีบัวปูนปั้นยื่นออกมาเป็นไขรา (หมายถึง ส่วนของ<br />

หลังคาที่ยื่นจากฝาหรือจั่วออกไป) ที่รับด้วยเต้าสั้นๆ แบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค และบริเวณ<br />

ใต้จั่วจัดทำเป็นโครงสร้างคานโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่อง ๕ ช่วง<br />

• ชั้นล่าง เป็นเสาลอยตัวหน้าตัดกลมขนาดใหญ่สูง ๒ ชั้น ตั้งอยู่บนฐานเสาสูง ๖ ต้น ในสไตล์<br />

ดอริค (Doric) ก่อขึ้นมารับมุขโครงสร้างคานโค้งของชั้นที่สามที่ยื่นมาจากแนวตึก<br />

สรุปโดยภาพรวม อาคารศาลาว่าการกลาโหมที่ก่อสร้างในห้วงแรกที่เป็นโรงทหารหน้า ถือเป็น<br />

สถาปัตยกรรมที่มีความลงตัวเชิงศิลปะและมีความสวยงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาคารสถาปัตยกรรมแบบ<br />

คลาสสิคของยุโรปในยุคนั้น<br />

13


๓. ที่ดินที่ใช้สร้างศาลาว่าการกลาโหม<br />

เคยมีหลายคนถามว่า การสร้างอาคารตาม<br />

รูปแบบของศิลปะแบบพาลลาเดียน (Palladianism)<br />

ที่มีลักษณะผังรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบสนาม<br />

ไว้ภายใน แต่เหตุใดจึงไม่ก่อสร้างอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้ครบถ้วนตามหลัก<br />

คิดของต้นตำรับ เพราะอาจทำให้การใช้ประโยชน์<br />

ผิดแผกไปจากแนวคิดเดิม แต่เมื่อมีการศึกษา<br />

ในรายละเอียดแล้วจึงเข้าใจเหตุผลของการออกแบบ<br />

อาคารจนเป็นลักษณะที่เห็นกันในปัจจุบัน กล่าวคือ<br />

๑) การออกแบบและปลูกสร้างอาคารเป็นไป<br />

ตามรูปที่ดินตามโฉนดที่ดินของโรงทหารหน้ามี<br />

รูปร่างใกล้เคียงกับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่หันด้านข้าง<br />

เข้าสู่ถนนสนามไชย และมีการออกแบบโดยเน้น<br />

ประโยชน์ใช้สอยผสมผสานกับรูปแบบอาคาร<br />

ตามหลักคิดศิลปะแบบพาลลาเดียนดังกล่าว<br />

๒) สำหรับกระทรวงกลาโหมเป็นส่วนราชการ<br />

เดียวที่มีโฉนดที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวง<br />

กลาโหมเอง เนื่องเพราะ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง<br />

ฉบับที่ ๖๑/๒๔๗๘ ที่ดินเลขที่ ๓๕ ระวาง ๒ มีเนื้อที่<br />

รวม ๑๘ ไร่ ๕๓ ตารางวา เพื่อให้สร้างโรงทหาร<br />

หน้าเพื่อกิจการของทหาร ในขณะที่ส่วนราชการ<br />

อื่นต่างใช้ประโยชน์จากที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ<br />

โดย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นส่วนราชการ<br />

ที่ดูแลการใช้ประโยชน์ของที่ดินสำหรับส่วนราชการ<br />

ต่างๆ นั้น<br />

อย่างไรก็ตามว่าด้วยข้อจำกัดของจำนวนพื้นที่<br />

และทำเลที่ตั้ง ศาลาว่าการกลาโหมจึงเป็นสถานที่<br />

ราชการที่ไม่มีรั้วอาคารประกอบมีพื้นที่สนามภายใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหมใช้เป็นพื้นที่ประกอบพิธีต่างๆ<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ การสร้างอาคารที่สร้างตามรูป<br />

ที่ดินจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส<br />

เพียงแต่มีลักษณะติดต่อกันสี่ด้าน และล้อมรอบ<br />

สนามไว้ภายใน ก็สอดรับกับหลักคิดศิลปะแบบ<br />

พาลลาเดียน และสามารถทำให้อาคารสามารถรับ<br />

แสงสว่างได้ดีก็เพียงพอต่อประโยชน์ใช้สอยแล้ว<br />

๔. ที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหมที่เรากำลังกล่าวถึง<br />

นี้ มีถนนรายรอบทั้งสี่ด้านทั้งที่เป็นถนนสายหลัก<br />

และถนนสายรอง ประกอบด้วย<br />

๑) ทิศเหนือ ด้านติดกับศาลหลักเมือง คือ<br />

ถนนหลักเมือง<br />

๒) ทิศใต้ ด้านติดกับกรมแผนที่ทหารและ<br />

บางส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ คือ ถนน<br />

กัลยาณไมตรี (ถนนบำรุงเมืองเดิม)<br />

๓) ทิศตะวันออก ด้านติดกับคลองคูเมืองเดิม<br />

คือ ถนนราชินี<br />

๔) ทิศตะวันตก ด้านติดกับพระบรมมหา<br />

ราชวัง คือ ถนนสนามไชย<br />

14


ทั้งนี้ อาคารศาลาว่าการกลาโหม มีที่ตั้ง<br />

คือ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหา-<br />

ราชวัง (เดิมคือตำบลกระทรวงกลาโหม)<br />

เขตพระนคร (เดิมคืออำเภอในพระนคร)<br />

กรุงเทพมหานคร (เดิมคือจังหวัดพระนคร)<br />

รหัสไปรษณีย์ ๑๐๒๐๐<br />

๕. พื้นที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่าในอดีต ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ เคยเป็น<br />

ฉางข้าวหลวงมาก่อน และไม่ใช่แต่เพียงฉางข้าวหลวงที่เป็นสถานที่สำหรับ<br />

ใช้ในการเก็บข้าวเปลือกและข้าวสารที่เรียกเก็บจากราษฎรเพื่อใช้สำหรับ<br />

เป็นอาหารสำรองยามสงครามให้แก่ทหารและข้าราชการบางหน่วยเท่านั้น<br />

แต่มีพื้นที่บางส่วนเคยเป็นวังของเจ้านายชั้นสูงมาก่อน กล่าวคือ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างหมู่วังเจ้านายถนนหลักเมือง<br />

หน้าพระบรมมหาราชวังบริเวณใกล้ศาลหลักเมือง จำนวน ๖ วัง เพื่อใช้<br />

สำหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้มีการสร้างฉางข้าวหลวงสำหรับพระนครขึ้นบริเวณท้ายถนนหลักเมือง<br />

ใกล้คลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด)<br />

ต่อมา ในยุคต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

หมู่วังเจ้านายถนนหลักเมืองกลายเป็นที่รกร้างและไม่มีเจ้านายพระองค์ใด<br />

มาประทับอยู่ จึงใช้พื้นที่บางส่วนจัดทำเป็นฉางข้าวหลวงบริเวณริมถนน<br />

ราชินี กอปรกับการที่กรมทหารหน้าเดิมที่เคยตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง<br />

เกิดคับแคบและต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาเครื่องกระสุนและดินปืน<br />

ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยและได้เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้และความวุ่นวาย<br />

ในพระนครมาก่อนหน้านี้คือวิกฤตการณ์วังหน้า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๘<br />

นอกจากนี้ ใน ปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ได้มีการจัดพระราชพิธีสมโภชพระนคร<br />

ครบ ๑๐๐ ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา<br />

กุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ รวมทั้ง<br />

มีการแสดงมหกรรมแห่งชาติ ณ ทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง) ซึ่งงาน<br />

สำคัญทั้ง ๓ งานนี้จำเป็นต้องใช้กำลังพลทหารมาปฏิบัติหน้าที่โยธา<br />

15


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ผู้ก่อตั้งโรงทหารหน้า..กำเนิดศาลาว่าการกลาโหม


รักษาการณ์ และเวรยามจำนวนมาก จึงทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับสมัครคนเข้ารับราชการ<br />

ทหารในกรมทหารหน้าอีก ๕,๐๐๐ นาย ซึ่งการ<br />

ใช้กำลังพลจำนวนมากเช่นนี้ ทำให้ประสบปัญหา<br />

ในเรื่องการพักแรมของทหารที่มีจำนวนจำกัด ทหาร<br />

เหล่านั ้นจึงต้องกระจัดกระจายไปพักอาศัยตาม<br />

พระอารามหลวง อาทิ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

วัดราชบูรณะ และที่พักชั่วคราวที่ตำบลปทุมวัน<br />

จึงทรงมีแนวพระราชดำริในการจัดสร้างที่พักถาวรขึ้น<br />

โดยเห็นควรที่จะตั้งกรมทหารหน้าขึ้น นอกรั้ว<br />

พระบรมมหาราชวัง และอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง<br />

เพื่อป้องกันเหตุร้ายได้ทันท่วงที<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรง<br />

มีพระราชดำริว่า หากมิได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่หมู่วัง<br />

เจ้านายถนนหลักเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ใช้พื้นที่วังของอดีตพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวม ๓ วัง<br />

คือ วังที่ ๒ และวังที่ ๖ ของพระองค์เจ้าทับทิม<br />

กับวังที่ ๔ ของพระองค์เจ้าคัมธรส รวมทั้ง ฉางข้าวหลวง<br />

สำหรับพระนครเป็นพื้นที่สำหรับสร้างโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหม<br />

ขบวนเหล่าทหารขณะเคลื่อนผ่านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๖. พระราชประสงค์ในการโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างศาลาว่าการกลาโหม<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีพระราชประสงค์ให้จัดสร้างโรงทหารหน้า หรือ<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ดังนี้<br />

๑) เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับการปฏิรูปกิจการ<br />

ทหารสยาม ตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจการทหาร<br />

ของชาติตะวันตก<br />

๒) เพื่อใช้เป็นสถานที่แสดงพระบรมเดชานุภาพ<br />

จอมทัพไทย ให้ปรากฏต่อสายตาชาวไทย และ<br />

ชาวต่างประเทศในขณะนั้น<br />

๓) เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของกิจการทหาร<br />

และเป็นอาคารพระราชมรดกการทหารในการรักษา<br />

ความมั่นคงแห่งชาติและราชบัลลังก์สืบต่อไป<br />

ในอนาคต<br />

๔) เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของกรมทหาร<br />

หน้า ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานโดย<br />

นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต)<br />

ผู้บังคับการกรมทหารหน้าในขณะนั้น<br />

17


๗. เจตนารมณ์ของฝ่ายทหารต่อการสร้าง<br />

โรงทหารหน้า<br />

นอกจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงทหารหน้าแล้ว ในส่วน<br />

ของทหารเองก็มีเจตนารมณ์ในการใช้ประโยชน์<br />

ของโรงทหารหน้าด้วย ซึ่งจากการค้นคว้าของ<br />

นักประวัติศาสตร์ทางทหารหลายท่านต่างมีความ<br />

เห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยหลักฐาน<br />

ที่ปรากฏอยู่นับตั้งแต่เปิดโรงทหารหน้าหรือศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗<br />

เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ต่างสรุปว่าโรงทหาร<br />

หน้า หรือ ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ สมควร<br />

ใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ที่สำคัญของทหารกล่าวคือ<br />

๑) ใช้เป็นที ่พักของเหล่าทหารในสังกัด<br />

กรมทหารหน้า ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล<br />

• กรมทหารบก ๗ กรม และ<br />

• กรมทหารเรือ ๒ กรม<br />

๒) ใช้เป็นสถานที่ทำการและฝึกฝนกำลังทหาร<br />

เพื่อความมั่นคงแห่งชาติและราชบัลลังก์<br />

๓) ใช้เป็นสถานที่ทำการของกระทรวงกลาโหม<br />

ในการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้<br />

๔) ใช้เป็นสถานที่ชุมนุมพลรบโดยเฉพาะ<br />

กรมทหารบก<br />

ซึ่งหากพิจารณาแล้วก็คล้ายกับพระราชประสงค์<br />

ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ที่พระราชทานไว้ จึงกล่าวได้ว่าทหารเองก็มี<br />

ความประสงค์จะใช้พื้นที่โรงทหารหน้าหรือศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เพื่อการสนองงานตามพระราช<br />

ประสงค์ขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว และถือเป็นสิริมงคลของทหารที่ได้<br />

มีโอกาสรับใช้ใต้เบื้องยุคลบาท<br />

๘. สาเหตุของการสร้างโรงทหารหน้าและ<br />

ปรับปรุงกิจการทหาร<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงมีพระราชปณิธานในการปรับปรุงกิจการทหาร<br />

ของไทยเป็นการเร่งด่วน ทั้งนี้เนื่องเพราะในห้วง<br />

เวลาต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้เกิดการเผยแพร่<br />

ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกจากชาวยุโรป ทำให้<br />

ประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศ ต่างประสบภัย<br />

จากลัทธิดังกล่าว และต้องตกเป็นอาณานิคม<br />

ของประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอังกฤษ (ที่มี<br />

อาณานิคมทางฝั่งตะวันตกและทางใต้ของสยาม)<br />

และฝรั่งเศส (ที่มีอาณานิคมทางฝั่งตะวันออก<br />

ของสยาม)<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากสยามไม่พยายามปรับปรุง<br />

การบริหารประเทศให้ทันสมัย อาจทำให้สยาม<br />

ไม่สามารถรอดพ้นจากการเผยแพร่ลัทธิจักรวรรดินิยม<br />

ตะวันตกได้อย่างแน่นอน ประกอบกับการบริหาร<br />

จัดการกิจการทหารในสมัยนั้น ยังขาดความเป็น<br />

เอกภาพเพราะมีทหารถึง ๓ สังกัด กล่าวคือ<br />

๑) ทหารในสังกัดสมุหพระกลาโหม<br />

๒) ทหารในสังกัดวังหลวง<br />

๓) ทหารในสังกัดวังหน้า<br />

การขาดความเป็นเอกภาพดังกล่าว ได้ก่อให้เกิด<br />

การสิ้นเปลืองและเกิดความซ้ำซ้อนในการปกครอง<br />

บังคับบัญชา และส่งผลให้สายการบังคับบัญชา<br />

เกิดความสับสน จึงสมควรปรับปรุงกิจการทหาร<br />

ตามแบบอย่างการจัดระเบียบบริหารราชการ<br />

ตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจตะวันตกด้านการทหาร<br />

และเห็นควรเปลี่ยนสถานที่ทำการเพื่อรวบรวม<br />

และฝึกฝนอบรมทหารให้เกิดความพร้อมในการ<br />

รับผิดชอบภารกิจ จนในที่สุดก็เกิดเป็นโรงทหารหน้า<br />

และมีพัฒนาการจนกลายมาเป็นศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในปัจจุบัน<br />

18


นายพันเอก<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต)<br />

นายพันเอก<br />

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย<br />

๙. การดำเนินการก่อสร้างโรงทหารหน้า<br />

หากย้อนไปในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่น<br />

ไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารหน้า เป็นแม่กอง<br />

การก่อสร้างโรงทหารหน้า และให้ นายพันเอก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์<br />

ชุมสาย วิศวกรทุนพระราชทานฯ เป็นผู้ช่วยแม่กองการก่อสร้าง<br />

ในการนี้ทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระบรมราชานุญาตให้ก่อสร้าง<br />

โรงทหารหน้าตามแบบแปลนที่นาย โจอาคิม กราซซี สถาปนิกและวิศวกร<br />

ช่างรับเหมาก่อสร้างชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบ (นายโจอาคิโน<br />

โจอาคิม กราซซี (Giochino Joachim Grassi) ซึ่งเดินทางเข้ามา<br />

ในประเทศไทยในห้วงปี พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๓๖ ด้วยการเปิดบริษัท<br />

GRASSIBROTHER and CO. ร่วมกับน้องชายอีก ๒ คน คือ<br />

นาย Antonio Grassi ซึ่งนาย โจอาคิม กราซซี ประกอบธุรกิจการค้า<br />

ต่างๆ หลายประเภท ผลงานการออกแบบและก่อสร้างของ<br />

บริษัทแห่งนี้ในประเทศสยามยุคนั้น ได้แก่ การสร้างวังบูรพาภิรมย์<br />

วัดนิเวศธรรมประวัติ พระราชวังบางปะอิน ศาลสถิตยุติธรรม<br />

บ้านพระยาราชานุประพันธ์ ริมคลองบางกอกใหญ่ ตึกในโรงเรียน<br />

อัสสัมชัญ ตึกวิคตอเรีย ตึกเสาวภาคในโรงพยาบาลศิริราช และ<br />

ขุดคลองรังสิตประยุรศักดิ ์ ร่วมกับพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นต้น<br />

โดยมีค่าก่อสร้างอาคารรวมเป็นเงิน ๗,๐๐๐ ชั่ง หรือ ๕๖๐,๐๐๐ บาท<br />

และค่าตกแต่งอีก ๑๒๕ ชั่ง หรือ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นมูลค่าก่อสร้าง<br />

และดำเนินการทั้งสิ้น ๕๗๐,๐๐๐ บาท<br />

นาย โจอาคิม กราซซี ขบวนเหล่าทหารขณะเคลื่อนผ่านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

19


ในการดำเนินการก่อสร้าง แรงงานก่อสร้าง<br />

ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน วัสดุก่อสร้างโดยทั่วไปใช้<br />

วัสดุภายในราชอาณาจักรสยามในขณะนั้น อาทิ<br />

ไม้สัก อิฐ กระเบื้องดินเผา รากกาบกล้วย ทราย<br />

ปูนซีเมนต์ ดินเหนียว ปูนขาว และต้นอ้อย<br />

สำหรับพิธีวางศิลาฤกษ์ สันนิษฐานว่า จัดพิธี<br />

เช่นเดียวกับการก่อสร้างอาคารสำคัญในสมัยนั้น<br />

และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธีวางศิลา<br />

ฤกษ์ซึ่งจากลักษณะโรงทหารหน้าสันนิษฐานว่าการ<br />

วางศิลาฤกษ์อยู่ ณ บริเวณตึกกลางของโรงทหาร<br />

หน้าในขณะนั้น<br />

การก่อสร้างเริ่มดำเนินการใน ปี พ.ศ. ๒๔๒๕<br />

และก่อสร้างเสร็จใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดย ในวันที่ ๑๘<br />

กรกฎาคม ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาเปิด<br />

โรงทหารหน้าเป็นปฐมฤกษ์<br />

๑๐. การจัดสรรการใช้ประโยชน์ของ<br />

โรงทหารหน้า<br />

หากพิจารณาแล้วพบว่า โรงทหารหน้าเป็น<br />

อาคารขนาดใหญ่มากในสมัยนั้น ในยุคแรกได้มีการ<br />

จัดสรรพื้นที่สำหรับการใช้ประโยชน์ ดังนี้<br />

ชั้นล่าง จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

• ตึกกลาง ใช้เป็นพื้นที่ฝึกหัดฟันดาบ<br />

• อาคารด้านทิศเหนือ ติดกับถนน<br />

หลักเมืองมี ๒ แถวซ้อนกัน ๒ แถว กล่าวคือ<br />

• แถวนอก (อาคาร ๒ ชั้น) เป็น<br />

โรงพักม้าและฝึกม้า<br />

• แถวใน (อาคาร ๓ ชั้น) เป็นที่พักทหาร<br />

ปืนใหญ่ โรงพยาบาลทหาร คลังเก็บ<br />

ยุทธภัณฑ์และครุภัณฑ์ ต่อออกไป<br />

• อาคารด้านทิศใต้ ฝั่งตรงกับทางออก<br />

เป็นโรงอาบน้ำ ซักผ้าของทหาร โรงงาน<br />

ของทหารช่าง บ่อหัดว่ายน้ำ ที่ตั้งเครื่อง<br />

สูบน้ำ และหอนาฬิกา และตึกชั้นเดียว<br />

ด้านถนนราชินี เป็นฉางข้าวและโรงครัวทหาร<br />

ชั้นที่ ๒ จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

• ตึกกลาง เป็นห้องประชุมนายทหาร<br />

• อาคารด้านทิศเหนือ เป็นที่ประชุม<br />

อบรมทหารและเป็นที่พักของทหารม้า<br />

• อาคารด้านทิศใต้ เป็นที่ประชุมอบรม<br />

ทหาร<br />

• อาคารด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก เป็นที่<br />

เก็บยุทธภัณฑ์<br />

ชั้นที่ ๓ จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

• ตึกกลาง เป็นที่เก็บสรรพาวุธ และเป็น<br />

พิพิธภัณฑ์สำหรับเครื่องทหารต่างๆ<br />

• อาคารด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของ<br />

นายทหารและพลทหารเช่นด้านอื่นดัง<br />

กล่าวข้างต้น<br />

• อาคารด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก เป็น<br />

ที่ตั้งถังเหล็กขนาดใหญ่สำหรับเก็บน้ำใส<br />

กล่าวได้ว่า มีการจัดสรรพื้นที่ใช้ประโยชน์<br />

ได้อย่างมากมายและครอบคลุมภารกิจทาง<br />

ทหารในด้านต่างๆ ได้ลงตัวเป็นอย่างยิ่ง<br />

20


๑๑. บันทึกประวัติการสร้างโรงทหารหน้า<br />

นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ได้เคยบันทึก<br />

ประวัติการก่อสร้างโรงทหารหน้า โดยมีการรวบรวมข้อมูลตีพิมพ์<br />

ในหนังสือประวัติของจอมพล และมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยา<br />

สุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) รวบรวมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔<br />

โดยมีการบันทึกไว้ในไดอารีที่มีเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง<br />

โรงทหารหน้า ดังนี้<br />

“สร้างโรงทหารหน้า” (กระทรวงกลาโหม)<br />

เมื่อทหารสมัครกลับเข้ามารับราชการตามเดิมมีจำนวนมาก<br />

แต่ที่พักอาศัยจะควบคุมทหารให้อยู่ได้เป็นปกติเรียบร้อยนั้น<br />

หายาก เจ้าหมื่นไวยวรนาถผู้บังคับการทหารหน้า จึงคิดเห็นว่า<br />

ถ้าจะควบคุมและเลี ้ยงดูทหารมากมายดังนี้ จำต้องทำที่อยู่ให้<br />

แข็งแรงมิดชิด พวกทหารจะได้อยู่ในความปกครองควบคุมให้เป็น<br />

ระเบียบเรียบร้อยได้ จึงได้เที่ยวตรวจตราดูทำเล ที่ทางว่าจะมีที่<br />

ใดซึ่งสมควรจะสร้างเป็นโรงทหารหน้าต่อไปได้บ้าง จึงเห็นที่ฉาง<br />

หลวงเก่า สำหรับเก็บข้าวเมื่อขณะเกิดทัพศึกมีอยู่ ๗ ฉาง แต่<br />

ทว่าปรักหักพักทั้งไม้ก็ผุหมดแล้วพื้นก็หามีไม่ ต้นไม้และเถาวัลย์<br />

ขึ้นปกคลุมจนมิดฉางหมด ทั้งรอบบริเวณที่นั้นก็มีวังเจ้านายอยู่<br />

หลายกรม แต่วังเหล่านั้นก็ทรุดโทรมหมดแล้วทุกๆ แห่ง ในเขต<br />

เหล่านี้มีบริเวณจดไปถึงศาลเจ้าหลักเมือง จนถึงสะพานช้างโรงสี<br />

(การที่เรียกสะพานช้างโรงสี ก็เพราะหมายความว่า ที่ตรงนั้น<br />

เป็นฉางหลวงสำหรับพระนคร และมีโรงสีข้าวอยู่ด้วย) ที่นี่<br />

ตั้งเป็นกรมยุทธนาธิการ และที่ว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในเวลา<br />

นี้เนื้อที่ทั้งหมดยาว ๕ เส้น กว้าง ๓ เส้น ๑๐ วา เห็นว่าเป็นที่<br />

เหมาะสำหรับจะตั้งเป็นโรงทหารหน้าได้ จึงให้ช่างถ่ายรูปฉางข้าว<br />

หลวง และที่วังทรุดโทรมทุกๆ แห่งกะสเก็ตซ์แผนที่ด้วยเส้นดินสอ<br />

ตามที่เจ้าหมื่นไวยวรนาถต้องการ และคิดว่าจะทำโรงทหารหน้า<br />

ที่สำหรับจุทหารได้ ๑ กองพลน้อย เพื่อจะได้รักษาความสงบ<br />

21


ในพระนคร จึงเรียกตัวนายกราซซี ซึ่งเป็น พระนครด้วย ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้สั่งให้นายกราซซี<br />

นายช่างรับเหมาในการก่อสร้างทั้งชั้นให้มาหา เขียนแบบแปลนเป็นตึก ๓ ชั้นขึ้น หวังว่าจะบรรจุ<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถจึงชี้แจงให้นายกราซซีเข้าใจ ทหารให้มากขึ้น ให้เต็มพร้อมมูลเป็นกองทัพน้อยๆ<br />

ความประสงค์ทุกประการ และสั่งให้นายกราซซี อยู่ในแห่งเดียวกัน อนึ่งในงบประมาณฉบับแรกนั้น<br />

ทำแปลนตึกมา ๒ ชนิด แปลน ๑ เป็นตึก ๒ ชั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งนายกราซซีกะประมาณการ<br />

อีกแปลน ๑ เป็นตึก ๓ ชั้น ทั้งให้กะงบประมาณการที่จะ ก่อรากให้มั่นคงแข็งแรงทานน้ำหนักตึกได้ตั้งแต่ ๓<br />

ก่อรากทำให้แน่นหนา ใช้เป็นตึกหลายๆ ชั้นได้ด้วย ถึง ๔ ชั้น แม้นว่าถ้าจะเติมขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เงินที่จะ<br />

นายกราซซีได้ทำแปลนและเขียนรายการ พร้อมทั้ง ต้องเพิ่มขึ้นก็ไม่มากมายเท่าใดนัก ข้าพระพุทธเจ้ามี<br />

งบประมาณการก่อสร้างมายื่นให้ผู้บังคับการตาม ความเห็นว่า จะทำเป็นสามชั้นเสียทีเดียวจะดีกว่า”<br />

คำสั่งทุกประการ เจ้าหมื่นไวยวรนาถได้นำแปลนตึก เมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนาถได้กราบบังคมทูลชี้แจง<br />

๒ ชั้น พร้อมทั้งรูปฉายฉางข้าว กับราคางบประมาณ เรื่องราวครบถ้วน ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ของตึกประมาณ ๕,๐๐๐ ชั่ง (๔๐๐,๐๐๐ บาท) ได้ทรงทอดพระเนตรงบประมาณและแปลนที่ได้<br />

นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก่อน แลได้กราบบังคมทูล<br />

สะเก็ตซ์มาแล้ว จึงมีพระราชดำรัสตอบว่า<br />

ชี้แจงความตามเหตุที่จำเป็นทุกๆ อย่าง เมื่อได้<br />

“ตามข้อความที่เจ้าชี้แจงมานั้น ข้าก็มีความ<br />

ทรงทอดพระเนตรแบบแปลนนั้นตลอดแล้ว จึงมี<br />

พระกระแสรับสั่งแก่เจ้าหมื่นไวยวรนาถว่า<br />

เห็นชอบทุกประการ เพราะฉะนั้นข้าจำเป็นที่จะ<br />

ต้องช่วยเจ้าให้สำเร็จตามความคิดอันนี้ ดีละเป็นอัน<br />

“เวลานี้เงินของแผ่นดินก็ได้น้อย แต่ทว่าเป็น<br />

ตกลงกันตามความของเจ้าทุกประการ”<br />

ความจำเป็นจริงแล้ว ข้าก็จะยอมตามความคิด<br />

ของเจ้า ให้เจ้าจัดแจงทำสัญญากับนายกราซซีเสีย<br />

จึงขอนำบันทึกนี้ถ่ายทอดไว้เพื่อให้อนุชน<br />

เพื่อจะได้ลงมือทำทีเดียว แต่ข้าจะต้องเอารูปถ่าย<br />

รุ่นหลังได้รับทราบถึงวิธีคิดของบรรพชนและพระ<br />

ฉางข้าวและวังเจ้านายที่ทรุดโทรมนี้ไว้ก่อน เพื่อจะ ราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

ได้ปรึกษาหารือกับกรมสมเด็จท่านดูด้วย ถ้าเผื่อว่า เจ้าอยู่หัว ในการวางรากฐานกิจการทหารและสร้าง<br />

ท่านทรงขัดขวางไม่ทรงยินยอมและเห็นชอบด้วยแล้ว ถาวรสถานที่เป็นหลักให้แก่ประเทศในด้านความ<br />

จะได้เอารูปถ่ายนี้ถวายให้ทอดพระเนตรและทูลชี้แจง มั่นคง ซึ่งจะทำให้คนยุคปัจจุบันและยุคต่อไปบังเกิด<br />

ให้เข้าพระทัย”<br />

ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของกิจการทหาร<br />

อยู่มาอีกไม่กี่วัน เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ก็นำ<br />

ต่อไป<br />

แปลนตึก ๓ ชั้น และงบประมาณเข้าไปอีก<br />

เพื่อทูลเกล้าฯถวาย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทอดพระเนตรเห็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถถือแปลน<br />

เข้าไปก็มีพระราชดำรัสรับสั่งถามว่า “นั้นเจ้าเอา<br />

แปลนอะไรมาอีกละ” เจ้าหมื่นไวยวรนาถคลี ่เอา<br />

แปลนตึก ๓ ชั้น ให้ทอดพระเนตร และกราบบังคม<br />

ทูลพระกรุณาว่า “ที่ซึ่งอยู่ในพระนครกว้างใหญ่<br />

เท่าที่กะมานี้หายากเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นแล้ว<br />

ที่ดินก็จะมีราคาสูงขึ้นอีกมาก ข้าพระพุทธเจ้า<br />

มีความเสียดายยิ่งนัก ทั้งที่นี้ก็เป็นที่ในกำแพง<br />

22


๑๒. ความหมายของคำว่า “กลาโหม”<br />

เคยมีคำถามมากมายว่า ศัพท์คำว่า กลาโหม นี้มีความหมายว่าอย่างไร ซึ่งจากการค้นคว้าคำศัพท์ว่า<br />

กลาโหม ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม มีความหมายใน ๓ นัย กล่าวคือ<br />

๑) เป็นชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มี สมุหพระกลาโหม เป็นประธาน<br />

๒) ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร จากภัย<br />

คุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ<br />

๓) การชุมนุมพลรบ<br />

ซึ่งทั้งสามความหมายเป็นการแปลและตีความโดยปราชญ์ของไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นการแปล<br />

ความหมายได้สอดคล้องกับยุคสมัยและภารกิจอย่างเหมาะสม<br />

๑๓. ที่มาของคำว่า “กลาโหม”<br />

คำว่า กลาโหม ในยุคโบราณเท่าที่มีการ<br />

ค้นคว้าและมีการบันทึกถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรม<br />

ไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ที่<br />

ได้ทรงจัดระบบการปกครองใหม่ของสยามเป็น<br />

จตุสดมภ์ (ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และนา) ซึ่ง<br />

ปรากฏใน จุลยุทธกาลวงศ์ เรื่องของพงศาวดาร<br />

ไทยที่นิพนธ์เป็นภาษาบาลี ของสมเด็จพระวนรัตน์<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาล<br />

ที่ ๑ คือ<br />

“อนุเขตตฺสกิเกน สมุหวรกฺลาโหมํนาม สรุ<br />

เสนญฺจ...นตุตฺเขตฺต สกฺกคหณํ เปตฺวา” แปลเป็น<br />

ภาษาไทยโดยพระญาณวิจิตร (สิทธ์ โลจนานนท์)<br />

เปรียญ ความว่า “แล้วพระราชทานนามขุนนางตาม<br />

ศักดินา ให้ทหารเป็น สมุหพระกลาโหม...ถือศักดินา<br />

หมื่นหนึ่ง”<br />

23


นอกจากนี้ ยังปรากฏการบันทึกไว้อีกรูปหนึ่งคือ “กะลาโหม” โดย<br />

ปรากฏในหนังสือโบราณเสมอ อาทิ กฎมณเฑียรสมัยสมเด็จพระบรม<br />

ไตรโลกนาถ ซึ่งอาลักษณ์คัดลอกกันต่อๆ มา มีการเขียนเป็น กะลาโหม<br />

หลายครั้ง อาทิ<br />

“อัยการลูกขุนหมู่ไพร่พลอ้างเรี่ยวแรงอุกเลมิด พนักงาน กะลาโหม”<br />

โดยในพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ก็ปรากฏรูป กะลาโหม<br />

หลายแห่ง ได้แก่ นายเวรกะลาโหม, หัวพันกะลาโหม, พระธรรมไตรโลกนาถ<br />

สมุหพระกะลาโหม, หลวงศรีเสาวราชภักดีศรี สมุหกะลาโหม ฝ่ายตระพัง<br />

อีกทั้ง ในกฎหมายเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏให้เห็นคำว่า กะลาโหม<br />

ใช้งานอยู่เสมอ บางแห่งก็ใช้ กะลาโหม บางแห่งใช้ กลาโหม แล้วแต่ความ<br />

ถนัดหรือความเข้าใจของอาลักษณ์<br />

จนถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า กะลาโหม ก็ยังคงใช้อยู่เสมอ<br />

อาทิ พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป ซึ ่งเป็นพระราชนิพนธ์<br />

กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ<br />

และยังมีบางตำรา กล่าวว่า กลาโหม มาจากภาษาบาลีบ้าง หรือมา<br />

จากภาษาเขมรโบราณบ้าง ซึ่งก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่สรุปได้ว่า<br />

สมุหพระกลาโหม เป็นตำแหน่งของผู้บังคับบัญชาทหาร ที่มีหน้าที่นำพา<br />

หน่วยทหารเข้ารบป้องกันประเทศจนไทยเรามีเอกราชตราบจนทุกวันนี้<br />

ดังนั้น คำว่า กลาโหม จึงมีนัยในการเป็นหน่วยทหารหรือหน่วยกำลัง<br />

รบซึ่งน่าจะตรงและกินความได้อย่างเหมาะสมที่สุด<br />

๑๔. ความสำคัญและความเป็นมาของ กลาโหม ในยุคโบราณ<br />

หากนับตั้งแต่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ของไทยพบว่า คำว่า<br />

“กลาโหม” ปรากฏมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์<br />

แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีความเป็นมาและสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑) กลาโหม ถือเป็นนามกรม กรมหนึ่งในการจัดส่วนบริหารราชการ<br />

ส่วนกลางของฝ่ายทหาร ที่เรียกว่า เวียงหรือกรมเมือง กล่าวคือเป็น<br />

หน่วยงานที่จัดกำลังทหารไว้ปกป้องขอบขัณฑสีมาหรือป้องกันศัตรูจาก<br />

ภายนอกประเทศนั่นเอง<br />

๒) มีการบัญญัติตรา พระคชสีห์ ให้เป็นตราประจำกรมพระกลาโหม<br />

ซึ่งมีการใช้สืบทอดต่อมาจนถึงกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน<br />

๓) การจัดส่วนราชการกรมพระกลาโหม แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย<br />

กล่าวคือ<br />

ตราพระคชสีห์<br />

(ประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม)<br />

24


ตราประจำเสนาบดีกระทรวงกลาโหม มี ๓ ดวง<br />

ตราพระคชสีห์ใหญ่<br />

ตราพระคชสีห์น้อย<br />

๓.๑) ฝ่ายทำการรบ มีแม่ทัพ เป็นผู้บังคับ<br />

บัญชารับผิดชอบ<br />

๓.๒) ฝ่ายบังคับบัญชา มี ปลัดทูลฉลอง<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

๔) การปกครองบังคับบัญชาและการเกณฑ์<br />

ไพร่พล รวมถึง กิจการทั้งปวงในกรมพระกลาโหม<br />

ให้ขึ้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สมุหพระกลาโหม<br />

ซึ่งถือดวงตราพระราชทานคือตราพระคชสีห์<br />

เป็นสำคัญ รวมทั้ง ให้ใช้ธงประจำกรมพระกลาโหม<br />

หรือธงประจำตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม เป็น ธงคชสีห์<br />

๕) มีการตั้งทำเนียบบรรดาศักดิ์ของผู้ดำรง<br />

ตำแหน่งของสมุหพระกลาโหมหรือสมุหกลาโหมไว้<br />

คือ ออกญาสุรเสนา และออกญามหาเสนา ซึ่งนิยม<br />

ใช้กันหลายสมัย จนต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงบัญญัติให้ตรากฎหมายตราสามดวง<br />

(คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว) จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ พระราชทานมียศและพระราชทินนาม<br />

ของสมุหพระกลาโหม ว่า เจ้าพระยามหาเสนา<br />

กับให้ใช้ ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตัวและ<br />

ประจำหน่วย<br />

๖) เดิมทีตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรม<br />

ไตรโลกนาถเป็นต้นมา กำหนดให้สมุหกลาโหม<br />

มีอำนาจควบคุมกิจการเกี่ยวกับทางทหาร<br />

ทั่วประเทศ จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเพทราชา<br />

ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจให้มาเป็นควบคุม<br />

ผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในแถบหัวเมือง<br />

ฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายก ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ<br />

ทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน ทั้งนี้เพื่อ<br />

กระจายอำนาจการปกครอง<br />

ตราพระคชสีห์เดินดง<br />

25


๗) จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ยกเลิกไปเนื่องจากทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕<br />

ซึ่งทั้งหมดนี้ คือความสำคัญและความเป็นมา<br />

ของคำว่า กลาโหม<br />

๑๕. ที่ตั้งของโรงทหารหน้าในอดีต<br />

ก่อนที่จะตั้งโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการ<br />

กลาโหมในปัจจุบันนี้ ทราบมาว่าที่ตั้งของหน่วย<br />

ทหารหน้าหรือกรมทหารหน้า เคยมีที่ตั้งอยู่ใน<br />

พระบรมมหาราชวัง ซึ่งพลเอกสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

พระบิดาประวัติศาสตร์ไทย ได้ทรงอธิบายไว้ใน<br />

เรื่อง ประวัติกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยสำนักงาน<br />

มหาดไทย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรงทหารหน้าว่า<br />

“...ศาลาที่ทำงานของกลาโหมและพลเรือน<br />

ที่เรียกว่า “ศาลาลูกขุน” นั้นแต่เดิมมี ๓ หลัง<br />

ตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา หลังหนึ่งอยู่นอก<br />

พระราชวังเป็นสถานที่สำหรับประชุมทางราชการ<br />

ฝ่ายตุลาการชั้นสูง ศาลาลูกขุนอีก ๒ หลัง อยู่ใน<br />

พระบรมมหาราชวัง จึงเป็นเหตุให้เรียกตรงกันว่า<br />

ศาลาลูกขุนนอก และ ศาลาลูกขุนใน เป็นสถานที่<br />

สำหรับประชุมทางราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่ง<br />

หลังนี้อยู่ทางด้านซ้ายสำหรับประชุมทางราชการ<br />

พลเรือนอยู่ในปกครองของเสนาบดีกระทรวง<br />

มหาดไทย และอีกหลังหนึ่งอยู่ทางขวาสำหรับ<br />

ประชุมข้าราชการทหาร อยู่ในการปกครองของ<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าข้าราชการ<br />

ทหารเช่นกัน<br />

หน้าที่ฝ่ายธุรการของมหาดไทยและกลาโหม<br />

แบ่งออกเป็น ๓ แผนก คือ<br />

แผนกที่ ๑ คือ หน้าที่อัครมหาเสนาบดีที่ต้อง<br />

สั่งการงานต่างๆ แก่กรมอื่นๆ ให้ทำ<br />

พลเอกสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

แผนกที่ ๒ คือ การบังคับบัญชาหัวเมือง<br />

(กลาโหมมีหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในปกครอง ๑๖ หัวเมือง )<br />

แผนกที่ ๓ คือ ฝ่ายตุลาการ (มีขุนศาลตุลาการ<br />

และเรือนจำ)<br />

อนึ่ง งานฝ่ายธุรการของกรมพระกลาโหมหรือ<br />

กระทรวงกลาโหมมีปลัดทูลฉลอง เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

รับผิดชอบ และมีปลัดบาญชีและเสมียนตราเป็น<br />

เจ้าหน้าที่ประจำฝ่ายธุรการ - สารบรรณ<br />

สรุปสถานที่ว่าราชการกิจการทหารในสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ ณ<br />

ศาลาลูกขุนในฝ่ายขวาในพระบรมมหาราชวังชั้น<br />

นอก มีข้าราชการกรมพระกลาโหม ประจำอยู่ ณ<br />

ศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา ได้รับเงินเดือนเช่นเดียวกับ<br />

กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทย<br />

ส่วนข้าราชการที่ทำงานอยู่ที่บ้านสมุหพระกลาโหม<br />

หรือเสนาบดี คงได้ค่าธรรมเนียมเป็นผลประโยชน์<br />

ตอบแทนมิใช่เงินเดือน...”<br />

26


ศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง<br />

27


๑๖. การเปิดโรงทหารหน้า<br />

เคยมีผู้สงสัยว่า ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงทหารหน้า ซึ่งแตกต่างจาก วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ อันเป็นวันสถาปนา<br />

กระทรวงกลาโหม ทำให้มีคนสับสนในเรื่องวัน ใคร่ขอเรียนชี้แจงให้ทราบเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน<br />

กล่าวคือ<br />

๑) การเปิดโรงทหารหน้า<br />

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพระราชพิธีเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้า และตาม มหาพิชัยฤกษ์<br />

โดยทรงประทับรถพระที่นั่งทอดพระเนตรอาคารใหม่ และชมการประลองยุทธ์ของทหาร พร้อมพระราชทาน<br />

นามอาคารว่า โรงทหารหน้า เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่มวลหมู่ทหาร ทำให้ทหารไทยมีที่ทำการใหม่<br />

ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งปรากฏข้อความของเหตุการณ์ในหนังสือกลาโหมคำฉันท์ ดังนี้<br />

วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔<br />

๐ กำหนดดิถีสถป นามุลาฤกษ์ ณ แยบคาย<br />

ศุกร์แรมเอกทศ<br />

กลายกรกเดือนนษัตรวอก<br />

๐ ร้อยสามรตนโกสินทร์ศก เมฆะปกรวีออก<br />

ฤกษ์มหาพิชยนอก<br />

ห้าโมงเช้าเสด็จจร<br />

๐ ผูกพระคาถสมณเจ้า สถิตย์เข้ามุขบวร<br />

เกิดศิริเหล่าพหลอมร<br />

มังคลจ่อบรรลุ<br />

๐ วิเชตวา พลตา ภูปํ - รฏเฐ สาเธตุ -<br />

วุฑฺฒิโย เกิด ตบะมธุ -<br />

ระก่อชัยยะตำนาน<br />

๐ นัย พระมหากษัตริยเจ้า อีกทั้งเหล่าทวยทหาร<br />

จงมีชนะตลอดทิวกาล<br />

ประสบผลยังแดนดิน<br />

๐ ตั้งนามะโรงทหารหน้า แผ่พระเดชะทั่วถิ่น<br />

ไว้เคียงคู่รัตนโกสิน- ทรกรุงจรุงเรือง<br />

๐ พรั่งพร้อมศิลปะโรมนยล วรรณะล้นผกายเหลือง<br />

ยามพิศก็งามระยับประเทือง ดุจพิมานเมืองแมน<br />

๐ อาคารตริชั้นพิศสง่า ทวิทวาร์อร่ามแสน<br />

ปั้นรูปคชสีหประทับแทน ก็ตระหง่านพินิศมอง<br />

๐ ผันพักตร์ประจิมทิศะสล้าง มุขกลางตริชั้นปอง<br />

ชั้นบนประดับสรรพวุธครอง ทวิชั้นประชุมงาน<br />

28


๐ ล่างฝึกประลองอาวุธะทแกล้ว พิศะแววทหารหาญ<br />

ฝึกตระเตรียมนครภิบาล<br />

ชวชาญระวังภัย<br />

๐ อีกทิศอุดรพลประจักษ์ คณะพักพิง์อาศัย<br />

โยธาแลอัศวพะพิงไพ-<br />

บุละกันลุวันคืน<br />

๐ ทักษิณจุสัมภระทหาร ยุท์ธภารบ่ต้องฝืน<br />

สุดตึกก่อหอนฬิกะยืน เบญจชั้นตระหง่านพราว<br />

๐ บูร์พาสระใสไพร่พลอาบ ก่อขนาบปะฉางข้าว<br />

โรงครัวผลิตภัตรคาว<br />

อุปภัมภบำรูง<br />

๐ สามด้านก่อรั้วรมยรื่น เวฬุยืนผลิต้นสูง<br />

สีสุกสะพรึบพฤกษพรรณปรูง มนรมณ์สิเพลิดเพลิน<br />

๐ เบิกฤกษ์ปฐมบรมบพิตร พระสถิตแลดำเนิน<br />

ไพร่พลประลองยุทธเผชิญ<br />

พระหทัย ธ ยินดีฯ<br />

๒) การตั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

วันศุกร์ที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ตราพระราชบัญญัติประกาศจัดการทหาร จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกรมกลาง ปกครองบังคับบัญชา<br />

กรมทหารบก ๗ กรม และกรมทหารเรือ ๒ กรม โดยแยกการปกครองบังคับบัญชากรมทหารออก จากกรม<br />

พระกลาโหม (คงให้กรมพระกลาโหมมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้เท่านั้น) พร้อมกับ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บัญชาการ เพื่อกำกับดูแล กรมทหารบก และ กรมทหารเรือ ให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา<br />

ซึ่งการแต่งตั้งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นบังคับบัญชาหน่วยทหาร ถือเป็นแบบธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศ<br />

ชาติตะวันตกในยุคนั้น แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ คือมีพระชันษาเพียง ๙ พรรษา (ประสูติเมื่อวันที่<br />

๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๑) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช (พระยศในขณะนั้น) ทรงเป็นผู้รักษาการแทนผู้บัญชาการ<br />

กรมยุทธนาธิการ จนกว่าพระองค์จะว่าการได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งปรากฏข้อความของเหตุการณ์ในหนังสือ<br />

กลาโหมคำฉันท์ ดังนี้<br />

วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔<br />

๐ เปลี่ยนนามะยุทธนธิการ ร่ำสะท้านบ่มิขัด<br />

เกริกก้องอัพภันตรทรรศน์ ปรปักษ์จะหวั่นไหว<br />

๐ ตราราชบัญญัติ์ปวัตนเดช อฐเมษ์วรรษถัดไป<br />

เรียงนามบ่งสถิตยหฤทัย อยู่คู่ไทยเมลืองโจษฯ<br />

และในวันประกาศดังกล่าว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้โรงทหารหน้าเป็นที่ทำการของกรม<br />

ยุทธนาธิการ และทรงขนานนามใหม่ว่า ศาลายุทธนาธิการ<br />

29


๑๗. ที่มาของคำว่า โรงทหารหน้า<br />

ภายหลังที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้<br />

พื้นที่ฉางข้าวเก่าและวังในอดีตของเจ้านาย มาสร้าง<br />

ที่ตั้งหน่วยทหาร ซึ่งในกลางปี พ.ศ. ๒๔๒๗<br />

เมื่อการก่อสร้างใกล้จะเสร็จเรียบร้อย นายพันเอก<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย<br />

เพื่อขอพระราชทานนามที่ตั้งหน่วยทหารแห่งใหม่นี้<br />

เพื่อประดับที่หน้ามุข<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

จึงทรงมีพระราชหัตถเลขา ตอบนายพันเอก<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ความบางตอนว่า<br />

“...อย่าให้ชื่อพิศดารอย่างไรเลย ให้ใช้นามว่า<br />

โรงทหารหน้า เท่านั้น และให้มีศักราชที่สร้างขึ้น<br />

ไว้ด้วย...”<br />

ต่อจากนั ้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ไปเฝ้าสมเด็จ<br />

พระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม<br />

นำกระแสพระราชดำริ ที่ต้องพระราชประสงค์<br />

คาถาสำหรับประจำตรากรมทหารหน้าอีกด้วย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๑๘. ศาลายุทธนาธิการ<br />

ในยุคหนึ่ง ศาลายุทธนาธิการ มีบทบาทที่<br />

เกี่ยวกับกิจการทหารเป็นอันมาก ซึ่งมีการบันทึก<br />

ข้อมูลไว้ทราบว่า ภายหลังจากวันที่ ๘ เมษายน<br />

๒๔๓๐ จากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้โรงทหารหน้า<br />

เป็นสถานที่ทำการของกรมยุทธนาธิการ ในการนี้<br />

ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามใหม่ว่า<br />

ศาลายุทธนาธิการ ปรากฏว่ามีการบันทึกกิจกรรม<br />

ของศาลายุทธนาธิการไว้ดังนี้<br />

๑) พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา วันเสาร์ที่ ๙<br />

เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าทหาร<br />

ในสังกัดกรมยุทธนาธิการ กระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์<br />

สัตยา ณ ศาลายุทธนาธิการ<br />

๒) ส่วนหนึ ่งของการประกอบพระราชพิธี<br />

รัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๓๖ มีการ<br />

บันทึกไว้ว่า<br />

30


“นับแต่ทรงรับบรมราชาภิเษก นับทางจันทรคติ<br />

ได้ ๒๕ ปีบริบูรณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

ตั้งการพระราชพิธีรัชดาภิเษก ณ พระบรมมหาราชวัง<br />

ตั้งแต่วันที่ ๑-๘ ธันวาคม ๒๔๓๖ โดยจัดรูปแบบ<br />

พระราชพิธีทำนองเดียวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก<br />

คือ มีวันตั้งน้ำวงด้าย (สายสิญจน์รอบมณฑล<br />

พระราชพิธี) เจริญพระพุทธมนต์ ๓ วัน สรงพระ<br />

มูรธาภิเษก ประทับพระที่นั่งอัฐทิศ รับน้ำอภิเษก<br />

ประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณ์อ่านมนต์เปิด<br />

ประตูไกรลาส ไม่มีการถวายพระสุพรรณบัฏและ<br />

เครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ แล้วเสด็จออกรับคณะ<br />

ทูตานุทูตถวายชัยมงคล ทรงตั้งพระราชาคณะ ๓ รูป<br />

เป็นมงคลฤกษ์ คณะสงฆ์สวดถวายชัยมงคล ณ<br />

พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จออกให้<br />

ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายชัยมงคล มี<br />

พระธรรมเทศนา ๕ กัณฑ์ เจ้าพนักงานตั้งบายศรี<br />

เวียนเทียนสมโภชพระราชมณเฑียร ๓ วัน และ<br />

เสด็จพระราชดำเนินศาลายุทธนาธิการ ให้ทหารบก<br />

ทหารเรือเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายตัว”<br />

๓) พิธีถวายพระคทาจอมพลพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๖<br />

พฤศจิกายน ๒๔๔๖ มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“ผู้บัญชาการกรมทหาร พร้อมด้วยข้าราชการ<br />

ในกรมยุทธนาธิการเตรียมรับการตรวจแถวจาก<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ<br />

สนามหญ้า ภายในศาลายุทธนาธิการภายหลังที่<br />

กรมทหารบกทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพล”<br />

๔) พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑<br />

มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“ซึ่งผืนธงมีรูปลักษณะเป็นสีแดง ตรงกลาง<br />

ปักเป็นรูปช้าง และในปัจจุบันนี้ ธงชัยเฉลิมพลผืนนี้<br />

ไม่สามารถหาหลักฐานพบว่าเก็บไว้ ณ สถานที่<br />

ราชการใด โดยหลักฐานการได้รับพระราชทาน<br />

ธงชัยเฉลิมพล ได้แก่ คำสั่ง ศาลายุทธนาธิการ<br />

ที่ ๑๘๑/๑๓๒๑๗ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ.<br />

๑๒๗ และคำสั่งศาลายุทธนาธิการที่ ๑๘๖/๑๓๓๙๒<br />

ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗”<br />

เหล่าทหารในกรมยุทธนาธิการ ตั้งแถวรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในสนามภายในศาลายุทธนาธิการ<br />

ในโอกาสทรงเสด็จร่วมพิธีที่กรมทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพล<br />

31


๕) จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ใช้ประโยชน์ใน<br />

การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะมีการบันทึกไว้ว่า<br />

ได้จัดการแสดงบรรเลงเพลงถวายพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง ๒ ครั้ง<br />

กล่าวคือ<br />

• ครั้งที่หนึ่ง การบรรเลงเพลงสรรเสริญ<br />

พระบารมี ฉบับที่เป็นผลงานของ นายปโยตร์<br />

ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์<br />

ชาวรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ซึ่ง สมเด็จ<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />

นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบ<br />

และได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ ศาลา<br />

ยุทธนาธิการ<br />

• ครั้งที่สอง การบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระ<br />

ราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ ๒๐<br />

กันยายน ๒๔๓๑ (เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ ปี<br />

ชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐) ณ ศาลา<br />

ยุทธนาธิการ โดยครั้งนี้เป็นการบรรเลงเพลง<br />

ซึ่ง นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์<br />

(พระยศในขณะนั้น) ทรงพระนิพนธ์ขึ้น<br />

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานใหญ่<br />

ใช้จ่าย กรมยุทธนาธิการ โดยเนื้อเพลงขึ้นต้น<br />

มีเนื้อความว่า “บรรยายความตามไท้<br />

เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์”<br />

และต่อมาจึงเรียกชื่อเพลงนี้ว่าเขมรไทรโยค<br />

จนเป็นชื่อที่แพร่หลายไปในที่สุด<br />

๖) เป็นที ่ทำการของกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

และให้ตั้งกองบัญชาการที่ศาลายุทธนาธิการ<br />

๗) เป็นที่ทำการของกระทรวงกลาโหม วันที่<br />

๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุล<br />

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

กระทรวงกลาโหม ย้ายสถานที่ทำการจากศาลาลูกขุน<br />

ในฝ่ายขวา ในพระบรมหาราชวังชั้นนอก มาอยู ่ที่<br />

ตึกกลางของศาลายุทธนาธิการ และโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ทำการของกระทรวง<br />

กลาโหม ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อมา<br />

เป็น กระทรวงกลาโหม ทำให้ศาลายุทธนาธิการ<br />

เปลี่ยนชื่อมาเป็น ศาลาว่าการกลาโหม ตราบจน<br />

ปัจจุบัน<br />

๑๙. การต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า อาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

แห่งนี้ ได้เคยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมที่สำคัญ จำนวน<br />

๕ ครั้ง กล่าวคือ<br />

๑) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว มีการโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการดังนี้<br />

๑.๑) จัดทำโคลง “สยามมานุสสติ”<br />

เหนือซุ้มประตูทางเข้า - ออก เพื่อปลุกจิตสำนึก<br />

ความรักชาติในห้วงเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

๑.๒) จัดสร้างศาลาทรงกลมประกอบ<br />

ภายในสนามด้านหน้า เช่น พระราชวังสราญรมย์<br />

๒) การต่อเติมมุขหน้าอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ทำขึ้นในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๘๒ โดยดำเนิน<br />

การต่อเติม ดังนี้<br />

๒.๑) ขยายหน้ามุขโดยการต่อเติม<br />

ยื่นออกมา มีความสูงเท่ากับตึกสองชั้น มีเสากลม<br />

ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับในอดีตอีก ๖ เสา ทำให้<br />

ชั้นสองของหน้ามุขใหม่มีลักษณะเป็นระเบียง<br />

สามารถใช้ประโยชน์ได้<br />

32


๒.๒) จัดทำเครื่องหมายสัญลักษณ์ของ<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นรูปจักรสมอปีกสอดขัด<br />

ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ บริเวณหน้าอาคาร<br />

พื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีทองมีวงกลมซ้อนอยู่ภายใน<br />

แกะสลักประดับด้วยลวดลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์<br />

(ทั้งนี้ได้มีการกำหนดตราดังกล่าวเป็นตราประจำ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติ<br />

เครื่องหมายราชการ พ.ศ. ๒๔๘๒ ลงวันที่ ๑๐<br />

กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒)<br />

๒.๓) จัดทำอักษรโคลง “สยามมานุสสติ”<br />

ที่ด้านซ้ายและขวาของเครื่องหมายสัญลักษณ์<br />

ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีข้อสังเกตว่า จัดทำขึ้น<br />

ในสมัยที่เรียกว่า รัฐนิยม (ประกาศครั้งแรกในปี<br />

พ.ศ. ๒๔๘๒) จึงไม่ใช้พยัญชนะไทยบางตัว เช่น<br />

ฆ ฌ ญ ฒ ศ และ รร เป็นต้น ดังนั้นตัวอักษรของ<br />

คำว่า “พินาศ” จึงใช้เป็น “พินาส” ดังปรากฏ<br />

ในปัจจุบัน<br />

๓) การสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

สร้างขึ้นในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายก<br />

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภาย<br />

หลังเกิดเหตุการณ์กรณีพิพาทอินโดจีนและสงคราม<br />

เกาหลี โดยเริ่มต้นสร้าง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖ -<br />

๒๕๐๓ โดยการสร้างอาคารบริเวณด้านหลังอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ด้านถนนราชินี ริมคลองหลอด<br />

(เดิมทีเป็นอาคารชั้นเดียวและมีบ่อน้ำ) ซึ่งมี<br />

อาคารที่ทำการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ที่ทำการกองบัญชาการทหารสูงสุด และที่ทำการ<br />

ของหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

สูงประมาณ ๓ ชั้น พร้อมทั้งห้องประชุมและ<br />

ห้องสโมสรนายทหารสัญญาบัตร และต่อมามีการ<br />

สร้างอาคารเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง รวม ๔ อาคาร<br />

๔) การก่อสร้างอาคารสำนักงบประมาณ<br />

กลาโหม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งเดิมทีเป็น<br />

อาคารสองชั้นซึ่งมีสภาพทรุดโทรมและไม่เพียงพอ<br />

อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

บริเวณด้านหลังอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ต่อการใช้สอย จึงได้รื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่เป็น<br />

อาคาร ๓ ชั้น โดยภายนอกให้คงแบบเดิมไว้ทั้งหมด<br />

และใช้เป็นอาคารสำนักงบประมาณกลาโหม ด้วย<br />

การวางแผนและอำนวยการสร้างของพลอากาศเอก<br />

สรรเสริญ วานิชญ์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๕) การก่อสร้างอาคารศาลาว่าการด้าน<br />

ทิศตะวันออก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในที่ตั้ง<br />

ของอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดเดิม (ปัจจุบัน<br />

คือ กองบัญชาการกองทัพไทย) ทั้งนี้เพราะ<br />

กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ย้ายเข้าที ่ตั้งใหม่<br />

บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ แต่<br />

เนื่องจากอาคารเดิมมีอายุประมาณ ๕๐ ปี<br />

ทรุดโทรมมาก ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงได้มี<br />

โครงการรื้อถอนและก่อสร้างอาคารหลังใหม่และได้<br />

ดำเนินการต่อเติมเป็นรายการล่าสุด<br />

33


๒๐. สัญลักษณ์ที่หน้าจั่วของมุขกลาง<br />

ที่บริเวณหน้าจั่วของมุขกลาง ได้มีการประดิษฐานตราสัญลักษณ์ประจ ำโรงทหารหน้า ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่โรงทหารหน้า เป็นรูปจุลมงกุฎ<br />

บนหมอนแพรภายใต้รัศมีเปล่งรองรับด้วยช้างสามเศียรยืนบนแท่นสอดในจักร ขนาบด้วย คชสีห์และ<br />

ราชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรด้านขวาและด้านซ้าย เหนือชายแพรทาสีม่วงคราม มีอักษรบาลี<br />

ว่า วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย ประดับด้วยช่อดอกไม้ โดยมีรายละเอียดและความหมาย ดังนี้<br />

๑) ตราจุลมงกุฎบนหมอนแพรปิดทอง หมายถึง ศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของ<br />

พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลใน พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

นั้น คือ “จุฬาลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ซึ่งต่อมาได้อัญเชิญ<br />

ตราจุลมงกุฎบนหมอนแพรปิดทองขึ้นเป็นพระราชลัญจกร พระจำประองค์<br />

๒) รัศมีเปล่งเหนือจุลมงกุฎ หมายถึง พระบรมเดชานุภาพที่แผ่ไกลไปทั่วทุกทิศในคติการปกครอง<br />

แบบราชาธิปไตย<br />

๓) ช้างสามเศียรยืนแท่นในกรอบ หมายถึง ตราสัญลักษณ์ของสยามประเทศ<br />

๔) จักร หมายถึง ราชวงศ์จักรี ทั้งนี้มีการบันทึกและมีการทำสัญลักษณ์ไว้บนผืนธง ดังนี้<br />

ซึ่งมีการกล่าวกันมากในเรื่องของจักรว่า จักรจะต้องเวียนตามเข็มนาฬิกา หรือเวียนทวนเข็มนาฬิกา<br />

ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว มีการถือคติว่าเป็นจักรของราชวงศ์จักรีเป็นจักรของพระนารายณ์ที่ต้องเวียนในลักษณะ<br />

ทักขิณาวัฏ คือ เวียนตามเข็มนาฬิกาโดยให้คมจักรเป็นตัวนำทิศทาง<br />

๕) คชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง กลาโหมซึ่งเป็นใหญ่ฝ่ายทหาร<br />

๖) ราชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง มหาดไทยซึ่งเป็นใหญ่ฝ่ายพลเรือน<br />

๗) พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น) หมายถึง ฉัตรสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราช<br />

พิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณี<br />

34


๘) ชายแพรทาสีม่วงคราม หมายถึง สาย<br />

สะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งมี<br />

นัยว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงบำรุงถึงสกุลวงศ์ ผู้มีบำเหน็จความชอบ<br />

ในบ้านเมืองให้สามัคคีช่วยกันในบ้านเมือง<br />

๙) ช่อดอกไม้ หมายถึง ความรุ่งเรืองงอกงาม<br />

ซึ่งสัญลักษณ์นี้ปรากฏในสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้า<br />

ห้อยดวงตราจุลจอมเกล้า ซึ่งแตกต่างกันตรงที่<br />

สายสร้อยไม่ประดับจักร จึงสันนิษฐานไว้ว่า<br />

ตราสัญลักษณ์นี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อหน่วยทหารในฐานะ<br />

เป็นหน่วยงานที่พิทักษ์รักษาราชวงศ์จักรี<br />

๒๑. คาถาประจำโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการ<br />

กลาโหม<br />

อักษรภาษาบาลี ที่ปรากฏบนหน้าจั่วศาลา<br />

ว่าการกลาโหม มีข้อความว่า วิเชตฺวา พลตาภูปํ<br />

รฏฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย อ่านว่า วิเชตตะวา พะละตา<br />

ภูปัง รัฏเฐ สาเธตุ วุฑฒิโย มีความหมายว่า “ขอให้<br />

พระมหากษัตริย์เจ้า พร้อมด้วยปวงทหารจงมี<br />

ชัยชนะ ยังความเจริญให้สำเร็จในแผ่นดินเทอญ”<br />

ซึ่งเป็นคาถาที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกจากคาถา ๑ ในจำนวน ๔ บท<br />

สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)<br />

ที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช<br />

(สา ปุสฺสเทว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม<br />

ทรงผูกถวายให้ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ น ำขึ้นกราบบังคมทูล<br />

ถวายเพื่อทรงเลือก<br />

ถือว่าเป็นคาถาที่เป็นมงคลแก่หน่วยทหารและ<br />

แผ่นดิน ทั้งยังเป็นพรประเสริฐที่เปี่ยมไปด้วยมงคล<br />

อันเป็นการเฉพาะสำหรับทหาร<br />

35


๒๒. ประตูเข้าและออก<br />

หากสังเกตให้ดี จะพบว่าบริเวณประตูทางเข้า<br />

และออก ทำขึ้นเป็นรูปเกือกม้าที่มีขนาดใหญ่<br />

กำหนดประตูเข้าอยู่ทางทิศใต้ใกล้กระทรวง<br />

การต่างประเทศ สำหรับประตูทางออกคือประตู<br />

ทิศเหนือใกล้กับศาลหลักเมือง โดยด้านบนบริเวณ<br />

กึ่งกลางประตูมีรูปปูนปั้นเป็นรูปหน้านายทหาร<br />

โดยด้านซ้ายและขวามีรูปปูนปั้นเป็น เศียรองค์คชสีห์<br />

ขนาบทั้ง ๒ ข้าง<br />

โดยปกติ การปั้นรูปใบหน้าที่ประดับขอบโค้งบนสุดของประตูหรือขอบหน้าต่างนั้น ส่วนใหญ่แล้ว<br />

ในยุโรปจะปั้นเป็นรูปหน้าเทพเจ้า หรือหน้าเทพี ตามความเชื่อในเทพนิยายปกรณัม ซึ่งบางแห่งอาจปั้น<br />

เป็นหน้าสุภาพสตรีเพื่อความสวยงามของอาคาร ซึ่งมีอาคารที่อยู่ใกล้ศาลาว่าการกลาโหม คือ<br />

อาคารมิวเซียมสยาม ก็มีการปั้นรูปหน้าสุภาพสตรี โดยช่างชาวต่างชาติที่รับพระราชกระแสรับสั่ง<br />

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ปั้นประดับไว้บนส่วนโค้งบนของขอบหน้าต่าง<br />

ชั้นสองทุกบาน<br />

สำหรับ โรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเป็นที่ทำการทางทหาร จึงได้ปั้นเป็นรูปหน้า<br />

ทหารสวมหมวกยอด และ เศียรองค์คชสีห์ ประดับไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยทหารและที่ทำการ<br />

ของสมุหกลาโหม<br />

ทั้งนี ้ จากการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ แล้วไม่พบว่าเป็นใบหน้าของท่านใด แต่เมื่อพิจารณาจาก<br />

โครงสร้างกับองค์ประกอบของใบหน้าของรูปปูนปั้นทั้งสองรูป ทำให้สันนิษฐานได้ว่า<br />

๑) รูปปูนปั้นหน้านายทหาร ด้านประตูทางเข้า คือ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

๒) รูปปูนปั้นหน้านายทหาร ด้านประตูทางออก คือ จอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์<br />

มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

ซึ่งน่าจะเป็นข้อสันนิษฐานที่มีเหตุมีผลและพอจะเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีการจำลองเศียรองค์คชสีห์<br />

ขนาบทั้ง ๒ ข้าง และรูปปูนปั้นเป็นรูปหน้านายทหาร ประดับประตูทางออกของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ทางทิศตะวันออกที่ต่อเติมใหม่ใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ อีกด้วย<br />

36


๒๓. สัญลักษณ์ปูนปั้นประดับชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

หากท่านแหงนหน้าขึ้นมองบริเวณด้านบนของมุขกลาง ท่านจะเห็นแผ่นปูนและยอดแหลมบริเวณ<br />

ขอบหลังคาใกล้กับบริเวณหน้าจั่วของมุขกลาง สิ่งที่ท่านเห็นดังกล่าวมีลักษณะที่เรียกว่า บราลี และ ปั้นลม<br />

เพื่อประดับอาคารทรงยุโรปที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมโบซารส์ (Beaux Arts) หรือเรียกว่า Beaux-Arts style<br />

ซึ่งเป็นวิถีทางทำให้เกิดจิตวิญญาณใหม่ภายในขนบธรรมเนียมที่หรูหรามากว่าการจัดของความคิดที่เป็น<br />

จุดสำคัญของศิลปะ โดยเพิ่มเติมที่งานปั้น ประติมากรรม แกะสลักผนัง หรืองานศิลปะอื่นๆ ส ำหรับก่อให้เกิด<br />

เอกลักษณ์ของอาคาร และลักษณะเด่นคือการตกแต่งประดับประดาที่มากมายด้วยองค์ประกอบคลาสสิค<br />

จากยุคต่างๆ นำมาผสมผสานกันอย่างซับซ้อน อาทิ ลวดบัว หัวเสา ปูนปั้น และการทำผนังชั้นล่าง<br />

เลียนแบบการก่อหิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของงานศิลปะที่ประดับประดาอยู่ในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

สำหรับ แผ่นปูนและยอดแหลม ที่ประดับอยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม บริเวณขอบระเบียง ชั้น ๓<br />

ของอาคาร บริเวณเหนือประตูทางเข้าและทางออกไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน จึงมีข้อสันนิษฐาน ดังนี้<br />

๑) บราลียอดแหลมปูนปั้น ลักษณะเป็นกรวยทรงสูงบนแท่นกลม ซึ่งปกติมีการใช้ผ้าตาดทำเป็นรูป<br />

กรวยครอบมงกุฎหรือชฎา เพื่อใช้ป้องกันความเสียหายและฝุ่นละอองที่จะเข้าไปสร้างความเสียหายภายใน<br />

ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ว่าทหารคือผู้อาสาปกป้องราชบัลลังก์ สำหรับอีกแนวคิดหนึ่งคาดว่าเป็นการ<br />

นำเอาตราสัญลักษณ์คชสีห์ที่อยู่ในกล่องอับหมึกและมีฝาครอบมาเป็นต้นแบบในการจัดทำบราลีนี้อย่างไร<br />

ก็ตาม บราลีปูนปั้นลักษณะเช่นนี้ก็มีการสร้างในอาคารของยุโรปหลายแห่ง และมีอาคารที่ประดับบราลี<br />

ใกล้เคียงกับทรงนี้คือ อาคารธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี<br />

๒) ปั้นลมปูนปั้นเป็นแผ่นรูปทหาร ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากสังเกตให้ดีจะเป็นรูปทหาร<br />

สวมเสื้อคลุมแบบทหารยุโรปคาดกระบี่พาดด้านหน้า และบริเวณหลังกับไหล่ปั้นเป็นรูปธงพลิ้ว ข้างละ<br />

๒ ผืน ทำให้นึกถึง เสี้ยวกาง (ทวารบาล ที่วาดอยู่บริเวณประตูวัดต่างๆ ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์<br />

ป้องกันภัยร้ายที่เข้ามาสู่ภายในวัด) จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีการสร้างทวารบาลขึ้นเพื่อปกป้องสิ่งไม่ดีที่จะ<br />

เข้ามาสู่ศาลาว่าการกลาโหม แต่เนื่องจากเป็นอาคารทรงยุโรป เมื่อเป็นเช่นนี้ ทวารบาลจึงปั้นเป็นรูปทหาร<br />

ยุโรป นับว่าเป็นจินตนาการทางศิลปะตะวันตกกับความเชื่อทางตะวันออกที่ผสมผสานออกมาได้อย่างลงตัว<br />

อย่างไรก็ตาม ปั้นลมลักษณะเช่นนี้มีการสร้างที่เหนือพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ในพระราชวังบางปะอิน<br />

ซึ่งถึงแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่เป็นศิลปะในยุคเดียวกันและน่าจะมีคติความคิดที่คล้ายกัน<br />

นอกจากนี้ เมื่อมีการต่อเติมใหม่ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมทางทิศตะวันออก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕<br />

ได้มีการจำลองปั้นลมปูนปั้นเป็นแผ่นรูปทหารประดับเหนืออาคารบริเวณระเบียงชั้นสามอีกด้วยเช่นกัน<br />

37


๒๔. วิวัฒนาการของกระทรวงกลาโหม<br />

มีหลายท่านตั้งข้อสงสัยว่าโรงทหารหน้า<br />

เคยเป็นที่ทำการของทหาร ทั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และกระทรวงกลาโหม ซึ่ง<br />

ฟังแล้วรู้สึกสับสน ดังนั้นจึงใคร่ขอสรุปสาระสำคัญ<br />

ของเรื่องนี้ให้เกิดความชัดเจน กล่าวคือ โรงทหารหน้า<br />

เคยเป็นที่ทำการของกรมยุทธนาธิการ กระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ และกระทรวงกลาโหม เพราะมีลำดับ<br />

เหตุการณ์ของการจัดตั้งส่วนราชการ ดังนี้<br />

๑) เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพระราชพิธี<br />

เป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้าเพื่อเป็น<br />

ที่ทำการของกรมทหารหน้า<br />

๒) วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติจัดการทหาร ให้ตั้ง<br />

กรมยุทธนาธิการ กับใช้โรงทหารหน้าเป็นสถานที่<br />

ทำการของกรมยุทธนาธิการ ในขณะนั้นกรม<br />

พระกลาโหมยังมีอยู่โดยให้มีอำนาจบังคับบัญชา<br />

หัวเมืองฝ่ายใต้เท่านั้น<br />

๓) วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็น<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และให้ตั้งกองบัญชาการ<br />

ณ ศาลายุทธนาธิการ<br />

๔) วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง ซึ่งมี<br />

ทั้งกระทรวงยุทธาธิการ และกระทรวงกลาโหม<br />

เนื่องเพราะยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อ เจ้าพระยา<br />

พลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) สมุหพระกลาโหม ในขณะนั้น<br />

ที่เป็นข้าราชการเก่าแก่ มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี<br />

มีความดีความชอบ และชราภาพมาก ทั้งนี้ ได้<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

38<br />

(พระยศในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งเป็น เสนาบดี<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และในปีเดียวกันนี้ ได้ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลดฐานะกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

คงเหลือเป็นเพียงกรมยุทธนาธิการ ท ำหน้าที่ปกครอง<br />

บังคับบัญชาทหารบก<br />

ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าพระยาพลเทพ ขึ้นเป็นเสนาบดี<br />

ผู้ใหญ่ ในราชทินนาม เจ้าพระยารัตนาธิเบศพิเศษ<br />

สาธุคุณมนูญผล หลังจากนั้น ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่<br />

กระทรวงกลาโหม โดยให้กรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรง<br />

ต่อกระทรวงกลาโหม และให้รับผิดชอบในด้านการ<br />

ป้องกันประเทศด้วยกำลังทหารทั้งทหารบกและ<br />

ทหารเรือ เพื่อความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา<br />

พร้อมกับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลตรี<br />

เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศในขณะนั้น)<br />

ดำรงตำแหน่งเป็น เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้กระทรวงกลาโหม ย้ายสถานที่ทำการจากใน<br />

พระบรมมหาราชวังชั้นนอก มาอยู่ที่ศาลายุทธนาธิการ<br />

และเป็นกระทรวงกลาโหมตั้งแต่นั้นมา<br />

๒๕. กรมยุทธนาธิการ : ต้นกำเนิดของ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

และทรงให้ปรับปรุงภารกิจการจัด หลายครั้งก็เพื่อ<br />

ให้เกิดความสมบูรณ์ เหมาะสมกับสถานการณ์โลก<br />

และการเปลี่ยนแปลงกิจการทหารสมัยใหม่ กล่าวคือ<br />

๑) ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้ง<br />

กรมยุทธนาธิการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า สยาม จำเป็นที่จะ<br />

ต้องเสริมสร้างประสิทธิภาพหน่วยทหาร เพื่อรักษา


เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)<br />

สมุหพระกลาโหม<br />

นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

39


ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และป้องกันภัย<br />

รุกรานของประเทศมหาอำนาจนอกประเทศ จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารอย่างใหม่ขึ้น<br />

ประกอบด้วย กรมทหารบก ๗ กรม และกรมทหาร<br />

เรือ ๒ กรม ประกอบด้วย กรมทหารมหาดเล็ก<br />

ราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารรักษาพระองค์<br />

กรมทหารล้อมวัง กรมทหารหน้า กรมทหารฝีพาย<br />

กรมทหารปืนใหญ่ และกรมทหารช้าง พร้อมทั้ง<br />

โปรดเกล้าฯ คัดเลือก พระบรมวงศานุวงศ์และ<br />

ข้าราชการที่ไว้วางพระราชหฤทัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บังคับบัญชากรมทหารนั้นๆ<br />

๒) วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการทหาร<br />

โดยให้รวบรวมทหารบกและทหารเรือ ตั้งเป็นกรมใหม่<br />

เรียกว่า กรมยุทธนาธิการ (Department of War and<br />

Marine) เพื่อบังคับบัญชาทหารบกและทหารเรือ<br />

อย่างสมัยใหม่ทั้งหมด ซึ่งในพระราชบัญญัติฉบับนี้<br />

ได้กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๒.๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง<br />

ดำรงพระราชอิสริยยศในตำแหน่งจอมทัพ<br />

๒.๒) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม<br />

มกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทั่วไป<br />

แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์<br />

วรเดช ทรงเป็นผู้แทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร<br />

ซึ่งในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น<br />

ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

๒.๓) นายพลตรี กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ<br />

เป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารบก<br />

๒.๔) นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิท<br />

วงศ์ เป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ<br />

๒.๕) นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรม<br />

ขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ใช้จ่าย<br />

๒.๖) นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ฝ่ายยุทธภัณฑ์<br />

40<br />

๒.๗) นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมหมื่นประจักษ์<br />

ศิลปาคม เป็นผู้บัญชาการรักษาพระราชวัง<br />

๓) เนื่องจากการจัดหน่วยที่มีลักษณะเป็นกรม<br />

มีจุดอ่อนที่เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อกัน พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงจัดระเบียบ<br />

บริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยยกฐานะกรม<br />

ยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อวันที่<br />

๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

เป็นเสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม<br />

แสง-ชูโต) เป็น ผู้บัญชาการทหารบก และให้<br />

กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ<br />

ทั้งให้แบ่งส่วนราชการกระทรวงยุทธนาธิการ ออกเป็น<br />

๒ ฝ่าย กล่าวคือ<br />

๓.๑) ฝ่ายพลเรือน ทำหน้าที่ด้านธุรการ<br />

การบริหาร และการส่งกำลังบำรุง โดยมี เสนาบดี<br />

กระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

๓.๒) ฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นส่วนกำลัง<br />

รบ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ กรมทหารบก และ<br />

กรมทหารเรือ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพ และทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ<br />

สยามมกุฎราชกุมาร รับสนองพระบรมราชโองการ<br />

นอกจากนี้ยังได้ขยายอัตราและจัดระเบียบราชการ<br />

ทหารในภูมิภาคอีกด้วย<br />

๔) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ หลังจากวันที่<br />

๑ เมษายน ๒๔๓๕ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

จัดตั้งกระทรวง ๑๒ กระทรวงแล้ว ยังได้แยก<br />

การบังคับบัญชาการทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง<br />

จาก กระทรวงยุทธนาธิการ ไปขึ้นกับกระทรวง<br />

กลาโหม สำหรับกระทรวงยุทธนาธิการ ให้ลด<br />

ฐานะเป็นกรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ปกครอง<br />

บังคับบัญชาทหารบก พร้อมทั้ง ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้า


น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็น ผู้บัญชาการกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

กับให้มีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีด้วย ทั้งให้แบ่งส่วนราชการกรมยุทธนาธิการ เป็น ๑๔ หน่วย ประกอบด้วย<br />

กรมทหารบกใหญ่ กรมปลัดทัพบกใหญ่ กรมยกรบัตรทหารบกใหญ่ กรมยุทธภัณฑ์ กรมคลังเงิน โรงเรียน<br />

นายร้อย โรงเรียนนายสิบ กองทหารหน้า กองทหารม้า กองทหารปืนใหญ่ กองทหารมหาดเล็ก กองทหาร<br />

รักษาพระองค์ กองทหารล้อมวัง และกองทหารฝีพาย<br />

๕) ใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรงต่อกระทรวง<br />

กลาโหม และเพื่อความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา หลังจากนั้น จึงได้มีการพัฒนาภารกิจและการจัด<br />

ของกรมยุทธนาธิการ เป็น ภารกิจและการจัดของ กองทัพบก จนถึงปัจจุบัน<br />

บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกรมยุทธนาธิการ<br />

ตามพระราชบัญญัติจัดการทหาร เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๓๐<br />

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

(ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ)<br />

นายพลตรี กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ<br />

(ผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารบก)<br />

นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์<br />

(ผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ)<br />

นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์<br />

(เจ้าพนักงานใหญ่ใช้จ่าย)<br />

นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

(เจ้าพนักงานใหญ่ฝ่ายยุทธภัณฑ์)<br />

นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม<br />

(ผู้บัญชาการรักษาพระราชวัง)<br />

41


๒๖. หน่วยทหารที่มีที่ตั้งในโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลายุทธนาธิการ<br />

ในยุคแรกมีการนำทหารทั้ง ๑๓ กรม (ยกเว้น<br />

กองทหารฝีพาย) มาอยู่ในศาลายุทธนาธิการ<br />

ในเวลาต่อมา มีการขยับขยายหน่วยออกไปนอก<br />

พื้นที่ อาทิ โรงเรียนนายร้อย และโรงเรียนนายสิบ<br />

แต่ก็มีการตั้งหน่วยทหารเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความ<br />

สมบูรณ์เป็นมาตรฐาน เป็นดังนี้<br />

• กรมปลัดทัพบก<br />

• กรมยกรบัตรทัพบก<br />

• กรมเสนาธิการทหารบก<br />

• จเรทัพบก<br />

• กรมคลังเงินทหารบก<br />

• กรมพระธรรมนูญทหารบก<br />

• ศาลกรมยุทธนาธิการ<br />

• กรมเกียกกายทัพบก<br />

• กรมช่างแสง<br />

• กรมแพทย์ทหารบก<br />

• กรมราชองครักษ์<br />

• แผนกสารวัตรใหญ่ทหารบก<br />

• และอีก ๑๐ กองพล ในกรุงเทพฯ และ<br />

ภูมิภาค<br />

อย่างไรก็ตาม การที่มีหน่วยทหารที่มีที่ตั้ง<br />

ในศาลายุทธนาธิการ รวม ๑๒ หน่วยข้างต้น<br />

จึงทำให้สามารถบรรจุกำลังพลที่เข้ามาอยู่ในศาลา<br />

ยุทธนาธิการได้จำนวนถึง ๑ กองพล ซึ่งถือได้ว่า<br />

เป็นหน่วยทหารที่เป็นมาตรฐานและสมบูรณ์แบบ<br />

มากที่สุด<br />

๒๗. โรงทหารหน้าอาคารแห่งความสมบูรณ์<br />

แบบทางทหาร<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า การออกแบบอาคาร<br />

โรงทหารหน้า ที่มีขนาดอาคาร กว้าง ๓ เส้น ๑๐ วา<br />

ยาว ๕ เส้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะบริหารจัดการเพื่อ<br />

ดูแลกำลังพล ยุทโธปกรณ์ การสนับสนุนการรบ และ<br />

สิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก หากพิจารณา<br />

จากการใช้ประโยชน์ตามที่มีการบันทึกไว้ จะพบว่า<br />

๑) ชั้นล่างเป็นที่ฝึกหัดการฟันดาบ ชั้นกลางเป็น<br />

ที่ประชุมนายทหาร ชั้นบนเป็นที่เก็บพิพิธภัณฑ์<br />

สำหรับเครื ่องทหาร และยังมีประตูใหญ่สองข้าง<br />

มีห้องทหารคอยเหตุ และรักษายามทั้งสองข้าง<br />

ด้านหน้าชั้นล่างเป็นคลังเก็บเครื่องครุภัณฑ์และ<br />

ยุทธอาภรณ์ โดยแบ่งเป็น<br />

๒) ด้านขวาชั้นล่างเก็บปืนใหญ่ ชั้นบนเป็น<br />

ที่อยู่ของทหารปืนใหญ่ โรงข้างโรงช้างนั้นเดิมเป็น<br />

โรงม้าหลวงชั้นนอกชั้นเดียว ครั้นจะรื้อทำใหม่<br />

ทั้งหมดก็จะเปลืองพระราชทรัพย์มากไป จึงให้แก้ไข<br />

โรงม้าเก่าให้เป็น ๒ ชั้นขึ้น ชั้นล่างให้ม้าอยู่ ชั้นบน<br />

ให้ทหารม้าอาศัย<br />

๓) โรงใหญ่ข้างขวาแบ่งเป็นห้องนายแพทย์<br />

ทหารและโรงพยาบาลทหาร ถัดโรงใหญ่นั้นเป็น<br />

โรงฝึกหัดม้า เพราะในเวลานั้นก็ได้สั่งม้าเทศ ซึ่งได้<br />

หัดแล้วบ้าง ยังบ้าง ม้ามาจากเกาะออสเตรเลียมี<br />

จำนวน ๓๕๐ ม้าเศษ ทั้งมีนายอัศวแพทย์, ผู้ฝึกหัด<br />

ม้าและช่างทำรองเท้าม้าเข้ามาอยู่ด้วย พร้อมโรง<br />

ใหญ่ชั้นล่างทำเป็นโรงไว้ม้าและรถพระที่นั่ง สำหรับ<br />

เมื่อมีการจะเสด็จพระราชดำเนินโดยด่วนในที่ใดๆ<br />

ก็ทรงรถพระที่นั่งและม้าเทศเหล่านี้<br />

๔) ด้านซ้ายต่อจากโรงทหารใหญ่ ถึงหอ<br />

นาฬิกาที่หอนั้นเป็นที่เก็บเครื่องสนามและเครื่อง<br />

ยุทธภัณฑ์ต่างๆ ชั ้นล่างเป็นที่สำหรับสูบน้ำขึ้น<br />

บนถึงสูง และเป็นโรงงานทหารช่างต่างๆ ที่หอ<br />

นาฬิกาชั้น ๓ เป็นถึงเหล็กใหญ่สำหรับเก็บน้ำใส<br />

และเปิดใช้น้ำนี้ได้ทั่วโรงทหารทั้ง ๓ ชั้น เพราะ<br />

มีแป๊บฝังอยู่ตามฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น บันไดใหญ่<br />

ทุกๆ บันไดทำห้องสำหรับถ่ายปัสสาวะ บันไดละ<br />

๒ ห้องทุกๆ ชั้น และมีท่อน้ำไหลมาสำหรับชะล้าง<br />

42


ไม่ให้มีกลิ่นเหม็นด้วย ที่ตามมุมสนามหญ้าสำหรับฝึกหัดทหารนั้นมีที่สำหรับ<br />

ถ่ายปัสสาวะทุกสี่มุมๆ หนึ่งมีที่ถ่ายสำหรับ ๔ คน<br />

๕) กับตั้งโรงสูบน้ ำขึ้นที่ท่าช้าง มีเครื่องสูบน้ ำด้วยสะตรีมประจำอยู่สองเครื่อง<br />

ถ้าถึงฤดูน้ำเค็มก็สูบน้ำขึ้น เวลาน้ำลงงวดน้ำที่สูบมานี้ไหลมาตามท่อต่างๆ<br />

ซึ่งมีขนาดกว้าง ๘ นิ้ว<br />

๖) ริมถนนใหญ่รอบโรงทหารได้ปลูกกอไม้ไผ่สีสุกทั้ง ๓ ด้าน เพื่อป้องกัน<br />

แสงแดดที่จะส่องเข้ามาถึงเฉลียงรอบโรงทหารชั้นใน กับบริเวณโรงทหารนั้น<br />

มีสระอาบน้ำสำหรับทหารอาบน้ำและหัดว่ายน้ำหนึ่งสระ<br />

๗) ต่อสระมามีฉางสำหรับเก็บข้าวสาร ทำไว้เป็นห้องๆ เพื่อข้าวสารเก่า<br />

แล้วก็ใช้ไปเสียก่อนเอาข้าวสารใหม่เพิ่มเติมเข้ามาเก็บไว้ ผลัดเปลี่ยนเวียนกันไป<br />

เช่นนี้เสมอ ฉางข้าวนี้คิดทำขึ้น ก็เพื่อที่จะทำไว้แทนฉางข้าวเก่าในพระนคร<br />

ซึ่งได้รื้อออกเสียนั้น<br />

๘) ต่อห้องเก็บเข้าไปอีกหลังหนึ่ง ก็เป็นครัวใหญ่สำหรับทำอาหารเลี้ยง<br />

ทหารทั่วไป<br />

๙) ใต้ครัวลงไปอีกขุดเป็นบ่อลึกก่อเป็นสามห้อง ชั้นล่างเป็นโพรงเพื ่อเก็บ<br />

น้ำที่กรองใสแล้ว สำหรับสูบขึ้นถึงดังกล่าวมาแล้ว ส่วนที่แบ่งเป็นสามห้องนั้นชั้น<br />

ล่างที่สุดใช้อิฐย่อยก้อนเล็กๆ โรยรองเป็นพื้นเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วเอาเศษผงถ่าน<br />

ย่อยๆ โรยทับเป็นชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ใช้เม็ดทรายหยาบโรยทับถ่าน ชั้นที่ ๔ ทราย<br />

บางพูดอย่างเมล็ดละเอียดโรยทับไว้ข้างบนหนามาก เมื่อสูบน้ำขึ้นที่ท่าช้างแล้ว<br />

น้ำก็ไหลผ่านมาในห้องกรองนี้ก่อนจนเป็นน้ำใส แล้วก็สูบขึ้นสู่ถังสูงนั้น สิ่งของที่<br />

กล่าวมาทั้งนี้ยังปรากฏทั้งสิ้น ทั้งที่ท่าช้างก็ยังมีท่อโผล่อยู่ข้างสะพานจนทุกวันนี้<br />

๑๐) ชั้นที่ ๔ เป็นหอนาฬิกามีหน้าปัดนาฬิกาสองทาง การที่ทำนาฬิกาขึ้นนี้<br />

เพราะมีความประสงค์จะให้เป็นการทานแก่มหาชนซึ่งสัญจรไปมาให้รู้เวลาได้<br />

ทั่วถึงกัน<br />

๑๑) ชั้นที่ ๕ เป็นที่ทหารยามรักษาเหตุการณ์ กับมีเครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่อง<br />

ฉายไฟฟ้าอยู่บนนั้นด้วย เรียกได้ว่า โรงทหารหน้ามีการบริหารจัดการได้อย่าง<br />

สมบูรณ์แบบและมีระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณสุขที่ดีครบถ้วน<br />

43


๒๘. ระบบการผลิตน้ำประปาของโรงทหารหน้า<br />

โรงทหารหน้า มีการจัดระบบการผลิตน้ำประปาเป็นของตนเอง เพราะหาก<br />

พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ทหารไทยเริ่มมีระบบการผลิตน้ ำประปาใช้เอง กล่าวคือ<br />

๑) มีการขุดเป็นบ่อลึกแบ่งออกเป็น ๓ ห้อง บริเวณใต้ห้องครัว (บริเวณ<br />

ริมถนนกัลยาณไมตรี ก่อนถึงสะพานช้างโรงสี ที่ในบันทึกระบุไว้ว่า ท่าช้าง หรือ<br />

ถ้าในปัจจุบัน ก็คือบริเวณใกล้กับที่ตั้ง ธนาคารทหารไทย สาขากระทรวงกลาโหม<br />

๒) โดยแต่ละบ่อจัดทำเป็นโพรงน้ำด้านล่างสุดเชื่อมถึงกันตั้งแต่บ่อที่ ๑ ถึง<br />

บ่อที่ ๓<br />

๓) มีการจัดทำระบบกรองน้ำแต่ละบ่อ ด้วยการดำเนินการวางชั้นกรอง<br />

จากล่างขึ้นบน คือ<br />

๓.๑) ชั้นที่หนึ่งหรือชั้นล่างสุด ใช้อิฐย่อยก้อนเล็กๆ โรยรองเป็นพื้น<br />

๓.๒) ชั้นที่สองเหนือขึ้นมา ใช้เศษผงถ่านย่อยๆ โรยทับชั้นล่างสุด<br />

๓.๓) ชั้นที่สาม ใช้เม็ดทรายหยาบโรยทับถ่านของชั้นที่สอง<br />

๓.๔) ชั้นที่สี่หรือชั้นบนสุด ใช้ทรายเมล็ดละเอียด (จากตำบลบางพูด<br />

อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นทรายคุณภาพดี) โรยทับอย่างหนาแน่น<br />

ไว้ข้างบน<br />

๔) จัดเครื่องสูบน้ำจากคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) บริเวณเชิงสะพาน<br />

ช้างโรงสี มาถ่ายลงชั้นบนของบ่อที่หนึ่ง เมื่อน้ำคลองผ่านระบบกรองแล้วก็จะ<br />

ไหลผ่านโพรงเชื่อมไปยังบ่อที่สองและสาม ในลักษณะเดียวกันจนเป็นน้ำสะอาด<br />

และปลอดภัยจึงใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำไปใส่ถังเก็บน้ำชั้นบนบริเวณชั้นสามของ<br />

อาคารด้านทิศใต้หัวมุมใกล้สะพานช้างโรงสี สำหรับท่าช้างที่กล่าวถึง<br />

๒๙. การระบบประปาของโรงทหารหน้า<br />

เมื่อโรงทหารหน้ามีระบบการผลิตน้ำประปาแล้ว ได้กำหนดแนวทางในการ<br />

ใช้น้ำด้วยการจัดระบบการประปาสาธารณะเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ก็ว่าได้ เพราะเมื่อผลิตน้ำสะอาดได้แล้วมีการสูบขึ้นพักไว้ในถังเหล็กขนาดใหญ่<br />

บริเวณชั้นสาม และมีการวางระบบท่อส่งน้ำ (Pipeline) เป็นท่อแป๊บฝังอยู่ตาม<br />

ฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น จึงสามารถ เปิดใช้น้ำประปาได้ทั่วโรงทหารหน้าทุกชั้น<br />

โดยเฉพาะ บันไดใหญ่ทุกแห่ง ได้จัดทำห้องสุขาสำหรับถ่ายปัสสาวะ บันได<br />

ละ ๒ ห้อง ทุกๆ ชั้น จึงได้ทำเป็นท่อน้ำไหลมาสำหรับชะล้าง เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่น<br />

ที่ไม่พึงประสงค์<br />

44


่<br />

นอกจากนี้ ตามมุมสนามหญ้าสำหรับฝึกหัดทหารในชั้นล่างนั้น ได้จัดทำ<br />

ห้องสุขาสำหรับถ่ายปัสสาวะทั้งสี่แห่ง และมีโถปัสสาวะแห่งละ ๔ โถ รวมทั้งมี<br />

ระบบประปาเพื่อบริการน้ำให้แก่กำลังพลอีกด้วย เรียกว่าทันสมัยและครบถ้วน<br />

มากในสมัยนั้น<br />

๓๐. ระบบสุขาภิบาลในโรงทหารหน้า<br />

การที่โรงทหารหน้ามีการวางระบบประปาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการสร้าง<br />

ระบบสุขาภิบาลให้แก่กำลังพล อาคาร และสภาพแวดล้อม ซึ่งจากการศึกษา พบว่า<br />

บริเวณด้านหลังอาคารหรือด้านทิศตะวันออกก่อนถึงคลองคูเมือง ได้จัดทำ<br />

เป็นสระน้ำ รวม ๒ สระ กล่าวคือ<br />

• สระที่หนึ่ง สำหรับให้ทหารอาบน้ำชำระร่างกาย<br />

• สระที่สอง สำหรับให้ทหารฝึกหัดว่ายน้ำเพื่อสมรรถภาพร่างกายและเพื่อ<br />

ความพร้อมในการเข้าพื้นที่การรบ<br />

ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู ได้ปลูกกอไม้ไผ่สีสุกทั้ง ๓ ด้าน ริมถนนใหญ่<br />

รอบโรงทหารหน้า เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะส่องเข้ามาถึงเฉลียงรอบโรงทหารหน้า<br />

ชั้นใน และเพื่อเป็นร่มเงา กับเป็นรั้วในตัวเอง<br />

สำหรับห้องสุขานั้น สันนิษฐานว่าคงอยู่ใกล้กับสระที่ใช้อาบน้ำ เพราะ<br />

สามารถควบคุมกลิ่นและความสะอาดได้ เนื่องจากการจัดการระบบสุขาภิบาล<br />

ในสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยเท่าในปัจจุบัน จึงต้องอยู่ห่างจากพื้นที่ทำงานหรือพื้นที่<br />

ฝึกฝน เพื่อป้องกันความสกปรกและแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ที่ต้องมีกำลังพล<br />

จำนวนมาก<br />

๓๑. ระบบสาธารณสุขในโรงทหารหน้า<br />

โรงทหารหน้า มีลักษณะเป็นทั้งที่ทำการ เป็นที่ฝึกฝนทหาร เป็นที่พักทหาร<br />

และมีการนำช้าง ม้า สำหรับใช้ในการศึก และม้าประจำรถพระที่นั่ง มาเลี้ยงใน<br />

พื้นที่ด้วย ย่อมมีความเป็นไปได้ที่กำลังพลอาจเจ็บป่วย และมีความเสี่ยงภัยที<br />

อาจเกิดโรคติดต่อจากคนไปยังคน หรือจากสัตว์ไปยังคนได้<br />

เรื่องนี้ทราบมาว่า มีการจัดระบบสาธารณสุขไว้อย่างชัดเจน กล่าวคือ<br />

๑) มีการจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของพื้นที่พัก<br />

พื้นที่เลี้ยงม้า คือ บริเวณอาคารด้านทิศเหนือ มีโรงเลี้ยงช้างและโรงเลี้ยงม้า<br />

โดยชั้นล่างให้ม้าอยู่ ชั้นบนให้ทหารม้าอาศัย ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว มีนายอัศวแพทย์<br />

(สัตวแพทย์) ผู้ฝึกหัดม้า และช่างทำรองเท้าม้าอาศัยอยู่ด้วย จึงเป็นการป้องกัน<br />

ในชั้นแรก<br />

45


๒) ถัดจากโรงเลี้ยงม้า ได้จัดสรรพื้นที่แบ่งเป็นห้องนายแพทย์ทหารและ<br />

โรงพยาบาลทหาร เพื่อให้บริการทางการแพทย์ให้แก่กำลังพล ซึ่งในสมัยต่อมา<br />

ได้จัดตั้ง กรมแพทย์ทหารบก เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการด้วย<br />

๓) การตั้งโรงครัว ได้ตั้งในด้านทิศตะวันออกใกล้กับคลองคูเมืองเดิม คือ พื้นที่<br />

สุดอาคารรอยต่อระหว่างด้านทิศใต้ ห้องผลิตน้ ำประปา จัดตั้งเป็นโรงครัว จึงท ำให้มี<br />

การแยกพื้นที่เพื่อความสะอาด และเป็นการวางรากฐานระบบสาธารณสุขในอาคาร<br />

โรงทหารหน้าไว้อย่างเหมาะสม<br />

๓๒. ระบบไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทยในโรงทหารหน้า<br />

โรงทหารหน้าเป็นอาคารแรกของประเทศ ที่มีการผลิตไฟฟ้าและใช้ไฟฟ้า<br />

ได้เองโดยมีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องแรกและเป็นครั้งแรก<br />

ในสยาม โดย นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บังคับการกรมทหารหน้าในขณะนั้น ได้ใคร่ครวญแล้วเกรงว่าในกรณีที่จัดงาน<br />

กลางคืน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต้องมีการจุดเทียนไขพร้อมๆกันเป็นร้อย<br />

เล่ม และต้องใช้คนมากมายปีนป่ายอาคารเพื่อติดเทียนไข แม้ต่อมาจะเปลี่ยนมา<br />

ใช้โคมน้ำมันก็ตาม อาจเกิดเพลิงได้ ซึ่งทุกมุมห้องจะต้องมีถังปูนถังน้ำดักเอาไว้<br />

ทำให้เกิดความยุ่งยากและไม่ปลอดภัย กอปรกับท่านเองได้เคยเป็นอุปทูต<br />

ได้เดินทางไปกรุงปารีส ประเทศฝรั ่งเศส กับ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้พบเห็น<br />

กรุงปารีส สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า ต่อเมื่อกลับมายังสยามจึงคิดว่า สยามน่าจะมี<br />

ไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศ<br />

นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้ลงทุนซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาทดลอง<br />

ใช้ ณ โรงทหารหน้า เป็นครั้งแรก และได้เปิดการใช้ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการในวันที่<br />

๒๐ กันยายน ๒๔๒๗ อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้แก่สยาม เรียกว่าเป็น<br />

นวัตกรรมที่สำคัญของประเทศในยุคนั้น<br />

๓๓. การวางระบบไฟฟ้าจากโรงทหารหน้า<br />

การผลิตกระแสไฟฟ้าครั้งแรกในสยามเกิดขึ้นในโรงทหารหน้า ทั้งนี้ เป็น<br />

ความพยายามอย่างยิ่งของ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

กล่าวคือ<br />

ภายหลังจากที่ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เดินทาง<br />

กลับถึงสยามพร้อมคณะทูตที่ไปยังกรุงปารีส ท่านดำริว่า สยามควรจะมีไฟฟ้าใช้<br />

แบบเดียวกับอารยประเทศ และการนี้หากจะกระทำให้สำเร็จได้แล้ว คงต้องเริ่มต้น<br />

ที่ภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน<br />

46


นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้นำความขึ้น<br />

กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็<br />

มีพระราชดำรัสตอบมาว่า “ไฟฟ้า หลังคาตัด ข้าไม่เชื่อ”<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์<br />

มนตรี จึงตระหนักว่า ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจำเป็น<br />

ต้องหาหนทางหรือวิธีจูงใจให้ผู้ที่ไม่เคยเห็น หรือ<br />

ผู้ที่ไม่เคยใช้ไฟฟ้าบังเกิดความนิยมขึ้นมาก่อน จึง<br />

นำความไปกราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรม<br />

หมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ขอให้ช่วยกราบทูล สมเด็จ<br />

พระนางเจ้าพระบรมราชเทวี ให้ทรงรับซื้อที่ดินซึ่ง<br />

ได้รับมรดกจากบิดา ณ ตำบลวัดละมุด บางอ้อ ได้<br />

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ติดตั้งที่โรงทหารหน้า<br />

เป็นเงิน ๑๘๐ ชั่ง หรือ จำนวน ๑๔,๔๐๐ บาท<br />

เมื่อได้เงินมาแล้ว จึงหารือกับ นายมาโยลา (Malayo) ครูฝึกทหารชาวอิตาเลียน ที่มารับราชการ<br />

ในสยาม ให้เดินทางไปซื้อเครื่องจักรกลกำเนิดไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยให้ซื้อเครื่อง<br />

กำเนิดไฟฟ้ามาสองเครื่องเพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนกันใช้งาน และซื้อสายเคเบิ้ลสำหรับพาดสายไปจนถึง<br />

พระบรมมหาราชวัง พร้อมจัดซื้อโคมไฟชนิดต่างๆ เข้ามาในประเทศ<br />

หลังจากได้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์แล้ว จึงได้ทดลองติดตั้งและฝังสายเคเบิ้ลใต้ดินจากโรงทหารหน้า<br />

ผ่านถนนสนามไชยไปยังพระบรมมหาราชวัง พร้อมติดตั้งโคมไฟ โดยเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน<br />

๒๔๒๗ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งสร้างความตื่นเต้น<br />

แก่ผู้พบเห็นเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างยิ่ง<br />

ในเวลาต่อมา ปรากฏว่าไฟฟ้าเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ทั้งในราชสำนัก วังเจ้านาย และชาวบ้าน<br />

ผู้มีฐานะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน<br />

ที่นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี ใช้จ่ายไปในการติดตั้งวางระบบไฟฟ้าคืนให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์<br />

มนตรี จึงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพฯได้ใช้ไฟฟ้า แต่เกิดมีราชการ<br />

สงครามปราบฮ่อ เป็นเวลานาน โครงการของท่านจึงต้องระงับไว้ก่อน แต่<br />

อย่างไรก็ตาม ไฟฟ้าก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในพระนครเป็นอันมาก<br />

โทรศัพท์<br />

๓๔. ระบบโทรศัพท์ในโรงทหารหน้า<br />

เราไม่ควรลืมว่าการทำงานของโทรศัพท์คือการใช้ประโยชน์จาก<br />

พลังงานไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อสามารถใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนกิจกรรมได้ ก็เป็น<br />

บ่อเกิดของพลังงานได้ด้วย<br />

เนื่องจาก ภัยคุกคามจากชาติตะวันตกทวีความรุนแรงมากขึ้น<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงให้ความสำคัญ<br />

ต่อการแจ้งข่าว เรื่องภัยจากข้าศึกอันเป็นภัยต่อความมั่นคง เมื่อมีการ<br />

47


ค้นพบระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ที่สามารถรับและส่งข้อความ พูดคุยตอบโต้<br />

กันได้โดยตรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการติดต่อสั่งซื้อระบบโทรศัพท์<br />

โดยทันทีที่ทรงทราบข่าวว่ามีการผลิตไว้จำหน่าย โดยเมืองไทยเริ่มต้นมีการใช้<br />

โทรศัพท์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ติดตั้งที่กรุงเทพฯ เครื่องหนึ่ง กับที่ปากน้ำ<br />

(จังหวัดสมุทรปราการ) อีกเครื่องหนึ่ง ใช้ประโยชน์จากสายโทรเลขระหว่าง<br />

กรุงเทพฯ กับปากน้ำ (ซึ่งกรมกลาโหมได้สร้างไว้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๑๘ เพื่อแจ้งข่าว<br />

เกี่ยวกับการผ่านเข้าออกปากแม่น้ำเจ้าพระยาของเรือกลไฟ)<br />

จึงได้มีการขยายผลมาใช้ประโยชน์ในการแจ้งข่าวสารความมั่นคงให้แก่หน่วย<br />

ทหาร เพื่อการเตรียมความพร้อมในการป้องกันประเทศ และทำการติดตั้งระบบ<br />

โทรศัพท์ใช้ที่โรงทหารหน้าในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบไฟฟ้า<br />

ของโรงทหารหน้า<br />

๓๕. การให้บริการแสงสว่างของโรงทหารหน้า<br />

โดยปกติแล้ว โรงทหารหน้ามีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่างภายในอาคาร<br />

มีการบันทึกว่าติดตั้งบริเวณมุมอาคารและประตูทางเข้าออก เพื่อใช้ประโยชน์<br />

ของแสงสว่างในการปฏิบัติหน้าที่เวรยามภายในโรงทหารหน้า<br />

นอกจากนี้ ด้านมุมท้ายสุดของอาคารบริเวณทิศเหนือใกล้สะพานช้างโรงสี<br />

บริเวณชั้นที่ห้าของอาคาร เป็นที่ตั้งของทหารยามรักษาเหตุการณ์ จึงมีการติดตั้ง<br />

เครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่องฉายไฟฟ้าอยู่ด้านบนเพื่อใช้ประโยชน์ในยามฉุกเฉิน<br />

และทราบมาว่า ทุกมุมด้านนอกของอาคาร โดยเฉพาะบริเวณถนนสนามไชย<br />

ถนนกัลยาณไมตรี และถนนหลักเมือง มีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่างขึ้นหลายจุด<br />

เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัย และยังเป็นการให้บริการแสงสว่าง<br />

แก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาด้วย<br />

ซึ่งปัจจุบัน ยังพอมีให้เห็นลักษณะของการประดับโคมไฟฟ้าคือ บริเวณประตู<br />

ทางเข้าหน้าศาลาว่าการด้านทิศใต้ ยังเห็นโคมไฟฟ้าแสงสว่างให้เห็นอยู่อีกหนึ่ง<br />

โคม แม้ว่าจะเป็นโคมยุคหลัง แต่พออนุมานได้ว่ามีการติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่าง<br />

บริเวณใด ถ้าสะดวกลองไปชมดูได้<br />

๓๖. การให้บริการสาธารณะของโรงทหารหน้า<br />

เคยมีการบันทึกเรื่องราวถึงการใช้ประโยชน์ของโรงทหารหน้า ที่ว่า “ชั้นที่ ๔<br />

เป็นหอนาฬิกามีหน้าปัดนาฬิกาสองทาง การที่ทำนาฬิกาขึ้นนี้ เพราะมีความ<br />

ประสงค์จะให้เป็นการทานแก่มหาชนซึ่งสัญจรไปมาให้รู้เวลาได้ทั่วถึงกัน”<br />

กล่าวคือ ด้านทิศใต้สุดอาคารก่อนถึงสะพานช้างโรงสีที่ชั้น ๕ หรือชั้นบนสุด<br />

มีห้องยามรักษาการณ์ซึ่งในต่ำลงมาหรือชั้น ๔ ได้ทำเป็นหอนาฬิการูปร่าง<br />

สี่เหลี่ยม และสร้างให้มีหน้าปัดนาฬิกาสองด้าน คือ<br />

48


• ด้านที่หนึ่ง หันหาคลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอด<br />

• ด้านที่สอง หันเข้าหาถนนกัลยาณไมตรี<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาได้รับทราบเวลา<br />

ซึ่งขอเรียนให้ทราบก่อนว่าในสมัยนั้นยังไม่มีนาฬิกาข้อมือ มีแต่นาฬิกาพก<br />

ที่มีสายห้อยนาฬิกานำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาสูงมาก จะมีผู้ใช้ก็คือ<br />

เจ้านาย ข้าราชการระดับสูงและผู้มีอันจะกินเท่านั้น ระดับประชาชนธรรมดา<br />

ยากที่จะเป็นเจ้าของ ดังนั้นการที่โรงทหารหน้าเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทราบเวลา<br />

โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงถือว่าเป็นการบริการประชาชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต<br />

ให้ราษฎรสยามในยุคนั้น<br />

หอนาฬิกาบริเวณชั้น ๔ ของโรงทหารหน้า (ด้านหลัง)<br />

49


๓๗. หอคอยของโรงทหารหน้า<br />

น่าเสียดายที่หอนาฬิกาได้ถูกรื้อถอนออกไป<br />

นานมากแล้ว และหอสูงดังกล่าวก็ไม่มีให้เห็นแล้ว<br />

ซึ่งจากการศึกษาถึงพัฒนาการของหอสูงดังกล่าว<br />

สามารถสรุปได้คือ<br />

๑) หากยังจำได้บริเวณดังกล่าวมีการใช้พื้นที่<br />

ชั้นที่ ๓ เป็นที่ตั้งถังเก็บน้ำประปาของโรงทหาร<br />

หน้าชั้นที่ ๔ เป็นหอนาฬิกา และชั้นที่ ๕ เป็นหอ<br />

สำหรับยามรักษาการณ์หรือยามคอยเหตุ ที่ต้อง<br />

ตั้งบริเวณนี้ เพื่อให้ทหารยามสามารถตรวจการณ์<br />

รอบพระนครได้ในระยะไกล เพราะในสมัยนั้นยัง<br />

ไม่มีตึกสูง อย่างมากก็คืออาคารสองชั้น ดังนั้น จึง<br />

สามารถใช้ประโยชน์ในการระวังป้องกันทั้งภัยจาก<br />

ราชศัตรู อัคคีภัย (เพราะสามารถเห็นควันไฟได้ใน<br />

ระยะไกลและกว้างรอบ ๓๖๐ องศา) ในสมัยนั้นเรียก<br />

ว่าหอคอย (ซึ่งแผลงมาจากหอสำหรับยามคอยเหตุ)<br />

๒) ในเวลาต่อมา ทางราชการมีความจำเป็น<br />

ต้องใช้พื้นที่บริเวณหอกลอง (บริเวณสวนเจ้าเชตุ)<br />

เพื่อตัดถนนสนามไชย และหมดความจำเป็นที่จะ<br />

ต้องใช้การตีกลองบอกสัญญาณ ของกลอง ๓ ใบ<br />

คือ กลองย่ำพระสุรีย์ศรี กลองอัคคีพินาศ และ<br />

กลองพิฆาตไพรี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้นำกลองทั้งสามใบมาเก็บรักษาบริเวณชั้น ๔<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

๓) เนื่องจากการสร้างหอคอยเป็นทรงสี่เหลี่ยม<br />

และมีการติดตั้งนาฬิกาในชั้นที่ ๔ ทำให้เกิดผลเสีย<br />

ต่อตัวอาคาร เพราะต้องรับแรงต้านจากลมและฝน<br />

ทำให้อาคารทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับ<br />

ความไม่คงทนของนาฬิกาที่ประสบปัญหาขัดข้อง<br />

เป็นประจำและการแพร่หลายของนาฬิกาพกที่มี<br />

มากขึ้น รวมทั้งมีวิทยุกระจายเสียงที่บอกเวลา<br />

สามารถรับฟังได้ทุกที่ จึงมีแนวความคิดที่จะ<br />

ปรับปรุงอาคารชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ (บริเวณหอคอย)<br />

ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จึงได้มีการปรับแต่งหอคอยให้มีลักษณะ<br />

ทรงกระบอกและมีกันสาดในชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ท ำให้<br />

สามารถตรวจการณ์ได้ทั้งสองชั้นและติดตั้งลำโพง<br />

เพื่อกระจายเสียงต่อสาธารณชนได้ นอกจากนี้<br />

ได้มีการนำกลองทั้ง ๓ ใบที่เคยเก็บรักษาที่ชั้น ๔<br />

ไปเก็บที่พระบรมมหาราชวังและพิพิธภัณฑสถาน<br />

แห่งชาติ พระนครในที่สุด<br />

๔) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมเกิดรอยแตกร้าว เนื่องเพราะการสร้าง<br />

หอคอยชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ในอดีตทำให้อาคาร<br />

ชั้นล่างต้องรับน้ำหนักมากและมีการรั่วซึม<br />

ของน้ำที่เกิดจากฝนซัดสาดเป็นประจำ เมื่อมี<br />

การก่อสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ประกอบกับเกิดความทรุดโทรมของหอคอย จึงได้<br />

รื้อถอนหอคอยออกและปรับให้คงเหลือเพียง ๓ ชั้น<br />

กับมุงหลังคาชั้น ๓ ปิดทั้งหมด จึงทำให้ไม่มีหอคอย<br />

มาจนถึงปัจจุบันนี้<br />

๓๘. การขนานนามที่ทำการกระทรวงกลาโหม<br />

ท่านใดที่เคยอ่านหนังสือบันทึกทางทหาร อาจ<br />

มีความสงสัยในเรื่องของคำเรียกอาคารสำคัญทาง<br />

ทหารแห่งนี้ว่า ศาลาว่าการกลาโหมบ้าง ศาลายุทธ<br />

นาธิการบ้าง ซึ่งก็กล่าวได้ว่าถูกต้องทุกชื่อ เพราะมี<br />

วิวัฒนาการและประวัติการบัญญัตินามหรือขนาน<br />

นามอาคารที่เรารู้จักในยุคปัจจุบันว่ากระทรวง<br />

กลาโหม ที่เป็นทางการ รวม ๓ ครั้ง กล่าวคือ<br />

50


๑) ปี พ.ศ. ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่าโรงทหารหน้า<br />

๒) ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดการทหาร จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ และใช้โรงทหารหน้า<br />

เป็นที่ทำการกรมยุทธนาธิการ จึงขนานนามว่า ศาลายุทธนาธิการ<br />

๓) ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เมื่อมีพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่กระทรวงกลาโหม ให้ลดฐานะจากกระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ เป็น กรมยุทธนาธิการ และย้ายกระทรวงกลาโหมเข้าสู่โรงทหารหน้าเดิม จึงขนานนามว่า<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

อย่างไรก็ตาม กรมยุทธนาธิการยังมีอยู่ ดังนั้นการเขียนที่อยู่ของหนังสือก็ยังคงใช้ได้ทั้งสองกรณี<br />

คือ ถ้าในกรณีที่หนังสือออกจากกรมยุทธนาธิการซึ่งเป็นส่วนกำลังรบ มักใช้ที่อยู่ว่า ศาลายุทธนาธิการ<br />

แต่หากเป็น กรณีที่หนังสือออกจากกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นส่วนบริหาร มักใช้ที่อยู่ว่า ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งมีความชัดเจนในตัวเองตามภารกิจ<br />

๓๙. พญาคชสีห์<br />

ก่อนจะถึงประตูทางเข้าออก ท่านจะเห็นรูป<br />

หล่อโลหะ องค์พญาคชสีห์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ<br />

กระทรวงกลาโหมในอดีต ซึ่งคชสีห์เปรียบได้กับ<br />

เหล่าทหารหาญทั้งปวงที่ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติและ<br />

ราชบัลลังก์ สำหรับ องค์พญาคชสีห์ จึงถือเสมือน<br />

อธิบดีหรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของเหล่าคชสีห์<br />

ซึ่งมี ๒ องค์ คือ<br />

๑) พญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์ (หรือพญา<br />

คชสีห์ผู้ปกป้องแผ่นดินสยาม) ตั้งอยู่ ณ ประตูทางเข้า<br />

ด้านทิศใต้ (ประตูทางเข้า) ของกระทรวงกลาโหม<br />

๒) พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ (หรือพญา<br />

คชสีห์ผู้ปกป้องดูแลกำลังพลทหาร) ตั้งอยู่ ณ<br />

ประตูทางออกด้านทิศเหนือ (ประตูทางออก)<br />

ของกระทรวงกลาโหม<br />

โดยองค์พญาคชสีห์ทั้งสององค์ ได้ประดิษฐ์<br />

ขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และศาลาว่าการกลาโหม<br />

ครบ ๑๒๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สิริชัย<br />

ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม จึงมีแนวคิดที่จะ<br />

51


จัดสร้างประติมากรรมพญาคชสีห์หล่อด้วยโลหะ<br />

สำริด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์<br />

การทหารไทย ซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดี และ<br />

ถวายการปกป้องพระราชจักรีวงศ์ โดยอาราธนา<br />

พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม<br />

และเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ได้เมตตานุเคราะห์<br />

ขนานนามประติมากรรมพญาคชสีห์ทั้งสององค์<br />

และได้มอบหมายให้ บริษัท เอเชีย ไฟน์ อาร์ท จำกัด<br />

ดำเนินการหล่อประติมากรรมพญาคชสีห์ทั ้ง<br />

สององค์ โดยมีกิจกรรมตามลำดับดังนี้<br />

• พิธีเททอง ในวันศุกร์ที่ ๑๔ เมษายน<br />

๒๕๔๙ ณ โรงหล่อบริษัท เอเชีย ไฟน์<br />

อาร์ท จำกัด อำเภอบางปะหัน จังหวัด<br />

พระนครศรีอยุธยา โดย พระพรหมวชิรญาณ<br />

กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาส<br />

วัดยานนาวา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ<br />

พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส<br />

• พิธีมังคลาภิเษก ในวันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน<br />

๒๕๔๙ ณ ลานอเนกประสงค์ ในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์<br />

ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ<br />

พระสังฆราช และประธานกรรมการ<br />

มหาเถรสมาคม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร<br />

เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลเอก สิริชัย<br />

ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน<br />

ฝ่ายฆราวาส<br />

• พิธีสมโภชเปิดผ้าแพรพญาคชสีห์ ในวัน<br />

อาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ณ ด้านหน้า<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหม โดย ฯพณฯ<br />

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธาน<br />

องคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธี<br />

ทั้งนี้ พญาคชสีห์ทั้งสององค์มีขนาดเท่ากันคือ<br />

ความสูงจากเท้าถึงหัวไหล่ ๑.๒๐ เมตร ความสูง<br />

จากเท้าถึงปลายยอดมงกุฎ ๓.๒๐ เมตร ความสูง<br />

ของฐาน ๑.๓๐ เมตร เมื่อรวมความสูงจากฐาน<br />

ถึงปลายยอดมงกุฎ ๔.๕๐ เมตร องค์พญาคชสีห์<br />

ทั้งสององค์จึงเป็นทั้งสัญลักษณ์ของกระทรวง<br />

กลาโหม และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์<br />

ที่ปกป้องแผ่นดินและปกป้องทหารหาญ<br />

52


๔๐. ภูมิทัศน์หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

หากท่านเคยเห็นภาพศาลาว่าการกลาโหมในอดีต แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันแล้ว จะมีความ<br />

แตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องเพราะภาพศาลาว่าการกลาโหมที่ท่านเห็นมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละ<br />

รัชสมัย ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้มีการปรับภูมิทัศน์เพื่อความเหมาะสมกับการใช้งานและมีหลักคิดที่แตกต่าง<br />

กันไป รวมแล้วถึง ๔ รัชสมัย กล่าวคือ<br />

๑) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการด ำเนินการ<br />

ดังนี้<br />

๑.๑) จัดสร้างสัญลักษณ์ประจำโรงทหารหน้า ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำตราแผ่นดิน<br />

และพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) พร้อมคาถาบาลี ประดิษฐานที่หน้าจั่วอาคารมุขกลางที่สื่อความหมายถึง<br />

พระบรมเดชานุภาพองค์จอมทัพไทยที่ทรงพระราชทานกำเนิดสถานที่แห่งนี้ให้เป็นอาคารพระราชมรดก<br />

การทางทหารเพื่อความเจริญและความมั่นคงแห่งชาติสืบต่อไปในอนาคต รายละเอียดดังกล่าวมาแล้ว<br />

๑.๒) จัดสร้างรูปปูนปั้นหน้าซุ้มประตูทางเข้า - ออก โดยการปั้นในลักษณะปูนปั้นนูนต่ำ<br />

เป็นรูปหน้าทหารสวมหมวกแบบยุโรป และรูปปูนปั้นนูนสูงในส่วนหน้าองค์คชสีห์ ๒ องค์ ขนาบข้าง<br />

อยู่เหนือซุ้มประตูทางเข้า - ออก ด้านถนนสนามไชย<br />

๒) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการ<br />

ดังนี้<br />

๒.๑) จัดทำโคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสติเหนือซุ้มประตูทางเข้า - ออก เพื่อให้กำลังพล<br />

อ่านให้ขึ้นใจ ซึ่งเป็นการปลุกจิตสำนึกความรักชาติเมื่อครั้งสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

๒.๒) จัดทำพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ โดยพิจารณาจัดทำตามรูปแบบที่มีการจัดวางปืนใหญ่<br />

โบราณ ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst Military Academy) ประเทศอังกฤษ โดย<br />

จัดภูมิทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หลังจากนั้นปรับปรุงการจัดวางปืนใหญ่อีก ๑ ครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔<br />

ซึ่งรายละเอียดจะขอกล่าวในเรื่องเกี่ยวกับปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

53


54


๒.๓) ฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ โดยฝังปากกระบอกปืนใหญ่<br />

บริเวณด้านหน้าประตู ทางเข้า - ออก ข้างละ ๒ กระบอก รวมจำนวน ๔ กระบอก<br />

โดยกระทำในลักษณะเช่นเดียวกันกับภูมิทัศน์รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />

๒.๔) จัดสร้างศาลาทรงกลมประกอบภายในสนามด้านหน้า โดย<br />

การสร้างศาลาทรงกลมภายในลักษณะโปร่งมีเสาข้างใน ๘ เสา โดยให้เป็นที่<br />

ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่งหรือวงโยธวาทิต (Military Band) ซึ่งลักษณะ<br />

เช่นเดียวกันนี้ ได้จัดทำที่พระราชวังสราญรมย์ โดยสร้างเป็นศาลา ๘ เหลี่ยม<br />

ใช้สำหรับเป็นที่ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่ง<br />

๓) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยการปรับปรุง<br />

ตามนโยบายรัฐบาลในสมัยนั้น ดังนี้<br />

๓.๑) ต่อเติมมุขหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม พร้อมโคลง<br />

สยามานุสติประกอบ รายละเอียดดังกล่าวมาแล้วในข้อ ๑๘<br />

๓.๒) ปรับปรุงจัดวางปืนใหญ่ไทยโบราณ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๘๓<br />

เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยคงรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณกลางแจ้ง<br />

๔) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม ในวาระต่างๆ มีนโยบายให้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์<br />

ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ดังนี้<br />

๔.๑) จัดสร้างเสาธงชาติเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ<br />

๔.๒) ปรับปรุงการจัดวางปืนใหญ่ไทยโบราณ เพื่อความเหมาะสม<br />

และสนับสนุนการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ โดยมีการปรับปรุงการจัดวาง<br />

รวม ๓ ครั้ง กล่าวคือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗, พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๓๙ และ พ.ศ. ๒๕๔๗<br />

ตามลำดับ<br />

๔.๓) จัดสร้างและจัดวางรูปหล่อโลหะลอยองค์พระยาคชสีห์ โดย<br />

จัดสร้างเป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์พญาคชสีห์ ๒ องค์ คือ พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์<br />

และพญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์ บริเวณก่อนถึงประตู ทางเข้า - ออก ทิศเหนือ<br />

และทิศใต้ตามลำดับ<br />

๔.๔) ปรับปรุงเสาธงชาติหน้าศาลาว่าการกลาโหม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

เพื่อให้เกิดความทันสมัย สวยงาม และโดดเด่น บ่งบอกถึงความสง่างามของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม โดยดำเนินการตามแนวดำริของ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมท่านปัจจุบัน<br />

55


๔๑. เสาธงชาติ<br />

เสาธงชาติ ที่ประดิษฐานหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมได้รับการยกย่องว่ามีความสูงและอลังการ<br />

มาก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าเดิมทีเสาธงชาติ<br />

ประจำศาลาว่าการกลาโหม มิได้ประดิษฐานหน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหม แต่อย่างใด ในทางกลับกัน<br />

เสาธงชาติประจำศาลาว่าการกลาโหมประดิษฐาน<br />

อยู่ภายใน กล่าวคืออยู่บริเวณสนามภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม บริเวณทิศตะวันตกหรืออยู่หลัง<br />

มุขกลาง ต่อมาได้ขยับเสาธงชาติย้ายมาประดิษฐาน<br />

อยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยมีสาระสำคัญ<br />

ของการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑) จัดสร้างครั้งแรก เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล<br />

ในการร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ<br />

(พ.ศ. ๒๕๐๐) และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหมและข้าราชการในสังกัด<br />

จึงกำหนดสร้างเสาธงชาติที่มีความสูง ๒๕ เมตร<br />

ตามจำนวนครบรอบ พุทธศาสนา ๒๕ พุทธศตวรรษ<br />

โดยกำหนดฤกษ์สร้าง ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ ธันวาคม<br />

๒๔๙๗ (วันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเมีย จุลศักราช<br />

๑๓๑๖) เวลา ๑๒.๓๐ น. ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ<br />

ในการจัดสร้างคือ กรมยุทธโยธาทหารเรือ (กรมอู่<br />

ทหารเรือ ในปัจจุบัน) ทำการออกแบบและจัดสร้าง<br />

โดย พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ (อดีตอธิบดีกรม<br />

ศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ) อดีตสถาปนิกประจำ<br />

กรมยุทธโยธาทหารเรือ และได้ประกอบพิธีเชิญธง<br />

ขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๙๘<br />

เวลา ๐๘.๐๐ น. โดย พลโทหลวงสถิตยุทธการ<br />

(ยศในขณะนั้น) อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒) จัดสร้างครั้งที่สอง เพื่อปรับปรุงให้เกิด<br />

ความทันสมัย สวยงาม และโดดเด่น บ่งบอกถึง<br />

ความสง่างามของศาลาว่าการกลาโหม โดยดำเนินการ<br />

ตามแนวดำริของ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งทำพิธีตอกเสาเข็ม<br />

เพื่อเป็นมงคลในการก่อสร้างในวันศุกร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์<br />

๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๓๙ น. และได้ประกอบพิธีเชิญ<br />

ธงขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรกในวันศุกร์ที่ ๕ เมษายน<br />

๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. โดย พลเอก ทนงศักดิ์<br />

อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหมท่านปัจจุบัน<br />

๔๒. การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ<br />

เคยมีผู้ตั ้งข้อสังเกตและสงสัยจำนวนไม่น้อย<br />

และมักจะตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงต้องฝังปากกระบอก<br />

ปืนใหญ่โบราณ และที่หน้าศาลาว่าการกลาโหมก็มี<br />

การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณด้วย<br />

แนวความคิดการฝังปากกระบอกปืนใหญ่<br />

โบราณดังกล่าว ทำขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึง<br />

เขตแนว (หลักเขต) และเพื่อความมั่นคงของสถานที่<br />

ซึ่งปืนที่ใช้ฝังเป็นหลักเขตคือ ปืนคาร์โรเน็ต โดยมี<br />

สาระสำคัญ ดังนี้<br />

56


๑) ปืนคาร์โรเน็ต<br />

๑.๑) เป็นปืนใหญ่โบราณที่บรรจุกระสุน<br />

จากปากลำกล้อง ไม่มีเกลียวในลำกล้อง หล่อขึ้น<br />

ใช้ครั้งแรก ราวปี ค.ศ. ๑๗๗๖ หรือ ปี พ.ศ. ๒๓๑๙<br />

สมัยกรุงธนบุรี โดย บริษัท Iron Company Of<br />

Carron COMPANY (ตั้งอยู่ที่เมือง Stirlingshire<br />

ประเทศสกอตแลนด์)<br />

๑.๒) ลักษณะปืน ได้รับการออกแบบ<br />

ระหว่างหลักนิยมของปืนใหญ่และเครื่องยิงลูก<br />

ระเบิดเข้าด้วยกัน ไม่มีเพลาข้าง แต่มีเพลาเป็นแท่ง<br />

ติดใต้ลำกล้องทำให้สามารถยิงลูกกระสุนขนาดใหญ่<br />

ได้ นิยมนำไปติดตั้งบนเรือรบมีอานุภาพการปราบ<br />

ระยะประชิดการ<br />

๑.๓) เริ่มมีการสั่งซื้อเข้ามาในประเทศไทย<br />

พร้อมกับปืนบะเรียม (ปืนบะเหรียม หรือ ปืนใหญ่<br />

ทหารราบ ท้ายปืนมีรูปมน ปากกระบอกเรียวและ<br />

แคบ) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและต้น<br />

กรุงรัตนโกสินทร์<br />

๒) การจัดวางปืน<br />

๒.๑) บริเวณหน้าประตูเข้า - ออกศาลา<br />

ว่าการกลาโหม สันนิษฐานว่า มีการจัดตั้งปืน<br />

คาร์โรเน็ต บริเวณหน้าประตูเข้า - ออก ศาลาว่าการ<br />

กลาโหมในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์<br />

กล่าวคือ<br />

(๑) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เนื่องจากศาลาว่าการกลาโหมเป็นสถานที่<br />

ราชการแห่งแรกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง<br />

ขึ้นเช่นเดียวกับการฝังปืนใหญ่หุ้มปากกระบอกปืน<br />

ลงดินและทับท้ายด้วยกระบอกปืนขึ้นชี้ฟ้า (ฝัง<br />

ปากกระบอก) บริเวณถนนด้านหน้าศาลาสหทัย<br />

สมาคม และถนนภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณ<br />

ประตูวิเศษไชยศรี หรือ<br />

(๒) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงพระราชทาน<br />

ปืนใหญ่โบราณให้แก่กระทรวงกลาโหม และทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์<br />

ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม ระหว่าง<br />

ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๖๒ โปรดเกล้าฯ ให้นำปืนใหญ่<br />

คาร์โรเน็ต มาตั้งไว้ที่บริเวณประตูทาง เข้า - ออก<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เนื่องเพราะพระองค์ทรง<br />

มีพระราชนิยมปืนใหญ่และเคยทอดพระเนตร<br />

การจัดตั้งปืนใหญ่ในยุโรป<br />

การจัดวางหมู่ปืนใหญ่โบราณ หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตามพระราชนิยมในสมัยของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นครั้งแรก (ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐)<br />

57


58<br />

ตำแหน่งการจัดวางปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม ในปัจจุบัน (ครั้งที่ ๖)<br />

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗


ลักษณะการจัดวาง สืบเนื่องด้วยคุณลักษณะ<br />

ของปืนคาร์โรเน็ต และพื้นที่บริเวณหน้าประตู<br />

เข้า - ออกศาลาว่าการกลาโหม จึงจำเป็นต้องหัน<br />

ปากกระบอกปืนลงดินและหันท้ายปืนขึ้นสู่ฟ้า<br />

๒.๒) บริเวณด้านข้างหลังศาลเจ้าพ่อหอกลอง<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม จัดตั้งในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

โดยนำปืนคาร์โรเน็ตที่เคยจัดวางไว้ในโรงปืนใหญ่<br />

ในพระบรมมหาราชวัง (ขุดค้นพบเมื่อครั้งบูรณ<br />

ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๕๒๕) และนำมาวางบริเวณด้านหลังศาล<br />

เจ้าพ่อหอกลอง (พระยาสีห์สุรศักดิ์) กลางสนาม<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อครั ้งจัดสร้าง<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลองใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖<br />

ทั้งนี้ การจัดวางปืนใหญ่โดยฝังปากกระบอก<br />

ปืนลงดินในกรุงเทพมหานครยุคต่อมาได้จัดทำขึ้น<br />

ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนราชดำเนิน<br />

ซึ่งมีแนวคิดในการสร้าง กล่าวคือ<br />

“...ปืนใหญ่โบราณที่ปากกระบอกปืนฝังลงดิน<br />

โดยรอบอนุสาวรีย์เหมือนเป็นรั้ว<br />

ร้อยติดกันด้วยโซ่เหล็ก หมายถึง ความสามัคคี<br />

พร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ เว้นช่องเฉพาะ<br />

ทางขึ้นลง มี ๗๕ กระบอก หมายถึง พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง...”<br />

อย่างไรก็ตาม การวางปืนใหญ่โบราณที่มี<br />

ลักษณะที่แตกต่างจากที่ศาลาว่าการกลาโหมก็มีขึ้น<br />

ที่ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดย<br />

การวางปืนใหญ่ตั้งปากกระบอกปืนขึ้นสู่ฟ้าและนำ<br />

เอาเสาธงชาติมาติดตั้งต่อยอดจากปากกระบอกปืน<br />

และใช้เป็นเสาธงชาติของโรงเรียน<br />

๔๓. ปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม<br />

กระทรวงกลาโหม ที่ประชาชนชาวไทยรู้จัก<br />

มักจะรู้จักกันตรงที่มีปืนใหญ่ตั้งอยู่หน้ากระทรวง<br />

เป็นจุดสนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาว<br />

ไทยและต่างประเทศ ซึ่งหากท่านนัดกันกับเพื่อน<br />

มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

(วัดพระแก้ว) ส่วนใหญ่จะมีการกำหนดจุดนัดพบ<br />

กันที่หน้าปืนใหญ่ ซึ ่งมีประชาชนชาวไทยจำนวน<br />

ไม่น้อยต่างก็ให้ความสนใจในเรื่องปืนใหญ่หน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เพราะเปรียบได้ว่าเป็น พิพิธภัณฑ์<br />

กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม<br />

ปัจจุบัน ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมมีอยู่จำนวน ๔๐ กระบอก แต่มีแผนที่จะ<br />

นำปืนใหญ่อีก ๒ กระบอก มาตั้งอีกด้วย คือปืน<br />

พระมหาฤกษ์ และปืนพระมหาไชย ซึ่งปัจจุบันเก็บ<br />

รักษาไว้ที่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี<br />

ซึ่งก็ได้จัดเตรียมพื้นที่ไว้แล้วบริเวณข้างเสาธงชาติ<br />

ด้านทิศเหนือและทิศใต้<br />

ขอเรียนว่าปืนใหญ่ทุกกระบอกทั้ง ๔๐ กระบอก<br />

มีการใช้ต่อสู้ปกป้องรักษาเอกราชและอธิปไตยของ<br />

ชาติมาแล้วทั้งสิ้น และปืนทั้ง ๔๐ กระบอกใน<br />

ปัจจุบัน มีชื่อปืนรวม ๓๘ กระบอก ยกเว้นปืนใหญ่<br />

กระบอกเดียวที่ระบุเฉพาะปีที่สร้างและหมายเลข<br />

ปืน คือ P.1009 1860 และ P.1010 1860 อย่างไร<br />

ก็ตาม ในปืนใหญ่ที่มีชื่อทั้ง ๓๘ กระบอกนั้น ส่วน<br />

ใหญ่มีชื่อเป็นภาษาไทย แต่ก็มีพิเศษอยู่ ๑ กระบอก<br />

ที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ คือ SMICVEL 1624<br />

จึงสรุปได้ว่า ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม มีชื่อภาษาไทย ๓๗ กระบอก มีชื่อภาษา<br />

อังกฤษ ๑ กระบอก และไม่มีชื่ออีก ๒ กระบอก<br />

59


ปืนใหญ่ภูเขาแบบ ๓๐ ขนาดกว้างปากลำกล้อง ๗ เซนติเมตร<br />

ถ่ายในกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒<br />

๔๔. ประวัติและความเป็นมาของปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม<br />

ปืนใหญ่โบราณที่ประดิษฐานหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหมหรือชื่อที่เรียกในสมัยโบราณคือ สีหนาท<br />

ปืนไฟ ซึ่งเป็นอาวุธสงครามที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงในระยะไกล มีไว้ประจำกองทัพมาแต่โบราณ<br />

ปืนใหญ่ที่ใช้ทั่วไปจะมี ปืนใหญ่ประจำป้อม และ ปืนใหญ่สนาม ตามหลักฐานที่ปรากฏประเทศไทยมีการใช้<br />

ปืนใหญ่มาตั้งแต่ปลายสมัยสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ปืนใหญ่ที่นำมาใช้ในกองทัพ มีทั้งปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นใช้เองและมีทั้งที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ประเทศไทย<br />

เริ่มหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้เองครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้หล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้ โดยโรงหล่อปืนใหญ่นั้นตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในหมู่บ้านฮอลันดา ว่ากันว่าปืนใหญ่<br />

ที่หล่อด้วยทองเหลืองของกรุงศรีอยุธยามีคุณภาพดีทัดเทียมกับปืนใหญ่ที่หล่อในยุโรป ทั้งยังทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ส่งปืนใหญ่ที่หล่อที่กรุงศรีอยุธยาส่งเป็นเครื่องบรรณาการเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีแด่พระเจ้า<br />

หลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส จำนวน ๒ กระบอก<br />

ประเทศไทยได้มีการหล่อปืนใหญ่ใช้อย่างต่อเนื่องเพราะถือเป็นแสนยานุภาพในการป้องกันประเทศ<br />

และต่อสู้กับข้าศึกขึ้นใช้ครั้งสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานที่ปรากฏ<br />

พบปืนใหญ่ที่ประเทศไทยหล่อขึ้นเพื่อใช้เองมีอยู่จำนวน ๒๒๗ กระบอก ปืนใหญ่บางกระบอก จมน้ำหาย<br />

บ้าง ถูกทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาบ้าง<br />

สำหรับปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ได้มีการบันทึกและร้อยกรองไว้ใน กาพย์ห่อโคลงเห่ชม<br />

ปืนใหญ่ กระทรวงกลาโหม ในบทนำเป็นโคลงสี่สุภาพ ที่ว่า<br />

๐ เอกราชคงคู่ฟ้าเมืองไทย มั่นเอย<br />

มีสีหนาทปืนไฟ ต่อสู้<br />

จารึกเกียรติเกริกไกร คงมั่นเคียงด้าว<br />

ขานเพื่อชนไทยรู้ ก่อเกื้อศรัทธาฯ<br />

60


๔๕. ประเภทของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม สามารถจำแนก<br />

ตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ ออกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้<br />

๑. ปืนใหญ่โบราณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น จำนวน ๗ กระบอก ประกอบด้วย<br />

นารายน์สังหาร มารประไลย ไหวอรนพ พระพิรุณแสนห่า พลิกพสุธาหงาย<br />

พระอิศวรปราบจักรวาล และ พระกาลผลาญโลกย<br />

๒. ปืนใหญ่โบราณที่สร้างในต่างประเทศ จำนวน ๑๓ กระบอก ประกอบ<br />

ด้วย อัคนิรุท SMICVEL P1009 1860 P1010 1860 มักกะสันแหกค่าย<br />

เหราใจร้าย มังกรใจกล้า คนธรรพแผลงฤทธิ์ ลมประลัยกัลป พรหมมาศปราบมาร<br />

นิลนนแทงเขน ไวยราพฟาดรถ และ มหาจักรกรด<br />

๓. ปืนใหญ่โบราณที่ได้จากการไปราชการสงครามและนำกลับมา จำนวน<br />

๓ กระบอก ประกอบด้วย พญาตานี ชะนะหงษา และ ปราบอังวะ<br />

๔. ปืนใหญ่ที่สร้างในประเทศไทยโดย หลวงบรรจงรจนา เป็นผู้สร้าง จำนวน<br />

๖ กระบอก ประกอบด้วย ศิลป์นารายน์ ปีศาจเชือดฉีกกิน ธรณีไหว ไฟมหากาล<br />

มารกระบิล และ ปล้องตันหักคอเสือ<br />

๕. ปืนใหญ่อื่น จำนวน ๑๓ กระบอก ประกอบด้วย พระมหาฤกษ์ พระมหาไชย<br />

ถอนพระสุเมรุ ไตรภพพ่าย จีนสาวไส้ ไทยใหญ่เล่นหน้า ฝรั่งร้ายปืนแม่น<br />

ขอมดำดิน ยวนง่าง้าว เสือร้ายเผ่นทยาน สายอสุนีแผ้วราตรี มุหงิดทลวงฟัน และ<br />

แมนแทงทวน ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือการได้มาแต่อย่างใด<br />

61


๔๖. การแบ่งยุคของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

เพื่อความชัดเจนและเป็นการนำเสนอข้อมูลการสร้างปืนใหญ่โบราณที่นำมาจัดวางหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม สามารถแบ่งยุคของปืนใหญ่โบราณและปีที่สร้างเทียบเคียงตามประวัติศาสตร์ชาติไทยเป็นเกณฑ์<br />

สามารถแบ่งได้ ดังนี้<br />

ยุคที่ ๑ : กรุงศรีอยุธยา<br />

๑. ปืนอัคนิรุท สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๗ โดย ประเทศสเปน<br />

๒. ปืน SMICVEL สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๘ โดย ประเทศสเปน<br />

๓. ปืนเหราใจร้าย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๑๐ โดย ยาน เดอะ ล่าครัวกซ์<br />

๔. ปืนมังกรใจกล้า สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๑๓ โดย ยาน เดอะ ล่าครัวกซ์<br />

๕. ปืนชะนะหงษา สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

ยุคที่ ๒ : กรุงธนบุรี<br />

๖. ปืนคนธรรพแผลงฤทธิ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๑ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๗. ปืนมหาจักรกรด สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๑ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๘. ปืนปราบอังวะ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๙. ปืนพิรุณแสนห่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

ยุคที่ ๓ : กรุงรัตนโกสินทร์<br />

๑๐. ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๑. ปืนนารายน์สังหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๒. ปืนพลิกพสุธาหงาย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๓. ปืนมารประไลย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๔. ปืนไหวอรนพ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๕. ปืนพระกาลผลาญโลกย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

ทั้งนี้ ปืนลำดับ ๑๐ - ๑๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

๑๖. ปืนปีศาจเชือดฉีกกิน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๗. ปืนธรณีไหว สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๘. ปืนไฟมหากาฬ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๙. ปืนมารกระบิล สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๐. ปืนศิลปนารายน์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๑. ปืนปล้องตันหักคอเสือ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๒. ปืนพรหมมาศปราบมาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

62


๒๓. ปืนลมประไลยกัลป สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๑ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๒๔. ปืน P 1009 1860 สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๓<br />

๒๕. ปืน P 1010 1860 สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๓<br />

๒๖. ปืนพญาตานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๙<br />

๒๗. ปืนไทยใหญ่เล่นหน้า<br />

๒๘. ปืนฝรั่งร้ายปืนแม่น<br />

๒๙. ปืนขอมดำดิน<br />

๓๐. ปืนยวนง่าง้าว<br />

๓๑. ปืนมุหงิดทลวงฟัน<br />

๓๒. ปืนแมนแทงทวน<br />

๓๓. ปืนจีนสาวไส้<br />

๓๔. ปืนมักกะสันแหกค่าย<br />

๓๕. ปืนนิลนนแทงเขน<br />

๓๖. ปืนไวยราพฟาดรถ<br />

๓๗. ปืนเสือร้ายเผ่นทยาน<br />

๓๘. ปืนสายอสุนีแผ้วราตรี<br />

๓๙. ปืนถอนพระสุเมรุ<br />

๔๐. ปืนไตรภพพ่าย<br />

ปืนพระพิรุณแสนห่า<br />

๔๑. ปืนพระมหาฤกษ์<br />

๔๒. ปืนพระมหาไชย<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปืนลำดับ ๒๗ - ๔๐ ไม่ทราบปีที่สร้างและผู้สร้าง แต่ปืนลำดับที่ ๔๑ - ๔๒ พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแต่ไม่ทราบปีสร้าง<br />

ปืนพญาตานี<br />

63


๔๗. รายละเอียดของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้ง<br />

ที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

รายละเอียดของปืนใหญ่โบราณที่จัดวาง<br />

บริเวณสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหมและมีแผน<br />

จะนำมาจัดวาง ทั้ง ๔๒ กระบอกมี ดังนี้<br />

๑) ปืนพระมหาฤกษ์ใช้สำหรับยิงเป็นสัญญาณ<br />

ยกทัพ และพระราชพิธี ลักษณะเด่นของปืน<br />

คือ มีลายประดับตัวปืนเป็นลวดลายคร่ำเงิน<br />

เป็นปืนใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

จัดสร้างขึ้นเป็นปืนคู่แฝด หล่อด้วยสัมฤทธิ์ มีขนาด<br />

เท่ากัน กล่าวคือ มีความยาว ๒.๒๐ เมตร ลำกล้อง<br />

กว้าง ๑๑๕ มิลลิเมตร<br />

๒) ปืนพระมหาไชย ใช้สำหรับยิงเป็นสัญญาณ<br />

ในยามมีชัยชนะ ลักษณะเด่นของปืนคือมีลาย<br />

ประดับตัวปืนเป็นลวดลายคร่ำทองเป็นปืนใหญ่ที่<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็น<br />

ปืนคู่แฝด หล่อด้วยสัมฤทธิ์ มีขนาดเท่ากัน กล่าวคือ<br />

มีความยาว ๒.๒๐ เมตร ลำกล้องกว้าง ๑๑๕<br />

มิลลิเมตร<br />

โดยที่ ปืนลำดับที่ ๑ และ ๒ นี้ แต่เดิมอยู่ที่<br />

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาศูนย์การทหารปืนใหญ่<br />

ได้รับปืนพระมหาฤกษ์และปืนพระมหาไชย<br />

จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาจัดตั้งที่พิพิธภัณฑ์<br />

ทหารปืนใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๓ และ<br />

วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ตามลำดับ ต่อมา ในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๔๗ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ได้มอบปืน<br />

พระมหาฤกษ์ และปืนพระมหาไชย ให้กระทรวง<br />

กลาโหม จัดตั้งที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๓) ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล เป็นปืนที่<br />

หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายกนก<br />

หน้าสิงห์งดงามมาก ที่เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูป<br />

คนมีปีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น<br />

โดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

ปืนมารประไลย<br />

64


๔) ปืนพระกาลผลาญโลกย เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายหน้าสิงห์<br />

ประกอบกนกสวยงามมาก เพลามีรูปกินรี รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีกจับกนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด<br />

สร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตู<br />

วิเศษไชยศรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐ โดยหล่อเป็น<br />

ปืนคู่แฝดกับปืนพระอิศวรปราบจักรวาล<br />

๕) ปืนมารประไลย เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีห่วงสำหรับยก ๔ ห่วง ตอนท้าย<br />

ลำกล้องมีรูปคนมีลวดลายและรูปคนมีปีก เพลามีรูป<br />

ดอกไม้ รูชนวนมีฝาปิดเปิด มีรูปหนุมาน ท้ายล ำกล้อง<br />

ทำเป็นรูปสังข์หรือเขางอน มีลวดลายปะจัง ซึ่งทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่<br />

หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๖) ปืนไหวอรนพ เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก มีลวดลายประดับ เพลามีรูป<br />

ดอกไม้รูชนวนธรรมดา พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนน<br />

ประตูวิเศษไชยศรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๗) ปืนพระพิรุณแสนห่า เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีลวดลายประดับมีห่วงสำหรับจับยก<br />

๔ ห่วงมีรูปราชสีห์เผ่นผงาดที่เพลา รูชนวนมีรูปกนก<br />

หน้าสิงห์ขบท้ายรูปลูกฟัก สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง<br />

โดยหล่อ ณ สวนมังคุด บริเวณโรงพยาบาลวังหลัง<br />

คือ ศิริราชพยาบาลในพระราชพงศาวดาร<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงสร้าง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๐ ที่สร้างนั้นยังเป็น<br />

รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

๘) ปืนพลิกพสุธาหงาย เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีห่วงสำหรับจับยก ๔ ห่วง มีลวดลาย<br />

ประดับประดา เพลามีรูปคชสีห์ รูชนวนมีรูปกนก<br />

ท้ายรูปลูกฟัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง<br />

ขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษ<br />

ไชยศรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๙) ปืนพญาตานี เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์<br />

มีห่วงใหญ่สำหรับจับยก ๔ ห่วง ตอนท้ายลำกล้อง<br />

มีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป ทำเป็นรูปสังข์<br />

หรือเขางอน ที่เพลามีรูปราชสีห์สลักงดงาม เกลี้ยง<br />

ไม่มีลวดลายประดับ ใหญ่และยาวที่สุด ในบรรดา<br />

ปืนโบราณที่ตั้งไว้หน้ากระทรวงกลาโหม นางพญา<br />

ปัตตานี ศรีวัน เจ้าเมืองปัตตานี (คือ จังหวัดปัตตานี<br />

ปัจจุบัน) ให้นายช่างชาวจีนฮกเกี้ยง แซ่หลิม ชื่อเคียม<br />

ซึ่งชาวมลายู เรียกกันว่า หลิมโต๊ะเคียม เป็นผู้สร้าง<br />

ณ ตำบลบ้านกะเสะ (กรือเซะ) ในเมืองปัตตานี<br />

วันเดือนปีที่หล่อไม่ปรากฏในหลักฐานสมเด็จ<br />

พระบรมราชจักรีวงศ์ ได้รับพระบรมราชโองการให้<br />

เป็นแม่ทัพ เสด็จยกทัพไปรบพม่าข้าศึก ซึ่งยกมาตี<br />

หัวเมืองภาคใต้ของไทย ครั้งทรงชนะข้าศึกแล้ว<br />

ได้ทรงปราบปรามหัวเมืองภาคใต้ ซึ่งมักคอยจะ<br />

เอาใจออกห่างจากไทยไปอื่น ทรงมีชัยชนะราบคาบ<br />

แล้วได้ปืนกระบอกนี้มาจากเมืองปัตตานี เมื่อปี<br />

มะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ (พ.ศ. ๒๓๒๙) และ<br />

นำมาทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๒๙<br />

๑๐) ปืนนารายน์สังหาร เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีวงแหวนใหญ่สำหรับจับยก ๔ วง<br />

ท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป ทำเป็น<br />

รูปสังข์หรือเขางอนเกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อ<br />

ที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

65


๑๑) ปืนชะนะหงษา เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายล ำกล้องมีรูป<br />

ดอกไม้ ใบไม้ รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้าง ณ โรงงาน<br />

ที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๓๑๐ ปืนกระบอกนี้<br />

น่าจะได้โดยเสด็จไปในกองทัพ เพื่อใช้งานในราชการ<br />

สงคราม คราวที่ได้ชัยชนะพวกพม่าข้าศึกซึ่ง<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงดำรงตำแหน่งเป็นจอมทัพ เสด็จกรีธาทัพข้าม<br />

ทิวเขาเตนเนสเซอริม เข้ายึดเมืองทวายได้ เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๑๒) ปืนอัคนิรุทเป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปปีกและดาว ๑ ดวง มีรูป<br />

เครื่องหมายชาติสเปน สร้างที่ประเทศสเปน เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๑๖๗<br />

๑๓) ปืน SMICVEL ปืนกระบอกนี้เป็นปืน<br />

ที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่งมีรูปปีกและ<br />

ดาว ๑ ดวง มีรูปเครื่องหมายชาติสเปน สันนิษฐานว่า<br />

สร้างในประเทศสเปน เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๘<br />

๑๔) ปืนมังกรใจกล้า เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปกนกและรูปมงกุฎ<br />

รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า คนโปรตุเกสครึ่งชาติ<br />

ผู้เข้าไปอยู่ในราชสำนักพระเจ้าแผ่นดิน เว้นประเทศ<br />

อินโดจีน มีชื่อว่า LOAO DA CRUS หรือที่เรียกกัน<br />

ว่ายาน เดอะ ล่าครัวกซ์ เป็นนายช่างผู้สร้าง หรือ<br />

ควบคุมการสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๓ (ค.ศ. ๑๖๗๐)<br />

๑๕) ปืนเหราใจร้าย เป็นปืนที ่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปกนกและรูปมงกุฎ<br />

รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า คนโปรตุเกสครึ่งชาติ<br />

ผู้เข้าไปอยู่ในราชสำนักพระเจ้าแผ่นดิน เว้นประเทศ<br />

อินโดจีน เป็นนายช่างผู้สร้าง หรือควบคุมการสร้าง<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๗<br />

๑๖) ปืนคนธรรพแผลงฤทธิ์ เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่งตอนท้ายลำกล้อง<br />

66<br />

มีรูปมงกุฎและดอกไม้ใบไม้ รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้าง<br />

ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่างชื่อ<br />

เจ.เบรังเยร์ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๓๑๑<br />

๑๗) ปืนปราบอังวะ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

มงกุฎ และลายกนกใบไม้ รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้างที่<br />

โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ สันนิษฐานว่า น่าจะได้โดยเสด็จไป<br />

ในราชการสงคราม คราวพระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเป็นแม่ทัพ ยกไป<br />

รบพม่า ครั้งได้เมืองทวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

(จ.ศ. ๑๑๕๔) พระราชทานชื่อภายหลัง เพื่อเป็น<br />

ที่ระลึกในชัยชนะ เช่นเดียวกับปืนชะนะหงษา<br />

๑๘) ปืนมหาจักรกรด เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปดอกไม้ใบไม้ รูปมงกุฎบนลายกนก รูชนวนมีรูป<br />

กนก สร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดย<br />

นายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์ เมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๓๑๑<br />

๑๙) ปืนปีศาจเชือดฉีกกิน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายเครื่อง<br />

ประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปอาทิตย์ส่องแสง<br />

เพลามีรูปพญานาค รูชนวนมีรูปคนมีปีก โดยหลวง<br />

บรรจงรจนา เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อเมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๐) ปืนธรณีไหว เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอน<br />

ท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีกที่เพลามีรูปสิงโต โดยหลวงบรรจงรจนา<br />

เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๑) ปืนไฟมหากาฬ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง<br />

รูชนวนมีรูปคนมีปีก โดยหลวงบรรจงรจนา เป็น<br />

นายช่างผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕


ปืนนารายณ์สังหาร<br />

ปืนพลิกพสุธาหงาย<br />

67<br />

66


68


๒๒) ปืนมารกระบิล เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอน<br />

ท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีก โดยหลวงบรรจงรจนาเป็นนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๓) ปืนศิลป์นารายน์ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปคล้ายอาทิตย์ส่องแสง เพลามีรูปราชสีห์ รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีก โดยหลวงบรรจงรจนา เป็นนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๔) ปืนปล้องตันปราบเสือ เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง<br />

ที่เพลามีรูปสิงโต รูชนวนชำรุด โดยหลวงบรรจงรจนา<br />

เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๕) ปืนพรหมมาศปราบมาร เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้อง<br />

มีรูปคนมีปีกจับกนก รูปมงกุฎกนกรูชนวนรูปดอกไม้<br />

สร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ เมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๓๓๕<br />

๒๖) ปืนลมประไลยกัลป เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปดอกไม้ใบไม้ มีรูปมงกุฎบนกนกรูชนวนรูปใบไม้<br />

สร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ เมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๓๔๑<br />

๒๗) ปืนไทยใหญ่เล่นหน้า เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คนมีปีกจับกนก รอบท้ายลำกล้องมีลายดอกไม้ใบไม้<br />

ที่เพลามีรูปคนมีปีก ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง<br />

เมื่อไร หรือได้มาจากใคร<br />

๒๘) ปืนฝรั่งร้ายปืนแม่น เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปคนมีปีกจับกนก รอบท้ายลำกล้องมีลายดอกไม้<br />

ใบไม้ รูชนวนมีรูปคนมีปีกสันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทย<br />

สั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น<br />

สร้างในประเทศไทยตามแบบของนายช่างชื่อ<br />

เจ.เบรังเยร์<br />

๒๙) ปืนขอมดำดิน เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<br />

ปีกจับกนก รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า น่าจะ<br />

สร้างที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาล<br />

ไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือ<br />

มิฉะนั้นสร้างในประเทศไทยตามแบบของนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๐) ปืนยวนง่าง้าว เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายดอกไม้ใบไม้<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีปีกจับกนกเพลา มีรูป<br />

กินรี รูชนวนมีรูปกินรี สันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส<br />

๓๑) ปืนมุหงิดทลวงฟัน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คนมีปีกจับกนก เพลามีรูปกินรี มีลวดลายประดับ<br />

รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่<br />

โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทย<br />

สั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น<br />

ก็สร้างในประเทศไทยตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๒) ปืนแมนแทงทวน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คนมีปีกจับกนก เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีก<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศ<br />

ฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษา<br />

ต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น ก็สร้างในประเทศไทย<br />

ตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๓) ปืนจีนสาวไส้ เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายดอกไม้ใบไม้ประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีปีกจับกนก เพลามีรูป<br />

กินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

69


ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทย<br />

สั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น<br />

สร้างในประเทศไทยตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๔) ปืนมักกะสันแหกค่าย เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายดอกไม้<br />

ใบไม้ประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีปีกจับกนก<br />

เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า<br />

น่าจะสร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส<br />

โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ<br />

หรือมิฉะนั้น สร้างในประเทศไทยตามแบบของ<br />

เจ.เบรังเยร์<br />

๓๕) ปืนนิลนนแทงเขน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายดอกบัว รูชนวน<br />

ธรรมดา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปืนของญวน<br />

ซึ่งเก็บมาเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะในสงคราม<br />

ครั้งใดครั้งหนึ่ง<br />

๓๖) ปืนเสือร้ายเผ่นทยาน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก เกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ<br />

ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มาอย่างไร<br />

เมื่อไร<br />

๓๗) ปืนไวยราพฟาดรถ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายดอกบัวรูชนวนธรรมดา<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปืนของญวน ซึ่งเก็บมาเป็น<br />

เครื่องหมายแห่งชัยชนะในสงครามครั้งใดครั้งหนึ่ง<br />

๓๘) ปืนสายอสุนีแผ้วราตรี เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยกคู่หนึ่ง เกลี้ยงไม่มี<br />

ลวดลายประดับ ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง<br />

หรือได้มาอย่างไร เมื่อไร<br />

๓๙) ปืนถอนพระสุเมรุ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยก ๒ คู่ มีลวดลายประดับ<br />

เพลามีรูปดอกไม้ รูชนวนมีรูปคน ท้ายรูปลูกฟัก<br />

ผู้ใดสร้าง ณ ที่ใด เมื่อไร ใช้ราชการครั้งใดบ้าง<br />

ยังไม่พบหลักฐาน<br />

๔๐) ปืนไตรภพพ่าย เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก เกลี้ยงไม่มีลวดลาย เพลามีรูป<br />

ดอกไม้ รูชนวนธรรมดา ผู้ใดสร้าง ณ ที่ใดหรือได้มา<br />

อย่างไร ใช้ราชการครั้งใดบ้าง ยังไม่พบหลักฐาน<br />

๔๑) ปืน P 1009 1860 เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก ไม่มีชื่อภาษาไทย มีรูปมงกุฎ<br />

ที่กระบอก ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มา<br />

อย่างไร เมื่อไร<br />

๔๒) ปืน P1010 1860 เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก ไม่มีชื่อภาษาไทย มีรูปมงกุฎ<br />

ที่กระบอก ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มา<br />

อย่างไร เมื่อไร<br />

70


๔๘. การจัดภูมิทัศน์พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ<br />

ปืนใหญ่โบราณที่จัดวางหน้าศาลาว่าการกลาโหมที่เรียกว่า พิพิธภัณฑ์กลาง<br />

แจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม มีการจัดภูมิทัศน์ในการจัดวาง<br />

มาแล้ว รวม ๖ ครั้ง เรียงลำดับ ดังนี้<br />

๑) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะนำปืนใหญ่โบราณ ซึ่งมี<br />

เกียรติประวัติร่วมทำสงครามในกองทัพสยาม มาจัดแสดงให้สาธารณชนได้ชม<br />

ตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจการทหารตะวันตก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำ<br />

ปืนใหญ่โบราณที่เก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า มาจัดวางบริเวณ<br />

ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม สันนิษฐานว่า การจัดวางปืนใหญ่นี้เป็นไปตาม<br />

พระราชนิยมครั้งที่ทรงศึกษาวิชาทหาร ณ โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst<br />

Military Academy) ประเทศอังกฤษ ที่มีการจัดวางปืนใหญ่บริเวณด้านหน้าอาคาร<br />

College Chapel ของสถาบันทหารแห่งนี้ โดยจัดวางปืนใหญ่ที่มีเกียรติประวัติ<br />

ในการสงคราม จำนวน ๖ กระบอก ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ ดยุค ออฟ เวลลิงตัน<br />

(Duke of Wellington) ใช้ในสงครามที่ วอเตอร์ลู (Waterloo) ซึ่งสงครามครั้งนั้น<br />

เป็นสงครามที่อังกฤษสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสอันเกรียงไกรของกษัตริย์<br />

นโปเลียน (Napoleaon) ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จ<br />

พระอนุชาธิราชเจ้า เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ<br />

(พระยศในขณะนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก ให้ทรงดำเนินการ<br />

จัดวางปืนใหญ่และจัดภูมิทัศน์ จึงเป็นการจัดวางปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมและเป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์การทหารกลางแจ้งเป็นครั้งแรก ซึ่งในครั้งนี้<br />

ปืนใหญ่พญาตานีได้จัดวางด้านถนนกัลยาณไมตรี<br />

๒) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ นายพลเอก<br />

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ปลัดทูลฉลองและรั้งตำแหน่ง<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ปรับแผนการจัดวาง<br />

และนำปืนใหญ่โบราณจากโรงปืนใหญ่ในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า จำนวน<br />

๖๓ กระบอกมาจัดวาง ณ สนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม พร้อมจัดทำ<br />

ประวัติปืนใหญ่โบราณเป็นครั้งแรก โดย นายพลตรี พระยาอินทรวิชิต (รัตน วิชิต<br />

อาวุธ) เจ้ากรมตำราทหารบก ได้มอบหมายให้ นายพันโท หม่อมเจ้าสมบูรณ์ศักดิ์<br />

เป็นผู้แปลและเรียบเรียงประวัติปืนใหญ่โบราณเหล่านั้น การปรับการจัดวาง<br />

ปืนใหญ่โบราณครั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กลางแจ้ง<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหม ที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรก<br />

นายพลเอก สมเด็จ<br />

พระอนุชาธิราชเจ้า<br />

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ<br />

กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ<br />

นายพลเอก<br />

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต<br />

(แย้ม ณ นคร)<br />

71


๓) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๓<br />

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๘๓ โดย จอมพล<br />

ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม และนายพลโทพระยาศักดิ์ดา<br />

ดุลยฤทธิ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ปรับการจัดวาง<br />

ปืนใหญ่โบราณและปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ด้วยการดำเนินการ ดังนี้<br />

๓.๑) นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไป<br />

ตั้งแสดง ณ หน่วยทหารที่จังหวัดลพบุรี<br />

๓.๒) นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไป<br />

ตั้งแสดง ณ ทำเนียบรัฐบาล ทำให้คงเหลือปืนใหญ่<br />

โบราณที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม จ ำนวน ๔๐ กระบอก<br />

ทั้งนี้ ได้คงปืนใหญ่โบราณ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างขึ้นทั้ง ๗ กระบอก และปืนใหญ่พญาตานี<br />

ไว้ กับคงรูปแบบพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กลางแจ้งหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหมไว้เช่นเดิม<br />

๔) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๔ ในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๓๗ พลเอก วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม และพลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดให้มีการปรับภูมิทัศน์<br />

และจัดวางปืนใหญ่โบราณ ให้เกิดความสง่างาม<br />

มากยิ่งขึ้น โดยการรื้อรั้วเหล็กเดิมออกและทำเป็น<br />

เสาปูนมีโซ่ร้อยเรียงกัน และปรับพื้นโดยยกพื้น<br />

ให้สูงขึ้น<br />

๕) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๕ ใน<br />

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ประเสริฐ สารฤทธิ์<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ( ตุลาคม ๒๕๓๗ - กันยายน<br />

๒๕๓๘) และ พลเอก ไพบูลย์ เอมพันธ์ุ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม (ตุลาคม ๒๕๓๘ - กันยายน ๒๕๓๙)<br />

ได้มอบหมายให้ สำนักโยธาธิการกลาโหม ปรับภูมิทัศน์<br />

บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม โดย<br />

การเรียงปืนใหญ่โบราณในลักษณะ อุตราวรรต คือ<br />

72<br />

การจัดเรียงตามลำดับปีที่สร้าง เวียนไปทางซ้าย<br />

และนำแผ่นทองเหลืองบันทึกชื่อและประวัติปืน<br />

ใหญ่โบราณทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดตั้ง<br />

ไว้บริเวณฐานปืนใหญ่โบราณทุกกระบอก<br />

๖) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๖ ในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๔๗ พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอก อู้ด เบื้องบน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาปรับภูมิทัศน์<br />

ให้สอดรับกับการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์เชิง<br />

ประวัติศาสตร์ โดยปรับการจัดวางปืนใหญ่โบราณ<br />

ตามประเพณีนิยมของกองทัพไทยในสมัยโบราณ<br />

จึงได้ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร<br />

ในประเด็น หลักการสากลของการจัดพิพิธภัณฑ์<br />

กลางแจ้ง หลักสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ซึ่ง<br />

ปรากฏว่า มีแนวคิดในการจัดวางปืนใหญ่โบราณ<br />

๒ แนวทาง กล่าวคือ<br />

๖.๑ ทักษิณาวรรต ด้วยการจัดวางแบบ<br />

เวียนขวา โดยจัดวางปืนใหญ่โบราณเรียงปี และ<br />

ยุคที่สร้าง โดยเริ่มต้นจากถนนกัลยาณไมตรีไปทาง<br />

ถนนหลักเมือง<br />

๖.๒ อุตราวรรต ด้วยการจัดวางแบบเวียน<br />

ซ้ายจากถนนหลักเมืองไปทางถนนกัลยาณไมตรี<br />

ตามลำดับปีที่สร้าง ซึ่งจากการพิจารณาแล้ว เห็นว่า<br />

แบบอุตราวรรต มีความเหมาะสมกับการปรับภูมิทัศน์<br />

และการเที่ยวชมของนักท่องเที่ยว โดยเริ่มต้นจาก<br />

ถนนหลักเมืองเวียนซ้ายไปยังถนนกัลยาณไมตรี<br />

ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์<br />

จนถึงปืนใหญ่โบราณที่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้<br />

พร้อมทั้งจัดพื้นที่สำหรับนำปืนพระมหาฤกษ์และ<br />

พระมหาไชยมาวางในอนาคต โดยแผ่นทองเหลือง<br />

บันทึกชื่อและประวัติปืนใหญ่โบราณทั้งภาษาไทย<br />

และภาษาอังกฤษ ติดตั้งไว้บริเวณฐานปืนใหญ่<br />

โบราณทุกกระบอกเช่นกัน


๔๙. รั้วเหล็กรอบสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

การปรับภูมิทัศน์และในการจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๔ ที่มีการรื้อ<br />

รั้วเหล็กเดิมออกและทำเป็นเสาปูนมีโซ่ร้อยเรียงกันแทน รั้วเหล็กเดิมดังกล่าว<br />

มีการจัดสร้างในห้วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลก ครั้งที่ ๒) ซึ่งมีหลายท่าน<br />

ตั้งคำถามพอจะมีรั้วเดิมให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นและศึกษาบ้างหรือไม่ แต่อย่างไร<br />

ก็ตาม ได้ตรวจสอบแล้วทราบว่า รั้วเหล็กดังกล่าวยังคงเหลือต้นแบบให้เห็นอยู่<br />

๒ จุด กล่าวคือ บริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนหลักเมืองตรงข้ามศาลหลักเมือง<br />

และบริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนกัลยาณไมตรีตรงข้ามประตูวังสราญรมย์<br />

(กระทรวงการต่างประเทศเดิม) สังเกตเห็นได้ง่าย เพราะอยู่ติดกับหัวเสาที่มีเหล็ก<br />

กั้นข้างป้อมยามรักษาการณ์ มีลักษณะเป็นเหล็กดัด รูปสี่เหลี่ยมสองชั้นบริเวณ<br />

มุมทั้งสี่ย่อมุมเข้าหาศูนย์กลางทาสีขาวนวล ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียง ๔ ช่องเท่านั้น<br />

ซึ่งสำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม คงรูปแบบเก็บไว้ให้ดู<br />

เป็นต้นแบบ เพื่อว่าในอนาคตหากมีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่ จะได้สามารถ<br />

คัดลอกไปใช้ประโยชน์ได้<br />

73


ในลำดับต่อไป ขอเชิญท่านเข้าเยี่ยมชมลักษณะอาคารภายในพร้อมองค์ประกอบภายในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๕๐. การออกแบบอาคารด้านในของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

เมื่อท่านเข้ามาภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม จะสังเกตได้ว่าอาคารด้านในจะแตกต่าง<br />

จากภายนอกมาก ทั้งนี้ หากพิจารณาจากแนวคิด<br />

ในการออกแบบอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านนอก<br />

เป็นแบบพาลลาเดียน ซึ่งเป็นการก่ออิฐถือปูนและ<br />

ตกแต่งอาคารดังกล่าวมาแล้ว แต่ด้านในมีความ<br />

พิเศษในการออกแบบคือทำเป็นระเบียงไม้โปร่ง<br />

รอบในอาคารทั้งสามชั้น และมีทางเดินเชื่อมต่อ<br />

กันได้ทุกอาคาร โดยชั้นล่างทำเป็นรั้วไม้ซี่ขนาดสูง<br />

ประมาณหน้าอก แต่สำหรับในชั้นสองและชั้นสาม<br />

ทำราวระเบียงเป็นรูปไม้ขัดกันในลักษณะกากบาท<br />

และมีเสาปูนเกลี้ยงรูปสี่เหลี่ยมเป็นตัวรับน้ำหนัก<br />

ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ด้านในต้องทำเป็นระเบียงไม้<br />

เพราะช่วยให้ปลอดโปร่งเพราะประเทศไทยเป็น<br />

ประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จึงเป็นการระบายอากาศ<br />

ซึ่งต่างจากยุโรปที่มีอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้<br />

ยังช่วยให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น สามารถ<br />

เดินติดต่องานหรือประสานงานได้ทั้งสามชั้น<br />

โดยไม่ต้องเดินลงมาชั้นล่างและเดินขึ้นไปใหม่<br />

ในระหว่างอาคาร เรียกว่า อาคารโรงทหารหน้า<br />

มีการออกแบบให้สวยงามทั้งด้านสถาปัตยกรรม<br />

และคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย โดยมีพื้นฐานจาก<br />

ภูมิอากาศ ภารกิจ และการติดต่อประสานงาน<br />

ระหว่างหน่วยงานภายในอาคารที่มีความสะดวก<br />

และรวดเร็ว<br />

๕๑. ผนังอาคารและระเบียงด้านในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

เดิมที มีการสร้างราวระเบียงบริเวณชั้นสอง<br />

และชั้นสามทำราวระเบียงเป็นรูปไม้ขัดกัน แต่<br />

เนื่องจากอาคารศาลาว่าการกลาโหมเคยประสบ<br />

ปัญหาน้ำฝนสาดและความชื้นหลายครั้ง โดยเฉพาะ<br />

ในกรณีที่ฝนตกหนักผสมกับลมกระโชกแรง ทำให้<br />

มีปริมาณน้ำฝนซัดสาดเข้ามาบริเวณระเบียง<br />

ซึ่งก็มีหลายครั้งที่ปริมาณน้ำฝนมากขังบริเวณ<br />

พื้นไม้และรั่วซึมลงมาชั้นสองและชั้นล่าง ได้ทำ<br />

ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการ<br />

เป็นอันมาก รวมถึงทำให้ผนังอาคารเกิดความชื้น<br />

มีคราบตะไคร่น้ำและแตกล่อนเป็นประจำ เมื่อ<br />

เป็นเช่นนี้ สำนักโยธาธิการกลาโหม สำนักงาน<br />

สนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จึง<br />

พิจารณาออกแบบทำผนังอาคารผลิตจากไม้<br />

และประดับบานหน้าต่างเพื่อปิดเปิดตามความ<br />

เหมาะสม ทั้งนี้ รั้วไม้โปร่งเป็นรูปไม้ขัดกันที่ยัง<br />

สภาพใช้งานได้ในชั้นที่ ๓ จึงยังคงเก็บรักษาไว้<br />

โดยทำผนังไม้ปิดล้อมไว้ด้านนอก และยังคงอนุรักษ์<br />

รั้วไม้โปร่งแบบโบราณไว้ด้านในเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง<br />

ได้ศึกษาต่อไป<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ บริเวณผนังอาคาร ชั้นที่ ๓<br />

และชั้นที่ ๒ จึงสามารถรอดพ้นจากความเสี่ยงภัย<br />

จากปริมาณฝนซัดสาดจนทำให้เกิดความเสียหาย<br />

แต่สำหรับผนังอาคารที่ฉาบปูนในชั้นล่างที่ต้อง<br />

เผชิญกับความชื้นและน้ำฝนสาด จึงได้แก้ไขปัญหา<br />

โดยการเจาะผนังและใส่ท่อระบายอากาศทำให้<br />

75


ระบายความชื้นออกมาจากภายในของผนังอาคาร<br />

หากผ่านไปอาจเห็นผนังอาคารมีท่อขนาดเล็กติด<br />

กับตัวอาคาร นั่นคือวิธีการระบายอากาศและระบาย<br />

ความชื้น<br />

๕๒. บันไดทางขึ้นลงด้านในอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

เมื่อเข้ามาด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

เห็นมีบันไดทางขึ้นลงอาคารหลายแห่งเป็นการสร้าง<br />

ความสะดวกในการทำงาน แต่ในอดีตแล้วบันได<br />

ทางขึ้นลงที่สร้างในยุคโรงทหารหน้าที่แท้จริง ได้มี<br />

การจัดทำเป็นบันไดทางขึ้นลงเฉพาะภายในตัวอาคาร<br />

ทั้งสี่มุม อย่างไรก็ตาม ยังได้จัดทำบันไดทางขึ้นลง<br />

ออกสู่ภายนอกอาคารด้านสนามภายใน รวม ๕ จุด<br />

ดังนี้<br />

๑. บันไดทางขึ้นลงมุขกลาง โดยทำเป็นบันได<br />

สำหรับขึ้นลงรวม ๔ จุด กล่าวคือ<br />

๑.๑ บันไดไม้พร้อมหลังคาและกันสาด<br />

จำนวน ๒ จุด โดยทำเป็นบันไดไม้หักมุมสำหรับเดิน<br />

ขึ้นชั้นสองบริเวณด้านหลังมุขกลางด้านในติดกับ<br />

สนามภายในศาลาว่าการกลาโหม ด้านซ้ายและขวา<br />

ด้านละ ๑ จุด ปัจจุบันจะมองเห็นได้บริเวณทาง<br />

ขึ้นลง เพื่อเดินเข้าสู่ห้องสุรศักดิ์มนตรีในชั้นที่ ๒<br />

และห้องภาณุรังษี ในชั้นที่ ๓ ซึ่งในอดีตท ำราวระเบียง<br />

โปร่งและใช้ขึ้นลงเฉพาะผู้บังคับบัญชาชั้นสูงเท่านั้น<br />

๑.๒ บันไดปูนด้านในใกล้ประตูทางเข้าออก<br />

จำนวน ๒ จุด ด้านซ้ายและขวาด้านละ ๑ จุด<br />

ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่ ว่ากันว่าใช้<br />

สำหรับเจ้าหน้าที่ใช้เดินขึ้นลงโดยไม่ให้ไปใช้บันได<br />

ร่วมกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

๒. บันไดทางขึ้นลงบริเวณมุมอาคารด้านทิศ<br />

ตะวันตกเฉียงใต้ จำนวน ๑ จุด โดยทำเป็นบันได<br />

ไม้หักมุมสำหรับเดินขึ้นลงชั้นสอง ๑ จุด สำหรับเดิน<br />

ขึ้นห้องเสนาบดี ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่แต่ขยับออก<br />

76<br />

จากจุดเดิม เนื่องจากใช้พื้นที่เดิมสำหรับสร้างลิฟท์<br />

โดยสารในยุคต่อมา และยังคงใช้สำหรับเป็นทางเดิน<br />

ขึ้นลงสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

สำหรับบันไดทางขึ้นลงที่ท่านเห็นนอกเหนือ<br />

จากที่กล่าวมาทั้ง ๕ จุดนั้น เป็นบันไดทางขึ้นลง<br />

ที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคหลัง เพื่ออำนวยความสะดวก<br />

ในการปฏิบัติราชการ<br />

๕๓. กันสาดรอบอาคารชั้นล่าง<br />

เมื่อท่านมองเห็นกันสาดบริเวณขอบอาคาร<br />

ด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหมชั้นล่าง รอบทุก<br />

ด้านและมีลวดลายไม่ฉลุโปร่ง ซึ่งลวดลายดังกล่าว<br />

เป็นลวดลายแบบโบราณ ซึ่งในยุคแรกกันสาดที่ว่านี้<br />

จะทำขึ้นเฉพาะบริเวณเชิงบันได และขอบขั้นล่าง<br />

ของอาคารมุขกลาง โดยจะทำรูปแบบเป็นกันสาด<br />

ยื่นออกมาจากอาคารในลักษณะลาดเอียงมุงด้วย<br />

กระเบื้องแผ่นรูปว่าว และเชิงชายตกแต่งด้วยไม้<br />

ฉลุลวดลายโปร่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีการ<br />

กำหนดแบบดังกล่าวขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้<br />

อีกด้วย<br />

ต่อมา เมื่ออาคารชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ ทำผนัง<br />

ปิดกั้นน้ำฝนทำให้ชั้นล่างถูกน้ำฝนซัดสาดเป็นประจำ<br />

ส่งผลถึงความเสียหายบริเวณอาคารอย่างสม่ำเสมอ<br />

จึงเกิดความคิดที่จะทำกันสาดเพื่อป้องกันน้ำซัด<br />

สาดอาคารและยังใช้ประโยชน์เป็นหลังคาสำหรับ<br />

ช่องจอดรถของผู้บังคับบัญชา โดยการคัดลอก<br />

แบบกันสาดขอบขั้นล่างของอาคารมุขกลางมาเป็น<br />

ต้นแบบของกันสาดรอบอาคารด้านในอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหม พร้อมทั้งเชิงชายที่มีลวดลายฉลุ<br />

พร้อมกันไปด้วย<br />

จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์<br />

ในการพัฒนาอาคารศาลาว่าการกลาโหมให้รองรับ<br />

ประโยชน์ใช้สอยและสอดรับกับความงดงามใน<br />

รูปแบบของศิลปะโบราณอย่างเหมาะสม และมี<br />

ความกลมกลืนอย่างลงตัว


77


๕๔. ลิฟท์โดยสารภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม<br />

ที่กล่าวมาว่า มีการขยับบันไดทางขึ้นลง<br />

ออกจากจุดเดิม เพื่อใช้พื้นที่เดิมสำหรับสร้างลิฟท์<br />

โดยสาร ท่านทราบหรือไม่ว่า อาคารโบราณแบบ<br />

ศาลาว่าการกลาโหมได้มีการสร้างลิฟท์โดยสาร<br />

(Elevator) และจัดสรรพื้นที่ทำส่วนประกอบของ<br />

ลิฟท์โดยสาร อันประกอบด้วย ช่องสำหรับให้ลิฟท์<br />

โดยสารขึ้นลง ช่องประตูเข้าออก ๓ ชั้นโดยทำเป็น<br />

คอนกรีตเสริมเหล็กครอบตัวลิฟท์โดยสาร และ<br />

ส่วนประกอบอย่างเป็นมาตรฐาน ซึ่งในห้วงแรก<br />

มีการทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมคอนกรีตลวดลายกากบาท<br />

โปร่งครอบแท่งคอนกรีตอีกชั้น ก่อนรื้อกล่องครอบออก<br />

จนเห็นเป็นแท่งคอนกรีตในปัจจุบัน<br />

จัดทำขึ้นบริเวณมุมอาคารด้านในทางทิศตะวัน<br />

ตกเฉียงใต้ หรือบริเวณใกล้กับห้องทำงานรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม โดยเป็นลิฟท์โดยสาร เป็น<br />

แบบมีประตูบานเปิดปิดด้านหน้า และด้านในจะมี<br />

ประตูเหล็กรูดปิดด้านหน้า มิฉะนั้นลิฟท์โดยสารจะ<br />

ไม่เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นรุ่นนิยมของกิจการลิฟท์โดยสาร<br />

ที่มีชื่อทางการค้าว่า Otis Brothers<br />

ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สันนิษฐาน<br />

จากประวัติการใช้ลิฟท์โดยสารของไทย ที่เริ่มมีการ<br />

นำลิฟท์โดยสารมาติดตั ้งครั้งแรกในสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการนำเข้า<br />

ลิฟท์โดยสาร ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรจากอิตาลี<br />

มาติดตั้ง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และติดตั้งลิฟท์<br />

โดยสาร ที่ขับเคลื่อนโดยแรงคนที่พระที่นั่งวโรภาส<br />

พิมาน ในพระราชวังบางปะอิน ต่อมา เมื่อมีไฟฟ้าใช้<br />

จึงได้เริ่มนำเข้าลิฟท์โดยสารจากต่างประเทศเพื่อใช้<br />

ติดตั้งตามหน่วยงานราชการสำคัญ พร้อมให้การ<br />

ดูแลบำรุงรักษาอันเป็นที่มาเริ่มแรกของการใช้<br />

ลิฟท์โดยสารในประเทศ ประกอบกับอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหมเป็นอาคารขนาดใหญ่และทันสมัย<br />

78<br />

ทั้งนี้ ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ที่ดำรงพระยศ<br />

และมีตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมหลายพระองค์<br />

และเมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์ของการสร้างช่องขึ้นลง<br />

ลิฟท์โดยสารแล้วคาดว่าเป็นฝีมือช่างโบราณ จึงมี<br />

ความเป็นไปได้สูงว่า เป็นการสร้างในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากวิวัฒนาการ<br />

ของลิฟท์โดยสารในประเทศไทย ทราบว่ามีการ<br />

พัฒนาการใช้ลิฟท์อย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณา<br />

จากลักษณะทางกายภาพของลิฟท์โดยสารก่อน<br />

เปลี่ยนแปลงมาใช้ในระบบปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า<br />

ลักษณะลิฟท์และห้วงเวลาของการสร้าง ประมาณว่า<br />

ลิฟท์โดยสารที่ใช้หลังสุดน่าจะจัดทำในห้วงการ<br />

ต่อเติมอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ประมาณ<br />

ห้วงปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๐๓ ทั้งนี้เพราะอาคารกอง<br />

บัญชาการทหารสูงสุดเดิม ก็เคยติดตั้งลิฟท์โดยสาร<br />

ที่มีลักษณะคล้ายกับในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้วยเช่นกัน<br />

๕๕. เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัยทางอากาศ<br />

ที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

บริเวณนอกอาคารชั้นที่ ๓ ของมุขกลางด้านใน<br />

เห็นมีแท่งทรงกระบอก ด้านบนมีลวดลายลักษณะ<br />

คล้ายประภาคารขนาดเล็ก ด้านบนทำเป็นลวดลาย<br />

คล้ายเชิงเทินตามกำแพงเมืองและมีหลังคาขนาด<br />

เล็กคลุม สิ่งนี้เรียกว่า เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัย<br />

ทางอากาศ ซึ่งในเวลาสงครามเมื่อมีอากาศยาน<br />

ของฝ่ายตรงข้ามล่วงล้ำเข้ามาทางราชการจะเปิด<br />

สัญญาณเสียงเพื่อแจ้งให้ประชาชนระวังภัยโดย<br />

อาจเข้าสู่หลุมหลบภัยหรือทำการป้องกันตนเอง<br />

ในลักษณะต่างๆ ทั้งนี้สัญญาณเสียงเรามักจะรู้จัก<br />

กันดีว่า เสียงหวอ<br />

ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติอันผลเนื่อง<br />

มาจากกรณีสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือสงคราม<br />

มหาเอเชียบูรพาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้ยาตรากองทัพ


เข้ามาในดินแดนไทย เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๖ ได้ส่งกองกำลังมาทางเรือ<br />

เป็นผลให้รัฐบาลไทย โดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ด ำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฯ<br />

จำเป็นต้องทำสัญญายินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยไปยังสมรภูมิรบ<br />

กับฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า มาเลเซีย<br />

เป็นผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่พอใจรัฐบาลไทย จึง<br />

ส่งอากาศยานบรรทุกเครื่องระเบิดบินเข้าโจมตีจุดสำคัญในประเทศไทยที่มี<br />

กองกำลังทหารญี่ปุ่นอยู่ขณะนั้น ประกอบด้วย กรุงเทพฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

ผลปรากฏว่าสถานที่ราชการสำคัญ บ้านเรือนประชาชน อันได้แก่พระบรมมหา<br />

ราชวังบางส่วน สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สะพานพระรามหก ได้รับความ<br />

เสียหายจากการโจมตีภัยทางอากาศเป็นอันมาก<br />

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันภัยทางอากาศรัฐบาลจึงจัดตั้งเครื่องส่งสัญญาณ<br />

เตือนภัยทางอากาศขึ้นบริเวณจุดสำคัญต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและ<br />

เตรียมตัวหลบภัยการโจมตีทางอากาศ ซึ่งศาลาว่าการกลาโหม ก็เป็นสถานที่<br />

อีกแห่งหนึ่งที่ได้ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณฯ ณ บริเวณด้านหน้าอาคารกลางชั้น<br />

ที่ ๓ ภายในศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเครื่องส่งสัญญาณฯ (Motor Siren) ยี่ห้อ<br />

YAHAGI KOGYO K.K.<br />

เครื่องส่งสัญญาณดังกล่าวมีประโยชน์ช่วยให้ข้าราชการที่ทำการอยู่ในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบศาลาว่าการกลาโหม ได้<br />

ทราบถึงภัยทางอากาศที่กำลังมาโจมตี ให้หลบหนีทัน มิต้องได้รับบาดเจ็บหรือ<br />

ล้มตาย<br />

จากหลักฐานที่ปรากฏ ทราบว่า ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้มิได้ถูกโจมตีจาก<br />

เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะสันนิษฐานว่า<br />

๑) ด้วยพระบารมีองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรง<br />

พระราชทานกำเนิดศาลาว่าการกลาโหม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ช่วยปกปักคุ้มครองสถานที่ไว้<br />

๒) ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรก่อให้เกิดความเข้าใจ<br />

ในสถานการณ์ด้านการทหารในขณะนั้น จนทำให้รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้<br />

79


หอกลองเดิม บริเวณชั้น ๔ เหนืออาคารด้านทิศตะวันออก<br />

๕๖. ศาลเจ้าพ่อหอกลอง<br />

หากท่านเข้ามาภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมท่านจะพบเห็นศาลขนาดใหญ่บริเวณริม<br />

ลานจอดรถและสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ศาลดังกล่าวคือศาลเจ้าพ่อหอกลอง ซึ่งเป็นสิ่ง<br />

ศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังพลในศาลาว่าการกลาโหมให้ความ<br />

เคารพนับถือกันโดยตลอด<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เป็นที่ประดิษฐานของ<br />

เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์และ<br />

ราชทินนาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีการบันทึกประวัติ<br />

ว่า ท่านเกิดที่กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นทหารเอก<br />

ในพระเจ้ากรุงธนบุรีและดำรงตำแหน่งพลรบ<br />

ฝ่ายซ้าย ซึ่งเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ ์ ได้เคยติดตาม<br />

พระเจ้ากรุงธนบุรีปฏิบัติการรบมาโดยตลอด มีความ<br />

เชี่ยวชาญในทางหอก และชอบให้ทหารตีกลองศึก<br />

ในเวลาออกรบกับจัดหากลองรบมาเอง จึงทำให้<br />

ทหารทั้งหลายในสังกัดต่างพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า<br />

“เจ้าพ่อหอกลอง”<br />

80


ทั้งนี้ ท่านได้สร้างกลองส่วนตัวขึ้นหนึ่งใบหอบ<br />

หิ้วติดตัวไปในทุกสมรภูมิ และใช้ตีบอกสัญญาณ<br />

การรบจนได้ชัยชนะเหนือข้าศึกในทุกครั้ง<br />

จากเกียรติประวัติของท่านจึงกล่าวได้ว่าท่านเป็น<br />

กำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย ต่อมา<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ได้เลื่อนเป็นพลรบฝ่ายขวา แทนเจ้าพระยา<br />

พิชัยดาบหัก (นายทองดีฟันขาว) ซึ่งถึงแก่กรรม<br />

และรับราชการในหน่วยกำลังรบมาโดยตลอด ต่อมา<br />

ท่านได้ล้มป่วยเป็นโรคลำไส้ สิ้นชีวิตที่พระราชวัง<br />

เดิม จังหวัดธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๑ อายุ ๕๘ ปี<br />

ซึ่งจากการนำกลองประจำพระนครจำนวน<br />

๓ ใบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จากหอกลองที่บริเวณสวนเจ้าเชตุ<br />

มาเก็บรักษาไว้ที่ชั้น ๔ ของอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมทางทิศตะวันออก ใกล้สะพานช้างโรงสี และ<br />

ต่อมาได้นำไปเก็บรักษาไว้ ณ พระบรมมหาราชวัง<br />

ก่อนนำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ<br />

พระนคร<br />

แม้ว่าจะได้เชิญกลองประจำพระนครไปเก็บ<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง (จำลอง)<br />

บริเวณชั้น ๓ กรมเสมียนตรา<br />

รักษาไว้ที่พระบรมมหาราชวังแล้ว กระทรวงกลาโหมก็ยังคงตั้งศาลเจ้าพ่อหอกลองไว้บริเวณชั้น ๔ เหนือ<br />

อาคารด้านทิศตะวันออกเพื่อให้กำลังพลสักการะเรื่อยมา ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมเกิดการแตกร้าว จึงได้ทำการรื้อศาลเจ้าพ่อหอกลองเดิมออกและสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองใหม่<br />

พร้อมทั้งหล่อรูปจำลองเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) เท่าตัวจริง ประดิษฐาน ณ บริเวณสนามภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยหันหลังศาลเจ้าพ่อหอกลองไปทางทิศตะวันออก (คือหันหน้าศาล<br />

ไปทางหน้าศาลาว่าการกลาโหมทางทิศตะวันตกนั่นเอง)<br />

นับแต่นั้นมา มักปรากฏเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเจ้าพ่อหอกลองและผู้บังคับบัญชาชั้นสูงที่มา<br />

ปฏิบัติงานเป็นประจำ ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาสมัยนั้นคือ นายพลเอก หลวงสถิตย์ยุทธการ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม จึงตั้งศาลเจ้าพ่อหอกลองจำลองไว้บริเวณชั้น ๓ หรือใต้บริเวณที่เคยตั้งหอกลองเดิม โดยมีลักษณะ<br />

หอกลองในรูปแบบหอประจำเชิงเทินบนกำแพงเมือง พร้อมกับอัญเชิญดวงวิญญาณของเจ้าพ่อหอกลอง<br />

(เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน)) ขึ้นประทับยังศาลจำลองบริเวณชั้นที่ ๓ (ที่ตั้งของสำนักงานอนุศาสนาจารย์<br />

กรมเสมียนตรา) มาจวบจนปัจจุบัน<br />

81


ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่มีการปรับปรุงอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม จึงได้ทำการปรับปรุงศาล<br />

เจ้าพ่อหอกลองขึ้นมาใหม่แทนศาลเดิมที่รื้อออก<br />

บริเวณด้านทิศตะวันออกของสนามภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เป็นสถาปัตยกรรมไทยทรงจัตุรมุข<br />

มียอดมณฑปขนาดประมาณ ๖ เมตร โครงสร้าง<br />

คอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูหินอ่อน ประดับลวดลาย<br />

ปูนปั้นลายไทย รอบนอกศาลปูหินแกรนิต มีการ<br />

ติดตั้งปืนคาร์โรเน็ต หุ้มปากกระบอกปืนลงดินและ<br />

ท้ายกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้าบริเวณด้านหลังศาลจำนวน<br />

๒ กระบอก ประกอบพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อหอกลอง<br />

ขึ้นประทับศาลเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๑ โดย<br />

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลองปัจจุบัน<br />

เจ้าพ่อหอกลอง (เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์)<br />

๕๗. กลองประจำพระนคร<br />

สำหรับกลองประจำพระนครและความเกี่ยวข้อง<br />

กับศาลาว่าการกลาโหมจนพัฒนามาเป็นการตั้งศาล<br />

เจ้าพ่อหอกลองนั้น มีสาระสำคัญ สรุปดังนี้<br />

กลอง ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้กันมาตั้งแต่<br />

โบราณกาล ในการเป็นสัญญาณบอกให้คนหมู่มาก<br />

ในสังคมได้เข้าใจในทิศทางเดียวกันเพื่อรับทราบถึง<br />

วัตถุประสงค์ต่างๆ ที่จะต้องทำร่วมกัน อาทิ การ<br />

ตีกลองเพลเพื ่อเป็นสัญญาณแจ้งให้พระภิกษุหรือ<br />

สาธุชนทราบว่าถึงเวลาที่พระภิกษุสามเณรได้เวลา<br />

ฉันภัตตาหารเพล การตีกลองเพื่อแจ้งเหตุต่างๆ การ<br />

ตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณเคลื่อนกำลังพลในสงคราม<br />

หรือเป็นสัญญาณว่าจะให้เข้าตีหรือล่าถอย รวมทั้ง<br />

ยังเป็นการแจ้งให้คนในสังคมทราบเวลา<br />

มีการบันทึกประวัติเรื่องกลองมาตั้งแต่สมัย<br />

กรุงศรีอยุธยา ว่าการสร้างหอกลองประจำเมือง<br />

โดยให้อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระนครบาล<br />

โดยลักษณะของหอกลองเป็นหอสูงสามชั้น สร้าง<br />

ด้วยไม้ สูง ๑ เส้น ๑๐ วา หลังคาเป็นทรงยอดสูง<br />

ซึ่งแต่ละชั้นจะมีกลองอยู่ประจำชั้น ดังนี้<br />

• ชั้นบน เป็นที่ตั้งของกลองขนาดเล็ก มีชื่อว่า<br />

“มหาฤกษ์” ซึ่งจะใช้ตีก็ต่อเมื่อมีข้าศึกยกทัพ<br />

เข้ามาประชิดพระนคร<br />

• ชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของกลองขนาดกลาง<br />

มีชื่อว่า “พระมหาระงับดับเพลิง” ซึ่งจะใช้<br />

ตีเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยบริเวณภายในหรือ<br />

รอบพระนคร โดยมีจังหวะของการตีกลอง<br />

นี้ ๓ จังหวะ กล่าวคือถ้าเพลิงไหม้บริเวณ<br />

เชิงกำแพงเมืองหรือบริเวณกำแพงเมือง<br />

จะตีกลองนี้ตลอดเวลา จนกว่าเพลิงจะดับ<br />

• ชั้นล่าง หรือเรียกอีกอย่างว่า ชั้นต้น จะเป็น<br />

ที่ตั้งของกลองขนาดใหญ่ มีชื่อว่า “พระทิวา<br />

ราตรี” ซึ่งจะใช้ตีบอกเวลา เริ่มตั้งแต่ เวลา<br />

เช้า เวลาเที่ยง และเมื่อตะวันยอแสงเวลา<br />

พลบค่ำ อีกทั้งอาจจะตีในโอกาสที่จะมีการ<br />

ประชุม เรียกว่า ย่ำสันนิบาต<br />

82


ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอกลองประจำเมือง ตามคติ<br />

ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้สร้างหอกลองขึ้นที่บริเวณใกล้คุกเก่า<br />

ที่หับเผย (หมายถึง คุก ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้บท<br />

นิยามว่า “โรงเรือนที่มีลักษณะอย่างกระท่อมเล็กและที่คุมขัง ซึ่งปิดงับและเปิดค้ ำ<br />

ขึ้นได้เช่นนั้น”) ตั้งอยู่หน้าวัดโพธาราม (ต่อมาคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)<br />

สำหรับที่ดินที่ใช้สร้างหอกลองเรียกว่า สวนเจ้าเชตุ (ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้ง<br />

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน) ทั้งนี้ หอกลองนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับ<br />

หอกลองในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือเป็นอาคารทำด้วยไม้สูง ๓ ชั้น ไม่มีฝากั้น<br />

รูปทรงสูงชะลูดขึ้นไป หลังคาทำเป็นรูปมณฑป และภายในประดิษฐานกลอง<br />

ขนาดใหญ่ รวม ๓ ใบ มีชื่อ ขนาด และวัตถุประสงค์ในการใช้กล่าวคือ<br />

ชั้นล่าง ประดิษฐานกลองชื่อว่า กลองย่ำพระสุริย์ศรีมีขนาดหน้ากว้าง<br />

๘๒ เซนติเมตร ยาว ๘๒ เซนติเมตร ใช้สำหรับตีบอกเวลา<br />

ชั้นที่สอง ประดิษฐานกลองชื่อว่า กลองอัคคีพินาศ มีขนาดหน้ากว้าง<br />

๖๐ เซนติเมตร ยาว ๖๑ เซนติเมตร ใช้สำหรับตีในกรณีเกิดอัคคีภัย<br />

ชั้นบนสุด ประดิษฐานกลองชื่อว่า กลองพิฆาตไพรี มีขนาดกว้าง ๔๔<br />

เซนติเมตร ยาว ๔๖ เซนติเมตร สำหรับตีเมื่อเกิดศึกสงคราม<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ<br />

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมและปรับปรุง<br />

อาคารหอกลองนี้ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ<br />

ให้รื้อหอกลองและย้ายกลองทั้ง ๓ ใบ ไปเก็บรักษาชั่วคราวไว้ที่ชั้น ๔ ของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ก่อนย้ายไปเก็บรักษาเป็นการถาวรที่ หอริมประตูเทวาพิทักษ์ใน<br />

พระบรมมหาราชวัง เนื่องจากต้องการใช้พื้นที่ในการสร้างถนนสนามไชย และ<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองทั้ง ๓ ใบมาจัด<br />

แสดงในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ<br />

พระนคร)<br />

อย่างไรก็ตาม นอกจากกลองทั้งสามใบประจำหอกลองแล้วยังมีกลอง<br />

ที่สำคัญของประเทศหรือกลองประจำพระนครอีก ๒ ใบ และมีประวัติสำคัญ<br />

กล่าวคือ<br />

๑. กลองวินิจฉัยเภรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระ<br />

ราชดำริการบำบัดทุกข์ของราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน<br />

ชื่อกลองสำหรับตีกลองร้องฎีกาว่า “กลองวินิจฉัยเภรี” ตั้งไว้ ณ ทิมดาบ<br />

กรมวัง (ศาลาแถวพวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ) ในบริเวณพระบรม<br />

มหาราชวัง ให้กรมวังลั่นกุญแจไว้ เมื่อผู้ใดจะไปร้องถวายฎีกา กรมวังก็<br />

83


จะไปไขกุญแจให้ เมื่อตีกลองแล้วตำรวจเวรก็<br />

ไปรับตัวและเรื่องราวของผู้ตีมาแล้วจึงนำความ<br />

ขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ เพื่อมีพระบรมราชโองการ<br />

ตรัสสั่งให้ผู้ใดต้องชำระความ ก็ให้ส่งเรื่องที่ถวาย<br />

ฎีกาไปตามรับสั่งนั้น พระองค์จะตรัสถามในเรื่อง<br />

ที่มีผู้ร้องฎีกาเสมอ ซึ่งตระลาการผู้ต้องชำระความ<br />

ก็ต้องชำระความไปตามกฎหมายด้วยความถูกต้อง<br />

ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ร้องถวายฎีกา<br />

๒. กลองอินทเภรีเป็นกลองศึกที่ใช้บอกสัญญาณ<br />

ในการทำศึกสงคราม ซึ่งถือว่าเป็นกลองของพระอินทร์<br />

ใช้บอกสัญญาณในการเคลื่อนทัพ การเข้าสัประยุทธ์<br />

ซึ่งในบางตำราอาจเรียกว่ากลองสะบัดชัย นอกจากนี้<br />

ในบางท้องถิ่นอาจใช้ชื่อกลองอินทเภรีเป็นการตี<br />

บอกเวลาด้วยเช่นกัน<br />

สำหรับ เจ้าพ่อหอกลอง คือนักรบในอดีต<br />

ที่ดูแลเรื่องกลองศึก โดยจะพิจารณาใช้ประโยชน์<br />

กลองศึกในกรณีที่มีข้าศึกบุก หรือมีการรบ ก็จะ<br />

สื่อสารด้วยกลองศึก ทั้งนี้มีการบันทึกว่า ท่านได้<br />

สร้างกลองส่วนตัวขึ้นหนึ่งใบหอบหิ้วติดตัวไปใน<br />

ทุกสมรภูมิ และใช้ตีบอกสัญญาณการรบจนได้<br />

ชัยชนะในทุกครั้ง<br />

๕๘. สัญลักษณ์สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

หากท่านสังเกตบริเวณหน้าจั่วของอาคาร<br />

มุขกลาง จะพบว่า มีรูปปูนปั้นนูนต่ำรูปจักรสมอปีก<br />

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางความมั่นคงของประเทศ หรือ<br />

เป็นสัญลักษณ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

โดยที่สัญลักษณ์ จักรสมอปีก คือสัญลักษณ์ของ<br />

ส่วนราชการที่มีหน้าที่เตรียมกำลังและใช้กำลังตาม<br />

ภารกิจทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ กล่าวคือ<br />

• จักร หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารบก<br />

• สมอ หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารเรือ<br />

• ปีก หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารอากาศ<br />

ทั้งนี้เพราะ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ซึ่งมี<br />

ภารกิจสำคัญตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบ<br />

ราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา<br />

๑๓ กล่าวคือ<br />

“มาตรา ๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวงมีหน้าที่<br />

เกี่ยวกับงานนโยบายและยุทธศาสตร์ งานราชการ<br />

ประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการส่วนหนึ่ง<br />

ส่วนใดของกระทรวง ซึ่งมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่<br />

ของส่วนราชการอื่นใด มีปลัดกระทรวงกลาโหมเป็น<br />

ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ”<br />

84


เมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จึงมีหน้าที่ในการประสาน<br />

งานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์กับทั้ง ๓ เหล่าทัพ จึงมีกำลังพลที่กำเนิดมา<br />

จากทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ รวมถึง กำลังพลที่ต้องปฏิบัติราชการ<br />

กับ ๓ เหล่าทัพ นอกจากนี้ กำลังพลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ยังมีกำลังพลที่แต่งกายเหล่าทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปฏิบัติหน้าที่<br />

ในหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมอีกด้วย<br />

ซึ่งก็มีคำถามจำนวนไม่น้อยว่าเหตุใดรูปปีกจึงมีลักษณะลู่ลง ไม่มีเป็นรูปแบบ<br />

ปีกตรงดังที่เคยเห็นในตราของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมโดยทั่วไป<br />

เรื่องดังกล่าวมีผู้ใหญ่ได้กรุณาให้ข้อสังเกตว่า สัญลักษณ์ของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม คือ รูปจักรสมอปีกร้อยเรียงสอดกัน ซึ่งสื่อความหมายถึงการ<br />

ร่วมมือปฏิบัติงานของทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ จึงมีความชัดเจน<br />

แล้ว สำหรับปีกที่ลู่ลง อาจจะเป็นเพราะถูกบังคับด้วยรูปหน้าจั่วที่เป็นสามเหลี่ยม<br />

แหลมบน ปีกจึงลู่ลง แต่ก็เป็นลักษณะเหมือนปีกที่กำลังบินขึ้น ตามธรรมชาติ<br />

ของนก สำหรับในขณะที่ปีกกางออกตรงคือลักษณะของการเหินลอยบนอากาศ<br />

ซึ่งก็หมายถึงการลอยอยู่บนอากาศ<br />

85


เหล่าทหารตั้งแถวรอรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สนามหญ้าในศาลายุทธนาธิการ<br />

๕๙. เกียรติภูมิสนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า สนามภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหมมีเกียรติประวัติมากมายทั้งที่เกี่ยวกับ<br />

การสนองงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี<br />

เหตุการณ์สำคัญ กล่าวคือ<br />

๑) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ า<br />

เจ้าอยู่หัว ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ดังนี้<br />

๑.๑) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา<br />

เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ๒๔๓๐<br />

๑.๒) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีรัชดาภิเษก<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่<br />

๕ ธันวาคม ๒๔๓๖<br />

๑.๓) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีสมโภชเมื่อเสด็จ<br />

พระราชดำเนินกลับจากการประพาสยุโรปคราวแรก<br />

เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๔๐<br />

๑.๔) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพิธีถวายพระคทาจอมพล<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ<br />

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๖ มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“ผู้บัญชาการกรมทหาร พร้อมด้วยข้าราชการในกรม<br />

ยุทธนาธิการเตรียมรับการตรวจแถว จากพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สนามหญ้า<br />

ภายในศาลายุทธนาธิการ ภายหลังที่กรมทหารบก<br />

ทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพล”<br />

๑.๕) พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาพระราชทานธงชัยเฉลิมพล<br />

ณ สนามหญ้า ภายในศาลายุทธนาธิการ เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๔๕๑<br />

86


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัล<br />

การแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

การประกอบพิธีตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า)<br />

โดยมีการตั้งขบวนแห่พระยาโล้ชิงช้า<br />

เริ่มต้นจากสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๒) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๒.๑) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรและ<br />

พระราชทานรางวัลแก่นักกีฬาผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม โดยประทับ ณ พระที่นั่ง<br />

ชุมสาย บริเวณสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม บริเวณใกล้บันไดทางขึ้นลงด้านหลังมุขกลาง<br />

๒.๒) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๐ มีการประกอบพิธีตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า) โดยมีการตั้งขบวน<br />

แห่พระยาโล้ชิงช้า เริ่มต้นจากสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๒.๓) ภายหลังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทย<br />

เข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ โดยประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศ<br />

ฝ่ายอักษะ มีการทำพิธี และในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ ทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

ได้รวมพลและบันทึกภาพ ณ สนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม ก่อนเข้าร่วมกระทำพิธีสาบานตน<br />

ต่อธงไชยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์<br />

๓) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๓.๑) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาตรวจแถวและเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเสด็จนิวัต<br />

พระนคร เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๗๔<br />

๓.๒) มีการจัดแข่งกีฬาภายในกระทรวงกลาโหม โดยเสนาบดีในสมัยนั้น ๒ พระองค์เสด็จมาเป็น<br />

ประธาน คือ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน<br />

และ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต<br />

87


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทั้ง ๓ เหล่าทัพ ณ พระที่นั่งชุมสาย ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๔) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช มีเหตุการณ์สำคัญ กล่าวคือ<br />

๔.๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมา<br />

พระราชทานกระบี่และพระราชทานปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย<br />

พระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียน<br />

นายเรืออากาศ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึง ปี พ.ศ.<br />

๒๕๑๙ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี ณ หอประชุมใหญ่<br />

สวนอัมพร<br />

๔.๒) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมา<br />

พระราชทานกระบี่และพระราชทานปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน<br />

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ<br />

88<br />

และโรงเรียนนายเรืออากาศ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗<br />

และ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘<br />

๔.๓) เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๘<br />

ประกอบพิธีเลี้ยงสังสรรค์เจ้าหน้าที่ไทย - อเมริกัน<br />

ในวาระครบรอบ ๕ ปี แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยการ<br />

ช่วยเหลือทางการทหารระหว่างประเทศไทยและ<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

๔.๔) เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒<br />

ประกอบพิธีสวนสนามอำลาผู้บังคับบัญชาเพื่อไป<br />

ปฏิบัติราชการในสงครามเวียดนาม<br />

๔.๕) ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ประกอบพิธี<br />

ประดับเหรียญชัยสมรภูมิกรณีสงครามเวียดนาม<br />

แก่ทหารและทายาทของผู้ที่เสียชีวิต<br />

นอกจากนี้ ยังมีพิธีทางทหารอีกหลายพิธีที่ไม่ได้<br />

มีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการอีกเป็นจำนวนมาก


เหล่านักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน เดินขบวนมาชุมนุมเรียกร้อง บริเวณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๖๐. เกียรติประวัติของสนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

นอกจากเกียรติภูมิของสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม ในส่วนบริเวณสนามหญ้าด้านหน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหมก็เคยมีกิจกรรมสำคัญระดับชาติครั้งหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้น<br />

เมื่อวันอังคารที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓ กล่าวคือ ในวันนั้น มีขบวนการเรียกร้องดินแดนไทยคืนจากฝรั่งเศส<br />

ที่ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปใน กรณี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ประกอบด้วย ยุวชน<br />

ทหารและยุวนารีซึ่งเป็นนิสิตและนักศึกษา สมทบกับประชาชนผู้รักชาติก็รวมตัวกันใช้ชื่อ “เลือดไทย” พากัน<br />

มาจากทุกสารทิศ นัดหมายมาพบกันที่จังหวัดพระนครและเริ่มเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />

ใช้เส้นทางถนนราชดำเนินเคลื่อนที่เข้าสู่ท้องสนามหลวงและมีประชาชนและนักศึกษาบางส่วนเดินทาง<br />

มาทางถนนหน้าพระลาน และถนนสายต่างๆ เคลื่อนที่มาหยุดชุมนุมกันที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ประมาณการว่ามีประชาชนเรือนหมื่นจากทุกเพศทุกวัยเข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ โดยมีเจตนาเดียวกันที่จะ<br />

แสดงพลังของประชาชนเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลใช้กำลังทหารเข้าต่อกรกับฝรั่งเศส<br />

ในโอกาสนั้น นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

กับนายพันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต รองผู้บัญชาการทหารบก เจ้ากรมยุวชนทหาร และรองอธิการบดี<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้การต้อนรับคณะยุวชนทหาร ยุวนารี และประชาชนที่หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยทั้งสองในเครื่องแบบยุวชนทหารและยุวนารี ได้เรียนเสนอการเรียกร้อง<br />

ดินแดนคืนต่อ นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม พร้อมกับขอให้เป็นผู้นำกองทัพของชาติ เข้ายึดเอาดินแดน<br />

ของไทยกลับคืนมาจากฝรั่งเศส เพื่อให้พี่น้องชาวไทยที่อยู่ในดินแดนดังกล่าว ได้กลับมาร่วมเป็นบ้านพี่เมืองน้อง<br />

ของไทยตามเดิม พร้อมกันนี้ ยุวชนทหารและยุวนารี ทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมอบชีวิตไว้เป็นชาติพลี<br />

89


นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้กล่าวปราศรัยต้อนรับ และสรรเสริญสดุดีในความรักชาติ<br />

ความสามัคคี และความเสียสละเพื ่อประเทศชาติของประชาชนชาวไทยทั้งมวล และขอมติสนับสนุน<br />

การเรียกร้องดินแดนในอินโดจีนกลับคืน พร้อมกับได้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันกล่าวปฏิญาณตน<br />

หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จบแล้วได้กล่าวอวยชัยให้พร ไชโยสามครั้ง เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ซาบซึ้ง<br />

ตรึงใจเป็นที่สุด หลังจากนั้น คณะประชาชน ยุวชนนายทหารได้เคลื่อนขบวนจากหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

มุ่งหน้าไปยังทำเนียบนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอมติของประชาชนในอันที่จะขอให้รัฐบาลใช้กำลังบังคับ<br />

แก่รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส ให้คืนดินแดนที่ไทยเสียไปอย่างยุติธรรม<br />

ซึ่งมีบทร้อยกรองเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ในหนังสือ เกียรติภูมิ...กระทรวงกลาโหม ภาคลิลิตคืนดินแดน<br />

ที่ว่า<br />

โคลงสองสุภาพ<br />

๐ ยามเพลาเยี่ยงนี้ หมายบ่งบอกความชี้<br />

พี่น้องชาวไทยฯ<br />

๐ เดินทางไกลมุ่งเน้น บอกต่อทวยหาญเฟ้น<br />

อย่ายั้งรีรอฯ<br />

๐ ยืนขอมิเคลื่อนย้าย เสียงกู่อีกชูป้าย<br />

ดั่งคล้ายหมายปองฯ<br />

๐ ทำนองหมายเร่งเร้า จงก่อกองทัพเข้า<br />

ต่อสู้ไพรีฯ<br />

จากนั้นเป็นต้นมา การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนของประชาชนก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากมาย<br />

ทั้งในจังหวัดพระนครและแพร่ขยายออกไปทั่วประเทศ ซึ่งการเดินขบวนครั้งนี้เป็นการเดินขบวน เพื่อการ<br />

มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนหรือเป็นสงครามภาคประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย<br />

90


๖๑. การฉลองชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน<br />

อย่างไรก็ตาม นอกจากการเดินขบวนครั้งแรกในประเทศไทยและเดินมาที่หน้าศาลาว่าการกลาโหมแล้ว<br />

ผลต่อเนื่องจากการเดินขบวนครั้งนั้นก็ได้เกิดขึ้นจนเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศอีกด้วย กล่าวคือ<br />

หลังจากนั้นฝ่ายไทยได้พยายามดำเนินการทางการทูตหลายครั้ง แต่ฝ่ายฝรั่งเศสไม่มีท่าทียินยอมจนเกิด<br />

การปะทะกันหลายครั้ง ทั้งทางบกและทางอากาศ และมีการเคลื่อนกำลังทหารไทยพร้อมประกาศสงคราม<br />

กับฝรั่งเศสในวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๘๔ และในที่สุดญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทดังกล่าว โดยมี<br />

การประกาศหยุดยิงในเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๘๔ กับจัดประชุมเพื่อยุติข้อพิพาท<br />

ที่กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ - ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๔<br />

ผลจากการประชุม ปรากฏว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดน แคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง<br />

แคว้นจำปาศักดิ์ และแคว้นเขมรบางส่วนให้แก่ไทย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นที่พอใจของฝ่ายไทย<br />

โดยเฉพาะประชาชน โดยรายละเอียดได้มีการจัดทำเป็นรูปเล่มพร้อมทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว<br />

ในหนังสือ เกียรติภูมิ...กระทรวงกลาโหม ภาค ลิลิตคืนดินแดน<br />

ดังนั้น กระทรวงกลาโหม จึงได้จัดให้มีพิธีสวนสนามฉลองชัยชนะขึ้นที่พระนคร เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน<br />

๒๔๘๔ หน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยมีการจัดทำประตูชัยประกอบพิธีด้วยเพื่อให้ขบวนทหารเดินผ่าน<br />

เช่นเดียวกันกับสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑ การสวนสนามครั้งนั้นประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ<br />

ทหารอากาศ และตำรวจสนาม รวมทั้ง มีเครื่องบินกองทัพทหารอากาศเข้าร่วมพิธีด้วย ซึ่งประธาน<br />

ในพิธีคือจอมพล ป.พิบูลสงคราม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ แม่ทัพสนาม และพลเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีด้วย<br />

จอมพล ป.พิบูลสงคราม ร่วมกับประชาชน<br />

ปฏิญาณตนต่อหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

กรณีพิพาทอินโดจีน เพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส<br />

91


๖๒. สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน<br />

สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหมใน<br />

อดีต เป็นสนามหญ้าเต็มจนถึงขอบถนนภายใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ต่อมามีความจำเป็นต้องใช้<br />

พื้นที่ จึงได้จัดทำเป็นลานที่เห็นจอดรถกันในปัจจุบัน<br />

สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหมมีการใช้<br />

ประโยชน์หลายประการ แบ่งออกได้ ๒ ส่วนกล่าว<br />

คือ<br />

๑) ลานอเนกประสงค์ คือ ลานปูอิฐตัวหนอน<br />

สีเขียวและปรับพื้นเรียบ ใช้ประโยชน์ในงานพิธีการ<br />

ที่สำคัญต่างๆ อาทิ<br />

• ใช้ตั้งกองทหารเกียรติยศในพิธีต้อนรับ<br />

ผู้นำประเทศทั้งของไทยและมิตรประเทศ<br />

รัฐมนตรีกลาโหมต่างประเทศ ในโอกาส<br />

เยือนกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นทางการ<br />

• ใช้ประกอบพิธีสำคัญทางทหาร อาทิ การ<br />

รับส่งหน้าที่และรับมอบการบังคับบัญชา<br />

ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม พิธีการในวันสถาปนา<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

• ใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญ อาทิ พิธีเทิด<br />

พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ<br />

พิธีสำคัญทางรัฐพิธี<br />

• ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญ<br />

• ใช้จัดงานรื่นเริงหรืองานพบปะผู้ใต้บังคับ<br />

บัญชา<br />

• ใช้งานพิธีหรือกิจกรรมของหน่วยอื่นๆ<br />

ซึ่งในขณะที่ไม่มีพิธีการ ก็อนุญาตให้กำลังพล<br />

นำรถยนต์ทั้งที่เป็นรถยนต์ราชการ หรือรถยนต์<br />

ส่วนตัวมาจอดเพื่อปฏิบัติงานประจำวัน ดังที่เห็น<br />

ในปัจจุบัน<br />

๒) ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อ<br />

หอกลอง และการตกแต่งสวนรอบบริเวณ เพื่อให้<br />

กำลังพลได้สักการะและพักผ่อนตามอัธยาศัย<br />

กองทหารเกียรติยศผสม ๓ เหล่าทัพ ประกอบพิธีต้อนรับแขกต่างประเทศในโอกาสเยือนกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นทางการ<br />

92


๖๓. ต้นไม้ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

บริเวณรอบลานอเนกประสงค์ จะประกอบไปด้วยต้นไม้ต้นสูงปลูกอยู่รอบสนามและลานอเนกประสงค์<br />

ดูสวยงามและเป็นระเบียบ ต้นไม้ดังกล่าวเรียกว่า ต้นบุนนาค เพราะเป็นต้นไม้ที่นับว่ามีเกียรติประวัติ<br />

เคียงคู่กระทรวงกลาโหม ซึ่งในอดีต มีการปลูกต้นไม้หลายประเภทและมีการปรับเปลี่ยนชนิดของต้นไม้<br />

หลายครั้ง ประกอบด้วย ต้นราชพฤกษ์ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นปาล์ม ต้นพิกุล และอื่นๆ ซึ่งมีการจัดวาง<br />

ตามความประสงค์ในแต่ละสมัย ทำให้มีทั้งไม้ใหญ่และไม้เล็กปลูกเรียงสลับกันไป<br />

ต่อมา พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าภูมิทัศน์ภายใน<br />

ของศาลาว่าการกลาโหมควรได้รับการปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่ จึงให้นายทหารฝ่ายเสนาธิการช่วยกัน<br />

พิจารณาในเรื่องต้นไม้โดยให้หลักคิดว่า จะต้องเป็นต้นไม้ที่มีความส ำคัญและเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม<br />

กับกิจการทหารไทย และต้องเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีความสวยงาม มีประโยชน์ และมีลักษณะสูงเพื่อจะได้<br />

ไม่บดบังทัศนียภาพที่สง่างามของศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งจากการพิจารณาและตรวจสอบ ทราบดังนี้<br />

๑) ตระกูล “บุนนาค” เป็นตระกูลที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณ และมีความเกี่ยวข้องกับกิจการ<br />

ทหารไทยมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีอดีตบรรพบุรุษและบุคคลในตระกูลบุนนาคที่ด ำรงตำแหน่ง<br />

ทางทหารและรับราชการในกระทรวงกลาโหมตั้งแต่อดีต รวม ๙ ท่าน ดังนี้<br />

๑.๑) สมุหพระกลาโหม จำนวน ๕ ท่าน กล่าวคือ<br />

๑.๑.๑) เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) พ.ศ. ๒๓๓๖ - ๒๓๔๘<br />

๑.๑.๒) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) พ.ศ. ๒๓๗๓ - ๒๓๙๘<br />

๑.๑.๓) พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๐๑ - ๒๔๐๙<br />

๑.๑.๔) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๐๙ - ๒๔๑๒<br />

๑.๑.๕) เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒนพิพัฒน์ศักดิ์ (วร บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๑๒ - ๒๔๓๑<br />

๑.๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จำนวน ๑ ท่าน คือ พลเอก บรรจบ บุนนาค ๑๔<br />

มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๙ กันยายน ๒๕๓๕<br />

๑.๓) ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม จำนวน ๒ ท่าน กล่าวคือ<br />

๑.๓.๑) พระยาเทพประชุม (ท้วม บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๐๙ - ๒๔๑๒<br />

๑.๓.๒) นายพลโท พระยาพระกฤษณจันทร์ (สวาส บุนนาค) ๒๙ สิงหาคม ๒๔๖๔ -<br />

๓๑ มีนาคม ๒๔๖๙<br />

๑.๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน ๑ ท่าน คือ พลเอก ประยูร บุนนาค ๑ ตุลาคม ๒๕๒๘<br />

- ๓๐ กันยายน ๒๕๒๙<br />

93


บุคคลสำคัญในตระกูล “บุนนาค”<br />

ผู้มีคุณูปการกับกระทรวงกลาโหม โดยดำรงตำแหน่งสำคัญทางทหาร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน<br />

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์<br />

(ดิศ บุนนาค)<br />

พระยามนตรีสุริยวงศ์<br />

(ชุ่ม บุนนาค)<br />

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์<br />

(ช่วง บุนนาค)<br />

เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒนพิพัฒน์ศักดิ์<br />

(วร บุนนาค)<br />

พลเอก บรรจบ บุนนาค<br />

พระยาเทพประชุม<br />

(ท้วม บุนนาค)<br />

นายพลโท พระยาพระกฤษณจันทร์<br />

(สวาส บุนนาค)<br />

พลเอก ประยูร บุนนาค<br />

94


๒) ต้นบุนนาค เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้น สูงเต็มที่<br />

ประมาณ ๒๕ - ๓๐ เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับรูป<br />

ขอบขนานแคบกว้าง ๒ - ๓ เซนติเมตร ยาว ๗ - ๑๒ เซนติเมตร ใบอ่อนจะ<br />

มีสีแดง ดอกสีขาวหอมเย็น ออกเป็นกระจุกประมาณ ๑ - ๒ ดอก กลีบดอก<br />

รูปไข่กลับ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย ในต ำรายาแพทย์แผนไทย พบว่า เกือบจะทุกส่วน<br />

ของต้นบุนนาค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางยา กล่าวคือ<br />

• ใบ ใช้รักษาบาดแผล แก้แผลสด แก้พิษงู<br />

• เปลือกต้น แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ<br />

• แก่น แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงโลหิต<br />

• ดอกแห้ง เป็นยาฝาดสมาน ขับลมแก้ลมในไส้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต<br />

บำรุงหัวใจ<br />

• เมล็ด มีน้ำมันที่กลั่นใช้ผสมเครื่องสำอาง และอื่นๆ<br />

• ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ปัจจุบันนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่าง<br />

แพร่หลาย<br />

• ราก ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย<br />

ดังนั้น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ จึงได้สรุปนำเรียน พลเอก ทนงศักดิ์<br />

อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อขออนุมัติปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหมและปรับเปลี่ยนมาปลูกต้นบุนนาค ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีชื่อแสดงออก<br />

ถึงความเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมและกิจการทหารไทย จำนวน ๕๐ ต้น<br />

โดยดำเนินการในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงมีทัศนียภาพเป็นดังที่เห็น<br />

95


๖๔. ลักษณะอาคารภายในโรงทหารหน้า<br />

เดิมที โรงทหารหน้า ที่จัดสร้างขึ้นนี้ สร้างขึ้น<br />

ด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นพระราชนิยมในพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบบหนึ่ง ซึ่งหาก<br />

พิจารณาแล้วมีความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมเช่น<br />

เดียวกับอาคารที่ทำการพระคลังมหาสมบัติ (อาคาร<br />

กระทรวงการคลังเดิมในพระบรมมหาราชวัง) หรือ<br />

อาคารโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (ในพระบรม<br />

มหาราชวัง) หรือ อาคารมิวเซียมสยาม (อาคาร<br />

กระทรวงพาณิชย์เดิมบริเวณปากคลองตลาด) ซึ่งมี<br />

ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />

ผสมผสาน และมีการปรับเปลี่ยนภายในอาคาร<br />

จากแบบเดิมคือท้องพระโรง ที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อย<br />

ให้กลายมาเป็นประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น โดยการ<br />

• แบ่งภายในอาคารเป็นชั้นได้ถึง ๓ ชั้น<br />

• แบ่งซอยเป็นห้องจำนวนมากทั้งที่เป็น<br />

ห้องขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่<br />

• ใส่หน้าต่างให้มากขึ้นทั้งภายนอกและ<br />

ภายในอาคาร<br />

เนื่องจาก การวางแผนใช้ประโยชน์ของอาคาร<br />

โรงทหารหน้ามีเป็นจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่ง<br />

พื้นที่เป็นห้องต่างๆ และมีพัฒนาการ รวมถึง<br />

การปรับปรุงเพื่อรองรับการใช้งานตลอดเวลา<br />

ห้องทำงานหรือห้องที่พบเห็นในปัจจุบันนี้<br />

ส่วนใหญ่เป็นห้องที่จัดทำไว้ตั้งแต่อดีตแต่มีการ<br />

ตกแต่งภายในใหม่ให้รองรับการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้<br />

เพราะภายในศาลาว่าการกลาโหมประกอบด้วย<br />

ส่วนราชการขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หลายหน่วย และแต่ละหน่วยก็มีส่วนราชการ<br />

ย่อยลงไปอีกตามภารกิจที่กำหนด เมื่อเป็นเช่นนี้<br />

จึงสามารถใช้ประโยชน์จากการจัดสถานที่โรงทหาร<br />

หน้าแบบเดิมที่มีการซอยและจัดเป็นห้องทำงานไว้<br />

มาต่อยอดใช้ประโยชน์ของทางราชการ<br />

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการรับน้ำหนัก<br />

อาคารที่มีมหาศาล อันเกิดจากการแบ่งพื้นที่ภายใน<br />

ถึง ๓ ชั้นและมีห้องจำนวนมากมาย ดังนั้นรากฐาน<br />

ที่สำคัญคือ รากฐานอาคารแบบ Wall Footing ด้วย<br />

การก่อกำแพงรับน้ำหนัก โดยมีการก่ออิฐถือปูน<br />

เป็นชั้นบนสุดและลดหลั่นจากผนังทั้งสองข้าง<br />

ถ่ายน้ำหนักออกไปสู่ตอนปีกของฐาน อีกทั้ง<br />

ใต้ฐานรากได้วางท่อนซุงวางซ้อนกันเป็นแพ เรียกว่า<br />

แพซุง จึงทำให้อาคารคงรูปและมีสภาพการใช้งาน<br />

มานานกว่า ๑๒๐ ปีแล้ว<br />

๖๕. ทหารไทยกับการใช้ประโยชน์ภายในตัว<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ความใหญ่โต โอ่อ่าของอาคารโรงทหารหน้า<br />

แห่งนี้ สามารถบรรจุกำลังทหารได้ถึง ๑ กองพล<br />

พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ สัตว์พาหนะ เสบียงอาหาร<br />

ยานพาหนะ โรงครัว และโรงพยาบาลไว้อย่างครบ<br />

ครัน สำหรับกำลังทหาร สามารถรองรับทหารเหล่า<br />

ต่างๆ ประกอบด้วย ทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหาร<br />

ช่าง ทหารม้า ทหารเสนารักษ์ ทหารพลาธิการ และ<br />

ทหารดุริยางค์ โดยการประกอบกำลังจากนายทหาร<br />

นายสิบ และพลทหาร ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของเหล่า<br />

ทหารดังกล่าวอีกด้วย<br />

ในยุคต่อมา อาคารศาลาว่าการกลาโหม เคยใช้<br />

เป็นที่ทำการสำคัญของหน่วยทหาร อาทิ โรงเรียน<br />

เสนาธิการทหารบก กองบัญชาการกองทัพบก<br />

หน่วยงานของกองทัพบก และหน่วยงานของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เนื่องจากมีการขยายหน่วยใหม่เป็นจำนวนมาก<br />

เพื่อรองรับวิวัฒนาการทางทหารของประเทศ ทำให้<br />

ต้องบรรจุกำลังพลมากขึ้น และต้องใช้พื้นที่ในการ<br />

ปฏิบัติราชการเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดความ<br />

แออัด ประกอบกับ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก<br />

และกองบัญชาการกองทัพบก ได้ปรับปรุงพื้นที่<br />

ปฏิบัติราชการจึงทำให้มีการย้ายหน่วยออกจาก<br />

ศาลาว่าการกลาโหมไปตั้งในพื้นที่ต่างๆ<br />

96


ปัจจุบัน ศาลาว่าการกลาโหมจึงใช้ประโยชน์ทางทหารในส่วนที่ส ำคัญ กล่าวคือ<br />

• เป็นที่ทำการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นที่ทำการของปลัดกระทรวงกลาโหมและรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นที่ทำการของจเรทหารทั่วไปและผู้บังคับบัญชาชั้นสูงอื่นตามความ<br />

เหมาะสม<br />

• เป็นสถานที่จัดการประชุมในระดับนโยบายชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางการทูตด้านการทหารกับผู้แทนกระทรวง<br />

กลาโหมมิตรประเทศ<br />

• เป็นสถานที่ทำงานของส่วนราชการขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมที่ต้องปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

ดังนั้น การที่มีผู้บังคับบัญชาชั้นสูงจากกรมราชองครักษ์ กองบัญชาการ<br />

กองทัพไทย และเหล่าทัพ มาศาลาว่าการกลาโหมเป็นประจำทุกเดือนก็เพื่อมา<br />

ประชุมในระดับนโยบายชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม คือการประชุมสภากลาโหม<br />

และอาจเข้าพบปะหารือกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงในกระทรวงกลาโหม<br />

๖๖. ศาลาว่าการกลาโหมกับการเมืองการปกครองของไทย<br />

นอกจากการถวายงานสนองพระเดชพระคุณองค์พระมหากษัตริย์ งานการ<br />

ประกอบกิจกรรมทางทหารที่เคยใช้ประโยชน์จากโรงทหารหน้าและกระทรวง<br />

กลาโหมแล้ว ศาลาว่าการกลาโหม ยังเคยใช้เป็นสถานที่ในการรักษาความมั่นคง<br />

ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความมั่นคงทางการเมืองการปกปครอง<br />

ของไทย และการรักษาความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ดังนี้<br />

๑) วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญ<br />

การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญ<br />

ฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม) ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงลงพระปรมาภิไธย มาเก็บรักษาไว้ที่ศาลาว่าการกลาโหม จนกระทั่งปี<br />

พ.ศ. ๒๕๒๖ กระทรวงกลาโหม โดย พลเอก ทวนทอง สุวรรณทัต ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ได้นำพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าวไปมอบให้กับ พลอากาศเอก<br />

หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา เพื่อนำไปเก็บรักษาที่รัฐสภา<br />

๒) วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓ นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี<br />

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ใช้สนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

เป็นที่ให้การต้อนรับคณะยุวชนทหาร ยุวนารี และประชาชนต่อกรณีการเรียกร้อง<br />

ดินแดนคืนจากฝรั่งเศส<br />

97


๓) วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ พลโท ผิน<br />

ชุณหะวัน (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร<br />

ได้ใช้อาคารศาลาว่าการกลาโหม เป็นที่ท ำการประชุม<br />

วางแผน เพื่อเตรียมยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มี<br />

พลเรือตรี ถวัลย์ ธ ำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี<br />

ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์<br />

ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้<br />

อันมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์สวรรคตของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล<br />

ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ<br />

และประเทศกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ<br />

๔) เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๔ จอมพล<br />

ถนอม กิตติขจร ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการ<br />

บริหารราชการแผ่นดิน และได้ใช้ร่วมประชุม ณ<br />

ห้องประชุมกระทรวงกลาโหม (ห้องทำงาน พลเอก<br />

จิตติ นาวีเสถียร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด)<br />

เป็นห้องประชุมและเป็นกองบัญชาการของคณะ<br />

ปฏิวัติ เพื ่อการปฏิบัติงานในฝ่ายรักษาความมั่นคง<br />

แห่งชาติ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามนโยบาย<br />

ของคณะปฏิวัติ<br />

ดังกล่าวมานี้คือ เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง<br />

การปกครองที่มีการบันทึกถึงความเกี่ยวข้องกับ<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๖๗. กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า ศาลาว่าการกลาโหม<br />

แห่งนี้ นอกจากเป็นที่ทำการของกระทรวงกลาโหม<br />

แล้ว ยังเคยเป็นที ่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพบก<br />

อีกด้วย สืบเนื่องจากในยุคแรกของโรงทหารหน้า<br />

มีการบรรจุกำลังทหารของทหารเหล่าต่างๆ<br />

ซึ่งรวมถึงหน่วยทหารราบด้วย ต่อมาเมื่อมีการ<br />

ตราพระราชบัญญัติจัดการทหาร โดยให้รวบรวม<br />

ทหารบกและทหารเรือ ตั้งเป็นกรมใหม่ เรียกว่า<br />

กรมยุทธนาธิการ ก็มีการบัญญัติตำแหน่งผู้ช่วย<br />

ผู้บังคับบัญชาการทหารบก และเมื่อมีการยกฐานะ<br />

กรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) เป็นผู้บัญชาการทหารบก<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อลดฐานะเป็น<br />

กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา<br />

ทหารบก ก็มีการแบ่งส่วนราชการกรมยุทธนาธิการ<br />

เป็น ๑๔ หน่วย ซึ่งมี กรมทหารบกใหญ่ เป็นส่วน<br />

ราชการขึ้นตรงด้วย<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เมื่อโอนกรมยุทธนาธิการ<br />

มาเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ก็มี<br />

การบัญญัติให้มีหน่วยงานทหารบกหลายหน่วยเป็น<br />

ส่วนราชการขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ อาทิ กรมปลัด<br />

ทัพบก กรมจเรทัพบก กรมยกกระบัตรทัพบก<br />

ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการจัดตั้งกองทัพบกขึ้น แต่ส่วน<br />

บังคับบัญชาส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

และมีการย้ายที่ทำการกองทัพบกมาอยู่ที่ตึกกลาง<br />

ศาลาว่าการกลาโหม และมีการถือกำเนิดหน่วย<br />

ขึ้นตรงกองทัพบกเกิดขึ้นและจัดตั้งหน่วยในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในเดือนกันยายน ๒๕๓๖ หน่วยงานต่างๆ<br />

ในกองทัพบก ได้ย้ายเข้าสู่ที่ตั้งใหม่ ณ กองบัญชาการ<br />

กองทัพบกปัจจุบัน (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า<br />

เดิม)<br />

จึงกล่าวได้ว่า ศาลาว่าการกลาโหม คือ ที่ท ำการ<br />

กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก<br />

98


๖๘. โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก<br />

ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวง<br />

กลาโหมได้จัดให้มีหลักสูตรเสนาธิการทหารบกเพื่อให้นายทหารที่ผ่านการ<br />

คัดเลือกเข้ารับการศึกษา โดยเริ่มต้นตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบกภายในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม บริเวณชั้นที่ ๒ ของอาคารด้านทิศเหนือ<br />

เริ่มแรก เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๔๑ ได้มีการเปิดการศึกษาและฝึกหน้าที่<br />

ฝ่ายเสนาธิการทหารบกขึ้นให้นายทหารเข้ามาทดลองเรียน<br />

จนถึง ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนคร<br />

สวรรค์วรพินิต (ยังดำรงพระยศเป็น พลตรี ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหาร<br />

บก) ได้ทรงสั่งการให้ทำการคัดเลือกนายทหารจากกรมกองต่างๆ เข้ามาสำรอง<br />

ราชการในกรมเสนาธิการทหารบก เพื่อเข้ามาศึกษาทดลองทำงานในหน้าที่<br />

ฝ่ายเสนาธิการ เมื่อครบกำหนดแล้ว ก็มีการพิจารณาคัดเลือกผู้มีความเหมาะสม<br />

ให้เข้ารับราชการประจำในกรมเสนาธิการทหารบกต่อไป<br />

ต่อมา ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๕๒<br />

และใช้อาคารศาลาว่าการกลาโหมเป็นที่ตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จนถึง<br />

ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงย้ายโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จากศาลาว่าการกลาโหม<br />

ไปอยู่ในบริเวณกรมแผนที่ทหาร และวังบางขุนพรหม ตามลำดับ<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๕๐๑ ได้ย้ายกลับมาใช้สถานที่ศึกษาในศาลาว่าการ<br />

กลาโหมอีกครั้ง ก่อนที่จะย้ายไปที่สวนสนปฏิพัทธ์ และโรงเรียนยานเกราะ<br />

ตามลำดับ หลังจากนั้น วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๑๓ จึงย้ายเข้าสู่อาคารประภาสโยธิน<br />

เป็นการถาวรตราบจนถึงปัจจุบัน<br />

99


จึงกล่าวได้ว่า ศาลาว่าการกลาโหม คือ ที่ทำการของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก และยังให้<br />

ใช้เป็นสถานที่เรียนในยุคต่อมา ทั้งยังเป็นสถานที่สำหรับผลิต อดีตผู้บังคับบัญชาและอดีตนายทหารฝ่าย<br />

เสนาธิการ (ซึ่งเป็นมันสมองของกองทัพ) อันทรงคุณค่าให้แก่กองทัพไทยอีกด้วย<br />

จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ<br />

ขณะดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก (ปีพุทธศักราช ๒๔๕๒-๒๔๕๖)<br />

ฉายภาพร่วมกับเหล่านายทหาร ในศาลาว่าการกลาโหม)<br />

100<br />

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่<br />

ถ่ายภาพร่วมกับนักเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๒๖ ในศาลาว่าการกลาโหม ปีพุทธศักราช ๒๔๘๖


๖๙. ที่ทำการจเรทหาร ที่ปรึกษาทางทหาร<br />

และจเรทหารทั่วไป<br />

ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ มีเกียรติภูมิ<br />

และเกียรติประวัติอันสำคัญต่อการขับเคลื่อน<br />

ทิศทางและผลิตมันสมองของกองทัพในยุคบุกเบิก<br />

จนพัฒนามาเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวง<br />

กลาโหมที่สำคัญอย่างกองทัพบก<br />

ความจริงแล้ว ศาลาว่าการกลาโหม ยังมี<br />

เกียรติประวัติในเรื่องของที่ทำการสำคัญอีก<br />

๒ สำนักงาน ซึ่งในปัจจุบันท่านอาจไม่คุ้นเคยกับบาง<br />

ตำแหน่งเท่าใดนัก ผมขอเรียน ดังนี้<br />

๑) ที่ทำการจเรทหาร ในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ จอมพล สมเด็จพระราช<br />

ปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นจเรทหาร<br />

โดยให้มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจและแนะนำตักเตือน<br />

หน่วยทหารทั่วไปให้ปฏิบัติตามระบียบ ข้อบังคับ<br />

ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ออกไว้ ทั้งดำริการแก้ไข<br />

เพิ่มเติมในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทรงเห็นยังบกพร่องอยู่<br />

ในหน่วยทหารทั่วไป ซึ่งมีที่ทำการจเรทหารอยู่ใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหมบริเวณมุขกลางด้านหน้า<br />

๒) ที่ทำการจเรทหารทั่วไปและที่ปรึกษา<br />

ทางทหาร ในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม (ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๕๐๐)<br />

ได้มีการแต่งตั้งต ำแหน่งจเรทหารทั่วไป และที่ปรึกษา<br />

ทางทหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขึ้น<br />

โดยให้มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น ๓ ตึกกลางมุขหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งต่อมา ตำแหน่งจเรทหารทั่วไป เคยงดการ<br />

แต่งตั้งมาห้วงระยะเวลาหนึ่ง และมีการนำแต่งตั้ง<br />

นายทหารระดับสูงของกองทัพอีกครั้งตั้งแต่ ปี<br />

พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา และต่อมาได้กำหนดให้เป็น<br />

ตำแหน่งในอัตราจอมพล จอมพลเรือ และจอมพล<br />

อากาศ<br />

๗๐. ที่พักทหารของโรงทหารหน้า<br />

การที่เคยมีกำลังพลทหารประมาณ ๑ กองพล<br />

ปฏิบัติหน้าที่ในโรงทหารหน้า ซึ่งมีพลทหารเป็น<br />

จำนวนมาก ย่อมต้องมีการบริหารจัดการในเรื่อง<br />

ของการพักแรมเป็นอย่างดี กล่าวคือ<br />

๑) ที่พักนายทหาร โดยในตัวอาคารโรงทหาร<br />

บริเวณชั้นสองของอาคารบางส่วนทำเป็นที่พัก<br />

ของนายทหาร สำหรับกำลังพลส่วนมากที่เป็นพล<br />

ทหาร จึงต้องแยกส่วนออกมาเพราะโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหมเป็นสถานที่ทำการของ<br />

เหล่าทหารตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจทางทหาร<br />

ตะวันตกที่ได้มีการก ำหนดการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม<br />

๒) ที่พักพลทหาร พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างสถานที่พักทหาร รวมทั้ง สร้างตะราง<br />

กลาโหม (เรือนจำทหาร) อย่างเป็นสัดส่วน<br />

แยกออกจากที่ทำการของกรมทหารหน้า<br />

กรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ<br />

โดยนายโจอา คิม กราซซี สถาปนิกและวิศวกร<br />

ชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบ<br />

โดยการสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวจำนวน<br />

๗ หลัง ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหม<br />

ก่อนถึงถนนราชินี แยกเป็นเรือนนอน โรงครัว<br />

ที่ซักผ้า - อาบน้ำ ที่พักทหาร ตะรางกลาโหม และ<br />

สถานที่สำหรับติดต่อราชการหรือให้ญาติมาพบได้<br />

ตามอัธยาศัย<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื่องจากมีความ<br />

จำเป็นจะใช้พื้นที่จัดสร้างอาคาร วิทยาลัยป้องกัน<br />

ราชอาณาจักร จึงได้รื ้อถอนอาคารที่พักทหารและ<br />

ตะรางกลาโหมดังกล่าว ทำให้มีการใช้ประโยชน์<br />

ของอาคารดังกล่าวนานถึง ๖๘ ปี (พ.ศ. ๒๔๒๘ -<br />

๒๔๙๖)<br />

101


๗๑. ตะรางกลาโหม<br />

เป็นธรรมดาที่คนหมู่มากมาทำงานร่วมกันย่อมจะต้องมีการกระทำผิด และสำหรับทหารซึ่งมี<br />

กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวินัยทหาร เป็นกรอบการปฏิบัติ ย่อมมีผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำผิดบ้างจึงต้อง<br />

มีการลงโทษ ลงทัณฑ์บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ การสร้างเรือนจำทหารจึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด<br />

อย่างไรก็ตาม มีการบันทึกว่า เรือนจำทหารโรงทหารหน้า หรือ ตะรางกลาโหม ได้เคยใช้ประโยชน์<br />

นอกเหนือจากการลงโทษ ลงทัณฑ์ทหารแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในการคุมขังนักโทษความมั่นคงแห่งชาติ<br />

มาหลายครั้ง อาทิ กรณีเกิดการกบฏของอั้งยี่ ในพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ กรณีการกบฏของเงี้ยวที่<br />

จังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ และกรณีกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ หรือที่เรียกว่า กบฏเก็กเหม็ง (พ.ศ. ๒๔๕๕)<br />

๗๒. โรงทหารหน้า กองบัญชาการปราบกบฏอั้งยี่<br />

นอกจากกิจการทหารแล้ว โรงทหารหน้ายังเคยใช้เป็นสถานที่สำคัญในการปฏิบัติราชการเพื่อรักษา<br />

ความมั่นคงแห่งชาติครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือเหตุการณ์กบฏอั้งยี่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น<br />

ในเดือนมิถุนายน ๒๔๓๒ ซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบในพระนคร บริเวณโรงสีปล่องเหลี่ยม บางรัก ระหว่าง<br />

กรรมกรชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนกับกรรมกรชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งงานกันทำ<br />

ซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นที่บริเวณริมถนนเจริญกรุง ๒ ข้าง ใกล้กับวัดยานนาวา<br />

ในครั้งนั้น กระทรวงนครบาลไม่สามารถระงับเหตุได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ผู้บัญชาการ<br />

กรมยุทธนาธิการเตรียมการจัดกำลังทหารเข้าปราบปรามพวกอั้งยี่และควบคุมสถานการณ์แทน<br />

โดยในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๒ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ จึงโปรดให้มีการใช้ตึกกลาง<br />

ของศาลายุทธนาธิการเป็นกองบัญชาการปราบอั้งยี่ โดยทูลเชิญ นายพลโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เจ้ากรมยุทธนาธิการ นายพลตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก และนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน รักษาราชการ<br />

แทนผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ มาประชุมปรึกษาการปราบอั้งยี่ครั้งนี้ ผลการประชุมได้จัดกำลังทหารบก<br />

ขึ้นรถรางไฟฟ้าสายหลักเมือง - ถนนตก ไปที่บริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ และจัดกำลังทหารเรือ ลงเรือล่องตาม<br />

แม่น้ำเจ้าพระยาจากกรมทหารเรือขึ้นบุกด้านใต้บริเวณนี้เกิดเหตุอีกหนึ่งกองกำลัง<br />

ในวันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๓๒ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา จึงดำเนินการตามแผนฯ ปรากฏผลว่าทหาร<br />

ดำเนินการปราบอั้งยี่ดังกล่าวได้สำเร็จ และสามารถควบคุมตัวผู้ก่อความไม่สงบได้ราว ๘๐๐ คน มีจำนวน<br />

อั้งยี่เสียชีวิตราว ๑๐ คน และบาดเจ็บราว ๒๐ คน และนำตัวมาคุมขังที่ตะรางกลาโหม ก่อนส่งให้กระทรวง<br />

นครบาลนำตัวไปดำเนินการตามคดีต่อไป<br />

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่า การใช้กำลังทหารในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในพระนคร<br />

ครั้งนี้ ได้สร้างเกียรติประวัติแก่กองกำลังทหารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ควรจารึก<br />

ไว้ในเกียรติประวัติศาลาว่าการกลาโหมให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบและศึกษาค้นคว้าสืบต่อไปในอนาคต<br />

102


103


๗๓. อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ในอดีต วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. ได้เคยเปิดทำการศึกษาที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

เป็นรุ่นแรกๆ กล่าวคือ<br />

๑) ภายหลังกองทัพไทยได้ส่งกองกำลังเข้าร่วมรักษาสันติภาพที่เกาหลีใต้ ที่เรารู้จักกันว่า สงคราม<br />

เกาหลี ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและกองทัพสหรัฐอเมริกา<br />

ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่กองทัพไทยเพื่อการป้องกันและรุกรานเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์<br />

โดยกำหนดให้มีการจัดการศึกษา ซึ่งหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรของสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่ง<br />

ในจำนวนของความช่วยเหลือทางทหารที่กองทัพไทยมีความประสงค์ให้จัดตั้งขึ้น<br />

๒) ในขณะนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกลาโหม ได้นำเรื่อง<br />

จัดตั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร นำเสนอต่อสภากลาโหม ผลปรากฏสภากลาโหมมีมติอนุมัติให้<br />

เปิดหลักสูตรกับให้กรมเสนาธิการกลาโหม เป็นหน่วยดำเนินการพิจารณาสรรหาที่ตั้งของวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร<br />

อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร บริเวณด้านหลังศาลาว่าการกลาโหม<br />

104


๓) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พลเอก เดช เดชประดิยุทธ เสนาธิการกลาโหม<br />

ตกลงใจเลือกบริเวณด้านหลังอาคารกระทรวงกลาโหม หรือ ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก เป็นที่ก่อสร้างวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นผลให้<br />

กระทรวงกลาโหมอนุมัติให้รื้อถอน อาคารที่พักทหาร เรือนจำ (ตะรางกลาโหม)<br />

และปรับพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหมเพื่อจัดสร้างวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร<br />

๔) พิธีวางศิลาฤกษ์จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๙๖ บริเวณด้าน<br />

ทิศเหนือริมถนนหลักเมือง มีพลเอก หลวงวิชิตสงคราม ที่ปรึกษาทางทหาร<br />

(อดีตรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงกลาโหม) เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ โดยกำหนด<br />

ให้มีที่ทำการอยู่ด้านหลังของอาคารกระทรวงกลาโหม ริมคูเมืองชั้นใน ซึ่งเรียก<br />

กันว่าคลองโรงไหม (คลองเตยหรือคลองหลอด) ดำเนินการก่อสร้างในวงเงิน<br />

งบประมาณ ๗,๔๙๓,๐๐๐. - บาท<br />

๕) โดยลักษณะอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น โดยเป็น<br />

สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในขณะนั้น เช่นเดียวกันกับอาคารกระทรวงคมนาคม<br />

อาคารที่ทำการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้สร้างเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร<br />

ด้านหลังของกระทรวงกลาโหม มีทางเดินติดต่อกัน ๓ ชั้น คือ<br />

ชั้นบน เป็นห้องบรรยาย<br />

ชั้นกลาง เป็นห้องประชุม<br />

ชั้นล่าง เป็นห้องรับรอง ซึ่งใช้เป็นห้องประกอบพิธีพระราชทานปริญญา<br />

บัตรแก่นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

๖) สำหรับด้านปีกของอาคารซึ่งต่อออกมาในทางทิศใต้นั้น มีการจัดสรร<br />

พื้นที่การใช้ประโยชน์ออกเป็นที่ทำการหน่วยงาน รวม ๓ หน่วย คือ หนึ่ง<br />

เป็นที่ทำการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สอง เป็นที่ตั้งของกรมเสนาธิการ<br />

กลาโหม และ สาม เป็นที่ประชุมขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization : SEATO)<br />

๗) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๗<br />

จึงได้ทำพิธีเปิดอาคารพร้อมกับพิธีเปิดการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร<br />

(วปอ.) รุ่นที่ ๑ ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๘ โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

เป็นประธานในพิธี<br />

๘) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ได้ย้ายที่ท ำการ<br />

ไปอยู่ที่อาคารใหม่ถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท กรุงเทพฯ<br />

เรียกว่า อาคารศาลาว่าการกลาโหม ได้บันทึกประวัติศาสตร์ทางทหาร<br />

อีกหนึ่งหน้า และเป็นรากฐานของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศในปัจจุบัน<br />

105


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเป็นประธานทรงพระราชทาน ปริญญาบัตร วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะ<br />

แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพบก, เรือ, อากาศ และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก, เรือ, อากาศ<br />

ณ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

106


๗๔. ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า ในห้วงเวลาประมาณ<br />

๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา กองบัญชาการทหารสูงสุด เคยมี<br />

ที่ตั้งอยู่ในศาลาว่าการกลาโหม และมีห้องประชุม<br />

ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อใช้ประกอบพิธีการต่างๆ<br />

ซึ่งในอดีตห้องประชุมดังกล่าวเคยเป็นห้องประชุม<br />

ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรมาก่อน ต่อมา<br />

เมื่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรย้ายออกไป<br />

ที่ตั้งใหม่ถนนแจ้งวัฒนะ จึงปรับมาเป็นห้องประชุม<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด โดยมีที่ตั้งบริเวณหัวมุม<br />

ถนนราชินีตัดกับถนนหลักเมือง เป็นห้องประชุมและ<br />

ห้องจัดเลี้ยงขนาดบรรจุคนได้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คน<br />

ที่ผ่านมาเคยใช้ประโยชน์ของราชการทหาร<br />

หลายครั้ง ทั้งเคยเป็นห้องจัดพิธีสำคัญทางทหาร<br />

อีกด้วย กล่าวคือ<br />

๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล<br />

อดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทาน<br />

ปริญญาบัตร วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเข็ม<br />

วิทยฐานะ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สำเร็จการศึกษา<br />

จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัย<br />

เสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพบก วิทยาลัยการ<br />

ทัพเรือ วิทยาลัยการทัพอากาศ โรงเรียนเสนาธิการ<br />

ทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียน<br />

เสนาธิการทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๙<br />

จนถึง ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี<br />

ณ ห้องประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ถนนวิภาวดีรังสิต และ ห้องประชุมใหญ่สวนอัมพร<br />

ตามลำดับ<br />

๒) เคยใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองในงานพิธีสำคัญ<br />

ของทางราชการทหาร อาทิ งานวันกองทัพไทย<br />

งานวันสถาปนาหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหาร<br />

สูงสุด<br />

๓) เคยใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองในงานรับรอง<br />

ผู้แทนทางทหารมิตรประเทศ<br />

๔) ใช้เป็นห้องประกอบพิธีทางศาสนา และ<br />

ให้กำลังพลร่วมฟังเทศน์และปฏิบัติธรรม<br />

๕) กรมการเงินกลาโหม เคยใช้เป็นห้องสำหรับ<br />

ให้ผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ แสดงตนประจำปี<br />

เพื่อรับสิทธิจากทางราชการ<br />

๖) เคยใช้เป็นห้องจัดงานเลี้ยงของหน่วยขึ้นตรง<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และหน่วยขึ้นตรง<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

๗) งานพิธีอื่นๆ<br />

ก่อนที่จะรื้อถอนอาคารกองบัญชาการทหาร<br />

สูงสุด และสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมด้านทิศตะวันออก ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน<br />

107


๗๕. อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ในอดีต อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดและอาคารที่ทำการหน่วยขึ้นตรง<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด เคยจัดสร้างในบริเวณศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑) อาคารที่ทำการหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด เริ่มต้นในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งเป็นปีที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ<br />

กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งบัญญัติให้มีกองบัญชาการทหารสูงสุด และ<br />

ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดส่วนราชการขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ขึ้นเป็นครั้งแรก<br />

ในการนี้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีและผู้บังคับบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด ได้มีดำริและอนุมัติให้มีการจัดสร้างตึกที่ทำการหน่วยขึ้นตรง<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุดและตึกโทรคมนาคมบริเวณพื้นที่ระหว่างอาคาร<br />

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรกับด้านหลังอาคารทิศตะวันออกของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม จำนวน ๓ หลัง<br />

๒) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้ย้าย<br />

ที่ทำการไปอยู่ที่อาคารใหม่ ถนนวิภาวดีรังสิต จึงได้ท ำพิธีตั้งอาคารกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดยใช้อาคารจำนวน ๔ หลัง ด้าน<br />

ทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหมจึงเป็นที่ทำการของกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด<br />

๓) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ย้ายที่ท ำการหน่วย<br />

ขึ้นตรงไปอยู่ ณ ที่ทำการใหม่บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ และส่งมอบอาคาร<br />

จำนวน ๔ หลัง ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมดูแล<br />

๔) เมื่อแรกรับมอบอาคาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ใช้ประโยชน์<br />

ของอาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นที่ทำการของสำนักงานแพทย์<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แต่เนื่องจากอาคารทั้ง ๔ หลัง เป็นอาคาร<br />

ที่มีอายุการใช้งานมานานประกอบกับสภาพภายในอาคารชำรุดทรุดโทรม จึงมิได้<br />

มีการปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์<br />

108


๗๖. การต่อเติมอาคารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ<br />

แต่เดิมเคยมีโครงการก่อสร้างที่ทำการกระทรวงกลาโหมแห่งใหม่ เพื่อรวมหน่วยงานที่กระจัดกระจาย<br />

หลายแห่งไว้ในที่เดียวกัน โดยคำนึงถึงความสมดุลของสถาปัตยกรรมและการใช้งาน<br />

แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูงได้พิจารณาจากกระแสพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เมื่อวันที่<br />

๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๔ มีความบางตอนว่า<br />

“…การสร้างอาคารสมัยใหม่นี้ คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว<br />

แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าแผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้...<br />

...ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ<br />

ของพลเมือง และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษจึงควรรักษาไว้...<br />

....โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ โบราณสถานทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นของมีคุณค่าและ<br />

จำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์...<br />

...เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทย ที่มีมาแต่อดีตกาล สมควรจะสงวนรักษาไว้<br />

ให้คงทน...<br />

...ควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาและตั้งแสดง...<br />

...เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศเราที่เป็นเอกสารที่มีอยู่โดยจ ำกัด...<br />

...ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องระวังรักษาอย่างดีที่สุดตลอดไป...”<br />

109


จึงมีความคิดที่จะอัญเชิญพระบรมราโชวาทไว้เหนือเกล้าฯ และปฏิบัติ<br />

ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ พลเอก ธรรมรักษ์<br />

อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกลาโหม จึงได้อนุมัติให้ชะลอโครงการ<br />

ก่อสร้างที่ทำการกระทรวงกลาโหมแห่งใหม่และอนุมัติงบประมาณการต่อเติม<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เพื่อให้เป็นสถานที่ทำการ<br />

ของสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมต่อไปในอนาคต<br />

ในการนี้สำนักโยธาธิการกลาโหม สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม จึงได้ออกแบบอาคารส่วนต่อเติมด้านทิศตะวันออกของ<br />

ศาลาว่าการกลาโหมตามแบบอย่างอาคารศาลาว่าการกลาโหม นับว่า สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมได้น้อมเกล้าฯ อัญเชิญกระแสพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ<br />

การอนุรักษ์โบราณสถานมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม<br />

๗๗. อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก<br />

เนื่องจากอาคารที่ทำการกองบัญชาการทหารสูงสุดมีอายุมากกว่า ๕๐ ปี<br />

การบูรณะซ่อมแซมต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก ประกอบกับ เป็นอาคาร<br />

แบบเก่าที่ไม่สามารถปรับปรุงให้รองรับปริมาณงานได้เต็มที่<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจึงได้บรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนา<br />

และปรับปรุงอาคาร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม (ในยุคของ พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม)<br />

และได้มีการอนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๐<br />

(ในยุคของ พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ<br />

พลเอก วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม) และมีพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวัน<br />

จันทร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ โดย พลเอก วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นประธานในพิธี<br />

ซึ่งการดำเนินการ เป็นการจัดสร้างโดยรื้อถอนอาคารกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด และก่อสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทนตามรูปแบบที่มีลักษณะ<br />

ทางสถาปัตยกรรมกลมกลืนกับอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านหน้า (หลังเดิม<br />

ที่ใช้การอยู่จนถึงปัจจุบัน) โดยให้มีความต่อเนื่องจากอาคารเดิม และคงรูปแบบ<br />

ภายนอกอาคารในลักษณะเดิมแต่เพิ่มประโยชน์ใช้สอยเป็นอาคารสำนักงาน<br />

ซึ่งองค์ประกอบของอาคาร มีดังนี้<br />

ชั้นที่ ๑ เป็นส่วนสำนักงาน ส่วนบริหารกลาง ส่วนงานระบบภายในอาคาร<br />

และส่วนอื่นๆ ประกอบด้วย โถงบันได ลิฟท์โดยสารและลิฟท์ขนย้าย<br />

ชั้นที่ ๒ เป็นห้องประชุมขนาด ๓๐๐ ที่นั่ง และขนาด ๑๘๐ ที่นั่ง<br />

ส่วนบริหารกลาง ส่วนงานระบบภายในอาคาร ลิฟท์โดยสารและลิฟท์ขนย้าย<br />

โดยที่ห้องประชุมในชั้นที่ ๒ นี้ ประกอบด้วย<br />

110


• ห้องพินิตประชานาถ เป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ ๓๐๐ ที่นั่ง<br />

• ห้องยุทธนาธิการ เป็นห้องประชุมขนาด ๑๘๐ ที่นั่ง<br />

ชั้นที่ ๓ เป็นส่วนสำนักงานผู้บังคับบัญชาระดับสูง และห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นห้องประชุมขนาด ๘๐ ที่นั่ง<br />

ทั้งนี้ บริเวณชั้นล่าง ยังจัดทำเป็นลานโล่งภายในสำหรับใช้ประโยชน์และจอดรถยนต์ บนพื้นที่ ๓ ไร่<br />

๒ งาน และ ๕๙ ตารางวา หรือ ๑,๔๕๙ ตารางวา<br />

ต่อมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ได้ประกอบพิธีเปิดอาคาร โดย พลอากาศเอก สุกำพล<br />

สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี<br />

สำหรับงบประมาณที่ใช้ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างจำนวน ๒๕๒,๔๘๙,๐๐๐. - บาท และค่าตกแต่ง<br />

ภายในอาคาร จำนวน ๑๖๘,๑๔๐,๐๐๐. - บาท<br />

111


๗๘. ห้องอารักขเทวสถาน<br />

ห้องอารักขเทวสถานแห่งนี้ เดิมทีเป็นห้องคลังครุภัณฑ์ และยุทธภัณฑ์ของหน่วยทหารมาตั้งแต่รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นห้องชั้นล่างของอาคารตึกสามชั้นด้านขวา (ทิศเหนือ)<br />

ของโรงทหารหน้า ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ภายใต้<br />

ตัวอาคารประกอบด้วย เสาไม้สักทรงกลม ก่ออิฐถือปูนหุ้มทับเสาไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่มีเสาไม้สักบางต้น<br />

ไม่ได้ก่ออิฐถือปูนทับเสา อาทิ เสาไม้สักทรงกลมกลางห้องอารักขเทวสถานแห่งนี้<br />

ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ กรมยุทธโยธาทหารบก ได้ใช้ห้อง<br />

อารักขเทวสถานนี้เป็นกองคลังยุทธศาสตร์เก็บอาวุธยุทธสัมภาระ<br />

ต่อมา กรมพลาธิการทหารบก ได้ใช้เป็นที่ทำการคลังเก็บสิ่งอุปกรณ์เหล่าทหารพลาธิการ เป็นเวลา<br />

หลายปี<br />

และหน่วยสุดท้ายที่ใช้เป็นที่ทำการหน่วยคือ กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก ซึ่งในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้เกิดเหตุการณ์ประหลาด ปรากฏว่า มีน้ำมันไหลออกจากเสาไม้สักกลางห้องบริเวณหัวเสา<br />

ด้านบนสุด ซึ่งตามโบราณเชื่อกันว่า มีรุกขเทวดา นางไม้ สิงสถิตอยู่ ข้าราชการในสังกัดกองประวัติศาสตร์<br />

ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาและเชื่อว่ามีรุกขเทวดาสิงสถิตที่เสาไม้สัก จึงนำผ้าสีมงคลมาผูกและปิดทอง<br />

โดยรอบเสา พร้อมทั้งกราบไหว้อธิษฐานขอโชคลาภ โดยที่ผู้มาสักการะดังกล่าว มักประสบความสำเร็จ<br />

ตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานหรือบนบานไว้ ทำให้ห้องอารักขเทวสถาน ได้รับการกล่าวขานและนับถือว่า<br />

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในศาลาว่าการกลาโหม ควรแก่การเคารพกราบไหว้บูชา และเป็นที่พึ่ง<br />

ยึดเหนี่ยวจิตใจของกำลังพลในกระทรวงกลาโหม<br />

112


ปัจจุบัน ภายหลังจากที่กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก ได้ย้ายที่ทำการหน่วยไปเข้าที่<br />

ตั้งแห่งใหม่ บริเวณกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอกแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ได้ปรับปรุงและจัดห้องใหม่ ให้เหมาะสม กับได้มอบให้ สำนักงานกำลังพล กรมเสมียนตรา เป็นหน่วย<br />

รับผิดชอบดูแลรักษา<br />

๗๙. ห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณอาคารด้านทิศตะวันออกใต้ ชั้นที่ ๓ ซึ่งเป็นมุมสุดของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ได้จัดให้มีห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม และประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน<br />

ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว มีพระนามว่า พระพุทธนวราชตรีโลกนาถศาสดา<br />

กลาโหมพิทักษ์ มีความหมายว่า พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ผู้เป็นพระศาสดา ผู้เป็นที่พึ่งในโลกทั้ง ๓ ผู้พิทักษ์รักษาปวงทหารกระทรวง<br />

กลาโหม ซึ่งเป็นพระประธานประจำพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม<br />

และบริเวณเบื้องหลังองค์พระประธาน ท่านจะเห็นเป็นซุ้มเล็ก รวม ๙ ซุ้ม แต่ละซุ้มเป็นที่ประดิษฐาน<br />

พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุ เพื่อเป็นที่สักการะของกำลังพล โดยห้องพุทธศาสนสถานใช้เป็น<br />

ที่ประกอบพิธีสงฆ์ประจำทุกวันธรรมสวนะหรือทุกวันพระนั่นเอง<br />

นอกจากนี้ ยังได้ประดิษฐานหอกลองจำลองซึ่ง นายพลเอก หลวงสถิตย์ยุทธการ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ได้จัดสร้างขึ้นและนำมาตั้งไว้ที่ชั้นที่ ๓ ดังที่ทราบ<br />

สำหรับห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม ปัจจุบันเป็นห้องสำนักงานของสำนักงาน<br />

อนุศาสนาจารย์ กรมเสมียนตรา<br />

113


๘๐. ห้องประชุมสภากลาโหม<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับ<br />

กิจการทหารและเรื่องต่างๆ อาทิ ระเบียบ ข้อบังคับ สิทธิกำลังพล โดยมีผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

เป็นประธาน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกรมยุทธนาธิการ กล่าวคือ<br />

จเรทัพบก เสนาธิการทหารบก ปลัดทัพบก เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้บัญชาการมณฑล โดยใช้สถานที่จัดการ<br />

ประชุมคือ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒ ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

มีการบันทึกว่าการประชุมครั้งแรกจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งบันทึกการประชุมได้เก็บรักษาที่ห้อง<br />

พิพิธภัณฑ์กระทรวงกลาโหม โดยเอกสารฉบับดังกล่าวเป็นรายงานการประชุมผู้บัญชาการทหารบกมณฑล<br />

ที่มีการจดและเรียบเรียงพร้อมจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ในโรงพิมพ์กรมยุทธนาธิการ<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับ<br />

กิจการทหารและเรื่องต่างๆ โดยมีเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย<br />

จเรทหารทั่วไป เสนาธิการทหารบก ปลัดทูลฉลอง สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการกองพล และ<br />

มีเลขานุการในการประชุม กับมีผู้จดรวบรวมจัดพิมพ์ ซึ่งในการประชุมสมัยดังกล่าวเรียกว่า การประชุมใหญ่<br />

ของกระทรวงกลาโหม<br />

ในรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้จัดให้<br />

มีการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับกิจการทหาร ที่เรียกว่า การประชุมสภากลาโหม เป็นประจำ ซึ่งมีการบัญญัติ<br />

ไว้ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นครั้งแรก ณ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒<br />

ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน การประชุมสภากลาโหมได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกเดือนและเป็นการประชุมที่สำคัญที่สุด<br />

ของกระทรวงกลาโหมก็กล่าวได้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่กำหนดในมาตรา ๔๒ ว่า ให้มี สภากลาโหม ประกอบด้วยสมาชิก คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานสภากลาโหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานสภากลาโหม<br />

จเรทหารทั่วไป ปลัดกระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม สมุหราชองครักษ์ รองสมุหราชองครักษ์<br />

(อัตราจอมพล จอมพลเรือ หรือจอมพลอากาศ) เสนาธิการกรมราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด<br />

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการทหาร ผู้บัญชาการทหารบก รองและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก<br />

เสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ รองและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เสนาธิการทหารเรือ<br />

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เสนาธิการ<br />

ทหารอากาศ ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ และสมาชิกสภากลาโหมผู้ทรงคุณวุฒิซึ ่งเป็น<br />

ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ<br />

ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม จำนวนไม่เกินสามคน<br />

ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งตามมติของสภากลาโหม ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

สามารถแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมเป็นเลขาธิการและรองเลขาธิการ<br />

โดยมีการกำหนดไว้ในมาตรา ๔๓ ว่าในการดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในเรื่อง<br />

ดังต่อไปนี้ต้องเป็นไปตามมติของสภากลาโหม คือ นโยบายการทหาร นโยบายการระดมสรรพกำลัง<br />

114


ห้องประชุมคณะที่ปรึกษาทหาร ในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖<br />

ห้องรับรองแขกของกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖<br />

115


116<br />

ห้องภาณุรังษี<br />

บริเวณชั้น ๓ ของมุขกลางศาลาว่าการกลาโหม


เพื่อการทหาร นโยบายการปกครองและการบังคับ<br />

บัญชาภายในกระทรวงกลาโหม การพิจารณา<br />

งบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณ<br />

ของกระทรวงกลาโหม การพิจารณาร่างกฎหมาย<br />

ที่เกี่ยวกับการทหารและเรื่องที ่กฎหมาย หรือ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดให้เสนอ<br />

สภากลาโหม<br />

ทั้งนี้ การจัดการประชุมจะจัดการประชุม<br />

ณ ห้องภาณุรังษี ชั้นที่ ๓ มุขกลางของอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

๘๑. ห้องภาณุรังษี<br />

ชั้นที่ ๓ ของมุขกลางศาลาว่าการกลาโหม<br />

ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญของกระทรวงกลาโหม<br />

มีชื่อว่า ห้องภาณุรังษี ซึ่งเดิมที เมื่อมีการสร้าง<br />

โรงทหารหน้า โดยในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้ใช้ห้องภาณุรังษี<br />

นี้เป็นห้องเก็บศาสตราวุธและพิพิธภัณฑ์ทหาร<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จอมพล สมเด็จพระพี่ยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

บริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้โปรดให้นำศาสตราวุธ<br />

ไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร<br />

และให้ใช้ห้องดังกล่าวเป็นที่ทำการกองทัพบก<br />

ในยุคต่อมา สมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม ได้ใช้ห้องนี้เป็นที่ทำการคณะ<br />

ที่ปรึกษาทางทหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๔ จอมพล ถนอม<br />

กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้ทำการยึดอำนาจ<br />

การบริหารราชการแผ่นดิน ได้ใช้พื้นที่ห้องนี้ (ซึ่งเดิม<br />

เป็นห้องประชุมสภากลาโหม) เป็นกองบัญชาการ<br />

คณะปฏิวัติ กับสั่งให้ใช้พื้นที่บริเวณตอนหน้าห้องนี้<br />

จัดตั้งเป็น สำนักนโยบายและแผนกลาโหม และ<br />

เตรียมการจัดหาบรรจุกำลังพล ในอัตราเจ้าหน้าที่<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม กับให้แนวทางการ<br />

ปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติฯ<br />

โดยในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ได้<br />

มีการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาฝ่ายนโยบายและแผน<br />

กลาโหมขึ้นครั้งแรก โดยมี พลเอก จิตติ นาวีเสถียร<br />

เป็นประธานการประชุม โดยใช้ห้องประชุมสภา<br />

กลาโหม (ห้องภาณุรังษีปัจจุบัน) ซึ่งการจัดประชุม<br />

ดังกล่าวดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงเมื่อมี<br />

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทาน<br />

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๑๕<br />

หลังจากนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้สั่งการ<br />

ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งชื่อห้องนี้ว่า<br />

ห้องภาณุรังษี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ จอมพล สมเด็จ<br />

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษี<br />

สว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

นอกจากนี้ ห้องภาณุรังษี ยังได้จารึกราย<br />

พระนาม รายนาม และประดับภาพถ่ายของอดีต<br />

สมุหกลาโหม เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีตจนถึง<br />

ปัจจุบัน<br />

ซึ่งในปัจจุบันนี้ ใช้เป็นห้องประชุมสภากลาโหม<br />

และจัดการประชุมซึ่งเป็นการประชุมที่มีรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน<br />

117


๘๒. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และพระบรม<br />

รูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิด<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ก่อนที่ท่านจะเข้าไปในห้องภาณุรังษี ท่าน<br />

จะได้พบเห็น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และ<br />

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

องค์พระราชทานกำเนิดศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งในอดีต บริเวณหน้าห้องภาณุรังษีแห่งนี้<br />

มิได้มีการประดิษฐานพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หรือพระบรมรูปของพระองค์ใด แต่เป็นดำริของ<br />

พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ว่าควรประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิด<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

เพื่อให้กำลังพลถวายราชสักการะ และเพื่อให้<br />

สมาชิกสภากลาโหมถวายราชสักการะเพื่อเป็นสิริ<br />

มงคลก่อนที่จะเข้าประชุมสภากลาโหม ประกอบกับ<br />

ได้มีการรับมอบพระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์<br />

จอมทัพไทย ทรงครุย และพระบรมรูปหล่อลอยองค์<br />

ผลิตจากโลหะทองเหลืองรมดำ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ฉลอง<br />

พระองค์จอมทัพไทยตั้งอยู่บนแท่นรอง จึงได้ให้มี<br />

การปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าห้องภาณุรังษี<br />

และเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ได้จัดให้<br />

มีพิธีบวงสรวงและอัญเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

ฉลองและพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐานบนแท่นที่ประทับบริเวณ<br />

หน้าห้องภาณุรังษี<br />

ซึ่งการถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสรณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็น<br />

ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมไทยทุกหมู่เหล่า<br />

ที่มักถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อมุ่งเน้นการน้อม<br />

รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ และเพื่อความ<br />

เป็นสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติราชการ<br />

118<br />

๘๓. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในห้องภาณุรังษี<br />

ภายในห้องภาณุรังษี ได้มีการประดิษฐาน<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สลักจากหินอ่อน<br />

ในฉลองพระองค์จอมทัพไทยครึ่งพระองค์ซึ่งมี<br />

ลักษณะรูปแกะสลักนูนต่ำ โดยประดิษฐานบริเวณ<br />

หน้าซุ้ม ผนังห้องด้านในของห้องประชุมฯ ซึ่ง<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการอัญเชิญ<br />

ประดิษฐาน ณ ห้องภาณุรังษีมานานมากแล้ว<br />

จึงไม่มีใครทราบประวัติที่ชัดเจน แต่ว่ากันว่าเป็น<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อนที่มีผู้ถวาย<br />

ในระหว่างเสด็จประพาสยุโรป และนำกลับมา<br />

ทางเรือ ซึ่งอาจเก็บรักษาระหว่างเดินทางไม่ดี<br />

เท่าที่ควรจึงทำให้เกิดรอยร้าว แต่ก็มีการซ่อมแซมไว้<br />

เป็นอย่างดี ทั้งนี้ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน<br />

มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก<br />

จากการสันนิษฐานของผู้ใหญ่หลายท่าน<br />

ต่างลงความเห็นว่าเป็นการสลักจากต่างประเทศ<br />

แน่นอน เพราะเมื่อพิจารณาจากฝีมือและความ<br />

ประณีตของช่างผู้แกะสลัก ซึ่งในยุคนั้นสยามไม่มี<br />

ช่างฝีมือในการแกะสลักหินอ่อน และจากการ<br />

คาดคะเนพบว่า อาจแกะสลักจากต้นแบบที่เป็น<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ส่งไปให้ช่าง เพราะมีพระบรม<br />

ฉายาลักษณ์ในพระอิริยาบถเช่นเดียวกับพระบรม<br />

ฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อนให้เห็นหลายภาพ<br />

อย่างไรก็ตาม พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หินอ่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้<br />

ถือว่าเป็นสมบัติล ้ำค่าที่กระทรวงกลาโหมหวงแหน<br />

และถวายราชสักการะเป็นประจำทุกครั้งที่พบเห็น


พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และพระบรมรูปสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ประดิษฐาน ณ บริเวณหน้าห้องภาณุรังษี<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ประดิษฐานภายในห้องภาณุรังษี<br />

119


๘๔. พระรูปจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จ<br />

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุ<br />

พันธุวงศ์วรเดช ในห้องภาณุรังษี<br />

นอกจากนี้ ห้องภาณุรังษี ยังมีการประดิษฐาน<br />

พระรูป จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา<br />

บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา<br />

ภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยมีลักษณะเป็นพระรูป<br />

หินอ่อนแกะสลักลอยองค์ในลักษณะครึ่งองค์<br />

ประดิษฐาน ณ บริเวณภายในห้องภาณุรังษี ด้าน<br />

ทิศตะวันออก หน้าซุ้ม ใต้พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทั้งนี้เพราะ จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จ<br />

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระอนุชาของ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่รับ<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการ<br />

กรมยุทธนาธิการ ผู้บัญชาการกรมทหารบก<br />

ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

และจเรทหารทั่วไป ซึ่งพระองค์มีคุณูปการแก่กิจการ<br />

ทหารไทยในยุคเริ่มแรก และทรงขับเคลื่อนให้<br />

กระทรวงกลาโหม ทหารบก ทหารเรือ ให้มีทิศทาง<br />

ที่แน่ชัดและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง<br />

ดังนั ้น การถวายสักการะพระรูปของพระองค์<br />

เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่ทรง<br />

กำกับดูแลกิจการทหารไทยให้วัฒนาถาวรตราบจน<br />

ทุกวันนี้<br />

๘๕. ห้องกัลยาณไมตรี<br />

ด้านหน้าของห้องภาณุรังษี ได้จัดให้มีห้อง<br />

ขนาดเล็กชื่อว่า ห้องกัลยาณไมตรี ถือเป็นห้อง<br />

รับรองที่สำคัญอีกหนึ่งห้องในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งเดิมทีเป็นห้องที่พักคอยหรือห้องรับรองผู้เข้าร่วม<br />

ประชุมก่อนเวลาประชุม ซึ่งมีหลายครั้งเป็นห้อง<br />

รับรองผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศก่อน<br />

เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ในอดีตห้องนี้ เคยใช้เป็นห้องเก็บศาสตราวุธ<br />

และมาปรับปรุงใช้ประโยชน์หลังปี พ.ศ. ๒๕๒๐<br />

เพื่อเป็นห้องรับรองแขก เรียกว่า ห้องรับรอง ชั้น ๓<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์<br />

หน้าห้องภาณุรังษี จึงใช้โอกาสเดียวกันนี้ปรับปรุง<br />

ห้องและตั้งชื่อว่าห้องกัลยาณไมตรีตามชื่อถนน และ<br />

ตามวัตถุประสงค์ที่ใช้รับรองแขกนอกกระทรวงกลาโหม<br />

ทั้งชาวไทยและมิตรประเทศ<br />

ในยุคปัจจุบัน ใช้เป็นห้องที่ผู้แทนรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหมใช้พบปะสนทนากับแขก<br />

นอกกระทรวงกลาโหม และผู้แทนกระทรวงกลาโหม<br />

มิตรประเทศ และที่สำคัญยังใช้เป็นห้องลงนาม<br />

ในหนังสือรับส่งหน้าที่และการบังคับบัญชาของ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมอีกด้วย<br />

ซึ่งภายในมีภาพเขียนสีน้ำมันที่สวยงาม โดย<br />

เฉพาะภาพยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช<br />

ที่มีความงดงามและมีชีวิตชีวามากภาพหนึ่ง<br />

120<br />

ห้องกัลยาณไมตรี


ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

๘๖. ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

สำหรับชั้นที่ ๒ ของมุขกลางศาลาว่าการกลาโหม ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญอีกห้องหนึ่งชื่อว่า<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเดิมทีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้ห้องประชุม ชั้นที่ ๒<br />

ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม เป็นที่จัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับกิจการทหารและเรื่องต่างๆ<br />

โดยมีผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการเป็นประธาน<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับ<br />

กิจการทหารและเรื่องต่างๆ ณ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒ ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

อย่างต่อเนื่อง โดยมีเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน เรียกว่า การประชุมใหญ่ของกระทรวงกลาโหม<br />

สมัยรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับกิจการทหาร ที่เรียกว่า การประชุมสภากลาโหม เป็นครั้งแรก<br />

ณ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒ ของ ตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สมัยรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้สั่งการให้สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ตั้งชื่อห้องนี้ว่า ห้องสุรศักดิ์มนตรี เพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยา<br />

สุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) อดีตผู้ควบคุมการก่อสร้างศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน ห้องสุรศักดิ์มนตรี ใช้เป็นห้องประชุมหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และการประชุมที่ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และยังใช้เป็นห้อง<br />

อเนกประสงค์ กล่าวคือ<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางทหาร อาทิ การประดับเครื่องหมายยศ พิธีประกาศเกียรติคุณ<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีสงฆ์ต่างๆ อาทิ การปฏิบัติธรรม<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีวันคล้ายวันสถาปนาหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางการทูตของทหาร<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

นอกจากนี้ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ยังได้จารึกรายนามและประดับภาพถ่ายของอดีตปลัดทูลฉลอง<br />

และปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน<br />

121


๘๗. อนุสรณ์ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต )<br />

บริเวณหน้าห้องสุรศักดิ์มนตรี บริเวณชั้นที่ ๒ ของมุขกลางภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหมนี้ ได้จัดให้มีรูปหล่อโลหะทองเหลืองรมดำครึ่งตัว และภาพวาด<br />

เหมือนของ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ( เจิม แสง-ชูโต )<br />

แต่งกายชุดจอมพล ท่านนี้ถือเป็นอริยบุคคลผู้ควบคุมการก่อสร้างโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหม ผู้มีคุณูปการแก่กิจการทหารยุคใหม่ ผู้ริเริ่มการผลิต<br />

และใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย และอดีตแม่ทัพผู้มีความสามารถในการยุทธ์หลาย<br />

สมรภูมิ<br />

การสักการะอนุสรณ์นำมาเพื่อรำลึกถึงคุณูปการที่ท่านเป็นผู้กราบบังคม<br />

ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานจัดสร้างโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม<br />

และเป็นผู้กำกับดูแลการก่อสร้างสถานที่แห่งนี้จนสำเร็จบ่งบอกถึงวิสัยทัศน์<br />

การนำหน่วย และเกิดเป็นอาคารที่อลังการ เป็นมาตรฐานทางทหารและเป็น<br />

ที่เชิดหน้าชูตาประเทศจนถึงปัจจุบัน<br />

นอกจาก อนุสรณ์ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) ที่หน้าห้องสุรศักดิ์มนตรีนี้แล้ว ยังมีอนุสรณ์ของท่านเป็นรูปปูนปั้น<br />

ลอยตัวขนาดเท่าตัวจริงครึ่งตัว แต่งกายสากล เขียนสีอีกรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปหล่อ<br />

ปูนปั้นในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งจมื่นสราภัยสฤษดิการ อุปทูตสยามเดินทาง<br />

เจรจาความเมือง ณ ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ ขณะนี้เก็บรักษาไว้ที่<br />

พิพิธภัณฑ์ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งรูปหล่อปูนปั้นนี้ ได้รับมอบจาก พลตรี สิทธา<br />

พิบูลรัชต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ อีกด้วย<br />

รูปปั้นและภาพเขียนจอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

ประดับ ณ บริเวณหน้าห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

122


๘๘. พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน<br />

บริเวณสำนักงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีการประดิษฐาน<br />

สิ่งสำคัญของกระทรวงกลาโหมอีกประการหนึ่ง คือ พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระราชทาน ของบุรพกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ พระองค์ กล่าวคือ<br />

๑) พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพไทยครึ่งพระองค์ ลงพระปรมาภิไธย และมี<br />

พระราชหัตถเลขาว่า<br />

“ให้สำหรับศาลากระทรวงกลาโหม<br />

วันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๕”<br />

๒) พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพเรือ ในพระอิริยาบถยืนเต็มพระองค์<br />

ลงพระปรมาภิไธย และมีพระราชหัตถเลขาว่า<br />

“พ.ศ. ๒๔๕๗<br />

ให้ไว้สำหรับศาลากระทรวงกลาโหม”<br />

ปัจจุบัน พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานทั้ง ๒ ผืน ได้ประดับในกรอบไม้<br />

และประดิษฐานไว้ที่สำนักงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

123


๘๙. ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องสำคัญอีกห้องหนึ่งที่ตั้งอยู่ข้างสำนักงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม บริเวณชั้นที่ ๒ ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหม ห้องนี้<br />

เรียกว่า ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้แต่อย่างไร แต่ทราบ<br />

มาว่าในห้วงสงครามเย็นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๕๓๕ เคยใช้ห้องนี้เป็นที่<br />

พบปะของผู้แทนองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

(สปอ. หรือ Southeast Asia Treaty Organization : SEATO) และเป็นที่สนทนา<br />

และรับการเยี่ยมคำนับของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศมาตลอด<br />

ในปัจจุบัน ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใช้เป็นห้องรับ<br />

การเยี่ยมคำนับและการเยี่ยมคารวะของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ<br />

ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งในพิธี<br />

การทูต หรือพิธีการทั่วไป รวมถึง การพบปะตามอัธยาศัยของรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งการจัดห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีรูปแบบเป็นห้อง<br />

รับแขกที่เป็นทั้งพิธีการและไม่เป็นพิธีการ มีการประดับประดาด้วยสิ่งของโบราณ<br />

อาทิ รูปปั้นลอยตัวของอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม และมี<br />

การจารึกรายพระนาม รายนาม และประดับภาพถ่ายของอดีตสมุหกลาโหม<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีต<br />

จนถึงปัจจุบัน<br />

ทราบว่าเคยมีความพยายามตั้งชื่อห้องของอดีตผู้บังคับบัญชาและอดีต<br />

นายทหารฝ่ายเสนาธิการของอดีตผู้บังคับบัญชาว่า จะใช้ชื่อห้องว่า ห้องสวัสดิโสภา<br />

เพราะห้องอยู่เกือบจะตรงข้ามกับประตู สวัสดิโสภา ซึ่งเป็นประตูใหญ่ชั้นนอก<br />

ของพระบรมมหาราชวัง แต่มีผู้ทักท้วงว่า ชื่อนี้เป็นชื่อประตูใหญ่มีเทพรักษา<br />

อยู่จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นชื่อห้อง จึงยุติความคิดไป<br />

แต่หากให้เสนอชื่อควรจะเป็นชื่อว่า มิตราภิรมย์ ซึ่งแปลว่า มิตรหรือแขก<br />

ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เข้ามายังห้องนี้ จะเปี่ยมไปด้วยความสุข<br />

และน่ายินดี เพราะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้ห้อง<br />

124


๙๐. พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาทหารปืนใหญ่<br />

บริเวณสำนักงานผู้บังคับบัญชา กรมเสมียนตรา ชั้นที่ ๒ อาคารด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นห้องประดิษฐาน<br />

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกระทรวงกลาโหมอีกประการหนึ่ง คือ พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์ ที่จัดทำขึ้นเป็นภาพที่สอง<br />

ในอดีตสำนักงานผู้บังคับบัญชา กรมเสมียนตรา คือ สำนักงานของกองการกำลังพล และในห้อง<br />

ผู้อำนวยการกอง มีประวัติว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องจากอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง จึงทำให้ภาพสูญหายไป คงเหลือไว้แต่กรอบรูปไม้สักเก่า<br />

สีขาวแตกลายงา ขนาดความสูง ๑๖๐ เซนติเมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร<br />

ครั้นถึงสมัยที่ พันเอก ระวิ พรหมสาขา ณ สกลนคร (ยศในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ<br />

กองการกำลังพล จึงมีดำริที่จะนำภาพเขียนสีน้ำมันมาประดิษฐานที่เดิม จึงมอบให้ นายจุมพล กาญจนินทุ<br />

(บิดาของ พลโท จุมภฏ กาญจนินทุ) เป็นผู้วาดโดยใช้ลักษณะการเขียนภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ (canvas)<br />

มีรูปแบบเป็นพระอริยาบถนั่ง ฉลองพระองค์จอมทัพเรือเต็มพระองค์ โดยมีระยะเวลาวาด ประมาณ<br />

๒ เดือน แล้วจึงได้นำมามอบให้กระทรวงกลาโหมไว้ประดิษฐานแทนที่เดิม โดยมีพิธีบวงสรวงการ<br />

ประดิษฐานพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์ ในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๓ เวลา ๐๙.๐๙ น. โดยมี<br />

พลเอก วันชัย เรืองตระกูล เป็นประธานในพิธี<br />

ต่อมา กรมเสมียนตรา ได้ทำการปรับปรุง<br />

สำนักงานโดยย้ายกองการกำลังพลไปอยู่ที่ชั้น ๓<br />

และย้ายสำนักงานผู้บังคับบัญชามาแทนที่<br />

จึงได้มอบหมายให้สำนักโยธาธิการกลาโหม<br />

เป็นผู้ออกแบบและตกแต่งห้องประดิษฐาน<br />

พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ<br />

พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในสมัยที่ พลเอก ประกิต ศิริพันธ์ ดำรง<br />

ตำแหน่งเจ้ากรมเสมียนตรา ได้ดำริให้มีการปรับ<br />

ภูมิทัศน์บริเวณผนังข้างบริเวณที่สักการะ เพื่อ<br />

ให้สวยงามและสมพระเกียรติพระราชสมัญญา<br />

พระบิดาทหารปืนใหญ่ จึงให้ พันเอก ชวลิต<br />

อ่วมศิริ เป็นผู้วาดสีน้ำมัน แสดงให้ทราบถึง<br />

พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระบรม<br />

อนุสรณ์ของพระองค์ท่านและพระราชโอรส<br />

ตลอดจนเครื่องราชสักการะอย่างสมพระเกียรติ<br />

125


๙๑. ห้องขวัญเมือง<br />

ห้องประชุมขนาดกลางอีกห้องหนึ่งที่อยู่บริเวณชั้นที่ ๒ บริเวณทางขึ้นลงบันไดภายในอาคารด้านทิศใต้<br />

มีชื่อว่า ห้องขวัญเมือง ซึ่งห้องนี้เดิมเรียกว่า ห้องอเนกประสงค์ของส ำนักนโยบายและแผนกลาโหม เคยเป็น<br />

สำนักงานการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนบังคับบัญชาของส ำนักนโยบายและแผนกลาโหมมาก่อน<br />

ต่อมา ใช้เป็นห้องสำหรับงานพิเศษ อาทิ ประดับเครื่องหมายยศให้แก่กำลังพล เป็นห้องประชุมขนาด<br />

เล็กของหน่วย เป็นห้องรับการเยี่ยมคารวะของผู้แทนทางทหารมิตรประเทศที่เข้าพบผู้อำนวยการสำนัก<br />

นโยบายและแผนกลาโหม ใช้ชื่อเดิมว่า ห้องอเนกประสงค์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

ในสมัย พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

ได้ดำริให้ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพภายในของห้องให้เป็นห้องประชุมขนาด ๓๐ ที่นั่ง กับให้ก ำลังพลเสนอ<br />

ชื่อห้อง จนได้ข้อยุติว่าชื่อ ห้องขวัญเมือง<br />

ปัจจุบัน ห้องขวัญเมืองนี้ใช้เป็นห้องประชุมสำหรับหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ที่มีที่ตั้งในอาคารศาลาว่าการกลาโหม และใช้เป็นที่ต้อนรับและจัดการประชุมหารือกับผู้แทนทางทหาร<br />

ของมิตรประเทศ กับใช้ประกอบพิธีการของสำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

๙๒. ห้องกำปั่นเก็บเงินกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณทางลงบันไดชั้นล่างของอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหมทิศใต้ปรากฏว่ามีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่<br />

เรียกกันว่า ห้องกำปั่นเก็บเงินของกระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งเป็นห้องสำคัญอีกห้องหนึ่งที่เคียงคู่ศาลาว่าการ<br />

กลาโหมมาเป็นเวลานาน<br />

ซึ่งก่อนอื่นควรอธิบายความหมายของคำว่า<br />

กำปั่น ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน<br />

พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า กำปั่น<br />

หมายถึง หีบทำด้วยเหล็กหนา สำหรับใส่เงินและ<br />

ของต่างๆ รูปค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง<br />

ยาว สูง เท่ากัน ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลายทำ<br />

เป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบ<br />

สำหรับใส่กุญแจ เดิมทำเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว<br />

ซึ่งจากการค้นคว้าเพิ่มเติมทราบว่า คำว่า กำปั่น<br />

เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาจีนที่เรียกว่า กั๊บบ้วง<br />

หรือ กั๊บบั้ง แปลว่า ตู้เหล็กเก็บทรัพย์สินมีค่า<br />

ของคหบดี และยังพบว่าคำว่า กำปั่น มีมาตั้งแต่<br />

สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์<br />

สำหรับในทางราชการทหารนั้น กำปั่นเก็บเงิน<br />

ถือเป็นตู้นิรภัยที่ใช้สำหรับบรรจุเงินของทางราชการ<br />

ที่เก็บรักษาไว้ตามหน่วยทหาร ซึ่งจะต้องมีห้อง<br />

นิรภัยที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน สามารถบรรจุกำปั่นเก็บ<br />

เงินไว้ข้างในห้องนิรภัยนั้น และในแต่ละวันทำการ<br />

จะต้องมีนายทหารสัญญาบัตร ๓ คนทำหน้าที่นำ<br />

เงินออกจากกำปั่นเก็บเงินในเวลาเช้า สำหรับใน<br />

เวลาเย็นก็ทำการเก็บเงินและสอบทานการเก็บเงิน<br />

เข้าสู่กำปั่นเก็บเงิน ประกอบด้วย ผู้ถือลูกกุญแจ<br />

ที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน (ห้องหรือกรงเหล็กที่ทำไว้<br />

โดยมั่นคงเป็นพิเศษสำหรับเก็บกำปั่นเก็บเงิน)<br />

ผู้ถือลูกกุญแจกำปั่นเก็บเงิน (ตู้นิรภัยหรือตู้<br />

เหล็กหรือหีบเหล็กอันมั่นคงสำหรับเก็บเงิน) และ<br />

พยานประจำวัน อีกทั้งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ<br />

เมื่อปิดกำปั่นเก็บเงินหรือที่เก็บกำปั่นเก็บเงินแล้ว<br />

จะต้องทำการผูกเชือกพร้อมประทับตราที่ครั่งหรือ<br />

ดินเหนียวเป็นเครื่องหมายของผู้ถือลูกกุญแจดังกล่าว<br />

ด้วยเพื่อความปลอดภัยของการนิรภัยในการเก็บ<br />

รักษาเงินของทางราชการ<br />

126


กระทรวงกลาโหมเอง ก็มีห้องที่<br />

เก็บกำปั่นเก็บเงินและห้องกำปั่นเก็บเงิน<br />

ซึ่งมีเกียรติภูมิเคียงคู่ ความสง่างามของ<br />

ศาลาว่าการกลาโหมด้วยเช่นกัน โดยที่<br />

กำลังพลที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในศาลา<br />

ว่าการกลาโหมในห้วงประมาณกว่า ๑๐ ปี<br />

ที่ผ่านมาหลายรายคงรู้จักกันดีว่า ชั้นล่าง<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมทิศใต้<br />

มีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่เรียกกันว่าห้อง<br />

กำปั่นเก็บเงิน และตั้งอยู่ชั้นล่าง<br />

ใต้ห้อง กองการเงิน กรมการเงินกลาโหม<br />

ในห้วงเวลาดังกล่าว จะต้องมีการจัด<br />

เวรยามติดอาวุธรักษาความปลอดภัย<br />

เพื่อดูแลทางขึ้น-ลง ตลอด ๒๔ ชั่วโมง<br />

ทั้งนี้ มีการสันนิษฐานว่ามีการกำหนดให้ใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวทำที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน มาตั ้งแต่<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ซึ่งมีการตั้งกรมคลังเงินทหารบก<br />

(ต่อมา ได้เปลี่ยนมาเป็น กรมการเงินกลาโหม) ซึ่งเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ และสาเหตุ<br />

ที่ต้องใช้บริเวณชั้นล่างอาคาร ก็เนื ่องจาก กำปั่นเก็บเงินเป็นตู้เหล็กขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก หากตั้งไว้<br />

ชั้นบนอาจทำให้ต้องรับน้ำหนักมาก และอาจส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร<br />

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบัน กระทรวงกลาโหมไม่ได้ใช้ประโยชน์จากห้องกำปั่นเก็บเงินอีกต่อไป<br />

เพราะการเบิกจ่ายเงินของทางราชการส่วนใหญ่ใช้ผ่านธนาคาร และมีการย้ายห้องทำงานของกองการเงิน<br />

กรมการเงินกลาโหม ไปอยู่ที่ชั้น ๓ ของอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) จึงปล่อยให้<br />

ห้องกำปั่นเก็บเงิน ถูกทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน และในอนาคตก็อาจถูกหลงลืมไปในที่สุด<br />

ในอดีต ห้องกำปั่นเก็บเงินนี้ ได้รับใช้ราชการกระทรวงกลาโหม มาเป็นเวลาต่อเนื่องถึงเกือบจะหนึ่ง<br />

ร้อยปี และคาดว่ามีกำลังพลของกระทรวงกลาโหมหลายหน่วย หลายรุ่น และหลายชั่วอายุ ใช้บริการ<br />

ห้องกำปั่นเก็บเงิน ด้วยการรับเงินเดือน และเงินตามสิทธิกำลังพล เป็นจำนวนมาก และวันนี้เสมือน<br />

การปลดระวางการใช้ประโยชน์แล้ว สิ่งที่พึงกระทำคือ พัฒนาภูมิทัศน์รอบพื้นที่ให้เจริญหูเจริญตา และ<br />

ใช้เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับให้กำลังพลรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไปได้ศึกษา ได้รำลึกถึงคุณประโยชน์ ได้บันทึก<br />

ประวัติศาสตร์<br />

สำหรับ ห้องกำปั่นเก็บเงินนี้ เคยมีความคิดจะรื้อออกและใช้ประโยชน์ของห้องทำสำนักงานแต่<br />

เนื่องจากตัวกำปั่นเก็บเงินเป็นเหล็กหนา มีน้ำหนักหลายตัน และมีการโบกปูนติดกับตัวอาคารหากรื้อถอน<br />

อาจเป็นเรื่องใหญ่และน่าเสียดายของโบราณ จึงได้เก็บรักษาไว้<br />

127


๙๓. ห้องสนามไชย<br />

ห้องสนามไชย<br />

ห้องสนามไชยที่ว่านี้ ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ หัวมุมทิศเหนือตัดกับทิศตะวันตก ติดกับห้องท ำงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เดิมเรียกว่า ห้องรับรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ในปัจจุบัน ห้องสนามไชย ใช้เป็นห้องรับการเยี่ยมคำนับและการเยี่ยมคารวะของผู้แทนกระทรวง<br />

กลาโหมมิตรประเทศ ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งในพิธีการทูต หรือพิธีการ<br />

ทั่วไป รวมถึง การพบปะตามอัธยาศัยของปลัดกระทรวงกลาโหม เช่นเดียวกับห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ห้องสนามไชย ได้รับการปรับปรุงและตั้งชื่อห้องให้สอดรับกับชื่อถนนที่อยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

โดยจัดทำในสมัยที่ พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ ด ำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม ด้วยการปรับขนาด<br />

และพื้นที่ใช้สอยให้กว้างขวางมากขึ้น และตกแต่งให้เหมาะสมแก่การรับรองผู้แทนกระทรวงกลาโหม<br />

มิตรประเทศ ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้ง ประกอบพิธีการสำหรับ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมที่ใช้ผู้เข้าร่วมพิธีจำนวนไม่มาก<br />

128


๙๔. ห้องสราญรมย์<br />

ห้องสราญรมย์ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นห้องที่ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ ด้านทิศเหนือ ใกล้กับทางเชื่อมชั้นที่ ๒ เป็นห้อง<br />

ที่จัดทำขึ้นในสมัย พลเอก วินัย ภัททิยกุล ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องสราญรมย์นี้ จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ใช้รับรองแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม และ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม โดยจัดผังห้องออกเป็น ๔ ส่วน กล่าวคือ<br />

ส่วนที่ ๑ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๒๐ คน และสามารถใช้เป็นห้องรับประทานอาหารได้<br />

ส่วนที่ ๒ เป็นห้องรับแขก สามารถรองรับแขกได้ประมาณ ๑๕ - ๒๐ คน<br />

ส่วนที่ ๓ เป็นส่วนพักคอยบริเวณก่อนถึงห้องรับแขก<br />

ส่วนที่ ๔ เป็นห้องจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม ในอดีต ห้องสราญรมย์นี้ เคยใช้รับรองและเลี้ยง<br />

อาหารสำหรับผู้นำประเทศที่เคยเป็นแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาหลายครั้ง และเคยเป็น<br />

ที่รับประทานอาหารกลางวันของอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงอยู่สมัยหนึ่ง<br />

ปัจจุบัน ยังคงใช้เป็นที่สำหรับรับรองแขกของปลัดกระทรวงกลาโหมและรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ทั้งยังมีการตกแต่งห้องให้สามารถรองรับแขกระดับประเทศได้อีกด้วย<br />

ห้องสราญรมย์<br />

129


๙๕. ห้องหลักเมือง<br />

บริเวณชั้นที่ ๓ ด้านมุมทิศเหนือตัดกับทิศตะวันออกของอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหมซึ่งก่อนจะถึงทางเชื่อมอาคารใหม่ด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของ<br />

ห้องประชุมขนาดกลางรวม ๒ ห้อง ที่ใช้ชื่อว่า ห้องหลักเมือง ๑ และหลักเมือง ๒<br />

ทั้งนี้ บริเวณที่ตั้งของห้องประชุมทั้งสองห้องนี้ เคยเป็นที่ทำการของสำนัก<br />

ตรวจสอบภายในกลาโหม (เดิมเรียกว่า สำนักตรวจบัญชีกลาโหม) และบริเวณ<br />

ดังกล่าวมีพื้นที่เหลือขนาดหนึ่งห้องทำงาน ประกอบกับในขณะนั้น สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม มีห้องประชุมจำกัด คือ มีเพียงห้องภาณุรังษีและ<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรีเท่านั้น จึงมีข้อจำกัดในการใช้ห้องเพื่อทำการประชุม<br />

กองการประชุม สำนักนโยบายและแผนกลาโหม จึงได้จัดระเบียบห้อง<br />

ดังกล่าวทำเป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน เพื่อใช้ประโยชน์ในการ<br />

ประชุมหน่วย ซึ่งในเวลาต่อมา มีหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ใช้จัดการประชุมเป็นประจำ จึงมีการตั้งชื่อว่า ห้องหลักเมือง เพราะอยู่ด้านทิศ<br />

เหนือใกล้กับศาลหลักเมืองอันเป็นที่สักการะของกำลังพลและประชาชนทั่วไป<br />

ต่อมาเมื่อ สำนักตรวจสอบภายในกลาโหม ย้ายที่ทำการไปที่ตั้งใหม่ที่<br />

อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) ในปี ๒๕๔๒ จึงได้จัดสรร<br />

พื้นที่ทำห้องประชุมและปรับปรุงห้องประชุมหลักเมืองเดิมจนเกิดเป็นห้องประชุม<br />

๒ ห้อง กล่าวคือ<br />

• ห้องหลักเมือง ๑ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน<br />

• ห้องหลักเมือง ๒ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๘๐ คน<br />

ปัจจุบัน ใช้เป็นห้องประชุมส ำหรับหน่วยขึ้นตรงส ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๙๖. วิมานท้าวเวสสุวัณณ์<br />

บริเวณดาดฟ้าชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออกเป็น<br />

ที่ประดิษฐานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกระทรวงกลาโหมอีกแห่งหนึ่ง คือ วิมานท้าว<br />

เวสสุวัณณ์ เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ โดยเป็น อธิบดีแห่งอสูร หรือ<br />

ยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งภูติผีปีศาจ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์<br />

ชั้นจาตุมหาราชิกา ถือเป็น ท้าวจตุโลกบาลที่ทรงฤทธานุภาพมากที่สุด<br />

เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ได้กรุณาดำริให้สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม (สน.ปล.กห.) ดำเนินการ<br />

จัดตั้งวิมานท้าวเวสสุวัณณ์ บริเวณดาดฟ้าชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก เพื่อความเป็นสิริมงคลกับประเทศและกระทรวงกลาโหม<br />

130


ซึ่งในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๙ น. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัด<br />

ทำพิธีอัญเชิญท้าวเวสสุวัณณ์ประดิษฐ์ที่วิมาน โดย พลเรือเอก ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ รองปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธี<br />

๙๗. ห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณชั้นที่ ๓ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญ<br />

อีกหนึ่งห้องคือ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นห้องประชุมขนาด ๘๐ ที่นั่ง สำหรับใช้ประชุม<br />

ในเรื่องงานยุทธการและการปฏิบัติการระดับ<br />

ส่วนราชการ ซึ่งในปัจจุบันยังใช้เป็นห้องบรรยาย<br />

สรุปข่าวประจำวัน (Morning Brief) ให้แก่ผู้บังคับ<br />

บัญชาชั้นสูงในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมเป็นประจำ<br />

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นห้องประชุมของหน่วย<br />

ขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตาม<br />

ความเหมาะสม ทั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นห้องประชุม<br />

ที่มีมาตรฐานการประชุมที่ดีที่สุดห้องหนึ่ง เพราะมี<br />

อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สายสื่อสาร<br />

ที่สมบูรณ์แบบ<br />

๙๘. ห้องยุทธนาธิการ<br />

บริเวณชั้นที่ ๒ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญ<br />

อีกหนึ่งห้องคือห้องยุทธนาธิการ<br />

ซึ่งห้องยุทธนาธิการ จัดสร้างเป็นห้องประชุม<br />

ขนาด ๑๘๐ ที่นั่งพร้อมอุปกรณ์การประชุม ซึ่งใช้<br />

จัดการประชุมที่มีปลัดกระทรวงกลาโหมและ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธานการประชุม<br />

ซึ่งช่วยให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมี<br />

ทางเลือกในการจัดการประชุมโดยไม่ต้องใช้เพียง<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

ในส่วนการตั้งชื่อห้องประชุมนั้น ได้ระดม<br />

ความคิดและให้กำลังพลร่วมส่งชื่อห้องเข้าพิจารณา<br />

ปรากฏผลว่าใช้ชื่อ ห้องยุทธนาธิการ ก็เพราะ<br />

เป็นการบ่งบอกให้ทราบว่าห้องประชุมแห่งนี้เป็น<br />

ห้องประชุมที่อยู่ในศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งในสมัย<br />

หนึ่งเรียกว่าศาลายุทธนาธิการ และเคยเป็นที่ทำการ<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และกรมยุทธนาธิการมาแล้ว<br />

ทั้งนี้ คำว่า ยุทธนาธิการ หากแปลความหมาย<br />

แล้วคือ ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ต่อการศึกสงคราม เรียกได้ว่า<br />

เป็นคำที่มีความหมายถึงความสง่างามของสถานที่<br />

และสื่อถึงความงดงามของภาษาไทย<br />

131


๙๙. ห้องพินิตประชานาถ<br />

ห้องประชุมขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เป็นห้อง<br />

ประชุมขนาด ๓๐๐ ที่นั่ง ซึ่งเป็นห้องใหม่ที่จัดสร้างขึ้นและใช้ส ำหรับจัดการประชุม จัดเลี้ยง จัดงานหรือ<br />

นิทรรศการได้ ในขณะนี้ ยังไม่มีชื่อห้องที่ชัดเจน ยังคงเรียกกันว่า ห้องประชุม ๓๐๐ ที่นั่ง<br />

ในส่วนการตั้งชื่อห้องประชุมนั้น ได้ระดมความคิด และให้ก ำลังพลร่วมส่งชื่อห้องเข้าพิจารณา ปรากฏผล<br />

ว่าใช้ชื่อ ห้องพินิตประชานาถ ซึ่งเป็นพระนามเดิมขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ<br />

ผู้ทรงเป็นหลักชัยและมีพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่กิจการทหารไทยในยุคใหม่ ทั้งยังทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงทหารหน้าจนพัฒนามาเป็นศาลาว่าการกลาโหมตราบทุกวันนี้<br />

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ดังนั้น การอัญเชิญพระนามของพระองค์มาสถิตเป็นนามห้อง<br />

จึงถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในห้องนี้เป็นอย่างยิ่ง<br />

อย่างไรก็ตาม การอัญเชิญพระนามขององค์พระมหากษัตริย์มาใช้เป็นชื่อห้อง จึงต้องนำความ<br />

กราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อขอพระราชทานจากองค์พระประมุขแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้<br />

อยู่ในระหว่างการนำความกราบบังคมทูลฯ คาดว่าในอนาคตจะได้มีนามห้องประชุมใหม่นี้ว่า ห้องพินิต<br />

ประชานาถ<br />

132


ห้องพินิตประชานาถ<br />

133


๑๐๐. ห้องพิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณชั้นที่ ๑ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก ได้จัดให้<br />

มีห้องพิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหม ซึ่งเก็บรวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวกับทหาร<br />

มาจัดแสดงไว้ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร ซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบัน ห้อง<br />

พิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหมแห่งนี้ ได้จัดแสดงสิ่งของโบราณ ประกอบด้วย<br />

• ศาสตราวุธโบราณ ตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์<br />

• อาวุธและสิ่งของเครื่องใช้ทางทหารในยุคที่ประเทศไทยปรับกิจการทหาร<br />

มาเป็นกิจการทหารสมัยใหม่<br />

• เอกสารโบราณ กล่าวคือ<br />

• หนังสือราชการในยุคตั้งแต่เริ่มจัดสร้างโรงทหารหน้า<br />

• หนังสือโบราณ ประเภท สมุดพับ บันทึกเรื่องราวทางทหารและตำรา<br />

พิชัยสงคราม<br />

• ของที่ระลึกที่ได้รับมอบจากมิตรประเทศ<br />

ซึ่งหลายรายการเป็นสิ่งที่หาชมได้ยากและสามารถใช้สืบค้นและค้นคว้า<br />

หาความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ของชาติและประวัติศาสตร์ทางทหารเป็นอย่างดี<br />

๑๐๑. ช่องลอดด้านทิศตะวันออก<br />

ช่องลอดใต้อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เป็นสิ่งซึ่งสร้างขึ้น<br />

พร้อมโรงทหารหน้า เพื่อให้ทหารสามารถที่จะเดินลอดผ่านออกไปนอกอาคาร<br />

เพื่อเข้าห้องน้ำ เพื่อฝึกว่ายน้ำ เพื่ออาบน้ำ และเข้าโรงครัวเพื่อรับประทานอาหาร<br />

ในพื้นที่บริเวณทิศตะวันออกที่กล่าวมาแล้ว<br />

ช่องลอดที่ว่าหากพิจารณาแล้วก็คล้ายประตูหลังบ้านของอาคาร โรงทหาร<br />

หน้าเพื่อสะดวกในการเข้าออกอย่างไม่เป็นทางการและเพื่อไม่ให้เกิดความรุ่มร่าม<br />

หรือวุ่นวายในประตูใหญ่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันตก<br />

และเป็นช่องลอดในลักษณะเช่นนี้มานานกว่า ๑๒๐ ปีแล้ว เพียงแต่มี<br />

การปรับปรุงและเสริมเพื่อความแข็งแรงเท่านั้น<br />

134


สถานที่<br />

และสิ่งสำคัญ<br />

รอบศาลาว่าการกลาโหม


สิ่งที่นำเสนอมาข้างต้นนั้น คือองค์ประกอบทั้งภายนอกและภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมทั้งหมด ในลำดับต่อไป จะเป็นการนำเสนอให้ทราบถึงสถานที่และสิ่งสำคัญรอบศาลา<br />

ว่าการกลาโหมบ้าง<br />

๑๐๒. พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรี<br />

รัตนศาสดาราม<br />

พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

คือสถานที่สำคัญสองประการที่เป็นของสำคัญคู่บ้าน<br />

คู่เมืองของไทยที่รู้จักไกลไปทั่วโลก และยังเป็นความ<br />

ภาคภูมิใจ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกำลังพล<br />

ในกระทรวงกลาโหมทุกคน<br />

๑) พระบรมมหาราชวัง<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น<br />

ราชธานีแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

พระราชวังหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม<br />

๒๓๒๕ โดยแรกสร้างนั้นทำด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้น<br />

รายล้อมด้วยปราการระเนียด เพื่อเป็นที่ประทับ<br />

ชั่วคราว<br />

เดิมทีพื้นที่ของพระบรมมหาราชวังนี้ เคยเป็น<br />

ที่อยู่ของพระยาภชาเศรษฐีและชาวจีนตั้งบ้านเรือน<br />

อยู่ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยา<br />

ภชาเศรษฐีและชาวจีนย้ายที่อยู่ไปตั้งบ้านเรือน<br />

ณ ที่ราบระหว่างวัดสามปลื้มไปจนถึงวัดสำเพ็ง<br />

(วัดปทุมคงคา ในปัจจุบัน)<br />

ในการสร้างกำแพงพระบรมมหาราชวัง เป็นการ<br />

ก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูน มีใบข้างบนสันกำแพง<br />

เป็นรูปเสมา สำหรับตั้งเวลายิงต่อสู้ศัตรู ได้ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามประตูใหญ่<br />

ชั้นนอกทั้ง ๑๒ ประตู ประกอบด้วย วิมานเทเวศร์<br />

วิเศษไชยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์<br />

ศักดิ์ไชยสิทธิ์ วิจิตรบรรจง อนงคารักษ์ พิทักษ์บวร<br />

สุนทรทิศา เทวาภิรมย์ และอุดมสุดารักษ์<br />

เนื้อที่แรกสร้างมีประมาณ ๑๓๒ ไร่ แบ่ง<br />

ออกเป็น ๓ ตอนคือ พระบรมมหาราชวังชั้นนอก<br />

พระบรมมหาราชวังชั้นกลาง และพระบรมมหาราชวัง<br />

ชั้นใน โดยที่ พระบรมมหาราชวังชั้นนอก เป็นที่ตั้ง<br />

ของสถานที่ราชการต่างๆ อาทิ ศาลาลูกขุนในฝ่าย<br />

ทหารเป็นที่ทำการของลูกขุนในฝ่ายทหาร<br />

๒) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว<br />

เป็นพระอารามหลวงที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง<br />

มีลักษณะเป็นวัดแบบสุทธาวาส คือไม่มีพระสงฆ์<br />

จำพรรษาสร้างพร้อมกับพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๒๕ และใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธ<br />

มหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็น<br />

พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประชาชน ชาวไทย<br />

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้ว<br />

มรกต องค์นี้ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”<br />

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงอัญเชิญมาจาก<br />

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยในครั้งแรก<br />

ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม<br />

ต่อมา เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๓๒๗<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบก<br />

ในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

แล้วนิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะประชุมทำสังฆกรรม<br />

137


สวดผูกพัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันเดียวกันนั้น และประดิษฐานคู่กรุงเทพมหานครตราบจน<br />

ปัจจุบัน<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีประตูเข้า-ออกพระอุโบสถ อยู่ริมถนนสนามไชย ตรงหน้าศาลาว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

๑๐๓. ศาลหลักเมือง<br />

หากถามประชาชนที่เดินทางมาสักการะที่วัดพระแก้วแล้ว สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ประชาชนชาวไทย<br />

ต่างนึกถึงและนิยมมาสักการะคือ ศาลหลักเมือง คงไม่ผิดไปจากนี้<br />

สำหรับประวัติของศาลหลักเมือง ขอเรียนว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ น.<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีลงหลัก<br />

ฝังเสาหลักเมืองเพื่อเป็นรากฐานแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ ศาลหลักเมืองในเริ่มแรกเป็นเพียงศาลชั่วคราว<br />

มีลักษณะเป็นเพิงธรรมดา ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

บูรณะศาลหลักเมืองและลงหลักฝังเสาหลักเมืองเพิ่มเติมอีก ๑ เสา เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ เมษายน ๒๔๑๓<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในปัจจุบันจึงมีเสาหลักเมืองอยู่ ๒ เสา เสาที่สูงกว่าคือเสาหลักเมืองเดิม<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้น ยังกระทำพิธีอัญเชิญเทพารักษ์<br />

๕ องค์ ซึ่งส่วนใหญ่มีศาลแยกย้ายกันอยู่บริเวณหอกลองประจำพระนคร (บริเวณสวนเจ้าเชตุในปัจจุบัน)<br />

มาสถิตอยู่รวมกัน ณ ศาลที่จัดตั้งภายในศาลหลักเมือง ซึ่งเทพารักษ์ ๕ องค์ดังกล่าว ประกอบด้วย<br />

พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อหอกลอง และเจ้าพ่อเจตคุปต์<br />

เมื่อย้ายเจ้าพ่อหอกลองและหอกลองแล้ว จึงดัดแปลงที่ตั้งสวนเจ้าเชตุปัจจุบันให้เป็นสวนพักผ่อน<br />

หย่อนใจแล้วพระราชทานชื่อว่า สวนเจ้าเชตุ ทั้งนี้ เพราะสวนแห่งนี้อยู่ใกล้กับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

ราชวรมหาวิหาร จึงสมมุติว่าเจ้าเชตุกุมารยกสวนถวายให้<br />

138


๑๐๔. ท้องสนามหลวง<br />

สนามหลวง ถือว่าเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร เพราะหาก<br />

ถามว่าใครบ้างที่ไม่เคยได้ยินคำว่าสนามหลวง คงไม่มีใครตอบ ซึ่งสนามหลวงเอง<br />

มีความเกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประวัติ กล่าวคือ แต่เดิมสนามหลวง<br />

นั้นไม่ได้มีพื้นที ่กว้างขวางเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะบริเวณที่ตั้งสนามหลวง<br />

มีวังเจ้านายหลายวังตั้งอยู่ สนามหลวงจึงมีอาณาเขตด้านทิศใต้ประมาณแนว<br />

ถนนพระจันทร์เท่านั้น ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายแนวเพิ่มเติม สำหรับใช้เป็นสถานที่ประกอบ<br />

พระราชพิธีต่างๆ และทำการเกษตรกรรม (ทำนา)<br />

ในสมัยโบราณนั้นราษฎรเรียกสนามหลวงว่า ทุ่งพระเมรุ เพราะมีการสร้าง<br />

พระเมรุมาศ สำหรับประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมวงศานุวงศ์อยู ่เสมอ<br />

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า คำว่า ภาพอดีตและปัจจุบัน<br />

ทุ่งพระเมรุ เป็นนามที่ไม่เป็นมงคลนัก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้องตรา บริเวณท้องสนามหลวง<br />

ออกประกาศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ สรุปได้ว่า ความที่มีการเรียกชื่อ ท้องนาหน้าวัด<br />

มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ว่าทุ่งพระเมรุนั้น เป็นการไม่สมควร จึงให้ใช้นามเรียกว่า<br />

ท้องสนามหลวง สำหรับท้องนา บริเวณหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทใกล้วังหลวง<br />

(ตรงข้ามทำเนียบองคมนตรี) ให้เรียกว่า ท้องสนามไชย<br />

ในสมัยต่อมา สนามหลวง ได้ใช้เป็นท่ารถประจำทางจำนวนมาก รถประจำ<br />

ทางหลายสายจึงผ่านบริเวณสนามหลวง ทำให้ชาวไทยต้องนั่งรถผ่านสนามหลวง<br />

กันมากมาย มีอยู่ยุคหนึ่งที่ใช้สนามหลวงเป็นตลาดนัดขายสินค้าต่างๆ ในวันเสาร์<br />

อาทิตย์ เรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง แต่ต่อมาเกิดปัญหาความสกปรกและแออัด<br />

จึงย้ายตลาดนัดสนามหลวง ไปยังสวนจตุจักร จึงกลายมาเป็น ตลาดนัดจตุจักร<br />

และเกิดศัพท์ใหม่ในบริเวณพื้นที่ใดที่มีเหล่าพ่อค้าแม่ค้ามาชุมนุมวางขายสินค้า<br />

จึงเรียกว่า ตลาดนัด กันทั้งสิ้น<br />

139


ต่อมา บริเวณสวนจตุจักรเกิดความแออัดและ<br />

ประสบปัญหาเรื่องการจราจร กรุงเทพมหานครจึง<br />

จัดสรรพื้นที่วางขายสินค้าแห่งใหม่บริเวณเขตทวีวัฒนา<br />

จึงเกิดเป็น สนามหลวง ๒ ให้ประชาชนมีทางเลือก<br />

ซื้อสินค้า<br />

ในปัจจุบัน ท้องสนามหลวง ใช้เป็นที่ประกอบ<br />

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และใช้<br />

ประกอบพิธีสำคัญ อาทิ พิธีสงฆ์ในวันสำคัญ<br />

ทางศาสนา พิธี ๕ ธันวามหาราช และพิธีอื่นๆ<br />

ในระดับประเทศ ซึ่งมีเนื้อที่รวม ๗๔ ไร่ ๖๓ ตารางวา<br />

สนามหลวง จัดได้ว่าเป็น โบราณสถานสำคัญ<br />

ของชาติ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน<br />

เป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๔<br />

ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ พ.ศ. ๒๕๒๐<br />

๑๐๕. บ้านพักท่าแปดตำรวจ<br />

บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีบ้านพักของกำลัง<br />

พลสังกัดกระทรวงกลาโหม ประมาณ ๓ แห่ง<br />

ซึ่ง ๒ ใน ๓ แห่ง เป็นอาคารที่พักในส่วนของ<br />

กองทัพบก มีลักษณะเป็นอาคารชุด อยู่บนถนน<br />

มหาราชใกล้ท่าช้าง<br />

แต่มีบ้านพักราชการสังกัดสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ที่ใกล้เคียงกันและอยู่ระหว่าง<br />

การขอขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เรียกว่า บ้านพัก<br />

ราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมท่าแปด<br />

ตำรวจ ตั้งอยู่บนถนนมหาราช แขวงพระบรม<br />

มหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

ท่านอาจจะสงสัยในเรื่องของชื่อบ้านพักฯ ว่า<br />

ทำไมถึงต้องชื่อว่าท่าแปดตำรวจ และมีความเป็น<br />

มาอย่างไร ก็ในเมื่อเป็นบ้านพักของทางราชการ<br />

ทหาร ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูล พบว่า แปดตำรวจ<br />

ที่ว่านั้นคือ ทหารที่ได้รับการฝึกฝนในเรื่องการต่อสู้<br />

การเฝ้าระวังภัยมาเป็นอย่างดี และปฏิบัติหน้าที่<br />

พิทักษ์ปกป้ององค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี<br />

ในงานพระราชพิธี ซึ่งเป็นข้าราชการในพระองค์<br />

ที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้ถืออาวุธใกล้<br />

พระองค์ในเวลาที่เสด็จพระราชดำเนิน หรือเรียกว่า<br />

ทำหน้าที่ตำรวจหลวงรักษาพระองค์ (palace guard)<br />

อีกทั้งในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ตำรวจหลวงนี้<br />

จะปฏิบัติหน้าที่ครั้งละสี่คนเดินแถวตอน ๒ แถว<br />

ซ้ายขวานำหน้าองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินี<br />

โดยจะแต่งกายในชุดเสื้อราชปะแตนติดกระดุมครุฑ<br />

สีทอง นุ่งผ้าม่วง สวมหมวกกลีบลำดวนสีน้ำเงิน<br />

ขลิบทองที่มีอุณาโลมเป็นรูปครุฑพ่าห์สีทอง<br />

เหนือหน้าผาก คาดผ้าแดงที่เอวหรือรัดประคต<br />

คาดสายคันชีพ ติดเหรียญตรา ที่สำคัญอีกประการ<br />

คือตำรวจหลวงเหล่านี้จะถือดาบไทยที่มีโกร่งดาบ<br />

ทั้งนี้ ตำรวจหลวงจะมี ๒ ผลัดๆ ละ ๔ คน รวมเป็น<br />

๘ คน หรือเรียกว่าแปดตำรวจนั่นเอง<br />

ในสมัยก่อนตรงทางออกของประตูชั้นนอก<br />

ของพระบรมมหาราชวัง ด้านทิศเหนือ ที่ชื่อว่า<br />

ประตูสุนทรทิศา มีถนนสายหนึ่งชื่อว่าถนนแปดต ำรวจ<br />

(ต่อมาไปเปลี่ยนชื่อเป็นถนนมหาราช) บริเวณนี้<br />

มีท่าเรือสำคัญหลายท่าเรือเรียงลำดับคือ ท่าช้าง<br />

ท่าวัง ท่าแปดตำรวจ ท่ามหาราช ท่าพระจันทร์<br />

ซึ่งทุกท่าสามารถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังท่า<br />

วังหลัง (ท่าศิริราชหรือท่าพรานนก) ทั้งหมด<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ กองทัพบก ได้สร้างบ้านพัก<br />

สำหรับข้าราชการสังกัดกองพันทหารราบที่ ๔<br />

ในพื้นที่ของทางราชการบริเวณท่าแปดตำรวจ<br />

(ระหว่าง ท่าวัง กับ ท่ามหาราช) ขึ้น ทั้งนี้เพราะพื้นที่<br />

ดังกล่าวอยู่ใกล้กับพื้นที่โรงทหารและคลังแสงของ<br />

กองพันทหารราบที่ ๔ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<br />

ในปัจจุบัน)<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์และการเมือง ได้ขอซื้อพื้นที่อันเป็น<br />

ที่ตั้งกองพันทหารราบที่ ๔ จากกองทัพบก เพื่อ<br />

เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย กองพันทหารราบที่ ๔ จึง<br />

140


ได้ย้ายออกไปจากพื ้นที่และแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นสอง<br />

กรรมสิทธิ์กล่าวคือ ฝั่งตะวันตกอยู่ในความรับผิดชอบ<br />

ของกรมเสนาธิการกลาโหม (โดยให้กรมการเงิน<br />

กลาโหมใช้ประโยชน์) สำหรับฝั่งตะวันออกอยู่ใน<br />

ความรับผิดชอบของกองทัพบก (โดยให้กรมการเงิน<br />

ทหารบกใช้ประโยชน์)<br />

สิ่งที่น่าสนใจมากคืออาคารถูกสร้างด้วย<br />

สถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้นที่<br />

เรียกว่า สไตล์ชิโนโปรตุกีส (แบบจีนผสมโปรตุเกส)<br />

คือ มีลักษณะเป็นเรือนแถวทรงสี่เหลี่ยม มีประตูไม้<br />

หน้าบ้านและหลังบ้าน มีเสาตั้งอยู่ในหรือหน้าบ้าน<br />

มีช่องระบายลมฉลุลายอยู่สูง ที่สำคัญคือสีฉาบ<br />

ภายนอกอาคารมักจะใช้สีเหลืองนวลตัดกับสีขาว<br />

ที่เป็นขอบ สำหรับหลังคาส่วนใหญ่เป็นลักษณะ<br />

หลังคาปั้นหยา แต่ผู้รู้บางท่านให้ความเห็นว่า<br />

สถาปัตยกรรมน่าจะคล้ายกับสไตล์โคโลเนียล<br />

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสถาปัตยกรรมของ<br />

บ้านพักราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ท่าแปดตำรวจแล้ว น่าจะเป็นการเลียนแบบสไตล์<br />

ชิโนโปรตุกีสแต่ยังไม่เต็มรูปแบบเท่านั้น เพราะทั้ง<br />

สองสไตล์ที่สวยงามเต็มรูปแบบสามารถหาชมได้<br />

ในอาคารเก่าของจังหวัดภูเก็ต<br />

สิ่งนี้ก็ยังถือเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาได้ของส ำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมเช่นกัน เพราะเราได้อนุรักษ์<br />

อาคารสถาปัตยกรรมโบราณของประเทศไว้เป็น<br />

อย่างดี เพราะเท่าที่ทราบมา สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม (โดยกรมการเงินกลาโหม) ได้เคย<br />

บูรณะซ่อมแซมอาคารบ้านพักราชการสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมท่าแปดตำรวจมาไม่น้อย<br />

กว่าสองครั้งแล้ว แต่เนื่องจากอาคารอยู่ใกล้แม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา และเมื่อน้ำเอ่อล้นทำให้เกิดความ<br />

เสียหายต่ออาคารหลายต่อหลายครั้ง สร้าง<br />

ความเดือดร้อนแก่ข้าราชการผู้พักอาศัยมากมาย<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจึงดำริจะบูรณะ<br />

ปรับปรุงอาคารให้มีสภาพที่ดีสามารถอยู่อาศัยได้<br />

สมเกียรติข้าราชการและตระหนักถึงการพัฒนา<br />

คุณภาพชีวิตที่ดี สอดรับกับการอนุรักษ์ความงดงาม<br />

ทางสถาปัตยกรรมของอาคารให้อนุชนรุ่นหลังได้<br />

พบเห็นต่อไป<br />

บ้านพักราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมท่าแปดตำรวจ<br />

141


๑๐๖. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บริเวณ<br />

ด้านหลังพระบรมมหาราชวัง ด้านท่าเตียน ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ เดิมชื่อวัดโพธาราม สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดร้างต่างๆ ในต่างจังหวัด มาประดิษฐาน<br />

ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตามระเบียงคตรอบพระอุโบสถ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้ง<br />

ใหญ่ให้วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นแหล่งรวมศิลปกรรมชั้นยอด ตลอดจนจารึกสรรพตำราต่างๆ<br />

ลงแผ่นหินอ่อนประดับตามศาลาราย ทั้งในเรื่องตำราการแพทย์ ตำราทางฉันทลักษณ์ไทย ให้เวลานาน<br />

ถึง ๑๖ ปี จึงบูรณะแล้วเสร็จ ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ<br />

ในสมัยกรุงธนบุรี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หน้าวัดอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหลังวัดที่เป็น<br />

ป่าช้าของวัดเป็นที่ตั้งของหน่วยบัญชาการสำรอง<br />

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ<br />

(UNESCO) ได้ประกาศรับรองจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือจารึกวัดโพธิ์ เป็นมรดกความทรงจำ<br />

แห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทั้งประเทศ<br />

142


๑๐๗. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร<br />

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก<br />

ชั้นราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดสลัก สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ระหว่าง<br />

สนามหลวงกับท่าพระจันทร์ และยังเป็นที่ตั้งของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าผู้เป็นพระอนุชา<br />

ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๒๖ และพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดนิพพานาราม<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระศรีสรรเพชญดาราม เพื่อให้<br />

สอดคล้องกับวัดพระศรีสรรเพชญในกรุงศรีอยุธยา<br />

แต่ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดมหาธาตุ ตามแบบอย่าง<br />

พระอารามที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามในส่วนสร้อยต่อท้าย ยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อ<br />

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎ<br />

ราชกุมาร พระองค์แรก<br />

๑๐๘. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร<br />

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด<br />

ราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุติ ตั้งอยู่บริเวณระหว่างกรมแผนที่ทหารกับสวนสราญรมย์<br />

ด้านทิศตะวันออกติดถนนราชินี ด้านทิศตะวันตกติดกับทำเนียบองคมนตรี<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์<br />

จะสร้างวัดธรรมยุตินิกายใกล้พระบรมมหาราชวัง ทั้งยังให้ต้องตามโบราณราช<br />

ประเพณีว่าเมืองหลวงของแผ่นดินไทยไม่ว่าสมัยใด จะต้องมีวัดสำคัญตั้งอยู่ ๓<br />

วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์<br />

ซึ่งพื้นที่ส ำหรับสร้างวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารนั้น ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานที่หลวงข้างตึกดิน (ที่เก็บอาวุธดินปืน) ให้ข้าราชบริพารใกล้ชิด<br />

ปลูกเป็นที่พักอาศัย<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้รื้อถอนบ้านราชการและโรงธรรมย้ายไปที่อื่นแล้วโปรดเกล้าฯ ทำเป็นสวน<br />

ปลูกต้นกาแฟ บนเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน ๙๘ ตารางวา หรือ ๑,๐๙๘ ตารางวา<br />

143


ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อที่ดิน<br />

ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวนเงิน ๑๘ ชั่ง ๑ ตำลึง ๒ บาท เมื่อวันที่<br />

๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๐๗ จึงเริ่มลงมือสร้างวัดราชประดิษฐ์ โดยใช้วิธีบอกบุญ<br />

เรี่ยไร และนำไหกระเทียมและขวดเครื่องลายครามแตกหักต่างๆ มาถมพื้นที่<br />

สร้างพระวิหารและเจดีย์ นอกจากนั้น ยังจัดให้มีการแสดงละคร เพื่อเก็บ<br />

ค่าเข้าชม เป็นเศษไห กระถาง ตุ่มเล็กๆ ที่แตกแล้ว โดยภายในพระวิหาร<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี<br />

๑๒ เดือน และสร้างปาสาณเจดีย์ (เจดีย์หิน) ในเดือนมิถุนายน ๒๔๐๘ เมื่อสร้าง<br />

วัดเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด<br />

พระราชพิธีผูกพัทธสีมา ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ มิถุนายน ๒๔๐๘ พร้อมกับทรง<br />

อาราธนาพระศาสนโสภณ (สา ปุสสเทว) จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาส<br />

และพระสงฆ์อื่นๆ อีก ๒๐ รูป มาเป็นลูกวัด (ห้วง พ.ศ. ๒๔๐๘ - พ.ศ. ๒๔๔๒ )<br />

ในเวลาต่อมา ท่านพระศาสนโสภณ (สา ปุสสเทว) ได้รับการพระราชทาน<br />

สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช และทรงเป็นผู้ผูกคาถาขึ้นประดิษฐานบริเวณ<br />

หน้าบันโรงทหารหน้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า<br />

วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย<br />

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร<br />

144


คลองคูเมืองเดิม<br />

บริเวณด้านหลังศาลาว่าการกลาโหม<br />

๑๐๙. คลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองหลอด<br />

คลองคูเมืองเดิม<br />

คือ คลองที่อยู่บริเวณข้างศาลาว่าการกลาโหมทิศตะวันออก ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นคลองหลอด<br />

ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่คลองเดียวกัน แต่มีความเป็นมา ดังนี้<br />

คลองคูเมืองเดิม<br />

ในช่วงต้นรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังทรงกอบกู้เอกราชได้เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๓๑๐ และตั้ง<br />

กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรียังไม่มีกำแพงเป็นที่มั่น<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๕<br />

ในฝั่งกรุงเทพมหานครนั้น ให้ขุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากศาลเทพารักษ์หัวโขด (ซึ่งเป็นบริเวณปากคลอง<br />

ตลาด ในปัจจุบัน) ขึ้นไปจรดแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ด้านตรงข้ามปากคลองบางกอกน้อยทาง<br />

ด้านตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณใต้สะพานพระปิ่นเกล้านั่นเอง แรงงานที่ใช้ขุดได้เกณฑ์แรงงานราษฎร<br />

และทหารช่วยกันขุดใช้เวลาขุด ประมาณ ๖ เดือน<br />

คลองรอบกรุง<br />

เป็นคลองขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

เป็นเมืองหลวงของไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงปัจจุบันนี้<br />

คลองรอบกรุงได้เกณฑ์แรงงานเขมร จำนวน ๑๐,๐๐๐ คน ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยในเวลานั้น<br />

เข้ามาขุดคลองรอบกรุงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๓๒๘ (ปีมะเส็ง) จุดเริ่มต้นอยู่ที่ริมแม่น ้ำเจ้าพระยาด้าน<br />

บางลำพู มาจรดแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง บริเวณวัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) นอกจากนี้ ยังเกณฑ์<br />

แรงงานราษฎรลาวอีก จำนวน ๕,๐๐๐ คน สร้างป้อมกำแพงเมืองเรียงรายริมคลองที่ขุดนี้หลายป้อม<br />

ที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่ ๒ ป้อมคือ ป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬในปัจจุบัน<br />

145


คลองหลอด<br />

ภายหลังจากที่มีคลองคูเมืองเดิมและคลองรอบกรุงแล้ว ก็ได้มีการขุดคลองสายตรงเพื่อเชื่อมต่อ<br />

ระหว่างคลองคูเมืองเดิมและคลองรอบกรุง รวมจำนวน ๒ คลอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ราษฎร<br />

ในสมัยนั้น สำหรับการเดินทางน้ำ ไปมาหาสู่กัน และยังเป็นการผันน้ำให้ราษฎรได้ใช้ทั่วพื้นที่ภายใน<br />

กำแพงเมืองด้วย<br />

คลองดังกล่าวนี้เรียกชื่อว่า คลองหลอด ประกอบด้วย<br />

• คลองหลอดคลองแรก ขุดจากวัดบูรณศิริริมคลองคูเมืองเดิม ออกมาทางวัดมหรรณพารามผ่าน<br />

วัดเทพธิดารามมาจดคลองรอบกรุงบริเวณใกล้ป้อมมหากาฬ ซึ่งมีชื่อเรียกกันตามจุดที่คลองตัดผ่าน<br />

อาทิ คลองบุรณศิริฯ คลองวัดมหรรณพ์ คลองวัดราชนัดดา และ คลองวัดเทพธิดา ซึ่งชื่อคลองที่<br />

นิยมเรียกคือ คลองหลอดวัดราชนัดดา<br />

• คลองหลอดคลองที่ ๒ ขุดจากข้างวัดราชบพิธ ผ่านมาทางย่านร้านขายปืน (ถนนอุณากรรณ<br />

ในปัจจุบัน) ใกล้กับเรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร (ซึ่งปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ<br />

ชื่อ สวนรมณีนาถ) มาจนจรดคลองรอบกรุงทางด้านตอนเหนือของสะพานดำรงสถิตย์<br />

(สะพานเหล็กบน) ที่ถนนเจริญกรุงตัดผ่าน คลองสายนี้เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เพราะสมัย<br />

โบราณมีการลำเลียงถ่านไม้มาขายที่เรียกกันว่า สะพานถ่าน นั่นเอง คลองนี้มีชื่อเรียกว่า<br />

คลองหลอดวัดราชบพิธ<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับคลองคูเมืองบริเวณเดิมหลังกระทรวงกลาโหม<br />

ให้ถูกต้องทั้งนี้เพราะคลองคูเมืองเดิมไม่ใช่คลองหลอด<br />

146


๑๑๐. เทวาลัยพระศรีวสุนธรา หรือ ศาล<br />

พระแม่ธรณีบีบมวยผม<br />

ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผมมีชื่อที่เป็นทางการ<br />

ว่า เทวาลัยพระศรีวสุนธรา ถือเป็นสิ่งศักดิ ์สิทธิ์<br />

ที่อยู่เคียงคู่กับท้องสนามหลวงมายาวนาน ศาลพระ<br />

แม่ธรณีบีบมวยผม ตั้งอยู่ถนนราชดำเนินใน ตัดกับ<br />

ถนนราชินี ใกล้กับโรงแรมรัตนโกสินทร์และสะพาน<br />

ผ่านพิภพลีลา สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปปูนปั้นลอยองค์<br />

รูปพระแม่ธรณีกำลังบีบมวยผม มีน้ำสะอาดไหล<br />

ออกมาจากปลายมวยผม สามารถใช้ดื่มทานได้<br />

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ทรง<br />

บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในพระราชพิธีเฉลิม<br />

พระชนมพรรษาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐<br />

โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้สร้างท่ออุทกธารา (ท่อน้ำ<br />

ประปา) เป็นสาธารณทานแก่พสกนิกร พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกระแส<br />

รับสั่งเพิ่มเติมให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ให้<br />

ช่างออกแบบเป็นรูปแม่พระธรณีรีดน้ำออกจาก<br />

มวยผม เพื่อแจกจ่ายน้ำดื่มบริสุทธิ์ให้ผู้คนทั่วไป<br />

ณ เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา ผู้ออกแบบหล่อรูปนี้<br />

คือ พระยาจินดารังสรรค์ (พลับ) ทำพิธีเปิดใช้<br />

มีน้ำประปาให้ประชาชนบริโภค เมื่อวันที่ ๒๗<br />

ธันวาคม ๒๔๖๐<br />

๑๑๑. อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑<br />

เป็นอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกการส่งทหารอาสาไทย<br />

เข้าร่วมรบในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุม<br />

ท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ ใกล้กับพิพิธภัณฑ<br />

สถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติ<br />

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

สร้างเป็นรูปเจดีย์ประยุกต์ตามแบบสถาปัตยกรรม<br />

ศรีวิชัย ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

ช่องประตูจารึกตัวอักษรสีดำ กล่าวถึงสาเหตุที่<br />

ประเทศไทยต้องเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

การเดินทางของทหารอาสา และรายนามทหาร<br />

อาสาผู้เสียชีวิต<br />

เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๖๒ ได้มีพิธี<br />

อัญเชิญอัฐิของทหารอาสาผู้เสียชีวิตในสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑ บรรจุที่ฐานอนุสาวรีย์ ในพิธีดังกล่าว<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาวางพวงมาลา ต่อจากนั้นกอง<br />

ทหารอาสาได้สวนสนามผ่านอนุสาวรีย์แสดงความ<br />

เคารพแก่ผู้ที่ได้ถวายชีวิตเป็นราชพลีในสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑<br />

147


อนุสาวรีย์สหชาติ หรือ อนุสาวรีย์หมู<br />

สะพานปีกุน<br />

148


๑๑๒. อนุสาวรีย์สหชาติหรืออนุสาวรีย์หมู<br />

อนุสาวรีย์รูปสุกร (หมู) ตั้งอยู่ริมคลองหลอด<br />

คลองคูเมืองเดิม เชิงสะพานปีกุน ข้างถนนราชินี<br />

ทางด้านวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมรามราชวร<br />

มหาวิหาร ฝั่งตรงข้ามวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม<br />

ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า<br />

จิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

อนุสาวรีย์หมู สร้างเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖<br />

ในวาระที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ<br />

จะมีพระชนมายุครบ ๕๐ ปี (เสด็จพระราชสมภพ<br />

ปีกุน ปี พ.ศ. ๒๔๐๖) ทรงมีพระราชเสาวนีย์ไว้ล่วงหน้า<br />

ว่าจะไม่รับของขวัญจากผู้ใด ผู้ที่จะเตรียมของขวัญ<br />

จึงหาทางออกโดยกลุ่มผู้เกิดในปีกุนหลายคน<br />

อาทิ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ<br />

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระยาราชสงคราม<br />

(กร หงสกุล) และพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน่<br />

ชาเวียร์) จึงมีความคิดร่วมกันจัดสร้างสะพานปีกุน<br />

และอนุสาวรีย์สหชาติหรืออนุสาวรีย์หมูขึ้นและให้<br />

ทำก๊อกน้ำประปาไว้ข้างใต้ เพื่อให้ประชาชนที่ผ่าน<br />

ไปมาสมัยนั้นได้ใช้บริโภค โดยได้จัดทำอนุสาวรีย์หมู<br />

ริมคลองคูเมืองเดิม<br />

เมื่อแรกที่สร้างนั้น ได้ใช้แท่งศิลาขนาดใหญ่มา<br />

ซ้อนกันเป็นฐาน ตัวหมูที่ตั้งอยู่ด้านบนแท่ง ศิลา<br />

หล่อด้วยโลหะ แต่ในปัจจุบันได้ปรับปรุงฐานศิลา<br />

โดยการเปลี่ยนมาเป็น ปูนซีเมนต์ และก่อยกให้สูง<br />

ขึ้นกว่าเดิม ลักษณะเป็นภูเขา เพื่อให้เกิดความ<br />

แข็งแรงและคงทน<br />

๑๑๓. สะพานปีกุน<br />

สะพานที่สร้างขึ้นนี้มีลักษณะเรียบ ตัวสะพาน<br />

เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานมีลักษณะเป็น<br />

ท่อนเหล็กกลมทอดไปตามยาว คั่นด้วยเสาคอนกรีต<br />

เป็นระยะ มีลักษณะเป็นสะพานคนเดินข้ามคลอง<br />

คูเมืองเดิมตรงหน้าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม<br />

ราชวรมหาวิหาร ริมถนนราชินีบริเวณข้างวัดราช<br />

ประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร<br />

ดำริสร้างเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีพัชริน<br />

ทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง<br />

ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๔ รอบ (๔๘ พรรษา)<br />

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ในการนี้สมเด็จพระพันปีหลวง<br />

ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างเพื่อให้<br />

ประชาชนใช้ประโยชน์<br />

ลักษณะเด่นของสะพานคือ ที่เชิงสะพานทั้ง ๒<br />

ฝั ่ง รวมทั้งสิ ้น ๔ ต้น เป็นเสาคอนกรีตเซาะร่อง<br />

ลวดลายหัวเสาเป็นรูปถ้วยประดับช่อมาลามีวงรูปไข่<br />

๔ วงทุกเสา เชิงสะพานสองฝั่งมีบันไดขึ้นลงเป็นรูป<br />

ครึ่งวงกลม ๖ ชั้น ที่มีความหมาย กล่าวคือ<br />

• รูปถ้วยประดับช่อมาลา หมายถึง เทียน<br />

ประทีปพระชันษา<br />

• วงรูปไข่ หมายถึง รอบปี<br />

• ๔ วง หมายถึง พระชนมายุครบ ๔ รอบ<br />

เนื่องจากสะพานนี้เป็นสะพานเล็กจึงไม่ได้รับ<br />

การพระราชทานชื่อ คนทั่วไปเรียกว่า สะพานหมู<br />

หรือ สะพานปีกุน ด้วยมีรูปอนุสาวรีย์หมูตั้งอยู่<br />

บนฝั่งคลองด้านทิศตะวันตกใกล้เชิงสะพาน ต่อมา<br />

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนสะพานปีกุนหรือ<br />

สะพานหมู เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดย<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๖๑<br />

ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๘<br />

149


๑๑๔. สะพานหก<br />

สะพานหก เป็นชื่อสะพานที่อยู่หลังศาลาว่าการกลาโหม ข้ามคลองคูเมืองเดิม<br />

ปัจจุบันเป็นสะพานคอนกรีตสำหรับคนเดินข้าม ซึ่งมีประวัติการสร้าง กล่าวคือ<br />

เดิมเมื่อโรงทหารหน้านี้ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ที่ว่าการของกรมทหารหน้ายังตั้งอยู่<br />

ที่บริเวณหอบิลเลียด ณ วังสราญรมย์ กับโรงครัวที่เลี้ยงทหาร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน<br />

เฟื่องนครนั้นก็รวมอยู่ด้วย ต่อมาได้ปรับปรุงด้วยการรื้อถอนโรงครัว เพื่อสร้างเป็น<br />

โรงเรียนนายร้อย บริเวณหน้าวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร<br />

โดยสร้างเป็นโรงใหญ่สำหรับฝึกกายกรรม ( โรงยิมเนเซียม )<br />

ต่อมา เมื่อกรมทหารหน้าได้ย้ายมาอยู่ที่โรงทหารหน้า (กรมยุทธนาธิการ)<br />

ซึ่งสร้างขึ้นใหม่นั้น ก็ยังคงโรงครัวเก่าเลี้ยงพลทหารหน้าต่อไปอีก เมื่อพลทหาร<br />

ที่จะมารับประทานอาหารต้องเดินไกล ผู้บัญชาการจึงสั่งการให้ท ำเป็นสะพานหก<br />

ข้ามมาจากยุทธนาธิการจนถึงโรงครัว เพื่อตัดทอนหนทางให้สั้น สะพานหกนี้<br />

ได้เปิดให้ทหารเดิน ขณะที่จะมารับประทานอาหารเท่านั้น<br />

ว่ากันว่า สะพานนี้ได้ใช้งานในระหว่างที่ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ<br />

เป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้าเท่านั้น ครั้นเมื่อตั้งกรมยุทธนาธิการ เป็นระเบียบ<br />

เรียบร้อยดีแล้ว จึงได้รื้อโรงครัวนั้นสร้างเป็นโรงเรียนนายร้อย<br />

สำหรับสะพานหกมีการสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถยกตัวสะพานขึ้นเพื่อให้<br />

เรือแล่นผ่านได้ หากท่านต้องการเห็นลักษณะของสะพาน ได้มีการสร้างสะพานหก<br />

ขึ้นบริเวณวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งในอดีตเคยเป็น<br />

สะพานรถรางที่ให้รถรางสายบางคอแหลม - กระทรวงกลาโหมข้ามจาก<br />

ถนนหลักเมือง แต่ได้ยกเลิกรถรางสายดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ส่วนสะพาน<br />

หกเดิมได้สร้างเป็นสะพานคอนกรีตถาวรดังที่เห็นในปัจจุบัน<br />

๑๑๕. สะพานช้างโรงสี<br />

สะพานช้างโรงสี ถือเป็นสะพานที่อยู่เคียงคู่โรงทหารหน้าเป็นเวลานาน<br />

เพราะประวัติศาสตร์ของโรงทหารหน้าหลายประการมีความเกี่ยวข้องกับ<br />

สะพานช้างโรงสีอย่างมาก เชิญมารับทราบถึงประวัติและความเป็นมาของสะพาน<br />

แห่งนี้<br />

เมื่อแรกสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี เกาะรัตนโกสินทร์มีคูคลอง<br />

เมืองเดิมเป็นคลองคั่น ใช้เป็นปราการสำหรับป้องกันข้าศึกยามศึกสงคราม<br />

ซึ่งในยามปกติใช้ในการคมนาคมติดต่อของประชาชนโดยรอบราชธานี<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างสะพานข้ามคูคลองเมืองเดิมที่แข็งแรงและมั่นคงเพื่อการใช้งาน สะพาน<br />

ช้างโรงสี จึงเป็นสะพานหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้ช้างข้ามคลองคูเมืองเดิมไปหากิน<br />

อาหารและเลี้ยงดูพักผ่อนนอกเขตพระนคร<br />

150


สะพานช้างโรงสีสร้างขึ้นบริเวณปลายถนนหลักเมือง บริเวณคลองคูเมือง<br />

ฝั่งตะวันตกของคลอง (ระหว่างถนนบำรุงเมือง ช่วงที่เป็นถนนกัลยาณไมตรี<br />

ในปัจจุบัน กับถนนราชินี) ไปฝั่งตะวันออกของคลอง (ระหว่างถนนบำรุงเมือง<br />

กับถนนอัษฎางค์)<br />

แรกสร้างเป็นสะพานตอม่อก่อด้วยอิฐ ปูพื้นด้วยไม้ซุงเหลี่ยม ต่อมา<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างสะพานช้างโรงสีขึ้นใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเรียบพนักสะพาน<br />

ทั้ง ๒ ข้าง ทำเป็นลูกแก้วปูนปั้นมีเสาที่ปลายพนักสะพานทั้ง ๒ ฝั่ง หัวเสาเป็น<br />

แผ่นแบน ปลายราวสะพานทั้ง ๔ มุมประดับรูปหัวสุนัข มีตัวหนังสือปูนปั้น<br />

บอกรัตนโกสินทร์ศกจารึก ร.ศ. ๑๒๙ (ปี พ.ศ. ๒๔๕๓) ซึ่งเป็นปีที่สร้างเสร็จ ในขณะนั้น<br />

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตรงกับปีจอซึ่งเป็นปีประสูติ<br />

ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาด ำรงราชานุภาพ<br />

ด้วยเหนือขึ้นไปอีกแถวหนึ่งเป็นนามสะพาน มีทางเท้า ๒ ข้าง<br />

เนื่องจากในยุคเดิมเป็นสะพานสร้างขึ้นเพื่อให้ช้างข้ามคลองคูเมืองเดิม และ<br />

113<br />

พื้นที่ตั้งสะพานอยู่ใกล้โรงสีข้าวของฉางข้าวหลวงสำหรับพระนคร ดังนั้น จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามสะพานว่า สะพานช้างโรงสี ซึ่งในสมัยนั้นมี<br />

สะพานช้างข้ามคลองคูเมืองเดิมอยู่ ๓ สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า (สะพาน<br />

เสี้ยว) สะพานช้างปากคลองตลาด (สะพานเจริญรัช) และสะพานช้างโรงสี ที่เรียก<br />

ชื่อนี้ เพราะตั้งอยู่ใกล้กันกับโรงสีข้าวและฉางข้าวหลวงของทางราชการ ซึ่งเป็น<br />

ที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน สะพานช้างโรงสีได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ<br />

เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓<br />

151


ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๑๘<br />

กรุงเทพมหานครได้รื้อสะพานช้างโรงสีเดิมออก เพื่อปรับปรุงขยายผิวจราจรบนสะพานโดยพยายามรักษา<br />

ลักษณะเดิมทุกประการ จนเห็นอยู่ในปัจจุบัน<br />

๑๑๖. ถนนสนามไชย<br />

ถนนสำคัญที่อยู่เคียงคู่โรงทหารหน้าและศาลาว่าการกลาโหมมานับร้อยปี และมีความสำคัญมาก<br />

เพราะเป็นที่อยู่ของศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งหนังสือราชการทุกฉบับจะต้องเขียนที่อยู่ของกระทรวงกลาโหม<br />

ว่าในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เพราะหากไม่กล่าวถึงถนนเส้นนี้แล้ว<br />

การกล่าวถึงศาลาว่าการกลาโหม คงขาดอรรถรสสำคัญเป็นอย่างมาก<br />

ถนนสนามไชยนี้ คือ ถนนที่เป็นทางสัญจรของรถยนต์และคนมาตั้งแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเดิมว่า<br />

ถนนหน้าจักรวรรดิ จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณเชิงสะพานเจริญรัช ๓๑ (บริเวณปากคลองตลาด) หน้าสถานี<br />

ตำรวจนครบาลพระราชวัง ผ่านวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พระบรมมหาราชวัง บริเวณ<br />

ด้านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท และศาลาว่าการกลาโหม มาจรดถนนราชดำเนินในบริเวณหน้า<br />

ศาลหลักเมืองและป้อมเผด็จดัสกร<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามใหม่<br />

จากถนนหน้าจักรวรรดิ เป็น ถนนสนามไชย ดังนั้น ตั้งแต่อดีตจึงเป็นสถานที่ที่นำมาใช้ประกอบพิธีการ<br />

ต่างๆ ที่เป็นมงคลและต้องการชัยชนะ อาทิ การเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ในพิธีอภิเษกสมรส<br />

ให้ประชาชนเฝ้าถวายพระพร การส่งทหารไปราชการสงครามและการชุมนุมเรียกร้องดินแดนคืน<br />

ความสำคัญในอดีต ถนนสนามไชยนี้ เคยใช้เป็นพื้นที่ฝึกหัดทหารไทยตามแบบอย่างทหารยุโรป<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในวโรกาสนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์<br />

ทอดพระเนตรการฝึกทหารด้วย นอกจากนี้ ถนนสนามไชยยังเป็นเส้นทางการประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี<br />

และพิธีการทางทหารในอดีตตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตราบถึงพระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน รวม ๕ รัชกาล<br />

152


๑๑๗. ปั๊มน้ำมันสามทหาร<br />

ในอดีตบริเวณข้างศาลหลักเมือง เคยมีสถานี<br />

บริการน ้ำมันขององค์การเชื้อเพลิงที่รู้จักกันดีว่า<br />

ปั๊มน้ำมันสามทหาร หากผู้ใหญ่ที่มีอายุประมาณ<br />

ตั้งแต่ ๕๐ ปี ขึ้นไป อาจเคยเห็นปั๊มสามทหารที่<br />

กล่าวถึง ซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของ<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งมีประวัติและความเป็นมา ดังนี้<br />

หากย้อนอดีตไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดว่าเป็นยุคที่เริ่ม<br />

มีถนน ไฟฟ้า รถราง ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เริ่มมี<br />

บริษัทน้ำมันต่างชาติที่เข้ามาประกอบการในประเทศ<br />

เป็นบริษัทแรก คือ บริษัท รอยัลดัทช์ ปิโตรเลียม<br />

จำกัด เพื่อจัดจำหน่ายน้ำมันก๊าดเพราะมีเขม่าควัน<br />

น้อยและให้แสงสว่างกว่าน้ำมันมะพร้าว ซึ่งต้อง<br />

นำเข้าน้ำมันก๊าดจากต่างประเทศ<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้นำ<br />

รถยนต์คันแรกมาวิ่งบนถนนในพระนคร หลังจากนั้น<br />

อีก ๖ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๕) จึงมีรถเมล์ขาวและ<br />

เริ่มนำน้ำมันเบนซินมาใช้โดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ<br />

นำน้ำมันต่างๆ มาจำหน่าย<br />

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ กระทรวงกลาโหม<br />

จัดตั้งแผนกเชื้อเพลิงขึ้นมาเพื่อจัดหาน้ำมันเบนซิน<br />

น้ำมันก๊าดและน้ำมันหล่อลื่น และเปลี่ยนชื่อมา<br />

เป็นกรมเชื้อเพลิง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และก่อสร้าง<br />

คลังเก็บน้ำมันที่ช่องนนทรี เพื่อขจัดปัญหาน้ำมัน<br />

ขาดแคลนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ที่ทำให้บริษัท<br />

น้ำมันต่างชาติหยุดการค้าน้ำมันในไทย<br />

ภายหลังยุติสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ต้องยุบกรม<br />

เชื้อเพลิงและขายกิจการและทรัพย์สินทั้งหมดให้<br />

กับบริษัทน้ำมันต่างชาติ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ<br />

ประเทศผู้ชนะสงคราม ไทยต้องให้บริษัทต่างชาติ<br />

เข้ามาจำหน่ายน้ำมันทั้งหมด<br />

ในที่สุด ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์<br />

นายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกข้อผูกพันที่ทำไวักับบริษัท<br />

ต่างชาติ เรื่องห้ามมิให้รัฐบาลจำหน่ายผลิตภัณฑ์<br />

ปิโตรเลียมแก่ประชาชน พร้อมกับจัดตั้งองค์การ<br />

เชื้อเพลิง เป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม<br />

๒๕๐๓ โดยใช้สัญลักษณ์ตราสามทหาร เพื่อดำเนิน<br />

สถานีบริการน้ำมัน จัดหาและกลั่นน้ำมัน<br />

ต่อมา ในยุควิกฤตการณ์น้ำมันโลก ระหว่าง<br />

ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗ น้ำมันราคาแพงมากและ<br />

ขาดแคลนไปทั่วโลก ไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก<br />

เพราะไม่มีแหล่งปิโตรเลียมเป็นของตนเอง จึงเริ่ม<br />

มองหาแหล่งพลังงานปิโตรเลียมในประเทศ จน<br />

กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มีการจัดตั ้งองค์การก๊าซ<br />

ธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) ขึ้นเพื่อพัฒนา<br />

ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและในปี พ.ศ. ๒๕๒๑<br />

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี<br />

จึงได้เสนอรัฐสภา ตรา พระราชบัญญัติการ<br />

ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย นับเป็นองค์กรของรัฐ<br />

ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปิโตรเลียมของไทย<br />

ขึ้นโดยตรงเป็นครั้งแรก<br />

และในที่สุด ปั๊มน้ำมันสามทหารจึงถูกยุบและ<br />

รื้อถอนออกไป และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอาณาบริเวณ<br />

ของศาลหลักเมือง ดังที่เห็นในปัจจุบัน<br />

153


ปั๊มน้ำมันสามทหาร<br />

บริเวณข้างศาลหลักเมือง<br />

154


๑๑๘. ท่ารถรางกระทรวงกลาโหม<br />

เส้นทางเดินรถรางผ่านถนนหลักเมือง บริเวณด้านข้างกระทรวงกลาโหม<br />

หากท่านผ่านศาลาว่าการกลาโหม ด้านทิศเหนือบริเวณถนนหลักเมือง ท่านคงจะเห็นรางคล้ายราง<br />

รถไฟอยู่บนพื้นผิวถนน ซึ่งรางดังกล่าวคือรางรถราง และบริเวณข้างกระทรวงกลาโหมเคยเป็นท่ารถราง<br />

อีกด้วย<br />

รถรางที่ว่านี้ เริ่มมีการบริการในประเทศไทย โดยเริ่มกิจการที ่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก ในวัน<br />

ที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๓๑ โดยเริ่มต้นจากบางคอแหลม ถนนตก มาตามถนนเจริญกรุง สุดปลายทางที่<br />

ศาลหลักเมือง ข้างศาลายุทธนาธิการ หรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน เป็นระยะทาง ๖ ไมล์ (ประมาณ<br />

๑๐ - ๑๒ กิโลเมตร) ใช้รถเล็ก ๔ ล้อ เทียมด้วยม้า ๒ คู่ และมีสถานีเปลี่ยนม้าเป็นระยะ เพื่อให้ม้าได้พัก<br />

ซึ่งกิจการที่เปิดให้บริการรถรางคือ บริษัท บางกอกแตรมเวย์ จำกัด จึงทำให้คนไทยมีรถรางในยุคแรก<br />

เรียกว่า รถแตรม<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ จึงเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งขับเคลื่อนรถราง และให้บริการจนถึงวันที่ ๑๑<br />

กันยายน ๒๕๑๑ ซึ่งเหตุที่ต้องเลิกกิจการ เพราะรถรางแล่นช้าและถูกมองว่าทำให้การจราจรติดขัด<br />

สำหรับรถรางที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมคือรถรางสายบางคอแหลม ซึ่งมีเส้นทางวิ่งตามถนน<br />

เจริญกรุง เข้าเมืองไปยังสี่กั๊กพระยาศรี แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนเฟื่องนคร ไปยังสี่กั๊กเสาชิงช้า ก่อนจะ<br />

เลี้ยวซ้ายเข้าถนนบำรุงเมือง แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอัษฎางค์ ก่อนข้ามสะพานหกที่คลองคูเมืองเดิม ไปยัง<br />

ศาลหลักเมืองแล้วไปสุดสายที่แถวกระทรวงกลาโหม ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ รถรางสายนี้ ถูกยกเลิกไป<br />

เพื่อนำที่แถวนั้นมาสร้างเป็นถนน คงเหลือไว้เพียงรางรถรางให้เห็นเป็นอนุสรณ์ว่า บริเวณนี้เคยมีรถราง<br />

แล่นผ่านมาก่อน<br />

155


๑๑๙. อาคารกรมพระธรรมนูญ<br />

อาคารกรมพระธรรมนูญ คืออาคารสำนักงานของกรมพระธรรมนูญ ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม มีที่ตั้งอยู่ข้างศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศเหนือ ริมถนนหลักเมือง ถือได้ว่าเป็น<br />

สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียงศาลาว่าการกลาโหมอีกแห่งหนึ่ง<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ กรมพระธรรมนูญ ถือกำเนิดครั้งแรกโดยเป็นหน่วยขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ<br />

ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า กรมพระธรรมนูญทหารบก โดยมีที่ตั้งอยู่ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้มีการตั้งกรมพระธรรมนูญทหารเรือ<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รวมกรมพระธรรมนูญทหารบกและกรมพระธรรมนูญทหารเรือ และตั้งเป็น<br />

กรมพระธรรมนูญทหาร<br />

ซึ่งในปีถัดมา คือ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้โอนกรมพระธรรมนูญ ขึ้นสังกัดกระทรวงกลาโหม ใช้ชื่อว่ากรม<br />

พระธรรมนูญ<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ย้ายที่ทำการใหม่มาอยู่บริเวณชั้นที่ ๒ ด้านทิศใต้ติดคลองคูเมืองเดิม<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ย้ายที่ทำการบางส่วนมาอยู่ในพื้นที่ขององค์การเชื้อเพลิงที่ได้ยุบไป<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้ย้ายเข้าสู่ที่ตั้งปัจจุบัน คืออาคารที่ทำการกรมพระธรรมนูญ ตึกใหม่ริมถนน<br />

หลักเมืองทางด้านทิศเหนือของศาลาว่าการกลาโหม<br />

อาคารกรมพระธรรมนูญ จึงเป็นที่ทำการดังที่ท่านเห็นในปัจจุบัน<br />

๑๒๐. สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม<br />

สะพานที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการข้ามคลองคูเมืองเดิม มีจำนวนทั้งสิ้น ๘ สะพาน โดยมี<br />

รายละเอียด ดังนี้<br />

๑) สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นสะพานสุดท้ายของสะพานชุดที่มี<br />

คำว่า เฉลิม นำหน้ารวม ๑๗ สะพาน สะพานชุดเฉลิมนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ทรง<br />

พระเจริญพระชันษาได้ ๔๒ ปี จนเสด็จสวรรคต ทั้งนี้มีพระราชประสงค์ให้เป็นสาธารณประโยชน์แก่ปวง<br />

พสกนิกร สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ กระทำพิธีเปิดภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ<br />

สวรรคตไปแล้วถึง ๒ ปี เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองด้านเหนือ สุดบริเวณวังหน้าด้านถนนพระอาทิตย์<br />

จดกับถนนราชินีที่บริเวณใต้สะพานพระปิ่นเกล้าใกล้กับที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร<br />

สะพานนี้ถูกรื้อไปแล้วกลายเป็นถนน ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

156


๒) สะพานช้างวังหน้า หรือสะพานเสี้ยว เป็นสะพานที่ถูกรื้อไปแล้ว ถัดลง<br />

มาทางทิศใต้บริเวณใกล้เคียงกัน เมื่อมีการตัดถนนราชดำเนินในสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมสะพานหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เชื่อมต่อแนวถนน<br />

ราชดำเนินในและถนนราชดำเนินกลาง พระราชทานนามว่า สะพานผ่านพิภพลีลา<br />

๓) สะพานเจริญศรี ๓๔ เป็นสะพานชุดที่มีคำนำหน้าว่า เจริญ มีด้วยกัน<br />

๖ สะพาน เมื่อสร้างแล้วจะต่อด้วยตัวเลข ๒ ตัวข้างท้าย บอกตัวเลข<br />

พระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานขึ ้นเช่นเดียวกับพระราชประสงค์ของ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สร้างสะพานชุดเฉลิม ในวโรกาส<br />

วันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี ดังนั้น สะพานเจริญศรี ๓๔ จึงสร้างขึ้นเมื่อ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ ๓๔ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗<br />

โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดสะพานด้วยพระองค์เองทุกสะพาน<br />

ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา (๑ มกราคม ๒๔๒๓) ประมาณ ๒ - ๓ วัน คือ<br />

ในห้วงวันที ่ ๒๙ - ๓๐ ธันวาคม สะพานเจริญศรี ๓๔ เป็นสะพานข้ามคลอง<br />

คูเมืองเดิม บริเวณวัดบูรณศิริมาตยารามกับด้านศาลยุติธรรม<br />

๔) สะพานหก รายละเอียดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น<br />

๕) สะพานช้างโรงสี รายละเอียดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น<br />

๖) สะพานมอญ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมอยู่ด้านหลังวัดราชบพิธ<br />

สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร และเป็นสะพานตามแนวถนนเจริญกรุง<br />

ณ บริเวณแห่งนี้ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพ<br />

สะพานช้างโรงสี (อดีต-ปัจจุบัน)<br />

157


เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

และได้อพยพหนีภัยสงครามกับพม่าคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ พร้อมกับชาวไทย และ<br />

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญ<br />

อันมีพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยารามจัตุรงค์ หัวหน้า<br />

ชาวมอญสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหัวหน้าชาวมอญกลุ่มนี้ โดย พระยาศรีสหเทพ<br />

(ทองเพ็ง) ได้ร่วมกับชาวมอญที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ช่วยกันสร้างสะพานนี้ขึ้น<br />

ราษฎรทั่วไปจึงเรียกสะพานนี้มาจนถึงปัจจุบันว่าสะพานมอญ นอกจากนั้น<br />

เมื่อข้ามสะพานมอญออกมาแล้วยังจะพบสี่แยกอีกแห่งหนึ่งบริเวณใกล้เคียงกัน<br />

ที่ราษฎรยังคงเรียกกันว่าสี่กั๊กพระยาศรี เพราะตัดผ่านข้างบ้านพระยาศรีสหเทพ<br />

นั่นเอง (คำว่า กั๊ก ภาษาจีน แปลว่า ทางแยก)<br />

๗) สะพานอุบลรัตน์ แต่เดิมเรียกว่าสะพานบ้านหม้อ เป็นสะพาน<br />

ข้ามคลองคูเมืองเดิมจากถนนราชบพิธ ไปยังถนนพระพิทักษ์ใกล้วังของกรม<br />

พระพิทักษ์เทเวศร์ พระองค์เจ้ากุญชร ต้นราชสกุล กุญชร ณ อยุธยา ที่ชาวบ้าน<br />

เรียกกันว่า วังบ้านหม้อ ต่อมาสะพานนี้ถูกเรียกขานกันว่า สะพานหัวตะเข้<br />

เพราะในการบูรณะสะพานต่อมาได้ทำเป็นรูปหัวจระเข้ที่สะพาน และในสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะสะพานแห่งนี้อีกครั้ง<br />

หนึ่ง กระทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ตั้งชื่อ<br />

อย่างเป็นทางการว่า สะพานอุบลรัตน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายพระอัครชายา<br />

เธอ (ในรัชกาลที่ ๕) พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค (พระนามเดิม หม่อมเจ้าบัว<br />

กมลาสน์)<br />

๘) สะพานเจริญรัช ๓๑ เป็นสะพานชุดเจริญที่สร้างขึ้นเป็นสะพานแรก<br />

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีพระชนมายุครบ ๓๑<br />

พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองบริเวณปากคลองตลาด<br />

หน้าสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังในปัจจุบัน แต่เดิมเป็นสะพานช้างข้ามเก่า<br />

ที่ราษฎรเรียกกันว่าสะพานช้างปากคลองตลาด<br />

ทั้งหมดนี้คือ สะพานที่ข้ามคลองคูเมืองเดิม โดยการไล่ลำดับจากริมแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยาบริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ามาจนถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

ปากคลองตลาด<br />

158


๑๒๑. ถนนรอบกระทรวงกลาโหม<br />

ถนนที่ใช้สัญจรบริเวณรอบกระทรวงกลาโหมและบริเวณใกล้เคียง ในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยากับคลองคูเมืองเดิม และถนนใกล้เคียงที่สมควรนำเสนอต่อทุกท่าน มีจำนวนถึง ๑๓ สาย<br />

โดยมีรายละเอียด ดังนี้<br />

๑) ถนนเจริญกรุง เป็นกลุ่มถนนชุดแรกที่<br />

สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เนื่องจากขณะนั้นได้มีบรรดาชาวต่าง<br />

ประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น และได้เข้า<br />

ชื่อกันถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้มีการ<br />

ตัดถนนเพื่อตากอากาศหรือขี่ม้าท่องเที่ยวกันบ้าง<br />

ดังนั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ - ๒๔๐๗ จึงได้ดำเนินการ<br />

ตัดถนนเจริญกรุง ทั้งนี้ แนวถนนเจริญกรุงเริ่มแรก<br />

มีการวางแผนกันว่าจะเริ่มตั้งแต่ถนนข้างกระทรวง<br />

กลาโหมปัจจุบัน (ถนนกัลยาณไมตรี) ผ่านเสาชิงช้า<br />

ออกไป แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงคัดค้านว่า เป็นถนนที่ตรงกับวังอาจเป็นเส้น<br />

ทางที่ข้าศึกอาจใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะด้านการ<br />

ยิงของอาวุธหนัก ดังนั้น จึงได้เปลี่ยนแปลงให้จุด<br />

เริ่มต้นของถนนเจริญกรุงเริ่มต้นจากถนนท้ายวัง<br />

ด้านหน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนไปจนถึง<br />

ถนนตก เมื่อถนนสายนี้สร้างเสร็จแล้ว ราษฎร<br />

พากันเรียกว่า ถนนใหม่ และชาวต่างชาติเรียกว่า<br />

New Road จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จึงมี<br />

ประกาศพระบรมราชโองการว่า ให้เรียกชื่อถนน<br />

สายนี้ว่า ถนนเจริญกรุง<br />

๒) ถนนบำรุงเมือง เป็นถนนรุ่นแรกเช่นเดียว<br />

กับถนนเจริญกรุง ที่สร้างขึ้นมาในสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจุดเริ่มต้น<br />

คือบริเวณข้างกระทรวงกลาโหม จากถนนสนามไชย<br />

ข้ามสะพานช้างโรงสีผ่านเสาชิงช้าไปยังบริเวณ<br />

เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ถนนบำรุงเมือง เริ่มสร้างเมื่อ<br />

ปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ใช้เงินประมาณ ๑๕,๐๐๐. - บาท<br />

ทั้งนี้ บริเวณหัวถนนบ ำรุงเมืองด้านกระทรวงกลาโหม<br />

จนถึงสะพานช้างโรงสี แต่เดิมนั้นชาวบ้านเรียกกันว่า<br />

ถนนหัวโรงม้า เพราะมีหน่วยทหารม้าตั้งอยู่ใน<br />

กระทรวงกลาโหมบริเวณนี้ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.<br />

๒๔๖๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้มีฝรั่งชาวอเมริกา ชื่อ ดร.ฟรานซีส<br />

บี. แซย์ ลูกเขยประธานาธิบดี วูดโรว์ บินสัน ของ<br />

สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาช่วยราชการที่กระทรวง<br />

การต่างประเทศของไทย ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ฝั่งตรง<br />

กันข้ามกับกระทรวงกลาโหม ดร.ฟรานซีส บี. แซย์<br />

ซึ่งเป็นนักกฎหมาย ได้เข้าช่วยแก้ไขสัญญาต่างๆ<br />

ที่ไทยเสียเปรียบกับนานาประเทศมากมาย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทาน<br />

บรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยากัลยาณไมตรี ดังนั้น ในปี<br />

พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนบำรุงเมือง<br />

ตอนดังกล่าวนี้ เป็นถนนกัลยาณไมตรี เป็นเกียรติ<br />

แก่พระยากัลยาณไมตรีอีกด้วย<br />

อนึ่ง ถนนกัลยาณไมตรี (ถนนบำรุงเมือง)<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเส้นทางเดินสัญจรของ<br />

คนทั่วไป ตั้งแต่ครั้งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะ<br />

การเดินทางข้ามคลองคูเมืองเดิมด้านนี้ จะต้องข้าม<br />

ที่สะพานช้างโรงสีเท่านั้น ดังนั้น ในครั้งที่พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จ<br />

พระราชดำเนินโดยมิได้ฉลองพระบาท เพื่ออัญเชิญ<br />

พระศรีศากยมุนีจากท่าพระ ไปยังอุโบสถวัดสุทัศน<br />

เทพวราราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๗ นั้น เชื่อได้ว่า<br />

ได้เสด็จพระราชดำเนินตามเส้นทางสายนี้<br />

๓) ถนนเฟื่องนคร เป็นถนนรุ่นเดียวกันกับ<br />

ถนนบำรุงเมืองที่สำคัญอีกถนนหนึ่ง ที่อยู่บริเวณ<br />

ข้ามคลองคูเมืองเดิมออกไป เริ่มจากแยกพระพิทักษ์<br />

ตรงถนนบ้านหม้อมาจนถึงสี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงถนน<br />

บำรุงเมือง<br />

159


๔) ถนนตะนาว เป็นถนนรุ่นเดียวกันกับถนน<br />

บำรุงเมือง เริ่มจากส่วนถนนบำรุงเมืองด้านต่อ<br />

จากสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านศาลเจ้าพ่อเสือ ไปจดถนน<br />

ราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว เรียกว่า ถนนตะนาว<br />

เพราะแต่เดิมเป็นบริเวณที่กลุ่มชนเชื้อสายพม่าจาก<br />

เมืองตะนาวศรีมาอาศัยอยู่<br />

๕) ถนนราชินี เป็นถนนที่ตัดขนานกับคลอง<br />

คูเมืองเดิม จุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณปากคลองตลาด<br />

บริเวณสะพานเจริญรัช ผ่านหลังกระทรวงกลาโหม<br />

ตัดกับถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระธาตุไปจนถึง<br />

ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านถนนพระอาทิตย์ โดยถนน<br />

สายนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงและสร้างขึ้นเป็น<br />

อนุสรณ์แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ<br />

พระราชมารดา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ<br />

๕๐ ปี ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ<br />

(ประสูติ ๑ มกราคม ๒๔๐๖) เมื่อวันที่ ๑ มกราคม<br />

๒๔๕๖<br />

๖) ถนนอัษฎางค์ เป็นถนนที่ขนานกับคลอง<br />

คูเมืองเดิมด้านนอก เริ่มต้นจากเชิงสะพานเจริญรัช<br />

ด้านถนนตรีเพชร (ปากคลองตลาด) มาสิ้นสุดที่<br />

โรงแรมรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์<br />

เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พระราชโอรส<br />

องค์ที่ ๗ ในรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระศรีพัชริน<br />

ทราบรมราชินีนาถ) ซึ่งสวรรคตเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์<br />

๒๔๖๗ ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๓๕ ปีเท่านั้น<br />

ริมถนนอัษฎางค์ บริเวณด้านหลังกระทรวงกลาโหม<br />

ที่เรียกกันปัจจุบันว่า หลังกระทรวง นี้มีสถานที่ที่เป็น<br />

ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เป็นแหล่งศูนย์การค้าและ<br />

แหล่งเริงรมย์สมัยก่อนที่ควรกล่าวถึง คือ แพร่งนรา<br />

แพร่งภูธร และแพร่งสรรพศาสตร์ นอกจากนั้น<br />

ริมถนนอัษฎางค์ ด้านเชิงสะพานช้างโรงสียังมีบ้าน<br />

ที่เป็นบ้านเกิดของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์<br />

สิงหเสนี) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดในสมัย<br />

กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๓๑๘<br />

๗) ถนนเจ้าฟ้า จะเป็นถนนเลียบคลองคูเมือง<br />

เดิม เริ่มจากจุดต้นถนนพระอาทิตย์ (โรงเรียนข่าว<br />

กรมข่าวทหารบก) มายังถนนราชดำเนินกลาง ตั้งชื่อ<br />

เป็นอนุสรณ์แก่เจ้าของวัง คือ พระเจ้าบวรวรวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้าอิศราพงค์ พระโอรสในพระบวรราชเจ้ากรม<br />

พระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระองค์เจ้าดารา<br />

วดี พระธิดาในพระวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวร<br />

มหาสุรสิงหนาท และเป็นต้นราชสกุล อิศรศักดิ์ ณ<br />

อยุธยา<br />

๘) ถนนสนามไชย รายละเอียดดังกล่าวมา<br />

แล้วข้างต้น<br />

๙) ถนนท้ายวัง เป็นเส้นทางสัญจรที่เกิด<br />

ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภายหลังจากขยายแนว<br />

พระบรมมหาราชวังไปทางทิศใต้ เพราะถนนสายนี้<br />

กั้นอยู่ระหว่างแนววัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามกับ<br />

พระบรมมหาราชวัง สุดถนนด้านแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

คือ จุดตัดกับถนนมหาราชส่วนจุดตัดกับถนน<br />

สนามไชยคือ ต้นถนนเจริญกรุง<br />

๑๐) ถนนหน้าพระลาน เป็นเส้นทางสัญจร<br />

เก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เริ่มต้น<br />

จากริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าช้างวังหลวง ผ่าน<br />

ประตูวิเศษไชยศรี จนถึงด้านหน้าศาลหลักเมือง อัน<br />

เป็นจุดเริ่มต้นของถนนราชดำเนินใน<br />

๑๑) ถนนราชดำเนิน ภายหลังจากที่<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ<br />

พระราชดำเนินกลับจากเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

ถนนราชดำเนินขึ้นเป็น ๓ ช่วง<br />

160


• ช่วงแรก เรียกว่า ถนนราชดำเนินใน เริ่มจากหน้าศาลหลักเมือง ถึงสะพานผ่านพิภพลีลา<br />

• ช่วงที่สอง เรียกว่า ถนนราชดำเนินกลาง เริ่มจากสะพานผ่านพิภพลีลา ถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ<br />

• ช่วงที่สาม เรียกว่า ถนนราชดำเนินนอก เริ่มจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ผ่านสะพานมัฆวานรังสรรค์<br />

จนถึงลานพระราชวังดุสิต (ที่นิยมเรียกกันว่าลานพระบรมรูปทรงม้า) ต่อมา ถนนราชดำเนินทั้ง<br />

๓ ตอน ได้รับการปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้ง สร้างสิ่งปลูกสร้างให้ทันสมัยเยี่ยงอารยประเทศ<br />

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยรัฐบาลในสมัยนั้น<br />

๑๒) ถนนมหาราช เป็นทางเดินระหว่างพระบรมมหาราชวัง เลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาแต่โบราณ<br />

เริ่มต้นจากปากคลองตลาด ท่าเตียน ท่าราชวรดิษฐ ท่าช้างวังหลวง ไปจดกับถนนพระจันทร์ ซึ่งเป็นถนน<br />

สายสั้นๆ จากท่าพระจันทร์ไปถึงถนนหน้าพระธาตุ<br />

๑๓) ถนนหน้าพระธาตุ เป็นเส้นทางสัญจรโบราณยุคสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวังหน้ากับ<br />

วังหลวง มีจุดเริ่มต้นจากมุมรั้วกรมศิลปากร ผ่านวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาจรดถนนราชินี ที่มุมรั้วโรงละครแห่งชาติ การที่ถนนนี้มีชื่อว่า<br />

ถนนหน้าพระธาตุ เป็นเพราะเป็นชื่อเรียกขานกันมาแต่สมัยโบราณ เพราะวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์<br />

ราชวรมหาวิหารนี้ มีพระวิหารที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตั้งอยู่<br />

161


่<br />

๑๒๒. กรมแผนที่ทหาร<br />

สถานที่ราชการที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับกระทรวงกลาโหม ด้านทิศใต้ ริมถนนกัลยาณไมตรี<br />

คือกรมแผนที่ทหาร ซึ่งมีความสำคัญและความเป็นมา ดังนี้<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เป็นสมัยเริ่มแรกของการพัฒนาประเทศ<br />

เพื่อให้ทันกับความจำเป็นของสถานการณ์ที่กำลัง<br />

คุกคามต่อเอกราชของสยามในยุคนั้น แนวทางการ<br />

ทำแผนที่แผนใหม่ซึ่งต้องอาศัยหลักวิชาและอุปกรณ์<br />

เครื่องมือของประเทศฝ่ายตะวันตกก็ได้เริ ่มขึ้น<br />

ในรัชกาลนี้ด้วยเช่นกัน<br />

ภายหลังจากที่เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู<br />

ชวาและอินเดีย ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำ นายเฮนรี<br />

อลาบาสเตอร์ ที่เคยทำหน้าที่รองกงสุลอังกฤษ<br />

ในเมืองไทยมาก่อนนั้น กลับเข้ามารับราชการเป็นที่<br />

ปรึกษาส่วนพระองค์ด้วย ซึ่งนายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์<br />

ได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำในการทำนุบำรุง<br />

บ้านเมืองด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้ง<br />

วิชาการสำรวจและทำแผนที่ ซึ่งทรงเห็นว่ามีประโยชน์<br />

มาก ดังนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง<br />

กองทำแผนที่ทดลองขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ โดย<br />

เริ่มสำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพมหานคร<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ รัฐบาลอังกฤษได้ขอ<br />

อนุญาตรัฐบาลสยาม เพื่อให้กองทำแผนที่ กรมทำ<br />

แผนที่แห่งอินเดีย เดินทางผ่านเข้ามาในประเทศ<br />

สยามเพื่อดำเนินการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมต่อเนื่อง<br />

จากประเทศอินเดีย ผ่านพม่า เข้าเขตประเทศสยาม<br />

ทางจังหวัดราชบุรี เพื่อเข้าบรรจบกับแผนที่ทาง<br />

ทะเลที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งขอสร้างหมุดหลัก<br />

ฐานทางแผนที่ภูเขาทอง และที่พระปฐมเจดีย์ เพื่อ<br />

ใช้เป็นจุดตรวจสอบด้วย ครั้งนั้นข้าราชการไทยหวั่น<br />

วิตกเป็นอันมาก เนื่องจากได้สังเกตเห็นมาแล้วว่า<br />

ประเทศนักล่าอาณานิคมมักขอเข้าสำรวจก่อน แล้ว<br />

จึงถือโอกาสเข้ายึดครองในภายหลัง<br />

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุโลมตามคำแนะนำของ<br />

นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ที่ให้ยินยอมตามคำขอ<br />

ของรัฐบาลอังกฤษ ทั้งทรงเห็นชอบด้วยกับการ<br />

ที่จะเจรจาทาบทามตัวพนักงานทำแผนที่อังกฤษ<br />

เข้ามารับราชการเพื่อเป็นการวางรากฐานการทำ<br />

แผนที่ของไทยเองด้วย ผลที่สุดปรากฏว่า นายเจมส์<br />

เอฟ แมคคาร์ธี ตกลงยินยอมเข้ารับราชการสยาม<br />

นับแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๒๔ โดยสังกัดฝ่ายพระ<br />

กลาโหม ซึ่งมีหน้าที่บัญชาการหัวเมืองและทหาร<br />

ฝ่ายใต้ในขณะนั้น แต่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คือ พระ<br />

องค์เจ้าดิสวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)<br />

ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็กต่อมาในปี พ.ศ.<br />

๒๔๒๕ พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร จึงทรงได้รับพระ<br />

ราชโองการให้ตรัสเรียกนายแมคคาร์ธีมาปรึกษา<br />

และร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนฝึกสอนชาวสยามให้ทำ<br />

แผนที่ขึ้น โดยทำการสอนภาคทฤษฎีที่ตึกแถวกอง<br />

ทหารมหาดเล็ก ข้างประตูพิมานไชยศรีในพระบรม<br />

มหาราชวังและนำนักเรียนออกมาฝึกทำแผนที่ทั้ง<br />

ในกรุงเทพฯ และมณฑลอื่นๆ และในที่สุดจึงได้ตั้ง<br />

กรมทำแผนที่ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๔๒๘<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบราชการครั้ง<br />

ใหญ่ โดยแยกงานออกเป็น ๑๒ กระทรวง กรมทำ<br />

แผนที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพระคลังมหา<br />

สมบัติอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้โอนไปสังกัดกระทรวง<br />

เกษตราธิการ<br />

162


กรมแผนที่ทหาร<br />

อดีตถึงปัจจุบัน<br />

จนกระทั่งวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๕๒ จึงโอนสังกัด<br />

มาขึ้นตรงกรมเสนาธิการ กระทรวงกลาโหม ตาม<br />

พระราชดำริของ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก<br />

และต่อมาเมื่อมีการแยกงานของกรมเสนาธิการ<br />

กรมแผนที่จึงมีฐานะเป็นหน่วยราชการขึ้นตรงต่อ<br />

กองทัพบก<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงได้โอนกรมแผนที่<br />

มาสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด และเปลี ่ยน<br />

ชื่อเป็น กรมแผนที่ทหาร มาจนกระทั่งปัจจุบัน<br />

ส่วนสถานที่ทำการนั้นได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ อาคารริม<br />

ถนนบำรุงเมืองตอนต้น (ถนนกัลยาณไมตรี) แทนที่<br />

โรงเรียนนายร้อยมัธยมและกรมเสนาธิการทหารบก<br />

ที่เคยอยู่เดิม<br />

163


พระราชวังสราญรมย์ ที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศในอดีต<br />

๑๒๓. พระราชวังสราญรมย์<br />

สถานที่ราชการที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ด้านทิศใต้กระทรวงกลาโหม<br />

ริมถนนกัลยาณไมตรี นอกจากกรมแผนที่ทหารแล้ว ยังมีอีกแห่งหนึ่งคือ<br />

พระราชวังสราญรมย์ หรือที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศเดิม ซึ่งมีความ<br />

สำคัญและความเป็นมา ดังนี้<br />

พระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่าง พระบรมมหาราชวัง กับ<br />

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันออกของ<br />

พระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรอง<br />

พระราชอาคันตุกะ<br />

มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดย นายเฮนรี่<br />

อลาบาสเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙ โดยมี เจ้าพระยาบุรุษรัตนราช<br />

พัลลภ (เพ็ง) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ พร้อมกับ<br />

พระราชทานนามว่า สราญรมย์ แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะสร้างเสร็จในช่วงต้น<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับชั่วคราวของเจ้านายเมื่อแรกออกจาก<br />

วังหลวง ก่อนที่วังประทับถาวรจะก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่าง<br />

164


วงศ์ทรงประทับ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๙ - ๒๔๒๔<br />

ในระหว่างที่ก่อสร้างวังบูรพาภิรมย์<br />

ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็น<br />

ที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ<br />

อาทิ เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น ซาเรวิชหรือมกุฎราช<br />

กุมารแห่งรัสเซีย (ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น<br />

พระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ ๒) เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ<br />

สำหรับพระราชอาคันตุกะพระองค์แรกที่เข้ามา<br />

ประทับคือ เจ้าชายออสการ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗<br />

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ พระเจ้าน้องยาเธอ<br />

กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ได้รับพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ<br />

ทรงขอพระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ทำการ<br />

ของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจึงย้ายที่ทำการ<br />

ไปที่ตึกราชวัลลภ ในพระบรมมหาราชวัง<br />

ดังนั ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ วังสราญรมย์จึงใช้<br />

เป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะเรื่อยมาจนถึง<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

โดยพระองค์โปรดให้เรียก วังสราญรมย์ เป็น<br />

พระราชวังสราญรมย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม<br />

๒๔๕๙<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน<br />

พระราชวังสราญรมย์ ให้เป็นที่ทำการของกระทรวง<br />

การต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภ<br />

ในพระบรมมหาราชวัง ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก<br />

เมื่ออาคารดังกล่าวเปลี่ยนเป็นที่ทำการสำนักงาน<br />

ของกระทรวงการต่างประเทศแล้ว จึงให้กลับ<br />

เรียกชื่อว่า วังสราญรมย์ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก<br />

มิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจำ และได้ใช้<br />

วังสราญรมย์เป็นที่ทำการถาวรของกระทรวงการ<br />

ต่างประเทศสืบมา<br />

จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงมีการย้ายสำนักงาน<br />

ส่วนใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศออกไปที่<br />

อาคารถนนศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้ หลังจากนั้น<br />

ก็ทำการปิดวังสราญรมย์เพื่อปรับปรุงและบูรณะ<br />

ซ่อมแซม โดยในช่วงแรกมีแผนที่จะจัดทำเป็น<br />

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทูตไทย และสถาบัน<br />

ฝึกอบรมข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ<br />

บริเวณกระทรวงการต่างประเทศ หรือวังสราญรมย์<br />

เดิม พื้นที่ฝั่งที่ติดกับพระราชอุทยานสราญรมย์<br />

และบางส่วนได้มีการก่อสร้างทำเนียบองคมนตรี<br />

และอาคารสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งยังใช้เป็น<br />

ที่ทำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้<br />

อย่างไรก็ตาม วังสราญรมย์ เคยสร้าง<br />

ประวัติศาสตร์ความมั ่นคงในภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้มาแล้ว กล่าวคือ เคยใช้<br />

เป็นสถานที่ที่ผู้แทนชาติสมาชิกก่อตั้งสมาคม<br />

ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน<br />

ในยุคเริ่มต้น ๕ ประเทศ ประกอบด้วย ไทย<br />

มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์<br />

ลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ หรือ ปฏิญญาอาเซียน<br />

ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ ร่วมกันก่อตั้งสมาคม<br />

ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน<br />

อย่างเป็นทางการ<br />

165


166<br />

ภาพบรรยากาศบริเวณชุมชนสามแพร่งในปัจจุบัน


๑๒๔. ชุมชนสามแพร่ง : ย่านการค้าหลัง<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

หากจะกล่าวถึงย่านการค้าสำคัญในอดีตของ<br />

พระนคร คงกล่าวได้ว่า ชุมชนสามแพร่ง เป็นอีก<br />

แหล่งหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยในอดีตนิยมมาจับจ่าย<br />

ซื้อของอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้<br />

ชุมชนสามแพร่ง ประกอบด้วย แพร่งภูธร แพร่ง<br />

นรา และแพร่งสรรพศาสตร์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งตะวัน<br />

ออกของคลองคูเมืองเดิม ระหว่างถนนอัษฎางค์<br />

กับถนนตะนาว เคยเป็นที่ตั้งของวังพระเจ้าลูกยา<br />

เธอ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๓ วัง กล่าวคือ<br />

• แพร่งภูธร วังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศ<br />

ธำรงศักดิ์ ต้นราชสกุล ทวีวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่ง<br />

ถือเป็นแพร่งที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด เพราะจะ<br />

มีร้านอาหารชื่อดังจำนวนมากรายล้อมอยู่<br />

ไม่ว่าจะเดินไปซอกใด มุมใดมักจะพบเจอ<br />

ร้านอาหารน้อยใหญ่รสชาติดี ชิมอิ่มอร่อย<br />

ตลอดทาง และสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจและ<br />

อยู่ใกล้วังคือ สุขุมาลอนามัย เป็นสถานี<br />

อนามัยแห่งที่ ๒ ของกรุงเทพมหานคร<br />

กับมีตึกแถว ๒ ชั้น แบบเก่าขนาดเล็กทึบ<br />

กรอบหน้าต่างประดับไม้ฉลุ มีกันสาดช่อ<br />

ชายฉลุลายเช่นกัน ซุ้มประตูโค้งอยู่เหนือ<br />

ช่องลม ประตูไม้ ๖ บานแบบพับได้<br />

• แพร่งนรา วังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิป<br />

ประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุล วรวรรณ ณ<br />

อยุธยา ถือว่าเป็นถิ่นละครร้อง เพราะ<br />

พระองค์ทรงเป็นทั้งนักกวีและนักประพันธ์<br />

ทรงมีความสนใจทางด้านการละครและ<br />

ได้นำละครร้องแบบโอเปร่ามาผสมผสาน<br />

กับละครร้องแบบไทย ทำให้เปิดโรงละคร<br />

ปรีดาลัย โรงละครร้องแห่งแรกของไทย<br />

ต่อมากลายเป็น โรงเรียนตะละภัฏศึกษา กับ<br />

มีตึกแถว ๒ ชั้น ค่อนข้างทึบ ตกแต่งผนัง<br />

เล็กน้อยด้วยเสาอิงทรงเหลี่ยมคั่นแต่ละคูหา<br />

ซุ้มประตูเป็นรูปโค้ง ประตูหน้าต่างเป็นไม้<br />

• แพร่งสรรพศาสตร์ วังเก่าของพระเจ้า<br />

บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์<br />

กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุล<br />

ทองแถม ณ อยุธยา พระองค์ทรงเป็น<br />

นักถ่ายภาพยนตร์รายแรกและรายเดียว<br />

ในสยามสมัยนั้น น่าเสียดายที่แหล่งที่<br />

สถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์จางหายไป<br />

เพราะถูกไฟไหม้ใหญ่ถึง ๒ คราว จึงเหลือ<br />

เพียงซุ้มประตูวังเก่าที่ตั้งเด่นเป็นตระหง่าน<br />

ในอดีต ชุมชนสามแพร่ง เป็นพื้นที่ตั้ง<br />

ของร้านค้าสินค้าต่างประเทศ ร้านตัดเสื้อผ้า<br />

และร้านขายสรรพสินค้าซึ่งมีชื่อแห่งหนึ่ง<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาคารพาณิชย์ขนาด<br />

๒ - ๓ ชั้น และมีอาคารห้องแถวโดยรอบวัง<br />

ทั้งสามวังเป็นสถานที่ค้าขายสินค้า อาหาร<br />

จึงนับเป็นแหล่งค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองแห่งหนึ่ง<br />

ในกรุงเทพสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน<br />

167


๑๒๕. สี่กั๊กพระยาศรี : ย่านการค้าบนถนนเจริญกรุงในก ำแพงพระนคร<br />

นอกจากชุมชนสามแพร่งแล้ว ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองใกล้บริเวณดังกล่าว<br />

และเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ สี่กั๊กพระยาศรี ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้<br />

ความหมายของคำว่า สี่กั๊กพระยาศรี แยกออกได้เป็น ๒ คำ คือ สี่กั๊ก<br />

เป็นภาษาจีนมาจากคำว่า สี่กั๊กโล้ว แปลว่า สี่แยกที่มีถนนสองสายตัดกัน และ<br />

คำว่า พระยาศรี หมายถึง พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) อดีตเสนาบดีกระทรวงพระคลัง<br />

มหาสมบัติ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีบ้านอยู่<br />

บริเวณดังกล่าว<br />

พื้นที่สี่กั๊กพระยาศรี อยู่บริเวณถนนเจริญกรุงตัดกับถนนเฟื่องนคร นับได้<br />

ว่าเป็นพื้นที่ในกำแพงพระนคร ที่เป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยนั ้น<br />

ซึ่งย่านการค้ามีอยู่เพียงบนถนน ๓ สาย คือ ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และ<br />

ถนนเฟื่องนคร<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯ ให้สร้างตึกแถว ชั้นเดียวแบบสิงคโปร์สองข้างทางถนนเจริญกรุง บริเวณ<br />

สี่กั๊กพระยาศรีนั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้วมีฝรั่งและคนจีนมาเช่าตั้งห้างกับเปิดทำการ<br />

ค้าขาย ประกอบด้วย ห้างรัตนโกสินทร์รัชชะการบริษัท ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้า<br />

จำหน่ายของต่างประเทศ ประเภทถุงเท้า รองเท้า เสื้อผ้า อีกทั้ง ยังรับตัดชุด<br />

ข้าราชการ และเครื่องแบบทหาร ด้วยช่างชาวอังกฤษประจำร้าน นอกจากนี้<br />

ยังจำหน่ายเครื่องรถและอานม้า ห้างนี้จึงมีชื่อเสียงมากเช่นเดียวกับ ห้างแบดแมน<br />

แอนด์โก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนบำรุงเมืองเชิงสะพานช้างโรงสี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง<br />

ของร้านขายเครื่องหมายทางราชการชื่อว่า ศรีเมือง)<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ย่านสี่กั๊กพระยาศรีได้มีห้างร้านตั้งขึ้น<br />

มีหลายร้าน อาทิ ห้างขายยาท่าเตียนของชาวเยอรมัน ห้างขายยาชิดีดิสเปนซาร<br />

โรงแรมชีดีโฮเต็ลของฝรั่ง ห้างเอส อีกาเซกีของชาวญี่ปุ่น และห้าง อี เอ็ม กาติ๊บ<br />

ของชาวอินเดีย ขายสินค้าฝรั่ง<br />

ปัจจุบัน สี่กั๊กพระยาศรีบริเวณริมถนนเจริญกรุง ไม่เหลือตึกแถวชั้นเดียว<br />

แบบสิงคโปร์แล้ว เพราะมีการสร้างตึกแถวคอนกรีตเสริมเหล็กแบบใหม่ขึ้นแทน<br />

168


๑๒๖. สี่กั๊กเสาชิงช้า<br />

ในอดีต กรุงเทพมหานครหรือพระนคร มีสี่กั๊กอยู่ ๒ แห่ง และถือว่าเป็นย่าน<br />

ที่มีความเจริญทัดเทียมกัน คือ สี่กั๊กพระยาศรี และ สี่กั๊กเสาชิงช้า และเป็นสี่กั๊ก<br />

ที่ตั้งอยู่ใกล้กัน กล่าวคือ<br />

• สี่กั๊กพระยาศรี ตั้งอยู่ระหว่างถนนเฟื่องนครตัดกับถนนเจริญกรุง<br />

• สี่กั๊กเสาชิงช้า ตั้งอยู่ระหว่างถนนเฟื่องนครตัดกับถนนบำรุงเมือง<br />

สำหรับ การเรียกชื่อว่า สี่กั๊กเสาชิงช้า เนื่องเพราะเป็นสี่แยกที่อยู่ใกล้<br />

มี เสาชิงช้า ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่<br />

ซึ่งกรุงเทพในอดีต ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ย่านการค้าที่ส ำคัญในกำแพง<br />

พระนคร คือ ย่านถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ปรากฏว่า ทั้ง ๒ ถนนนี้<br />

มีย่านการค้าสี่กั๊กเสาชิงช้า และสี่กั๊กพระยาศรี ซึ่งมีห้างร้านขายของต่างๆ<br />

มากมาย โดยเฉพาะ ๒ ฟาก ถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่ริมสะพานช้างโรงสี เรื่อยมา<br />

จนถึงประตูสำราญราษฎร์ หรือประตูผี<br />

มีห้างร้านที่มีชื่อหลายร้าน อาทิ ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างกีเซียงแอนซันซ์<br />

ทั้ง ๒ ห้างนี้เป็นห้างสรรพสินค้า ขายเฉพาะของต่างประเทศ<br />

ปัจจุบัน ย่านถนนบำรุงเมืองส่วนใหญ่ เป็นร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ อาทิ<br />

เครื่องบวช พระพุทธรูปขนาดต่างๆ โต๊ะหมู่บูชา และอื่นๆ<br />

169


๑๒๗. ย่านการค้าริมถนนเฟื่องนคร<br />

ย่านการค้าที่สำคัญใกล้บริเวณศาลาว่าการกลาโหมอีกแห่งที่รู้จักกันดีก็คือ<br />

ย่านการค้าริมถนนเฟื่องนคร ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงถนนสั้นๆ แต่ก็โดดเด่น<br />

มาในยุคหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มจากสี่กั๊กเสาชิงช้า<br />

ไปทางทิศใต้จรดถนนเฟื่องนคร เป็นถนนสายหนึ่งใน ๓ สาย ที่ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น สำหรับใช้ในการคมนาคมทางบกและใช้เป็นที่ตั้ง<br />

ของตึกแถวชั้นเดียวแบบสิงคโปร์เพื่ออยู่อาศัยและค้าขายของชาวต่างชาติ<br />

โดยเฉพาะชาวจีนและฝรั่ง<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกแถว ชั้นเดียวแบบสิงคโปร์ขึ้นเป็นจำนวนมาก ภายหลัง<br />

เสด็จประพาสเยือนสิงคโปร์เบื้องต้นรัชกาล โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) เป็นแม่กองการก่อสร้าง (เนื่องจากท่าน<br />

เคยเดินทางไปราชการในต่างประเทศจึงมีประสบการณ์และเคยเห็นแบบอย่าง<br />

ประกอบกับท่านมีความซื่อสัตย์จงรักภักดี อดีตเคยดำรงตำแหน่งรักษาการปลัด<br />

ทูลฉลองกระทรวงกลาโหม และทำการแทนเสนาบดีกระทรวงกลาโหม) ย่านการค้า<br />

ริมถนนเฟื่องนคร จึงมีห้างสรรพสินค้าและโรงพิมพ์หนังสือปิดทำการเป็น<br />

จำนวนมาก อาทิ<br />

ภาพเก่าแสดงบรรยากาศย่านการค้าที่ผู้คนสมัยก่อนพบปะสัญจร บริเวณริมถนนเฟื่องนคร<br />

170


ภาพบรรยากาศบริเวณถนนเฟื่องนครในอดีต<br />

• ห้าง เอช ทิช เซ แมน ตั้งอยู่ริมถนนเฟื่องนครบริเวณหลังกระทรวง<br />

นครบาล (กระทรวงมหาดไทยปัจจุบัน) เป็นห้างจำหน่ายเพชรพลอย<br />

และทองรูปพรรณ เครื่องหนังและนาฬิกาแบบต่างๆ อาทิ นาฬิกาพก<br />

นาฬิกาแขวน และนาฬิกาตั้งโต๊ะ โดยมีช่างชาวฝรั่งประจำร้าน<br />

• ห้างสิทธิภัณฑ์ เป็นห้างสรรพสินค้า จำหน่ายถุงเท้า หมาก เครื่องครัว<br />

เครื่องแก้ว บุหรี่ฝรั่ง เหล้าฝรั่ง อาหารกระป๋อง และอาหารแห้ง<br />

จากต่างประเทศ<br />

• ห้างสยามประดิษฐ์ เป็นห้างสรรพสินค้า จำหน่ายผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้<br />

กางเกงแพร หมวก ผ้าพันคอ เครื่องหนัง กระเป๋าหนัง ภาพและ<br />

กรอบรูป เครื่องเงินจากเยอรมัน และอาวุธปืน<br />

• โรงพิมพ์สยามประเภท รับจ้างในการพิมพ์หนังสือและเอกสารต่างๆ<br />

ตั้งอยู่บริเวณตรงข้าม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร<br />

ปัจจุบัน ห้างดังกล่าวข้างต้นได้เลิกกิจการแล้ว คงเหลือแต่ตึกแถวทรง<br />

สิงคโปร์บางส่วนไว้เป็นอนุสรณ์ว่า อดีตตึกแถวบางส่วนริมถนนเคยเป็นสถานที่<br />

ประกอบกิจการ แต่ด้านในถัดจากตึกแถวริมถนนเฟื่องนครเข้าไป (บริเวณตรอก<br />

หม้อ) ยังคงเหลือตึกแถวแบบสิงคโปร์ที่ใช้อยู่อาศัยเพียงบางส่วนให้เห็นสภาพ<br />

เมื่อ ๑๕๐ ปีที่ผ่านมาเท่านั้น<br />

171


ปัจฉิมบท<br />

สาระชวนรู้ ในเรื่องเกี่ยวกับศาลาว่าการกลาโหม และสถานที่หรือสิ่งสำคัญรอบศาลาว่าการกลาโหม<br />

ได้มีการบันทึกและถ่ายทอดให้ทุกท่านทราบทั้งหมดแล้ว หวังว่าคงได้เป็นสิ่งประดับความรู้ของทุกท่าน และ<br />

หากมีโอกาสใดที่สามารถให้ความกระจ่างแก่ทุกท่านได้อีก ก็จะดำเนินการให้อย่างเต็มที่ จึงขอขอบคุณที่<br />

กรุณาสละเวลาติดตามเส้นทางการเยี่ยมชมและการนำเสนอในโอกาสนี้<br />

173


บทส่งท้าย


“รวมสรรสาระน่ารู้ของศาลาว่าการกลาโหม” ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ ที่คณะผู้จัดทำ<br />

มีความตั ้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลที่เป็นสาระประโยชน์ เรียงร้อยออกมาเป็นผลงาน<br />

ผ่านตัวอักษรเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจถึงประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ<br />

ของกิจการทหารไทยสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดจากสายพระเนตรอันยาวไกลของล้นเกล้าฯ<br />

รัชกาลที่ ๕ ที่พระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นมาเพื่อสถาปนาความมั่นคง<br />

ของสยามประเทศให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ เนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้<br />

ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากหลายสถานที่ หลายหน่วยงาน ทั้งที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์<br />

อักษรและจากคำบอกเล่าของผู้รู้ที่ทรงคุณวุฒิต่างๆ ผ่านการกลั่นกรองและร้อยเรียง<br />

ออกมาเป็นผลงานในหนังสือเล่มนี้ โดยมุ่งหวังให้เป็นแหล่งความรู้อันทรงคุณค่าที่จะ<br />

ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อท่านผู้อ่าน และอนุชนรุ่นหลัง ให้ได้รับทราบและตระหนักรู้<br />

ถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านกระทรวงกลาโหม ณ จุดกำเนิดในศาลาว่าการ<br />

กลาโหมแห่งนี้<br />

ขอขอบคุณท่าน พลเอก ธราธร ศรียะพันธ์ ที่กรุณาให้คำปรึกษาและคำแนะนำดีๆ<br />

จนเกิดเป็นหนังสือดีๆ เล่มนี้ขึ้น และท่านพลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ที่กรุณามอบข้อมูล<br />

ที่มีค่าและเป็นสาระประโยชน์ รวมทั้งขอขอบคุณต่อความตั้งใจของทุกท่านที่เกี่ยวข้อง<br />

ที่ได้มีส่วนร่วมช่วยกันผลักดันและสรรค์สร้างให้เกิดเป็นผลงานหนังสือเล่มนี้ขึ้น และเรา<br />

หวังจากใจจริงว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมๆ กับให้<br />

อาวุธทางปัญญาแก่ท่านผู้อ่านให้เกิดความภาคภูมิใจต่อสถานที่อันทรงคุณค่าแห่งนี้ อีกทั้ง<br />

เกิดความเชื่อมั่นและมอบความไว้วางใจให้แก่ทหารหาญที่จะยังคงยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่<br />

เป็นเสาหลักในการรักษาความมั่นคงของชาติตลอดไป<br />

กองบรรณาธิการ<br />

เมษายน ๒๕๕๖


เนื้อหาสาระที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้เป็นข้อคิดเห็นจากการรวบรวมข้อมูล<br />

และเรียบเรียงออกมาเป็นผลงานของคณะผู้จัดทำ โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดประโยชน์<br />

แก่ท่านผู้อ่าน มิได้เป็นข้อยุติหรือมีผลผูกพันกับทางราชการแต่อย่างใด หาก<br />

ท่านผู้อ่านมีข้อแนะนำเพิ่มเติม ติชม หรือมีข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ คณะผู้จัดทำ<br />

ขอน้อมรับไว้ด้วยความยินดี โดยท่านสามารถส่งมาได้ที่ กองประชาสัมพันธ์<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา<br />

ปรับปรุง ให้สมบูรณ์และดียิ่งๆ ขึ้นในโอกาสต่อไป ขอขอบพระคุณ<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒<br />

www.sopsd.mod.go.th


กลาโหม<br />

เทิดราชา<br />

รักษ์ราษฎร์<br />

ชาติมั่นคง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!