13.06.2018 Views

No Title for this magazine

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

เปิดประตูบ้านหลังแรกของการทหารไทยยุคใหม่<br />

เผยเกียรติภูมิของโบราณสถานอันสำคัญคู่ชาติ ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคงของประเทศ


วิเชตฺวา พลตาภูป<br />

รฏฺเฐ สาเธตุ<br />

วุฑฺฒิโย<br />

ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้า พร้อมด้วยปวงทหาร<br />

จงมีชัยชนะ<br />

ยังความเจริญให้สำาเร็จ ในแผ่นดินเทอญ<br />

บทมงคลพระคาถาประจำาโรงทหารหน้า หรือศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน<br />

ประดับอยู่ ณ บริเวณมุขกลาง หน้าบันกระทรวงกลาโหม


รวมสรรสาระน่ารู้<br />

ของศาลาว่าการกลาโหม


รวมสรรสาระน่ารู้ของศาลาว่าการกลาโหม<br />

พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖<br />

ISBN 978-974-9752-56-2<br />

เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เลขที่ ๗ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

ประธานที่ปรึกษา พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

คณะที่ปรึกษา พลเอก ปฏิพนธ์ กุลพิจิตร<br />

พลเอก ธราธร ศรียะพันธ์<br />

พลเอก เกษม ยุกตวีระ<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ พลเอก ชาญ โกมลหิรัญ<br />

บรรณาธิการอำนวยการ พลตรี ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์<br />

บรรณาธิการข้อมูล<br />

พลตรี อัครพล ประทุมโทน<br />

บรรณาธิการบทความ พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

บรรณาธิการบริหาร<br />

พันเอก ณภัทร สุขจิตต์<br />

รองบรรณาธิการบริหาร พันเอก คงชีพ ตันตระวาณิชย์<br />

กองบรรณาธิการ<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

พิสูจน์อักษร<br />

พันเอกหญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช, นาวาโทหญิง รสสุคนธ์ ทองใบ<br />

ร้อยเอกหญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร, ร้อยโทหญิง ลลิดา ดรุนัยทร<br />

ภาพประกอบ กลุ่มสห+ภาพ ชุมชนคนถ่ายภาพ<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สว่าง จริยปรัชญากุล<br />

ภาพปกหลัง อำนาจ ชื่นเกตุ<br />

ศิลปกรรม ชัยวัฒน์ สุทธิสินธุ์<br />

อำนวยการผลิต<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

กระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒<br />

www.opsd.mod.go.th<br />

พิมพ์ที่ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด<br />

เลขที่ ๕๕๕ หมู่ ๑๒ ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน<br />

จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๑๐<br />

โทรศัพท์ ๐ ๒๘๑๑ ๗๗๗๘ โทรสาร ๐ ๒๘๑๑ ๗๗๑๕


จากอดีต...<br />

...จวบปัจจุบัน


คำปรารภ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหม นับเป็นมรดกล ้ำค่าที่บรรพบุรุษของเราได้ดูแลรักษา<br />

และทำนุบำรุงมาเป็นอย่างดีจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกาลเวลาในประวัติศาสตร์ของชาติไทย<br />

มายาวนานถึง ๑๒๙ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ และเป็นสถานที่ตั้งของหน่วยราชการเดิม<br />

เพียงหน่วยเดียว คือ กระทรวงกลาโหม ที่มีอายุยืนยาวกว่า ๑ ศตวรรษ ณ สถานที่แห่งนี้<br />

ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อกำเนิดงานกิจการทหารสมัยใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ<br />

และยังเป็นสถานที่ที่ได้สั่งสมเกียรติประวัติ เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของเหล่าทหารหาญ<br />

มาอย่างยาวนาน รวมทั้งได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญๆ บนหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย<br />

มากมาย อันเป็นความภาคภูมิใจของเหล่าข้าราชการทหาร ตลอดจนพี่น้องประชาชน<br />

ชาวไทยทุกคน โดยปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ก็ยังคงใช้งานอยู่และได้รับการดูแล อนุรักษ์ให้คงไว้<br />

ซึ่งความแข็งแรง สง่างาม สมดั่งที่เป็นสัญลักษณ์หน่วยงานความมั่นคงของประเทศ<br />

หนังสือ “รวมสรรสาระน่ารู้ของศาลาว่าการกลาโหม” เล่มนี้ เป็นเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่น<br />

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ตั้งใจจัดทำขึ้นเพื่อถ่ายทอดเกียรติประวัติ เกียรติภูมิ<br />

ตลอดจนเกร็ดสาระความรู้ต่างๆ ของสถานที่แห่งความภาคภูมิใจแห่งนี้ สู่ผู้อ่านทุกท่าน<br />

ผู้เป็นเจ้าของประเทศ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกท่านได้รับรู้และเกิดความภูมิใจ<br />

ต่อโบราณสถานอันสำคัญคู่ชาติไทยของเรา ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สื่อสาระเล่มนี้<br />

จะเป็นสื่อกลางบอกกล่าว เล่าเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบันถึงภูมิปัญญา ความสามารถ และ<br />

ความเหนื่อยยากของบรรพชนไทยที่ได้ปกปักรักษามรดกล้ำค่าของแผ่นดินนี้ไว้เป็นอย่างดี<br />

เพื่อเป็นสมบัติของพี่น้องชาวไทยทุกคนสืบต่อๆ ไป<br />

พลเอก<br />

( ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน )<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เมษายน ๒๕๕๖<br />

5


สารบัญ<br />

อาคารและองค์ประกอบภายนอกศาลาว่าการกลาโหม<br />

๑. อาคารภายนอกศาลาว่าการกลาโหม ๑๒<br />

๒. ความโดดเด่นของมุขกลาง ๑๓<br />

๓. ที่ดินที่ใช้สร้างศาลาว่าการกลาโหม ๑๔<br />

๔. ที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม ๑๔<br />

๕. พื้นที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม ๑๕<br />

๖. พระราชประสงค์ในการโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างศาลาว่าการกลาโหม ๑๗<br />

๗. เจตนารมณ์ของฝ่ายทหารต่อการสร้างโรงทหารหน้า ๑๘<br />

๘. สาเหตุของการสร้างโรงทหารหน้าและปรับปรุงกิจการทหาร ๑๘<br />

๙. การดำเนินการก่อสร้างโรงทหารหน้า ๑๙<br />

๑๐. การจัดสรรการใช้ประโยชน์ของโรงทหารหน้า ๒๐<br />

๑๑. บันทึกประวัติการสร้างโรงทหารหน้า ๒๑<br />

๑๒. ความหมายของคำว่า “กลาโหม” ๒๓<br />

๑๓. ที่มาของคำว่า “กลาโหม” ๒๓<br />

๑๔. ความสำคัญและความเป็นมาของ กลาโหม ในยุคโบราณ ๒๔<br />

๑๕. ที่ตั้งของโรงทหารหน้าในอดีต ๒๖<br />

๑๖. การเปิดโรงทหารหน้า ๒๘<br />

๑๗. ที่มาของคำว่า โรงทหารหน้า ๓๐<br />

๑๘. ศาลายุทธนาธิการ ๓๑<br />

๑๙. การต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๓๒<br />

๒๐. สัญลักษณ์ที่หน้าจั่วของมุขกลาง ๓๔<br />

๒๑. คาถาประจำโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ๓๕<br />

๒๒. ประตูเข้าและออก ๓๖<br />

๒๓. สัญลักษณ์ปูนปั้นประดับชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๓๗<br />

๒๔. วิวัฒนาการของกระทรวงกลาโหม ๓๘<br />

๒๕. กรมยุทธนาธิการ : ต้นกำเนิดของกระทรวงกลาโหม ๓๘<br />

๒๖. หน่วยทหารที่มีที่ตั้งในโรงทหารหน้าหรือศาลายุทธนาธิการ ๔๒<br />

๒๗. โรงทหารหน้าอาคารแห่งความสมบูรณ์แบบทางทหาร ๔๒<br />

๒๘. ระบบการผลิตน้ำประปาของโรงทหารหน้า ๔๔<br />

๒๙. การระบบประปาของโรงทหารหน้า ๔๔<br />

๓๐. ระบบสุขาภิบาลในโรงทหารหน้า ๔๕<br />

๓๑. ระบบสาธารณสุขในโรงทหารหน้า ๔๕<br />

๓๒. ระบบไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทยในโรงทหารหน้า ๔๖<br />

หน้า<br />

6


๓๓. การวางระบบไฟฟ้าจากโรงทหารหน้า ๔๖<br />

๓๔. ระบบโทรศัพท์ในโรงทหารหน้า ๔๗<br />

๓๕. การให้บริการแสงสว่างของโรงทหารหน้า ๔๘<br />

๓๖. การให้บริการสาธารณะของโรงทหารหน้า ๔๘<br />

๓๗. หอคอยของโรงทหารหน้า ๕๐<br />

๓๘. การขนานนามที่ทำการกระทรวงกลาโหม ๕๐<br />

๓๙. พญาคชสีห์ ๕๑<br />

๔๐. ภูมิทัศน์หน้าศาลาว่าการกลาโหม ๕๓<br />

๔๑. เสาธงชาติ ๕๖<br />

๔๒. การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ ๕๖<br />

๔๓. ปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม ๕๙<br />

๔๔. ประวัติและความเป็นมาของปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม ๖๐<br />

๔๕. ประเภทของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๖๑<br />

๔๖. การแบ่งยุคของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๖๒<br />

๔๗. รายละเอียดของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๖๔<br />

๔๘. การจัดภูมิทัศน์พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ ๗๑<br />

๔๙. รั้วเหล็กรอบสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๗๓<br />

อาคารและองค์ประกอบภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๕๐. การออกแบบอาคารด้านในของศาลาว่าการกลาโหม ๗๕<br />

๕๑. ผนังอาคารและระเบียงด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๗๕<br />

๕๒. บันไดทางขึ้นลงด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๗๖<br />

๕๓. กันสาดรอบอาคารด้านล่าง ๗๖<br />

๕๔. ลิฟท์โดยสารภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๗๘<br />

๕๕. เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัยทางอากาศที่ศาลาว่าการกลาโหม ๗๘<br />

๕๖. ศาลเจ้าพ่อหอกลอง ๘๐<br />

๕๗. กลองประจำพระนคร ๘๒<br />

๕๘. สัญลักษณ์สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๘๔<br />

๕๙. เกียรติภูมิสนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๘๖<br />

๖๐. เกียรติประวัติของสนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๘๙<br />

๖๑. การฉลองชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน ๙๑<br />

๖๒. สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหมปัจจุบัน ๙๒<br />

๖๓. ต้นไม้ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๙๓<br />

๖๔. ลักษณะอาคารภายในโรงทหารหน้า ๙๖<br />

๖๕. ทหารไทยกับการใช้ประโยชน์ภายในตัวอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๙๖<br />

๖๖. ศาลาว่าการกลาโหมกับการเมืองการปกครองของไทย ๙๗<br />

7


8<br />

๖๗. กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก ๙๘<br />

๖๘. โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก ๙๙<br />

๖๙. ที่ทำการจเรทหาร ที่ปรึกษาทางทหารและจเรทหารทั่วไป ๑๐๑<br />

๗๐. ที่พักทหารของโรงทหารหน้า ๑๐๑<br />

๗๑. ตะรางกลาโหม ๑๐๒<br />

๗๒. โรงทหารหน้า กองบัญชาการปราบกบฏอั้งยี่ ๑๐๒<br />

๗๓. อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๑๐๔<br />

๗๔. ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ๑๐๗<br />

๗๕. อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ๑๐๘<br />

๗๖. การต่อเติมอาคารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๐๙<br />

๗๗. อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก ๑๑๐<br />

๗๘. ห้องอารักขเทวสถาน ๑๑๒<br />

๗๙. ห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม ๑๑๓<br />

๘๐. ห้องประชุมสภากลาโหม ๑๑๔<br />

๘๑. ห้องภาณุรังษี ๑๑๗<br />

๘๒. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ๑๑๘<br />

เจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิดศาลาว่าการกลาโหม<br />

๘๓. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในห้องภาณุรังษี ๑๑๘<br />

๘๔. พระรูปจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาพิมุข ๑๒๐<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชในห้องภาณุรังษี<br />

๘๕. ห้องกัลยาณไมตรี ๑๒๐<br />

๘๖. ห้องสุรศักดิ์มนตรี ๑๒๑<br />

๘๗. อนุสรณ์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ๑๒๒<br />

๘๘. พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน ๑๒๓<br />

๘๙. ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ๑๒๔<br />

๙๐. พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๒๕<br />

พระบิดาทหารปืนใหญ่<br />

๙๑. ห้องขวัญเมือง ๑๒๖<br />

๙๒. ห้องกำปั่นเก็บเงินกระทรวงกลาโหม ๑๒๖<br />

๙๓. ห้องสนามไชย ๑๒๘<br />

๙๔. ห้องสราญรมย์ ๑๒๙<br />

๙๕. ห้องหลักเมือง ๑๓๐<br />

๙๖. วิมานท้าวเวสสุวัณณ์ ๑๓๐<br />

๙๗. ห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม ๑๓๑<br />

๙๘. ห้องยุทธนาธิการ ๑๓๑


๙๙. ห้องพินิตประชานาถ ๑๓๒<br />

๑๐๐. ห้องพิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหม ๑๓๔<br />

๑๐๑. ช่องลอดด้านทิศตะวันออก ๑๓๔<br />

สถานที่และสิ่งสำคัญรอบศาลาว่าการกลาโหม...กรุงรัตนโกสินทร์<br />

๑๐๒. พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ๑๓๗<br />

๑๐๓. ศาลหลักเมือง ๑๓๘<br />

๑๐๔. ท้องสนามหลวง ๑๓๙<br />

๑๐๕. บ้านพักท่าแปดตำรวจ ๑๔๐<br />

๑๐๖. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ๑๔๒<br />

๑๐๗. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ๑๔๓<br />

๑๐๘. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ๑๔๓<br />

๑๐๙. คลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองหลอด ๑๔๕<br />

๑๑๐. เทวาลัยพระศรีวสุนธรา หรือ ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม ๑๔๗<br />

๑๑๑. อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ๑๔๗<br />

๑๑๒. อนุสาวรีย์สหชาติหรืออนุสาวรีย์หมู ๑๔๙<br />

๑๑๓. สะพานปีกุน ๑๔๙<br />

๑๑๔. สะพานหก ๑๕๐<br />

๑๑๕. สะพานช้างโรงสี ๑๕๐<br />

๑๑๖. ถนนสนามไชย ๑๕๒<br />

๑๑๗. ปั๊มน้ำมันสามทหาร ๑๕๓<br />

๑๑๘. ท่ารถรางกระทรวงกลาโหม ๑๕๕<br />

๑๑๙. อาคารกรมพระธรรมนูญ ๑๕๖<br />

๑๒๐. สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม ๑๕๖<br />

๑๒๑. ถนนรอบกระทรวงกลาโหม ๑๕๙<br />

๑๒๒. กรมแผนที่ทหาร ๑๖๒<br />

๑๒๓. พระราชวังสราญรมย์ ๑๖๔<br />

๑๒๔. ชุมชนสามแพร่ง : ย่านการค้าหลังศาลาว่าการกลาโหม ๑๖๗<br />

๑๒๕. สี่กั๊กพระยาศรี : ย่านการค้าบนถนนเจริญกรุงในกำแพงพระนคร ๑๖๘<br />

๑๒๖. สี่กั๊กเสาชิงช้า ๑๖๙<br />

๑๒๗. ย่านการค้าริมถนนเฟื่องนคร ๑๗๐<br />

ปัจฉิมบท ๑๗๓<br />

บทส่งท้าย ๑๗๔<br />

9


ศาลาว่าการกลาโหม คือ สถานที่อันเป็น<br />

การบ่งบอกถึงเกียรติภูมิของกระทรวงกลาโหมและ<br />

ทหารไทยทุกคน อาจจะกล่าวว่าเป็นบ้านหลังแรก<br />

ของทหารไทยในยุคปัจจุบันก็ว่าได้ เนื่องเพราะ<br />

กิจการทหารในยุคใหม่ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหม พร้อมทั้งยังทรงเสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาเปิดโรงทหารหน้า เมื่อวันที่ ๑๘<br />

กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ซึ่งนับเป็นพระ<br />

มหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่ทหารไทย<br />

เป็นอย่างยิ่ง<br />

หลายคนคงยังไม่ทราบว่าศาลาว่าการกลาโหม<br />

คือต้นแบบของหน่วยทหารที่สมบูรณ์แบบในสมัย<br />

กว่า ๑๒๐ ปีที่ผ่านมา กล่าวคือมีทั้งไฟฟ้า น้ำประปา<br />

โทรศัพท์ ระบบสาธารณสุข ที่เรียกว่าทันสมัยหรือ<br />

ล้ำยุคมากในห้วงเวลานั้น เป็นอาคารที่สามารถ<br />

บรรจุกำลังพลได้เรือนหมื่น พร้อมยุทโธปกรณ์<br />

และสามารถเคลื่อนที่เข้าปฏิบัติภารกิจได้ทันทีและ<br />

สามารถดำรงชีพของหน่วยได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยัง<br />

เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าและคุณลักษณะอันสูงส่ง<br />

ทางสถาปัตยกรรมอันแฝงไปด้วยความงดงาม<br />

เข้มขลัง และสะท้อนความคิดเชิงสถาปัตย์ที่ผสม<br />

กลมกลืนลงตัวกับประโยชน์ใช้สอย<br />

กล่าวนำ<br />

ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ นี้ ถือว่าเป็นปีที่ ๑๒๖<br />

แห่งการสถาปนากระทรวงกลาโหม และยังเป็น<br />

๑๒๙ ปี แห่งการปฐมฤกษ์การเปิดโรงทหารหน้า<br />

จึงใคร่ขอนำเสนอสิ่งอันเป็นสาระชวนรู้ ชวนคิด<br />

ชวนติดตามเพื่อตอบโจทย์ในสิ่งที่ท่านได้เห็น<br />

ได้สัมผัสจากศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ ทั้งในเรื่อง<br />

ความรู้และเกร็ดความรู้ ตลอดจนความภาคภูมิใจ<br />

ในโบราณสถานอันสำคัญคู่ชาติไทยและเป็นสัญลักษณ์<br />

ของความมั่นคงของชาติ<br />

สำหรับสาระสำคัญ ๑๒๗ เรื่องในหนังสือเล่มนี้<br />

จะเป็นการบอกเรื่องราวอันหลากหลาย อาทิ อาคาร<br />

ภายนอก อาคารภายใน องค์ประกอบของอาคาร<br />

สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในอาคาร บริเวณรอบอาคาร<br />

และความสำคัญ ที่ร้อยเรียงเป็นเรื่องราว รวมถึง<br />

สิ่งของเก่าที่เล่าเรื่องอันเป็นคุณค่าในตัวเอง โดยนำ<br />

เสนอในลักษณะพาท่านผู้อ่านเยี่ยมชมศาลาว่าการ<br />

กลาโหมตั้งแต่ภายนอกอาคาร เข้าสู่ภายในอาคาร<br />

จนถึงสิ่งอื่นๆ ที่รายรอบอาคาร<br />

แต่ก่อนอื่นใคร่ขอทำความเข้าใจก่อนว่า ศาลา<br />

ว่าการกลาโหม หันหน้าไปทางทิศตะวันตกและหาก<br />

ในครั้งต่อไป หากกล่าวถึงทิศต่างๆ ขอให้เข้าใจ<br />

ตรงกัน ดังนี้<br />

ทิศเหนือของอาคาร หันหาศาลหลักเมืองและกรมพระธรรมนูญ<br />

ทิศใต้ของอาคาร หันหาวังสราญรมย์ (กระทรวงการต่างประเทศเดิม) และกรมแผนที่ทหาร<br />

ทิศตะวันออกของอาคาร หันหาคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด)<br />

ทิศตะวันตกของอาคาร หันหาพระบรมมหาราชวัง<br />

หากท่านพร้อมแล้ว<br />

ใคร่ขอนำท่านชมและรับทราบเรื่องสำคัญต่าง ๆ ของศาลาว่าการกลาโหมหรือโรงทหารหน้า ณ บัดนี้<br />

11


อาคารและองค์ประกอบภายนอกศาลาว่าการกลาโหม<br />

๑. อาคารภายนอกศาลาว่าการกลาโหม<br />

โครงสร้างผังอาคารของศาลาว่าการกลาโหม<br />

มีลักษณะเป็นอาคารขนาดสูง ๓ ชั้น รูปสี่เหลี่ยม<br />

ผืนผ้าแคบยาว ๔ หลังต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบ<br />

เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ล้อมรอบสนามขนาดใหญ่ที่มี<br />

อยู่ภายใน โดยสีของอาคารเป็นสีไข่ไก่คั่นด้วย<br />

ขอบเสาที่มีสีขาว<br />

เป็นอาคารที่มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบ<br />

คลาสสิค (Classicism) ในรูปแบบของสถาปนิก<br />

แอนเดรีย พาลลาดิโอ ที่เรียกว่า ศิลปะแบบ<br />

พาลลาเดียน (Palladianism) ที่มีความชัดเจนมากคือ<br />

มีลักษณะผังรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบสนาม<br />

ไว้ภายใน ทั้งนี้เพราะทำให้อาคารสามารถรับแสง<br />

สว่างได้ดี เช่นเดียวกับการออกแบบพาลาโซเธียเน<br />

(Pallazothiene) แห่งเมืองวิเจนซ่า (Vicenze) ประเทศ<br />

อิตาลี ในปี ค.ศ. ๑๕๕๐<br />

ด้านหน้าอาคารทำเป็นประตูเข้าออก ๒ ประตู<br />

อยู่ด้านทิศตะวันตกตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง<br />

บริเวณประตูสวัสดิโสภา มีจุดเด่นทางสถาปัตยกรรม<br />

อยู่ที่มุขกลางด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม อาคาร<br />

ที่ต่อจากมุขกลางมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />

แคบยาวแบบห้องแถว มีระเบียงตั้งอยู่ติดกับ<br />

ตัวอาคารสำหรับใช้เป็นทางเดินเชื่อมอาคารทั้งสี่<br />

เข้าด้วยกัน หลังคาอาคารแถวเป็นทรงปั้นหยา<br />

ไม่ยกสูงชายคากุดแบบอาคารในยุโรป<br />

ตัวอาคารเป็นตึกแถวสี่ด้านก่ออิฐฉาบปูนเรียบ<br />

มีช่องหน้าต่างในช่องผนังทุกช่อง คั่นด้วยเสาอิง<br />

ปูนปั้นนูนต่ำคาดเป็นแนวปล้องเลียนแบบการก่อ<br />

ด้วยอิฐ (Rustication) สำหรับช่องหน้าต่างมีขนาด<br />

แตกต่างกันในแต่ละชั้น โดยชั้นที่สองมีช่องหน้าต่าง<br />

ใหญ่ที่สุด ซึ่งบานหน้าต่างเป็นไม้กรุลูกฟักเรียบแบบ<br />

บานละ มีซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นเรียบในลักษณะที่<br />

แตกต่างกันตามแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบ<br />

คลาสสิค กล่าวคือ<br />

• ชั้นล่าง ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็น<br />

ก้อนก่อของทับหลังแบบโค้งแบน (Flat arch)<br />

• ชั้นที่สอง ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็น<br />

ซุ้มคานเครื่องบน (Architrave)<br />

• ชั้นบนสุด ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็น<br />

ซุ้มหน้าบันโค้งเสี้ยววงกลม (Segmental arch)<br />

หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว จะเห็นว่าอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เป็นอาคารที่เรียบง่าย แต่สวยงาม<br />

ตามคติ เรียบง่ายที่สูงศักดิ์ (Noble simplicity)<br />

ของแนวการออกแบบตามรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />

แบบคลาสสิค<br />

12


๒. ความโดดเด่นของมุขกลาง<br />

จุดเด่นทางสถาปัตยกรรมของมุขกลางด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ถือว่าเป็นการออกแบบที่ลงตัว<br />

กับความเป็นที่ตั้งทางทหาร ซึ่งจะต้องมีความอลังการ ดูสงบ น่าเกรงขาม และบ่งบอกถึงศักยภาพในการ<br />

ปกป้องประเทศชาติ และผสมผสานได้อย่างเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ที่สำคัญที่สุดคือ มีความสมดุล<br />

ในทางสถาปัตยกรรม กล่าวคือ<br />

• อาคารมุขกลางมีลักษณะเป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับใช้เป็นส่วนบังคับบัญชามีประตู<br />

ทางเข้าออกขนาดใหญ่วางขนาบด้านซ้ายและขวา ส่วนหน้าแคบยาวเป็นระเบียงประดับเสาราย<br />

ส่วนกลางเป็นโถงใหญ่ยาว ๕ ช่วงเสา ส่วนท้ายเป็นโถงบันได นอกจากนี้ ยังมีปีกต่อออกไป<br />

อีก ๒ ข้างที่ส่วนท้ายอาคาร สามารถแบ่งออกเป็นห้องขนาดเล็กได้อีกข้างละ ๓ ห้อง เมื่อมอง<br />

ในภาพรวมแล้ว มีผังเป็นรูปตัว T หันส่วนบนเข้าข้างในอาคาร<br />

• มีหลังคาจั่วแบบวิหารกรีก โดยเฉพาะหน้าจั่วนี้มีบัวปูนปั้นยื่นออกมาเป็นไขรา (หมายถึง ส่วนของ<br />

หลังคาที่ยื่นจากฝาหรือจั่วออกไป) ที่รับด้วยเต้าสั้นๆ แบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค และบริเวณ<br />

ใต้จั่วจัดทำเป็นโครงสร้างคานโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่อง ๕ ช่วง<br />

• ชั้นล่าง เป็นเสาลอยตัวหน้าตัดกลมขนาดใหญ่สูง ๒ ชั้น ตั้งอยู่บนฐานเสาสูง ๖ ต้น ในสไตล์<br />

ดอริค (Doric) ก่อขึ้นมารับมุขโครงสร้างคานโค้งของชั้นที่สามที่ยื่นมาจากแนวตึก<br />

สรุปโดยภาพรวม อาคารศาลาว่าการกลาโหมที่ก่อสร้างในห้วงแรกที่เป็นโรงทหารหน้า ถือเป็น<br />

สถาปัตยกรรมที่มีความลงตัวเชิงศิลปะและมีความสวยงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาคารสถาปัตยกรรมแบบ<br />

คลาสสิคของยุโรปในยุคนั้น<br />

13


๓. ที่ดินที่ใช้สร้างศาลาว่าการกลาโหม<br />

เคยมีหลายคนถามว่า การสร้างอาคารตาม<br />

รูปแบบของศิลปะแบบพาลลาเดียน (Palladianism)<br />

ที่มีลักษณะผังรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบสนาม<br />

ไว้ภายใน แต่เหตุใดจึงไม่ก่อสร้างอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้ครบถ้วนตามหลัก<br />

คิดของต้นตำรับ เพราะอาจทำให้การใช้ประโยชน์<br />

ผิดแผกไปจากแนวคิดเดิม แต่เมื่อมีการศึกษา<br />

ในรายละเอียดแล้วจึงเข้าใจเหตุผลของการออกแบบ<br />

อาคารจนเป็นลักษณะที่เห็นกันในปัจจุบัน กล่าวคือ<br />

๑) การออกแบบและปลูกสร้างอาคารเป็นไป<br />

ตามรูปที่ดินตามโฉนดที่ดินของโรงทหารหน้ามี<br />

รูปร่างใกล้เคียงกับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่หันด้านข้าง<br />

เข้าสู่ถนนสนามไชย และมีการออกแบบโดยเน้น<br />

ประโยชน์ใช้สอยผสมผสานกับรูปแบบอาคาร<br />

ตามหลักคิดศิลปะแบบพาลลาเดียนดังกล่าว<br />

๒) สำหรับกระทรวงกลาโหมเป็นส่วนราชการ<br />

เดียวที่มีโฉนดที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวง<br />

กลาโหมเอง เนื่องเพราะ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง<br />

ฉบับที่ ๖๑/๒๔๗๘ ที่ดินเลขที่ ๓๕ ระวาง ๒ มีเนื้อที่<br />

รวม ๑๘ ไร่ ๕๓ ตารางวา เพื่อให้สร้างโรงทหาร<br />

หน้าเพื่อกิจการของทหาร ในขณะที่ส่วนราชการ<br />

อื่นต่างใช้ประโยชน์จากที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ<br />

โดย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นส่วนราชการ<br />

ที่ดูแลการใช้ประโยชน์ของที่ดินสำหรับส่วนราชการ<br />

ต่างๆ นั้น<br />

อย่างไรก็ตามว่าด้วยข้อจำกัดของจำนวนพื้นที่<br />

และทำเลที่ตั้ง ศาลาว่าการกลาโหมจึงเป็นสถานที่<br />

ราชการที่ไม่มีรั้วอาคารประกอบมีพื้นที่สนามภายใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหมใช้เป็นพื้นที่ประกอบพิธีต่างๆ<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ การสร้างอาคารที่สร้างตามรูป<br />

ที่ดินจึงไม่มีความจำเป็นต้องมีรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส<br />

เพียงแต่มีลักษณะติดต่อกันสี่ด้าน และล้อมรอบ<br />

สนามไว้ภายใน ก็สอดรับกับหลักคิดศิลปะแบบ<br />

พาลลาเดียน และสามารถทำให้อาคารสามารถรับ<br />

แสงสว่างได้ดีก็เพียงพอต่อประโยชน์ใช้สอยแล้ว<br />

๔. ที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหมที่เรากำลังกล่าวถึง<br />

นี้ มีถนนรายรอบทั้งสี่ด้านทั้งที่เป็นถนนสายหลัก<br />

และถนนสายรอง ประกอบด้วย<br />

๑) ทิศเหนือ ด้านติดกับศาลหลักเมือง คือ<br />

ถนนหลักเมือง<br />

๒) ทิศใต้ ด้านติดกับกรมแผนที่ทหารและ<br />

บางส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ คือ ถนน<br />

กัลยาณไมตรี (ถนนบำรุงเมืองเดิม)<br />

๓) ทิศตะวันออก ด้านติดกับคลองคูเมืองเดิม<br />

คือ ถนนราชินี<br />

๔) ทิศตะวันตก ด้านติดกับพระบรมมหา<br />

ราชวัง คือ ถนนสนามไชย<br />

14


ทั้งนี้ อาคารศาลาว่าการกลาโหม มีที่ตั้ง<br />

คือ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหา-<br />

ราชวัง (เดิมคือตำบลกระทรวงกลาโหม)<br />

เขตพระนคร (เดิมคืออำเภอในพระนคร)<br />

กรุงเทพมหานคร (เดิมคือจังหวัดพระนคร)<br />

รหัสไปรษณีย์ ๑๐๒๐๐<br />

๕. พื้นที่ตั้งศาลาว่าการกลาโหม<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่าในอดีต ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ เคยเป็น<br />

ฉางข้าวหลวงมาก่อน และไม่ใช่แต่เพียงฉางข้าวหลวงที่เป็นสถานที่สำหรับ<br />

ใช้ในการเก็บข้าวเปลือกและข้าวสารที่เรียกเก็บจากราษฎรเพื่อใช้สำหรับ<br />

เป็นอาหารสำรองยามสงครามให้แก่ทหารและข้าราชการบางหน่วยเท่านั้น<br />

แต่มีพื้นที่บางส่วนเคยเป็นวังของเจ้านายชั้นสูงมาก่อน กล่าวคือ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างหมู่วังเจ้านายถนนหลักเมือง<br />

หน้าพระบรมมหาราชวังบริเวณใกล้ศาลหลักเมือง จำนวน ๖ วัง เพื่อใช้<br />

สำหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้มีการสร้างฉางข้าวหลวงสำหรับพระนครขึ้นบริเวณท้ายถนนหลักเมือง<br />

ใกล้คลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด)<br />

ต่อมา ในยุคต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

หมู่วังเจ้านายถนนหลักเมืองกลายเป็นที่รกร้างและไม่มีเจ้านายพระองค์ใด<br />

มาประทับอยู่ จึงใช้พื้นที่บางส่วนจัดทำเป็นฉางข้าวหลวงบริเวณริมถนน<br />

ราชินี กอปรกับการที่กรมทหารหน้าเดิมที่เคยตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง<br />

เกิดคับแคบและต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาเครื่องกระสุนและดินปืน<br />

ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยและได้เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้และความวุ่นวาย<br />

ในพระนครมาก่อนหน้านี้คือวิกฤตการณ์วังหน้า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๘<br />

นอกจากนี้ ใน ปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ได้มีการจัดพระราชพิธีสมโภชพระนคร<br />

ครบ ๑๐๐ ปี พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา<br />

กุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ รวมทั้ง<br />

มีการแสดงมหกรรมแห่งชาติ ณ ทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง) ซึ่งงาน<br />

สำคัญทั้ง ๓ งานนี้จำเป็นต้องใช้กำลังพลทหารมาปฏิบัติหน้าที่โยธา<br />

15


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ผู้ก่อตั้งโรงทหารหน้า..กำเนิดศาลาว่าการกลาโหม


รักษาการณ์ และเวรยามจำนวนมาก จึงทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับสมัครคนเข้ารับราชการ<br />

ทหารในกรมทหารหน้าอีก ๕,๐๐๐ นาย ซึ่งการ<br />

ใช้กำลังพลจำนวนมากเช่นนี้ ทำให้ประสบปัญหา<br />

ในเรื่องการพักแรมของทหารที่มีจำนวนจำกัด ทหาร<br />

เหล่านั ้นจึงต้องกระจัดกระจายไปพักอาศัยตาม<br />

พระอารามหลวง อาทิ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

วัดราชบูรณะ และที่พักชั่วคราวที่ตำบลปทุมวัน<br />

จึงทรงมีแนวพระราชดำริในการจัดสร้างที่พักถาวรขึ้น<br />

โดยเห็นควรที่จะตั้งกรมทหารหน้าขึ้น นอกรั้ว<br />

พระบรมมหาราชวัง และอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง<br />

เพื่อป้องกันเหตุร้ายได้ทันท่วงที<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรง<br />

มีพระราชดำริว่า หากมิได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่หมู่วัง<br />

เจ้านายถนนหลักเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ใช้พื้นที่วังของอดีตพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวม ๓ วัง<br />

คือ วังที่ ๒ และวังที่ ๖ ของพระองค์เจ้าทับทิม<br />

กับวังที่ ๔ ของพระองค์เจ้าคัมธรส รวมทั้ง ฉางข้าวหลวง<br />

สำหรับพระนครเป็นพื้นที่สำหรับสร้างโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหม<br />

ขบวนเหล่าทหารขณะเคลื่อนผ่านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๖. พระราชประสงค์ในการโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างศาลาว่าการกลาโหม<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีพระราชประสงค์ให้จัดสร้างโรงทหารหน้า หรือ<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ดังนี้<br />

๑) เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับการปฏิรูปกิจการ<br />

ทหารสยาม ตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจการทหาร<br />

ของชาติตะวันตก<br />

๒) เพื่อใช้เป็นสถานที่แสดงพระบรมเดชานุภาพ<br />

จอมทัพไทย ให้ปรากฏต่อสายตาชาวไทย และ<br />

ชาวต่างประเทศในขณะนั้น<br />

๓) เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของกิจการทหาร<br />

และเป็นอาคารพระราชมรดกการทหารในการรักษา<br />

ความมั่นคงแห่งชาติและราชบัลลังก์สืบต่อไป<br />

ในอนาคต<br />

๔) เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของกรมทหาร<br />

หน้า ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานโดย<br />

นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต)<br />

ผู้บังคับการกรมทหารหน้าในขณะนั้น<br />

17


๗. เจตนารมณ์ของฝ่ายทหารต่อการสร้าง<br />

โรงทหารหน้า<br />

นอกจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงทหารหน้าแล้ว ในส่วน<br />

ของทหารเองก็มีเจตนารมณ์ในการใช้ประโยชน์<br />

ของโรงทหารหน้าด้วย ซึ่งจากการค้นคว้าของ<br />

นักประวัติศาสตร์ทางทหารหลายท่านต่างมีความ<br />

เห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยหลักฐาน<br />

ที่ปรากฏอยู่นับตั้งแต่เปิดโรงทหารหน้าหรือศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗<br />

เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ต่างสรุปว่าโรงทหาร<br />

หน้า หรือ ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ สมควร<br />

ใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ที่สำคัญของทหารกล่าวคือ<br />

๑) ใช้เป็นที ่พักของเหล่าทหารในสังกัด<br />

กรมทหารหน้า ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล<br />

• กรมทหารบก ๗ กรม และ<br />

• กรมทหารเรือ ๒ กรม<br />

๒) ใช้เป็นสถานที่ทำการและฝึกฝนกำลังทหาร<br />

เพื่อความมั่นคงแห่งชาติและราชบัลลังก์<br />

๓) ใช้เป็นสถานที่ทำการของกระทรวงกลาโหม<br />

ในการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้<br />

๔) ใช้เป็นสถานที่ชุมนุมพลรบโดยเฉพาะ<br />

กรมทหารบก<br />

ซึ่งหากพิจารณาแล้วก็คล้ายกับพระราชประสงค์<br />

ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ที่พระราชทานไว้ จึงกล่าวได้ว่าทหารเองก็มี<br />

ความประสงค์จะใช้พื้นที่โรงทหารหน้าหรือศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เพื่อการสนองงานตามพระราช<br />

ประสงค์ขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว และถือเป็นสิริมงคลของทหารที่ได้<br />

มีโอกาสรับใช้ใต้เบื้องยุคลบาท<br />

๘. สาเหตุของการสร้างโรงทหารหน้าและ<br />

ปรับปรุงกิจการทหาร<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงมีพระราชปณิธานในการปรับปรุงกิจการทหาร<br />

ของไทยเป็นการเร่งด่วน ทั้งนี้เนื่องเพราะในห้วง<br />

เวลาต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้เกิดการเผยแพร่<br />

ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกจากชาวยุโรป ทำให้<br />

ประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศ ต่างประสบภัย<br />

จากลัทธิดังกล่าว และต้องตกเป็นอาณานิคม<br />

ของประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอังกฤษ (ที่มี<br />

อาณานิคมทางฝั่งตะวันตกและทางใต้ของสยาม)<br />

และฝรั่งเศส (ที่มีอาณานิคมทางฝั่งตะวันออก<br />

ของสยาม)<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากสยามไม่พยายามปรับปรุง<br />

การบริหารประเทศให้ทันสมัย อาจทำให้สยาม<br />

ไม่สามารถรอดพ้นจากการเผยแพร่ลัทธิจักรวรรดินิยม<br />

ตะวันตกได้อย่างแน่นอน ประกอบกับการบริหาร<br />

จัดการกิจการทหารในสมัยนั้น ยังขาดความเป็น<br />

เอกภาพเพราะมีทหารถึง ๓ สังกัด กล่าวคือ<br />

๑) ทหารในสังกัดสมุหพระกลาโหม<br />

๒) ทหารในสังกัดวังหลวง<br />

๓) ทหารในสังกัดวังหน้า<br />

การขาดความเป็นเอกภาพดังกล่าว ได้ก่อให้เกิด<br />

การสิ้นเปลืองและเกิดความซ้ำซ้อนในการปกครอง<br />

บังคับบัญชา และส่งผลให้สายการบังคับบัญชา<br />

เกิดความสับสน จึงสมควรปรับปรุงกิจการทหาร<br />

ตามแบบอย่างการจัดระเบียบบริหารราชการ<br />

ตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจตะวันตกด้านการทหาร<br />

และเห็นควรเปลี่ยนสถานที่ทำการเพื่อรวบรวม<br />

และฝึกฝนอบรมทหารให้เกิดความพร้อมในการ<br />

รับผิดชอบภารกิจ จนในที่สุดก็เกิดเป็นโรงทหารหน้า<br />

และมีพัฒนาการจนกลายมาเป็นศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในปัจจุบัน<br />

18


นายพันเอก<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต)<br />

นายพันเอก<br />

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย<br />

๙. การดำเนินการก่อสร้างโรงทหารหน้า<br />

หากย้อนไปในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก เจ้าหมื่น<br />

ไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารหน้า เป็นแม่กอง<br />

การก่อสร้างโรงทหารหน้า และให้ นายพันเอก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์<br />

ชุมสาย วิศวกรทุนพระราชทานฯ เป็นผู้ช่วยแม่กองการก่อสร้าง<br />

ในการนี้ทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระบรมราชานุญาตให้ก่อสร้าง<br />

โรงทหารหน้าตามแบบแปลนที่นาย โจอาคิม กราซซี สถาปนิกและวิศวกร<br />

ช่างรับเหมาก่อสร้างชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบ (นายโจอาคิโน<br />

โจอาคิม กราซซี (Giochino Joachim Grassi) ซึ่งเดินทางเข้ามา<br />

ในประเทศไทยในห้วงปี พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๓๖ ด้วยการเปิดบริษัท<br />

GRASSIBROTHER and CO. ร่วมกับน้องชายอีก ๒ คน คือ<br />

นาย Antonio Grassi ซึ่งนาย โจอาคิม กราซซี ประกอบธุรกิจการค้า<br />

ต่างๆ หลายประเภท ผลงานการออกแบบและก่อสร้างของ<br />

บริษัทแห่งนี้ในประเทศสยามยุคนั้น ได้แก่ การสร้างวังบูรพาภิรมย์<br />

วัดนิเวศธรรมประวัติ พระราชวังบางปะอิน ศาลสถิตยุติธรรม<br />

บ้านพระยาราชานุประพันธ์ ริมคลองบางกอกใหญ่ ตึกในโรงเรียน<br />

อัสสัมชัญ ตึกวิคตอเรีย ตึกเสาวภาคในโรงพยาบาลศิริราช และ<br />

ขุดคลองรังสิตประยุรศักดิ ์ ร่วมกับพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็นต้น<br />

โดยมีค่าก่อสร้างอาคารรวมเป็นเงิน ๗,๐๐๐ ชั่ง หรือ ๕๖๐,๐๐๐ บาท<br />

และค่าตกแต่งอีก ๑๒๕ ชั่ง หรือ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นมูลค่าก่อสร้าง<br />

และดำเนินการทั้งสิ้น ๕๗๐,๐๐๐ บาท<br />

นาย โจอาคิม กราซซี ขบวนเหล่าทหารขณะเคลื่อนผ่านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

19


ในการดำเนินการก่อสร้าง แรงงานก่อสร้าง<br />

ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน วัสดุก่อสร้างโดยทั่วไปใช้<br />

วัสดุภายในราชอาณาจักรสยามในขณะนั้น อาทิ<br />

ไม้สัก อิฐ กระเบื้องดินเผา รากกาบกล้วย ทราย<br />

ปูนซีเมนต์ ดินเหนียว ปูนขาว และต้นอ้อย<br />

สำหรับพิธีวางศิลาฤกษ์ สันนิษฐานว่า จัดพิธี<br />

เช่นเดียวกับการก่อสร้างอาคารสำคัญในสมัยนั้น<br />

และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธีวางศิลา<br />

ฤกษ์ซึ่งจากลักษณะโรงทหารหน้าสันนิษฐานว่าการ<br />

วางศิลาฤกษ์อยู่ ณ บริเวณตึกกลางของโรงทหาร<br />

หน้าในขณะนั้น<br />

การก่อสร้างเริ่มดำเนินการใน ปี พ.ศ. ๒๔๒๕<br />

และก่อสร้างเสร็จใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดย ในวันที่ ๑๘<br />

กรกฎาคม ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาเปิด<br />

โรงทหารหน้าเป็นปฐมฤกษ์<br />

๑๐. การจัดสรรการใช้ประโยชน์ของ<br />

โรงทหารหน้า<br />

หากพิจารณาแล้วพบว่า โรงทหารหน้าเป็น<br />

อาคารขนาดใหญ่มากในสมัยนั้น ในยุคแรกได้มีการ<br />

จัดสรรพื้นที่สำหรับการใช้ประโยชน์ ดังนี้<br />

ชั้นล่าง จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

• ตึกกลาง ใช้เป็นพื้นที่ฝึกหัดฟันดาบ<br />

• อาคารด้านทิศเหนือ ติดกับถนน<br />

หลักเมืองมี ๒ แถวซ้อนกัน ๒ แถว กล่าวคือ<br />

• แถวนอก (อาคาร ๒ ชั้น) เป็น<br />

โรงพักม้าและฝึกม้า<br />

• แถวใน (อาคาร ๓ ชั้น) เป็นที่พักทหาร<br />

ปืนใหญ่ โรงพยาบาลทหาร คลังเก็บ<br />

ยุทธภัณฑ์และครุภัณฑ์ ต่อออกไป<br />

• อาคารด้านทิศใต้ ฝั่งตรงกับทางออก<br />

เป็นโรงอาบน้ำ ซักผ้าของทหาร โรงงาน<br />

ของทหารช่าง บ่อหัดว่ายน้ำ ที่ตั้งเครื่อง<br />

สูบน้ำ และหอนาฬิกา และตึกชั้นเดียว<br />

ด้านถนนราชินี เป็นฉางข้าวและโรงครัวทหาร<br />

ชั้นที่ ๒ จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

• ตึกกลาง เป็นห้องประชุมนายทหาร<br />

• อาคารด้านทิศเหนือ เป็นที่ประชุม<br />

อบรมทหารและเป็นที่พักของทหารม้า<br />

• อาคารด้านทิศใต้ เป็นที่ประชุมอบรม<br />

ทหาร<br />

• อาคารด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก เป็นที่<br />

เก็บยุทธภัณฑ์<br />

ชั้นที่ ๓ จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

• ตึกกลาง เป็นที่เก็บสรรพาวุธ และเป็น<br />

พิพิธภัณฑ์สำหรับเครื่องทหารต่างๆ<br />

• อาคารด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของ<br />

นายทหารและพลทหารเช่นด้านอื่นดัง<br />

กล่าวข้างต้น<br />

• อาคารด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก เป็น<br />

ที่ตั้งถังเหล็กขนาดใหญ่สำหรับเก็บน้ำใส<br />

กล่าวได้ว่า มีการจัดสรรพื้นที่ใช้ประโยชน์<br />

ได้อย่างมากมายและครอบคลุมภารกิจทาง<br />

ทหารในด้านต่างๆ ได้ลงตัวเป็นอย่างยิ่ง<br />

20


๑๑. บันทึกประวัติการสร้างโรงทหารหน้า<br />

นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ได้เคยบันทึก<br />

ประวัติการก่อสร้างโรงทหารหน้า โดยมีการรวบรวมข้อมูลตีพิมพ์<br />

ในหนังสือประวัติของจอมพล และมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยา<br />

สุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) รวบรวมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔<br />

โดยมีการบันทึกไว้ในไดอารีที่มีเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง<br />

โรงทหารหน้า ดังนี้<br />

“สร้างโรงทหารหน้า” (กระทรวงกลาโหม)<br />

เมื่อทหารสมัครกลับเข้ามารับราชการตามเดิมมีจำนวนมาก<br />

แต่ที่พักอาศัยจะควบคุมทหารให้อยู่ได้เป็นปกติเรียบร้อยนั้น<br />

หายาก เจ้าหมื่นไวยวรนาถผู้บังคับการทหารหน้า จึงคิดเห็นว่า<br />

ถ้าจะควบคุมและเลี ้ยงดูทหารมากมายดังนี้ จำต้องทำที่อยู่ให้<br />

แข็งแรงมิดชิด พวกทหารจะได้อยู่ในความปกครองควบคุมให้เป็น<br />

ระเบียบเรียบร้อยได้ จึงได้เที่ยวตรวจตราดูทำเล ที่ทางว่าจะมีที่<br />

ใดซึ่งสมควรจะสร้างเป็นโรงทหารหน้าต่อไปได้บ้าง จึงเห็นที่ฉาง<br />

หลวงเก่า สำหรับเก็บข้าวเมื่อขณะเกิดทัพศึกมีอยู่ ๗ ฉาง แต่<br />

ทว่าปรักหักพักทั้งไม้ก็ผุหมดแล้วพื้นก็หามีไม่ ต้นไม้และเถาวัลย์<br />

ขึ้นปกคลุมจนมิดฉางหมด ทั้งรอบบริเวณที่นั้นก็มีวังเจ้านายอยู่<br />

หลายกรม แต่วังเหล่านั้นก็ทรุดโทรมหมดแล้วทุกๆ แห่ง ในเขต<br />

เหล่านี้มีบริเวณจดไปถึงศาลเจ้าหลักเมือง จนถึงสะพานช้างโรงสี<br />

(การที่เรียกสะพานช้างโรงสี ก็เพราะหมายความว่า ที่ตรงนั้น<br />

เป็นฉางหลวงสำหรับพระนคร และมีโรงสีข้าวอยู่ด้วย) ที่นี่<br />

ตั้งเป็นกรมยุทธนาธิการ และที่ว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในเวลา<br />

นี้เนื้อที่ทั้งหมดยาว ๕ เส้น กว้าง ๓ เส้น ๑๐ วา เห็นว่าเป็นที่<br />

เหมาะสำหรับจะตั้งเป็นโรงทหารหน้าได้ จึงให้ช่างถ่ายรูปฉางข้าว<br />

หลวง และที่วังทรุดโทรมทุกๆ แห่งกะสเก็ตซ์แผนที่ด้วยเส้นดินสอ<br />

ตามที่เจ้าหมื่นไวยวรนาถต้องการ และคิดว่าจะทำโรงทหารหน้า<br />

ที่สำหรับจุทหารได้ ๑ กองพลน้อย เพื่อจะได้รักษาความสงบ<br />

21


ในพระนคร จึงเรียกตัวนายกราซซี ซึ่งเป็น พระนครด้วย ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้สั่งให้นายกราซซี<br />

นายช่างรับเหมาในการก่อสร้างทั้งชั้นให้มาหา เขียนแบบแปลนเป็นตึก ๓ ชั้นขึ้น หวังว่าจะบรรจุ<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถจึงชี้แจงให้นายกราซซีเข้าใจ ทหารให้มากขึ้น ให้เต็มพร้อมมูลเป็นกองทัพน้อยๆ<br />

ความประสงค์ทุกประการ และสั่งให้นายกราซซี อยู่ในแห่งเดียวกัน อนึ่งในงบประมาณฉบับแรกนั้น<br />

ทำแปลนตึกมา ๒ ชนิด แปลน ๑ เป็นตึก ๒ ชั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งนายกราซซีกะประมาณการ<br />

อีกแปลน ๑ เป็นตึก ๓ ชั้น ทั้งให้กะงบประมาณการที่จะ ก่อรากให้มั่นคงแข็งแรงทานน้ำหนักตึกได้ตั้งแต่ ๓<br />

ก่อรากทำให้แน่นหนา ใช้เป็นตึกหลายๆ ชั้นได้ด้วย ถึง ๔ ชั้น แม้นว่าถ้าจะเติมขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เงินที่จะ<br />

นายกราซซีได้ทำแปลนและเขียนรายการ พร้อมทั้ง ต้องเพิ่มขึ้นก็ไม่มากมายเท่าใดนัก ข้าพระพุทธเจ้ามี<br />

งบประมาณการก่อสร้างมายื่นให้ผู้บังคับการตาม ความเห็นว่า จะทำเป็นสามชั้นเสียทีเดียวจะดีกว่า”<br />

คำสั่งทุกประการ เจ้าหมื่นไวยวรนาถได้นำแปลนตึก เมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนาถได้กราบบังคมทูลชี้แจง<br />

๒ ชั้น พร้อมทั้งรูปฉายฉางข้าว กับราคางบประมาณ เรื่องราวครบถ้วน ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ของตึกประมาณ ๕,๐๐๐ ชั่ง (๔๐๐,๐๐๐ บาท) ได้ทรงทอดพระเนตรงบประมาณและแปลนที่ได้<br />

นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก่อน แลได้กราบบังคมทูล<br />

สะเก็ตซ์มาแล้ว จึงมีพระราชดำรัสตอบว่า<br />

ชี้แจงความตามเหตุที่จำเป็นทุกๆ อย่าง เมื่อได้<br />

“ตามข้อความที่เจ้าชี้แจงมานั้น ข้าก็มีความ<br />

ทรงทอดพระเนตรแบบแปลนนั้นตลอดแล้ว จึงมี<br />

พระกระแสรับสั่งแก่เจ้าหมื่นไวยวรนาถว่า<br />

เห็นชอบทุกประการ เพราะฉะนั้นข้าจำเป็นที่จะ<br />

ต้องช่วยเจ้าให้สำเร็จตามความคิดอันนี้ ดีละเป็นอัน<br />

“เวลานี้เงินของแผ่นดินก็ได้น้อย แต่ทว่าเป็น<br />

ตกลงกันตามความของเจ้าทุกประการ”<br />

ความจำเป็นจริงแล้ว ข้าก็จะยอมตามความคิด<br />

ของเจ้า ให้เจ้าจัดแจงทำสัญญากับนายกราซซีเสีย<br />

จึงขอนำบันทึกนี้ถ่ายทอดไว้เพื่อให้อนุชน<br />

เพื่อจะได้ลงมือทำทีเดียว แต่ข้าจะต้องเอารูปถ่าย<br />

รุ่นหลังได้รับทราบถึงวิธีคิดของบรรพชนและพระ<br />

ฉางข้าวและวังเจ้านายที่ทรุดโทรมนี้ไว้ก่อน เพื่อจะ ราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

ได้ปรึกษาหารือกับกรมสมเด็จท่านดูด้วย ถ้าเผื่อว่า เจ้าอยู่หัว ในการวางรากฐานกิจการทหารและสร้าง<br />

ท่านทรงขัดขวางไม่ทรงยินยอมและเห็นชอบด้วยแล้ว ถาวรสถานที่เป็นหลักให้แก่ประเทศในด้านความ<br />

จะได้เอารูปถ่ายนี้ถวายให้ทอดพระเนตรและทูลชี้แจง มั่นคง ซึ่งจะทำให้คนยุคปัจจุบันและยุคต่อไปบังเกิด<br />

ให้เข้าพระทัย”<br />

ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของกิจการทหาร<br />

อยู่มาอีกไม่กี่วัน เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ก็นำ<br />

ต่อไป<br />

แปลนตึก ๓ ชั้น และงบประมาณเข้าไปอีก<br />

เพื่อทูลเกล้าฯถวาย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทอดพระเนตรเห็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถถือแปลน<br />

เข้าไปก็มีพระราชดำรัสรับสั่งถามว่า “นั้นเจ้าเอา<br />

แปลนอะไรมาอีกละ” เจ้าหมื่นไวยวรนาถคลี ่เอา<br />

แปลนตึก ๓ ชั้น ให้ทอดพระเนตร และกราบบังคม<br />

ทูลพระกรุณาว่า “ที่ซึ่งอยู่ในพระนครกว้างใหญ่<br />

เท่าที่กะมานี้หายากเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นแล้ว<br />

ที่ดินก็จะมีราคาสูงขึ้นอีกมาก ข้าพระพุทธเจ้า<br />

มีความเสียดายยิ่งนัก ทั้งที่นี้ก็เป็นที่ในกำแพง<br />

22


๑๒. ความหมายของคำว่า “กลาโหม”<br />

เคยมีคำถามมากมายว่า ศัพท์คำว่า กลาโหม นี้มีความหมายว่าอย่างไร ซึ่งจากการค้นคว้าคำศัพท์ว่า<br />

กลาโหม ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม มีความหมายใน ๓ นัย กล่าวคือ<br />

๑) เป็นชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มี สมุหพระกลาโหม เป็นประธาน<br />

๒) ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร จากภัย<br />

คุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ<br />

๓) การชุมนุมพลรบ<br />

ซึ่งทั้งสามความหมายเป็นการแปลและตีความโดยปราชญ์ของไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นการแปล<br />

ความหมายได้สอดคล้องกับยุคสมัยและภารกิจอย่างเหมาะสม<br />

๑๓. ที่มาของคำว่า “กลาโหม”<br />

คำว่า กลาโหม ในยุคโบราณเท่าที่มีการ<br />

ค้นคว้าและมีการบันทึกถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรม<br />

ไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ที่<br />

ได้ทรงจัดระบบการปกครองใหม่ของสยามเป็น<br />

จตุสดมภ์ (ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และนา) ซึ่ง<br />

ปรากฏใน จุลยุทธกาลวงศ์ เรื่องของพงศาวดาร<br />

ไทยที่นิพนธ์เป็นภาษาบาลี ของสมเด็จพระวนรัตน์<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาล<br />

ที่ ๑ คือ<br />

“อนุเขตตฺสกิเกน สมุหวรกฺลาโหมํนาม สรุ<br />

เสนญฺจ...นตุตฺเขตฺต สกฺกคหณํ เปตฺวา” แปลเป็น<br />

ภาษาไทยโดยพระญาณวิจิตร (สิทธ์ โลจนานนท์)<br />

เปรียญ ความว่า “แล้วพระราชทานนามขุนนางตาม<br />

ศักดินา ให้ทหารเป็น สมุหพระกลาโหม...ถือศักดินา<br />

หมื่นหนึ่ง”<br />

23


นอกจากนี้ ยังปรากฏการบันทึกไว้อีกรูปหนึ่งคือ “กะลาโหม” โดย<br />

ปรากฏในหนังสือโบราณเสมอ อาทิ กฎมณเฑียรสมัยสมเด็จพระบรม<br />

ไตรโลกนาถ ซึ่งอาลักษณ์คัดลอกกันต่อๆ มา มีการเขียนเป็น กะลาโหม<br />

หลายครั้ง อาทิ<br />

“อัยการลูกขุนหมู่ไพร่พลอ้างเรี่ยวแรงอุกเลมิด พนักงาน กะลาโหม”<br />

โดยในพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ก็ปรากฏรูป กะลาโหม<br />

หลายแห่ง ได้แก่ นายเวรกะลาโหม, หัวพันกะลาโหม, พระธรรมไตรโลกนาถ<br />

สมุหพระกะลาโหม, หลวงศรีเสาวราชภักดีศรี สมุหกะลาโหม ฝ่ายตระพัง<br />

อีกทั้ง ในกฎหมายเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏให้เห็นคำว่า กะลาโหม<br />

ใช้งานอยู่เสมอ บางแห่งก็ใช้ กะลาโหม บางแห่งใช้ กลาโหม แล้วแต่ความ<br />

ถนัดหรือความเข้าใจของอาลักษณ์<br />

จนถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า กะลาโหม ก็ยังคงใช้อยู่เสมอ<br />

อาทิ พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป ซึ ่งเป็นพระราชนิพนธ์<br />

กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ<br />

และยังมีบางตำรา กล่าวว่า กลาโหม มาจากภาษาบาลีบ้าง หรือมา<br />

จากภาษาเขมรโบราณบ้าง ซึ่งก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่สรุปได้ว่า<br />

สมุหพระกลาโหม เป็นตำแหน่งของผู้บังคับบัญชาทหาร ที่มีหน้าที่นำพา<br />

หน่วยทหารเข้ารบป้องกันประเทศจนไทยเรามีเอกราชตราบจนทุกวันนี้<br />

ดังนั้น คำว่า กลาโหม จึงมีนัยในการเป็นหน่วยทหารหรือหน่วยกำลัง<br />

รบซึ่งน่าจะตรงและกินความได้อย่างเหมาะสมที่สุด<br />

๑๔. ความสำคัญและความเป็นมาของ กลาโหม ในยุคโบราณ<br />

หากนับตั้งแต่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ของไทยพบว่า คำว่า<br />

“กลาโหม” ปรากฏมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์<br />

แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีความเป็นมาและสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑) กลาโหม ถือเป็นนามกรม กรมหนึ่งในการจัดส่วนบริหารราชการ<br />

ส่วนกลางของฝ่ายทหาร ที่เรียกว่า เวียงหรือกรมเมือง กล่าวคือเป็น<br />

หน่วยงานที่จัดกำลังทหารไว้ปกป้องขอบขัณฑสีมาหรือป้องกันศัตรูจาก<br />

ภายนอกประเทศนั่นเอง<br />

๒) มีการบัญญัติตรา พระคชสีห์ ให้เป็นตราประจำกรมพระกลาโหม<br />

ซึ่งมีการใช้สืบทอดต่อมาจนถึงกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน<br />

๓) การจัดส่วนราชการกรมพระกลาโหม แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย<br />

กล่าวคือ<br />

ตราพระคชสีห์<br />

(ประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม)<br />

24


ตราประจำเสนาบดีกระทรวงกลาโหม มี ๓ ดวง<br />

ตราพระคชสีห์ใหญ่<br />

ตราพระคชสีห์น้อย<br />

๓.๑) ฝ่ายทำการรบ มีแม่ทัพ เป็นผู้บังคับ<br />

บัญชารับผิดชอบ<br />

๓.๒) ฝ่ายบังคับบัญชา มี ปลัดทูลฉลอง<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

๔) การปกครองบังคับบัญชาและการเกณฑ์<br />

ไพร่พล รวมถึง กิจการทั้งปวงในกรมพระกลาโหม<br />

ให้ขึ้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สมุหพระกลาโหม<br />

ซึ่งถือดวงตราพระราชทานคือตราพระคชสีห์<br />

เป็นสำคัญ รวมทั้ง ให้ใช้ธงประจำกรมพระกลาโหม<br />

หรือธงประจำตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม เป็น ธงคชสีห์<br />

๕) มีการตั้งทำเนียบบรรดาศักดิ์ของผู้ดำรง<br />

ตำแหน่งของสมุหพระกลาโหมหรือสมุหกลาโหมไว้<br />

คือ ออกญาสุรเสนา และออกญามหาเสนา ซึ่งนิยม<br />

ใช้กันหลายสมัย จนต่อมาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงบัญญัติให้ตรากฎหมายตราสามดวง<br />

(คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว) จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ พระราชทานมียศและพระราชทินนาม<br />

ของสมุหพระกลาโหม ว่า เจ้าพระยามหาเสนา<br />

กับให้ใช้ ตราคชสีห์ เป็นตราประจำตัวและ<br />

ประจำหน่วย<br />

๖) เดิมทีตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรม<br />

ไตรโลกนาถเป็นต้นมา กำหนดให้สมุหกลาโหม<br />

มีอำนาจควบคุมกิจการเกี่ยวกับทางทหาร<br />

ทั่วประเทศ จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเพทราชา<br />

ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจให้มาเป็นควบคุม<br />

ผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในแถบหัวเมือง<br />

ฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายก ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ<br />

ทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน ทั้งนี้เพื่อ<br />

กระจายอำนาจการปกครอง<br />

ตราพระคชสีห์เดินดง<br />

25


๗) จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ยกเลิกไปเนื่องจากทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕<br />

ซึ่งทั้งหมดนี้ คือความสำคัญและความเป็นมา<br />

ของคำว่า กลาโหม<br />

๑๕. ที่ตั้งของโรงทหารหน้าในอดีต<br />

ก่อนที่จะตั้งโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการ<br />

กลาโหมในปัจจุบันนี้ ทราบมาว่าที่ตั้งของหน่วย<br />

ทหารหน้าหรือกรมทหารหน้า เคยมีที่ตั้งอยู่ใน<br />

พระบรมมหาราชวัง ซึ่งพลเอกสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

พระบิดาประวัติศาสตร์ไทย ได้ทรงอธิบายไว้ใน<br />

เรื่อง ประวัติกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยสำนักงาน<br />

มหาดไทย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรงทหารหน้าว่า<br />

“...ศาลาที่ทำงานของกลาโหมและพลเรือน<br />

ที่เรียกว่า “ศาลาลูกขุน” นั้นแต่เดิมมี ๓ หลัง<br />

ตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา หลังหนึ่งอยู่นอก<br />

พระราชวังเป็นสถานที่สำหรับประชุมทางราชการ<br />

ฝ่ายตุลาการชั้นสูง ศาลาลูกขุนอีก ๒ หลัง อยู่ใน<br />

พระบรมมหาราชวัง จึงเป็นเหตุให้เรียกตรงกันว่า<br />

ศาลาลูกขุนนอก และ ศาลาลูกขุนใน เป็นสถานที่<br />

สำหรับประชุมทางราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่ง<br />

หลังนี้อยู่ทางด้านซ้ายสำหรับประชุมทางราชการ<br />

พลเรือนอยู่ในปกครองของเสนาบดีกระทรวง<br />

มหาดไทย และอีกหลังหนึ่งอยู่ทางขวาสำหรับ<br />

ประชุมข้าราชการทหาร อยู่ในการปกครองของ<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าข้าราชการ<br />

ทหารเช่นกัน<br />

หน้าที่ฝ่ายธุรการของมหาดไทยและกลาโหม<br />

แบ่งออกเป็น ๓ แผนก คือ<br />

แผนกที่ ๑ คือ หน้าที่อัครมหาเสนาบดีที่ต้อง<br />

สั่งการงานต่างๆ แก่กรมอื่นๆ ให้ทำ<br />

พลเอกสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

แผนกที่ ๒ คือ การบังคับบัญชาหัวเมือง<br />

(กลาโหมมีหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในปกครอง ๑๖ หัวเมือง )<br />

แผนกที่ ๓ คือ ฝ่ายตุลาการ (มีขุนศาลตุลาการ<br />

และเรือนจำ)<br />

อนึ่ง งานฝ่ายธุรการของกรมพระกลาโหมหรือ<br />

กระทรวงกลาโหมมีปลัดทูลฉลอง เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

รับผิดชอบ และมีปลัดบาญชีและเสมียนตราเป็น<br />

เจ้าหน้าที่ประจำฝ่ายธุรการ - สารบรรณ<br />

สรุปสถานที่ว่าราชการกิจการทหารในสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ ณ<br />

ศาลาลูกขุนในฝ่ายขวาในพระบรมมหาราชวังชั้น<br />

นอก มีข้าราชการกรมพระกลาโหม ประจำอยู่ ณ<br />

ศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา ได้รับเงินเดือนเช่นเดียวกับ<br />

กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทย<br />

ส่วนข้าราชการที่ทำงานอยู่ที่บ้านสมุหพระกลาโหม<br />

หรือเสนาบดี คงได้ค่าธรรมเนียมเป็นผลประโยชน์<br />

ตอบแทนมิใช่เงินเดือน...”<br />

26


ศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง<br />

27


๑๖. การเปิดโรงทหารหน้า<br />

เคยมีผู้สงสัยว่า ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงทหารหน้า ซึ่งแตกต่างจาก วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ อันเป็นวันสถาปนา<br />

กระทรวงกลาโหม ทำให้มีคนสับสนในเรื่องวัน ใคร่ขอเรียนชี้แจงให้ทราบเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน<br />

กล่าวคือ<br />

๑) การเปิดโรงทหารหน้า<br />

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพระราชพิธีเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้า และตาม มหาพิชัยฤกษ์<br />

โดยทรงประทับรถพระที่นั่งทอดพระเนตรอาคารใหม่ และชมการประลองยุทธ์ของทหาร พร้อมพระราชทาน<br />

นามอาคารว่า โรงทหารหน้า เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่มวลหมู่ทหาร ทำให้ทหารไทยมีที่ทำการใหม่<br />

ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งปรากฏข้อความของเหตุการณ์ในหนังสือกลาโหมคำฉันท์ ดังนี้<br />

วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔<br />

๐ กำหนดดิถีสถป นามุลาฤกษ์ ณ แยบคาย<br />

ศุกร์แรมเอกทศ<br />

กลายกรกเดือนนษัตรวอก<br />

๐ ร้อยสามรตนโกสินทร์ศก เมฆะปกรวีออก<br />

ฤกษ์มหาพิชยนอก<br />

ห้าโมงเช้าเสด็จจร<br />

๐ ผูกพระคาถสมณเจ้า สถิตย์เข้ามุขบวร<br />

เกิดศิริเหล่าพหลอมร<br />

มังคลจ่อบรรลุ<br />

๐ วิเชตวา พลตา ภูปํ - รฏเฐ สาเธตุ -<br />

วุฑฺฒิโย เกิด ตบะมธุ -<br />

ระก่อชัยยะตำนาน<br />

๐ นัย พระมหากษัตริยเจ้า อีกทั้งเหล่าทวยทหาร<br />

จงมีชนะตลอดทิวกาล<br />

ประสบผลยังแดนดิน<br />

๐ ตั้งนามะโรงทหารหน้า แผ่พระเดชะทั่วถิ่น<br />

ไว้เคียงคู่รัตนโกสิน- ทรกรุงจรุงเรือง<br />

๐ พรั่งพร้อมศิลปะโรมนยล วรรณะล้นผกายเหลือง<br />

ยามพิศก็งามระยับประเทือง ดุจพิมานเมืองแมน<br />

๐ อาคารตริชั้นพิศสง่า ทวิทวาร์อร่ามแสน<br />

ปั้นรูปคชสีหประทับแทน ก็ตระหง่านพินิศมอง<br />

๐ ผันพักตร์ประจิมทิศะสล้าง มุขกลางตริชั้นปอง<br />

ชั้นบนประดับสรรพวุธครอง ทวิชั้นประชุมงาน<br />

28


๐ ล่างฝึกประลองอาวุธะทแกล้ว พิศะแววทหารหาญ<br />

ฝึกตระเตรียมนครภิบาล<br />

ชวชาญระวังภัย<br />

๐ อีกทิศอุดรพลประจักษ์ คณะพักพิง์อาศัย<br />

โยธาแลอัศวพะพิงไพ-<br />

บุละกันลุวันคืน<br />

๐ ทักษิณจุสัมภระทหาร ยุท์ธภารบ่ต้องฝืน<br />

สุดตึกก่อหอนฬิกะยืน เบญจชั้นตระหง่านพราว<br />

๐ บูร์พาสระใสไพร่พลอาบ ก่อขนาบปะฉางข้าว<br />

โรงครัวผลิตภัตรคาว<br />

อุปภัมภบำรูง<br />

๐ สามด้านก่อรั้วรมยรื่น เวฬุยืนผลิต้นสูง<br />

สีสุกสะพรึบพฤกษพรรณปรูง มนรมณ์สิเพลิดเพลิน<br />

๐ เบิกฤกษ์ปฐมบรมบพิตร พระสถิตแลดำเนิน<br />

ไพร่พลประลองยุทธเผชิญ<br />

พระหทัย ธ ยินดีฯ<br />

๒) การตั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

วันศุกร์ที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ตราพระราชบัญญัติประกาศจัดการทหาร จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกรมกลาง ปกครองบังคับบัญชา<br />

กรมทหารบก ๗ กรม และกรมทหารเรือ ๒ กรม โดยแยกการปกครองบังคับบัญชากรมทหารออก จากกรม<br />

พระกลาโหม (คงให้กรมพระกลาโหมมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้เท่านั้น) พร้อมกับ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บัญชาการ เพื่อกำกับดูแล กรมทหารบก และ กรมทหารเรือ ให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา<br />

ซึ่งการแต่งตั้งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นบังคับบัญชาหน่วยทหาร ถือเป็นแบบธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศ<br />

ชาติตะวันตกในยุคนั้น แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ คือมีพระชันษาเพียง ๙ พรรษา (ประสูติเมื่อวันที่<br />

๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๑) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช (พระยศในขณะนั้น) ทรงเป็นผู้รักษาการแทนผู้บัญชาการ<br />

กรมยุทธนาธิการ จนกว่าพระองค์จะว่าการได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งปรากฏข้อความของเหตุการณ์ในหนังสือ<br />

กลาโหมคำฉันท์ ดังนี้<br />

วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔<br />

๐ เปลี่ยนนามะยุทธนธิการ ร่ำสะท้านบ่มิขัด<br />

เกริกก้องอัพภันตรทรรศน์ ปรปักษ์จะหวั่นไหว<br />

๐ ตราราชบัญญัติ์ปวัตนเดช อฐเมษ์วรรษถัดไป<br />

เรียงนามบ่งสถิตยหฤทัย อยู่คู่ไทยเมลืองโจษฯ<br />

และในวันประกาศดังกล่าว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้โรงทหารหน้าเป็นที่ทำการของกรม<br />

ยุทธนาธิการ และทรงขนานนามใหม่ว่า ศาลายุทธนาธิการ<br />

29


๑๗. ที่มาของคำว่า โรงทหารหน้า<br />

ภายหลังที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้<br />

พื้นที่ฉางข้าวเก่าและวังในอดีตของเจ้านาย มาสร้าง<br />

ที่ตั้งหน่วยทหาร ซึ่งในกลางปี พ.ศ. ๒๔๒๗<br />

เมื่อการก่อสร้างใกล้จะเสร็จเรียบร้อย นายพันเอก<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย<br />

เพื่อขอพระราชทานนามที่ตั้งหน่วยทหารแห่งใหม่นี้<br />

เพื่อประดับที่หน้ามุข<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

จึงทรงมีพระราชหัตถเลขา ตอบนายพันเอก<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ความบางตอนว่า<br />

“...อย่าให้ชื่อพิศดารอย่างไรเลย ให้ใช้นามว่า<br />

โรงทหารหน้า เท่านั้น และให้มีศักราชที่สร้างขึ้น<br />

ไว้ด้วย...”<br />

ต่อจากนั ้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ไปเฝ้าสมเด็จ<br />

พระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม<br />

นำกระแสพระราชดำริ ที่ต้องพระราชประสงค์<br />

คาถาสำหรับประจำตรากรมทหารหน้าอีกด้วย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๑๘. ศาลายุทธนาธิการ<br />

ในยุคหนึ่ง ศาลายุทธนาธิการ มีบทบาทที่<br />

เกี่ยวกับกิจการทหารเป็นอันมาก ซึ่งมีการบันทึก<br />

ข้อมูลไว้ทราบว่า ภายหลังจากวันที่ ๘ เมษายน<br />

๒๔๓๐ จากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้โรงทหารหน้า<br />

เป็นสถานที่ทำการของกรมยุทธนาธิการ ในการนี้<br />

ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามใหม่ว่า<br />

ศาลายุทธนาธิการ ปรากฏว่ามีการบันทึกกิจกรรม<br />

ของศาลายุทธนาธิการไว้ดังนี้<br />

๑) พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา วันเสาร์ที่ ๙<br />

เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าทหาร<br />

ในสังกัดกรมยุทธนาธิการ กระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์<br />

สัตยา ณ ศาลายุทธนาธิการ<br />

๒) ส่วนหนึ ่งของการประกอบพระราชพิธี<br />

รัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๓๖ มีการ<br />

บันทึกไว้ว่า<br />

30


“นับแต่ทรงรับบรมราชาภิเษก นับทางจันทรคติ<br />

ได้ ๒๕ ปีบริบูรณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

ตั้งการพระราชพิธีรัชดาภิเษก ณ พระบรมมหาราชวัง<br />

ตั้งแต่วันที่ ๑-๘ ธันวาคม ๒๔๓๖ โดยจัดรูปแบบ<br />

พระราชพิธีทำนองเดียวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก<br />

คือ มีวันตั้งน้ำวงด้าย (สายสิญจน์รอบมณฑล<br />

พระราชพิธี) เจริญพระพุทธมนต์ ๓ วัน สรงพระ<br />

มูรธาภิเษก ประทับพระที่นั่งอัฐทิศ รับน้ำอภิเษก<br />

ประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณ์อ่านมนต์เปิด<br />

ประตูไกรลาส ไม่มีการถวายพระสุพรรณบัฏและ<br />

เครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ แล้วเสด็จออกรับคณะ<br />

ทูตานุทูตถวายชัยมงคล ทรงตั้งพระราชาคณะ ๓ รูป<br />

เป็นมงคลฤกษ์ คณะสงฆ์สวดถวายชัยมงคล ณ<br />

พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จออกให้<br />

ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายชัยมงคล มี<br />

พระธรรมเทศนา ๕ กัณฑ์ เจ้าพนักงานตั้งบายศรี<br />

เวียนเทียนสมโภชพระราชมณเฑียร ๓ วัน และ<br />

เสด็จพระราชดำเนินศาลายุทธนาธิการ ให้ทหารบก<br />

ทหารเรือเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายตัว”<br />

๓) พิธีถวายพระคทาจอมพลพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๑๖<br />

พฤศจิกายน ๒๔๔๖ มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“ผู้บัญชาการกรมทหาร พร้อมด้วยข้าราชการ<br />

ในกรมยุทธนาธิการเตรียมรับการตรวจแถวจาก<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ<br />

สนามหญ้า ภายในศาลายุทธนาธิการภายหลังที่<br />

กรมทหารบกทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพล”<br />

๔) พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ได้พระราชทานธงชัยเฉลิมพลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑<br />

มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“ซึ่งผืนธงมีรูปลักษณะเป็นสีแดง ตรงกลาง<br />

ปักเป็นรูปช้าง และในปัจจุบันนี้ ธงชัยเฉลิมพลผืนนี้<br />

ไม่สามารถหาหลักฐานพบว่าเก็บไว้ ณ สถานที่<br />

ราชการใด โดยหลักฐานการได้รับพระราชทาน<br />

ธงชัยเฉลิมพล ได้แก่ คำสั่ง ศาลายุทธนาธิการ<br />

ที่ ๑๘๑/๑๓๒๑๗ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ.<br />

๑๒๗ และคำสั่งศาลายุทธนาธิการที่ ๑๘๖/๑๓๓๙๒<br />

ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗”<br />

เหล่าทหารในกรมยุทธนาธิการ ตั้งแถวรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในสนามภายในศาลายุทธนาธิการ<br />

ในโอกาสทรงเสด็จร่วมพิธีที่กรมทหารบก ทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพล<br />

31


๕) จัดงานเฉลิมพระเกียรติ ใช้ประโยชน์ใน<br />

การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะมีการบันทึกไว้ว่า<br />

ได้จัดการแสดงบรรเลงเพลงถวายพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง ๒ ครั้ง<br />

กล่าวคือ<br />

• ครั้งที่หนึ่ง การบรรเลงเพลงสรรเสริญ<br />

พระบารมี ฉบับที่เป็นผลงานของ นายปโยตร์<br />

ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์<br />

ชาวรัสเซีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ซึ่ง สมเด็จ<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />

นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบ<br />

และได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ ศาลา<br />

ยุทธนาธิการ<br />

• ครั้งที่สอง การบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระ<br />

ราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่ ๒๐<br />

กันยายน ๒๔๓๑ (เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ ปี<br />

ชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐) ณ ศาลา<br />

ยุทธนาธิการ โดยครั้งนี้เป็นการบรรเลงเพลง<br />

ซึ่ง นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์<br />

(พระยศในขณะนั้น) ทรงพระนิพนธ์ขึ้น<br />

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานใหญ่<br />

ใช้จ่าย กรมยุทธนาธิการ โดยเนื้อเพลงขึ้นต้น<br />

มีเนื้อความว่า “บรรยายความตามไท้<br />

เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์”<br />

และต่อมาจึงเรียกชื่อเพลงนี้ว่าเขมรไทรโยค<br />

จนเป็นชื่อที่แพร่หลายไปในที่สุด<br />

๖) เป็นที ่ทำการของกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

และให้ตั้งกองบัญชาการที่ศาลายุทธนาธิการ<br />

๗) เป็นที่ทำการของกระทรวงกลาโหม วันที่<br />

๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุล<br />

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

กระทรวงกลาโหม ย้ายสถานที่ทำการจากศาลาลูกขุน<br />

ในฝ่ายขวา ในพระบรมหาราชวังชั้นนอก มาอยู ่ที่<br />

ตึกกลางของศาลายุทธนาธิการ และโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ทำการของกระทรวง<br />

กลาโหม ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อมา<br />

เป็น กระทรวงกลาโหม ทำให้ศาลายุทธนาธิการ<br />

เปลี่ยนชื่อมาเป็น ศาลาว่าการกลาโหม ตราบจน<br />

ปัจจุบัน<br />

๑๙. การต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า อาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

แห่งนี้ ได้เคยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมที่สำคัญ จำนวน<br />

๕ ครั้ง กล่าวคือ<br />

๑) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว มีการโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการดังนี้<br />

๑.๑) จัดทำโคลง “สยามมานุสสติ”<br />

เหนือซุ้มประตูทางเข้า - ออก เพื่อปลุกจิตสำนึก<br />

ความรักชาติในห้วงเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

๑.๒) จัดสร้างศาลาทรงกลมประกอบ<br />

ภายในสนามด้านหน้า เช่น พระราชวังสราญรมย์<br />

๒) การต่อเติมมุขหน้าอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ทำขึ้นในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๘๒ โดยดำเนิน<br />

การต่อเติม ดังนี้<br />

๒.๑) ขยายหน้ามุขโดยการต่อเติม<br />

ยื่นออกมา มีความสูงเท่ากับตึกสองชั้น มีเสากลม<br />

ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับในอดีตอีก ๖ เสา ทำให้<br />

ชั้นสองของหน้ามุขใหม่มีลักษณะเป็นระเบียง<br />

สามารถใช้ประโยชน์ได้<br />

32


๒.๒) จัดทำเครื่องหมายสัญลักษณ์ของ<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นรูปจักรสมอปีกสอดขัด<br />

ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ บริเวณหน้าอาคาร<br />

พื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีทองมีวงกลมซ้อนอยู่ภายใน<br />

แกะสลักประดับด้วยลวดลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์<br />

(ทั้งนี้ได้มีการกำหนดตราดังกล่าวเป็นตราประจำ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติ<br />

เครื่องหมายราชการ พ.ศ. ๒๔๘๒ ลงวันที่ ๑๐<br />

กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒)<br />

๒.๓) จัดทำอักษรโคลง “สยามมานุสสติ”<br />

ที่ด้านซ้ายและขวาของเครื่องหมายสัญลักษณ์<br />

ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีข้อสังเกตว่า จัดทำขึ้น<br />

ในสมัยที่เรียกว่า รัฐนิยม (ประกาศครั้งแรกในปี<br />

พ.ศ. ๒๔๘๒) จึงไม่ใช้พยัญชนะไทยบางตัว เช่น<br />

ฆ ฌ ญ ฒ ศ และ รร เป็นต้น ดังนั้นตัวอักษรของ<br />

คำว่า “พินาศ” จึงใช้เป็น “พินาส” ดังปรากฏ<br />

ในปัจจุบัน<br />

๓) การสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

สร้างขึ้นในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายก<br />

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภาย<br />

หลังเกิดเหตุการณ์กรณีพิพาทอินโดจีนและสงคราม<br />

เกาหลี โดยเริ่มต้นสร้าง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖ -<br />

๒๕๐๓ โดยการสร้างอาคารบริเวณด้านหลังอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ด้านถนนราชินี ริมคลองหลอด<br />

(เดิมทีเป็นอาคารชั้นเดียวและมีบ่อน้ำ) ซึ่งมี<br />

อาคารที่ทำการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ที่ทำการกองบัญชาการทหารสูงสุด และที่ทำการ<br />

ของหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

สูงประมาณ ๓ ชั้น พร้อมทั้งห้องประชุมและ<br />

ห้องสโมสรนายทหารสัญญาบัตร และต่อมามีการ<br />

สร้างอาคารเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง รวม ๔ อาคาร<br />

๔) การก่อสร้างอาคารสำนักงบประมาณ<br />

กลาโหม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งเดิมทีเป็น<br />

อาคารสองชั้นซึ่งมีสภาพทรุดโทรมและไม่เพียงพอ<br />

อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

บริเวณด้านหลังอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ต่อการใช้สอย จึงได้รื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่เป็น<br />

อาคาร ๓ ชั้น โดยภายนอกให้คงแบบเดิมไว้ทั้งหมด<br />

และใช้เป็นอาคารสำนักงบประมาณกลาโหม ด้วย<br />

การวางแผนและอำนวยการสร้างของพลอากาศเอก<br />

สรรเสริญ วานิชญ์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๕) การก่อสร้างอาคารศาลาว่าการด้าน<br />

ทิศตะวันออก สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในที่ตั้ง<br />

ของอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดเดิม (ปัจจุบัน<br />

คือ กองบัญชาการกองทัพไทย) ทั้งนี้เพราะ<br />

กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ย้ายเข้าที ่ตั้งใหม่<br />

บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ แต่<br />

เนื่องจากอาคารเดิมมีอายุประมาณ ๕๐ ปี<br />

ทรุดโทรมมาก ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงได้มี<br />

โครงการรื้อถอนและก่อสร้างอาคารหลังใหม่และได้<br />

ดำเนินการต่อเติมเป็นรายการล่าสุด<br />

33


๒๐. สัญลักษณ์ที่หน้าจั่วของมุขกลาง<br />

ที่บริเวณหน้าจั่วของมุขกลาง ได้มีการประดิษฐานตราสัญลักษณ์ประจ ำโรงทหารหน้า ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่โรงทหารหน้า เป็นรูปจุลมงกุฎ<br />

บนหมอนแพรภายใต้รัศมีเปล่งรองรับด้วยช้างสามเศียรยืนบนแท่นสอดในจักร ขนาบด้วย คชสีห์และ<br />

ราชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรด้านขวาและด้านซ้าย เหนือชายแพรทาสีม่วงคราม มีอักษรบาลี<br />

ว่า วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย ประดับด้วยช่อดอกไม้ โดยมีรายละเอียดและความหมาย ดังนี้<br />

๑) ตราจุลมงกุฎบนหมอนแพรปิดทอง หมายถึง ศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของ<br />

พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลใน พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

นั้น คือ “จุฬาลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ซึ่งต่อมาได้อัญเชิญ<br />

ตราจุลมงกุฎบนหมอนแพรปิดทองขึ้นเป็นพระราชลัญจกร พระจำประองค์<br />

๒) รัศมีเปล่งเหนือจุลมงกุฎ หมายถึง พระบรมเดชานุภาพที่แผ่ไกลไปทั่วทุกทิศในคติการปกครอง<br />

แบบราชาธิปไตย<br />

๓) ช้างสามเศียรยืนแท่นในกรอบ หมายถึง ตราสัญลักษณ์ของสยามประเทศ<br />

๔) จักร หมายถึง ราชวงศ์จักรี ทั้งนี้มีการบันทึกและมีการทำสัญลักษณ์ไว้บนผืนธง ดังนี้<br />

ซึ่งมีการกล่าวกันมากในเรื่องของจักรว่า จักรจะต้องเวียนตามเข็มนาฬิกา หรือเวียนทวนเข็มนาฬิกา<br />

ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว มีการถือคติว่าเป็นจักรของราชวงศ์จักรีเป็นจักรของพระนารายณ์ที่ต้องเวียนในลักษณะ<br />

ทักขิณาวัฏ คือ เวียนตามเข็มนาฬิกาโดยให้คมจักรเป็นตัวนำทิศทาง<br />

๕) คชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง กลาโหมซึ่งเป็นใหญ่ฝ่ายทหาร<br />

๖) ราชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง มหาดไทยซึ่งเป็นใหญ่ฝ่ายพลเรือน<br />

๗) พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น) หมายถึง ฉัตรสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราช<br />

พิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณี<br />

34


๘) ชายแพรทาสีม่วงคราม หมายถึง สาย<br />

สะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งมี<br />

นัยว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงบำรุงถึงสกุลวงศ์ ผู้มีบำเหน็จความชอบ<br />

ในบ้านเมืองให้สามัคคีช่วยกันในบ้านเมือง<br />

๙) ช่อดอกไม้ หมายถึง ความรุ่งเรืองงอกงาม<br />

ซึ่งสัญลักษณ์นี้ปรากฏในสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้า<br />

ห้อยดวงตราจุลจอมเกล้า ซึ่งแตกต่างกันตรงที่<br />

สายสร้อยไม่ประดับจักร จึงสันนิษฐานไว้ว่า<br />

ตราสัญลักษณ์นี้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อหน่วยทหารในฐานะ<br />

เป็นหน่วยงานที่พิทักษ์รักษาราชวงศ์จักรี<br />

๒๑. คาถาประจำโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการ<br />

กลาโหม<br />

อักษรภาษาบาลี ที่ปรากฏบนหน้าจั่วศาลา<br />

ว่าการกลาโหม มีข้อความว่า วิเชตฺวา พลตาภูปํ<br />

รฏฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย อ่านว่า วิเชตตะวา พะละตา<br />

ภูปัง รัฏเฐ สาเธตุ วุฑฒิโย มีความหมายว่า “ขอให้<br />

พระมหากษัตริย์เจ้า พร้อมด้วยปวงทหารจงมี<br />

ชัยชนะ ยังความเจริญให้สำเร็จในแผ่นดินเทอญ”<br />

ซึ่งเป็นคาถาที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกจากคาถา ๑ ในจำนวน ๔ บท<br />

สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)<br />

ที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช<br />

(สา ปุสฺสเทว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม<br />

ทรงผูกถวายให้ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ น ำขึ้นกราบบังคมทูล<br />

ถวายเพื่อทรงเลือก<br />

ถือว่าเป็นคาถาที่เป็นมงคลแก่หน่วยทหารและ<br />

แผ่นดิน ทั้งยังเป็นพรประเสริฐที่เปี่ยมไปด้วยมงคล<br />

อันเป็นการเฉพาะสำหรับทหาร<br />

35


๒๒. ประตูเข้าและออก<br />

หากสังเกตให้ดี จะพบว่าบริเวณประตูทางเข้า<br />

และออก ทำขึ้นเป็นรูปเกือกม้าที่มีขนาดใหญ่<br />

กำหนดประตูเข้าอยู่ทางทิศใต้ใกล้กระทรวง<br />

การต่างประเทศ สำหรับประตูทางออกคือประตู<br />

ทิศเหนือใกล้กับศาลหลักเมือง โดยด้านบนบริเวณ<br />

กึ่งกลางประตูมีรูปปูนปั้นเป็นรูปหน้านายทหาร<br />

โดยด้านซ้ายและขวามีรูปปูนปั้นเป็น เศียรองค์คชสีห์<br />

ขนาบทั้ง ๒ ข้าง<br />

โดยปกติ การปั้นรูปใบหน้าที่ประดับขอบโค้งบนสุดของประตูหรือขอบหน้าต่างนั้น ส่วนใหญ่แล้ว<br />

ในยุโรปจะปั้นเป็นรูปหน้าเทพเจ้า หรือหน้าเทพี ตามความเชื่อในเทพนิยายปกรณัม ซึ่งบางแห่งอาจปั้น<br />

เป็นหน้าสุภาพสตรีเพื่อความสวยงามของอาคาร ซึ่งมีอาคารที่อยู่ใกล้ศาลาว่าการกลาโหม คือ<br />

อาคารมิวเซียมสยาม ก็มีการปั้นรูปหน้าสุภาพสตรี โดยช่างชาวต่างชาติที่รับพระราชกระแสรับสั่ง<br />

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ปั้นประดับไว้บนส่วนโค้งบนของขอบหน้าต่าง<br />

ชั้นสองทุกบาน<br />

สำหรับ โรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเป็นที่ทำการทางทหาร จึงได้ปั้นเป็นรูปหน้า<br />

ทหารสวมหมวกยอด และ เศียรองค์คชสีห์ ประดับไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยทหารและที่ทำการ<br />

ของสมุหกลาโหม<br />

ทั้งนี ้ จากการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ แล้วไม่พบว่าเป็นใบหน้าของท่านใด แต่เมื่อพิจารณาจาก<br />

โครงสร้างกับองค์ประกอบของใบหน้าของรูปปูนปั้นทั้งสองรูป ทำให้สันนิษฐานได้ว่า<br />

๑) รูปปูนปั้นหน้านายทหาร ด้านประตูทางเข้า คือ จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

๒) รูปปูนปั้นหน้านายทหาร ด้านประตูทางออก คือ จอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์<br />

มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

ซึ่งน่าจะเป็นข้อสันนิษฐานที่มีเหตุมีผลและพอจะเชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีการจำลองเศียรองค์คชสีห์<br />

ขนาบทั้ง ๒ ข้าง และรูปปูนปั้นเป็นรูปหน้านายทหาร ประดับประตูทางออกของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ทางทิศตะวันออกที่ต่อเติมใหม่ใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ อีกด้วย<br />

36


๒๓. สัญลักษณ์ปูนปั้นประดับชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

หากท่านแหงนหน้าขึ้นมองบริเวณด้านบนของมุขกลาง ท่านจะเห็นแผ่นปูนและยอดแหลมบริเวณ<br />

ขอบหลังคาใกล้กับบริเวณหน้าจั่วของมุขกลาง สิ่งที่ท่านเห็นดังกล่าวมีลักษณะที่เรียกว่า บราลี และ ปั้นลม<br />

เพื่อประดับอาคารทรงยุโรปที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมโบซารส์ (Beaux Arts) หรือเรียกว่า Beaux-Arts style<br />

ซึ่งเป็นวิถีทางทำให้เกิดจิตวิญญาณใหม่ภายในขนบธรรมเนียมที่หรูหรามากว่าการจัดของความคิดที่เป็น<br />

จุดสำคัญของศิลปะ โดยเพิ่มเติมที่งานปั้น ประติมากรรม แกะสลักผนัง หรืองานศิลปะอื่นๆ ส ำหรับก่อให้เกิด<br />

เอกลักษณ์ของอาคาร และลักษณะเด่นคือการตกแต่งประดับประดาที่มากมายด้วยองค์ประกอบคลาสสิค<br />

จากยุคต่างๆ นำมาผสมผสานกันอย่างซับซ้อน อาทิ ลวดบัว หัวเสา ปูนปั้น และการทำผนังชั้นล่าง<br />

เลียนแบบการก่อหิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของงานศิลปะที่ประดับประดาอยู่ในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

สำหรับ แผ่นปูนและยอดแหลม ที่ประดับอยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม บริเวณขอบระเบียง ชั้น ๓<br />

ของอาคาร บริเวณเหนือประตูทางเข้าและทางออกไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน จึงมีข้อสันนิษฐาน ดังนี้<br />

๑) บราลียอดแหลมปูนปั้น ลักษณะเป็นกรวยทรงสูงบนแท่นกลม ซึ่งปกติมีการใช้ผ้าตาดทำเป็นรูป<br />

กรวยครอบมงกุฎหรือชฎา เพื่อใช้ป้องกันความเสียหายและฝุ่นละอองที่จะเข้าไปสร้างความเสียหายภายใน<br />

ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ว่าทหารคือผู้อาสาปกป้องราชบัลลังก์ สำหรับอีกแนวคิดหนึ่งคาดว่าเป็นการ<br />

นำเอาตราสัญลักษณ์คชสีห์ที่อยู่ในกล่องอับหมึกและมีฝาครอบมาเป็นต้นแบบในการจัดทำบราลีนี้อย่างไร<br />

ก็ตาม บราลีปูนปั้นลักษณะเช่นนี้ก็มีการสร้างในอาคารของยุโรปหลายแห่ง และมีอาคารที่ประดับบราลี<br />

ใกล้เคียงกับทรงนี้คือ อาคารธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี<br />

๒) ปั้นลมปูนปั้นเป็นแผ่นรูปทหาร ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากสังเกตให้ดีจะเป็นรูปทหาร<br />

สวมเสื้อคลุมแบบทหารยุโรปคาดกระบี่พาดด้านหน้า และบริเวณหลังกับไหล่ปั้นเป็นรูปธงพลิ้ว ข้างละ<br />

๒ ผืน ทำให้นึกถึง เสี้ยวกาง (ทวารบาล ที่วาดอยู่บริเวณประตูวัดต่างๆ ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์<br />

ป้องกันภัยร้ายที่เข้ามาสู่ภายในวัด) จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีการสร้างทวารบาลขึ้นเพื่อปกป้องสิ่งไม่ดีที่จะ<br />

เข้ามาสู่ศาลาว่าการกลาโหม แต่เนื่องจากเป็นอาคารทรงยุโรป เมื่อเป็นเช่นนี้ ทวารบาลจึงปั้นเป็นรูปทหาร<br />

ยุโรป นับว่าเป็นจินตนาการทางศิลปะตะวันตกกับความเชื่อทางตะวันออกที่ผสมผสานออกมาได้อย่างลงตัว<br />

อย่างไรก็ตาม ปั้นลมลักษณะเช่นนี้มีการสร้างที่เหนือพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ในพระราชวังบางปะอิน<br />

ซึ่งถึงแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่เป็นศิลปะในยุคเดียวกันและน่าจะมีคติความคิดที่คล้ายกัน<br />

นอกจากนี้ เมื่อมีการต่อเติมใหม่ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมทางทิศตะวันออก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕<br />

ได้มีการจำลองปั้นลมปูนปั้นเป็นแผ่นรูปทหารประดับเหนืออาคารบริเวณระเบียงชั้นสามอีกด้วยเช่นกัน<br />

37


๒๔. วิวัฒนาการของกระทรวงกลาโหม<br />

มีหลายท่านตั้งข้อสงสัยว่าโรงทหารหน้า<br />

เคยเป็นที่ทำการของทหาร ทั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และกระทรวงกลาโหม ซึ่ง<br />

ฟังแล้วรู้สึกสับสน ดังนั้นจึงใคร่ขอสรุปสาระสำคัญ<br />

ของเรื่องนี้ให้เกิดความชัดเจน กล่าวคือ โรงทหารหน้า<br />

เคยเป็นที่ทำการของกรมยุทธนาธิการ กระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ และกระทรวงกลาโหม เพราะมีลำดับ<br />

เหตุการณ์ของการจัดตั้งส่วนราชการ ดังนี้<br />

๑) เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพระราชพิธี<br />

เป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้าเพื่อเป็น<br />

ที่ทำการของกรมทหารหน้า<br />

๒) วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติจัดการทหาร ให้ตั้ง<br />

กรมยุทธนาธิการ กับใช้โรงทหารหน้าเป็นสถานที่<br />

ทำการของกรมยุทธนาธิการ ในขณะนั้นกรม<br />

พระกลาโหมยังมีอยู่โดยให้มีอำนาจบังคับบัญชา<br />

หัวเมืองฝ่ายใต้เท่านั้น<br />

๓) วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็น<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และให้ตั้งกองบัญชาการ<br />

ณ ศาลายุทธนาธิการ<br />

๔) วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง ซึ่งมี<br />

ทั้งกระทรวงยุทธาธิการ และกระทรวงกลาโหม<br />

เนื่องเพราะยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อ เจ้าพระยา<br />

พลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) สมุหพระกลาโหม ในขณะนั้น<br />

ที่เป็นข้าราชการเก่าแก่ มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี<br />

มีความดีความชอบ และชราภาพมาก ทั้งนี้ ได้<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

38<br />

(พระยศในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งเป็น เสนาบดี<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และในปีเดียวกันนี้ ได้ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลดฐานะกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

คงเหลือเป็นเพียงกรมยุทธนาธิการ ท ำหน้าที่ปกครอง<br />

บังคับบัญชาทหารบก<br />

ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าพระยาพลเทพ ขึ้นเป็นเสนาบดี<br />

ผู้ใหญ่ ในราชทินนาม เจ้าพระยารัตนาธิเบศพิเศษ<br />

สาธุคุณมนูญผล หลังจากนั้น ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่<br />

กระทรวงกลาโหม โดยให้กรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรง<br />

ต่อกระทรวงกลาโหม และให้รับผิดชอบในด้านการ<br />

ป้องกันประเทศด้วยกำลังทหารทั้งทหารบกและ<br />

ทหารเรือ เพื่อความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา<br />

พร้อมกับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลตรี<br />

เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศในขณะนั้น)<br />

ดำรงตำแหน่งเป็น เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้กระทรวงกลาโหม ย้ายสถานที่ทำการจากใน<br />

พระบรมมหาราชวังชั้นนอก มาอยู่ที่ศาลายุทธนาธิการ<br />

และเป็นกระทรวงกลาโหมตั้งแต่นั้นมา<br />

๒๕. กรมยุทธนาธิการ : ต้นกำเนิดของ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

และทรงให้ปรับปรุงภารกิจการจัด หลายครั้งก็เพื่อ<br />

ให้เกิดความสมบูรณ์ เหมาะสมกับสถานการณ์โลก<br />

และการเปลี่ยนแปลงกิจการทหารสมัยใหม่ กล่าวคือ<br />

๑) ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้ง<br />

กรมยุทธนาธิการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า สยาม จำเป็นที่จะ<br />

ต้องเสริมสร้างประสิทธิภาพหน่วยทหาร เพื่อรักษา


เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)<br />

สมุหพระกลาโหม<br />

นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

39


ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และป้องกันภัย<br />

รุกรานของประเทศมหาอำนาจนอกประเทศ จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารอย่างใหม่ขึ้น<br />

ประกอบด้วย กรมทหารบก ๗ กรม และกรมทหาร<br />

เรือ ๒ กรม ประกอบด้วย กรมทหารมหาดเล็ก<br />

ราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารรักษาพระองค์<br />

กรมทหารล้อมวัง กรมทหารหน้า กรมทหารฝีพาย<br />

กรมทหารปืนใหญ่ และกรมทหารช้าง พร้อมทั้ง<br />

โปรดเกล้าฯ คัดเลือก พระบรมวงศานุวงศ์และ<br />

ข้าราชการที่ไว้วางพระราชหฤทัย ขึ้นดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บังคับบัญชากรมทหารนั้นๆ<br />

๒) วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการทหาร<br />

โดยให้รวบรวมทหารบกและทหารเรือ ตั้งเป็นกรมใหม่<br />

เรียกว่า กรมยุทธนาธิการ (Department of War and<br />

Marine) เพื่อบังคับบัญชาทหารบกและทหารเรือ<br />

อย่างสมัยใหม่ทั้งหมด ซึ่งในพระราชบัญญัติฉบับนี้<br />

ได้กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๒.๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง<br />

ดำรงพระราชอิสริยยศในตำแหน่งจอมทัพ<br />

๒.๒) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม<br />

มกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทั่วไป<br />

แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์<br />

วรเดช ทรงเป็นผู้แทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร<br />

ซึ่งในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น<br />

ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

๒.๓) นายพลตรี กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ<br />

เป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารบก<br />

๒.๔) นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิท<br />

วงศ์ เป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ<br />

๒.๕) นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรม<br />

ขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ใช้จ่าย<br />

๒.๖) นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ฝ่ายยุทธภัณฑ์<br />

40<br />

๒.๗) นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมหมื่นประจักษ์<br />

ศิลปาคม เป็นผู้บัญชาการรักษาพระราชวัง<br />

๓) เนื่องจากการจัดหน่วยที่มีลักษณะเป็นกรม<br />

มีจุดอ่อนที่เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อกัน พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงจัดระเบียบ<br />

บริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยยกฐานะกรม<br />

ยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ เมื่อวันที่<br />

๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

เป็นเสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม<br />

แสง-ชูโต) เป็น ผู้บัญชาการทหารบก และให้<br />

กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ<br />

ทั้งให้แบ่งส่วนราชการกระทรวงยุทธนาธิการ ออกเป็น<br />

๒ ฝ่าย กล่าวคือ<br />

๓.๑) ฝ่ายพลเรือน ทำหน้าที่ด้านธุรการ<br />

การบริหาร และการส่งกำลังบำรุง โดยมี เสนาบดี<br />

กระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

๓.๒) ฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นส่วนกำลัง<br />

รบ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ กรมทหารบก และ<br />

กรมทหารเรือ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพ และทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ<br />

สยามมกุฎราชกุมาร รับสนองพระบรมราชโองการ<br />

นอกจากนี้ยังได้ขยายอัตราและจัดระเบียบราชการ<br />

ทหารในภูมิภาคอีกด้วย<br />

๔) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ หลังจากวันที่<br />

๑ เมษายน ๒๔๓๕ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

จัดตั้งกระทรวง ๑๒ กระทรวงแล้ว ยังได้แยก<br />

การบังคับบัญชาการทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง<br />

จาก กระทรวงยุทธนาธิการ ไปขึ้นกับกระทรวง<br />

กลาโหม สำหรับกระทรวงยุทธนาธิการ ให้ลด<br />

ฐานะเป็นกรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ปกครอง<br />

บังคับบัญชาทหารบก พร้อมทั้ง ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้า


น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็น ผู้บัญชาการกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

กับให้มีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีด้วย ทั้งให้แบ่งส่วนราชการกรมยุทธนาธิการ เป็น ๑๔ หน่วย ประกอบด้วย<br />

กรมทหารบกใหญ่ กรมปลัดทัพบกใหญ่ กรมยกรบัตรทหารบกใหญ่ กรมยุทธภัณฑ์ กรมคลังเงิน โรงเรียน<br />

นายร้อย โรงเรียนนายสิบ กองทหารหน้า กองทหารม้า กองทหารปืนใหญ่ กองทหารมหาดเล็ก กองทหาร<br />

รักษาพระองค์ กองทหารล้อมวัง และกองทหารฝีพาย<br />

๕) ใน ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรงต่อกระทรวง<br />

กลาโหม และเพื่อความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา หลังจากนั้น จึงได้มีการพัฒนาภารกิจและการจัด<br />

ของกรมยุทธนาธิการ เป็น ภารกิจและการจัดของ กองทัพบก จนถึงปัจจุบัน<br />

บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกรมยุทธนาธิการ<br />

ตามพระราชบัญญัติจัดการทหาร เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๓๐<br />

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

(ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ)<br />

นายพลตรี กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ<br />

(ผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารบก)<br />

นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์<br />

(ผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ)<br />

นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์<br />

(เจ้าพนักงานใหญ่ใช้จ่าย)<br />

นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

(เจ้าพนักงานใหญ่ฝ่ายยุทธภัณฑ์)<br />

นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม<br />

(ผู้บัญชาการรักษาพระราชวัง)<br />

41


๒๖. หน่วยทหารที่มีที่ตั้งในโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลายุทธนาธิการ<br />

ในยุคแรกมีการนำทหารทั้ง ๑๓ กรม (ยกเว้น<br />

กองทหารฝีพาย) มาอยู่ในศาลายุทธนาธิการ<br />

ในเวลาต่อมา มีการขยับขยายหน่วยออกไปนอก<br />

พื้นที่ อาทิ โรงเรียนนายร้อย และโรงเรียนนายสิบ<br />

แต่ก็มีการตั้งหน่วยทหารเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความ<br />

สมบูรณ์เป็นมาตรฐาน เป็นดังนี้<br />

• กรมปลัดทัพบก<br />

• กรมยกรบัตรทัพบก<br />

• กรมเสนาธิการทหารบก<br />

• จเรทัพบก<br />

• กรมคลังเงินทหารบก<br />

• กรมพระธรรมนูญทหารบก<br />

• ศาลกรมยุทธนาธิการ<br />

• กรมเกียกกายทัพบก<br />

• กรมช่างแสง<br />

• กรมแพทย์ทหารบก<br />

• กรมราชองครักษ์<br />

• แผนกสารวัตรใหญ่ทหารบก<br />

• และอีก ๑๐ กองพล ในกรุงเทพฯ และ<br />

ภูมิภาค<br />

อย่างไรก็ตาม การที่มีหน่วยทหารที่มีที่ตั้ง<br />

ในศาลายุทธนาธิการ รวม ๑๒ หน่วยข้างต้น<br />

จึงทำให้สามารถบรรจุกำลังพลที่เข้ามาอยู่ในศาลา<br />

ยุทธนาธิการได้จำนวนถึง ๑ กองพล ซึ่งถือได้ว่า<br />

เป็นหน่วยทหารที่เป็นมาตรฐานและสมบูรณ์แบบ<br />

มากที่สุด<br />

๒๗. โรงทหารหน้าอาคารแห่งความสมบูรณ์<br />

แบบทางทหาร<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า การออกแบบอาคาร<br />

โรงทหารหน้า ที่มีขนาดอาคาร กว้าง ๓ เส้น ๑๐ วา<br />

ยาว ๕ เส้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะบริหารจัดการเพื่อ<br />

ดูแลกำลังพล ยุทโธปกรณ์ การสนับสนุนการรบ และ<br />

สิ่งอำนวยความสะดวกจำนวนมาก หากพิจารณา<br />

จากการใช้ประโยชน์ตามที่มีการบันทึกไว้ จะพบว่า<br />

๑) ชั้นล่างเป็นที่ฝึกหัดการฟันดาบ ชั้นกลางเป็น<br />

ที่ประชุมนายทหาร ชั้นบนเป็นที่เก็บพิพิธภัณฑ์<br />

สำหรับเครื ่องทหาร และยังมีประตูใหญ่สองข้าง<br />

มีห้องทหารคอยเหตุ และรักษายามทั้งสองข้าง<br />

ด้านหน้าชั้นล่างเป็นคลังเก็บเครื่องครุภัณฑ์และ<br />

ยุทธอาภรณ์ โดยแบ่งเป็น<br />

๒) ด้านขวาชั้นล่างเก็บปืนใหญ่ ชั้นบนเป็น<br />

ที่อยู่ของทหารปืนใหญ่ โรงข้างโรงช้างนั้นเดิมเป็น<br />

โรงม้าหลวงชั้นนอกชั้นเดียว ครั้นจะรื้อทำใหม่<br />

ทั้งหมดก็จะเปลืองพระราชทรัพย์มากไป จึงให้แก้ไข<br />

โรงม้าเก่าให้เป็น ๒ ชั้นขึ้น ชั้นล่างให้ม้าอยู่ ชั้นบน<br />

ให้ทหารม้าอาศัย<br />

๓) โรงใหญ่ข้างขวาแบ่งเป็นห้องนายแพทย์<br />

ทหารและโรงพยาบาลทหาร ถัดโรงใหญ่นั้นเป็น<br />

โรงฝึกหัดม้า เพราะในเวลานั้นก็ได้สั่งม้าเทศ ซึ่งได้<br />

หัดแล้วบ้าง ยังบ้าง ม้ามาจากเกาะออสเตรเลียมี<br />

จำนวน ๓๕๐ ม้าเศษ ทั้งมีนายอัศวแพทย์, ผู้ฝึกหัด<br />

ม้าและช่างทำรองเท้าม้าเข้ามาอยู่ด้วย พร้อมโรง<br />

ใหญ่ชั้นล่างทำเป็นโรงไว้ม้าและรถพระที่นั่ง สำหรับ<br />

เมื่อมีการจะเสด็จพระราชดำเนินโดยด่วนในที่ใดๆ<br />

ก็ทรงรถพระที่นั่งและม้าเทศเหล่านี้<br />

๔) ด้านซ้ายต่อจากโรงทหารใหญ่ ถึงหอ<br />

นาฬิกาที่หอนั้นเป็นที่เก็บเครื่องสนามและเครื่อง<br />

ยุทธภัณฑ์ต่างๆ ชั ้นล่างเป็นที่สำหรับสูบน้ำขึ้น<br />

บนถึงสูง และเป็นโรงงานทหารช่างต่างๆ ที่หอ<br />

นาฬิกาชั้น ๓ เป็นถึงเหล็กใหญ่สำหรับเก็บน้ำใส<br />

และเปิดใช้น้ำนี้ได้ทั่วโรงทหารทั้ง ๓ ชั้น เพราะ<br />

มีแป๊บฝังอยู่ตามฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น บันไดใหญ่<br />

ทุกๆ บันไดทำห้องสำหรับถ่ายปัสสาวะ บันไดละ<br />

๒ ห้องทุกๆ ชั้น และมีท่อน้ำไหลมาสำหรับชะล้าง<br />

42


ไม่ให้มีกลิ่นเหม็นด้วย ที่ตามมุมสนามหญ้าสำหรับฝึกหัดทหารนั้นมีที่สำหรับ<br />

ถ่ายปัสสาวะทุกสี่มุมๆ หนึ่งมีที่ถ่ายสำหรับ ๔ คน<br />

๕) กับตั้งโรงสูบน้ ำขึ้นที่ท่าช้าง มีเครื่องสูบน้ ำด้วยสะตรีมประจำอยู่สองเครื่อง<br />

ถ้าถึงฤดูน้ำเค็มก็สูบน้ำขึ้น เวลาน้ำลงงวดน้ำที่สูบมานี้ไหลมาตามท่อต่างๆ<br />

ซึ่งมีขนาดกว้าง ๘ นิ้ว<br />

๖) ริมถนนใหญ่รอบโรงทหารได้ปลูกกอไม้ไผ่สีสุกทั้ง ๓ ด้าน เพื่อป้องกัน<br />

แสงแดดที่จะส่องเข้ามาถึงเฉลียงรอบโรงทหารชั้นใน กับบริเวณโรงทหารนั้น<br />

มีสระอาบน้ำสำหรับทหารอาบน้ำและหัดว่ายน้ำหนึ่งสระ<br />

๗) ต่อสระมามีฉางสำหรับเก็บข้าวสาร ทำไว้เป็นห้องๆ เพื่อข้าวสารเก่า<br />

แล้วก็ใช้ไปเสียก่อนเอาข้าวสารใหม่เพิ่มเติมเข้ามาเก็บไว้ ผลัดเปลี่ยนเวียนกันไป<br />

เช่นนี้เสมอ ฉางข้าวนี้คิดทำขึ้น ก็เพื่อที่จะทำไว้แทนฉางข้าวเก่าในพระนคร<br />

ซึ่งได้รื้อออกเสียนั้น<br />

๘) ต่อห้องเก็บเข้าไปอีกหลังหนึ่ง ก็เป็นครัวใหญ่สำหรับทำอาหารเลี้ยง<br />

ทหารทั่วไป<br />

๙) ใต้ครัวลงไปอีกขุดเป็นบ่อลึกก่อเป็นสามห้อง ชั้นล่างเป็นโพรงเพื ่อเก็บ<br />

น้ำที่กรองใสแล้ว สำหรับสูบขึ้นถึงดังกล่าวมาแล้ว ส่วนที่แบ่งเป็นสามห้องนั้นชั้น<br />

ล่างที่สุดใช้อิฐย่อยก้อนเล็กๆ โรยรองเป็นพื้นเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วเอาเศษผงถ่าน<br />

ย่อยๆ โรยทับเป็นชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ใช้เม็ดทรายหยาบโรยทับถ่าน ชั้นที่ ๔ ทราย<br />

บางพูดอย่างเมล็ดละเอียดโรยทับไว้ข้างบนหนามาก เมื่อสูบน้ำขึ้นที่ท่าช้างแล้ว<br />

น้ำก็ไหลผ่านมาในห้องกรองนี้ก่อนจนเป็นน้ำใส แล้วก็สูบขึ้นสู่ถังสูงนั้น สิ่งของที่<br />

กล่าวมาทั้งนี้ยังปรากฏทั้งสิ้น ทั้งที่ท่าช้างก็ยังมีท่อโผล่อยู่ข้างสะพานจนทุกวันนี้<br />

๑๐) ชั้นที่ ๔ เป็นหอนาฬิกามีหน้าปัดนาฬิกาสองทาง การที่ทำนาฬิกาขึ้นนี้<br />

เพราะมีความประสงค์จะให้เป็นการทานแก่มหาชนซึ่งสัญจรไปมาให้รู้เวลาได้<br />

ทั่วถึงกัน<br />

๑๑) ชั้นที่ ๕ เป็นที่ทหารยามรักษาเหตุการณ์ กับมีเครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่อง<br />

ฉายไฟฟ้าอยู่บนนั้นด้วย เรียกได้ว่า โรงทหารหน้ามีการบริหารจัดการได้อย่าง<br />

สมบูรณ์แบบและมีระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณสุขที่ดีครบถ้วน<br />

43


๒๘. ระบบการผลิตน้ำประปาของโรงทหารหน้า<br />

โรงทหารหน้า มีการจัดระบบการผลิตน้ำประปาเป็นของตนเอง เพราะหาก<br />

พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ทหารไทยเริ่มมีระบบการผลิตน้ ำประปาใช้เอง กล่าวคือ<br />

๑) มีการขุดเป็นบ่อลึกแบ่งออกเป็น ๓ ห้อง บริเวณใต้ห้องครัว (บริเวณ<br />

ริมถนนกัลยาณไมตรี ก่อนถึงสะพานช้างโรงสี ที่ในบันทึกระบุไว้ว่า ท่าช้าง หรือ<br />

ถ้าในปัจจุบัน ก็คือบริเวณใกล้กับที่ตั้ง ธนาคารทหารไทย สาขากระทรวงกลาโหม<br />

๒) โดยแต่ละบ่อจัดทำเป็นโพรงน้ำด้านล่างสุดเชื่อมถึงกันตั้งแต่บ่อที่ ๑ ถึง<br />

บ่อที่ ๓<br />

๓) มีการจัดทำระบบกรองน้ำแต่ละบ่อ ด้วยการดำเนินการวางชั้นกรอง<br />

จากล่างขึ้นบน คือ<br />

๓.๑) ชั้นที่หนึ่งหรือชั้นล่างสุด ใช้อิฐย่อยก้อนเล็กๆ โรยรองเป็นพื้น<br />

๓.๒) ชั้นที่สองเหนือขึ้นมา ใช้เศษผงถ่านย่อยๆ โรยทับชั้นล่างสุด<br />

๓.๓) ชั้นที่สาม ใช้เม็ดทรายหยาบโรยทับถ่านของชั้นที่สอง<br />

๓.๔) ชั้นที่สี่หรือชั้นบนสุด ใช้ทรายเมล็ดละเอียด (จากตำบลบางพูด<br />

อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นทรายคุณภาพดี) โรยทับอย่างหนาแน่น<br />

ไว้ข้างบน<br />

๔) จัดเครื่องสูบน้ำจากคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) บริเวณเชิงสะพาน<br />

ช้างโรงสี มาถ่ายลงชั้นบนของบ่อที่หนึ่ง เมื่อน้ำคลองผ่านระบบกรองแล้วก็จะ<br />

ไหลผ่านโพรงเชื่อมไปยังบ่อที่สองและสาม ในลักษณะเดียวกันจนเป็นน้ำสะอาด<br />

และปลอดภัยจึงใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำไปใส่ถังเก็บน้ำชั้นบนบริเวณชั้นสามของ<br />

อาคารด้านทิศใต้หัวมุมใกล้สะพานช้างโรงสี สำหรับท่าช้างที่กล่าวถึง<br />

๒๙. การระบบประปาของโรงทหารหน้า<br />

เมื่อโรงทหารหน้ามีระบบการผลิตน้ำประปาแล้ว ได้กำหนดแนวทางในการ<br />

ใช้น้ำด้วยการจัดระบบการประปาสาธารณะเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ก็ว่าได้ เพราะเมื่อผลิตน้ำสะอาดได้แล้วมีการสูบขึ้นพักไว้ในถังเหล็กขนาดใหญ่<br />

บริเวณชั้นสาม และมีการวางระบบท่อส่งน้ำ (Pipeline) เป็นท่อแป๊บฝังอยู่ตาม<br />

ฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น จึงสามารถ เปิดใช้น้ำประปาได้ทั่วโรงทหารหน้าทุกชั้น<br />

โดยเฉพาะ บันไดใหญ่ทุกแห่ง ได้จัดทำห้องสุขาสำหรับถ่ายปัสสาวะ บันได<br />

ละ ๒ ห้อง ทุกๆ ชั้น จึงได้ทำเป็นท่อน้ำไหลมาสำหรับชะล้าง เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่น<br />

ที่ไม่พึงประสงค์<br />

44


่<br />

นอกจากนี้ ตามมุมสนามหญ้าสำหรับฝึกหัดทหารในชั้นล่างนั้น ได้จัดทำ<br />

ห้องสุขาสำหรับถ่ายปัสสาวะทั้งสี่แห่ง และมีโถปัสสาวะแห่งละ ๔ โถ รวมทั้งมี<br />

ระบบประปาเพื่อบริการน้ำให้แก่กำลังพลอีกด้วย เรียกว่าทันสมัยและครบถ้วน<br />

มากในสมัยนั้น<br />

๓๐. ระบบสุขาภิบาลในโรงทหารหน้า<br />

การที่โรงทหารหน้ามีการวางระบบประปาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการสร้าง<br />

ระบบสุขาภิบาลให้แก่กำลังพล อาคาร และสภาพแวดล้อม ซึ่งจากการศึกษา พบว่า<br />

บริเวณด้านหลังอาคารหรือด้านทิศตะวันออกก่อนถึงคลองคูเมือง ได้จัดทำ<br />

เป็นสระน้ำ รวม ๒ สระ กล่าวคือ<br />

• สระที่หนึ่ง สำหรับให้ทหารอาบน้ำชำระร่างกาย<br />

• สระที่สอง สำหรับให้ทหารฝึกหัดว่ายน้ำเพื่อสมรรถภาพร่างกายและเพื่อ<br />

ความพร้อมในการเข้าพื้นที่การรบ<br />

ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู ได้ปลูกกอไม้ไผ่สีสุกทั้ง ๓ ด้าน ริมถนนใหญ่<br />

รอบโรงทหารหน้า เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะส่องเข้ามาถึงเฉลียงรอบโรงทหารหน้า<br />

ชั้นใน และเพื่อเป็นร่มเงา กับเป็นรั้วในตัวเอง<br />

สำหรับห้องสุขานั้น สันนิษฐานว่าคงอยู่ใกล้กับสระที่ใช้อาบน้ำ เพราะ<br />

สามารถควบคุมกลิ่นและความสะอาดได้ เนื่องจากการจัดการระบบสุขาภิบาล<br />

ในสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยเท่าในปัจจุบัน จึงต้องอยู่ห่างจากพื้นที่ทำงานหรือพื้นที่<br />

ฝึกฝน เพื่อป้องกันความสกปรกและแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ที่ต้องมีกำลังพล<br />

จำนวนมาก<br />

๓๑. ระบบสาธารณสุขในโรงทหารหน้า<br />

โรงทหารหน้า มีลักษณะเป็นทั้งที่ทำการ เป็นที่ฝึกฝนทหาร เป็นที่พักทหาร<br />

และมีการนำช้าง ม้า สำหรับใช้ในการศึก และม้าประจำรถพระที่นั่ง มาเลี้ยงใน<br />

พื้นที่ด้วย ย่อมมีความเป็นไปได้ที่กำลังพลอาจเจ็บป่วย และมีความเสี่ยงภัยที<br />

อาจเกิดโรคติดต่อจากคนไปยังคน หรือจากสัตว์ไปยังคนได้<br />

เรื่องนี้ทราบมาว่า มีการจัดระบบสาธารณสุขไว้อย่างชัดเจน กล่าวคือ<br />

๑) มีการจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของพื้นที่พัก<br />

พื้นที่เลี้ยงม้า คือ บริเวณอาคารด้านทิศเหนือ มีโรงเลี้ยงช้างและโรงเลี้ยงม้า<br />

โดยชั้นล่างให้ม้าอยู่ ชั้นบนให้ทหารม้าอาศัย ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว มีนายอัศวแพทย์<br />

(สัตวแพทย์) ผู้ฝึกหัดม้า และช่างทำรองเท้าม้าอาศัยอยู่ด้วย จึงเป็นการป้องกัน<br />

ในชั้นแรก<br />

45


๒) ถัดจากโรงเลี้ยงม้า ได้จัดสรรพื้นที่แบ่งเป็นห้องนายแพทย์ทหารและ<br />

โรงพยาบาลทหาร เพื่อให้บริการทางการแพทย์ให้แก่กำลังพล ซึ่งในสมัยต่อมา<br />

ได้จัดตั้ง กรมแพทย์ทหารบก เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการด้วย<br />

๓) การตั้งโรงครัว ได้ตั้งในด้านทิศตะวันออกใกล้กับคลองคูเมืองเดิม คือ พื้นที่<br />

สุดอาคารรอยต่อระหว่างด้านทิศใต้ ห้องผลิตน้ ำประปา จัดตั้งเป็นโรงครัว จึงท ำให้มี<br />

การแยกพื้นที่เพื่อความสะอาด และเป็นการวางรากฐานระบบสาธารณสุขในอาคาร<br />

โรงทหารหน้าไว้อย่างเหมาะสม<br />

๓๒. ระบบไฟฟ้าครั้งแรกในประเทศไทยในโรงทหารหน้า<br />

โรงทหารหน้าเป็นอาคารแรกของประเทศ ที่มีการผลิตไฟฟ้าและใช้ไฟฟ้า<br />

ได้เองโดยมีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องแรกและเป็นครั้งแรก<br />

ในสยาม โดย นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บังคับการกรมทหารหน้าในขณะนั้น ได้ใคร่ครวญแล้วเกรงว่าในกรณีที่จัดงาน<br />

กลางคืน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต้องมีการจุดเทียนไขพร้อมๆกันเป็นร้อย<br />

เล่ม และต้องใช้คนมากมายปีนป่ายอาคารเพื่อติดเทียนไข แม้ต่อมาจะเปลี่ยนมา<br />

ใช้โคมน้ำมันก็ตาม อาจเกิดเพลิงได้ ซึ่งทุกมุมห้องจะต้องมีถังปูนถังน้ำดักเอาไว้<br />

ทำให้เกิดความยุ่งยากและไม่ปลอดภัย กอปรกับท่านเองได้เคยเป็นอุปทูต<br />

ได้เดินทางไปกรุงปารีส ประเทศฝรั ่งเศส กับ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ได้พบเห็น<br />

กรุงปารีส สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้า ต่อเมื่อกลับมายังสยามจึงคิดว่า สยามน่าจะมี<br />

ไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศ<br />

นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้ลงทุนซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาทดลอง<br />

ใช้ ณ โรงทหารหน้า เป็นครั้งแรก และได้เปิดการใช้ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการในวันที่<br />

๒๐ กันยายน ๒๔๒๗ อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้แก่สยาม เรียกว่าเป็น<br />

นวัตกรรมที่สำคัญของประเทศในยุคนั้น<br />

๓๓. การวางระบบไฟฟ้าจากโรงทหารหน้า<br />

การผลิตกระแสไฟฟ้าครั้งแรกในสยามเกิดขึ้นในโรงทหารหน้า ทั้งนี้ เป็น<br />

ความพยายามอย่างยิ่งของ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

กล่าวคือ<br />

ภายหลังจากที่ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เดินทาง<br />

กลับถึงสยามพร้อมคณะทูตที่ไปยังกรุงปารีส ท่านดำริว่า สยามควรจะมีไฟฟ้าใช้<br />

แบบเดียวกับอารยประเทศ และการนี้หากจะกระทำให้สำเร็จได้แล้ว คงต้องเริ่มต้น<br />

ที่ภายในพระบรมมหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน<br />

46


นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้นำความขึ้น<br />

กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็<br />

มีพระราชดำรัสตอบมาว่า “ไฟฟ้า หลังคาตัด ข้าไม่เชื่อ”<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์<br />

มนตรี จึงตระหนักว่า ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจำเป็น<br />

ต้องหาหนทางหรือวิธีจูงใจให้ผู้ที่ไม่เคยเห็น หรือ<br />

ผู้ที่ไม่เคยใช้ไฟฟ้าบังเกิดความนิยมขึ้นมาก่อน จึง<br />

นำความไปกราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอกรม<br />

หมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ขอให้ช่วยกราบทูล สมเด็จ<br />

พระนางเจ้าพระบรมราชเทวี ให้ทรงรับซื้อที่ดินซึ่ง<br />

ได้รับมรดกจากบิดา ณ ตำบลวัดละมุด บางอ้อ ได้<br />

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ติดตั้งที่โรงทหารหน้า<br />

เป็นเงิน ๑๘๐ ชั่ง หรือ จำนวน ๑๔,๔๐๐ บาท<br />

เมื่อได้เงินมาแล้ว จึงหารือกับ นายมาโยลา (Malayo) ครูฝึกทหารชาวอิตาเลียน ที่มารับราชการ<br />

ในสยาม ให้เดินทางไปซื้อเครื่องจักรกลกำเนิดไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ โดยให้ซื้อเครื่อง<br />

กำเนิดไฟฟ้ามาสองเครื่องเพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนกันใช้งาน และซื้อสายเคเบิ้ลสำหรับพาดสายไปจนถึง<br />

พระบรมมหาราชวัง พร้อมจัดซื้อโคมไฟชนิดต่างๆ เข้ามาในประเทศ<br />

หลังจากได้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์แล้ว จึงได้ทดลองติดตั้งและฝังสายเคเบิ้ลใต้ดินจากโรงทหารหน้า<br />

ผ่านถนนสนามไชยไปยังพระบรมมหาราชวัง พร้อมติดตั้งโคมไฟ โดยเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน<br />

๒๔๒๗ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งสร้างความตื่นเต้น<br />

แก่ผู้พบเห็นเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างยิ่ง<br />

ในเวลาต่อมา ปรากฏว่าไฟฟ้าเป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ทั้งในราชสำนัก วังเจ้านาย และชาวบ้าน<br />

ผู้มีฐานะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน<br />

ที่นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี ใช้จ่ายไปในการติดตั้งวางระบบไฟฟ้าคืนให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์<br />

มนตรี จึงวางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพฯได้ใช้ไฟฟ้า แต่เกิดมีราชการ<br />

สงครามปราบฮ่อ เป็นเวลานาน โครงการของท่านจึงต้องระงับไว้ก่อน แต่<br />

อย่างไรก็ตาม ไฟฟ้าก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในพระนครเป็นอันมาก<br />

โทรศัพท์<br />

๓๔. ระบบโทรศัพท์ในโรงทหารหน้า<br />

เราไม่ควรลืมว่าการทำงานของโทรศัพท์คือการใช้ประโยชน์จาก<br />

พลังงานไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อสามารถใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนกิจกรรมได้ ก็เป็น<br />

บ่อเกิดของพลังงานได้ด้วย<br />

เนื่องจาก ภัยคุกคามจากชาติตะวันตกทวีความรุนแรงมากขึ้น<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงให้ความสำคัญ<br />

ต่อการแจ้งข่าว เรื่องภัยจากข้าศึกอันเป็นภัยต่อความมั่นคง เมื่อมีการ<br />

47


ค้นพบระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ที่สามารถรับและส่งข้อความ พูดคุยตอบโต้<br />

กันได้โดยตรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการติดต่อสั่งซื้อระบบโทรศัพท์<br />

โดยทันทีที่ทรงทราบข่าวว่ามีการผลิตไว้จำหน่าย โดยเมืองไทยเริ่มต้นมีการใช้<br />

โทรศัพท์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ติดตั้งที่กรุงเทพฯ เครื่องหนึ่ง กับที่ปากน้ำ<br />

(จังหวัดสมุทรปราการ) อีกเครื่องหนึ่ง ใช้ประโยชน์จากสายโทรเลขระหว่าง<br />

กรุงเทพฯ กับปากน้ำ (ซึ่งกรมกลาโหมได้สร้างไว้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๑๘ เพื่อแจ้งข่าว<br />

เกี่ยวกับการผ่านเข้าออกปากแม่น้ำเจ้าพระยาของเรือกลไฟ)<br />

จึงได้มีการขยายผลมาใช้ประโยชน์ในการแจ้งข่าวสารความมั่นคงให้แก่หน่วย<br />

ทหาร เพื่อการเตรียมความพร้อมในการป้องกันประเทศ และทำการติดตั้งระบบ<br />

โทรศัพท์ใช้ที่โรงทหารหน้าในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบไฟฟ้า<br />

ของโรงทหารหน้า<br />

๓๕. การให้บริการแสงสว่างของโรงทหารหน้า<br />

โดยปกติแล้ว โรงทหารหน้ามีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่างภายในอาคาร<br />

มีการบันทึกว่าติดตั้งบริเวณมุมอาคารและประตูทางเข้าออก เพื่อใช้ประโยชน์<br />

ของแสงสว่างในการปฏิบัติหน้าที่เวรยามภายในโรงทหารหน้า<br />

นอกจากนี้ ด้านมุมท้ายสุดของอาคารบริเวณทิศเหนือใกล้สะพานช้างโรงสี<br />

บริเวณชั้นที่ห้าของอาคาร เป็นที่ตั้งของทหารยามรักษาเหตุการณ์ จึงมีการติดตั้ง<br />

เครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่องฉายไฟฟ้าอยู่ด้านบนเพื่อใช้ประโยชน์ในยามฉุกเฉิน<br />

และทราบมาว่า ทุกมุมด้านนอกของอาคาร โดยเฉพาะบริเวณถนนสนามไชย<br />

ถนนกัลยาณไมตรี และถนนหลักเมือง มีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่างขึ้นหลายจุด<br />

เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัย และยังเป็นการให้บริการแสงสว่าง<br />

แก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาด้วย<br />

ซึ่งปัจจุบัน ยังพอมีให้เห็นลักษณะของการประดับโคมไฟฟ้าคือ บริเวณประตู<br />

ทางเข้าหน้าศาลาว่าการด้านทิศใต้ ยังเห็นโคมไฟฟ้าแสงสว่างให้เห็นอยู่อีกหนึ่ง<br />

โคม แม้ว่าจะเป็นโคมยุคหลัง แต่พออนุมานได้ว่ามีการติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่าง<br />

บริเวณใด ถ้าสะดวกลองไปชมดูได้<br />

๓๖. การให้บริการสาธารณะของโรงทหารหน้า<br />

เคยมีการบันทึกเรื่องราวถึงการใช้ประโยชน์ของโรงทหารหน้า ที่ว่า “ชั้นที่ ๔<br />

เป็นหอนาฬิกามีหน้าปัดนาฬิกาสองทาง การที่ทำนาฬิกาขึ้นนี้ เพราะมีความ<br />

ประสงค์จะให้เป็นการทานแก่มหาชนซึ่งสัญจรไปมาให้รู้เวลาได้ทั่วถึงกัน”<br />

กล่าวคือ ด้านทิศใต้สุดอาคารก่อนถึงสะพานช้างโรงสีที่ชั้น ๕ หรือชั้นบนสุด<br />

มีห้องยามรักษาการณ์ซึ่งในต่ำลงมาหรือชั้น ๔ ได้ทำเป็นหอนาฬิการูปร่าง<br />

สี่เหลี่ยม และสร้างให้มีหน้าปัดนาฬิกาสองด้าน คือ<br />

48


• ด้านที่หนึ่ง หันหาคลองคูเมืองเดิมหรือคลองหลอด<br />

• ด้านที่สอง หันเข้าหาถนนกัลยาณไมตรี<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาได้รับทราบเวลา<br />

ซึ่งขอเรียนให้ทราบก่อนว่าในสมัยนั้นยังไม่มีนาฬิกาข้อมือ มีแต่นาฬิกาพก<br />

ที่มีสายห้อยนาฬิกานำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาสูงมาก จะมีผู้ใช้ก็คือ<br />

เจ้านาย ข้าราชการระดับสูงและผู้มีอันจะกินเท่านั้น ระดับประชาชนธรรมดา<br />

ยากที่จะเป็นเจ้าของ ดังนั้นการที่โรงทหารหน้าเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ทราบเวลา<br />

โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงถือว่าเป็นการบริการประชาชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต<br />

ให้ราษฎรสยามในยุคนั้น<br />

หอนาฬิกาบริเวณชั้น ๔ ของโรงทหารหน้า (ด้านหลัง)<br />

49


๓๗. หอคอยของโรงทหารหน้า<br />

น่าเสียดายที่หอนาฬิกาได้ถูกรื้อถอนออกไป<br />

นานมากแล้ว และหอสูงดังกล่าวก็ไม่มีให้เห็นแล้ว<br />

ซึ่งจากการศึกษาถึงพัฒนาการของหอสูงดังกล่าว<br />

สามารถสรุปได้คือ<br />

๑) หากยังจำได้บริเวณดังกล่าวมีการใช้พื้นที่<br />

ชั้นที่ ๓ เป็นที่ตั้งถังเก็บน้ำประปาของโรงทหาร<br />

หน้าชั้นที่ ๔ เป็นหอนาฬิกา และชั้นที่ ๕ เป็นหอ<br />

สำหรับยามรักษาการณ์หรือยามคอยเหตุ ที่ต้อง<br />

ตั้งบริเวณนี้ เพื่อให้ทหารยามสามารถตรวจการณ์<br />

รอบพระนครได้ในระยะไกล เพราะในสมัยนั้นยัง<br />

ไม่มีตึกสูง อย่างมากก็คืออาคารสองชั้น ดังนั้น จึง<br />

สามารถใช้ประโยชน์ในการระวังป้องกันทั้งภัยจาก<br />

ราชศัตรู อัคคีภัย (เพราะสามารถเห็นควันไฟได้ใน<br />

ระยะไกลและกว้างรอบ ๓๖๐ องศา) ในสมัยนั้นเรียก<br />

ว่าหอคอย (ซึ่งแผลงมาจากหอสำหรับยามคอยเหตุ)<br />

๒) ในเวลาต่อมา ทางราชการมีความจำเป็น<br />

ต้องใช้พื้นที่บริเวณหอกลอง (บริเวณสวนเจ้าเชตุ)<br />

เพื่อตัดถนนสนามไชย และหมดความจำเป็นที่จะ<br />

ต้องใช้การตีกลองบอกสัญญาณ ของกลอง ๓ ใบ<br />

คือ กลองย่ำพระสุรีย์ศรี กลองอัคคีพินาศ และ<br />

กลองพิฆาตไพรี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้นำกลองทั้งสามใบมาเก็บรักษาบริเวณชั้น ๔<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

๓) เนื่องจากการสร้างหอคอยเป็นทรงสี่เหลี่ยม<br />

และมีการติดตั้งนาฬิกาในชั้นที่ ๔ ทำให้เกิดผลเสีย<br />

ต่อตัวอาคาร เพราะต้องรับแรงต้านจากลมและฝน<br />

ทำให้อาคารทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับ<br />

ความไม่คงทนของนาฬิกาที่ประสบปัญหาขัดข้อง<br />

เป็นประจำและการแพร่หลายของนาฬิกาพกที่มี<br />

มากขึ้น รวมทั้งมีวิทยุกระจายเสียงที่บอกเวลา<br />

สามารถรับฟังได้ทุกที่ จึงมีแนวความคิดที่จะ<br />

ปรับปรุงอาคารชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ (บริเวณหอคอย)<br />

ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จึงได้มีการปรับแต่งหอคอยให้มีลักษณะ<br />

ทรงกระบอกและมีกันสาดในชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ท ำให้<br />

สามารถตรวจการณ์ได้ทั้งสองชั้นและติดตั้งลำโพง<br />

เพื่อกระจายเสียงต่อสาธารณชนได้ นอกจากนี้<br />

ได้มีการนำกลองทั้ง ๓ ใบที่เคยเก็บรักษาที่ชั้น ๔<br />

ไปเก็บที่พระบรมมหาราชวังและพิพิธภัณฑสถาน<br />

แห่งชาติ พระนครในที่สุด<br />

๔) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมเกิดรอยแตกร้าว เนื่องเพราะการสร้าง<br />

หอคอยชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ในอดีตทำให้อาคาร<br />

ชั้นล่างต้องรับน้ำหนักมากและมีการรั่วซึม<br />

ของน้ำที่เกิดจากฝนซัดสาดเป็นประจำ เมื่อมี<br />

การก่อสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ประกอบกับเกิดความทรุดโทรมของหอคอย จึงได้<br />

รื้อถอนหอคอยออกและปรับให้คงเหลือเพียง ๓ ชั้น<br />

กับมุงหลังคาชั้น ๓ ปิดทั้งหมด จึงทำให้ไม่มีหอคอย<br />

มาจนถึงปัจจุบันนี้<br />

๓๘. การขนานนามที่ทำการกระทรวงกลาโหม<br />

ท่านใดที่เคยอ่านหนังสือบันทึกทางทหาร อาจ<br />

มีความสงสัยในเรื่องของคำเรียกอาคารสำคัญทาง<br />

ทหารแห่งนี้ว่า ศาลาว่าการกลาโหมบ้าง ศาลายุทธ<br />

นาธิการบ้าง ซึ่งก็กล่าวได้ว่าถูกต้องทุกชื่อ เพราะมี<br />

วิวัฒนาการและประวัติการบัญญัตินามหรือขนาน<br />

นามอาคารที่เรารู้จักในยุคปัจจุบันว่ากระทรวง<br />

กลาโหม ที่เป็นทางการ รวม ๓ ครั้ง กล่าวคือ<br />

50


๑) ปี พ.ศ. ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่าโรงทหารหน้า<br />

๒) ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อมีพระราชบัญญัติจัดการทหาร จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ และใช้โรงทหารหน้า<br />

เป็นที่ทำการกรมยุทธนาธิการ จึงขนานนามว่า ศาลายุทธนาธิการ<br />

๓) ปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เมื่อมีพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่กระทรวงกลาโหม ให้ลดฐานะจากกระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ เป็น กรมยุทธนาธิการ และย้ายกระทรวงกลาโหมเข้าสู่โรงทหารหน้าเดิม จึงขนานนามว่า<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

อย่างไรก็ตาม กรมยุทธนาธิการยังมีอยู่ ดังนั้นการเขียนที่อยู่ของหนังสือก็ยังคงใช้ได้ทั้งสองกรณี<br />

คือ ถ้าในกรณีที่หนังสือออกจากกรมยุทธนาธิการซึ่งเป็นส่วนกำลังรบ มักใช้ที่อยู่ว่า ศาลายุทธนาธิการ<br />

แต่หากเป็น กรณีที่หนังสือออกจากกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นส่วนบริหาร มักใช้ที่อยู่ว่า ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งมีความชัดเจนในตัวเองตามภารกิจ<br />

๓๙. พญาคชสีห์<br />

ก่อนจะถึงประตูทางเข้าออก ท่านจะเห็นรูป<br />

หล่อโลหะ องค์พญาคชสีห์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ<br />

กระทรวงกลาโหมในอดีต ซึ่งคชสีห์เปรียบได้กับ<br />

เหล่าทหารหาญทั้งปวงที่ปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติและ<br />

ราชบัลลังก์ สำหรับ องค์พญาคชสีห์ จึงถือเสมือน<br />

อธิบดีหรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของเหล่าคชสีห์<br />

ซึ่งมี ๒ องค์ คือ<br />

๑) พญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์ (หรือพญา<br />

คชสีห์ผู้ปกป้องแผ่นดินสยาม) ตั้งอยู่ ณ ประตูทางเข้า<br />

ด้านทิศใต้ (ประตูทางเข้า) ของกระทรวงกลาโหม<br />

๒) พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ (หรือพญา<br />

คชสีห์ผู้ปกป้องดูแลกำลังพลทหาร) ตั้งอยู่ ณ<br />

ประตูทางออกด้านทิศเหนือ (ประตูทางออก)<br />

ของกระทรวงกลาโหม<br />

โดยองค์พญาคชสีห์ทั้งสององค์ ได้ประดิษฐ์<br />

ขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และศาลาว่าการกลาโหม<br />

ครบ ๑๒๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สิริชัย<br />

ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม จึงมีแนวคิดที่จะ<br />

51


จัดสร้างประติมากรรมพญาคชสีห์หล่อด้วยโลหะ<br />

สำริด เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์<br />

การทหารไทย ซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดี และ<br />

ถวายการปกป้องพระราชจักรีวงศ์ โดยอาราธนา<br />

พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม<br />

และเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ได้เมตตานุเคราะห์<br />

ขนานนามประติมากรรมพญาคชสีห์ทั้งสององค์<br />

และได้มอบหมายให้ บริษัท เอเชีย ไฟน์ อาร์ท จำกัด<br />

ดำเนินการหล่อประติมากรรมพญาคชสีห์ทั ้ง<br />

สององค์ โดยมีกิจกรรมตามลำดับดังนี้<br />

• พิธีเททอง ในวันศุกร์ที่ ๑๔ เมษายน<br />

๒๕๔๙ ณ โรงหล่อบริษัท เอเชีย ไฟน์<br />

อาร์ท จำกัด อำเภอบางปะหัน จังหวัด<br />

พระนครศรีอยุธยา โดย พระพรหมวชิรญาณ<br />

กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาส<br />

วัดยานนาวา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ<br />

พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส<br />

• พิธีมังคลาภิเษก ในวันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน<br />

๒๕๔๙ ณ ลานอเนกประสงค์ ในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์<br />

ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ<br />

พระสังฆราช และประธานกรรมการ<br />

มหาเถรสมาคม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร<br />

เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลเอก สิริชัย<br />

ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน<br />

ฝ่ายฆราวาส<br />

• พิธีสมโภชเปิดผ้าแพรพญาคชสีห์ ในวัน<br />

อาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๙ ณ ด้านหน้า<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหม โดย ฯพณฯ<br />

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธาน<br />

องคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธี<br />

ทั้งนี้ พญาคชสีห์ทั้งสององค์มีขนาดเท่ากันคือ<br />

ความสูงจากเท้าถึงหัวไหล่ ๑.๒๐ เมตร ความสูง<br />

จากเท้าถึงปลายยอดมงกุฎ ๓.๒๐ เมตร ความสูง<br />

ของฐาน ๑.๓๐ เมตร เมื่อรวมความสูงจากฐาน<br />

ถึงปลายยอดมงกุฎ ๔.๕๐ เมตร องค์พญาคชสีห์<br />

ทั้งสององค์จึงเป็นทั้งสัญลักษณ์ของกระทรวง<br />

กลาโหม และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์<br />

ที่ปกป้องแผ่นดินและปกป้องทหารหาญ<br />

52


๔๐. ภูมิทัศน์หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

หากท่านเคยเห็นภาพศาลาว่าการกลาโหมในอดีต แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันแล้ว จะมีความ<br />

แตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องเพราะภาพศาลาว่าการกลาโหมที่ท่านเห็นมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละ<br />

รัชสมัย ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้มีการปรับภูมิทัศน์เพื่อความเหมาะสมกับการใช้งานและมีหลักคิดที่แตกต่าง<br />

กันไป รวมแล้วถึง ๔ รัชสมัย กล่าวคือ<br />

๑) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการด ำเนินการ<br />

ดังนี้<br />

๑.๑) จัดสร้างสัญลักษณ์ประจำโรงทหารหน้า ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำตราแผ่นดิน<br />

และพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) พร้อมคาถาบาลี ประดิษฐานที่หน้าจั่วอาคารมุขกลางที่สื่อความหมายถึง<br />

พระบรมเดชานุภาพองค์จอมทัพไทยที่ทรงพระราชทานกำเนิดสถานที่แห่งนี้ให้เป็นอาคารพระราชมรดก<br />

การทางทหารเพื่อความเจริญและความมั่นคงแห่งชาติสืบต่อไปในอนาคต รายละเอียดดังกล่าวมาแล้ว<br />

๑.๒) จัดสร้างรูปปูนปั้นหน้าซุ้มประตูทางเข้า - ออก โดยการปั้นในลักษณะปูนปั้นนูนต่ำ<br />

เป็นรูปหน้าทหารสวมหมวกแบบยุโรป และรูปปูนปั้นนูนสูงในส่วนหน้าองค์คชสีห์ ๒ องค์ ขนาบข้าง<br />

อยู่เหนือซุ้มประตูทางเข้า - ออก ด้านถนนสนามไชย<br />

๒) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการ<br />

ดังนี้<br />

๒.๑) จัดทำโคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสติเหนือซุ้มประตูทางเข้า - ออก เพื่อให้กำลังพล<br />

อ่านให้ขึ้นใจ ซึ่งเป็นการปลุกจิตสำนึกความรักชาติเมื่อครั้งสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

๒.๒) จัดทำพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ โดยพิจารณาจัดทำตามรูปแบบที่มีการจัดวางปืนใหญ่<br />

โบราณ ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst Military Academy) ประเทศอังกฤษ โดย<br />

จัดภูมิทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หลังจากนั้นปรับปรุงการจัดวางปืนใหญ่อีก ๑ ครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔<br />

ซึ่งรายละเอียดจะขอกล่าวในเรื่องเกี่ยวกับปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

53


54


๒.๓) ฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ โดยฝังปากกระบอกปืนใหญ่<br />

บริเวณด้านหน้าประตู ทางเข้า - ออก ข้างละ ๒ กระบอก รวมจำนวน ๔ กระบอก<br />

โดยกระทำในลักษณะเช่นเดียวกันกับภูมิทัศน์รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />

๒.๔) จัดสร้างศาลาทรงกลมประกอบภายในสนามด้านหน้า โดย<br />

การสร้างศาลาทรงกลมภายในลักษณะโปร่งมีเสาข้างใน ๘ เสา โดยให้เป็นที่<br />

ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่งหรือวงโยธวาทิต (Military Band) ซึ่งลักษณะ<br />

เช่นเดียวกันนี้ ได้จัดทำที่พระราชวังสราญรมย์ โดยสร้างเป็นศาลา ๘ เหลี่ยม<br />

ใช้สำหรับเป็นที่ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่ง<br />

๓) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยการปรับปรุง<br />

ตามนโยบายรัฐบาลในสมัยนั้น ดังนี้<br />

๓.๑) ต่อเติมมุขหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม พร้อมโคลง<br />

สยามานุสติประกอบ รายละเอียดดังกล่าวมาแล้วในข้อ ๑๘<br />

๓.๒) ปรับปรุงจัดวางปืนใหญ่ไทยโบราณ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๘๓<br />

เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยคงรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณกลางแจ้ง<br />

๔) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม ในวาระต่างๆ มีนโยบายให้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์<br />

ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ดังนี้<br />

๔.๑) จัดสร้างเสาธงชาติเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ<br />

๔.๒) ปรับปรุงการจัดวางปืนใหญ่ไทยโบราณ เพื่อความเหมาะสม<br />

และสนับสนุนการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ โดยมีการปรับปรุงการจัดวาง<br />

รวม ๓ ครั้ง กล่าวคือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗, พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๓๙ และ พ.ศ. ๒๕๔๗<br />

ตามลำดับ<br />

๔.๓) จัดสร้างและจัดวางรูปหล่อโลหะลอยองค์พระยาคชสีห์ โดย<br />

จัดสร้างเป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์พญาคชสีห์ ๒ องค์ คือ พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์<br />

และพญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์ บริเวณก่อนถึงประตู ทางเข้า - ออก ทิศเหนือ<br />

และทิศใต้ตามลำดับ<br />

๔.๔) ปรับปรุงเสาธงชาติหน้าศาลาว่าการกลาโหม ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

เพื่อให้เกิดความทันสมัย สวยงาม และโดดเด่น บ่งบอกถึงความสง่างามของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม โดยดำเนินการตามแนวดำริของ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมท่านปัจจุบัน<br />

55


๔๑. เสาธงชาติ<br />

เสาธงชาติ ที่ประดิษฐานหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมได้รับการยกย่องว่ามีความสูงและอลังการ<br />

มาก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าเดิมทีเสาธงชาติ<br />

ประจำศาลาว่าการกลาโหม มิได้ประดิษฐานหน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหม แต่อย่างใด ในทางกลับกัน<br />

เสาธงชาติประจำศาลาว่าการกลาโหมประดิษฐาน<br />

อยู่ภายใน กล่าวคืออยู่บริเวณสนามภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม บริเวณทิศตะวันตกหรืออยู่หลัง<br />

มุขกลาง ต่อมาได้ขยับเสาธงชาติย้ายมาประดิษฐาน<br />

อยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยมีสาระสำคัญ<br />

ของการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑) จัดสร้างครั้งแรก เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล<br />

ในการร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ<br />

(พ.ศ. ๒๕๐๐) และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหมและข้าราชการในสังกัด<br />

จึงกำหนดสร้างเสาธงชาติที่มีความสูง ๒๕ เมตร<br />

ตามจำนวนครบรอบ พุทธศาสนา ๒๕ พุทธศตวรรษ<br />

โดยกำหนดฤกษ์สร้าง ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ ธันวาคม<br />

๒๔๙๗ (วันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเมีย จุลศักราช<br />

๑๓๑๖) เวลา ๑๒.๓๐ น. ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ<br />

ในการจัดสร้างคือ กรมยุทธโยธาทหารเรือ (กรมอู่<br />

ทหารเรือ ในปัจจุบัน) ทำการออกแบบและจัดสร้าง<br />

โดย พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ (อดีตอธิบดีกรม<br />

ศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ) อดีตสถาปนิกประจำ<br />

กรมยุทธโยธาทหารเรือ และได้ประกอบพิธีเชิญธง<br />

ขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๙๘<br />

เวลา ๐๘.๐๐ น. โดย พลโทหลวงสถิตยุทธการ<br />

(ยศในขณะนั้น) อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒) จัดสร้างครั้งที่สอง เพื่อปรับปรุงให้เกิด<br />

ความทันสมัย สวยงาม และโดดเด่น บ่งบอกถึง<br />

ความสง่างามของศาลาว่าการกลาโหม โดยดำเนินการ<br />

ตามแนวดำริของ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งทำพิธีตอกเสาเข็ม<br />

เพื่อเป็นมงคลในการก่อสร้างในวันศุกร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์<br />

๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๓๙ น. และได้ประกอบพิธีเชิญ<br />

ธงขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรกในวันศุกร์ที่ ๕ เมษายน<br />

๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. โดย พลเอก ทนงศักดิ์<br />

อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหมท่านปัจจุบัน<br />

๔๒. การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ<br />

เคยมีผู้ตั ้งข้อสังเกตและสงสัยจำนวนไม่น้อย<br />

และมักจะตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงต้องฝังปากกระบอก<br />

ปืนใหญ่โบราณ และที่หน้าศาลาว่าการกลาโหมก็มี<br />

การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณด้วย<br />

แนวความคิดการฝังปากกระบอกปืนใหญ่<br />

โบราณดังกล่าว ทำขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึง<br />

เขตแนว (หลักเขต) และเพื่อความมั่นคงของสถานที่<br />

ซึ่งปืนที่ใช้ฝังเป็นหลักเขตคือ ปืนคาร์โรเน็ต โดยมี<br />

สาระสำคัญ ดังนี้<br />

56


๑) ปืนคาร์โรเน็ต<br />

๑.๑) เป็นปืนใหญ่โบราณที่บรรจุกระสุน<br />

จากปากลำกล้อง ไม่มีเกลียวในลำกล้อง หล่อขึ้น<br />

ใช้ครั้งแรก ราวปี ค.ศ. ๑๗๗๖ หรือ ปี พ.ศ. ๒๓๑๙<br />

สมัยกรุงธนบุรี โดย บริษัท Iron Company Of<br />

Carron COMPANY (ตั้งอยู่ที่เมือง Stirlingshire<br />

ประเทศสกอตแลนด์)<br />

๑.๒) ลักษณะปืน ได้รับการออกแบบ<br />

ระหว่างหลักนิยมของปืนใหญ่และเครื่องยิงลูก<br />

ระเบิดเข้าด้วยกัน ไม่มีเพลาข้าง แต่มีเพลาเป็นแท่ง<br />

ติดใต้ลำกล้องทำให้สามารถยิงลูกกระสุนขนาดใหญ่<br />

ได้ นิยมนำไปติดตั้งบนเรือรบมีอานุภาพการปราบ<br />

ระยะประชิดการ<br />

๑.๓) เริ่มมีการสั่งซื้อเข้ามาในประเทศไทย<br />

พร้อมกับปืนบะเรียม (ปืนบะเหรียม หรือ ปืนใหญ่<br />

ทหารราบ ท้ายปืนมีรูปมน ปากกระบอกเรียวและ<br />

แคบ) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและต้น<br />

กรุงรัตนโกสินทร์<br />

๒) การจัดวางปืน<br />

๒.๑) บริเวณหน้าประตูเข้า - ออกศาลา<br />

ว่าการกลาโหม สันนิษฐานว่า มีการจัดตั้งปืน<br />

คาร์โรเน็ต บริเวณหน้าประตูเข้า - ออก ศาลาว่าการ<br />

กลาโหมในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์<br />

กล่าวคือ<br />

(๑) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เนื่องจากศาลาว่าการกลาโหมเป็นสถานที่<br />

ราชการแห่งแรกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง<br />

ขึ้นเช่นเดียวกับการฝังปืนใหญ่หุ้มปากกระบอกปืน<br />

ลงดินและทับท้ายด้วยกระบอกปืนขึ้นชี้ฟ้า (ฝัง<br />

ปากกระบอก) บริเวณถนนด้านหน้าศาลาสหทัย<br />

สมาคม และถนนภายในพระบรมมหาราชวังบริเวณ<br />

ประตูวิเศษไชยศรี หรือ<br />

(๒) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงพระราชทาน<br />

ปืนใหญ่โบราณให้แก่กระทรวงกลาโหม และทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์<br />

ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม ระหว่าง<br />

ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๖๒ โปรดเกล้าฯ ให้นำปืนใหญ่<br />

คาร์โรเน็ต มาตั้งไว้ที่บริเวณประตูทาง เข้า - ออก<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เนื่องเพราะพระองค์ทรง<br />

มีพระราชนิยมปืนใหญ่และเคยทอดพระเนตร<br />

การจัดตั้งปืนใหญ่ในยุโรป<br />

การจัดวางหมู่ปืนใหญ่โบราณ หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตามพระราชนิยมในสมัยของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นครั้งแรก (ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐)<br />

57


58<br />

ตำแหน่งการจัดวางปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม ในปัจจุบัน (ครั้งที่ ๖)<br />

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗


ลักษณะการจัดวาง สืบเนื่องด้วยคุณลักษณะ<br />

ของปืนคาร์โรเน็ต และพื้นที่บริเวณหน้าประตู<br />

เข้า - ออกศาลาว่าการกลาโหม จึงจำเป็นต้องหัน<br />

ปากกระบอกปืนลงดินและหันท้ายปืนขึ้นสู่ฟ้า<br />

๒.๒) บริเวณด้านข้างหลังศาลเจ้าพ่อหอกลอง<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม จัดตั้งในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

โดยนำปืนคาร์โรเน็ตที่เคยจัดวางไว้ในโรงปืนใหญ่<br />

ในพระบรมมหาราชวัง (ขุดค้นพบเมื่อครั้งบูรณ<br />

ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๕๒๕) และนำมาวางบริเวณด้านหลังศาล<br />

เจ้าพ่อหอกลอง (พระยาสีห์สุรศักดิ์) กลางสนาม<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อครั ้งจัดสร้าง<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลองใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖<br />

ทั้งนี้ การจัดวางปืนใหญ่โดยฝังปากกระบอก<br />

ปืนลงดินในกรุงเทพมหานครยุคต่อมาได้จัดทำขึ้น<br />

ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนนราชดำเนิน<br />

ซึ่งมีแนวคิดในการสร้าง กล่าวคือ<br />

“...ปืนใหญ่โบราณที่ปากกระบอกปืนฝังลงดิน<br />

โดยรอบอนุสาวรีย์เหมือนเป็นรั้ว<br />

ร้อยติดกันด้วยโซ่เหล็ก หมายถึง ความสามัคคี<br />

พร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ เว้นช่องเฉพาะ<br />

ทางขึ้นลง มี ๗๕ กระบอก หมายถึง พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง...”<br />

อย่างไรก็ตาม การวางปืนใหญ่โบราณที่มี<br />

ลักษณะที่แตกต่างจากที่ศาลาว่าการกลาโหมก็มีขึ้น<br />

ที่ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดย<br />

การวางปืนใหญ่ตั้งปากกระบอกปืนขึ้นสู่ฟ้าและนำ<br />

เอาเสาธงชาติมาติดตั้งต่อยอดจากปากกระบอกปืน<br />

และใช้เป็นเสาธงชาติของโรงเรียน<br />

๔๓. ปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม<br />

กระทรวงกลาโหม ที่ประชาชนชาวไทยรู้จัก<br />

มักจะรู้จักกันตรงที่มีปืนใหญ่ตั้งอยู่หน้ากระทรวง<br />

เป็นจุดสนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาว<br />

ไทยและต่างประเทศ ซึ่งหากท่านนัดกันกับเพื่อน<br />

มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

(วัดพระแก้ว) ส่วนใหญ่จะมีการกำหนดจุดนัดพบ<br />

กันที่หน้าปืนใหญ่ ซึ ่งมีประชาชนชาวไทยจำนวน<br />

ไม่น้อยต่างก็ให้ความสนใจในเรื่องปืนใหญ่หน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เพราะเปรียบได้ว่าเป็น พิพิธภัณฑ์<br />

กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม<br />

ปัจจุบัน ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมมีอยู่จำนวน ๔๐ กระบอก แต่มีแผนที่จะ<br />

นำปืนใหญ่อีก ๒ กระบอก มาตั้งอีกด้วย คือปืน<br />

พระมหาฤกษ์ และปืนพระมหาไชย ซึ่งปัจจุบันเก็บ<br />

รักษาไว้ที่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี<br />

ซึ่งก็ได้จัดเตรียมพื้นที่ไว้แล้วบริเวณข้างเสาธงชาติ<br />

ด้านทิศเหนือและทิศใต้<br />

ขอเรียนว่าปืนใหญ่ทุกกระบอกทั้ง ๔๐ กระบอก<br />

มีการใช้ต่อสู้ปกป้องรักษาเอกราชและอธิปไตยของ<br />

ชาติมาแล้วทั้งสิ้น และปืนทั้ง ๔๐ กระบอกใน<br />

ปัจจุบัน มีชื่อปืนรวม ๓๘ กระบอก ยกเว้นปืนใหญ่<br />

กระบอกเดียวที่ระบุเฉพาะปีที่สร้างและหมายเลข<br />

ปืน คือ P.1009 1860 และ P.1010 1860 อย่างไร<br />

ก็ตาม ในปืนใหญ่ที่มีชื่อทั้ง ๓๘ กระบอกนั้น ส่วน<br />

ใหญ่มีชื่อเป็นภาษาไทย แต่ก็มีพิเศษอยู่ ๑ กระบอก<br />

ที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ คือ SMICVEL 1624<br />

จึงสรุปได้ว่า ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม มีชื่อภาษาไทย ๓๗ กระบอก มีชื่อภาษา<br />

อังกฤษ ๑ กระบอก และไม่มีชื่ออีก ๒ กระบอก<br />

59


ปืนใหญ่ภูเขาแบบ ๓๐ ขนาดกว้างปากลำกล้อง ๗ เซนติเมตร<br />

ถ่ายในกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒<br />

๔๔. ประวัติและความเป็นมาของปืนใหญ่โบราณหน้ากระทรวงกลาโหม<br />

ปืนใหญ่โบราณที่ประดิษฐานหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหมหรือชื่อที่เรียกในสมัยโบราณคือ สีหนาท<br />

ปืนไฟ ซึ่งเป็นอาวุธสงครามที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงในระยะไกล มีไว้ประจำกองทัพมาแต่โบราณ<br />

ปืนใหญ่ที่ใช้ทั่วไปจะมี ปืนใหญ่ประจำป้อม และ ปืนใหญ่สนาม ตามหลักฐานที่ปรากฏประเทศไทยมีการใช้<br />

ปืนใหญ่มาตั้งแต่ปลายสมัยสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ปืนใหญ่ที่นำมาใช้ในกองทัพ มีทั้งปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นใช้เองและมีทั้งที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ประเทศไทย<br />

เริ่มหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้เองครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้หล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้ โดยโรงหล่อปืนใหญ่นั้นตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในหมู่บ้านฮอลันดา ว่ากันว่าปืนใหญ่<br />

ที่หล่อด้วยทองเหลืองของกรุงศรีอยุธยามีคุณภาพดีทัดเทียมกับปืนใหญ่ที่หล่อในยุโรป ทั้งยังทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ส่งปืนใหญ่ที่หล่อที่กรุงศรีอยุธยาส่งเป็นเครื่องบรรณาการเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีแด่พระเจ้า<br />

หลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส จำนวน ๒ กระบอก<br />

ประเทศไทยได้มีการหล่อปืนใหญ่ใช้อย่างต่อเนื่องเพราะถือเป็นแสนยานุภาพในการป้องกันประเทศ<br />

และต่อสู้กับข้าศึกขึ้นใช้ครั้งสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐานที่ปรากฏ<br />

พบปืนใหญ่ที่ประเทศไทยหล่อขึ้นเพื่อใช้เองมีอยู่จำนวน ๒๒๗ กระบอก ปืนใหญ่บางกระบอก จมน้ำหาย<br />

บ้าง ถูกทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาบ้าง<br />

สำหรับปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ได้มีการบันทึกและร้อยกรองไว้ใน กาพย์ห่อโคลงเห่ชม<br />

ปืนใหญ่ กระทรวงกลาโหม ในบทนำเป็นโคลงสี่สุภาพ ที่ว่า<br />

๐ เอกราชคงคู่ฟ้าเมืองไทย มั่นเอย<br />

มีสีหนาทปืนไฟ ต่อสู้<br />

จารึกเกียรติเกริกไกร คงมั่นเคียงด้าว<br />

ขานเพื่อชนไทยรู้ ก่อเกื้อศรัทธาฯ<br />

60


๔๕. ประเภทของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม สามารถจำแนก<br />

ตามหลักฐานที่ปรากฏอยู่ ออกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้<br />

๑. ปืนใหญ่โบราณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น จำนวน ๗ กระบอก ประกอบด้วย<br />

นารายน์สังหาร มารประไลย ไหวอรนพ พระพิรุณแสนห่า พลิกพสุธาหงาย<br />

พระอิศวรปราบจักรวาล และ พระกาลผลาญโลกย<br />

๒. ปืนใหญ่โบราณที่สร้างในต่างประเทศ จำนวน ๑๓ กระบอก ประกอบ<br />

ด้วย อัคนิรุท SMICVEL P1009 1860 P1010 1860 มักกะสันแหกค่าย<br />

เหราใจร้าย มังกรใจกล้า คนธรรพแผลงฤทธิ์ ลมประลัยกัลป พรหมมาศปราบมาร<br />

นิลนนแทงเขน ไวยราพฟาดรถ และ มหาจักรกรด<br />

๓. ปืนใหญ่โบราณที่ได้จากการไปราชการสงครามและนำกลับมา จำนวน<br />

๓ กระบอก ประกอบด้วย พญาตานี ชะนะหงษา และ ปราบอังวะ<br />

๔. ปืนใหญ่ที่สร้างในประเทศไทยโดย หลวงบรรจงรจนา เป็นผู้สร้าง จำนวน<br />

๖ กระบอก ประกอบด้วย ศิลป์นารายน์ ปีศาจเชือดฉีกกิน ธรณีไหว ไฟมหากาล<br />

มารกระบิล และ ปล้องตันหักคอเสือ<br />

๕. ปืนใหญ่อื่น จำนวน ๑๓ กระบอก ประกอบด้วย พระมหาฤกษ์ พระมหาไชย<br />

ถอนพระสุเมรุ ไตรภพพ่าย จีนสาวไส้ ไทยใหญ่เล่นหน้า ฝรั่งร้ายปืนแม่น<br />

ขอมดำดิน ยวนง่าง้าว เสือร้ายเผ่นทยาน สายอสุนีแผ้วราตรี มุหงิดทลวงฟัน และ<br />

แมนแทงทวน ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือการได้มาแต่อย่างใด<br />

61


๔๖. การแบ่งยุคของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้งที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

เพื่อความชัดเจนและเป็นการนำเสนอข้อมูลการสร้างปืนใหญ่โบราณที่นำมาจัดวางหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม สามารถแบ่งยุคของปืนใหญ่โบราณและปีที่สร้างเทียบเคียงตามประวัติศาสตร์ชาติไทยเป็นเกณฑ์<br />

สามารถแบ่งได้ ดังนี้<br />

ยุคที่ ๑ : กรุงศรีอยุธยา<br />

๑. ปืนอัคนิรุท สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๗ โดย ประเทศสเปน<br />

๒. ปืน SMICVEL สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๘ โดย ประเทศสเปน<br />

๓. ปืนเหราใจร้าย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๑๐ โดย ยาน เดอะ ล่าครัวกซ์<br />

๔. ปืนมังกรใจกล้า สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๑๓ โดย ยาน เดอะ ล่าครัวกซ์<br />

๕. ปืนชะนะหงษา สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

ยุคที่ ๒ : กรุงธนบุรี<br />

๖. ปืนคนธรรพแผลงฤทธิ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๑ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๗. ปืนมหาจักรกรด สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๑ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๘. ปืนปราบอังวะ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๙. ปืนพิรุณแสนห่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

ยุคที่ ๓ : กรุงรัตนโกสินทร์<br />

๑๐. ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๑. ปืนนารายน์สังหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๒. ปืนพลิกพสุธาหงาย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๓. ปืนมารประไลย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๔. ปืนไหวอรนพ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๑๕. ปืนพระกาลผลาญโลกย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

ทั้งนี้ ปืนลำดับ ๑๐ - ๑๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

๑๖. ปืนปีศาจเชือดฉีกกิน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๗. ปืนธรณีไหว สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๘. ปืนไฟมหากาฬ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๑๙. ปืนมารกระบิล สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๐. ปืนศิลปนารายน์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๑. ปืนปล้องตันหักคอเสือ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

๒๒. ปืนพรหมมาศปราบมาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

62


๒๓. ปืนลมประไลยกัลป สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๑ โดย เจ เบรังเยร์/ฝรั่งเศส<br />

๒๔. ปืน P 1009 1860 สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๓<br />

๒๕. ปืน P 1010 1860 สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๓<br />

๒๖. ปืนพญาตานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๙<br />

๒๗. ปืนไทยใหญ่เล่นหน้า<br />

๒๘. ปืนฝรั่งร้ายปืนแม่น<br />

๒๙. ปืนขอมดำดิน<br />

๓๐. ปืนยวนง่าง้าว<br />

๓๑. ปืนมุหงิดทลวงฟัน<br />

๓๒. ปืนแมนแทงทวน<br />

๓๓. ปืนจีนสาวไส้<br />

๓๔. ปืนมักกะสันแหกค่าย<br />

๓๕. ปืนนิลนนแทงเขน<br />

๓๖. ปืนไวยราพฟาดรถ<br />

๓๗. ปืนเสือร้ายเผ่นทยาน<br />

๓๘. ปืนสายอสุนีแผ้วราตรี<br />

๓๙. ปืนถอนพระสุเมรุ<br />

๔๐. ปืนไตรภพพ่าย<br />

ปืนพระพิรุณแสนห่า<br />

๔๑. ปืนพระมหาฤกษ์<br />

๔๒. ปืนพระมหาไชย<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ ปืนลำดับ ๒๗ - ๔๐ ไม่ทราบปีที่สร้างและผู้สร้าง แต่ปืนลำดับที่ ๔๑ - ๔๒ พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแต่ไม่ทราบปีสร้าง<br />

ปืนพญาตานี<br />

63


๔๗. รายละเอียดของปืนใหญ่โบราณที่จัดตั้ง<br />

ที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

รายละเอียดของปืนใหญ่โบราณที่จัดวาง<br />

บริเวณสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหมและมีแผน<br />

จะนำมาจัดวาง ทั้ง ๔๒ กระบอกมี ดังนี้<br />

๑) ปืนพระมหาฤกษ์ใช้สำหรับยิงเป็นสัญญาณ<br />

ยกทัพ และพระราชพิธี ลักษณะเด่นของปืน<br />

คือ มีลายประดับตัวปืนเป็นลวดลายคร่ำเงิน<br />

เป็นปืนใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

จัดสร้างขึ้นเป็นปืนคู่แฝด หล่อด้วยสัมฤทธิ์ มีขนาด<br />

เท่ากัน กล่าวคือ มีความยาว ๒.๒๐ เมตร ลำกล้อง<br />

กว้าง ๑๑๕ มิลลิเมตร<br />

๒) ปืนพระมหาไชย ใช้สำหรับยิงเป็นสัญญาณ<br />

ในยามมีชัยชนะ ลักษณะเด่นของปืนคือมีลาย<br />

ประดับตัวปืนเป็นลวดลายคร่ำทองเป็นปืนใหญ่ที่<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นเป็น<br />

ปืนคู่แฝด หล่อด้วยสัมฤทธิ์ มีขนาดเท่ากัน กล่าวคือ<br />

มีความยาว ๒.๒๐ เมตร ลำกล้องกว้าง ๑๑๕<br />

มิลลิเมตร<br />

โดยที่ ปืนลำดับที่ ๑ และ ๒ นี้ แต่เดิมอยู่ที่<br />

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาศูนย์การทหารปืนใหญ่<br />

ได้รับปืนพระมหาฤกษ์และปืนพระมหาไชย<br />

จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาจัดตั้งที่พิพิธภัณฑ์<br />

ทหารปืนใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๓ และ<br />

วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ตามลำดับ ต่อมา ในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๔๗ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ได้มอบปืน<br />

พระมหาฤกษ์ และปืนพระมหาไชย ให้กระทรวง<br />

กลาโหม จัดตั้งที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๓) ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล เป็นปืนที่<br />

หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายกนก<br />

หน้าสิงห์งดงามมาก ที่เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูป<br />

คนมีปีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น<br />

โดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

ปืนมารประไลย<br />

64


๔) ปืนพระกาลผลาญโลกย เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายหน้าสิงห์<br />

ประกอบกนกสวยงามมาก เพลามีรูปกินรี รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีกจับกนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด<br />

สร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตู<br />

วิเศษไชยศรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐ โดยหล่อเป็น<br />

ปืนคู่แฝดกับปืนพระอิศวรปราบจักรวาล<br />

๕) ปืนมารประไลย เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีห่วงสำหรับยก ๔ ห่วง ตอนท้าย<br />

ลำกล้องมีรูปคนมีลวดลายและรูปคนมีปีก เพลามีรูป<br />

ดอกไม้ รูชนวนมีฝาปิดเปิด มีรูปหนุมาน ท้ายล ำกล้อง<br />

ทำเป็นรูปสังข์หรือเขางอน มีลวดลายปะจัง ซึ่งทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่<br />

หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๖) ปืนไหวอรนพ เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก มีลวดลายประดับ เพลามีรูป<br />

ดอกไม้รูชนวนธรรมดา พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนน<br />

ประตูวิเศษไชยศรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๗) ปืนพระพิรุณแสนห่า เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีลวดลายประดับมีห่วงสำหรับจับยก<br />

๔ ห่วงมีรูปราชสีห์เผ่นผงาดที่เพลา รูชนวนมีรูปกนก<br />

หน้าสิงห์ขบท้ายรูปลูกฟัก สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง<br />

โดยหล่อ ณ สวนมังคุด บริเวณโรงพยาบาลวังหลัง<br />

คือ ศิริราชพยาบาลในพระราชพงศาวดาร<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงสร้าง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๐ ที่สร้างนั้นยังเป็น<br />

รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

๘) ปืนพลิกพสุธาหงาย เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีห่วงสำหรับจับยก ๔ ห่วง มีลวดลาย<br />

ประดับประดา เพลามีรูปคชสีห์ รูชนวนมีรูปกนก<br />

ท้ายรูปลูกฟัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง<br />

ขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษ<br />

ไชยศรี ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

๙) ปืนพญาตานี เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์<br />

มีห่วงใหญ่สำหรับจับยก ๔ ห่วง ตอนท้ายลำกล้อง<br />

มีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป ทำเป็นรูปสังข์<br />

หรือเขางอน ที่เพลามีรูปราชสีห์สลักงดงาม เกลี้ยง<br />

ไม่มีลวดลายประดับ ใหญ่และยาวที่สุด ในบรรดา<br />

ปืนโบราณที่ตั้งไว้หน้ากระทรวงกลาโหม นางพญา<br />

ปัตตานี ศรีวัน เจ้าเมืองปัตตานี (คือ จังหวัดปัตตานี<br />

ปัจจุบัน) ให้นายช่างชาวจีนฮกเกี้ยง แซ่หลิม ชื่อเคียม<br />

ซึ่งชาวมลายู เรียกกันว่า หลิมโต๊ะเคียม เป็นผู้สร้าง<br />

ณ ตำบลบ้านกะเสะ (กรือเซะ) ในเมืองปัตตานี<br />

วันเดือนปีที่หล่อไม่ปรากฏในหลักฐานสมเด็จ<br />

พระบรมราชจักรีวงศ์ ได้รับพระบรมราชโองการให้<br />

เป็นแม่ทัพ เสด็จยกทัพไปรบพม่าข้าศึก ซึ่งยกมาตี<br />

หัวเมืองภาคใต้ของไทย ครั้งทรงชนะข้าศึกแล้ว<br />

ได้ทรงปราบปรามหัวเมืองภาคใต้ ซึ่งมักคอยจะ<br />

เอาใจออกห่างจากไทยไปอื่น ทรงมีชัยชนะราบคาบ<br />

แล้วได้ปืนกระบอกนี้มาจากเมืองปัตตานี เมื่อปี<br />

มะเส็ง สัปตศก จ.ศ. ๑๑๔๗ (พ.ศ. ๒๓๒๙) และ<br />

นำมาทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๒๙<br />

๑๐) ปืนนารายน์สังหาร เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีวงแหวนใหญ่สำหรับจับยก ๔ วง<br />

ท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป ทำเป็น<br />

รูปสังข์หรือเขางอนเกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อ<br />

ที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๓๐<br />

65


๑๑) ปืนชะนะหงษา เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายล ำกล้องมีรูป<br />

ดอกไม้ ใบไม้ รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้าง ณ โรงงาน<br />

ที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๓๑๐ ปืนกระบอกนี้<br />

น่าจะได้โดยเสด็จไปในกองทัพ เพื่อใช้งานในราชการ<br />

สงคราม คราวที่ได้ชัยชนะพวกพม่าข้าศึกซึ่ง<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงดำรงตำแหน่งเป็นจอมทัพ เสด็จกรีธาทัพข้าม<br />

ทิวเขาเตนเนสเซอริม เข้ายึดเมืองทวายได้ เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๑๒) ปืนอัคนิรุทเป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปปีกและดาว ๑ ดวง มีรูป<br />

เครื่องหมายชาติสเปน สร้างที่ประเทศสเปน เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๑๖๗<br />

๑๓) ปืน SMICVEL ปืนกระบอกนี้เป็นปืน<br />

ที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่งมีรูปปีกและ<br />

ดาว ๑ ดวง มีรูปเครื่องหมายชาติสเปน สันนิษฐานว่า<br />

สร้างในประเทศสเปน เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๘<br />

๑๔) ปืนมังกรใจกล้า เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปกนกและรูปมงกุฎ<br />

รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า คนโปรตุเกสครึ่งชาติ<br />

ผู้เข้าไปอยู่ในราชสำนักพระเจ้าแผ่นดิน เว้นประเทศ<br />

อินโดจีน มีชื่อว่า LOAO DA CRUS หรือที่เรียกกัน<br />

ว่ายาน เดอะ ล่าครัวกซ์ เป็นนายช่างผู้สร้าง หรือ<br />

ควบคุมการสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๓ (ค.ศ. ๑๖๗๐)<br />

๑๕) ปืนเหราใจร้าย เป็นปืนที ่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปกนกและรูปมงกุฎ<br />

รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า คนโปรตุเกสครึ่งชาติ<br />

ผู้เข้าไปอยู่ในราชสำนักพระเจ้าแผ่นดิน เว้นประเทศ<br />

อินโดจีน เป็นนายช่างผู้สร้าง หรือควบคุมการสร้าง<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๗<br />

๑๖) ปืนคนธรรพแผลงฤทธิ์ เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่งตอนท้ายลำกล้อง<br />

66<br />

มีรูปมงกุฎและดอกไม้ใบไม้ รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้าง<br />

ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่างชื่อ<br />

เจ.เบรังเยร์ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๓๑๑<br />

๑๗) ปืนปราบอังวะ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

มงกุฎ และลายกนกใบไม้ รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้างที่<br />

โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ สันนิษฐานว่า น่าจะได้โดยเสด็จไป<br />

ในราชการสงคราม คราวพระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเป็นแม่ทัพ ยกไป<br />

รบพม่า ครั้งได้เมืองทวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

(จ.ศ. ๑๑๕๔) พระราชทานชื่อภายหลัง เพื่อเป็น<br />

ที่ระลึกในชัยชนะ เช่นเดียวกับปืนชะนะหงษา<br />

๑๘) ปืนมหาจักรกรด เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปดอกไม้ใบไม้ รูปมงกุฎบนลายกนก รูชนวนมีรูป<br />

กนก สร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดย<br />

นายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์ เมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๓๑๑<br />

๑๙) ปืนปีศาจเชือดฉีกกิน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายเครื่อง<br />

ประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปอาทิตย์ส่องแสง<br />

เพลามีรูปพญานาค รูชนวนมีรูปคนมีปีก โดยหลวง<br />

บรรจงรจนา เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อเมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๐) ปืนธรณีไหว เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอน<br />

ท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีกที่เพลามีรูปสิงโต โดยหลวงบรรจงรจนา<br />

เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๑) ปืนไฟมหากาฬ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง<br />

รูชนวนมีรูปคนมีปีก โดยหลวงบรรจงรจนา เป็น<br />

นายช่างผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕


ปืนนารายณ์สังหาร<br />

ปืนพลิกพสุธาหงาย<br />

67<br />

66


68


๒๒) ปืนมารกระบิล เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอน<br />

ท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีก โดยหลวงบรรจงรจนาเป็นนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๓) ปืนศิลป์นารายน์ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปคล้ายอาทิตย์ส่องแสง เพลามีรูปราชสีห์ รูชนวน<br />

มีรูปคนมีปีก โดยหลวงบรรจงรจนา เป็นนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๔) ปืนปล้องตันปราบเสือ เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์ส่องแสง<br />

ที่เพลามีรูปสิงโต รูชนวนชำรุด โดยหลวงบรรจงรจนา<br />

เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๕<br />

๒๕) ปืนพรหมมาศปราบมาร เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้อง<br />

มีรูปคนมีปีกจับกนก รูปมงกุฎกนกรูชนวนรูปดอกไม้<br />

สร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ เมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๓๓๕<br />

๒๖) ปืนลมประไลยกัลป เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปดอกไม้ใบไม้ มีรูปมงกุฎบนกนกรูชนวนรูปใบไม้<br />

สร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ เมื่อ ๑๒ กันยายน ๒๓๔๑<br />

๒๗) ปืนไทยใหญ่เล่นหน้า เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คนมีปีกจับกนก รอบท้ายลำกล้องมีลายดอกไม้ใบไม้<br />

ที่เพลามีรูปคนมีปีก ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง<br />

เมื่อไร หรือได้มาจากใคร<br />

๒๘) ปืนฝรั่งร้ายปืนแม่น เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมี<br />

รูปคนมีปีกจับกนก รอบท้ายลำกล้องมีลายดอกไม้<br />

ใบไม้ รูชนวนมีรูปคนมีปีกสันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทย<br />

สั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น<br />

สร้างในประเทศไทยตามแบบของนายช่างชื่อ<br />

เจ.เบรังเยร์<br />

๒๙) ปืนขอมดำดิน เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<br />

ปีกจับกนก รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า น่าจะ<br />

สร้างที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาล<br />

ไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือ<br />

มิฉะนั้นสร้างในประเทศไทยตามแบบของนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๐) ปืนยวนง่าง้าว เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายดอกไม้ใบไม้<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีปีกจับกนกเพลา มีรูป<br />

กินรี รูชนวนมีรูปกินรี สันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส<br />

๓๑) ปืนมุหงิดทลวงฟัน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คนมีปีกจับกนก เพลามีรูปกินรี มีลวดลายประดับ<br />

รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่<br />

โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทย<br />

สั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น<br />

ก็สร้างในประเทศไทยตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๒) ปืนแมนแทงทวน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คนมีปีกจับกนก เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีก<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศ<br />

ฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษา<br />

ต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น ก็สร้างในประเทศไทย<br />

ตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๓) ปืนจีนสาวไส้ เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายดอกไม้ใบไม้ประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีปีกจับกนก เพลามีรูป<br />

กินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

69


ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทย<br />

สั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น<br />

สร้างในประเทศไทยตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๓๔) ปืนมักกะสันแหกค่าย เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายดอกไม้<br />

ใบไม้ประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีปีกจับกนก<br />

เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมีปีก สันนิษฐานว่า<br />

น่าจะสร้าง ณ โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส<br />

โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ<br />

หรือมิฉะนั้น สร้างในประเทศไทยตามแบบของ<br />

เจ.เบรังเยร์<br />

๓๕) ปืนนิลนนแทงเขน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายดอกบัว รูชนวน<br />

ธรรมดา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปืนของญวน<br />

ซึ่งเก็บมาเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะในสงคราม<br />

ครั้งใดครั้งหนึ่ง<br />

๓๖) ปืนเสือร้ายเผ่นทยาน เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก เกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ<br />

ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มาอย่างไร<br />

เมื่อไร<br />

๓๗) ปืนไวยราพฟาดรถ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายดอกบัวรูชนวนธรรมดา<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปืนของญวน ซึ่งเก็บมาเป็น<br />

เครื่องหมายแห่งชัยชนะในสงครามครั้งใดครั้งหนึ่ง<br />

๓๘) ปืนสายอสุนีแผ้วราตรี เป็นปืนที่หล่อ<br />

ด้วยทองสัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยกคู่หนึ่ง เกลี้ยงไม่มี<br />

ลวดลายประดับ ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง<br />

หรือได้มาอย่างไร เมื่อไร<br />

๓๙) ปืนถอนพระสุเมรุ เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยก ๒ คู่ มีลวดลายประดับ<br />

เพลามีรูปดอกไม้ รูชนวนมีรูปคน ท้ายรูปลูกฟัก<br />

ผู้ใดสร้าง ณ ที่ใด เมื่อไร ใช้ราชการครั้งใดบ้าง<br />

ยังไม่พบหลักฐาน<br />

๔๐) ปืนไตรภพพ่าย เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก เกลี้ยงไม่มีลวดลาย เพลามีรูป<br />

ดอกไม้ รูชนวนธรรมดา ผู้ใดสร้าง ณ ที่ใดหรือได้มา<br />

อย่างไร ใช้ราชการครั้งใดบ้าง ยังไม่พบหลักฐาน<br />

๔๑) ปืน P 1009 1860 เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก ไม่มีชื่อภาษาไทย มีรูปมงกุฎ<br />

ที่กระบอก ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มา<br />

อย่างไร เมื่อไร<br />

๔๒) ปืน P1010 1860 เป็นปืนที่หล่อด้วยทอง<br />

สัมฤทธิ์ ไม่มีหูจับยก ไม่มีชื่อภาษาไทย มีรูปมงกุฎ<br />

ที่กระบอก ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มา<br />

อย่างไร เมื่อไร<br />

70


๔๘. การจัดภูมิทัศน์พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ<br />

ปืนใหญ่โบราณที่จัดวางหน้าศาลาว่าการกลาโหมที่เรียกว่า พิพิธภัณฑ์กลาง<br />

แจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม มีการจัดภูมิทัศน์ในการจัดวาง<br />

มาแล้ว รวม ๖ ครั้ง เรียงลำดับ ดังนี้<br />

๑) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะนำปืนใหญ่โบราณ ซึ่งมี<br />

เกียรติประวัติร่วมทำสงครามในกองทัพสยาม มาจัดแสดงให้สาธารณชนได้ชม<br />

ตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจการทหารตะวันตก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำ<br />

ปืนใหญ่โบราณที่เก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า มาจัดวางบริเวณ<br />

ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม สันนิษฐานว่า การจัดวางปืนใหญ่นี้เป็นไปตาม<br />

พระราชนิยมครั้งที่ทรงศึกษาวิชาทหาร ณ โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst<br />

Military Academy) ประเทศอังกฤษ ที่มีการจัดวางปืนใหญ่บริเวณด้านหน้าอาคาร<br />

College Chapel ของสถาบันทหารแห่งนี้ โดยจัดวางปืนใหญ่ที่มีเกียรติประวัติ<br />

ในการสงคราม จำนวน ๖ กระบอก ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ ดยุค ออฟ เวลลิงตัน<br />

(Duke of Wellington) ใช้ในสงครามที่ วอเตอร์ลู (Waterloo) ซึ่งสงครามครั้งนั้น<br />

เป็นสงครามที่อังกฤษสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสอันเกรียงไกรของกษัตริย์<br />

นโปเลียน (Napoleaon) ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จ<br />

พระอนุชาธิราชเจ้า เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ<br />

(พระยศในขณะนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก ให้ทรงดำเนินการ<br />

จัดวางปืนใหญ่และจัดภูมิทัศน์ จึงเป็นการจัดวางปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมและเป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์การทหารกลางแจ้งเป็นครั้งแรก ซึ่งในครั้งนี้<br />

ปืนใหญ่พญาตานีได้จัดวางด้านถนนกัลยาณไมตรี<br />

๒) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ นายพลเอก<br />

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ปลัดทูลฉลองและรั้งตำแหน่ง<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ปรับแผนการจัดวาง<br />

และนำปืนใหญ่โบราณจากโรงปืนใหญ่ในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า จำนวน<br />

๖๓ กระบอกมาจัดวาง ณ สนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม พร้อมจัดทำ<br />

ประวัติปืนใหญ่โบราณเป็นครั้งแรก โดย นายพลตรี พระยาอินทรวิชิต (รัตน วิชิต<br />

อาวุธ) เจ้ากรมตำราทหารบก ได้มอบหมายให้ นายพันโท หม่อมเจ้าสมบูรณ์ศักดิ์<br />

เป็นผู้แปลและเรียบเรียงประวัติปืนใหญ่โบราณเหล่านั้น การปรับการจัดวาง<br />

ปืนใหญ่โบราณครั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กลางแจ้ง<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหม ที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรก<br />

นายพลเอก สมเด็จ<br />

พระอนุชาธิราชเจ้า<br />

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ<br />

กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ<br />

นายพลเอก<br />

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต<br />

(แย้ม ณ นคร)<br />

71


๓) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๓<br />

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๘๓ โดย จอมพล<br />

ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม และนายพลโทพระยาศักดิ์ดา<br />

ดุลยฤทธิ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ปรับการจัดวาง<br />

ปืนใหญ่โบราณและปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ด้วยการดำเนินการ ดังนี้<br />

๓.๑) นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไป<br />

ตั้งแสดง ณ หน่วยทหารที่จังหวัดลพบุรี<br />

๓.๒) นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไป<br />

ตั้งแสดง ณ ทำเนียบรัฐบาล ทำให้คงเหลือปืนใหญ่<br />

โบราณที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม จ ำนวน ๔๐ กระบอก<br />

ทั้งนี้ ได้คงปืนใหญ่โบราณ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างขึ้นทั้ง ๗ กระบอก และปืนใหญ่พญาตานี<br />

ไว้ กับคงรูปแบบพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กลางแจ้งหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหมไว้เช่นเดิม<br />

๔) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๔ ในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๓๗ พลเอก วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม และพลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดให้มีการปรับภูมิทัศน์<br />

และจัดวางปืนใหญ่โบราณ ให้เกิดความสง่างาม<br />

มากยิ่งขึ้น โดยการรื้อรั้วเหล็กเดิมออกและทำเป็น<br />

เสาปูนมีโซ่ร้อยเรียงกัน และปรับพื้นโดยยกพื้น<br />

ให้สูงขึ้น<br />

๕) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๕ ใน<br />

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ประเสริฐ สารฤทธิ์<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ( ตุลาคม ๒๕๓๗ - กันยายน<br />

๒๕๓๘) และ พลเอก ไพบูลย์ เอมพันธ์ุ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม (ตุลาคม ๒๕๓๘ - กันยายน ๒๕๓๙)<br />

ได้มอบหมายให้ สำนักโยธาธิการกลาโหม ปรับภูมิทัศน์<br />

บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม โดย<br />

การเรียงปืนใหญ่โบราณในลักษณะ อุตราวรรต คือ<br />

72<br />

การจัดเรียงตามลำดับปีที่สร้าง เวียนไปทางซ้าย<br />

และนำแผ่นทองเหลืองบันทึกชื่อและประวัติปืน<br />

ใหญ่โบราณทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดตั้ง<br />

ไว้บริเวณฐานปืนใหญ่โบราณทุกกระบอก<br />

๖) การจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งที่ ๖ ในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๔๗ พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอก อู้ด เบื้องบน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาปรับภูมิทัศน์<br />

ให้สอดรับกับการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์เชิง<br />

ประวัติศาสตร์ โดยปรับการจัดวางปืนใหญ่โบราณ<br />

ตามประเพณีนิยมของกองทัพไทยในสมัยโบราณ<br />

จึงได้ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร<br />

ในประเด็น หลักการสากลของการจัดพิพิธภัณฑ์<br />

กลางแจ้ง หลักสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ซึ่ง<br />

ปรากฏว่า มีแนวคิดในการจัดวางปืนใหญ่โบราณ<br />

๒ แนวทาง กล่าวคือ<br />

๖.๑ ทักษิณาวรรต ด้วยการจัดวางแบบ<br />

เวียนขวา โดยจัดวางปืนใหญ่โบราณเรียงปี และ<br />

ยุคที่สร้าง โดยเริ่มต้นจากถนนกัลยาณไมตรีไปทาง<br />

ถนนหลักเมือง<br />

๖.๒ อุตราวรรต ด้วยการจัดวางแบบเวียน<br />

ซ้ายจากถนนหลักเมืองไปทางถนนกัลยาณไมตรี<br />

ตามลำดับปีที่สร้าง ซึ่งจากการพิจารณาแล้ว เห็นว่า<br />

แบบอุตราวรรต มีความเหมาะสมกับการปรับภูมิทัศน์<br />

และการเที่ยวชมของนักท่องเที่ยว โดยเริ่มต้นจาก<br />

ถนนหลักเมืองเวียนซ้ายไปยังถนนกัลยาณไมตรี<br />

ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์<br />

จนถึงปืนใหญ่โบราณที่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้<br />

พร้อมทั้งจัดพื้นที่สำหรับนำปืนพระมหาฤกษ์และ<br />

พระมหาไชยมาวางในอนาคต โดยแผ่นทองเหลือง<br />

บันทึกชื่อและประวัติปืนใหญ่โบราณทั้งภาษาไทย<br />

และภาษาอังกฤษ ติดตั้งไว้บริเวณฐานปืนใหญ่<br />

โบราณทุกกระบอกเช่นกัน


๔๙. รั้วเหล็กรอบสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

การปรับภูมิทัศน์และในการจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๔ ที่มีการรื้อ<br />

รั้วเหล็กเดิมออกและทำเป็นเสาปูนมีโซ่ร้อยเรียงกันแทน รั้วเหล็กเดิมดังกล่าว<br />

มีการจัดสร้างในห้วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลก ครั้งที่ ๒) ซึ่งมีหลายท่าน<br />

ตั้งคำถามพอจะมีรั้วเดิมให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นและศึกษาบ้างหรือไม่ แต่อย่างไร<br />

ก็ตาม ได้ตรวจสอบแล้วทราบว่า รั้วเหล็กดังกล่าวยังคงเหลือต้นแบบให้เห็นอยู่<br />

๒ จุด กล่าวคือ บริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนหลักเมืองตรงข้ามศาลหลักเมือง<br />

และบริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนกัลยาณไมตรีตรงข้ามประตูวังสราญรมย์<br />

(กระทรวงการต่างประเทศเดิม) สังเกตเห็นได้ง่าย เพราะอยู่ติดกับหัวเสาที่มีเหล็ก<br />

กั้นข้างป้อมยามรักษาการณ์ มีลักษณะเป็นเหล็กดัด รูปสี่เหลี่ยมสองชั้นบริเวณ<br />

มุมทั้งสี่ย่อมุมเข้าหาศูนย์กลางทาสีขาวนวล ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียง ๔ ช่องเท่านั้น<br />

ซึ่งสำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม คงรูปแบบเก็บไว้ให้ดู<br />

เป็นต้นแบบ เพื่อว่าในอนาคตหากมีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่ จะได้สามารถ<br />

คัดลอกไปใช้ประโยชน์ได้<br />

73


ในลำดับต่อไป ขอเชิญท่านเข้าเยี่ยมชมลักษณะอาคารภายในพร้อมองค์ประกอบภายในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๕๐. การออกแบบอาคารด้านในของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

เมื่อท่านเข้ามาภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม จะสังเกตได้ว่าอาคารด้านในจะแตกต่าง<br />

จากภายนอกมาก ทั้งนี้ หากพิจารณาจากแนวคิด<br />

ในการออกแบบอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านนอก<br />

เป็นแบบพาลลาเดียน ซึ่งเป็นการก่ออิฐถือปูนและ<br />

ตกแต่งอาคารดังกล่าวมาแล้ว แต่ด้านในมีความ<br />

พิเศษในการออกแบบคือทำเป็นระเบียงไม้โปร่ง<br />

รอบในอาคารทั้งสามชั้น และมีทางเดินเชื่อมต่อ<br />

กันได้ทุกอาคาร โดยชั้นล่างทำเป็นรั้วไม้ซี่ขนาดสูง<br />

ประมาณหน้าอก แต่สำหรับในชั้นสองและชั้นสาม<br />

ทำราวระเบียงเป็นรูปไม้ขัดกันในลักษณะกากบาท<br />

และมีเสาปูนเกลี้ยงรูปสี่เหลี่ยมเป็นตัวรับน้ำหนัก<br />

ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ด้านในต้องทำเป็นระเบียงไม้<br />

เพราะช่วยให้ปลอดโปร่งเพราะประเทศไทยเป็น<br />

ประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จึงเป็นการระบายอากาศ<br />

ซึ่งต่างจากยุโรปที่มีอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้<br />

ยังช่วยให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น สามารถ<br />

เดินติดต่องานหรือประสานงานได้ทั้งสามชั้น<br />

โดยไม่ต้องเดินลงมาชั้นล่างและเดินขึ้นไปใหม่<br />

ในระหว่างอาคาร เรียกว่า อาคารโรงทหารหน้า<br />

มีการออกแบบให้สวยงามทั้งด้านสถาปัตยกรรม<br />

และคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย โดยมีพื้นฐานจาก<br />

ภูมิอากาศ ภารกิจ และการติดต่อประสานงาน<br />

ระหว่างหน่วยงานภายในอาคารที่มีความสะดวก<br />

และรวดเร็ว<br />

๕๑. ผนังอาคารและระเบียงด้านในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

เดิมที มีการสร้างราวระเบียงบริเวณชั้นสอง<br />

และชั้นสามทำราวระเบียงเป็นรูปไม้ขัดกัน แต่<br />

เนื่องจากอาคารศาลาว่าการกลาโหมเคยประสบ<br />

ปัญหาน้ำฝนสาดและความชื้นหลายครั้ง โดยเฉพาะ<br />

ในกรณีที่ฝนตกหนักผสมกับลมกระโชกแรง ทำให้<br />

มีปริมาณน้ำฝนซัดสาดเข้ามาบริเวณระเบียง<br />

ซึ่งก็มีหลายครั้งที่ปริมาณน้ำฝนมากขังบริเวณ<br />

พื้นไม้และรั่วซึมลงมาชั้นสองและชั้นล่าง ได้ทำ<br />

ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการ<br />

เป็นอันมาก รวมถึงทำให้ผนังอาคารเกิดความชื้น<br />

มีคราบตะไคร่น้ำและแตกล่อนเป็นประจำ เมื่อ<br />

เป็นเช่นนี้ สำนักโยธาธิการกลาโหม สำนักงาน<br />

สนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จึง<br />

พิจารณาออกแบบทำผนังอาคารผลิตจากไม้<br />

และประดับบานหน้าต่างเพื่อปิดเปิดตามความ<br />

เหมาะสม ทั้งนี้ รั้วไม้โปร่งเป็นรูปไม้ขัดกันที่ยัง<br />

สภาพใช้งานได้ในชั้นที่ ๓ จึงยังคงเก็บรักษาไว้<br />

โดยทำผนังไม้ปิดล้อมไว้ด้านนอก และยังคงอนุรักษ์<br />

รั้วไม้โปร่งแบบโบราณไว้ด้านในเพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง<br />

ได้ศึกษาต่อไป<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ บริเวณผนังอาคาร ชั้นที่ ๓<br />

และชั้นที่ ๒ จึงสามารถรอดพ้นจากความเสี่ยงภัย<br />

จากปริมาณฝนซัดสาดจนทำให้เกิดความเสียหาย<br />

แต่สำหรับผนังอาคารที่ฉาบปูนในชั้นล่างที่ต้อง<br />

เผชิญกับความชื้นและน้ำฝนสาด จึงได้แก้ไขปัญหา<br />

โดยการเจาะผนังและใส่ท่อระบายอากาศทำให้<br />

75


ระบายความชื้นออกมาจากภายในของผนังอาคาร<br />

หากผ่านไปอาจเห็นผนังอาคารมีท่อขนาดเล็กติด<br />

กับตัวอาคาร นั่นคือวิธีการระบายอากาศและระบาย<br />

ความชื้น<br />

๕๒. บันไดทางขึ้นลงด้านในอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

เมื่อเข้ามาด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

เห็นมีบันไดทางขึ้นลงอาคารหลายแห่งเป็นการสร้าง<br />

ความสะดวกในการทำงาน แต่ในอดีตแล้วบันได<br />

ทางขึ้นลงที่สร้างในยุคโรงทหารหน้าที่แท้จริง ได้มี<br />

การจัดทำเป็นบันไดทางขึ้นลงเฉพาะภายในตัวอาคาร<br />

ทั้งสี่มุม อย่างไรก็ตาม ยังได้จัดทำบันไดทางขึ้นลง<br />

ออกสู่ภายนอกอาคารด้านสนามภายใน รวม ๕ จุด<br />

ดังนี้<br />

๑. บันไดทางขึ้นลงมุขกลาง โดยทำเป็นบันได<br />

สำหรับขึ้นลงรวม ๔ จุด กล่าวคือ<br />

๑.๑ บันไดไม้พร้อมหลังคาและกันสาด<br />

จำนวน ๒ จุด โดยทำเป็นบันไดไม้หักมุมสำหรับเดิน<br />

ขึ้นชั้นสองบริเวณด้านหลังมุขกลางด้านในติดกับ<br />

สนามภายในศาลาว่าการกลาโหม ด้านซ้ายและขวา<br />

ด้านละ ๑ จุด ปัจจุบันจะมองเห็นได้บริเวณทาง<br />

ขึ้นลง เพื่อเดินเข้าสู่ห้องสุรศักดิ์มนตรีในชั้นที่ ๒<br />

และห้องภาณุรังษี ในชั้นที่ ๓ ซึ่งในอดีตท ำราวระเบียง<br />

โปร่งและใช้ขึ้นลงเฉพาะผู้บังคับบัญชาชั้นสูงเท่านั้น<br />

๑.๒ บันไดปูนด้านในใกล้ประตูทางเข้าออก<br />

จำนวน ๒ จุด ด้านซ้ายและขวาด้านละ ๑ จุด<br />

ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่ ว่ากันว่าใช้<br />

สำหรับเจ้าหน้าที่ใช้เดินขึ้นลงโดยไม่ให้ไปใช้บันได<br />

ร่วมกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

๒. บันไดทางขึ้นลงบริเวณมุมอาคารด้านทิศ<br />

ตะวันตกเฉียงใต้ จำนวน ๑ จุด โดยทำเป็นบันได<br />

ไม้หักมุมสำหรับเดินขึ้นลงชั้นสอง ๑ จุด สำหรับเดิน<br />

ขึ้นห้องเสนาบดี ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่แต่ขยับออก<br />

76<br />

จากจุดเดิม เนื่องจากใช้พื้นที่เดิมสำหรับสร้างลิฟท์<br />

โดยสารในยุคต่อมา และยังคงใช้สำหรับเป็นทางเดิน<br />

ขึ้นลงสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

สำหรับบันไดทางขึ้นลงที่ท่านเห็นนอกเหนือ<br />

จากที่กล่าวมาทั้ง ๕ จุดนั้น เป็นบันไดทางขึ้นลง<br />

ที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคหลัง เพื่ออำนวยความสะดวก<br />

ในการปฏิบัติราชการ<br />

๕๓. กันสาดรอบอาคารชั้นล่าง<br />

เมื่อท่านมองเห็นกันสาดบริเวณขอบอาคาร<br />

ด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหมชั้นล่าง รอบทุก<br />

ด้านและมีลวดลายไม่ฉลุโปร่ง ซึ่งลวดลายดังกล่าว<br />

เป็นลวดลายแบบโบราณ ซึ่งในยุคแรกกันสาดที่ว่านี้<br />

จะทำขึ้นเฉพาะบริเวณเชิงบันได และขอบขั้นล่าง<br />

ของอาคารมุขกลาง โดยจะทำรูปแบบเป็นกันสาด<br />

ยื่นออกมาจากอาคารในลักษณะลาดเอียงมุงด้วย<br />

กระเบื้องแผ่นรูปว่าว และเชิงชายตกแต่งด้วยไม้<br />

ฉลุลวดลายโปร่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีการ<br />

กำหนดแบบดังกล่าวขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้<br />

อีกด้วย<br />

ต่อมา เมื่ออาคารชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ ทำผนัง<br />

ปิดกั้นน้ำฝนทำให้ชั้นล่างถูกน้ำฝนซัดสาดเป็นประจำ<br />

ส่งผลถึงความเสียหายบริเวณอาคารอย่างสม่ำเสมอ<br />

จึงเกิดความคิดที่จะทำกันสาดเพื่อป้องกันน้ำซัด<br />

สาดอาคารและยังใช้ประโยชน์เป็นหลังคาสำหรับ<br />

ช่องจอดรถของผู้บังคับบัญชา โดยการคัดลอก<br />

แบบกันสาดขอบขั้นล่างของอาคารมุขกลางมาเป็น<br />

ต้นแบบของกันสาดรอบอาคารด้านในอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหม พร้อมทั้งเชิงชายที่มีลวดลายฉลุ<br />

พร้อมกันไปด้วย<br />

จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์<br />

ในการพัฒนาอาคารศาลาว่าการกลาโหมให้รองรับ<br />

ประโยชน์ใช้สอยและสอดรับกับความงดงามใน<br />

รูปแบบของศิลปะโบราณอย่างเหมาะสม และมี<br />

ความกลมกลืนอย่างลงตัว


77


๕๔. ลิฟท์โดยสารภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม<br />

ที่กล่าวมาว่า มีการขยับบันไดทางขึ้นลง<br />

ออกจากจุดเดิม เพื่อใช้พื้นที่เดิมสำหรับสร้างลิฟท์<br />

โดยสาร ท่านทราบหรือไม่ว่า อาคารโบราณแบบ<br />

ศาลาว่าการกลาโหมได้มีการสร้างลิฟท์โดยสาร<br />

(Elevator) และจัดสรรพื้นที่ทำส่วนประกอบของ<br />

ลิฟท์โดยสาร อันประกอบด้วย ช่องสำหรับให้ลิฟท์<br />

โดยสารขึ้นลง ช่องประตูเข้าออก ๓ ชั้นโดยทำเป็น<br />

คอนกรีตเสริมเหล็กครอบตัวลิฟท์โดยสาร และ<br />

ส่วนประกอบอย่างเป็นมาตรฐาน ซึ่งในห้วงแรก<br />

มีการทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมคอนกรีตลวดลายกากบาท<br />

โปร่งครอบแท่งคอนกรีตอีกชั้น ก่อนรื้อกล่องครอบออก<br />

จนเห็นเป็นแท่งคอนกรีตในปัจจุบัน<br />

จัดทำขึ้นบริเวณมุมอาคารด้านในทางทิศตะวัน<br />

ตกเฉียงใต้ หรือบริเวณใกล้กับห้องทำงานรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม โดยเป็นลิฟท์โดยสาร เป็น<br />

แบบมีประตูบานเปิดปิดด้านหน้า และด้านในจะมี<br />

ประตูเหล็กรูดปิดด้านหน้า มิฉะนั้นลิฟท์โดยสารจะ<br />

ไม่เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นรุ่นนิยมของกิจการลิฟท์โดยสาร<br />

ที่มีชื่อทางการค้าว่า Otis Brothers<br />

ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สันนิษฐาน<br />

จากประวัติการใช้ลิฟท์โดยสารของไทย ที่เริ่มมีการ<br />

นำลิฟท์โดยสารมาติดตั ้งครั้งแรกในสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการนำเข้า<br />

ลิฟท์โดยสาร ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรจากอิตาลี<br />

มาติดตั้ง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และติดตั้งลิฟท์<br />

โดยสาร ที่ขับเคลื่อนโดยแรงคนที่พระที่นั่งวโรภาส<br />

พิมาน ในพระราชวังบางปะอิน ต่อมา เมื่อมีไฟฟ้าใช้<br />

จึงได้เริ่มนำเข้าลิฟท์โดยสารจากต่างประเทศเพื่อใช้<br />

ติดตั้งตามหน่วยงานราชการสำคัญ พร้อมให้การ<br />

ดูแลบำรุงรักษาอันเป็นที่มาเริ่มแรกของการใช้<br />

ลิฟท์โดยสารในประเทศ ประกอบกับอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหมเป็นอาคารขนาดใหญ่และทันสมัย<br />

78<br />

ทั้งนี้ ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ที่ดำรงพระยศ<br />

และมีตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมหลายพระองค์<br />

และเมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์ของการสร้างช่องขึ้นลง<br />

ลิฟท์โดยสารแล้วคาดว่าเป็นฝีมือช่างโบราณ จึงมี<br />

ความเป็นไปได้สูงว่า เป็นการสร้างในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากวิวัฒนาการ<br />

ของลิฟท์โดยสารในประเทศไทย ทราบว่ามีการ<br />

พัฒนาการใช้ลิฟท์อย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณา<br />

จากลักษณะทางกายภาพของลิฟท์โดยสารก่อน<br />

เปลี่ยนแปลงมาใช้ในระบบปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า<br />

ลักษณะลิฟท์และห้วงเวลาของการสร้าง ประมาณว่า<br />

ลิฟท์โดยสารที่ใช้หลังสุดน่าจะจัดทำในห้วงการ<br />

ต่อเติมอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ประมาณ<br />

ห้วงปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๐๓ ทั้งนี้เพราะอาคารกอง<br />

บัญชาการทหารสูงสุดเดิม ก็เคยติดตั้งลิฟท์โดยสาร<br />

ที่มีลักษณะคล้ายกับในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้วยเช่นกัน<br />

๕๕. เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัยทางอากาศ<br />

ที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

บริเวณนอกอาคารชั้นที่ ๓ ของมุขกลางด้านใน<br />

เห็นมีแท่งทรงกระบอก ด้านบนมีลวดลายลักษณะ<br />

คล้ายประภาคารขนาดเล็ก ด้านบนทำเป็นลวดลาย<br />

คล้ายเชิงเทินตามกำแพงเมืองและมีหลังคาขนาด<br />

เล็กคลุม สิ่งนี้เรียกว่า เครื่องส่งสัญญาณเตือนภัย<br />

ทางอากาศ ซึ่งในเวลาสงครามเมื่อมีอากาศยาน<br />

ของฝ่ายตรงข้ามล่วงล้ำเข้ามาทางราชการจะเปิด<br />

สัญญาณเสียงเพื่อแจ้งให้ประชาชนระวังภัยโดย<br />

อาจเข้าสู่หลุมหลบภัยหรือทำการป้องกันตนเอง<br />

ในลักษณะต่างๆ ทั้งนี้สัญญาณเสียงเรามักจะรู้จัก<br />

กันดีว่า เสียงหวอ<br />

ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติอันผลเนื่อง<br />

มาจากกรณีสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือสงคราม<br />

มหาเอเชียบูรพาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้ยาตรากองทัพ


เข้ามาในดินแดนไทย เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๖ ได้ส่งกองกำลังมาทางเรือ<br />

เป็นผลให้รัฐบาลไทย โดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ด ำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฯ<br />

จำเป็นต้องทำสัญญายินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยไปยังสมรภูมิรบ<br />

กับฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า มาเลเซีย<br />

เป็นผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรคือ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่พอใจรัฐบาลไทย จึง<br />

ส่งอากาศยานบรรทุกเครื่องระเบิดบินเข้าโจมตีจุดสำคัญในประเทศไทยที่มี<br />

กองกำลังทหารญี่ปุ่นอยู่ขณะนั้น ประกอบด้วย กรุงเทพฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

ผลปรากฏว่าสถานที่ราชการสำคัญ บ้านเรือนประชาชน อันได้แก่พระบรมมหา<br />

ราชวังบางส่วน สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สะพานพระรามหก ได้รับความ<br />

เสียหายจากการโจมตีภัยทางอากาศเป็นอันมาก<br />

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันภัยทางอากาศรัฐบาลจึงจัดตั้งเครื่องส่งสัญญาณ<br />

เตือนภัยทางอากาศขึ้นบริเวณจุดสำคัญต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและ<br />

เตรียมตัวหลบภัยการโจมตีทางอากาศ ซึ่งศาลาว่าการกลาโหม ก็เป็นสถานที่<br />

อีกแห่งหนึ่งที่ได้ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณฯ ณ บริเวณด้านหน้าอาคารกลางชั้น<br />

ที่ ๓ ภายในศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเครื่องส่งสัญญาณฯ (Motor Siren) ยี่ห้อ<br />

YAHAGI KOGYO K.K.<br />

เครื่องส่งสัญญาณดังกล่าวมีประโยชน์ช่วยให้ข้าราชการที่ทำการอยู่ในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบศาลาว่าการกลาโหม ได้<br />

ทราบถึงภัยทางอากาศที่กำลังมาโจมตี ให้หลบหนีทัน มิต้องได้รับบาดเจ็บหรือ<br />

ล้มตาย<br />

จากหลักฐานที่ปรากฏ ทราบว่า ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้มิได้ถูกโจมตีจาก<br />

เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะสันนิษฐานว่า<br />

๑) ด้วยพระบารมีองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรง<br />

พระราชทานกำเนิดศาลาว่าการกลาโหม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ช่วยปกปักคุ้มครองสถานที่ไว้<br />

๒) ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรก่อให้เกิดความเข้าใจ<br />

ในสถานการณ์ด้านการทหารในขณะนั้น จนทำให้รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้<br />

79


หอกลองเดิม บริเวณชั้น ๔ เหนืออาคารด้านทิศตะวันออก<br />

๕๖. ศาลเจ้าพ่อหอกลอง<br />

หากท่านเข้ามาภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมท่านจะพบเห็นศาลขนาดใหญ่บริเวณริม<br />

ลานจอดรถและสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ศาลดังกล่าวคือศาลเจ้าพ่อหอกลอง ซึ่งเป็นสิ่ง<br />

ศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังพลในศาลาว่าการกลาโหมให้ความ<br />

เคารพนับถือกันโดยตลอด<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เป็นที่ประดิษฐานของ<br />

เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์และ<br />

ราชทินนาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีการบันทึกประวัติ<br />

ว่า ท่านเกิดที่กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นทหารเอก<br />

ในพระเจ้ากรุงธนบุรีและดำรงตำแหน่งพลรบ<br />

ฝ่ายซ้าย ซึ่งเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ ์ ได้เคยติดตาม<br />

พระเจ้ากรุงธนบุรีปฏิบัติการรบมาโดยตลอด มีความ<br />

เชี่ยวชาญในทางหอก และชอบให้ทหารตีกลองศึก<br />

ในเวลาออกรบกับจัดหากลองรบมาเอง จึงทำให้<br />

ทหารทั้งหลายในสังกัดต่างพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า<br />

“เจ้าพ่อหอกลอง”<br />

80


ทั้งนี้ ท่านได้สร้างกลองส่วนตัวขึ้นหนึ่งใบหอบ<br />

หิ้วติดตัวไปในทุกสมรภูมิ และใช้ตีบอกสัญญาณ<br />

การรบจนได้ชัยชนะเหนือข้าศึกในทุกครั้ง<br />

จากเกียรติประวัติของท่านจึงกล่าวได้ว่าท่านเป็น<br />

กำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย ต่อมา<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ได้เลื่อนเป็นพลรบฝ่ายขวา แทนเจ้าพระยา<br />

พิชัยดาบหัก (นายทองดีฟันขาว) ซึ่งถึงแก่กรรม<br />

และรับราชการในหน่วยกำลังรบมาโดยตลอด ต่อมา<br />

ท่านได้ล้มป่วยเป็นโรคลำไส้ สิ้นชีวิตที่พระราชวัง<br />

เดิม จังหวัดธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๑ อายุ ๕๘ ปี<br />

ซึ่งจากการนำกลองประจำพระนครจำนวน<br />

๓ ใบ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จากหอกลองที่บริเวณสวนเจ้าเชตุ<br />

มาเก็บรักษาไว้ที่ชั้น ๔ ของอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมทางทิศตะวันออก ใกล้สะพานช้างโรงสี และ<br />

ต่อมาได้นำไปเก็บรักษาไว้ ณ พระบรมมหาราชวัง<br />

ก่อนนำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ<br />

พระนคร<br />

แม้ว่าจะได้เชิญกลองประจำพระนครไปเก็บ<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง (จำลอง)<br />

บริเวณชั้น ๓ กรมเสมียนตรา<br />

รักษาไว้ที่พระบรมมหาราชวังแล้ว กระทรวงกลาโหมก็ยังคงตั้งศาลเจ้าพ่อหอกลองไว้บริเวณชั้น ๔ เหนือ<br />

อาคารด้านทิศตะวันออกเพื่อให้กำลังพลสักการะเรื่อยมา ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมเกิดการแตกร้าว จึงได้ทำการรื้อศาลเจ้าพ่อหอกลองเดิมออกและสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองใหม่<br />

พร้อมทั้งหล่อรูปจำลองเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) เท่าตัวจริง ประดิษฐาน ณ บริเวณสนามภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยหันหลังศาลเจ้าพ่อหอกลองไปทางทิศตะวันออก (คือหันหน้าศาล<br />

ไปทางหน้าศาลาว่าการกลาโหมทางทิศตะวันตกนั่นเอง)<br />

นับแต่นั้นมา มักปรากฏเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเจ้าพ่อหอกลองและผู้บังคับบัญชาชั้นสูงที่มา<br />

ปฏิบัติงานเป็นประจำ ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาสมัยนั้นคือ นายพลเอก หลวงสถิตย์ยุทธการ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม จึงตั้งศาลเจ้าพ่อหอกลองจำลองไว้บริเวณชั้น ๓ หรือใต้บริเวณที่เคยตั้งหอกลองเดิม โดยมีลักษณะ<br />

หอกลองในรูปแบบหอประจำเชิงเทินบนกำแพงเมือง พร้อมกับอัญเชิญดวงวิญญาณของเจ้าพ่อหอกลอง<br />

(เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน)) ขึ้นประทับยังศาลจำลองบริเวณชั้นที่ ๓ (ที่ตั้งของสำนักงานอนุศาสนาจารย์<br />

กรมเสมียนตรา) มาจวบจนปัจจุบัน<br />

81


ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่มีการปรับปรุงอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม จึงได้ทำการปรับปรุงศาล<br />

เจ้าพ่อหอกลองขึ้นมาใหม่แทนศาลเดิมที่รื้อออก<br />

บริเวณด้านทิศตะวันออกของสนามภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เป็นสถาปัตยกรรมไทยทรงจัตุรมุข<br />

มียอดมณฑปขนาดประมาณ ๖ เมตร โครงสร้าง<br />

คอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูหินอ่อน ประดับลวดลาย<br />

ปูนปั้นลายไทย รอบนอกศาลปูหินแกรนิต มีการ<br />

ติดตั้งปืนคาร์โรเน็ต หุ้มปากกระบอกปืนลงดินและ<br />

ท้ายกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้าบริเวณด้านหลังศาลจำนวน<br />

๒ กระบอก ประกอบพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อหอกลอง<br />

ขึ้นประทับศาลเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๑ โดย<br />

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลองปัจจุบัน<br />

เจ้าพ่อหอกลอง (เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์)<br />

๕๗. กลองประจำพระนคร<br />

สำหรับกลองประจำพระนครและความเกี่ยวข้อง<br />

กับศาลาว่าการกลาโหมจนพัฒนามาเป็นการตั้งศาล<br />

เจ้าพ่อหอกลองนั้น มีสาระสำคัญ สรุปดังนี้<br />

กลอง ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้กันมาตั้งแต่<br />

โบราณกาล ในการเป็นสัญญาณบอกให้คนหมู่มาก<br />

ในสังคมได้เข้าใจในทิศทางเดียวกันเพื่อรับทราบถึง<br />

วัตถุประสงค์ต่างๆ ที่จะต้องทำร่วมกัน อาทิ การ<br />

ตีกลองเพลเพื ่อเป็นสัญญาณแจ้งให้พระภิกษุหรือ<br />

สาธุชนทราบว่าถึงเวลาที่พระภิกษุสามเณรได้เวลา<br />

ฉันภัตตาหารเพล การตีกลองเพื่อแจ้งเหตุต่างๆ การ<br />

ตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณเคลื่อนกำลังพลในสงคราม<br />

หรือเป็นสัญญาณว่าจะให้เข้าตีหรือล่าถอย รวมทั้ง<br />

ยังเป็นการแจ้งให้คนในสังคมทราบเวลา<br />

มีการบันทึกประวัติเรื่องกลองมาตั้งแต่สมัย<br />

กรุงศรีอยุธยา ว่าการสร้างหอกลองประจำเมือง<br />

โดยให้อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระนครบาล<br />

โดยลักษณะของหอกลองเป็นหอสูงสามชั้น สร้าง<br />

ด้วยไม้ สูง ๑ เส้น ๑๐ วา หลังคาเป็นทรงยอดสูง<br />

ซึ่งแต่ละชั้นจะมีกลองอยู่ประจำชั้น ดังนี้<br />

• ชั้นบน เป็นที่ตั้งของกลองขนาดเล็ก มีชื่อว่า<br />

“มหาฤกษ์” ซึ่งจะใช้ตีก็ต่อเมื่อมีข้าศึกยกทัพ<br />

เข้ามาประชิดพระนคร<br />

• ชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของกลองขนาดกลาง<br />

มีชื่อว่า “พระมหาระงับดับเพลิง” ซึ่งจะใช้<br />

ตีเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยบริเวณภายในหรือ<br />

รอบพระนคร โดยมีจังหวะของการตีกลอง<br />

นี้ ๓ จังหวะ กล่าวคือถ้าเพลิงไหม้บริเวณ<br />

เชิงกำแพงเมืองหรือบริเวณกำแพงเมือง<br />

จะตีกลองนี้ตลอดเวลา จนกว่าเพลิงจะดับ<br />

• ชั้นล่าง หรือเรียกอีกอย่างว่า ชั้นต้น จะเป็น<br />

ที่ตั้งของกลองขนาดใหญ่ มีชื่อว่า “พระทิวา<br />

ราตรี” ซึ่งจะใช้ตีบอกเวลา เริ่มตั้งแต่ เวลา<br />

เช้า เวลาเที่ยง และเมื่อตะวันยอแสงเวลา<br />

พลบค่ำ อีกทั้งอาจจะตีในโอกาสที่จะมีการ<br />

ประชุม เรียกว่า ย่ำสันนิบาต<br />

82


ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอกลองประจำเมือง ตามคติ<br />

ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้สร้างหอกลองขึ้นที่บริเวณใกล้คุกเก่า<br />

ที่หับเผย (หมายถึง คุก ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้บท<br />

นิยามว่า “โรงเรือนที่มีลักษณะอย่างกระท่อมเล็กและที่คุมขัง ซึ่งปิดงับและเปิดค้ ำ<br />

ขึ้นได้เช่นนั้น”) ตั้งอยู่หน้าวัดโพธาราม (ต่อมาคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม)<br />

สำหรับที่ดินที่ใช้สร้างหอกลองเรียกว่า สวนเจ้าเชตุ (ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้ง<br />

หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน) ทั้งนี้ หอกลองนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับ<br />

หอกลองในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือเป็นอาคารทำด้วยไม้สูง ๓ ชั้น ไม่มีฝากั้น<br />

รูปทรงสูงชะลูดขึ้นไป หลังคาทำเป็นรูปมณฑป และภายในประดิษฐานกลอง<br />

ขนาดใหญ่ รวม ๓ ใบ มีชื่อ ขนาด และวัตถุประสงค์ในการใช้กล่าวคือ<br />

ชั้นล่าง ประดิษฐานกลองชื่อว่า กลองย่ำพระสุริย์ศรีมีขนาดหน้ากว้าง<br />

๘๒ เซนติเมตร ยาว ๘๒ เซนติเมตร ใช้สำหรับตีบอกเวลา<br />

ชั้นที่สอง ประดิษฐานกลองชื่อว่า กลองอัคคีพินาศ มีขนาดหน้ากว้าง<br />

๖๐ เซนติเมตร ยาว ๖๑ เซนติเมตร ใช้สำหรับตีในกรณีเกิดอัคคีภัย<br />

ชั้นบนสุด ประดิษฐานกลองชื่อว่า กลองพิฆาตไพรี มีขนาดกว้าง ๔๔<br />

เซนติเมตร ยาว ๔๖ เซนติเมตร สำหรับตีเมื่อเกิดศึกสงคราม<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ<br />

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมและปรับปรุง<br />

อาคารหอกลองนี้ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ<br />

ให้รื้อหอกลองและย้ายกลองทั้ง ๓ ใบ ไปเก็บรักษาชั่วคราวไว้ที่ชั้น ๔ ของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ก่อนย้ายไปเก็บรักษาเป็นการถาวรที่ หอริมประตูเทวาพิทักษ์ใน<br />

พระบรมมหาราชวัง เนื่องจากต้องการใช้พื้นที่ในการสร้างถนนสนามไชย และ<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองทั้ง ๓ ใบมาจัด<br />

แสดงในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ<br />

พระนคร)<br />

อย่างไรก็ตาม นอกจากกลองทั้งสามใบประจำหอกลองแล้วยังมีกลอง<br />

ที่สำคัญของประเทศหรือกลองประจำพระนครอีก ๒ ใบ และมีประวัติสำคัญ<br />

กล่าวคือ<br />

๑. กลองวินิจฉัยเภรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระ<br />

ราชดำริการบำบัดทุกข์ของราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน<br />

ชื่อกลองสำหรับตีกลองร้องฎีกาว่า “กลองวินิจฉัยเภรี” ตั้งไว้ ณ ทิมดาบ<br />

กรมวัง (ศาลาแถวพวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ) ในบริเวณพระบรม<br />

มหาราชวัง ให้กรมวังลั่นกุญแจไว้ เมื่อผู้ใดจะไปร้องถวายฎีกา กรมวังก็<br />

83


จะไปไขกุญแจให้ เมื่อตีกลองแล้วตำรวจเวรก็<br />

ไปรับตัวและเรื่องราวของผู้ตีมาแล้วจึงนำความ<br />

ขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ เพื่อมีพระบรมราชโองการ<br />

ตรัสสั่งให้ผู้ใดต้องชำระความ ก็ให้ส่งเรื่องที่ถวาย<br />

ฎีกาไปตามรับสั่งนั้น พระองค์จะตรัสถามในเรื่อง<br />

ที่มีผู้ร้องฎีกาเสมอ ซึ่งตระลาการผู้ต้องชำระความ<br />

ก็ต้องชำระความไปตามกฎหมายด้วยความถูกต้อง<br />

ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ร้องถวายฎีกา<br />

๒. กลองอินทเภรีเป็นกลองศึกที่ใช้บอกสัญญาณ<br />

ในการทำศึกสงคราม ซึ่งถือว่าเป็นกลองของพระอินทร์<br />

ใช้บอกสัญญาณในการเคลื่อนทัพ การเข้าสัประยุทธ์<br />

ซึ่งในบางตำราอาจเรียกว่ากลองสะบัดชัย นอกจากนี้<br />

ในบางท้องถิ่นอาจใช้ชื่อกลองอินทเภรีเป็นการตี<br />

บอกเวลาด้วยเช่นกัน<br />

สำหรับ เจ้าพ่อหอกลอง คือนักรบในอดีต<br />

ที่ดูแลเรื่องกลองศึก โดยจะพิจารณาใช้ประโยชน์<br />

กลองศึกในกรณีที่มีข้าศึกบุก หรือมีการรบ ก็จะ<br />

สื่อสารด้วยกลองศึก ทั้งนี้มีการบันทึกว่า ท่านได้<br />

สร้างกลองส่วนตัวขึ้นหนึ่งใบหอบหิ้วติดตัวไปใน<br />

ทุกสมรภูมิ และใช้ตีบอกสัญญาณการรบจนได้<br />

ชัยชนะในทุกครั้ง<br />

๕๘. สัญลักษณ์สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

หากท่านสังเกตบริเวณหน้าจั่วของอาคาร<br />

มุขกลาง จะพบว่า มีรูปปูนปั้นนูนต่ำรูปจักรสมอปีก<br />

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางความมั่นคงของประเทศ หรือ<br />

เป็นสัญลักษณ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

โดยที่สัญลักษณ์ จักรสมอปีก คือสัญลักษณ์ของ<br />

ส่วนราชการที่มีหน้าที่เตรียมกำลังและใช้กำลังตาม<br />

ภารกิจทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ กล่าวคือ<br />

• จักร หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารบก<br />

• สมอ หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารเรือ<br />

• ปีก หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารอากาศ<br />

ทั้งนี้เพราะ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ซึ่งมี<br />

ภารกิจสำคัญตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบ<br />

ราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา<br />

๑๓ กล่าวคือ<br />

“มาตรา ๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวงมีหน้าที่<br />

เกี่ยวกับงานนโยบายและยุทธศาสตร์ งานราชการ<br />

ประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการส่วนหนึ่ง<br />

ส่วนใดของกระทรวง ซึ่งมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่<br />

ของส่วนราชการอื่นใด มีปลัดกระทรวงกลาโหมเป็น<br />

ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ”<br />

84


เมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จึงมีหน้าที่ในการประสาน<br />

งานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์กับทั้ง ๓ เหล่าทัพ จึงมีกำลังพลที่กำเนิดมา<br />

จากทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ รวมถึง กำลังพลที่ต้องปฏิบัติราชการ<br />

กับ ๓ เหล่าทัพ นอกจากนี้ กำลังพลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ยังมีกำลังพลที่แต่งกายเหล่าทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปฏิบัติหน้าที่<br />

ในหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมอีกด้วย<br />

ซึ่งก็มีคำถามจำนวนไม่น้อยว่าเหตุใดรูปปีกจึงมีลักษณะลู่ลง ไม่มีเป็นรูปแบบ<br />

ปีกตรงดังที่เคยเห็นในตราของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมโดยทั่วไป<br />

เรื่องดังกล่าวมีผู้ใหญ่ได้กรุณาให้ข้อสังเกตว่า สัญลักษณ์ของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม คือ รูปจักรสมอปีกร้อยเรียงสอดกัน ซึ่งสื่อความหมายถึงการ<br />

ร่วมมือปฏิบัติงานของทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ จึงมีความชัดเจน<br />

แล้ว สำหรับปีกที่ลู่ลง อาจจะเป็นเพราะถูกบังคับด้วยรูปหน้าจั่วที่เป็นสามเหลี่ยม<br />

แหลมบน ปีกจึงลู่ลง แต่ก็เป็นลักษณะเหมือนปีกที่กำลังบินขึ้น ตามธรรมชาติ<br />

ของนก สำหรับในขณะที่ปีกกางออกตรงคือลักษณะของการเหินลอยบนอากาศ<br />

ซึ่งก็หมายถึงการลอยอยู่บนอากาศ<br />

85


เหล่าทหารตั้งแถวรอรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สนามหญ้าในศาลายุทธนาธิการ<br />

๕๙. เกียรติภูมิสนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า สนามภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหมมีเกียรติประวัติมากมายทั้งที่เกี่ยวกับ<br />

การสนองงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี<br />

เหตุการณ์สำคัญ กล่าวคือ<br />

๑) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ า<br />

เจ้าอยู่หัว ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ดังนี้<br />

๑.๑) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา<br />

เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ๒๔๓๐<br />

๑.๒) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีรัชดาภิเษก<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่<br />

๕ ธันวาคม ๒๔๓๖<br />

๑.๓) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีสมโภชเมื่อเสด็จ<br />

พระราชดำเนินกลับจากการประพาสยุโรปคราวแรก<br />

เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๔๐<br />

๑.๔) รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพิธีถวายพระคทาจอมพล<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ<br />

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๖ มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“ผู้บัญชาการกรมทหาร พร้อมด้วยข้าราชการในกรม<br />

ยุทธนาธิการเตรียมรับการตรวจแถว จากพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สนามหญ้า<br />

ภายในศาลายุทธนาธิการ ภายหลังที่กรมทหารบก<br />

ทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพล”<br />

๑.๕) พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาพระราชทานธงชัยเฉลิมพล<br />

ณ สนามหญ้า ภายในศาลายุทธนาธิการ เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๔๕๑<br />

86


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัล<br />

การแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

การประกอบพิธีตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า)<br />

โดยมีการตั้งขบวนแห่พระยาโล้ชิงช้า<br />

เริ่มต้นจากสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๒) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๒.๑) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรและ<br />

พระราชทานรางวัลแก่นักกีฬาผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม โดยประทับ ณ พระที่นั่ง<br />

ชุมสาย บริเวณสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม บริเวณใกล้บันไดทางขึ้นลงด้านหลังมุขกลาง<br />

๒.๒) เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๐ มีการประกอบพิธีตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า) โดยมีการตั้งขบวน<br />

แห่พระยาโล้ชิงช้า เริ่มต้นจากสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๒.๓) ภายหลังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทย<br />

เข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ โดยประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศ<br />

ฝ่ายอักษะ มีการทำพิธี และในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ ทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

ได้รวมพลและบันทึกภาพ ณ สนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม ก่อนเข้าร่วมกระทำพิธีสาบานตน<br />

ต่อธงไชยเฉลิมพล ณ บริเวณหน้าวังสราญรมย์<br />

๓) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๓.๑) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ได้เสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาตรวจแถวและเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ในโอกาสเสด็จนิวัต<br />

พระนคร เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๗๔<br />

๓.๒) มีการจัดแข่งกีฬาภายในกระทรวงกลาโหม โดยเสนาบดีในสมัยนั้น ๒ พระองค์เสด็จมาเป็น<br />

ประธาน คือ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน<br />

และ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต<br />

87


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทั้ง ๓ เหล่าทัพ ณ พระที่นั่งชุมสาย ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๔) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช มีเหตุการณ์สำคัญ กล่าวคือ<br />

๔.๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมา<br />

พระราชทานกระบี่และพระราชทานปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย<br />

พระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียน<br />

นายเรืออากาศ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึง ปี พ.ศ.<br />

๒๕๑๙ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี ณ หอประชุมใหญ่<br />

สวนอัมพร<br />

๔.๒) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมา<br />

พระราชทานกระบี่และพระราชทานปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน<br />

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ<br />

88<br />

และโรงเรียนนายเรืออากาศ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗<br />

และ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘<br />

๔.๓) เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๘<br />

ประกอบพิธีเลี้ยงสังสรรค์เจ้าหน้าที่ไทย - อเมริกัน<br />

ในวาระครบรอบ ๕ ปี แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยการ<br />

ช่วยเหลือทางการทหารระหว่างประเทศไทยและ<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

๔.๔) เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒<br />

ประกอบพิธีสวนสนามอำลาผู้บังคับบัญชาเพื่อไป<br />

ปฏิบัติราชการในสงครามเวียดนาม<br />

๔.๕) ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ประกอบพิธี<br />

ประดับเหรียญชัยสมรภูมิกรณีสงครามเวียดนาม<br />

แก่ทหารและทายาทของผู้ที่เสียชีวิต<br />

นอกจากนี้ ยังมีพิธีทางทหารอีกหลายพิธีที่ไม่ได้<br />

มีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการอีกเป็นจำนวนมาก


เหล่านักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน เดินขบวนมาชุมนุมเรียกร้อง บริเวณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๖๐. เกียรติประวัติของสนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

นอกจากเกียรติภูมิของสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม ในส่วนบริเวณสนามหญ้าด้านหน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหมก็เคยมีกิจกรรมสำคัญระดับชาติครั้งหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้น<br />

เมื่อวันอังคารที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓ กล่าวคือ ในวันนั้น มีขบวนการเรียกร้องดินแดนไทยคืนจากฝรั่งเศส<br />

ที่ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปใน กรณี ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ประกอบด้วย ยุวชน<br />

ทหารและยุวนารีซึ่งเป็นนิสิตและนักศึกษา สมทบกับประชาชนผู้รักชาติก็รวมตัวกันใช้ชื่อ “เลือดไทย” พากัน<br />

มาจากทุกสารทิศ นัดหมายมาพบกันที่จังหวัดพระนครและเริ่มเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />

ใช้เส้นทางถนนราชดำเนินเคลื่อนที่เข้าสู่ท้องสนามหลวงและมีประชาชนและนักศึกษาบางส่วนเดินทาง<br />

มาทางถนนหน้าพระลาน และถนนสายต่างๆ เคลื่อนที่มาหยุดชุมนุมกันที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ประมาณการว่ามีประชาชนเรือนหมื่นจากทุกเพศทุกวัยเข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ โดยมีเจตนาเดียวกันที่จะ<br />

แสดงพลังของประชาชนเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลใช้กำลังทหารเข้าต่อกรกับฝรั่งเศส<br />

ในโอกาสนั้น นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

กับนายพันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต รองผู้บัญชาการทหารบก เจ้ากรมยุวชนทหาร และรองอธิการบดี<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้การต้อนรับคณะยุวชนทหาร ยุวนารี และประชาชนที่หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยทั้งสองในเครื่องแบบยุวชนทหารและยุวนารี ได้เรียนเสนอการเรียกร้อง<br />

ดินแดนคืนต่อ นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม พร้อมกับขอให้เป็นผู้นำกองทัพของชาติ เข้ายึดเอาดินแดน<br />

ของไทยกลับคืนมาจากฝรั่งเศส เพื่อให้พี่น้องชาวไทยที่อยู่ในดินแดนดังกล่าว ได้กลับมาร่วมเป็นบ้านพี่เมืองน้อง<br />

ของไทยตามเดิม พร้อมกันนี้ ยุวชนทหารและยุวนารี ทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมอบชีวิตไว้เป็นชาติพลี<br />

89


นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้กล่าวปราศรัยต้อนรับ และสรรเสริญสดุดีในความรักชาติ<br />

ความสามัคคี และความเสียสละเพื ่อประเทศชาติของประชาชนชาวไทยทั้งมวล และขอมติสนับสนุน<br />

การเรียกร้องดินแดนในอินโดจีนกลับคืน พร้อมกับได้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันกล่าวปฏิญาณตน<br />

หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จบแล้วได้กล่าวอวยชัยให้พร ไชโยสามครั้ง เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ซาบซึ้ง<br />

ตรึงใจเป็นที่สุด หลังจากนั้น คณะประชาชน ยุวชนนายทหารได้เคลื่อนขบวนจากหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

มุ่งหน้าไปยังทำเนียบนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอมติของประชาชนในอันที่จะขอให้รัฐบาลใช้กำลังบังคับ<br />

แก่รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส ให้คืนดินแดนที่ไทยเสียไปอย่างยุติธรรม<br />

ซึ่งมีบทร้อยกรองเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ในหนังสือ เกียรติภูมิ...กระทรวงกลาโหม ภาคลิลิตคืนดินแดน<br />

ที่ว่า<br />

โคลงสองสุภาพ<br />

๐ ยามเพลาเยี่ยงนี้ หมายบ่งบอกความชี้<br />

พี่น้องชาวไทยฯ<br />

๐ เดินทางไกลมุ่งเน้น บอกต่อทวยหาญเฟ้น<br />

อย่ายั้งรีรอฯ<br />

๐ ยืนขอมิเคลื่อนย้าย เสียงกู่อีกชูป้าย<br />

ดั่งคล้ายหมายปองฯ<br />

๐ ทำนองหมายเร่งเร้า จงก่อกองทัพเข้า<br />

ต่อสู้ไพรีฯ<br />

จากนั้นเป็นต้นมา การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนของประชาชนก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากมาย<br />

ทั้งในจังหวัดพระนครและแพร่ขยายออกไปทั่วประเทศ ซึ่งการเดินขบวนครั้งนี้เป็นการเดินขบวน เพื่อการ<br />

มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนหรือเป็นสงครามภาคประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย<br />

90


๖๑. การฉลองชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน<br />

อย่างไรก็ตาม นอกจากการเดินขบวนครั้งแรกในประเทศไทยและเดินมาที่หน้าศาลาว่าการกลาโหมแล้ว<br />

ผลต่อเนื่องจากการเดินขบวนครั้งนั้นก็ได้เกิดขึ้นจนเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศอีกด้วย กล่าวคือ<br />

หลังจากนั้นฝ่ายไทยได้พยายามดำเนินการทางการทูตหลายครั้ง แต่ฝ่ายฝรั่งเศสไม่มีท่าทียินยอมจนเกิด<br />

การปะทะกันหลายครั้ง ทั้งทางบกและทางอากาศ และมีการเคลื่อนกำลังทหารไทยพร้อมประกาศสงคราม<br />

กับฝรั่งเศสในวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๘๔ และในที่สุดญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทดังกล่าว โดยมี<br />

การประกาศหยุดยิงในเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ของวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๘๔ กับจัดประชุมเพื่อยุติข้อพิพาท<br />

ที่กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ - ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๔<br />

ผลจากการประชุม ปรากฏว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดน แคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง<br />

แคว้นจำปาศักดิ์ และแคว้นเขมรบางส่วนให้แก่ไทย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นที่พอใจของฝ่ายไทย<br />

โดยเฉพาะประชาชน โดยรายละเอียดได้มีการจัดทำเป็นรูปเล่มพร้อมทั้งบทร้อยกรองและร้อยแก้ว<br />

ในหนังสือ เกียรติภูมิ...กระทรวงกลาโหม ภาค ลิลิตคืนดินแดน<br />

ดังนั้น กระทรวงกลาโหม จึงได้จัดให้มีพิธีสวนสนามฉลองชัยชนะขึ้นที่พระนคร เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน<br />

๒๔๘๔ หน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยมีการจัดทำประตูชัยประกอบพิธีด้วยเพื่อให้ขบวนทหารเดินผ่าน<br />

เช่นเดียวกันกับสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑ การสวนสนามครั้งนั้นประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ<br />

ทหารอากาศ และตำรวจสนาม รวมทั้ง มีเครื่องบินกองทัพทหารอากาศเข้าร่วมพิธีด้วย ซึ่งประธาน<br />

ในพิธีคือจอมพล ป.พิบูลสงคราม และผู้บัญชาการเหล่าทัพ แม่ทัพสนาม และพลเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีด้วย<br />

จอมพล ป.พิบูลสงคราม ร่วมกับประชาชน<br />

ปฏิญาณตนต่อหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

กรณีพิพาทอินโดจีน เพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส<br />

91


๖๒. สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน<br />

สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหมใน<br />

อดีต เป็นสนามหญ้าเต็มจนถึงขอบถนนภายใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ต่อมามีความจำเป็นต้องใช้<br />

พื้นที่ จึงได้จัดทำเป็นลานที่เห็นจอดรถกันในปัจจุบัน<br />

สนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหมมีการใช้<br />

ประโยชน์หลายประการ แบ่งออกได้ ๒ ส่วนกล่าว<br />

คือ<br />

๑) ลานอเนกประสงค์ คือ ลานปูอิฐตัวหนอน<br />

สีเขียวและปรับพื้นเรียบ ใช้ประโยชน์ในงานพิธีการ<br />

ที่สำคัญต่างๆ อาทิ<br />

• ใช้ตั้งกองทหารเกียรติยศในพิธีต้อนรับ<br />

ผู้นำประเทศทั้งของไทยและมิตรประเทศ<br />

รัฐมนตรีกลาโหมต่างประเทศ ในโอกาส<br />

เยือนกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นทางการ<br />

• ใช้ประกอบพิธีสำคัญทางทหาร อาทิ การ<br />

รับส่งหน้าที่และรับมอบการบังคับบัญชา<br />

ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม พิธีการในวันสถาปนา<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

• ใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญ อาทิ พิธีเทิด<br />

พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ<br />

พิธีสำคัญทางรัฐพิธี<br />

• ใช้ประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญ<br />

• ใช้จัดงานรื่นเริงหรืองานพบปะผู้ใต้บังคับ<br />

บัญชา<br />

• ใช้งานพิธีหรือกิจกรรมของหน่วยอื่นๆ<br />

ซึ่งในขณะที่ไม่มีพิธีการ ก็อนุญาตให้กำลังพล<br />

นำรถยนต์ทั้งที่เป็นรถยนต์ราชการ หรือรถยนต์<br />

ส่วนตัวมาจอดเพื่อปฏิบัติงานประจำวัน ดังที่เห็น<br />

ในปัจจุบัน<br />

๒) ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อ<br />

หอกลอง และการตกแต่งสวนรอบบริเวณ เพื่อให้<br />

กำลังพลได้สักการะและพักผ่อนตามอัธยาศัย<br />

กองทหารเกียรติยศผสม ๓ เหล่าทัพ ประกอบพิธีต้อนรับแขกต่างประเทศในโอกาสเยือนกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นทางการ<br />

92


๖๓. ต้นไม้ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

บริเวณรอบลานอเนกประสงค์ จะประกอบไปด้วยต้นไม้ต้นสูงปลูกอยู่รอบสนามและลานอเนกประสงค์<br />

ดูสวยงามและเป็นระเบียบ ต้นไม้ดังกล่าวเรียกว่า ต้นบุนนาค เพราะเป็นต้นไม้ที่นับว่ามีเกียรติประวัติ<br />

เคียงคู่กระทรวงกลาโหม ซึ่งในอดีต มีการปลูกต้นไม้หลายประเภทและมีการปรับเปลี่ยนชนิดของต้นไม้<br />

หลายครั้ง ประกอบด้วย ต้นราชพฤกษ์ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นปาล์ม ต้นพิกุล และอื่นๆ ซึ่งมีการจัดวาง<br />

ตามความประสงค์ในแต่ละสมัย ทำให้มีทั้งไม้ใหญ่และไม้เล็กปลูกเรียงสลับกันไป<br />

ต่อมา พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าภูมิทัศน์ภายใน<br />

ของศาลาว่าการกลาโหมควรได้รับการปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่ จึงให้นายทหารฝ่ายเสนาธิการช่วยกัน<br />

พิจารณาในเรื่องต้นไม้โดยให้หลักคิดว่า จะต้องเป็นต้นไม้ที่มีความส ำคัญและเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม<br />

กับกิจการทหารไทย และต้องเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีความสวยงาม มีประโยชน์ และมีลักษณะสูงเพื่อจะได้<br />

ไม่บดบังทัศนียภาพที่สง่างามของศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งจากการพิจารณาและตรวจสอบ ทราบดังนี้<br />

๑) ตระกูล “บุนนาค” เป็นตระกูลที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณ และมีความเกี่ยวข้องกับกิจการ<br />

ทหารไทยมาตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีอดีตบรรพบุรุษและบุคคลในตระกูลบุนนาคที่ด ำรงตำแหน่ง<br />

ทางทหารและรับราชการในกระทรวงกลาโหมตั้งแต่อดีต รวม ๙ ท่าน ดังนี้<br />

๑.๑) สมุหพระกลาโหม จำนวน ๕ ท่าน กล่าวคือ<br />

๑.๑.๑) เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) พ.ศ. ๒๓๓๖ - ๒๓๔๘<br />

๑.๑.๒) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) พ.ศ. ๒๓๗๓ - ๒๓๙๘<br />

๑.๑.๓) พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๐๑ - ๒๔๐๙<br />

๑.๑.๔) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๐๙ - ๒๔๑๒<br />

๑.๑.๕) เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒนพิพัฒน์ศักดิ์ (วร บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๑๒ - ๒๔๓๑<br />

๑.๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จำนวน ๑ ท่าน คือ พลเอก บรรจบ บุนนาค ๑๔<br />

มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๙ กันยายน ๒๕๓๕<br />

๑.๓) ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม จำนวน ๒ ท่าน กล่าวคือ<br />

๑.๓.๑) พระยาเทพประชุม (ท้วม บุนนาค) พ.ศ. ๒๔๐๙ - ๒๔๑๒<br />

๑.๓.๒) นายพลโท พระยาพระกฤษณจันทร์ (สวาส บุนนาค) ๒๙ สิงหาคม ๒๔๖๔ -<br />

๓๑ มีนาคม ๒๔๖๙<br />

๑.๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน ๑ ท่าน คือ พลเอก ประยูร บุนนาค ๑ ตุลาคม ๒๕๒๘<br />

- ๓๐ กันยายน ๒๕๒๙<br />

93


บุคคลสำคัญในตระกูล “บุนนาค”<br />

ผู้มีคุณูปการกับกระทรวงกลาโหม โดยดำรงตำแหน่งสำคัญทางทหาร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน<br />

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์<br />

(ดิศ บุนนาค)<br />

พระยามนตรีสุริยวงศ์<br />

(ชุ่ม บุนนาค)<br />

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์<br />

(ช่วง บุนนาค)<br />

เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒนพิพัฒน์ศักดิ์<br />

(วร บุนนาค)<br />

พลเอก บรรจบ บุนนาค<br />

พระยาเทพประชุม<br />

(ท้วม บุนนาค)<br />

นายพลโท พระยาพระกฤษณจันทร์<br />

(สวาส บุนนาค)<br />

พลเอก ประยูร บุนนาค<br />

94


๒) ต้นบุนนาค เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้น สูงเต็มที่<br />

ประมาณ ๒๕ - ๓๐ เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับรูป<br />

ขอบขนานแคบกว้าง ๒ - ๓ เซนติเมตร ยาว ๗ - ๑๒ เซนติเมตร ใบอ่อนจะ<br />

มีสีแดง ดอกสีขาวหอมเย็น ออกเป็นกระจุกประมาณ ๑ - ๒ ดอก กลีบดอก<br />

รูปไข่กลับ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย ในต ำรายาแพทย์แผนไทย พบว่า เกือบจะทุกส่วน<br />

ของต้นบุนนาค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางยา กล่าวคือ<br />

• ใบ ใช้รักษาบาดแผล แก้แผลสด แก้พิษงู<br />

• เปลือกต้น แก้พิษงู แก้ฟกช้ำ<br />

• แก่น แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงโลหิต<br />

• ดอกแห้ง เป็นยาฝาดสมาน ขับลมแก้ลมในไส้ บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต<br />

บำรุงหัวใจ<br />

• เมล็ด มีน้ำมันที่กลั่นใช้ผสมเครื่องสำอาง และอื่นๆ<br />

• ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ปัจจุบันนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่าง<br />

แพร่หลาย<br />

• ราก ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย<br />

ดังนั้น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ จึงได้สรุปนำเรียน พลเอก ทนงศักดิ์<br />

อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อขออนุมัติปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหมและปรับเปลี่ยนมาปลูกต้นบุนนาค ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีชื่อแสดงออก<br />

ถึงความเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมและกิจการทหารไทย จำนวน ๕๐ ต้น<br />

โดยดำเนินการในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงมีทัศนียภาพเป็นดังที่เห็น<br />

95


๖๔. ลักษณะอาคารภายในโรงทหารหน้า<br />

เดิมที โรงทหารหน้า ที่จัดสร้างขึ้นนี้ สร้างขึ้น<br />

ด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นพระราชนิยมในพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบบหนึ่ง ซึ่งหาก<br />

พิจารณาแล้วมีความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมเช่น<br />

เดียวกับอาคารที่ทำการพระคลังมหาสมบัติ (อาคาร<br />

กระทรวงการคลังเดิมในพระบรมมหาราชวัง) หรือ<br />

อาคารโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (ในพระบรม<br />

มหาราชวัง) หรือ อาคารมิวเซียมสยาม (อาคาร<br />

กระทรวงพาณิชย์เดิมบริเวณปากคลองตลาด) ซึ่งมี<br />

ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />

ผสมผสาน และมีการปรับเปลี่ยนภายในอาคาร<br />

จากแบบเดิมคือท้องพระโรง ที่มีประโยชน์ใช้สอยน้อย<br />

ให้กลายมาเป็นประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น โดยการ<br />

• แบ่งภายในอาคารเป็นชั้นได้ถึง ๓ ชั้น<br />

• แบ่งซอยเป็นห้องจำนวนมากทั้งที่เป็น<br />

ห้องขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่<br />

• ใส่หน้าต่างให้มากขึ้นทั้งภายนอกและ<br />

ภายในอาคาร<br />

เนื่องจาก การวางแผนใช้ประโยชน์ของอาคาร<br />

โรงทหารหน้ามีเป็นจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่ง<br />

พื้นที่เป็นห้องต่างๆ และมีพัฒนาการ รวมถึง<br />

การปรับปรุงเพื่อรองรับการใช้งานตลอดเวลา<br />

ห้องทำงานหรือห้องที่พบเห็นในปัจจุบันนี้<br />

ส่วนใหญ่เป็นห้องที่จัดทำไว้ตั้งแต่อดีตแต่มีการ<br />

ตกแต่งภายในใหม่ให้รองรับการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้<br />

เพราะภายในศาลาว่าการกลาโหมประกอบด้วย<br />

ส่วนราชการขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หลายหน่วย และแต่ละหน่วยก็มีส่วนราชการ<br />

ย่อยลงไปอีกตามภารกิจที่กำหนด เมื่อเป็นเช่นนี้<br />

จึงสามารถใช้ประโยชน์จากการจัดสถานที่โรงทหาร<br />

หน้าแบบเดิมที่มีการซอยและจัดเป็นห้องทำงานไว้<br />

มาต่อยอดใช้ประโยชน์ของทางราชการ<br />

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการรับน้ำหนัก<br />

อาคารที่มีมหาศาล อันเกิดจากการแบ่งพื้นที่ภายใน<br />

ถึง ๓ ชั้นและมีห้องจำนวนมากมาย ดังนั้นรากฐาน<br />

ที่สำคัญคือ รากฐานอาคารแบบ Wall Footing ด้วย<br />

การก่อกำแพงรับน้ำหนัก โดยมีการก่ออิฐถือปูน<br />

เป็นชั้นบนสุดและลดหลั่นจากผนังทั้งสองข้าง<br />

ถ่ายน้ำหนักออกไปสู่ตอนปีกของฐาน อีกทั้ง<br />

ใต้ฐานรากได้วางท่อนซุงวางซ้อนกันเป็นแพ เรียกว่า<br />

แพซุง จึงทำให้อาคารคงรูปและมีสภาพการใช้งาน<br />

มานานกว่า ๑๒๐ ปีแล้ว<br />

๖๕. ทหารไทยกับการใช้ประโยชน์ภายในตัว<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ความใหญ่โต โอ่อ่าของอาคารโรงทหารหน้า<br />

แห่งนี้ สามารถบรรจุกำลังทหารได้ถึง ๑ กองพล<br />

พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ สัตว์พาหนะ เสบียงอาหาร<br />

ยานพาหนะ โรงครัว และโรงพยาบาลไว้อย่างครบ<br />

ครัน สำหรับกำลังทหาร สามารถรองรับทหารเหล่า<br />

ต่างๆ ประกอบด้วย ทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหาร<br />

ช่าง ทหารม้า ทหารเสนารักษ์ ทหารพลาธิการ และ<br />

ทหารดุริยางค์ โดยการประกอบกำลังจากนายทหาร<br />

นายสิบ และพลทหาร ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของเหล่า<br />

ทหารดังกล่าวอีกด้วย<br />

ในยุคต่อมา อาคารศาลาว่าการกลาโหม เคยใช้<br />

เป็นที่ทำการสำคัญของหน่วยทหาร อาทิ โรงเรียน<br />

เสนาธิการทหารบก กองบัญชาการกองทัพบก<br />

หน่วยงานของกองทัพบก และหน่วยงานของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เนื่องจากมีการขยายหน่วยใหม่เป็นจำนวนมาก<br />

เพื่อรองรับวิวัฒนาการทางทหารของประเทศ ทำให้<br />

ต้องบรรจุกำลังพลมากขึ้น และต้องใช้พื้นที่ในการ<br />

ปฏิบัติราชการเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดความ<br />

แออัด ประกอบกับ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก<br />

และกองบัญชาการกองทัพบก ได้ปรับปรุงพื้นที่<br />

ปฏิบัติราชการจึงทำให้มีการย้ายหน่วยออกจาก<br />

ศาลาว่าการกลาโหมไปตั้งในพื้นที่ต่างๆ<br />

96


ปัจจุบัน ศาลาว่าการกลาโหมจึงใช้ประโยชน์ทางทหารในส่วนที่ส ำคัญ กล่าวคือ<br />

• เป็นที่ทำการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นที่ทำการของปลัดกระทรวงกลาโหมและรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นที่ทำการของจเรทหารทั่วไปและผู้บังคับบัญชาชั้นสูงอื่นตามความ<br />

เหมาะสม<br />

• เป็นสถานที่จัดการประชุมในระดับนโยบายชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางการทูตด้านการทหารกับผู้แทนกระทรวง<br />

กลาโหมมิตรประเทศ<br />

• เป็นสถานที่ทำงานของส่วนราชการขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมที่ต้องปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

ดังนั้น การที่มีผู้บังคับบัญชาชั้นสูงจากกรมราชองครักษ์ กองบัญชาการ<br />

กองทัพไทย และเหล่าทัพ มาศาลาว่าการกลาโหมเป็นประจำทุกเดือนก็เพื่อมา<br />

ประชุมในระดับนโยบายชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม คือการประชุมสภากลาโหม<br />

และอาจเข้าพบปะหารือกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงในกระทรวงกลาโหม<br />

๖๖. ศาลาว่าการกลาโหมกับการเมืองการปกครองของไทย<br />

นอกจากการถวายงานสนองพระเดชพระคุณองค์พระมหากษัตริย์ งานการ<br />

ประกอบกิจกรรมทางทหารที่เคยใช้ประโยชน์จากโรงทหารหน้าและกระทรวง<br />

กลาโหมแล้ว ศาลาว่าการกลาโหม ยังเคยใช้เป็นสถานที่ในการรักษาความมั่นคง<br />

ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความมั่นคงทางการเมืองการปกปครอง<br />

ของไทย และการรักษาความสงบสุขให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ดังนี้<br />

๑) วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญ<br />

การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญ<br />

ฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม) ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงลงพระปรมาภิไธย มาเก็บรักษาไว้ที่ศาลาว่าการกลาโหม จนกระทั่งปี<br />

พ.ศ. ๒๕๒๖ กระทรวงกลาโหม โดย พลเอก ทวนทอง สุวรรณทัต ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ได้นำพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าวไปมอบให้กับ พลอากาศเอก<br />

หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา เพื่อนำไปเก็บรักษาที่รัฐสภา<br />

๒) วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓ นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี<br />

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ใช้สนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

เป็นที่ให้การต้อนรับคณะยุวชนทหาร ยุวนารี และประชาชนต่อกรณีการเรียกร้อง<br />

ดินแดนคืนจากฝรั่งเศส<br />

97


๓) วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ พลโท ผิน<br />

ชุณหะวัน (ยศในขณะนั้น) เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร<br />

ได้ใช้อาคารศาลาว่าการกลาโหม เป็นที่ท ำการประชุม<br />

วางแผน เพื่อเตรียมยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มี<br />

พลเรือตรี ถวัลย์ ธ ำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี<br />

ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์<br />

ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้<br />

อันมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์สวรรคตของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล<br />

ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ<br />

และประเทศกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ<br />

๔) เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๔ จอมพล<br />

ถนอม กิตติขจร ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการ<br />

บริหารราชการแผ่นดิน และได้ใช้ร่วมประชุม ณ<br />

ห้องประชุมกระทรวงกลาโหม (ห้องทำงาน พลเอก<br />

จิตติ นาวีเสถียร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด)<br />

เป็นห้องประชุมและเป็นกองบัญชาการของคณะ<br />

ปฏิวัติ เพื ่อการปฏิบัติงานในฝ่ายรักษาความมั่นคง<br />

แห่งชาติ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามนโยบาย<br />

ของคณะปฏิวัติ<br />

ดังกล่าวมานี้คือ เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง<br />

การปกครองที่มีการบันทึกถึงความเกี่ยวข้องกับ<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๖๗. กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า ศาลาว่าการกลาโหม<br />

แห่งนี้ นอกจากเป็นที่ทำการของกระทรวงกลาโหม<br />

แล้ว ยังเคยเป็นที ่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพบก<br />

อีกด้วย สืบเนื่องจากในยุคแรกของโรงทหารหน้า<br />

มีการบรรจุกำลังทหารของทหารเหล่าต่างๆ<br />

ซึ่งรวมถึงหน่วยทหารราบด้วย ต่อมาเมื่อมีการ<br />

ตราพระราชบัญญัติจัดการทหาร โดยให้รวบรวม<br />

ทหารบกและทหารเรือ ตั้งเป็นกรมใหม่ เรียกว่า<br />

กรมยุทธนาธิการ ก็มีการบัญญัติตำแหน่งผู้ช่วย<br />

ผู้บังคับบัญชาการทหารบก และเมื่อมีการยกฐานะ<br />

กรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) เป็นผู้บัญชาการทหารบก<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อลดฐานะเป็น<br />

กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา<br />

ทหารบก ก็มีการแบ่งส่วนราชการกรมยุทธนาธิการ<br />

เป็น ๑๔ หน่วย ซึ่งมี กรมทหารบกใหญ่ เป็นส่วน<br />

ราชการขึ้นตรงด้วย<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เมื่อโอนกรมยุทธนาธิการ<br />

มาเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ก็มี<br />

การบัญญัติให้มีหน่วยงานทหารบกหลายหน่วยเป็น<br />

ส่วนราชการขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ อาทิ กรมปลัด<br />

ทัพบก กรมจเรทัพบก กรมยกกระบัตรทัพบก<br />

ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการจัดตั้งกองทัพบกขึ้น แต่ส่วน<br />

บังคับบัญชาส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

และมีการย้ายที่ทำการกองทัพบกมาอยู่ที่ตึกกลาง<br />

ศาลาว่าการกลาโหม และมีการถือกำเนิดหน่วย<br />

ขึ้นตรงกองทัพบกเกิดขึ้นและจัดตั้งหน่วยในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในเดือนกันยายน ๒๕๓๖ หน่วยงานต่างๆ<br />

ในกองทัพบก ได้ย้ายเข้าสู่ที่ตั้งใหม่ ณ กองบัญชาการ<br />

กองทัพบกปัจจุบัน (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า<br />

เดิม)<br />

จึงกล่าวได้ว่า ศาลาว่าการกลาโหม คือ ที่ท ำการ<br />

กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก<br />

98


๖๘. โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก<br />

ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวง<br />

กลาโหมได้จัดให้มีหลักสูตรเสนาธิการทหารบกเพื่อให้นายทหารที่ผ่านการ<br />

คัดเลือกเข้ารับการศึกษา โดยเริ่มต้นตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบกภายในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม บริเวณชั้นที่ ๒ ของอาคารด้านทิศเหนือ<br />

เริ่มแรก เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๔๑ ได้มีการเปิดการศึกษาและฝึกหน้าที่<br />

ฝ่ายเสนาธิการทหารบกขึ้นให้นายทหารเข้ามาทดลองเรียน<br />

จนถึง ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนคร<br />

สวรรค์วรพินิต (ยังดำรงพระยศเป็น พลตรี ทรงดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหาร<br />

บก) ได้ทรงสั่งการให้ทำการคัดเลือกนายทหารจากกรมกองต่างๆ เข้ามาสำรอง<br />

ราชการในกรมเสนาธิการทหารบก เพื่อเข้ามาศึกษาทดลองทำงานในหน้าที่<br />

ฝ่ายเสนาธิการ เมื่อครบกำหนดแล้ว ก็มีการพิจารณาคัดเลือกผู้มีความเหมาะสม<br />

ให้เข้ารับราชการประจำในกรมเสนาธิการทหารบกต่อไป<br />

ต่อมา ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๕๒<br />

และใช้อาคารศาลาว่าการกลาโหมเป็นที่ตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จนถึง<br />

ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงย้ายโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จากศาลาว่าการกลาโหม<br />

ไปอยู่ในบริเวณกรมแผนที่ทหาร และวังบางขุนพรหม ตามลำดับ<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๕๐๑ ได้ย้ายกลับมาใช้สถานที่ศึกษาในศาลาว่าการ<br />

กลาโหมอีกครั้ง ก่อนที่จะย้ายไปที่สวนสนปฏิพัทธ์ และโรงเรียนยานเกราะ<br />

ตามลำดับ หลังจากนั้น วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๑๓ จึงย้ายเข้าสู่อาคารประภาสโยธิน<br />

เป็นการถาวรตราบจนถึงปัจจุบัน<br />

99


จึงกล่าวได้ว่า ศาลาว่าการกลาโหม คือ ที่ทำการของโรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก และยังให้<br />

ใช้เป็นสถานที่เรียนในยุคต่อมา ทั้งยังเป็นสถานที่สำหรับผลิต อดีตผู้บังคับบัญชาและอดีตนายทหารฝ่าย<br />

เสนาธิการ (ซึ่งเป็นมันสมองของกองทัพ) อันทรงคุณค่าให้แก่กองทัพไทยอีกด้วย<br />

จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ<br />

ขณะดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก (ปีพุทธศักราช ๒๔๕๒-๒๔๕๖)<br />

ฉายภาพร่วมกับเหล่านายทหาร ในศาลาว่าการกลาโหม)<br />

100<br />

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่<br />

ถ่ายภาพร่วมกับนักเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๒๖ ในศาลาว่าการกลาโหม ปีพุทธศักราช ๒๔๘๖


๖๙. ที่ทำการจเรทหาร ที่ปรึกษาทางทหาร<br />

และจเรทหารทั่วไป<br />

ศาลาว่าการกลาโหมแห่งนี้ มีเกียรติภูมิ<br />

และเกียรติประวัติอันสำคัญต่อการขับเคลื่อน<br />

ทิศทางและผลิตมันสมองของกองทัพในยุคบุกเบิก<br />

จนพัฒนามาเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวง<br />

กลาโหมที่สำคัญอย่างกองทัพบก<br />

ความจริงแล้ว ศาลาว่าการกลาโหม ยังมี<br />

เกียรติประวัติในเรื่องของที่ทำการสำคัญอีก<br />

๒ สำนักงาน ซึ่งในปัจจุบันท่านอาจไม่คุ้นเคยกับบาง<br />

ตำแหน่งเท่าใดนัก ผมขอเรียน ดังนี้<br />

๑) ที่ทำการจเรทหาร ในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ จอมพล สมเด็จพระราช<br />

ปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นจเรทหาร<br />

โดยให้มีหน้าที่เป็นผู้ตรวจและแนะนำตักเตือน<br />

หน่วยทหารทั่วไปให้ปฏิบัติตามระบียบ ข้อบังคับ<br />

ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ออกไว้ ทั้งดำริการแก้ไข<br />

เพิ่มเติมในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทรงเห็นยังบกพร่องอยู่<br />

ในหน่วยทหารทั่วไป ซึ่งมีที่ทำการจเรทหารอยู่ใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหมบริเวณมุขกลางด้านหน้า<br />

๒) ที่ทำการจเรทหารทั่วไปและที่ปรึกษา<br />

ทางทหาร ในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม (ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๕๐๐)<br />

ได้มีการแต่งตั้งต ำแหน่งจเรทหารทั่วไป และที่ปรึกษา<br />

ทางทหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขึ้น<br />

โดยให้มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น ๓ ตึกกลางมุขหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งต่อมา ตำแหน่งจเรทหารทั่วไป เคยงดการ<br />

แต่งตั้งมาห้วงระยะเวลาหนึ่ง และมีการนำแต่งตั้ง<br />

นายทหารระดับสูงของกองทัพอีกครั้งตั้งแต่ ปี<br />

พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา และต่อมาได้กำหนดให้เป็น<br />

ตำแหน่งในอัตราจอมพล จอมพลเรือ และจอมพล<br />

อากาศ<br />

๗๐. ที่พักทหารของโรงทหารหน้า<br />

การที่เคยมีกำลังพลทหารประมาณ ๑ กองพล<br />

ปฏิบัติหน้าที่ในโรงทหารหน้า ซึ่งมีพลทหารเป็น<br />

จำนวนมาก ย่อมต้องมีการบริหารจัดการในเรื่อง<br />

ของการพักแรมเป็นอย่างดี กล่าวคือ<br />

๑) ที่พักนายทหาร โดยในตัวอาคารโรงทหาร<br />

บริเวณชั้นสองของอาคารบางส่วนทำเป็นที่พัก<br />

ของนายทหาร สำหรับกำลังพลส่วนมากที่เป็นพล<br />

ทหาร จึงต้องแยกส่วนออกมาเพราะโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหมเป็นสถานที่ทำการของ<br />

เหล่าทหารตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจทางทหาร<br />

ตะวันตกที่ได้มีการก ำหนดการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม<br />

๒) ที่พักพลทหาร พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างสถานที่พักทหาร รวมทั้ง สร้างตะราง<br />

กลาโหม (เรือนจำทหาร) อย่างเป็นสัดส่วน<br />

แยกออกจากที่ทำการของกรมทหารหน้า<br />

กรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ<br />

โดยนายโจอา คิม กราซซี สถาปนิกและวิศวกร<br />

ชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบ<br />

โดยการสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวจำนวน<br />

๗ หลัง ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหม<br />

ก่อนถึงถนนราชินี แยกเป็นเรือนนอน โรงครัว<br />

ที่ซักผ้า - อาบน้ำ ที่พักทหาร ตะรางกลาโหม และ<br />

สถานที่สำหรับติดต่อราชการหรือให้ญาติมาพบได้<br />

ตามอัธยาศัย<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื่องจากมีความ<br />

จำเป็นจะใช้พื้นที่จัดสร้างอาคาร วิทยาลัยป้องกัน<br />

ราชอาณาจักร จึงได้รื ้อถอนอาคารที่พักทหารและ<br />

ตะรางกลาโหมดังกล่าว ทำให้มีการใช้ประโยชน์<br />

ของอาคารดังกล่าวนานถึง ๖๘ ปี (พ.ศ. ๒๔๒๘ -<br />

๒๔๙๖)<br />

101


๗๑. ตะรางกลาโหม<br />

เป็นธรรมดาที่คนหมู่มากมาทำงานร่วมกันย่อมจะต้องมีการกระทำผิด และสำหรับทหารซึ่งมี<br />

กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวินัยทหาร เป็นกรอบการปฏิบัติ ย่อมมีผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำผิดบ้างจึงต้อง<br />

มีการลงโทษ ลงทัณฑ์บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ การสร้างเรือนจำทหารจึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด<br />

อย่างไรก็ตาม มีการบันทึกว่า เรือนจำทหารโรงทหารหน้า หรือ ตะรางกลาโหม ได้เคยใช้ประโยชน์<br />

นอกเหนือจากการลงโทษ ลงทัณฑ์ทหารแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในการคุมขังนักโทษความมั่นคงแห่งชาติ<br />

มาหลายครั้ง อาทิ กรณีเกิดการกบฏของอั้งยี่ ในพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ กรณีการกบฏของเงี้ยวที่<br />

จังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ และกรณีกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ หรือที่เรียกว่า กบฏเก็กเหม็ง (พ.ศ. ๒๔๕๕)<br />

๗๒. โรงทหารหน้า กองบัญชาการปราบกบฏอั้งยี่<br />

นอกจากกิจการทหารแล้ว โรงทหารหน้ายังเคยใช้เป็นสถานที่สำคัญในการปฏิบัติราชการเพื่อรักษา<br />

ความมั่นคงแห่งชาติครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือเหตุการณ์กบฏอั้งยี่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น<br />

ในเดือนมิถุนายน ๒๔๓๒ ซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบในพระนคร บริเวณโรงสีปล่องเหลี่ยม บางรัก ระหว่าง<br />

กรรมกรชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนกับกรรมกรชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งงานกันทำ<br />

ซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นที่บริเวณริมถนนเจริญกรุง ๒ ข้าง ใกล้กับวัดยานนาวา<br />

ในครั้งนั้น กระทรวงนครบาลไม่สามารถระงับเหตุได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ผู้บัญชาการ<br />

กรมยุทธนาธิการเตรียมการจัดกำลังทหารเข้าปราบปรามพวกอั้งยี่และควบคุมสถานการณ์แทน<br />

โดยในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๒ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ จึงโปรดให้มีการใช้ตึกกลาง<br />

ของศาลายุทธนาธิการเป็นกองบัญชาการปราบอั้งยี่ โดยทูลเชิญ นายพลโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เจ้ากรมยุทธนาธิการ นายพลตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก และนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน รักษาราชการ<br />

แทนผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ มาประชุมปรึกษาการปราบอั้งยี่ครั้งนี้ ผลการประชุมได้จัดกำลังทหารบก<br />

ขึ้นรถรางไฟฟ้าสายหลักเมือง - ถนนตก ไปที่บริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ และจัดกำลังทหารเรือ ลงเรือล่องตาม<br />

แม่น้ำเจ้าพระยาจากกรมทหารเรือขึ้นบุกด้านใต้บริเวณนี้เกิดเหตุอีกหนึ่งกองกำลัง<br />

ในวันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๓๒ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา จึงดำเนินการตามแผนฯ ปรากฏผลว่าทหาร<br />

ดำเนินการปราบอั้งยี่ดังกล่าวได้สำเร็จ และสามารถควบคุมตัวผู้ก่อความไม่สงบได้ราว ๘๐๐ คน มีจำนวน<br />

อั้งยี่เสียชีวิตราว ๑๐ คน และบาดเจ็บราว ๒๐ คน และนำตัวมาคุมขังที่ตะรางกลาโหม ก่อนส่งให้กระทรวง<br />

นครบาลนำตัวไปดำเนินการตามคดีต่อไป<br />

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่า การใช้กำลังทหารในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในพระนคร<br />

ครั้งนี้ ได้สร้างเกียรติประวัติแก่กองกำลังทหารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ควรจารึก<br />

ไว้ในเกียรติประวัติศาลาว่าการกลาโหมให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบและศึกษาค้นคว้าสืบต่อไปในอนาคต<br />

102


103


๗๓. อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ในอดีต วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. ได้เคยเปิดทำการศึกษาที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

เป็นรุ่นแรกๆ กล่าวคือ<br />

๑) ภายหลังกองทัพไทยได้ส่งกองกำลังเข้าร่วมรักษาสันติภาพที่เกาหลีใต้ ที่เรารู้จักกันว่า สงคราม<br />

เกาหลี ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและกองทัพสหรัฐอเมริกา<br />

ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่กองทัพไทยเพื่อการป้องกันและรุกรานเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์<br />

โดยกำหนดให้มีการจัดการศึกษา ซึ่งหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรของสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่ง<br />

ในจำนวนของความช่วยเหลือทางทหารที่กองทัพไทยมีความประสงค์ให้จัดตั้งขึ้น<br />

๒) ในขณะนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกลาโหม ได้นำเรื่อง<br />

จัดตั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร นำเสนอต่อสภากลาโหม ผลปรากฏสภากลาโหมมีมติอนุมัติให้<br />

เปิดหลักสูตรกับให้กรมเสนาธิการกลาโหม เป็นหน่วยดำเนินการพิจารณาสรรหาที่ตั้งของวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร<br />

อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร บริเวณด้านหลังศาลาว่าการกลาโหม<br />

104


๓) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พลเอก เดช เดชประดิยุทธ เสนาธิการกลาโหม<br />

ตกลงใจเลือกบริเวณด้านหลังอาคารกระทรวงกลาโหม หรือ ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก เป็นที่ก่อสร้างวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นผลให้<br />

กระทรวงกลาโหมอนุมัติให้รื้อถอน อาคารที่พักทหาร เรือนจำ (ตะรางกลาโหม)<br />

และปรับพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหมเพื่อจัดสร้างวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร<br />

๔) พิธีวางศิลาฤกษ์จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๙๖ บริเวณด้าน<br />

ทิศเหนือริมถนนหลักเมือง มีพลเอก หลวงวิชิตสงคราม ที่ปรึกษาทางทหาร<br />

(อดีตรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงกลาโหม) เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ โดยกำหนด<br />

ให้มีที่ทำการอยู่ด้านหลังของอาคารกระทรวงกลาโหม ริมคูเมืองชั้นใน ซึ่งเรียก<br />

กันว่าคลองโรงไหม (คลองเตยหรือคลองหลอด) ดำเนินการก่อสร้างในวงเงิน<br />

งบประมาณ ๗,๔๙๓,๐๐๐. - บาท<br />

๕) โดยลักษณะอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น โดยเป็น<br />

สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในขณะนั้น เช่นเดียวกันกับอาคารกระทรวงคมนาคม<br />

อาคารที่ทำการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้สร้างเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร<br />

ด้านหลังของกระทรวงกลาโหม มีทางเดินติดต่อกัน ๓ ชั้น คือ<br />

ชั้นบน เป็นห้องบรรยาย<br />

ชั้นกลาง เป็นห้องประชุม<br />

ชั้นล่าง เป็นห้องรับรอง ซึ่งใช้เป็นห้องประกอบพิธีพระราชทานปริญญา<br />

บัตรแก่นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

๖) สำหรับด้านปีกของอาคารซึ่งต่อออกมาในทางทิศใต้นั้น มีการจัดสรร<br />

พื้นที่การใช้ประโยชน์ออกเป็นที่ทำการหน่วยงาน รวม ๓ หน่วย คือ หนึ่ง<br />

เป็นที่ทำการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สอง เป็นที่ตั้งของกรมเสนาธิการ<br />

กลาโหม และ สาม เป็นที่ประชุมขององค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization : SEATO)<br />

๗) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๗<br />

จึงได้ทำพิธีเปิดอาคารพร้อมกับพิธีเปิดการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร<br />

(วปอ.) รุ่นที่ ๑ ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๘ โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

เป็นประธานในพิธี<br />

๘) ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ได้ย้ายที่ท ำการ<br />

ไปอยู่ที่อาคารใหม่ถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท กรุงเทพฯ<br />

เรียกว่า อาคารศาลาว่าการกลาโหม ได้บันทึกประวัติศาสตร์ทางทหาร<br />

อีกหนึ่งหน้า และเป็นรากฐานของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศในปัจจุบัน<br />

105


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเป็นประธานทรงพระราชทาน ปริญญาบัตร วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะ<br />

แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพบก, เรือ, อากาศ และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก, เรือ, อากาศ<br />

ณ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

106


๗๔. ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า ในห้วงเวลาประมาณ<br />

๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา กองบัญชาการทหารสูงสุด เคยมี<br />

ที่ตั้งอยู่ในศาลาว่าการกลาโหม และมีห้องประชุม<br />

ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อใช้ประกอบพิธีการต่างๆ<br />

ซึ่งในอดีตห้องประชุมดังกล่าวเคยเป็นห้องประชุม<br />

ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรมาก่อน ต่อมา<br />

เมื่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรย้ายออกไป<br />

ที่ตั้งใหม่ถนนแจ้งวัฒนะ จึงปรับมาเป็นห้องประชุม<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด โดยมีที่ตั้งบริเวณหัวมุม<br />

ถนนราชินีตัดกับถนนหลักเมือง เป็นห้องประชุมและ<br />

ห้องจัดเลี้ยงขนาดบรรจุคนได้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คน<br />

ที่ผ่านมาเคยใช้ประโยชน์ของราชการทหาร<br />

หลายครั้ง ทั้งเคยเป็นห้องจัดพิธีสำคัญทางทหาร<br />

อีกด้วย กล่าวคือ<br />

๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล<br />

อดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทาน<br />

ปริญญาบัตร วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเข็ม<br />

วิทยฐานะ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สำเร็จการศึกษา<br />

จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัย<br />

เสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพบก วิทยาลัยการ<br />

ทัพเรือ วิทยาลัยการทัพอากาศ โรงเรียนเสนาธิการ<br />

ทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียน<br />

เสนาธิการทหารอากาศ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๙<br />

จนถึง ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี<br />

ณ ห้องประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ถนนวิภาวดีรังสิต และ ห้องประชุมใหญ่สวนอัมพร<br />

ตามลำดับ<br />

๒) เคยใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองในงานพิธีสำคัญ<br />

ของทางราชการทหาร อาทิ งานวันกองทัพไทย<br />

งานวันสถาปนาหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหาร<br />

สูงสุด<br />

๓) เคยใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองในงานรับรอง<br />

ผู้แทนทางทหารมิตรประเทศ<br />

๔) ใช้เป็นห้องประกอบพิธีทางศาสนา และ<br />

ให้กำลังพลร่วมฟังเทศน์และปฏิบัติธรรม<br />

๕) กรมการเงินกลาโหม เคยใช้เป็นห้องสำหรับ<br />

ให้ผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ แสดงตนประจำปี<br />

เพื่อรับสิทธิจากทางราชการ<br />

๖) เคยใช้เป็นห้องจัดงานเลี้ยงของหน่วยขึ้นตรง<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และหน่วยขึ้นตรง<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

๗) งานพิธีอื่นๆ<br />

ก่อนที่จะรื้อถอนอาคารกองบัญชาการทหาร<br />

สูงสุด และสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมด้านทิศตะวันออก ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน<br />

107


๗๕. อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ในอดีต อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดและอาคารที่ทำการหน่วยขึ้นตรง<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด เคยจัดสร้างในบริเวณศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑) อาคารที่ทำการหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด เริ่มต้นในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งเป็นปีที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ<br />

กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งบัญญัติให้มีกองบัญชาการทหารสูงสุด และ<br />

ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดส่วนราชการขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ขึ้นเป็นครั้งแรก<br />

ในการนี้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีและผู้บังคับบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด ได้มีดำริและอนุมัติให้มีการจัดสร้างตึกที่ทำการหน่วยขึ้นตรง<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุดและตึกโทรคมนาคมบริเวณพื้นที่ระหว่างอาคาร<br />

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรกับด้านหลังอาคารทิศตะวันออกของศาลา<br />

ว่าการกลาโหม จำนวน ๓ หลัง<br />

๒) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรได้ย้าย<br />

ที่ทำการไปอยู่ที่อาคารใหม่ ถนนวิภาวดีรังสิต จึงได้ท ำพิธีตั้งอาคารกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดยใช้อาคารจำนวน ๔ หลัง ด้าน<br />

ทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหมจึงเป็นที่ทำการของกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด<br />

๓) ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ย้ายที่ท ำการหน่วย<br />

ขึ้นตรงไปอยู่ ณ ที่ทำการใหม่บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ และส่งมอบอาคาร<br />

จำนวน ๔ หลัง ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมดูแล<br />

๔) เมื่อแรกรับมอบอาคาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ใช้ประโยชน์<br />

ของอาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นที่ทำการของสำนักงานแพทย์<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แต่เนื่องจากอาคารทั้ง ๔ หลัง เป็นอาคาร<br />

ที่มีอายุการใช้งานมานานประกอบกับสภาพภายในอาคารชำรุดทรุดโทรม จึงมิได้<br />

มีการปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์<br />

108


๗๖. การต่อเติมอาคารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ<br />

แต่เดิมเคยมีโครงการก่อสร้างที่ทำการกระทรวงกลาโหมแห่งใหม่ เพื่อรวมหน่วยงานที่กระจัดกระจาย<br />

หลายแห่งไว้ในที่เดียวกัน โดยคำนึงถึงความสมดุลของสถาปัตยกรรมและการใช้งาน<br />

แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูงได้พิจารณาจากกระแสพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เมื่อวันที่<br />

๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๔ มีความบางตอนว่า<br />

“…การสร้างอาคารสมัยใหม่นี้ คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว<br />

แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าแผ่นเดียวก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้...<br />

...ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ<br />

ของพลเมือง และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษจึงควรรักษาไว้...<br />

....โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ โบราณสถานทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นของมีคุณค่าและ<br />

จำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์...<br />

...เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทย ที่มีมาแต่อดีตกาล สมควรจะสงวนรักษาไว้<br />

ให้คงทน...<br />

...ควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาและตั้งแสดง...<br />

...เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศเราที่เป็นเอกสารที่มีอยู่โดยจ ำกัด...<br />

...ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องระวังรักษาอย่างดีที่สุดตลอดไป...”<br />

109


จึงมีความคิดที่จะอัญเชิญพระบรมราโชวาทไว้เหนือเกล้าฯ และปฏิบัติ<br />

ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ พลเอก ธรรมรักษ์<br />

อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกลาโหม จึงได้อนุมัติให้ชะลอโครงการ<br />

ก่อสร้างที่ทำการกระทรวงกลาโหมแห่งใหม่และอนุมัติงบประมาณการต่อเติม<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เพื่อให้เป็นสถานที่ทำการ<br />

ของสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมต่อไปในอนาคต<br />

ในการนี้สำนักโยธาธิการกลาโหม สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม จึงได้ออกแบบอาคารส่วนต่อเติมด้านทิศตะวันออกของ<br />

ศาลาว่าการกลาโหมตามแบบอย่างอาคารศาลาว่าการกลาโหม นับว่า สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมได้น้อมเกล้าฯ อัญเชิญกระแสพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ<br />

การอนุรักษ์โบราณสถานมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม<br />

๗๗. อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก<br />

เนื่องจากอาคารที่ทำการกองบัญชาการทหารสูงสุดมีอายุมากกว่า ๕๐ ปี<br />

การบูรณะซ่อมแซมต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก ประกอบกับ เป็นอาคาร<br />

แบบเก่าที่ไม่สามารถปรับปรุงให้รองรับปริมาณงานได้เต็มที่<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจึงได้บรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนา<br />

และปรับปรุงอาคาร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม (ในยุคของ พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหม)<br />

และได้มีการอนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๐<br />

(ในยุคของ พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ<br />

พลเอก วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม) และมีพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวัน<br />

จันทร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ โดย พลเอก วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นประธานในพิธี<br />

ซึ่งการดำเนินการ เป็นการจัดสร้างโดยรื้อถอนอาคารกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด และก่อสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทนตามรูปแบบที่มีลักษณะ<br />

ทางสถาปัตยกรรมกลมกลืนกับอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านหน้า (หลังเดิม<br />

ที่ใช้การอยู่จนถึงปัจจุบัน) โดยให้มีความต่อเนื่องจากอาคารเดิม และคงรูปแบบ<br />

ภายนอกอาคารในลักษณะเดิมแต่เพิ่มประโยชน์ใช้สอยเป็นอาคารสำนักงาน<br />

ซึ่งองค์ประกอบของอาคาร มีดังนี้<br />

ชั้นที่ ๑ เป็นส่วนสำนักงาน ส่วนบริหารกลาง ส่วนงานระบบภายในอาคาร<br />

และส่วนอื่นๆ ประกอบด้วย โถงบันได ลิฟท์โดยสารและลิฟท์ขนย้าย<br />

ชั้นที่ ๒ เป็นห้องประชุมขนาด ๓๐๐ ที่นั่ง และขนาด ๑๘๐ ที่นั่ง<br />

ส่วนบริหารกลาง ส่วนงานระบบภายในอาคาร ลิฟท์โดยสารและลิฟท์ขนย้าย<br />

โดยที่ห้องประชุมในชั้นที่ ๒ นี้ ประกอบด้วย<br />

110


• ห้องพินิตประชานาถ เป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ ๓๐๐ ที่นั่ง<br />

• ห้องยุทธนาธิการ เป็นห้องประชุมขนาด ๑๘๐ ที่นั่ง<br />

ชั้นที่ ๓ เป็นส่วนสำนักงานผู้บังคับบัญชาระดับสูง และห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นห้องประชุมขนาด ๘๐ ที่นั่ง<br />

ทั้งนี้ บริเวณชั้นล่าง ยังจัดทำเป็นลานโล่งภายในสำหรับใช้ประโยชน์และจอดรถยนต์ บนพื้นที่ ๓ ไร่<br />

๒ งาน และ ๕๙ ตารางวา หรือ ๑,๔๕๙ ตารางวา<br />

ต่อมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ได้ประกอบพิธีเปิดอาคาร โดย พลอากาศเอก สุกำพล<br />

สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี<br />

สำหรับงบประมาณที่ใช้ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างจำนวน ๒๕๒,๔๘๙,๐๐๐. - บาท และค่าตกแต่ง<br />

ภายในอาคาร จำนวน ๑๖๘,๑๔๐,๐๐๐. - บาท<br />

111


๗๘. ห้องอารักขเทวสถาน<br />

ห้องอารักขเทวสถานแห่งนี้ เดิมทีเป็นห้องคลังครุภัณฑ์ และยุทธภัณฑ์ของหน่วยทหารมาตั้งแต่รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นห้องชั้นล่างของอาคารตึกสามชั้นด้านขวา (ทิศเหนือ)<br />

ของโรงทหารหน้า ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ภายใต้<br />

ตัวอาคารประกอบด้วย เสาไม้สักทรงกลม ก่ออิฐถือปูนหุ้มทับเสาไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่มีเสาไม้สักบางต้น<br />

ไม่ได้ก่ออิฐถือปูนทับเสา อาทิ เสาไม้สักทรงกลมกลางห้องอารักขเทวสถานแห่งนี้<br />

ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ กรมยุทธโยธาทหารบก ได้ใช้ห้อง<br />

อารักขเทวสถานนี้เป็นกองคลังยุทธศาสตร์เก็บอาวุธยุทธสัมภาระ<br />

ต่อมา กรมพลาธิการทหารบก ได้ใช้เป็นที่ทำการคลังเก็บสิ่งอุปกรณ์เหล่าทหารพลาธิการ เป็นเวลา<br />

หลายปี<br />

และหน่วยสุดท้ายที่ใช้เป็นที่ทำการหน่วยคือ กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก ซึ่งในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้เกิดเหตุการณ์ประหลาด ปรากฏว่า มีน้ำมันไหลออกจากเสาไม้สักกลางห้องบริเวณหัวเสา<br />

ด้านบนสุด ซึ่งตามโบราณเชื่อกันว่า มีรุกขเทวดา นางไม้ สิงสถิตอยู่ ข้าราชการในสังกัดกองประวัติศาสตร์<br />

ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาและเชื่อว่ามีรุกขเทวดาสิงสถิตที่เสาไม้สัก จึงนำผ้าสีมงคลมาผูกและปิดทอง<br />

โดยรอบเสา พร้อมทั้งกราบไหว้อธิษฐานขอโชคลาภ โดยที่ผู้มาสักการะดังกล่าว มักประสบความสำเร็จ<br />

ตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานหรือบนบานไว้ ทำให้ห้องอารักขเทวสถาน ได้รับการกล่าวขานและนับถือว่า<br />

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในศาลาว่าการกลาโหม ควรแก่การเคารพกราบไหว้บูชา และเป็นที่พึ่ง<br />

ยึดเหนี่ยวจิตใจของกำลังพลในกระทรวงกลาโหม<br />

112


ปัจจุบัน ภายหลังจากที่กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก ได้ย้ายที่ทำการหน่วยไปเข้าที่<br />

ตั้งแห่งใหม่ บริเวณกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอกแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ได้ปรับปรุงและจัดห้องใหม่ ให้เหมาะสม กับได้มอบให้ สำนักงานกำลังพล กรมเสมียนตรา เป็นหน่วย<br />

รับผิดชอบดูแลรักษา<br />

๗๙. ห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณอาคารด้านทิศตะวันออกใต้ ชั้นที่ ๓ ซึ่งเป็นมุมสุดของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ได้จัดให้มีห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม และประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน<br />

ปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว มีพระนามว่า พระพุทธนวราชตรีโลกนาถศาสดา<br />

กลาโหมพิทักษ์ มีความหมายว่า พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ผู้เป็นพระศาสดา ผู้เป็นที่พึ่งในโลกทั้ง ๓ ผู้พิทักษ์รักษาปวงทหารกระทรวง<br />

กลาโหม ซึ่งเป็นพระประธานประจำพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม<br />

และบริเวณเบื้องหลังองค์พระประธาน ท่านจะเห็นเป็นซุ้มเล็ก รวม ๙ ซุ้ม แต่ละซุ้มเป็นที่ประดิษฐาน<br />

พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุ เพื่อเป็นที่สักการะของกำลังพล โดยห้องพุทธศาสนสถานใช้เป็น<br />

ที่ประกอบพิธีสงฆ์ประจำทุกวันธรรมสวนะหรือทุกวันพระนั่นเอง<br />

นอกจากนี้ ยังได้ประดิษฐานหอกลองจำลองซึ่ง นายพลเอก หลวงสถิตย์ยุทธการ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ได้จัดสร้างขึ้นและนำมาตั้งไว้ที่ชั้นที่ ๓ ดังที่ทราบ<br />

สำหรับห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม ปัจจุบันเป็นห้องสำนักงานของสำนักงาน<br />

อนุศาสนาจารย์ กรมเสมียนตรา<br />

113


๘๐. ห้องประชุมสภากลาโหม<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับ<br />

กิจการทหารและเรื่องต่างๆ อาทิ ระเบียบ ข้อบังคับ สิทธิกำลังพล โดยมีผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

เป็นประธาน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกรมยุทธนาธิการ กล่าวคือ<br />

จเรทัพบก เสนาธิการทหารบก ปลัดทัพบก เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้บัญชาการมณฑล โดยใช้สถานที่จัดการ<br />

ประชุมคือ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒ ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

มีการบันทึกว่าการประชุมครั้งแรกจัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งบันทึกการประชุมได้เก็บรักษาที่ห้อง<br />

พิพิธภัณฑ์กระทรวงกลาโหม โดยเอกสารฉบับดังกล่าวเป็นรายงานการประชุมผู้บัญชาการทหารบกมณฑล<br />

ที่มีการจดและเรียบเรียงพร้อมจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ในโรงพิมพ์กรมยุทธนาธิการ<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับ<br />

กิจการทหารและเรื่องต่างๆ โดยมีเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย<br />

จเรทหารทั่วไป เสนาธิการทหารบก ปลัดทูลฉลอง สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการกองพล และ<br />

มีเลขานุการในการประชุม กับมีผู้จดรวบรวมจัดพิมพ์ ซึ่งในการประชุมสมัยดังกล่าวเรียกว่า การประชุมใหญ่<br />

ของกระทรวงกลาโหม<br />

ในรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้จัดให้<br />

มีการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับกิจการทหาร ที่เรียกว่า การประชุมสภากลาโหม เป็นประจำ ซึ่งมีการบัญญัติ<br />

ไว้ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นครั้งแรก ณ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒<br />

ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน การประชุมสภากลาโหมได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกเดือนและเป็นการประชุมที่สำคัญที่สุด<br />

ของกระทรวงกลาโหมก็กล่าวได้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่กำหนดในมาตรา ๔๒ ว่า ให้มี สภากลาโหม ประกอบด้วยสมาชิก คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานสภากลาโหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานสภากลาโหม<br />

จเรทหารทั่วไป ปลัดกระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม สมุหราชองครักษ์ รองสมุหราชองครักษ์<br />

(อัตราจอมพล จอมพลเรือ หรือจอมพลอากาศ) เสนาธิการกรมราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด<br />

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการทหาร ผู้บัญชาการทหารบก รองและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก<br />

เสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ รองและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เสนาธิการทหารเรือ<br />

ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เสนาธิการ<br />

ทหารอากาศ ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ และสมาชิกสภากลาโหมผู้ทรงคุณวุฒิซึ ่งเป็น<br />

ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ<br />

ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม จำนวนไม่เกินสามคน<br />

ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งตามมติของสภากลาโหม ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

สามารถแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงกลาโหมเป็นเลขาธิการและรองเลขาธิการ<br />

โดยมีการกำหนดไว้ในมาตรา ๔๓ ว่าในการดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในเรื่อง<br />

ดังต่อไปนี้ต้องเป็นไปตามมติของสภากลาโหม คือ นโยบายการทหาร นโยบายการระดมสรรพกำลัง<br />

114


ห้องประชุมคณะที่ปรึกษาทหาร ในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖<br />

ห้องรับรองแขกของกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖<br />

115


116<br />

ห้องภาณุรังษี<br />

บริเวณชั้น ๓ ของมุขกลางศาลาว่าการกลาโหม


เพื่อการทหาร นโยบายการปกครองและการบังคับ<br />

บัญชาภายในกระทรวงกลาโหม การพิจารณา<br />

งบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณ<br />

ของกระทรวงกลาโหม การพิจารณาร่างกฎหมาย<br />

ที่เกี่ยวกับการทหารและเรื่องที ่กฎหมาย หรือ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดให้เสนอ<br />

สภากลาโหม<br />

ทั้งนี้ การจัดการประชุมจะจัดการประชุม<br />

ณ ห้องภาณุรังษี ชั้นที่ ๓ มุขกลางของอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

๘๑. ห้องภาณุรังษี<br />

ชั้นที่ ๓ ของมุขกลางศาลาว่าการกลาโหม<br />

ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญของกระทรวงกลาโหม<br />

มีชื่อว่า ห้องภาณุรังษี ซึ่งเดิมที เมื่อมีการสร้าง<br />

โรงทหารหน้า โดยในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้ใช้ห้องภาณุรังษี<br />

นี้เป็นห้องเก็บศาสตราวุธและพิพิธภัณฑ์ทหาร<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จอมพล สมเด็จพระพี่ยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

บริพัตรสุขุมพันธ์ุ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้โปรดให้นำศาสตราวุธ<br />

ไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร<br />

และให้ใช้ห้องดังกล่าวเป็นที่ทำการกองทัพบก<br />

ในยุคต่อมา สมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม<br />

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม ได้ใช้ห้องนี้เป็นที่ทำการคณะ<br />

ที่ปรึกษาทางทหาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๔ จอมพล ถนอม<br />

กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้ทำการยึดอำนาจ<br />

การบริหารราชการแผ่นดิน ได้ใช้พื้นที่ห้องนี้ (ซึ่งเดิม<br />

เป็นห้องประชุมสภากลาโหม) เป็นกองบัญชาการ<br />

คณะปฏิวัติ กับสั่งให้ใช้พื้นที่บริเวณตอนหน้าห้องนี้<br />

จัดตั้งเป็น สำนักนโยบายและแผนกลาโหม และ<br />

เตรียมการจัดหาบรรจุกำลังพล ในอัตราเจ้าหน้าที่<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม กับให้แนวทางการ<br />

ปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติฯ<br />

โดยในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ได้<br />

มีการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาฝ่ายนโยบายและแผน<br />

กลาโหมขึ้นครั้งแรก โดยมี พลเอก จิตติ นาวีเสถียร<br />

เป็นประธานการประชุม โดยใช้ห้องประชุมสภา<br />

กลาโหม (ห้องภาณุรังษีปัจจุบัน) ซึ่งการจัดประชุม<br />

ดังกล่าวดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงเมื่อมี<br />

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทาน<br />

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๑๕<br />

หลังจากนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้สั่งการ<br />

ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งชื่อห้องนี้ว่า<br />

ห้องภาณุรังษี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ จอมพล สมเด็จ<br />

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษี<br />

สว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

นอกจากนี้ ห้องภาณุรังษี ยังได้จารึกราย<br />

พระนาม รายนาม และประดับภาพถ่ายของอดีต<br />

สมุหกลาโหม เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีตจนถึง<br />

ปัจจุบัน<br />

ซึ่งในปัจจุบันนี้ ใช้เป็นห้องประชุมสภากลาโหม<br />

และจัดการประชุมซึ่งเป็นการประชุมที่มีรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน<br />

117


๘๒. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และพระบรม<br />

รูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิด<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ก่อนที่ท่านจะเข้าไปในห้องภาณุรังษี ท่าน<br />

จะได้พบเห็น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และ<br />

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

องค์พระราชทานกำเนิดศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งในอดีต บริเวณหน้าห้องภาณุรังษีแห่งนี้<br />

มิได้มีการประดิษฐานพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หรือพระบรมรูปของพระองค์ใด แต่เป็นดำริของ<br />

พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ว่าควรประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระราชทานกำเนิด<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

เพื่อให้กำลังพลถวายราชสักการะ และเพื่อให้<br />

สมาชิกสภากลาโหมถวายราชสักการะเพื่อเป็นสิริ<br />

มงคลก่อนที่จะเข้าประชุมสภากลาโหม ประกอบกับ<br />

ได้มีการรับมอบพระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์<br />

จอมทัพไทย ทรงครุย และพระบรมรูปหล่อลอยองค์<br />

ผลิตจากโลหะทองเหลืองรมดำ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ฉลอง<br />

พระองค์จอมทัพไทยตั้งอยู่บนแท่นรอง จึงได้ให้มี<br />

การปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าห้องภาณุรังษี<br />

และเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ได้จัดให้<br />

มีพิธีบวงสรวงและอัญเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

ฉลองและพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐานบนแท่นที่ประทับบริเวณ<br />

หน้าห้องภาณุรังษี<br />

ซึ่งการถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสรณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็น<br />

ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมไทยทุกหมู่เหล่า<br />

ที่มักถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อมุ่งเน้นการน้อม<br />

รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ และเพื่อความ<br />

เป็นสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติราชการ<br />

118<br />

๘๓. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในห้องภาณุรังษี<br />

ภายในห้องภาณุรังษี ได้มีการประดิษฐาน<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สลักจากหินอ่อน<br />

ในฉลองพระองค์จอมทัพไทยครึ่งพระองค์ซึ่งมี<br />

ลักษณะรูปแกะสลักนูนต่ำ โดยประดิษฐานบริเวณ<br />

หน้าซุ้ม ผนังห้องด้านในของห้องประชุมฯ ซึ่ง<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการอัญเชิญ<br />

ประดิษฐาน ณ ห้องภาณุรังษีมานานมากแล้ว<br />

จึงไม่มีใครทราบประวัติที่ชัดเจน แต่ว่ากันว่าเป็น<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อนที่มีผู้ถวาย<br />

ในระหว่างเสด็จประพาสยุโรป และนำกลับมา<br />

ทางเรือ ซึ่งอาจเก็บรักษาระหว่างเดินทางไม่ดี<br />

เท่าที่ควรจึงทำให้เกิดรอยร้าว แต่ก็มีการซ่อมแซมไว้<br />

เป็นอย่างดี ทั้งนี้ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน<br />

มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก<br />

จากการสันนิษฐานของผู้ใหญ่หลายท่าน<br />

ต่างลงความเห็นว่าเป็นการสลักจากต่างประเทศ<br />

แน่นอน เพราะเมื่อพิจารณาจากฝีมือและความ<br />

ประณีตของช่างผู้แกะสลัก ซึ่งในยุคนั้นสยามไม่มี<br />

ช่างฝีมือในการแกะสลักหินอ่อน และจากการ<br />

คาดคะเนพบว่า อาจแกะสลักจากต้นแบบที่เป็น<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ส่งไปให้ช่าง เพราะมีพระบรม<br />

ฉายาลักษณ์ในพระอิริยาบถเช่นเดียวกับพระบรม<br />

ฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อนให้เห็นหลายภาพ<br />

อย่างไรก็ตาม พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หินอ่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้<br />

ถือว่าเป็นสมบัติล ้ำค่าที่กระทรวงกลาโหมหวงแหน<br />

และถวายราชสักการะเป็นประจำทุกครั้งที่พบเห็น


พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และพระบรมรูปสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ประดิษฐาน ณ บริเวณหน้าห้องภาณุรังษี<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ประดิษฐานภายในห้องภาณุรังษี<br />

119


๘๔. พระรูปจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จ<br />

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุ<br />

พันธุวงศ์วรเดช ในห้องภาณุรังษี<br />

นอกจากนี้ ห้องภาณุรังษี ยังมีการประดิษฐาน<br />

พระรูป จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา<br />

บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา<br />

ภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยมีลักษณะเป็นพระรูป<br />

หินอ่อนแกะสลักลอยองค์ในลักษณะครึ่งองค์<br />

ประดิษฐาน ณ บริเวณภายในห้องภาณุรังษี ด้าน<br />

ทิศตะวันออก หน้าซุ้ม ใต้พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทั้งนี้เพราะ จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จ<br />

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระอนุชาของ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่รับ<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการ<br />

กรมยุทธนาธิการ ผู้บัญชาการกรมทหารบก<br />

ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

และจเรทหารทั่วไป ซึ่งพระองค์มีคุณูปการแก่กิจการ<br />

ทหารไทยในยุคเริ่มแรก และทรงขับเคลื่อนให้<br />

กระทรวงกลาโหม ทหารบก ทหารเรือ ให้มีทิศทาง<br />

ที่แน่ชัดและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง<br />

ดังนั ้น การถวายสักการะพระรูปของพระองค์<br />

เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่ทรง<br />

กำกับดูแลกิจการทหารไทยให้วัฒนาถาวรตราบจน<br />

ทุกวันนี้<br />

๘๕. ห้องกัลยาณไมตรี<br />

ด้านหน้าของห้องภาณุรังษี ได้จัดให้มีห้อง<br />

ขนาดเล็กชื่อว่า ห้องกัลยาณไมตรี ถือเป็นห้อง<br />

รับรองที่สำคัญอีกหนึ่งห้องในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งเดิมทีเป็นห้องที่พักคอยหรือห้องรับรองผู้เข้าร่วม<br />

ประชุมก่อนเวลาประชุม ซึ่งมีหลายครั้งเป็นห้อง<br />

รับรองผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศก่อน<br />

เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ในอดีตห้องนี้ เคยใช้เป็นห้องเก็บศาสตราวุธ<br />

และมาปรับปรุงใช้ประโยชน์หลังปี พ.ศ. ๒๕๒๐<br />

เพื่อเป็นห้องรับรองแขก เรียกว่า ห้องรับรอง ชั้น ๓<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์<br />

หน้าห้องภาณุรังษี จึงใช้โอกาสเดียวกันนี้ปรับปรุง<br />

ห้องและตั้งชื่อว่าห้องกัลยาณไมตรีตามชื่อถนน และ<br />

ตามวัตถุประสงค์ที่ใช้รับรองแขกนอกกระทรวงกลาโหม<br />

ทั้งชาวไทยและมิตรประเทศ<br />

ในยุคปัจจุบัน ใช้เป็นห้องที่ผู้แทนรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหมใช้พบปะสนทนากับแขก<br />

นอกกระทรวงกลาโหม และผู้แทนกระทรวงกลาโหม<br />

มิตรประเทศ และที่สำคัญยังใช้เป็นห้องลงนาม<br />

ในหนังสือรับส่งหน้าที่และการบังคับบัญชาของ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมอีกด้วย<br />

ซึ่งภายในมีภาพเขียนสีน้ำมันที่สวยงาม โดย<br />

เฉพาะภาพยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช<br />

ที่มีความงดงามและมีชีวิตชีวามากภาพหนึ่ง<br />

120<br />

ห้องกัลยาณไมตรี


ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

๘๖. ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

สำหรับชั้นที่ ๒ ของมุขกลางศาลาว่าการกลาโหม ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญอีกห้องหนึ่งชื่อว่า<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเดิมทีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้ห้องประชุม ชั้นที่ ๒<br />

ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม เป็นที่จัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับกิจการทหารและเรื่องต่างๆ<br />

โดยมีผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการเป็นประธาน<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับ<br />

กิจการทหารและเรื่องต่างๆ ณ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒ ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

อย่างต่อเนื่อง โดยมีเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน เรียกว่า การประชุมใหญ่ของกระทรวงกลาโหม<br />

สมัยรัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับกิจการทหาร ที่เรียกว่า การประชุมสภากลาโหม เป็นครั้งแรก<br />

ณ ห้องประชุม ชั้นที่ ๒ ของ ตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สมัยรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้สั่งการให้สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ตั้งชื่อห้องนี้ว่า ห้องสุรศักดิ์มนตรี เพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยา<br />

สุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) อดีตผู้ควบคุมการก่อสร้างศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน ห้องสุรศักดิ์มนตรี ใช้เป็นห้องประชุมหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และการประชุมที่ปลัดกระทรวงกลาโหม หรือ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และยังใช้เป็นห้อง<br />

อเนกประสงค์ กล่าวคือ<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางทหาร อาทิ การประดับเครื่องหมายยศ พิธีประกาศเกียรติคุณ<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีสงฆ์ต่างๆ อาทิ การปฏิบัติธรรม<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีวันคล้ายวันสถาปนาหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางการทูตของทหาร<br />

• เป็นสถานที่ประกอบพิธีการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

นอกจากนี้ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ยังได้จารึกรายนามและประดับภาพถ่ายของอดีตปลัดทูลฉลอง<br />

และปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน<br />

121


๘๗. อนุสรณ์ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต )<br />

บริเวณหน้าห้องสุรศักดิ์มนตรี บริเวณชั้นที่ ๒ ของมุขกลางภายในศาลา<br />

ว่าการกลาโหมนี้ ได้จัดให้มีรูปหล่อโลหะทองเหลืองรมดำครึ่งตัว และภาพวาด<br />

เหมือนของ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ( เจิม แสง-ชูโต )<br />

แต่งกายชุดจอมพล ท่านนี้ถือเป็นอริยบุคคลผู้ควบคุมการก่อสร้างโรงทหารหน้า<br />

หรือศาลาว่าการกลาโหม ผู้มีคุณูปการแก่กิจการทหารยุคใหม่ ผู้ริเริ่มการผลิต<br />

และใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย และอดีตแม่ทัพผู้มีความสามารถในการยุทธ์หลาย<br />

สมรภูมิ<br />

การสักการะอนุสรณ์นำมาเพื่อรำลึกถึงคุณูปการที่ท่านเป็นผู้กราบบังคม<br />

ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานจัดสร้างโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม<br />

และเป็นผู้กำกับดูแลการก่อสร้างสถานที่แห่งนี้จนสำเร็จบ่งบอกถึงวิสัยทัศน์<br />

การนำหน่วย และเกิดเป็นอาคารที่อลังการ เป็นมาตรฐานทางทหารและเป็น<br />

ที่เชิดหน้าชูตาประเทศจนถึงปัจจุบัน<br />

นอกจาก อนุสรณ์ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) ที่หน้าห้องสุรศักดิ์มนตรีนี้แล้ว ยังมีอนุสรณ์ของท่านเป็นรูปปูนปั้น<br />

ลอยตัวขนาดเท่าตัวจริงครึ่งตัว แต่งกายสากล เขียนสีอีกรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปหล่อ<br />

ปูนปั้นในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งจมื่นสราภัยสฤษดิการ อุปทูตสยามเดินทาง<br />

เจรจาความเมือง ณ ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ ขณะนี้เก็บรักษาไว้ที่<br />

พิพิธภัณฑ์ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งรูปหล่อปูนปั้นนี้ ได้รับมอบจาก พลตรี สิทธา<br />

พิบูลรัชต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ อีกด้วย<br />

รูปปั้นและภาพเขียนจอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

ประดับ ณ บริเวณหน้าห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

122


๘๘. พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน<br />

บริเวณสำนักงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีการประดิษฐาน<br />

สิ่งสำคัญของกระทรวงกลาโหมอีกประการหนึ่ง คือ พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระราชทาน ของบุรพกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ พระองค์ กล่าวคือ<br />

๑) พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพไทยครึ่งพระองค์ ลงพระปรมาภิไธย และมี<br />

พระราชหัตถเลขาว่า<br />

“ให้สำหรับศาลากระทรวงกลาโหม<br />

วันที่ ๗ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๕”<br />

๒) พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน จาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพเรือ ในพระอิริยาบถยืนเต็มพระองค์<br />

ลงพระปรมาภิไธย และมีพระราชหัตถเลขาว่า<br />

“พ.ศ. ๒๔๕๗<br />

ให้ไว้สำหรับศาลากระทรวงกลาโหม”<br />

ปัจจุบัน พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานทั้ง ๒ ผืน ได้ประดับในกรอบไม้<br />

และประดิษฐานไว้ที่สำนักงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

123


๘๙. ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องสำคัญอีกห้องหนึ่งที่ตั้งอยู่ข้างสำนักงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม บริเวณชั้นที่ ๒ ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหม ห้องนี้<br />

เรียกว่า ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้แต่อย่างไร แต่ทราบ<br />

มาว่าในห้วงสงครามเย็นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๕๓๕ เคยใช้ห้องนี้เป็นที่<br />

พบปะของผู้แทนองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

(สปอ. หรือ Southeast Asia Treaty Organization : SEATO) และเป็นที่สนทนา<br />

และรับการเยี่ยมคำนับของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศมาตลอด<br />

ในปัจจุบัน ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใช้เป็นห้องรับ<br />

การเยี่ยมคำนับและการเยี่ยมคารวะของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ<br />

ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งในพิธี<br />

การทูต หรือพิธีการทั่วไป รวมถึง การพบปะตามอัธยาศัยของรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งการจัดห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีรูปแบบเป็นห้อง<br />

รับแขกที่เป็นทั้งพิธีการและไม่เป็นพิธีการ มีการประดับประดาด้วยสิ่งของโบราณ<br />

อาทิ รูปปั้นลอยตัวของอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม และมี<br />

การจารึกรายพระนาม รายนาม และประดับภาพถ่ายของอดีตสมุหกลาโหม<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีต<br />

จนถึงปัจจุบัน<br />

ทราบว่าเคยมีความพยายามตั้งชื่อห้องของอดีตผู้บังคับบัญชาและอดีต<br />

นายทหารฝ่ายเสนาธิการของอดีตผู้บังคับบัญชาว่า จะใช้ชื่อห้องว่า ห้องสวัสดิโสภา<br />

เพราะห้องอยู่เกือบจะตรงข้ามกับประตู สวัสดิโสภา ซึ่งเป็นประตูใหญ่ชั้นนอก<br />

ของพระบรมมหาราชวัง แต่มีผู้ทักท้วงว่า ชื่อนี้เป็นชื่อประตูใหญ่มีเทพรักษา<br />

อยู่จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นชื่อห้อง จึงยุติความคิดไป<br />

แต่หากให้เสนอชื่อควรจะเป็นชื่อว่า มิตราภิรมย์ ซึ่งแปลว่า มิตรหรือแขก<br />

ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เข้ามายังห้องนี้ จะเปี่ยมไปด้วยความสุข<br />

และน่ายินดี เพราะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการใช้ห้อง<br />

124


๙๐. พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาทหารปืนใหญ่<br />

บริเวณสำนักงานผู้บังคับบัญชา กรมเสมียนตรา ชั้นที่ ๒ อาคารด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นห้องประดิษฐาน<br />

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกระทรวงกลาโหมอีกประการหนึ่ง คือ พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์ ที่จัดทำขึ้นเป็นภาพที่สอง<br />

ในอดีตสำนักงานผู้บังคับบัญชา กรมเสมียนตรา คือ สำนักงานของกองการกำลังพล และในห้อง<br />

ผู้อำนวยการกอง มีประวัติว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องจากอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง จึงทำให้ภาพสูญหายไป คงเหลือไว้แต่กรอบรูปไม้สักเก่า<br />

สีขาวแตกลายงา ขนาดความสูง ๑๖๐ เซนติเมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร<br />

ครั้นถึงสมัยที่ พันเอก ระวิ พรหมสาขา ณ สกลนคร (ยศในขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ<br />

กองการกำลังพล จึงมีดำริที่จะนำภาพเขียนสีน้ำมันมาประดิษฐานที่เดิม จึงมอบให้ นายจุมพล กาญจนินทุ<br />

(บิดาของ พลโท จุมภฏ กาญจนินทุ) เป็นผู้วาดโดยใช้ลักษณะการเขียนภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบ (canvas)<br />

มีรูปแบบเป็นพระอริยาบถนั่ง ฉลองพระองค์จอมทัพเรือเต็มพระองค์ โดยมีระยะเวลาวาด ประมาณ<br />

๒ เดือน แล้วจึงได้นำมามอบให้กระทรวงกลาโหมไว้ประดิษฐานแทนที่เดิม โดยมีพิธีบวงสรวงการ<br />

ประดิษฐานพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์ ในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๓ เวลา ๐๙.๐๙ น. โดยมี<br />

พลเอก วันชัย เรืองตระกูล เป็นประธานในพิธี<br />

ต่อมา กรมเสมียนตรา ได้ทำการปรับปรุง<br />

สำนักงานโดยย้ายกองการกำลังพลไปอยู่ที่ชั้น ๓<br />

และย้ายสำนักงานผู้บังคับบัญชามาแทนที่<br />

จึงได้มอบหมายให้สำนักโยธาธิการกลาโหม<br />

เป็นผู้ออกแบบและตกแต่งห้องประดิษฐาน<br />

พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ<br />

พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในสมัยที่ พลเอก ประกิต ศิริพันธ์ ดำรง<br />

ตำแหน่งเจ้ากรมเสมียนตรา ได้ดำริให้มีการปรับ<br />

ภูมิทัศน์บริเวณผนังข้างบริเวณที่สักการะ เพื่อ<br />

ให้สวยงามและสมพระเกียรติพระราชสมัญญา<br />

พระบิดาทหารปืนใหญ่ จึงให้ พันเอก ชวลิต<br />

อ่วมศิริ เป็นผู้วาดสีน้ำมัน แสดงให้ทราบถึง<br />

พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระบรม<br />

อนุสรณ์ของพระองค์ท่านและพระราชโอรส<br />

ตลอดจนเครื่องราชสักการะอย่างสมพระเกียรติ<br />

125


๙๑. ห้องขวัญเมือง<br />

ห้องประชุมขนาดกลางอีกห้องหนึ่งที่อยู่บริเวณชั้นที่ ๒ บริเวณทางขึ้นลงบันไดภายในอาคารด้านทิศใต้<br />

มีชื่อว่า ห้องขวัญเมือง ซึ่งห้องนี้เดิมเรียกว่า ห้องอเนกประสงค์ของส ำนักนโยบายและแผนกลาโหม เคยเป็น<br />

สำนักงานการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับส่วนบังคับบัญชาของส ำนักนโยบายและแผนกลาโหมมาก่อน<br />

ต่อมา ใช้เป็นห้องสำหรับงานพิเศษ อาทิ ประดับเครื่องหมายยศให้แก่กำลังพล เป็นห้องประชุมขนาด<br />

เล็กของหน่วย เป็นห้องรับการเยี่ยมคารวะของผู้แทนทางทหารมิตรประเทศที่เข้าพบผู้อำนวยการสำนัก<br />

นโยบายและแผนกลาโหม ใช้ชื่อเดิมว่า ห้องอเนกประสงค์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

ในสมัย พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

ได้ดำริให้ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพภายในของห้องให้เป็นห้องประชุมขนาด ๓๐ ที่นั่ง กับให้ก ำลังพลเสนอ<br />

ชื่อห้อง จนได้ข้อยุติว่าชื่อ ห้องขวัญเมือง<br />

ปัจจุบัน ห้องขวัญเมืองนี้ใช้เป็นห้องประชุมสำหรับหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ที่มีที่ตั้งในอาคารศาลาว่าการกลาโหม และใช้เป็นที่ต้อนรับและจัดการประชุมหารือกับผู้แทนทางทหาร<br />

ของมิตรประเทศ กับใช้ประกอบพิธีการของสำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

๙๒. ห้องกำปั่นเก็บเงินกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณทางลงบันไดชั้นล่างของอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหมทิศใต้ปรากฏว่ามีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่<br />

เรียกกันว่า ห้องกำปั่นเก็บเงินของกระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งเป็นห้องสำคัญอีกห้องหนึ่งที่เคียงคู่ศาลาว่าการ<br />

กลาโหมมาเป็นเวลานาน<br />

ซึ่งก่อนอื่นควรอธิบายความหมายของคำว่า<br />

กำปั่น ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน<br />

พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า กำปั่น<br />

หมายถึง หีบทำด้วยเหล็กหนา สำหรับใส่เงินและ<br />

ของต่างๆ รูปค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง<br />

ยาว สูง เท่ากัน ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลายทำ<br />

เป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบ<br />

สำหรับใส่กุญแจ เดิมทำเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว<br />

ซึ่งจากการค้นคว้าเพิ่มเติมทราบว่า คำว่า กำปั่น<br />

เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาจีนที่เรียกว่า กั๊บบ้วง<br />

หรือ กั๊บบั้ง แปลว่า ตู้เหล็กเก็บทรัพย์สินมีค่า<br />

ของคหบดี และยังพบว่าคำว่า กำปั่น มีมาตั้งแต่<br />

สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์<br />

สำหรับในทางราชการทหารนั้น กำปั่นเก็บเงิน<br />

ถือเป็นตู้นิรภัยที่ใช้สำหรับบรรจุเงินของทางราชการ<br />

ที่เก็บรักษาไว้ตามหน่วยทหาร ซึ่งจะต้องมีห้อง<br />

นิรภัยที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน สามารถบรรจุกำปั่นเก็บ<br />

เงินไว้ข้างในห้องนิรภัยนั้น และในแต่ละวันทำการ<br />

จะต้องมีนายทหารสัญญาบัตร ๓ คนทำหน้าที่นำ<br />

เงินออกจากกำปั่นเก็บเงินในเวลาเช้า สำหรับใน<br />

เวลาเย็นก็ทำการเก็บเงินและสอบทานการเก็บเงิน<br />

เข้าสู่กำปั่นเก็บเงิน ประกอบด้วย ผู้ถือลูกกุญแจ<br />

ที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน (ห้องหรือกรงเหล็กที่ทำไว้<br />

โดยมั่นคงเป็นพิเศษสำหรับเก็บกำปั่นเก็บเงิน)<br />

ผู้ถือลูกกุญแจกำปั่นเก็บเงิน (ตู้นิรภัยหรือตู้<br />

เหล็กหรือหีบเหล็กอันมั่นคงสำหรับเก็บเงิน) และ<br />

พยานประจำวัน อีกทั้งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ<br />

เมื่อปิดกำปั่นเก็บเงินหรือที่เก็บกำปั่นเก็บเงินแล้ว<br />

จะต้องทำการผูกเชือกพร้อมประทับตราที่ครั่งหรือ<br />

ดินเหนียวเป็นเครื่องหมายของผู้ถือลูกกุญแจดังกล่าว<br />

ด้วยเพื่อความปลอดภัยของการนิรภัยในการเก็บ<br />

รักษาเงินของทางราชการ<br />

126


กระทรวงกลาโหมเอง ก็มีห้องที่<br />

เก็บกำปั่นเก็บเงินและห้องกำปั่นเก็บเงิน<br />

ซึ่งมีเกียรติภูมิเคียงคู่ ความสง่างามของ<br />

ศาลาว่าการกลาโหมด้วยเช่นกัน โดยที่<br />

กำลังพลที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในศาลา<br />

ว่าการกลาโหมในห้วงประมาณกว่า ๑๐ ปี<br />

ที่ผ่านมาหลายรายคงรู้จักกันดีว่า ชั้นล่าง<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมทิศใต้<br />

มีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่เรียกกันว่าห้อง<br />

กำปั่นเก็บเงิน และตั้งอยู่ชั้นล่าง<br />

ใต้ห้อง กองการเงิน กรมการเงินกลาโหม<br />

ในห้วงเวลาดังกล่าว จะต้องมีการจัด<br />

เวรยามติดอาวุธรักษาความปลอดภัย<br />

เพื่อดูแลทางขึ้น-ลง ตลอด ๒๔ ชั่วโมง<br />

ทั้งนี้ มีการสันนิษฐานว่ามีการกำหนดให้ใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวทำที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน มาตั ้งแต่<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ซึ่งมีการตั้งกรมคลังเงินทหารบก<br />

(ต่อมา ได้เปลี่ยนมาเป็น กรมการเงินกลาโหม) ซึ่งเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ และสาเหตุ<br />

ที่ต้องใช้บริเวณชั้นล่างอาคาร ก็เนื ่องจาก กำปั่นเก็บเงินเป็นตู้เหล็กขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก หากตั้งไว้<br />

ชั้นบนอาจทำให้ต้องรับน้ำหนักมาก และอาจส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร<br />

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบัน กระทรวงกลาโหมไม่ได้ใช้ประโยชน์จากห้องกำปั่นเก็บเงินอีกต่อไป<br />

เพราะการเบิกจ่ายเงินของทางราชการส่วนใหญ่ใช้ผ่านธนาคาร และมีการย้ายห้องทำงานของกองการเงิน<br />

กรมการเงินกลาโหม ไปอยู่ที่ชั้น ๓ ของอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) จึงปล่อยให้<br />

ห้องกำปั่นเก็บเงิน ถูกทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน และในอนาคตก็อาจถูกหลงลืมไปในที่สุด<br />

ในอดีต ห้องกำปั่นเก็บเงินนี้ ได้รับใช้ราชการกระทรวงกลาโหม มาเป็นเวลาต่อเนื่องถึงเกือบจะหนึ่ง<br />

ร้อยปี และคาดว่ามีกำลังพลของกระทรวงกลาโหมหลายหน่วย หลายรุ่น และหลายชั่วอายุ ใช้บริการ<br />

ห้องกำปั่นเก็บเงิน ด้วยการรับเงินเดือน และเงินตามสิทธิกำลังพล เป็นจำนวนมาก และวันนี้เสมือน<br />

การปลดระวางการใช้ประโยชน์แล้ว สิ่งที่พึงกระทำคือ พัฒนาภูมิทัศน์รอบพื้นที่ให้เจริญหูเจริญตา และ<br />

ใช้เป็นอนุสรณ์สถานสำหรับให้กำลังพลรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไปได้ศึกษา ได้รำลึกถึงคุณประโยชน์ ได้บันทึก<br />

ประวัติศาสตร์<br />

สำหรับ ห้องกำปั่นเก็บเงินนี้ เคยมีความคิดจะรื้อออกและใช้ประโยชน์ของห้องทำสำนักงานแต่<br />

เนื่องจากตัวกำปั่นเก็บเงินเป็นเหล็กหนา มีน้ำหนักหลายตัน และมีการโบกปูนติดกับตัวอาคารหากรื้อถอน<br />

อาจเป็นเรื่องใหญ่และน่าเสียดายของโบราณ จึงได้เก็บรักษาไว้<br />

127


๙๓. ห้องสนามไชย<br />

ห้องสนามไชย<br />

ห้องสนามไชยที่ว่านี้ ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ หัวมุมทิศเหนือตัดกับทิศตะวันตก ติดกับห้องท ำงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เดิมเรียกว่า ห้องรับรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ในปัจจุบัน ห้องสนามไชย ใช้เป็นห้องรับการเยี่ยมคำนับและการเยี่ยมคารวะของผู้แทนกระทรวง<br />

กลาโหมมิตรประเทศ ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งในพิธีการทูต หรือพิธีการ<br />

ทั่วไป รวมถึง การพบปะตามอัธยาศัยของปลัดกระทรวงกลาโหม เช่นเดียวกับห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ห้องสนามไชย ได้รับการปรับปรุงและตั้งชื่อห้องให้สอดรับกับชื่อถนนที่อยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

โดยจัดทำในสมัยที่ พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ ด ำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม ด้วยการปรับขนาด<br />

และพื้นที่ใช้สอยให้กว้างขวางมากขึ้น และตกแต่งให้เหมาะสมแก่การรับรองผู้แทนกระทรวงกลาโหม<br />

มิตรประเทศ ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้ง ประกอบพิธีการสำหรับ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมที่ใช้ผู้เข้าร่วมพิธีจำนวนไม่มาก<br />

128


๙๔. ห้องสราญรมย์<br />

ห้องสราญรมย์ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นห้องที่ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ ด้านทิศเหนือ ใกล้กับทางเชื่อมชั้นที่ ๒ เป็นห้อง<br />

ที่จัดทำขึ้นในสมัย พลเอก วินัย ภัททิยกุล ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องสราญรมย์นี้ จัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ใช้รับรองแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม และ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม โดยจัดผังห้องออกเป็น ๔ ส่วน กล่าวคือ<br />

ส่วนที่ ๑ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๒๐ คน และสามารถใช้เป็นห้องรับประทานอาหารได้<br />

ส่วนที่ ๒ เป็นห้องรับแขก สามารถรองรับแขกได้ประมาณ ๑๕ - ๒๐ คน<br />

ส่วนที่ ๓ เป็นส่วนพักคอยบริเวณก่อนถึงห้องรับแขก<br />

ส่วนที่ ๔ เป็นห้องจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม ในอดีต ห้องสราญรมย์นี้ เคยใช้รับรองและเลี้ยง<br />

อาหารสำหรับผู้นำประเทศที่เคยเป็นแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาหลายครั้ง และเคยเป็น<br />

ที่รับประทานอาหารกลางวันของอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงอยู่สมัยหนึ่ง<br />

ปัจจุบัน ยังคงใช้เป็นที่สำหรับรับรองแขกของปลัดกระทรวงกลาโหมและรองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ทั้งยังมีการตกแต่งห้องให้สามารถรองรับแขกระดับประเทศได้อีกด้วย<br />

ห้องสราญรมย์<br />

129


๙๕. ห้องหลักเมือง<br />

บริเวณชั้นที่ ๓ ด้านมุมทิศเหนือตัดกับทิศตะวันออกของอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหมซึ่งก่อนจะถึงทางเชื่อมอาคารใหม่ด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของ<br />

ห้องประชุมขนาดกลางรวม ๒ ห้อง ที่ใช้ชื่อว่า ห้องหลักเมือง ๑ และหลักเมือง ๒<br />

ทั้งนี้ บริเวณที่ตั้งของห้องประชุมทั้งสองห้องนี้ เคยเป็นที่ทำการของสำนัก<br />

ตรวจสอบภายในกลาโหม (เดิมเรียกว่า สำนักตรวจบัญชีกลาโหม) และบริเวณ<br />

ดังกล่าวมีพื้นที่เหลือขนาดหนึ่งห้องทำงาน ประกอบกับในขณะนั้น สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม มีห้องประชุมจำกัด คือ มีเพียงห้องภาณุรังษีและ<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรีเท่านั้น จึงมีข้อจำกัดในการใช้ห้องเพื่อทำการประชุม<br />

กองการประชุม สำนักนโยบายและแผนกลาโหม จึงได้จัดระเบียบห้อง<br />

ดังกล่าวทำเป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน เพื่อใช้ประโยชน์ในการ<br />

ประชุมหน่วย ซึ่งในเวลาต่อมา มีหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ใช้จัดการประชุมเป็นประจำ จึงมีการตั้งชื่อว่า ห้องหลักเมือง เพราะอยู่ด้านทิศ<br />

เหนือใกล้กับศาลหลักเมืองอันเป็นที่สักการะของกำลังพลและประชาชนทั่วไป<br />

ต่อมาเมื่อ สำนักตรวจสอบภายในกลาโหม ย้ายที่ทำการไปที่ตั้งใหม่ที่<br />

อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) ในปี ๒๕๔๒ จึงได้จัดสรร<br />

พื้นที่ทำห้องประชุมและปรับปรุงห้องประชุมหลักเมืองเดิมจนเกิดเป็นห้องประชุม<br />

๒ ห้อง กล่าวคือ<br />

• ห้องหลักเมือง ๑ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน<br />

• ห้องหลักเมือง ๒ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๘๐ คน<br />

ปัจจุบัน ใช้เป็นห้องประชุมส ำหรับหน่วยขึ้นตรงส ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๙๖. วิมานท้าวเวสสุวัณณ์<br />

บริเวณดาดฟ้าชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออกเป็น<br />

ที่ประดิษฐานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกระทรวงกลาโหมอีกแห่งหนึ่ง คือ วิมานท้าว<br />

เวสสุวัณณ์ เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ โดยเป็น อธิบดีแห่งอสูร หรือ<br />

ยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งภูติผีปีศาจ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์<br />

ชั้นจาตุมหาราชิกา ถือเป็น ท้าวจตุโลกบาลที่ทรงฤทธานุภาพมากที่สุด<br />

เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ได้กรุณาดำริให้สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม (สน.ปล.กห.) ดำเนินการ<br />

จัดตั้งวิมานท้าวเวสสุวัณณ์ บริเวณดาดฟ้าชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก เพื่อความเป็นสิริมงคลกับประเทศและกระทรวงกลาโหม<br />

130


ซึ่งในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๙ น. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัด<br />

ทำพิธีอัญเชิญท้าวเวสสุวัณณ์ประดิษฐ์ที่วิมาน โดย พลเรือเอก ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ รองปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธี<br />

๙๗. ห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณชั้นที่ ๓ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญ<br />

อีกหนึ่งห้องคือ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นห้องประชุมขนาด ๘๐ ที่นั่ง สำหรับใช้ประชุม<br />

ในเรื่องงานยุทธการและการปฏิบัติการระดับ<br />

ส่วนราชการ ซึ่งในปัจจุบันยังใช้เป็นห้องบรรยาย<br />

สรุปข่าวประจำวัน (Morning Brief) ให้แก่ผู้บังคับ<br />

บัญชาชั้นสูงในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมเป็นประจำ<br />

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นห้องประชุมของหน่วย<br />

ขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตาม<br />

ความเหมาะสม ทั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นห้องประชุม<br />

ที่มีมาตรฐานการประชุมที่ดีที่สุดห้องหนึ่ง เพราะมี<br />

อุปกรณ์อำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สายสื่อสาร<br />

ที่สมบูรณ์แบบ<br />

๙๘. ห้องยุทธนาธิการ<br />

บริเวณชั้นที่ ๒ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก ได้จัดให้มีห้องประชุมสำคัญ<br />

อีกหนึ่งห้องคือห้องยุทธนาธิการ<br />

ซึ่งห้องยุทธนาธิการ จัดสร้างเป็นห้องประชุม<br />

ขนาด ๑๘๐ ที่นั่งพร้อมอุปกรณ์การประชุม ซึ่งใช้<br />

จัดการประชุมที่มีปลัดกระทรวงกลาโหมและ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธานการประชุม<br />

ซึ่งช่วยให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมี<br />

ทางเลือกในการจัดการประชุมโดยไม่ต้องใช้เพียง<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

ในส่วนการตั้งชื่อห้องประชุมนั้น ได้ระดม<br />

ความคิดและให้กำลังพลร่วมส่งชื่อห้องเข้าพิจารณา<br />

ปรากฏผลว่าใช้ชื่อ ห้องยุทธนาธิการ ก็เพราะ<br />

เป็นการบ่งบอกให้ทราบว่าห้องประชุมแห่งนี้เป็น<br />

ห้องประชุมที่อยู่ในศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งในสมัย<br />

หนึ่งเรียกว่าศาลายุทธนาธิการ และเคยเป็นที่ทำการ<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ และกรมยุทธนาธิการมาแล้ว<br />

ทั้งนี้ คำว่า ยุทธนาธิการ หากแปลความหมาย<br />

แล้วคือ ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ต่อการศึกสงคราม เรียกได้ว่า<br />

เป็นคำที่มีความหมายถึงความสง่างามของสถานที่<br />

และสื่อถึงความงดงามของภาษาไทย<br />

131


๙๙. ห้องพินิตประชานาถ<br />

ห้องประชุมขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ชั้นที่ ๒ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เป็นห้อง<br />

ประชุมขนาด ๓๐๐ ที่นั่ง ซึ่งเป็นห้องใหม่ที่จัดสร้างขึ้นและใช้ส ำหรับจัดการประชุม จัดเลี้ยง จัดงานหรือ<br />

นิทรรศการได้ ในขณะนี้ ยังไม่มีชื่อห้องที่ชัดเจน ยังคงเรียกกันว่า ห้องประชุม ๓๐๐ ที่นั่ง<br />

ในส่วนการตั้งชื่อห้องประชุมนั้น ได้ระดมความคิด และให้ก ำลังพลร่วมส่งชื่อห้องเข้าพิจารณา ปรากฏผล<br />

ว่าใช้ชื่อ ห้องพินิตประชานาถ ซึ่งเป็นพระนามเดิมขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ<br />

ผู้ทรงเป็นหลักชัยและมีพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่กิจการทหารไทยในยุคใหม่ ทั้งยังทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงทหารหน้าจนพัฒนามาเป็นศาลาว่าการกลาโหมตราบทุกวันนี้<br />

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ดังนั้น การอัญเชิญพระนามของพระองค์มาสถิตเป็นนามห้อง<br />

จึงถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในห้องนี้เป็นอย่างยิ่ง<br />

อย่างไรก็ตาม การอัญเชิญพระนามขององค์พระมหากษัตริย์มาใช้เป็นชื่อห้อง จึงต้องนำความ<br />

กราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อขอพระราชทานจากองค์พระประมุขแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้<br />

อยู่ในระหว่างการนำความกราบบังคมทูลฯ คาดว่าในอนาคตจะได้มีนามห้องประชุมใหม่นี้ว่า ห้องพินิต<br />

ประชานาถ<br />

132


ห้องพินิตประชานาถ<br />

133


๑๐๐. ห้องพิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณชั้นที่ ๑ ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก ได้จัดให้<br />

มีห้องพิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหม ซึ่งเก็บรวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวกับทหาร<br />

มาจัดแสดงไว้ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร ซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบัน ห้อง<br />

พิพิธภัณฑ์ทหาร กระทรวงกลาโหมแห่งนี้ ได้จัดแสดงสิ่งของโบราณ ประกอบด้วย<br />

• ศาสตราวุธโบราณ ตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์<br />

• อาวุธและสิ่งของเครื่องใช้ทางทหารในยุคที่ประเทศไทยปรับกิจการทหาร<br />

มาเป็นกิจการทหารสมัยใหม่<br />

• เอกสารโบราณ กล่าวคือ<br />

• หนังสือราชการในยุคตั้งแต่เริ่มจัดสร้างโรงทหารหน้า<br />

• หนังสือโบราณ ประเภท สมุดพับ บันทึกเรื่องราวทางทหารและตำรา<br />

พิชัยสงคราม<br />

• ของที่ระลึกที่ได้รับมอบจากมิตรประเทศ<br />

ซึ่งหลายรายการเป็นสิ่งที่หาชมได้ยากและสามารถใช้สืบค้นและค้นคว้า<br />

หาความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ของชาติและประวัติศาสตร์ทางทหารเป็นอย่างดี<br />

๑๐๑. ช่องลอดด้านทิศตะวันออก<br />

ช่องลอดใต้อาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เป็นสิ่งซึ่งสร้างขึ้น<br />

พร้อมโรงทหารหน้า เพื่อให้ทหารสามารถที่จะเดินลอดผ่านออกไปนอกอาคาร<br />

เพื่อเข้าห้องน้ำ เพื่อฝึกว่ายน้ำ เพื่ออาบน้ำ และเข้าโรงครัวเพื่อรับประทานอาหาร<br />

ในพื้นที่บริเวณทิศตะวันออกที่กล่าวมาแล้ว<br />

ช่องลอดที่ว่าหากพิจารณาแล้วก็คล้ายประตูหลังบ้านของอาคาร โรงทหาร<br />

หน้าเพื่อสะดวกในการเข้าออกอย่างไม่เป็นทางการและเพื่อไม่ให้เกิดความรุ่มร่าม<br />

หรือวุ่นวายในประตูใหญ่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันตก<br />

และเป็นช่องลอดในลักษณะเช่นนี้มานานกว่า ๑๒๐ ปีแล้ว เพียงแต่มี<br />

การปรับปรุงและเสริมเพื่อความแข็งแรงเท่านั้น<br />

134


สถานที่<br />

และสิ่งสำคัญ<br />

รอบศาลาว่าการกลาโหม


สิ่งที่นำเสนอมาข้างต้นนั้น คือองค์ประกอบทั้งภายนอกและภายในอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมทั้งหมด ในลำดับต่อไป จะเป็นการนำเสนอให้ทราบถึงสถานที่และสิ่งสำคัญรอบศาลา<br />

ว่าการกลาโหมบ้าง<br />

๑๐๒. พระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรี<br />

รัตนศาสดาราม<br />

พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

คือสถานที่สำคัญสองประการที่เป็นของสำคัญคู่บ้าน<br />

คู่เมืองของไทยที่รู้จักไกลไปทั่วโลก และยังเป็นความ<br />

ภาคภูมิใจ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกำลังพล<br />

ในกระทรวงกลาโหมทุกคน<br />

๑) พระบรมมหาราชวัง<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็น<br />

ราชธานีแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

พระราชวังหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม<br />

๒๓๒๕ โดยแรกสร้างนั้นทำด้วยเครื่องไม้ทั้งสิ้น<br />

รายล้อมด้วยปราการระเนียด เพื่อเป็นที่ประทับ<br />

ชั่วคราว<br />

เดิมทีพื้นที่ของพระบรมมหาราชวังนี้ เคยเป็น<br />

ที่อยู่ของพระยาภชาเศรษฐีและชาวจีนตั้งบ้านเรือน<br />

อยู่ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยา<br />

ภชาเศรษฐีและชาวจีนย้ายที่อยู่ไปตั้งบ้านเรือน<br />

ณ ที่ราบระหว่างวัดสามปลื้มไปจนถึงวัดสำเพ็ง<br />

(วัดปทุมคงคา ในปัจจุบัน)<br />

ในการสร้างกำแพงพระบรมมหาราชวัง เป็นการ<br />

ก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูน มีใบข้างบนสันกำแพง<br />

เป็นรูปเสมา สำหรับตั้งเวลายิงต่อสู้ศัตรู ได้ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามประตูใหญ่<br />

ชั้นนอกทั้ง ๑๒ ประตู ประกอบด้วย วิมานเทเวศร์<br />

วิเศษไชยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์<br />

ศักดิ์ไชยสิทธิ์ วิจิตรบรรจง อนงคารักษ์ พิทักษ์บวร<br />

สุนทรทิศา เทวาภิรมย์ และอุดมสุดารักษ์<br />

เนื้อที่แรกสร้างมีประมาณ ๑๓๒ ไร่ แบ่ง<br />

ออกเป็น ๓ ตอนคือ พระบรมมหาราชวังชั้นนอก<br />

พระบรมมหาราชวังชั้นกลาง และพระบรมมหาราชวัง<br />

ชั้นใน โดยที่ พระบรมมหาราชวังชั้นนอก เป็นที่ตั้ง<br />

ของสถานที่ราชการต่างๆ อาทิ ศาลาลูกขุนในฝ่าย<br />

ทหารเป็นที่ทำการของลูกขุนในฝ่ายทหาร<br />

๒) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว<br />

เป็นพระอารามหลวงที่สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง<br />

มีลักษณะเป็นวัดแบบสุทธาวาส คือไม่มีพระสงฆ์<br />

จำพรรษาสร้างพร้อมกับพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๒๕ และใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธ<br />

มหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็น<br />

พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประชาชน ชาวไทย<br />

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้ว<br />

มรกต องค์นี้ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”<br />

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงอัญเชิญมาจาก<br />

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยในครั้งแรก<br />

ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม<br />

ต่อมา เมื่อวันจันทร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๓๒๗<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบก<br />

ในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

แล้วนิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะประชุมทำสังฆกรรม<br />

137


สวดผูกพัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันเดียวกันนั้น และประดิษฐานคู่กรุงเทพมหานครตราบจน<br />

ปัจจุบัน<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดารามมีประตูเข้า-ออกพระอุโบสถ อยู่ริมถนนสนามไชย ตรงหน้าศาลาว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

๑๐๓. ศาลหลักเมือง<br />

หากถามประชาชนที่เดินทางมาสักการะที่วัดพระแก้วแล้ว สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ประชาชนชาวไทย<br />

ต่างนึกถึงและนิยมมาสักการะคือ ศาลหลักเมือง คงไม่ผิดไปจากนี้<br />

สำหรับประวัติของศาลหลักเมือง ขอเรียนว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕ เวลา ๐๖.๕๔ น.<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีลงหลัก<br />

ฝังเสาหลักเมืองเพื่อเป็นรากฐานแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ ศาลหลักเมืองในเริ่มแรกเป็นเพียงศาลชั่วคราว<br />

มีลักษณะเป็นเพิงธรรมดา ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

บูรณะศาลหลักเมืองและลงหลักฝังเสาหลักเมืองเพิ่มเติมอีก ๑ เสา เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ เมษายน ๒๔๑๓<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในปัจจุบันจึงมีเสาหลักเมืองอยู่ ๒ เสา เสาที่สูงกว่าคือเสาหลักเมืองเดิม<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้น ยังกระทำพิธีอัญเชิญเทพารักษ์<br />

๕ องค์ ซึ่งส่วนใหญ่มีศาลแยกย้ายกันอยู่บริเวณหอกลองประจำพระนคร (บริเวณสวนเจ้าเชตุในปัจจุบัน)<br />

มาสถิตอยู่รวมกัน ณ ศาลที่จัดตั้งภายในศาลหลักเมือง ซึ่งเทพารักษ์ ๕ องค์ดังกล่าว ประกอบด้วย<br />

พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าพ่อหอกลอง และเจ้าพ่อเจตคุปต์<br />

เมื่อย้ายเจ้าพ่อหอกลองและหอกลองแล้ว จึงดัดแปลงที่ตั้งสวนเจ้าเชตุปัจจุบันให้เป็นสวนพักผ่อน<br />

หย่อนใจแล้วพระราชทานชื่อว่า สวนเจ้าเชตุ ทั้งนี้ เพราะสวนแห่งนี้อยู่ใกล้กับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

ราชวรมหาวิหาร จึงสมมุติว่าเจ้าเชตุกุมารยกสวนถวายให้<br />

138


๑๐๔. ท้องสนามหลวง<br />

สนามหลวง ถือว่าเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร เพราะหาก<br />

ถามว่าใครบ้างที่ไม่เคยได้ยินคำว่าสนามหลวง คงไม่มีใครตอบ ซึ่งสนามหลวงเอง<br />

มีความเกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประวัติ กล่าวคือ แต่เดิมสนามหลวง<br />

นั้นไม่ได้มีพื้นที ่กว้างขวางเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะบริเวณที่ตั้งสนามหลวง<br />

มีวังเจ้านายหลายวังตั้งอยู่ สนามหลวงจึงมีอาณาเขตด้านทิศใต้ประมาณแนว<br />

ถนนพระจันทร์เท่านั้น ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายแนวเพิ่มเติม สำหรับใช้เป็นสถานที่ประกอบ<br />

พระราชพิธีต่างๆ และทำการเกษตรกรรม (ทำนา)<br />

ในสมัยโบราณนั้นราษฎรเรียกสนามหลวงว่า ทุ่งพระเมรุ เพราะมีการสร้าง<br />

พระเมรุมาศ สำหรับประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมวงศานุวงศ์อยู ่เสมอ<br />

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า คำว่า ภาพอดีตและปัจจุบัน<br />

ทุ่งพระเมรุ เป็นนามที่ไม่เป็นมงคลนัก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้องตรา บริเวณท้องสนามหลวง<br />

ออกประกาศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ สรุปได้ว่า ความที่มีการเรียกชื่อ ท้องนาหน้าวัด<br />

มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ว่าทุ่งพระเมรุนั้น เป็นการไม่สมควร จึงให้ใช้นามเรียกว่า<br />

ท้องสนามหลวง สำหรับท้องนา บริเวณหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทใกล้วังหลวง<br />

(ตรงข้ามทำเนียบองคมนตรี) ให้เรียกว่า ท้องสนามไชย<br />

ในสมัยต่อมา สนามหลวง ได้ใช้เป็นท่ารถประจำทางจำนวนมาก รถประจำ<br />

ทางหลายสายจึงผ่านบริเวณสนามหลวง ทำให้ชาวไทยต้องนั่งรถผ่านสนามหลวง<br />

กันมากมาย มีอยู่ยุคหนึ่งที่ใช้สนามหลวงเป็นตลาดนัดขายสินค้าต่างๆ ในวันเสาร์<br />

อาทิตย์ เรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง แต่ต่อมาเกิดปัญหาความสกปรกและแออัด<br />

จึงย้ายตลาดนัดสนามหลวง ไปยังสวนจตุจักร จึงกลายมาเป็น ตลาดนัดจตุจักร<br />

และเกิดศัพท์ใหม่ในบริเวณพื้นที่ใดที่มีเหล่าพ่อค้าแม่ค้ามาชุมนุมวางขายสินค้า<br />

จึงเรียกว่า ตลาดนัด กันทั้งสิ้น<br />

139


ต่อมา บริเวณสวนจตุจักรเกิดความแออัดและ<br />

ประสบปัญหาเรื่องการจราจร กรุงเทพมหานครจึง<br />

จัดสรรพื้นที่วางขายสินค้าแห่งใหม่บริเวณเขตทวีวัฒนา<br />

จึงเกิดเป็น สนามหลวง ๒ ให้ประชาชนมีทางเลือก<br />

ซื้อสินค้า<br />

ในปัจจุบัน ท้องสนามหลวง ใช้เป็นที่ประกอบ<br />

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และใช้<br />

ประกอบพิธีสำคัญ อาทิ พิธีสงฆ์ในวันสำคัญ<br />

ทางศาสนา พิธี ๕ ธันวามหาราช และพิธีอื่นๆ<br />

ในระดับประเทศ ซึ่งมีเนื้อที่รวม ๗๔ ไร่ ๖๓ ตารางวา<br />

สนามหลวง จัดได้ว่าเป็น โบราณสถานสำคัญ<br />

ของชาติ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน<br />

เป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๔<br />

ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ พ.ศ. ๒๕๒๐<br />

๑๐๕. บ้านพักท่าแปดตำรวจ<br />

บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีบ้านพักของกำลัง<br />

พลสังกัดกระทรวงกลาโหม ประมาณ ๓ แห่ง<br />

ซึ่ง ๒ ใน ๓ แห่ง เป็นอาคารที่พักในส่วนของ<br />

กองทัพบก มีลักษณะเป็นอาคารชุด อยู่บนถนน<br />

มหาราชใกล้ท่าช้าง<br />

แต่มีบ้านพักราชการสังกัดสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ที่ใกล้เคียงกันและอยู่ระหว่าง<br />

การขอขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เรียกว่า บ้านพัก<br />

ราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมท่าแปด<br />

ตำรวจ ตั้งอยู่บนถนนมหาราช แขวงพระบรม<br />

มหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

ท่านอาจจะสงสัยในเรื่องของชื่อบ้านพักฯ ว่า<br />

ทำไมถึงต้องชื่อว่าท่าแปดตำรวจ และมีความเป็น<br />

มาอย่างไร ก็ในเมื่อเป็นบ้านพักของทางราชการ<br />

ทหาร ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูล พบว่า แปดตำรวจ<br />

ที่ว่านั้นคือ ทหารที่ได้รับการฝึกฝนในเรื่องการต่อสู้<br />

การเฝ้าระวังภัยมาเป็นอย่างดี และปฏิบัติหน้าที่<br />

พิทักษ์ปกป้ององค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี<br />

ในงานพระราชพิธี ซึ่งเป็นข้าราชการในพระองค์<br />

ที่ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้ถืออาวุธใกล้<br />

พระองค์ในเวลาที่เสด็จพระราชดำเนิน หรือเรียกว่า<br />

ทำหน้าที่ตำรวจหลวงรักษาพระองค์ (palace guard)<br />

อีกทั้งในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ตำรวจหลวงนี้<br />

จะปฏิบัติหน้าที่ครั้งละสี่คนเดินแถวตอน ๒ แถว<br />

ซ้ายขวานำหน้าองค์พระมหากษัตริย์และพระราชินี<br />

โดยจะแต่งกายในชุดเสื้อราชปะแตนติดกระดุมครุฑ<br />

สีทอง นุ่งผ้าม่วง สวมหมวกกลีบลำดวนสีน้ำเงิน<br />

ขลิบทองที่มีอุณาโลมเป็นรูปครุฑพ่าห์สีทอง<br />

เหนือหน้าผาก คาดผ้าแดงที่เอวหรือรัดประคต<br />

คาดสายคันชีพ ติดเหรียญตรา ที่สำคัญอีกประการ<br />

คือตำรวจหลวงเหล่านี้จะถือดาบไทยที่มีโกร่งดาบ<br />

ทั้งนี้ ตำรวจหลวงจะมี ๒ ผลัดๆ ละ ๔ คน รวมเป็น<br />

๘ คน หรือเรียกว่าแปดตำรวจนั่นเอง<br />

ในสมัยก่อนตรงทางออกของประตูชั้นนอก<br />

ของพระบรมมหาราชวัง ด้านทิศเหนือ ที่ชื่อว่า<br />

ประตูสุนทรทิศา มีถนนสายหนึ่งชื่อว่าถนนแปดต ำรวจ<br />

(ต่อมาไปเปลี่ยนชื่อเป็นถนนมหาราช) บริเวณนี้<br />

มีท่าเรือสำคัญหลายท่าเรือเรียงลำดับคือ ท่าช้าง<br />

ท่าวัง ท่าแปดตำรวจ ท่ามหาราช ท่าพระจันทร์<br />

ซึ่งทุกท่าสามารถข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังท่า<br />

วังหลัง (ท่าศิริราชหรือท่าพรานนก) ทั้งหมด<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ กองทัพบก ได้สร้างบ้านพัก<br />

สำหรับข้าราชการสังกัดกองพันทหารราบที่ ๔<br />

ในพื้นที่ของทางราชการบริเวณท่าแปดตำรวจ<br />

(ระหว่าง ท่าวัง กับ ท่ามหาราช) ขึ้น ทั้งนี้เพราะพื้นที่<br />

ดังกล่าวอยู่ใกล้กับพื้นที่โรงทหารและคลังแสงของ<br />

กองพันทหารราบที่ ๔ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<br />

ในปัจจุบัน)<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์และการเมือง ได้ขอซื้อพื้นที่อันเป็น<br />

ที่ตั้งกองพันทหารราบที่ ๔ จากกองทัพบก เพื่อ<br />

เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัย กองพันทหารราบที่ ๔ จึง<br />

140


ได้ย้ายออกไปจากพื ้นที่และแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นสอง<br />

กรรมสิทธิ์กล่าวคือ ฝั่งตะวันตกอยู่ในความรับผิดชอบ<br />

ของกรมเสนาธิการกลาโหม (โดยให้กรมการเงิน<br />

กลาโหมใช้ประโยชน์) สำหรับฝั่งตะวันออกอยู่ใน<br />

ความรับผิดชอบของกองทัพบก (โดยให้กรมการเงิน<br />

ทหารบกใช้ประโยชน์)<br />

สิ่งที่น่าสนใจมากคืออาคารถูกสร้างด้วย<br />

สถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้นที่<br />

เรียกว่า สไตล์ชิโนโปรตุกีส (แบบจีนผสมโปรตุเกส)<br />

คือ มีลักษณะเป็นเรือนแถวทรงสี่เหลี่ยม มีประตูไม้<br />

หน้าบ้านและหลังบ้าน มีเสาตั้งอยู่ในหรือหน้าบ้าน<br />

มีช่องระบายลมฉลุลายอยู่สูง ที่สำคัญคือสีฉาบ<br />

ภายนอกอาคารมักจะใช้สีเหลืองนวลตัดกับสีขาว<br />

ที่เป็นขอบ สำหรับหลังคาส่วนใหญ่เป็นลักษณะ<br />

หลังคาปั้นหยา แต่ผู้รู้บางท่านให้ความเห็นว่า<br />

สถาปัตยกรรมน่าจะคล้ายกับสไตล์โคโลเนียล<br />

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากสถาปัตยกรรมของ<br />

บ้านพักราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ท่าแปดตำรวจแล้ว น่าจะเป็นการเลียนแบบสไตล์<br />

ชิโนโปรตุกีสแต่ยังไม่เต็มรูปแบบเท่านั้น เพราะทั้ง<br />

สองสไตล์ที่สวยงามเต็มรูปแบบสามารถหาชมได้<br />

ในอาคารเก่าของจังหวัดภูเก็ต<br />

สิ่งนี้ก็ยังถือเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาได้ของส ำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมเช่นกัน เพราะเราได้อนุรักษ์<br />

อาคารสถาปัตยกรรมโบราณของประเทศไว้เป็น<br />

อย่างดี เพราะเท่าที่ทราบมา สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม (โดยกรมการเงินกลาโหม) ได้เคย<br />

บูรณะซ่อมแซมอาคารบ้านพักราชการสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมท่าแปดตำรวจมาไม่น้อย<br />

กว่าสองครั้งแล้ว แต่เนื่องจากอาคารอยู่ใกล้แม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา และเมื่อน้ำเอ่อล้นทำให้เกิดความ<br />

เสียหายต่ออาคารหลายต่อหลายครั้ง สร้าง<br />

ความเดือดร้อนแก่ข้าราชการผู้พักอาศัยมากมาย<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมจึงดำริจะบูรณะ<br />

ปรับปรุงอาคารให้มีสภาพที่ดีสามารถอยู่อาศัยได้<br />

สมเกียรติข้าราชการและตระหนักถึงการพัฒนา<br />

คุณภาพชีวิตที่ดี สอดรับกับการอนุรักษ์ความงดงาม<br />

ทางสถาปัตยกรรมของอาคารให้อนุชนรุ่นหลังได้<br />

พบเห็นต่อไป<br />

บ้านพักราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมท่าแปดตำรวจ<br />

141


๑๐๖. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชั้นราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บริเวณ<br />

ด้านหลังพระบรมมหาราชวัง ด้านท่าเตียน ซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ เดิมชื่อวัดโพธาราม สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม และได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดร้างต่างๆ ในต่างจังหวัด มาประดิษฐาน<br />

ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตามระเบียงคตรอบพระอุโบสถ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้ง<br />

ใหญ่ให้วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นแหล่งรวมศิลปกรรมชั้นยอด ตลอดจนจารึกสรรพตำราต่างๆ<br />

ลงแผ่นหินอ่อนประดับตามศาลาราย ทั้งในเรื่องตำราการแพทย์ ตำราทางฉันทลักษณ์ไทย ให้เวลานาน<br />

ถึง ๑๖ ปี จึงบูรณะแล้วเสร็จ ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ<br />

ในสมัยกรุงธนบุรี วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หน้าวัดอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหลังวัดที่เป็น<br />

ป่าช้าของวัดเป็นที่ตั้งของหน่วยบัญชาการสำรอง<br />

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ<br />

(UNESCO) ได้ประกาศรับรองจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือจารึกวัดโพธิ์ เป็นมรดกความทรงจำ<br />

แห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทั้งประเทศ<br />

142


๑๐๗. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร<br />

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก<br />

ชั้นราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดสลัก สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ระหว่าง<br />

สนามหลวงกับท่าพระจันทร์ และยังเป็นที่ตั้งของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าผู้เป็นพระอนุชา<br />

ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๓๒๖ และพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดนิพพานาราม<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระศรีสรรเพชญดาราม เพื่อให้<br />

สอดคล้องกับวัดพระศรีสรรเพชญในกรุงศรีอยุธยา<br />

แต่ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดมหาธาตุ ตามแบบอย่าง<br />

พระอารามที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามในส่วนสร้อยต่อท้าย ยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อ<br />

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎ<br />

ราชกุมาร พระองค์แรก<br />

๑๐๘. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร<br />

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด<br />

ราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุติ ตั้งอยู่บริเวณระหว่างกรมแผนที่ทหารกับสวนสราญรมย์<br />

ด้านทิศตะวันออกติดถนนราชินี ด้านทิศตะวันตกติดกับทำเนียบองคมนตรี<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์<br />

จะสร้างวัดธรรมยุตินิกายใกล้พระบรมมหาราชวัง ทั้งยังให้ต้องตามโบราณราช<br />

ประเพณีว่าเมืองหลวงของแผ่นดินไทยไม่ว่าสมัยใด จะต้องมีวัดสำคัญตั้งอยู่ ๓<br />

วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์<br />

ซึ่งพื้นที่ส ำหรับสร้างวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารนั้น ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานที่หลวงข้างตึกดิน (ที่เก็บอาวุธดินปืน) ให้ข้าราชบริพารใกล้ชิด<br />

ปลูกเป็นที่พักอาศัย<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้รื้อถอนบ้านราชการและโรงธรรมย้ายไปที่อื่นแล้วโปรดเกล้าฯ ทำเป็นสวน<br />

ปลูกต้นกาแฟ บนเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน ๙๘ ตารางวา หรือ ๑,๐๙๘ ตารางวา<br />

143


ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อที่ดิน<br />

ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวนเงิน ๑๘ ชั่ง ๑ ตำลึง ๒ บาท เมื่อวันที่<br />

๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๐๗ จึงเริ่มลงมือสร้างวัดราชประดิษฐ์ โดยใช้วิธีบอกบุญ<br />

เรี่ยไร และนำไหกระเทียมและขวดเครื่องลายครามแตกหักต่างๆ มาถมพื้นที่<br />

สร้างพระวิหารและเจดีย์ นอกจากนั้น ยังจัดให้มีการแสดงละคร เพื่อเก็บ<br />

ค่าเข้าชม เป็นเศษไห กระถาง ตุ่มเล็กๆ ที่แตกแล้ว โดยภายในพระวิหาร<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี<br />

๑๒ เดือน และสร้างปาสาณเจดีย์ (เจดีย์หิน) ในเดือนมิถุนายน ๒๔๐๘ เมื่อสร้าง<br />

วัดเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด<br />

พระราชพิธีผูกพัทธสีมา ระหว่างวันที่ ๗ - ๙ มิถุนายน ๒๔๐๘ พร้อมกับทรง<br />

อาราธนาพระศาสนโสภณ (สา ปุสสเทว) จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาส<br />

และพระสงฆ์อื่นๆ อีก ๒๐ รูป มาเป็นลูกวัด (ห้วง พ.ศ. ๒๔๐๘ - พ.ศ. ๒๔๔๒ )<br />

ในเวลาต่อมา ท่านพระศาสนโสภณ (สา ปุสสเทว) ได้รับการพระราชทาน<br />

สมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราช และทรงเป็นผู้ผูกคาถาขึ้นประดิษฐานบริเวณ<br />

หน้าบันโรงทหารหน้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า<br />

วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฏฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย<br />

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร<br />

144


คลองคูเมืองเดิม<br />

บริเวณด้านหลังศาลาว่าการกลาโหม<br />

๑๐๙. คลองคูเมืองเดิม คลองรอบกรุง และคลองหลอด<br />

คลองคูเมืองเดิม<br />

คือ คลองที่อยู่บริเวณข้างศาลาว่าการกลาโหมทิศตะวันออก ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าเป็นคลองหลอด<br />

ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่คลองเดียวกัน แต่มีความเป็นมา ดังนี้<br />

คลองคูเมืองเดิม<br />

ในช่วงต้นรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังทรงกอบกู้เอกราชได้เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๓๑๐ และตั้ง<br />

กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแล้ว พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรียังไม่มีกำแพงเป็นที่มั่น<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๕<br />

ในฝั่งกรุงเทพมหานครนั้น ให้ขุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจากศาลเทพารักษ์หัวโขด (ซึ่งเป็นบริเวณปากคลอง<br />

ตลาด ในปัจจุบัน) ขึ้นไปจรดแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ด้านตรงข้ามปากคลองบางกอกน้อยทาง<br />

ด้านตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณใต้สะพานพระปิ่นเกล้านั่นเอง แรงงานที่ใช้ขุดได้เกณฑ์แรงงานราษฎร<br />

และทหารช่วยกันขุดใช้เวลาขุด ประมาณ ๖ เดือน<br />

คลองรอบกรุง<br />

เป็นคลองขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

เป็นเมืองหลวงของไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงปัจจุบันนี้<br />

คลองรอบกรุงได้เกณฑ์แรงงานเขมร จำนวน ๑๐,๐๐๐ คน ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยในเวลานั้น<br />

เข้ามาขุดคลองรอบกรุงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๓๒๘ (ปีมะเส็ง) จุดเริ่มต้นอยู่ที่ริมแม่น ้ำเจ้าพระยาด้าน<br />

บางลำพู มาจรดแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง บริเวณวัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) นอกจากนี้ ยังเกณฑ์<br />

แรงงานราษฎรลาวอีก จำนวน ๕,๐๐๐ คน สร้างป้อมกำแพงเมืองเรียงรายริมคลองที่ขุดนี้หลายป้อม<br />

ที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่ ๒ ป้อมคือ ป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬในปัจจุบัน<br />

145


คลองหลอด<br />

ภายหลังจากที่มีคลองคูเมืองเดิมและคลองรอบกรุงแล้ว ก็ได้มีการขุดคลองสายตรงเพื่อเชื่อมต่อ<br />

ระหว่างคลองคูเมืองเดิมและคลองรอบกรุง รวมจำนวน ๒ คลอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ราษฎร<br />

ในสมัยนั้น สำหรับการเดินทางน้ำ ไปมาหาสู่กัน และยังเป็นการผันน้ำให้ราษฎรได้ใช้ทั่วพื้นที่ภายใน<br />

กำแพงเมืองด้วย<br />

คลองดังกล่าวนี้เรียกชื่อว่า คลองหลอด ประกอบด้วย<br />

• คลองหลอดคลองแรก ขุดจากวัดบูรณศิริริมคลองคูเมืองเดิม ออกมาทางวัดมหรรณพารามผ่าน<br />

วัดเทพธิดารามมาจดคลองรอบกรุงบริเวณใกล้ป้อมมหากาฬ ซึ่งมีชื่อเรียกกันตามจุดที่คลองตัดผ่าน<br />

อาทิ คลองบุรณศิริฯ คลองวัดมหรรณพ์ คลองวัดราชนัดดา และ คลองวัดเทพธิดา ซึ่งชื่อคลองที่<br />

นิยมเรียกคือ คลองหลอดวัดราชนัดดา<br />

• คลองหลอดคลองที่ ๒ ขุดจากข้างวัดราชบพิธ ผ่านมาทางย่านร้านขายปืน (ถนนอุณากรรณ<br />

ในปัจจุบัน) ใกล้กับเรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร (ซึ่งปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ<br />

ชื่อ สวนรมณีนาถ) มาจนจรดคลองรอบกรุงทางด้านตอนเหนือของสะพานดำรงสถิตย์<br />

(สะพานเหล็กบน) ที่ถนนเจริญกรุงตัดผ่าน คลองสายนี้เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาก เพราะสมัย<br />

โบราณมีการลำเลียงถ่านไม้มาขายที่เรียกกันว่า สะพานถ่าน นั่นเอง คลองนี้มีชื่อเรียกว่า<br />

คลองหลอดวัดราชบพิธ<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับคลองคูเมืองบริเวณเดิมหลังกระทรวงกลาโหม<br />

ให้ถูกต้องทั้งนี้เพราะคลองคูเมืองเดิมไม่ใช่คลองหลอด<br />

146


๑๑๐. เทวาลัยพระศรีวสุนธรา หรือ ศาล<br />

พระแม่ธรณีบีบมวยผม<br />

ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผมมีชื่อที่เป็นทางการ<br />

ว่า เทวาลัยพระศรีวสุนธรา ถือเป็นสิ่งศักดิ ์สิทธิ์<br />

ที่อยู่เคียงคู่กับท้องสนามหลวงมายาวนาน ศาลพระ<br />

แม่ธรณีบีบมวยผม ตั้งอยู่ถนนราชดำเนินใน ตัดกับ<br />

ถนนราชินี ใกล้กับโรงแรมรัตนโกสินทร์และสะพาน<br />

ผ่านพิภพลีลา สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปปูนปั้นลอยองค์<br />

รูปพระแม่ธรณีกำลังบีบมวยผม มีน้ำสะอาดไหล<br />

ออกมาจากปลายมวยผม สามารถใช้ดื่มทานได้<br />

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ทรง<br />

บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในพระราชพิธีเฉลิม<br />

พระชนมพรรษาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐<br />

โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้สร้างท่ออุทกธารา (ท่อน้ำ<br />

ประปา) เป็นสาธารณทานแก่พสกนิกร พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกระแส<br />

รับสั่งเพิ่มเติมให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ให้<br />

ช่างออกแบบเป็นรูปแม่พระธรณีรีดน้ำออกจาก<br />

มวยผม เพื่อแจกจ่ายน้ำดื่มบริสุทธิ์ให้ผู้คนทั่วไป<br />

ณ เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา ผู้ออกแบบหล่อรูปนี้<br />

คือ พระยาจินดารังสรรค์ (พลับ) ทำพิธีเปิดใช้<br />

มีน้ำประปาให้ประชาชนบริโภค เมื่อวันที่ ๒๗<br />

ธันวาคม ๒๔๖๐<br />

๑๑๑. อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑<br />

เป็นอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกการส่งทหารอาสาไทย<br />

เข้าร่วมรบในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ตั้งอยู่บริเวณหัวมุม<br />

ท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ ใกล้กับพิพิธภัณฑ<br />

สถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติ<br />

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

สร้างเป็นรูปเจดีย์ประยุกต์ตามแบบสถาปัตยกรรม<br />

ศรีวิชัย ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

ช่องประตูจารึกตัวอักษรสีดำ กล่าวถึงสาเหตุที่<br />

ประเทศไทยต้องเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่ ๑<br />

การเดินทางของทหารอาสา และรายนามทหาร<br />

อาสาผู้เสียชีวิต<br />

เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๖๒ ได้มีพิธี<br />

อัญเชิญอัฐิของทหารอาสาผู้เสียชีวิตในสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑ บรรจุที่ฐานอนุสาวรีย์ ในพิธีดังกล่าว<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาวางพวงมาลา ต่อจากนั้นกอง<br />

ทหารอาสาได้สวนสนามผ่านอนุสาวรีย์แสดงความ<br />

เคารพแก่ผู้ที่ได้ถวายชีวิตเป็นราชพลีในสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑<br />

147


อนุสาวรีย์สหชาติ หรือ อนุสาวรีย์หมู<br />

สะพานปีกุน<br />

148


๑๑๒. อนุสาวรีย์สหชาติหรืออนุสาวรีย์หมู<br />

อนุสาวรีย์รูปสุกร (หมู) ตั้งอยู่ริมคลองหลอด<br />

คลองคูเมืองเดิม เชิงสะพานปีกุน ข้างถนนราชินี<br />

ทางด้านวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมรามราชวร<br />

มหาวิหาร ฝั่งตรงข้ามวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม<br />

ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า<br />

จิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

อนุสาวรีย์หมู สร้างเมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖<br />

ในวาระที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ<br />

จะมีพระชนมายุครบ ๕๐ ปี (เสด็จพระราชสมภพ<br />

ปีกุน ปี พ.ศ. ๒๔๐๖) ทรงมีพระราชเสาวนีย์ไว้ล่วงหน้า<br />

ว่าจะไม่รับของขวัญจากผู้ใด ผู้ที่จะเตรียมของขวัญ<br />

จึงหาทางออกโดยกลุ่มผู้เกิดในปีกุนหลายคน<br />

อาทิ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ<br />

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระยาราชสงคราม<br />

(กร หงสกุล) และพระยาพิพัฒน์โกษา (เซเลสติโน่<br />

ชาเวียร์) จึงมีความคิดร่วมกันจัดสร้างสะพานปีกุน<br />

และอนุสาวรีย์สหชาติหรืออนุสาวรีย์หมูขึ้นและให้<br />

ทำก๊อกน้ำประปาไว้ข้างใต้ เพื่อให้ประชาชนที่ผ่าน<br />

ไปมาสมัยนั้นได้ใช้บริโภค โดยได้จัดทำอนุสาวรีย์หมู<br />

ริมคลองคูเมืองเดิม<br />

เมื่อแรกที่สร้างนั้น ได้ใช้แท่งศิลาขนาดใหญ่มา<br />

ซ้อนกันเป็นฐาน ตัวหมูที่ตั้งอยู่ด้านบนแท่ง ศิลา<br />

หล่อด้วยโลหะ แต่ในปัจจุบันได้ปรับปรุงฐานศิลา<br />

โดยการเปลี่ยนมาเป็น ปูนซีเมนต์ และก่อยกให้สูง<br />

ขึ้นกว่าเดิม ลักษณะเป็นภูเขา เพื่อให้เกิดความ<br />

แข็งแรงและคงทน<br />

๑๑๓. สะพานปีกุน<br />

สะพานที่สร้างขึ้นนี้มีลักษณะเรียบ ตัวสะพาน<br />

เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานมีลักษณะเป็น<br />

ท่อนเหล็กกลมทอดไปตามยาว คั่นด้วยเสาคอนกรีต<br />

เป็นระยะ มีลักษณะเป็นสะพานคนเดินข้ามคลอง<br />

คูเมืองเดิมตรงหน้าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม<br />

ราชวรมหาวิหาร ริมถนนราชินีบริเวณข้างวัดราช<br />

ประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร<br />

ดำริสร้างเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีพัชริน<br />

ทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง<br />

ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๔ รอบ (๔๘ พรรษา)<br />

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ในการนี้สมเด็จพระพันปีหลวง<br />

ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างเพื่อให้<br />

ประชาชนใช้ประโยชน์<br />

ลักษณะเด่นของสะพานคือ ที่เชิงสะพานทั้ง ๒<br />

ฝั ่ง รวมทั้งสิ ้น ๔ ต้น เป็นเสาคอนกรีตเซาะร่อง<br />

ลวดลายหัวเสาเป็นรูปถ้วยประดับช่อมาลามีวงรูปไข่<br />

๔ วงทุกเสา เชิงสะพานสองฝั่งมีบันไดขึ้นลงเป็นรูป<br />

ครึ่งวงกลม ๖ ชั้น ที่มีความหมาย กล่าวคือ<br />

• รูปถ้วยประดับช่อมาลา หมายถึง เทียน<br />

ประทีปพระชันษา<br />

• วงรูปไข่ หมายถึง รอบปี<br />

• ๔ วง หมายถึง พระชนมายุครบ ๔ รอบ<br />

เนื่องจากสะพานนี้เป็นสะพานเล็กจึงไม่ได้รับ<br />

การพระราชทานชื่อ คนทั่วไปเรียกว่า สะพานหมู<br />

หรือ สะพานปีกุน ด้วยมีรูปอนุสาวรีย์หมูตั้งอยู่<br />

บนฝั่งคลองด้านทิศตะวันตกใกล้เชิงสะพาน ต่อมา<br />

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนสะพานปีกุนหรือ<br />

สะพานหมู เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดย<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๖๑<br />

ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๘<br />

149


๑๑๔. สะพานหก<br />

สะพานหก เป็นชื่อสะพานที่อยู่หลังศาลาว่าการกลาโหม ข้ามคลองคูเมืองเดิม<br />

ปัจจุบันเป็นสะพานคอนกรีตสำหรับคนเดินข้าม ซึ่งมีประวัติการสร้าง กล่าวคือ<br />

เดิมเมื่อโรงทหารหน้านี้ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ที่ว่าการของกรมทหารหน้ายังตั้งอยู่<br />

ที่บริเวณหอบิลเลียด ณ วังสราญรมย์ กับโรงครัวที่เลี้ยงทหาร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน<br />

เฟื่องนครนั้นก็รวมอยู่ด้วย ต่อมาได้ปรับปรุงด้วยการรื้อถอนโรงครัว เพื่อสร้างเป็น<br />

โรงเรียนนายร้อย บริเวณหน้าวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร<br />

โดยสร้างเป็นโรงใหญ่สำหรับฝึกกายกรรม ( โรงยิมเนเซียม )<br />

ต่อมา เมื่อกรมทหารหน้าได้ย้ายมาอยู่ที่โรงทหารหน้า (กรมยุทธนาธิการ)<br />

ซึ่งสร้างขึ้นใหม่นั้น ก็ยังคงโรงครัวเก่าเลี้ยงพลทหารหน้าต่อไปอีก เมื่อพลทหาร<br />

ที่จะมารับประทานอาหารต้องเดินไกล ผู้บัญชาการจึงสั่งการให้ท ำเป็นสะพานหก<br />

ข้ามมาจากยุทธนาธิการจนถึงโรงครัว เพื่อตัดทอนหนทางให้สั้น สะพานหกนี้<br />

ได้เปิดให้ทหารเดิน ขณะที่จะมารับประทานอาหารเท่านั้น<br />

ว่ากันว่า สะพานนี้ได้ใช้งานในระหว่างที่ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ<br />

เป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้าเท่านั้น ครั้นเมื่อตั้งกรมยุทธนาธิการ เป็นระเบียบ<br />

เรียบร้อยดีแล้ว จึงได้รื้อโรงครัวนั้นสร้างเป็นโรงเรียนนายร้อย<br />

สำหรับสะพานหกมีการสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถยกตัวสะพานขึ้นเพื่อให้<br />

เรือแล่นผ่านได้ หากท่านต้องการเห็นลักษณะของสะพาน ได้มีการสร้างสะพานหก<br />

ขึ้นบริเวณวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งในอดีตเคยเป็น<br />

สะพานรถรางที่ให้รถรางสายบางคอแหลม - กระทรวงกลาโหมข้ามจาก<br />

ถนนหลักเมือง แต่ได้ยกเลิกรถรางสายดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ส่วนสะพาน<br />

หกเดิมได้สร้างเป็นสะพานคอนกรีตถาวรดังที่เห็นในปัจจุบัน<br />

๑๑๕. สะพานช้างโรงสี<br />

สะพานช้างโรงสี ถือเป็นสะพานที่อยู่เคียงคู่โรงทหารหน้าเป็นเวลานาน<br />

เพราะประวัติศาสตร์ของโรงทหารหน้าหลายประการมีความเกี่ยวข้องกับ<br />

สะพานช้างโรงสีอย่างมาก เชิญมารับทราบถึงประวัติและความเป็นมาของสะพาน<br />

แห่งนี้<br />

เมื่อแรกสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี เกาะรัตนโกสินทร์มีคูคลอง<br />

เมืองเดิมเป็นคลองคั่น ใช้เป็นปราการสำหรับป้องกันข้าศึกยามศึกสงคราม<br />

ซึ่งในยามปกติใช้ในการคมนาคมติดต่อของประชาชนโดยรอบราชธานี<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างสะพานข้ามคูคลองเมืองเดิมที่แข็งแรงและมั่นคงเพื่อการใช้งาน สะพาน<br />

ช้างโรงสี จึงเป็นสะพานหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้ช้างข้ามคลองคูเมืองเดิมไปหากิน<br />

อาหารและเลี้ยงดูพักผ่อนนอกเขตพระนคร<br />

150


สะพานช้างโรงสีสร้างขึ้นบริเวณปลายถนนหลักเมือง บริเวณคลองคูเมือง<br />

ฝั่งตะวันตกของคลอง (ระหว่างถนนบำรุงเมือง ช่วงที่เป็นถนนกัลยาณไมตรี<br />

ในปัจจุบัน กับถนนราชินี) ไปฝั่งตะวันออกของคลอง (ระหว่างถนนบำรุงเมือง<br />

กับถนนอัษฎางค์)<br />

แรกสร้างเป็นสะพานตอม่อก่อด้วยอิฐ ปูพื้นด้วยไม้ซุงเหลี่ยม ต่อมา<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างสะพานช้างโรงสีขึ้นใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเรียบพนักสะพาน<br />

ทั้ง ๒ ข้าง ทำเป็นลูกแก้วปูนปั้นมีเสาที่ปลายพนักสะพานทั้ง ๒ ฝั่ง หัวเสาเป็น<br />

แผ่นแบน ปลายราวสะพานทั้ง ๔ มุมประดับรูปหัวสุนัข มีตัวหนังสือปูนปั้น<br />

บอกรัตนโกสินทร์ศกจารึก ร.ศ. ๑๒๙ (ปี พ.ศ. ๒๔๕๓) ซึ่งเป็นปีที่สร้างเสร็จ ในขณะนั้น<br />

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตรงกับปีจอซึ่งเป็นปีประสูติ<br />

ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาด ำรงราชานุภาพ<br />

ด้วยเหนือขึ้นไปอีกแถวหนึ่งเป็นนามสะพาน มีทางเท้า ๒ ข้าง<br />

เนื่องจากในยุคเดิมเป็นสะพานสร้างขึ้นเพื่อให้ช้างข้ามคลองคูเมืองเดิม และ<br />

113<br />

พื้นที่ตั้งสะพานอยู่ใกล้โรงสีข้าวของฉางข้าวหลวงสำหรับพระนคร ดังนั้น จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามสะพานว่า สะพานช้างโรงสี ซึ่งในสมัยนั้นมี<br />

สะพานช้างข้ามคลองคูเมืองเดิมอยู่ ๓ สะพาน คือ สะพานช้างวังหน้า (สะพาน<br />

เสี้ยว) สะพานช้างปากคลองตลาด (สะพานเจริญรัช) และสะพานช้างโรงสี ที่เรียก<br />

ชื่อนี้ เพราะตั้งอยู่ใกล้กันกับโรงสีข้าวและฉางข้าวหลวงของทางราชการ ซึ่งเป็น<br />

ที่ตั้งของกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน สะพานช้างโรงสีได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ<br />

เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓<br />

151


ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๑๘<br />

กรุงเทพมหานครได้รื้อสะพานช้างโรงสีเดิมออก เพื่อปรับปรุงขยายผิวจราจรบนสะพานโดยพยายามรักษา<br />

ลักษณะเดิมทุกประการ จนเห็นอยู่ในปัจจุบัน<br />

๑๑๖. ถนนสนามไชย<br />

ถนนสำคัญที่อยู่เคียงคู่โรงทหารหน้าและศาลาว่าการกลาโหมมานับร้อยปี และมีความสำคัญมาก<br />

เพราะเป็นที่อยู่ของศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งหนังสือราชการทุกฉบับจะต้องเขียนที่อยู่ของกระทรวงกลาโหม<br />

ว่าในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เพราะหากไม่กล่าวถึงถนนเส้นนี้แล้ว<br />

การกล่าวถึงศาลาว่าการกลาโหม คงขาดอรรถรสสำคัญเป็นอย่างมาก<br />

ถนนสนามไชยนี้ คือ ถนนที่เป็นทางสัญจรของรถยนต์และคนมาตั้งแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเดิมว่า<br />

ถนนหน้าจักรวรรดิ จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณเชิงสะพานเจริญรัช ๓๑ (บริเวณปากคลองตลาด) หน้าสถานี<br />

ตำรวจนครบาลพระราชวัง ผ่านวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พระบรมมหาราชวัง บริเวณ<br />

ด้านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท และศาลาว่าการกลาโหม มาจรดถนนราชดำเนินในบริเวณหน้า<br />

ศาลหลักเมืองและป้อมเผด็จดัสกร<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามใหม่<br />

จากถนนหน้าจักรวรรดิ เป็น ถนนสนามไชย ดังนั้น ตั้งแต่อดีตจึงเป็นสถานที่ที่นำมาใช้ประกอบพิธีการ<br />

ต่างๆ ที่เป็นมงคลและต้องการชัยชนะ อาทิ การเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ในพิธีอภิเษกสมรส<br />

ให้ประชาชนเฝ้าถวายพระพร การส่งทหารไปราชการสงครามและการชุมนุมเรียกร้องดินแดนคืน<br />

ความสำคัญในอดีต ถนนสนามไชยนี้ เคยใช้เป็นพื้นที่ฝึกหัดทหารไทยตามแบบอย่างทหารยุโรป<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในวโรกาสนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์<br />

ทอดพระเนตรการฝึกทหารด้วย นอกจากนี้ ถนนสนามไชยยังเป็นเส้นทางการประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี<br />

และพิธีการทางทหารในอดีตตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตราบถึงพระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน รวม ๕ รัชกาล<br />

152


๑๑๗. ปั๊มน้ำมันสามทหาร<br />

ในอดีตบริเวณข้างศาลหลักเมือง เคยมีสถานี<br />

บริการน ้ำมันขององค์การเชื้อเพลิงที่รู้จักกันดีว่า<br />

ปั๊มน้ำมันสามทหาร หากผู้ใหญ่ที่มีอายุประมาณ<br />

ตั้งแต่ ๕๐ ปี ขึ้นไป อาจเคยเห็นปั๊มสามทหารที่<br />

กล่าวถึง ซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของ<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งมีประวัติและความเป็นมา ดังนี้<br />

หากย้อนอดีตไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจัดว่าเป็นยุคที่เริ่ม<br />

มีถนน ไฟฟ้า รถราง ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เริ่มมี<br />

บริษัทน้ำมันต่างชาติที่เข้ามาประกอบการในประเทศ<br />

เป็นบริษัทแรก คือ บริษัท รอยัลดัทช์ ปิโตรเลียม<br />

จำกัด เพื่อจัดจำหน่ายน้ำมันก๊าดเพราะมีเขม่าควัน<br />

น้อยและให้แสงสว่างกว่าน้ำมันมะพร้าว ซึ่งต้อง<br />

นำเข้าน้ำมันก๊าดจากต่างประเทศ<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้นำ<br />

รถยนต์คันแรกมาวิ่งบนถนนในพระนคร หลังจากนั้น<br />

อีก ๖ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๕) จึงมีรถเมล์ขาวและ<br />

เริ่มนำน้ำมันเบนซินมาใช้โดยบริษัทน้ำมันต่างชาติ<br />

นำน้ำมันต่างๆ มาจำหน่าย<br />

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ กระทรวงกลาโหม<br />

จัดตั้งแผนกเชื้อเพลิงขึ้นมาเพื่อจัดหาน้ำมันเบนซิน<br />

น้ำมันก๊าดและน้ำมันหล่อลื่น และเปลี่ยนชื่อมา<br />

เป็นกรมเชื้อเพลิง ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ และก่อสร้าง<br />

คลังเก็บน้ำมันที่ช่องนนทรี เพื่อขจัดปัญหาน้ำมัน<br />

ขาดแคลนในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ที่ทำให้บริษัท<br />

น้ำมันต่างชาติหยุดการค้าน้ำมันในไทย<br />

ภายหลังยุติสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ต้องยุบกรม<br />

เชื้อเพลิงและขายกิจการและทรัพย์สินทั้งหมดให้<br />

กับบริษัทน้ำมันต่างชาติ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ<br />

ประเทศผู้ชนะสงคราม ไทยต้องให้บริษัทต่างชาติ<br />

เข้ามาจำหน่ายน้ำมันทั้งหมด<br />

ในที่สุด ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์<br />

นายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกข้อผูกพันที่ทำไวักับบริษัท<br />

ต่างชาติ เรื่องห้ามมิให้รัฐบาลจำหน่ายผลิตภัณฑ์<br />

ปิโตรเลียมแก่ประชาชน พร้อมกับจัดตั้งองค์การ<br />

เชื้อเพลิง เป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม<br />

๒๕๐๓ โดยใช้สัญลักษณ์ตราสามทหาร เพื่อดำเนิน<br />

สถานีบริการน้ำมัน จัดหาและกลั่นน้ำมัน<br />

ต่อมา ในยุควิกฤตการณ์น้ำมันโลก ระหว่าง<br />

ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗ น้ำมันราคาแพงมากและ<br />

ขาดแคลนไปทั่วโลก ไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก<br />

เพราะไม่มีแหล่งปิโตรเลียมเป็นของตนเอง จึงเริ่ม<br />

มองหาแหล่งพลังงานปิโตรเลียมในประเทศ จน<br />

กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มีการจัดตั ้งองค์การก๊าซ<br />

ธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) ขึ้นเพื่อพัฒนา<br />

ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและในปี พ.ศ. ๒๕๒๑<br />

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี<br />

จึงได้เสนอรัฐสภา ตรา พระราชบัญญัติการ<br />

ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย นับเป็นองค์กรของรัฐ<br />

ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปิโตรเลียมของไทย<br />

ขึ้นโดยตรงเป็นครั้งแรก<br />

และในที่สุด ปั๊มน้ำมันสามทหารจึงถูกยุบและ<br />

รื้อถอนออกไป และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอาณาบริเวณ<br />

ของศาลหลักเมือง ดังที่เห็นในปัจจุบัน<br />

153


ปั๊มน้ำมันสามทหาร<br />

บริเวณข้างศาลหลักเมือง<br />

154


๑๑๘. ท่ารถรางกระทรวงกลาโหม<br />

เส้นทางเดินรถรางผ่านถนนหลักเมือง บริเวณด้านข้างกระทรวงกลาโหม<br />

หากท่านผ่านศาลาว่าการกลาโหม ด้านทิศเหนือบริเวณถนนหลักเมือง ท่านคงจะเห็นรางคล้ายราง<br />

รถไฟอยู่บนพื้นผิวถนน ซึ่งรางดังกล่าวคือรางรถราง และบริเวณข้างกระทรวงกลาโหมเคยเป็นท่ารถราง<br />

อีกด้วย<br />

รถรางที่ว่านี้ เริ่มมีการบริการในประเทศไทย โดยเริ่มกิจการที ่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก ในวัน<br />

ที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๓๑ โดยเริ่มต้นจากบางคอแหลม ถนนตก มาตามถนนเจริญกรุง สุดปลายทางที่<br />

ศาลหลักเมือง ข้างศาลายุทธนาธิการ หรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน เป็นระยะทาง ๖ ไมล์ (ประมาณ<br />

๑๐ - ๑๒ กิโลเมตร) ใช้รถเล็ก ๔ ล้อ เทียมด้วยม้า ๒ คู่ และมีสถานีเปลี่ยนม้าเป็นระยะ เพื่อให้ม้าได้พัก<br />

ซึ่งกิจการที่เปิดให้บริการรถรางคือ บริษัท บางกอกแตรมเวย์ จำกัด จึงทำให้คนไทยมีรถรางในยุคแรก<br />

เรียกว่า รถแตรม<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ จึงเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งขับเคลื่อนรถราง และให้บริการจนถึงวันที่ ๑๑<br />

กันยายน ๒๕๑๑ ซึ่งเหตุที่ต้องเลิกกิจการ เพราะรถรางแล่นช้าและถูกมองว่าทำให้การจราจรติดขัด<br />

สำหรับรถรางที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมคือรถรางสายบางคอแหลม ซึ่งมีเส้นทางวิ่งตามถนน<br />

เจริญกรุง เข้าเมืองไปยังสี่กั๊กพระยาศรี แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนเฟื่องนคร ไปยังสี่กั๊กเสาชิงช้า ก่อนจะ<br />

เลี้ยวซ้ายเข้าถนนบำรุงเมือง แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอัษฎางค์ ก่อนข้ามสะพานหกที่คลองคูเมืองเดิม ไปยัง<br />

ศาลหลักเมืองแล้วไปสุดสายที่แถวกระทรวงกลาโหม ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ รถรางสายนี้ ถูกยกเลิกไป<br />

เพื่อนำที่แถวนั้นมาสร้างเป็นถนน คงเหลือไว้เพียงรางรถรางให้เห็นเป็นอนุสรณ์ว่า บริเวณนี้เคยมีรถราง<br />

แล่นผ่านมาก่อน<br />

155


๑๑๙. อาคารกรมพระธรรมนูญ<br />

อาคารกรมพระธรรมนูญ คืออาคารสำนักงานของกรมพระธรรมนูญ ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม มีที่ตั้งอยู่ข้างศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศเหนือ ริมถนนหลักเมือง ถือได้ว่าเป็น<br />

สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียงศาลาว่าการกลาโหมอีกแห่งหนึ่ง<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ กรมพระธรรมนูญ ถือกำเนิดครั้งแรกโดยเป็นหน่วยขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ<br />

ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า กรมพระธรรมนูญทหารบก โดยมีที่ตั้งอยู่ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้มีการตั้งกรมพระธรรมนูญทหารเรือ<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รวมกรมพระธรรมนูญทหารบกและกรมพระธรรมนูญทหารเรือ และตั้งเป็น<br />

กรมพระธรรมนูญทหาร<br />

ซึ่งในปีถัดมา คือ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้โอนกรมพระธรรมนูญ ขึ้นสังกัดกระทรวงกลาโหม ใช้ชื่อว่ากรม<br />

พระธรรมนูญ<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ย้ายที่ทำการใหม่มาอยู่บริเวณชั้นที่ ๒ ด้านทิศใต้ติดคลองคูเมืองเดิม<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ย้ายที่ทำการบางส่วนมาอยู่ในพื้นที่ขององค์การเชื้อเพลิงที่ได้ยุบไป<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้ย้ายเข้าสู่ที่ตั้งปัจจุบัน คืออาคารที่ทำการกรมพระธรรมนูญ ตึกใหม่ริมถนน<br />

หลักเมืองทางด้านทิศเหนือของศาลาว่าการกลาโหม<br />

อาคารกรมพระธรรมนูญ จึงเป็นที่ทำการดังที่ท่านเห็นในปัจจุบัน<br />

๑๒๐. สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม<br />

สะพานที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการข้ามคลองคูเมืองเดิม มีจำนวนทั้งสิ้น ๘ สะพาน โดยมี<br />

รายละเอียด ดังนี้<br />

๑) สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นสะพานสุดท้ายของสะพานชุดที่มี<br />

คำว่า เฉลิม นำหน้ารวม ๑๗ สะพาน สะพานชุดเฉลิมนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ทรง<br />

พระเจริญพระชันษาได้ ๔๒ ปี จนเสด็จสวรรคต ทั้งนี้มีพระราชประสงค์ให้เป็นสาธารณประโยชน์แก่ปวง<br />

พสกนิกร สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ กระทำพิธีเปิดภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ<br />

สวรรคตไปแล้วถึง ๒ ปี เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองด้านเหนือ สุดบริเวณวังหน้าด้านถนนพระอาทิตย์<br />

จดกับถนนราชินีที่บริเวณใต้สะพานพระปิ่นเกล้าใกล้กับที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร<br />

สะพานนี้ถูกรื้อไปแล้วกลายเป็นถนน ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

156


๒) สะพานช้างวังหน้า หรือสะพานเสี้ยว เป็นสะพานที่ถูกรื้อไปแล้ว ถัดลง<br />

มาทางทิศใต้บริเวณใกล้เคียงกัน เมื่อมีการตัดถนนราชดำเนินในสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

สะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมสะพานหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เชื่อมต่อแนวถนน<br />

ราชดำเนินในและถนนราชดำเนินกลาง พระราชทานนามว่า สะพานผ่านพิภพลีลา<br />

๓) สะพานเจริญศรี ๓๔ เป็นสะพานชุดที่มีคำนำหน้าว่า เจริญ มีด้วยกัน<br />

๖ สะพาน เมื่อสร้างแล้วจะต่อด้วยตัวเลข ๒ ตัวข้างท้าย บอกตัวเลข<br />

พระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานขึ ้นเช่นเดียวกับพระราชประสงค์ของ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สร้างสะพานชุดเฉลิม ในวโรกาส<br />

วันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี ดังนั้น สะพานเจริญศรี ๓๔ จึงสร้างขึ้นเมื่อ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุ ๓๔ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗<br />

โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดสะพานด้วยพระองค์เองทุกสะพาน<br />

ก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา (๑ มกราคม ๒๔๒๓) ประมาณ ๒ - ๓ วัน คือ<br />

ในห้วงวันที ่ ๒๙ - ๓๐ ธันวาคม สะพานเจริญศรี ๓๔ เป็นสะพานข้ามคลอง<br />

คูเมืองเดิม บริเวณวัดบูรณศิริมาตยารามกับด้านศาลยุติธรรม<br />

๔) สะพานหก รายละเอียดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น<br />

๕) สะพานช้างโรงสี รายละเอียดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น<br />

๖) สะพานมอญ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิมอยู่ด้านหลังวัดราชบพิธ<br />

สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร และเป็นสะพานตามแนวถนนเจริญกรุง<br />

ณ บริเวณแห่งนี้ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพ<br />

สะพานช้างโรงสี (อดีต-ปัจจุบัน)<br />

157


เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

และได้อพยพหนีภัยสงครามกับพม่าคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ พร้อมกับชาวไทย และ<br />

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญ<br />

อันมีพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยารามจัตุรงค์ หัวหน้า<br />

ชาวมอญสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหัวหน้าชาวมอญกลุ่มนี้ โดย พระยาศรีสหเทพ<br />

(ทองเพ็ง) ได้ร่วมกับชาวมอญที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ช่วยกันสร้างสะพานนี้ขึ้น<br />

ราษฎรทั่วไปจึงเรียกสะพานนี้มาจนถึงปัจจุบันว่าสะพานมอญ นอกจากนั้น<br />

เมื่อข้ามสะพานมอญออกมาแล้วยังจะพบสี่แยกอีกแห่งหนึ่งบริเวณใกล้เคียงกัน<br />

ที่ราษฎรยังคงเรียกกันว่าสี่กั๊กพระยาศรี เพราะตัดผ่านข้างบ้านพระยาศรีสหเทพ<br />

นั่นเอง (คำว่า กั๊ก ภาษาจีน แปลว่า ทางแยก)<br />

๗) สะพานอุบลรัตน์ แต่เดิมเรียกว่าสะพานบ้านหม้อ เป็นสะพาน<br />

ข้ามคลองคูเมืองเดิมจากถนนราชบพิธ ไปยังถนนพระพิทักษ์ใกล้วังของกรม<br />

พระพิทักษ์เทเวศร์ พระองค์เจ้ากุญชร ต้นราชสกุล กุญชร ณ อยุธยา ที่ชาวบ้าน<br />

เรียกกันว่า วังบ้านหม้อ ต่อมาสะพานนี้ถูกเรียกขานกันว่า สะพานหัวตะเข้<br />

เพราะในการบูรณะสะพานต่อมาได้ทำเป็นรูปหัวจระเข้ที่สะพาน และในสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะสะพานแห่งนี้อีกครั้ง<br />

หนึ่ง กระทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ ตั้งชื่อ<br />

อย่างเป็นทางการว่า สะพานอุบลรัตน์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายพระอัครชายา<br />

เธอ (ในรัชกาลที่ ๕) พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค (พระนามเดิม หม่อมเจ้าบัว<br />

กมลาสน์)<br />

๘) สะพานเจริญรัช ๓๑ เป็นสะพานชุดเจริญที่สร้างขึ้นเป็นสะพานแรก<br />

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีพระชนมายุครบ ๓๑<br />

พรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองบริเวณปากคลองตลาด<br />

หน้าสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังในปัจจุบัน แต่เดิมเป็นสะพานช้างข้ามเก่า<br />

ที่ราษฎรเรียกกันว่าสะพานช้างปากคลองตลาด<br />

ทั้งหมดนี้คือ สะพานที่ข้ามคลองคูเมืองเดิม โดยการไล่ลำดับจากริมแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยาบริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ามาจนถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

ปากคลองตลาด<br />

158


๑๒๑. ถนนรอบกระทรวงกลาโหม<br />

ถนนที่ใช้สัญจรบริเวณรอบกระทรวงกลาโหมและบริเวณใกล้เคียง ในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยากับคลองคูเมืองเดิม และถนนใกล้เคียงที่สมควรนำเสนอต่อทุกท่าน มีจำนวนถึง ๑๓ สาย<br />

โดยมีรายละเอียด ดังนี้<br />

๑) ถนนเจริญกรุง เป็นกลุ่มถนนชุดแรกที่<br />

สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เนื่องจากขณะนั้นได้มีบรรดาชาวต่าง<br />

ประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น และได้เข้า<br />

ชื่อกันถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้มีการ<br />

ตัดถนนเพื่อตากอากาศหรือขี่ม้าท่องเที่ยวกันบ้าง<br />

ดังนั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ - ๒๔๐๗ จึงได้ดำเนินการ<br />

ตัดถนนเจริญกรุง ทั้งนี้ แนวถนนเจริญกรุงเริ่มแรก<br />

มีการวางแผนกันว่าจะเริ่มตั้งแต่ถนนข้างกระทรวง<br />

กลาโหมปัจจุบัน (ถนนกัลยาณไมตรี) ผ่านเสาชิงช้า<br />

ออกไป แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงคัดค้านว่า เป็นถนนที่ตรงกับวังอาจเป็นเส้น<br />

ทางที่ข้าศึกอาจใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะด้านการ<br />

ยิงของอาวุธหนัก ดังนั้น จึงได้เปลี่ยนแปลงให้จุด<br />

เริ่มต้นของถนนเจริญกรุงเริ่มต้นจากถนนท้ายวัง<br />

ด้านหน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนไปจนถึง<br />

ถนนตก เมื่อถนนสายนี้สร้างเสร็จแล้ว ราษฎร<br />

พากันเรียกว่า ถนนใหม่ และชาวต่างชาติเรียกว่า<br />

New Road จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จึงมี<br />

ประกาศพระบรมราชโองการว่า ให้เรียกชื่อถนน<br />

สายนี้ว่า ถนนเจริญกรุง<br />

๒) ถนนบำรุงเมือง เป็นถนนรุ่นแรกเช่นเดียว<br />

กับถนนเจริญกรุง ที่สร้างขึ้นมาในสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจุดเริ่มต้น<br />

คือบริเวณข้างกระทรวงกลาโหม จากถนนสนามไชย<br />

ข้ามสะพานช้างโรงสีผ่านเสาชิงช้าไปยังบริเวณ<br />

เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ถนนบำรุงเมือง เริ่มสร้างเมื่อ<br />

ปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ใช้เงินประมาณ ๑๕,๐๐๐. - บาท<br />

ทั้งนี้ บริเวณหัวถนนบ ำรุงเมืองด้านกระทรวงกลาโหม<br />

จนถึงสะพานช้างโรงสี แต่เดิมนั้นชาวบ้านเรียกกันว่า<br />

ถนนหัวโรงม้า เพราะมีหน่วยทหารม้าตั้งอยู่ใน<br />

กระทรวงกลาโหมบริเวณนี้ ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.<br />

๒๔๖๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้มีฝรั่งชาวอเมริกา ชื่อ ดร.ฟรานซีส<br />

บี. แซย์ ลูกเขยประธานาธิบดี วูดโรว์ บินสัน ของ<br />

สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาช่วยราชการที่กระทรวง<br />

การต่างประเทศของไทย ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ฝั่งตรง<br />

กันข้ามกับกระทรวงกลาโหม ดร.ฟรานซีส บี. แซย์<br />

ซึ่งเป็นนักกฎหมาย ได้เข้าช่วยแก้ไขสัญญาต่างๆ<br />

ที่ไทยเสียเปรียบกับนานาประเทศมากมาย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทาน<br />

บรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยากัลยาณไมตรี ดังนั้น ในปี<br />

พ.ศ. ๒๔๖๗ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนบำรุงเมือง<br />

ตอนดังกล่าวนี้ เป็นถนนกัลยาณไมตรี เป็นเกียรติ<br />

แก่พระยากัลยาณไมตรีอีกด้วย<br />

อนึ่ง ถนนกัลยาณไมตรี (ถนนบำรุงเมือง)<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเส้นทางเดินสัญจรของ<br />

คนทั่วไป ตั้งแต่ครั้งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะ<br />

การเดินทางข้ามคลองคูเมืองเดิมด้านนี้ จะต้องข้าม<br />

ที่สะพานช้างโรงสีเท่านั้น ดังนั้น ในครั้งที่พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จ<br />

พระราชดำเนินโดยมิได้ฉลองพระบาท เพื่ออัญเชิญ<br />

พระศรีศากยมุนีจากท่าพระ ไปยังอุโบสถวัดสุทัศน<br />

เทพวราราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๗ นั้น เชื่อได้ว่า<br />

ได้เสด็จพระราชดำเนินตามเส้นทางสายนี้<br />

๓) ถนนเฟื่องนคร เป็นถนนรุ่นเดียวกันกับ<br />

ถนนบำรุงเมืองที่สำคัญอีกถนนหนึ่ง ที่อยู่บริเวณ<br />

ข้ามคลองคูเมืองเดิมออกไป เริ่มจากแยกพระพิทักษ์<br />

ตรงถนนบ้านหม้อมาจนถึงสี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงถนน<br />

บำรุงเมือง<br />

159


๔) ถนนตะนาว เป็นถนนรุ่นเดียวกันกับถนน<br />

บำรุงเมือง เริ่มจากส่วนถนนบำรุงเมืองด้านต่อ<br />

จากสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านศาลเจ้าพ่อเสือ ไปจดถนน<br />

ราชดำเนินกลางที่สี่แยกคอกวัว เรียกว่า ถนนตะนาว<br />

เพราะแต่เดิมเป็นบริเวณที่กลุ่มชนเชื้อสายพม่าจาก<br />

เมืองตะนาวศรีมาอาศัยอยู่<br />

๕) ถนนราชินี เป็นถนนที่ตัดขนานกับคลอง<br />

คูเมืองเดิม จุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณปากคลองตลาด<br />

บริเวณสะพานเจริญรัช ผ่านหลังกระทรวงกลาโหม<br />

ตัดกับถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระธาตุไปจนถึง<br />

ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านถนนพระอาทิตย์ โดยถนน<br />

สายนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงและสร้างขึ้นเป็น<br />

อนุสรณ์แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ<br />

พระราชมารดา ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ<br />

๕๐ ปี ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ<br />

(ประสูติ ๑ มกราคม ๒๔๐๖) เมื่อวันที่ ๑ มกราคม<br />

๒๔๕๖<br />

๖) ถนนอัษฎางค์ เป็นถนนที่ขนานกับคลอง<br />

คูเมืองเดิมด้านนอก เริ่มต้นจากเชิงสะพานเจริญรัช<br />

ด้านถนนตรีเพชร (ปากคลองตลาด) มาสิ้นสุดที่<br />

โรงแรมรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์<br />

เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พระราชโอรส<br />

องค์ที่ ๗ ในรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระศรีพัชริน<br />

ทราบรมราชินีนาถ) ซึ่งสวรรคตเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์<br />

๒๔๖๗ ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๓๕ ปีเท่านั้น<br />

ริมถนนอัษฎางค์ บริเวณด้านหลังกระทรวงกลาโหม<br />

ที่เรียกกันปัจจุบันว่า หลังกระทรวง นี้มีสถานที่ที่เป็น<br />

ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เป็นแหล่งศูนย์การค้าและ<br />

แหล่งเริงรมย์สมัยก่อนที่ควรกล่าวถึง คือ แพร่งนรา<br />

แพร่งภูธร และแพร่งสรรพศาสตร์ นอกจากนั้น<br />

ริมถนนอัษฎางค์ ด้านเชิงสะพานช้างโรงสียังมีบ้าน<br />

ที่เป็นบ้านเกิดของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์<br />

สิงหเสนี) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิดในสมัย<br />

กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๓๑๘<br />

๗) ถนนเจ้าฟ้า จะเป็นถนนเลียบคลองคูเมือง<br />

เดิม เริ่มจากจุดต้นถนนพระอาทิตย์ (โรงเรียนข่าว<br />

กรมข่าวทหารบก) มายังถนนราชดำเนินกลาง ตั้งชื่อ<br />

เป็นอนุสรณ์แก่เจ้าของวัง คือ พระเจ้าบวรวรวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้าอิศราพงค์ พระโอรสในพระบวรราชเจ้ากรม<br />

พระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระองค์เจ้าดารา<br />

วดี พระธิดาในพระวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวร<br />

มหาสุรสิงหนาท และเป็นต้นราชสกุล อิศรศักดิ์ ณ<br />

อยุธยา<br />

๘) ถนนสนามไชย รายละเอียดดังกล่าวมา<br />

แล้วข้างต้น<br />

๙) ถนนท้ายวัง เป็นเส้นทางสัญจรที่เกิด<br />

ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภายหลังจากขยายแนว<br />

พระบรมมหาราชวังไปทางทิศใต้ เพราะถนนสายนี้<br />

กั้นอยู่ระหว่างแนววัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามกับ<br />

พระบรมมหาราชวัง สุดถนนด้านแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

คือ จุดตัดกับถนนมหาราชส่วนจุดตัดกับถนน<br />

สนามไชยคือ ต้นถนนเจริญกรุง<br />

๑๐) ถนนหน้าพระลาน เป็นเส้นทางสัญจร<br />

เก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เริ่มต้น<br />

จากริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าช้างวังหลวง ผ่าน<br />

ประตูวิเศษไชยศรี จนถึงด้านหน้าศาลหลักเมือง อัน<br />

เป็นจุดเริ่มต้นของถนนราชดำเนินใน<br />

๑๑) ถนนราชดำเนิน ภายหลังจากที่<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ<br />

พระราชดำเนินกลับจากเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />

ถนนราชดำเนินขึ้นเป็น ๓ ช่วง<br />

160


• ช่วงแรก เรียกว่า ถนนราชดำเนินใน เริ่มจากหน้าศาลหลักเมือง ถึงสะพานผ่านพิภพลีลา<br />

• ช่วงที่สอง เรียกว่า ถนนราชดำเนินกลาง เริ่มจากสะพานผ่านพิภพลีลา ถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ<br />

• ช่วงที่สาม เรียกว่า ถนนราชดำเนินนอก เริ่มจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ผ่านสะพานมัฆวานรังสรรค์<br />

จนถึงลานพระราชวังดุสิต (ที่นิยมเรียกกันว่าลานพระบรมรูปทรงม้า) ต่อมา ถนนราชดำเนินทั้ง<br />

๓ ตอน ได้รับการปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้ง สร้างสิ่งปลูกสร้างให้ทันสมัยเยี่ยงอารยประเทศ<br />

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยรัฐบาลในสมัยนั้น<br />

๑๒) ถนนมหาราช เป็นทางเดินระหว่างพระบรมมหาราชวัง เลียบแม่น้ำเจ้าพระยามาแต่โบราณ<br />

เริ่มต้นจากปากคลองตลาด ท่าเตียน ท่าราชวรดิษฐ ท่าช้างวังหลวง ไปจดกับถนนพระจันทร์ ซึ่งเป็นถนน<br />

สายสั้นๆ จากท่าพระจันทร์ไปถึงถนนหน้าพระธาตุ<br />

๑๓) ถนนหน้าพระธาตุ เป็นเส้นทางสัญจรโบราณยุคสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวังหน้ากับ<br />

วังหลวง มีจุดเริ่มต้นจากมุมรั้วกรมศิลปากร ผ่านวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาจรดถนนราชินี ที่มุมรั้วโรงละครแห่งชาติ การที่ถนนนี้มีชื่อว่า<br />

ถนนหน้าพระธาตุ เป็นเพราะเป็นชื่อเรียกขานกันมาแต่สมัยโบราณ เพราะวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์<br />

ราชวรมหาวิหารนี้ มีพระวิหารที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตั้งอยู่<br />

161


่<br />

๑๒๒. กรมแผนที่ทหาร<br />

สถานที่ราชการที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับกระทรวงกลาโหม ด้านทิศใต้ ริมถนนกัลยาณไมตรี<br />

คือกรมแผนที่ทหาร ซึ่งมีความสำคัญและความเป็นมา ดังนี้<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เป็นสมัยเริ่มแรกของการพัฒนาประเทศ<br />

เพื่อให้ทันกับความจำเป็นของสถานการณ์ที่กำลัง<br />

คุกคามต่อเอกราชของสยามในยุคนั้น แนวทางการ<br />

ทำแผนที่แผนใหม่ซึ่งต้องอาศัยหลักวิชาและอุปกรณ์<br />

เครื่องมือของประเทศฝ่ายตะวันตกก็ได้เริ ่มขึ้น<br />

ในรัชกาลนี้ด้วยเช่นกัน<br />

ภายหลังจากที่เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู<br />

ชวาและอินเดีย ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำ นายเฮนรี<br />

อลาบาสเตอร์ ที่เคยทำหน้าที่รองกงสุลอังกฤษ<br />

ในเมืองไทยมาก่อนนั้น กลับเข้ามารับราชการเป็นที่<br />

ปรึกษาส่วนพระองค์ด้วย ซึ่งนายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์<br />

ได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำในการทำนุบำรุง<br />

บ้านเมืองด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้ง<br />

วิชาการสำรวจและทำแผนที่ ซึ่งทรงเห็นว่ามีประโยชน์<br />

มาก ดังนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง<br />

กองทำแผนที่ทดลองขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ โดย<br />

เริ่มสำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพมหานคร<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ รัฐบาลอังกฤษได้ขอ<br />

อนุญาตรัฐบาลสยาม เพื่อให้กองทำแผนที่ กรมทำ<br />

แผนที่แห่งอินเดีย เดินทางผ่านเข้ามาในประเทศ<br />

สยามเพื่อดำเนินการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมต่อเนื่อง<br />

จากประเทศอินเดีย ผ่านพม่า เข้าเขตประเทศสยาม<br />

ทางจังหวัดราชบุรี เพื่อเข้าบรรจบกับแผนที่ทาง<br />

ทะเลที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งขอสร้างหมุดหลัก<br />

ฐานทางแผนที่ภูเขาทอง และที่พระปฐมเจดีย์ เพื่อ<br />

ใช้เป็นจุดตรวจสอบด้วย ครั้งนั้นข้าราชการไทยหวั่น<br />

วิตกเป็นอันมาก เนื่องจากได้สังเกตเห็นมาแล้วว่า<br />

ประเทศนักล่าอาณานิคมมักขอเข้าสำรวจก่อน แล้ว<br />

จึงถือโอกาสเข้ายึดครองในภายหลัง<br />

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุโลมตามคำแนะนำของ<br />

นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ที่ให้ยินยอมตามคำขอ<br />

ของรัฐบาลอังกฤษ ทั้งทรงเห็นชอบด้วยกับการ<br />

ที่จะเจรจาทาบทามตัวพนักงานทำแผนที่อังกฤษ<br />

เข้ามารับราชการเพื่อเป็นการวางรากฐานการทำ<br />

แผนที่ของไทยเองด้วย ผลที่สุดปรากฏว่า นายเจมส์<br />

เอฟ แมคคาร์ธี ตกลงยินยอมเข้ารับราชการสยาม<br />

นับแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๒๔ โดยสังกัดฝ่ายพระ<br />

กลาโหม ซึ่งมีหน้าที่บัญชาการหัวเมืองและทหาร<br />

ฝ่ายใต้ในขณะนั้น แต่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คือ พระ<br />

องค์เจ้าดิสวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)<br />

ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็กต่อมาในปี พ.ศ.<br />

๒๔๒๕ พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร จึงทรงได้รับพระ<br />

ราชโองการให้ตรัสเรียกนายแมคคาร์ธีมาปรึกษา<br />

และร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนฝึกสอนชาวสยามให้ทำ<br />

แผนที่ขึ้น โดยทำการสอนภาคทฤษฎีที่ตึกแถวกอง<br />

ทหารมหาดเล็ก ข้างประตูพิมานไชยศรีในพระบรม<br />

มหาราชวังและนำนักเรียนออกมาฝึกทำแผนที่ทั้ง<br />

ในกรุงเทพฯ และมณฑลอื่นๆ และในที่สุดจึงได้ตั้ง<br />

กรมทำแผนที่ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๔๒๘<br />

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบราชการครั้ง<br />

ใหญ่ โดยแยกงานออกเป็น ๑๒ กระทรวง กรมทำ<br />

แผนที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพระคลังมหา<br />

สมบัติอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้โอนไปสังกัดกระทรวง<br />

เกษตราธิการ<br />

162


กรมแผนที่ทหาร<br />

อดีตถึงปัจจุบัน<br />

จนกระทั่งวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๕๒ จึงโอนสังกัด<br />

มาขึ้นตรงกรมเสนาธิการ กระทรวงกลาโหม ตาม<br />

พระราชดำริของ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก<br />

และต่อมาเมื่อมีการแยกงานของกรมเสนาธิการ<br />

กรมแผนที่จึงมีฐานะเป็นหน่วยราชการขึ้นตรงต่อ<br />

กองทัพบก<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ จึงได้โอนกรมแผนที่<br />

มาสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด และเปลี ่ยน<br />

ชื่อเป็น กรมแผนที่ทหาร มาจนกระทั่งปัจจุบัน<br />

ส่วนสถานที่ทำการนั้นได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ อาคารริม<br />

ถนนบำรุงเมืองตอนต้น (ถนนกัลยาณไมตรี) แทนที่<br />

โรงเรียนนายร้อยมัธยมและกรมเสนาธิการทหารบก<br />

ที่เคยอยู่เดิม<br />

163


พระราชวังสราญรมย์ ที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศในอดีต<br />

๑๒๓. พระราชวังสราญรมย์<br />

สถานที่ราชการที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ด้านทิศใต้กระทรวงกลาโหม<br />

ริมถนนกัลยาณไมตรี นอกจากกรมแผนที่ทหารแล้ว ยังมีอีกแห่งหนึ่งคือ<br />

พระราชวังสราญรมย์ หรือที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศเดิม ซึ่งมีความ<br />

สำคัญและความเป็นมา ดังนี้<br />

พระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่าง พระบรมมหาราชวัง กับ<br />

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันออกของ<br />

พระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรอง<br />

พระราชอาคันตุกะ<br />

มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดย นายเฮนรี่<br />

อลาบาสเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙ โดยมี เจ้าพระยาบุรุษรัตนราช<br />

พัลลภ (เพ็ง) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ พร้อมกับ<br />

พระราชทานนามว่า สราญรมย์ แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะสร้างเสร็จในช่วงต้น<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ประทับชั่วคราวของเจ้านายเมื่อแรกออกจาก<br />

วังหลวง ก่อนที่วังประทับถาวรจะก่อสร้างแล้วเสร็จ อาทิ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่าง<br />

164


วงศ์ทรงประทับ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๙ - ๒๔๒๔<br />

ในระหว่างที่ก่อสร้างวังบูรพาภิรมย์<br />

ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็น<br />

ที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ<br />

อาทิ เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น ซาเรวิชหรือมกุฎราช<br />

กุมารแห่งรัสเซีย (ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น<br />

พระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ ๒) เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซ<br />

สำหรับพระราชอาคันตุกะพระองค์แรกที่เข้ามา<br />

ประทับคือ เจ้าชายออสการ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๗<br />

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ พระเจ้าน้องยาเธอ<br />

กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ได้รับพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ<br />

ทรงขอพระราชทานวังสราญรมย์ให้เป็นที่ทำการ<br />

ของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจึงย้ายที่ทำการ<br />

ไปที่ตึกราชวัลลภ ในพระบรมมหาราชวัง<br />

ดังนั ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ วังสราญรมย์จึงใช้<br />

เป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะเรื่อยมาจนถึง<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

โดยพระองค์โปรดให้เรียก วังสราญรมย์ เป็น<br />

พระราชวังสราญรมย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม<br />

๒๔๕๙<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน<br />

พระราชวังสราญรมย์ ให้เป็นที่ทำการของกระทรวง<br />

การต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตึกราชวัลลภ<br />

ในพระบรมมหาราชวัง ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก<br />

เมื่ออาคารดังกล่าวเปลี่ยนเป็นที่ทำการสำนักงาน<br />

ของกระทรวงการต่างประเทศแล้ว จึงให้กลับ<br />

เรียกชื่อว่า วังสราญรมย์ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก<br />

มิได้มีเจ้านายประทับเป็นการประจำ และได้ใช้<br />

วังสราญรมย์เป็นที่ทำการถาวรของกระทรวงการ<br />

ต่างประเทศสืบมา<br />

จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงมีการย้ายสำนักงาน<br />

ส่วนใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศออกไปที่<br />

อาคารถนนศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้ หลังจากนั้น<br />

ก็ทำการปิดวังสราญรมย์เพื่อปรับปรุงและบูรณะ<br />

ซ่อมแซม โดยในช่วงแรกมีแผนที่จะจัดทำเป็น<br />

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทูตไทย และสถาบัน<br />

ฝึกอบรมข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศ<br />

บริเวณกระทรวงการต่างประเทศ หรือวังสราญรมย์<br />

เดิม พื้นที่ฝั่งที่ติดกับพระราชอุทยานสราญรมย์<br />

และบางส่วนได้มีการก่อสร้างทำเนียบองคมนตรี<br />

และอาคารสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งยังใช้เป็น<br />

ที่ทำการของคณะองคมนตรีมาจนปัจจุบันนี้<br />

อย่างไรก็ตาม วังสราญรมย์ เคยสร้าง<br />

ประวัติศาสตร์ความมั ่นคงในภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้มาแล้ว กล่าวคือ เคยใช้<br />

เป็นสถานที่ที่ผู้แทนชาติสมาชิกก่อตั้งสมาคม<br />

ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน<br />

ในยุคเริ่มต้น ๕ ประเทศ ประกอบด้วย ไทย<br />

มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์<br />

ลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ หรือ ปฏิญญาอาเซียน<br />

ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ ร่วมกันก่อตั้งสมาคม<br />

ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน<br />

อย่างเป็นทางการ<br />

165


166<br />

ภาพบรรยากาศบริเวณชุมชนสามแพร่งในปัจจุบัน


๑๒๔. ชุมชนสามแพร่ง : ย่านการค้าหลัง<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

หากจะกล่าวถึงย่านการค้าสำคัญในอดีตของ<br />

พระนคร คงกล่าวได้ว่า ชุมชนสามแพร่ง เป็นอีก<br />

แหล่งหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยในอดีตนิยมมาจับจ่าย<br />

ซื้อของอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้<br />

ชุมชนสามแพร่ง ประกอบด้วย แพร่งภูธร แพร่ง<br />

นรา และแพร่งสรรพศาสตร์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งตะวัน<br />

ออกของคลองคูเมืองเดิม ระหว่างถนนอัษฎางค์<br />

กับถนนตะนาว เคยเป็นที่ตั้งของวังพระเจ้าลูกยา<br />

เธอ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๓ วัง กล่าวคือ<br />

• แพร่งภูธร วังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศ<br />

ธำรงศักดิ์ ต้นราชสกุล ทวีวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่ง<br />

ถือเป็นแพร่งที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด เพราะจะ<br />

มีร้านอาหารชื่อดังจำนวนมากรายล้อมอยู่<br />

ไม่ว่าจะเดินไปซอกใด มุมใดมักจะพบเจอ<br />

ร้านอาหารน้อยใหญ่รสชาติดี ชิมอิ่มอร่อย<br />

ตลอดทาง และสถานที่หนึ่งที่น่าสนใจและ<br />

อยู่ใกล้วังคือ สุขุมาลอนามัย เป็นสถานี<br />

อนามัยแห่งที่ ๒ ของกรุงเทพมหานคร<br />

กับมีตึกแถว ๒ ชั้น แบบเก่าขนาดเล็กทึบ<br />

กรอบหน้าต่างประดับไม้ฉลุ มีกันสาดช่อ<br />

ชายฉลุลายเช่นกัน ซุ้มประตูโค้งอยู่เหนือ<br />

ช่องลม ประตูไม้ ๖ บานแบบพับได้<br />

• แพร่งนรา วังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิป<br />

ประพันธ์พงศ์ ต้นราชสกุล วรวรรณ ณ<br />

อยุธยา ถือว่าเป็นถิ่นละครร้อง เพราะ<br />

พระองค์ทรงเป็นทั้งนักกวีและนักประพันธ์<br />

ทรงมีความสนใจทางด้านการละครและ<br />

ได้นำละครร้องแบบโอเปร่ามาผสมผสาน<br />

กับละครร้องแบบไทย ทำให้เปิดโรงละคร<br />

ปรีดาลัย โรงละครร้องแห่งแรกของไทย<br />

ต่อมากลายเป็น โรงเรียนตะละภัฏศึกษา กับ<br />

มีตึกแถว ๒ ชั้น ค่อนข้างทึบ ตกแต่งผนัง<br />

เล็กน้อยด้วยเสาอิงทรงเหลี่ยมคั่นแต่ละคูหา<br />

ซุ้มประตูเป็นรูปโค้ง ประตูหน้าต่างเป็นไม้<br />

• แพร่งสรรพศาสตร์ วังเก่าของพระเจ้า<br />

บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์<br />

กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุล<br />

ทองแถม ณ อยุธยา พระองค์ทรงเป็น<br />

นักถ่ายภาพยนตร์รายแรกและรายเดียว<br />

ในสยามสมัยนั้น น่าเสียดายที่แหล่งที่<br />

สถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์จางหายไป<br />

เพราะถูกไฟไหม้ใหญ่ถึง ๒ คราว จึงเหลือ<br />

เพียงซุ้มประตูวังเก่าที่ตั้งเด่นเป็นตระหง่าน<br />

ในอดีต ชุมชนสามแพร่ง เป็นพื้นที่ตั้ง<br />

ของร้านค้าสินค้าต่างประเทศ ร้านตัดเสื้อผ้า<br />

และร้านขายสรรพสินค้าซึ่งมีชื่อแห่งหนึ่ง<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาคารพาณิชย์ขนาด<br />

๒ - ๓ ชั้น และมีอาคารห้องแถวโดยรอบวัง<br />

ทั้งสามวังเป็นสถานที่ค้าขายสินค้า อาหาร<br />

จึงนับเป็นแหล่งค้าขายที่เจริญรุ่งเรืองแห่งหนึ่ง<br />

ในกรุงเทพสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน<br />

167


๑๒๕. สี่กั๊กพระยาศรี : ย่านการค้าบนถนนเจริญกรุงในก ำแพงพระนคร<br />

นอกจากชุมชนสามแพร่งแล้ว ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองใกล้บริเวณดังกล่าว<br />

และเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ สี่กั๊กพระยาศรี ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้<br />

ความหมายของคำว่า สี่กั๊กพระยาศรี แยกออกได้เป็น ๒ คำ คือ สี่กั๊ก<br />

เป็นภาษาจีนมาจากคำว่า สี่กั๊กโล้ว แปลว่า สี่แยกที่มีถนนสองสายตัดกัน และ<br />

คำว่า พระยาศรี หมายถึง พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) อดีตเสนาบดีกระทรวงพระคลัง<br />

มหาสมบัติ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีบ้านอยู่<br />

บริเวณดังกล่าว<br />

พื้นที่สี่กั๊กพระยาศรี อยู่บริเวณถนนเจริญกรุงตัดกับถนนเฟื่องนคร นับได้<br />

ว่าเป็นพื้นที่ในกำแพงพระนคร ที่เป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยนั ้น<br />

ซึ่งย่านการค้ามีอยู่เพียงบนถนน ๓ สาย คือ ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และ<br />

ถนนเฟื่องนคร<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯ ให้สร้างตึกแถว ชั้นเดียวแบบสิงคโปร์สองข้างทางถนนเจริญกรุง บริเวณ<br />

สี่กั๊กพระยาศรีนั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้วมีฝรั่งและคนจีนมาเช่าตั้งห้างกับเปิดทำการ<br />

ค้าขาย ประกอบด้วย ห้างรัตนโกสินทร์รัชชะการบริษัท ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้า<br />

จำหน่ายของต่างประเทศ ประเภทถุงเท้า รองเท้า เสื้อผ้า อีกทั้ง ยังรับตัดชุด<br />

ข้าราชการ และเครื่องแบบทหาร ด้วยช่างชาวอังกฤษประจำร้าน นอกจากนี้<br />

ยังจำหน่ายเครื่องรถและอานม้า ห้างนี้จึงมีชื่อเสียงมากเช่นเดียวกับ ห้างแบดแมน<br />

แอนด์โก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนบำรุงเมืองเชิงสะพานช้างโรงสี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง<br />

ของร้านขายเครื่องหมายทางราชการชื่อว่า ศรีเมือง)<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ย่านสี่กั๊กพระยาศรีได้มีห้างร้านตั้งขึ้น<br />

มีหลายร้าน อาทิ ห้างขายยาท่าเตียนของชาวเยอรมัน ห้างขายยาชิดีดิสเปนซาร<br />

โรงแรมชีดีโฮเต็ลของฝรั่ง ห้างเอส อีกาเซกีของชาวญี่ปุ่น และห้าง อี เอ็ม กาติ๊บ<br />

ของชาวอินเดีย ขายสินค้าฝรั่ง<br />

ปัจจุบัน สี่กั๊กพระยาศรีบริเวณริมถนนเจริญกรุง ไม่เหลือตึกแถวชั้นเดียว<br />

แบบสิงคโปร์แล้ว เพราะมีการสร้างตึกแถวคอนกรีตเสริมเหล็กแบบใหม่ขึ้นแทน<br />

168


๑๒๖. สี่กั๊กเสาชิงช้า<br />

ในอดีต กรุงเทพมหานครหรือพระนคร มีสี่กั๊กอยู่ ๒ แห่ง และถือว่าเป็นย่าน<br />

ที่มีความเจริญทัดเทียมกัน คือ สี่กั๊กพระยาศรี และ สี่กั๊กเสาชิงช้า และเป็นสี่กั๊ก<br />

ที่ตั้งอยู่ใกล้กัน กล่าวคือ<br />

• สี่กั๊กพระยาศรี ตั้งอยู่ระหว่างถนนเฟื่องนครตัดกับถนนเจริญกรุง<br />

• สี่กั๊กเสาชิงช้า ตั้งอยู่ระหว่างถนนเฟื่องนครตัดกับถนนบำรุงเมือง<br />

สำหรับ การเรียกชื่อว่า สี่กั๊กเสาชิงช้า เนื่องเพราะเป็นสี่แยกที่อยู่ใกล้<br />

มี เสาชิงช้า ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่<br />

ซึ่งกรุงเทพในอดีต ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ย่านการค้าที่ส ำคัญในกำแพง<br />

พระนคร คือ ย่านถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ปรากฏว่า ทั้ง ๒ ถนนนี้<br />

มีย่านการค้าสี่กั๊กเสาชิงช้า และสี่กั๊กพระยาศรี ซึ่งมีห้างร้านขายของต่างๆ<br />

มากมาย โดยเฉพาะ ๒ ฟาก ถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่ริมสะพานช้างโรงสี เรื่อยมา<br />

จนถึงประตูสำราญราษฎร์ หรือประตูผี<br />

มีห้างร้านที่มีชื่อหลายร้าน อาทิ ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างกีเซียงแอนซันซ์<br />

ทั้ง ๒ ห้างนี้เป็นห้างสรรพสินค้า ขายเฉพาะของต่างประเทศ<br />

ปัจจุบัน ย่านถนนบำรุงเมืองส่วนใหญ่ เป็นร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ อาทิ<br />

เครื่องบวช พระพุทธรูปขนาดต่างๆ โต๊ะหมู่บูชา และอื่นๆ<br />

169


๑๒๗. ย่านการค้าริมถนนเฟื่องนคร<br />

ย่านการค้าที่สำคัญใกล้บริเวณศาลาว่าการกลาโหมอีกแห่งที่รู้จักกันดีก็คือ<br />

ย่านการค้าริมถนนเฟื่องนคร ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงถนนสั้นๆ แต่ก็โดดเด่น<br />

มาในยุคหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มจากสี่กั๊กเสาชิงช้า<br />

ไปทางทิศใต้จรดถนนเฟื่องนคร เป็นถนนสายหนึ่งใน ๓ สาย ที่ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น สำหรับใช้ในการคมนาคมทางบกและใช้เป็นที่ตั้ง<br />

ของตึกแถวชั้นเดียวแบบสิงคโปร์เพื่ออยู่อาศัยและค้าขายของชาวต่างชาติ<br />

โดยเฉพาะชาวจีนและฝรั่ง<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกแถว ชั้นเดียวแบบสิงคโปร์ขึ้นเป็นจำนวนมาก ภายหลัง<br />

เสด็จประพาสเยือนสิงคโปร์เบื้องต้นรัชกาล โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) เป็นแม่กองการก่อสร้าง (เนื่องจากท่าน<br />

เคยเดินทางไปราชการในต่างประเทศจึงมีประสบการณ์และเคยเห็นแบบอย่าง<br />

ประกอบกับท่านมีความซื่อสัตย์จงรักภักดี อดีตเคยดำรงตำแหน่งรักษาการปลัด<br />

ทูลฉลองกระทรวงกลาโหม และทำการแทนเสนาบดีกระทรวงกลาโหม) ย่านการค้า<br />

ริมถนนเฟื่องนคร จึงมีห้างสรรพสินค้าและโรงพิมพ์หนังสือปิดทำการเป็น<br />

จำนวนมาก อาทิ<br />

ภาพเก่าแสดงบรรยากาศย่านการค้าที่ผู้คนสมัยก่อนพบปะสัญจร บริเวณริมถนนเฟื่องนคร<br />

170


ภาพบรรยากาศบริเวณถนนเฟื่องนครในอดีต<br />

• ห้าง เอช ทิช เซ แมน ตั้งอยู่ริมถนนเฟื่องนครบริเวณหลังกระทรวง<br />

นครบาล (กระทรวงมหาดไทยปัจจุบัน) เป็นห้างจำหน่ายเพชรพลอย<br />

และทองรูปพรรณ เครื่องหนังและนาฬิกาแบบต่างๆ อาทิ นาฬิกาพก<br />

นาฬิกาแขวน และนาฬิกาตั้งโต๊ะ โดยมีช่างชาวฝรั่งประจำร้าน<br />

• ห้างสิทธิภัณฑ์ เป็นห้างสรรพสินค้า จำหน่ายถุงเท้า หมาก เครื่องครัว<br />

เครื่องแก้ว บุหรี่ฝรั่ง เหล้าฝรั่ง อาหารกระป๋อง และอาหารแห้ง<br />

จากต่างประเทศ<br />

• ห้างสยามประดิษฐ์ เป็นห้างสรรพสินค้า จำหน่ายผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้<br />

กางเกงแพร หมวก ผ้าพันคอ เครื่องหนัง กระเป๋าหนัง ภาพและ<br />

กรอบรูป เครื่องเงินจากเยอรมัน และอาวุธปืน<br />

• โรงพิมพ์สยามประเภท รับจ้างในการพิมพ์หนังสือและเอกสารต่างๆ<br />

ตั้งอยู่บริเวณตรงข้าม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร<br />

ปัจจุบัน ห้างดังกล่าวข้างต้นได้เลิกกิจการแล้ว คงเหลือแต่ตึกแถวทรง<br />

สิงคโปร์บางส่วนไว้เป็นอนุสรณ์ว่า อดีตตึกแถวบางส่วนริมถนนเคยเป็นสถานที่<br />

ประกอบกิจการ แต่ด้านในถัดจากตึกแถวริมถนนเฟื่องนครเข้าไป (บริเวณตรอก<br />

หม้อ) ยังคงเหลือตึกแถวแบบสิงคโปร์ที่ใช้อยู่อาศัยเพียงบางส่วนให้เห็นสภาพ<br />

เมื่อ ๑๕๐ ปีที่ผ่านมาเท่านั้น<br />

171


ปัจฉิมบท<br />

สาระชวนรู้ ในเรื่องเกี่ยวกับศาลาว่าการกลาโหม และสถานที่หรือสิ่งสำคัญรอบศาลาว่าการกลาโหม<br />

ได้มีการบันทึกและถ่ายทอดให้ทุกท่านทราบทั้งหมดแล้ว หวังว่าคงได้เป็นสิ่งประดับความรู้ของทุกท่าน และ<br />

หากมีโอกาสใดที่สามารถให้ความกระจ่างแก่ทุกท่านได้อีก ก็จะดำเนินการให้อย่างเต็มที่ จึงขอขอบคุณที่<br />

กรุณาสละเวลาติดตามเส้นทางการเยี่ยมชมและการนำเสนอในโอกาสนี้<br />

173


บทส่งท้าย


“รวมสรรสาระน่ารู้ของศาลาว่าการกลาโหม” ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ ที่คณะผู้จัดทำ<br />

มีความตั ้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลที่เป็นสาระประโยชน์ เรียงร้อยออกมาเป็นผลงาน<br />

ผ่านตัวอักษรเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจถึงประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ<br />

ของกิจการทหารไทยสมัยใหม่ที่ถือกำเนิดจากสายพระเนตรอันยาวไกลของล้นเกล้าฯ<br />

รัชกาลที่ ๕ ที่พระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นมาเพื่อสถาปนาความมั่นคง<br />

ของสยามประเทศให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ เนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้<br />

ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากหลายสถานที่ หลายหน่วยงาน ทั้งที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์<br />

อักษรและจากคำบอกเล่าของผู้รู้ที่ทรงคุณวุฒิต่างๆ ผ่านการกลั่นกรองและร้อยเรียง<br />

ออกมาเป็นผลงานในหนังสือเล่มนี้ โดยมุ่งหวังให้เป็นแหล่งความรู้อันทรงคุณค่าที่จะ<br />

ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อท่านผู้อ่าน และอนุชนรุ่นหลัง ให้ได้รับทราบและตระหนักรู้<br />

ถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยผ่านกระทรวงกลาโหม ณ จุดกำเนิดในศาลาว่าการ<br />

กลาโหมแห่งนี้<br />

ขอขอบคุณท่าน พลเอก ธราธร ศรียะพันธ์ ที่กรุณาให้คำปรึกษาและคำแนะนำดีๆ<br />

จนเกิดเป็นหนังสือดีๆ เล่มนี้ขึ้น และท่านพลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ที่กรุณามอบข้อมูล<br />

ที่มีค่าและเป็นสาระประโยชน์ รวมทั้งขอขอบคุณต่อความตั้งใจของทุกท่านที่เกี่ยวข้อง<br />

ที่ได้มีส่วนร่วมช่วยกันผลักดันและสรรค์สร้างให้เกิดเป็นผลงานหนังสือเล่มนี้ขึ้น และเรา<br />

หวังจากใจจริงว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมๆ กับให้<br />

อาวุธทางปัญญาแก่ท่านผู้อ่านให้เกิดความภาคภูมิใจต่อสถานที่อันทรงคุณค่าแห่งนี้ อีกทั้ง<br />

เกิดความเชื่อมั่นและมอบความไว้วางใจให้แก่ทหารหาญที่จะยังคงยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่<br />

เป็นเสาหลักในการรักษาความมั่นคงของชาติตลอดไป<br />

กองบรรณาธิการ<br />

เมษายน ๒๕๕๖


เนื้อหาสาระที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้เป็นข้อคิดเห็นจากการรวบรวมข้อมูล<br />

และเรียบเรียงออกมาเป็นผลงานของคณะผู้จัดทำ โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดประโยชน์<br />

แก่ท่านผู้อ่าน มิได้เป็นข้อยุติหรือมีผลผูกพันกับทางราชการแต่อย่างใด หาก<br />

ท่านผู้อ่านมีข้อแนะนำเพิ่มเติม ติชม หรือมีข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ คณะผู้จัดทำ<br />

ขอน้อมรับไว้ด้วยความยินดี โดยท่านสามารถส่งมาได้ที่ กองประชาสัมพันธ์<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา<br />

ปรับปรุง ให้สมบูรณ์และดียิ่งๆ ขึ้นในโอกาสต่อไป ขอขอบพระคุณ<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒<br />

www.sopsd.mod.go.th


กลาโหม<br />

เทิดราชา<br />

รักษ์ราษฎร์<br />

ชาติมั่นคง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!