10.09.2018 Views

61

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

๘. พระราชกรณียกิจด้านระบบเงินตรา<br />

ทรงมีพระราชดำริปรับปรุงระบบเงินตรา<br />

ของไทย โดยครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๑๗<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำธนบัตร<br />

ขึ้น เรียกว่า อัฐ เป็นกระดาษมีมูลค่าเท่ากับ<br />

เหรียญทองแดง ๑ อัฐ และได้พัฒนาอย่าง<br />

ต่อเนื่อง จนในปี พ.ศ.๒๔๕๑ จึงทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ออกประกาศพระบรม<br />

ราชโองการยกเลิกการใช้เงินพดด้วงและ<br />

ตราพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.<br />

๑๒๗ ประกาศใช้เมื่อวันที่๑๑ พฤศจิกายน<br />

๒๔๕๑ ว่าด้วยเรื่องให้ใช้แร่ทองคำเป็น<br />

มาตรฐานเงินตราแทนแร่เงิน เพื่อให้<br />

เสถียรภาพเงินตราของไทยสอดคล้องกับ<br />

หลักสากล และพัฒนามาจวบจนปัจจุบัน<br />

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา<br />

อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร<br />

พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่ง<br />

ราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่<br />

๒๐ กันยายน ๒๔๖๘ เป็นพระโอรสใน<br />

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม<br />

พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา<br />

บรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและ<br />

พระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก ๒ พระองค์<br />

คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา<br />

ณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์<br />

และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา<br />

ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จขึ้น<br />

ทรงราชย์เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ และ<br />

เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙<br />

ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจอันสำคัญที่ขอ<br />

อัญเชิญมาประดิษฐานในบทความนี้<br />

ประกอบด้วย<br />

๑. พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธี<br />

พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่<br />

๙ พฤษภาคม ๒๔๘๙ และเสด็จ<br />

พระราชดำเนินไปในการเปิดประชุมสภา<br />

ผู้แทนราษฎรในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๙<br />

ซึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญคือ เสด็จ<br />

พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีน<br />

ณ พื้นที่สำเพ็ง จังหวัดพระนคร พร้อมด้วย<br />

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพล<br />

อดุลยเดช (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เมื่อวันที่<br />

๓ มิถุนายน ๒๔๘๙ เพื่อลดความขัดแย้งกัน<br />

ระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน<br />

โดยเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็น<br />

ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งการ<br />

เสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้<br />

เป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นของ<br />

พสกนิกรภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร<br />

๒. พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปในการประกอบพิธี<br />

ทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะท่ามกลาง<br />

มณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน-<br />

ศาสดาราม เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน<br />

๒๔๘๑ นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนิน<br />

ไปทรงสักการะพระพุทธรูปในพระอารามที่<br />

สำคัญ อาทิ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

ราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตร<br />

ดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร วัดสระเกศราช<br />

วรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราช<br />

วรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร และ<br />

วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร นอกจากนี้<br />

ยังทรงพระราชทานพระราชทรัพย์บำรุง<br />

วัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร<br />

๓. พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราช<br />

กรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของ<br />

ประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอด<br />

พระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติและ<br />

ทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง อาทิ<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียน<br />

อัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ นอกจากนี้<br />

ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทาน<br />

ปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก ณ หอประชุม<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๓<br />

เมษายน ๒๔๘๙ และหอประชุมราช<br />

แพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย<br />

แพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน<br />

๒๔๘๙<br />

๔. พระราชกรณียกิจด้านการเกษตร<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปทรงหว่านข้าว<br />

ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ เพื่อทรงเป็น<br />

มิ่งขวัญให้แก่เกษตรกรชาวไทยที่เป็น<br />

พสกนิกรของพระองค์<br />

ในโอกาสอันสำคัญคือ วันที่ ๒๐<br />

กันยายน ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเฉลิม<br />

พระชนมพรรษาขององค์ทวิราชา คือ พระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาท<br />

สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล<br />

พระอัฐมรามาธิบดินทรนี้ ผู้เขียนจึงขอ<br />

เรียนเชิญทุกท่านได้ร่วมน้อมรำลึกถึง<br />

พระมหากรุณาธิคุณของทั ้งสองบูรพกษัตริยา<br />

ธิราชเจ้าแห่งราชวงศ์จักรี พระผู้ทรงมี<br />

คุณูปการแก่ประเทศไทยด้วยกันทุกพระองค์<br />

ทั้งยัง จะได้ร่วมกันเทิดทูนสถาบันพระมหา<br />

กษัตริย์อันเป็นสถาบันที่เคารพเทิดทูน<br />

ของประชาชนชาวไทยตลอดนิรันดรกาล<br />

ด้วยเทอญ<br />

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๑<br />

29

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!