08.05.2019 Views

132 ปี เรื่องเล่าศาลาว่าการกลาโหม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เกียรติภูมิ เกียรติประวัติ เคียงคู่รัฐ พิพัฒน์ความมั่นคง


คำนำ<br />

หนังสือ “๑๓๒ เรื่องเล่า ศาลาว่าการกลาโหม” เล่มนี้ คือหนังสือที่ประกาศเกียรติภูมิของกระทรวงกลาโหม ในโอกาสครบรอบวันสถาปนากระทรวง<br />

กลาโหม ๑๓๒ <strong>ปี</strong> ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๒ โดยเนื้อความและสาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเรื่องราวและภาพถ่ายในยุคต่างๆ ตั้งแต่เริ่ม<br />

ก่อตั้งกรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ และพัฒนาจนมาเป็นกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน จึงปรากฏทั้งเรื่องเล่าของเกียรติภูมิในอดีต<br />

เรื่องเล่าความภาคภูมิใจในปัจจุบัน และเรื่องเล่าภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำในอนาคต รวมเป็น ๑๓๒ เรื่องเล่า และจัดทำเป็น ๔ หมวด กล่าวคือ<br />

หมวดที่ ๑ กระทรวงกลาโหม เด่นสง่า วิวัฒนาการ เรื่องเล่าที่ ๑ ถึง ๗<br />

หมวดที่ ๒ โรงทหารหน้า ภาพหลัง ยังปรากฏ เรื่องเล่าที่ ๘ ถึง ๕๖<br />

หมวดที่ ๓ ปัจจุบัน ทันสมัย เกียรติยศ เรื่องเล่าที่ ๕๗ ถึง ๑๒๒<br />

หมวดที่ ๔ อนาคต รังสรรค์ ความมั่นคง เรื่องเล่าที่ ๑๒๓ ถึง ๑๓๒<br />

สำหรับการนำเสนอเรื่องเล่าทั้งหมด ได้จัดทำเป็นแต่ละเรื่องประกอบพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ และภาพถ่ายของบุคคล พร้อมสถานที่<br />

และองค์ประกอบสำคัญที่สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละเรื่องเล่า จึงกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้มีความใกล้เคียงกับหนังสือที่บันทึกประวัติศาสตร์กิจการทหารไทย<br />

ยุคใหม่ในช่วงเวลาของการเปิดประเทศไปสู่ความทันสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่สามารถหาภาพถ่ายมายืนยันเหตุการณ์ได้โดยที่<br />

ผู้อ่านแทบไม่ต้องจินตนาการไปเองตามการบรรยายตัวอักษร เพราะมีหลักฐานที่นำเสนอในเชิงประจักษ์ ซึ่งจะช่วยให้หนังสือเล่มนี้เป็นเอกสารที่รวบรวม<br />

เรื่องราวของผู้คน เหตุการณ์และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันและที่จะส่งต่อไปในอนาคต เพื่อให้สังคมไทยได้รับรู้<br />

รับทราบ และร่วมกันเป็นเจ้าของมรดกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อกิจการทหารและ<br />

ประเทศไทย และจะได้ร่วมกันรักษาไว้ให้คงยืนหยัดคู่ประเทศชาติบ้านเมืองต่อไปสืบจนลูกหลาน<br />

กระทรวงกลาโหม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “๑๓๒ เรื่องเล่า ศาลาว่าการกลาโหม” เล่มนี้ จะเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ให้กำลังพล<br />

ของกระทรวงกลาโหม สถานศึกษา ประชาชนชาวไทยและสังคมไทยได้มองเห็นภาพในอดีตที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และจะฉายนำทางต่อไปสู่อนาคต<br />

ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างความรักหวงแหนในแผ่นดินไทย กระทรวงกลาโหม และมรดกทางประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมทุกประการ<br />

ทั้งยังจะเป็นการจุดประกายความคิดของชนรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไปที่จะช่วยกันศึกษา ค้นคว้าทางประวัติศาสตร์เพื่อช่วยกันชำระและร่วมปรับปรุง<br />

ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของหนังสือเล่มนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้นในอนาคต<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

มีนาคม ๒๕๖๒


สารบัญ<br />

หมวดที่ ๑ กระทรวงกลาโหม เด่นสง่า วิวัฒนาการ ๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๑ ความหมาย “กลาโหม” ๑๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๒ กระทรวงกลาโหม กับภารกิจการทหารและความมั่นคงของชาติ ๑๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๓ วิวัฒนาการของกระทรวงกลาโหม ๑๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๔ การปรับปรุงกิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๕ กรมยุทธนาธิการ ๑๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๖ กระทรวงยุทธนาธิการ ๑๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๗ กระทรวงทหารเรือ ๒๑<br />

หมวดที่ ๒ โรงทหารหน้า ภาพหลัง ยังปรากฏ ๒๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๘ โรงทหารหน้า ๒๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๙ ที่ตั้งโรงทหารหน้า ๒๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐ มูลเหตุสำคัญในการจัดสร้างโรงทหารหน้า ๒๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑ โครงสร้างผังอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๒๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒ จุดเด่นทางสถาปัตยกรรมของโรงทหารหน้า ๒๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๓ การใช้พื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารโรงทหารหน้า ๓๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๔ บันทึกประวัติการสร้างโรงทหารหน้า ๓๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๕ การก่อสร้างอาคารโรงทหารหน้า ๓๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๖ พระราชทานนามอาคารและเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงทหารหน้า ๓๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๗ ตราประจำโรงทหารหน้า ๓๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๘ คาถาประจำโรงทหารหน้า ๓๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๙ การจัดสรรการใช้ประโยชน์อาคารโรงทหารหน้าในยุคแรก ๓๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๐ หน่วยทหารที่มีที่ตั้งในโรงทหารหน้าหรือศาลายุทธนาธิการในยุคแรก ๔๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๑ ความทันสมัยของระบบสาธารณูปโภคในอาคารโรงทหารหน้า<br />

ตอนที่ ๑ ระบบไฟฟ้า ๔๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๒ ความทันสมัยของระบบสาธารณูปโภคในอาคารโรงทหารหน้า<br />

ตอนที่ ๒ ระบบประปา ๔๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๓ ความทันสมัยของระบบสาธารณูปโภคในอาคารโรงทหารหน้า<br />

ตอนที่ ๓ ระบบโทรศัพท์ ๔๔<br />

หน้า


เรื่องเล่าที่ ๒๔ ระบบสาธารณสุขในอาคารโรงทหารหน้า ๔๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๕ ระบบสุขาภิบาลในอาคารโรงทหารหน้า ๔๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๖ การบริการสาธารณะ ๔๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๗ หอคอยของโรงทหารหน้า ๔๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๘ กิจการทหารและที่ตั้งหน่วยก่อนโรงทหารหน้า ๔๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๒๙ เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงทหารหน้า ๕๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๐ ศาลายุทธนาธิการ ๕๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๑ ประตูใหญ่หน้าโรงทหารหน้า ๕๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๒ สัญลักษณ์ปูนปั้นประดับชั้นบนของอาคารโรงทหารหน้า ๕๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๓ ภูมิทัศน์หน้าโรงทหารหน้าและศาลาว่าการกลาโหม ๕๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๔ การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ ๕๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๕ บันไดทางขึ้นและลงภายในโรงทหารหน้าและศาลาว่าการกลาโหม ๕๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๖ กันสาดรอบอาคารศาลาว่าการกลาโหมชั้นล่าง ๖๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๗ ที่พักทหารของโรงทหารหน้าและตะรางกลาโหม ๖๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๘ โรงทหารหน้า...กองบัญชาการปราบกบฏอั้งยี่ ๖๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๓๙ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑ ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมในภาพรวม ๖๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๐ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๒ ประวัติและความเป็นมาของปืนใหญ่โบราณของไทย ๖๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๑ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๓ ปืนใหญ่โบราณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ๖๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๒ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๔ ปืนใหญ่โบราณที่สร้างในต่างประเทศ ๖๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๓ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๕ ปืนใหญ่โบราณที่ได้จากการไปราชการสงคราม ๗๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๔ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๖ ปืนใหญ่โบราณที่สร้างในประเทศไทย โดย หลวงบรรจงรจนา (J.BERENGER) ๗๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๕ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๗ ปืนใหญ่โบราณที่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือการได้มา ๗๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๖ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๘ ปืนใหญ่ที่มีคุณลักษณะเป็นพิเศษ ๗๕<br />

หน้า


เรื่องเล่าที่ ๔๗ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๙ กระสุนดินดา ๗๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๘ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑๐ การจารึกชื่อผู้ประดิษฐ์บนกระบอกปืนใหญ่โบราณ ๘๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๔๙ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑๑ เครื่องหมายแสดงเกียรติภูมิประเทศเจ้าของปืนใหญ่โบราณ ๘๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๐ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑๒ ตราสัญลักษณ์ปิดปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ ๘๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๑ การจัดภูมิทัศน์พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๘๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๒ ศาลากระโจมแตร ๘๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๓ การต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๘๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๔ โคลงสยามานุสสติหน้าศาลาว่าการกลาโหมในยุครัฐนิยม ๘๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๕ ระเบียงและผนังอาคารด้านในของศาลาว่าการกลาโหม ๘๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๖ ช่องลอดด้านทิศตะวันออก ๙๐<br />

หมวดที่ ๓ ปัจจุบัน ทันสมัย เกียรติยศ ๙๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๗ พญาคชสีห์ อธิบดีแห่งหมู่มวลกำลังพล ๙๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๘ ป้ายกระทรวงกลาโหม ๙๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๕๙ เสาธงชาติ ๙๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๐ รั้วเหล็กรอบสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๙๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๑ ลิฟต์โดยสารภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๙๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๒ ศาลเจ้าพ่อหอกลองในศาลาว่าการกลาโหม ๙๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๓ กลองประจำพระนคร ๙๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๔ ตราสัญลักษณ์สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๐๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๕ เกียรติภูมิของสนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๑๐๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๖ เกียรติประวัติของสนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ๑๐๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๗ การฉลองชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน ๑๐๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๘ กิจการทหารไทยกับการใช้ประโยชน์ภายในตัวอาคารศาลาว่าการกลาโหม ๑๐๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๖๙ ศาลาว่าการกลาโหมกับการเมืองการปกครองของไทย ๑๐๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๐ กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก ๑๑๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๑ โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก ๑๑๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๒ ที่ทำการจเรทหาร ที่ปรึกษาทางทหาร และจเรทหารทั่วไป ๑๑๒<br />

หน้า


เรื่องเล่าที่ ๗๓ อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๑๑๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๔ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ๑๑๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๕ อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด ๑๑๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๖ แนวความคิดในการต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๑๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๗ ห้องอารักขเทวสถาน ๑๑๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๘ โครงสร้างอาคารภายในศาลาว่าการกลาโหม ๑๑๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๗๙ ภาพจิตรกรรมการจัดทัพของกองทัพไทยในสมัยโบราณ ๑๒๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๐ พุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม ๑๒๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๑ วิมานท้าวเวสสุวัณณ์ ๑๒๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๒ แผ่นยันต์ประจำกระทรวงกลาโหม ๑๒๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๓ พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๒๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๔ ห้องสำหรับจัดการประชุมที่สำคัญของกระทรวงกลาโหม ๑๒๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๕ ห้องภาณุรังษี ๑๒๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๖ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๒๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๗ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๒๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๘ พระรูปจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ๑๒๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๘๙ ห้องกัลยาณไมตรี ๑๓๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๐ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ๑๓๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๑ อนุสรณ์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ๑๓๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๒ พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน ๑๓๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๓ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ๑๓๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๔ ห้องยุทธนาธิการ ๑๓๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๕ ห้องพินิตประชานาถ ๑๓๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๖ ห้องหลักเมือง ๑๓๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๗ ห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม ๑๓๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๘ ห้องพระบารมีปกเกล้า ๑๔๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๙ ห้องริมวัง ๑๔๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๐ ห้องสราญรมย์ ๑๔๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๑ ห้องขวัญเมือง ๑๔๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๒ ห้องกำปั่นเก็บเงินกระทรวงกลาโหม ๑๔๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๓ ห้องพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม ๑๔๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๔ ห้องสมุดกระทรวงกลาโหม ๑๔๖<br />

หน้า


เรื่องเล่าที่ ๑๐๕ ไม้กั้นหน้าประตูใหญ่ ๑๔๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๖ กองรักษาการณ์และป้อมทหารยาม ๑๔๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๗ รางรถรางข้างกระทรวงกลาโหม ๑๔๙<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๘ สะพานหก ๑๕๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๐๙ ถนนสนามไชย ๑๕๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๐ อาคารกรมพระธรรมนูญ ๑๕๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๑ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ๑๕๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๒ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๒ กิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๑๕๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๓ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๓ กิจการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ๑๕๗<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๔ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๔ กิจการอวกาศเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๑๕๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๕ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๕ กิจการระดมสรรพกำลัง ๑๖๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๖ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๖ กิจการเภสัชกรรมทหาร ๑๖๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๗ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๗ กิจการผลิตวัตถุระเบิดทหาร ๑๖๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๘ การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๘ กิจการผลิตยุทโธปกรณ์ ๑๖๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๑๙ กระทรวงกลาโหมกับการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ๑๖๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๐ สภากลาโหม ๑๖๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๑ คณะผู้บัญชาการทหาร ๑๖๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๒ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑๗๐<br />

หมวดที่ ๔ อนาคต รังสรรค์ ความมั่นคง ๑๗๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๓ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๑ การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ๑๗๓<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๔ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๒ การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิของชาติ ๑๗๕<br />

หน้า


เรื่องเล่าที่ ๑๒๕ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๓ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting : ADMM) ๑๗๖<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๖ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๔ หน่วยงานประสานงานด้านการแพทย์ทหารระดับอาเซียน ๑๗๘<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๗ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๕ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศ ๑๘๐<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๘ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๖ ความพร้อมเผชิญภัยคุกคามที่ไม่ใช่ทางทหาร ๑๘๑<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๒๙ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๗ ความพร้อมเผชิญภัยคุกคามด้านไซเบอร์ (Cyber Threat) ๑๘๒<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๓๐ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๘ ความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัย ๑๘๔<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๓๑ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๙ ข้าราชการกลาโหมพลเรือน ๑๘๕<br />

เรื่องเล่าที่ ๑๓๒ ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๑๐ การช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศ ๑๘๖<br />

หน้า


หมวดที่ ๑<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

เด่นสง่า วิวัฒนาการ<br />

9


เรื่องเล่าที่ ๑<br />

ความหมาย “กลาโหม”<br />

คำว่า “กลาโหม” เป็นคำโบราณที่กล่าวถึงสถานที่หรือตำแหน่ง<br />

ของข้าราชการไทยในยุคโบราณที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการทหาร ซึ่งเป็น<br />

ศัพท์เฉพาะในการกล่าวถึงหรือให้เกียรติต่อสถานที่และตำแหน่งบุคคล<br />

ในเวลาต่อมาได้ยกระดับให้เป็นนามบัญญัติของส่วนราชการระดับกระทรวง<br />

ในกิจการราชการของไทย จนปรากฏเป็นกระทรวงกลาโหมที่เรืองนาม<br />

และเ<strong>ปี</strong>่ยมไปด้วยเกียรติภูมิตราบจนปัจจุบันนี้<br />

มีผู้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “กลาโหม” มากมาย และมีนัก<br />

วิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายในนานาทัศนะ ทั้งนี้ จากการค้นคว้า<br />

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายแหล่งและจากข้อคิดเห็นของบรรดา<br />

ผู้ทรงความรู้หลายท่าน ปรากฏดังนี้<br />

๑. การบันทึกในจุลยุทธกาลวงศ์ เรื่องของพงศาวดารไทยที่นิพนธ์<br />

เป็นภาษาบาลีของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวร<br />

มหาวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือ<br />

“อนุเขตตฺสกิเกน สมุหวรกฺลาโหมํนาม สรุเสนญฺจ...นตุตฺเขตฺต<br />

สกฺกคหณํ เปตฺวา”<br />

แปลเป็นภาษาไทยโดยพระญาณวิจิตร (สิทธิ์ โลจนานนท์) เปรียญ<br />

ความว่า<br />

“แล้วพระราชทานนามขุนนางตามศักดินา ให้ทหารเป็น สมุห<br />

พระกลาโหม...ถือศักดินาหมื่นหนึ่ง”<br />

๒. การบันทึกในกฎมณเฑียรสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ<br />

ซึ่งอาลักษณ์คัดลอกกันต่อมา มีการเขียนเป็น“กะลาโหม” อาทิ อัยการ<br />

ลูกขุนหมู่ไพร่พลอ้างเรี่ยวแรงอุกเลมิดพนักงานกะลาโหม อีกทั้ง ในพระ<br />

ไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ก็ปรากฏคำว่ากะลาโหมหลายแห่ง<br />

ได้แก่ นายเวรกะลาโหม, หัวพันกะลาโหม, พระธรรมไตรโลกนาถ สมุห<br />

พระกะลาโหม, หลวงศรีเสาวราชภักดีศรี สมุหกระลาโหมฝ่ายตระพัง เป็นต้น<br />

นอกจากนี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คำว่า “กลาโหม” ถือเป็นนามกรม กรมหนึ่ง<br />

ในการจัดส่วนบริหารราชการส่วนกลางของฝ่ายทหาร ที่เรียกว่า เวียง<br />

หรือกรมเมือง กล่าวคือเป็นหน่วยงานที่จัดกำลังทหารไว้ปกป้องขอบ<br />

ขัณฑสีมาหรือป้องกันศัตรูจากภายนอกประเทศ โดยรัชสมัยสมเด็จพระบรม<br />

ไตรโลกนาถเป็นต้นมา กำหนดให้ สมุหพระกลาโหม มีอำนาจควบคุม<br />

10


กิจการเกี่ยวกับทางทหารทั่วประเทศ จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเพทราชา<br />

ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจให้มาเป็นควบคุมผู้บังคับบัญชาทหารและพลเรือน<br />

ในแถบหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วน สมุหนายก ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด<br />

ที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน ทั้งนี้เพื่อกระจายอำนาจการปกครองไม่ให้<br />

กำลังทหารอยู่ในการสั่งการของข้าราชการในตำแหน่งเดียว ซึ่งในสมัยต่อมา<br />

ได้มีการบัญญัติ ตราพระคชสีห์ ให้เป็นตราประจำกรมพระกลาโหม ซึ่งมี<br />

การใช้สืบทอดต่อมาจนถึงกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน<br />

๓. ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏคำว่ากะลาโหมอยู่เสมอ อาทิ<br />

พระธรรมเทศนาพระราชพงศาวดารสังเขป พระราชนิพนธ์โดย สมเด็จ<br />

พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และบางตำราได้กล่าวว่า<br />

กลาโหม มาจากภาษาบาลีบ้าง หรือมาจากภาษาเขมรโบราณบ้าง ซึ่งก็มี<br />

เหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่สรุปได้ว่า สมุหพระกลาโหม เป็นตำแหน่งของ<br />

ผู้บังคับบัญชาทหาร ที่มีหน้าที่นำพาหน่วยทหารเข้ารบป้องกันประเทศ<br />

จนไทยเรามีเอกราชตราบจนทุกวันนี้<br />

อย่างไรก็ตาม คำว่า “กลาโหม” เป็นคำโบราณที่มีการสืบค้นว่า<br />

พบเห็นจากบันทึกครั้งแรก ปรากฏในจารึกสดกกักธม (อําเภออรัญประเทศ<br />

จังหวัดสระแก้ว) หน้า ๔ แห่งศิลา บรรทัดที่ ๒๘ บันทึกไว้ว่า<br />

“กฺรฬาโหม” และปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคภายหลัง<br />

จากอาณาจักรขอมเรืองอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมี<br />

คำในภาษาไทยที่ได้รับการพัฒนามาจากภาษาขอมโบราณที ่รับอิทธิพล<br />

มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต อาทิ กระทรวง กรม เชลย<br />

ตำรวจ เฉลย ดังนั้น หากวิเคราะห์จากคำศัพท์ที่ว่า “กลาโหม” มีท่านผู้รู้<br />

หลายท่านให้ทัศนะไว้หลายประการ จึงสามารถถอดศัพท์คำว่า กลาโหม<br />

ออกเป็น ๒ คำ และมีความหมายที่พร้อมแหล่งที่มาที่น่าสนใจ กล่าวคือ<br />

คำว่า “กลา” เป็นรากศัพท์ภาษาขอมโบราณที่มีความหมายว่า<br />

“สถาน” หรือ “พื้นที่เปิดโล่ง” ที่เทียบเคียงกับภาษาเขมรที่รับอิทธิพลจาก<br />

ภาษาขอมโบราณที่ว่า kanleng หรือ สถาน<br />

คำว่า “โหม” เป็นรากศัพท์ภาษาบาลีที่มีความหมายว่า “ระดม”<br />

หรือ “ปลุกเสกให้กองทหาร” ซึ่งในพิธีพราหมณ์มักจะใช้การบูชาไฟ ซึ่ง<br />

พิธีจะกระทำขึ้นก่อนออกรบที่เรียกว่า “โหมกูณฑ์” หรือ “บูชาไฟ” ดังนั้น<br />

คำว่า “โหม” คือ การระดมกำลังทหารเพื่อประกอบพิธีกรรมสำหรับการรบ<br />

แม้ว่าในนานาทัศนะของนักวิชาการและท่านผู้รู้จะให้ข้อคิดเห็น<br />

กับคำว่า “กลาโหม” ในลักษณะใดก็ตาม แต่สำหรับในด้านความมั่นคงและ<br />

ด้านการทหาร จึงกล่าวได้ว่าคำว่า “กลาโหม” มีความหมายว่า สถานที่<br />

สําหรับใช้ในการระดมกําลังทางทหารเพื่อการรบหรือมีนัยในการเป็น<br />

หน่วยทหารหรือหน่วยกําลังรบนั่นเอง<br />

11


เรื่องเล่าที่ ๒<br />

กระทรวงกลาโหม กับภารกิจการทหารและความมั่นคงของชาติ<br />

ภารกิจของกระทรวงกลาโหม ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องการทหารและ<br />

ความมั่นคงของชาติ ได้มีการบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร<br />

ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐, แนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ <strong>ปี</strong> (พ.ศ.๒๕๖๑<br />

– ๒๕๘๐) และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม ดังนี้<br />

๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐<br />

“มาตรา ๕๒ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิ<br />

อธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และ<br />

ความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้มี<br />

การทหาร การทูต และการข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กำลังทหารให้ใช้<br />

เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย”<br />

๒. ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ <strong>ปี</strong> (พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๘๐)<br />

กำหนดภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมและหน่วยงาน<br />

ความมั่นคงไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ที่มุ่งเน้น<br />

การบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความ มั่นคง ปลอดภัย<br />

และมีความสงบ เรียบร้อยในทุกระดับและทุกมิติ<br />

๓. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕<br />

“มาตรา ๘ กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกัน<br />

และรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและ<br />

ภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนา<br />

ประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ<br />

กระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม”<br />

๔. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑<br />

“มาตรา ๘ กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้<br />

(๑) พิทักษ์รักษาเอกราชและความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร<br />

จากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในราชอาณาจักร ปราบปรามการกบฏ<br />

และการจลาจล โดยจัดให้มีและใช้กำลังทหารตามที่รัฐธรรมนูญแห่ง<br />

ราชอาณาจักรไทยหรือตามที่มีกฎหมายกำหนด<br />

(๒) พิทักษ์รักษา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจน<br />

สนับสนุนภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

(๓) ปกป้อง พิทักษ์รักษาผลประโยชน์แห่งชาติและการปกครอง<br />

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พัฒนาประเทศ<br />

เพื่อความมั่นคงตลอดจนสนับสนุนภารกิจอื่นของรัฐในการพัฒนาประเทศ<br />

การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติและการช่วยเหลือประชาชน<br />

12


(๔) ศึกษา วิจัย พัฒนา และดำเนินการด้านอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกัน<br />

ประเทศ และด้านกิจการอวกาศเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งนี้<br />

เพื่อสนับสนุนภารกิจของกระทรวงกลาโหมและความมั่นคงของประเทศ<br />

(๕) ปฏิบัติการอื่นที่เป็นการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือ<br />

จากสงครามเพื่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือปฏิบัติการอื่นใด<br />

ทั้งนี้ ตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามมติคณะรัฐมนตรีในการดำเนินการ<br />

ตาม (๔) กระทรวงกลาโหมอาจมอบหมายให้ส่วนราชการในกระทรวง<br />

กลาโหมหรือหน่วยงานอื่นในกำกับของกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ดำเนินการ<br />

ก็ได้หรืออาจร่วมงาน ร่วมทุนหรือดำเนินการกับภาคเอกชนตามบทบัญญัติ<br />

แห่งกฎหมายก็ได้”<br />

13


เรื่องเล่าที่ ๓<br />

วิวัฒนาการของกระทรวงกลาโหม<br />

ในช่วงต้นของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงมีพระราชดำริให้นำรูปแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปปฏิบัติมาดัดแปลง<br />

แก้ไขให้เหมาะสมกับประเทศไทยในเวลานั้น โดยมีรูปแบบการจัดกิจการ<br />

ทหารเป็น ๒ หน่วย กล่าวคือ<br />

๑. ทหารบก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นหน่วยทหาร<br />

อยู่ในสังกัดของทหารบก รวม ๗ กรม ประกอบด้วย กรมทหารมหาดเล็ก<br />

ราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้อมวัง<br />

กรมทหารหน้า กรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารช้าง และกรมทหารฝีพาย<br />

๒. ทหารเรือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นหน่วยทหาร<br />

อยู่ในสังกัดของทหารเรือ รวม ๒ กรม ประกอบด้วย กรมทหารเรือพระที่นั่ง<br />

เวสาตรี (ทหารช่างแสงเดิม) และ กรมอรสุมพล (ทหารมารีนเดิม)<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งเรียกว่า<br />

“กรมยุทธนาธิการ” สำหรับจัดการและบังคับบัญชาการทหารบกและ<br />

ทหารเรืออย่างใหม่ในลักษณะการรวมกำลังเป็นปึกแผ่นอย่างกองทัพ<br />

สำหรับประเทศไทย ในเวลาต่อมา กรมยุทธนาธิการ ได้มีการพัฒนาภารกิจ<br />

และการจัดของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเผชิญภัยคุกคาม<br />

ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยต่างๆ จนพัฒนาเป็นกระทรวงกลาโหม<br />

ดังที่ปรากฏในปัจจุบันตามลำดับ ดังนี้<br />

๑. <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๓ มีการยกฐานะ กรมยุทธนาธิการขึ้นเป็น กระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) โดยประกาศเป็นพระราช<br />

บัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทั้งนี้ พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชสถานะเป็นจอมทัพ<br />

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ<br />

ราชกุมาร ทรงเป็นองค์รับสนองพระบรมราชโองการ<br />

๒. <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นการปฏิรูประบบราชการเป็นครั้งแรก โดยทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการ ในวันที่ ๑ เมษายน<br />

๒๔๓๕ ชื่อว่า ประกาศตั้งเสนาบดี จนครบ ๑๒ กระทรวง ตามภารกิจ<br />

เพื่อให้เกิดการรวมศูนย์งาน โดยมีทั้งกระทรวงกลาโหมและกระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ แต่ต่อมาใน<strong>ปี</strong>เดียวกันได้ลดฐานะกระทรวงยุทธนาธิการ ลงเป็น<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

กระทรวงกลาโหมในยุคแรก<br />

กรมยุทธนาธิการ ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่ไม่สังกัดกระทรวงใด โดยทำหน้าที่<br />

เป็นองค์กรฝ่ายทหารบกที่ทำหน้าที่ป้องกันประเทศ<br />

๓. <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรม<br />

ราชโองการชื่อว่า ประกาศจัดปันหน้าที่กระทรวงกลาโหม กระทรวง<br />

มหาดไทย โดยให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบราชการที่เกี่ยวกับทหาร และ<br />

กระทรวงมหาดไทยให้รับผิดชอบราชการที่เกี่ยวกับพลเรือน จึงมีการโอน<br />

กรมยุทธนาธิการมาขึ้นสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยให้ กรมยุทธนาธิการ<br />

กำกับดูแลกิจการทหารบก และ กรมทหารเรือ กำกับดูแลกิจการทหารเรือ<br />

14


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเป็นประธานในการประชุมเสนาบดีสภา<br />

ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต<br />

๕. <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๗๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีการควบรวมกระทรวงทหารเรือกับกระทรวงทหารบก เข้าเป็นกระทรวง<br />

เดียวกันภายใต้นาม กระทรวงกลาโหม<br />

๖. ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มี<br />

การตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับราชการกระทรวงกลาโหมเป็นครั้งแรก<br />

ใช้ชื่อว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๗๖<br />

ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของกระทรวงกลาโหมและกิจการทหารไทย<br />

ในเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมาเป็น พระราชบัญญัติ<br />

จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน<br />

โดยมีการจัดส่วนราชการที่สำคัญออกเป็น สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวง และกองทัพไทย (ซึ่งมีส่วนราชการในสังกัด คือ<br />

กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ<br />

ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา) ทั้งนี้ สามารถแสดง<br />

การจัดส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมตาม พระราชบัญญัติจัดระเบียบ<br />

ราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามแผนผัง<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

สำนักงานรัฐมนตรี<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กองทัพไทย<br />

สำนักงาน<br />

จเรทหารทั่วไป<br />

กองบัญชาการกองทัพไทย<br />

กองทัพบก<br />

กองทัพเรือ<br />

กองทัพอากาศ<br />

๔. <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๕๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีการยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแล<br />

การปกครองเฉพาะกิจการทหารบก พร้อมกับยกฐานะกรมทหารเรือ<br />

ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารเรือ<br />

แผนผัง แสดงการจัดส่วนราชการกระทรวงกลาโหม<br />

ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนด<br />

โดยพระราชกฤษฎีกา<br />

15


เรื่องเล่าที่ ๔<br />

การปรับปรุงกิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ประชาชนชาวไทยในยุคปัจจุบันหลายต่อหลายท่านยังอาจมี<br />

ข้อสงสัยว่า เหตุผลประการใดที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยในการปรับปรุงกิจการทหารของไทยให้มี<br />

รูปแบบใหม่ที่ต้องใช้ทรัพยากรของประเทศเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะในเรื่อง<br />

ของงบประมาณ กำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ<br />

ประชาชนชาวไทยหลายท่านคงทราบดีว่า ในห้วงเวลาต้นพุทธ<br />

ศตวรรษที่ ๒๔ ได้เกิดการเผยแพร่ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกจากประเทศ<br />

โลกตะวันตกที่มาจากทวีปยุโรปเป็นอันมาก ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านรอบ<br />

ประเทศต่างประสบภัยจากลัทธิดังกล่าวและต้องตกเป็นอาณานิคมของ<br />

ประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะ อังกฤษ (ที่มีอาณานิคมทางทิศตะวันตก<br />

และทิศใต้ของไทย) และ ฝรั่งเศส (ที่มีอาณานิคมทางทิศตะวันออกของไทย)<br />

หากประเทศไทยไม่พยายามปรับปรุงการบริหารประเทศให้ทันสมัย<br />

ก็เท่ากับเป็นการนั่งรอคอยเวลาให้ประเทศมหาอำนาจทั้ง ๒ ประเทศ<br />

แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามายึดครองประเทศไทย อาจทำให้ประเทศไทย<br />

ไม่สามารถรอดพ้นจากการเผยแพร่ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกได้อย่าง<br />

แน่นอน ประกอบกับการบริหารจัดการกิจการทหารในสมัยนั ้นเป็นการ<br />

จัดกำลังทหารตามแบบราชการในยุคโบราณที่รับการถ่ายทอดมาตั้งแต่ยุค<br />

ของกรุงศรีอยุธยา ที่มีการจัดกำลังทหารถึง ๔ สังกัด คือ<br />

๑) ทหารในสังกัดวังหลวง<br />

๒) ทหารในสังกัดวังหน้า<br />

๓) ทหารในสังกัดสมุหพระกลาโหม รับผิดชอบการกำกับดูแล<br />

พลเรือนและทหารทางฝั่งใต้ของพระนครและประเทศราช<br />

๔) ทหารในสังกัดสมุหนายก รับผิดชอบการกำกับดูแลพลเรือนและ<br />

ทหารทางฝั่งเหนือของพระนคร<br />

ซึ่งจากการที่มีกำลังทหารในหลายสังกัดที่ขาดความเป็นเอกภาพ<br />

ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองและเกิดความซ้ำซ้อนในการปกครอง<br />

บังคับบัญชาและส่งผลให้สายการบังคับบัญชาเกิดความสับสน จึงสมควร<br />

กิจการทหารตามแบบอย่างการจัดระเบียบบริหารราชการตามแบบอย่าง<br />

ชาติมหาอำนาจตะวันตกด้านการทหาร ดังนั้น การจัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ<br />

ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ จึงเป็นการเริ่มต้นของการจัดกำลังทหารบกและ<br />

ทหารเรือตามรูปแบบการบริหารจัดการทหารในสมัยใหม่ โดยการรวม<br />

หน่วยทหารในสังกัดวังหลวงและทหารในสังกัดวังหน้าไว้ด้วยกันทั้งทหารบก<br />

และทหารเรือ แต่สำหรับการเรียกระดมกำลังพลของทหารในสังกัด<br />

สมุหพระกลาโหม (ในเวลาต่อมาเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม) และ<br />

สมุหนายก (ในเวลาต่อมาเปลี่ยนเป็นกระทรวงมหาดไทย) ยังคงมีอยู่<br />

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระบรม<br />

ราชโองการที่ชื่อว่า ประกาศจัดปันน่าที่กระทรวงกระลาโหมมหาดไทย เพื่อ<br />

เปลี่ยนแปลงการเรียกระดมกำลังพลของทหารจากเดิมที่เป็นของกระทรวง<br />

กลาโหม (ฝั่งใต้ของพระนครและประเทศราช) กับกระทรวงมหาดไทย (ฝั่ง<br />

เหนือของพระนคร) โดยให้กระทรวงกลาโหม ดำเนินการและกำกับดูแลด้าน<br />

การทหาร และกระทรวงมหาดไทยดำเนินการและกำกับดูแลด้านพลเรือน<br />

ทำให้เกิดการบริหารจัดการกิจการทหารที่เป็นเอกภาพตามแนวทางสากล<br />

และใช้เป็นแนวทางบริหารราชการแผ่นดินตราบจนปัจจุบัน<br />

นอกจากนี้ กิจการทหารควรเป็นสถานที่ท ำการเพื่อรวบรวมและฝึกฝน<br />

อบรมทหารให้เกิดความพร้อมในการรับผิดชอบภารกิจต่างๆ ทางทหาร<br />

สมัยใหม่ จนในที่สุดก็เกิดเป็นโรงทหารหน้า และมีพัฒนาการจนกลาย<br />

มาเป็นศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน<br />

16


เรื่องเล่าที่ ๕<br />

กรมยุทธนาธิการ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯ ประกาศพระบรมราชโองการชื่อว่า ประกาศจัดการทหาร เมื่อ<br />

วันศุกร์แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ <strong>ปี</strong>กุน อัฐศกจุลศักราช ๑๒๔๘ หรือ วันศุกร์ที่<br />

๘ เมษายน ๒๔๓๐ เพื่อให้มีแบบแผนดีและเรียบร้อยเป็นอันเดียวกัน<br />

เหมือนอย่างโบราณราชประเพณีและเทียบเคียงได้อย่างประเทศในทวีปยุโรป<br />

โดย ประกาศจัดการทหาร มีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑. ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ควบรวมกรมทหารบกและกรม<br />

ทหารเรือ ตั้งขึ้นเป็นกรมใหญ่เรียกว่า “กรมยุทธนาธิการ” สำหรับจัดการ<br />

และบังคับบัญชาการทหารบกและทหารเรืออย่างใหม่ในลักษณะการรวม<br />

กำลังเป็นปึกแผ่นอย่างกองทัพสำหรับประเทศไทย พร้อมทั ้ง ตั้งตำแหน่ง<br />

ผู้บังคับบัญชาการทั่วไปสำหรับกรมทหาร เรียกว่า คอมมานเดออินชิฟ<br />

(Commander In Chief) พร้อมทั้ง โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรม<br />

โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่ง<br />

ดังกล่าวนี้ เพื่อให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี โดยกำกับดูแลทหารบก<br />

และทหารเรือ ให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา<br />

๒. ตั้งเจ้าพนักงานใหญ่ผู้จัดการในกรมสำหรับช่วยผู้บัญชาการ<br />

ทั่วไป อีก ๔ ตำแหน่ง คือ<br />

๒.๑ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก หรือ เอตซุแตนต์<br />

เยเนอราล (Assistant General)<br />

๒.๒ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการใช้จ่าย หรือ เปมาสเตอ<br />

เยเนอราล (Paymaster General)<br />

๒.๓ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ หรือ ครอดเตอ<br />

มาสเตอ เยเนอราล (Quartermaster General)<br />

๒.๔ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ หรือ สิเกรตาริ<br />

ตูธีเนวี (Secretary to The Navy)<br />

๓. กำหนดอำนาจหน้าที่ของ ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป และ<br />

เจ้าพนักงานใหญ่ ทั้ง ๔ ตำแหน่ง<br />

ทั้งนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดสาระสำคัญในเรื่อง<br />

ของการปกครองและบังคับบัญชาทางทหาร ไว้ ดังนี้<br />

(๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ<br />

ในตำแหน่ง จอมทัพ<br />

(๒) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรง<br />

ตำแหน่งผู้บัญชาการทั่วไป แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์คือ มีพระชันษา<br />

เพียง ๙ พรรษา (ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๑) จึงได้ทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี<br />

สว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช (พระยศในขณะนั้น) ทรงเป็นผู้<br />

รักษาการแทนผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร จนกว่าพระองค์จะว่าการ<br />

ได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น<br />

ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

(๓) นายพลตรี กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เป็น ผู้ช่วยบัญชาการ<br />

ทหารบก<br />

(๔) นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็น ผู้ช่วยบัญชาการ<br />

ทหารเรือ<br />

(๕) นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เป็น<br />

เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการใช้จ่าย<br />

(๖) นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็น<br />

เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์<br />

(๗) นายพลตรี เจ้าฟ้า กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็น ผู้บัญชาการ<br />

รักษาพระราชวัง<br />

โดยแยกการปกครองบังคับบัญชากรมทหารออกจาก กรมพระ<br />

กลาโหม (คงให้ กรมพระกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้<br />

เท่านั้น) และมีที่ตั้งหน่วยของ กรมยุทธนาธิการ ขึ้นที่โรงทหารหน้า<br />

17


พระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลตรี กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ<br />

กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์<br />

ภาพนายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี พระฉายาลักษณ์ นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม<br />

18


เรื่องเล่าที่ ๖<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ<br />

เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน<br />

เกี ่ยวกับกิจการทหารขึ้นใหม่ โดยการตราพระราชบัญญัติจัดการกรม<br />

ยุทธนาธิการ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ด้วยการยกฐานะกรมยุทธนาธิการขึ้น<br />

เป็น กระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) โดยมีการ<br />

แบ่งส่วนราชการกระทรวงยุทธนาธิการ ออกเป็น ๒ ฝ่าย กล่าวคือ<br />

๑. ฝ่ายพลเรือน ทำหน้าที่ด้านธุรการ การบริหาร และการส่งกำลัง<br />

บำรุง โดยมี เสนาบดีกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

๒. ฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นส่วนกำลังรบ โดยพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รับสนองพระบรม<br />

ราชโองการ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนราชการ คือ<br />

๑. กรมทหารบก มีการจัดหน่วยของกรมทหารบก แบ่งออก<br />

เป็น ๖ หน่วย ประกอบด้วย กรมนายเวรใหญ่ทหารบก (ต่อมาเปลี่ยนเป็น<br />

กรมเสนาธิการทหารบก) กรมปลัดทหารบกใหญ่ กรมยกกระบัตรทหารบก<br />

ใหญ่ โรงเรียนสอนวิชาทหาร โรงพยาบาลทหารบก และกรมคุกทหารบก<br />

๒. กรมทหารเรือ มีการจัดหน่วยของกรมทหารเรือ แบ่งออกเป็น<br />

๑๐ หน่วย ประกอบด้วย กรมปลัดทหารเรือใหญ่ (กองกลาง) กองบัญชีเงิน<br />

กรมคลังพัสดุทหารเรือ กองเร่งชำระ กรมคุกทหารเรือ กรมอู่ กรมช่างกล<br />

โรงพยาบาลทหารเรือ ทหารมะรีนหรือทหารนาวิกโยธิน เรือรบหลวง และ<br />

เรือพระที่นั่งประจำการ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งตำแหน่ง<br />

ตาม พระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๓๓ ดังนี้<br />

(๑) ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็น เสนาบดีว่าการยุทธ<br />

นาธิการ (ที่เรียกตามภาษาอังกฤษกว่า มินิสเตอร์ออฟวาแอนต์มริน หรือ<br />

Minister of War and Marine)<br />

(๒) ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า ชิพสตาฟออฟ<br />

ดิอามี หรือ Chief Staff of the Army)<br />

(๓) ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่น<br />

ปราบปรปักษ์ เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ (ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า<br />

ชิพสตาฟออฟดิเนวี หรือ Chief Staff of the Navy)<br />

ต่อมา วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการ<br />

ชื่อว่า ประกาศตั้งเสนาบดี จนครบ ๑๒ กระทรวงจัดตั้งกระทรวงขึ้นใหม่<br />

ตามภารกิจเพื่อให้เกิดการรวมศูนย์งาน โดยแบ่งออกเป็น ๑๒ กระทรวง<br />

ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย (บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้ง<br />

ประเทศราชทางเหนือ), กระทรวงกลาโหม (บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้<br />

ฝ่ายตะวันตก ตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช), กระทรวงการ<br />

ต่างประเทศ, กระทรวงนครบาล (กระทรวงเมือง), กระทรวงวัง, กระทรวง<br />

พระคลังมหาสมบัติ, กระทรวงเกษตรพาณิชยการ, กระทรวงยุติธรรม,<br />

กระทรวงธรรมการ, กระทรวงโยธาธิการ, กระทรวงมุรธาธิการ และ<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ (จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือแบบยุโรป)<br />

และในวันเดียวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในเรื่องที่สำคัญของการจัดส่วนราชการทางทหาร<br />

โดยมีเหตุผลของการปรับเปลี่ยนส่วนราชการในกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

กล่าวคือ มีการตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับฉบับหนึ่งชื่อว่า พระราช<br />

บัญญัติกรมยุทธนาธิการ รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ ขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

19


พระฉายาลักษณ์ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

เสนาบดีว่าการยุทธนาธิการ ทรงฉายภาพกับกำลังพลในกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

ภาพนายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

พระฉายาลักษณ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์<br />

กรมหมื่นปราบปรปักษ์<br />

ก) ให้แยกการบังคับบัญชาการทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง จาก<br />

กระทรวงยุทธนาธิการ ไปขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม<br />

ข) สำหรับกระทรวงยุทธนาธิการ ให้ลดฐานะเป็น กรมยุทธนาธิการ<br />

ซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีลักษณะพิเศษไม่ต้องสังกัดขึ้นกระทรวงใด กับมี<br />

หน้าที่ปกครองบังคับบัญชาทหารบก<br />

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรม<br />

ราชโองการชื่อว่า ประกาศจัดปันน่าที่กระทรวงกะลาโหม มหาดไทย<br />

รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ เพื่อแบ่งการบริหารราชการของ กระทรวงกลาโหม<br />

(ซึ่งเดิมเคยบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้และประเทศราช) กับ กระทรวง<br />

มหาดไทย (ซึ่งเดิมเคยบังคับบัญชาหัวเมืองภาคเหนือ) ให้เกิดความชัดเจน<br />

ในการบริหารราชการอย่างเป็นสัดเป็นส่วนไม่ก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ระหว่าง<br />

ฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหาร หรือเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการบริหารราชการ<br />

แผ่นดิน ซึ่งมีสาระสำคัญ กล่าวคือ<br />

ก) แยกข้าราชการพลเรือน คือ การบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ไป<br />

ขึ้นอยู่กับมหาดไทย และจัดระเบียบการบริหารราชการพลเรือนแบบใหม่<br />

ข) ให้โอน กรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรงต่อ กระทรวงกลาโหม เพื่อความ<br />

เป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยรวมการบังคับบัญชาทางการทหารไว้<br />

ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบด้านการป้องกัน<br />

ประเทศ ด้วยกำลังทหารทั้งทางบกและทางเรือ ทั้งในหน่วยทหารที่มีที่ตั้ง<br />

หน่วยอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค<br />

20


เรื่องเล่าที่ ๗<br />

กระทรวงทหารเรือ<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการออกประกาศตั้งกระทรวง<br />

ทหารบก ทหารเรือ รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑. ให้เปลี่ยนชื่อ กรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่<br />

ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก โดยมี นายพลเอก พระองค์เจ้า<br />

จิรประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาทหารบกทั่วไป<br />

๒. ให้ยกฐานะกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ มีหน้าที่<br />

ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารเรือ โดยมี นายพลเรือโท สมเด็จ<br />

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ<br />

ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงการทหารเรือ บังคับบัญชาทหารเรือทั่วไป<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลเอก พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลเรือโท สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต<br />

เสนาบดีกระทรวงการทหารเรือ<br />

21


๓. ให้จัดตั้ง สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสาน<br />

งานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการทหารเรือ ทั้งนี้ พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นประธานสภา<br />

ป้องกันพระราชอาณาจักร มีสมาชิกสภา ประกอบด้วย เสนาบดีกระทรวง<br />

กลาโหม เสนาบดีกระทรวงการทหารเรือ จอมพลทหารบก จอมพลทหารเรือ<br />

ทั้งที่ประจำการและมิได้ประจำการ และมีเสนาธิการทหารบก เป็น<br />

เลขานุการประจำสภา<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ<br />

กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร<br />

ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น<br />

ห้วงเวลาภายหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๑ (พุทธศักราช ๒๔๕๗ –<br />

๒๔๖๑) ในขณะนั้นเกิดเหตุภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทั้งนี้เพราะ ในห้วง<br />

สถานการณ์สงครามได้มีการนำปัจจัยการผลิตเข้าใช้ในสงคราม จึงส่งผลให้<br />

ระบบผลิตเกิดความเสียหาย ประกอบกับการที่เกิดสถานการณ์สงคราม<br />

ประมาณ ๕ <strong>ปี</strong> ทำให้ปัจจัยการผลิตประเภทแรงงานและทุนต่างเสียหาย<br />

อย่างหนัก จึงส่งผลต่อการผลิตในยุโรปลุกลามไปในทวีปต่างๆ เป็นผลทำให้<br />

ประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนดังกล่าวนี้ด้วย ดังนั้น ฐานะทางการ<br />

เงินและเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะตกต่ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง<br />

ที่ต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่ายของประเทศให้น้อยลงให้สมดุลกับรายได้<br />

ทำให้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบราชการใหม่ด้วย<br />

ดังนั้น ในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงการทหารเรือ<br />

กับกระทรวงทหารบก เข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม กระทรวง<br />

กลาโหม โดยแต่งตั้งให้ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า<br />

วุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ<br />

เดิมเป็น เสนาบดีกระทรวงกลาโหม นับแต่นั้นมา กระทรวงทหารเรือ<br />

จึงยุติบทบาทของส่วนราชการระดับกระทรวง และควบรวมเป็นส่วน<br />

ราชการสำคัญของกระทรวงกลาโหม แต่ก็ยังคงได้รับการบันทึกไว้ใน<br />

ประวัติศาสตร์ไทยว่า ครั้งหนึ่งในอดีตช่วงเวลาประมาณ ๒๑ <strong>ปี</strong> ประเทศไทย<br />

ของเราเคยมีกระทรวงป้องกันประเทศทางเรือที่ชื่อว่า กระทรวงทหารเรือ<br />

ให้จารึกไว้เป็นเกียรติประวัติแห่งความภาคภูมิใจของราชนาวีไทยสืบไป<br />

22


หมวดที่ ๒<br />

โรงทหารหน้า<br />

ภาพหลัง ยังปรากฏ<br />

23


เรื่องเล่าที่ ๘<br />

โรงทหารหน้า<br />

หลังจากที่ทุกท่านเข้าใจพื้นฐานเรื่องกิจการทหารของไทยในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันชัดเจนแล้ว จะได้กล่าวถึง<br />

สถานที่สำคัญของกิจการทหารของไทยในยุคของการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง<br />

ไปสู่กิจการทหารสมัยใหม่ กล่าวคือ<br />

โรงทหารหน้า หรือ ศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน นับว่าเป็น<br />

โบราณสถานที่มีความสำคัญของชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินหลวงเนื้อที่ ๑๘ ไร่<br />

๕๓ ตารางวา และเงินงบประมาณในการปลูกสร้างอาคารเป็นเงินจำนวน<br />

๗,๐๐๐ ชั่ง (๕๖๐,๐๐๐ บาท) และค่าตกแต่งอีก ๑๒๕ ชั่ง (๑๐,๐๐๐ บาท)<br />

รวมเป็นมูลค่าก่อสร้างและดำเนินการทั้งสิ้น ๕๗๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้<br />

ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารว่า “โรงทหารหน้า”<br />

ทั้งยังทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นปฐมฤกษ์เพื่อทรงเปิดอาคาร<br />

เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗<br />

จึงกล่าวได้ว่า โรงทหารหน้า หรืออาคารศาลาว่าการกลาโหม เป็น<br />

บ้านหลังแรกของทหารไทยในยุคกิจการทหารในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีความ<br />

พร้อมและทันสมัยมากในยุคนั้น กล่าวคือ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด<br />

๓ ชั้น หลังแรกในกรุงเทพมหานคร, เป็นอาคารที่มีสาธารณูปโภคเพียบพร้อม<br />

ครบถ้วนทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ รวมทั้งมีระบบสาธารณสุขและ<br />

ระบบสุขาภิบาลที่เป็นมาตรฐาน สามารถรองรับกำลังพลของหน่วยทหาร<br />

ในระดับกรมหรือมากกว่าได้อย่างครบถ้วน โดยในช่วงแรกใช้เป็นที่ตั้งหน่วย<br />

ของกรมทหารหน้า ซึ่งในขณะนั้นเป็นหน่วยทหารที่มีการจัดหน่วยและ<br />

ใช้ยุทโธปกรณ์สมัยใหม่<br />

เมื่อกิจการทหารได้รับการพัฒนาอย่างเป็นล ำดับ อาคารโรงทหารหน้า<br />

แห่งนี้จึงทำหน้าที่เป็นที่ตั้งหน่วยของ กรมยุทธนาธิการ กระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ กระทรวงกลาโหม กองบังคับการกระทรวงกลาโหม สำนักงาน<br />

เลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

กองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ ่งในปัจจุบัน อาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม เป็นที่ตั้งหน่วยงานสำคัญของกระทรวงกลาโหม ๒ ส่วนราชการ<br />

คือ สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

อย่างไรก็ตาม สำหรับการเรียกนามของอาคารโรงทหารหน้านั้น<br />

ก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ในเวลาต่อมา เมื่อมีการ<br />

จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ กระทรวงยุทธนาธิการ และกระทรวงกลาโหมแล้ว<br />

อาคารโรงทหารหน้าจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น ศาลายุทธนาธิการ และ<br />

ศาลาว่าการกลาโหม มาโดยลำดับ ตราบจนปัจจุบัน<br />

24


เรื่องเล่าที่ ๙<br />

ที่ตั้งโรงทหารหน้า<br />

โรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน มีที่ตั้งอยู่บนเกาะ<br />

รัตนโกสินทร์ ใกล้กับพระบรมมหาราชวังและท้องสนามหลวง (ทุ่งพระ<br />

เมรุเดิม) โดยมีที่ตั้งตามเขตการปกครองคือ ถนนสนามไชย แขวงพระบรม<br />

มหาราชวัง (เดิมคือตำบลกระทรวงกลาโหม) เขตพระนคร (เดิมคืออำเภอ<br />

ในพระนคร) กรุงเทพมหานคร (เดิมคือจังหวัดพระนคร) รหัสไปรษณีย์<br />

๑๐๒๐๐<br />

ทั้งนี้ รอบอาคารมีถนนขนาบข้างทั้ง ๔ ด้าน และอยู่บริเวณใกล้เคียง<br />

กับโบราณสถานและที่ทำการของทางราชการที่สำคัญ กล่าวคือ<br />

๑) ทิศเหนือ คือ ถนนหลักเมือง ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับศาลหลักเมือง<br />

และอาคารกรมพระธรรมนูญ<br />

๒) ทิศใต้ คือ ถนนกัลยาณไมตรี (บางส่วนของถนนบำรุงเมืองเดิม<br />

จรดสะพานช้างโรงสี) ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับกรมแผนที่ทหาร (เดิม) และ<br />

พระราชวังสราญรมย์ (บางส่วนของกระทรวงการต่างประเทศเดิม)<br />

๓) ทิศตะวันออก คือ ถนนราชินี ซึ่งอยู่ติดกับคลองคูเมืองเดิม<br />

(คลองหลอด) และฝั่งตรงข้ามกับถนนอัษฎางค์<br />

๔) ทิศตะวันตก คือ ถนนสนามไชย (เดิมชื่อว่าถนนหน้าจักรพรรดิ)<br />

ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

(วัดพระแก้ว)<br />

25


เรื่องเล่าที่ ๑๐<br />

มูลเหตุสําคัญในการจัดสร้างโรงทหารหน้า<br />

การที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินหลวง และเงินงบประมาณจำนวนมหาศาล<br />

ในสมัยนั้นเพื่อจัดสร้างโรงทหารหน้า ด้วยมีพระราชประสงค์ที่สำคัญ คือ<br />

๑. เพื่อใช้เป็นสถานที ่รองรับการปฏิรูปกิจการทหารของไทย<br />

ให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจการทหาร<br />

ของชาติตะวันตก<br />

๒. เพื่อใช้เป็นสถานที่แสดงพระบรมเดชานุภาพจอมทัพไทย<br />

ให้ปรากฏแก่สายตาชาวไทยและชาวต่างประเทศในขณะนั้น<br />

๓. เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการของกิจการทหารและเป็นอาคาร<br />

พระราชมรดกการทหารในการรักษาความมั่นคงแห่งชาติและราชบัลลังก์<br />

สืบต่อไปในอนาคต<br />

๔. เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการและดำเนินกิจการทหารของกรม<br />

ทหารหน้า ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานโดยนายพันเอก เจ้าหมื่น<br />

ไวยวรนารถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารหน้าในขณะนั้น<br />

ในส่วนของทหาร มีเจตนารมณ์เพื่อใช้ประโยชน์อาคารโรงทหารหน้า<br />

ซึ่งเป็นสถานที่ที่สำคัญของทหารในการสนองงานตามพระราชประสงค์<br />

และรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว กล่าวคือ<br />

(๑) ใช้เป็นสถานที่ทำการ ที่ฝึกฝน และเป็นที่พักของเหล่าทหาร<br />

ในสังกัดกรมยุทธนาธิการ ซึ่งมีหน้าที่ กำกับดูแลหน่วยงาน : กรมทหารบก<br />

๗ กรม และกรมทหารเรือ ๒ กรม<br />

(๒) ใช้เป็นสถานที่ทำการและฝึกฝนกำลังทหารเพื่อความมั่นคง<br />

แห่งชาติและราชบัลลังก์<br />

(๓) ใช้เป็นสถานที่ทำการของกระทรวงกลาโหมในการปกครอง<br />

หัวเมืองฝ่ายใต้<br />

(๔) ใช้เป็นสถานที่ชุมนุมพลรบโดยเฉพาะกรมทหารบก<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ฉลองพระองค์ในเครื่องแบบทหารชุดเต็มยศทรงพระคทา<br />

26


เรื่องเล่าที่ ๑๑<br />

โครงสร้างผังอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

อาคารศาลาว่าการกลาโหม เป็นอาคารขนาดสูง ๓ ชั้น สีของอาคาร<br />

เป็นสีไข่ไก่ขั้นด้วยขอบเสาที่มีสีขาว รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาว ๔ หลัง<br />

ต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ล้อมรอบสนามขนาดใหญ่<br />

ที่มีอยู่ภายใน และมีอาคารด้านทิศตะวันตกทอดยาวจนสุดพื้นที่ดิน<br />

โดยมีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก (Classicism) ในรูป<br />

แบบของสถาปนิกแอนเดรีย พาลลาดิโอ ที่เรียกว่า ศิลปะแบบพาลลาเดียน<br />

(Palladianism) ที่มีลักษณะผังรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบสนามไว้<br />

ภายใน ทั้งนี้เพราะทำให้อาคารสามารถรับแสงสว่างได้ดี เช่นเดียวกับการ<br />

ออกแบบพาลาโซเธียเน (Pallazothiene) แห่งเมืองวิเจนซ่า (Vicenze :<br />

ประเทศอิตาลี ใน<strong>ปี</strong> ค.ศ.๑๕๕๐) โดยมีคุณลักษณะสำคัญ คือ<br />

ด้านหน้าอาคาร จัดทำเป็นประตูเข้าออก ๒ ประตู อยู่ด้าน<br />

ทิศตะวันตกตรงข้ามพระบรมมหาราชวังบริเวณประตูสวัสดิโสภา มีจุดเด่น<br />

ทางสถาปัตยกรรมอยู่ที่มุขกลางด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

อาคารที่ต่อจากมุขกลาง จัดทำเป็นอาคารที่มีเป็นรูปสี่เหลี่ยม<br />

ผืนผ้าแคบยาวแบบห้องแถว มีระเบียงตั้งอยู่ติดกับตัวอาคารสำหรับใช้เป็น<br />

ทางเดินเชื่อมอาคารทั้งสี่เข้าด้วยกัน หลังคาอาคารแถวเป็นทรงปั้นหยา<br />

ไม่ยกสูง ชายคากุดแบบอาคารในยุโรป ทั้งนี้ ตัวอาคารเป็นตึกแถวสี่ด้าน<br />

ก่ออิฐฉาบปูนเรียบมีช่องหน้าต่างในช่องผนังทุกช่อง คั่นด้วยเสาอิงปูนปั้น<br />

นูนต่ำคาดเป็นแนวปล้องเลียนแบบการก่อด้วยอิฐ (Rustication) โดยที่<br />

ความงดงามของอาคารยังอยู่ที่ช่องหน้าต่าง ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน<br />

ในแต่ละชั้น โดยชั้นที่สองมีช่องหน้าต่างใหญ่ที่สุด ซึ่งบานหน้าต่างเป็นไม้<br />

กรุลูกฟักเรียบแบบบาน และมีซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นเรียบในลักษณะที่<br />

แตกต่างกันตามแบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก กล่าวคือ<br />

ชั้นล่าง ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็นก้อนก่อของทับหลัง<br />

แบบโค้งแบน (Flat arch)<br />

27


ชั้นที่สอง ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็นซุ้มคานเครื่องบน<br />

(Architrave)<br />

ชั้นบนสุด ซุ้มเหนือหน้าต่างมีลวดลายเป็นซุ้มหน้าบันโค้งเสี้ยว<br />

วงกลม (Segmental arch)<br />

อาคารศุลกสถาน<br />

ทั้งนี้ หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว จะเห็นว่า อาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม เป็นอาคารที่เรียบง่าย แต่สวยงามตามคติเรียบง่ายที่สูงศักดิ์<br />

(Noble simplicity) ของแนวการออกแบบตามรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />

แบบคลาสสิก ซึ่งเป็นลักษณะของอาคารในรูปแบบสถาปัตยกรรมซึ่งได้รับ<br />

การยอมรับกันมากในยุโรปยุคกลาง และเป็นความภาคภูมิใจที่ประเทศไทย<br />

ที่มีอาคารซึ่งได้รับการยอมรับจากนิตยสารการท่องเที่ยวต่างชาติและ<br />

นักท่องเที่ยวต่างชาติว่าเป็นอีกหนึ่งอาคารสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก<br />

(Classicism) ที ่ตั้งตระหง่านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา<br />

นานกว่า ๑๓๐ <strong>ปี</strong> อีกทั้งยังเป็นอาคารที่ได้รับการบันทึกภาพและเผยแพร่<br />

ในนิตยสารต่างชาติหลายฉบับในระยะเวลาที่ผ่านมา<br />

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนิน<br />

อย่างไรก็ตาม การจัดทำซุ้มหน้าต่างปูนปั้นในลักษณะของอาคาร<br />

โรงทหารหน้านี้ มีการจัดทำขึ้นในอาคารอีกบางอาคาร อาทิ อาคารโรงเรียน<br />

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนิน (ปัจจุบันคือกองบัญชาการ<br />

กองทัพบก) อาคารศุลกสถาน (ปัจจุบันคือสถานีดับเพลิงบางรัก)<br />

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างขึ้นใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๓<br />

28


เรื่องเล่าที่ ๑๒<br />

จุดเด่นทางสถาปัตยกรรมของโรงทหารหน้า<br />

อาคารโรงทหารหน้าเป็นอาคารที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม<br />

แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยจุดเด่นของอาคารอยู่ที่มุขกลางด้านหน้า<br />

ของอาคาร ซึ่งนับเป็นการออกแบบที่ลงตัวกับความเป็นที่ตั้งทางทหาร<br />

ที่ควรจะต้องมีความอลังการ ดูสงบ น่าเกรงขาม และบ่งบอกถึงศักยภาพ<br />

ในการปกป้องเอกราช อธิปไตยของประเทศชาติ และผสมผสานได้<br />

อย่างเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย ที่สำคัญที่สุดคือ มีความสมดุลในทาง<br />

สถาปัตยกรรม กล่าวคือ<br />

๑.๑ อาคารมุขกลาง มีลักษณะเป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />

สำหรับใช้เป็นส่วนบังคับบัญชา มีประตูทางเข้าออกขนาดใหญ่วางขนาบ<br />

ด้านซ้ายและขวา ส่วนหน้าแคบยาวเป็นระเบียงประดับเสาราย ส่วนกลาง<br />

เป็นโถงใหญ่ยาว ๕ ช่วงเสา ส่วนท้ายเป็นโถงบันได นอกจากนี้ ยังมี<strong>ปี</strong>กต่อ<br />

ออกไปอีก ๒ ข้างที่ส่วนท้ายของอาคาร สามารถแบ่งออกเป็นห้องขนาดเล็ก<br />

ได้อีกข้างละ ๓ ห้อง เมื่อมองในภาพรวมแล้ว มีผังเป็นรูปตัว T หันส่วนบน<br />

เข้าข้างในอาคาร<br />

๑.๒ หลังคาจั่วแบบวิหารกรีก มีความละม้ายใกล้เคียงกับ<br />

วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) โดยเฉพาะ หน้าจั่วนี้มีบัวปูนปั้นยื่นออกมา<br />

เป็นไขรา (หมายถึง ส่วนของหลังคาที่ยื่นจากฝาหรือจั่วออกไป) ที่รับด้วย<br />

เต้าสั้นๆ ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค และบริเวณใต้จั่ว<br />

ในชั้นที่ ๓ ของอาคารจัดทำเป็นโครงสร้างคานโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่อง ๕ ช่วง<br />

๑.๓ ชั้นล่าง เป็นเสาลอยตัวหน้าตัดกลมขนาดใหญ่สูง ๒ ชั้น ตั้งอยู่<br />

บนฐานเสาสูง ๖ ต้น ในระบบเสาดอริค (Doric) กลมเกลี้ยง ก่อสร้างขึ้นมา<br />

เพื่อรับมุขโครงสร้างคานโค้งของชั้นที่สามที่ยื่นมาจากแนวตึก โดยที่<br />

ความสูงของเสาทั้ง ๖ ต้นนั้นเป็นความสูงของเสา ๒ ชั้น และฐานของ<br />

เสาทำเป็นฐานรูปทรงเหลี่ยม ทั้งนี้ อาคารโรงทหารหน้ามีสถาปัตยกรรมที่<br />

ใกล้เคียงกับอาคารศาลสถิตยุติธรรม ที่สร้างขึ้นใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๒๕ ซึ่งพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น<br />

ในวาระเพื่อเฉลิมฉลอง ๑๐๐ <strong>ปี</strong> ของการก่อตั้งราชวงศ์จักรีและสถาปนา<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถาวรวัตถุเป็นที่ระลึกทางจิตใจ<br />

และเป็นของขวัญให้แก่ราษฎร ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มของการปฏิรูปกระบวนการ<br />

อาคารศาลสถิตยุติธรรม<br />

ศาลยุติธรรมของประเทศ ซึ่งจุดเด่นของอาคารศาลสถิตยุติธรรมนอกจาก<br />

ตัวอาคารแล้วยังปรากฏเป็นหอนาฬิกาขนาดใหญ่ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่<br />

อาคารหลังนี้ได้ถูกรื ้อถอนโดยคำสั่งของคณะราษฎรเพื่อสร้างอาคาร<br />

กระทรวงยุติธรรมขึ้นใหม่<br />

29


เรื่องเล่าที่ ๑๓<br />

การใช้พื้นที่สําหรับก่อสร้างอาคารโรงทหารหน้า<br />

ท่านทราบหรือไม่ว่า ที่ดินหลวงเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๕๓ ตารางวา ที่<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

พระราชทานให้เป็นที่ดินส ำหรับใช้ปลูกสร้างโรงทหารหน้านั้น มีพื้นที่บางส่วน<br />

ซึ่งเคยเป็นวังของเจ้านายชั้นสูงมาก่อน และพื้นที่อีกส่วนหนึ่งเดิมเคย<br />

ใช้เป็นฉางข้าวหลวง (สถานที่สำหรับใช้ในการเก็บข้าวเปลือกและข้าวสาร<br />

ที่เรียกเก็บจากราษฎรเพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารสำรองสงครามให้แก่ทหาร<br />

และข้าราชการบางหน่วย) โดยมีรายละเอียด กล่าวคือ<br />

๑. หมู่วังเจ้านายถนนหลักเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างหมู่วังเจ้านาย<br />

บริเวณหน้าพระบรมมหาราชวังบริเวณใกล้ศาลหลักเมือง จำนวน ๖ วัง<br />

สำหรับเป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมู่วังเจ้านายถนนหลักเมือง กลายเป็นที่รกร้าง<br />

และไม่มีเจ้านายพระองค์ใดมาประทับอยู่<br />

๒. ฉางข้าวหลวงพระนคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างฉางข้าวหลวงขึ้น<br />

เพื่อเป็นเสบียงอาหารสำรองสงครามสำหรับการป้องกันประเทศในคราว<br />

สงคราม ๙ ทัพ โดยสร้างบริเวณท้ายถนนหลักเมืองใกล้คลองคูเมืองเดิม<br />

(คลองหลอด) หรือบริเวณริมถนนราชินี ซึ่งในเวลาต่อมาเมื่อไม่มีการ<br />

ใช้ประโยชน์จึงถูกปล่อยร้างและผุพังเสียหายเป็นส่วนมาก ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

จัดตั้งกรมทหารหน้าและมีที่ตั้งหน่วยอยู่ในพระบรมมหาราชวัง แต่การที่มี<br />

หน่วยทหารอันประกอบด้วยกำลังพลและยุทโธปกรณ์จำนวนมาก ส่งผลให้<br />

การใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาเครื่องกระสุนและดินปืน เกิดความคับแคบ<br />

และไม่ปลอดภัย กอปรกับใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๔ ได้มีการจัดพระราชพิธี<br />

สมโภชพระนครครบ ๑๐๐ <strong>ปี</strong>, มีการจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิง<br />

พระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ<br />

เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ซึ่งจัดให้มีการแสดงมหกรรมแห่งชาติ<br />

ณ ทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวง ซึ่งงานสำคัญทั้ง ๓ งานดังกล่าว<br />

มีความจำเป็นต้องใช้กำลังพลทหารมาปฏิบัติหน้าที่โยธา รักษาการณ์ และ<br />

เวรยามจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับสมัครคนเข้ารับ<br />

ราชการทหารในกรมทหารหน้าอีกจำนวน ๕,๐๐๐ นาย ซึ่งการใช้กำลังพล<br />

จำนวนมากเช่นนี้ ส่งผลให้ประสบปัญหาในเรื่องการพักแรมของทหาร<br />

ที่มีจำนวนจำกัด ทหารเหล่านั้นจึงต้องกระจัดกระจายไปพักอาศัยตาม<br />

พระอารามหลวง อาทิ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร<br />

วัดราชบูรณะราชวรวิหาร และที่พักชั่วคราวที่ตำบลปทุมวัน จึงทรงมีแนว<br />

30


หมู่วังเจ้านาย<br />

พื้นที่สวนสราญรมย์ ตรงข้ามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พื้นที่ในวงกลมคือหมู่วังเจ้านายก่อนสร้างโรงทหารหน้า<br />

พระราชดำริในการจัดสร้างที่พักถาวรโดยสมควรมีที่ตั้งหน่วยกรมทหารหน้า<br />

บริเวณนอกรั้วพระบรมมหาราชวัง และควรอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง<br />

เพื่อป้องกันเหตุร้ายได้ทันท่วงที จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่<br />

วังของอดีตพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช รวม ๓ วัง และฉางข้าวหลวงสำหรับพระนครเป็นพื้นที่สำหรับ<br />

สร้างโรงทหารหน้า ตามโฉนดที่ดิน ฉบับที่ ๖๑/๒๔๗๘ ที่ดินเลขที่ ๓๕<br />

ระวาง ๒ มีเนื้อที่รวม ๑๘ ไร่ ๕๓ ตารางวา เพื่อให้สร้างโรงทหารหน้า<br />

สำหรับดำเนินกิจการของทหาร<br />

ทั้งนี้ พื้นที่หมู่วังของอดีตพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวม ๓ วังประกอบด้วย<br />

หนึ่ง วังที่ ๒ และวังที่ ๖ ของพระองค์เจ้าทับทิม<br />

สอง วังที่ ๔ ของพระองค์เจ้าคัมธรส<br />

กล่าวได้ว่า กระทรวงกลาโหม เป็นส่วนราชการเดียวที่มีกรรมสิทธิ์<br />

ในโฉนดที่ดินซึ่งเป็นของกระทรวงเอง ในขณะที่ส่วนราชการอื่นต่างใช้<br />

ประโยชน์จากที่ดินที่ราชพัสดุโดยมีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็น<br />

ส่วนราชการที่ดูแลการใช้ประโยชน์ของที่ดินสำหรับส่วนราชการต่างๆ นั้น<br />

31


เรื่องเล่าที่ ๑๔<br />

บันทึกประวัติการสร้างโรงทหารหน้า<br />

กระทรวงกลาโหม ได้ทำการรวบรวมข้อมูลประวัติการสร้าง<br />

โรงทหารหน้า ซึ่งมีการไว้พิมพ์ในหนังสือ ประวัติของจอมพลและ<br />

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อ <strong>ปี</strong> พ.ศ.<br />

๒๕๐๔ โดยมีการบันทึกไว้ในสมุดบันทึกของ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง-ชูโต) ที่มีเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโรงทหารหน้า ดังนี้<br />

สร้างโรงทหารหน้า (กระทรวงกลาโหม)<br />

เมื่อทหารสมัครกลับเข้ามารับราชการตามเดิมมีจำนวนมาก แต่ที่พัก<br />

อาศัยจะควบคุมทหารให้อยู่ได้เป็นปกติเรียบร้อยนั้นหายาก เจ้าหมื่น<br />

ไวยวรนารถ ผู้บังคับการทหารหน้า จึงคิดเห็นว่าถ้าจะควบคุมและเลี้ยงดู<br />

ทหารมากมายดังนี้ จำต้องทำที่อยู่ให้แข็งแรงมิดชิด พวกทหารจะได้อยู่ใน<br />

ความปกครองควบคุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้ จึงได้เที่ยวตรวจตราดูท ำเล<br />

ที่ทางว่าจะมีที่ใด ซึ่งสมควรจะสร้างเป็นโรงทหารหน้าต่อไปได้บ้าง จึงเห็น<br />

ที่ฉางหลวงเก่าสำหรับเก็บข้าว เมื่อขณะเกิดทัพศึกมีอยู่ ๗ ฉาง แต่ทว่า<br />

ปรักหักพักทั้งไม้ก็ผุหมดแล้ว พื้นก็หามีไม่ ต้นไม้และเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมจน<br />

มิดฉางหมด ทั้งรอบบริเวณที่นั้นก็มีวังเจ้านายอยู่หลายกรม แต่วังเหล่านั้น<br />

ก็ทรุดโทรมหมดแล้วทุกๆ แห่ง ในเขตเหล่านี้มีบริเวณจรดไปถึง<br />

ศาลหลักเมือง จนถึงสะพานช้างโรงสี (การที่เรียกสะพานช้างโรงสี ก็เพราะ<br />

หมายความว่า ที ่ตรงนั้นเป็นฉางหลวงสำหรับพระนคร และมีโรงสีข้าวอยู่<br />

ด้วย) ที่นี่ตั้งเป็นกรมยุทธนาธิการ และที่ว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ใน<br />

เวลานี้ เนื้อที่ทั้งหมดยาว ๕ เส้น กว้าง ๓ เส้น ๑๐ วา เห็นว่าเป็นที่เหมาะ<br />

สำหรับจะตั้งเป็นโรงทหารหน้าได้ จึงได้ช่างถ่ายรูปฉางข้าวหลวง และ<br />

ที่วังทรุดโทรมทุกๆ แห่ง กะสะเก็ดแผนที่ด้วยเส้นดินสอตามที่ เจ้าหมื่น<br />

ไวยวรนารถต้องการ และคิดว่าจะทำโรงทหารหน้าที่ทหารอยู่ได้ ๔ หมู่<br />

เป็นกองทัพน้อยๆ เพื่อจะได้รักษาความสงบในพระนคร จึงเรียกตัวนายกราซี<br />

ซึ่งเป็นนายช่างรับเหมาในการก่อสร้างทั้งชั้นให้มาหา เจ้าหมื่นไวยวรนารถ<br />

จึงชี้แจงให้นายกราซีเข้าใจความประสงค์ทุกประการ และสั่งให้นายกราซี<br />

ทำแปลนตึกมา ๒ ชนิด แปลน ๑ เป็นตึก ๒ ชั้น อีกแปลน ๑ เป็นตึก ๓ ชั้น<br />

ทั้งให้งบประมาณการที่จะก่อรากทำให้แน่นหนา ใช้เป็นตึกหลายๆ ชั้นได้ด้วย<br />

นายกราซีได้ทำแปลนและเขียนรายการ พร้อมทั้งงบประมาณการก่อสร้าง<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ฉลองพระองค์ในเครื่องแบบทหารชุดเต็มยศทรงพระคทา<br />

มายื่นให้ผู้บังคับการตามคำสั่งทุกประการ เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้นำแปลน<br />

ตึก ๒ ชั้น พร้อมทั้งรูปฉายฉางข้าว กับราคางบประมาณของตึกประมาณ<br />

๕,๐๐๐ ชั่ง (๔๐๐,๐๐๐ บาท) นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายก่อน แลได้กราบบังคม<br />

ทูลชี้แจงความตามเหตุที่จำเป็นทุกๆ อย่าง เมื่อได้ทรงทอดพระเนตรแบบ<br />

แปลนนั้นตลอดแล้ว จึงมีพระราชกระแสรับสั่งแก่เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ว่า<br />

“...เวลานี้เงินของแผ่นดินก็ได้น้อย แต่ทว่าเป็นความจำเป็นจริงแล้ว<br />

ข้าก็จะยอมตามความคิดของเจ้า ให้เจ้าจัดแจงทำสัญญากับนายกราซีเสีย<br />

เพื่อจะได้ลงมือทำทีเดียว แต่ข้าจะต้องเอารูปถ่ายฉางข้าวและวังเจ้านายที่<br />

ทรุดโทรมนี้ไว้ก่อน เพื่อจะได้ปรึกษาหารือกับกรมสมเด็จท่านดูด้วย ถ้าเผื่อ<br />

ว่าท่านทรงขัดขวางไม่ทรงยินยอมและเห็นชอบด้วยแล้ว จะได้เอารูปถ่ายนี้<br />

ถวายให้ทอดพระเนตรและทูลชี้แจงให้เข้าพระทัย...”<br />

อยู่มาอีกไม่กี่วันเจ้าหมื่นไวยวรนารถก็นำแปลนตึก ๓ ชั้น และ<br />

งบประมาณเข้าไปอีกเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทอดพระเนตรเห็น เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ถือแปลนเข้าไปก็มีพระราชดำรัส<br />

รับสั่งถามว่า<br />

“...นั้นเจ้าเอาแปลนอะไรมาอีกละ...”<br />

32


เจ้าหมื่นไวยวรนารถคลี่เอาแปลนตึก ๓ ชั้น ให้ทอดพระเนตร และ<br />

กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า<br />

“...ที่ซึ่งอยู่ในพระนครกว้างใหญ่เท่าที่กะมานี้หายากเมื่อบ้านเมือง<br />

เจริญขึ้นแล้ว ที่ดินก็จะมีราคาสูงขึ้นอีกมาก ข้าพระพุทธเจ้า มีความเสียดาย<br />

ยิ่งนัก ทั้งที ่นี้ก็เป็นที่ในกำแพงพระนครด้วย ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้สั่งให้<br />

นายกราซี เขียนแบบแปลนเป็นตึก ๓ ชั้นขึ้น หวังว่าจะบรรจุทหาร<br />

ให้มากขึ้น ให้เต็มพร้อมมูลเป็นกองทัพน้อยๆ อยู่ในแห่งเดียวกัน<br />

อนึ่งในงบประมาณฉบับแรกนั้นข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งนายกราซี<br />

กะประมาณการก่อรากให้มั่นคงแข็งแรงทานน้ำหนักตึกได้ตั้งแต่ ๓ ถึง ๔ ชั้น<br />

แม้นว่าถ้าจะเติมขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เงินที่จะต้องเพิ่มขึ้นก็ไม่มากมายเท่าใดนัก<br />

ข้าพระพุทธเจ้ามีความเห็นว่า จะทำเป็นสามชั้นเสียทีเดียวจะดีกว่า...”<br />

เมื่อเจ้าหมื่นไวยวรนารถได้กราบบังคมทูลชี้แจงเรื่องราวครบถ้วน<br />

ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทอดพระเนตรงบประมาณ และ<br />

แปลนที่ได้สะเก็ดมาแล้ว จึงมีพระราชดำรัสตอบว่า<br />

“...ตามข้อความที่เจ้าชี้แจงมานั้น ข้าก็มีความเห็นชอบทุกประการ<br />

เพราะฉะนั้นข้าจำเป็นที่จะต้องช่วยเจ้าให้สำเร็จตามความคิดอันนี้ ดีละเป็น<br />

อันตกลงกันตามความของเจ้าทุกประการ...”<br />

เนื้อความจากบันทึกข้างต้น จึงเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ส ำคัญ<br />

ในการก่อสร้างโรงทหารหน้าซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยทหารสำคัญตราบจนปัจจุบัน<br />

ทำให้ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อทหารหาญอย่างหาที่สุดมิได้<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนารถ<br />

33


เรื่องเล่าที่ ๑๕<br />

การก่อสร้างอาคารโรงทหารหน้า<br />

ในปลาย<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงทหารหน้า<br />

โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำเนินการก่อสร้าง กล่าวคือ<br />

๑. ให้ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสง-ชูโต) ผู้บังคับการ<br />

กรมทหารหน้า เป็นแม่กองการก่อสร้างโรงทหารหน้า<br />

๒. ให้ นายพันเอก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย วิศวกรทุน<br />

พระราชทานฯ เป็นผู้ช่วยแม่กองการก่อสร้าง<br />

ซึ่งในการนี้ ทรงมีพระราชวินิจฉัยและพระบรมราชานุญาตให้<br />

ก่อสร้างโรงทหารหน้าตามแบบแปลนที่ นายโจอาคิโน โจอาคิม กราซี<br />

(Giochino Joachim Grassi) สถาปนิกและวิศวกรช่างรับเหมาก่อสร้าง<br />

ชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบ (ประวัติ : นายโจอาคิม กราซี เดินทาง<br />

เข้ามาในประเทศไทย ระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๑๓ - ๒๔๓๖ ด้วยการเปิดบริษัท<br />

RASSIBROTHER and CO. ร่วมกับน้องชายคือ นาย Antonio Grassi ซึ่ง<br />

นายโจอาคิม กราซี ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภท โดยผลงานการ<br />

ออกแบบและก่อสร้างของบริษัทแห่งนี้ ได้แก่ การสร้างวังบูรพาภิรมย์<br />

วัดนิเวศธรรมประวัติ พระราชวังบางปะอิน อาคารศาลสถิตยุติธรรม<br />

บ้านพระยาราชานุประพันธ์ ริมคลองบางกอกใหญ่ อาคารเรียนใน<br />

โรงเรียนอัสสัมชัญ อาคารวิคตอเรีย อาคารเสาวภาคย์ในโรงพยาบาลศิริราช<br />

เป็นต้น ทั้งยังร่วมทำการขุดคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ร่วมกับพระองค์เจ้า<br />

สายสนิทวงศ์)<br />

ทั้งนี้ จากการพิจารณาในเบื้องต้น พบว่า พื้นดินบริเวณที่จะใช้<br />

ก่อสร้างอาคารมีลักษณะร่วนซุย และการที่สร้างอาคารขนาดใหญ่มาก<br />

จำเป็นต้องรับน้ำหนักอาคารจำนวนมาก อาจทำให้อาคารทรุดตัวได้<br />

จึงต้องมีการทำงานฐานรากให้แข็งแรงและมั่นคง และจำเป็นต้องใช้หิน<br />

ขนาดใหญ่มาถมเป็นฐานรากก่อนสร้างอาคาร แต่เนื่องจากประสบปัญหา<br />

ในเรื่องของการขนส่งหินดังกล่าวที่มีระยะทางไกล และในเวลานั้นยังไม่มี<br />

ระบบการจัดส่งและระบบคมนาคมที่ทันสมัย ประกอบกับในเวลานั้น<br />

ป่าไม้ของประเทศยังค่อนข้างอุดมสมบูรณ์สามารถจัดหาและชักลากได้อย่าง<br />

สะดวก ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างมาก<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ฉลองพระองค์ในเครื่องแบบทหารชุดเต็มยศ<br />

จึงทำให้ฝ่ายเทคนิคพิจารณาเปลี่ยนแปลงการถมพื้นที่จากหินขนาดใหญ่<br />

มาเป็นการกำหนดให้มีการจัดวางแพซุงเพื่อรองรับน้ำหนักอาคาร โดยการ<br />

ขุดเจาะพื้นดินและวางซุงขนาดใหญ่เรียงต่อกันเป็นแพสลับกัน ๓ ชั้นก่อนที่<br />

จะกลบและสร้างอาคาร ทั้งนี้เพราะ สิ่งสำคัญที่สุดคือการรับน้ำหนักอาคาร<br />

ที่มีมหาศาล อันเกิดจากการแบ่งพื้นที่ภายในถึง ๓ ชั้นและมีห้องจำนวน<br />

มากมาย ดังนั้นรากฐานที่สำคัญคือ รากฐานอาคารแบบ Wall Footing<br />

ด้วยการก่อกำแพงรับน้ำหนัก โดยมีการก่ออิฐถือปูนเป็นชั้นนอกสุดและ<br />

ลดหลั่นจากผนังทั้งสองข้าง ถ่ายน้ำหนักออกไปสู่ตอน<strong>ปี</strong>กของฐาน อีกทั้ง<br />

ใต้ฐานรากได้วางท่อนซุงวางซ้อนกันเป็นแพ เรียกว่า แพซุง<br />

ในการดำเนินการก่อสร้างแรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นชาวจีน<br />

วัสดุก่อสร้างโดยทั่วไปใช้วัสดุที่จัดหาได้ภายในราชอาณาจักรในขณะนั้น<br />

อาทิ ไม้สัก อิฐ กระเบื้องดินเผารากกาบกล้วย ทราย ปูนซีเมนต์ ดินเหนียว<br />

ปูนขาว และต้นอ้อย<br />

34


นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสง-ชูโต)<br />

แม่กองการก่อสร้าง<br />

นายพันเอก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย<br />

ผู้ช่วยแม่กองการก่อสร้าง<br />

นายโจอาคิโน โจอาคิม กราซี (Giochino Joachim Grassi)<br />

สถาปนิกและวิศวกรช่างรับเหมาก่อสร้างชาวอิตาเลียน<br />

ผู้สร้างอาคารโรงทหารหน้า<br />

สำหรับพิธีวางศิลาฤกษ์ ไม่มีการบันทึกไว้ แต่สันนิษฐานว่ามีการจัด<br />

พิธีเช่นเดียวกับการก่อสร้างอาคารสำคัญในสมัยนั้นและพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพิธี<br />

วางศิลาฤกษ์ ซึ่งจากลักษณะโรงทหารหน้าสันนิษฐานว่าการวางศิลาฤกษ์<br />

แพซุง<br />

อยู่ ณ บริเวณตึกกลางของโรงทหารหน้าในขณะนั้น โดยเริ่มดำเนินการ<br />

ก่อสร้างในราวเดือนมิถุนายน ๒๔๒๔ แล้วเสร็จใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๗ ใช้ระยะ<br />

เวลาในการก่อสร้างรวมประมาณ ๓ <strong>ปี</strong><br />

35


เรื่องเล่าที่ ๑๖<br />

พระราชทานนามอาคารและเสด็จพระราชดําเนินเปิดโรงทหารหน้า<br />

ในกลาง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๗ เมื่ออาคารพระราชทานมีการก่อสร้างใกล้<br />

เสร็จเรียบร้อย นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ได้ท ำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย<br />

เพื่อขอพระราชทานนามของที่ตั้งหน่วยทหารแห่งใหม่นี้เพื่อประดับ<br />

ที่หน้ามุขของอาคาร มีการบันทึกในเรื่องนี้ไว้ว่าพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบ นายพันเอก<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ความบางตอนว่า<br />

“...อย่าให้ชื่อพิศดารอย่างไรเลย ให้ใช้นามว่าโรงทหารหน้าเท่านั้น<br />

และให้มีศักราชที่สร้างขึ้นไว้ด้วย...”<br />

ต่อจากนั้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพันเอก เจ้าหมื่น<br />

ไวยวรนารถ ไปเฝ้า สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม<br />

ราชวรมหาวิหาร นำกระแสพระราชดำริที่ต้องพระราชประสงค์คาถาสำหรับ<br />

ประจำตรากรมทหารหน้าอีกด้วย<br />

ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน<br />

พระราชวโรกาสอันเป็นสิริมงคลให้แก่เหล่าทหาร ด้วยการเสด็จพระราชด ำเนิน<br />

มาทรงกระทำพระราชพิธีเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้า และ<br />

ตามมหาพิชัยฤกษ์ โดยทรงประทับรถพระที่นั ่งทอดพระเนตรอาคารใหม่<br />

และชมการประลองยุทธ์ของทหาร พร้อมพระราชทานนามอาคารว่า<br />

โรงทหารหน้า เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่มวลหมู่ทหาร ทำให้ทหารไทย<br />

มีที่ทำการหน่วยทหารใหม่ที่เป็นมาตรฐาน และเป็นการหยั่งรากลึกสำคัญ<br />

ของกิจการทหารของประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน<br />

ทั้งนี้ สันนิษฐานว่า เริ่มดำเนินการก่อสร้างและมีพิธีวางศิลาฤกษ์<br />

อาคารในราวเดือนมิถุนายน ๒๔๒๔ ดังจะเห็นได้จากภาพถ่ายในอดีตที่<br />

ปรากฏข้อความปูนปั้นบริเวณมุขกลางด้านล่างของตราประจำกระทรวง<br />

กลาโหม ที่เขียนว่า “<strong>ปี</strong>มะเส็ง เชษฐมาส ตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓” คือ<br />

<strong>ปี</strong>มะเส็ง เดือนเจ็ด จุลศักราช ๑๒๔๓ (เดือนมิถุนายน ๒๔๒๔) ทั้งนี้<br />

เพราะมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า อาคารโรงทหารหน้าสร้างเสร็จใน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๔๒๗ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างรวมประมาณ ๓ <strong>ปี</strong> จึงเป็นไปได้<br />

อย่างยิ่งว่าการปรากฏข้อความที่บริเวณมุขกลางดังกล่าว คือการแสดง<br />

ให้ทราบถึงระยะเวลาเริ่มสร้างและวางศิลาฤกษ์อาคาร (ค้นคว้าโดย<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้เขียน)<br />

36


เรื่องเล่าที่ ๑๗<br />

ตราประจําโรงทหารหน้า<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ<br />

พระราชทานสิ่งอันเป็นมหามงคลให้แก่กิจการทหารไทย โดยประดับไว้ที่<br />

มุขหน้าของอาคารโรงทหารหน้าคือ ตราประจำโรงทหารหน้า ที่มีลักษณะ<br />

เป็นรูปจุลมงกุฎบนหมอนแพรภายใต้รัศมีเปล่งรองรับด้วยช้างสามเศียร<br />

ยืนบนแท่นสอดในจักร ขนาบด้วยคชสีห์และราชสีห์เชิญพระนพปฎล<br />

มหาเศวตฉัตรด้านขวาและด้านซ้าย เหนือชายแพรทาสีม่วงคราม มีอักษร<br />

บาลีซึ่งเป็นคาถาประจำอาคารว่า วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฎฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย<br />

ประดับด้วยช่อดอกไม้ โดยมีรายละเอียดและความหมาย ดังนี้<br />

๑) ตราจุลมงกุฎบนหมอนแพรปิดทอง หมายถึง ศิราภรณ์<br />

ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของ<br />

พระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะ พระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น คือ “จุฬาลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับ<br />

ศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ซึ่งในเวลาต่อมา ได้อัญเชิญตราจุลมงกุฎ<br />

บนหมอนแพรปิดทองขึ้นเป็นพระราชลัญจกรพระจำพระองค์<br />

๒) รัศมีเปล่งเหนือจุลมงกุฎ หมายถึง พระบรมเดชานุภาพที่แผ่ไกล<br />

ไปทั่วทุกทิศ ในคติการปกครองแบบราชาธิปไตย<br />

๓) ช้างสามเศียรยืนแท่นในกรอบ หมายถึง ตราสัญลักษณ์ของ<br />

สยามประเทศ<br />

๔) จักร หมายถึง ราชวงศ์จักรี ซึ่งถือคติว่า จักรของราชวงศ์จักรี<br />

เป็นจักรของพระนารายณ์ที่ต้องเวียนในลักษณะทักขิณาวัฏ คือ เวียนตาม<br />

เข็มนาฬิกาโดยให้คมจักรเป็นตัวนำทิศทาง<br />

๕) คชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง กลาโหม<br />

ซึ่งเป็นใหญ่ฝ่ายทหาร<br />

๖) ราชสีห์เชิญพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร หมายถึง มหาดไทย<br />

ซึ่งเป็นใหญ่ฝ่ายพลเรือน<br />

๗) พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น) หมายถึง ฉัตรสำหรับ<br />

พระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราช<br />

ประเพณี<br />

๘) ชายแพรทาสีม่วงคราม หมายถึง สายสะพายเครื่องราช<br />

อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งมีนัยว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงบำรุงถึงสกุลวงศ์ ผู้มีบำเหน็จความชอบในบ้านเมืองให้สามัคคี<br />

ช่วยกันในบ้านเมือง<br />

๙) ช่อดอกไม้ หมายถึง ความรุ่งเรืองงอกงามซึ่งสัญลักษณ์นี้ปรากฏ<br />

ในสายสร้อยปฐมจุลจอมเกล้า ห้อยดวงตราจุลจอมเกล้า ซึ่งแตกต่างกันตรง<br />

ที่สายสร้อยไม่ประดับจักร จึงสันนิษฐานไว้ว่า ตราสัญลักษณ์นี้ประดิษฐ์ขึ้น<br />

เพื่อหน่วยทหารในฐานะเป็นหน่วยงานที่พิทักษ์รักษาพระราชวงศ์จักรี<br />

37


เรื่องเล่าที่ ๑๘<br />

คาถาประจําโรงทหารหน้า<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ผู้บังคับการกรมทหารหน้า เข้าเฝ้าสมเด็จ<br />

พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) วัดราชประดิษฐ์<br />

สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุง<br />

รัตนโกสินทร์ เพื่อให้ทรงผูกคาถาสำหรับเป็นสิริมงคลให้แก่กิจการทหารไทย<br />

ซึ่งจะนำขึ้นประดิษฐานไว้ ณ โรงทหารหน้า<br />

วิเชตฺวา พลตาภูปํ รฎฺเฐสาเธตุ วุฑฺฒิโย<br />

มีความหมายว่า “ขอให้พระมหากษัตริย์เจ้าพร้อมด้วยปวงทหาร<br />

จงมีชัยชนะ ยังความเจริญให้สำเร็จในแผ่นดิน”<br />

นอกจากนี้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา<br />

ปุสฺสเทว) ยังได้ทรงผูกคาถาอีกบทหนึ่งตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดับไว้บนตราแผ่นดิน ซึ่งมีข้อความภาษา<br />

บาลี ว่า สัพเพสํ สํฆะภูตานัง สามัคคี วุฑฒิ สาธิกา มีความหมายว่า “ความ<br />

พร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความเจริญวัฒนาถาวรให้ส ำเร็จ”<br />

และถือได้ว่าเป็นคาถาประจำแผ่นดินของไทยมาตราบจนปัจจุบัน<br />

พระฉายสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)<br />

ในเบื้องต้น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช<br />

(สา ปุสฺสเทว) ทรงผูกคาถาไว้จำนวน ๔ บท มอบให้ นายพันเอก เจ้าหมื่น<br />

ไวยวรนารถ เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ให้ทรงพระกรุณา<br />

มีพระราชวินิจฉัย ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาคัดเลือกคาถา ๑ ในจำนวน ๔ บท ขึ้นเป็นคาถาประจำ<br />

โรงทหารหน้า ปรากฏเป็นข้อความภาษาบาลี ว่า<br />

ตราแผ่นดิน<br />

38


เรื่องเล่าที่ ๑๙<br />

การจัดสรรการใช้ประโยชน์อาคารโรงทหารหน้าในยุคแรก<br />

ในช่วงแรกของการก่อสร้างโรงทหารหน้า ได้มีการจัดสรรพื้นที่<br />

อาคารโรงทหารหน้า เพื่อการใช้สอยในกิจการทหาร สามารถสรุปการใช้สอย<br />

ในอาคาร ๓ ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นมีการกำหนดไว้ ดังนี้<br />

๑. ชั้นล่าง จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

๑.๑ ตึกกลาง ใช้เป็นพื้นที่ฝึกหัดฟันดาบ<br />

๑.๒ อาคารด้านทิศเหนือ ติดกับถนนหลักเมืองมี ๒ แถวซ้อนกัน<br />

๒ แถว กล่าวคือ<br />

๑.๒.๑ แถวนอก ซึ่งเป็นอาคาร ๒ ชั้น ใช้เป็นโรงพักม้า<br />

และโรงฝึกม้า โดย<br />

๑.๒.๑.๑ ชั้นล่าง จัดทำเป็นที่พักของม้าและ<br />

โรงเก็บรักษารถพระที่นั่ง สำหรับเมื่อมีการจะเสด็จพระราชดำเนินโดยด่วน<br />

ในที่ใดๆ ก็ทรงรถพระที่นั่งและม้าเทศที่สั่งมาจากเกาะออสเตรเลีย จำนวน<br />

ประมาณ ๓๕๐ ตัว<br />

๑.๒.๑.๒ ชั้นบน จัดทำเป็นที่พักให้ทหารม้า<br />

และอัศวแพทย์พักอาศัย<br />

๑.๒.๒ แถวใน ซึ่งเป็นอาคาร ๓ ชั้น ใช้เป็นที่พัก<br />

ทหารปืนใหญ่, โรงพยาบาลทหาร, คลังเก็บยุทธภัณฑ์และครุภัณฑ์<br />

๑.๓ อาคารด้านทิศใต้ ฝั่งตรงกับทางออกเป็นโรงอาบน้ำและ<br />

ซักผ้าของทหาร, โรงงานของทหารช่าง, ที่ตั้งโรงสูบน้ำจากคลองคูเมืองเดิม<br />

ใกล้สะพาน (ช้างโรงสี) ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า “ท่าช้าง” มีเครื่องสูบน้ำ<br />

จำนวน ๒ เครื่อง และท่อสูบน้ำขนาด ๘ นิ้ว<br />

๑.๔ บริเวณด้านหน้า มีประตูใหญ่สองข้างสร้างเป็นห้องทหาร<br />

คอยเหตุ และรักษายามทั้งสองข้าง และจัดทำเป็นคลังเก็บเครื่องครุภัณฑ์<br />

และยุทธอาภรณ์<br />

๒. ชั้นที่ ๒ จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

๒.๑ ตึกกลาง เป็นห้องประชุมนายทหาร<br />

๒.๒ อาคารด้านทิศเหนือ เป็นที่ประชุมอบรมทหาร ห้องนายแพทย์<br />

ทหาร และโรงพยาบาลทหาร<br />

ภาพแผนที่พระนคร <strong>ปี</strong>พุทธศักราช ๒๔๓๖ (กรมยุทธนาธิการอยู่ในวงสีแดง)<br />

๒.๓ อาคารด้านทิศใต้ เป็นที่ประชุมอบรมทหาร อีกทั้งอาคาร<br />

ด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก ใช้เป็นที่เก็บเครื่องสนามและเครื่องยุทธภัณฑ์ต่างๆ<br />

๓. ชั้นที่ ๓ จัดแบ่งไว้ ดังนี้<br />

๓.๑ ตึกกลาง เป็นที่เก็บสรรพาวุธ และเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับ<br />

เครื่องทหารต่างๆ<br />

๓.๒ อาคารด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของนายทหารและพลทหาร<br />

๓.๓ อาคารด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก เป็นที่ตั้งถังเหล็กขนาดใหญ่<br />

สำหรับเก็บน้ำใส ซึ่งในชั้นบนเหนือ ทั้งนี้ โรงทหารทั้ง ๓ ชั้นได้จัดทำเป็น<br />

ท่อเหล็กขนาดประมาณ ๘ นิ้ว เชื่อมต่อน้ำจากถังเหล็กชั้นที่ ๓ ฝังอยู่ตาม<br />

ฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น ซึ่งทุกบันไดใหญ่ได้จัดทำเป็นห้องสำหรับถ่ายปัสสาวะ<br />

บันไดละ ๒ ห้องทุกๆ ชั้น และมีท่อน้ำไหลมาสำหรับชะล้างเพื่อไม่ให้เกิด<br />

กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ ตามมุมสนามหญ้าสำหรับฝึกหัดทหารนั้น<br />

มีที่สำหรับถ่ายปัสสาวะทุกสี่มุม มุมหนึ่งมีที่ถ่ายสำหรับ ๔ คน<br />

39


๔. ชั้นที่ ๔ ของอาคารด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก จัดทำเป็นหอนาฬิกา<br />

มีหน้าปัดนาฬิกาสองทาง การที่ทำนาฬิกาขึ้นนี้ เพราะมีความประสงค์จะให้<br />

เป็นทานแก่มหาชนซึ่งสัญจรไปมาให้รู้เวลาได้ทั่วถึงกัน<br />

๕. ชั้นที่ ๕ ของอาคารด้านทิศใต้ฝั่งตะวันออก จัดท ำเป็นห้องสำหรับ<br />

ทหารยามรักษาเหตุการณ์ กับมีเครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่องฉายไฟฟ้า<br />

อยู่บนนั้นด้วยอย่างไรก็ตาม บริเวณทิศตะวันออกริมถนนใหญ่รอบโรงทหาร<br />

(ถนนราชินี) ยังได้มีการจัดสรรพื้นที่สำหรับกิจการทหารไว้ ดังนี้<br />

๑) ปลูกกอไม้ไผ่สีสุก รวม ๓ ด้าน เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะส่อง<br />

เข้ามาถึงเฉลียงรอบโรงทหารชั้นใน กับบริเวณโรงทหารนั้น<br />

๒) สระน้ำ จัดทำไว้รวม ๒ สระคือ สระว่ายน้ำ สำหรับฝึกหัด<br />

ว่ายน้ำ จำนวน ๑ สระ และสระน้ำสำหรับให้ทหารอาบน้ำอีก ๑ สระ<br />

๓) ฉางสำหรับเก็บข้าวสาร โดยจัดทำเป็นเป็นห้องๆ เพื่อทำการ<br />

หมุนเวียนข้าวสารเก่าเพื่อนำมาใช้ และนำข้าวสารใหม่เพิ่มเติมเข้ามาเก็บไว้<br />

โดยที่ฉางสำหรับเก็บข้าวสารดังกล่าวนี้จัดทำไว้แทนฉางข้าวเก่าในพระนคร<br />

ซึ่งได้รื้อออกไปแล้ว<br />

๔) ห้องสูทกรรมหรือห้องครัวใหญ่ สำหรับทำอาหารเลี้ยงทหาร<br />

ทั่วไป ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารทิศใต้ฝั่งตะวันออก ริมถนนราชินีตัดกับถนน<br />

กัลยาณไมตรี ข้างสะพานช้างโรงสี (ปัจจุบันคือบริเวณธนาคารทหารไทย<br />

สาขากระทรวงกลาโหม)<br />

๕) ระบบผลิตน้ำประปา บริเวณใต้ห้องครัวใหญ่ลงไป ได้ทำเป็น<br />

ระบบประปาเพื่อใช้ในกิจการของโรงทหารหน้ากล่าวได้ว่า อาคารโรงทหาร<br />

หน้า ได้พิจารณาจัดสรรพื้นที่ส ำหรับปฏิบัติภารกิจทางทหารได้ครบถ้วนและ<br />

เหมาะสม สามารถดำรงหน่วยได้อย่างสมบูรณ์ในตัวเองและมีความทันสมัย<br />

เป็นอย่างมาก<br />

40


เรื่องเล่าที่ ๒๐<br />

หน่วยทหารที่มีที่ตั้งในโรงทหารหน้าหรือศาลายุทธนาธิการในยุคแรก<br />

โรงทหารหน้าหรือศาลายุทธนาธิการในยุคแรก มีการนำทหารทั้ง<br />

๑๓ กรม (ยกเว้นกองทหารฝีพาย) มาอยู่ในศาลายุทธนาธิการ ในเวลา<br />

ต่อมา มีการขยับขยายหน่วยออกไปนอกพื้นที่ อาทิ โรงเรียนนายร้อย และ<br />

โรงเรียนนายสิบ แต่ก็มีการตั้งหน่วยทหารเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์<br />

เป็นมาตรฐาน รวม ๑๒ หน่วยงาน เป็นดังนี้<br />

• กรมปลัดทัพบก<br />

• กรมยกกระบัตรทัพบก<br />

• กรมเสนาธิการทหารบก<br />

• จเรทัพบก<br />

• กรมคลังเงินทหารบก<br />

• กรมพระธรรมนูญทหารบก<br />

• ศาลกรมยุทธนาธิการ<br />

• กรมเกียกกายทัพบก<br />

• กรมช่างแสง<br />

• กรมแพทย์ทหารบก<br />

• กรมราชองครักษ์<br />

• แผนกสารวัตรใหญ่ทหารบก<br />

อย่างไรก็ตาม ทราบว่ามีหน่วยทหารที่มีที่ตั้งในศาลายุทธนาธิการ<br />

รวม ๑๒ หน่วยข้างต้น จึงทำให้สามารถบรรจุกำลังพลที่เข้ามาอยู่ในศาลา<br />

ยุทธนาธิการได้จำนวนถึง ๑ กองพล ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยทหารที่เป็น<br />

มาตรฐานและสมบูรณ์แบบมากที่สุดในยุคดังกล่าว<br />

41


เรื่องเล่าที่ ๒๑<br />

ความทันสมัยของระบบสาธารณูปโภคในอาคารโรงทหารหน้า<br />

ตอนที่ ๑ ระบบไฟฟ้า<br />

อาคารโรงทหารหน้าถือว่าเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น<br />

เพราะเป็นอาคารที่มีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกในการ<br />

ดำรงหน่วยได้อย่างครบครัน ประกอบด้วย ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์<br />

โดยมีสาระสำคัญของระบบไฟฟ้า กล่าวคือ<br />

โรงทหารหน้าเป็นอาคารแรกของประเทศไทย ที่มีการผลิตไฟฟ้าและ<br />

ใช้ไฟฟ้าได้เองโดยมีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นเครื่องแรกและเป็นครั้ง<br />

แรกในประเทศไทย โดย นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกรมทหารหน้าในขณะนั้น ได้ใคร่ครวญแล้ว<br />

เกรงว่าในกรณีที่จัดงานกลางคืน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ต้องมีการ<br />

จุดเทียนไขพร้อมๆ กันเป็นร้อยเล่ม และต้องใช้คนมากมาย<strong>ปี</strong>นป่ายอาคาร<br />

เพื่อติดเทียนไข แม้ต่อมาจะเปลี่ยนมาใช้โคมน้ำมันก็ตาม อาจเกิดเพลิงได้<br />

ซึ่งทุกมุมห้องจะต้องมีถังปูนถังน้ำดักเอาไว้ ทำให้เกิดความยุ่งยากและ<br />

ไม่ปลอดภัย กอปรกับท่านเองได้เคยเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับ<br />

ประเทศอังกฤษ ณ กรุงลอนดอน ร่วมคณะกับ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์<br />

ราชทูต โดยท่านดำรงตำแหน่งอุปทูต บรรดาศักดิ์ที่ จมื่นสราภัยสฤษดิ์<br />

การ ได้พบเห็นกรุงลอนดอน สว่างไสวไปด้วยไฟฟ้าในยามค่ำคืน ต่อเมื่อ<br />

กลับมายังสยามจึงคิดว่า สยามน่าจะมีไฟฟ้าใช้แบบเดียวกับอารยประเทศ<br />

ภายหลังจากที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยพร้อมคณะทูต ท่าน<br />

ดำริว่า ประเทศไทยควรจะมีไฟฟ้าใช้ในลักษณะเดียวกันกับอารยประเทศ<br />

และการนี้หากจะกระทำให้สำเร็จได้แล้ว คงต้องเริ่มต้นที่ภายในพระบรม<br />

มหาราชวังและบ้านเจ้านายก่อน ท่านจึงได้นำความขึ้นกราบทูลพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็มีพระราชดำรัสตอบมาว่า “ไฟฟ้า<br />

หลังคาตัด ข้าไม่เชื่อ”<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงตระหนักว่า ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการจำเป็น<br />

ต้องหาหนทางหรือวิธีจูงใจให้ผู้ที่ไม่เคยเห็น หรือผู้ที่ไม่เคยใช้ไฟฟ้าบังเกิด<br />

ความนิยมขึ้นมาก่อน จึงนำความไปกราบบังคมทูลพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ขอให้ช่วยกราบทูล สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชเทวี ให้ทรงรับซื้อที่ดินซึ่งได้รับมรดกจากบิดา ณ ต ำบลวัดละมุด<br />

บางอ้อ ได้เป็นเงิน ๑๘๐ ชั่ง (๑๔,๔๐๐.๐๐ บาท) เมื่อได้เงินมาแล้ว จึงหารือกับ<br />

42<br />

นายมาโยลา (Mayola) ครูฝึกทหารชาวอิตาเลียน ที่มารับราชการในไทย<br />

ให้เดินทางไปซื้อเครื่องจักรกลก ำเนิดไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗<br />

โดยให้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน ๒ เครื่อง เพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนกัน<br />

ใช้งาน และซื้อสายเคเบิ้ลสำหรับพาดสายไปจนถึงพระบรมมหาราชวัง<br />

พร้อมจัดซื้อโคมไฟชนิดต่างๆ เข้ามาในประเทศ<br />

หลังจากได้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์แล้ว จึงได้ติดตั้งเครื่องจักรกล<br />

กำเนิดไฟฟ้าที่โรงทหารหน้าเพื่อผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า รวมทั้ง ฝังสาย<br />

เคเบิ้ลใต้ดินจากโรงทหารหน้า ผ่านถนนสนามไชยไปยังพระบรมมหาราชวัง<br />

พร้อมติดตั้งโคมไฟ โดยเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๒๗ ซึ่ง<br />

เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ซึ่งสร้างความตื่นเต้นแก่ผู้พบเห็นเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้<br />

โรงทหารหน้ายังได้มีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่างภายในอาคาร มีการบันทึกว่า<br />

ติดตั้งบริเวณมุมอาคารและประตูทางเข้าออก เพื่อใช้ประโยชน์ของแสงสว่าง<br />

ในการปฏิบัติหน้าที่เวรยามภายในโรงทหารหน้า และทุกมุมด้านนอกของ<br />

อาคาร บริเวณถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี และถนนหลักเมือง ก็ได้<br />

มีการติดตั้งโคมไฟแสงสว่างขึ้นหลายจุดเพื่อประโยชน์ในการรักษาความ<br />

ปลอดภัย และยังเป็นการให้บริการแสงสว่างแก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาด้วย<br />

(ในภาพลูกศรชี้ คือ เสาไฟส่งกระแสไฟฟ้านอกอาคารโรงทหารหน้า)<br />

ในเวลาต่อมา ปรากฏว่าไฟฟ้าเป็นที่นิยมกันแพร่หลายทั้งในราช<br />

สำนัก วังเจ้านาย และชาวบ้านผู้มีฐานะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินที่นายพันเอก<br />

พระยาสุรศักดิ์มนตรี ใช้จ่ายไปในการติดตั้งวางระบบไฟฟ้าคืนให้ ซึ่งได้<br />

พัฒนาเป็นกิจการไฟฟ้าของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน


เรื่องเล่าที่ ๒๒<br />

ความทันสมัยของระบบสาธารณูปโภคในอาคารโรงทหารหน้า<br />

ตอนที่ ๒ ระบบประปา<br />

อาคารโรงทหารหน้าถือว่าเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น<br />

เพราะเป็นอาคารที่มีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกในการ<br />

ดำรงหน่วยได้อย่างครบครัน ประกอบด้วย ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์<br />

โดยมีสาระสำคัญของระบบประปา กล่าวคือ<br />

โรงทหารหน้าจัดระบบการผลิตน้ำประปาเป็นของตนเอง สำหรับ<br />

ใช้ในการอุปโภคและบริโภคในกิจการทหาร โดยมีระบบการผลิตน้ำประปา<br />

ที่เป็นมาตรฐาน ประกอบด้วย<br />

๑. การขุดเป็นบ่อลึกแบ่งออกเป็น ๓ ห้อง บริเวณใต้ห้องครัว<br />

(บริเวณริมถนนกัลยาณไมตรี ก่อนถึงสะพานช้างโรงสี ที่ในบันทึกระบุไว้ว่า<br />

ท่าช้าง) หรือในปัจจุบัน ก็คือบริเวณใกล้กับที่ตั้งธนาคารทหารไทย สาขา<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

๒. บ่อแต่ละบ่อจัดทำเป็นโพรงน้ำด้านล่างสุดเชื่อมถึงกันตั้งแต่<br />

บ่อที่ ๑ ถึงบ่อที่ ๓ มีการจัดทำระบบกรองน้ำในแต่ละบ่อด้วยการวางชั้น<br />

กรองจากบนลงล่าง แบ่งเป็น ๔ ชั้น ดังนี้<br />

๒.๑ ชั้นบนสุด บรรจุอิฐย่อยก้อนเล็กๆ โรยรองเป็นพื้น เมื่อ<br />

สูบน้ำขึ้นที่ท่าช้างแล้วน้ำก็ไหลผ่านมาในห้องกรองนี้ก่อนจนเป็นน้ำใส<br />

๒.๒ ชั้นที่สอง บรรจุทรายละเอียดที่นำมาจาก อำเภอบางพูด<br />

อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นทรายคุณภาพดี โรยทับไว้ข้างบน<br />

๒.๓ ชั้นที่สาม บรรจุเศษผงถ่านย่อยๆ โรยทับเพื่อการกรองน้ำ<br />

๒.๔ ชั้นล่าง จัดทำเป็นโพรงเพื่อเก็บน้ำที่กรองใสแล้ว สำหรับ<br />

สูบขึ้นสู่ถังสูงที่เก็บไว้ชั้นที่ ๓ ของอาคารทิศใต้ฝั่งตะวันออก<br />

๓. จัดเครื่องสูบน้ำจากคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด) บริเวณ<br />

เชิงสะพานช้างโรงสี มาถ่ายลงชั้นบนของบ่อที่หนึ่ง เมื่อน้ำคลองผ่านระบบ<br />

กรองแล้วก็จะไหลผ่านโพรงเชื่อมไปยังบ่อที่สองและสาม ในลักษณะ<br />

เดียวกันจนเป็นน้ำสะอาดและปลอดภัย<br />

ถังเหล็กขนาดใหญ่บรรจุน้ำสะอาดบริเวณชั้นสามของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

๔. เมื่อผลิตน้ำสะอาดได้แล้วมีการสูบขึ้นพักไว้ในถังเหล็กขนาดใหญ่<br />

บริเวณชั้นสามของอาคารด้านทิศใต้หัวมุมใกล้สะพานช้างโรงสี<br />

๕. มีการจัดวางระบบท่อส่งน้ำ (Pipeline) เป็นท่อแป๊ปฝังอยู่ตาม<br />

ฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น จึงสามารถเปิดใช้น้ำประปาได้ทั่วโรงทหารหน้าทุกชั้น<br />

กล่าวได้ว่า โรงทหารหน้ามีระบบประปาเพื่อบริการน้ ำให้แก่กำลังพล<br />

ที่ทันสมัยและครบถ้วนมากในสมัยนั้น<br />

43


เรื่องเล่าที่ ๒๓<br />

ความทันสมัยของระบบสาธารณูปโภคในอาคารโรงทหารหน้า<br />

ตอนที่ ๓ ระบบโทรศัพท์<br />

อาคารโรงทหารหน้าถือว่าเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากในยุคนั้น<br />

เพราะเป็นอาคารที่มีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกในการ<br />

ดำรงหน่วยได้อย่างครบครัน ประกอบด้วย ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์<br />

โดยมีสาระสำคัญของระบบโทรศัพท์ กล่าวคือ<br />

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ประเทศไทยต้องเผชิญภัยคุกคาม<br />

จากชาติตะวันตกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงให้ความสำคัญต่อการแจ้งข่าว เรื่องภัยจากข้าศึกอันเป็น<br />

ภัยต่อความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เมื่อมีการค้นพบระบบการสื่อสารทาง<br />

โทรศัพท์ที่สามารถรับและส่งข้อความ พูดคุยตอบโต้กันได้โดยตรง จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการติดต่อสั่งซื้อระบบโทรศัพท์โดยทันทีที่ทรง<br />

ทราบข่าวว่ามีการผลิตไว้จำหน่าย โดยเมืองไทยเริ่มต้นมีการใช้โทรศัพท์<br />

ในครั้งแรกใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๔ ติดตั้งที่กรุงเทพฯ เครื่องหนึ่ง กับที่ปากน้ำ<br />

(จังหวัดสมุทรปราการ) อีกเครื่องหนึ่ง ใช้ประโยชน์จากสายโทรเลขระหว่าง<br />

กรุงเทพฯ กับปากน้ำ (ซึ่งกรมกลาโหมได้สร้างไว้ ตั้งแต่ <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๑๘<br />

เพื่อแจ้งข่าวเกี่ยวกับการผ่านเข้าออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา ของเรือกลไฟ)<br />

ต่อมา ได้มีการขยายผลมาใช้ประโยชน์ในการแจ้งข่าวสารความมั่นคงให้แก่<br />

หน่วยทหาร เพื่อการเตรียมความพร้อมในการป้องกันประเทศ และทำการ<br />

ติดตั้งระบบโทรศัพท์ใช้ที่โรงทหารหน้าใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๘ โดยใช้ประโยชน์<br />

จากระบบไฟฟ้าของโรงทหารหน้า โดยเฉพาะด้านมุมท้ายสุดของอาคาร<br />

บริเวณทิศใต้ใกล้สะพานช้างโรงสี บริเวณชั้นที่ห้าของอาคาร เป็นที่ตั้งของ<br />

ทหารยามรักษาเหตุการณ์ จึงมีการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์พร้อมเครื่องฉาย<br />

ไฟฟ้าอยู่ด้านบนเพื่อใช้ประโยชน์ในยามฉุกเฉิน<br />

แม้ว่าห้องทหารยามรักษาการณ์บนหอนาฬิกาจะปรับเปลี่ยนไปเป็น<br />

ห้องตรวจการณ์ในหอคอยกระทรวงกลาโหมในเวลาต่อมาแล้วก็ตาม ระบบ<br />

โทรศัพท์ก็ยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่องตราบจนปัจจุบัน<br />

ภาพอาคารกรมพระกลาโหม บริเวณด้านหลังพระราชวังสราญรมย์<br />

44


เรื่องเล่าที่ ๒๔<br />

ระบบสาธารณสุขในอาคารโรงทหารหน้า<br />

อาคารโรงทหารหน้าถือว่าเป็นอาคารที่มีความทันสมัยมากใน<br />

ยุคนั้น เพราะเป็นอาคารที่มีระบบสาธารณสุขและสิ่งอำนวยความสะดวก<br />

ในการดำรงหน่วยที่เป็นมาตรฐาน กล่าวคือ โรงทหารหน้าเป็นทั้งที่ทำการ<br />

เป็นที่ฝึกฝนทหาร เป็นที่พักทหาร และมีการนำช้าง ม้า สำหรับใช้ในการศึก<br />

และม้าประจำรถพระที่นั่งมาเลี้ยงในพื้นที่ด้วย ย่อมมีความเป็นไปได้ที่<br />

กำลังพลอาจเจ็บป่วย และมีความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดโรคติดต่อจากคน<br />

ไปสู่คน หรือจากสัตว์ไปสู่คนได้ ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาของโรงทหารหน้า<br />

จึงได้จัดให้มีระบบสาธารณสุขไว้อย่างชัดเจน กล่าวคือ<br />

๑. มีการจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของ<br />

พื้นที่พัก พื้นที่เลี้ยงม้า คือ บริเวณอาคารด้านทิศเหนือ มีโรงเลี้ยงช้างและ<br />

โรงเลี้ยงม้า โดยชั้นล่างให้ม้าอยู่ ชั้นบนให้ทหารม้าอาศัย ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าว<br />

มีนายอัศวแพทย์ (สัตวแพทย์) ผู้ฝึกหัดม้า และช่างท ำรองเท้าม้า อาศัยอยู่ด้วย<br />

จึงเป็นการป้องกันในชั้นแรก<br />

๒. ถัดจากโรงเลี้ยงม้า ได้จัดสรรพื้นที่แบ่งเป็นห้องนายแพทย์ทหาร<br />

และโรงพยาบาลทหาร เพื่อให้บริการทางการแพทย์ให้แก่กำลังพล<br />

ซึ่งในสมัยต่อมา ได้จัดตั้ง กรมแพทย์ทหารบก เป็นหน่วยขึ้นตรง<br />

กรมยุทธนาธิการด้วย<br />

๓. การตั้งโรงครัว ได้ตั้งในด้านทิศตะวันออกใกล้กับคลองคูเมืองเดิม<br />

คือ พื้นที่สุดอาคารรอยต่อระหว่างด้านทิศใต้ ห้องผลิตน้ำประปา จัดตั้ง<br />

เป็นโรงครัว จึงทำให้มีการแยกพื้นที่เพื่อความสะอาด และเป็นการวาง<br />

รากฐานระบบสาธารณสุขในอาคารโรงทหารหน้าไว้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้<br />

ในข้อ ๑. และ ๒. ปรากฏในภาพตามลูกศรชี้<br />

45


เรื่องเล่าที่ ๒๕<br />

ระบบสุขาภิบาลในอาคารโรงทหารหน้า<br />

การที่โรงทหารหน้ามีการวางระบบประปาเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อ<br />

การสร้างระบบสุขาภิบาลให้แก่กำลังพล อาคาร และสภาพแวดล้อมแล้ว<br />

ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าพบว่า บริเวณด้านหลังอาคารหรือด้านทิศตะวันออก<br />

ก่อนถึงคลองคูเมือง ได้จัดทำเป็นกิจการที่มีระบบสุขาภิบาลที่มีผลต่อ<br />

สุขอนามัยของกำลังพลกล่าวคือ<br />

๑. จัดทำเป็นสระน้ำ จำนวน ๒ สระ ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ที่มีความ<br />

แตกต่างกัน สามารถจำแนกเป็นสระน้ำเพื่อภารกิจ ๒ ภารกิจ โดยจัดสร้าง<br />

บริเวณด้านหลังอาคารศาลาว่าการกลาโหม (ด้านทิศตะวันออก) ในภาพ<br />

ตามลูกศรชี้ คือ<br />

๑.๑ สระที่หนึ่ง สำหรับให้ทหารอาบน้ำชำระร่างกาย เนื่องจาก<br />

มีกำลังพลเป็นจำนวนมากที่ต้องเข้ารับการฝึก และปฏิบัติงานในภารกิจ<br />

ทางทหาร ที่อาจต้องสัมผัสกับดินโคลนและสิ่งสกปรกอื่น ดังนั้น การที่จัดท ำ<br />

ให้มีสถานที่อาบน้ำเพื่อชะล้างสิ่งสกปรก ย่อมนำมาสู่การรักษาสุขอนามัย<br />

ให้แก่กำลังพล<br />

๑.๒ สระที่สอง สำหรับให้ทหารฝึกหัดว่ายน้ำเพื่อสมรรถภาพ<br />

ร่างกายและเพื่อความพร้อมในการเข้าสู่พื้นที่การรบ<br />

๒. ปลูกกอไม้ไผ่สีสุก ริมถนนใหญ่รอบโรงทหารหน้าทั้ง ๓ ด้าน<br />

เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะส่องเข้ามาถึงเฉลียงรอบโรงทหารหน้าชั้นใน<br />

และเพื่อเป็นร่มเงากับเป็นรั้วในตัวเอง รวมทั้ง เพื่อมิให้เกิดภาพที่ไม่น่าดูได้<br />

๓. ห้องสุขา สันนิษฐานว่า คงอยู่ใกล้กับสระที่ใช้อาบน้ำ เพราะ<br />

สามารถควบคุมกลิ่นและความสะอาดได้ เนื่องจากการจัดการระบบ<br />

สุขาภิบาลในสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยเท่าในปัจจุบัน จึงต้องอยู่ห่างจากพื้นที่<br />

ทำงานหรือพื้นที ่ฝึกฝน เพื่อป้องกันความสกปรกและแพร่ระบาดของโรค<br />

ในพื้นที่ที่ต้องมีกำลังพล<br />

๔. ห้องปัสสาวะ การที่โรงทหารหน้าจัดท ำระบบท่อส่งน้ำ (Pipeline)<br />

เป็นท่อเหล็กขนาด ๘ นิ้วฝังอยู่ตามฝาผนังทั้ง ๓ ชั้น จึงสามารถเปิดใช้<br />

น้ำประปาได้ทั่วโรงทหารหน้าทุกชั้น โดยเฉพาะบันไดใหญ่ทุกแห่ง ได้จัดทำ<br />

ห้องสุขาสำหรับถ่ายปัสสาวะบันไดละ ๒ ห้อง ทุกๆ ชั้น จึงได้ทำเป็นท่อน้ำ<br />

ไหลมาสำหรับชะล้าง เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ ตามมุม<br />

สนามหญ้าสำหรับฝึกหัดทหารในชั้นล่างนั้น ได้จัดทำห้องสุขาสำหรับถ่าย<br />

ปัสสาวะทั้งสี่แห่ง และมีโถปัสสาวะแห่งละ ๔ โถ รวมทั้งมีระบบประปา<br />

เพื่อบริการน้ำให้แก่กำลังพลอีกด้วย เรียกว่าทันสมัยและครบถ้วนมาก<br />

ในสมัยนั้น<br />

46


เรื่องเล่าที่ ๒๖<br />

การบริการสาธารณะ<br />

หอนาฬิกาโรงทหารหน้า<br />

หอนาฬิกาศาลสถิตยุติธรรม<br />

โรงทหารหน้าได้ใช้ประโยชน์ของการปฏิบัติภารกิจทางทหารร่วม<br />

บริการสาธารณะในลักษณะการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้สัญจร<br />

บริเวณอาคารโรงทหารหน้า กล่าวคือ<br />

๑. การให้บริการแสงสว่าง ในเวลาพลบค่ำโรงทหารหน้าจะทำการ<br />

เปิดโคมไฟแสงสว่างบริการแก่ประชาชนผู้สัญจรผ่านอาคารโรงทหารหน้า<br />

บริเวณถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี และถนนหลักเมือง ทั้งนี้เพราะ<br />

เป็นการใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาความปลอดภัยของอาคารควบคู่ไป<br />

กับการให้บริการประชาชนในคราวเดียวกัน<br />

๒. การให้บริการเทียบเวลา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า อาคารด้านทิศใต้<br />

ฝั่งตะวันออกสุดอาคารก่อนถึงสะพานช้างโรงสี บริเวณชั้นที่ ๕ หรือชั้นบน<br />

สุดมีห้องยามรักษาการณ์ ซึ่งในต ่ำลงมาหรือชั้น ๔ ได้ทำเป็นหอนาฬิกา<br />

รูปร่างสี่เหลี่ยมและมีหน้าปัดนาฬิกาสองด้าน คือ ด้านที่หนึ่ง หันหาคลอง<br />

คูเมืองเดิมหรือคลองหลอด และด้านที่สอง หันเข้าหาถนนกัลยาณไมตรี<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาได้รับทราบและ<br />

เทียบเวลา ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีนาฬิกาข้อมือ มีแต่นาฬิกาพก<br />

ที่มีสายห้อย นาฬิกานำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาสูงมาก จะมีผู้ใช้<br />

ก็คือเจ้านาย ข้าราชการระดับสูง และคหบดีเท่านั้น ระดับประชาชนธรรมดา<br />

ยากที่จะเป็นเจ้าของ ดังนั้น การที่โรงทหารหน้าเปิดโอกาสให้ประชาชน<br />

ได้เทียบเวลาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงถือว่าเป็นการบริการประชาชนและ<br />

พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ราษฎรสยามในยุคนั้น<br />

อย่างไรก็ตาม หลายท่านอาจมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงมีหน้าปัดนาฬิกา<br />

เพียงสองด้าน แล้วเหตุใดอีกสองด้านคือทิศเหนือและทิศตะวันตกจึงไม่มี<br />

หน้าปัดนาฬิกา ซึ่งจากการศึกษาทราบว่าด้านทิศเหนือนั้นประชาชนและ<br />

เหล่าทหารสามารถเทียบเวลาได้จากหอนาฬิกาที่อยู่บริเวณอาคารศาลสถิต<br />

ยุติธรรม และทางทิศตะวันตกสามารถเทียบเวลาได้จากหอนาฬิกาพระที่นั่ง<br />

ภูวดลทัศไนย ซึ่งเป็นหอนาฬิกาในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุน<br />

ราชสีหวิกรม (ต้นสกุล ชุมสาย) คิดแบบ เป็นหอสูง ๑๐ วา มีนาฬิกา<br />

ทั้ง ๔ ด้าน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงรูปร่างหอนาฬิกาขึ้นใหม่ ก่อนรื้อลง<br />

อย่างถาวรเสียเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่<br />

47


เรื่องเล่าที่ ๒๗<br />

หอคอยของโรงทหารหน้า<br />

กลองประจำพระนคร<br />

ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

โรงทหารหน้าได้ทำการรื้อถอนหอนาฬิกาออก เนื่องจากการสร้างหอนาฬิกา<br />

เป็นทรงสี่เหลี่ยมและมีการติดตั้งนาฬิกาในชั้นที่ ๔ ทำให้เกิดผลเสีย<br />

ต่อตัวอาคาร เพราะต้องรับแรงต้านจากลมและฝนทำให้อาคารทรุดโทรม<br />

อย่างรวดเร็ว ประกอบกับความไม่คงทนของนาฬิกาที่ประสบปัญหาชำรุด<br />

และขัดข้องเป็นประจำ กอปรกับการแพร่หลายของนาฬิกาพกที่มีมากขึ้น<br />

รวมทั้ง มีวิทยุกระจายเสียงที่บอกเวลา สามารถรับฟังได้ทุกที่ จึงมีแนว<br />

ความคิดที่จะปรับปรุงอาคารชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ (บริเวณห้องทหาร<br />

ยามรักษาเหตุการณ์) ขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์<br />

ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้มีการปรับแต่งหอคอยจากเดิมทรงเหลี่ยมให้มี<br />

ลักษณะเป็นทรงกระบอกและมีกันสาดในชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ทำให้<br />

สามารถตรวจการณ์ได้ทั้งสองชั้นและติดตั ้งลำโพงเพื่อกระจายเสียง<br />

ต่อสาธารณชนได้<br />

เนื่องจากในยุคต่อมา ทางราชการมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณ<br />

หอกลอง (บริเวณสวนเจ้าเชตุ) เพื่อขยายถนนสนามไชย และหมดความ<br />

จำเป็นที่จะต้องใช้การตีกลองบอกสัญญาณของกลอง ๓ ใบ คือ<br />

๑. กลองย่ำพระสุรีย์ศรี<br />

๒. กลองอัคคีพินาศ<br />

๓. กลองพิฆาตไพรี<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้นำกลองทั้งสามใบมาเก็บรักษาบริเวณชั้น ๔ ของอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ก่อนย้ายไปตั้งที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในที่สุด<br />

ต่อมา ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๐ อาคารศาลาว่าการกลาโหมเกิดรอย<br />

แตกร้าว เนื่องเพราะการสร้างหอคอยชั้นที่ ๔ และชั้นที่ ๕ ในอดีต ทำให้<br />

อาคารชั้นล่างต้องรับน้ำหนักมากและมีการรั่วซึมของน้ำที่เกิดจากฝน<br />

ซัดสาดเป็นประจำ เมื่อมีการก่อสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ประกอบกับเกิดความทรุดโทรมของหอคอย จึงได้รื้อถอนหอคอยออก<br />

และปรับให้คงเหลือเพียง ๓ ชั้น กับมุงหลังคาชั้นสามปิดทั ้งหมดในทรง<br />

ปั้นหยา จึงทำให้ไม่มีหอคอยมาจนถึงปัจจุบัน<br />

48


เรื่องเล่าที่ ๒๘<br />

กิจการทหารและที่ตั้งหน่วยก่อนโรงทหารหน้า<br />

ในอดีตเคยมีผู้สงสัยในเรื่องกิจการทหารและที่ตั้งหน่วยทหาร<br />

ในยุคก่อนการปฏิรูประบบราชการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ ในการนี้<br />

นายพลเอก สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยา<br />

ดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้ทรงอธิบายไว้ในเรื่อง<br />

ประวัติกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยสำนักงานมหาดไทย ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง<br />

กับกระทรวงกลาโหมในอดีตไว้อย่างชัดเจน ว่า<br />

“...ศาลาที่ทำงานของกลาโหมและพลเรือน ที่เรียกว่า “ศาลาลูกขุน”<br />

นั้น แต่เดิมมี ๓ หลัง ตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา หลังหนึ่งอยู่นอก<br />

พระราชวังเป็นสถานที่สำหรับประชุมทางราชการฝ่ายตุลาการชั้นสูง* ศาลา<br />

ลูกขุนอีก ๒ หลัง อยู่ในพระบรมมหาราชวัง จึงเป็นเหตุให้เรียกตรงกันว่า<br />

“ศาลาลูกขุนนอก” และ “ศาลาลูกขุนใน”<br />

ศาลาลูกขุนในเป็นสถานที ่สำหรับประชุมทางราชการชั้นสูงฝ่าย<br />

ธุรการ ซึ่งหลังนี้อยู่ทางด้านซ้ายสำหรับประชุมทางราชการพลเรือนอยู่<br />

ในปกครองของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และอีกหลังหนึ่งอยู่ข้างขวา<br />

สำหรับประชุมข้าราชการทหาร อยู่ในการปกครองของเสนาบดีกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นหัวหน้าข้าราชการทหารเช่นกัน<br />

หน้าที่ฝ่ายธุรการของมหาดไทยและกลาโหมแบ่งออกเป็น ๓ แผนก<br />

คือ<br />

แผนกที่ ๑ คือ หน้าที่อัครมหาเสนาบดีที่ต้องสั่งการงานต่างๆ<br />

แก่กรมอื่นๆ ให้ทำ<br />

แผนกที่ ๒ คือ การบังคับบัญชาหัวเมือง (กลาโหมมีหัวเมืองฝ่ายใต้<br />

อยู่ในปกครอง ๑๖ หัวเมือง)<br />

แผนกที่ ๓ คือ ฝ่ายตุลาการ (มีขุนศาลตุลาการและเรือนจำ)<br />

อนึ่ง งานฝ่ายธุรการของกรมพระกลาโหมหรือกระทรวงกลาโหม<br />

มีปลัดทูลฉลอง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ และมีปลัดบาญชีและ<br />

เสมียนตราเป็นเจ้าหน้าที่ประจำฝ่ายธุรการ–สารบรรณ<br />

สรุปสถานที่ว่าราชการกิจการทหารในสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ ณ ศาลาลูกขุนในฝ่ายขวาในพระบรมมหาราช<br />

วังชั้นนอก มีข้าราชการกรมพระกลาโหมประจำอยู่ ณ ศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ฉลองพระองค์ในเครื่องแบบทหารชุดเต็มยศ<br />

ศาลาลูกขุน<br />

บริเวณศาลาลูกขุนนอก<br />

ศาลาลูกขุนใน<br />

ได้รับเงินเดือนเช่นเดียวกับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวง<br />

มหาดไทย ส่วนข้าราชการที่ทำงานอยู่ที่บ้านสมุหพระกลาโหมหรือเสนาบดี<br />

คงได้ค่าธรรมเนียมเป็นผลประโยชน์ตอบแทนมิใช่เงินเดือน...”<br />

* หมายเหตุ<br />

ศาลาลูกขุนนอก คือ ศาลหลวง ต่อมาสร้างเป็นศาลสถิตยุติธรรม บริเวณใกล้<br />

ศาลหลักเมือง และได้รื้อถอนเพื่อสร้างสำนักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรม ปัจจุบัน<br />

อยู่ริมถนนราชดำเนินใน ฝั่งตรงข้ามท้องสนามหลวง (ค้นคว้าโดย พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

ผู้เขียน)<br />

49


เรื่องเล่าที่ ๒๙<br />

เสด็จพระราชดําเนินเปิดโรงทหารหน้า<br />

ภาพอาคารโรงทหารหน้า กำแพงพระบรมมหาราชวัง และถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง<br />

ถ่ายจากมุขกลางของอาคาร ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๙ – ๒๔๓๑<br />

(ในภาพยังปรากฏหอกลองประจำพระนครและหอนาฬิกาพระที่นั่งภูวดลทัศไนย)<br />

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา เป็นวันที่พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญ<br />

พระราชกรณียกิจเป็นปฐมฤกษ์ในการเปิดโรงทหารหน้า และตาม<br />

มหาพิชัยฤกษ์ โดยทรงประทับรถพระที่นั่งทอดพระเนตรอาคารใหม่<br />

และชมการประลองยุทธ์ของทหารพร้อมพระราชทานนามอาคารว่า<br />

โรงทหารหน้า เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่มวลหมู่ทหาร ทำให้ทหารไทย<br />

มีที่ทำการใหม่ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งปรากฏข้อความของเหตุการณ์ในหนังสือ<br />

กลาโหมคำฉันท์ ดังนี้<br />

วสันตดิลก ฉันท์ ๑๔<br />

• กำหนดดิถีสถปนา<br />

มุลาฤกษ์ ณ แยบคาย<br />

ศุกร์แรมเอกทศกลาย<br />

กรกเดือนนษัตรวอก<br />

• ร้อยสามรตนโกสินทร์ศก เมฆะปกรวีออก<br />

ฤกษ์มหาพิชยนอก<br />

ห้าโมงเช้าเสด็จจร<br />

• ผูกพระคาถสมณเจ้า<br />

สถิตย์เข้ามุขบวร<br />

เกิดศิริเหล่าพหลอมร<br />

มังคลจ่อบรรลุ<br />

• วิเชตวา พลตา ภูปํ - รฏเฐ สาเธตุ -<br />

วุฑฺฒิโย เกิด ตบะมธุ -<br />

ระก่อชัยยะตำนาน<br />

• นัย พระมหากษัตริยเจ้า อีกทั้งเหล่าทวยทหาร<br />

จงมีชยะตลอดทิวกาล<br />

ประสบผลยังแดนดิน<br />

• ตั้งนามะโรงทหารหน้า แผ่พระเดชะทั่วถิ่น<br />

ไว้เคียงคู่รัตนโกสิน- ทรกรุงจรุงเรือง<br />

• พรั่งพร้อมศิลปะโรมนยล วรรณะล้นผกายเหลือง<br />

ยามพิศก็งามระยับประเทือง<br />

ดุจพิมานเมืองแมน<br />

• อาคารตริชั้นพิศสง่า ทวิทวาร์อร่ามแสน<br />

ปั้นรูปคชสีหประทับแทน ก็ตระหง่านพินิศมอง<br />

• ผันพักตร์ประจิมทิศะสล้าง มุขกลางตริชั้นปอง<br />

ชั้นบนประดับสรรพวุธครอง ทวิชั้นประชุมงาน<br />

• ล่างฝึกประลองอาวุธะทแกล้ว พิศะแววทหารหาญ<br />

ฝึกตระเตรียมนครภิบาล<br />

ชวชาญระวังภัย<br />

• อีกทิศอุดรพลประจักษ์ คณะพักพิง์อาศัย<br />

โยธาแลอัศวพะพิงไพ-<br />

บุละกันลุวันคืน<br />

• ทักษิณจุสัมภระทหาร ยุท์ธภารบ่ต้องฝืน<br />

สุดตึกก่อหอนฬิกะยืน เบญจชั้นตระหง่านพราว<br />

• บูร์พาสระใสไพร่พลอาบ ก่อขนาบปะฉางข้าว<br />

โรงครัวผลิตภัตรคาว<br />

อุปภัมภบำรูง<br />

• สามด้านก่อรั้วรมยรื่น เวฬุยืนผลิต้นสูง<br />

สีสุกสะพรึบพฤกษพรรณปรูง มนรมณ์สิเพลิดเพลิน<br />

• เบิกฤกษ์ปฐมบรมบพิตร พระสถิตแลดำเนิน<br />

ไพร่พลประลองยุทธเผชิญ<br />

พระหทัย ธ ยินดี ฯ<br />

50


เรื่องเล่าที่ ๓๐<br />

ศาลายุทธนาธิการ<br />

บันทึกของทางราชการทหารในอดีต ได้เคยมีการบันทึกไว้ใน<br />

หัวหนังสือราชการระบุที่ตั้งหน่วยทหารบนมุมขวาของหนังสือว่า ศาลา<br />

ยุทธนาธิการในยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะศาลายุทธนาธิการ มีบทบาทที่เกี่ยวกับ<br />

กิจการทหาร โดยเป็นที่ทำการของกรมยุทธนาธิการ กระทรวงยุทธนาธิการ<br />

ก่อนเปลี่ยนมาเป็นศาลาว่าการกลาโหม<br />

ภายหลังจากวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ จากที่พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้โรงทหารหน้าเป็น<br />

สถานที่ทำการของกรมยุทธนาธิการ ในการนี้โปรดเกล้าฯ ให้ขนานนาม<br />

ใหม่ว่า ศาลายุทธนาธิการ นั้นปรากฏว่ามีการบันทึกกิจกรรมของศาลา<br />

ยุทธนาธิการไว้ดังนี้<br />

๑. พิธีถือนํ้ำพิพัฒน์สัตยา วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าทหาร<br />

ในสังกัดกรมยุทธนาธิการ กระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ ศาลายุทธนาธิการ<br />

๒. พระราชพิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว โดยศาลายุทธนาธิการถือเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบ<br />

พระราชพิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่<br />

๕ ธันวาคม ๒๔๓๖ มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“นับแต่ทรงรับบรมราชาภิเษก นับทางจันทรคติได้ ๒๕ <strong>ปี</strong>บริบูรณ์<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีรัชดาภิเษก ณ<br />

พระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันที่ ๑ - ๘ ธันวาคม ๒๔๓๖ โดยจัดรูปแบบ<br />

พระราชพิธีทำนองเดียวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือ มีวันตั้งน้ำ<br />

วงด้าย (สายสิญจน์รอบมณฑลพระราชพิธี) เจริญพระพุทธมนต์ ๓ วัน<br />

สรงพระมูรธาภิเษก ประทับพระที่นั่งอัฐทิศ รับน้ำอภิเษก ประทับพระที่นั่ง<br />

ภัทรบิฐ พราหมณ์อ่านมนต์เปิดประตูไกรลาส ไม่มีการถวายพระสุพรรณบัฏ<br />

และเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์แล้วเสด็จออกรับคณะทูตานุทูตถวายชัยมงคล<br />

ทรงตั้งพระราชาคณะ ๓ รูปเป็นมงคลฤกษ์ คณะสงฆ์สวดถวายชัยมงคล ณ<br />

พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จออกให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลี<br />

พระบาทถวายชัยมงคล มีพระธรรมเทศนา ๕ กัณฑ์ เจ้าพนักงานตั้งบายศรี<br />

เวียนเทียนสมโภชพระราชมณเฑียร ๓ วัน และเสด็จพระราชดำเนินศาลา<br />

ภาพทหารกรมยุทธนาธิการรอรับผู้บังคับบัญชาในโรงทหารหน้า<br />

ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๒<br />

ภาพการเตรียมการรับเสด็จในพิธีถวายพระคทาแด่<br />

จอมพล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ยุทธนาธิการ ให้ทหารบก ทหารเรือ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายตัว”<br />

๓. พิธีถวายพระคทาจอมพลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว โดยกรมทหารบก ซึ่งจัดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๖ มีการ<br />

บันทึกไว้ว่า<br />

“ผู้บัญชาการกรมทหาร พร้อมด้วยข้าราชการในกรมยุทธนาธิการ<br />

เตรียมรับการตรวจแถว จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ณ สนามหญ้าภายในศาลายุทธนาธิการ ภายหลังที่กรมทหารบก ทูลเกล้าฯ<br />

ถวายพระคทาจอมพล”<br />

๔. พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่<br />

หน่วยทหาร เมื่อ <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๕๑ มีการบันทึกไว้ว่า<br />

“ซึ่งผืนธงมีรูปลักษณะเป็นสีแดง ตรงกลางปักเป็นรูปช้าง และ<br />

ในปัจจุบันนี้ ธงชัยเฉลิมพลผืนนี้ ไม่สามารถหาหลักฐานพบว่าเก็บไว้ ณ สถาน<br />

ที่ราชการใด โดยหลักฐานการได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล ได้แก่ คำสั่ง<br />

51


ศาลายุทธนาธิการ ที่ ๑๘๑/๑๓๒๑๗ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๗ และ<br />

คำสั่งศาลายุทธนาธิการที่ ๑๘๖/๑๓๓๙๒ ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๗”<br />

๕. งานเฉลิมพระเกียรติ ศาลายุทธนาธิการได้เคยใช้ประโยชน์<br />

ในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เพราะมีการบันทึกไว้ว่า ได้จัดการแสดงบรรเลงเพลงถวายพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๐ ถึง ๒ ครั้ง กล่าวคือ<br />

๕.๑ ครั้งที่หนึ่ง การบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับที่<br />

เป็นผลงานของ นายปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์<br />

ชาวรัสเซีย เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๑ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม<br />

พระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้บรรเลงครั้งแรก<br />

ที่ ศาลายุทธนาธิการ วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๓๑ (วันจันทร์เดือน ๑๐<br />

แรม ๔ ค่ำ <strong>ปี</strong>ชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐) โดยมีเนื้อเพลงสรรเสริญ<br />

พระบารมี ชุดแรกที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นดังนี้<br />

ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าวิริยพลพลา<br />

สบสมัยกา-<br />

ละปิติกมล<br />

ร่วมมนจำเรียงพรรค์ สรรดุริยพล<br />

สฤษดิมณฑล<br />

ทำสดุดีแด่นฤบาล<br />

ผลพระคุณะรักษา พลนิกายะศุขสานต์<br />

ขอบันดาล พระประสงค์ใด จงสฤษดิดัง<br />

หวังวรหฤทัย ดุจถวายไชย ฉะนี้ฯ<br />

๕.๒ ครั้งที่สอง การบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ในวันที่<br />

๒๔ กันยายน ๒๔๓๑ (วันจันทร์เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ <strong>ปี</strong>ชวด สัมฤทธิศก<br />

จุลศักราช ๑๒๕๐) ณ ศาลายุทธนาธิการ โดยครั้งนี้เป็นการบรรเลงเพลง<br />

ซึ่ง นายพลตรี เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศในขณะนั้น)<br />

ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานใหญ่ใช้จ่าย<br />

กรมยุทธนาธิการ โดยเนื้อเพลงขึ้นต้นมีเนื้อความว่า “บรรยายความตามไท้<br />

เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสณฑ์” และต่อมาจึงเรียกชื่อเพลงนี้ว่า<br />

เขมรไทรโยค จนเป็นชื่อที่แพร่หลายไปในที่สุด<br />

๖. ที่ทําการของกระทรวงยุทธนาธิการ ต่อมาเมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๓<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ และให้ตั้งกองบัญชาการที่ศาลายุทธนาธิการ<br />

๗. ที่ทําการของกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗<br />

ภาพโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี<br />

พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

ภาพคณะแตรฝรั่งบรรเลงเพลงเขมรไทรโยค<br />

ภาพโน้ตเพลงเขมรไทรโยค<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้กระทรวงกลาโหมย้ายสถานที่ทำการจากศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา<br />

ในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก มาอยู่ที่ตึกกลางของศาลายุทธนาธิการ<br />

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ทำการของ<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อมาเป็นกระทรวงกลาโหม ทำให้<br />

ศาลายุทธนาธิการเปลี่ยนชื่อมาเป็นศาลาว่าการกลาโหม ตราบจนปัจจุบัน<br />

52


เรื่องเล่าที่ ๓๑<br />

ประตูใหญ่หน้าโรงทหารหน้า<br />

ประตูใหญ่หน้าโรงทหารหน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ปัจจุบัน<br />

ใช้เป็นประตูเข้าและออกของอาคาร ทำขึ้นในลักษณะรูปเกือกม้าที่มีขนาด<br />

ใหญ่ กำหนดประตูเข้าอยู่ทางทิศใต้ใกล้กระทรวงการต่างประเทศ ด้านถนน<br />

กัลยาณไมตรี สำหรับประตูทางออก คือประตูทิศเหนือใกล้กับศาลหลักเมือง<br />

ด้านถนนหลักเมือง โดยทั้งสองประตูใหญ่มีการประดับด้วยมีรูปปูนปั้น<br />

รวม ๒ แบบ กล่าวคือ<br />

๑. รูปปั้นนูนต่ำเป็นรูปหน้านายทหาร เป็นรูปหน้าทหารสวมหมวก<br />

ยอด ด้านบนบริเวณกึ่งกลางประตู ทั้งนี้ จากการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ<br />

แล้วไม่พบว่าเป็นใบหน้าของท่านใด แต่เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างกับ<br />

องค์ประกอบของใบหน้าของรูปปูนปั้นทั้งสองรูป ทำให้สันนิษฐานได้ว่า<br />

๑.๑ รูปปูนปั้นหน้านายทหารด้านประตูทิศใต้ คือ จอมพล<br />

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา<br />

ภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

๑.๒ รูปปูนปั้นหน้านายทหารด้านประตูทิศเหนือ คือ จอมพล<br />

และมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)<br />

๒. รูปปูนปั้นนูนสูงเป็นเศียรองค์คชสีห์ ขนาบทั้ง ๒ ข้าง ด้านซ้าย<br />

และขวา ทั้งนี้ ประดับไว้เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยทหาร<br />

และที่ทำการของสมุหพระกลาโหม<br />

โดยปกติ การปั้นรูปใบหน้าที่ประดับขอบโค้งบนสุดของประตู<br />

หรือขอบหน้าต่างนั้น ส่วนใหญ่แล้วในยุโรปจะปั้นเป็นรูปหน้าเทพเจ้า<br />

หรือหน้าเทพี ตามความเชื่อในเทพนิยายปกรณัม ซึ่งบางแห่งอาจปั้นเป็น<br />

หน้าสุภาพสตรีเพื่อความสวยงามของอาคาร ซึ่งมีอาคารที่อยู่ใกล้ศาลา<br />

ว่าการกลาโหมคือ อาคารมิวเซียมสยาม ก็มีการปั้นรูปหน้าสุภาพสตรี<br />

โดยช่างชาวต่างชาติที่รับพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ปั้นประดับไว้บนส่วนโค้งบนของขอบหน้าต่าง<br />

ชั้นสองทุกบาน<br />

ต่อมา ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๕ มีการต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ทางทิศตะวันออกขึ้นใหม่ จึงได้ทำการจำลองประตูใหญ่ไปสร้างด้านทิศ<br />

ตะวันออกด้านใต้ ใกล้สะพานช้างโรงสีอีกหนึ่งประตู<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๗ ได้มีการอัญเชิญตราแผ่นดินรูปอาร์ม (ซึ่งพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น)<br />

มาประดิษฐานบริเวณเหนือประตูใหญ่ทั้ง ๒ บาน ตรงช่วงรูปโค้งของแผ่นไม้<br />

โดยดำเนินการตามดำริของ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

53


เรื่องเล่าที่ ๓๒<br />

สัญลักษณ์ปูนปั้นประดับชั้นบนของอาคารโรงทหารหน้า<br />

แผ่นปูนและยอดแหลมบริเวณขอบหลังคาใกล้กับบริเวณหน้าจั่วของ<br />

มุขกลางโรงทหารหน้า ที่ท่านเห็นอยู่ในปัจจุบัน เรียกว่า บราลี หรือ ปั้นลม<br />

เพื่อประดับอาคารทรงยุโรปที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมโบซารส์ (Beaux Arts)<br />

หรือเรียกว่า Beaux-Arts style ซึ่งเป็นวิถีทางทำให้เกิดจิตวิญญาณใหม่<br />

ภายในขนบธรรมเนียมที่หรูหรามากกว่าการจัดของความคิดที่เป็นจุดส ำคัญ<br />

ของศิลปะ โดยเพิ่มเติมที่งานปั้น ประติมากรรม แกะสลักผนัง หรืองาน<br />

ศิลปะอื่นๆ สำหรับก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของอาคารและลักษณะเด่น คือ<br />

การตกแต่งประดับประดาที่มากมายด้วยองค์ประกอบคลาสสิกจากยุคต่างๆ<br />

นำมาผสมผสานกันอย่างซับซ้อน อาทิ ลวดบัว หัวเสา ปูนปั้น และการ<br />

ทำผนังชั้นล่างเลียนแบบการก่อหิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของงานศิลปะ<br />

ที่ประดับประดาอยู่ในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

สำหรับแผ่นปูนและยอดแหลม ที่ประดับอยู่ด้านหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมบริเวณขอบระเบียงชั้น ๓ ของอาคาร บริเวณเหนือประตูทางเข้า<br />

และทางออกไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน จึงมีข้อสันนิษฐาน ดังนี้<br />

๑. บราลียอดแหลมปูนปั้น ลักษณะเป็นกรวยทรงสูงบนแท่นกลม<br />

คาดว่าน่าจะเป็นการนำเสนอในลักษณะของภาชนะทรงสูงสำหรับใช้<br />

ครอบของสูง ซึ่งปกติมีการใช้ผ้าตาดทำเป็นรูปกรวยครอบมงกุฎหรือชฎา<br />

เพื่อใช้ป้องกันความเสียหายและฝุ่นละอองที่จะเข้าไปสร้างความเสียหาย<br />

ภายใน ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ว่าทหาร คือผู้อาสาปกป้องราชบัลลังก์<br />

สำหรับอีกแนวคิดหนึ่งคาดว่าเป็นการนำเอาตราสัญลักษณ์คชสีห์<br />

ที่อยู่ในกล่องอับหมึกและมีฝาครอบมาเป็นต้นแบบในการจัดทำบราลีนี้<br />

อย่างไรก็ตาม บราลีปูนปั้นลักษณะเช่นนี้ก็มีการสร้างในอาคารของยุโรป<br />

หลายแห่ง และมีอาคารที่ประดับบราลีใกล้เคียงกับทรงนี้คือ อาคารธนาคาร<br />

ไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี<br />

๒. ปั้นลมปูนปั้นเป็นแผ่นรูปทหาร ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />

หากสังเกตให้ดีจะเป็นรูปทหารสวมเสื้อคลุมแบบทหารยุโรปคาดกระบี่<br />

พาดด้านหน้า และบริเวณหลังกับไหล่ปั้นเป็นรูปธงพลิ้วข้างละ ๒ ผืน<br />

ทำให้นึกถึง เสี้ยวกาง (ทวารบาล ที่วาดอยู่บริเวณประตูวัดต่างๆ ซึ่งมีความ<br />

เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ป้องกันภัยร้ายที่เข้ามาสู่ภายในวัด) จึงมีความเป็น<br />

ไปได้ว่ามีการสร้างทวารบาลขึ้นเพื่อปกป้องสิ่งไม่ดีที่จะเข้ามาสู่ศาลาว่าการ<br />

กลาโหม แต่เนื่องจากเป็นอาคารทรงยุโรป เมื่อเป็นเช่นนี้ ทวารบาลจึง<br />

ปั้นเป็นรูปทหารยุโรป นับว่าเป็นจินตนาการทางศิลปะตะวันตกกับความ<br />

เชื่อทางตะวันออกที่ผสมผสานออกมาได้อย่างลงตัว อย่างไรก็ตาม ปั้นลม<br />

ลักษณะเช่นนี้มีการสร้างที่เหนือพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ในพระราชวัง<br />

บางปะอิน ซึ่งถึงแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่เป็นศิลปะในยุคเดียวกันและ<br />

น่าจะมีคติความคิดที่คล้ายกัน นอกจากนี้ เมื่อมีการต่อเติมอาคารศาลา<br />

ว่าการกลาโหมทางทิศตะวันออก ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๕ ได้มีการจำลองปั้นลม<br />

ปูนปั้นเป็นแผ่นรูปทหารประดับเหนืออาคารบริเวณระเบียงชั้นสามอีกด้วย<br />

จากการศึกษาภาพในอดีตทำให้ทราบว่าโรงทหารหน้าก่อน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๔๘๙ เคยปรากฏบราลียอดแหลมปูนปั้นขนาดใหญ่มีทรวดทรงคล้าย<br />

แจกันตั้งประดับที่เหนือประตูใหญ่ด้านหน้าโรงทหารหน้าทั้ง ๒ ประตู<br />

แต่ในปัจจุบันไม่มีอยู่คงปรากฏในภาพของโรงทหารหน้าในอดีตเท่านั้น<br />

54


เรื่องเล่าที่ ๓๓<br />

ภูมิทัศน์หน้าโรงทหารหน้าและศาลาว่าการกลาโหม<br />

โรงทหารหน้าได้มีการปรับภูมิทัศน์ด้านหน้าอาคารเพื่อความ<br />

เหมาะสมกับการใช้งานและมีหลักคิดที่แตกต่างกันไปรวมแล้วถึง ๔ รัชสมัย<br />

ซึ่งมีสาระสำคัญ กล่าวคือ<br />

๑. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑.๑ จัดสร้างสัญลักษณ์ประจำโรงทหารหน้า ซึ่งเป็น<br />

ประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำตราแผ่นดินและพระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว)<br />

พร้อมคาถาบาลีประดิษฐานที่หน้าจั่วอาคารมุขกลางที่สื่อความหมายถึง<br />

พระบรมเดชานุภาพองค์จอมทัพไทยที่ทรงพระราชทานกำเนิดสถานที่<br />

แห่งนี้ให้เป็นอาคารพระราชมรดกทางการทหารเพื่อความเจริญและความ<br />

มั่นคงแห่งชาติสืบต่อไปในอนาคต<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ<br />

๑.๒ จัดสร้างรูปปูนปั้นหน้าซุ้มประตูทางเข้า - ออก โดยการปั ้น<br />

ในลักษณะปูนปั้นนูนต่ำเป็นรูปหน้าทหารสวมหมวกแบบยุโรป และ<br />

รูปปูนปั้นนูนสูงในส่วนหน้าองค์คชสีห์ ๒ องค์ ขนาบข้างอยู่เหนือซุ้มประตู<br />

ทางเข้า - ออก ด้านถนนสนามไชย<br />

๒. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการ ดังนี้<br />

๒.๑ อัญเชิญโคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสสติเหนือซุ้มประตู<br />

ทางเข้า - ออก เพื่อให้กำลังพลอ่านให้ขึ้นใจ ซึ่งเป็นการปลุกจิตสำนึก<br />

ความรักชาติเมื่อครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑<br />

๒.๒ จัดทำพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ โดยพิจารณาจัดทำ<br />

ตามรูปแบบที่มีการจัดวางปืนใหญ่โบราณ ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบก<br />

แซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst Military Academy) ประเทศอังกฤษ โดยจัด<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ<br />

ภูมิทัศน์ครั้งแรกใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๐ หลังจากนั้นปรับปรุงการจัดวางปืนใหญ่<br />

อีก ๑ ครั้ง ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๔<br />

๒.๓ ฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ โดยฝังปากกระบอกปืนใหญ่<br />

บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าและออก ข้างละ ๒ กระบอก รวมจำนวน<br />

๔ กระบอก (ในเวลาต่อมา ได้ใช้แนวคิดนี้ไปดำเนินการบริเวณภูมิทัศน์<br />

รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย)<br />

55


๒.๔ จัดสร้างศาลาทรงกลมประกอบภายในสนามด้านหน้า โดย<br />

การสร้างศาลาทรงกลมภายในลักษณะโปร่งมีเสาข้างใน ๘ เสา โดยให้เป็นที่<br />

ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่งหรือวงโยธวาทิต (Military Band) ซึ่งลักษณะ<br />

เช่นเดียวกันนี้ ได้จัดทำที่พระราชวังสราญรมย์ โดยสร้างเป็นศาลา ๘ เหลี่ยม<br />

ใช้สำหรับเป็นที่ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่ง และในระหว่างที่ซ้อมเพลงนั้น<br />

มักจะมีประชาชนมาร่วมฟังการซ้อมเพลงเป็นประจำ<br />

๓. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยการ<br />

ปรับปรุงตามนโยบายรัฐบาลในสมัยนั้น ดังนี้<br />

๓.๑ ต่อเติมมุขหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม พร้อมกับ<br />

อัญเชิญโคลงสยามานุสสติ มาประดิษฐานด้านหน้าของมุขที่ต่อเติม<br />

๓.๒ ปรับปรุงจัดวางปืนใหญ่ไทยโบราณ ระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๑ -<br />

๒๔๘๓ เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยคงรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่<br />

โบราณกลางแจ้ง<br />

๔. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในวาระต่างๆ<br />

มีนโยบายให้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม ดังนี้<br />

๔.๑ จัดสร้างเสาธงชาติเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ๒๕<br />

พุทธศตวรรษ<br />

๔.๒ ปรับปรุงการจัดวางปืนใหญ่ไทยโบราณ เพื่อความเหมาะสม<br />

และสนับสนุนการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ โดยมีการปรับปรุงการ<br />

จัดวางรวม ๓ ครั้ง กล่าวคือ <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๗, พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๓๙<br />

และ พ.ศ.๒๕๔๗ ตามลำดับ โดยมีการจัดวางปืนใหญ่ในปัจจุบันทั้งสิ้น<br />

๔๐ กระบอก<br />

๔.๓ จัดสร้างและจัดวางรูปหล่อโลหะลอยองค์พระยาคชสีห์<br />

โดยจัดสร้างเป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์พญาคชสีห์ ๒ องค์ คือ พญาคชสีห์<br />

ราชเสนีพิทักษ์ และพญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์ บริเวณด้านหน้าประตู<br />

ทางเข้า - ออก ทิศเหนือและทิศใต้ตามลำดับ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง<br />

การสถาปนากระทรวงกลาโหม ครบรอบ ๑๒๐ <strong>ปี</strong> โดยดำเนินการตามดำริ<br />

ของ พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๔.๔ ปรับปรุงเสาธงชาติหน้าศาลาว่าการกลาโหม ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.<br />

๒๕๕๖ เพื่อให้เกิดความทันสมัย สวยงาม และโดดเด่น บ่งบอกถึงความ<br />

สง่างามของศาลาว่าการกลาโหม โดยดำเนินการตามดำริของ พลเอก<br />

ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล<br />

ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ<br />

56


เรื่องเล่าที่ ๓๔<br />

การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ<br />

แนวความคิดการฝังปากกระบอกปืนโบราณ ทำขึ้นเพื่อเป็นการ<br />

แสดงออกถึงเขตแนว (หลักเขต) และเพื่อความมั่นคงของสถานที่ ซึ่งปืนที่<br />

นิยมใช้ฝังเป็นหลักเขตคือ ปืนคาร์โรเน็ต โดยมีสาระสำคัญในการดำเนินการ<br />

ดังนี้<br />

๑. ปืนคาร์โรเน็ต เป็นปืนใหญ่โบราณที่บรรจุกระสุนจาก<br />

ปากลำกล้อง ไม่มีเกลียวในลำกล้องหล่อขึ้นใช้ครั้งแรกราว<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๑๙ (ค.ศ.<br />

๑๗๗๖ สมัยกรุงธนบุรี โดย บริษัท Iron Company of Carron Company<br />

ตั้งอยู่ที่เมือง Stirlingshire ประเทศสก๊อตแลนด์ โดยลักษณะของปืน ได้รับ<br />

การออกแบบระหว่างหลักนิยมของปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิดเข้าไว้<br />

ด้วยกัน ไม่มีเพลาข้าง แต่มีเพลาเป็นแท่งติดใต้ลำกล้องทำให้สามารถยิง<br />

ลูกกระสุนขนาดใหญ่ได้ จึงนิยมน ำไปติดตั้งบนเรือรบมีอานุภาพการปราบปราม<br />

ในระยะประชิด ทั้งนี้ เริ่มมีการสั่งซื้อเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับปืน<br />

บะเรียม (ปืนบะเหรียม หรือ ปืนใหญ่ทหารราบ ท้ายปืนมีรูปมน<br />

ปากกระบอกเรียวและแคบ) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและ<br />

ต้นกรุงรัตนโกสินทร์<br />

๒. การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณในยุคแรก สันนิษฐานว่า<br />

มีการจัดตั้งปืนคาร์โรเน็ต บริเวณหน้าประตูเข้าและออกโรงทหารหน้า<br />

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒ พระองค์ กล่าวคือ<br />

๒.๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจาก<br />

ศาลาว่าการกลาโหมเป็นสถานที่ราชการแห่งแรกที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดตั้งขึ้นเช่นเดียวกับการฝังปืนใหญ่หุ้มปากกระบอกปืนลงดินและ<br />

ทับท้ายด้วยกระบอกปืนขึ้นชี้ฟ้า ซึ่งจัดทำที่บริเวณถนนด้านหน้าศาลา<br />

สหทัยสมาคม และถนนภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณประตูวิเศษไชยศรี<br />

๒.๒ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจาก<br />

พระองค์ทรงพระราชทานปืนใหญ่โบราณให้แก่กระทรวงกลาโหม และทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ระหว่าง <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๖๒ และทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้นำปืนใหญ่คาร์โรเน็ต มาตั้งไว้ที่บริเวณประตูทางเข้าและออก<br />

การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณบริเวณหน้าประตูเข้าและออกโรงทหารหน้า<br />

การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณบริเวณศาลเจ้าพ่อหอกลองในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เนื่องเพราะ พระองค์ทรงมีพระราชนิยมปืนใหญ่<br />

และเคยทอดพระเนตรการจัดตั้งปืนใหญ่ในยุโรป โดยมีลักษณะการจัดวาง<br />

ในพื้นที่บริเวณหน้าประตูเข้าและออกศาลาทำการกลาโหม ด้วยการหันปาก<br />

กระบอกปืนลงดินและหันท้ายปืนขึ้นสู่ฟ้า<br />

57


โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่<br />

๓. การฝังปากกระบอกปืนใหญ่โบราณในยุคปัจจุบัน บริเวณ<br />

ด้านข้างหลังศาลเจ้าพ่อหอกลองภายในศาลาว่าการกลาโหม จัดตั้งใน<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

โดยนำปืนคาร์โรเน็ตที่เคยจัดวางไว้ในโรงปืนใหญ่ ในพระบรมมหาราชวัง<br />

(ขุดค้นพบเมื่อครั้งบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๕๒๕) และนำมาวางบริเวณด้านหลังศาลเจ้าพ่อหอกลอง (พระยา<br />

สีห์สุรศักดิ์) กลางสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อครั้งจัดสร้าง<br />

ศาลเจ้าพ่อกลองใหม่ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๐<br />

ทั้งนี้ การจัดวางปืนใหญ่โดยหันปากกระบอกปืนลงดินในกรุงเทพ<br />

มหานครยุคต่อมาได้จัดทำขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณถนน<br />

ราชดำเนิน ซึ่งมีแนวคิดในการสร้างตามบันทึก กล่าวคือ<br />

“...ปืนใหญ่โบราณที่ปากกระบอกปืนฝังลงดินโดยรอบอนุสาวรีย์<br />

เหมือนเป็นรั้วร้อยติดกันด้วยโซ่เหล็ก หมายถึง ความสามัคคีพร้อมเพรียง<br />

ของคณะปฏิวัติ เว้นช่องเฉพาะทางขึ้นลง มี ๗๕ กระบอก หมายถึง<br />

พ.ศ.๒๔๗๕ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง...” อย่างไรก็ตาม<br />

การวางปืนใหญ่โบราณที่มีลักษณะที่แตกต่างจากที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ก็มีขึ้นที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการวางปืนใหญ่<br />

ตั้งปากกระบอกปืนขึ้นสู่ฟ้าและนำเอาเสาธงชาติมาติดตั้งต่อยอดจาก<br />

ปากกระบอกปืน และใช้เป็นเสาธงชาติของโรงเรียน<br />

58


เรื่องเล่าที่ ๓๕<br />

บันไดทางขึ้นและลงภายในโรงทหารหน้าและศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อท่านเดินทางเข้ามาด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ท่าน<br />

สามารถมองเห็นบันไดทางขึ้นและลงหลายแห่ง เป็นการสร้างความสะดวก<br />

ในการทำงาน ทั้งนี้ เมื่อแรกสร้างมีการบันทึกว่าบันไดทางขึ้นและลงที่สร้าง<br />

ในยุคโรงทหารหน้าที่แท้จริงแล้ว มีการจัดท ำเป็นบันไดทางขึ้นและลงภายใน<br />

อาคารทั้งสี่มุม โดยจัดทำบันไดทางขึ้นและลงกับตัวอาคาร รวม ๕ จุด ดังนี้<br />

๑. บันไดทางขึ้นลงมุขกลาง โดยจัดสร้างเป็นบันไดสำหรับขึ้นและ<br />

ลงรวม ๔ แห่ง กล่าวคือ<br />

๑.๑ บันไดไม้พร้อมหลังคาและกันสาด โดยทำเป็นบันไดไม้<br />

หักมุมสำหรับเดินขึ้นชั้นสองบริเวณด้านหลังมุขกลางด้านในติดกับสนาม<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม ด้านซ้ายและขวาด้านละแห่ง รวมเป็น ๒ แห่ง<br />

ปัจจุบันสามารถมองเห็นได้บริเวณทางขึ้นลง เพื่อเดินเข้าสู่ห้องประชุม<br />

สุรศักดิ์มนตรีในชั้นที่สอง และห้องประชุมภาณุรังษี ในชั้นที่สาม ซึ่งในอดีต<br />

ทำราวระเบียงโปร่งและใช้ขึ้นลงเฉพาะผู้บังคับบัญชาชั้นสูงเท่านั้น<br />

๑.๒ บันไดปูนด้านในใกล้ประตูทางเข้าและออก ด้านซ้าย<br />

และขวาด้านละแห่งรวมเป็น ๒ แห่ง ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่ กล่าวกันว่า<br />

ในอดีตจัดทำเป็นบันไดใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ใช้เดินขึ้นลงโดยไม่ให้ไปใช้บันได<br />

ร่วมกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

๒. บันไดทางขึ้นลงบริเวณมุมอาคารด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้<br />

โดยทำเป็นบันไดไม้หักมุมสำหรับเดินขึ้นลงชั้นสองอีก ๑ แห่ง สำหรับ<br />

เดินขึ้นห้องเสนาบดี ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่แต่ขยับออกจากจุดเดิม<br />

เนื่องจากใช้พื้นที่เดิมสำหรับสร้างลิฟต์โดยสารในยุคต่อมา และยังคง<br />

ใช้สำหรับเป็นทางเดินขึ้นลงสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

สำหรับบันไดทางขึ้นลงที่ท่านเห็นนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา<br />

ทั้ง ๕ จุดนั้น เป็นบันไดทางขึ้นลงที่สร้างขึ้นใหม่ในยุคหลัง เพื่ออำนวย<br />

ความสะดวกในการปฏิบัติราชการ<br />

59


เรื่องเล่าที่ ๓๖<br />

กันสาดรอบอาคารศาลาว่าการกลาโหมชั้นล่าง<br />

ในยุคแรกของการสร้างโรงทหารหน้า ได้มีการจัดทำกันสาดขึ้น<br />

เฉพาะบริเวณเชิงบันได และขอบชั้นล่างของอาคารมุขกลาง โดยจะท ำรูปแบบ<br />

เป็นกันสาดยื่นออกมาจากอาคารในลักษณะลาดเอียงมุงด้วยกระเบื้องแผ่น<br />

รูปว่าว และเชิงชายตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลายโปร่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ<br />

และมีการกำหนดแบบดังกล่าวขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้อีกด้วย<br />

ต่อมา เมื่อมีการปรับปรุงต่อเติมผนังระเบียงของอาคารชั้นที่สอง<br />

และชั้นที่สาม โดยจัดทำผนังปิดกั้นน้ำฝนทำให้ชั้นล่างถูกน้ำฝนซัดสาดเป็น<br />

ประจำ ส่งผลถึงความเสียหายบริเวณอาคารอย่างสม่ำเสมอ จึงเกิดความคิด<br />

ที่จะทำกันสาดเพื่อป้องกันน้ำซัดสาดอาคารและยังใช้ประโยชน์เป็นหลังคา<br />

สำหรับช่องจอดรถของผู้บังคับบัญชา โดยการคัดลอกแบบกันสาดขอบ<br />

ชั้นล่างของอาคารมุขกลางซึ่งเป็นแบบยุคโบราณมาเป็นต้นแบบในการ<br />

จัดทำกันสาดรอบอาคารด้านในอาคารศาลาว่าการกลาโหม พร้อมทั้ง<br />

เชิงชายที่มีลวดลายฉลุพร้อมกันไปด้วย จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งของความ<br />

คิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาอาคารศาลาว่าการกลาโหมให้รองรับประโยชน์<br />

ใช้สอยและสอดรับกับความงดงามในรูปแบบของศิลปะโบราณอย่าง<br />

เหมาะสม และมีความกลมกลืนอย่างลงตัว ซึ่งสามารถศึกษาและชื่นชม<br />

ความสวยงามของศิลปะได้ในปัจจุบัน<br />

60


เรื่องเล่าที่ ๓๗<br />

ที่พักทหารของโรงทหารหน้าและตะรางกลาโหม<br />

ตะรางกลาโหม สถานที่ควบคุมตัวกบฏอั้งยี่ การควบคุมตัวกลุ่มกบฏเงี้ยว<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างสถานที่พักทหาร รวมทั้ง สร้างตะรางกลาโหม (เรือนจำทหาร)<br />

อย่างเป็นสัดส่วนแยกออกจากที่ทำการของกรมทหารหน้า กรมยุทธนาธิการ<br />

และกระทรวงกลาโหม ที่อยู่ภายในอาคารโรงทหารหน้าหรือศาลา<br />

ยุทธนาธิการหรืออาคารศาลาว่าการกลาโหมตามลำดับ โดยนายโจอาคิม<br />

กราซี สถาปนิกและวิศวกรชาวอิตาเลียน เป็นผู้ออกแบบ<br />

โดยการสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวจำนวน ๗ หลัง ด้านทิศตะวันออก<br />

ของศาลาว่าการกลาโหม ก่อนถึงถนนราชินี แยกเป็นเรือนนอน โรงครัว<br />

ที่ซักผ้า - อาบน้ำ ที่พักทหาร ตะรางกลาโหม และสถานที่สำหรับติดต่อ<br />

ราชการหรือให้ญาติมาพบได้ตามอัธยาศัย<br />

สำหรับตะรางกลาโหมหรือเรือนจำทหารนอกจากจะใช้ลงโทษ<br />

ทหารที่กระทำผิดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวินัยทหารแล้ว มีการบันทึกว่า<br />

ตะรางกลาโหม ได้เคยใช้ประโยชน์ในการคุมขังนักโทษความมั่นคงแห่งชาติ<br />

มาหลายครั้ง อาทิ กรณีเกิดการกบฏของอั้งยี่ในพระนคร เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๒<br />

กรณีการกบฏของเงี้ยวที่จังหวัดแพร่ เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๔๕ และ กบฏ ร.ศ.๑๓๐<br />

(พ.ศ.๒๔๕๕) หรือที่เรียกว่า กบฏเก็กเหม็ง หรือกบฏเหล็ง ศรีจันทร์ โดย<br />

คณะของกบฏนี้ได้ถูกจองจำระหว่างรอการตัดสินคดีความของศาลทหาร<br />

ก่อนถูกส่งตัวไปสู่กองมหันตโทษ (เรือนจำบางขวาง) ต่อไป<br />

ต่อมา ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๖ เนื่องจากมีความจำเป็นจะใช้พื้นที่จัดสร้าง<br />

อาคาร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จึงได้รื้อถอนอาคารที่พักทหารและ<br />

ตะรางกลาโหมดังกล่าว ทำให้มีการใช้ประโยชน์ของอาคารดังกล่าวเป็นเวลา<br />

นานถึง ๖๘ <strong>ปี</strong> (พ.ศ.๒๔๒๘ - ๒๔๙๖)<br />

การจับกุมอั้งยี่<br />

61


เรื่องเล่าที่ ๓๘<br />

โรงทหารหน้า...กองบัญชาการปราบกบฏอั้งยี่<br />

เหตุการณ์กบฏอั้งยี่ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ๒๔๓๒<br />

ซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบในพระนคร บริเวณโรงสีปล่องเหลี่ยม บางรัก<br />

ระหว่างกรรมกรชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนกับกรรมกรชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว<br />

โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งงานกันทำ ซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นที่บริเวณ<br />

ริมถนนเจริญกรุง ๒ ฝั่ง ใกล้กับวัดยานนาวา เหตุการณ์ในครั้งนั้นกระทรวง<br />

นครบาลไม่สามารถระงับเหตุได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ (พระยศในขณะนั้น) ผู้บัญชาการกรม<br />

ยุทธนาธิการเตรียมการจัดกำลังทหารเข้าปราบปรามพวกอั้งยี่และควบคุม<br />

สถานการณ์แทน<br />

โดยในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๒ ผู้บัญชาการกรมยุทธนา<br />

ธิการ จึงโปรดให้มีการใช้ตึกกลางของศาลายุทธนาธิการเป็นกองบัญชาการ<br />

ปราบอั้งยี่ โดยทูลเชิญ นายพลโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ<br />

กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการใช้จ่าย นายพลตรี<br />

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นด ำรงราชานุภาพ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก<br />

และนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน รักษาราชการแทนผู้ช่วย<br />

บัญชาการทหารเรือ มาประชุมปรึกษาการปราบอั้งยี่ครั้งนี้ ผลการประชุม<br />

สรุปว่าให้จัดกำลังทหารบกขึ้นรถรางไฟฟ้าสายหลักเมือง - ถนนตก<br />

ไปที่บริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ และจัดกำลังทหารเรือ ลงเรือล่องตามแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยาจากกรมทหารเรือขึ้นบุกด้านใต้บริเวณนี้เกิดเหตุอีกหนึ่งกองก ำลัง<br />

ในวันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๓๒ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา จึงดำเนิน<br />

การตามแผนฯ ปรากฏผลว่าทหารดำเนินการปราบอั้งยี่ดังกล่าวได้สำเร็จ<br />

และสามารถควบคุมตัวผู้ก่อความไม่สงบได้ราว ๘๐๐ คน มีจำนวนอั้งยี่<br />

เสียชีวิตราว ๑๐ คน และบาดเจ็บราว ๒๐ คน และนำตัวมาคุมขังที่ตะราง<br />

กลาโหม ก่อนส่งให้กระทรวงนครบาลนำตัวไปดำเนินการตามคดีต่อไป<br />

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่า การใช้กำลังทหารในการปราบ<br />

ปรามผู้ก่อความไม่สงบในพระนครครั้งนี้ ได้สร้างเกียรติประวัติแก่กอง<br />

กำลังทหารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ควรจารึกไว้ใน<br />

เกียรติประวัติศาลาว่าการกลาโหมให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบและศึกษา<br />

ค้นคว้าสืบต่อไปในอนาคต<br />

อั้งยี่<br />

กำลังพลกรมยุทธนาธิการบนรถรางไฟฟ้าเพื่อเข้าปฏิบัติการปราบอั้งยี่<br />

62


เรื่องเล่าที่ ๓๙<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑ ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมในภาพรวม<br />

ประชาชนชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างให้ความสนใจ<br />

ในเรื่องพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมหรือ<br />

ที่นิยมเรียกกันว่าปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม ซึ่งมีความโดดเด่นและเป็น<br />

เสมือนสัญลักษณ์ของสถานที่ หรือเป็นหลักเขต (Landmark) หรือจุดนัดหมาย<br />

ของประชาชนทั่วไป เมื่อกล่าวถึงกระทรวงกลาโหมที่มักจะมีคำพูด<br />

เสมอว่า “สถานที่ที่มีปืนใหญ่” นอกจากนี้ ยังมีคำถามเสมอถึงจำนวนและ<br />

นามปืนใหญ่โบราณ จึงขอใช้โอกาสนี้หาคำตอบต่อกรณีดังกล่าว<br />

ปัจจุบัน ปืนใหญ่โบราณที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกลาโหมมีอยู่<br />

จำนวน ๔๐ กระบอก ซึ่งปืนใหญ่โบราณทุกกระบอกได้เคยผ่านเหตุการณ์<br />

การต่อสู้เพื่อปกป้องรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติมาแล้วทั้งสิ้น โดยที่<br />

ปืนใหญ่โบราณทั้ง ๔๐ กระบอกนั้น มีชื่อปืนรวม ๓๘ กระบอก ยกเว้นปืน<br />

ใหญ่โบราณ ๒ กระบอก ที่ระบุเฉพาะ<strong>ปี</strong>ที่สร้างและหมายเลขปืน คือ P.1009<br />

1860 และ P.1010 1860 อย่างไรก็ตาม ในปืนใหญ่โบราณที่มีชื่อทั้ง ๓๘<br />

กระบอกนั้น มีชื่อเป็นภาษาไทย ๓๗ กระบอก แต่ก็มีพิเศษอยู่ ๑ กระบอก<br />

ที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ คือ SMICVEL 1625 หรืออาจสรุปได้ว่าปืนใหญ่<br />

โบราณที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกลาโหม มีชื่อภาษาไทย ๓๗ กระบอก มีชื่อ<br />

ภาษาอังกฤษ ๑ กระบอก และไม่มีชื่ออีก ๒ กระบอก<br />

สำหรับปืนใหญ่โบราณที่จัดแสดงที่สนามหญ้าหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม สามารถจำแนกตามหลักฐานที่ปรากฏมีอยู่ ออกเป็น ๕ ประเภท<br />

ดังนี้<br />

๑. ปืนใหญ่โบราณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น จำนวน ๗ กระบอก<br />

ประกอบด้วย นารายณ์สังหาร มารประไลย ไหวอรนพ พระพิรุณแสนห่า<br />

พลิกพสุธาหงาย พระอิศวรปราบจักรวาล และพระกาลผลาญโลกย์<br />

๒. ปืนใหญ่โบราณที่สร้างในต่างประเทศ จำนวน ๒๐ กระบอก<br />

ประกอบด้วย อัคนิรุท SMICVEL1625 มักกะสันแหกค่าย เหราใจร้าย<br />

มังกรใจกล้า คนธรรพแผลงฤทธิ ์ ลมประลัยกัลป พรหมมาศปราบมาร<br />

จีนสาวไส้ ไทยใหญ่เล่นหน้า ฝรั่งร้ายปืนแม่น ขอมดำดิน ยวนง่าง้าว<br />

มุงิดทลวงฟัน แมนแทงทวน นิลนนแทงแขน ไวยราพฟาดรถ มหาจักรกรด<br />

P1009 1860 และ P1010 1860<br />

๓. ปืนใหญ่โบราณที่ได้จากการไปราชการสงคราม จำนวน ๓<br />

กระบอก ประกอบด้วย พญาตานี ชะนะหงษา และปราบอังวะ<br />

๔. ปืนใหญ่ที่สร้างในประเทศไทยโดย หลวงบรรจงรจนา<br />

(J.BERENGER) เป็นผู้สร้าง (ปรากฏชื่อบนกระบอกปืน) จำนวน ๖ กระบอก<br />

ประกอบด้วย ศิลป์นารายณ์ <strong>ปี</strong>ศาจเชือดฉีกกิน ธรณีไหว ไฟมหากาล<br />

มารกระบิล และปล้องตันหักคอเสือ<br />

๕. ปืนใหญ่อื่น ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือการได้มา จำนวน<br />

๔ กระบอก ประกอบด้วย ถอนพระสุเมรุ ไตรภพพ่าย เสือร้ายเผ่นทยาน<br />

และสายอสุนีแผ้วราตรี<br />

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมได้มีการจัดทำบทบรรยายเรื่อง พิพิธภัณฑ์<br />

กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม เผยแพร่ทาง<br />

Internet ใน www.youtube.com จึงสามารถเข้าชมและศึกษาได้<br />

63


เรื่องเล่าที่ ๔๐<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๒ ประวัติและความเป็นมาของปืนใหญ่โบราณของไทย<br />

ปืนใหญ่ ๒ กระบอกที่กรุงศรีอยุธยาส่งมาเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี<br />

แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส<br />

ปืนใหญ่หรือชื่อที่เรียกในสมัยโบราณคือ สีหนาทปืนไฟ ซึ่งเป็นอาวุธ<br />

สงครามที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงในระยะไกล มีไว้ประจำกองทัพมาแต่<br />

โบราณ ปืนใหญ่ที่ใช้ทั่วไปจะมี ปืนใหญ่ประจำป้อม และปืนใหญ่สนาม<br />

ตามหลักฐานที่ปรากฏประเทศไทยมีการใช้ปืนใหญ่มาตั้งแต่ปลายสมัย<br />

สุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ปืนใหญ่ที่นำมาใช้ในกองทัพ มีทั้งปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นใช้เองและมี<br />

ทั้งที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ประเทศไทยเริ่มหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้เอง<br />

ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้หล่อ<br />

ปืนใหญ่ขึ ้นใช้ โดยโรงหล่อปืนใหญ่นั้นตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในหมู่บ้าน<br />

ฮอลันดา ว่ากันว่าปืนใหญ่ที่หล่อด้วยทองเหลืองของกรุงศรีอยุธยามีคุณภาพ<br />

ดีทัดเทียมกับปืนใหญ่ที่หล่อในยุโรป ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ส่งปืนใหญ่ที่หล่อที่กรุงศรีอยุธยาส่งเป็นเครื่องบรรณาการเพื่อเจริญ<br />

สัมพันธไมตรีแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส จำนวน ๒ กระบอก<br />

สีหนาทปืนไฟ<br />

ประเทศไทยได้มีการหล่อปืนใหญ่ใช้อย่างต่อเนื่องเพราะถือ<br />

เป็นแสนยานุภาพในการป้องกันประเทศและต่อสู้กับข้าศึก ซึ่งหล่อขึ้น<br />

ใช้ครั้งสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหลักฐาน<br />

ที่ปรากฏพบปืนใหญ่ที่ประเทศไทยหล่อขึ้นเพื่อใช้เองมีอยู่จำนวน<br />

๒๒๗ กระบอก ปืนใหญ่บางกระบอกจมน้ำหายบ้าง ถูกทำลายเมื่อครั้ง<br />

เสียกรุงศรีอยุธยาบ้าง<br />

สำหรับปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ได้มีการบันทึกและ<br />

ร้อยกรองไว้ใน กาพย์ห่อโคลงเห่ชมปืนใหญ่กระทรวงกลาโหม ในบทนำ<br />

เป็นโคลงสี่สุภาพ ที่ว่า<br />

๏ เอกราชคงคู่ฟ้า เมืองไทย มั่นเอย<br />

มีสีหนาทปืนไฟ ต่อสู้<br />

จารึกเกียรติเกริกไกร คงมั่นเคียงด้าว<br />

ขานเพื่อชนไทยรู้ ก่อเกื้อศรัทธาฯ<br />

64


เรื่องเล่าที่ ๔๑<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๓ ปืนใหญ่โบราณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น<br />

ปืนใหญ่โบราณที่มีความสำคัญ มีขนาดใหญ่ มีความสวยงามและ<br />

จัดสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างขึ้นและทรงกำกับดูแลการจัดสร้าง รวมจำนวน ๗ กระบอก<br />

ประกอบด้วย<br />

๑. นารายณ์สังหาร เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๘ ศอกคืบ ๖ นิ้ว (๔.๕๐ เมตร) แต่เส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกปืน<br />

๔๕.๕๐ เซนติเมตร โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกกว้าง ๑๓ นิ้ว (๒๙.๐๐<br />

เซนติเมตร) และความหนาของปากกระบอก ๑๖.๕๐ เซนติเมตร ขนาด<br />

กระสุน ๑๓ นิ้ว ดินปืน ๓๗ ชั่ง มีวงแหวนใหญ่สำหรับจับยก ๔ วง<br />

ท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป ทำเป็นรูปสังข์หรือ<br />

เขางอนเกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้า<br />

โรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๒๙<br />

กินรี รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่<br />

ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๐<br />

๓. พระกาลผลาญโลกย์ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๗ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๙ นิ้ว ขนาดกระสุน ๙ นิ้ว ดินปืน<br />

๘ ชั่ง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายหน้าสิงห์ประกอบกนกสวยงามมาก เพลามีรูป<br />

กินรี รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละคร<br />

ใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๐ โดยหล่อเป็นปืน<br />

คู่แฝดกับปืนพระอิศวรปราบจักรวาล<br />

๒. พระอิศวรปราบจักรวาล เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความ<br />

ยาว ๗ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๙ นิ้ว ขนาดกระสุน ๙ นิ้ว<br />

ดินปืน ๘ ชั่ง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายกนกหน้าสิงห์งดงามมาก ที่เพลามีรูป<br />

65


๔. มารประไลย เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๑๐<br />

ศอกคืบ ๑ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๘ นิ้ว ขนาดกระสุน ๘ นิ้ว ดินปืน<br />

๗ ชั่ง มีห่วงสำหรับยก ๔ ห่วง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีลวดลาย<br />

และรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก เพลามีรูปดอกไม้ รูชนวนมีฝาปิดเปิด มีรูปหนุมาน<br />

ท้ายลำกล้องทำเป็นรูปสังข์หรือเขางอน มีลวดลายกระจัง ซึ่งทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตู<br />

วิเศษไชยศรี ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๐<br />

๖. พระพิรุณแสนห่า เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๖ ศอกคืบ ๓ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๑๙ นิ้ว ขนาดกระสุน ๑๙ นิ้ว ดินปืน<br />

๒๐ ชั่ง มีลวดลายประดับมีห่วงสำหรับจับยก ๔ ห่วง มีรูปราชสีห์เผ่นผงาด<br />

ที่เพลา รูชนวนมีรูปกนกหน้าสิงห์ขบท้ายรูปลูกฟัก สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้าง โดยหล่อ ณ สวนมังคุด<br />

บริเวณโรงพยาบาลวังหลัง คือ ศิริราชพยาบาล ในพระราชพงศาวดาร<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ฉบับ<br />

ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ทรงสร้าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๒๐ ที่สร้างนั้นยังเป็นรัชกาลของสมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราช<br />

๕. ไหวอรนพ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๑๐ ศอก<br />

๙ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๘ นิ้ว ขนาดกระสุน ๘ นิ้ว ดินปืน ๘ ชั่ง ไม่มี<br />

หูจับยก มีลวดลายประดับ เพลามีรูปดอกไม้ รูชนวนธรรมดา พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด<br />

สร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ประมาณ<br />

<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๐<br />

๗. พลิกพสุธาหงาย เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๖ ศอกคืบ ๓ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๑๙ นิ้ว ขนาดกระสุน ๑๙ นิ้ว<br />

ดินปืน ๒๐ ชั่ง มีห่วงสำหรับจับยก ๔ ห่วง มีลวดลายประดับประดา<br />

เพลามีรูปคชสีห์ รูชนวนมีรูปกนก ท้ายรูปลูกฟัก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๐<br />

66


เรื่องเล่าที่ ๔๒<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๔ ปืนใหญ่โบราณที่สร้างในต่างประเทศ<br />

ปืนใหญ่โบราณที่จัดสร้างขึ้นในต่างประเทศในยุคต่างๆ ซึ่ง<br />

ประเทศไทยได้นำเข้ามาใช้ประโยชน์ในราชการสงครามและจัดแสดงที่หน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหม รวมจำนวน ๒๐ กระบอก ประกอบด้วย<br />

๑. อัคนิรุท เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้วกึ่ง ขนาดกระสุน ๔ นิ้วกึ่ง ดินปืน ๑ ชั่ง ๑๐<br />

ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูป<strong>ปี</strong>กและดาว ๑ ดวง มีรูปเครื่องหมายชาติสเปน<br />

สร้างที่ประเทศสเปน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๑๖๗ (ค.ศ.๑๖๒๔)<br />

๓. มังกรใจกล้า เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปกนกและรูปมงกุฎ รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า<br />

คนเชื้อสายโปรตุเกส ผู้เข้าไปอยู่ในราชสำนักพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อว่า LOAO<br />

DA CRUS หรือที่เรียกกันว่ายาน เดอะ ล่าครัวกซ์ เป็นนายช่างผู้สร้าง หรือ<br />

ควบคุมการสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๒๑๓ (ค.ศ.๑๖๗๐)<br />

๒. SMICVEL 1625 เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้วกึ่ง ขนาดกระสุน ๔ นิ้วกึ่ง ดินปืน<br />

๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูป<strong>ปี</strong>กและดาว ๑ ดวง มีรูปเครื่องหมาย<br />

ชาติสเปน สันนิษฐานว่า สร้างในประเทศสเปน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๑๖๘ (ค.ศ.<br />

๑๖๒๕)<br />

๔. เหราใจร้าย เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปกนกและรูปมงกุฎ รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า<br />

คนเชื้อสายโปรตุเกส ผู้เข้าไปอยู่ในราชสำนักพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อว่า LOAO<br />

DA CRUS หรือที่เรียกกันว่ายาน เดอะ ล่าครัวกซ์ เป็นนายช่างผู้สร้าง หรือ<br />

ควบคุมการสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๒๑๓ (ค.ศ.๑๖๗๐) เช่นเดียวกับปืนมังกรใจกล้า<br />

67


๕. มักกะสันแหกค่าย เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายดอกไม้ใบไม้ประดับ ตอนท้ายลำกล้อง<br />

มีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก สันนิษฐานว่า<br />

น่าจะสร้าง ณ โรงงานที่เมืองดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ<br />

จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น สร้างในประเทศไทยตามแบบ<br />

ของ เจ.เบรังเยร์<br />

๘. พรหมมาศปราบมาร เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน<br />

๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก<br />

รูปมงกุฎกนกรูชนวนรูปดอกไม้ สร้าง ณ โรงงานที่เมืองดูเอย์ ประเทศ<br />

ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๓๑๑ โดยนายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

๖. ลมประลัยกัลป เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน<br />

๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปดอกไม้ใบไม้<br />

มีรูปมงกุฎบนกนก รูชนวนรูปใบไม้ สร้าง ณ โรงงานที่เมืองดูเอย์ ประเทศ<br />

ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๓๑๑ โดยนายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

๙. จีนสาวไส้ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลายดอกไม้ใบไม้ประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก<br />

จับกนก เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่โรงงาน<br />

ที่เมืองดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษา<br />

ต่างประเทศ หรือมิฉะนั้น สร้างในประเทศไทยตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๗. คนธรรพแผลงฤทธิ์ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน<br />

๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้อง มีรูปมงกุฎและดอกไม้<br />

ใบไม้ รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้าง ณ โรงงานที่เมืองดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส<br />

โดยนายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

๑๐. ไทยใหญ่เล่นหน้า เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก รอบท้าย<br />

ลำกล้องมีลายดอกไม้ใบไม้ ที ่เพลามีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก ยังไม่พบหลักฐานว่า<br />

ผู้ใดสร้าง เมื่อไร หรือได้มาจากใคร<br />

68


๑๑. ฝรั่งร้ายปืนแม่น เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก รอบท้าย<br />

ลำกล้องมีลายดอกไม้ใบไม้ รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กสันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษา<br />

ต่างประเทศ ตามแบบของนายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

๑๔. ยวนง่าง้าว เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายดอกไม้ใบไม้ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก<br />

จับกนกเพลา มีรูปกินรี รูชนวนมีรูปกินรี สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่โรงงาน<br />

ที่เมืองดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส<br />

๑๒. ขอมดําดิน เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก<br />

สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่โรงงานที่เมืองดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดย<br />

รัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ ตามแบบของนายช่างชื่อ<br />

เจ.เบรังเยร์<br />

๑๕. มุงิดทลวงฟัน เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก เพลามีรูป<br />

กินรี มีลวดลายประดับ รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้าง<br />

ที่โรงงานที่ดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษา<br />

ต่างประเทศหรือมิฉะนั้น ก็สร้างในประเทศไทยตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๑๓. แมนแทงทวน เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก เพลามี<br />

รูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างที่โรงงานที่เมืองดูเอย์<br />

ประเทศฝรั่งเศส โดยรัฐบาลไทยสั่งทำ จึงไม่มีจารึกภาษาต่างประเทศ หรือ<br />

มิฉะนั้น ก็สร้างในประเทศไทยตามแบบของ เจ.เบรังเยร์<br />

๑๖. นิลนนแทงแขน เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน<br />

๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

คล้ายดอกบัว รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปืนของญวน ซึ่งเก็บ<br />

มาเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะในสงครามครั้งใดครั้งหนึ่ง<br />

69


๑๗. ไวยราพฟาดรถ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๕ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้าย<br />

ดอกบัว รูชนวนธรรมดา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นปืนของญวน ซึ่งเก็บมา<br />

เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะในสงครามครั้งใดครั้งหนึ่ง<br />

๑๙. P 1009 1860 เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๑.๖๔ เมตร ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน<br />

๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ไม่มีหูจับยก ไม่มีชื่อภาษาไทย มีรูปมงกุฎที่กระบอก<br />

ยังไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มาอย่างไร เมื่อไร<br />

๑๘. มหาจักรกรด เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน<br />

๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปดอกไม้ใบไม้<br />

รูปมงกุฎบนลายกนก รูชนวนมีรูปกนก สร้าง ณ โรงงานที่เมืองดูเอย์<br />

ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๓๑๑ โดยนายช่างชื่อ เจ.เบรังเยร์<br />

๒๐. P 1010 1860 เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๑.๖๔ เมตร ปากกระบอกปืนกว้าง ๔ นิ้ว ขนาดกระสุน ๔ นิ้ว ดินปืน ๑ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง ไม่มีหูจับยก ไม่มีชื่อภาษาไทย มีรูปมงกุฎที่กระบอก ยังไม่พบ<br />

หลักฐานว่าผู้ใดสร้าง หรือได้มาอย่างไร เมื่อไร<br />

70


เรื่องเล่าที่ ๔๓<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๕ ปืนใหญ่โบราณที่ได้จากการไปราชการสงคราม<br />

ปืนใหญ่โบราณที่ประเทศไทยเคยไปทำศึกสงครามและสามารถมีชัย<br />

ต่อข้าศึก จึงได้นำปืนใหญ่โบราณกลับมายังประเทศไทยเพื่อเป็นหลัก<br />

ประกันว่าข้าศึกจะได้ไม่ใช้ปืนใหญ่กระบอกดังกล่าวทำร้ายกองกำลัง<br />

ของไทยในโอกาสต่อไปและจัดแสดงที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม รวมจำนวน<br />

๓ กระบอก ประกอบด้วย<br />

๑. พญาตานี เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ ์ มีความยาว ๓ วา<br />

ศอกคืบ ๒ นิ้ว (๖.๘๒ เมตร) ปากกระบอกปืนกว้าง ๑๑ นิ้ว ขนาดกระสุน ๑๑ นิ้ว<br />

ดินปืน ๑๕ ชั่ง มีห่วงใหญ่สำหรับจับยก ๔ ห่วง ตอนท้ายลำกล้องมีเครื่อง<br />

ประกอบยาวยื่นออกไป ทำเป็นรูปสังข์ หรือเขางอน ที่เพลามีรูปราชสีห์สลัก<br />

งดงาม เกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ มีความยาวที่สุด ในบรรดาปืนโบราณ<br />

ที่ตั้งไว้หน้ากระทรวงกลาโหม วันเดือน<strong>ปี</strong>ที่หล่อไม่ปรากฏ ในหลักฐานสมเด็จ<br />

พระบรมราชจักรีวงศ์ ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพ เสด็จยกทัพ<br />

ไปรบพม่าข้าศึก ซึ่งยกมาตีหัวเมืองภาคใต้ของไทย ครั้งทรงชนะข้าศึกแล้ว<br />

ได้ทรงปราบปรามหัวเมืองภาคใต้ ซึ่งมักคอยจะเอาใจออกห่างจากไทย<br />

ไปอื่น ทรงมีชัยชนะราบคาบ แล้วได้ปืนกระบอกนี้มาจากเมืองปัตตานี<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong>มะเส็ง สัปตศก จ.ศ.๑๑๔๗ (พ.ศ.๒๓๒๙) และนำมาทูลถวายพระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๙<br />

รูชนวนมีรูปใบไม้ สร้างที่โรงงานที่เมืองดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ สันนิษฐานว่า น่าจะได้โดยเสด็จไปในราชการสงคราม<br />

คราวพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเป็นแม่ทัพ<br />

ยกไปรบพม่า ครั้งได้เมืองทวาย เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕ (จ.ศ.๑๑๕๔) พระราชทาน<br />

ชื่อภายหลัง เพื่อเป็นที่ระลึกในชัยชนะ เช่นเดียวกับปืนชะนะหงษา<br />

๓. ชะนะหงษา เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปดอกไม้ ใบไม้ รูชนวน<br />

มีรูปใบไม้ จัดสร้าง ณ โรงงานที่เมืองดูเอย์ ประเทศฝรั่งเศส โดย นายช่าง<br />

ชื่อ เจ.เบรังเยร์ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๓๑๐ ปืนกระบอกนี้น่าจะได้โดย<br />

เสด็จไปในกองทัพ เพื่อใช้งานในราชการสงคราม คราวที่ได้ชัยชนะพวกพม่า<br />

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงดำรงตำแหน่ง<br />

เป็นจอมทัพเสด็จกรีธาทัพข้ามทิวเขาเตนเนสเซอริม เข้ายึดเมืองทวายได้<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕<br />

๒. ปราบอังวะ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปมงกุฎ และลายกนกใบไม้<br />

71


เรื่องเล่าที่ ๔๔<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๖ ปืนใหญ่โบราณที่สร้างในประเทศไทย โดย หลวงบรรจงรจนา (J.BERENGER)<br />

ปืนใหญ่โบราณที่ประเทศไทยนำเข้ามาจากต่างประเทศและปืนใหญ่<br />

ที่จัดสร้างขึ้นในประเทศไทยโดยมีนายช่างผู้ควบคุมการจัดสร้างคือ<br />

เจ.เบรังเยร์ (J.BERENGER) วิศวกรชาวฝรั่งเศส ต่อมาได้เข้ามารับราชการ<br />

ในประเทศไทยจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่ หลวงบรรจงรจนา และ<br />

จัดแสดงที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม รวมจำนวน ๖ กระบอก ประกอบด้วย<br />

๑. <strong>ปี</strong>ศาจเชือดฉีกกิน เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายเครื่องประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูป<br />

อาทิตย์ส่องแสง เพลามีรูปพญานาค รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก โดย หลวงบรรจง<br />

รจนา เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อปืน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕<br />

๓. ธรณีไหว เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์<br />

ส่องแสง รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก ที่เพลามีรูปสิงโต โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อปืน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕<br />

๒. ศิลป์นารายณ์ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายอาทิตย์ส่องแสง<br />

เพลามีรูปราชสีห์ รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก โดย หลวงบรรจงรจนา เป็นนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อปืน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕<br />

72


๔. ไฟมหากาล เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์<br />

ส่องแสง รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก โดย หลวงบรรจงรจนา เป็นนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อปืน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕<br />

๖. ปล้องตันหักคอเสือ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๔ ศอกคืบ ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้าย<br />

รูปอาทิตย์ส่องแสง ที่เพลามีรูปสิงโต รูชนวนชำรุด โดย หลวงบรรจงรจนา<br />

เป็นนายช่างผู้อำนวยการหล่อปืน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕<br />

๕. มารกระบิล เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๔ ศอกคืบ<br />

ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง<br />

มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีลวดลายประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคล้ายรูปอาทิตย์<br />

ส่องแสง รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก โดย หลวงบรรจงรจนา เป็นนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อปืน เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๕<br />

73


เรื่องเล่าที่ ๔๕<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๗ ปืนใหญ่โบราณที่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือการได้มา<br />

ปืนใหญ่โบราณที่ไม่สามารถสืบค้นหาหลักฐานการจัดสร้างหรือ<br />

การได้มา และจัดแสดงที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม รวมจำนวน ๔ กระบอก<br />

ประกอบด้วย<br />

๑. ถอนพระสุเมรุ เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๕ ศอกคืบ ๑๑ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๑๒ นิ้ว ขนาดกระสุน ๑๒ นิ้ว ดินปืน<br />

๖ ชั่ง มีหูจับยก ๒ คู่ มีลวดลายประดับ เพลามีรูปดอกไม้ รูชนวนมีรูปคน<br />

ท้ายรูปลูกฟัก ผู้ใดสร้าง ณ ที่ใด เมื่อไร ใช้ราชการครั้งใดบ้าง ยังไม่พบหลักฐาน<br />

๓. เสือร้ายเผ่นทยาน เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๖ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๖ นิ้ว ขนาดกระสุน ๖ นิ้ว ดินปืน<br />

๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ไม่มีจับยกคู่หนึ่ง เกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ ยังไม่พบ<br />

หลักฐานว่าผู้ใดสร้างหรือได้มาอย่างไร เมื่อไร<br />

๒. ไตรภพพ่าย เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว ๕ ศอกคืบ<br />

๒ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๗ นิ้ว ขนาดกระสุน ๗ นิ้ว ดินปืน ๔ ชั่ง<br />

๑๐ ตำลึง ไม่มีหูจับยก เกลี้ยงไม่มีลวดลาย เพลามีรูปดอกไม้ รูชนวนธรรมดา<br />

ผู้ใดสร้าง ณ ที่ใดหรือได้มาอย่างไร ใช้ราชการครั้งใดบ้าง ยังไม่พบหลักฐาน<br />

๔. สายอสุนีแผ้วราตรี เป็นปืนที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความยาว<br />

๖ ศอกคืบ ๖ นิ้ว ปากกระบอกปืนกว้าง ๕ นิ้ว ขนาดกระสุน ๕ นิ้ว ดินปืน<br />

๒ ชั่ง ไม่มีจับยกคู่หนึ่ง เกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ ยังไม่พบหลักฐานว่า<br />

ผู้ใดสร้างหรือได้มาอย่างไร เมื่อไร<br />

74


เรื่องเล่าที่ ๔๖<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๘ ปืนใหญ่ที่มีคุณลักษณะเป็นพิเศษ<br />

หากท่านใดได้มาชมปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม อาจไม่<br />

สามารถชมได้ทั้ง ๔๐ กระบอกอย่างละเอียด อีกทั้ง ปืนใหญ่หลายกระบอก<br />

มีรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น หากมีโอกาสเยี่ยมชมท่านต้องไม่ควรพลาด<br />

ปืนใหญ่โบราณ จำนวน ๕ กระบอก ที่มีคุณลักษณะพิเศษ ประกอบด้วย<br />

๑. อัคนิรุท ปืนใหญ่โบราณกระบอกที่เก่าแก่ที่สุด ถูกสร้างขึ้นโดย<br />

ประเทศสเปน มีการจารึก<strong>ปี</strong>ที่สร้างไว้บนกระบอกปืนที่ปรากฏว่าถูกสร้าง<br />

ขึ้นใน<strong>ปี</strong> ค.ศ.๑๖๒๔ หรือ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๑๖๗ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้า<br />

ทรงธรรม พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา จึงถือได้ว่า<br />

เป็นปืนใหญ่โบราณที่เก่าแก่ที่สุดเพราะมีอายุมากที่สุดในบรรดาปืนใหญ่<br />

ทั้ง ๔๐ กระบอก ที่จัดวางไว้บริเวณพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ซึ่งสิ่งที่เป็นจุดเด่นของปืนใหญ่โบราณกระบอกนี้ คือ<br />

มีสัญลักษณ์รูปธงชาติสเปนประดับอยู่บนกระบอกปืน ปัจจุบันปืนใหญ่<br />

อัคนิรุท มีอายุรวมแล้ว ๓๙๕ <strong>ปี</strong> (<strong>ปี</strong> ๒๕๖๒)<br />

๒. มารประไลย ปืนใหญ่โบราณกระบอกที่มีความวิจิตรมากที่สุด<br />

เป็นปืนใหญ่โบราณที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อที่หน้าโรงละครใหญ่<br />

ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๓๐ โดยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์<br />

มีห่วงสำหรับยก ๔ ห่วง เรียกว่า หูระวิง ความงดงามวิจิตรของปืนใหญ่<br />

มารประไลยนี้ มีความงดงามตั้งแต่ปากกระบอกปืนที่เป็นรูปกลีบดอกไม้<br />

และบนกระบอกปืนมีการสลักลวดลายไว้อย่างงดงาม ประกอบด้วย ลายกนก<br />

ลายประจำยาม ลายประจัง ผสมผสานไปกับลวดลายรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก รูปพระพักตร์<br />

เทพเจ้าตามศาสนาพราหมณ์ รูปอัปสรา เพลาปืนมีรูปดอกไม้ รูชนวนมี<br />

ฝาปิดเปิดตกแต่งด้วยมีรูปหนุมาน ท้ายลำกล้องทำเป็นรูปสังข์หรือเขางอน<br />

มีลวดลายกนก กล่าวได้ว่า ปืนใหญ่มารประไลย เป็นศาสตราวุธที่ประดับ<br />

ประดาด้วยความวิจิตรบรรจงที่ลงตัวมากที่สุด<br />

75


๓. นารายน์สังหาร ปืนใหญ่โบราณกระบอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด<br />

จุดเด่นของปืนใหญ่โบราณกระบอกนี้ คือ มีขนาดความยาว ๔.๕๐ เมตร<br />

ปากลำกล้องกว้าง ๒๙.๐๐ เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ<br />

กระบอกปืน ๔๕.๔๐ เซนติเมตร กล่าวได้ว่าเป็นปืนใหญ่โบราณที่มีความ<br />

อลังการมาก ลักษณะของปืนมีวงแหวนขนาดใหญ่สำหรับจับยก ๔ วง<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวทำเป็นรูปสังข์ ตัวปืนเกลี้ยงไม่มี<br />

ลวดลายประดับ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ซึ่งหากสังเกตให้ดีจะพบเห็นร่องรอย<br />

จากการหล่อปืนที่ยังเก็บรายละเอียดไม่หมดเรียกว่า ทอย พระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น<br />

เพื่อเป็นปืนใหญ่ประจำพระนครมหาราชคู่กับปืนใหญ่พญาตานี ใน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๓๓๐<br />

๔. พญาตานี ปืนใหญ่โบราณกระบอกที่มีความยาวมากที่สุด จุดเด่น<br />

ของปืนใหญ่โบราณกระบอกนี้คือ ขนาดความยาว ๖.๘๒ เมตร มีห่วงใหญ่<br />

สำหรับจับยก ๔ ห่วง ตอนท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไป<br />

ทำเป็นรูปสังข์ ที่เพลาปืนมีรูปสิงโตจีนถือลูกแก้วสลักงดงาม ตัวปืนเกลี้ยง<br />

ไม่มีลวดลายประดับ มีประวัติการสร้างว่า นายช่างชาวจีนฮกเกี้ยน แซ่หลิม<br />

ชื่อเคียม ซึ ่งชาวมลายู เรียกกันว่า หลิมโต๊ะเคียม เป็นผู้สร้าง ต่อมา<br />

ในสมัยสงคราม ๙ ทัพ สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้รับพระบรม<br />

ราชโองการให้เป็นแม่ทัพเสด็จไปชำระความเมืองในภาคใต้ จึงได้นำปืน<br />

กระบอกนี้ขึ้นนำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๙<br />

๕. พระพิรุณแสนห่า ปืนใหญ่โบราณลูกปราย จุดเด่นของปืนใหญ่<br />

โบราณกระบอกนี้คือ มีปากกระบอกค่อนข้างกว้าง เพื่อบรรจุกระสุนปืน<br />

ชนิดลูกปราย ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกระสุนขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ดังนั้น<br />

เมื่อยิงไปแล้วลูกปืนขนาดเล็กก็จะกระจายออกไป สามารถสร้างความเสียหาย<br />

ให้แก่ข้าศึกเป็นจำนวนมากในลักษณะเช่นเดียวกับกระสุนปืนลูกซอง<br />

ตัวปืนมีลวดลายประดับมีห่วงสำหรับจับยก ๔ ห่วง มีรูปราชสีห์เผ่นผงาด<br />

ที่เพลา รูชนวนมีรูปกนกหน้าสิงห์ขบท้ายรูปลูกฟัก มีการบันทึกว่า พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๒๐<br />

ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยหล่อ ณ สวนมังคุด บริเวณ<br />

โรงพยาบาลวังหลัง คือ โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล (ในปัจจุบัน) ปัจจุบัน<br />

ปืนใหญ่ลูกปรายที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณ<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหม มีจำนวน ๓ กระบอก ประกอบด้วย พระพิรุณแสนห่า<br />

พลิกพสุธาหงาย และถอนพระสุเมรุ<br />

พระพิรุณแสนห่า<br />

76


พลิกพสุธาหงาย<br />

ข้าศึกด้วยการหันปากกระบอกเพื่อยิงใส่ข้าศึก แต่เมื่อจะเคลื่อนย้ายในเส้น<br />

ทางไกลก็จะเคลื่อนที่โดยให้ท้ายกระบอกปืนเคลื่อนที่ไป โดยใช้แรงงานสัตว์<br />

ประเภทช้าง ม้า วัว ควายหรือลา ลากจูงไปในลักษณะการเทียมเกวียน<br />

จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ปืนใหญ่รางเกวียน ซึ่งเกวียนที่ใช้ลากจูงมักจะ<br />

เรียกกันว่าเกวียนรางปืน โดยปืนใหญ่จีนสาวไส้ จะมีจุดเด่นคือ มีหูจับยก<br />

คู่หนึ่ง มีลายดอกไม้ใบไม้ประดับ ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>กจับกนก<br />

เพลามีรูปกินรี รูชนวนมีรูปคนมี<strong>ปี</strong>ก ปัจจุบัน ปืนใหญ่รางเกวียนที่จัดแสดงอยู่ที่<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม มีจำนวน<br />

๘ กระบอก ประกอบด้วย ฝรั่งร้ายปืนแม่น แมนแทงทวน ยวนง่าง้าว จีนสาวไส้<br />

ไทยใหญ่เล่นหน้า ขอมดำดิน มุงิดทะลวงฟัน และมักกะสันแหกค่าย<br />

ถอนพระสุเมรุ<br />

๖. จีนสาวไส้ ปืนใหญ่โบราณรางเกวียน เป็นปืนใหญ่โบราณชนิดที่<br />

พร้อมเคลื่อนที่ไปในสถานที่ต่างๆ จนถึงบริเวณหน้าแนวรบ โดยมีลักษณะ<br />

ของฐานปืนที่เห็นได้ชัดเจน กล่าวคือ มีล้อขนาดใหญ่ ๒ ข้าง ข้างละหนึ่งล้อ<br />

เพื่อใช้สำหรับเคลื่อนที่ โดยปกติเมื่อหันเข้าหาแนวรบที่ประจันหน้ากับ<br />

77


เรื่องเล่าที่ ๔๗<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๙ กระสุนดินดํา<br />

ปืนใหญ่โบราณเป็นอาวุธที่มีอานุภาพมากในการรบ การสงคราม<br />

ยุคโบราณเพราะสามารถสกัดกั้นการเคลื่อนทัพของข้าศึก สามารถทำลาย<br />

ขวัญและสร้างความเสียหายให้แก่ข้าศึก โดยที่สิ่งสำคัญที่สุดที่ช่วยให้<br />

ปืนใหญ่โบราณมีอานุภาพได้นั้นคือ กระสุนปืนและดินส่งกระสุนหรือ<br />

ดินปัศตันหรือดินดำ ซึ่งทั้ง ๒ สิ่งมีสาระสำคัญ กล่าวคือ<br />

๑. กระสุนปืน เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเสียหายแก่ข้าศึกมาก<br />

ถึงมากที่สุด โดยสร้างความเสียหายทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน รวมไปถึง<br />

ทำลายขวัญข้าศึกเป็นอย่างมาก โดยที่กระสุนปืนใหญ่โบราณประกอบด้วย<br />

ลูกกระสุนปืนใหญ่ รวม ๓ ประเภทคือ<br />

๑.๑ กระสุนลูกโดด เป็นกระสุนที่ทำจากลูกเหล็กกลมตัน<br />

เวลายิงออกไปจะไปทั้งลูก สามารถทำลายกำแพง สิ่งกีดขวาง สังหารบุคคล<br />

และสัตว์พาหนะของข้าศึก<br />

๑.๒ กระสุนลูกปราย เป็นกระสุนที่ทำจากลูกเหล็กขนาดเล็ก<br />

หลายสิบลูก เมื่อเวลายิงออกไปจะกระจายคล้ายห่าฝน มีลักษณะบรรจุใน<br />

ภาชนะอัดแน่น หรือผูกกันเป็นพวง ซึ่งคล้ายกระสุนปืนลูกซองในปัจจุบัน<br />

78


๑.๓ กระสุนลูกแตก เป็นกระสุนที่สามารถแตกกระจายไปภาย<br />

หลังจากยิงออกไปแล้ว ลักษณะของลูกกระสุนจะเป็นลักษณะภายในกลวง<br />

มีรู ๑ รู ไว้สำหรับบรรจุดินปืนและหลอดชนวนไฟที่จุดเหนือลูกกระสุน<br />

ทั้งนี้ ดินดำจะมีปริมาณที่ใช้แตกต่างกันไปของปืนใหญ่โบราณ ดังนั้น<br />

จึงมีการกำหนดปริมาณของดินดำและบันทึกบนตัวปืนเพื่อป้องกันความ<br />

ผิดพลาดในการบรรจุดินปืน ซึ่งในรูปปืนขอมดำดิน บอกให้ทราบว่าปืนใหญ่<br />

โบราณกระบอกนี้บรรจุดินดำน้ำหนัก ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง โดยมีการชี้บ่งไว้ตาม<br />

รูปแบบของอัตราส่วนการชั่งน้ำหนักแบบไทยโบราณคือ<br />

๒. ดินดําหรือดินปัศตัน (Black Powder หรือ Gun Powder)<br />

เป็นดินที่ทำหน้าที่ส่งกระสุนให้พุ่งออกไปจากกระบอกปืน ซึ่งวิธีใช้คือ<br />

การบรรจุดินปืนทางปากกระบอกแล้วใช้ไม้กระทุ้งให้แน่นก่อนบรรจุกระสุน<br />

หลังจากนั้นจะจุดชนวนที่รูชนวนท้ายปืน เมื่อเกิดการสันดาปของดินปืน<br />

ก็จะช่วยส่งให้กระสุนลอยออกจากปากกระบอกปืน ทั้งนี้ดินปืนเป็นสารที่<br />

เกิดจากการผสมของสารตั้งต้น ๓ ประการคือ<br />

๒.๑ ดินประสิว (Saltpetre) ในอัตราส่วน ๔๑ ส่วน ใน ๑๐๐<br />

ส่วน (ร้อยละ ๔๑)<br />

๒.๒ กำมะถัน (Sulphur) ในอัตราส่วน ๓๐ ส่วน ใน ๑๐๐ ส่วน<br />

(ร้อยละ ๓๐)<br />

๒.๓ ผงถ่าน (Charcoal) ในอัตราส่วน ๒๙ ส่วน ใน ๑๐๐ ส่วน<br />

(ร้อยละ ๒๙)<br />

79


เรื่องเล่าที่ ๔๘<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑๐ การจารึกชื่อผู้ประดิษฐ์บนกระบอกปืนใหญ่โบราณ<br />

ในต่างประเทศ การจัดสร้างปืนใหญ่หรือหล่อปืนใหญ่ มักจะให้<br />

เกียรติแก่วิศวกรหรือนายช่างผู้ทำหน้าที่อำนวยการหรือควบคุมการหล่อปืน<br />

โดยการให้จารึกนามของท่านผู้นั้นลงบนปืนบริเวณส่วนท้ายของปืน<br />

ซึ่งปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมก็มีการจารึกชื่อผู้อำนวยการ<br />

หล่อปืนไว้ด้วย กล่าวคือ<br />

๑. ปืนใหญ่โบราณที่ชื่อว่า ลมประลัยกัลป มีการจารึกชื่อนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อปืนว่า เจ.เบรังเยร์ (J.BERENGER) ลงด้านบนตัวปืน<br />

๒. ปืนใหญ่โบราณที่ชื่อว่า <strong>ปี</strong>ศาจเชือดฉีกกิน มีการจารึกชื่อนายช่าง<br />

ผู้อำนวยการหล่อปืนว่า บรรจงรจนา (BANCHONGROJANA) ลงด้านล่าง<br />

ของตัวปืน<br />

ทั้งนี้ จากการสืบค้นทราบว่า ชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า เจ.เบรังเยร์<br />

(J.BERENGER) ได้เข้ามารับราชการในประเทศไทยและได้รับพระราชทาน<br />

บรรดาศักดิ์เป็น หลวง โดยมีราชทินนามว่า หลวงบรรจงรจนา<br />

80


เรื่องเล่าที่ ๔๙<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑๑ เครื่องหมายแสดงเกียรติภูมิประเทศเจ้าของปืนใหญ่โบราณ<br />

สำหรับปืนใหญ่โบราณ นอกจากการให้เกียรติแก่ผู้อำนวยการ<br />

หล่อปืนให้ได้รับการจารึกชื่อบนตัวปืนแล้ว สิ่งที่เป็นเกียรติแก่ประเทศ<br />

เจ้าของปืนหรือประเทศผู้ผลิตปืนยังได้มีการทำสัญลักษณ์ไว้ที่กระบอกปืน<br />

ซึ่งปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม ก็ปรากฏสัญลักษณ์ไว้หลาย<br />

กระบอกและมีรูปลักษณ์ที่เป็นพิเศษ กล่าวคือ<br />

๑. รูปศาลาไทย ที่ปรากฏบริเวณส่วนท้ายของปืนที่เป็นรูชนวน<br />

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นเจ้าของปืนใหญ่โบราณกระบอกนั้น<br />

อาทิ พระอิศวรปราบจักรวาล ไหวอรนพ<br />

๓. รูปตราประเทศ ที่ปรากฏบริเวณส่วนกลางด้านบนของปืน<br />

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสเปนที่เป็นประเทศผู้ผลิตหรือสถานที่ผลิต<br />

ปืนใหญ่โบราณกระบอกนั้น อาทิ อัคนิรุท SMICVEL 1625<br />

๒. รูปขวดนํ้ำหอม ที่ปรากฏบริเวณส่วนท้ายของปืนที่เป็นรูชนวน<br />

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นประเทศผู้ผลิตหรือสถานที่ผลิต<br />

ปืนใหญ่โบราณกระบอกนั้น อาทิ ลมประลัยกัลป คนธรรพแผลงฤทธิ์<br />

๔. รูปสิงโตจีนจับลูกแก้ว ที่ปรากฏบริเวณเพลาของปืน ซึ่งเป็น<br />

สัญลักษณ์ของประเทศจีนที่เป็นประเทศสัญชาติของผู้ผลิตปืน คือ<br />

พญาตานี เพราะผู้อำนวยการหล่อปืนคือ นายช่างชาวจีนฮกเกี้ยน แซ่หลิม<br />

ชื่อเคียม ซึ่งชาวมลายู เรียกกันว่า หลิมโต๊ะเคียม<br />

81


เรื่องเล่าที่ ๕๐<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑๒ ตราสัญลักษณ์ปิดปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ<br />

ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมทั้ง ๔๐ กระบอก ได้ตั้ง<br />

ตระหง่านเคียงคู่ศาลาว่าการกลาโหม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ<br />

พระบรมมหาราชวัง ที่เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกให้ทราบว่า ทหารและปืนใหญ่<br />

โบราณพร้อมที่ปกป้องประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และพระราชวงศ์จักรี<br />

ด้วยความมุ่งมั่น แม้ว่าจะต้องตั้งตระหง่านท้าทายลม แดด ฝน มาเป็นเวลา<br />

ประมาณ ๑๐๐ <strong>ปี</strong> ก็ตาม แต่หน้าที่และความรับผิดชอบยังคงเป็นคำตอบ<br />

ต่อประชาชนและสังคมไทยอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และจะดำเนินภารกิจนี้<br />

ต่อไปนานเท่าที่ประชาชนและผืนแผ่นดินผืนนี้ยังเห็นความสำคัญของ<br />

ปืนใหญ่โบราณ<br />

ในวาระแห่งการสถาปนากระทรวงกลาโหม ๑๓๐ <strong>ปี</strong> จึงมีดำริของ<br />

ผู้บังคับบัญชาคือ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ในการอัญเชิญตราแผ่นดินมาสถิตและปิดปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ<br />

เพื่อป้องกันน้ำฝนที่จะเข้าไปทำลายลำกล้องปืน และป้องกันนกที่เคยมา<br />

ทำรังในลำกล้องปืนทั้งจะนำมาซึ่งสิ่งปฏิกูลและความสกปรก อันเป็นตัวเร่ง<br />

การกัดกร่อนผิวโลหะในลำกล้องปืนใหญ่โบราณเหล่านั้น โดยกระทำพิธี<br />

ปิดปากกระบอกปืนใหญ่โบราณ พิธีผูกผ้าสามสีและคล้องพวงมาลัยปืนใหญ่<br />

โบราณ ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๗.๒๙ น. จึงเป็นสัญลักษณ์<br />

สำคัญที่เคียงคู่กับปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมนับแต่นั้นมา<br />

82


เรื่องเล่าที่ ๕๑<br />

การจัดภูมิทัศน์พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

กว่าที่จะมาเป็น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ กระทรวงกลาโหม ได้ดำเนิน<br />

การจัดภูมิทัศน์ในการจัดวางปืนใหญ่โบราณที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

มาแล้ว รวม ๖ ครั้ง ตามลำดับ ดังนี้<br />

๑. การจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๑ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๐ พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะนำปืนใหญ่โบราณ ซึ่งมี<br />

เกียรติประวัติร่วมทำสงครามในกองทัพสยาม มาจัดแสดงให้สาธารณชน<br />

ได้ชมตามแบบอย่างชาติมหาอำนาจการทหารตะวันตก ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้นำปืนใหญ่โบราณที่เก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวัง<br />

และวังหน้า มาจัดวางบริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม สันนิษฐานว่า<br />

การจัดวางปืนใหญ่นี้เป็นไปตามพระราชนิยมครั้งที่ทรงศึกษาวิชาทหาร<br />

ณ โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst Military Academy)<br />

ประเทศอังกฤษ ที่มีการจัดวางปืนใหญ่บริเวณด้านหน้าอาคาร College<br />

Chapel ของสถาบันทหารแห่งนี้ โดยจัดวางปืนใหญ่ที่มีเกียรติประวัติ<br />

ในการสงคราม จำนวน ๖ กระบอก ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ ดยุค ออฟ เวลลิงตัน<br />

(Duke of Wellington) ใช้ในสงครามที่ วอลเตอร์ลู (Waterloo) ซึ่งสงคราม<br />

ครั้งนั้นเป็นสงครามที่อังกฤษสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสอันเกรียงไกร<br />

ของกษัตริย์นโปเลียน (Napoleaon)<br />

โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst Military Academy) ประเทศอังกฤษ<br />

โดยในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระ<br />

อนุชาธิราชเจ้า เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ<br />

(พระยศในขณะนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก ให้ทรงดำเนิน<br />

การจัดวางปืนใหญ่และจัดภูมิทัศน์ จึงเป็นการจัดวางปืนใหญ่โบราณหน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหมและเป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์การทหารกลางแจ้งเป็น<br />

ครั้งแรก ซึ่งในครั้งนี้ปืนใหญ่พญาตานีได้จัดวางด้านถนนกัลยาณไมตรี<br />

ภาพการจัดวางปืนใหญ่ครั้งแรกใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๐<br />

๒. การจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๒ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๔<br />

นายพลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ปลัดทูลฉลอง<br />

และรั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้รับพระบรมราชานุญาตให้<br />

ปรับแผนการจัดวางและนำปืนใหญ่โบราณจากโรงปืนใหญ่ในพระบรม<br />

มหาราชวังและวังหน้า จำนวน ๖๓ กระบอก มาจัดวาง ณ สนามหญ้า<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหม พร้อมจัดทำประวัติปืนใหญ่โบราณเป็นครั้งแรก<br />

โดย นายพลตรี พระยาอินทรวิชิต (รัตน วิชิตอาวุธ) เจ้ากรมตำราทหารบก<br />

ได้มอบหมายให้ นายพันโท หม่อมเจ้าสมบูรณ์ศักดิ์ เป็นผู้แปลและเรียบเรียง<br />

ประวัติปืนใหญ่โบราณเหล่านั้น การปรับการจัดวางปืนใหญ่โบราณครั้งนี้<br />

ถือได้ว่า เป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กลางแจ้งหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรก<br />

๓. การจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๓ ระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๑ –<br />

๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม และนายพลโท พระยาศักดิ์ดาดุลยฤทธิ์ ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ได้ปรับการจัดวางปืนใหญ่โบราณและปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม ด้วยการดำเนินการ ดังนี้<br />

83


๓.๑ นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไปตั้งแสดง ณ หน่วยทหาร<br />

ที่จังหวัดลพบุรี<br />

๓.๒ นำปืนใหญ่โบราณบางส่วนย้ายไปตั้งแสดง ณ ทำเนียบ<br />

รัฐบาล ทำให้คงเหลือปืนใหญ่โบราณที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม จำนวน<br />

๔๐ กระบอก ทั้งนี้ ได้คงปืนใหญ่โบราณ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นทั้ง ๗ กระบอก<br />

และปืนใหญ่พญาตานีไว้ กับคงรูปแบบพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กลางแจ้ง<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหมไว้เช่นเดิม<br />

๔. การจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๔ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๗<br />

พลเอก วิจิตร สุขมาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ<br />

พลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดให้มีการ<br />

ปรับภูมิทัศน์และจัดวางปืนใหญ่โบราณให้เกิดความสง่างามมากยิ่งขึ้น<br />

โดยการรื้อรั้วเหล็กเดิมออกและทำเป็นเสาปูนมีโซ่ร้อยเรียงกัน และปรับพื้น<br />

โดยยกพื้นให้สูงขึ้น<br />

๕. การจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๕ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๘<br />

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอก<br />

ประเสริฐ สารฤทธิ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม (ตุลาคม ๒๕๓๗ - กันยายน<br />

๒๕๓๘) พร้อมด้วย พลเอก ไพบูลย์ เอมพันธุ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม (ตุลาคม<br />

๒๕๓๘ - กันยายน ๒๕๓๙) ได้มอบหมายให้ สำนักโยธาธิการกลาโหม<br />

ปรับภูมิทัศน์บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยการเรียง<br />

ปืนใหญ่โบราณในลักษณะอุตราวรรต คือการจัดเรียงตามลำดับ<strong>ปี</strong>ที่สร้าง<br />

เวียนไปทางซ้ายและนำแผ่นทองเหลืองบันทึกชื่อและประวัติปืนใหญ่<br />

โบราณทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดตั้งไว้บริเวณฐานปืนใหญ่โบราณ<br />

ทุกกระบอก<br />

๖. การจัดวางปืนใหญ่โบราณ ครั้งที่ ๖ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๗<br />

พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ<br />

พลเอก อู้ด เบื ้องบน ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาปรับภูมิทัศน์<br />

ให้สอดรับกับการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์เชิงประวัติศาสตร์ โดยปรับการ<br />

จัดวางปืนใหญ่โบราณ ตามประเพณีนิยมของกองทัพไทยในสมัยโบราณ<br />

จึงได้ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรในประเด็นหลักการ<br />

สากลของการจัดพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง หลักสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม<br />

ซึ่งปรากฏว่ามีแนวคิดในการจัดวางปืนใหญ่โบราณ ๒ แนวทาง กล่าวคือ<br />

๖.๑ ทักษิณาวรรต ด้วยการจัดวางแบบเวียนขวา โดยจัดวาง<br />

ปืนใหญ่โบราณเรียง<strong>ปี</strong>และยุคที่สร้าง โดยเริ่มต้นจากถนนกัลยาณไมตรี<br />

ไปทางถนนหลักเมือง<br />

๖.๒ อุตราวรรต ด้วยการจัดวางแบบเวียนซ้าย โดยจากถนน<br />

หลักเมืองไปทางถนนกัลยาณไมตรี ตามลำดับ<strong>ปี</strong>ที่สร้างซึ่งจากการพิจารณา<br />

แล้ว เห็นว่า แบบอุตราวรรต มีความเหมาะสมกับการปรับภูมิทัศน์และการ<br />

เที่ยวชมของนักท่องเที่ยว โดยเริ่มต้นจากถนนหลักเมืองเวียนซ้ายไปยังถนน<br />

กัลยาณไมตรี โดยเริ่มจากยุคกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์<br />

จนถึงปืนใหญ่โบราณที่ไม่สามารถระบุ<strong>ปี</strong>ที่สร้างได้ โดยแผ่นทองเหลือง<br />

บันทึกชื่อและประวัติปืนใหญ่โบราณทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดตั้ง<br />

ไว้บริเวณฐานปืนใหญ่โบราณทุกกระบอก<br />

ภาพการจัดวางพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณในปัจจุบัน<br />

84


เรื่องเล่าที่ ๕๒<br />

ศาลากระโจมแตร<br />

เป็นศาลาทรงกลมประกอบภายในสนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ใกล้ประตูทางเข้าและออก โดยมีการสร้างศาลาทรงกลมภายใน<br />

ลักษณะโปร่งมีเสาข้างใน ๘ เสา จำนวน ๒ หลัง ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๕<br />

โดยให้เป็นที่ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่งหรือวงโยธวาทิต (Military Band)<br />

ซึ่งจากการสืบค้นทราบว่า เพื่อใช้ศาลาดังกล่าวให้หมู่ทหารเป่าแตรถวาย<br />

ความเคารพและถวายพระเกียรติในขณะเสด็จพระราชดำเนินเข้าและออก<br />

จากพระบรมมหาราชวัง ซึ่งการจัดสร้างศาลากระโจมแตรกระทรวงกลาโหม<br />

มีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดสร้างที่<br />

พระราชวังสราญรมย์ (ปัจจุบันคือ สวนสราญรมย์) โดยสร้างเป็นศาลา<br />

๘ เหลี่ยมใช้สำหรับเป็นที่ฝึกซ้อมและบรรเลงแตรฝรั่ง นอกจากนี้ ยังปรากฏ<br />

ศาลากระโจมแตรสำหรับบรรเลงแตรฝรั่งที่พระราชวังบางปะอิน และ<br />

ศาลาแตรของวังบางขุนพรหม<br />

ต่อมา ในช่วงปลาย<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๖ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ได้จัดทำน้ำพุประดับไฟแสงสีและการบรรเลงดนตรีเพื่อจัดแสดงต่อ<br />

สาธารณชน รวม ๒ แห่ง โดยมีที่ตั้งของลานน้ำพุในบริเวณที่เคยจัดสร้าง<br />

ศาลากระโจมแตร โดยดำริของ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

85


เรื่องเล่าที่ ๕๓<br />

การต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในระยะเวลา ๑๓๐ <strong>ปี</strong>เศษที่ผ่านมา ภายหลังจากการใช้ประโยชน์<br />

ของโรงทหารหน้าและพัฒนามาเป็นอาคารศาลาว่าการกลาโหม ปรากฏ<br />

เหตุการณ์จากการบันทึกมีการก่อสร้างเพิ่มเติมที่สำคัญ จำนวน ๖ ครั้ง<br />

กล่าวคือ<br />

๑. อัญเชิญโคลง “สยามานุสสติ” ประดิษฐานเหนือซุ้มประตูทาง<br />

เข้าและออก เพื่อปลุกจิตสำนึกความรักชาติในห้วงเหตุการณ์สงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๒. จัดสร้างศาลากระโจมแตร มีลักษณะเป็นศาลาทรงกลม<br />

ประกอบภายในสนามหญ้าด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๓.๑ จัดทําเครื่องหมายสัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็น<br />

รูปจักร สมอ <strong>ปี</strong>ก สอดขัดภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎบนผืนผ้าทิพย์ที่จัดท ำขึ้น<br />

เป็นรูปสี่เหลี่ยมสีทองมีวงกลมซ้อนอยู่ภายในแกะสลักประดับด้วยลวดลาย<br />

ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์บริเวณด้านหน้าอาคาร (ทั้งนี้ มีการก ำหนดเป็นตราประจำ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ<br />

พ.ศ.๒๔๘๒ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒)<br />

๓.๒ อัญเชิญโคลง “สยามานุสสติ” ประดิษฐานเบื้องหน้ามุข<br />

ที่ด้านซ้ายและขวาของเครื่องหมายสัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม<br />

๓. การต่อเติมมุขหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม ทำขึ้นในสมัย<br />

จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๑ – ๒๔๘๒ โดยดำเนินการต่อเติม คือ<br />

ขยายหน้ามุขโดยการต่อเติมยื่นออกมา มีความสูงเท่ากับตึกสองชั้น มีเสา<br />

กลมขนาดใหญ่เช่นเดียวกับในอดีตอีก ๖ เสา ทำให้ชั้นสองของหน้ามุขใหม่<br />

มีลักษณะเป็นระเบียงสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยมีการจัดท ำในรายละเอียด<br />

เพิ่มเติม กล่าวคือ<br />

๔. การสร้างอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด สร้างขึ้นในสมัย<br />

จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม ภายหลังเกิดเหตุการณ์กรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามเกาหลี<br />

โดยเริ่มต้นสร้างประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๖ - ๒๕๐๓ และสร้างอาคารบริเวณ<br />

ด้านหลังอาคารศาลาว่าการกลาโหม ด้านถนนราชินี ริมคลองหลอด (เดิมที<br />

เป็นอาคารชั้นเดียว ๗ หลังและมีบ่อน้ำ) ซึ่งมีอาคารที่ทำการของวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร กองบัญชาการทหารสูงสุด และหน่วยขึ้นตรง<br />

86


กองบัญชาการทหารสูงสุด ที่สูง ๓ ชั้น พร้อมทั้งห้องประชุมและห้องสโมสร<br />

นายทหารสัญญาบัตร และมีการสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกหลายครั้งรวมเป็น<br />

๔ อาคาร<br />

๕. การก่อสร้างอาคารสํานักงบประมาณกลาโหม สร้างขึ้นใน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๕๒๘ ซึ่งเดิมทีเป็นอาคารสองชั้นมีสภาพทรุดโทรมและไม่เพียงพอ<br />

ต่อการใช้สอย จึงได้รื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคาร ๓ ชั้น โดยภายนอก<br />

ให้คงแบบเดิมไว้ทั้งหมด และใช้เป็นอาคารสำนักงบประมาณกลาโหม<br />

ด้วยการออกแบบ การวางแผน และอำนวยการสร้างของ พลอากาศเอก<br />

สรรเสริญ วานิชย์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๖. การก่อสร้างอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก<br />

สร้างขึ้นใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๕ ในที่ตั้งของอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดเดิม<br />

(ปัจจุบันคือ กองบัญชาการกองทัพไทย) ทั้งนี้เพราะกองบัญชาการกองทัพไทย<br />

ได้ย้ายเข้าที่ตั้งใหม่บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๔ แต่เนื่องจาก<br />

อาคารเดิมมีอายุมากกว่า ๕๐ <strong>ปี</strong> และมีสภาพทรุดโทรมมากไม่เหมาะ<br />

แก่การใช้ประโยชน์ จึงมีโครงการที่จะรื้อถอนและก่อสร้างอาคารหลังใหม่<br />

ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเติมเป็นรายการล่าสุด<br />

ก่อนปรับปรุง<br />

ภาพเปรียบเทียบกระทรวงกลาโหม<br />

หลังปรับปรุง<br />

87


เรื่องเล่าที่ ๕๔<br />

โคลงสยามานุสสติหน้าศาลาว่าการกลาโหมในยุครัฐนิยม<br />

หากท่านสังเกตตัวอักษรของ<br />

โคลงสยามานุสสติ บริเวณมุขหน้า<br />

ของระเบียงบริเวณชั้นสอง ด้าน<br />

ประตูทางเข้า จะเห็นว่า มีตัวอักษร<br />

ของคำว่า “พินาส” และเคยมีผู้ใหญ่<br />

และประชาชนหลายท่านตั้งข้อสงสัย<br />

ต่อตัวอักษรดังกล่าว ซึ่งจากการ<br />

ค้นคว้า ทราบว่า พระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราช<br />

นิพนธ์โคลงสยามานุสสติ และมี<br />

พระราชหัตถเลขาที่ชัดเจนว่าใช้คำว่า<br />

“พินาศ”<br />

แต่ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๕ ประเทศไทยในยุคสมัยที่เรียกว่ารัฐนิยม<br />

(ประกาศครั้งแรกใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๒) โดยการนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />

อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามใน ประกาสสํานักนายกรัถมนตรี เรื่องการ<br />

ปรับปรุงอักสรไทย เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๘๕ โดยให้เหตุผลว่า<br />

“...ด้วยรัถบาลพิจารณาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเครื่องหมายสแดง<br />

วัธนธรรมของชาติไทย สมควนได้รับการบำรุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไป<br />

กว้างขวางยิ่งขึ้น ไห้สมกับความจเรินก้าวหน้าของชาติ ซึ่งกำลังขยายตัว<br />

ออกไปไนปัจจุบันคนะหนึ่ง ดังมีรายชื่อแจ้งอยู่ไนประกาสตั้งกรรมการ<br />

ส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยนั้นแล้ว เพื่อร่วมกันพิจารนาหาทางปรับปรุงและ<br />

ส่งเสิมภาสาไทยไห้มีความจเรินก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันที่จริงภาสาไทยก็เป็นภาสา<br />

ที่มีสำเนียงไพเราะสละสลวยและมีความกว้างขวางของภาสาสมกับเป็น<br />

สมบัติของชาติไทยที่มีวัธนธรรมสูงอยู่แล้ว ยังขาดอยู่ก็แต่การส่งเสิมไห้<br />

แพร่หลาย สมควนแก่ความสำคันของภาสาเท่านั้น<br />

กรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรก<br />

เมื่อวันที่ ๒๓ พรึสภาคม ๒๔๘๕ มีความเห็นไนชั้นต้นว่า สมควนจะปรับปรุง<br />

ตัวอักสรไทยไห้กระทัดรัดเพื่อได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้พิจารนาเห็นว่า<br />

ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลายตัวที่ซ้ำเสียงกันโดยไม่จำเป็น<br />

ถ้าได้งดไช้เสียบ้างก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียกภาสาไทย<br />

ไห้เป็นที่นิยมยิ่งขึ้น...”<br />

หลังจากนั้นมา ประเทศไทยจึงไม่ใช้ตัวอักษรไทยบางตัว เช่น ฆ ฌ ญ<br />

ฒ ศ และ รร เป็นต้น และมีการแก้ไขตัวอักษรไทยในสถานที่ต่างๆ ให้เป็น<br />

ไปตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าว ซึ่งศาลาว่าการกลาโหม<br />

ก็ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว คือ เปลี่ยนตัวอักษรของคำว่า “พินาศ”<br />

ไปเป็น “พินาส” ด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ้นจาก<br />

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๘๗ ท ำให้ นายควง อภัยวงศ์<br />

นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ได้ออกประกาศยกเลิกการใช้อักขรวิธีดังกล่าว<br />

และการใช้เลขสากล รวมระยะเวลาการบังคับใช้อักขรวิธีของคณะกรรมการ<br />

ส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยประมาณ ๒ <strong>ปี</strong> ๓ เดือน ส่งผลให้กลับไปใช้<br />

อักขรวิธีไทยแบบเดิมอีกครั้งหนึ่งและใช้ต่อมาจวบจนถึงปัจจุบัน<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวอักษรของคำว่า “พินาส” ดังปรากฏอยู่หน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบัน จึงเป็นเสมือนภาพสะท้อนให้เห็นถึง<br />

ประวัติศาสตร์ไทยในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม<br />

ให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความคิดและการกระทำของคนในอดีต จึงเก็บ<br />

รักษาไว้เพื่อเป็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เช่นเดียวกันกับ<br />

สถานที่บางแห่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันเช่นกัน อาทิ สะพานเฉลิมวันชาติ<br />

ที่ใช้ปรากฏข้อความว่า “สพานเฉลิมวันชาติ พ.ส.๒๔๘๓”<br />

88


เรื่องเล่าที่ ๕๕<br />

ระเบียงและผนังอาคารด้านในของศาลาว่าการกลาโหม<br />

ดังที่ทราบมาแล้วว่าอาคารโรงทหารหน้าหรืออาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมด้านนอกเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนและตกแต่งอาคารในศิลปะแบบ<br />

พาลลาเดียน หากแต่อาคารด้านในเมื่อแรกสร้างนั้น ได้มีการออกแบบ<br />

เป็นพิเศษคือทำทางเดินเชื่อมต่อกันได้ทุกด้านอาคารและระเบียงไม้โปร่ง<br />

รอบในอาคารทั้งสามชั้น โดยชั้นล่างทำเป็นรั้วไม้ซี่ขนาดสูงประมาณระดับ<br />

หน้าอก แต่สำหรับในชั้นที่สองและชั้นที่สามทำราวระเบียงเป็นรูปไม้ขัดกัน<br />

ในลักษณะกากบาทซึ่งในทางทหารเครื่องหมายรูปกากบาทเป็นสัญลักษณ์<br />

ของหน่วยทหารเหล่าราบ หากพิจารณาแล้วกำลังพลของกรมทหารหน้า<br />

ส่วนใหญ่เป็นทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ทางภาคพื้นดินจึงเป็นทหารเหล่าราบ<br />

นอกจากนี้ เสาที่รับน้ำหนักมีลักษณะเป็นเสาปูนเกลี้ยงรูปสี่เหลี่ยมสำหรับ<br />

รับน้ำหนักพื้นอาคารชั้นบน<br />

ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ด้านในต้องทำเป็นระเบียงทางเดินไม้เพราะ<br />

ช่วยให้ปลอดโปร่งและอากาศถ่ายเทได้สะดวก ทั้งนี้เพราะประเทศไทย<br />

เป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการระบาย<br />

อากาศเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัย อีกทั้งหากจัดสร้างผนังอาคาร<br />

เป็นลักษณะก่ออิฐถือปูนย่อมนำมาสู่ความร้อนอบอ้าวภายในอาคาร ซึ่งต่าง<br />

จากยุโรปที่มีอากาศหนาวเย็นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างเป็นอาคาร<br />

ก่ออิฐถือปูนเพื่อป้องกันความหนาวเย็น นอกจากนี้ การที่ใช้พื้นอาคาร<br />

ชั้นที่สองและชั้นที่สามทำเป็นพื้นไม้จึงทำให้อาคารชั้นบนมีน้ำหนักเบา<br />

และยังช่วยให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น จึงสามารถเดินติดต่องานหรือ<br />

ประสานงานได้ทั้งสามชั้นโดยไม่ต้องเดินลงมาชั้นล่างและเดินขึ้นไปใหม่<br />

ในระหว่างอาคาร จึงกล่าวได้ว่าอาคารโรงทหารหน้า มีการออกแบบ<br />

ให้สวยงามทั้งด้านสถาปัตยกรรมและคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย โดยมีพื้นฐาน<br />

จากภูมิอากาศ ภารกิจ และการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน<br />

อาคารที่มีความสะดวกและรวดเร็ว<br />

อย่างไรก็ตาม ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๕ อาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

เคยประสบปัญหาน้ำฝนสาดและความชื้นหลายครั้ง โดยเฉพาะในกรณีที่<br />

ฝนตกหนักผสมกับลมกระโชกแรง ทำให้มีปริมาณน้ำฝนซัดสาดเข้ามาบริเวณ<br />

ระเบียง ซึ่งก็มีหลายครั้งที่ปริมาณน้ำฝนมาขังบริเวณพื้นไม้และรั่วซึมลงมา<br />

ชั้นที่สองและชั้นล่าง<br />

ระเบียงและผนังอาคารด้านในของศาลาว่าการกลาโหม (อดีต)<br />

ระเบียงและผนังอาคารด้านในของศาลาว่าการกลาโหม (ปัจจุบัน)<br />

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทาง<br />

ราชการเป็นอันมาก รวมถึง ทำให้ผนังอาคารเกิดความชื้นมีคราบตะไคร่น้ำ<br />

และแตกล่อนเป็นประจำ เมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักโยธาธิการกลาโหม จึง<br />

พิจารณาออกแบบทำผนังอาคารบริเวณระเบียงโดยผลิตจากไม้และประดับ<br />

บานหน้าต่างเพื่อปิดเปิดตามความเหมาะสม ทั้งนี้ รั ้วไม้โปร่งเป็นรูปไม้<br />

ขัดกันที่ยังสภาพใช้งานได้ในชั้นที่สามจึงยังคงเก็บรักษาไว้ โดยทำผนังไม้<br />

ปิดล้อมไว้ด้านนอก และยังคงอนุรักษ์รั้วไม้โปร่งแบบโบราณไว้ด้านในเพื่อ<br />

ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป ส่งผลให้บริเวณผนังอาคารในชั้นที่สองและ<br />

ชั้นที่สาม จึงสามารถรอดพ้นจากความเสี่ยงภัยจากปริมาณน้ำฝนที่ซัดสาด<br />

จนทำให้เกิดความเสียหายได้ดังปรากฏในปัจจุบัน<br />

แต่สำหรับผนังอาคารที่ฉาบปูนในชั้นล่างที่ต้องเผชิญกับความชื้น<br />

และน้ำฝนสาด จึงได้แก้ไขปัญหาโดยการเจาะผนังและใส่ท่อระบายอากาศ<br />

ทำให้ระบายความชื้นออกมาจากภายในของผนังอาคาร หากผ่านไปอาจเห็น<br />

ผนังอาคารมีท่อขนาดเล็กติดกับตัวอาคาร นั่นคือวิธีการระบายอากาศและ<br />

ระบายความชื้นของอาคาร<br />

89


เรื่องเล่าที่ ๕๖<br />

ช่องลอดด้านทิศตะวันออก<br />

ภายในอาคารโรงทหารหน้าด้านทิศตะวันออก ได้มีการจัดทำ<br />

ช่องลอดภายใต้อาคารชั้นที่สองขึ้นและสันนิษฐานว่าจัดสร้างขึ้นพร้อม<br />

โรงทหารหน้า เพื ่อให้ทหารสามารถที่จะเดินลอดผ่านออกไปนอกอาคาร<br />

เพื่อไปสู่ที่พักทหารเพื่อพักผ่อน ไปสู่สระน้ำเพื่อเข้าห้องน้ำ เพื่อฝึกว่ายน้ำ<br />

และเพื่ออาบน้ำ รวมถึงไปเข้าโรงครัวเพื่อรับประทานอาหาร ในพื้นที่บริเวณ<br />

ทิศตะวันออกที่กล่าวมาแล้ว<br />

ดังนั้น การจัดทำช่องลอดดังกล่าวหากพิจารณาแล้วก็คล้ายประตู<br />

หลังบ้านของอาคารโรงทหารหน้าเพื่อสะดวกในการสัญจรเข้าและออก<br />

อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งจะไม่ให้เกิดความรุ่มร่าม หรือวุ่นวายต่อการสัญจร<br />

ผ่านประตูใหญ่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันตก ต่อมามีการเรียกขานกันว่า<br />

“อุโมงค์” และเรียกกันติดปากในหมู่กำลังพลที่ปฏิบัติราชการในอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในราว<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๕ มีการปรับปรุงอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง จึงได้มีการขยายช่องลอดให้กว้างขึ้นเพื่อให้ยานพาหนะ<br />

สามารถผ่านเข้าออกอาคารศาลาว่าการกลาโหม พร้อมกับปรับปรุงและ<br />

เสริมเพื่อความแข็งแรง จนปรากฏให้เห็นเป็นช่องลอดดังปัจจุบัน<br />

90


หมวดที่ ๓<br />

ปัจจุบัน<br />

ทันสมัย เกียรติยศ<br />

91


เรื่องเล่าที่ ๕๗<br />

พญาคชสีห์ อธิบดีแห่งหมู่มวลกำลังพล<br />

บริเวณหน้าประตูใหญ่ริมถนนสนามไชย ได้ปรากฏว่ามีรูปหล่อโลหะ<br />

องค์พญาคชสีห์ ๒ องค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นใหญ่<br />

ในหมู่คชสีห์ ซึ่งหมู่คชสีห์เปรียบได้กับเหล่าทหารหาญทั้งปวงที่ปฏิบัติหน้าที่<br />

รับใช้ชาติและราชบัลลังก์ สำหรับ องค์พญาคชสีห์ จึงถือเสมือนอธิบดีหรือ<br />

ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของเหล่าคชสีห์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องแผ่นดินและ<br />

ปกป้องทหารหาญ ซึ่งองค์พญาคชสีห์ทั้ง ๒ องค์ คือ<br />

๑. พญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์หรือ พญาคชสีห์ผู้ปกป้องแผ่นดิน<br />

สยาม ประดิษฐาน ณ ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ (ประตูทางเข้า) ของกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

๒. พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ หรือ พญาคชสีห์ผู้ปกป้องดูแล<br />

กำลังพลและหมู่ทหาร ประดิษฐาน ณ ประตูทางออกด้านทิศเหนือ (ประตู<br />

ทางออก) ของกระทรวงกลาโหม<br />

โดยองค์พญาคชสีห์ทั้ง ๒ องค์ ได้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง<br />

เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล<br />

อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ <strong>ปี</strong> ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.<br />

๒๕๔๙ และกระทรวงกลาโหมครบ ๑๒๐ <strong>ปี</strong> ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๐ ดังนั้น<br />

พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ ปลัดกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น จึงมีแนวคิดที่จะ<br />

จัดสร้างประติมากรรมพญาคชสีห์หล่อด้วยโลหะสำริด เพื่อเป็นสัญลักษณ์<br />

ทางประวัติศาสตร์การทหารไทย ซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดี และถวาย<br />

การปกป้องพระราชจักรีวงศ์ โดยอาราธนาพระพรหมวชิรญาณ กรรมการ<br />

มหาเถรสมาคมและเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ได้เมตตานุเคราะห์ ขนานนาม<br />

ประติมากรรมพญาคชสีห์ทั้งสององค์ข้างต้น และได้มอบหมายให้ บริษัท<br />

เอเชีย ไฟน์ อาร์ท จำกัด ดำเนินการหล่อประติมากรรมพญาคชสีห์ทั้งสอง<br />

องค์ โดยมีกิจกรรมตามลำดับดังนี้<br />

๑. พิธีเททอง ในวันศุกร์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๙ ณ โรงหล่อบริษัท<br />

เอเชีย ไฟน์ อาร์ท จำกัด อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

โดย พระพรหมวชิรญาณ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลเอก สิริชัย<br />

ธัญญสิริ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส<br />

๒. พิธีมังคลาภิเษก ในวันศุกร์ที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ ณ ลานอเนก<br />

ประสงค์ ในศาลาว่าการกลาโหม โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธาน<br />

คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และประธานกรรมการ<br />

มหาเถรสมาคม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ<br />

พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานฆราวาส<br />

๓. พิธีสมโภชเปิดผ้าแพรพญาคชสีห์ ในวันอาทิตย์ที่ ๔ มิถุนายน<br />

๒๕๔๙ ณ ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม โดย ฯพณฯ พลเอก เปรม<br />

ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธี<br />

ทั้งนี้ พญาคชสีห์ทั้งสององค์มีขนาดเท่ากันคือ ความสูงจากเท้า<br />

ถึงหัวไหล่ ๑.๒๐ เมตร ความสูงจากเท้าถึงปลายยอดมงกุฎ ๓.๒๐ เมตร<br />

ความสูงของฐาน ๑.๓๐ เมตร เมื่อรวมความสูงจากฐานถึงปลายยอดมงกุฎ<br />

๔.๕๐ เมตร<br />

92


เรื่องเล่าที่ ๕๘<br />

ป้ายกระทรวงกลาโหม<br />

เดิมทีศาลาว่าการกลาโหมมีป้ายบ่งบอกว่าเป็นกระทรวงกลาโหม<br />

ประดิษฐานอยู่ที่บริเวณใต้หน้าบันมุขกลางของอาคารว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งเป็นอักษรปูนปั้นนูนต่ำข้อความว่า “กระทรวงกลาโหม” สันนิษฐานว่า<br />

จัดสร้างขึ้นในคราวที่ปรับปรุงและต่อเติมระเบียงมุขหน้าของกระทรวง<br />

กลาโหม ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๑ – ๒๔๘๒<br />

ในเวลาต่อมา เมื่อมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์<br />

ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมด้านหน้าและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณ<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหมเป็นจำนวนมาก ทำให้มักจะมีคำถามจาก<br />

นักท่องเที่ยวต่างชาติว่าสถานที่นี้คือหน่วยงานราชการใดของรัฐบาลไทย<br />

แม้ว่าจะมีป้ายบอกสถานที่ของกรุงเทพมหานครก็ตาม แต่เนื่องจาก<br />

การตากแดดตากฝนเป็นเวลานานทำให้ตัวหนังสือบนป้ายดังกล่าวลบเลือน<br />

จนไม่สามารถอ่านได้อย่างสะดวก<br />

เรื่องดังกล่าวจึงทำให้ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน อดีตปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม มีดำริในการสร้างป้ายบอกนามสถานที่ โดยจัดสร้าง<br />

เป็นแท่นประดับหินสีเขียวและติดตั้งตัวอักษรสีทองข้อความ “กระทรวง<br />

กลาโหม Ministry of Defence” โดยจัดสร้างแล้วเสร็จก่อนงาน<br />

วันสถาปนากระทรวงกลาโหมครบรอบ ๑๒๖ <strong>ปี</strong> วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๖<br />

93


เรื่องเล่าที่ ๕๙<br />

เสาธงชาติ<br />

เสาธงชาติที่ประดิษฐานหน้าศาลาว่าการกลาโหม เป็นเสาธงชาติ<br />

ที่มีความสูงและอลังการมากในยุคปัจจุบัน ท่านทราบหรือไม่ว่าในอดีต<br />

ในยุคของโรงทหารหน้า หรือศาลายุทธนาธิการ หรือศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในยุคก่อนหน้า <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๐ นั้น มิได้ประดิษฐานหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

แต่อย่างใด หากแต่เสาธงชาติจะประดิษฐานหน้าป้อมเผด็จดัสกร พระบรม<br />

มหาราชวัง ฝั่งตรงข้ามศาลาว่าการกลาโหม<br />

ต่อมา เมื่อรื้อเสาธงชาติบนป้อมเผด็จดัสกรออก จึงได้ประดิษฐาน<br />

เสาธงชาติภายในกล่าวคือ อยู่บริเวณสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

บริเวณทิศตะวันตกหรืออยู่หลังมุขกลาง และใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีการ<br />

ขยับเสาธงชาติย้ายมาประดิษฐานอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยมีสาระ<br />

สำคัญของการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑. จัดสร้างครั้งแรก เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการร่วม<br />

เฉลิมฉลองในโอกาสฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ (พ.ศ.๒๕๐๐) และเพื่อ<br />

ความเป็นสิริมงคลแก่อาคารศาลาว่าการกลาโหมและข้าราชการในสังกัด<br />

จึงกำหนดสร้างเสาธงชาติที่มีความสูง ๒๕ เมตร ตามจำนวนครบรอบ<br />

พุทธศาสนา ๒๕ พุทธศตวรรษ โดยกำหนดฤกษ์สร้าง ในวันพฤหัสบดีที่<br />

๒ ธันวาคม ๒๔๙๗ (วันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนอ้าย <strong>ปี</strong>มะเมีย จุลศักราช ๑๓๑๖)<br />

เวลา ๑๒.๓๐ น. ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสร้างคือ กรมยุทธโยธา<br />

ทหารเรือ (กรมอู่ทหารเรือ ในปัจจุบัน) ทำการออกแบบและจัดสร้างโดย<br />

พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ)<br />

อดีตสถาปนิกประจำกรมยุทธโยธาทหารเรือ และได้ประกอบพิธีเชิญธง<br />

ขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรกในวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๙๘ เวลา ๐๘.๐๐ น.<br />

โดย พลโท หลวงสถิตยุทธการ (ยศในขณะนั้น) อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒. จัดสร้างครั้งที่สอง เพื่อปรับปรุงให้เกิดความทันสมัย สวยงาม<br />

และโดดเด่น บ่งบอกถึงความสง่างามของศาลาว่าการกลาโหม ด้วยการ<br />

ปรับความสูงของเสาธงชาติเพิ่มอีก ๕ เมตร รวมเป็น ๓๐ เมตร และใช้<br />

วิธีชักธงชาติด้วยไฟฟ้า และนำเส้นลวดสลิง ที่เคยผูกโยงกับเสาธงชาติ<br />

เดิมออก โดยดำเนินการตามแนวดำริของ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งทำพิธีตอกเสาเข็มเพื่อเป็นมงคลในการ<br />

ก่อสร้างในวันศุกร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๓๙ น. และได้<br />

ประกอบพิธีเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๖<br />

เวลา ๐๘.๐๐ น.<br />

94


เรื่องเล่าที่ ๖๐<br />

รั้วเหล็กรอบสนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในระหว่างการปรับภูมิทัศน์และในการจัดวางปืนใหญ่โบราณ<br />

ครั้งที่ ๔ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๗ ได้มีการรื้อรั้วเหล็กเดิมออกและทำเป็นเสาปูน<br />

มีโซ่ร้อยเรียงกันขึ้นทดแทน ซึ่งจากการค้นคว้า ทราบว่ารั้วเหล็กดังกล่าว<br />

ได้ถูกสร้างขึ้นและใช้งานมาในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๒) มีลักษณะเป็นเหล็กดัดรูปสี่เหลี่ยมสองชั้นบริเวณมุมทั้งสี่ย่อมุม<br />

เข้าหาศูนย์กลางทาสีขาวนวล ติดอยู่กับเสาสี่เหลี่ยมย่อมุม ด้านบนเป็นทรง<br />

ฉัตรเหลี่ยมไล่ระดับ<br />

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการก่อสร้างมิได้รื้อถอนออกทั้งหมด<br />

แต่ยังคงเหลือรั้วไว้บางส่วน รวม ๒ จุด จุดละ ๒ ช่อง รวมเป็น ๔ ช่อง<br />

ซึ่งอยู่ติดกับหัวเสาข้างป้อมยามรักษาการณ์ คือ<br />

๑. บริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนหลักเมืองตรงข้าม<br />

ศาลหลักเมือง<br />

๒. บริเวณทางออกถนนด้านข้างถนนกัลยาณไมตรีตรงข้ามประตู<br />

วังสราญรมย์<br />

ทั้งนี้ เป็นการอนุรักษ์โบราณวัตถุไว้ เพื่อให้เห็นเป็นต้นแบบในกรณี<br />

ที่จะทบทวนจัดทำขึ้นใหม่หรือเก็บไว้ให้อนุชนรุ่นต่อไปได้ศึกษาเรียนรู้ถึง<br />

ศิลปกรรมของบรรพบุรุษที่ได้ออกแบบและจัดทำขึ้นในอดีต<br />

95


เรื่องเล่าที่ ๖๑<br />

ลิฟต์โดยสารภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณ<br />

ใกล้กับห้องทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีการจัดทำเป็น<br />

ลิฟต์โดยสาร (Elevator) สำหรับอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้บังคับบัญชา<br />

ชั้นสูงในการขึ้นลงอาคารทั้ง ๓ ชั้น ซึ่งเป็นลิฟต์โดยสารแบบมีประตูบาน<br />

เปิดปิดด้านหน้า และด้านในจะมีประตูเหล็กรูดปิดด้านหน้า ซึ่งจะต้อง<br />

รูดประตูเหล็กให้สนิทมิฉะนั้นลิฟต์โดยสารจะไม่เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นรุ่นนิยม<br />

ของกิจการลิฟต์ที่มีชื่อทางการค้าว่า Otis Brothers นอกจากการสร้าง<br />

ลิฟต์โดยสารแล้ว ยังได้มีการจัดสรรพื้นที่ทำส่วนประกอบของลิฟต์โดยสาร<br />

ประกอบด้วย ช่องสำหรับให้ลิฟต์ขึ้นลง, ช่องประตูเข้าและออกทั้ง<br />

๓ ชั้น ในลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็กครอบตัวลิฟต์และส่วนประกอบอย่าง<br />

เป็นมาตรฐาน ซึ่งในยุคแรกมีการทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมคอนกรีตลวดลาย<br />

กากบาทโปร่งครอบแท่งคอนกรีตอีกชั้น ก่อนรื ้อกล่องครอบออกจนเห็น<br />

เป็นแท่งคอนกรีตในปัจจุบัน<br />

จากการศึกษาประวัติการใช้ลิฟต์โดยสารของประเทศไทย ทราบว่า<br />

เริ่มมีการนำลิฟต์โดยสารมาติดตั้งครั้งแรกประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๕๕ รัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการนำเข้าลิฟต์ที่ขับเคลื่อน<br />

ด้วยเครื่องจักรจากประเทศอิตาลีมาติดตั้ง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และ<br />

ติดตั้งลิฟต์ที่ขับเคลื่อนโดยแรงคนที่พระที่นั่งวโรภาสพิมาน ในพระราชวัง<br />

บางปะอิน ต่อมา เมื่อมีไฟฟ้าใช้จึงได้เริ่มนำเข้าลิฟต์จากต่างประเทศ<br />

เพื่อใช้ติดตั้งตามหน่วยงานราชการสำคัญ พร้อมให้การดูแลบำรุงรักษา<br />

อันเป็นที่มาเริ่มแรกของการใช้ลิฟต์ในประเทศ ประกอบกับอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมเป็นอาคารขนาดใหญ่และมีความทันสมัย ทั้งนี้<br />

ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ที่ดำรงพระยศและดำรงตำแหน่งสำคัญ<br />

ในกระทรวงกลาโหมคือเสนาบดีกระทรวงกลาโหมหลายพระองค์ และ<br />

เมื่อพิจารณาจากรูปลักษณ์ของการสร้างช่องขึ้นลงลิฟต์แล้วคาดว่า<br />

เป็นฝีมือช่างโบราณจึงมีความเป็นไปได้สูงว่า เป็นการสร้างในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

อย่างไรก็ตาม เมื ่อพิจารณาจากวิวัฒนาการของลิฟต์โดยสาร<br />

ในประเทศไทย ทราบว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจากการศึกษา<br />

ลักษณะทางกายภาพของลิฟต์โดยสารก่อนเปลี่ยนแปลงมาใช้ในระบบ<br />

ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ลักษณะลิฟต์โดยสารของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

และช่วงเวลาของการสร้าง ประมาณว่า ลิฟต์โดยสารที่ปรับปรุงมาใช้งาน<br />

ครั้งหลังสุดน่าจะจัดทำในห้วงการต่อเติมอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ทางทิศตะวันออกริมคลองคูเมืองเดิม ประมาณระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๖ -<br />

๒๕๐๓ ทั้งนี้เพราะอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดเดิมก็เคยติดตั้ง<br />

ลิฟต์โดยสารที่มีลักษณะคล้ายกับในอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้วยเช่นกัน<br />

96


เรื่องเล่าที่ ๖๒<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลองในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อเข้ามาภายในศาลาว่าการกลาโหมบริเวณริมลานจอดรถและ<br />

สนามภายในศาลาว่าการกลาโหม จะพบเห็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที ่กำลังพล<br />

ในศาลาว่าการกลาโหมต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงกันโดยตลอดคือ<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เป็นสถานที่ประดิษฐานของรูปเหมือนของ<br />

เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้มีการบันทึก<br />

ประวัติว่า ท่านเกิดที่กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นทหารเอกในพระเจ้ากรุงธนบุรี<br />

และดำรงตำแหน่งพลรบฝ่ายซ้าย โดยเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ ได้เคยติดตาม<br />

พระเจ้ากรุงธนบุรีปฏิบัติการรบมาโดยตลอด มีความเชี่ยวชาญในทางหอก<br />

และชอบให้ทหารตีกลองศึกในเวลาออกรบกับจัดหากลองรบมาเอง จึงทำให้<br />

ทหารทั้งหลายในสังกัด ต่างพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า “เจ้าพ่อหอกลอง” ทั้งนี้<br />

ท่านได้สร้างกลองส่วนตัวขึ้นหนึ่งใบหอบหิ้วติดตัวไปในทุกสมรภูมิ และใช้<br />

ตีบอกสัญญาณการรบจนได้ชัยชนะเหนือข้าศึกในทุกครั้ง จากเกียรติประวัติ<br />

ของท่านจึงกล่าวได้ว่าท่านเป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชของ<br />

ชาติไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ได้เลื่อนเป็นพลรบฝ่ายขวาแทนเจ้าพระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดี<br />

ฟันขาว) และรับราชการในหน่วยกำลังรบมาโดยตลอด ต่อมาท่านได้<br />

ล้มป่วยเป็นโรคลำไส้ และได้ถึงแก่อนิจกรรมที่พระราชวังเดิม จังหวัดธนบุรี<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๓๔๑ อายุ ๕๘ <strong>ปี</strong><br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการขยาย<br />

ถนนสนามไชยจึงทำให้ต้องรื้อหอกลองเดิม จึงต้องเชิญกลองประจ ำพระนคร<br />

จำนวน ๓ ใบ จากหอกลองที่บริเวณสวนเจ้าเชตุ มาเก็บรักษาไว้ที่ชั้น ๔ ของ<br />

หอคอยโรงทหารหน้าทางทิศตะวันออก ใกล้สะพานช้างโรงสี และต่อมาได้<br />

เชิญกลองประจำพระนครทั้ง ๓ ใบ ไปเก็บรักษาไว้ ณ พระบรมมหาราชวัง<br />

ก่อนนำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตามลำดับ<br />

แม้ว่าจะได้เชิญกลองประจำพระนครไปเก็บรักษาไว้ที่พระบรม<br />

มหาราชวังแล้ว กระทรวงกลาโหม ก็ยังคงตั้งศาลเจ้าพ่อหอกลองไว้บริเวณ<br />

ชั้น ๔ ของหอคอยโรงทหารหน้าเพื่อให้กำลังพลสักการะเรื่อยมา จนเมื่อ<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๕๐๐ อาคารศาลาว่าการกลาโหมเกิดการแตกร้าว จึงได้ทำการรื้อ<br />

เจ้าพ่อหอกลองหรือเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน)<br />

ศาลหลังเก่า<br />

97


ศาลหลังปัจจุบัน<br />

หอคอยและศาลเจ้าพ่อหอกลองเดิมออก จึงต้องทำการสร้างศาลเจ้าพ่อ<br />

หอกลองขึ้นใหม่ พร้อมทั้งหล่อรูปจำลองเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน)<br />

เท่าตัวจริง ประดิษฐาน ณ บริเวณสนามภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ<br />

วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๒ โดยหันหลังศาลเจ้าพ่อหอกลองไปทาง<br />

ทิศตะวันออก (คือหันหน้าศาลไปทางหน้าศาลาว่าการกลาโหมทางทิศ<br />

ตะวันตกนั่นเอง)<br />

นับแต่นั้นมา กล่าวกันว่ามักปรากฏเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ<br />

เจ้าพ่อหอกลอง ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงที่มาปฏิบัติงานพบเห็นและสัมผัส<br />

อยู่เป็นประจำ ผู้บังคับบัญชาสมัยนั้นคือ นายพลเอก หลวงสถิตยุทธการ<br />

อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม จึงดำริที่จะจัดสร้างและประดิษฐานศาลเจ้าพ่อ<br />

หอกลองจำลองไว้บริเวณชั้น ๓ หรือใต้บริเวณที่เคยตั้งหอกลองเดิม โดยมี<br />

ลักษณะหอกลองในรูปแบบหอประจำเชิงเทินบนกำแพงเมือง พร้อมกับ<br />

อัญเชิญดวงวิญญาณของเจ้าพ่อหอกลอง (เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ขึ้น<br />

ศาลเจ้าพ่อหอกลองจำลอง<br />

ประทับยังศาลจำลองบริเวณชั้นที่ ๓ (ที่ตั้งของสำนักงานอนุศาสนาจารย์<br />

กรมเสมียนตรา) มาจวบจนปัจจุบัน<br />

ต่อมา ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๐ ที่มีการปรับปรุงอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

จึงได้ทำการปรับปรุงศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้นมาใหม่แทนศาลเดิมที ่รื้อออก<br />

บริเวณด้านทิศตะวันออกของสนามภายในศาลาว่าการกลาโหมหรือในที่เดิม<br />

โดยมีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยทรงจัตุรมุข มียอดมณฑปขนาด<br />

ประมาณ ๖ เมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูหินอ่อน ประดับ<br />

ลวดลายปูนปั้นลายไทย หน้าบันทั้ง ๔ ด้าน จัดทำเป็นรูปปูนปั้นนูนต่ำรูป<br />

กลองโบราณ รอบนอกศาลปูหินแกรนิต มีการติดตั้งปืนคาร์โรเน็ต หุ้มปาก<br />

กระบอกปืนลงดินและท้ายกระบอกปืนชี้ขึ้นฟ้าบริเวณด้านหลังศาลจำนวน<br />

๒ กระบอก ประกอบพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อหอกลองขึ้นประทับศาล เมื่อวันที่<br />

๓ เมษายน ๒๕๔๑ โดย พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในการประกอบพิธี<br />

98


เรื่องเล่าที่ ๖๓<br />

กลองประจำพระนคร<br />

เมื่อกล่าวถึงศาลเจ้าพ่อหอกลองแล้ว ขอใช้โอกาสนี้นำเสนอข้อมูล<br />

เรื่องกลองประจำพระนคร และความเกี ่ยวข้องกับศาลาว่าการกลาโหม<br />

เพื่อให้ทุกท่านได้กรุณาทราบว่า มีการบันทึกเรื่องกลองประจำพระนครไว้<br />

ดังนี้<br />

๑. สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการสร้างหอกลองประจำเมือง โดยให้<br />

อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมพระนครบาล โดยลักษณะของหอกลอง<br />

เป็นหอสูงสามชั้น สร้างด้วยไม้ สูง ๑ เส้น ๑๐ วา หลังคาเป็นทรงยอดสูง<br />

ซึ่งแต่ละชั้นจะมีกลองอยู่ประจำชั้น ดังนี้<br />

๑.๑ ชั้นบน เป็นที่ตั้งของกลองขนาดเล็ก มีชื่อว่า “มหาฤกษ์”<br />

ซึ่งจะใช้ตีก็ต่อเมื่อมีข้าศึกยกทัพเข้ามาเข้ามาประชิดพระนคร<br />

๑.๒ ชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของกลองขนาดกลาง มีชื่อว่า<br />

“พระมหาระงับดับเพลิง” ซึ่งจะใช้ตีเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยบริเวณภายในหรือ<br />

รอบพระนคร โดยมีจังหวะของการตีกลองนี้ ๓ จังหวะ คือ ถ้าเกิดเหตุ<br />

เพลิงไหม้บริเวณเชิงกำแพงเมืองหรือบริเวณกำแพงเมือง เจ้าหน้าที่จะ<br />

ตีกลองนี้ตลอดเวลาจนกว่าเพลิงจะดับ<br />

๑.๓ ชั้นล่าง หรือเรียกอีกอย่างว่า ชั้นต้น จะเป็นที่ตั้งของกลอง<br />

ขนาดใหญ่ มีชื่อว่า “พระทิวาราตรี” ซึ่งจะใช้ตีบอกเวลา เริ่มตั้งแต่ เวลาเช้า<br />

เวลาเที่ยง และเมื่อตะวันยอแสงเวลาพลบค่ำ อีกทั้งอาจก็จะตีในโอกาส<br />

ที่จะมีการประชุม เรียกว่า ย่ำสันนิบาต<br />

๒. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอกลองประจำเมือง<br />

ตามคติที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ให้สร้างหอกลองขึ้นที่บริเวณใกล้<br />

คุกเก่าที่เรียกว่า หับเผย ตั้งอยู่หน้าวัดโพธาราม (ปัจจุบันคือวัดพระเชตุพน<br />

วิมลมังคลารามราชวรวิหาร) สำหรับที่ดินที่ใช้สร้างหอกลองเรียกว่า สวน<br />

เจ้าเชตุ (ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้ง หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน) ทั้งนี้<br />

หอกลองนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอกลองในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือเป็น<br />

อาคารทำด้วยไม้สูง ๓ ชั้น ไม่มีฝากั้น รูปทรงสูงชะลูดขึ้นไป หลังคาทำเป็น<br />

รูปมณฑป และภายในประดิษฐานกลองขนาดใหญ่ รวม ๓ ใบ มีชื่อ ขนาด<br />

และวัตถุประสงค์ในการใช้กล่าวคือ<br />

ภาพหอกลองเดิม (บริเวณสวนเจ้าเชตุ)<br />

๒.๑ ชั้นล่าง ประดิษฐานกลองชื่อว่า “กลองย่ำพระสุริย์ศรี”<br />

มีขนาดหน้ากว้าง ๘๒ เซนติเมตร ยาว ๘๒ เซนติเมตร ใช้สำหรับตีบอกเวลา<br />

๒.๒ ชั้นที่สอง ประดิษฐานกลองชื่อว่า “กลองอัคคีพินาศ”<br />

มีขนาดหน้ากว้าง ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๖๑ เซนติเมตร ใช้สำหรับตีในกรณี<br />

เกิดอัคคีภัย<br />

๒.๓ ชั้นบนสุด ประดิษฐานกลองชื่อว่า “กลองพิฆาตไพรี”<br />

มีขนาดกว้าง ๔๔ เซนติเมตร ยาว ๔๖ เซนติเมตร สำหรับตีเมื่อเกิด<br />

ศึกสงครามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

ซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารหอกลองนี้ ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อหอกลองและ<br />

นำกลองทั้ง ๓ ใบ ไปเก็บรักษาชั่วคราวไว้ที่ชั้น ๔ ของหอคอยโรงทหารหน้า<br />

เนื่องจากต้องการใช้พื้นที่ในการสร้างและขยายถนนสนามไชยก่อนย้ายไป<br />

เก็บรักษาเป็นการถาวรที่หอริมประตูเทวาพิทักษ์ ในพระบรมมหาราชวัง<br />

และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองทั้ง<br />

๓ ใบ มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร (ปัจจุบันคือ<br />

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)<br />

99


ภาพกลองประจำพระนคร<br />

(ปัจจุบันตั้งแสดงที่พระที่นั่งปฤษฎางคภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)<br />

(๒) กลองอินทเภรี เป็นกลองศึกที่ใช้บอกสัญญาณในการ<br />

ทำศึกสงคราม ซึ่งถือว่าเป็นกลองของพระอินทร์ใช้บอกสัญญาณในการ<br />

เคลื่อนทัพ การเข้าสัประยุทธ์ ซึ่งในบางตำราอาจเรียกว่ากลองสะบัดชัย<br />

นอกจากนี้ ในบางท้องถิ่นอาจใช้ชื่อกลองอินทเภรีเป็นการตีบอกเวลา<br />

ด้วยเช่นกัน (ในจังหวัดพิษณุโลก) ปัจจุบัน กลองอินทเภรี ได้จัดแสดง<br />

ไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร<br />

อย่างไรก็ตาม นอกจากกลองทั้งสามใบประจำหอกลองแล้ว ยัง<br />

ปรากฏว่ามีกลองที่สำคัญของประเทศ หรือกลองประจำพระนครอีก ๒ ใบ<br />

และมีประวัติสำคัญ กล่าวคือ<br />

(๑) กลองวินิจฉัยเภรี หรือ “กลองร้องทุกข์” ในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริการบำบัดทุกข์ของราษฎร<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อกลองสำหรับตีกลอง<br />

ร้องฎีกา ว่า “กลองวินิจฉัยเภรี” ตั ้งไว้ ณ ทิมดาบกรมวัง (ศาลาแถว<br />

พวกขุนนางคอยเฝ้าฟังกระแสราชการ) ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง<br />

ให้กรมวังลั่นกุญแจไว้ เมื่อผู้ใดจะไปร้องถวายฎีกา กรมวังก็จะไปไขกุญแจให้<br />

เมื่อตีกลองแล้วตำรวจเวรก็ไปรับตัวและเรื่องราวของผู้ตีมาแล้วจึงนำ<br />

ความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อมีพระบรมราชโองการตรัสสั่งให้ผู้ใดต้อง<br />

ชำระความ ก็ให้ส่งเรื่องที่ถวายฎีกาไปตามรับสั่งนั้น พระองค์จะตรัสถาม<br />

ในเรื่องที่มีผู้ร้องฎีกาเสมอ ซึ่งตระลาการผู้ต้องชำระความก็ต้องชำระความ<br />

ไปตามกฎหมายด้วยความถูกต้องให้ความยุติธรรมแก่ผู้ร้องถวายฎีกา<br />

ปัจจุบัน กลองวินิจฉัยเภรี ได้จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร<br />

100


เรื่องเล่าที่ ๖๔<br />

ตราสัญลักษณ์สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ในปัจจุบัน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถือเป็นส่วนราชการ<br />

สำคัญที่มีที่ตั้งอยู่ในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งได้มีการจัดทำตรา<br />

สัญลักษณ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นรูปปูนปั้นนูนต่ำ<br />

รูปจักรสมอ<strong>ปี</strong>กเรียงสอดไว้ด้วยกัน ประดิษฐานอยู่ที่บริเวณหน้าจั่วของ<br />

อาคารมุขกลางภายในอาคารศาลว่าการกลาโหม โดยที่ จักรสมอ<strong>ปี</strong>ก<br />

ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ทางความมั่นคงของประเทศ และเป็นตราสัญลักษณ์<br />

ของส่วนราชการที่มีหน้าที่เตรียมกำลังและใช้กำลังตามภารกิจของกำลัง<br />

ทางบก กำลังทางน้ำ และกำลังทางอากาศ กล่าวคือ<br />

l จักร หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารบก<br />

l สมอ หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารเรือ<br />

l <strong>ปี</strong>ก หมายถึง สัญลักษณ์ของทหารอากาศ<br />

ทั้งนี้ เพราะสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นส่วนราชการ<br />

ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีภารกิจสำคัญตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบ<br />

ราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๑๓ กล่าวคือ<br />

“มาตรา ๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวงมีหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบาย<br />

และยุทธศาสตร์งานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการส่วน<br />

หนึ่งส่วนใดของกระทรวง ซึ่งมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการ<br />

อื่นใด มีปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ”<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จึงมีหน้าที่ในการ<br />

ประสานงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์กับทั้ง ๓ เหล่าทัพ จึงมีกำลังพล<br />

ที่กำเนิดมาจากทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ รวมถึงกำลังพล<br />

ที่ต้องปฏิบัติราชการกับ ๓ เหล่าทัพ นอกจากนี้ กำลังพลในสังกัดสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ยังมีกำลังพลที่แต่งกายเหล่าทหารบก ทหารเรือ<br />

และทหารอากาศ ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมอีกด้วย<br />

ต่อมาใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๕ มีการต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ทางทิศตะวันออกขึ้นใหม่ จึงได้ทำการจัดทำตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมขึ้นที่หน้าจั่วของอาคารด้านทิศตะวันออกหันหน้า<br />

เข้าหาคลองคูเมืองเดิม<br />

101


เรื่องเล่าที่ ๖๕<br />

เกียรติภูมิของสนามภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

๒.๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาทอดพระเนตรและพระราชทานรางวัลแก่นักกีฬา<br />

ผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาภายในศาลาว่าการกลาโหม โดยประทับ<br />

ณ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหญ้า ภายในศาลาว่าการกลาโหม บริเวณ<br />

ใกล้บันไดทางขึ้นลงด้านหลังมุขกลาง<br />

๒.๒ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๐ มีการประกอบพิธี<br />

ตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า) โดยมีการตั ้งขบวนแห่พระยาโล้ชิงช้า เริ่มต้นจาก<br />

สนามภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

สนามภายในศาลาว่าการกลาโหมนี้ มีเกียรติภูมิและเกียรติประวัติ<br />

ทางการทหารและประเทศไทยมากมาย โดยมีเหตุการณ์สำคัญ กล่าวคือ<br />

๑. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ประกอบ<br />

พระราชพิธีสำคัญ ดังนี้<br />

๑.๑ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพิธี<br />

ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ๒๔๓๐<br />

๑.๒ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในพระราชพิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๓๖<br />

๑.๓ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในพระราชพิธีสมโภชเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการประพาสยุโรป<br />

คราวแรก เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๔๐<br />

๑.๔ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในพิธีถวายพระคทาจอมพลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๖<br />

๑.๕ พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล สมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานธงชัยเฉลิมพล<br />

ณ สนามหญ้า ภายในศาลายุทธนาธิการ เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๕๑<br />

๒. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเหตุการณ์<br />

สำคัญ ดังนี้<br />

ภาพขบวนพิธีแห่พระยาโล้ชิงช้าบริเวณถนนสนามไชยและถนนเฟื่องนครเดิม<br />

(ถนนกัลยาณไมตรี)<br />

๒.๓ ภายหลังที่พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงตัดสินพระราชหฤทัยนำ<br />

ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม<br />

๒๔๖๐ โดยประกาศสงครามกับ<br />

กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ มีการทำพิธี<br />

มหาพิชัยยุทธ และในวันที่ ๑๙<br />

มิถุนายน ๒๔๖๑ พระราชทาน<br />

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์<br />

รามาธิบดี ประดับธงชัยเฉลิมพล<br />

ให้เป็นเกียรติแก่กองทหารอาสา ณ<br />

พระที่นั่งชุมสาย ภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม<br />

102


๓. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเหตุการณ์<br />

สำคัญ ดังนี้<br />

๓.๑ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่ทรงพระกรุณาเสด็จ<br />

พระราชดำเนินมาตรวจแถวและเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ในโอกาสเสด็จนิวัตพระนคร เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๗๔<br />

จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นองค์ประธานการแข่งขันกีฬาภายในกระทรวงกลาโหม<br />

๓.๒ มีการจัดแข่งกีฬาภายในกระทรวงกลาโหม โดยเสนาบดี<br />

ในสมัยนั้น ๒ พระองค์เสด็จมาเป็นประธาน คือ นายพลเอก พระเจ้า<br />

บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัคร<br />

โยธิน และจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์<br />

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต<br />

๔. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร มีเหตุการณ์สำคัญ ดังนี้<br />

๔.๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานกระบี่และ<br />

พระราชทานปริญญาบัตรแก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน<br />

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ<br />

ระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๐ จนถึง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๙ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี<br />

ณ หอประชุมใหญ่ สวนอัมพร<br />

นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน<br />

ฉายภาพกับกำลังพลในกระทรวงกลาโหม<br />

103


๔.๒ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙<br />

เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานกระบี่และ<br />

พระราชทานปริญญาบัตรแก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน<br />

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๗ และ <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๘<br />

๔.๓ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๘ ประกอบพิธีเลี้ยงสังสรรค์<br />

เจ้าหน้าที่ไทย - อเมริกัน ในวาระครบรอบ ๕ <strong>ปี</strong> แห่งสนธิสัญญาว่าด้วย<br />

การช่วยเหลือทางการทหารระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา<br />

๔.๕ ปลาย<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๒ ประกอบพิธีประดับเหรียญชัยสมรภูมิ<br />

กรณีสงครามเวียดนามแก่ทหารและทายาทของผู้ที่เสียชีวิต<br />

๔.๔ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒ ประกอบพิธีสวนสนาม<br />

อำลาผู้บังคับบัญชา เพื่อไปปฏิบัติราชการในสงครามเวียดนาม<br />

104


เรื่องเล่าที่ ๖๖<br />

เกียรติประวัติของสนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

นอกจากเกียรติภูมิของสนามภายในศาลาว่าการกลาโหมแล้ว<br />

สนามหญ้าด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหมยังเคยจารึกประวัติศาสตร์สำคัญ<br />

ระดับชาติของประเทศไทยไว้เมื่อวันอังคารที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓ กล่าวคือ<br />

ในวันดังกล่าว มีขบวนการเรียกร้องดินแดนไทยคืนจากฝรั่งเศสที่ใช้<br />

อำนาจไม่เป็นธรรมยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปใน กรณี ร.ศ.๑๑๒<br />

(พ.ศ.๒๔๓๖) ประกอบด้วย ยุวชนทหารและยุวนารีซึ่งเป็นนิสิตและ<br />

นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์<br />

และการเมือง สมทบกับประชาชนผู้รักชาติรวมตัวกันใช้ชื่อ “เลือดไทย”<br />

พากันมาจากทุกสารทิศ นัดหมายมาพบกันที่จังหวัดพระนคร และเริ่ม<br />

เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยใช้เส้นทางถนนราชดำเนินเคลื่อน<br />

เข้าสู่ท้องสนามหลวงและมีประชาชนและนักศึกษาบางส่วนเดินทาง<br />

มาทางถนนหน้าพระลาน และถนนสายต่างๆ เคลื่อนที่มาหยุดชุมนุมกัน<br />

ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยผู้ร่วมชุมนุมในครั้งนี้ มีเจตนาเดียวกัน<br />

ที่จะแสดงพลังของประชาชนเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลใช้กำลังทหารเข้าต่อสู้<br />

กับฝรั่งเศส<br />

นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม กับ นายพันเอก หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต อดีต<br />

รองผู้บัญชาการทหารบก เจ้ากรมยุวชนทหารและรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัย ได้ให้การต้อนรับคณะยุวชนทหาร ยุวนารี และประชาชน<br />

ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งผู้แทนของนิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัย<br />

ทั้งสองสถาบันในเครื่องแบบยุวชนทหารและยุวนารี ได้เสนอการเรียกร้อง<br />

ดินแดนคืนต่อ นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม พร้อมกับขอให้เป็นผู้น ำกองทัพ<br />

ของชาติเข้ายึดเอาดินแดนของไทยกลับคืนมาจากฝรั่งเศส เพื่อให้พี่น้อง<br />

105


ชาวไทยที่อยู่ในดินแดนดังกล่าว ได้กลับมาร่วมเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทย<br />

ตามเดิม พร้อมกันนี้ ยุวชนทหารและยุวนารีทั้งสองมหาวิทยาลัยได้แสดง<br />

เจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ว่าจะมอบชีวิตไว้เป็นชาติพลี<br />

นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้กล่าวปราศรัยต้อนรับ และ<br />

สรรเสริญสดุดีในความรักชาติ ความสามัคคี และความเสียสละเพื่อประเทศ<br />

ชาติของประชาชนชาวไทยทั้งมวล และขอมติสนับสนุนการเรียกร้อง<br />

ดินแดนในอินโดจีนกลับคืน พร้อมกับได้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมกัน<br />

กล่าวปฏิญาณตนหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จบแล้วได้กล่าวอวยชัย<br />

ให้พร ไชโยสามครั้ง เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ซาบซึ้งตรึงใจเป็นที่สุด<br />

หลังจากนั้น คณะประชาชน ยุวชนนายทหารได้เคลื่อนขบวนจากหน้า<br />

ศาลาว่าการกลาโหม มุ่งหน้าไปยังทำเนียบนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอมติ<br />

ของประชาชนในอันที่จะขอให้รัฐบาลใช้กำลังบังคับแก่รัฐบาลอินโดจีน<br />

ฝรั่งเศส ให้คืนดินแดนที่ไทยเสียไปอย่างยุติธรรม<br />

ซึ่งมีบทร้อยกรองเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในหนังสือ เกียรติภูมิ...<br />

กระทรวงกลาโหม ภาคลิลิตคืนดินแดน ว่า<br />

โคลงสองสุภาพ<br />

๏ ยามเพลาเยี่ยงนี้ หมายบ่งบอกความชี้<br />

พี่น้องชาวไทย ฯ<br />

๏ เดินทางไกลมุ่งเน้น บอกต่อทวยหาญเฟ้น<br />

อย่ายั้งรีรอ ฯ<br />

๏ ยืนขอมิเคลื่อนย้าย เสียงกู่อีกชูป้าย<br />

ดั่งคล้ายหมายปอง ฯ<br />

๏ ทำนองหมายเร่งเร้า จงก่อกองทัพเข้า<br />

ต่อสู้ไพรี ฯ<br />

จากนั้นเป็นต้นมา การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนของประชาชน<br />

ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมากมาย ทั้งในจังหวัดพระนครและแพร่ขยาย<br />

ออกไปทั่วประเทศ ซึ่งการเดินขบวนครั้งนี้เป็นการเดินขบวนเพื่อการ<br />

มีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนหรือเป็นสงครามภาคประชาชน<br />

เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และนำไปสู่สงครามอินโดจีน ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๔<br />

ในเวลาต่อมา<br />

106


เรื่องเล่าที่ ๖๗<br />

การฉลองชัยชนะที่มีต่อฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีน<br />

ภายหลังจากที่รัฐบาลไทยได้พยายามดำเนินการทางการทูตในการ<br />

เจรจากับผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหลายครั้ง<br />

แต่ฝ่ายฝรั่งเศสไม่มีท่าทียินยอม จนเกิดการปะทะกันบ่อยครั้ง ทั้งทางบก<br />

และทางอากาศ และมีการเคลื่อนกำลังทหารไทยพร้อมประกาศสงคราม<br />

กับฝรั่งเศสในวันที่ ๗ มกราคม ๒๔๘๔ และในที่สุดญี่ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ย<br />

กรณีพิพาทดังกล่าว โดยมีการประกาศหยุดยิงในเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา<br />

ของวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๘๔ พร้อมกับจัดประชุมเพื่อยุติข้อพิพาทที่<br />

กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๑ มีนาคม ๒๔๘๔<br />

ผลจากการประชุม ปรากฏว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดน แคว้น<br />

หลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นจำปาศักดิ์ และแคว้นเขมรบางส่วนให้<br />

แก่ไทย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นที่พอใจของฝ่ายไทย โดยเฉพาะประชาชน<br />

โดยรายละเอียดนั้น กระทรวงกลาโหมได้มีการจัดทำเป็นรูปเล่มพร้อมทั้ง<br />

บทร้อยกรองและร้อยแก้ว ในหนังสือ เกียรติภูมิ...กระทรวงกลาโหม<br />

ภาค ลิลิตคืนดินแดน<br />

ดังนั้น กระทรวงกลาโหมจึงได้จัดให้มีพิธีสวนสนามฉลอง<br />

ชัยชนะขึ้นที่พระนคร เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๘๔ หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหม โดยมีการจัดทำประตูชัยประกอบพิธีด้วยเพื่อให้ขบวนทหาร<br />

เดินผ่าน เช่นเดียวกันกับสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑ การสวนสนามครั้งนั้น<br />

ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจสนาม รวมทั้ง<br />

มีเครื่องบินกองทัพทหารอากาศเข้าร่วมพิธีด้วย ซึ่งประธานในพิธีคือ<br />

จอมพล ป.พิบูลสงคราม (ได้รับพระราชทานยศจอมพล หลังจากเสร็จสิ้น<br />

สงครามอินโดจีน) อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ แม่ทัพสนาม และพลเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์<br />

อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีด้วย<br />

107


เรื่องเล่าที่ ๖๘<br />

กิจการทหารไทยกับการใช้ประโยชน์ภายในตัวอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย<br />

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕<br />

การจัดสร้างอาคารโรงทหารหน้าอย่างมโหฬารในอดีตนั้น ในช่วงแรก<br />

มีการใช้ประโยชน์ในกิจการทหาร กล่าวคือ สามารถบรรจุกำลังทหารได้ถึง<br />

๑ กองพล พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ สัตว์พาหนะ เสบียงอาหาร ยานพาหนะ<br />

โรงครัว และโรงพยาบาลไว้อย่างครบครัน สำหรับกำลังทหาร สามารถ<br />

รองรับทหารเหล่าต่างๆ ประกอบด้วย ทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง<br />

ทหารม้า ทหารเสนารักษ์ ทหารพลาธิการและทหารดุริยางค์ โดยการ<br />

ประกอบกำลังจากนายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารชั้นประทวน และ<br />

พลทหาร ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของเหล่าทหารดังกล่าวอีกด้วย<br />

ในยุคต่อมา อาคารศาลาว่าการกลาโหม ได้เคยใช้เป็นที่ทำการ<br />

สำคัญของหน่วยทหาร อาทิ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก กองบัญชาการ<br />

กองทัพบก หน่วยงานของกองทัพบก และหน่วยงานของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

เนื่องจากมีการขยายหน่วยใหม่เป็นจำนวนมากเพื่อรองรับ<br />

วิวัฒนาการทางทหารของประเทศ ทำให้ต้องบรรจุกำลังพลมากขึ้น และ<br />

ต้องใช้พื้นที่ในการปฏิบัติราชการเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดความแออัด<br />

ประกอบกับ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และกองบัญชาการกองทัพบก<br />

ได้ปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติราชการ จึงทำให้มีการย้ายหน่วยออกจาก<br />

ศาลาว่าการกลาโหมไปตั้งในพื้นที่ต่างๆ<br />

ปัจจุบัน ศาลาว่าการกลาโหมจึงใช้ประโยชน์ทางทหารในส่วนที่<br />

สำคัญ กล่าวคือ<br />

๑. เป็นที่ทำการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

๒. เป็นที่ทำการของปลัดกระทรวงกลาโหม และรองปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

๓. เป็นที่ทำการของจเรทหารทั่วไป และผู้บังคับบัญชาชั้นสูงอื่น<br />

ตามความเหมาะสม<br />

๔. เป็นสถานที่จัดการประชุมในระดับนโยบายชั้นสูงของ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

๕. เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางการทูตด้านการทหารกับผู้แทน<br />

กระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ<br />

๖. เป็นสถานที่ทำงานของส่วนราชการขึ้นตรงสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ที่ต้องปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

๗. เป็นสถานที่จัดแสดงทางประวัติศาสตร์ เกียรติประวัติของ<br />

กระทรวงกลาโหม ทั้งพิพิธภัณฑ์ในอาคารและพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง<br />

108


เรื่องเล่าที่ ๖๙<br />

ศาลาว่าการกลาโหมกับการเมืองการปกครองของไทย<br />

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕<br />

ภารกิจสำคัญของอาคารศาลาว่าการกลาโหม นอกจากเป็นสถานที่<br />

ปฏิบัติภารกิจการถวายงานสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ เป็น<br />

สถานที่ประกอบกิจกรรมทางทหารที่เคยใช้ประโยชน์จากโรงทหารหน้า<br />

และกระทรวงกลาโหมแล้ว ศาลาว่าการกลาโหม ยังเคยใช้เป็นสถานที่<br />

ในการรักษาความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความมั่นคง<br />

ทางการเมืองการปกครองของไทย และการรักษาความสงบสุขให้เกิดขึ้น<br />

ในสังคมไทย ดังนี้<br />

๑. วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้นำ พระราชบัญญัติ<br />

ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ถือว่า<br />

เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรไทย) ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย มาเก็บรักษาไว้ที่ศาลา<br />

ว่าการกลาโหม จนกระทั่ง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๒๖ กระทรวงกลาโหม โดย พลเอก<br />

ทวนทอง สุวรรณทัต อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ได้นำพระราชบัญญัติฯ<br />

ฉบับดังกล่าวไปมอบให้กับ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา<br />

เพื่อนำไปเก็บรักษาที่รัฐสภา<br />

๒. วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๘๓ นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม<br />

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ใช้สนามหญ้า<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหมเป็นที่ให้การต้อนรับคณะยุวชนทหาร ยุวนารี<br />

และประชาชนต่อกรณีการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส<br />

๓. วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ พลโท ผิน ชุณหะวัน (ยศใน<br />

ขณะนั้น) เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้ใช้อาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

เป็นที่ทำการประชุมวางแผน เพื่อเตรียมยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเรือตรี<br />

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล<br />

นายปรีดี พนมยงค์ ที่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้<br />

อันมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

อานันทมหิดล ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการ และประเทศ<br />

กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ<br />

๔. เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๔ จอมพล ถนอม กิตติขจร<br />

ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน และได้ใช้ห้องประชุม<br />

กระทรวงกลาโหม (ห้องทำงาน พลเอก จิตติ นาวีเสถียร ผู้ช่วยผู้บัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด) เป็นห้องประชุมและเป็นกองบัญชาการของคณะปฏิวัติ<br />

เพื่อการปฏิบัติงานในฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำเนินไป<br />

ด้วยความเรียบร้อย ตามนโยบายของคณะปฏิวัติ<br />

เหตุการณ์ดังกล่าวมานี้คือ เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองการ<br />

ปกครอง ที่มีการบันทึกถึงความเกี่ยวข้องกับศาลาว่าการกลาโหม<br />

109


เรื่องเล่าที่ ๗๐<br />

กองบัญชาการกองทัพบกยุคเริ่มแรก<br />

ในยุคแรกของโรงทหารหน้ามีการบรรจุกำลังทหารของทหาร<br />

เหล่าต่างๆ ซึ่งรวมถึง หน่วยทหารราบด้วย ต่อมาเมื่อมีการประกาศ<br />

พระบรมราชโองการ ชื่อว่า ประกาศจัดการทหาร เมื่อวันที่ ๘ เมษายน<br />

๒๔๓๐ โดยให้รวบรวมทหารบกและทหารเรือ ตั้งเป็นกรมใหม่ เรียกว่า<br />

กรมยุทธนาธิการ ก็มีการบัญญัติตำแหน่งผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาการ<br />

ทหารบก และเมื่อมีการยกฐานะกรมยุทธนาธิการ ขึ้นเป็นกระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็น ผู้บัญชาการ<br />

ทหารบก<br />

ต่อมาใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๕ เมื่อลดฐานะกระทรวงยุทธนาธิการ เป็น<br />

กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาทหารบก ก็มีการแบ่ง<br />

ส่วนราชการกรมยุทธนาธิการ เป็น ๑๔ หน่วย ซึ่งมี กรมทหารบกใหญ่<br />

เป็นส่วนราชการขึ้นตรงด้วย และใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๗ เมื่อโอนกรมยุทธนาธิการ<br />

มาเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ก็มีการบัญญัติให้มี<br />

หน่วยงานทหารบกหลายหน่วยเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ<br />

อาทิ กรมปลัดทัพบก กรมจเรทัพบก กรมยกกระบัตรทัพบก<br />

ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มี<br />

การจัดตั้งกองทัพบกขึ้น โดยให้หน่วยงานที่เคยขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ<br />

เป็นหน่วยงานของกองทัพบก และใช้สำนักงานของส่วนบังคับบัญชา<br />

ส่วนใหญ่ที่ศาลาว่าการกลาโหม พร้อมกับย้ายที่ทำการกองทัพบกมาอยู่ที่<br />

ตึกกลางของศาลาว่าการกลาโหม จึงมีการถือกำเนิดหน่วยขึ้นตรง<br />

กองทัพบกเกิดขึ้นและจัดตั้งหน่วยในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

แม้ว่าในเดือนกันยายน ๒๕๓๖ หน่วยงานต่างๆ ในกองทัพบก<br />

ได้ย้ายเข้าสู่ที่ตั้งใหม่ ณ กองบัญชาการกองทัพบกปัจจุบัน (โรงเรียนนายร้อย<br />

พระจุลจอมเกล้าเดิม) ก็ยังกล่าวได้ว่า ศาลาว่าการกลาโหม คือ ที่ทำการ<br />

กองบัญชาการกองทัพบกในยุคเริ่มแรก<br />

วารสารยุทธโกษที่จัดทำที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ส่วนราชการบางส่วนของกองทัพบกที่เคยมีที่ตั้งในศาลาว่าการกลาโหม<br />

110


เรื่องเล่าที่ ๗๑<br />

โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งแรก<br />

ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

กระทรวงกลาโหมได้จัดให้มีหลักสูตรเสนาธิการทหารบก เพื่อให้นายทหาร<br />

ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการศึกษา โดยเริ่มต้นตั้งโรงเรียนเสนาธิการ<br />

ทหารบกภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม บริเวณชั้นที่ ๒ ของอาคาร<br />

ด้านทิศเหนือ โดยเริ่มแรกเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๔๑ ได้มีการเปิดการ<br />

ศึกษาและฝึกหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการทหารบกขึ้นให้นายทหารเข้ามาทดลอง<br />

ศึกษา<br />

ต่อมาใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๔๖ จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้า<br />

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ยังดำรงพระยศเป็น พลตรี ทรงดำรงตำแหน่ง<br />

เสนาธิการทหารบก) ได้ทรงสั่งการให้ทำการคัดเลือกนายทหารจาก<br />

กรมกองต่างๆ เข้ามาสำรองราชการในกรมเสนาธิการทหารบก เพื่อ<br />

เข้ามาศึกษาทดลองทำงานในหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการ เมื่อครบกำหนดแล้ว<br />

ก็มีการพิจารณาคัดเลือกผู้มีความเหมาะสม ให้เข้ารับราชการประจำ<br />

ในกรมเสนาธิการทหารบกต่อไป<br />

เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๔๕๒ ได้เปิดการเรียนการสอนวิชาฝ่าย<br />

เสนาธิการเป็นครั้งแรก และใช้อาคารศาลาว่าการกลาโหมเป็นที่ตั้งโรงเรียน<br />

เสนาธิการทหารบก จนถึง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๖๗ จึงย้ายโรงเรียนเสนาธิการ<br />

ทหารบก จากศาลาว่าการกลาโหม ไปอยู่ในบริเวณกรมแผนที่ทหาร และ<br />

วังบางขุนพรหม ตามลำดับ<br />

ในระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๕๐๑ ได้ย้ายกลับมาใช้สถานที่<br />

ศึกษาในศาลาว่าการกลาโหมอีกครั้ง ก่อนที่จะย้ายไปที่สวนสนประดิพัทธ์<br />

และโรงเรียนยานเกราะตามลำดับ หลังจากนั้น วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๑๓<br />

จึงย้ายเข้าสู่อาคารประภาสโยธิน ถนนเทอดดำริ แขวงถนนนครไชยศรี<br />

เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นการถาวรตราบจนถึงปัจจุบัน<br />

จึงกล่าวได้ว่า ศาลาว่าการกลาโหม คือ ที่ทำการของโรงเรียน<br />

เสนาธิการทหารบกแห่งแรก และยังให้ใช้เป็นสถานที่เรียนในยุค<br />

ต่อมา ทั้งยังเป็นสถานที่สำหรับผลิตอดีตผู้บังคับบัญชา และอดีต<br />

นายทหารฝ่ายเสนาธิการ (ซึ่งเป็นมันสมองของกองทัพ) อันทรงคุณค่า<br />

ให้แก่กองทัพไทยสืบมา<br />

จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับ คณะนักเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๒๖<br />

ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๖<br />

111


เรื่องเล่าที่ ๗๒<br />

ที่ทำการจเรทหาร ที่ปรึกษาทางทหาร และจเรทหารทั่วไป<br />

ภาพห้องปฏิบัติราชการและการประชุมที่สำคัญของคณะที่ปรึกษาทางทหาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหม ยังมีเกียรติประวัติในเรื่องของการเป็นที่ทำการ<br />

สำคัญทางทหารอีก ๒ สำนักงาน ซึ่งในปัจจุบันอาจไม่คุ้นเคยกับบางต ำแหน่ง<br />

เท่าใดนัก จึงขอเรียน ดังนี้<br />

๑. ที่ทำการจเรทัพบก เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓ พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้ง<br />

กระทรวงกลาโหม รับผิดชอบในการดำเนินกิจการทหารบก และกระทรวง<br />

ทหารเรือ รับผิดชอบในการดำเนินกิจการทหารเรือ พร้อมกับแต่งตั้งให้<br />

นายพลเอก สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงดำรงพระยศจอมพล ในตำแหน่ง<br />

จเรทัพบก ซึ่งมีที่ทำการจเรทัพบกอยู่ในศาลาว่าการกลาโหม<br />

๒. ที่ทำการจเรทหารทั่วไป เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๕๖ พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้<br />

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นจเรทหารทั่วไป โดยให้มีหน้าที่<br />

เป็นผู้ตรวจและแนะนำตักเตือนหน่วยทหารทั่วไปให้ปฏิบัติตามระเบียบ<br />

ข้อบังคับ ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ออกไว้ ทั้งดำริการแก้ไขเพิ่มเติมในสิ่งใด<br />

สิ่งหนึ่ง ซึ่งทรงเห็นยังบกพร่องอยู่ในหน่วยทหารทั่วไป ซึ่งมีที่ทำการ<br />

จเรทหารอยู่ในศาลาว่าการกลาโหม บริเวณมุขกลางด้านหน้า<br />

๓. ที่ทำการจเรทหารทั่วไปและที่ปรึกษาทางทหาร ในสมัยที่<br />

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม (ระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๒ - ๒๕๐๐) ได้มีการแต่งตั้ง<br />

ตำแหน่งจเรทหารทั่วไป และที่ปรึกษาทางทหารของรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมขึ้น โดยให้มีที่ทำการอยู่ที่ชั้น ๓ ตึกกลางมุขหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งในเวลาต่อมา ได้มีการยกเลิกตำแหน่งที่ปรึกษาทางทหารของ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และงดการแต่งตั้งข้าราชการทหาร<br />

ลงในตำแหน่งจเรทหารทั่วไปมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง และใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๒๙<br />

มีการแต่งตั้งจเรทหารทั่วไปเป็นต้นมา<br />

ภาพห้องปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องรับรองแขกในราชการทหาร<br />

112


เรื่องเล่าที่ ๗๓<br />

อาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ในอดีตวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. ได้เคยเปิดทำการ<br />

ศึกษาที่ศาลาว่าการกลาโหม เป็นรุ่นแรกๆ โดยมีความเป็นมาและสาระ<br />

สำคัญ กล่าวคือ<br />

๑. ภายหลังกองทัพไทยได้ส่งกองกำลังเข้าร่วมปฏิบัติการรักษา<br />

สันติภาพที่เกาหลีใต้ ที่รู้จักกันว่า สงครามเกาหลี ภายใต้การนำของ<br />

สหรัฐอเมริกา เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๓ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและกองทัพ<br />

สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่กองทัพไทยเพื่อการป้องกัน<br />

และรุกรานเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยกำหนดให้มีการจัดการศึกษา<br />

ซึ่งหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรของสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในจ ำนวน<br />

ของความช่วยเหลือทางทหารที่กองทัพไทยมีความประสงค์ให้จัดตั้งขึ้น<br />

๒. จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กลาโหม (ในขณะนั้น) ได้นำเรื่องจัดตั้งวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

นำเสนอต่อสภากลาโหม ซึ่งสภากลาโหมมีมติอนุมัติให้เปิดหลักสูตร<br />

กับให้กรมเสนาธิการกลาโหม (ปัจจุบันคือ กองบัญชาการกองทัพไทย)<br />

เป็นหน่วยดำเนินการพิจารณาสรรหาที่ตั้งของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

๓. ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๖ พลเอก เดช เดชประดิยุทธ เสนาธิการกลาโหม<br />

ตกลงใจเลือกบริเวณด้านหลังอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก<br />

เป็นที่ก่อสร้างวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นผลให้กระทรวงกลาโหม<br />

อนุมัติให้รื้อถอนอาคารที่พักทหาร เรือนจำทหาร (ตะรางกลาโหม) และ<br />

ปรับพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหมเพื่อจัดสร้างวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร<br />

๔. พิธีวางศิลาฤกษ์จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๙๖ บริเวณ<br />

ด้านทิศเหนือริมถนนหลักเมือง มี พลเอก หลวงวิชิตสงคราม ที่ปรึกษาทาง<br />

ทหาร (อดีตรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงกลาโหม) เป็นประธานในพิธีวาง<br />

ศิลาฤกษ์ โดยกำหนดให้มีที่ทำการอยู่ด้านหลังของอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ริมคูเมืองชั้นใน ซึ่งเรียกกันว่า คลองโรงไหม (คลองเตยหรือ<br />

คลองหลอด) ดำเนินการก่อสร้างในวงเงินงบประมาณ ๗,๔๙๓,๐๐๐.- บาท<br />

๕. ลักษณะอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น โดย<br />

เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในขณะนั้น เช่นเดียวกันกับอาคารกระทรวง<br />

คมนาคม อาคารที่ทำการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้สร้างเชื่อมเป็น<br />

ภาพในกรอบสี่เหลี่ยมคือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

(หอคอยกระทรวงกลาโหม ได้รื้อถอนออกใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๐๐)<br />

ส่วนหนึ่งของอาคารด้านหลังของกระทรวงกลาโหม มีทางเดินติดต่อกัน ๓ ชั้น<br />

คือ (๑) ชั้นบน เป็นห้องบรรยาย (๒) ชั้นกลาง เป็นห้องประชุม และ<br />

(๓) ชั้นล่าง เป็นห้องรับรอง ซึ่งใช้เป็นห้องประกอบพิธีพระราชทาน<br />

ปริญญาบัตรแก่นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

๖. ด้าน<strong>ปี</strong>กของอาคารซึ่งต่อออกมาในทางทิศใต้นั้น มีการจัดสรร<br />

พื้นที่การใช้ประโยชน์ออกเป็นที่ทำการหน่วยงาน รวม ๓ หน่วย คือ<br />

หนึ่ง เป็นที่ทำการของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สอง เป็นที่ตั้งของ<br />

กรมเสนาธิการกลาโหม และ สาม เป็นที่ประชุมขององค์การสนธิสัญญา<br />

ป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty<br />

Organization: SEATO)<br />

๗. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ก่อสร้างแล้วเสร็จใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.<br />

๒๔๙๗ จึงได้ทำพิธีเปิดอาคารพร้อมกับพิธีเปิดการศึกษาหลักสูตร<br />

การป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ ๑ ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๘<br />

โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธี<br />

๘. ต่อมาใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๐ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ได้ย้าย<br />

ที่ทำการไปอยู่ที่อาคารใหม่ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท กรุงเทพฯ<br />

จึงกล่าวได้ว่า อาคารศาลาว่าการกลาโหม ได้บันทึกประวัติศาสตร์<br />

ทางทหารอีกหนึ่งหน้า ด้านวิชาการ และการศึกษา ทั้งยังเป็นการวาง<br />

รากฐานของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศในปัจจุบัน<br />

113


เรื่องเล่าที่ ๗๔<br />

ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

เมื่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรย้ายไปสู่ที่ตั้งใหม่ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.<br />

๒๕๑๐ ทำให้ห้องประชุมของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเดิมไม่ได้<br />

ใช้งาน จึงปรับมาเป็นห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมีที่ตั้ง<br />

บริเวณหัวมุมถนนราชินีตัดกับถนนหลักเมือง เป็นห้องประชุมและห้อง<br />

จัดเลี้ยงขนาดบรรจุคนได้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คน โดยในระยะเวลาที่ผ่านมา<br />

ทางราชการทหารได้เคยใช้ประโยชน์หลายครั้ง ทั้งยังเคยใช้เป็นห้อง<br />

จัดพิธีสำคัญทางทหารด้วย กล่าวคือ<br />

๑. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถ<br />

บพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานปริญญาบัตร วุฒิบัตร<br />

ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สำเร็จการศึกษา<br />

จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิทยาลัยการ<br />

ทัพบก วิทยาลัยการทัพเรือ วิทยาลัยการทัพอากาศ โรงเรียนเสนาธิการ<br />

ทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ<br />

ระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๙ จนถึง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๑ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี<br />

ณ ห้องประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต และห้อง<br />

ประชุมใหญ่สวนอัมพร ตามลำดับ<br />

๒. เคยใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองในงานพิธีสำคัญของทางราชการ<br />

ทหาร อาทิ งานวันกองทัพไทย งานวันสถาปนาหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุดในอดีต<br />

๓. เคยใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองในงานรับรองผู้แทนทางทหาร<br />

มิตรประเทศ<br />

๔. ใช้เป็นห้องประกอบพิธีทางศาสนา และให้กำลังพลร่วมฟังเทศน์<br />

และปฏิบัติธรรม<br />

๕. กรมการเงินกลาโหม เคยใช้เป็นห้องสำหรับให้ผู้รับเบี้ยหวัด<br />

บำเหน็จ บำนาญ แสดงตนประจำ<strong>ปี</strong> เพื่อรับสิทธิจากทางราชการ<br />

๖. เคยใช้เป็นห้องจัดงานเลี้ยงของหน่วยขึ้นตรงสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม และหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

๗. งานพิธีอื่นๆ<br />

114


เรื่องเล่าที่ ๗๕<br />

อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด เคยมีที่ตั้งอาคารกองบัญชาการทหาร<br />

สูงสุด และอาคารที่ทำการหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

ในบริเวณศาลาว่าการกลาโหม ด้านทิศตะวันออก โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑. อาคารที่ทำการหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด เริ่มต้น<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๓ ซึ่งเป็น<strong>ปี</strong>ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบ<br />

ราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๐๓ ซึ่งบัญญัติให้มีกองบัญชาการทหาร<br />

สูงสุด และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดส่วนราชการขึ้นตรงกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุดขึ้นเป็นครั้งแรก ในการนี้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี<br />

และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้มีดำริและอนุมัติให้มีการจัดสร้างตึกที่ท ำการ<br />

หน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการทหารสูงสุด และตึกโทรคมนาคมบริเวณ<br />

พื้นที่ระหว่างอาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร กับด้านหลังอาคาร<br />

ทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหม จำนวน ๓ หลัง<br />

๒. ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๐ เมื่อวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ได้ย้าย<br />

ที่ทำการไปอยู่ที่อาคารใหม่ ถนนวิภาวดีรังสิต จึงได้ทำพิธีจัดตั้งอาคาร<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดยใช้อาคาร<br />

จำนวน ๔ หลัง ด้านทิศตะวันออกของศาลาว่าการกลาโหมเป็นที่ทำการ<br />

ของกองบัญชาการทหารสูงสุด<br />

๓. ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๖ กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ย้ายที่ทำการ<br />

หน่วยขึ้นตรง ไปอยู่ ณ ที่ทำการใหม่ บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ และส่งมอบ<br />

อาคาร จำนวน ๔ หลัง ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมดูแล<br />

๔. เมื่อแรกรับมอบอาคาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ได้ใช้ประโยชน์ของอาคารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เป็นที่ทำการของ<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม แต่เนื่องจากอาคาร<br />

ทั้ง ๔ หลัง เป็นอาคารที่มีอายุการใช้งานมานาน ประกอบกับสภาพภายใน<br />

อาคารชำรุดทรุดโทรม จึงมิได้มีการปรับปรุงเพื่อใช้ประโยชน์<br />

ภาพอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุด (เดิม) ถนนราชินี ริมคลองคูเมืองเดิม (คลองหลอด)<br />

<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๕<br />

115


เรื่องเล่าที่ ๗๖<br />

แนวความคิดในการต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบกเต็มยศ ทรงพระคทาจอมทัพภูมิพล<br />

ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม เคยมีดำริที่จะใช้พื้นที่<br />

อาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดเดิม เพื่อก่อสร้างที่ทำการกระทรวง<br />

กลาโหมแห่งใหม่ ที่รวบรวมหน่วยงานที่กระจัดกระจายหลายแห่งไว้ใน<br />

ที่เดียวกัน โดยคำนึงถึงความสมดุลของสถาปัตยกรรม และการใช้งาน<br />

แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูงได้อัญเชิญกระแสพระบรมราโชวาทในพระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งเสด็จ<br />

พระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เมื่อวันที่<br />

๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๔ มีความบางตอนว่า<br />

“…การสร้างอาคารสมัยใหม่นี้ คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้าง<br />

คนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าแผ่นเดียว<br />

ก็มีค่าควรจะช่วยกันรักษาไว้...<br />

...ไม่ควรจะเอาของใหม่ไปปนกับของเก่า ควรจะรักษาของเก่าไว้<br />

เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของพลเมือง และสิ่งเหล่านี้เป็นมรดกตกทอด<br />

มาจากบรรพบุรุษ จึงควรรักษาไว้...<br />

...โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ โบราณสถานทั้งหลายนั้น ล้วนเป็น<br />

ของมีคุณค่าและจำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์...<br />

...เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทย ที่มีมาแต่<br />

อดีตกาล สมควรจะสงวนรักษาไว้ให้คงทน...<br />

...ควรจะได้มีพิพิธภัณฑ์สถานเก็บรักษาและตั้งแสดง...<br />

...เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของประเทศเรา<br />

ที่เป็นเอกสารที่มีอยู่โดยจำกัด...<br />

...ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องระวังรักษาอย่างดีที่สุดตลอดไป...”<br />

116


จึงมีความคิดที่จะอัญเชิญพระบรมราโชวาทไว้เหนือเกล้าฯ และ<br />

ปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙<br />

พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม จึงได้อนุมัติให้ชะลอโครงการก่อสร้างที่ทำการกระทรวงกลาโหม<br />

แห่งใหม่ และอนุมัติงบประมาณการต่อเติมอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก เพื่อให้เป็นสถานที่ทำการของสำนักนายกรัฐมนตรี และ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมต่อไปในอนาคต<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย พลเอก สิริชัย ธัญญสิริ<br />

อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ได้บรรจุการก่อสร้างอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมด้านทิศตะวันออก ไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาและปรับปรุงอาคาร<br />

สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกของสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม โดยทำการออกแบบอาคารส่วนต่อเติมด้านทิศตะวันออกของ<br />

ศาลาว่าการกลาโหมตามแบบอย่างอาคารศาลาว่าการกลาโหมเดิม<br />

ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๐ พลเอก บุญรอด สมทัศน์ อดีตรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ และ<br />

ในวันจันทร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑ ได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์<br />

โดย พลเอก วินัย ภัททิยกุล อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี<br />

การดำเนินการ เป็นการจัดสร้างโดยรื้อถอนอาคารกองบัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด และก่อสร้างอาคารหลังใหม่ทดแทนตามแบบรูปที่มีลักษณะ<br />

ทางสถาปัตยกรรมกลมกลืนกับอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านหน้า<br />

(หลังเดิมที่ใช้การอยู่จนถึงปัจจุบัน) โดยให้มีความต่อเนื่องจากอาคารเดิม<br />

และคงรูปแบบภายนอกอาคารในลักษณะเดิม แต่เพิ่มประโยชน์ใช้สอย<br />

เป็นอาคารสำนักงานบนพื้นที่ ๓ ไร่ ๒ งาน และ ๕๙ ตารางวา หรือ ๑,๔๕๙<br />

ตารางวา ซึ่งองค์ประกอบของอาคาร มีดังนี้<br />

๑. ชั้นที่ ๑ เป็นส่วนสำนักงาน ส่วนบริหารกลาง ส่วนงานระบบ<br />

ภายในอาคาร และส่วนอื่นๆ ประกอบด้วย โถงบันได ลิฟต์โดยสารและ<br />

ลิฟต์ขนย้าย นอกจากนี้ บริเวณชั้นล่าง ยังจัดทำเป็นลานโล่งภายในสำหรับ<br />

ใช้ประโยชน์และจอดรถยนต์<br />

๒. ชั้นที่ ๒ เป็นห้องประชุมขนาด ๓๐๐ ที่นั่ง และขนาด ๑๘๐<br />

ที่นั่ง ส่วนบริหารกลาง ส่วนงานระบบภายในอาคาร ลิฟต์โดยสารและ<br />

ลิฟต์ขนย้าย โดยที่ห้องประชุมในชั้นที่ ๒ นี้ ประกอบด้วย<br />

๒.๑ ห้องพินิตประชานาถ เป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ ๓๐๐<br />

ที่นั่ง<br />

๒.๒ ห้องยุทธนาธิการ เป็นห้องประชุมขนาด ๑๘๐ ที่นั่ง<br />

๓. ชั้นที่ ๓ เป็นส่วนสำนักงานผู้บังคับบัญชาระดับสูง และห้อง<br />

ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาด ๘๐ ที่นั่ง<br />

ต่อมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ ได้ประกอบพิธีเปิด<br />

อาคาร โดย พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธี สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการจัดสร้างอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมทิศตะวันออก มีจำนวนรวม ๔๒๐,๖๒๙,๐๐๐.- บาท<br />

ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างจำนวน ๒๕๒,๔๘๙,๐๐๐.- บาท และค่าตกแต่ง<br />

ภายในอาคาร จำนวน ๑๖๘,๑๔๐,๐๐๐.- บาท<br />

117


เรื่องเล่าที่ ๗๗<br />

ห้องอารักขเทวสถาน<br />

ห้องอารักขเทวสถานตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมด้านทิศเหนือ เป็นที่ประดิษฐานเสาไม้สักทรงกลมที่ตั้งตระหง่าน<br />

อยู่บริเวณกลางห้อง ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่สักการบูชาของ<br />

กำลังพลที่ปฏิบัติราชการในศาลาว่าการกลาโหมและผู้ติดต่อราชการ<br />

เดิมทีห้องอารักขเทวสถานแห่งนี้ ได้เคยจัดทำเป็นห้องคลัง<br />

และจัดเก็บครุภัณฑ์และยุทธภัณฑ์ของหน่วยกรมทหารหน้ามาตั้งแต่<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเป็นห้อง<br />

ชั้นล่างของอาคารตึกสามชั้นด้านทิศเหนือของโรงทหารหน้า ที่ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น โดยมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ<br />

ถือปูนภายใต้ตัวอาคารประกอบด้วย เสาไม้สักทรงกลมก่ออิฐถือปูนหุ้มทับ<br />

เสาไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่มีเสาไม้สักบางต้นก็ไม่ได้ก่ออิฐถือปูนทับเสา อาทิ<br />

เสาไม้สักทรงกลมกลางห้องอารักขเทวสถานแห่งนี้<br />

ภายหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๗๕<br />

กรมยุทธโยธาทหารบก ได้ใช้ห้องอารักขเทวาสถานแห่งนี้ จัดทำเป็น<br />

กองคลังยุทธศาสตร์ สำหรับเก็บอาวุธยุทธสัมภาระ ในเวลาต่อมา<br />

กรมพลาธิการทหารบก ได้ใช้เป็นที่ทำการคลังเก็บสิ่งอุปกรณ์เหล่าทหาร<br />

พลาธิการเป็นเวลาหลาย<strong>ปี</strong> และหน่วยสุดท้ายที่ใช้ห้องนี้เป็นที่ทำการหน่วย<br />

คือ กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก<br />

ซึ่งประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๘ ได้เกิดเหตุการณ์ประหลาด ปรากฏว่า<br />

มีน้ำมันไหลออกจากเสาไม้สักกลางห้องบริเวณหัวเสาด้านบนสุด ซึ่งตาม<br />

โบราณเชื่อกันว่าเสาตกน้ำมันเป็นเสาต้นที่มีรุกขเทวดานางไม้สิงสถิตอยู่<br />

ข้าราชการในสังกัดกองประวัติศาสตร์ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาและเชื่อว่า<br />

มีรุกขเทวดาสิงสถิตที่เสาไม้สัก จึงได้นำผ้าสีมงคลมาผูกและปิดทองโดยรอบ<br />

เสา พร้อมทั้งกราบไว้อธิษฐานขอพรและขอโชคลาภ โดยที่ผู้มาสักการะ<br />

ดังกล่าวมักประสบความสำเร็จตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานหรือ<br />

บนบานไว้ ทำให้ห้องอารักขเทวสถาน ได้รับการกล่าวขานและนับถือว่า<br />

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในศาลาว่าการกลาโหม ควรแก่การเคารพ<br />

กราบไหว้บูชา และเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของกำลังพลในกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

ภายหลังจากที่กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก<br />

ได้ย้ายที่ทำการหน่วยไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ บริเวณกองบัญชาการ<br />

กองทัพบก ถนนราชดำเนินนอกแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ได้ปรับปรุงและจัดห้องใหม่ให้เหมาะสม กับได้มอบให้ กองอนุศาสนาจารย์<br />

กรมเสมียนตรา เป็นหน่วยรับผิดชอบดูแลรักษา<br />

118


เรื่องเล่าที่ ๗๘<br />

โครงสร้างอาคารภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

คำถามที่ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมและประชาชนทั่วไป<br />

มักจะสอบถามมาเป็นประจำคือ โครงสร้างอาคารที่อยู่ภายในตัวอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมที่ก่ออิฐถือปูน ซึ่งมีวัสดุก่อสร้างคือ อิฐ กระเบื้องดินเผา<br />

รากกาบกล้วย ทราย ปูนซีเมนต์ ดินเหนียว ปูนขาว และน้ำอ้อย ที่ทำ<br />

เป็นโครงสร้างภายในที่มีลักษณะโบราณ ทั้งนี้ จากการสืบค้นจากบันทึก<br />

ทราบว่า การก่อสร้างอาคารใช้เทคนิคการก่ออิฐถือปูนแบบไทยโบราณ<br />

ที่ใช้ก่อสร้างพระบรมมหาราชวังที่รับการถ่ายทอดกรรมวิธีมาจากสมัย<br />

อยุธยาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคนั้น โดยที่ก้อนอิฐสำหรับ<br />

การจัดทำโครงสร้างภายในที่ทำเป็นลักษณะอิฐมอญที่มีขนาดใหญ่และ<br />

ก่อด้วยปูนซีเมนต์ผสมดินเหนียว ปูนขาว และน้ำอ้อย ก่อนที่จะฉาบ<br />

ปูนซีเมนต์ผสมปูนขาวเคลือบผิวอีกชั้น ดังนั้น การที่ฉาบปูนทับจึงไม่สามารถ<br />

มองเห็นโครงสร้างภายในอาคารได้<br />

ต่อมา ในช่วงเวลาที่มีการก่อสร้างอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้าน<br />

ทิศตะวันออก จึงได้มีการปรับปรุงอาคารภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งสิ่งที่น่าสังเกตในการปรับปรุงอาคารชั้นล่างด้าน<br />

ทิศเหนือปรากฏว่า มีบางห้องที่มีการเจาะทะลุถึงกันได้ และมีการจัดทำ<br />

เป็นบานประตูเปิดและปิด พร้อมกับซ่อมแซมผิวของผนังอาคารไปพร้อม<br />

กัน ทำให้สถาปนิกของสำนักโยธาธิการกลาโหม ได้ความคิดที่จะจัดแสดง<br />

โครงสร้างภายในอาคารให้เห็นเพื่อเป็นประวัติศาสตร์ให้อนุชนรุ่นหลัง<br />

ได้รับทราบถึงสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในอาคาร จึงขออนุญาต พลเอก<br />

อภิชาต เพ็ญกิตติ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อจัดแสดงโครงสร้าง<br />

ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม ที่เรียกกันว่า ปูนเปลือยไว้ ๒ ช่อง<br />

ภายในห้องอารักขเทวสถาน พร้อมกับประดับกระจกแสดงเรื่องราว<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมไว้ในลักษณะของนิทรรศการอีกด้วย<br />

119


เรื่องเล่าที่ ๗๙<br />

ภาพจิตรกรรมการจัดทัพของกองทัพไทยในสมัยโบราณ<br />

ภายในห้องอารักขเทวสถาน ยังได้มีการประดับภาพวาดสีน้ำมัน<br />

ขนาดใหญ่ เป็นรูปการเคลื่อนทัพของทหารไทยโบราณ วาดโดย พันเอก<br />

ชวลิต อ่วมศิริ ที่บันทึกในภาพวาด เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖<br />

ซึ่งเป็นภาพวาดสีน้ำมันกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค สมัยสมเด็จ<br />

พระนารายณ์มหาราช ที่ทำการจำลองมาจากต้นฉบับหนังสือสมุดไทย<br />

ของหอสมุดแห่งชาติ รวมจำนวน ๒ ภาพ ซึ่งเป็นภาพที่จำลองมาอย่าง<br />

ใกล้เคียงของจริงมากที่สุดใน Collection หนึ่ง ที่ควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้<br />

พร้อมกับการจัดแสดงเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและตระหนักถึงคุณค่า<br />

ทางประวัติศาสตร์ อันนำมาสู่ความภาคภูมิใจของประชาชนชาวไทย และ<br />

เรียนรู้ถึงศิลปกรรมของไทยที่เป็นเอกลักษณ์และความงดงามอันบ่งบอก<br />

ถึงภูมิปัญญาและองค์ความรู้ทางด้านงานศิลปะที่มีการก้าวเดินและพัฒนา<br />

ฝ่าวันเวลาที่เคลื่อนไปพร้อมกับเคียงคู่กับภูมิประวัติศาสตร์ เกียรติประวัติ<br />

ที่สั่งสมมาเป็นเวลาอันยาวนานของประเทศไทยที่จะส่งมอบไปสู่อนุชน<br />

และประชาชนรุ่นต่อไปที่จะช่วยกันเก็บรักษาความงดงามของภูมิปัญญา<br />

ของบรรพบุรุษไทยที่เคยประณีตบรรจงร้อยเรียงมาจนเป็นมรดกทาง<br />

วัฒนธรรมเคียงคู่ประเทศไทยสืบเนื่องมา<br />

ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสามารถเยี่ยมชมความงดงามของภาพ<br />

จิตรกรรมการจัดทัพของกองทัพไทยในสมัยโบราณ สามารถชมได้ที่ห้อง<br />

อารักขเทวสถานได้ทุกวัน<br />

120


เรื่องเล่าที่ ๘๐<br />

พุทธศาสนสถานของกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณมุมสุดของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก<br />

เฉียงใต้ ชั้นที่สาม ซึ่งเป็นมุมสุดของอาคาร ได้จัดท ำเป็นห้องพุทธศาสนสถาน<br />

ของกระทรวงกลาโหมเพื่อให้กำลังพลสามารถปฏิบัติธรรมตามโอกาส<br />

อันสมควร พร้อมทั้งประดิษฐานพระประธานประจำพุทธศาสนสถาน<br />

ของกระทรวงกลาโหม เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย<br />

นั่งขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว มีพระนามว่า พระพุทธ<br />

นวราชตรีโลกนาถศาสดากลาโหมพิทักษ์ มีความหมายว่า พระพุทธรูป<br />

ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล<br />

อดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ผู้เป็นพระศาสดา ผู้เป็นที่พึ่งในโลก<br />

ทั้งสาม ผู้พิทักษ์รักษาปวงทหารกระทรวงกลาโหม<br />

บริเวณเบื้องหลังองค์พระประธาน ได้จัดทำเป็นซุ้มเล็ก รวม ๙ ซุ้ม<br />

แต่ละซุ้มเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุเพื่อเป็นที่<br />

สักการะของกำลังพล โดยห้องพุทธศาสนสถานใช้เป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์<br />

ประจำทุกวันธรรมสวนะ หรือทุกวันพระนั่นเอง<br />

นอกจากนี้ บริเวณมุมสุดของห้องยังได้ประดิษฐานหอกลองจำลอง<br />

ที่พลเอก หลวงสถิตยุทธการ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดสร้างขึ้น<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๒ อีกด้วย สำหรับห้องพุทธศาสนสถานของกระทรวง<br />

กลาโหม ในปัจจุบันยังได้จัดเป็นห้องทำงานและสำนักงานของกอง<br />

อนุศาสนาจารย์ กรมเสมียนตราอีกด้วย<br />

121


เรื่องเล่าที่ ๘๑<br />

วิมานท้าวเวสสุวัณณ์<br />

วิมานท้าวเวสสุวัณณ์ ประดิษฐานบริเวณดาดฟ้าชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก<br />

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกระทรวงกลาโหมอีกแห่งหนึ่ง ที่ตั้งตระหง่านบริเวณ<br />

ดาดฟ้าชั้นบนของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก และเป็นที่<br />

สักการะของกำลังพลที่ปฏิบัติราชการในศาลาว่าการกลาโหมเป็นอย่างมาก<br />

คือ ท้าวเวสสุวัณณ์ ซึ่งเป็นมหาราชหนึ่งในสี่แห่งบรรดามหาราชบน<br />

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา หรือที่รู้จักกันดีในนามว่า ท้าวจตุโลกบาล โดย<br />

ท้าวเวสสุวัณณ์เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งภูตผี<strong>ปี</strong>ศาจ<br />

ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ทางทิศเหนือ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้น<br />

จาตุมหาราชิกา ถือเป็นท้าวจตุโลกบาลที่ทรงฤทธานุภาพมากที่สุด<br />

เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ พลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ได้กรุณาดำริให้สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

(สน.ปล.กห.) ดำเนินการจัดตั้งวิมานท้าวเวสสุวัณณ์ เพื่อประดิษฐาน<br />

องค์ท้าวเวสสุวัณณ์ สร้างด้วยโลหะเคลือบผิวสีทอง บริเวณดาดฟ้าชั้น<br />

บนของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก เพื่อความเป็น<br />

สิริมงคลกับประเทศและกระทรวงกลาโหม<br />

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๙ น. สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดทำพิธีอัญเชิญท้าวเวสสุวัณณ์ประดิษฐาน<br />

ที่วิมาน โดย พลเรือเอก ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ อดีตรองปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธี<br />

122


เรื่องเล่าที่ ๘๒<br />

แผ่นยันต์ประจำกระทรวงกลาโหม<br />

สิ่งที่สถิตคู่กับโรงทหารหน้ามาตั้งแต่อดีตเมื่อแรกสร้างอีกสิ่งหนึ่ง<br />

ซึ่งกำลังพลของกระทรวงกลาโหมจำนวนน้อยที่จะทราบและเคยพบเห็น<br />

ก็คือ แผ่นยันต์ประจำอาคารโรงทหารหน้า มีลักษณะเป็นแผ่นหนังสีดำ<br />

ประดับลวดลายสีทองเป็นภาพยันต์และอักขระโบราณ จำนวน ๔ แผ่น<br />

มีลักษณะที่เหมือนกันเป็นคู่ รวม ๒ คู่ โดยจากการศึกษา ทราบว่า ในอดีต<br />

แผ่นยันต์ดังกล่าวได้ประดิษฐานไว้กับอาคารศาลาว่าการกลาโหมชั้นสอง<br />

ทางด้านทิศตะวันตก (หลังห้องสุรศักดิ์มนตรี) โดยประดิษฐานระหว่าง<br />

ช่องหน้าต่าง ในเวลาต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงอาคารและปรับปรุงห้อง<br />

สุรศักดิ์มนตรี จึงได้ทำการบูรณะและเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานไว้ภายใน<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

ซึ่งจากการศึกษาเลขยันต์และอักขระที่ปรากฏบนแผ่นยันต์ สามารถ<br />

อธิบายในสาระสำคัญ กล่าวคือ<br />

๑. ลักษณะของเส้นยันต์ทั้ง ๔ แผ่น เป็นลักษณะของยันต์ ๘ ทิศ<br />

ความหมายคือการคุ้มครองทั้ง ๘ ทิศ<br />

๒. อักขระที่ปรากฏบนแผ่นยันต์ทั้ง ๔ แผ่น เป็นยันต์ชื่อ ปฐมัง<br />

หรือหัวใจธาตุทั้งสี่ ประกอบด้วย นะ มะ พะ ทะ หรือ ดิน น้ำ ลม ไฟ<br />

เพื่อเป็นการตั้งธาตุหรือเป็นพื้นฐานของความสุกสว่างและเจริญรุ่งเรือง<br />

ในกิจการทหาร<br />

๓. อักษรเบื้องกลางแผ่นยันต์ มี ๒ ตัวอักษรคือ<br />

๓.๑ ลักษณะเลขเก้าไทย เรียกว่า อุณาโลม เพื่อความเจริญ<br />

รุ่งเรืองของกิจการทหาร โดยเฉพาะอักขระอุณาโลมนี้ เป็นหนึ่งในพระราช<br />

ลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอีกด้วย<br />

๓.๒ ลักษณะคล้าย ร-ร เรียกว่า อะ ย่อมาจาก อาโลโก หรือ<br />

แสงสว่าง เพื่อความสุกสว่างของกิจการทหาร<br />

123


เรื่องเล่าที่ ๘๓<br />

พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ประดิษฐานบริเวณสำนักงานผู้บังคับบัญชา กรมเสมียนตรา ชั้นที่สอง อาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของกระทรวงกลาโหม<br />

อีกแห่ง และเป็นที่สักการะของกำลังพลที ่ปฏิบัติราชการในศาลา<br />

ว่าการกลาโหม โดยที่พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ<br />

พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาทหารปืนใหญ่ เป็นพระบวรฉายา<br />

สาทิสลักษณ์ที่จัดทำขึ้นเป็นองค์ที่สอง ทั้งนี้เพราะในอดีต สำนักงาน<br />

ผู้บังคับบัญชา กรมเสมียนตรา คือ ที่ทำการของกองการกำลังพล และใน<br />

ห้องผู้อำนวยการกอง มีประวัติว่าเคยเป็นที ่ประดิษฐานพระบวรฉายา<br />

สาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับพระราชทาน<br />

จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องจากอาคาร<br />

ศาลาว่าการกลาโหมได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง จึงทำให้พระบวรฉายา<br />

สาทิสลักษณ์เดิมสูญหายไป คงเหลือไว้แต่กรอบรูปไม้สักเก่าสีขาว<br />

แตกลายงา ขนาดความสูง ๑๖๐ เซนติเมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร<br />

ในสมัยที่ พันเอก ระวิ พรหมสาขา ณ สกลนคร (ยศในขณะนั้น)<br />

ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองการกำลังพล จึงมีดำริที่จะนำภาพเขียน<br />

สีน้ำมันมาประดิษฐานที่เดิม จึงมอบให้ นายจุมพล กาญจนินทุ (บิดาของ<br />

พลโท จุมภฏ กาญจนินทุ) เป็นผู้วาด โดยใช้ลักษณะการเขียนภาพสีน้ำมัน<br />

บนผืนผ้าใบ (canvas) มีรูปแบบเป็นพระอิริยาบถนั่ง ฉลองพระองค์<br />

จอมทัพเรือเต็มพระองค์ โดยมีระยะเวลาวาดประมาณ ๒ เดือน แล้วจึงได้<br />

นำมามอบให้กระทรวงกลาโหมไว้ประดิษฐานแทนที่เดิม โดยมีพิธีบวงสรวง<br />

การประดิษฐานพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์ ในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๓๓<br />

เวลา ๐๙.๐๙ น. โดยมี พลเอก วันชัย เรืองตระกูล อดีตปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธี<br />

ต่อมาเมื่อกรมเสมียนตรา ได้ทำการปรับปรุงสำนักงาน โดยย้าย<br />

กองการกำลังพลไปอยู่ที่ชั้นที่สามและย้ายส ำนักงานผู้บังคับบัญชามาแทนที่<br />

จึงได้มอบหมายให้สำนักโยธาธิการกลาโหม เป็นผู้ออกแบบและตกแต่ง<br />

ห้องประดิษฐานพระบวรฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว และในสมัยที่ พลเอก ประกิต ศิริพันธ์ ดำรงตำแหน่งเจ้ากรม<br />

เสมียนตรา ได้ดำริให้มีการปรับภูมิทัศน์บริเวณผนังข้างบริเวณที่สักการะ<br />

เพื่อให้สวยงามและสมพระเกียรติพระราชสมัญญา พระบิดาทหาร<br />

ปืนใหญ่ จึงให้ พันเอก ชวลิต อ่วมศิริ เป็นผู้วาดสีน้ำมันแสดงให้ทราบถึง<br />

พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระบรมอนุสรณ์ของพระองค์ท่าน<br />

และพระราชโอรส ตลอดจนเครื่องราชสักการะอย่างสมพระเกียรติ<br />

124


เรื่องเล่าที่ ๘๔<br />

ห้องสำหรับจัดการประชุมที่สำคัญของกระทรวงกลาโหม<br />

การประชุมสภากลาโหมในอดีต<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับกิจการทหารและ<br />

เรื่องต่างๆ อาทิ ระเบียบ ข้อบังคับ สิทธิกำลังพล โดยมีผู้บัญชาการกรม<br />

ยุทธนาธิการ เป็นประธาน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นายทหาร<br />

ชั้นผู้ใหญ่ในกรมยุทธนาธิการ กล่าวคือ จเรทัพบก เสนาธิการทหารบก<br />

ปลัดทัพบก เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้บัญชาการมณฑล โดยใช้สถานที่จัดการ<br />

ประชุมคือ ห้องประชุมชั้นที่ ๒ ของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งมีการบันทึกไว้ว่าได้มีการจัดทำเป็นบันทึกการประชุมครั้งแรกจัดขึ้นใน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๔๔๘ และได้เก็บรักษาบันทึกการประชุมไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์กระทรวง<br />

กลาโหม โดยเอกสารฉบับดังกล่าวเป็นรายงานการประชุมผู้บัญชาการ<br />

ทหารบกมณฑล ที่มีการจดและเรียบเรียงพร้อมจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม<br />

ในโรงพิมพ์กรมยุทธนาธิการ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการ ชื่อว่า ประกาศตั้ง<br />

กระทรวงทหารบก ทหารเรือ รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม<br />

๒๔๕๓ จัดตั้ง สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง<br />

กระทรวงกลาโหมและกระทรวงการทหารเรือ จึงได้มีการจัดการประชุมสภา<br />

ป้องกันพระราชอาณาจักร ณ ศาลาว่าการกลาโหมอยู่หลายครั้ง นอกจากนี้<br />

กระทรวงกลาโหม ก็ได้จัดให้มีการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับกิจการทหารและ<br />

เรื่องต่างๆ โดยมี เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมการ<br />

ประชุม ประกอบด้วย จเรทหารทั่วไป เสนาธิการทหารบก ปลัดทูลฉลอง<br />

สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการกองพล และมีเลขานุการในการประชุม<br />

กับมีผู้จดรวบรวมจัดพิมพ์ ซึ่งในการประชุมสมัยดังกล่าวเรียกว่า<br />

การประชุมใหญ่ของกระทรวงกลาโหม<br />

ต่อมา ในรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี<br />

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้จัดให้มีการประชุมปรึกษา<br />

เกี่ยวกับกิจการทหาร ที่เรียกว่า การประชุมสภากลาโหม (ซึ่งมีการบัญญัติ<br />

เรื่องสภากลาโหม ไว้ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร<br />

พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นครั้งแรก) อยู่เป็นประจำ ณ ห้องประชุมชั้นที่สอง<br />

ของมุขกลางด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน การประชุมสภากลาโหม ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกเดือน<br />

และเป็นการประชุมที่สำคัญที่สุดของกระทรวงกลาโหม โดยจัดการประชุม<br />

ณ ห้องภาณุรังษี ชั้นที่สาม มุขกลางของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

125


เรื่องเล่าที่ ๘๕<br />

ห้องภาณุรังษี<br />

ห้องภาณุรังษี ตั้งอยู่ที่ชั้นที่สาม มุขกลางของอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม เมื่อแรกสร้างโรงทหารหน้า โดยใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๗ ได้ใช้ห้องนี้เป็น<br />

ห้องเก็บศาสตราวุธและพิพิธภัณฑ์ทหาร<br />

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จอมพล<br />

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์<br />

วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้โปรดให้นำศาสตราวุธไปเก็บรักษาไว้ที่<br />

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโปรดให้ใช้ห้องดังกล่าวเป็นที่ท ำการ<br />

กองทัพบก ในยุคต่อมา สมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่ง<br />

นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ใช้ห้องนี้เป็น<br />

ที่ทำการคณะที่ปรึกษาทางทหารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

และใช้เป็นห้องประชุมสภากลาโหม ตามลำดับ<br />

ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๔ จอมพล ถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะ<br />

ปฏิวัติ ได้ทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน ได้ใช้พื้นที่ห้องนี้<br />

เป็นกองบัญชาการคณะปฏิวัติ กับสั่งให้ใช้พื้นที่บริเวณตอนหน้าห้องนี้<br />

จัดตั้งเป็นสำนักนโยบายและแผนกลาโหม และเตรียมการจัดหาบรรจุ<br />

กำลังพล ในอัตราเจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและแผนกลาโหม กับให้แนวทาง<br />

การปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ โดยในวันที่ ๒๙<br />

ธันวาคม ๒๕๑๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ได้มีการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาฝ่าย<br />

นโยบายและแผนกลาโหมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมี พลเอก จิตติ นาวีเสถียร<br />

เป็นประธานการประชุม โดยใช้ห้องประชุมสภากลาโหม ซึ่งการจัดประชุม<br />

ดังกล่าวดำเนินการอย่างต่อเนื ่องจนถึงเมื่อมีพระบรมราชโองการโปรด<br />

เกล้าฯ พระราชทานธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๑๕<br />

หลังจากนั้น จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้สั่งการให้สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ตั้งชื่อห้องนี้ว่า ห้องภาณุรังษี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่<br />

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

ในอดีต ห้องภาณุรังษี มีประตูเข้าที่เป็นทางการประตูเพียงประตู<br />

เดียวคือประตูช่องกลาง แต่เมื่อทำการปรับปรุงครั้งหลังสุด ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๖<br />

จึงได้จัดทำเป็นประตูเข้าและออก ๒ ช่องด้านข้าง สำหรับประตูด้านข้าง<br />

ของห้องจัดทำขึ้นในอดีตเพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ประโยชน์ในการเข้าและออก<br />

สำหรับดูแลการประชุม นอกจากนี้ ห้องภาณุรังษี ยังได้จารึกรายพระนาม<br />

รายนาม และประดับภาพถ่ายของอดีตสมุหกลาโหม เสนาบดีกระทรวง<br />

กลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน<br />

126


เรื่องเล่าที่ ๘๖<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ก่อนที่จะเข้าไปภายในห้องภาณุรังษี ผู้เข้าร่วมการประชุม<br />

ผู้ที่เกี่ยวข้องมักจะถวายราชสักการะ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และ<br />

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระราชทาน<br />

กำเนิดศาลาว่าการกลาโหม<br />

ซึ่งเดิมทีบริเวณหน้าห้องภาณุรังษีแห่งนี้ มิได้มีการประดิษฐาน<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ หรือพระบรมรูปของพระองค์ใด แต่เป็น<br />

ดำริของ พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ว่า<br />

ควรประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

องค์พระราชทานกำเนิดศาลาว่าการกลาโหม เพื่อให้ก ำลังพลถวายราชสักการะ<br />

และเพื่อให้สมาชิกสภากลาโหมถวายราชสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลก่อน<br />

ที่จะเข้าประชุมสภากลาโหม กอปรกับได้มีการรับมอบพระบรมฉายา<br />

สาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์<br />

จอมทัพไทยทรงครุย และพระบรมรูปหล่อลอยองค์ ผลิตจากโลหะ<br />

ทองเหลืองรมดำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์<br />

ฉลองพระองค์จอมทัพไทยตั้งอยู่บนแท่นรอง จึงได้ให้มีการปรับปรุง<br />

ภูมิทัศน์หน้าห้องภาณุรังษี และเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ได้จัดให้มี<br />

พิธีบวงสรวงและอัญเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และพระบรมรูปหล่อ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐานบนแท่นที่ประทับ<br />

บริเวณหน้าห้องภาณุรังษี<br />

ซึ่งการถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็นประเพณีและวัฒนธรรมของ<br />

สังคมไทยทุกหมู่เหล่า ที่มักถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อมุ่งเน้นการน้อม<br />

รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่<br />

ผู้ถวายราชสักการะ<br />

127


เรื่องเล่าที่ ๘๗<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สลักจากหินอ่อนในฉลองพระองค์จอมทัพไทย<br />

ครึ่งพระองค์ ซึ่งมีลักษณะรูปแกะสลักนูนต่ำ ได้รับการอัญเชิญประดิษฐาน<br />

บริเวณกำแพงด้านในของห้องภาณุรังษี มาเป็นเวลานานมากแล้ว จึงไม่มี<br />

ผู้ใดทราบประวัติที่ชัดเจน กล่าวกันว่าเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หินอ่อนที่มีผู้ถวายในระหว่างเสด็จประพาสยุโรป และนำกลับมาทาง<br />

เรือ ซึ่งอาจเก็บรักษาระหว่างเดินทางไม่ดีเท่าที่ควรจึงทำให้เกิดรอยร้าว<br />

แต่ก็มีการซ่อมแซมไว้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อน<br />

มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก<br />

จากการสันนิษฐานของผู้ใหญ่หลายท่าน ต่างลงความเห็นว่าเป็น<br />

การสลักจากต่างประเทศแน่นอน เพราะเมื่อพิจารณาจากฝีมือและ<br />

ความประณีตของช่างผู้แกะสลัก ซึ่งในยุคนั้นประเทศไทยไม่มีช่างฝีมือ<br />

ในการแกะสลักหินอ่อน และจากการคาดคะเนพบว่า อาจแกะสลัก<br />

จากต้นแบบที่เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ส่งไปให้ช่าง เพราะมีพระบรม<br />

ฉายาลักษณ์ในพระราชอิริยาบถเช่นเดียวกับพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์<br />

หินอ่อนที่พสกนิกรชาวไทยได้เห็นหลายภาพ อย่างไรก็ตาม พระบรม<br />

ฉายาสาทิสลักษณ์หินอ่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้<br />

ถือว่าเป็นสมบัติล้ำค่าที่กระทรวงกลาโหมหวงแหน และถวายราชสักการะ<br />

เป็นประจำทุกครั้งที่พบเห็น<br />

128


เรื่องเล่าที่ ๘๘<br />

พระรูปจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

ภายในห้องภาณุรังษีด้านทิศตะวันออก หน้าซุ้ม ใต้พระบรมฉายา<br />

สาทิสลักษณ์หินอ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้<br />

ประดิษฐานพระรูปแกะสลักหินอ่อนของ จอมพล จอมพลเรือ สมเด็จ<br />

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยา<br />

ภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยมีลักษณะเป็นพระรูปหินอ่อนแกะสลักลอยองค์<br />

ในลักษณะครึ่งองค์<br />

ทั้งนี้ เพราะจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศา<br />

ภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นพระ<br />

อนุชาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ผู้บัญชาการ<br />

กรมทหารบก ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

จเรทัพบก และจเรทหารทั่วไป ซึ่งพระองค์มีคุณูปการแก่กิจการทหารไทย<br />

ในยุคเริ่มแรก และทรงขับเคลื่อนให้กระทรวงกลาโหม ทหารบก ทหารเรือ<br />

ให้มีทิศทางที่แน่ชัดและก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง<br />

ดังนั้น การถวายสักการะพระรูปของพระองค์ เพื่อเป็นการน้อม<br />

รำลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่ทรงกำกับดูแลกิจการทหารไทยให้วัฒนาถาวร<br />

ตราบจนทุกวันนี้<br />

129


เรื่องเล่าที่ ๘๙<br />

ห้องกัลยาณไมตรี<br />

ห้องประตูกระจกขนาดเล็กที่อยู่ตรงข้ามห้องภาณุรังษีนี้ มีชื่อว่า<br />

ห้องกัลยาณไมตรี จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นห้องรับรองที่สำคัญอีกหนึ่งห้อง<br />

ในศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเดิมทีเป็นห้องที่พักคอยหรือห้องรับรอง<br />

ผู้เข้าร่วมประชุมก่อนเวลาประชุม ซึ่งมีหลายครั้งเป็นห้องรับรองผู้แทน<br />

กระทรวงกลาโหมมิตรประเทศก่อนเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งในอดีตห้องนี้เคยใช้เป็นห้องเก็บศาสตราวุธ และ<br />

มาปรับปรุงใช้ประโยชน์หลัง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๒๐ เพื่อเป็นห้องรับรองแขก<br />

เรียกว่า ห้องรับรอง ชั้น ๓<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๖ ที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าห้องภาณุรังษี<br />

จึงใช้โอกาสเดียวกันนี้ปรับปรุงห้องและตั้งชื่อว่า ห้องกัลยาณไมตรี<br />

ตามชื่อถนน และตามวัตถุประสงค์ที่ใช้รับรองแขกนอกกระทรวงกลาโหม<br />

ทั้งชาวไทยและมิตรประเทศ<br />

ในยุคปัจจุบัน ใช้เป็นห้องที่ผู ้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ใช้พบปะสนทนากับแขกนอกกระทรวงกลาโหม และผู้แทนกระทรวง<br />

กลาโหมมิตรประเทศ และที่สำคัญยังใช้เป็นห้องลงนามในหนังสือรับส่ง<br />

หน้าที่และการบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงกลาโหมอีกด้วย<br />

ซึ่งภายในมีภาพเขียนสีน้ำมันที่สวยงาม โดยเฉพาะพระบรม<br />

ฉายาลักษณ์ในเกียรติประวัติยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ<br />

ภาพการรบของพระยาพิชัยดาบหักในยุทธการการรบที่เมืองพิชัยครั้งที่ ๒<br />

ซึ่งมีความงดงาม และมีชีวิตชีวามาก<br />

ภาพสงครามยุทธหัตถี<br />

ภาพการทำศึกของพระยาพิชัยดาบหัก<br />

130


เรื่องเล่าที่ ๙๐<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

ห้องประชุมที่สำคัญอีกห้องหนึ่งของกระทรวงกลาโหม ตั้งอยู่ชั้นที่สอง<br />

มุขกลางของอาคารศาลาว่าการกลาโหม โดยเมื่อแรกสร้างโรงทหารหน้า<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้ห้องประชุม<br />

ชั้นที่สองของตึกกลาง ด้านหน้าโรงทหารหน้าเป็นที่จัดการประชุมในเรื่อง<br />

เกี่ยวกับกิจการทหารและเรื่องต่างๆ โดยมีผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

เป็นประธาน<br />

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการ<br />

จัดการประชุมในเรื่องเกี่ยวกับกิจการทหารและเรื่องต่างๆ ณ ห้องประชุม<br />

ชั้นที่สองของตึกกลาง ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหมอย่างต่อเนื่อง และใน<br />

สมัยรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้จัดให้มีการประชุมสภากลาโหม ณ ห้อง<br />

ประชุม ชั้นที่สองของตึกกลางด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหมด้วยเช่นกัน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๔ สมัยรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้สั่งการ<br />

ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งชื่อห้องนี้ว่า ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสงชูโต) อดีตผู้ควบคุมการก่อสร้างศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปัจจุบัน ห้องสุรศักดิ์มนตรีใช้เป็นห้องประชุมหัวหน้าหน่วย<br />

ขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และการประชุมที ่ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม หรือรองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และยังใช้เป็นห้อง<br />

อเนกประสงค์ กล่าวคือ<br />

l เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางทหาร อาทิ การประดับ<br />

เครื่องหมายยศ พิธีประกาศเกียรติคุณ<br />

l เป็นสถานที่ประกอบพิธีสงฆ์ต่างๆ อาทิ การปฏิบัติธรรม<br />

l เป็นสถานที่ประกอบพิธีวันคล้ายวันสถาปนาหน่วยขึ้นตรง<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

l เป็นสถานที่ประกอบพิธีการทางการทูตของทหาร<br />

l เป็นสถานที่ประกอบพิธีการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

เดิมทีห้องสุรศักดิ์มนตรีมีประตูเข้าและออกหลักด้านหน้าห้อง<br />

รวม ๓ ประตู โดยประธานการประชุมจะเข้าและออกทางประตูช่องกลาง<br />

แต่เมื่อทำการปรับปรุงครั้งหลังสุด ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๖ จึงได้ปิดประตู<br />

ช่องกลาง และให้ใช้ประตูเข้าและออก ๒ ช่องด้านข้าง สำหรับประตู<br />

ด้านข้างของห้องจัดทำขึ้นในอดีตเพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ประโยชน์ในการ<br />

เข้าและออกสำหรับดูแลการประชุม นอกจากนี้ ห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

ยังได้จารึกรายนามและประดับภาพถ่ายของอดีตปลัดทูลฉลอง และ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน<br />

131


เรื่องเล่าที่ ๙๑<br />

อนุสรณ์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)<br />

มีลักษณะเป็นรูปหล่อโลหะทองเหลืองรมดำครึ่งตัวและภาพวาด<br />

เหมือนของจอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม<br />

แสงชูโต) แต่งกายในเครื่องแบบจอมพล จัดตั้งที่หน้าห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

บริเวณชั้นที่สอง ของมุขกลางภายในศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งจัดแสดง<br />

เพื่อเป็นอนุสรณ์ จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสงชูโต) ทั้งนี้เพราะท่านนี้ถือเป็นอภิบุคคล ผู้กราบบังคมทูล<br />

ขอพระราชทานที่ดิน พระราชทรัพย์ และควบคุมการก่อสร้างโรงทหาร<br />

หน้าหรือศาลาว่าการกลาโหม ผู้มีคุณูปการแก่กิจการทหารยุคใหม่ ผู้ริเริ่ม<br />

การผลิตและใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย และอดีตแม่ทัพผู้มีความสามารถ<br />

ในการยุทธ์หลายสมรภูมิ<br />

การสักการะอนุสรณ์ทำมาเพื่อรำลึกถึงที่ท่านเป็นผู้สร้างคุณูปการ<br />

แก่โรงทหารหน้า บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์การนำหน่วย และเกิดเป็นอาคาร<br />

ที่ใหญ่โตและสวยงาม เป็นมาตรฐานทางทหาร และเป็นที่เชิดหน้าชูตา<br />

ประเทศจนถึงปัจจุบัน<br />

นอกจาก อนุสรณ์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสงชูโต) ที่จัดแสดงบริเวณหน้าห้องสุรศักดิ์มนตรีนี้แล้ว ยังมีอนุสรณ์<br />

ของท่านเป็นรูปปูนปั้นลอยตัวขนาดเท่าตัวจริงครึ่งตัว แต่งกายสากล<br />

เขียนสีอีกรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปหล่อปูนปั้น ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งจมื่น<br />

สราภัยสฤษดิการ อุปทูตสยามเดินทางเจรจาความเมือง ณ ประเทศ<br />

อังกฤษ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๒๑ ขณะนี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของกระทรวง<br />

กลาโหม ซึ่งรูปหล่อปูนปั้นนี้ ได้รับมอบจาก พลตรี สิทธา พิบูลรัชต์<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๖<br />

<strong>132</strong>


เรื่องเล่าที่ ๙๒<br />

พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน<br />

สิ่งสำคัญของกระทรวงกลาโหมอีกประการหนึ่งที่นับว่าเป็น<br />

เกียรติภูมิของกระทรวงกลาโหมคือ พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทาน<br />

ของบุรพกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ พระองค์ กล่าวคือ<br />

๑. พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพไทยครึ่งพระองค์<br />

ทรงพระคทา ลงพระปรมาภิไธย และมีพระราชหัตถเลขาต่อกรมทหารบก<br />

ณ ศาลายุทธนาธิการ<br />

๒. พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์จอมทัพเรือ ในพระอิริยาบถ<br />

ยืนเต็มพระองค์ ลงพระปรมาภิไธย และมีพระราชหัตถเลขาว่า<br />

“พ.ศ.๒๔๕๗ ให้ไว้สำหรับศาลากระทรวงกลาโหม”<br />

ปัจจุบัน พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานทั้ง ๒ องค์ ได้อัญเชิญ<br />

ประดับในกรอบไม้ที่สวยงาม และประดิษฐานไว้ที่สำนักงานของรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

133


่<br />

เรื่องเล่าที่ ๙๓<br />

ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตก<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ปัจจุบันใช้เป็นห้องรับการเยี่ยมคำนับ<br />

และการเยี่ยมคารวะของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ ผู้แทน<br />

ส่วนราชการ และแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งใน<br />

พิธีการทูต หรือพิธีการทั่วไป รวมถึงการพบปะตามอัธยาศัยของรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

จากการตรวจสอบพบว่าไม่มีการบันทึกรายละเอียดไว้แต่อย่างไร<br />

แต่ทราบว่า ในช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาความมั่นคงในยุค<br />

สงครามเย็น ระหว่าง<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๕๓๕ เคยใช้ห้องนี้เป็นที่พบปะของ<br />

ผู้แทนองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.<br />

หรือ Southeast Asia Treaty Organization: SEATO) และเป็นที<br />

สนทนาและรับการเยี่ยมคำนับของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ<br />

มาโดยตลอด<br />

ซึ่งการจัดห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีรูปแบบ<br />

เป็นห้องรับแขกที่เป็นทั้งพิธีการและไม่เป็นพิธีการ มีการประดับประดา<br />

ด้วยสิ่งของโบราณ อาทิ รูปปั้นลอยตัวของอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

ของกระทรวงกลาโหม และมีการจารึกรายพระนาม รายนาม และประดับ<br />

ภาพถ่ายของอดีตสมุหพระกลาโหม เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน<br />

ทั้งนี้ ทราบว่าเคยมีความพยายามตั้งชื่อห้องของอดีตผู้บังคับ<br />

บัญชาและอดีตนายทหารฝ่ายเสนาธิการของอดีตผู้บังคับบัญชาว่า จะใช้ชื่อ<br />

ห้องว่า ห้องสวัสดิโสภา เพราะห้องอยู่เกือบจะตรงข้ามกับประตูสวัสดิโสภา<br />

ซึ่งเป็นประตูใหญ่ชั้นนอกของพระบรมมหาราชวัง แต่มีผู้ทักท้วงว่า ชื่อนี้<br />

เป็นชื่อประตูใหญ่มีเทพรักษาอยู่จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นชื่อห้อง จึงได้<br />

ยุติความคิดไป<br />

134


เรื่องเล่าที่ ๙๔<br />

ห้องยุทธนาธิการ<br />

ห้องประชุมชั้นที่สอง ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศ<br />

ตะวันออกคือ ห้องยุทธนาธิการ ซึ่งจัดสร้างเป็นห้องประชุมขนาด ๑๘๐<br />

ที่นั่ง พร้อมอุปกรณ์การประชุมที่ทันสมัย ใช้จัดการประชุมที่มีปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม และรองปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นประธานการประชุม ซึ่ง<br />

ช่วยให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีทางเลือกในการจัดการประชุม<br />

ขนาดใหญ่ได้อีก โดยไม่ต้องใช้เพียงห้องสุรศักดิ์มนตรี<br />

ในส่วนการตั้งชื่อห้องประชุมนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เคยให้มีการระดมความคิดและให้กำลังพลร่วมส่งชื่อห้องเข้าพิจารณา<br />

ปรากฏผลว่าคณะกรรมการคัดเลือกนามห้องประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์<br />

ให้เลือกใช้ชื่อว่า ห้องยุทธนาธิการ เนื่องจากเป็นการบ่งบอกให้ทราบว่า<br />

ห้องประชุมแห่งนี้เป็นห้องประชุมที่อยู่ในศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งใน<br />

สมัยหนึ่งเรียกว่า ศาลายุทธนาธิการ และเคยเป็นที่ทำการกระทรวง<br />

ยุทธนาธิการ และกรมยุทธนาธิการมาแล้ว<br />

ทั้งนี้ คำว่า ยุทธนาธิการ หากแปลความหมายแล้วคือ ภารกิจ<br />

ที่ยิ่งใหญ่ต่อการศึกสงคราม เรียกได้ว่าเป็นคำที่มีความหมายถึงความ<br />

สง่างามของสถานที่ และสื่อถึงความงดงามของภาษาไทยเป็นอย่างยิ่ง<br />

135


เรื่องเล่าที่ ๙๕<br />

ห้องพินิตประชานาถ<br />

พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ<br />

136


ห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สุดของศาลาว่าการกลาโหม ที่ตั้งอยู่<br />

ชั้นที่สอง ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก จัดสร้างขึ้น<br />

ในคราวที่จัดสร้างอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.<br />

๒๕๕๕ พร้อมกับห้องยุทธนาธิการ ในช่วงแรกสร้างยังไม่มีชื่อห้องที่ชัดเจน<br />

เรียกกันว่า ห้องประชุม ๓๐๐ ที่นั่ง มีวัตถุประสงค์ใช้สำหรับจัดการประชุม<br />

ขนาดใหญ่ จัดเลี้ยง จัดงานหรือนิทรรศการได้<br />

ในส่วนการตั้งชื่อห้องประชุมนั้น ได้ระดมความคิดและให้กำลังพล<br />

ร่วมส่งชื่อห้องเข้าพิจารณา ปรากฏผลว่าคณะกรรมการคัดเลือกนามห้อง<br />

ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลือกใช้ชื่อว่า ห้องพินิตประชานาถ ซึ่งเป็น<br />

พระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรง<br />

เป็นหลักชัยและมีพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่กิจการทหารไทย<br />

ในยุคใหม่ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงทหารหน้า<br />

จนพัฒนามาเป็นศาลาว่าการกลาโหมตราบทุกวันนี้<br />

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า<br />

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ ดังนั้น<br />

การอัญเชิญพระนามของพระองค์มาสถิตเป็นนามห้องจึงถือว่าเป็นสิริมงคล<br />

แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในห้องนี้เป็นอย่างยิ่ง<br />

อย่างไรก็ตาม การอัญเชิญพระนามขององค์พระมหากษัตริย์<br />

มาใช้เป็นชื่อห้อง จึงต้องนำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลี<br />

พระบาท เพื่อขอพระราชทานจากองค์พระประมุขของชาติ และได้รับ<br />

พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้<br />

ชื่อห้องว่า ห้องพินิตประชานาถ<br />

ห้องประชุมนี้มีเกียรติประวัติที่สำคัญในการใช้เป็นสถานที่ตรวจ<br />

กองทหารเกียรติยศของผู้นำสูงสุดทางทหารของมิตรประเทศมาแล้ว<br />

หลายครั้ง เป็นห้องประชุมในการมอบนโยบายของปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ใช้ในการจัดกิจกรรมบรรยายที่สำคัญ และเคยใช้ในการประชุมสัมมนา<br />

การจัดทำกรอบการปฏิรูปประเทศ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๗ อีกด้วย<br />

137


เรื่องเล่าที่ ๙๖<br />

ห้องหลักเมือง<br />

เป็นชื่อของห้องประชุมที่ตั้งอยู่บริเวณชั้นที่สาม ด้านมุมทิศเหนือ<br />

ตัดกับทิศตะวันออกของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งก่อนจะถึงทาง<br />

เชื่อมอาคารใหม่ด้านทิศตะวันออก มีห้องประชุม ๒ ห้อง ที่ใช้ชื่อว่า<br />

ห้องหลักเมือง ๑ และหลักเมือง ๒<br />

เดิมทีบริเวณที่ตั้งห้องประชุมทั้ง ๒ ห้อง เคยเป็นที่ทำการของสำนัก<br />

ตรวจสอบภายในกลาโหม (เดิมเรียกว่า สำนักตรวจบัญชีกลาโหม) และ<br />

บริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เหลือขนาดหนึ่งห้องทำงาน ประกอบกับในขณะนั้น<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีข้อจำกัดในการใช้ห้องเพื่อทำการประชุม<br />

กล่าวคือ มีเพียงห้องภาณุรังษี และห้องสุรศักดิ์มนตรีเท่านั้น<br />

ดังนั้น กองการประชุม สำนักนโยบายและแผนกลาโหม จึงได้จัด<br />

ระเบียบห้องดังกล่าวทำเป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน<br />

เพื่อใช้ประโยชน์ในการประชุมหน่วย ซึ่งในเวลาต่อมา มีหน่วยขึ้นตรง<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมใช้จัดการประชุมเป็นประจำ จึงมีการ<br />

ตั้งชื ่อว่าห้องหลักเมือง เพราะอยู่ด้านทิศเหนือใกล้กับศาลหลักเมือง<br />

อันเป็นที่สักการะของกำลังพลและประชาชนทั่วไป<br />

ต่อมาเมื่อ สำนักตรวจสอบภายในกลาโหม ย้ายที่ทำการไปที่ตั้งใหม่<br />

ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๒<br />

จึงได้จัดสรรพื้นที่ทำห้องประชุมและปรับปรุงห้องประชุมหลักเมืองเดิม<br />

จนเกิดเป็นห้องประชุม ๒ ห้อง กล่าวคือ<br />

๑. ห้องหลักเมือง ๑ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๔๐ คน<br />

๒. ห้องหลักเมือง ๒ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๘๐ คน<br />

ห้องหลักเมือง ๑<br />

ห้องหลักเมือง ๒<br />

138


เรื่องเล่าที่ ๙๗<br />

ห้องศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นห้องประชุมที่ตั้งอยู่ชั้นที่สาม ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาด ๘๐ ที่นั่ง สำหรับใช้ประชุม<br />

ในเรื่องงานยุทธการสำคัญและการปฏิบัติการร่วมในระดับส่วนราชการ<br />

ระดับกระทรวง ซึ่งในปัจจุบันยังใช้เป็นห้องบรรยายสรุปข่าวประจำวัน<br />

(Morning Brief) ให้แก่ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงในสังกัดสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม เป็นประจำ<br />

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นห้องประชุมของหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหมตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ถือได้ว่าห้องศูนย์ปฏิบัติการ<br />

กระทรวงกลาโหม เป็นห้องประชุมที ่มีมาตรฐานการประชุมที ่ดีที่สุด<br />

ห้องหนึ่งของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพราะมีอุปกรณ์อำนวย<br />

ความสะดวกและอุปกรณ์สายสื่อสารในการประชุมทางไกล (VDO<br />

Conference) ที่สมบูรณ์แบบ<br />

139


เรื่องเล่าที่ ๙๘<br />

ห้องพระบารมีปกเกล้า<br />

ห้องพระบารมีปกเกล้า เดิมชื่อว่า ห้องสนามไชย ตั้งอยู่ชั้นที่สอง<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านหัวมุมทิศเหนือตัดกับทิศตะวันตก<br />

ติดกับห้องทำงานของปลัดกระทรวงกลาโหม เดิมเรียกว่า ห้องรับรอง<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ทำการปรับปรุงเพื่อจัดเป็นห้องรับการ<br />

เยี่ยมคำนับและการเยี่ยมคารวะของผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ<br />

ผู้แทนส่วนราชการ และแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งในพิธีการทูต<br />

หรือพิธีการทั่วไป รวมถึงการพบปะตามอัธยาศัยของปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เช่นเดียวกับห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องพระบารมีปกเกล้า ได้รับการปรับปรุงและตั้งชื่อห้องให้<br />

สอดรับกับชื่อถนนที่อยู่ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม โดยจัดทำในสมัย<br />

พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ด้วยการปรับ<br />

ขนาดและพื้นที่ใช้สอยให้กว้างขวางมากขึ้น และตกแต่งให้เหมาะสม<br />

แก่การรับรองผู้แทนกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ ผู้แทนส่วนราชการ<br />

และแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้งประกอบพิธีการสำหรับ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมที่ใช้ผู้เข้าร่วมพิธีจำนวนไม่มาก นอกจากนี้<br />

ห้องนี้ยังใช้เป็นที่ประดิษฐานธงปลัดทูลฉลอง ที่มีรูปคชสีห์ ซึ่งเป็น<br />

ธงประจำตำแหน่งปลัดทูลฉลอง หรือปลัดกระทรวงกลาโหมอีกด้วย<br />

ต่อมาใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๖๒ ได้มีการปรับปรุงและตั้งชื่อห้องใหม่ ในสมัย<br />

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

140


เรื่องเล่าที่ ๙๙<br />

ห้องริมวัง<br />

ห้องริมวัง เป็นห้องที่ตั้งอยู่ชั้นที่สอง ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ด้านทิศเหนือ บริเวณสำนักงานของปลัดกระทรวงกลาโหม โดยจัดสร้างขึ้น<br />

เพื่อเป็นห้องอเนกประสงค์ของปลัดกระทรวงกลาโหม สำหรับใช้ในการ<br />

รับรองแขกที่เข้าพบหรือเยี่ยมคารวะอย่างไม่เป็นทางการ บางโอกาส<br />

ใช้จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ หรือเป็นการประชุมส่วนตัวของ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้งเป็นห้องรับประทานอาหารอย่างเป็น<br />

หมู่คณะของปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติหน้าที่<br />

ในสำนักงานของปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ความโดดเด่นของห้องนี้คือ มีหน้าต่างรวม ๒ ช่อง เมื่อชมทิวทัศน์<br />

จากภายในห้องจะเห็นความงดงามของพระบรมมหาราชวังตั้งแต่<br />

ป้อมเผด็จดัสกร ผ่านหน้าประตูสวัสดิโสภา ไปจนถึงป้อมสัญจรใจวิง<br />

ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันตก<br />

หรือด้านหน้าอาคาร จึงเปรียบเสมือนการชมทัศนียภาพอันงดงามของ<br />

พระบรมมหาราชวัง ที่มองเห็นปราสาทพระเทพบิดรวัดพระศรีรัตน<br />

ศาสดาราม พระศรีรัตนเจดีย์ หอพระมณเฑียรธรรม (หอพระไตรปิฎก<br />

ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) พระอัษฎามหาเจดีย์ (พระปรางค์แปดองค์)<br />

ห้องริมวังนี้ เป็นการดำริให้ปรับปรุงและขนานนามโดย พลเอก<br />

ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหมท่านปัจจุบัน และได้ใช้ประโยชน์<br />

ในภารกิจสำคัญมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งเป็นเกียรติประวัติอันน่าภาคภูมิใจ<br />

ของสถานที่แห่งนี้<br />

141


เรื่องเล่าที่ ๑๐๐<br />

ห้องสราญรมย์<br />

ห้องสราญรมย์ เป็นห้องที่ตั้งอยู่ชั้นที่สอง ของอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมด้านทิศเหนือ ใกล้กับทางเชื่อมชั้นที่ ๒ เป็นห้องที่จัดทำขึ้นในสมัย<br />

พลเอก วินัย ภัททิยกุล อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ห้องสราญรมย์นี้ จัดสร้างขึ ้นโดยมีวัตถุประสงค์ใช้รับรองแขกของ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม และรองปลัดกระทรวงกลาโหม โดยจัดผังห้อง<br />

ออกเป็น ๔ ส่วน กล่าวคือ<br />

๑. ส่วนที่ ๑ เป็นห้องประชุมขนาดความจุประมาณ ๒๐ คน และ<br />

สามารถใช้เป็นห้องรับประทานอาหารได้<br />

๒. ส่วนที่ ๒ เป็นห้องรับแขก สามารถรองรับแขกได้ประมาณ<br />

๑๕ – ๒๐ คน<br />

๓. ส่วนที่ ๓ เป็นที่รับรองและพักคอยบริเวณก่อนถึงห้องรับแขก<br />

๔. ส่วนที่ ๔ เป็นห้องจัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม<br />

ในอดีต ห้องสราญรมย์นี้ เคยใช้รับรองและเลี้ยงอาหารสำหรับผู้นำ<br />

ประเทศที่เคยเป็นแขกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาหลายครั้ง<br />

และเคยเป็นที่พบปะหารือและรับประทานอาหารกลางวันของอดีตผู้บังคับ<br />

บัญชาชั้นสูงอยู่สมัยหนึ่ง<br />

ปัจจุบัน ยังคงใช้เป็นสำหรับรับรองแขกของปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และรองปลัดกระทรวงกลาโหม ทั้งยังมีการตกแต่งห้องให้สามารถรองรับ<br />

แขกระดับประเทศได้อีกด้วย<br />

142


เรื่องเล่าที่ ๑๐๑<br />

ห้องขวัญเมือง<br />

ห้องประชุมขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณชั้นที่สอง ของอาคารศาลาว่า<br />

การกลาโหมเดิมด้านทิศตะวันออก บริเวณหัวมุมทางขึ้นลงบันไดด้าน<br />

ทิศใต้มีชื่อว่า ห้องขวัญเมือง ซึ่งชื่อเดิมของห้องนี้เรียกว่า ห้องอเนกประสงค์<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เคยเป็นสำนักงานการเงินและหน่วยงานที่<br />

เกี่ยวข้องกับส่วนบังคับบัญชาของสำนักนโยบายและแผนกลาโหมมาก่อน<br />

ต่อมา สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ได้ใช้ห้องนี้เป็นห้องสำหรับ<br />

ภารกิจพิเศษ อาทิ การประกอบพิธีประดับเครื่องหมายยศให้แก่กำลังพล<br />

เป็นห้องประชุมขนาดเล็กของหน่วย เป็นห้องรับการเยี่ยมคารวะของ<br />

ผู้แทนทางทหารมิตรประเทศที่เข้าพบผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน<br />

กลาโหม<br />

ในสมัย พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนัก<br />

นโยบายและแผนกลาโหม ได้ดำริให้ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพภายในของ<br />

ห้องให้เป็นห้องประชุมขนาด ๓๐ ที่นั่ง พร้อมกับให้กำลังพลเสนอชื่อห้อง<br />

จนได้ข้อยุติว่าชื่อ ห้องขวัญเมือง<br />

ปัจจุบัน ห้องขวัญเมืองนี้ใช้เป็นห้องประชุมสำหรับหน่วยขึ้นตรง<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่มีที่ตั้งในอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

และใช้เป็นที่ต้อนรับและจัดการประชุมหารือกับผู้แทนทางทหารของ<br />

มิตรประเทศกับใช้ประกอบพิธีการของสำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

143


เรื่องเล่าที่ ๑๐๒<br />

ห้องกำปั่นเก็บเงินกระทรวงกลาโหม<br />

คำว่า “กำปั่น” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.<br />

๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคำว่า กำปั่น หมายถึง หีบทำด้วยเหล็กหนา<br />

สำหรับใส่เงินและของต่างๆ รูปค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวสูง<br />

เท่ากัน ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลายทำเป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวม<br />

ขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสำหรับใส่กุญแจ เดิมทำเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว<br />

ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาจีนที่เรียกว่า กั๊บบ้วง หรือ กั๊บบั้ง ซึ่งแปลว่า<br />

ตู้เหล็กเก็บทรัพย์สินมีค่าของคหบดี และยังพบว่า คำว่า กำปั่น มีมาตั้งแต่<br />

สมัยอยุธยาจนต้นรัตนโกสินทร์<br />

สำหรับในทางราชการทหารนั้น กำปั่นเก็บเงิน ถือเป็นตู้นิรภัยที่ใช้<br />

สำหรับบรรจุเงินของทางราชการที่เก็บรักษาไว้ตามหน่วยทหาร ตาม<br />

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเงิน ซึ่งจะต้องมีห้องนิรภัยที่เก็บก ำปั่น<br />

เก็บเงิน สามารถบรรจุกำปั่นเก็บเงินไว้ข้างในห้องนิรภัยนั้น และในแต่ละ<br />

วันทำการจะต้องมีนายทหารชั้นสัญญาบัตร ๓ คนทำหน้าที่นำเงินออก<br />

จากกำปั่นเก็บเงินในเวลาเช้า และเก็บเงินพร้อมสอบทานการเก็บเงินเข้าสู่<br />

กำปั่นเก็บเงินในเวลาเย็นก็ทำการ ประกอบด้วย (๑) ผู้ถือลูกกุญแจที่เก็บ<br />

กำปั่นเก็บเงิน ซึ่งเป็นห้องหรือกรงเหล็กที่ทำไว้ โดยมั่นคงเป็นพิเศษสำหรับ<br />

เก็บกำปั่นเก็บเงิน (๒) ผู้ถือลูกกุญแจกำปั่นเก็บเงิน ซึ ่งเป็นตู้นิรภัยหรือ<br />

ตู้เหล็กหรือหีบเหล็กอันมั่นคงสำหรับเก็บเงิน บรรจุภายในห้องกำปั่น<br />

อีกชั้นหนึ่ง และ (๓) พยานประจำวัน อีกทั้ง การปฏิบัติที่สำคัญอีก<br />

ประการหนึ่งคือเมื่อปิดกำปั่นเก็บเงินหรือที่เก็บกำปั่นเก็บเงินแล้วจะต้อง<br />

ทำการผูกเชือกพร้อมประทับตราที่ครั่งหรือดินเหนียวเป็นเครื่องหมาย<br />

ของผู้ถือลูกกุญแจดังกล่าวด้วยเพื่อความปลอดภัยของการนิรภัย<br />

ในการเก็บรักษาเงินของทางราชการ กระทรวงกลาโหมเองก็มีห้องที่<br />

เก็บกำปั่นเก็บเงินและห้องกำปั่นเก็บเงิน ซึ่งมีเกียรติภูมิเคียงคู่ความ<br />

สง่างามของศาลาว่าการกลาโหมด้วยเช่นกัน โดยที ่กำลังพลที่เคยปฏิบัติ<br />

หน้าที่ในศาลาว่าการกลาโหมในช่วงก่อน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๒ หลายท่านคง<br />

รู้จักกันดีว่า ชั้นล่างของอาคารศาลาว่าการกลาโหมทิศใต้มีห้องอยู่ห้องหนึ่ง<br />

ที่เรียกกันว่า ห้องกำปั่นเก็บเงิน และตั้งอยู่ชั้นล่างใต้ห้องกองการเงิน<br />

กรมการเงินกลาโหม ในห้วงเวลาดังกล่าวจะต้องมีการจัดเวรยามติดอาวุธ<br />

รักษาความปลอดภัยเพื่อดูแลทางขึ้นและลงตลอด ๒๔ ชั่วโมง<br />

ทั้งนี้ มีการสันนิษฐานว่ามีการกำหนดให้ใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวทำ<br />

ที่เก็บกำปั่นเก็บเงินมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว<br />

ในราว<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๗ ซึ่งมีการตั้ง กรมคลังเงินทหารบก (ต่อมา ได้เปลี่ยน<br />

มาเป็น กรมการเงินกลาโหม) ซึ่งเป็นส่วนราชการขึ้นตรง กรมยุทธนาธิการ<br />

และสาเหตุที่ต้องใช้บริเวณชั้นล่างอาคาร ก็เนื่องจากกำปั่นเก็บเงินเป็น<br />

ตู้เหล็กขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก หากตั้งไว้ชั้นบนอาจทำให้ต้องรับ<br />

น้ำหนักมาก และอาจส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร<br />

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันกระทรวงกลาโหมไม่ได้ใช้ประโยชน์<br />

จากห้องกำปั่นเก็บเงินอีกต่อไป เพราะการเบิกจ่ายเงินของทางราชการ<br />

ส่วนใหญ่ใช้ผ่านธนาคาร และมีการย้ายห้องทำงานของกองการเงิน<br />

กรมการเงินกลาโหม ไปอยู่ที่ชั้น ๓ ของอาคารสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม (ศรีสมาน) จึงปล่อยให้ห้องกำปั่นเก็บเงินถูกทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน<br />

และในอนาคตก็อาจถูกหลงลืมไปในที่สุด<br />

ในอดีต ห้องกำปั่นเก็บเงินนี้ ได้รับใช้ราชการกระทรวงกลาโหม<br />

มาเป็นเวลาต่อเนื่องถึงเกือบจะหนึ่งร้อย<strong>ปี</strong> และคาดว่ามีกำลังพลของ<br />

กระทรวงกลาโหมหลายหน่วย หลายรุ่น และหลายชั่วอายุ ใช้บริการ<br />

ห้องกำปั่นเก็บเงินด้วยการรับเงินเดือน และเงินตามสิทธิกำลังพล<br />

เป็นจำนวนมากและวันนี้เสมือนการปลดระวางการใช้ประโยชน์แล้ว<br />

ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาห้องกำปั่นเก็บเงินเพื่อใช้เป็นห้องทำงานของหน่วย<br />

ขึ้นตรงกรมเสมียนตรา<br />

144


เรื่องเล่าที่ ๑๐๓<br />

ห้องพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม<br />

ในอดีต ห้องพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งใช้เป็นที่เก็บรวบรวม<br />

สิ่งของที่เกี่ยวกับทหารมาจัดแสดงไว้ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร<br />

ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นที่หนึ่ง ของอาคารศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศตะวันออก<br />

โดยจัดแสดงสิ่งของโบราณทางการทหาร ประกอบด้วย<br />

๑. ศาสตราวุธโบราณ ตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์<br />

๒. อาวุธและสิ่งของเครื่องใช้ทางทหารในยุคที่ประเทศไทยปรับ<br />

กิจการทหารมาเป็นกิจการทหารสมัยใหม่<br />

๓. เอกสารโบราณหลายรายการ เป็นสิ่งที่หาชมได้ยากและ<br />

สามารถใช้สืบค้นและค้นคว้าหาความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ของชาติและ<br />

ประวัติศาสตร์ทางทหาร กล่าวคือ<br />

๓.๑ หนังสือราชการในยุคตั้งแต่เริ่มจัดสร้างโรงทหารหน้า<br />

๓.๒ หนังสือโบราณ ประเภท สมุดพับ บันทึกเรื่องราวทางทหาร<br />

และตำราพิชัยสงคราม<br />

ต่อมา พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

มีดำริที่จะปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวม<br />

เอกสารที่สำคัญ และวัตถุพิพิธภัณฑ์โบราณที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์<br />

ของกระทรวงกลาโหม โดยเปิดโอกาสให้ข้าราชการและประชาชนทั่วไป<br />

เข้าชมเพื่อให้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทางการทหาร สร้างความ<br />

ภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย โดยทำการย้ายพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการ<br />

กลาโหมมาอยู่ชั้นที่หนึ่ง อาคารศาลาว่าการกลาโหมทิศตะวันตก มีพื้นที่<br />

ประมาณ ๓๑๒ ตารางเมตร กำหนดรูปแบบพื้นที่จัดแสดงออกเป็น ๘ พื้นที่<br />

ประกอบด้วย<br />

๑. ห้องประวัติจากโรงทหารหน้าสู่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๒. ผังพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๓. สมุดรายชื่อทหารไทยกองอาสาไปสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ทวีป<br />

ยุโรป จำนวน ๑,๔๒๔ นาย<br />

๔. สมุดไทยดำบันทึกยอดไพร่พล<br />

๕. ประวัติพญาคชสีห์ด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๖. แบบเรียนตำราแบบฝึกทางการทหารสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๗. ภาพประวัติศาสตร์ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๘. หัวเสาธงชาติ<br />

โดยทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน<br />

๒๕๖๑ โดย พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นประธานในพิธี<br />

145


เรื่องเล่าที่ ๑๐๔<br />

ห้องสมุดกระทรวงกลาโหม<br />

กระทรวงกลาโหม ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้<br />

ของกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการทหาร ทั้งนายทหารชั้นสัญญา<br />

บัตรและนายทหารชั้นประทวน ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการที่<br />

ปฏิบัติหน้าที่ในศาลาว่าการกลาโหม จึงได้จัดทำห้องสมุดกระทรวงกลาโหม<br />

เพื่อให้กำลังพลได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวข่าวสารอันเป็นประโยชน์ในการ<br />

พัฒนาความรู้และติดตามข่าวสารของประเทศชาติบ้านเมือง โดยมีที่ตั้ง<br />

ของห้องสมุดกระทรวงกลาโหมบริเวณชั้นล่าง ของอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหมหลังเดิมด้านทิศตะวันออก<br />

โดยหนังสือที่จัดแสดงไว้นั้น เป็นการรวบรวมหนังสือที่เกี่ยวข้อง<br />

กับกิจการทหารในยุคโบราณ ตั้งแต่แรกตั้งกระทรวงกลาโหมต่อเนื่อง<br />

มาจนปัจจุบัน หนังสือในศาสตร์ต่างๆ วารสารที ่สำคัญของทหาร อาทิ<br />

วารสารหลักเมือง รัฏฐาธิปัตย์ เสนาธิปัตย์ นาวิกศาสตร์ ทั้งนี้ หนังสือ<br />

ที่น่าสนใจที่เก็บรักษาในห้องสมุดมีหนังสือที่จัดทำเมื่อกระทรวงกลาโหม<br />

ครบ ๖๐ <strong>ปี</strong> ซึ่งบรรจุประกาศพระบรมราชโองการที่ชื่อว่า ประกาศจัดการ<br />

ทหาร (ก่อตั้งกรมยุทธนาธิการ) และเอกสารโบราณเกี่ยวกับกิจการทหาร<br />

ไว้อีกด้วย<br />

ปัจจุบัน ห้องสมุดกระทรวงกลาโหม อยู่ในความรับผิดชอบของ<br />

กรมเสมียนตรา และเปิดให้บริการในเวลาราชการโดยไม่พักเที่ยง ทำให้<br />

กำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ในศาลาว่าการกลาโหมสามารถใช้บริการได้อย่าง<br />

สะดวกเสมอมา<br />

146


เรื่องเล่าที่ ๑๐๕<br />

ไม้กั้นหน้าประตูใหญ่<br />

บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหมบริเวณริมถนนสนามไชย<br />

จะพบเห็นถนนที่เข้าสู่ประตูและออกจากประตูใหญ่หน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมด้านทิศตะวันตก รวมทั้งบริเวณทางออกถนนหลักเมืองและถนน<br />

กัลยาณไมตรี แต่สิ่งที่ขอนำเสนอคือ สิ่งกีดขวางหน้าประตูที่ทำจากเหล็ก<br />

และเสาที่ยึดตรงกับสิ่งกีดขวางนั้น โดยกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ในศาลา<br />

ว่าการกลาโหมมักจะเรียกกันว่าไม้กั้นหน้าประตูใหญ่ หากแต่เมื่อพิจารณา<br />

รูปลักษณ์แล้วจะเห็นรูปทรงเป็นแท่งเหล็กยาวทางสีขาวแดงบริเวณส่วนหัว<br />

เป็นทองเหลืองคล้ายเสาธงและมีเหล็กยึดเสา พร้อมเหล็กห้อยเพื่อแสดง<br />

ความเป็นเขตหวงห้าม โดยการเปิดเข้าด้านในจากถนนสนามไชย<br />

การจัดทำไม้กั้นหน้าประตูใหญ่นี้ไม่ปรากฏว่าจัดทำเมื่อไร แต่เมื่อ<br />

สืบค้นและสอบถามอดีตกำลังพลที่เคยปฏิบัติราชการตั้งแต่ประมาณ<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับการยืนยันว่า เมื่อเริ่มมาปฏิบัติหน้าที่ก็เห็นไม้กั้นหน้า<br />

ประตูใหญ่ใช้งานอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว และเมื่อพิจารณาจากหัวเสา<br />

และหัวไม้กั้นที่เป็นทองเหลืองหล่อพบว่ามีลักษณะคล้ายกับหัวเสาธงชาติ<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหม ที่สร้างขึ้นเมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๐ จึงมีความเป็นไปได้<br />

ที่จัดสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน<br />

กล่าวได้ว่า ไม้กั้นหน้าประตูใหญ่ได้ยืนหยัดทำหน้าที่กีดขวางการ<br />

เข้าและออกของบุคคลและยานพาหนะที ่ไม่ได้รับการอนุญาตด้วย<br />

ความเข้มแข็ง ต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า ๕๐ <strong>ปี</strong> และจะคงทำหน้าที่<br />

อันสำคัญนี้ต่อไป<br />

147


เรื่องเล่าที่ ๑๐๖<br />

กองรักษาการณ์และป้อมทหารยาม<br />

ความสง่างามของหน่วยทหารทุกหน่วยย่อมปรากฏชัด ตั้งแต่<br />

ทางเข้ามาสู่หน่วยทหาร ซึ่งหน่วยทหารของไทยทุกหน่วยจะปรากฏ<br />

กองรักษาการณ์ และการจัดเวรยามของทหารในการรักษาความปลอดภัย<br />

ของอาคาร กระทรวงกลาโหมก็ได้จัดให้มีกองรักษาการณ์มีที่ตั้งอยู่บริเวณ<br />

ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม ภายใต้ระเบียงมุขกลางของอาคาร<br />

โดยจัดกำลังทหารจากมณฑลทหารบกที่ ๑๑ มาปฏิบัติหน้าที่รักษา<br />

ความปลอดภัย รวมทั้งจัดเวรยามประจำจุดต่างๆ รอบอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม ตลอด ๒๔ ชั่วโมง<br />

สำหรับการยืนเวรยามตามจุดต่างๆ ได้จัดให้มีสิ่งอ ำนวยความสะดวก<br />

ในการยืนเวรยามเป็นป้อมทหารยามรอบอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

รวม ๘ จุด โดยจัดรูปแบบของป้อมทหารยามไว้ตามลักษณะของป้อมยาม<br />

โบราณที่ปรากฏหลักฐานจากภาพถ่ายในอดีตมาพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์<br />

ในปัจจุบัน ซึ่งป้อมทหารยามของศาลาว่าการกลาโหมเป็นที่สนใจของ<br />

นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอันมาก จึงขอบันทึกภาพ<br />

พร้อมทหารที่เข้าเวรยามในผลัดต่างๆ อยู่เสมอ<br />

148


เรื่องเล่าที่ ๑๐๗<br />

รางรถรางข้างกระทรวงกลาโหม<br />

หากท่านใดที่สัญจรผ่านศาลาว่าการกลาโหมด้านทิศเหนือบริเวณ<br />

ถนนหลักเมือง คงจะเห็นรางคล้ายรางรถไฟอยู่บนพื้นผิวถนน ซึ่งราง<br />

ดังกล่าวคือรางรถราง และบริเวณข้างกระทรวงกลาโหมเคยเป็นท่ารถราง<br />

อีกด้วย โดยรถรางที่ว่านี้ เริ่มมีการบริการในประเทศไทย โดยเริ่มกิจการที่<br />

กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๓๑ โดยเริ่มต้นจาก<br />

บางคอแหลม ถนนตก มาตามถนนเจริญกรุง สุดปลายทางที่ศาลหลักเมือง<br />

ข้างศาลายุทธนาธิการ หรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน เป็นระยะทาง<br />

๖ ไมล์ (ประมาณ ๑๐ - ๑๒ กิโลเมตร) ใช้รถเล็ก ๔ ล้อ เทียมด้วยม้า ๒ คู่<br />

และมีสถานีเปลี่ยนม้าเป็นระยะ เพื่อให้ม้าได้พัก ซึ่งกิจการที่เปิดให้บริการ<br />

รถรางคือ บริษัท บางกอกแตรมเวย์ จำกัด จึงทำให้คนไทยรถรางในยุคแรก<br />

เรียกว่า รถแตรม ต่อมาใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๕ จึงเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าในการ<br />

ขับเคลื่อนรถราง และให้บริการจนถึงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๑๑ ซึ่งเหตุที่<br />

ต้องเลิกกิจการเพราะรถรางแล่นช้าและถูกมองว่าทำให้การจราจรติดขัด<br />

สำหรับรถรางที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมคือ รถรางสาย<br />

บางคอแหลม ซึ ่งมีเส้นทางวิ่งตามถนนเจริญกรุง เข้าเมืองไปยังสี่กั๊ก<br />

พระยาศรี แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนเฟื่องนคร ไปยังสี่กั๊กเสาชิงช้า<br />

ก่อนจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนบำรุงเมือง แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนอัษฎางค์<br />

ก่อนข้ามสะพานหกที่คลองคูเมืองเดิม ไปยังศาลหลักเมืองแล้วไปสุดสาย<br />

ที่แถวกระทรวงกลาโหม ต่อมา ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๗๐ รถรางสายนี้ถูกยกเลิก<br />

ไปเพื่อนำพื้นที่แถวนั้นมาสร้างเป็นถนน คงเหลือไว้เพียงรางรถรางให้เห็น<br />

เป็นอนุสรณ์ว่า บริเวณนี้เคยมีรถรางแล่นผ่านมาก่อน<br />

149


เรื่องเล่าที่ ๑๐๘<br />

สะพานหก<br />

สะพานหก เป็นชื่อสะพานที่อยู่บริเวณด้านหลังศาลาว่าการกลาโหม<br />

ข้ามคลองคูเมืองเดิม ปัจจุบันเป็นสะพานคอนกรีตสำหรับคนเดินข้าม<br />

ซึ่งมีประวัติการสร้าง กล่าวคือ เดิมเมื่อโรงทหารหน้านี้ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ<br />

ที่ว่าการของกรมทหารหน้ายังตั้งอยู่ที่บริเวณหอบิลเลียด ณ วังสราญรมย์<br />

กับโรงครัวที่เลี้ยงทหาร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเฟื่องนครนั้นก็รวมอยู่ด้วย ต่อมา<br />

ได้ปรับปรุงด้วยการรื้อถอนโรงครัวเพื่อสร้างเป็นโรงเรียนนายร้อย (Cadet<br />

School) บริเวณหน้าวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร<br />

โดยสร้างเป็นโรงใหญ่สำหรับฝึกกายกรรม (โรงยิมเนเซียม)<br />

ต่อมาเมื่อกรมทหารหน้าได้ย้ายมาอยู่ที่โรงทหารหน้า ซึ่งสร้าง<br />

ขึ้นใหม่นั้น ก็ยังคงโรงครัวเก่าเลี้ยงพลทหารหน้าต่อไปอีก เมื่อพลทหาร<br />

ที่จะมารับประทานอาหารต้องเดินไกล ผู้บัญชาการจึงสั่งการให้ทำเป็น<br />

สะพานหก ข้ามมาจากยุทธนาธิการจนถึงโรงครัว เพื่อตัดทอนหนทาง<br />

ให้สั้นลง สะพานหกนี้ได้เปิดให้ทหารเดินแต่ขณะที่จะมารับประทานอาหาร<br />

เท่านั้น ว่ากันว่า สะพานนี้ได้ใช้งานในระหว่างที่ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวย<br />

วรนารถ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้าเท่านั ้น ครั้นเมื่อตั้ง<br />

กรมยุทธนาธิการ เป็นระเบียบเรียบร้อยดีแล้ว จึงได้รื้อโรงครัวนั้นสร้าง<br />

เป็นโรงเรียนนายร้อย<br />

สำหรับสะพานหก มีการสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถยกตัวสะพานขึ้น<br />

เพื่อให้เรือแล่นผ่านได้ (หากต้องการเห็นลักษณะของสะพาน ได้มีการ<br />

สร้างสะพานหกขึ้นบริเวณวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหาร)<br />

ซึ่งในอดีตเคยเป็นสะพานรถรางที่ให้รถรางสายบางคอแหลม – กระทรวง<br />

กลาโหมข้ามจากถนนหลักเมือง แต่ได้ยกเลิกรถรางสายดังกล่าวใน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๔๗๐ ส่วนสะพานหกเดิมได้สร้างเป็นสะพานคอนกรีตถาวรดังที่เห็น<br />

ในปัจจุบัน<br />

ภาพสะพานหกหลังอาคารโรงทหารหน้า ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๓๑<br />

ภาพรถรางกำลังแล่นผ่านสะพานหก (เดิม)<br />

สะพานหกในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๒)<br />

ภาพรถรางกำลังแล่นผ่าน<br />

สะพานหก (คอนกรีต)<br />

150


เรื่องเล่าที่ ๑๐๙<br />

ถนนสนามไชย<br />

ถนนสนามไชย ถือเป็นถนนสำคัญที่อยู่เคียงคู่โรงทหารหน้าและ<br />

ศาลาว่าการกลาโหม มานับร้อย<strong>ปี</strong> และมีความสำคัญมากเพราะเป็นที่อยู่<br />

ของศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งหนังสือราชการทุกฉบับจะต้องเขียนที่อยู่ของ<br />

กระทรวงกลาโหมว่า ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร<br />

กรุงเทพฯ เพราะหากไม่กล่าวถึงถนนเส้นนี้แล้ว การกล่าวถึงศาลาว่าการ<br />

กลาโหม คงขาดอรรถรสสำคัญเป็นอย่างมาก<br />

ถนนสนามไชยนี้ คือ ถนนที่เป็นทางสัญจรของรถยนต์และคน<br />

มาตั้งแต่สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเดิมว่า ถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง<br />

มีความยาว ๑.๑ กิโลเมตร จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณเชิงสะพานเจริญรัช ๓๑<br />

(บริเวณปากคลองตลาด) หน้าสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง ผ่านวัด<br />

พระเชตุพนวิมลมงคลารามราชวรมหาวิหาร พระบรมมหาราชวัง บริเวณ<br />

ด้านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท และศาลาว่าการกลาโหม มาจรด<br />

ถนนราชดำเนิน ในบริเวณหน้าศาลหลักเมืองและป้อมเผด็จดัสกร<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามใหม่จากถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง เป็นถนน<br />

สนามไชย ดังนั้น ตั้งแต่อดีตจึงเป็นสถานที่ที่นำมาใช้ประกอบพระราชพิธี<br />

และพิธีการต่างๆ ที่เป็นมงคลและต้องการชัยชนะ อาทิ การเสด็จออก<br />

ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ในพิธีอภิเษกสมรส ให้ประชาชนเฝ้าถวายพระพร<br />

การส่งทหารไปราชการสงคราม และเคยใช้ในเหตุการณ์การชุมนุมเรียกร้อง<br />

ดินแดนคืนในยุคสงครามอินโดจีน พ.ศ.๒๔๘๓<br />

ความสำคัญในอดีต ถนนสนามไชยนี้ เคยใช้เป็นพื้นที่ฝึกหัด<br />

ทหารไทยตามแบบอย่างทหารยุโรปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ซึ่งในวโรกาสนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์<br />

ทอดพระเนตรการฝึกทหารด้วย นอกจากนี้ ถนนสนามไชยยังเป็นเส้น<br />

ทางการประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีการทางทหารในอดีต ตั้งแต่<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา<br />

151


เรื่องเล่าที่ ๑๑๐<br />

อาคารกรมพระธรรมนูญ<br />

อาคารกรมพระธรรมนูญ คือ อาคารสำนักงานของกรมพระธรรมนูญ<br />

ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีที่ตั้งอยู่ข้างศาลา<br />

ว่าการกลาโหมด้านทิศเหนือ ริมถนนหลักเมือง ถือได้ว่าเป็นสถานที่สำคัญ<br />

ที่อยู่ใกล้เคียงศาลาว่าการกลาโหมอีกแห่งหนึ่ง<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๔๙ กรมพระธรรมนูญ ถือกำเนิดครั้งแรกโดยเป็น<br />

หน่วยขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่า กรมพระธรรมนูญ<br />

ทหารบก โดยมีที่ตั้งอยู่ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ต่อมาใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๕๑ ได้มีการตั้งกรมพระธรรมนูญทหารเรือ<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๗๔ ได้รวมกรมพระธรรมนูญทหารบกและกรมพระธรรมนูญ<br />

ทหารเรือ และตั้งเป็นกรมพระธรรมนูญทหาร ซึ่งใน<strong>ปี</strong>ถัดมา คือ พ.ศ.๒๔๗๕<br />

ได้โอนกรมพระธรรมนูญ ขึ้นสังกัดกระทรวงกลาโหม ใช้ชื่อว่า กรม<br />

พระธรรมนูญ โดยใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๑ ได้ย้ายที่ทำการใหม่มาอยู่บริเวณ<br />

ชั้นที่ ๒ ด้านทิศใต้ติดคลองคูเมืองเดิม<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ย้ายที่ทำการบางส่วนมาอยู่ในพื้นที่ขององค์การ<br />

เชื้อเพลิงที่ได้ยุบไปด้านทิศเหนือของศาลาว่าการกลาโหม และใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.<br />

๒๕๒๙ ได้ย้ายเข้าสู่ที่ตั้งปัจจุบัน คือ อาคารที่ทำการกรมพระธรรมนูญ<br />

ตึกใหม่ริมถนนหลักเมืองทางด้านทิศเหนือของศาลาว่าการกลาโหม<br />

152


เรื่องเล่าที่ ๑๑๑<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๑ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)<br />

ในปัจจุบัน ภารกิจของกระทรวงกลาโหม นอกเหนือไปจากการ<br />

พิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของประเทศ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

และสนับสนุนภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาความมั่นคง<br />

แห่งชาติ รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ พิทักษ์รักษาการปกครองระบอบ<br />

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การพัฒนาประเทศ<br />

การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติและการช่วยเหลือประชาชนแล้ว<br />

สิ่งที่กระทรวงกลาโหมจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องอีกประการคือการ<br />

สร้างและพัฒนาความพร้อมรบเพื่อตระเตรียมกำลังพลและยุทโธปกรณ์<br />

ให้สามารถปฏิบัติการตามภารกิจได้อย่างทันท่วงที<br />

จากภารกิจที่ได้กำหนดไว้ตามบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ<br />

จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๘ (๔) ที่บัญญัติไว้<br />

อย่างชัดเจนในเรื่องการศึกษา วิจัย พัฒนา และดำเนินการด้านอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกัน<br />

ประเทศ และด้านกิจการอวกาศเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อ<br />

สนับสนุนภารกิจของกระทรวงกลาโหมและความมั่นคงของประเทศ จึงนำ<br />

มาสู่การจัดตั้งหน่วยงานเพื ่อรองรับการดำเนินการในเรื่องของเทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศที่เป็นรูปธรรม กล่าวคือ<br />

๑. กระทรวงกลาโหมตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา<br />

เทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศ จึงได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณา<br />

ในที่ประชุมสภากลาโหม เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐ ซึ่งที่ประชุมสภา<br />

กลาโหม มีมติเห็นชอบให้ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมดำเนินความ<br />

ร่วมมือวิจัยและรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศ และให้เหล่าทัพ<br />

นำผลงานไปทดลองใช้งาน เมื่อได้มาตรฐานให้กระทรวงกลาโหมผลิตเพื่อ<br />

นำไปประจำการในกองทัพต่อไป หลังจากนั้นมาจึงได้พิจารณาจัดหน่วย<br />

งานเพื่อรองรับการดำเนินการและได้จัดทำเป็นแนวทางการจัดตั้ง สถาบัน<br />

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี<br />

และนำความกราบบังคมทูลต่อไป<br />

153


๒. วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาลงพระปรมาภิไธย<br />

ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การ<br />

มหาชน) และในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ รัฐบาลจึงได้ลงประกาศ<br />

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)<br />

ในราชกิจจานุเบกษา<br />

๓. สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ในชื่อ<br />

ย่อว่า สทป. จึงมีฐานะเป็นองค์การมหาชนแห่งแรกของกระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งมีวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สำคัญ กล่าวคือ<br />

๓.๑ วิสัยทัศน์<br />

เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศในภูมิภาค<br />

ตอบสนองความต้องการของกองทัพไทย และพันธมิตรอาเซียน<br />

๓.๒ พันธกิจ<br />

(๑) วิจัยและพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ตามที่สภา<br />

กลาโหมกำหนดและอนุมัติให้มีแผนแม่บทในการดำเนินโครงการ<br />

(๒) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง<br />

หรือต่อเนื่องกับการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

(๓) เป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

ให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนา<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

(๔) ประสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

กับหน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษาอื่นที ่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน<br />

ทั้งในและต่างประเทศ<br />

(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การค้นคว้าวิจัย<br />

และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

(๖) เป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลและสารสนเทศ<br />

ทางด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางวิชาการ<br />

เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีป้องกันประเทศไปสู่สาธารณชน<br />

ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ได้<br />

พัฒนารูปแบบการดำเนินการเพื่อรองรับภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นในการบรรลุผลสัมฤทธิ์เพื่อผลประโยชน์ของชาติ<br />

และมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

(แจ้งวัฒนะ) ชั้นที่ ๔ เลขที่ ๔๗/๔๓๓ หมู่ที่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ ต ำบลบ้านใหม่<br />

อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๑๑๒๐ หมายเลขโทรศัพท์<br />

๐ ๒๙๘๐ ๖๖๘๘ โทรสาร ๐ ๒๙๘๐ ๖๖๘๘ ต่อ ๓๐๐<br />

154


เรื่องเล่าที่ ๑๑๒<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๒ กิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ภารกิจสำคัญของกระทรวงกลาโหมที่จะ<br />

ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องอีกประการคือ การสร้างและพัฒนาความ<br />

พร้อมรบเพื่อตระเตรียมกำลังพลและยุทโธปกรณ์ให้สามารถปฏิบัติการ<br />

ตามภารกิจได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น สิ่งที่กระทรวงกลาโหมจะต้องให้<br />

ความสำคัญเป็นอย่างมากคือ การพัฒนาทรัพยากรทางทหารบนพื้นฐาน<br />

ของการพึ่งพาตนเองด้วยการดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศและพลังงานทหาร ให้มีความเข้มแข็ง สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง<br />

คุ้มค่าและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง<br />

ในอดีต กระทรวงกลาโหมได้ให้ความสำคัญของภารกิจด้าน<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จึงได้ดำเนินการในเรื่อง<br />

สำคัญ ดังนี้<br />

๑. ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๖ ได้จัดตั้งกรมการพลังงานทหารขึ้น เพื่อ<br />

รับผิดชอบในเรื่องกิจการปิโตรเลียมทางการทหาร<br />

๒. ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๗ ได้จัดตั้งกรมการอุตสาหกรรมทหารขึ้น<br />

เพื ่อรับผิดชอบในเรื่องของการสร้างฐานการผลิตเพื่อประโยชน์ในการ<br />

ระดมสรรพกำลังทางอุตสาหกรรมเพื่อการทหาร<br />

155


๓. ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๓ ได้จัดตั้ง ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

และพลังงานทหารขึ้น เพื่อดำเนินการและกำกับดูแลกิจการอุตสาหกรรม<br />

เพื่อการทหารและกิจการปิโตรเลียมทางการทหารให้มีเทคโนโลยีล้ำหน้า<br />

และทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด<br />

ปัจจุบัน ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

มีหน่วยขึ้นตรงรวม ๔ หน่วยคือ<br />

(๑) กรมการพลังงานทหาร (๒) กรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

(๓) ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ และ (๔) โรงงานเภสัชกรรมทหาร และ<br />

มีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ ๑๒๗ หมู่ที่ ๓ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม (ศรีสมาน) ชั้นที่ ๘ ถนนศรีสมาน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอ<br />

ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๑๑๒๐ หมายเลขโทรศัพท์<br />

๐ ๒๕๐๑ ๖๖๖๐ ต่อ ๕๓๐๑<br />

156


เรื่องเล่าที่ ๑๑๓<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๓ กิจการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

ภารกิจที่สำคัญของกระทรวงกลาโหมที่จะต้องกระทำอย่าง<br />

ต่อเนื่องอีกประการคือ การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการวิจัยและ<br />

พัฒนาการทหาร และต่อยอดในการใช้ประโยชน์ของกิจการวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยีทางการทหารเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันประเทศ<br />

อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตกระทรวงกลาโหมได้ให้ความสำคัญต่อการวิจัย<br />

และพัฒนาการทหารมาตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๒๙ ซึ่ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์<br />

อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้วิสัยทัศน์<br />

ในเรื่องนี้ว่า<br />

“วันหนึ่งข้างหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาจมาจาก<br />

พลเรือนไม่ต้องเป็นทหาร ดั่งเช่นประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย กระทรวง<br />

กลาโหม จำเป็นต้องมีกรมฝ่ายอำนวยการด้านการวิจัยและพัฒนาการ<br />

ทหารของกองทัพ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องต่างๆ ของทหารด้านนี้<br />

ได้มากพอที่จะนำไปชี้แจงในสภาหรือเจรจากับต่างประเทศได้เป็น<br />

อย่างดี” จึงนำมาสู่การจัดตั้งคณะกรรมการวิจัยและพัฒนาการทหาร<br />

กระทรวงกลาโหม เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ให้ความเห็นชอบโครงการ<br />

กำกับดูแลการดำเนินงานวิจัย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ และ<br />

ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยได้รวบรวมทรัพยากร<br />

ทางการวิจัยที่มีอยู่อย่างจำกัดเข้าด้วยกัน เพื่อสนองนโยบายรวมการ<br />

ด้านการวิจัยและงบประมาณการวิจัยของกระทรวงกลาโหม จนเมื่อ<br />

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบงานวิจัยและ<br />

พัฒนาการทหารขึ้นชื่อว่า สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม<br />

และมีการพัฒนาหน่วยอย่างต่อเนื่องจนจัดตั้งเป็น กรมวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยีกลาโหม เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒<br />

สำหรับภารกิจที่สำคัญของกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม<br />

คือ การพิจารณาเสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน<br />

กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ<br />

มอบหมาย โดยมีหน่วยขึ้นตรงที่สำคัญ ประกอบด้วย<br />

๑. สำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

๒. สำนักมาตรฐานทางทหาร<br />

๓. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร<br />

ปัจจุบันมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ ๑๒๗ หมู่ที่ ๓ อาคารสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) ชั้นที่ ๓ ถนนศรีสมาน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอ<br />

ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๑๑๒๐ หมายเลขโทรศัพท์<br />

๐ ๒๕๐๑ ๖๖๖๐ ต่อ ๕๖๐๗<br />

157


เรื่องเล่าที่ ๑๑๔<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๔ กิจการอวกาศเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร<br />

เรื่องสำคัญที่กระทรวงกลาโหมต้องเชิญหน้าในปัจจุบัน คือการ<br />

ประยุกต์ใช้ประโยชน์จากพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

ที่ทำให้หน่วยปฏิบัติการทางทหารสามารถค้นหา ตรวจพบ กำหนดที่ตั้ง<br />

และติดตามการเคลื่อนไหวของเป้าหมายทางทหารได้อย่างชัดเจน ด้วย<br />

ระบบอาวุธมีขนาดเล็กลงและพิสัยทำการไกลมากขึ้น มีระบบการกระจาย<br />

ข่าวสาร สั่งการควบคุมการยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงจากระยะไกลโดย<br />

การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้งานฝ่ายอำนวยการทุกสายงานเป็นไป<br />

อย่างรวดเร็ว สามารถใช้กำลังพลน้อยลงแต่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้<br />

เพราะปัจจัยสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งในการปฏิบัติการทางทหาร<br />

ในยุคปัจจุบันคือการครอบครองเทคโนโลยีทางทหารที่เหนือกว่า ด้วยเหตุ<br />

นี้เองจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิบัติการจนสามารถกดดัน<br />

คู่ต่อสู้ให้ยอมแพ้ในระยะเวลาอันสั้น ลดความสูญเสียให้น้อยลง นอกจากนี้<br />

ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจจับ ค้นหา และติดตามเป้าหมาย<br />

อย่างรวดเร็วและแม่นยำ สามารถมองเห็นภาพการรบได้ในเวลาใกล้เคียงกับ<br />

158


เวลาจริง (Real Time) ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจในการใช้กำลังทหารเป็นไป<br />

ด้วยความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่าการครอบครองเทคโนโลยี<br />

ทางยุทโธปกรณ์และทางทหารที ่เหนือกว่าย่อมช่วยให้เกิดความได้เปรียบ<br />

ในการปฏิบัติการทางทหารหรืออาจใช้ประโยชน์ในการป้องปราม<br />

มิให้ฝ่ายตรงข้ามกำหนดนโยบายรุกรานฝ่ายเราได้ตามความต้องการ<br />

กระทรวงกลาโหม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี<br />

ที่ทันสมัยเพื่อการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคงของรัฐ จึงได้<br />

พัฒนาระบบเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) เพื่อการ<br />

ป้องกันประเทศขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวคิดจัดทำโครงการดาวเทียม<br />

เพื่อความมั่นคง (Star of Siam) ซึ่งเป็นโครงการในระดับกระทรวง<br />

ที่จะอำนวยประโยชน์ให้แก่หน่วยงานด้านความมั่นคงในการติดต่อสื่อสาร<br />

ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันเวลา นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งให้มี<br />

หน่วยงานเพื่อรองรับแนวทางการดำเนินงานของโครงการดาวเทียม<br />

เพื่อความมั่นคงดังกล่าว ให้ชื่อว่า ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารโทรคมนาคม<br />

ป้องกันประเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๓๘ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ<br />

หน่วยเป็น ศูนย์พัฒนากิจการอวกาศกลาโหม โดยมีภารกิจสำคัญที่<br />

ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน คือ เป็นฝ่ายอำนวยการระดับสูงของกระทรวง<br />

กลาโหมในการพิจารณา เสนอความเห็น วางแผน กำหนดยุทธศาสตร์<br />

ของกระทรวงกลาโหมที่เกี่ยวกับงานสำคัญ ๔ งาน คือ งานด้านเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ งานด้านการสื่อสาร งานด้านคลื่นความถี่ และงานด้านกิจการ<br />

อวกาศและภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อความมั่นคง<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๑ ได้มีการพัฒนากิจการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

และกิจการอวกาศของกระทรวงกลาโหมเป็นอย่างมาก จึงได้มีการจัดตั้ง<br />

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและกิจการอวกาศกลาโหมขึ้น เพื่อปฏิบัติ<br />

การในภารกิจการพิจารณาเสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสาน<br />

งาน กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร<br />

คลื่นความถี่ กิจการอวกาศและภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อความมั่นคง รวมทั้ง<br />

ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีหน่วยขึ้นตรงที่สำคัญ ประกอบ<br />

ด้วย (๑) ศูนย์ไซเบอร์ (๒) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง<br />

กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมกระทรวงกลาโหม (๓) กองแผน<br />

และวิศวกรรม (๔) กองการสื่อสาร (๕) กองเทคโนโลยีสารสนเทศ และ<br />

(๖) กองกิจการอวกาศ<br />

ปัจจุบันมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ ๑๒๗ หมู่ที่ ๓ อาคารสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) ชั้นที่ ๖ ถนนศรีสมาน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอ<br />

ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๑๑๒๐ หมายเลขโทรศัพท์<br />

๐ ๒๕๐๑ ๖๖๖๐<br />

159


เรื่องเล่าที่ ๑๑๕<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๕ กิจการระดมสรรพกำลัง<br />

การเตรียมความพร้อมในการป้องกันประเทศ มีความจำเป็น<br />

อย่างยิ่งที่จะต้องมีการระดมสรรพกำลังไว้อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพราะ<br />

หากในยามเกิดภาวะไม่ปกติ กองทัพจำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่<br />

ทั้งด้านกำลังคน สิ่งอุปกรณ์ ยุทโธปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก การ<br />

บริการเครื่องมือเครื่องใช้ในกิจการทหารเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งอุปกรณ์<br />

เครื่องมือเครื่องใช้ดังกล่าวมีจำนวนจำกัด จัดหายากและมีราคาแพง<br />

ซึ่งอาจเกิดการสิ้นเปลืองหรือชำรุดเสียหายแล้ว การจัดหามาทดแทนจะใช้<br />

เวลาและงบประมาณเป็นจำนวนมาก กองทัพจึงจำเป็นต้องมีการจัดเตรียม<br />

การรับสถานการณ์ไว้ตั้งแต่ในยามปกติและต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ<br />

เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย วางแผนอำนวยการ และประสานงานกับ<br />

ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการระดมสรรพกำลัง<br />

นอกจากนี้ ตามบทบัญญัติตามมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบ<br />

ราชการกระทรวงกลาโหมพ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติให้กระทรวงกลาโหม<br />

จัดให้มีกำลังสำรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

อีกด้วย<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๓๐ ได้มีการจัดตั้งกรมการสรรพกําลังทหาร<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด (กองทัพไทย) เพื่อรับผิดชอบในกิจการระดม<br />

สรรพกำลังของกระทรวงกลาโหม ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๐<br />

ได้มีการโอนกรมการสรรพกำลังทหาร มาเป็นหน่วยในสังกัด สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีหน้าที่พิจารณา เสนอความเห็น วางแผน<br />

อำนวยการ กำกับการ ดำเนินการ และประสานงานกับกองทัพไทย<br />

ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เกี่ยวกับการระดมสรรพกำลัง<br />

และการกำลังสำรองของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนประสานความ<br />

ร่วมมือกับต่างประเทศในเรื่องเกี่ยวกับการระดมสรรพกำลังด้านการ<br />

ทหาร โดยมีหน่วยขึ้นตรงที่สำคัญ ประกอบด้วย (๑) สำนักงานเลขานุการ<br />

คณะกรรมการกำลังพลสำรอง (๒) กองนโยบายและแผน (๓) กองกลาง<br />

(๔) กองทรัพยากร (๕) กองสารสนเทศ (๖) กองการสัสดี และ (๗) กองการ<br />

พัฒนาการระดมสรรพกำลัง<br />

ปัจจุบันมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ ๑๒๗ หมู่ที่ ๔ อาคารสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) ชั้นที่ ๖ ถนนศรีสมาน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอ<br />

ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๑๑๒๐ หมายเลขโทรศัพท์<br />

๐ ๒๕๐๑ ๖๗๙๐<br />

160


เรื่องเล่าที่ ๑๑๖<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๖ กิจการเภสัชกรรมทหาร<br />

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ (ระหว่าง<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘) ได้ส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนยา<br />

และเวชภัณฑ์อย่างหนัก ซึ่งจากวิกฤติการณ์ดังกล่าวเป็นผลให้ทางรัฐบาล<br />

กำหนดนโยบายให้หน่วยแพทย์ของสามเหล่าทัพดำเนินการแก้ปัญหา<br />

เฉพาะหน้า โดยให้ทุกเหล่าทัพผลิตยาและเวชภัณฑ์ขึ้นใช้ภายในหน่วย<br />

ของตนเอง<br />

ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง กระทรวงกลาโหมได้รับ<br />

ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา โดยการส่งที่ปรึกษาทางการแพทย์<br />

มาประจำหน่วยแพทย์ทั้ง ๓ เหล่าทัพ โดยมี นายพันโท เภสัชกร ปอล เอฟ<br />

ออสติน ปรึกษาประจำกรมแพทย์ทหารบก ได้ให้ข้อเสนอแนะกระทรวง<br />

กลาโหมให้ผลิตยาและจัดหายา รวมทั้งเวชภัณฑ์ของเหล่าทัพไว้ด้วยกัน<br />

เพื่อให้การผลิตยาของกองทัพมีประสิทธิภาพและเป็นการประหยัด<br />

โดยให้ข้อเสนอแนะว่าควรจัดตั้งหน่วยสิ่งอุปกรณ์การแพทย์และ<br />

ผลิตภัณฑ์ร่วม (Joint Medical Supply and Pharmaceutical<br />

Manufacturing Agency) ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาแล้วจึงได้<br />

แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการซื้อและผลิตยาของกองทัพไทยขึ้น<br />

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การซื้อและผลิตยาของกองทัพไทยได้ดำเนินไป<br />

โดยรัดกุม เหมาะสม ประหยัดและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๔ กระทรวงกลาโหม จึงได้จัดตั้งโรงงานเภสัชกรรม<br />

ทหารขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความช ำนาญให้กับบุคลากร<br />

ในยามปกติและให้เป็นคลังสำรองระดมยาและเวชภัณฑ์ยามฉุกเฉิน แต่การ<br />

บริหารงานระยะแรกยังไม่สามารถดำเนินการผลิตยาได้ทันทีเพราะมีความ<br />

จำเป็นเกี่ยวกับการสร้างอาคาร การโอนกำลังพลและเครื่องจักรมาจากสาม<br />

เหล่าทัพ ซึ่งในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนาหน่วยหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง<br />

จนในที่สุดโรงงานเภสัชกรรมทหาร เป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อศูนย์การ<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๗ โดยมีภารกิจที่สำคัญคือ ดำเนินการ<br />

ศึกษาค้นคว้า วิจัยพัฒนา เตรียมการผลิตยาและเวชภัณฑ์ทางการทหาร<br />

ที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉิน และผลิต รับจ้างผลิต จำหน่าย จัดหา วิจัยวิเคราะห์<br />

ยาและเวชภัณฑ์สนับสนุนกองทัพ และส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม<br />

หน่วยงานอื่น ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น<br />

ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้ง<br />

ดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านเภสัชกรรม<br />

ปัจจุบันมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ ๑๘๓ ซอยตรีมิตร ถนนพระราม ๔<br />

แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ หมายเลขโทรศัพท์<br />

๐ ๒๓๙๒ ๒๐๙๐ - ๓<br />

161


เรื่องเล่าที่ ๑๑๗<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๗ กิจการผลิตวัตถุระเบิดทหาร<br />

ประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๘ ในช่วงปลายสงครามเวียดนาม รัฐบาล<br />

สหรัฐอเมริกาได้ลดความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ประเทศไทยลงตาม<br />

ลำดับ แต่สถานการณ์ชายแดนอันเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ<br />

กลับทวีความรุนแรงขึ้น รวมทั้งภัยจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศ<br />

ก็เพิ่มทวีขึ้น รัฐบาลไทยต้องใช้งบประมาณป้องกันประเทศสูงในการจัดหา<br />

อาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศมาใช้ในกองทัพ กระทรวงกลาโหมเห็น<br />

ความจำเป็นในการพึ่งพาตนเอง ด้วยการมีโรงงานผลิตอาวุธและกระสุน<br />

วัตถุระเบิดขึ้นใช้ในประเทศ จึงได้เร่งงานวิจัยและพัฒนา และสร้างโรงงาน<br />

ผลิตอาวุธและกระสุนต่างๆ เท่าที่งบประมาณของกระทรวงกลาโหมจะมี<br />

สนับสนุนเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ<br />

ใน<strong>ปี</strong> ๒๕๑๙ ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับ<br />

ที่ ๓๗ อนุญาตให้เอกชนลงทุนตั้งโรงงานผลิตอาวุธและกระสุนวัตถุระเบิด<br />

ซึ่งให้อยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม (โดยกรมการอุตสาหกรรม<br />

ทหาร) จึงได้มีบริษัทเอกชนขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาวุธและกระสุน<br />

วัตถุระเบิดต่างๆ ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับโรงงานผลิตดินส่งกระสุน<br />

เพื่อสนับสนุนโรงงานผลิตกระสุนของเหล่าทัพนั้น ไม่มีบริษัทเอกชนใด<br />

สามารถจัดตั้งโรงงานขึ้นได้ ดังนั้น ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๒๔ กระทรวงกลาโหม<br />

ได้จัดตั้งโรงงานวัตถุระเบิดของกระทรวงกลาโหม โดยดำเนินการเปิดประมูล<br />

หาบริษัทต่างประเทศมาดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตดินส่งกระสุน<br />

ในระบบ TURNKEY BASIS และจัดตั้งเป็น โรงงานวัตถุระเบิดทหาร<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ<br />

พลังงานทหาร ทำหน้าที่ผลิตดินส่งกระสุนเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการทหาร<br />

โดยมีภารกิจคือ ดำเนินการผลิตวัตถุระเบิดและกระสุน วิจัยและพัฒนา<br />

เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ให้แก่ส่วนราชการกระทรวงกลาโหม<br />

ส่วนราชการอื่นและเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตามที่กระทรวง<br />

กลาโหมกำหนด<br />

ปัจจุบันมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ ๑๙๙ หมู่ที่ ๔ บ้านบางปราบ ตำบล<br />

ย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ๖๐๑๓๐ หมายเลขโทรศัพท์<br />

๐ ๕๖๒๗ ๘๐๕๖<br />

162


เรื่องเล่าที่ ๑๑๘<br />

การพัฒนาความพร้อมสำหรับรองรับการปฏิบัติงานของกระทรวงกลาโหม<br />

ตอนที่ ๘ กิจการผลิตยุทโธปกรณ์<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๘ กองทัพบกประสบปัญหาการขาดแคลนอาวุธ<br />

และกระสุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐอเมริกาลดการช่วยเหลือทาง<br />

ทหาร ประกอบกับกองทัพมีภารกิจสำคัญในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย<br />

คอมมิวนิสต์ ดังนั้น พลตรี สัมผัส พาสนยงภิญโญ ผู้บัญชาการศูนย์การ<br />

ทหารปืนใหญ่ในขณะนั้น จึงได้ริเริ่มออกแบบและสร้างต้นแบบปืนใหญ่<br />

ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตรและเครื่องยิงลูกระเบิดขนาดต่างๆ ขึ้นใช้เองจนได้<br />

มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง กองทัพบกจึงได้อนุมัติ<br />

งบประมาณทำการก่อสร้างอาคารโรงงาน พร้อมทั้งจัดหาเครื่องจักรกลและ<br />

เครื่องมือสำหรับการสร้างต้นแบบที่สมบูรณ์ เพื่อนำเข้าสู่สายการผลิตใน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ.๒๕๒๑ เรียกว่า โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ โดยฝากการบังคับ<br />

บัญชาไว้กับศูนย์การทหารปืนใหญ่<br />

ต่อมา กองทัพบกเห็นความสำคัญในการผลิตอาวุธขึ้นใช้เอง<br />

จึงอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานสร้างปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด และโรงงาน<br />

ผลิตกระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิงขึ้นตามลำดับ ด้วยวัตถุประสงค์<br />

หลัก ๓ ประการ คือ<br />

(๑) เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงด้านการทหารที่สามารถ<br />

พึ่งพาตนเองได้ในภาวะไม่ปกติ<br />

163


(๒) เพื่อลดการสูญเสียงบประมาณให้แก่ต่างประเทศให้มากที่สุด<br />

ในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ<br />

(๓) เพื่อเป็นแหล่งหารายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ ่ง หาก<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น<br />

ต่อมาได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและจัดตั้งหน่วยเป็นศูนย์อำนวย<br />

การสร้างอาวุธ พร้อมกับพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนาและผลิต<br />

อาวุธยุทโธปกรณ์ จนใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๓ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ได้รับการ<br />

รับรองระบบคุณภาพ ISO 9001 จากสถาบัน RWTUV ประเทศเยอรมนี<br />

ซึ่งเป็นการรับรองในเรื่องการออกแบบ การวิจัย การผลิต การติดตั้ง และ<br />

การให้บริการ โดยมีนโยบายคุณภาพ ดังนี้ “เทคโนโลยีทันสมัย พัฒนา<br />

ก้าวไกล วิจัยสร้างสรรค์ บริหารเป็นระบบ”<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๕ ได้มีการโอนศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธจาก<br />

หน่วยขึ้นตรงกองทัพบก มาเป็น หน่วยขึ้นตรงศูนย์การอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตาม<br />

แผนการปฏิรูปกระทรวงกลาโหม และการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพไทย<br />

ทั้งนี้ มีภารกิจหลักในการวิจัยพัฒนา และผลิตยุทโธปกรณ์สนับสนุนให้กับ<br />

กองทัพ องค์กรอื่นและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ ตามนโยบายของ<br />

กระทรวงกลาโหม โดยมีหน่วยขึ้นตรงที่สำคัญ ประกอบด้วย (๑) กองวิจัย<br />

พัฒนาอาวุธ (๒) กองเทคโนโลยี (๓) โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ<br />

(๔) โรงงานสร้างปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด และ (๕) โรงงานผลิต<br />

กระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิง<br />

ปัจจุบันมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ที่ค่ายจิรวิชิตสงคราม เลขที่ ๑๔ ถนน<br />

พระยาพิชัยดาบหัก ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี<br />

๑๕๐๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๓๖๗๘ ๕๙๗๐ – ๙<br />

164


เรื่องเล่าที่ ๑๑๙<br />

กระทรวงกลาโหมกับการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ<br />

นอกเหนือจากบทบาทหน้าที่ในการปกป้องและรักษาอธิปไตยของ<br />

ชาติ รักษาความมั่นคงของชาติ การรักษาผลประโยชน์ของชาติและการ<br />

พัฒนาประเทศ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ<br />

แล้ว พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑<br />

มาตรา ๘ (๕) ยังได้บัญญัติถึงภารกิจของกระทรวงกลาโหม ในเรื่องของการ<br />

ปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามไว้อีกประการหนึ่ง ซึ่งภารกิจนี้<br />

มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คือการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพในกรอบ<br />

ของสหประชาชาติ และมีการให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก<br />

องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตั้งแต่<br />

พ.ศ.๒๔๘๘ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื ่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ<br />

และความมั่นคงแห่งประชาคมโลก ได้รับการยอมรับให้มีบทบาทในการ<br />

ยุติความขัดแย้งด้วยการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าปฏิบัติการ เพื่อ<br />

สันติภาพในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอย่างกว้างขวาง การที่ประเทศไทยได้เข้า<br />

ร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๘๙ จึงมีความรับผิดชอบตาม<br />

พันธกรณีในฐานะชาติสมาชิกที่จะต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนภารกิจ<br />

ของสหประชาชาติตามขีดความสามารถ นอกจากนี้เพื่อเป็นการแสดง<br />

พันธสัญญา ในการสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งได้มีบทบาทในการ<br />

ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพทั้งภายใต้กรอบสหประชาชาติ และกรอบภาคีร่วม<br />

กับประเทศพันธมิตรมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ<br />

ด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยในหลายประเทศ โดยการปฏิบัติต่างๆ<br />

เหล่านี้มีความสำคัญและได้ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของกระทรวง<br />

กลาโหม ลงมาจนถึงระดับกองทัพไทย<br />

ปัจจุบันนี้ กระทรวงกลาโหม โดย กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มี<br />

บทบาทสำคัญในการเข้าร่วม และการส่งกำลังพลเข้าปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจ<br />

การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเข้าร่วม<br />

ในภารกิจภายใต้อาณัติของสหประชาชาติ จำนวน ๑๖ ภารกิจ ประกอบด้วย<br />

เลบานอน นามิเบีย บริเวณชายแดนอิรัก-คูเวต อิรัก กัมพูชา แอฟริกาใต้<br />

บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เซียร์ราลีโอน ฟิจิ ติมอร์เลสเต บุรุนดี<br />

เนปาล ซูดาน ไลบีเรีย เฮติ และบริเวณชายแดนอินเดีย - ปากีสถาน รวมทั้ง<br />

การเข้าร่วมภารกิจเพื่อสันติภาพผสมระหว่างสหภาพแอฟริกากับ<br />

สหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (สถานะ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒)<br />

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เข้าเป็นสมาชิกในระบบกองกำลังเตรียมพร้อม<br />

ของสหประชาชาติ (United Nations Standby Arrangement System :<br />

UNSAS) ตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นต้นมา<br />

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ความขัดแย้งขนาดเล็กในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก<br />

ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการในการปฏิบัติการเพื่อ<br />

สันติภาพนับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ตระหนักใน<br />

เรื่องนี้ จึงได้มอบหมายให้กองบัญชาการกองทัพไทย จัดตั้งหน่วยงาน<br />

รักษาสันติภาพขึ้นชื่อว่า ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร<br />

(ศสภ.ยก.ทหาร) ในกองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙<br />

ซึ่งมีบทบาทหน้าที่และภารกิจหลัก ๔ ประการ ดังนี้<br />

๑. เป็นศูนย์ฝึกการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพนานาชาติของ<br />

กองทัพไทยและในระดับภูมิภาค<br />

๒. เป็นฝ่ายอำนวยการด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ<br />

๓. เป็นศูนย์กลางวิทยาการด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ<br />

๔. เป็นศูนย์การบังคับบัญชาในสายการบังคับบัญชาของชาติ<br />

(chain of national command) ให้แก่กำลังที่เข้าปฏิบัติภารกิจการปฏิบัติ<br />

การเพื่อสันติภาพในภูมิภาคต่างๆ<br />

165


เรื่องเล่าที่ ๑๒๐<br />

สภากลาโหม<br />

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑<br />

ได้บัญญัติหมวด ๕ คณะผู้บริหารไว้ว่า กระทรวงกลาโหมมีคณะผู้บริหารที่<br />

สำคัญที่สุดคือ สภากลาโหม ซึ่งมีความเป็นมาตามลำดับ กล่าวคือ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการ ชื่อว่า ประกาศตั้ง<br />

กระทรวงทหารบก ทหารเรือ รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม<br />

๒๔๕๓ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ<br />

๑. เปลี่ยนชื่อกรมยุทธนาธิการเป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแล<br />

การปกครองเฉพาะกิจการทหารบก<br />

๒. ยกฐานะกรมทหารเรือขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ มีหน้าที่ดูแล<br />

การปกครองเฉพาะกิจการทหารเรือ<br />

๓. จัดตั้ง สภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่<br />

ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการทหารเรือ ทั้งนี้<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น<br />

ประธานเกี่ยวกับการสภาป้องกันพระราชอาณาจักร มีสมาชิกสภา<br />

ประกอบด้วย เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงการทหารเรือ<br />

จอมพลทหารบก จอมพลทหารเรือ ทั้งที่ประจำการและมิได้ประจำการ<br />

และมีเสนาธิการทหารบก เป็น เลขานุการประจำสภา จึงเป็นที่มาการจัดตั้ง<br />

สภาเพื่อความมั่นคงทางทหารเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีสมาชิก<br />

เป็นหัวหน้าส่วนราชการของหน่วยทหาร ต่อมาเมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๗๐<br />

ได้มีการแก้ไขปรับปรุงทั้งในด้านองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และ<br />

เรียกชื่อใหม่ว่า สภาป้องกันพระราชอาณาจักร<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงดำรง<br />

พระอิสริยยศเป็นประธานสภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร<br />

เช่นกัน หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงอีกมากมาย กล่าวคือ<br />

๑. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕<br />

โดยในเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศพระบรมราชโองการ<br />

ประกาศจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๗๕ ทำให้มีการยกเลิก<br />

สภาป้องกันพระราชอาณาจักร<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๒. เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๘๗ ได้มีการประกาศใช้ พระราช<br />

บัญญัติชื่อว่า พระราชบัญญัติสภาการสงคราม พ.ศ.๒๔๘๗ จัดตั้ง สภา<br />

การสงคราม โดยกำหนดให้สภาการสงครามมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการ<br />

ดำเนินสงครามทั้งในทางทหาร ทางเศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจน<br />

สวัสดิภาพของประชาชน และมีนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งประธาน<br />

สภาการสงคราม<br />

๓. เมื ่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๘๗ ได้มีการประกาศใช้ พระราช<br />

บัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๘๗ ได้มีการจัดตั้ง สภาป้องกัน<br />

ราชอาณาจักร<br />

๔. เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๙ มีการตราพระราชบัญญัติ<br />

สภาป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๙๙ ขึ้นใหม่ โดยตราพระราชบัญญัติ<br />

สภาป้องกันราชอาณาจักรใหม่ และยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิม<br />

๕. ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๐๒ ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคง<br />

แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๒ เปลี่ยนแปลงจาก สภาป้องกันราชอาณาจักร เป็น<br />

สภาความมั่นคงแห่งชาติ และใช้มาจนปัจจุบัน<br />

166


ความเป็นมาของสภาเกี่ยวกับการป้องกันราชอาณาจักรนั้น เป็น<br />

พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมี<br />

พระราชวินิจฉัยว่า จะให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงของทหาร<br />

มาประชุมกันในเรื่องของทหาร แต่ต่อมาเมื่อเหตุการณ์ทางการเมืองของ<br />

ประเทศเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้สภาป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมเป็น<br />

องค์กรสูงสุดทางทหารถูกเปลี่ยนมือและเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือเค้าเดิม<br />

ต่อมาในรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีและ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบ<br />

ป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๙๑ โดยจัดให้มีการประชุมปรึกษาเกี่ยวกับ<br />

กิจการทหาร ที่เรียกว่า การประชุมสภากลาโหม<br />

ปัจจุบัน การประชุมสภากลาโหม ได้จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกเดือน<br />

และเป็นการประชุมที ่สำคัญที่สุดของกระทรวงกลาโหมตามเจตนารมณ์<br />

ของ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑<br />

โดยพิจารณาในเรื่องนโยบายการทหาร นโยบายการระดมสรรพกำลังเพื่อ<br />

การทหาร นโยบายการปกครองและการบังคับบัญชาภายในกระทรวง<br />

กลาโหม การพิจารณางบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณ<br />

ของกระทรวงกลาโหม การพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการทหารและ<br />

เรื่องที่กฎหมายหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำหนดให้เสนอ<br />

สภากลาโหม ทั้งนี้ จัดการประชุม ณ ห้องภาณุรังษี ชั้นที่สาม มุขกลาง<br />

ของอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

167


เรื่องเล่าที่ ๑๒๑<br />

คณะผู้บัญชาการทหาร<br />

การจัดตั้งสภากลาโหม ที่เป็นต้นแบบและใช้กันมาจนปัจจุบันเกิดขึ้น<br />

โดยอำนาจของกฎหมายที่ชื่อว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกัน<br />

ราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๙๑ โดยกำหนดให้มี สภากลาโหม เพื่อให้เป็น<br />

ที่ปรึกษาหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีหัวหน้า<br />

ส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เสนาธิการเหล่าทัพ ร่วมเป็นสมาชิก<br />

แต่งตั้งจำนวนไม่เกิน ๕ นาย จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ นอกจากนี้<br />

ยังจัดให้มีคณะเสนาธิการผสม เพื่อพิจารณาเรื่องที่เลขาธิการสภากลาโหม<br />

ได้รับไว้ก่อนนำเสนอเข้าปรึกษา หารือในที่ประชุมสภากลาโหม และมี<br />

สภากองทัพเป็นที่ปรึกษาหารือของผู้บัญชาการแต่ละเหล่าทัพ<br />

จึงกล่าวได้ว่าในเวลานั้น รัฐบาลมีสภาป้องกันราชอาณาจักร ทหาร<br />

จึงต้องมีสภากลาโหม และยังมี คณะเสนาธิการผสม มีสภากองทัพบก<br />

สภากองทัพเรือ และสภากองทัพอากาศ เพื่อดำเนินกิจการด้านความ<br />

มั่นคงทางทหารอีกด้วย จึงทำให้มีองค์กรทางทหารเพิ่มขึ้นหลายองค์กร<br />

ลดหลั่นตามอำนาจหน้าที่และลำดับชั้น ต่อมาเพื่อมีการพัฒนากิจการทหาร<br />

จึงทำให้คณะเสนาธิการผสมสิ้นสุดไป รวมทั้งสภากองทัพบก สภา<br />

กองทัพเรือ และสภากองทัพอากาศ ก็ยุบไปตามลำดับ<br />

168


ต่อมา เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวง<br />

กลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ จึงได้มีบทบัญญัติในมาตรา ๔๗ ได้บัญญัติให้มี<br />

คณะผู้บริหารอีกคณะหนึ่งเรียกว่า คณะผู้บัญชาการทหาร ประกอบด้วย<br />

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ<br />

ผู้บัญชาการทหารอากาศ และเสนาธิการทหาร โดยมีผู้บัญชาการทหาร<br />

สูงสุด เป็นประธานคณะผู้บัญชาการทหาร มีหน้าที่สำคัญคือ เสนอแนะ<br />

และให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในเรื่องการ<br />

เตรียมกำลัง การสั่งการใช้กำลัง การเคลื่อนกำลังทหาร การเตรียมพร้อม<br />

การควบคุมอำนวยการยุทธ์ในภาพรวม รวมทั้งควบคุมบังคับบัญชา<br />

กองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่จัดตั้งขึ้นในกรณีที่มีสถานการณ์ที่กระทบต่อ<br />

ความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนการควบคุม<br />

อำนวยการยุทธ์ และการควบคุมบังคับบัญชากองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่<br />

จัดตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อบังคับ แผนและคำสั่งปฏิบัติการ<br />

ทางทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด จึงนับได้ว่า คณะผู้บัญชาการทหาร<br />

คือคณะผู้บริหารที่สำคัญของกระทรวงกลาโหมอีกคณะหนึ่ง ที่ดำรงภารกิจ<br />

ในส่วนการยุทธ์<br />

169


เรื่องเล่าที่ ๑๒๒<br />

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

เหตุการณ์สงครามเป็นสิ่งที่เลวร้ายเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการ<br />

คร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการบ้านแตกสาแหรกขาด<br />

เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า แต่สิ่งที่ตามมานั้นกลับให้ผลที่ร้ายแรงกว่า คือ<br />

ความทุกข์ของครอบครัวที่สูญเสียผู้นำครอบครัวไปทำให้ต้องอยู่กับความ<br />

ทุกข์ทรมาน ความอดอยาก และทหารบางรายที่เป็นทหารผ่านศึก แม้ว่าจะ<br />

ไม่เสียชีวิตแต่ต้องพิกลพิการจากภัยสงคราม และต้องดำรงชีวิตบนความ<br />

ไม่สมบูรณ์ของร่างกาย ไม่สามารถหาเลี ้ยงชีพได้อย่างแต่ก่อน นับว่าเป็น<br />

ความทุกข์ทรมานใจอย่างเหลือคณานับ<br />

ภายหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่ ๒<br />

มีทหารไทยจำนวนมากที่ถูกปลดจากการเป็นทหาร ในขณะที่ยังไม่มีความ<br />

พร้อมทั้งทางร่างกายหรือทางเศรษฐกิจ จึงส่งผลต่อความยากลำบาก<br />

ในการดำรงชีวิต จึงได้เกิดกระแสเรียกร้องขอให้ทางราชการพิจารณาให้<br />

ความช่วยเหลือในการดำรงชีพและด้วยความตระหนักถึงคุณความดีของ<br />

ทหารหาญที่เป็นกองกำลังหลักในการปกป้องเอกราชรักษาอธิปไตยของ<br />

ประเทศ โดยพร้อมเผชิญหน้ากับอริราชศัตรูอย่างไม่หวั่นเกรงต่อภยันตราย<br />

ใดๆ ทั้งนี้ ทหารทุกคนต่างยอมเสียสละได้ทุกสิ่ง แม้แต่ชีวิตและร่างกาย<br />

รัฐบาลในสมัยนั้น จึงได้หาหนทางที่จะให้ความช่วยเหลือ โดยมอบหมาย<br />

ให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่ง พลโท ชิต<br />

มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น<br />

จึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๘๘<br />

โดยเรียกชื่อว่า “คณะกรรมการพิจารณา หาทางช่วยเหลือทหารกองทุน”<br />

เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าทหารที่สิ้นสุดปฏิบัติการรบและกลับคืน<br />

สู่สังคม รวมถึงให้การช่วยเหลือครอบครัวทหารที่ต้องสูญเสียหัวหน้า<br />

ครอบครัวจากการปฏิบัติการรบ ซึ่งในชั ้นต้นยังเป็นเพียงหน่วยงานช่วย<br />

เหลือที่ยังไม่เป็นทางการ<br />

ในเวลาต่อมา จำนวนของทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึก<br />

มีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก กอปรกับการดำเนินงานโดยคณะกรรมการ<br />

จะขาดความรัดกุมและความเหมาะสม ดังนั้น ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๔๙๐<br />

กระทรวงกลาโหมจึงได้มีดำริที่จะจัดตั้งหน่วยงานขึ้น โดยได้เสนอเป็น<br />

พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น โดยได้ผ่าน<br />

การเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา<br />

เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ โดยกระทรวงกลาโหมได้ทำการแต่งตั้ง<br />

170


พลโท ชมะบูรณ์ ไพรีระย่อเดช เป็นผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์<br />

ทหารผ่านศึกคนแรก โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความช่วยเหลือแก่<br />

ทหารผ่านศึกและครอบครัวในเบื้องต้น ดังนั้น ทางราชการจึงได้ยึดเอา<br />

วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ของทุก<strong>ปี</strong> เป็น “วันทหารผ่านศึก”<br />

ต่อมาใน<strong>ปี</strong>พุทธศักราช ๒๕๑๐ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก<br />

ได้ปรับเปลี่ยนฐานะจากหน่วยราชการมาเป็นองค์การเพื ่อการกุศลของ<br />

รัฐและมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ด้วยการตราพระราชบัญญัติ<br />

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.๒๕๑๐ ขึ้นใหม่ โดยมีการขยายงาน<br />

ให้กว้างขวางมากขึ้น และได้รับการสนับสนุนเงินทุนที่ชัดเจน ด้วยเงิน<br />

อุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว<br />

หลังจากนั้น สภาทหารผ่านศึก สภากลาโหมและรัฐบาลได้ปรับปรุง<br />

แก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเพื่อขยาย<br />

การสงเคราะห์ให้ครอบคลุมไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและ<br />

พลเรือนที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็น<br />

ภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและ<br />

ภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด กับทั้งให้รวมมูลนิธิ<br />

ช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ ด้วยการ<br />

ให้การสงเคราะห์ในด้านต่างๆ กล่าวคือ (๑) การสงเคราะห์ด้านการเกษตร<br />

(๒) การสงเคราะห์ด้านอาชีพ (๓) การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการและการ<br />

ศึกษา (๔) การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล โดยจัดตั้งโรงพยาบาล<br />

ทหารผ่านศึกในส่วนกลาง (๕) การสงเคราะห์ด้านการให้สินเชื่อ และ<br />

(๖) การสงเคราะห์ด้านการส่งเสริมสิทธิและเกียรติ<br />

จึงขอให้สังคมไทยได้ตระหนักว่า บรรดาทหารผ่านศึกคือ ผู้ที่<br />

ยอมลำบากตรากตรำเพื่อให้พวกท่านมีกิน มีใช้ มีอยู่อย่างสบาย<br />

โดยปราศจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงจากภายในและภายนอกประเทศ<br />

วันนี้เขาเหล่านั้นอาจใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก หรือครอบครัวอาจต้อง<br />

เผชิญปัญหาสารพัดจากผลพวงจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการของหัวหน้า<br />

ครอบครัว ซึ่งเขาเหล่านั้นอาจไม่ส่งเสียงร้องขอจากสังคมเพราะเขารัก<br />

ในศักดิ์ศรี และภาคภูมิใจในเกียรติของเขา จึงไม่อาจทำอะไรให้เป็นการ<br />

ทำลายเกียรติภูมิ หากแต่เป็นหน้าที ่ของประชาชนชาวไทยที่จะต้อง<br />

หวนรำลึกถึงความเสียสละของพวกเขาเหล่านั้นแล้วหยิบยื่นความรัก<br />

ความปรารถนาดีแก่พวกเขา หรืออย่างน้อยก็ขอให้หวนคิดบ้างว่ายังมี<br />

พวกเขาอยู่ร่วมสังคมกับท่าน ซึ่งจะทำให้ทหารผ่านศึกเหล่านั้นอาจมีความ<br />

ภาคภูมิใจมากยิ่งขึ ้น หากสังคมไทยคิดถึงพวกเขา ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์<br />

คงจะช่วยให้เห็นรอยยิ้มที่เป็นสุขจากเขาเหล่านั้นที่คิดว่า สังคมไทยยังนึกถึง<br />

เขาอยู่ เพียง<strong>ปี</strong>ละหนึ่งวันก็คงพอ<br />

171


หมวดที่ ๔<br />

อนาคต<br />

รังสรรค์ ความมั่นคง<br />

172


เรื่องเล่าที่ ๑๒๓<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๑ การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย<br />

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้บัญญัติ<br />

ภารกิจของกระทรวงกลาโหมและภารกิจของทหารไว้ใน มาตรา ๕๒ ไว้ว่า<br />

“มาตรา ๕๒ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิ<br />

อธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และ<br />

ความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้<br />

มีการทหาร การทูต และการข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กำลังทหารให้ใช้<br />

ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย”<br />

รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐในการพิทักษ์<br />

รักษาบูรณภาพแห่งเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยอย่างชัดเจน โดยที่เขต<br />

พื้นที่ทางทะเลนั้น ได้มีการกำหนดไว้ค่อนข้างชัดเจนในกฎหมายระหว่าง<br />

ประเทศ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒<br />

(United Nations Convention on the Law Of the Sea : UNCLOS<br />

1982) ที่ประเทศไทยได้ยื่นสัตยาบันสารสำหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา<br />

สหประชาชาติฯ ต่อสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้<br />

การกำหนดพื้นที่ทางทะเลตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวคือ<br />

(๑) น่านน้ำภายใน (๒) ทะเลอาณาเขต (๓) เขตต่อเนื่อง (๔) เขตเศรษฐกิจ<br />

จำเพาะ (๕) ไหล่ทวีป และ (๖) ทะเลหลวง ทั้งนี้ หลักกฎหมายดังกล่าว<br />

ได้ระบุให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเพื่อความมุ่งประสงค์ในการควบคุมมิให้<br />

มีการฝ่าฝืนกฎหมาย การแสวงประโยชน์ และการสำรวจทางเศรษฐกิจ<br />

173


ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ที่มีบริเวณประชิดและอยู่เลยไปจากทะเลอาณาเขต<br />

ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจจำเพาะจะอยู่ห่างออกไป ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน<br />

ที่อยู่บริเวณชายฝั่ง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยและ<br />

สิทธิอธิปไตยในพื้นที่ทางทะเล กล่าวคือ<br />

๑. อำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือน่านน้ำภายในและ<br />

ทะเลอาณาเขต ในระยะทาง ๑๒ ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน<br />

๒. สิทธิอธิปไตย (sovereignty rights) เหนือเขตต่อเนื่อง เขต<br />

เศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีป ในระยะทาง ๒๐๐ ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน<br />

ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่ที่เป็นอาณาเขตทางทะเลซึ่งมีอำนาจ<br />

อธิปไตยอันประกอบด้วยอำนาจอธิปไตยและเขตสิทธิอธิปไตยลงไปในทะเล<br />

ไม่น้อยกว่า ๓๒๓,๔๘๘.๓๒ ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เป็นพื้นที่<br />

ทางบก จำนวนไม่น้อยกว่า ๕๑๓,๑๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า<br />

มีพื้นที่ทางทะเลอีกประมาณ ๒ ใน ๓ ของพื้นที่ทางบก จึงเป็นหน้าที่<br />

ของกระทรวงกลาโหมจะต้องดำเนินภารกิจพิทักษ์รักษาไว้ซึ ่งอธิปไตย<br />

บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย รวมทั้ง<br />

การดำเนินการรองรับเจตนารมณ์ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติ<br />

การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒ ให้เกิดประสิทธิภาพ<br />

ต่อไป<br />

174


เรื่องเล่าที่ ๑๒๔<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๒ การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิของชาติ<br />

บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช<br />

๒๕๖๐ มาตรา ๕๒ ได้บัญญัติภารกิจใหม่ คือบทบาทหน้าที่ของรัฐในการ<br />

พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิของชาติ ซึ่งจากการสืบค้นจาก พจนานุกรมฉบับ<br />

ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ พบว่า เกียรติภูมิ มีความหมายว่า เกียรติ<br />

เพราะความนิยม ซึ่งหากอธิบายความแล้ว “ความนิยม” มีความหมาย<br />

ในทางกว้างว่าเป็นสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นสังคม<br />

ในระดับพื้นที่ หรือสังคมในระดับประเทศ หรือสังคมในระดับนานาชาติ หรือ<br />

สังคมในระดับสากล ทั้งนี้ การยอมรับนั้นย่อมนำมาสู่ความภาคภูมิใจ<br />

ของคนในสังคมอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี จึงกล่าวได้ว่า เกียรติภูมิของชาติ<br />

คือ เกียรติยศและศักดิ์ศรีที่สังคมทั่วไปทั้งสังคมในหมู่มวลมิตรประเทศ<br />

หรือระดับนานาชาติ หรือสากลที ่สังคมโลกให้การยอมรับในความเป็น<br />

ชาติไทย และถือเป็นศักดิ์ศรีที่ประชาชนชาวไทยทุกคนมีความภูมิใจ<br />

ต่อเกียรติยศดังกล่าว<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระทรวงกลาโหมและทหารทุกคน จึงมีภารกิจสำคัญ<br />

ที่จะต้องธำรงเกียรติภูมิของประเทศให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนชาวไทย<br />

และได้รับการยอมรับกล่าวขานของนานาประเทศและประชาคมระหว่าง<br />

ประเทศถึงเกียรติยศในทุกภูมิภาค ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องของความมีระเบียบ<br />

วินัย ความสามารถในการปฏิบัติการทางทหารในทุกภารกิจและทุกมิติ<br />

ทั้งภายในประเทศและการปฏิบัติการร่วมกับมิตรประเทศภายนอกประเทศ<br />

การสร้างความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีกับกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ<br />

โดยเฉพาะการดำรงบทบาทการทูตทหารอย่างมีศักดิ์ศรี<br />

ในปัจจุบัน กระทรวงกลาโหมได้ดำรงเกียรติภูมิของชาติในการส่ง<br />

กำลังเข้าร่วมฝึกผสมกับมิตรประเทศในรหัสต่างๆ ทั้งการผสมสองประเทศ<br />

(ทวิภาคี) และการฝึกผสมหลายประเทศ (พหุภาคี) ซึ่งจัดการฝึกเป็นประจำ<br />

ทุก<strong>ปี</strong> หรือทุกๆ ๒ <strong>ปี</strong> โดยมีการฝึกที่สำคัญ กล่าวคือ (๑) การจัดการฝึกร่วม/<br />

ผสม Cobra Gold (๒) การฝึกผสม COPE TIGER (๓) การเข้าร่วมโครงการ<br />

Pacific Partnership (๔) การฝึกร่วม/ผสมด้านการรักษาสันติภาพ (พิราบ-<br />

จาบิรู) และมีโครงการที่จะส่งกองกำลังเข้าร่วมในการฝึกเพื่อเป็นการนำ<br />

ธงชาติไทยไปตั้งสถิตในกิจกรรมระหว่างประเทศอีกหลายโครงการ<br />

175


เรื่องเล่าที่ ๑๒๕<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๓ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting : ADMM)<br />

ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้เข้าร่วมการเป็นประชาคมอาเซียน หรือ<br />

ASEAN Community และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘<br />

(ค.ศ.๒๐๑๕) เป็นต้นมา ได้ส่งผลต่อการสร้างเกียรติภูมิและผลประโยชน์<br />

ของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก อีกทั้ง<br />

การจัดตั้งประชาคมอาเซียนได้มุ่งเน้นในการสร้างสันติภาพในภูมิภาค<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความ<br />

เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่าง<br />

ประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันทางการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมา<br />

มุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน<br />

มากขึ้น ซึ่งวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ใน ปฏิญญาอาเซียน (The<br />

ASEAN Declaration) รวม ๗ ประการ คือ (๑) ส่งเสริมความเจริญ<br />

เติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม (๒) ส่งเสริม<br />

การมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค (๓) ส่งเสริมความ<br />

ร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้าน<br />

การบริหาร (๔) ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและ<br />

การวิจัย (๕) ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม<br />

การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต<br />

(๖) ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ<br />

(๗) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่าง<br />

ประเทศ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกได้กำหนดให้มีกฎกติการ่วมกันมากขึ้น<br />

ภายใต้ ๓ เสาหลัก คือ<br />

เสาหลักที่ ๑ : ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน<br />

(ASEAN Political Security Community) หรือ APSC<br />

เสาหลักที่ ๒ : ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic<br />

Community) หรือ AEC<br />

เสาหลักที่ ๓ : ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN<br />

Socio Cultural Community) หรือ ASCC<br />

โดยเสาหลักที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหมคือ เสาหลักที่ ๑ :<br />

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) มีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อเสริมสร้างและดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อ<br />

ให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหา<br />

และความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยเน้นใน ๓ ประการ คือ ๑) การมีกฎ<br />

เกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ๒) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกัน<br />

ในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน และ<br />

๓) ให้มีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก ซึ่งมีกลไก<br />

สำคัญทางทหารคือ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน หรือ ADMM<br />

ที่มีจุดมุ่งหมายหลักคือ การเป็นเวทีหารือและสร้างความร่วมมือในการ<br />

เสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคผ่านกลไกการหารือ<br />

ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงภายในกลุ่มประเทศอาเซียน และระหว่างกลุ่ม<br />

ประเทศอาเซียนกับประเทศอื่นๆ เพื่อสนับสนุนความไว้วางใจระหว่างกัน<br />

และสร้างความเชื่อมั่นบนความโปร่งใสและเปิดเผย โดยในการประชุม<br />

ADMM ในครั้งที่ผ่านมา จะมีกิจกรรมสำคัญ ๒ กิจกรรมคือ ๑) การหารือ<br />

ในประเด็นความมั่นคงร่วม และ ๒) การรับรองและร่วมลงนามในปฏิญญา<br />

ร่วมในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้ ADMM ยังมีกลไกย่อยสำหรับการทำงานในอีกหลาย<br />

ระดับ กล่าวคือ<br />

๑. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ<br />

(ADMM Retreat) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้รัฐมนตรีกลาโหมประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียน มีโอกาสได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในบรรยากาศที่<br />

ผ่อนคลาย เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน รวมทั้งพิจารณากำหนดวาระ<br />

การประชุม ADMM ในครั้งต่อไป<br />

176


๒. การประชุมระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรี<br />

กลาโหมของประเทศคู่เจรจา (ADMM Plus) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็น<br />

เวทีให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ได้มีโอกาสเจรจาหารือหรือ<br />

ร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค โดยมีประเทศคู่เจรจา ๘ ประเทศ<br />

คือ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ รัสเซีย และ<br />

สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ มีการจัดตั้งองค์กรที่รับผิดชอบการดำเนินงานภายใต้<br />

กรอบ ADMM Plus เป็นคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert’s<br />

Working Group : EWG) จำนวน ๕ ด้าน คือ ด้านความมั่นคงทางทะเล<br />

(Maritime Security : MS) ด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม<br />

และการบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster<br />

Relief : HADR) ด้านการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping<br />

Operations : PKO) ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Counter - Terrorism :<br />

CT) และ ด้านการแพทย์ทางทหาร (Military Medicine : MM)<br />

๓. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน (ASEAN<br />

Defence Senior Officials’ Meeting : ADSOM) ซึ่งเป็นการประชุม<br />

ของเจ้าหน้าที่อาวุโสในระดับปลัดกระทรวงกลาโหมหรือเทียบเท่า<br />

โดยมีหน้าที่หลักคือ เตรียมการสำหรับการประชุม ADMM ซึ่งจะพิจารณา<br />

ความเหมาะสมของหัวข้อการหารือและพิจารณาแก้ไขร่างเอกสารต่างๆ<br />

ที่จะให้รัฐมนตรีกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนรับรองในระหว่าง<br />

การประชุม ADMM อย่างไรก็ตาม ก่อนจะมีการประชุม ADSOM นั้น<br />

จะจัดให้มีการประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน<br />

(ADSOM Working Group) เพื่อเตรียมการด้านสารัตถะและธุรการสำหรับ<br />

การประชุม ADMM และ ADSOM โดยจะร่วมกันกำหนดหัวข้อการหารือ<br />

เตรียมการด้านเอกสารที่เกี่ยวกับการประชุมและด้านธุรการอื่นๆ<br />

๔. การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพอาเซียน เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา<br />

ความร่วมมือทางทหารของผู้นำทหารทั้ง ๓ เหล่าทัพ ให้เกิดความใกล้ชิด<br />

มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นเวทีการหารือด้านความมั่นคงเฉพาะกิจการทาง<br />

ทหารของแต่ละเหล่าทัพได้อย่างชัดเจน โดยมีการจัดการประชุมในแต่ละ<br />

เหล่าทัพ กล่าวคือ<br />

๔.๑ การประชุมผู้บัญชาการทหารบกอาเซียน (ASEAN Chief<br />

of Armies Multi Lateral Meeting) หรือ ACAMM<br />

๔.๒ การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (ASEAN Navy<br />

Chiefs' Meeting) หรือ ANCM<br />

๔.๓ การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน (ASEAN<br />

Air Chiefs Conference) หรือ AACC<br />

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังริเริ่มจัดการประชุมผู้บัญชาการทหาร<br />

สูงสุดอาเซียน (ASEAN Chief of Defence Forces Conference)<br />

โดยกำหนดจัดขึ้นประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๖๒ ณ ประเทศไทย<br />

ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ADMM<br />

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเคยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการ<br />

ประชุม ADMM ครั ้งที่ ๓ เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๒ และจะเป็นเจ้าภาพในการ<br />

ประชุม ADMM ครั้งที่ ๑๓ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๖๒<br />

177


เรื่องเล่าที่ ๑๒๖<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๔ หน่วยงานประสานงานด้านการแพทย์ทหารระดับอาเซียน<br />

กระทรวงกลาโหม ได้ริเริ่มการจัดตั้ง ศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน<br />

(ASEAN Center of Military Medicine : ACMM) เพื่อเป็นองค์กรหลัก<br />

ในการประสานงานด้านการแพทย์ทหารของภูมิภาค ทั้งในยามปกติและ<br />

เมื่อเกิดภัยพิบัติ และการทดสอบการปฏิบัติงานด้วยการจัดการฝึกร่วม<br />

ระหว่างคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหารกับคณะทำงาน<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและการบรรเทา<br />

ภัยพิบัติ (ADMM - Plus Military Medicine - Humanitarian<br />

Assistance and Disaster Relief Joint Exercise : AM - Hex 2016)<br />

ตั้งขึ้น ณ ประเทศไทย<br />

เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๙ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ<br />

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน<br />

ในพิธีเปิดศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนอย่างเป็นทางการ และในวันที่ ๕<br />

กันยายน ๒๕๕๙ กระทรวงกลาโหมได้เป็นเจ้าภาพจัดการฝึกร่วมการปฏิบัติ<br />

การด้านการแพทย์ทหารของอาเซียน ณ ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี<br />

ในการฝึกครั้งนี้ มีกำลังทหารจากประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศ<br />

คู่เจรจา จำนวน ๑๘ ประเทศ และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ<br />

ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น ๒,๐๔๙ นาย พร้อมทั้งเรือ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์<br />

และยุทโธปกรณ์สำหรับการค้นหาและช่วยเหลือจำนวนมาก เข้าร่วมการฝึก<br />

178


179<br />

โดยในส่วนของกระทรวงกลาโหมจัดกำลังพลจากสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพ<br />

อากาศ เข้าร่วมเป็นการสร้างความเชื่อมั่นถึงขีดความสามารถ และศักยภาพ<br />

ทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ในการปฏิบัติ<br />

การด้านการแพทย์ทหารและการช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ<br />

และทันเวลาเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ นอกจากนั้น ยังเป็นการสะท้อน<br />

ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของประเทศไทยในฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการฝึก<br />

ขนาดใหญ่ในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมทั้งสอดคล้องกับเจตนารมณ์<br />

ของนายกรัฐมนตรีในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ<br />

ในภูมิภาคอย่างครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของ<br />

ประชาคมอาเซียน และความผาสุกของประชาชนชาวไทย<br />

นอกจากนี้ ยังได้มีการทดสอบโครงสร้างและการปฏิบัติงานของศูนย์<br />

แพทย์ทหารอาเซียน และศูนย์ประสานงานนานาชาติ ซึ่งจะได้รับการจัดตั้ง<br />

ขึ้นในประเทศที่ประสบภัยพิบัติ กระทรวงกลาโหมจึงได้ร่วมมือกับประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา จัดการฝึกร่วมด้านการแพทย์ทหารกับ<br />

ด้านการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ภายใต้<br />

รหัสการฝึก AM - Hex 2016 ขึ้น และจัดอย่างต่อเนื่องเสมอมา


เรื่องเล่าที่ ๑๒๗<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๕ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศ<br />

กระทรวงกลาโหม ได้ยึดถือแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือด้าน<br />

ความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔<br />

ซึ่งจัดทำขึ้น ให้หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมใช้เป็นกรอบแนวทางในการ<br />

จัดทำแผนงานการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศ<br />

โดยมีการจัดลำดับความสำคัญเพื่อลดความซ้ำซ้อน และสามารถนำไปสู่การ<br />

ปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุด<br />

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในกรอบ<br />

ประชาคมอาเซียน ให้เป็นภูมิภาคแห่งความสันติสุข โดยมีทิศทางในการ<br />

แสดงบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในมิติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม<br />

และการบรรเทาภัยพิบัติ และการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพนอกจากนี้<br />

ยังให้การสนับสนุนในการพัฒนากรอบความร่วมมือในกรอบรัฐมนตรี<br />

กลาโหมอาเซียน และรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ตลอดจน<br />

การรักษาความสัมพันธ์และดุลยภาพกับประเทศที่มีบทบาทสำคัญ<br />

มิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ โดยแนวทางการเสริมสร้าง<br />

ความร่วมมือฯ ได้กำหนดความเร่งด่วนในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทาง<br />

ทหารกับประเทศเป้าหมาย โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มประเทศ ประกอบด้วย<br />

๑. ประเทศรอบบ้านและประเทศสมาชิกอาเซียน<br />

๒. ประเทศมหาอำนาจและประเทศคู่เจรจาในกรอบการประชุม<br />

รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา<br />

๓. มิตรประเทศอื่นๆ ได้แก่ มิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้ว<br />

มิตรประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม และมิตรประเทศ<br />

ที่มีขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

180


เรื่องเล่าที่ ๑๒๘<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๖ ความพร้อมเผชิญภัยคุกคามที่ไม่ใช่ทางทหาร<br />

ในอนาคตภัยคุกคามที่ไม่ใช่ทางทหารจะส่งผลกระทบต่อความ<br />

มั่นคงของโลก ภูมิภาค และแต่ละประเทศเหมือนกันโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้<br />

อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติประเภทต่างๆ การค้ามนุษย์และการ<br />

โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ การก่อการร้ายสากล ภัยพิบัติขนาดใหญ่<br />

การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมโลก และโรคระบาด นอกจากนี้ การรายงาน<br />

ข้อมูลและนำเสนอบทวิเคราะห์ของสื่อต่างประเทศ และการเรียกร้องของ<br />

องค์การระหว่างประเทศต่อสถานการณ์ที่อยู่ในความสนใจของนานาชาติ<br />

อาจส่งผลกระทบต่อความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น<br />

ในขณะที่ภัยคุกคามตามที่กล่าวมาจะยังคงอยู่ และอาจส่งผลต่อความมั่นคง<br />

มากขึ้นในอนาคต<br />

กระทรวงกลาโหม จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์และแผนต่างๆ สำหรับ<br />

ใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของส่วนราชการกระทรวง<br />

กลาโหมที่สำคัญ อาทิ ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางในการจัดเตรียมกำลัง<br />

การใช้กำลัง และเป็นทิศทางการพัฒนาในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม<br />

โดยในระยะยาวกระทรวงกลาโหมจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้<br />

กล่าวคือ<br />

“มีโครงสร้างที่กะทัดรัด จำนวนกำลังพลที่เหมาะสม ยุทโธปกรณ์<br />

และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ<br />

ได้อย่างหลากหลาย”<br />

ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ<br />

๒๐ <strong>ปี</strong>ของรัฐบาล และจะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์<br />

ประเทศไทยในมิติด้านความมั่นคงต่อไป<br />

181


เรื่องเล่าที่ ๑๒๙<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๗ ความพร้อมเผชิญภัยคุกคามด้านไซเบอร์ (Cyber Threat)<br />

ในปัจจุบัน ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ (Cyber Threat) ถือเป็น<br />

ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในปัจจุบันและในอนาคต เนื่องจากภัยคุกคาม<br />

ดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงได้ในหลายมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ<br />

ความมั่นคง และการทหาร รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมาก<br />

ยิ่งขึ้นในอนาคต และเป็นความท้าทายต่อการปฏิบัติการทางทหารโดยตรง<br />

กอปรกับ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๖๑ เป็น<strong>ปี</strong>ที่ประเทศไทยประกาศใช้แผนการปฏิรูป<br />

ประเทศในด้านต่างๆ เพื่อเป็นห้วงเวลาเริ่มต้นของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์<br />

ชาติ ๒๐ <strong>ปี</strong> ดังนั้น กระทรวงกลาโหม จึงตระหนักถึงความสำคัญในการ<br />

รักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ว่า เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ<br />

ในมิติต่างๆ จึงได้จัดทำร่างแผนแม่บทไซเบอร์เพื่อการป้องกันประเทศ<br />

กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ และผ่านความเห็นชอบของสภา<br />

กลาโหม เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ โดยมีสาระสำคัญ คือร่างแผน<br />

แม่บทฯ นี้ จะครอบคลุมแผนงานหลัก ๖ แผนงาน กล่าวคือ<br />

๑. แผนการจัดองค์กรด้านไซเบอร์ โดย กระทรวงกลาโหม กอง<br />

บัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ จะดำเนิน<br />

การจัดตั้งหน่วยงานไซเบอร์/ศูนย์ไซเบอร์ ขึ้นมารองรับภารกิจด้านไซเบอร์<br />

โดยตรง<br />

๒. แผนการป้องกันระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดย กระทรวงกลาโหม<br />

กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ<br />

เตรียมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber<br />

Security Operation Center: CSOC) ของแต่ละส่วนราชการขึ้นมา<br />

เพื่อรองรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่จะมาโจมตีระบบโครงสร้างพื้นฐาน<br />

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูล<br />

นอกจากนี้ ยังจะมีการจัดตั้งทีมจัดการปัญหาฉุกเฉินด้านความมั่นคง<br />

ปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security Incident Response Team/<br />

Computer Security Incident Response Team : CSIRT) เพื่อตอบ<br />

สนองการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ได้อย่างรวดเร็ว<br />

และทันเวลา<br />

๓. แผนการพัฒนาความพร้อมการปฏิบัติการไซเบอร์เชิงรุกและ<br />

การปฏิบัติการสงครามไซเบอร์ เป็นการพัฒนาบุคลากรของกองทัพ<br />

ให้มีขีดความสามารถด้านการปฏิบัติการไซเบอร์ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อ<br />

การป้องกัน สกัดกั้น ยับยั้งการโจมตี และการตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามที่มี<br />

ผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงด้านการทหาร โดย<br />

การพัฒนา เสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพล เครื่องมือ และเทคโนโลยี<br />

ต่างๆ รวมถึงการจัดให้มีการแข่งขันทักษะการปฏิบัติการไซเบอร์ (Cyber<br />

Contest) ทั้งนี้ มิได้มุ่งหมายเพื่อสร้างนักรบไซเบอร์ (Cyber Warrior)<br />

หรือใช้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวไปโจมตีข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการละเมิด<br />

กฎหมาย ทั้งนี้ ทุกภารกิจจะกระทำภายใต้กรอบของกฎหมาย<br />

182


๔. แผนการดำรงและพัฒนาศักยภาพด้านไซเบอร์ เพื่อดำรงความ<br />

ต่อเนื่องและยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี<br />

ด้านไซเบอร์ (R&D) เพื่อวิจัยพัฒนา และติดตามความเจริญก้าวหน้าของ<br />

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะภัยคุกคามด้านไซเบอร์<br />

นับวันจะทวีความรุนแรง ส่งผลกระทบและความเสียหายในวงกว้างอย่าง<br />

รวดเร็ว<br />

๕. แผนการสนับสนุนศักยภาพทางไซเบอร์ระดับชาติ เนื่องจาก<br />

กองทัพเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงของชาติ จึงต้องมีความพร้อมใน<br />

การสนับสนุนและเป็นเครื่องมือให้กับรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้าน<br />

ไซเบอร์ของชาติ ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อป้องกัน<br />

ภัยคุกคามในระดับชาติด้านไซเบอร์โดเมน (Cyber Domain)<br />

๖. แผนงานความร่วมมือและผนึกกำลังด้านไซเบอร์ เป็นการ<br />

ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และประชาชน<br />

ทั่วไป ในการผนึกกำลังด้านไซเบอร์ ซึ่งเป็นกำลังอำนาจที่ไม่มีตัวตน<br />

และนำไปสู่การระดมสรรพกำลังของประเทศด้านไซเบอร์ที่มีพลังอำนาจ<br />

ที่ยิ่งใหญ่<br />

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ไซเบอร์ในระดับ<br />

กระทรวงกลาโหม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย กรมเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศและอวกาศกลาโหม ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการจัดตั้งศูนย์ Cyber<br />

ของกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ<br />

ที่มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการประสานนโยบายไซเบอร์กับระดับชาติ รวม<br />

ทั้งรับผิดชอบด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ และปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ในระดับ<br />

ยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหมในภาพรวม<br />

อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัย<br />

ไซเบอร์ พ.ศ. .... ประกาศใช้แล้ว ย่อมจะมีผลต่อการดำเนินการของ<br />

กระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะในบทบัญญัติ ดังนี้<br />

(๑) มาตรา ๑๒ การจัดตั้งคณะกรรรมการการรักษาความมั่นคง<br />

ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ซึ่งมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร่วมเป็นกรรมการ<br />

โดยตำแหน่ง<br />

(๒) มาตรา ๑๔ การมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในการ<br />

ควบคุมและกำกับดูแลหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ<br />

(๓) มาตรา ๔๘ และ ๔๙ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ<br />

และความมั่นคงทางทหาร<br />

(๔) มาตรา ๖๐ ในเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบต่อ<br />

การป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความ<br />

มั่นคงของรัฐ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการ<br />

183


เรื่องเล่าที่ ๑๓๐<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๘ ความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัย<br />

กระทรวงกลาโหม ได้จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวง<br />

กลาโหม เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และแนวทางของกระทรวงกลาโหม<br />

เกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไข บรรเทาภัยพิบัติที่เกิดจากสาธารณภัย และ<br />

อุบัติภัย รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ และเป็นศูนย์กลาง<br />

ในการประสานงานกับรัฐบาล และหน่วยงานฝ่ายพลเรือน รวมทั้งภาค<br />

เอกชน ภาคประชาสังคม และองค์การระหว่างประเทศ ในการอำนวยการ<br />

ป้องกัน แก้ไข บรรเทาภัยพิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม<br />

นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ อำนวยการ ประสานงานใน<br />

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์ รวมถึงการ<br />

อำนวยการประชาสัมพันธ์ซึ่งใช้เครื่องมือของส่วนราชการในกระทรวง<br />

กลาโหม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำรงตำแหน่งเป็น<br />

ผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้เพื่อให้<br />

ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับความช่วยเหลืออย่างทันต่อสถานการณ์ จึงได้มอบ<br />

นโยบายและเน้นย้ำให้<br />

“ทหารจะต้องเป็นหน่วยงานแรกในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ<br />

บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ”<br />

โดยได้นำศักยภาพและขีดความสามารถของหน่วยทหารมาใช้ในการ<br />

ดำเนินการใน ๔ ลักษณะ ได้แก่<br />

๑. การเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย การจัดทำแผนบรรเทา<br />

สาธารณภัยกระทรวงกลาโหม และแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย<br />

และเหล่าทัพ การฝึกซ้อมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับทุกภาค<br />

ส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ จนถึงระดับท้องถิ่น<br />

การพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพลเรือนกับทหาร เพื่อให้<br />

พร้อมรับมือกับภัยพิบัติ และการตรวจความพร้อมของกำลังพลและ<br />

ยุทโธปกรณ์ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่<br />

๒. การช่วยเหลือเชิงป้องกัน ประกอบด้วย การขุดลอกคูคลอง<br />

และกำจัดผักตบชวา รวมทั้งสิ่งกีดขวางทางน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำและ<br />

สร้างแก้มลิง การสร้างฝายต้นน้ำ การปลูกป่า การรณรงค์ป้องกันและ<br />

ประชาสัมพันธ์เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญ และแก้ไขปัญหา<br />

ไฟป่าและหมอกควัน<br />

๓. การช่วยเหลือเฉพาะหน้า ประกอบด้วย การผลิตและแจกจ่าย<br />

น้ำอุปโภคบริโภค การอพยพประชาชนและเคลื่อนย้ายสิ่งของเครื่องใช้<br />

ไปยังพื้นที่ปลอดภัย การลำเลียงและแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์และ<br />

ถุงยังชีพ การบริการทางการแพทย์ การผลักดันน้ำและเร่งระบายน้ำจาก<br />

พื้นที่ท่วมขัง การประกอบอาหารปรุงสุกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย<br />

การแจกจ่ายผ้าห่มกันหนาว การซ่อมแซมถนนและสร้างสะพานชั่วคราว<br />

การซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชน และการทำความสะอาดภายหลังน้ำลด<br />

๔. การฟื้นฟู ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล อาทิ<br />

การสร้างบ้านใหม่ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย และการสร้างถนนที่ได้รับความ<br />

เสียหายจากน้ำกัดเซาะ พร้อมกันนี้ ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถด้าน<br />

การบรรเทาสาธารณภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้กับประชาชน<br />

โดยการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ มีการวาง<br />

กำลังครอบคลุมทุกภูมิภาค เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่าง<br />

รวดเร็ว ทันเวลา นอกจากนี้จะมุ่งมั่นพัฒนาศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัย<br />

ของหน่วยต่างๆ อาทิ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพบก กองทัพเรือ<br />

และกองทัพอากาศ เพื ่อให้มีความพร้อมในการฝึกอบรมครอบคลุม<br />

ทุกภัยพิบัติ มีความเป็นมาตรฐานระดับสากล มีเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง<br />

ในการฝึกอบรมด้านการบรรเทาภัยพิบัติของไทย และภูมิภาคอาเซียน<br />

184


เรื่องเล่าที่ ๑๓๑<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๙ ข้าราชการกลาโหมพลเรือน<br />

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑<br />

ได้บัญญัติถึง ข้าราชการพลเรือนกลาโหม ซึ่งเป็นข้าราชการกระทรวง<br />

กลาโหมอีกประเภทหนึ่งไว้ สรุปว่า<br />

๑. ข้าราชการพลเรือนกลาโหม หมายความว่า ข้าราชการที่ได้รับ<br />

การบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการในกระทรวงกลาโหมในตำแหน่งที่มิใช่<br />

อัตราทหารและไม่มีชั้นยศเพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความช ำนาญเฉพาะทาง<br />

๒. ข้าราชการกระทรวงกลาโหม แบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่<br />

ข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนกลาโหม<br />

๓. การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุ การแต่งตั้ง การปรับตำแหน่ง<br />

การเลื่อนขั้นเงินเดือน การบังคับบัญชา วินัยและการรักษาวินัย การดำเนิน<br />

การทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการอื่น<br />

ใดตามที่จำเป็นเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้ตราเป็นพระราช<br />

กฤษฎีกา<br />

๔. อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน<br />

และการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้นำ<br />

บทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วย<br />

เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น<br />

มาใช้บังคับโดยอนุโลมไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการกำหนดให้มีอัตรา<br />

เงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม<br />

เป็นการเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง<br />

๕. การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ข้าราชการ<br />

พลเรือนกลาโหมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น<br />

๖. ให้ข้าราชการพลเรือนกลาโหมเป็นข้าราชการตามกฎหมายว่า<br />

ด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ<br />

ข้าราชการ แล้วแต่กรณี<br />

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม มีเจตนารมณ์ที่ทำการบรรจุและแต่งตั้ง<br />

ให้พลเรือน สามารถรับราชการในตำแหน่งมิใช่อัตราทหารและไม่มีชั ้นยศ<br />

เพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทาง โดยกำหนดลักษณะงาน<br />

ด้านต่างๆ และเป็นการลดอัตราทหารคุณสมบัติทั่วไปและค่าตอบแทนของ<br />

ข้าราชการพลเรือนกลาโหม สอดคล้องกับข้าราชการทหารและข้าราชการ<br />

พลเรือนสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการย้ายโอนระหว่างกันในอนาคต<br />

ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกลาโหม แบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ (๑) ประเภท<br />

ทั่วไป (๒) ประเภทวิชาการ (๓) ประเภทอำนวยการ (๔) ประเภทบริหาร<br />

และ (๕) ประเภทการสอนหรือวิจัย ซึ่งจะทำการบรรจุโดยการสอบแข่งขัน<br />

และการคัดเลือก โดยเมื่อข้าราชการพลเรือนกลาโหมอายุครบ ๖๐ <strong>ปี</strong><br />

บริบูรณ์แล้ว หากทางราชการเห็นว่าจำเป็นต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว<br />

จะสามารถรับราชการต่อไปได้อีกไม่เกิน ๑๐ <strong>ปี</strong> จึงนับว่าให้มีข้าราชการ<br />

พลเรือนกลาโหมขึ้น เพื่อความอ่อนตัวของโครงสร้างอัตรากำลังและความ<br />

คล่องตัวของการปฏิบัติงานที่ไม่ใช่กำลังรบ อาทิ งานด้านวิชาการ วิจัย งาน<br />

ทางการแพทย์ การพยาบาล งานทางการเงิน งบประมาณ งานธุรการอื่นๆ<br />

เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๐ ที่ประชุมสภากลาโหมเห็นชอบร่าง<br />

พระราชกฤษฎีการะเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม เพื่อรองรับพระราช<br />

บัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ร่างพระราช<br />

กฤษฎีกาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบงานก ำลังพลของกองทัพ<br />

หลังจากนี้ ตั้งแต่<strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๖๒ เป็นต้นไป กระทรวงกลาโหมจะได้<br />

เร่งดำเนินการจัดทำกฎหมายและอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ<br />

สำหรับกรอบระยะเวลาในการจัดทำกฎหมายและอนุบัญญัติดังกล่าว<br />

ข้างต้น คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จและคาดว่าจะพร้อมบรรจุ<br />

ข้าราชการพลเรือนกลาโหมได้ใน<strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ทั้งนี้<br />

ในส่วนของงานการแก้ไขอัตราของหน่วย ซึ่งอยู่ในการรับผิดชอบของ<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เพื่อเริ่มการบรรจุในหน่วยงานนำร่อง<br />

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมนั้น ได้กำหนดให้โรงงานเภสัชกรรม<br />

ทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารเป็นหน่วย<br />

นำร่องในลำดับแรก ก่อนที่จะขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นของกระทรวง<br />

กลาโหมต่อไป<br />

185


เรื่องเล่าที่ ๑๓๒<br />

ภารกิจกระทรวงกลาโหมในยุคใหม่<br />

ตอนที่ ๑๐ การช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศ<br />

กระทรวงกลาโหม มีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนา<br />

ประเทศและช่วยเหลือประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยบูรณาการ<br />

กำลังทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยมุ่งเน้นจัดระเบียบ<br />

และควบคุมการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งผลที่ได้รับคือ การสร้างความ<br />

เป็นธรรมในสังคม ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />

ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการประกอบอาชีพสุจริต และมีชีวิตความ<br />

เป็นอยู่ที่ดีขึ้น อาทิ การจัดการกับผู้มีอิทธิพล การเรียกรับผลประโยชน์<br />

วินมอเตอร์ไซค์ผิดกฎหมาย การจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา<br />

การค้ายาเสพติด บ่อนการพนันและแหล่งอบายมุขในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ<br />

ปราบปรามการค้ามนุษย์ จัดระเบียบการค้าขายบนทางเท้า ชายหาด<br />

แก้ไขปัญหารถสาธารณะ/รถแท็กซี่ และการแข่งรถในที่สาธารณะ<br />

กระทรวงกลาโหมและทหารหาญ ยังมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์<br />

อำนวยการ ประสานงาน ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนทุกเหตุการณ์<br />

ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สาธารณภัยและภัยพิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์<br />

รวมถึงการอำนวยการการประชาสัมพันธ์ โดยใช้เครื่องมือของส่วนราชการ<br />

ในกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนผู้ประสบภัยได้รับความ<br />

ช่วยเหลืออย่างทันต่อสถานการณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

จึงได้มอบนโยบายและเน้นย้ำให้กำลังพลถือปฏิบัติว่า<br />

ทหารจะต้องเป็นหน่วยงานแรกในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ<br />

บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ<br />

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมมุ่งเน้นการปฏิบัติการทางทหารเพื่อ<br />

ประชาชนและประเทศชาติให้เกิดความผาสุก สมบูรณ์ด้วยสภาพแวดล้อม<br />

ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยการดำเนินการ กล่าวคือ<br />

๑. การช่วยเหลือและบริการประชาชน โดยยึดมั่นในเจตนารมณ์<br />

ของ ฯพณฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ<br />

รักษาความสงบแห่งชาติ ที่กล่าวว่า<br />

เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง<br />

๒. การพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้<br />

แก่ประชาชน และจัดการสภาพแวดล้อมของประเทศให้เหมาะสมกับการ<br />

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติให้เกิดความยั่งยืน<br />

186


จึงนำมาสู่ภารกิจของกระทรวงกลาโหมและทหารหาญอย่างเป็น<br />

รูปธรรม อาทิ การแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้<br />

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินการโครงการยกระดับ<br />

การฝึกอาชีพให้แก่ผู้รับการสงเคราะห์เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน<br />

การขจัดทุกข์และบำรุงสุขประชาชนในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับภัยพิบัติ<br />

การปรับภูมิทัศน์ตามแนวลำน้ำและลำคลองให้สวยงาม การแก้ไขปัญหา<br />

ความแห้งแล้งให้แก่พี่น้องประชาชน การช่วยกันลดมลภาวะที่เป็นพิษ<br />

สร้างความสะอาดเรียบร้อยให้กับชุมชน สังคม และประเทศ นอกจากนี้<br />

ยังมีภารกิจที่กระทรวงกลาโหมและทหารหาญปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่น<br />

มากมายและจะต้องปฏิบัติสืบเนื่องไปอย่างไม่มีวันหยุดเพื่อประโยชน์<br />

ของประเทศชาติและพี่น้องประชาชนชาวไทย<br />

187


เอกสารอ้างอิง<br />

ศิลปวัฒนธรรม. “กลาโหม” แปลว่า “สถานบูชาไฟ” ทำไมมาเป็นชื่อกระทรวง. บทความวารสารศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนมีนาคม ๒๕๓๖, มติชน,<br />

กรุงเทพฯ, ๒๕๓๖.<br />

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ความเห็นเกี่ยวกับความหมายและที่มาของคำ “กระลาโหม” บทความ, กรุงเทพฯ, ๒๕๓๕.<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. ๑๒๐ <strong>ปี</strong> ศาลาว่าการกลาโหม. อรุณการพิมพ์, กรุงเทพฯ, ๒๕๔๗.<br />

เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูล. เมืองไทยในอดีต ตอน “ประวัติรถราง”, วัฒนาพานิช, พระนคร, ๒๕๐๓.<br />

ส.พลายน้อย. เกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย. รวมสาส์น, กรุงเทพฯ, ๒๕๔๔.<br />

อรณี แน่นหนา. นามนี้มีที่มา. ประพันธ์สาส์น, กรุงเทพฯ, ๒๕๔๕.<br />

Website ที่เกี่ยวข้อง<br />

www.khaosod.co.th<br />

www.mgronline.com<br />

www.pantip.com<br />

www.reunthai.com<br />

www.Thaiheritage.net<br />

http//th.wikipedia.org<br />

พิมพ์ที่ : หจก. อรุณการพิมพ์<br />

โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๖๐๓๓-๔<br />

188


เรื่องเล่า ศาลาว่าการ กลาโหม<br />

เปิดโฉม ภาพอดีต เคยขีดเขียน<br />

ปัจจุบัน คงมองเห็น เป็นบทเรียน<br />

เพื่อพากเพียร เรียนรู้ สู่ทางไกล<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

http://opsd.mod.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!