17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

of Business and Accountancy<br />

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 มกราคม - มิถุนายน 2560 Vol. 1 No. 1 January - April 2017<br />

บทบรรณาธิการ<br />

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ <strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือน<br />

มกราคม – มิถุนายน 2560 ประกอบด้วยบทความวิจัย จำนวน 5 บทความ 1) การจัดเรียงสินค้า<br />

บรรจุตู้คอนเทนเนอร์โดยพิจารณาเงื่อนไขการส่งแบบหลายจุด 2) การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่ม<br />

สตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 3) การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิด<br />

มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ กรณีศึกษา: ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง 4) ความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชน<br />

กลุ่มผักเกษตรอินทรีย์บางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และ 5) ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อ<br />

การตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัด<br />

นครสวรรค์ และบทความวิชาการ จำนวน 1 เรื่อง คือ แนวปฏิบัติที่ดี: แนวคิดและวิธีการจัดทำ<br />

เพื่อพัฒนาผลของการบริหารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทย ทุกบทความได้รับการตรวจสอบ<br />

ทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ เพื่อให้<br />

วารสารเป็นที่ยอมรับและเกิดความเชื่อมั่นในวงการวิชาการ<br />

กองบรรณาธิการวารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ หวังเป็น<br />

อย่างยิ่งว่าเนื้อหาบทความในฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ทางวิชาการและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน<br />

แวดวงวิชาการในสาขานี้ และขอเชิญชวนนักวิชาการ นักวิชาชีพ อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ส่ง<br />

บทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฉบับต่อๆ ไป<br />

ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.สุภธัชวุฒิ ตู้พจ<br />

บรรณาธิการ


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ<br />

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 มกราคม - มิถุนายน 2560 Vol. 1 No. 1 January - April 2017<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

ที่ปรึกษา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

คณบดี คณะบริหารธุรกิจ<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภธัชวุฒิ ตู้พจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

รองบรรณาธิการ อาจารย์ ดร.สำเริง ไกยวงค์<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.วิระพงศ์ จันทร์สนาม มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

กองบรรณาธิการ<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.การุณย์ ประทุม<br />

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.วฤษฎี อินทร์มา<br />

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพรรณ อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญมน วิทยาภูมิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา สุคัณธสิริกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา เรืองสุวรรณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงราม เหมือนฤทธิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพ กัญญาคำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร<br />

พันเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา อารีกุล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร วารีศรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

อาจารย์ ดร.กาญจนา หินเธาว์<br />

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

อาจารย์ ดร.ปณัทพร เรืองเชิงชุม<br />

มหาวิทยาลัยขอนแก่น<br />

อาจารย์ ดร.อัญชลี ชัยศรี<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.อัญนวียา ภัชร์จรินท์ญา<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.วาสนา คำไทย<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.อารีรัตน์ พัฒนชีวะพูล<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ สุพันดี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

ฝ่ายจัดการและเลขานุการกองบรรณาธิการ<br />

อาจารย์วาสนา แสงทอง<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์วรกฤช เดชาธนาพัฒน์<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์อุมาวดี เดชธำรงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นายคงฤทธิ์ แย้มพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นายประสิทธิ์ นนทะเสน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นางสาวภัทรชนันท์ ราณรงค์<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นางสาววราภรณ์ เลิศขามป้อม<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นางสาวสุวจี จันดาเขียว<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ


พันเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญา อารีกุล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร วารีศรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

อาจารย์ ดร.กาญจนา หินเธาว์<br />

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

อาจารย์ ดร.ปณัทพร เรืองเชิงชุม<br />

มหาวิทยาลัยขอนแก่น<br />

อาจารย์ ดร.อัญชลี ชัยศรี<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี อาจารย์ ดร.อัญนวียา ภัชร์จรินท์ญา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์ ดร.วาสนา คำไทย<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 อาจารย์ <strong>ฉบับที่</strong> ดร.อารีรัตน์ 1 มกราคม พัฒนชีวะพูล - มิถุนายน 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

Vol. 1 No. 1 January - April 2017<br />

อาจารย์ ดร.เทิดศักดิ์ สุพันดี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

ฝ่ายจัดการและเลขานุการกองบรรณาธิการ<br />

อาจารย์วาสนา แสงทอง<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์วรกฤช เดชาธนาพัฒน์<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

อาจารย์อุมาวดี เดชธำรงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นายคงฤทธิ์ แย้มพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นายประสิทธิ์ นนทะเสน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นางสาวภัทรชนันท์ ราณรงค์<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นางสาววราภรณ์ เลิศขามป้อม<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

นางสาวสุวจี จันดาเขียว<br />

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

ว่าที่ร้อยตรีทินนิกร เสมอโชค มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

สำนักงานกองบรรณาธิการ สำนักงานคณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

โทรศัพท์ 044-815111 ต่อ 206<br />

พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2560


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 มกราคม - มิถุนายน 2560 Vol. 1 No. 1 January - April 2017<br />

สารบัญ<br />

หน้า<br />

การจัดเรียงสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์โดยพิจารณาเงื่อนไขการส่งแบบหลายจุด<br />

CONTAINER PACKING WITH MULTIPLE DESTINATION CONSTRAINTS<br />

จิตนา ดงภูบาล และ ณกร อินทร์พยุง<br />

การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

THAI SILK BUSINESS MANAGEMENT OF THAI SILK WEAVING WOMEN’S GROUPS<br />

IN CHONNNABOT DISTRICT, KHON KAEN PROVINCE<br />

วิภารัตน์ ทองกาสี และจีราวัฒน์ มันทรา<br />

การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ กรณีศึกษา: ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

PERFORMANCE ANALYSIS OF THE ECONOMIC VALUE ADDED-EVA IMPLEMENTATION<br />

CASE STUDY: ONE OF THE STATE ENTERPRISE BANK IN THAILAND<br />

รัศมีเพ็ญ นาครินทร์, สุภธัชวุฒิ ตู้พจ, อัญชลี ชัยศรี, หทัยกาญจน์ ทองศรีสุข<br />

และ ศันสนีย์ แอมประชา<br />

ความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์บางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี<br />

STRENGTH OF COMMUNITY BUSINESS OF BANG KHU ORGANIC VEGETABLES COMMUNITY<br />

IN THA WUNG, LOPBURI PROVINCE<br />

ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์, ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง<br />

ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรี<br />

นคร จังหวัดนครสวรรค์<br />

MARKETING MIX AFFECTING THE DECISION TO BUY THE SPECIAL GOVERNMENT SAVINGS<br />

LOTTERY OF THE GOVERNMENT SAVINGS BANK, SRI NAKHON MARKET, NAKHON SAWAN<br />

PROVINCE<br />

วรษ ศรีนาค, จิราวรรณ สมหวัง และ สุกัญญา พยุงสิน<br />

แนวปฏิบัติที่ดี: แนวคิดและวิธีการจัดทำเพื่อพัฒนาผลของการบริหารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทย<br />

GOOD PRACTICE: THE CONCEPT AND METHOD TO IMPROVE THE OUTCOME OF CURRICULUM<br />

ADMINISTRATION IN HIGHER EDUCATIONAL INSTITUTION IN THAILAND<br />

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

1<br />

การจัดเรียงสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์โดยพิจารณาเงื่อนไขการส่งแบบหลายจุด<br />

CONTAINER PACKING WITH MULTIPLE DESTINATION CONSTRAINTS<br />

จิตนา ดงภูบาล 1* และ ณกร อินทร์พยุง 2<br />

Jittana Dongpuban 1* and Nakorn Indra-Payoong 2<br />

1,2 คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา<br />

1,2 Faculty of Logistics, Burapha University<br />

บทคัดย่อ<br />

บทความวิจัยนี้นำเสนอ การศึกษาเงื่อนไขการส่งแบบหลายจุดในการจัดเรียงสินค้าเพื่อบรรจุลงในตู้<br />

คอนเทนเนอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่นการจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ที่มีต้นทางจุดเดียวและ<br />

ปลายทางหลายจุดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อทดแทนการออกแบบการจัดเรียงโดยพนักงาน โดยการนำ<br />

Visual Basic for Applications: VBA มาใช้ในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์<br />

เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน เนื่องจากผลที่ได้จะแสดงผลลัพธ์ใน Microsoft Excel โดยแอปพลิเคชั่น<br />

นี้จะคำนวณการจัดเรียงแต่ละตำแหน่งและแสดงผลโดยบอกตำแหน่งการจัดเรียงของแต่ละบรรจุภัณฑ์ได้<br />

อย่างชัดเจน ผลจากการวิจัยโดยการเปรียบเทียบระหว่างการจัดเรียงโดยวิธี Manual และการออกแบบการ<br />

จัดเรียงด้วยแอปพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์ 2 ครั้ง พบว่า การออกแบบการจัดเรียงด้วยแอปพลิเคชั่นทาง<br />

คอมพิวเตอร์สามารถออกแบบการจัดเรียงสินค้ามีประสิทธิภาพได้ร้อยละ 63 ของวิธีการจัดเรียงด้วยวิธีการ<br />

จัดเรียงโดยพนักงาน<br />

คำสำคัญ : การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ ตู้คอนเทนเนอร์ การส่งแบบหลายจุด โลจิสติกส์<br />

Abstract<br />

This paper presents an investigation on the develop container packing application<br />

to replace this process will be done by manual staff for an origin and multiple destination.<br />

Which Visual Basic for Applications: VBA is tool for application development and the result<br />

is shown in Microsoft Excel format that convenience for users because it can automatic<br />

calculate and identify box location clearly. This research is compare container packing<br />

between manual and computer processing with application program 2 cases, the results is<br />

computer application can design container packing efficiency average 63 percent of manual<br />

process.<br />

Keywords: Container packing method, container, multiple destination, logistic<br />

* Corresponding Author<br />

Email: jittana.dongphuban@gmail.com


2<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา<br />

ปัจจุบันการขนส่งสินค้าโดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของคอนเทนเนอร์ (Containerization) ซึ่งการ<br />

ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์นั้นได้พัฒนารูปแบบการให้บริการแบบ Door to Door ให้เกิดการขนส่งที่มี<br />

ลักษณะเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยอาศัยตู้คอนเทนเนอร์ในการ<br />

บรรทุกสินค้าเพื่อขนส่ง สินค้าจะถูกบรรจุลงในตู้คอนเทนเนอร์และถูกเคลื่อนย้ายไปตลอดเส้นทางตั้งแต่<br />

จุดเริ่มต้นจนถึงจุดหมายปลายทางโดยอาจมีการถ่ายเปลี่ยน (Transit) จากรูปแบบการขนส่งหนึ่งไปเป็นอีก<br />

รูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางรถไฟ ทางเรือหรือทางอากาศ ซึ่งการขนส่งที่ใช้รูปแบบการขนส่งที่<br />

มากกว่าหนึ่งรูปแบบตลอดเส้นทางหนึ่งเที่ยว ทำให้เกิดประโยชน์มากมายทั ้งต่อผู้ส่งสินค้าและผู้รับสินค้า เช่น<br />

สะดวกในการบรรทุกและขนถ่าย เพราะตู้มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของสินค้า<br />

ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ป้องกันความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการขนส่งและช่วยป้องกัน<br />

การถูกโจรกรรมได้ สามารถขนส่งได้ปริมาณมาก และตรวจนับสินค้าได้ง่าย (ณกร อินทร์พยุง, 2548) เป็นต้น<br />

รูปแบบการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์นั้นมีทั้งลักษณะที่เป็นส่งออก (Export) นำเข้า (Import) หรือ<br />

ขนส่งภายในประเทศ (Domestic) ซึ่งจะมีลักษณะและการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อมีการบรรจุ<br />

สินค้าเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะต้องมีการออกแบบการจัดเรียงสินค้าเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก<br />

พื้นที่ภายในตู้คอนเทนเนอร์ได้อย่างเหมาะสมและลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด แต่บ่อยครั้งที่การออกแบบการ<br />

จัดเรียงสินค้ายังใช้ระบบ Manual คือ การทำงานโดยอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของพนักงานเป็น<br />

ผู้ออกแบบและควบคุมการปฏิบัติงาน โดยที่ไม่มีระบบหรือไม่ได้อาศัยทฤษฎีใด ๆ เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ<br />

ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าวิธีการเหล่านั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมหรือไม่ ส่งผลให้เกิดการจัดเรียง<br />

สินค้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่ยังเห็นว่ายังสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้เนื่องจากการจัดเรียงยังมี<br />

ความไม่เหมาะสม ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายและต้องใช้แรงงานหรือเครื่องมือในการยกสินค้าขึ้น-ลง<br />

บ่อยครั้งโดยเฉพาะในการขนส่งสินค้าที่มีผู้รับสินค้าหลายจุด การจัดเรียงสินค้าที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดผล<br />

กระทบต่อสินค้า ในกรณีที่มีการบีบอัดสินค้า หรือทำให้สินค้าชำรุดเสียหายเพื่อให้บรรจุสินค้าได้ทั้งหมด<br />

ต้นทุนในการดำเนินการสูงขึ้น เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ภายในตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่เหมาะสม ทำให้<br />

ต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์มากเกินความจำเป็น เป็นต้น หรือบางกรณีที่ปัญหามีความยุ่งยากและซับซ้อนมากเกิน<br />

ความสามารถของพนักงาน จำเป็นต้องมีการนำระบบ IT เข้ามาช่วยในการจัดการ เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยใน<br />

การออกแบบการจัดเรียงสินค้าในคอนเทนเนอร์ ดังนั้นการที่บริษัทต่าง ๆ จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง<br />

ขบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ ระบบเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศและการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และสมควรจะต้องเร่งสร้างและประยุกต์ใช้กันอย่าง<br />

จริงจัง (พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล, 2550)<br />

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นทาง<br />

คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการหารูปแบบที่มีความเหมาะสมที่สุดในการจัดเรียงสินค้าเพื่อบรรจุลงในตู้คอนเทน<br />

เนอร์ โดยพิจารณาจากการมีเงื่อนไขต้นทางจุดเดียวและปลายทางหลายจุด โดยใช้แบบจำลองการตัดสินใจ<br />

ตามวิธี Constructive Approach (Kunihiko and Ichiro, 2001) ซึ่งเป็นการหาคำตอบอย่างเป็นขั้นเป็น<br />

ตอน (Step by Step) จากระบบที่มีความสลับซับซ้อน โดยการเขียนอธิบายขั้นตอนการทำงานเป็นข้อความ<br />

ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้คำตอบ ซึ่งวิธีนี้จะอาศัยข้อมูลของปัญหาในการสร้างขั้นตอนในการหาคำตอบและจะได้<br />

คำตอบเมื่อขั้นตอนทั้งหมดถูกกระทำเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

3<br />

2. วิธีดำเนินการวิธีวิจัย<br />

ข้อมูลที่นำมาใช้ในพิจารณาสำหรับการวิจัย เป็นกรอบข้อกำหนด ซึ่งกำหนดไว้เพื่อให้สะดวกต่อการ<br />

วิจัย โดยได้มีการกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้<br />

1. ค่าปรับ (Violation)<br />

ในงานวิจัยนี้ค่า Violation หมายถึง ค่าปรับ คือ การนับจำนวนครั้งที่เมื่อมีการยกบรรจุภัณฑ์<br />

ข้างเคียงออกก่อนที่จะมีการยกบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการออกมา โดยถ้ามีการยกบรรจุภัณฑ์อื่นออกมาก เพื่อทำ<br />

การค้นหาบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ ทำให้เกิดค่า Violation มาก แต่ถ้ามีการยกบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ใกล้บรรจุภัณฑ์ที่<br />

ต้องการออกน้อย ทำให้เกิดค่า Violation น้อยหรือถ้าไม่มีการยกบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ออกเลย จะไม่เกิดค่า<br />

Violation ขึ้น กล่าวได้ว่าถ้าเกิดจำนวนค่า Violation มาก หมายถึง การจัดเรียงที่ไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้า<br />

เกิดค่า Violation น้อย หมายถึงการจัดเรียงที่มีประสิทธิภาพ<br />

2. ตู้คอนเทนเนอร์ (Container)<br />

2.1 ประเภท (Container Type) หมายถึง ประเภทของตู้ เช่น ตู้แห้งหรือสินค้าทั่วไป (Dry<br />

and Cargo Container) ตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Thermal Container) เป็นต้น แต่การศึกษาในครั้งนี้กำหนดให้<br />

ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทตู้แห้งหรือสินค้าทั่วไป (Dry and Cargo Container) เป็นตู้แบบทั่วไปและใช้มาก<br />

ที่สุด ไม่มีแผ่นฉนวนอยู่ภายใน ไม่มีเครื่องทำความเย็นติดตั้งอยู่หน้าตู้ ใช้บรรทุกสินค้าแห้งหรือสินค้าทั่วไปที่<br />

ไม่มีปัญหาต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในตู้ (กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ, 2547)<br />

ภาพที่ 1 ตัวอย่างตู้คอนเทนเนอร์<br />

ภาพที่ 2 ขนาดตู้คอนเทนเนอร์และแกนอ้างอิง<br />

2.2 ขนาด (Size) หมายถึง ความกว้าง (X), ความยาว (Y), ความสูง (Z) ซึ่งขนาดของคอน<br />

เทนเนอร์ สามารถแบ่งได้หลายขนาดเช่น 20 ฟุต (20 ft.), 40 ฟุต (40 ft.), 40 ฟุตความจุสูง (40 ft. Hi-<br />

Cube), 45 ฟุต (45 ft.)<br />

2.3 ความจุ (Volume) หมายถึง ปริมาตรทั้งหมดที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถบรรจุได้<br />

2.4 น้ำหนัก (Payload) หมายถึง น้ำหนักทั้งหมดที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถบรรจุได้


4<br />

ภัณฑ์<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

3. บรรจุภัณฑ์<br />

3.1 บรรจุภัณฑ์มีรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาดต่าง ๆ<br />

3.2 ขนาด (Dimension) หมายถึง ความกว้าง (w), ความยาว (y), ความสูง (h) ของบรรจุ<br />

3.3 พื้นที่ฐาน หมายถึง ความกว้าง x ความยาว<br />

3.4 น้ำหนัก (Weight) หมายถึง น้ำหนักของสินค้ารวมบรรจุภัณฑ์<br />

3.5 จำนวน (Quantity) จำนวนของบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุภายในตู้คอนเทนเนอร์<br />

4. รูปแบบการจัดเรียง<br />

รูปแบบการจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ในตู้คอนเทนเนอร์ สามารถจัดเรียงได้ 6 แบบ<br />

A B C<br />

D E F<br />

ภาพที่ 3 การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์แบบที่ A-F<br />

เมื่อพิจารณาลักษณะการจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ทั้ง 6 แบบนั้น เห็นได้ว่าลักษณะการจัดเรียงเกิดจากการ<br />

หมุนด้าน Width ), Length ) , Height (h)<br />

ของบรรจุภัณฑ์ บนแกน ( X , Y,<br />

Z)<br />

ของตู้คอนเทน<br />

เนอร์ ดังนี้<br />

จุดอ้างอิง ( X , Y , Z )<br />

การจัดเรียงแบบ A ( width (w)<br />

, length (l)<br />

, height ))<br />

การจัดเรียงแบบ B ( length (l)<br />

, width (w)<br />

, height ))<br />

การจัดเรียงแบบ C ( height (h)<br />

, length (l)<br />

, width (w)<br />

)<br />

การจัดเรียงแบบ D ( length (l)<br />

, height (h)<br />

, width ))<br />

การจัดเรียงแบบ E ( height (h)<br />

, width (w)<br />

, length (l)<br />

)<br />

การจัดเรียงแบบ F ( width (w)<br />

, height (h)<br />

, length )<br />

(l )


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

5<br />

นอกจากการจัดเรียงทั้ง 6 แบบแล้วยังสามารถแบ่งข้อจำกัดของการวางได้ 3 ประเภท<br />

ข้อจำกัดของการวาง (Orientation) เป็นข้อจำกัดเฉพาะของบรรจุภัณฑ์แต่ละบรรจุภัณฑ์ โดย<br />

หมายถึงความสามารถในการวางได้ในด้านต่าง ๆ ของบรรจุภัณฑ์ โดยสามารถแยกออกได้เป็น 3 ประเภท<br />

(คชาเดช วุฒิยารังสิต, 2545)<br />

ประเภทที่ 1 (Type 0) สามารถวางได้ด้านเดียว แต่ไม่สามารถหมุนได้<br />

ประเภทที่ 2 (Type 1) สามารถวางได้ด้านเดียว และสามารถหมุนได้<br />

ประเภทที่ 3 (Type 2) สามารถวางได้ทุกด้านของบรรจุภัณฑ์<br />

ประเภทที่ 1<br />

ประเภทที่ 2<br />

ประเภทที่ 3<br />

ภาพที่ 4 ประเภทของการวางของบรรจุภัณฑ์<br />

5. จุดอ้างอิง<br />

จุดอ้างอิงที่ใช้ในการพิจารณามี 3 ประเภท คือ จุดอ้างอิงของตู้คอนเทนเนอร์และจุดอ้างอิงของบรรจุ<br />

ภัณฑ์และจุดอ้างอิงสำหรับบรรจุภัณฑ์ต่อไป<br />

5.1 จุดอ้างอิงตู้คอนเทนเนอร์<br />

- x i<br />

แทนจุดอ้างอิงของความกว้าง<br />

-<br />

y<br />

i<br />

แทนจุดอ้างอิงของความยาว<br />

-<br />

z<br />

i<br />

แทนจุดอ้างอิงของความสูง<br />

จุดอ้างอิง (0, 0, 0) หมายความว่า x i<br />

=0, y i<br />

=0, z i<br />

=0 ซึ่งในที่นี้หมายถึง มุมซ้ายล่างด้านในสุดของ<br />

ตู้คอนเทนเนอร์ ดังภาพที่ 5


6<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ภาพที่ 5 จุดอ้างอิงของตู้คอนเทนเนอร์<br />

5.2 จุดอ้างอิงของบรรจุภัณฑ์<br />

-<br />

i<br />

w<br />

แทนจุดอ้างอิงของความกว้าง<br />

-<br />

l i แทนจุดอ้างอิงของความยาว<br />

-<br />

h<br />

i<br />

แทนจุดอ้างอิงของความสูง<br />

จุดอ้างอิง (0,0,0) หมายความว่า w i<br />

=0, l i =0, h i<br />

=0 ซึ่งในที่นี้หมายถึง มุมซ้ายล่างด้านในสุดของตู้<br />

คอนเทนเนอร์ ดังภาพที่ 6<br />

จุดอ้างอิงที่ (0,0,0)<br />

ภาพที่ 6 จุดอ้างอิงของบรรจุภัณฑ์<br />

5.3 สำหรับตำแหน่งที่ใช้อ้างอิง<br />

( xi<br />

, yi<br />

, zi<br />

)<br />

สำหรับจัดวางบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไปจะอยู่มุม<br />

ด้านนอกทั้ง 3 มุม ดังนี้ (รัชนก ตะเพียนทอง, 2549)<br />

• ตําแหน่งพิกัดที0ใช้อ้างอิง<br />

ภาพที่ 7 จุดอ้างอิงของบรรจุภัณฑ์ต่อไป<br />

6. ข้อกำหนดการจัดเรียงบรรจุภัณฑ์<br />

6.1 การจัดส่งเป็นแบบ Multiple Delivery<br />

6.2 การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์สามารถเรียงบรรจุภัณฑ์ไว้ที่ใดภายในตู้คอนเทนเนอร์<br />

6.3 การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์โดยไม่คำนึงลำดับการส่งก่อนหลัง


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

7<br />

6.4 ไม่ให้เกิดช่องว่างในการเรียงบรรจุภัณฑ์ และใช้พื้นที่น้อยที่สุด<br />

6.5 ไม่นำการกระจายน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ภายในตู้คอนเทนเนอร์มาใช้ในการพิจารณา<br />

การจัดเรียง แต่จะใช้การคำนวณน้ำหนัก เพื่อไม่ให้เกินความสามารถบรรทุกของตู้คอนเทนเนอร์เท่านั้น<br />

6.6 การจัดเรียงเริ่มจากการวางบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดพื้นที่ฐานใหญ่สุดไว้ที่มุมล่างซ้ายสุดของ<br />

ตู้คอนเทนเนอร์ การหาค่าของบรรจุภัณฑ์ที่มีพื้นที่ฐานใหญ่ที่สุดหาได้จากการนำค่าพื้นที่ฐานของบรรจุภัณฑ์<br />

ที่มีทั้งหมดมาเปรียบเทียบกันหาค่าที่มากที่สุด ต้องทำทุกครั้งเมื่อมีการเริ่มต้นวางบรรจุภัณฑ์ใหม่และแถว<br />

ย่อยในแกน X<br />

6.7 การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์จะเรียงในแนวตั้ง (Z ) แล้วเรียงตามแนวกว้าง (X ) มาเรื่อย ๆ<br />

จนเต็มหรือไม่สามารถวางบรรจุภัณฑ์ได้อีก จึงเริ่มแถวใหม่<br />

6.8 การพิจารณาหาบรรจุภัณฑ์ลำดับถัดไป<br />

6.8.1 พิจารณาจากพื้นที่ฐานของบรรจุภัณฑ์ โดยที่พื้นที่ฐานของบรรจุภัณฑ์ที่กำลัง<br />

พิจารณาต้องน้อยกว่าพื้นที่ฐานของบรรจุภัณฑ์ที่วางอยู่แล้วหรือบรรจุภัณฑ์ในลำดับก่อนหน้า เพื่อไม่ให้มี<br />

ความยาวยื่นเกินออกมา<br />

6.8.2 ถ้าบรรจุภัณฑ์มีความยาวเท่ากันให้พิจารณาความสูง โดยที่ความสูงของ<br />

บรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกินความสูงของบรรจุภัณฑ์ก่อนหน้า<br />

6.8.3 ถ้าบรรจุภัณฑ์ที่ขนาดเท่ากันหมดทุกอย่าง สามารถเลือกบรรจุภัณฑ์ใดมา<br />

เรียงก่อนก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม<br />

6.8.4 บรรจุภัณฑ์ที่วางทับอยู่ด้านบนต้องมีขนาดพื้นที่ฐานเล็กกว่าหรือเท่ากับ<br />

บรรจุภัณฑ์ ที่อยู่ด้านล่าง โดยที่ไม่ให้มีส่วนหนึ่งส่วนใดยื่นเกินออกมา เพื่อป้องกันความไม่เสถียรและการเสีย<br />

สมดุลของบรรจุภัณฑ์<br />

6.9 การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ สามารถวางได้ตามการจัดเรียงแบบที่ 1 และตามข้อจำกัดการ<br />

วางประเภทที่ 1 คือจัดเรียงด้าน w ขนานกับ X , ด้าน l ขนานกับY , ด้าน h ขนานกับ Z และสามารถ<br />

จัดเรียงได้ด้านเดียวเท่านั้น โดยไม่สามารถหมุนบรรจุภัณฑ์ได้<br />

6.10 การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ ผนังของบรรจุภัณฑ์จะขนานไปในแนวเดียวกับผนังของตู้คอน<br />

เทนเนอร์ โดยที่ด้านกว้างของบรรจุภัณฑ์จะขนานอยู่กับด้านกว้าง (X ) ของตู้คอนเทนเนอร์ และด้านยาว<br />

ของบรรจุภัณฑ์จะขนานอยู่กับด้านยาว (Y ) ของตู้คอนเทนเนอร์<br />

6.11 เมื่อมีการวางบรรจุภัณฑ์ภายในตำแหน่งของตู้คอนเทนเนอร์แล้ว ตำแหน่งจุดอ้างอิง<br />

จะเปลี่ยนไป ทำให้เมื่อก่อนที่จะมีการวางบรรจุลำดับต่อไปต้องมีการคำนวณหาตำแหน่งจุดอ้างอิงใหม่ โดยมี<br />

วิธีคำนวณ ดังนี้ วิธีการหาตำแหน่งพิกัดอ้างอิงใหม่ 3 จุด (รัชนก ตะเพียนทอง, 2548)<br />

- ตำแหน่งที่ :<br />

( x<br />

i<br />

, yi<br />

, zi<br />

)<br />

- พิกัดในแนวกว้าง :<br />

x<br />

i<br />

และ<br />

x<br />

i<br />

+ w<br />

- พิกัดในแนวยาว :<br />

y<br />

i<br />

และ<br />

y<br />

i<br />

+ l<br />

- พิกัดในแนวสูง :<br />

z<br />

i<br />

และ<br />

z<br />

i<br />

+ h<br />

หลังจากนั้นให้ทำการปรับตำแหน่งของจุดอ้างอิงใหม่ โดยที่แนวกว้าง (<br />

x<br />

i<br />

+ w, y i<br />

, z i<br />

),<br />

แนวยาว ( x i<br />

,<br />

y<br />

i<br />

+ l, z i<br />

), แนวสูง ( x i<br />

, y i<br />

,<br />

z<br />

i<br />

+ h) เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาหาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมมา<br />

จัดเรียงในลำดับต่อไป


8<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

6.12 การพิจารณาเริ่มต้นจัดเรียงในแถวใหม่ จะคำนวณจากบรรจุภัณฑ์ที่ยาวที่สุดของแถว<br />

ก่อนหน้า โดยจะวางบรรจุภัณฑ์ที่ความยาวนั้นตลอดทั้งแถว ซึ่งวิธีนี้คล้ายกับวีธี Guillotine Cutting<br />

Approach คือ การบรรจุโดยที่ปริมาตรของคอนเทนเนอร์จะถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย ๆ (Sub-Layer) โดย<br />

ความสูง (Height) หรือความยาว (Length) ของแต่ละชั้นจะถูกกำหนดจากความสูงหรือความยาวของกล่องที่<br />

สูงหรือยาวที่สุด ที่ถูกจัดเรียงเข้าไปในชั้นนั้น (เชาวนี สำราญพันธุ์, 2548) ซึ่งในที่นี้พิจารณาเพียงความยาว<br />

ที่สุดของบรรจุภัณฑ์เท่านั้น<br />

เท่านั้น<br />

7. ข้อกำหนดการยกบรรจุภัณฑ์ออก<br />

7.1 การยกบรรจุภัณฑ์ออก พิจารณาจากด้านหน้า (ประตู) ของตู้คอนเทนเนอร์ด้านเดียว<br />

7.2 การยกบรรจุภัณฑ์ออกจากตู ้คอนเทนเนอร์ จะทำตามลำดับการส่งให้ลูกค้า ซึ่งได้มีการ<br />

กำหนดไว้แล้ว<br />

7.3 เมื่อมีการยกบรรจุภัณฑ์ใดออกไปแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งของบรรจุภัณฑ์ที่<br />

เหลืออยู่ โดยที่บรรจุภัณฑ์ที่ยังไม่ถึงลำดับที่ยกออกจะอยู่ตำแหน่งเดิม<br />

7.4 ไม่มีการผลักตำแหน่งของบรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณาให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่ว่าหรือ<br />

ตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถยกออกได้เพื่อไม่เกิดค่า Violation หรือเกิดน้อยสุด<br />

7.5 การยกบรรจุภัณฑ์ออก กรณีที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ขวางบรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณาอยู่ ให้<br />

พิจารณาเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ด้านบน<br />

( z i<br />

)<br />

และด้านหน้า<br />

( y i<br />

)<br />

เท่านั้น<br />

7.6 ถ้ามีบรรจุภัณฑ์ที่มีค่า y i<br />

,<br />

z<br />

i<br />

อยู่ในช่วงที่กำลังพิจารณาให้ถือว่าต้องยกออกและเกิดค่า<br />

Violation ทั้งหมด ดังนี้<br />

7.6.1 กรณีด้านสูง ในแนวตั้งเดียวกัน (Z ) ถ้าบรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณามีบรรจุ<br />

ภัณฑ์ที่อยู่ด้านบน (<br />

z<br />

i<br />

ที่มีค่ามากกว่า) ให้ยกบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ด้านบนนั้นออกและนับค่า Violation<br />

7.6.2 กรณีด้านหน้าในแนวยาวเดียวกัน (Y ) ถ้าบรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณามีบรรจุ<br />

ภัณฑ์ที่อยู่ด้านหน้า (<br />

y<br />

i<br />

มีค่ามากกว่า) ให้ยกบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ด้านบนนั้นออกและนับค่า Violation<br />

7.7 การยกบรรจุภัณฑ์ข้างเคียงออกก่อนที่จะยกบรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณาจะหยุดเมื่อ<br />

7.7.1 เมื่อพบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ ไม่มีบรรจุภัณฑ์กีดขวาง<br />

7.7.2 มีพื้นที่ว่างพอทั้งด้านกว้าง ด้านกว้างและด้านสูงที่จะสามารถยกบรรจุภัณฑ์<br />

ชิ้นนั้นออกมา<br />

7.8 ค่า Violation = 0 ในกรณี ดังต่อไปนี้<br />

7.8.1 ลำดับการส่งบรรจุภัณฑ์ครั้งแรกมีค่า y i<br />

และ z i<br />

มากที่สุดและบรรจุภัณฑ์ที่<br />

มีค่า<br />

y<br />

i<br />

และ<br />

z<br />

i<br />

สูงสุดขณะที่กำลังพิจารณา<br />

7.8.2 บรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณา ไม่มีบรรจุภัณฑ์อื่นกีดขวางเมื่อจะยกออก<br />

หมายถึงมีพื้นที่ว่างด้านหน้าเพียงพอเพื่อให้สามารถยกออกได้ โดยที่ไม่ชนหรือสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์อื่น


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

9<br />

ฟังก์ชันวัตถุประสงค์<br />

เนื่องจากการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการจัดเรียง<br />

สินค้าให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการที่จะสามารถจัดเรียงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นดูจากเงื่อนไขหรือ<br />

ข้อจำกัดที่กำหนดขึ้น เพื่อให้แอปพลิเคชั่นทำการประมวลผลจนได้ค่า Violation ดังนั้นความมีประสิทธิภาพ<br />

สามารถตรวจสอบได้จากค่า Violation ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการยกบรรจุภัณฑ์อื่นที่อยู่ข้างเคียงออกก่อนที่จะยก<br />

บรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณา<br />

TotalViolation =<br />

กำหนดให้<br />

w i<br />

, l i<br />

,<br />

h<br />

i<br />

ความกว้าง, ความยาว, ความสูง ของบรรจุภัณฑ์<br />

V ค่า Violation หรือค่าที่เกิดขึ้นเมื่อมีการยกบรรจุภัณฑ์อื่นออกก่อนบรรจุภัณฑ์<br />

ที่ต้องการ<br />

X ,Y , Z ความกว้าง, ความยาว, ความสูง ของตู้คอนเทนเนอร์<br />

(<br />

i<br />

n<br />

å<br />

j=<br />

1<br />

x<br />

i<br />

, yi<br />

, z )<br />

จุดอ้างอิงตำแหน่งภายในตู้คอนเทนเนอร์<br />

K น้ำหนักที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถบรรจุได้<br />

k<br />

i<br />

น้ำหนักของบรรจุภัณฑ์<br />

R พื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์<br />

r พื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ไป<br />

s พื้นที่ฐานของบรรจุภัณฑ์ (กว้าง x ยาว)<br />

C<br />

a จำนวนรอบเมื่อมีการเริ่มต้นวางบรรจุภัณฑ์ใหม่ แทนตำแหน่งการจัดเรียงของ<br />

บรรจุภัณฑ์ภายในตู้คอนเทนเนอร์ a=1,2,3,...<br />

Row j+1 ,Colum j+1 แถวที่… คอลัมภ์ที่ j=0,1,2...<br />

T<br />

a<br />

ลำดับการส่ง , a=1,2,3…<br />

M<br />

b จำนวนบรรจุภัณฑ์ , b=1,2,3…<br />

n จำนวนของบรรจุภัณฑ์ที่ถูกเลือกบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์<br />

V<br />

เงื่อนไข (Constraint)<br />

จากข้อกำหนดที่ได้กำหนดไว้ในการจัดเรียงและการยกบรรจุภัณฑ์ออกนั้น สามารถเขียนในรูปแบบ<br />

ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้<br />

1. บรรจุภัณฑ์แต่ละบรรจุภัณฑ์ต้องมีความกว้าง ความยาว ความสูง ไม่เกินความกว้าง ความยาว<br />

ความสูงของตู้คอนเทนเนอร์


10<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

w i<br />

£ X<br />

ความกว้างของบรรจุภัณฑ์ไม่เกินความกว้างของตู้คอนเทนเนอร์<br />

l i<br />

£ Y<br />

ความยาวของบรรจุภัณฑ์ไม่เกินความยาวของตู้คอนเทนเนอร์<br />

h i<br />

£ Z<br />

ความสูงของบรรจุภัณฑ์ไม่เกินความสูงของตู้คอนเทนเนอร์<br />

2. ผลรวมความกว้าง ความยาว ความสูง ของบรรจุภัณฑ์ทั ้งหมดต้องไม่เกินผลรวมความกว้าง ความ<br />

ยาว ความสูง ของตู้คอนเทนเนอร์<br />

å w i<br />

£ X<br />

ผลรวมความกว้างของบรรจุภัณฑ์ไม่เกินผลรวมความกว้างของตู้คอนเทนเนอร์<br />

ål i<br />

£ Y<br />

ผลรวมความยาวของบรรจุภัณฑ์ไม่เกินผลรวมความยาวของตู้คอนเทนเนอร์<br />

å h i<br />

£ Z<br />

ผลรวมความสูงของบรรจุภัณฑ์ไม่เกินผลรวมความสูงของตู้คอนเทนเนอร์<br />

3. ผลรวมน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกินน้ำหนักที่ตู้คอนเทนเนอร์สามารถบรรจุได้<br />

n<br />

å<br />

i=<br />

ki<br />

£ K<br />

1 i = 1 ,2,..., n<br />

4. บรรจุภัณฑ์ใด ๆ จะต้องถูกเลือกไม่เกิน 1 ครั้ง<br />

Si<br />

Î { ,1}<br />

0 i = 1 ,2,..., n<br />

5. บรรจุภัณฑ์ที่วางอยู่ด้านบน ต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดยื่นออกมาหรือเหลื่อมล้ำบรรจุภัณฑ์ที่วางอยู่<br />

ด้านล่าง (บรรจุภัณฑ์ที่เป็นฐาน) เพื่อป้องกันความไม่เสถียร<br />

w<br />

a ><br />

w<br />

b<br />

l<br />

a<br />

><br />

l<br />

b<br />

โดยที่ w คือขนาดของบรรจุภัณฑ์ตามแนวความกว้าง<br />

l คือขนาดของบรรจุภัณฑ์ตามแนวความยาว<br />

a คือขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่ถูกวางก่อนหน้าแล้ว<br />

b คือขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่กำลังพิจารณา


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

11<br />

วิธีการทางคอมพิวเตอร์<br />

1. การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์<br />

ภาพที่ 8 Flow การทำงานของแอปพลิเคชั่นคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์<br />

ภาพที่ 9 Flow การทำงานของแอปพลิเคชั่นคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงบรรจุภัณฑ์


12<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

2. การยกบรรจุภัณฑ์ออก<br />

ภาพที่ 10 Flow การทำงานของแอปพลิเคชั่นคอมพิวเตอร์ การยกบรรจุภัณฑ์ออก


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

13<br />

บรรจุภัณฑ์ที่สามารถบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ต้องเท่ากับความสามารถในการบรรจุของตู้เท่านั้น ไม่ว่า<br />

จะเป็น ขนาด น้ำหนัก เป็นต้น เพราะถ้ามีข้อมูลที่มากกว่าความสามารถในการบรรจุจะทำให้ผลของการยก<br />

ออกคลาดเคลื่อน<br />

หลังจากได้ออกแบบ Flow ในการทำงานที่ใช้สำหรับคำนวณหาตำแหน่งการจัดเรียงและการยก<br />

บรรจุภัณฑ์ออกเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำการเขียนแอปพลิเคชั่นโดยใช้ VBA เป็นเครื่องมือ<br />

3. การออกแบบโดยการใช้แอปพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์และการทดลองเปรียบเทียบ<br />

ผลที่ได้จากการออกแบบและพัฒนาโดยใช้แอปพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์ (พนิดา พานิชกุล และ<br />

ยุทธภูมิ วงศ์วัฒนฤกษ์, 2546) และการทดลอง ดังนี้<br />

ภาพที่ 11 การกรอกข้อมูลตู้คอนเทนเนอร์ที่ครบถ้วน<br />

ภาพที่ 12 ตารางแสดงผลการจัดเรียงการวิจัย


14<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ภาพที่ 13 ผลการจัดส่งการวิจัย<br />

ผลการวิจัย<br />

งานวิจัยนี้ได้นำเอาวิธีการทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการ<br />

ตัดสินใจ สำหรับการจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ลงตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแทนการใช้ทักษะ<br />

ความสามารถ และประสบการณ์ของพนักงานผู้ปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำงานให้<br />

เกิดความรวดเร็วและทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้ ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น<br />

ด้วย Visual Basic of Applications: VBA และนำเสนอในรูปแบบของ Microsoft Excel โดยมีการกำหนด<br />

เงื่อนไขและวิธีการคิดเชิงตรรกะศาสตร์เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรง ตาม<br />

ความต้องการ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่มีพื้นที่ฐานใหญ่ที่สุดจะถูกจัดเรียงเป็นลำดับแรก การจัดเรียงลำดับถัดไปจะ<br />

เกิดขึ้นในแนวดิ่งเสมอ หรือจะเกิดที่แนวขวางได้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถเรียงบรรจุภัณฑ์ที่แนวดิ่งได้ การยกบรรจุ<br />

ภัณฑ์ออกในกรณีที่มีมากกว่า 1 กล่อง จะพิจารณาบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ใกล้ประตูตู้คอนเทนเนอร์ออกก่อน เป็น<br />

ต้น โดยแตกต่างกับกรณีที่เป็นการจัดเรียงด้วยวิธี Manual ที่เกิดจากการจัดเรียงโดยพนักงานผู้ปฏิบัติงาน<br />

โดยไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งในการจัดเรียงแต่ละครั้งอาจ<br />

มีการวางตำแหน่งแตกต่างกัน ถึงแม้ในบางครั้งการจัดเรียงสินค้าโดยวิธี Manual จะสามารถจัดเรียงสินค้าได้<br />

อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานของแอปพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัย<br />

ความชำนาญการเป็นพิเศษของผู้ออกแบบ หรือบางครั้งต้องลองจัดเรียงมากกว่า 1 ครั้งหรือหลายครั้ง กว่าจะ<br />

ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบการจัดเรียงโดยวิธี Manual และการใช้แอปพลิเคชั่นทาง<br />

คอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้น 2 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะใช้กลุ่มตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ ที่ไม่เหมือนกันรวมถึงลำดับ<br />

การจัดส่งที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้การเกิดค่า Violation ที่แตกต่างกัน โดยในการทดลองแต่ละครั้ง จะได้<br />

ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกัน ไม่ว่าแอปพลิเคชั่นจะทำการประมวลผลซ้ำกี่ครั้งก็ตาม ซึ่งผลที่ได้พบว่าวิธีการจาก<br />

แอปพลิเคชั่นทางคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงสินค้าได้มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 63% ของวิธี Manual ดังนั้นการ<br />

นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการโลจิสติกส์จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้กลุ่ม<br />

อุตสาหกรรมหรือองค์กรสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการปรับปรุงกระบวนการขนส่งและงานโลจิสติกส์ต่าง<br />

ๆ ในการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาเลือกรูปแบบการขนส่งให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของสินค้าและบริการ<br />

เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งโดยตรง (พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล, 2550)


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

บรรณานุกรม<br />

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2547). กลยุทธ์บริหารธุรกิจการขนส่งทางเรือ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: พับ<br />

ลิคโฟโต้และโฆษณา.<br />

คชาเดช วุฒิยารังสิต. (2545). วิธีการเลือกประเภทของผลิตภัณฑ์เพื่อบรรจุลงในคอนเทนเนอร์ให้มี<br />

มูลค่าผลิตภัณฑ์โดยรวมสูงสุด.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิศวกรรม<br />

อุตสาหการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.<br />

เชาวนี สำราญพันธุ์. (2548). การประยุกต์ใช้เจเนติคอัลกอริทึมการแก้ปัญหาการบรรจุกล่องผลิตภัณฑ์ลง<br />

ในคอนเทนเนอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ,<br />

มหาวิทยาลัยนเรศวร.<br />

ณกร อินทร์พยุง. (2548). การแก้ไขปัญหาการตัดสินใจในอุตสาหกรรมการขนส่งและลอจิสติกส์.<br />

กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.<br />

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2550). โลจิสติกส์ ก้าวย่างประเทศไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ:<br />

สุขภาพใจ.<br />

พนิดา พานิชกุล และยุทธภูมิ วงศ์วัฒนฤกษ์. (2546). คัมภีร์การวิเคราะห์และตัดสินใจปัญหาเชิงธุรกิจโดย<br />

ใช้ Excel. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.<br />

รัชนก ตะเพียนทอง. (2549). การออกแบบขั้นตอนทางคอมพิวเตอร์ในการจัดเรียงบรรจุภัณฑ์ลงตู้คอน<br />

เทนเนอร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์,<br />

บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.<br />

Kunihiko K., & Ichiro T. (2001). Complex systems: chaos and beyond: a constructive<br />

approach with applications in life sciences. Springer-Verlag.<br />

15


16<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

บทคัดย่อ<br />

การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

THAI SILK BUSINESS MANAGEMENT OF THAI SILK WEAVING WOMEN’S GROUPS<br />

IN CHONNNABOT DISTRICT, KHON KAEN PROVINCE<br />

วิภารัตน์ ทองกาสี<br />

1 และจีราวัฒน์ มันทรา 2*<br />

Wiparat Thongkasee 1 and Jeerawat Mantra 2*<br />

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย<br />

Faculty of Management Science, Loei Rajabhat University<br />

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอ<br />

ชนบท จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธุรกิจผ้าไหมในด้านการตลาด ด้านบัญชีและด้าน<br />

การเงิน จำแนกตามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา<br />

ครั้งนี้คือ เป็นสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมโครงการกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น จำนวน 530<br />

คน ผู้วิจัยคำนวณจำนวนกลุ ่มตัวอย่างโดยโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%<br />

ได้กลุ่มตัวอย่าง 227 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ<br />

F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)<br />

ผลการศึกษาพบว่า<br />

1. การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ใน<br />

ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการเงิน<br />

รองลงมาคือ ด้านการตลาด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการผลิต<br />

2. การเปรียบเทียบของระดับการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัด<br />

ขอนแก่น จำแนกตามอายุ อาชีพหลัก และสถานภาพสมรส พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่<br />

ระดับ 0.05<br />

คำสำคัญ: การจัดการธุรกิจผ้าไหม กลุ่มสตรีทอผ้าไหม ผ้าไหม<br />

Abstract<br />

The objectives of this research were to study Thai silk business management of Thai<br />

weaving women’s groups in Chonnabot district, Khon Kaen province and to compare Thai silk<br />

business management of Thai weaving in marketing, accounting and finance. The 530-<br />

research population consisted of weaving women’s groups. A questionnaire was applied for<br />

data collection which earned data were analyzed by the computer program to obtain<br />

frequency, percentage, mean, standard deviation and F-test.<br />

The research findings were showed as follows:<br />

*2 Corresponding Author<br />

Email: jeerawat2516@gmail.com


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

17<br />

1. Thai silk business management of Thai weaving women’s groups in Chonnabot<br />

district, Khon Kaen province all factors to be their business management at a high level,<br />

when considered by asides were finance and marketing, that be valuable share least were<br />

production.<br />

2. Thai silk business management of Thai weaving women’s groups in Chonnabot<br />

district, Khon Kaen province comparing were significantly different at the level 0.05 of the<br />

Thai weaving women’s groups whose age, occupation and marriage status.<br />

Keywords: Business management, Thai weaving women’s groups, Thai silk<br />

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา<br />

ไหมไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรมของไทยมายาวนาน และเป็นที่รู้จักไปทั่ว<br />

โลก ผ้าไหมที่ได้ผลิตจากประเทศไทยนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพและชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของ<br />

โลก เพราะในแต่ละปีประเทศก็ได้มีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยตลาดที่ประเทศส่งออกสินค้าไป<br />

ยังอันดับ 1 คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอิตาลี ประเทศอังกฤษ และประเทศ<br />

ฝรั่งเศส ตามลำดับ ประเทศไทยยังได้มีการขยายกลุ่มที่ทำการส่งออกเพิ่มขึ้น อีกโดยทำการส่งออกไปยัง<br />

ประเทศสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง และไต้หวัน โยมูลค่าการส่งออกผ้าไหมไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง<br />

ต่อเนื่อง “ การเลี้ยงไหมนอกจากจะเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรแล้ว ยังเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่และดี<br />

งามของชาติที่ได้สืบสานกันมานานอีกด้วย ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร การพัฒนาการ<br />

เลี้ยงไหมจะต้องดำเนินต่อไป ” ในอดีตการเลี้ยงไหม ทอผ้าไหมมีการทำกันในลักษณะที ่เป็นครัวเรือนขนาดเล็ก<br />

และใช้บริโภคเองภายในครัวเรือน มีการทำเองไปใช้ในงานพิธีงานต่างๆ เช่น งานบุญ งานบวช งานแต่งงาน<br />

เป็นต้น พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้แสดงให้เห็นถึงปณิธานที่ทรงมีต่อผ้า<br />

ไหมไทย ความสำคัญของอาชีพผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และผ้าไหมยังสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร โดยการ<br />

ทอผ้าไหมจะทำผ้าไหมจะทำในช่วงที่ไม่มีการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน<br />

เกษตรกรบางรายได้นำผ้าไหมมาเป็นอาชีพหลักเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยไว้<br />

4 ชนิด นกยูงสีทอง(Royal Thai Silk) เป็นผ้าไหม ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบ เส้นไหม กระบวนการผลิตแบบภูมิ<br />

ปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอย่างแท้จริงและใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านเป็นทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน เส้นไหม<br />

จะต้องสาวเส้นด้วยมือผ่านพวงสาวลงภาชนะ การทอด้วยกี่ทอมือแบบพื้นบ้านชนิดพุ่งกระสวยด้วยมือ ย้อม<br />

ด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องผลิตในประเทศไทย นกยูงสีเงิน (Classic Thai Silk)<br />

เป็นผ้าไหมซึ่งผลิตขึ้นแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านผสมผสานกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือและกระบวนการผลิตในบาง<br />

ขั้นตอน ใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านหรือที่ได้รับการปรับปรุงจากพันธุ์ไทยเป็นเส้นพุ่ง หรือเส้นยืน เส้นไหมต้อง<br />

ผ่านการสาวด้วยมือ หรืออุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนขนาดไม่เกิน 5 แรงม้า การทอต้องทอด้วยกี่ทอมือชนิด<br />

พุ่งกระสวยด้วยมือหรือกี่กระตุก และต้องทำการผลิตในประเทศไทย นกยูงสีน้ำเงิน (Thai Silk) เป็นผ้าไหมซึ่ง<br />

ผลิตด้วยภูมิปัญญาของไทยโดยการประยุกต์เทคโนโลยีการผลิต ให้เข้ากับสมัยนิยมและทางธุรกิจธุรกิจ ใช้เส้น<br />

ไหมแท้เป็นเส้นพุ่งและเส้นยืน ย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ หรือ สีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทอด้วยกี่แบบใดก็ได้<br />

และต้องผลิตในประเทศไทย นกยูงสีเขียว (Thai Silk Blend) เป็นผ้าไหมซึ่งผ่านกระบวนการผลิตและ<br />

เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาไทย เช่น ลวดลาย สีสัน ใช้เส้นใยไหมแท้กับเส้นใยอื่นที่มาจาก<br />

วัสดุธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน หรือตามความต้องการของผู้บริโภค


18<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

เส้นไหมแท้เป็นองค์ประกอบหลัก มีเส้นใยอื่นเป็นส่วนประกอบรอง สัดส่วนการใช้เส้นใยชนิดอื่นประกอบต้อง<br />

ระบุให้ชัดเจน ทอด้วยกี่ชนิดใดก็ได้ ย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องผลิตใน<br />

ประเทศไทย (ทองสุข จันทร์วงศ์. 2557: บทสัมภาษณ์) ผ้าไหมมัดหมี่ของอำเภอชนบท สืบไม่ได้ว่าเริ่มมาจาก<br />

ใคร สอบถามคุณลุงทองสุข จันทร์วงศ์ ชาวบ้านด้านผ้าไหมมัดหมี่ (ปัจจุบันอายุประมาณ เจ็ดสิบปี) คุณลุง<br />

บอกเพียงว่า แม่ของลุงเล่าให้ฟังว่า คุณยายสอนให้ทำตั้งแต่ตอนท่านเด็กๆ สมัยก่อนผ้าไหมมัดหมี่เป็นผ้าที่ทำ<br />

ใช้นครัวเรือนเท่านั้นไม่ได้ทำเป็นอาชีพเหมือนเดี๋ยวนี้ ผ้าไหมมัดหมี่ของชนบทเริ่มมีชื่อเสียง เมื่อคุณลุงทองสุข<br />

จันทร์วงศ์ส่งผ้าไหมมัดหมี่ หน้านางลาย ตำลึงทองเข้าประกวดที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และได้รางวัล<br />

ชนะเลิศ ที่๑ ประเภทผ้าไหมมัดหมี่กี่พื้นเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้รางวัล 5000 บาท หลังจากนั้นชาวชนบท<br />

จะส่งผ้าไหมมัดหมี่เข้าประกวด เกือบทุกงานที่จัดขึ้น และส่วนมาก ผ้าไหมมัดหมี่ของอำเภอชนบทจะได้รับ<br />

รางวัล จึงทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นลายผ้าไหมมัดหมี่ ให้วิจิตรตระการตายิ่งขึ้น โดยดูจากลายผ้าไหม มัดหมี่<br />

ของ ชนบทจะมีหลายร้อยลาย และสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอชนบทเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเกิด เป็นงาน<br />

ประจำปีของจังหวัดขอนแก่น “งานประเพณี งานไหม ผูกเสี่ยว จังหวัดขอนแก่น” ซึ่งจัดขึ้นทุกปี เป็นลักษณะ<br />

ของการประดิษฐ์ลวดลายให้เกิดบนผืนผ้าด้วยการใช้เชือกมัดเส้นไหมหรือฝ้ายส่วนที่ไม่ ต้องการให้ติดสีเวลา<br />

ย้อมเป็นเปราะหลังจากการย้อมแล้วเมื่อตัดเส้นเชือกที่มัดออกจึงเกิดลวดลายตาม ต้องการเอกลักษณ์ของผ้า<br />

ไหมชนบทคือ“ลาย”และ“เทคนิคการทอผ้า”ลายเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาและถือ ว่าเป็นลายต้นแบบและเป็น<br />

ลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น คือลายหมี่กงลายขันหมากเบ็งลายขอพระเทพหรือลายเชิงเทียนโดยส่วนใหญ่<br />

เกือบทั้งหมดจะเป็นการทอผ้าแบบ3ตะกอทำให้เนื้อผ้าแน่นสม่ำเสมอมี ลักษณะสีและลวดลายของผ้าด้านหนึ่ง<br />

สีทึบกว่าอีกด้าน สีที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมคือ สีม่วง สีแดง สีเขียว สีเม็ดมะขาม เอกลักษณ์ของการทอผ้าอีก<br />

แบบหนึ่งของชาวชนบท คือ ผ้าปูมหรือผ้าหน้านาง ซึ่งมีลักษณะ แบบโจงกระเบน ประกอบด้วย ลายมัดหมี่<br />

บริเวณท้องผ้า ลายมัดหมี่หน้านางและลายมัดหมี่ริมชายผ้าทั้งสองด้านลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ชนบทลวดลาย<br />

ดั้งเดิม เป็นลวดลายที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ใช้วิธีการ มัดหมี่และทอแบบดั้งเดิม อาจเปลี่ยนแปลงสีสันได้<br />

ตามความต้องการ ลายดั้งเดิมลายขนาดเล็ก ได้แก่ ลายกง ลายโคม ลายหมากจับ ลายปลาซิว ลายดอกแก้ว<br />

น้อย ลายดั้งเดิมลายขนาดกลาง ได้แก่ ลายแมงมุม ลาย กนกเชิงเทียน ลายขอพระเทพ ลายขันหมากเบ็ง ลาย<br />

ต้นสน ลายขาเปียน้อย ลายตำลึงเครือ ลายดั้งเดิมลาย ใหญ่ ได้แก่ ลายนาคเกี้ยว ลายขอเกี้ยว ลายสำเภาหลง<br />

เกาะ ลายต้นสนใหญ่ ลายนกยูง เป็นต้น กรรมวิธีการทอผ้าไหมมัดหมี่ชนบท เป็นการทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง คือมี<br />

การมัดลวดลายและย้อมสีเฉพาะเส้นพุ่งส่วน เส้นยืนใช้เส้นไหมย้อมสีตามที่ต้องการแต่ไม่มีการมัดทำลวดลาย<br />

ซึ่งเป็นกระบวนการในการทอผ้าไหมมัดหมี่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย (ทองสุข จันทร์วงศ์. 2557: บท<br />

สัมภาษณ์) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้า<br />

ไหมมีหลากหลายชนิดทั้ง ผ้าจก ผ้าผืน โดยเฉพาะผ้าไหมมัดมี่ ที่มีชื่อเสียงทำให้เกิดร้านค้า และกลุ่มเกษตรกร<br />

ทอผ้าไหมขึ้นมากมาย โดยในปี 2557 มีเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 3,709 ครัวเรือน จาก 5 หมู่บ้านใน<br />

อำเภอชนบท มีเกษตรกรทอผ้าไหมอยู่ 1 กลุ่ม ที่มีบทบาทสำคัญในพัฒนาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของ<br />

จังหวัดขอนแก่นได้แก่ กลุ่มทอผ้าไหมและกลุ่มสตรีชาวชนบท ตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

ปัจจุบันทาง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้านางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขอนแก่น ได้ให้<br />

การสนับสนุนทั้งองค์ความรู้และวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้กลุ่มทอผ้าอำเภอชนบท ได้มีการเปิดศูนย์เรียนรู้การทอผ้า<br />

การย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุจากธรรมชาติ การตัดเย็บผ้าไหม การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยเกษตรกรผู้สนใจ<br />

สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานของภาครัฐ และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาการปลูก<br />

หม่อนเลี้ยงไหมทอผ้า ด้านกลุ่มสตรีสหกรณ์อำเภอชนบทมีโครงการจะสร้างจุดเรียนรู้ผู้ปลูกหม่อนไหมครบ<br />

วงจร กลุ่มทอผ้ามีความสามารถที่โดนเด่นและมีบทบาทความสำคัญในการพัฒนาด้านอาชีพผู้ปลูกหม่อนเลี้ยง


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

19<br />

ไหมในจังหวัดขอนแก่น ลักษณะความคลายคลึงกันหลายประการ เช่น เป็นกลุ่มเกษตรกรทอผ้าไหมที่สามารถ<br />

สร้างรายได้ให้สมาชิก มีชื่อเสียงด้านผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ได้รับการรับรองคุณภาพผ้าไหมมากมาย เช่น ผ้าตรา<br />

นกยูงพระราชทาน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สามารถย้อมได้ทั้งมีเคมีและสีธรรมชาติ มีการปลูกหม่อนเลี้ยง<br />

ไหมครบวงจร ผลิตเส้นไหมได้เอง มีกลุ่มลูกค้าประจำ ผลิตผ้าไหมตามที่ลูกค้าสั่งทำ กลุ่มทอผ้าอำเภอชนบท<br />

จังหวัดขอนแก่น จะดำเนินงานแบบสมัยใหม่มีพันธกิจและวิสัยทัศน์เป็นลายลักษณ์อักษร มีศูนย์จำหน่าย<br />

ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม มีความหลากหลายด้านผลิตภัณฑ์มากกว่า เช่น ตัดชุดผ้าไหมสำเร็จรูป (ศศิพร ปาณิกบุตร.<br />

2557) นอกจากนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ใช้เครื่องทอผ้าไฟฟ้าในการผลิต นั้นมีความ<br />

ต้องการจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ปริมาณสินค้าที่ผลิตออกมาเพียงพอต่อความต้องการของผู ้บริโภค<br />

ด้วยที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าในกลุ่มที่เป็นสินค้าประเภทนี้สูง เพราะเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคมีความเชื่อถือ<br />

ในด้านของคุณภาพสินค้า การออกแบบลวดลายที่สวยงาม และเป็นชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาด้วยความประณีต จึง<br />

ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผ้าไหมไทยได้รับการอนุรักษ์ และสืบทอดต่อไปยังคนรุ่นลูกรุ่นหลาน<br />

สำหรับผ้าไหมไทยก็มีหลากหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบที่สนใจในการศึกษาครั้งนี้คือ รูปแบบการทอผ้าไหมแบบ<br />

ยกดอก ซึ่งเป็นการทอสวยงามรูปแบบหนึ่ง โดยการทอผ้าไหมแบบยกดอก คือการทอผ้าไหมชนิดพิเศษที่ทำขึ้น<br />

จากเส้นใยของตัวไหม เนื้อผ้ามีความหนาแน่นเป็นเงาและเป็นประกายสวยงาม มีลวดลาย สีสันสดใส เป็นที่โดด<br />

เด่นซึ่งในจังหวัดขอนแก่น มีกลุ่มสตรีทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพ และ<br />

ฝีมือการทอเป็นอย่างดี โดยผ้าไหมของทางร้านมีจุดเด่นที่ลวดลายที่แตกต่างจากที่อื่น อีกทั้งกลุ่มยังเป็นแหล่ง<br />

เรียนรู้ด้านการทอผ้าและสถานที่ท่องเที่ยว ที่สร้างชื่อให้กับอำเภอได้เป็นอย่างมาก และการทำงานของกลุ่มทอ<br />

ผ้ายังมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ และการดูดซับแรงงานที่<br />

ว่างงานจากฤดูการทำเกษตรมาใช้เวลาว่างทอผ้าเพื่อหารายได้เสริม ด้วยแบบวิถีชาวบ้านและส่งเสริมภูมิปัญญา<br />

จน ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลต่างๆ รวมทั้งได้รับการคัดเลือกให้เป็นสุดยอดสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว<br />

ระดับประเทศ<br />

กลุ่มสหกรณ์อำเภอชนบทมีการดำเนินงานแบบกลุ่มสหกรณ์ และมีผลการดำเนินงานที่โดนเด่นอย่าง<br />

ต่อเนื่อง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอนแก่น จึงสนับสนุนให้<br />

เป็นหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือจุดเรียนรู้ผู้ปลูกหม่อนไหมครบวงจร ทางศูนย์หม่อนไหมจังหวัดขอนแก่น<br />

เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมาเริ่มประสบปัญหาทั้งภายในและภายนอกด้านการผลิต คือ วัตถุดิบการผลิตมีราคาแพง<br />

เช่น เส้นไหม ด้านการตลาด สินค้าจำหน่ายยากลำบากเพราะอาจเป็นในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนไป มี<br />

สินค้าที่ทดแทนมากขึ้นราคาถูกกว่า ยังขาดการวางแผนการตลาดแผนกลยุทธ์ และการติดต่อประสานงาน<br />

ภายนอกกลุ่ม ส่วนใหญ่ประธานเป็นผู ้้ดำเนินการการประสานงานแต่ขาดศักยภาพในการบริหารจัดการ ด้าน<br />

การเงิน คือ การกู้ยืมจากสถาบันการเงินน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่จะใช้เงินจากครอบครัว หรือญาติมา<br />

ดำเนินงานทำให้ขาดขาดสภาพคล่องไม่เพียงพอในการดำเนินงาน ในแต่่ละเดือนต้องใช้้เงินลงทุนสูง และ<br />

ค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ขายตามงานแสดงสินค้ามีราคาแพง ทำให้ไม่สามารถที่จะนำไปจำหน่ายได้<br />

ดังนั้นจากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะการศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้า<br />

ไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการผลิตผ้าไหมในเชิง<br />

ธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ซึ่งจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนแก้ไข และพัฒนาการธุรกิจผ้า<br />

ไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมให้้สามารถดำรงอยู่่ได้ในอนาคต ให้สามารถแข่งขันในธุรกิจ และสามารถแข่งขันได้<br />

ทั้งในประเทศและส่งออกในตลาดต่างประเทศ อันจะส่งผลต่อรายได้ของผู้ผลิตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


20<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

วัตถุประสงค์การวิจัย<br />

1. เพื่อศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

2. เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นใน<br />

ด้านการตลาด ด้านบัญชีและด้านการเงิน จำแนกตามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล<br />

กรอบแนวคิดการวิจัย<br />

ผู้วิจัยได้สรุปเป็นตัวแปรอิสระ (Independent Variables) และตัวแปรตาม (Dependent<br />

Variables) ซึ่งนำมาเขียนเป็นกรอบแนวความคิดในการวิจัยได้ดังนี้<br />

ตัวแปรอิสระ<br />

ข้อมูลทั่วไป<br />

- อายุ<br />

- สถานะภาพ<br />

- รายได้<br />

ตัวแปรตาม<br />

การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มทอ<br />

ผ้าและกลุ่มสตรี อำเภอชนบท จังหวัด<br />

ขอนแก่น<br />

- การจัดการองค์กร<br />

- การผลิต<br />

- การตลาด<br />

- การเงิน<br />

รูปที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย<br />

วิธีดำเนินการวิจัย<br />

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เป็นสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมโครงการกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอ<br />

ชนบท จังหวัดขอนแก่น จำนวน 530 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เป็นสมาชิกที่สนใจเข้าร่วมโครงการ<br />

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น จำนวน 227 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้<br />

สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 5% คือให้ความผิดพลาดได้ร้อยละ 0.05 เมื่อนำมา<br />

แทน ค่าในสูตรแล้วจะได้กลุ่มตัวอย่าง 227 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมแบบสอบถาม<br />

ที่เสร็จสิ้น แบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 150 ชุด คิดเป็นร้อยละ 60.08 มาพิจารณาความเรียบร้อยเพื่อ<br />

ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไปเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้ทำการวิจัยการจัดการธุรกิจผ้าไหมของ<br />

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)<br />

โดยได้มีการออกแบบสอบถาม (Questionnaire) แบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ<br />

แบบสอบถาม ได้แก่ อายุ สถานภาพ อาชีพ ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการทอผ้าในฐานะสมาชิกกลุ่มสตรี อำเภอ<br />

ชนบท จังหวัดขอนแก่น ตอนที่ 3 การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม โดยการวิเคราะห์แบบแจก<br />

แจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเมื่อในลักษณะคำถามเป็นแบบผู้ตอบเลือกให้น้ำหนักอยู่ใน 5 ระดับ คือ<br />

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ซึ่งเป็นแบบวัดตามแนวคิดของ Likert (กนกทิพย์ พัฒนาพัวพันธ์,<br />

2555) ตอนที ่ 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความสำเร็จของกลุ่มสตรีหลังจากได้ข้อมูลจากการสุ่ม<br />

ตัวอย่างเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นของการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท แบ่งเป็น


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

21<br />

5 ระดับ การแปลความหมายค่าเฉลี่ยโดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการของเบส (Best, John W. 1963, อ้างถึงในพิชิต<br />

ฤทธิ์จรูญ. 2554)<br />

สรุปผลการวิจัย<br />

พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นมีอายุ 31 - 40 ปีจำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 34.00<br />

รองลงมามีอายุ 41 - 50 ปี จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 รองลงมา มีอายุ 51 - 59 ปี คิดเป็นร้อยละ<br />

19.33 รองลงมามีอายุ 20 -30 ปี คิดเป็นร้อยละ 18.67 รองลงมามีอายุ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 8.00 ช่วง<br />

สถานะส่วนใหญ่โสด จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อย ละ 28.67 รองลงมาสถานะสมรส จำนวน 90 คนคิดเป็นร้อย<br />

ละ 60.00 รองลงมาสถานะหย่า/หม้าย จำนวน 17 คนคิดเป็นร้อยละ 11.33 ช่วงอาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร<br />

จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 54.00 รองลงมามี อาชีพเจ้าของธุรกิจ จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00<br />

รองลงมามีอาชีพเจ้า นักเรียน นักศึกษา 24 คน คิดเป็นร้อยละ 16.00 ช่วงเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้อง<br />

จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อย ละ 46.00 รองลงมาเป็นหน่วยงานราชการ 44 คน คิดเป็นร้อยละ 29.30<br />

รองลงมาเป็น เพื่อนบ้าน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 24.70 ช่วงเวลาส่วนใหญ่จะเป็น 1-5 ปี จำนวน 65 คน คิด<br />

เป็นร้อยละ43.30 รองลงมาเป็น6-10 ปี47 คนคิดเป็นร้อยละ 31.30 รองลงมาเป็น11-15 ปี ปี 20 คน คิดเป็น<br />

ร้อยละ 13.30 รองลงมามากกว่า 15 ปี จำนวน 18 คิดเป็นร้อยละ 12.00 การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่ม<br />

สตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( C = 4.43, S.D. = 0.66) เมื่อ<br />

พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการเงิน ( C = 4.48, S.D. = 0.64) รองลงมาคือ ด้าน<br />

การตลาด ( C = 4.45, S.D. = 0.65) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการผลิต ( C = 4.38, S.D. = 0.67)<br />

ด้านองค์กร พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( C = 4.41, S.D. = 0.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้นำ<br />

เป็นที่ยอมรับ ( C = 4.57, S.D. = 0.64) รองลงมาคือ ข้อบังคับ ( C = 4.48, S.D. = 0.65) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย<br />

ต่ำสุดคือ การเข้าร่วมประชุมหารือแสดงความคิดเห็นกับกลุ่ม ( C = 4.31, S.D. = 0.66)<br />

ด้านการผลิต พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( C = 4.38, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือภูมิ<br />

ปัญญาท้องถิ่น ( C = 4.53, S.D. = 0.59) รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ที่ดี ( C = 4.51, S.D. = 0.71) ส่วนข้อที่มี<br />

ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การแลกเปลี่ยนทักษะการทอระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม ( C = 4.27, S.D. = 0.67)<br />

ด้านการตลาด พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( C = 4.45, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ<br />

ผลิตภัณฑ์มีชื่อเสียงยาวนาน ( C = 4.57, S.D. = 0.58) รองลงมาคือผลิตภัณฑ์มีความละเอียดและประณีต ( C<br />

= 4.56, S.D. = 0.61) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีที่จอดรถสะดวกเพียงพอ ( C = 4.27, S.D. = 0.75)<br />

ด้านการเงิน พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดย<br />

ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( C = 4.48, S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือจัดสรร<br />

งบประมาณ ( C = 4.55, S.D. = 0.60) รองลงมาคือระดมเงินทุนภายใน ( C = 4.51, S.D. = 0.62) ส่วนข้อที่มี<br />

ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ กู้ยืมจากสถาบันการเงิน ( C = 4.43, S.D. = 0.66)<br />

การเปรียบเทียบของระดับการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัด<br />

ขอนแก่น จำแนกตามอายุ อาชีพหลัก และสถานภาพ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<br />

0.05


22<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

การอภิปรายผล<br />

จากการศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ผล<br />

การศึกษาสรุปได้ดังนี้<br />

1. ผลการศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น พบว่า<br />

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุส่วนใหญ่มีอายุ 31 - 40 ปีจำนวน 51 คน (คิดเป็นร้อยละ 34.00) ช่วง<br />

สถานะส่วนใหญ่โสด จำนวน 43 คน (คิดเป็นร้อย ละ 28.67) ช่วงอาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จำนวน 81คน<br />

(คิดเป็นร้อยละ 54.00) รองลงมามีอาชีพเจ้าของธุรกิจ จำนวน 45 คน (คิดเป็นร้อยละ 30.00) ช่วงเรียนรู้ส่วน<br />

ใหญ่เป็นญาติพี่น้อง จำนวน 69 คน (คิดเป็นร้อย ละ 46.00) ช่วงเวลาส่วนใหญ่จะเป็น 1-5 ปี จำนวน 65 คน<br />

(คิดเป็นร้อยละ43.30)<br />

ผลการศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น พบว่า<br />

การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก<br />

เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการเงิน รองลงมาคือ ด้านการตลาด ส่วนด้านที่มี<br />

ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการผลิต ด้านองค์กร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การ<br />

จัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ<br />

พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้นำเป็นที่ยอมรับ รองลงมาคือ ข้อบังคับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย<br />

ต่ำสุดคือ การเข้าร่วมประชุมหารือแสดงความคิดเห็นกับกลุ่ม ด้านการผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ<br />

พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดย<br />

ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือภูมิปัญญาท้องถิ่น รองลงมาคือ<br />

ผลิตภัณฑ์ที่ดี ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การแลกเปลี ่ยนทักษะการทอระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม ด้าน<br />

การตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรี<br />

ทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า<br />

ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือผลิตภัณฑ์มีชื่อเสียงยาวนาน รองลงมาคือผลิตภัณฑ์มีความละเอียดและประณีต ส่วนข้อที่มี<br />

ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีที่จอดรถสะดวก เพียงพอ ด้านการเงิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นราย<br />

ข้อ พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ใน<br />

ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือจัดสรรงบประมาณ รองลงมาคือระดมเงินทุน<br />

ภายใน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ กู้ยืมจากสถาบันการเงิน<br />

จากผลการศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สรุป<br />

อภิปรายผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้<br />

ด้านการเงิน พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น คือ<br />

มีการจัดสรรงบประมาณเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ระดมเงินทุนภายในกลุ่มได้มากกว่ารอการสนับสนุนจากทาง<br />

ภาครัฐ และมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่ากลุ่มสตรีผ้าไหมมีการจัดสรรธุรกิจอย่างเป็น<br />

ระบบ และการจัดทำบัญชีอย่างละเอียดต่อการทำธุรกิจ ซึ่งไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของศิวพร บุญชูวิทย์<br />

(2555) ได้ศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้าอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร<br />

พบว่า ปัญหาด้านการเงินกลุ่มฯมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอเพราะต้องซื้อผ้าไหมและวัตถุดิบจำนวนมากเป็น<br />

เงินสด คิดเป็นร้อยละ 60.00 การกำหนดการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านการจัดการการผลิตและการจัดการ<br />

การตลาดของผลิตภัณฑ์ โดยการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิตและการตลาด ดังนี้<br />

พัฒนาการส่งเสริมการขาย สร้างเครือข่ายการขาย พัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างศูนย์กลางการซื้อ-


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

23<br />

ขายเส้นไหมและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต จัดหาแหล่งเงินทุน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต สร้างความแตกต่าง<br />

ทางการแข่งขัน สร้างความพึงพอใจโดยอาศัยคุณภาพและบริการ<br />

ด้านการตลาด พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

คือ ผลิตภัณฑ์มีชื่อเสียงที่ยาวนาน ผลิตภัณฑ์มีความละเอียดและประณีต และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาแต่ละ<br />

ครั้งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า กลุ่มสตรีผ้าไหมมีการก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายจนถึงรุ่น<br />

หลังๆในปัจจุบัน จึงทำให้มีการสร้างกลุ่มกลุ่มสตรีทอผ้าไหม และมีการทำธุรกิจผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมายาวนานถึง<br />

ปัจจุบัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ เมธาวี สุ่มมาตย์ (2556) ได้ศึกษาเรื่องการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจ<br />

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด จากการศึกษา พบว่า<br />

การตลาดนั้นกลุ่มให้ความสำคัญกับ สถานที่จำหน่ายและ ด้านผลิตภัณฑ์โดยเน้นที่ลายของผ้าเป็นส่วนใหญ่<br />

ประเภทผลิตภัณฑ์มี 3 ชนิดคือ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าพื้นและผ้าไหมหางกระรอก โดยกำหนดราคาจากลายและ<br />

คุณภาพของผ้าไหม รวมถึงตำหนิของผ้ากลุ่มมีจุดแข็ง คือ ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เนื้อผ้ามี<br />

ความหนา สีสันสวยงาม กลุ่มยังได้ความรู้จากการอบรมศึกษาดูงานต่าง ๆ และมีการวางแผนรวมกันอย่าง<br />

ต่อเนื่อง ด้านจุดอ่อนนั้น คือวัตถุดิบที่มีราคาแพงทำให้ต้นทุนสูง บวกกับสมาชิกมีฐานะยากจนไม่มีเงินทุน<br />

เพียงพอในการผลิตกลุ ่มยังไม่สามารถช่วยเหลือสมาชิกทุกคนในกลุ่มเนื่องจากเงินทุนของกลุ่มก็มีน้อย แหล่ง<br />

จำหน่ายนั้นไม่มีแหล่งจำหน่ายประจำ โอกาสของกลุ่มเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า คือ ถ้าหากกลุ่มดีรับการ<br />

สนับสนุนทางการเงินมากกว่าขึ้น จัดให้มีการส่งเสริมทางตลาดให้เข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม โดยยังคงเอกลักษณ์<br />

ของกลุ่มไว้เหมือนเดิม ส่วนอุปสรรคที่กลุ่มต้องเผชิญ คือ มีคู่แข่งจำนวนมาก วัตถุดิบท้องถิ่นมีน้อย ไม่มีตลาด<br />

ในการจำหน่ายประจำ ดังนั้น จากจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคสามารถกำหนดกลยุทธ์ได้ดังนี้ กลยุทธ์<br />

การพัฒนาการส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายการขาย กลยุทธ์การพัฒนาการบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์<br />

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดหาแหล่งเงินทุนกลยุทธ์พัฒนาเทคโนโลยี กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างทางการ<br />

แข็งขัน กลยุทธ์สร้างความพึงพอใจโดยอาศัยคุณภาพและบริการ กลยุทธ์การพัฒนาการตลาดและชุมชน กล<br />

ยุทธ์การกำหนดราคากลยุทธ์หารพัฒนาที่ตั้งและสถานที่ทำการผลิต<br />

ด้านองค์กร พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น คือ<br />

ผู้นำเป็นที่ยอมรับของสมาชิกกลุ่มและหน่วยงานภายนอก ทราบถึงระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม และผู้นำมี<br />

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ผู้นำเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม เป็นผู้นำที่ดีต่อองค์กร<br />

และเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้แก่องค์กร ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิวพร บุญชูวิทย์ (2555) ได้ศึกษา<br />

การจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้าอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร พบว่า ได้มีการจัดตั้ง<br />

กลุ่ม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพ การมีงานทำและเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกและครอบครัว และ<br />

เพื่อสร้างความสามัคคีของสตรีในหมู่บ้าน ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองมาก<br />

ขึ้น สถานการณ์ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่ม พบว่าสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี มันไม่นิยมการทอผ้าและ<br />

มีฐานะยากจน ร้อยละ 85.00 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ทางด้านเศรษฐกิจ พบว่าสมาชิกมี<br />

รายได้จากการเกษตร และรายได้นอกการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 49,502.13 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และมี<br />

รายได้จาการทอผ้าไหมปีละ 20,689.00 บาทต่อครัวเรือนต่อปี การจัดการผ้าไหมนั้นมี 4 ขั้นตอน<br />

ประกอบด้วยการฟอก การย้อม การมัดหมี่ และการทอผ้า พบว่า ร้อยละ98.80 ของสมาชิกใช้สีเคมีในการย้อม<br />

ไหม เส้นไหมที่ใช้ในการผลิตผ้าไหมนั้นได้จากการซื้อ โดยร้อยละ 91.30 ของสมาชิกทอผ้าไหมแบบสองตะกอ<br />

ส่วนการออกแบบลายผ้าไหมลายผ้าไหมของสมาชิก พบว่า ร้อยละ 81.30 ของสมาชิกเป็นผู้ออกแบบลายเอง<br />

ส่วนปริมาณการผลิตในแต่ละปีโดยเฉลี่ย 44.31 เมตรต่อครัวเรือนต่อปี โดยมีช่วงเวลาผลิตคือช่วงเดือน<br />

มกราคม – เมษายน สำหรับปัญหาด้านการผลิตผ้าไหม พบว่า ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด


24<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

เนื่องจากขาดแคลนแรงงานในการทอผ้า เส้นไหมมีราคาแพง เงินทุนไม่เพียงพอ เป็นงานฝีมือ จึงทำให้ผลิตได้<br />

ช้าส่วนการจัดการการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ร้อยละ 60.00 ของสมาชิกมีการวางแผนการตลาดเกี่ยวกับ<br />

ผลิตภัณฑ์ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการวางแผนการตลาดมากที่สุดคือ สถานที่จัดจำหน่าย ทั้งหมดของกลุ่มฯใช้เกณฑ์<br />

ในการกำหนดราคาผ้าไหมจากฝีมือการทอของสมาชิก คุณภาพของผ้าไหมตำหนิของผ้าไหมคิดเป็นร้อยละ<br />

100.00 การออกแบบลวดลายเป็นไปตามแผนของกลุ่มฯ ราคา แบ่งตามชนิดของผ้าไหมดังนี้ ผ้าไหมพื้นเรียบ<br />

ราคา 380 - 400 บาทต่อเมตร ผ้าไหมมัดหมี่ ราคา 450-500 บาทต่อเมตร ผ้าไหมหางกระรอก ราคา 600-<br />

1,000 บาทต่อเมตรสถานที่จัดจำหน่าย สมาชิกจำหน่ายให้กลุ่มฯแล้วกลุ่มฯนำไปขายที่ศูนย์และที่ร้านค้าในตัว<br />

เมืองสมาชิกบางรายก็ขายที่บ้านของตนเอง และยังขายตามงานออกร้านต่างๆ การส่งเสริมด้านการจัดจำหน่าย<br />

โดยฝ่ายการตลาดของกลุ่มฯเป็นผู้หาสินค้าใหม่ลายใหม่ๆมาให้สมาชิกและพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย<br />

มากขึ้นอีกทั้งได้ประสานงานกับหน่วยงานราชการที่ให้การสนับสนุนในการจัดหาสถานที่ในการขายอีกด้วย<br />

ปัญหา อุปสรรค ปัญหาด้านการผลิต เกิดจากกลุ่มฯมีเงินทุนไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 77.50 ปัญหาด้าน<br />

การตลาด เกิดจากพ่อค้าคนกลางกดราคา คิดเป็นร้อยละ 80.00 ปัญหาด้านการเงินกลุ่มฯมีเงินทุนหมุนเวียนไม่<br />

เพียงพอเพราะต้องซื้อผ้าไหมและวัตถุดิบจำนวนมากเป็นเงินสด คิดเป็นร้อยละ 60.00 การกำหนดการจัดการ<br />

เชิงกลยุทธ์ด้านการจัดการการผลิตและการจัดการการตลาดของผลิตภัณฑ์ โดยการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อเพิ่ม<br />

ประสิทธิภาพในด้านการผลิตและการตลาด ดังนี้พัฒนาการส่งเสริมการขาย สร้างเครือข่ายการขาย พัฒนา<br />

บรรจุภัณฑ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างศูนย์กลางการซื้อ-ขายเส้นไหมและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต จัดหาแหล่ง<br />

เงินทุน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต สร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน สร้างความพึงพอใจโดยอาศัยคุณภาพ<br />

และบริการ<br />

ข้อเสนอแนะ<br />

การศึกษาการจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ดังกล่าว<br />

ศึกษาได้นำเสนอข้อเสนอแนะในการนำการผลศึกษาไปใช้ ดังนี้<br />

ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้<br />

จากผลการศึกษาเรื ่อง การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัด ขอนแก่น<br />

เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ดั้งนี้<br />

1. ด้านองค์กร ควรมีการเข้าร่วมประชุมหารือแสดงความคิดเห็นกับกลุ่ม สร้างความรักและสามัคคี<br />

และอบรมพัฒนากลุ่มให้มีความรู้ใหม่ๆ มากขึ้น เพื่อดำเนินธุรกิจไปอย่างบรรลุผล<br />

2. ด้านการผลิต ควรมีการแลกเปลี่ยนทักษะการทอระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มต่างๆ<br />

เพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ<br />

3. ด้านการตลาด ควรมีที่จอดรถสะดวก เพียงพอ สะอาด ปลอดภัย ให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ ให้<br />

คำปรึกษา และแนะนำลูกค้าที่มาใช้บริการ<br />

4. ด้านการเงิน ควรกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อทำให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินงาน และ<br />

บริหารจัดการธุรกิจผ้าไหมให้มีความหลากหลายและทันสมัยต่อลูกค้าที่ต้องการ<br />

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป<br />

1. ควรมีการศึกษารวบรวมชนิดและประเภทของผ้าไหม เพื่อเป็นการศึกษาเชิงวัฒนธรรมนำไปสู่แนว<br />

ทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญา หรือนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป<br />

2. ควรมีการส่งเสริม แปรรูปผ้าไหมหรือผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เพื่อทำให้เกิดรายได้ และมุ่งหวังให้คน<br />

ชุมชนหันมาสนใจอาชีพนี้มากยิ่งขึ้น


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

25<br />

บรรณานุกรม<br />

กนกทิพย์ พัฒนาพัวพันธ์. (2555). การจัดการการผลิตและการตลาดผ้าฝ้ายของกลุ่มทอผ้าฝ้ายและตัดเย็บ<br />

บ้านโคกสูง ตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญา<br />

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.<br />

จันทนี แสงสีดา. (2556). การศึกษาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในอำเภอเขว้า จังหวัดชัยภูมิ.<br />

ปริญญานิพนธ์ ธุรกิจการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.<br />

ทองสุข จันทร์วงศ์. (2557). ภูมิปัญญาการฟอกย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติ. อำเภอชนบท จังหวัด<br />

ขอนแก่น.<br />

ธนวรรณ แสงสุวรรณ. (2547). ภูมิปัญญาในการทอผ้าพื้นเมืองภาคเหนือ: รูปแบบการเรียนรู้และการถ่ายทอด<br />

ความรู้ของครูภูมิปัญญาไทย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. กรุงเทพฯ:<br />

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). การจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้า อำเภอหนองสูง จังหวัด<br />

มุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย<br />

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

ขอนแก่น.<br />

เมธาวี สุ่มมาตย์. (2552). การศึกษาการจัดการธุรกิจของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า<br />

กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาอิสระปริญญา<br />

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.<br />

ศริพร ปาณิกบุตร. (2557). การจัดการการผลิตและการตลาดผ้าไหมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร. อำเภอชนบท<br />

จังหวัดขอนแก่น.<br />

ศิรินภา สีหาบุตร. (2557). ความต้องการวิทยาการผลิตผ้าไหมของผู้เลี้ยงไหมรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น.<br />

วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.<br />

ศิวพร บุญชูวิทย์. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้า อำเภอหนองสูง จังหวัด<br />

มุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจ การเกษตร บัณฑิต<br />

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ ขอนแก่น.<br />

อาณัติ อรรคนิตย์. (2549). การจัดการธุรกิจชุมชนของกลุ่มทอผ้าไหมใน อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.<br />

วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.


26<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ<br />

กรณีศึกษา: ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

PERFORMANCE ANALYSIS OF THE ECONOMIC VALUE ADDED-EVA IMPLEMENTATION<br />

CASE STUDY: ONE OF THE STATE ENTERPRISE BANK IN THAILAND<br />

รัศมีเพ็ญ นาครินทร์1* , สุภธัชวุฒิ ตู้พจ 2 3<br />

, อัญชลี ชัยศรี<br />

หทัยกาญจน์ ทองศรีสุข 4 และ ศันสนีย์ แอมประชา 5<br />

Rassamepen Nakarin 1 , Suphathudshawut Toopoj 2 , Anchari Chaisri 3 ,<br />

Hathaikran Thongsrisoog 4 and Sunsanee Ampracha 5<br />

1,2,3,4,5 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

1,2,3,4,5 Faculty of Business Administration, Chaiyaphum Rajbhat University<br />

บทคัดย่อ<br />

การศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value<br />

Added-EVA) กรณีศึกษา : ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตาม<br />

แนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added-EVA) ของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ข้อมูลที่ใช้<br />

ในการศึกษาหาค่า EVA นำมาจากรายงานการเงินที่เผยแพร่สำนักคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและสถาบัน<br />

การเงิน ประจำปี 2555–2559 โดยวิธีการศึกษาได้ใช้เครื่องมือทางการเงินในการวิเคราะห์งบการเงินใน 2 มิติ<br />

คือ วัดผลการดำเนินงานตามกำไรทางบัญชี และวิเคราะห์ตามแนวคิด EVA เพื่อวัดผลการดำเนินงานตามกำไร<br />

ทางเศรษฐศาสตร์จากการศึกษาการวิเคราะห์ทางการเงินของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ตามแนวคิดทาง<br />

บัญชี พบว่า การวิเคราะห์ทางการเงินเฉลี่ย 5 ปี ผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี คือ มีอัตราส่วนการทำกำไร<br />

เฉลี่ยร้อยละ 26.22 อัตราผลตอบแทนในสินทรัพย์เฉลี่ยร้อยละ 1.32 และอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น<br />

เฉลี่ยร้อยละ 19.22 และจากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิด EVA พบว่า ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่ง<br />

หนึ่ง. ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 มีผลกำไรที่แท้จริง ทั้งบวกและลบ ดังนี้ - 17,797.00 - 18,751.77 -<br />

19,017.36 -20,506.23 - 20,199.54 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากเป็นสถาบันการเงินให้บริการทางการเงิน<br />

ที่เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศไทยที่ใช้เงินลงทุนดำเนินงานของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

ค่อนข้างสูง เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่สามารถกำหนดราคาขายเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดได้ อีกทั้ง ธนาคารรัฐวิสาหกิจ<br />

แห่งหนึ่ง ยังมีเงินงบประมาณที่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐบาล การบริหารสินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้หรือ<br />

ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจึงมีไม่มากนัก<br />

คำสำคัญ: มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง วิเคราะห์ทางการเงิน<br />

Abstract<br />

The study purposes of performance analysis of the Economic Value added-EVA<br />

implementation case study: one of the state enterprise bank in Thailand was to find its EVA<br />

that was utilized as the financial annual report year 2012-2016 published by the state<br />

* Corresponding Author<br />

Email: rassamepen@cpru.ac.th


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

27<br />

enterprise committee and bank institution. The study methodology was used the 2<br />

dimensions of the financial analysis tools that are the operational profit & loss performance<br />

measurement and the analysis result of the EVA measurement, to economic measure of its<br />

operational profit & loss by studied the financial performance analysis of one of the state<br />

enterprise according to the accounting concept. The financial performance analysis averaged<br />

5 years was shown that the finance performance as good level that its profitability average<br />

ratio of 26.22 percent, return on assets average ratio of 1.32 percent, and return on equity<br />

average ratio of 19.22 percent. Furthermore, the analysis performance by using the EVA of<br />

the state enterprise bank found out that the actual profit & loss, stated as positive or<br />

negative, as the following; -17,797.00, -18,751.77, -19,017.36, -20,506.23, and -20,199.54<br />

million THB respectively. Since the finance institution had to provide financial services<br />

following the Thai’s government policies by using its own funds, very high ratio, to support<br />

basic public utilities’ financial facilities requirements and they could not define its own<br />

offering services’ price in order to get maximum return. The publish supported, subsidized,<br />

and assigned government funds projects were effected direct to the bank’s return on assets<br />

or weaken its efficiency to generate profit.<br />

Keywords: Economic value added, state enterprise bank of Thailand, financial analysis<br />

บทนำ<br />

การพัฒนาของประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็น เครื่องมือหนึ่งในการสนอง<br />

นโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ ทั้งในด้านการพัฒนาระบบบริการสาธารณะและบริการประชาชนและมีบทบาท<br />

สำคัญในการขับเคลื่อน ส่งเสริมการพัฒนาประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้<br />

ให้แก่ประเทศ เช่น ด้านบริการทางการเงิน เป็นสื่อกลางตลาดเงินของประชาชน พร้อมทั้งยกระดับความอยู่ดีมี<br />

สุขให้ประชาชนในประเทศ กระทรวงการคลังเป็นกระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลเงินงบประมาณของประเทศ จึงมุ่งมั่น<br />

ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร และประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มี<br />

ประสิทธิภาพในการใช้จ่าย เพื่อเพิ ่มศักยภาพของรัฐวิสาหกิจให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล สามารถก้าวไปสู่เวที<br />

การแข่งขันในตลาดโลกและมีความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต กระทรวงการคลังได้ผลักดัน<br />

ส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจนำระบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Value<br />

Management: EVM) มาใช้ในรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน การ<br />

ให้บริการ รวมถึงการบริหารทรัพยากรสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ มีผลประกอบการในภาพรวมที่ดีขึ้นอย่าง<br />

ต่อเนื่อง และมีการยกระดับการบริหารจัดการเข้าสู่มาตรฐานในระดับสากลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน<br />

จากฐานข้อมูล สคร.ได้จัดกลุ่มสถาบันการเงิน จำนวน ๑๐ แห่ง ประกอบด้วย 1) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 2)<br />

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 3) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม<br />

ขนาดย่อม 4) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย 5) ธนาคารออมสิน 6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า<br />

แห่งประเทศไทย 7) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 8) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 9)<br />

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และ 10) สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (สำนักงาน<br />

คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ [สคร.], 2559) ซึ่งจากกลุ่มสถาบันการเงินนั้นธนาคารออมสินมีสินทรัพย์


28<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

มากที่สุดและมีการประเมินแนวคิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added: EVA) ได้รับการ<br />

ยอมรับว่าเป็นมาตรวัดที่สามารถบ่งชี้ผลงานโดยรวมของบริษัทได้อย่างเหมาะสมมากกว่ามาตรวัดอื่น ๆ EVA<br />

เป็นการคำนวณโดยการใช้กำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษีลบด้วยต้นทุนเงินทุนที่ใช้ไปเพื่อสร้างกำไรนั้น ๆ<br />

หรือบางครั้งอาจเรียกต้นทุนเงินทุนว่ากำไรขั้นต้นที่ต้องทำได้ (สำนักเศรษฐกิจและการคลัง, 2556) เป็นตัว<br />

วัดผลการปฏิบัติงานด้านการเงินของผลตอบแทนและมูลค่าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ อีกทั้ง EVA ตั้งอยู่บน<br />

พื้นฐานของแนวคิดของกำไรทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) ที่เรียกกันว่า “กำไรส่วนที่<br />

เหลือ”(Residual Income) ซึ่งกล่าวว่าความมั่งคั่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อกิจการสามารถสร้างรายได้จนสามารถ<br />

ชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Costs) และต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) ได้จนหมดสิ้น ที่<br />

ผ่านมาในหลายๆ องค์กร มีการวัดผลการดำเนินงาน โดยใช้วิธีการทางบัญชี (สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ<br />

, 2549) คือการใช้อัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ในการคำนวณ เพื่อวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งจริงๆแล้ววิธีการ<br />

คำนวณอัตราส่วนทางการเงินเพียงอย่างเดียวนั้นยังมีข้อบกพร่องที่เกิดจากข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูล<br />

ในอดีต ไม่สามารถสะท้อนปัญหาของอนาคตหรือใช้วางแผนการทำงานในอนาคตอย่างชัดเจน อีกทั้งตัวเลขที่ได้<br />

ยังสามารถตกแต่งบัญชีเพื่อให้ได้ตัวเลขตามต้องการ ทำให้ข้อมูลการวิเคราะห์งบการเงินของผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรง<br />

ตามความเป็นจริง ในทางบัญชีบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์คงค้าง ไม่ได้ใช้เกณฑ์เงินสด ทำให้กำไรที่เกิดขึ้นไม่<br />

สามารถวัดมูลค่าในอนาคตได้ หากมีข้อแตกต่างระหว่างกำไรจากเกณฑ์คงค้าง กับกำไรจากเกณฑ์เงินสดมาก<br />

ดังนั้นสิ่งที่จะสะท้อนภาพผลการดำเนินงานของกิจการได้ ควรจะเป็นกระแสเงินสดที่แท้จริงของกิจการจาก<br />

ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้ศึกษาสนใจการวัดผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศ<br />

ไทย โดยใช้แนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ Economic Value Added: EVA รัฐวิสาหกิจที่สำคัญหนึ่งในนั้นก็<br />

คือ ธนาคารรัฐวิสากิจแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลประชารัฐวิสาหกิจดีเด่นเชิดชูเกียรติ และเป็น<br />

สถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจ ที่มีฐานสินทรัพย์ที่สูงกว่ากลุ่มธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจกลุ่มเดียวกัน และที่มีความ<br />

บทบาทสำคัญต่อประเทศไทยมากในการที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ<br />

วัตถุประสงค์การวิจัย<br />

1. เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดทางบัญชี (Financial analysis of Accounting) ของ<br />

ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

2. เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added-<br />

EVA) ของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง<br />

แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 2 แนวคิด ได้แก่แนวคิดการวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้<br />

เครื่องมือทางการเงิน (วรศักดิ์ ทุมมานนท์และคณะ, 2552; ฐาปนา ฉิ่นไพศาล, 2554) และการวิเคราะห์ตาม<br />

แนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) (พูนศักดิ์ แสงสันต์, วันเพ็ญ อนิวรรตนพงศ์, วิไลวรรณ ทองประยูร<br />

(ม.ป.ป.)) เพื่อวัดผลการดำเนินงานตามกำไรทางเศรษฐศาสตร์ โดยแนวคิดการวิเคราะห์งบการเงินมีเครื่องมือ<br />

ในการวิเคราะห์ ดังนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีร้อยละ (Common Size Analysis) วิธีแนวโน้ม<br />

(Trend Analysis) และการวิเคราะห์ทางการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน และการวิเคราะห์ตามแนวคิด<br />

มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) เพื่อวัดผลการดำเนินงานตามกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ได้ใช้วิธีการคำนวณค่า EVA<br />

ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ [สคร.], 2559, Young & O’Byrne, 2000: 43-46 อ้างถึง<br />

ใน ประสิทธิ์ โถวสกุล, 13) รวมถึงเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารตัดสินใจบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ และ


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

29<br />

สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น (Maximize Shareholders’ Wealth) ทั้งบริษัทเอกชน และหน่วยงาน<br />

ของรัฐฯ ที่นิยมนำมาใช้ในการประเมินเพื่อสร้างระบบผลตอบแทนเพื่อจูงใจในองค์กร ซึ่งคำนวณได้จากสูตร<br />

ดังต่อไปนี้<br />

EVA = NOPAT – (Invested capital) x WACC<br />

Capital Charge<br />

โดยที่<br />

NOPAT = ผลกำไรจากการดำเนินงานสุทธิหลังหักภาษี<br />

(Net Operating Profit After Tax)<br />

Invested Capital = เงินทุนดำเนินงานประกอบด้วยทรัพย์สินคงที่และเงินทุนหมุนเวียน<br />

WACC = ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก<br />

(Weighted Average Cost of Capital)<br />

Capital charge = ต้นทุนของเงินทุน<br />

คำจำกัดความของตัวประกอบสูตร<br />

NOPAT = กำไรจากการดำเนินงานกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี<br />

(Net Operating Profit After Tax) หน่วยเป็น “บาท”<br />

Invested Capital = เงินลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ขององค์กรในการทำธุรกิจ<br />

Invested Capital = เงินลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน (Investment in Working<br />

Capital) + เงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Investment in<br />

Non-Current Assets) หน่วยเป็น “บาท”<br />

WACC = ค่าเฉลี่ยต้นทุนการลงทุนของกิจการ (Weighted Average Cost<br />

of Capital) หน่วยเป็นเปอร์เซ็น (%)<br />

ต้นทุนของเงินลงทุน (Capital Charge) = เงินลงทุน (Capital) x อัตราของผลตอบแทนที่ต้องการ<br />

หน่วยเป็น “บาท”<br />

บทความนี้ ผู้วิจัยได้ทบวนวรรณกรรมในการวิจัยก่อนหน้าเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานโดย<br />

ใช้แนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) ซึ่งผลการวิจัยของผู้วิจัยที่ได้ทำการศึกษามาแล้ว ทำให้ทราบว่า EVA มี<br />

ความสัมพันธ์กับโครงสร้างลงทุนหรือโครงสร้างทางการเงินและมีผลกระทบต่อมูลค่าผู้ถือหุ้น รวมทั้งทำให้เห็น<br />

ผลกำไรที่แท้งจริง เช่นผลงานวิจัยของพัชนี จุลรังสี, ลักคณา วงศิลป์ชัย (2557) พบว่าการวิเคราะห์งบการเงิน<br />

ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแนวคิดทางบัญชีและการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตาม<br />

แนวคิด EVA มีผลทั้งทางบวกและลบ ข้อมูลบางส่วนสอดคล้องกับมณฑา เอมสวัสดิ์ (2557) พบว่า ระดับการ<br />

เปิดเผยข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทางการเงินมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยธุรกิจและมูลค่าธุรกิจ<br />

ได้แก่ นโยบายการบัญชีและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแปรแทรกซ้อน ประเภทตัวแปรแทรกซ้อนบางส่วนซึ่ง<br />

สอดคล้องกับ พิมลพรรณ เรืองสถิตพร (2553) พบว่าขนาดของบริษัทมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าเพิ่มเชิง<br />

เศรษฐศาสตร์ ชำนาญ ชมดวง (2550) ได้ศึกษา วิธีการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรตามแนวคิด (EVA)<br />

กรณีศึกษา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2545 ถึง 2549 พบว่าคะแนนประเมินผลมีลักษณะการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงสอดคล้องกับค่า EVA จีรวัฒน์ หงสกุล (2550) ได้ศึกษาเรื่อง การประเมินผล<br />

กระทบที่มีต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVA) กรณีศึกษา:บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พบว่านโยบาย<br />

ภาครัฐ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด จากแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ มีผลต่อการเพิ่มขึ้นและ


30<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ลดลงของค่า EVA ดังเช่นผลงานวิจัยของ พรชนก วิถีธรรม (2554) พบว่า มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ ไม่มี<br />

ความสัมพันธ์กับค่าตอบแทนของผู้บริหาร อังคณา บุญคิด (2554) พบว่ามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ไม่มี<br />

ความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ พิมลพรรณเรืองสถิตพร (2553) พบว่าอัตราผลตอบแทนส่วนของ<br />

ผู้ถือหุ้นก็ไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ กอบพร กุลสุรกิจ (2551) ได้ทดสอบข้อมูลพบว่า<br />

ส่วนประกอบต่างๆ ของตัววัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์สามารถใช้ในการอธิบายผลตอบแทนต่าง ๆ ได้เพียง<br />

เล็กน้อย<br />

วิธีดำเนินการวิจัย<br />

แหล่งที่มาของข้อมูล<br />

ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลรายงานการเงินของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจ<br />

แห่งหนึ่งในประเทศไทย ระหว่างปีพ.ศ.2555–2559 จากเว็บไซต์ของ สคร. ส่วนข้อมูลที่เกี่ยวกับลักษณะ<br />

แนวคิดและวิธีประเมินผลการดำเนินงาน ตามแนวคิด EVA เป็น จากการรวบรวมเอกสารตีพิมพ์เผยแพร่<br />

งานวิจัย ค้นคว้าจากห้องสมุดสถาบันการศึกษาต่างๆ และการรวบรวบข้อมูลจากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต<br />

เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการประยุกต์ใช้มาอธิบายและวิเคราะห์<br />

วิธีการวิเคราะห์<br />

วิธีการวิเคราะห์ ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เป็นการศึกษาถึงความหมาย<br />

ลักษณะ วิธีการคำนวณหามูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) และวิเคราะห์ทางการเงินโดยวิธีร้อยละ(Common<br />

Size Analysis) วิธีแนวโน้ม (Trend Analysis) และวิธีคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน นำเสนอข้อมูลในรูป<br />

ความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ<br />

สรุปผลการวิจัย<br />

จากงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทยระหว่าง<br />

ปี 2555-2559 ผู้ศึกษาสามารถแสดงมูลค่าทางการเงิน สัดส่วนทางการเงินและแนวโน้มทางการเงิน ดังตารางที่<br />

1<br />

จากการคำนวณสัดส่วนทางการเงินและแนวโน้มทางการเงินของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งใน<br />

ประเทศไทย ระหว่างปี 2555-2559 พบว่าโดยรวมแนวโน้มทางการเงินเพิ่มขึ้นแต่มีบาง<strong>ปีที่</strong>กำไรสุทธิลดลงและ<br />

สภาพรวมของความสามารถในการบริหารสินทรัพย์รวมต่อหนี้สินรวมยังมีความสามารถบริหารจัดการ<br />

หมุนเวียนมีสภาพคล่องดี และมีสัดส่วนในส่วนของเจ้าของมากกว่าสัดส่วนของหนี้สินแสดงถึงความมั่นคงของ<br />

กิจการ จากงบกำไรขาดทุนและงบแสดงฐานะการเงินของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย ระหว่าง<br />

ปี 2555-2559 ผู้ศึกษาสามารถแสดงผลการคำนวณอัตราส่วนทางการเงินได้ตามตารางที่ 2


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

31<br />

ตารางที่ 1 แสดงสัดส่วนทางการเงิน แนวโน้มฐานะทางการเงินและแนวโน้มผลการดำเนินงานของธนาคาร<br />

รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ปี 2555-2559<br />

รายการ<br />

ปี (หน่วย:ล้านบาท)<br />

2555 2556 2557 2558 2559 เฉลี่ย 5 ปี<br />

สินทรัพย์รวม<br />

1,963.14 2,174.96 2,259.20 2,404.66 2,510.03 8,801.96<br />

แนวโน้มเพิ่มขึ้น(ลดลง) (%)<br />

1.11 1.04 1.06 1.04 3.21<br />

หนี้สินรวม 1,828.83 2,040.33 2,111.92 2,252.66 2,248.71 8,233.75<br />

แนวโน้มเพิ่มขึ้น(ลดลง) (%) 1.12 1.04 1.07 1.00 3.22<br />

ส่วนของเจ้าของ 134.31 134.62 147.28 152.00 2,510.03 568.22<br />

แนวโน้มเพิ่มขึ้น(ลดลง) (%) 1.00 1.09 1.03 16.51 3.13<br />

รายได้ 54.98 57.46 63.38 66.91 72.24 242.73<br />

แนวโน้มเพิ่มขึ้น(ลดลง) (%) 1.05 1.10 1.06 1.08 3.20<br />

กำไรสุทธิ 25.82 14.14 24.04 21.33 31.77 85.32<br />

แนวโน้มเพิ่มขึ้น(ลดลง) (%) 0.55 1.70 0.89 1.49 3.14<br />

สัดส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม 93.16 93.81 93.48 93.68 89.59 374.13<br />

สัดส่วนส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์ 6.84 6.19 6.52 6.32 100.00 19.03<br />

รวม<br />

ที่มา: จากงบการเงินและการคำนวณ<br />

ตารางที่ 2 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ปี 2555-2559<br />

รายการ<br />

ปี<br />

2555 2556 2557 2558 2559 เฉลี่ย 5 ปี<br />

Current Ratios (เท่า) 0.80 0.74 0.75 0.06 0.08 2.43<br />

Total Asset turnover (ครั้ง) 0.01 0.01 0.01 1.00 0.01 1.04<br />

Fixed Asset turnover (ครั้ง) 3.59 1.69 2.93 2.71 4.09 15.01<br />

Account Receivable turnover (ครั้ง) 0.05 0.05 0.05 0.11 0.02 0.26<br />

Average Collection Period (วัน)* 659.07 658.05 666.07 283.82 1,964.24 4,231.25<br />

Debt ratio (%) 93.16 93.16 93.16 93.16 93.16 93.16<br />

Debt to Equity ratio (%) 13.62 15.16 14.34 14.79 13.69 71.60<br />

Time interest Earned or Interest<br />

Coverage Ratio (เท่า) 0.42 0.37 0.48 0.72 0.59 2.58<br />

อัตรากำไรสุทธิ (%) 26.02 26.02 26.02 26.02 26.02 26.02<br />

ROA (%) 1.32 1.32 1.32 1.32 1.32 1.32<br />

ROE (%) 19.22 19.22 19.22 19.22 19.22 19.22<br />

ที่มา: จากงบการเงินและการคำนวณ/*ระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้โดยเฉลี่ยจากจำนวนงวด<br />

เงื่อนไขสัญญาปล่อยสินเชื่อ<br />

จากผลการคำนวณตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ผู้ศึกษาสามารถวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินได้<br />

ดังนี้ ผลการดำเนินงานวัดตามอัตราสภาพคล่องทางการเงิน (Current Ratios) ของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่ง<br />

หนึ่งในประเทศไทย แสดงถึงความมีสภาพคล่องดี โดยมีความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้นได้เร็ว เพราะ<br />

มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากว่าหนี้สินหมุนเวียน ทั้งนี้ผู้ศึกษาไม่ได้คำนวณอัตราส่วนหมุนเวียนเร็ว เพราะ ธนาคาร


32<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทยเป็นกิจการที่ไม่มีสินค้าคงเหลือ ผลการดำเนินงานในการบริหารสินทรัพย์<br />

พบว่ามูลค่าสินทรัพย์รวมของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ ่งในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีผันแปรตาม<br />

แนวโน้มของหนี้สินรวม ตามตารางที่ 2 อัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์รวม<br />

(Total Asset Turnover) อยู่ในระดับที่ไม่สูง แสดงถึง ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทยมี<br />

ประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์รวมเพื่อก่อให้เกิดรายได้ยังน้อย แต่หากดูประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์<br />

ถาวร (Fixed Asset Turnover) จะมีผลดีกว่าและสุดท้ายการบริหารลูกหนี้ (Average Collection Period)<br />

หรือนโยบายการให้สินเชื่อของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย พบว่า ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

ในประเทศไทย มีนโยบายแบบผ่อน (ปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้) ทำให้ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งใน<br />

ประเทศไทย มีระยะเวลาในการได้รับรับชำระหนี้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น<br />

ผลการดำเนินงานความสามารถในการก่อหนี้ พบว่ามูลค่าหนี้สินรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกับ<br />

สินทรัพย์รวม ยอดหนี้สินรวมจะลดลงเมื่อมีการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า และมีการชำระเงินกู้ยืม โครงสร้างการ<br />

จัดหาเงินของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย มาจากส่วนของเจ้าของมากกว่าส่วนของเจ้าหนี้<br />

(Debt ratio) แสดงถึงความมั่นคงในองค์กร ทั้งนี้เป็นเพราะธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็น<br />

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีส่วนของเจ้าของซึ่งมีงบประมาณจากรัฐบาลรวมอยู่ด้วยที่บริการตลาดเงินเพื่อ<br />

ประชาชนที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนเป็นที่พึ่งพาของประชาชน ด้านประสิทธิภาพความสามารถในการทำ<br />

กำไร มีผลการดำเนินงานของอัตรากำไรสุทธิที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA)<br />

และอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ (ROE) มีความสอดคล้องที่มีสัดส่วน<br />

เท่ากันทุกปี เฉลี่ย 5 ปี คือ 19.22% ซึ่งอยู่เกณฑ์ที่ดี แสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์รวมและส่วน<br />

ของเจ้าของเพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิอย่างมีประสิทธิผล<br />

การคำนวณผลการดำเนินงานตามแนวคิด EVA<br />

จากสมการ EVA มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVA) = กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังหักภาษี<br />

(NOPAT) -เงินลงทุนในสินทรัพย์(Capital) x<br />

อัตราต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital)<br />

หรือ EVA = NOPAT – (Invested Capital) x WACC<br />

Capital Charge<br />

ขั้นตอนการคำนวณเพื่อให้ได้ EVA แบ่งออกเป็นส่วนที่ได้ 3 ส่วน คือ กำไรหลังหักภาษี (NOPAT) เงิน<br />

ลงทุน (Capital) และต้นทุนของเงินลงทุน (Capital Charge)<br />

กำไรหลังหักภาษี (NOPAT) ซึ่งคำนวณจากกาไรสุทธิตามงบการเงินปรับปรุงด้วยค่าใช้จ่ายทางด้าน<br />

ปฏิบัติการและภาษี แสดงกำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี (NOPAT) ตามแนวคิด EVA ดังตารางที่ 3 ดังนี้


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

33<br />

ตารางที่ 3 งบกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี (NOPAT) ปี2555-2559<br />

หน่วย:ล้านบาท<br />

รายการ<br />

ปี<br />

2555 2556 2557 2558 2559<br />

กำไร(ขาดทุน)ก่อนหักภาษี (กำไรสุทธิ) 20.28 18.57 23.60 22.40 26.03<br />

รายการปรับปรุงทางบัญชีเพื่อให้เป็นกำไรทางเศรษฐศาสตร์<br />

(+) ดอกเบี้ย 49.14 53.91 104.87 107.75 51.88<br />

(+/-) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น (ลดลง) 4.48 2.59 4.55 8.07 9.77<br />

(+/-) ค่าเผื่อการปรับมูลค่าจากการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น (ลดลง) 0.00 - 0.14 - 0.01<br />

(+/-) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามธุรกรรมนโยบายรัฐเพิ่มขึ้น (ลดลง) - - - - 1.88<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการโอนเปลี่ยนประเภทหลักทรัพย์ตัดบัญชี 0.03 0.01 - - -<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการจำหน่ายทรัพย์สิน - 0.02 0.00 0.00 - 0.01 - 0.01<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย - 0.20 - 0.16 - 0.17 - 0.13 - 0.22<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ - 0.16 - 1.18 - 0.37 - 0.18 - 0.18<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์-เพื่อ - 0.06 - 0.08 - 0.08 - 0.05 - 0.06<br />

การค้า<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากอัตราแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ 0.32 - 0.86 0.22 - 0.49 0.22<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากสัญญาล่วงหน้า - 0.31 0.91 - 0.20 0.40 - 0.41<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากสัญญาล่วงหน้า-เพื่อการค้า - 0.02 - 0.05 - 0.02 0.09 0.13<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการทำสัญญา IRS - 0.01 - 0.00 - 0.00 - 0.18<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการด้อยค่าเงินลงทุน - 0.00 - 0.02 - 0.05 - 0.09 -<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการด้อยค่าตราสารหนี้ - 0.16 - - - -<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการด้อยค่าทรัพย์สิน 0.11 0.13 - - -<br />

(+/-) ขาดทุน(กำไร)จากการลดราคาของทรัพย์สินรอการขาย - 0.05 - - -<br />

(-) ดอกเบี้ยรับ 97.16 104.63 107.75 104.87 100.02<br />

(+/-) รายได้จากการค้างจ่าย หัก ค้างรับ - 1.29 - 0.23 0.13 0.51 0.03<br />

รวมรายการปรับปรุง 169.30 178.19 240.38 243.14 163.24<br />

กำไร(ขาดทุน)ก่อนหักภาษี (NOPBIT) 39.59 45.24 41.25 35.53 30.75<br />

หัก ภาษีทางเศรษฐศาสตร์ 30% 11.88 13.57 12.38 10.66 9.23<br />

กำไร(ขาดทุน) หลังหักภาษี (NOPAT) 27.72 31.67 28.88 24.87 21.53<br />

ที่มา: จากงบการเงินและการคำนวณ<br />

เมื่อคำนวณกำไรหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วปรับปรุงตามแนวคิดการคำนวณกำไรทาง<br />

เศรษฐศาสตร์ (NOPAT) เปรียบเทียบกำไรสุทธิทางบัญชีจะเห็นได้ว่ากำไรสุทธิหลังภาษีตามแนวคิด EVA มี<br />

กำไรต่ำกว่าทางบัญชี<br />

เงินลงทุน (Capital) ซึ่งประกอบด้วยเงินลงทุนหมุนเวียน เงินลงทุนถาวร และส่วนของสินทรัพย์อื ่น ๆ<br />

ที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ คือเงินที่ลงทุนในธุรกิจ และสามารถคำนวณเงินทุนได้จากการนาข้อมูลในงบดุลมา<br />

ปรับปรุงทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อคำนวณเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Working Capital) สูตรคำนวณ คือ Invested<br />

Capital = สินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ + สินทรัพย์ถาวร +สินทรัพย์ดำเนินงานอื่น – หนี้สิ้นหมุนเวียนที่ไม่มีภาระ<br />

ดอกเบี้ยจากสูตรข้างต้นสามารถคำนวณหาเงินทุน ได้ดังนี้


34<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ตารางที่ 4 การคำนวณเงินทุน (Invested Capital) ปี 2555-2559<br />

หน่วย:ล้านบาท<br />

รายการ<br />

ปี<br />

2555 2556 2557 2558 2559<br />

ยกมาจากงบดุลด้านสินทรัพย์รวม 1,963.14 2,174.96 2,259.20 2,404.66 2,510.03<br />

รายการปรับปรุงทางบัญชีเพื่อให้เป็นกำไรทาง<br />

เศรษฐศาสตร์<br />

(-) 1. หนี้สินจ่ายคืนเมื่อทวงถาม - 1.66 - 1.05 - 0.73 - 0.92 - 0.81<br />

(-) 2. ภารในการส่งคืนทวงถาม - 1.01 0 - 4.04 0 0<br />

(+) 3. หนี้สินตราสารอนุพันธ์ 0.29 1.08 0.68 0.93 0.66<br />

(+) 3. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 28.49 32.11 36.23 42.68 50.74<br />

(+) 4. ค่าเผื่อการปรับปรุงมูลค่าจากการปรับ 0.02 0.02 0.01 0.01 0.01<br />

โครงสร้างหนี้<br />

(-) 5. กำไรจำหน่ายทรัพย์สิน - 0.02 0.00 0.00 - 0.01 - 0.01<br />

(-) 6. กำไรจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย - 0.20 - 0.16 - 0.17 - 0.13 - 0.24<br />

(-) 7. กำไรจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ - 0.16 - 1.18 - 0.35 - 0.47 - 0.18<br />

(-) 8. กำไรจำหน่ายเงินลงทุนในหลักทรัพย์-เพื่อค้า - 0.06 - 0.08 - 0.08 - 0.05 - 0.06<br />

(-) 9. กำไรจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ 0.32 - 0.86 0.22 - 0.49 0.22<br />

(-) 10. กำไรจากสัญญาล่วงหน้า - 0.31 0.91 - 0.20 0.40 - 0.41<br />

(-) 10. กำไรจากสัญญาล่วงหน้า-เพื่อค้า - 0.02 - 0.05 - 0.02 0.09 0.13<br />

(-) 10. กำไรจากสัญญาIRS - 0.01 - 0.00 - 0.00 0 0<br />

รวมรายการปรับปรุง 25.67 30.73 31.57 42.05 50.05<br />

Total Invested Capital 1,937.47 2,144.23 2,227.63 2,362.61 2,459.98<br />

ที่มา: จากงบการเงินและการคำนวณ<br />

ตารางที่ 5 การคำนวณอัตราต้นทุนของหนี้สิน ปี 2555-2559<br />

หน่วย:ล้านบาท<br />

รายการ<br />

ปี<br />

2555 2556 2557 2558 2559<br />

ดอกเบี้ยจ่ายรวม 39.73 40.75 47.01 49.94 51.88<br />

หนี้สินรวม 1,828.83 2,040.33 2,111.92 2,252.66 2,339.18<br />

kd (%) 2.17 2.00 2.23 2.22 2.22<br />

kd (1-T) 1.52 1.40 1.56 1.55 1.55<br />

ที่มา: จากงบการเงินและการคำนวณ


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

35<br />

ตารางที่ 6 การคำนวณต้นทุนเงินทุน<br />

หน่วย:ล้านบาท<br />

รายการ<br />

ปี<br />

2555 2556 2557 2558 2559<br />

เงินทุน: IC 1,937.47 2,144.23 2,227.63 2,362.61 2,459.98<br />

WACC=kd(D/(D+E))+Ke(D+E)) 9.2 8.76 8.55 8.69 8.22<br />

Capital charge=IC*WACC 17,824.71 18,783.44 19,046.23 20,531.10 20,221.06<br />

ที่มา; จากการคำนวณ<br />

ตารางที่ 7 ผลการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA)<br />

หน่วย:ล้านบาท<br />

รายการ<br />

ปี<br />

2555 2556 2557 2558 2559<br />

NOPAT หลังปรับปรุง 27.71521 31.66825 28.87541 24.87296 21.52663<br />

Capital charge=IC*WACC 17,824.71 18,783.44 19,046.23 20,531.10 20,221.06<br />

EVA =NOPAT-Capital charge - 17,797.00 -18,751.77 -19,017.36 -20,506.23 -20,199.54<br />

ที่มา: จากการคำนวณ<br />

สรุปผลการวิจัย<br />

ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ทางการเงินเฉลี่ย 5 ปี ผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี คือ มี<br />

อัตราส่วนการทำกำไรเฉลี่ยร้อยละ 26 อัตราผลตอบแทนในสินทรัพย์เฉลี่ยร้อยละ 1.32 และอัตราผลตอบแทน<br />

ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ยร้อยละ 19 สรุปผลการดำเนินงานตามแนวคิดทางการเงินของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่ง<br />

หนึ่งในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึง โครงสร้างรายได้ของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง แบ่งเป็นรายได้จากการ<br />

ให้บริการทางการเงินซึ่งเกิดจากค่าธรรมเนียมให้บริการ การปล่อยสินเชื่อแก่ประชาชน การส่งเสริมสินเชื่อเพื่อ<br />

การลงทุนแก่ประชาชน จัดเป็นการให้บริการตลาดเงินแก่ประชาชนที่มุ่งการออมเงินที่มีรัฐบาลร่วมถือหุ้นที่มิได้<br />

มุ่งประโยชน์เพื่อแสวงหากำไรสูงสุด<br />

ผลการคำนวณผลการดำเนินงานตามแนวคิด EVA ปี 2555-2559 มีดังนี้ -17,797 -18,751.77<br />

-1,017.36 -20,506.23 -20,199.54 ล้านบาท ตามลำดับ ผลมีค่า EVA ติดลบ ซึ่งค่าติดลบที่สูงอยู่ในปี 2558<br />

และปี 2559 เกิดจากรายการปรับปรุงทางบัญชีรายการปรับปรุงทำให้มีเงินทุนที่สูงขึ้นส่งผลให้ NOPAT ต่ำเมื่อ<br />

หักต้นทุนของเงินทุน ทำให้มีมูลค่าติดลบ เนื่องจากเงินลงทุนดำเนินงานของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

ค่อนข้างสูงงู เพราะเป็นกิจการด้านสถาบันการเงินเพื่อบริการทางการเงินและส่งเสริมการลงทุนเพื่อประชาชน<br />

ที่เป็นสาธารณูปโภคพื้น ฐานของประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่สามารถกำหนดราคาขายเพื่อให้เกิดกำไร<br />

สูงสุด และธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งนี้มีเงินงบประมาณที่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐบาล การบริหาร<br />

สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้หรือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจึงมีไม่มากนักสรุปได้ว่า การประเมินผลการ<br />

ดำเนินงานตามแนวคิด EVA สามารถสะท้อนให้เห็นมูลค่าที่แท้จริงขององค์กรได้ดีกว่าการวิเคราะห์ทางการเงิน<br />

เพียงอย่างเดียว อีกทั้งสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้ว่าเป็นเพราะอะไร โดยดูจากการบริหารสินทรัพย์<br />

โครงสร้างเงินทุนขององค์กร และการเพิ่มขึ้นลดลงของกิจกรรมในงบกระแสเงินสดได้อีกด้วย


36<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

การอภิปรายผล<br />

การศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์ประสิทธิภาพผลการดำเนินงานตามแนวคิด มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ<br />

(Economic Value Added-EVA) กรณีศึกษา: ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยผู้ศึกษา<br />

สามารถอภิปรายผลการศึกษาตามประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้<br />

1. ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วงปี 2555–2559 โดยเครื่องมือทางการเงิน<br />

สามารถอภิปราย ได้ว่าธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่สภาพคล่องทาง<br />

การเงินดี มีความสามารถในการบริหารสินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดผลตอบแทนต่อองค์กรในระดับคงที่ในเกณฑ์ดี<br />

แต่มีนโยบายการให้สินเชื่อแบบปรับโครงสร้างหนี้จากรายการรับชาระหนี้จากลูกหนี้ปล่อยสินเชื่อ มี<br />

ความสามารถในเรียกเก็บหนี้และจ่ายชำระหนี้ มีอัตราส่วนทุนมากกว่าอัตราส่วนของหนี้สินแสดงถึงมีความ<br />

มั่นคงในกิจการสามารถก่อหนี้เพิ่มได้อีก และมีความสามารถในการทากำไรให้แก่หน่วยงานระดับใกล้เคียงกัน<br />

ในช่วงระยะเวลา 5 ปีซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี<br />

2. โครงสร้างเงินทุนของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย แบ่งเป็นโครงสร้างทางการเงิน<br />

และโครงสร้างเงินทุน ซึ่งโครงสร้างทางการเงินระหว่างหนีสิ้นและส่วนของเจ้าของ มีสัดส่วนอยู่ที่ 7 ต่อ93 และ<br />

โครงสร้างเงินทุน ระหว่างหนีสิ้นระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ สัดส่วนอยู่ที่ 15 ต่อ 85 แสดงถึงความมั่นคงของ<br />

กิจการ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนหนึ่งของส่วนของเจ้าของมีเงินงบประมาณจากรัฐบาลรวมอยู่ด้วย<br />

3. ผลกำไรที่แท้จริงของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยประเมินตามแนวคิด<br />

(Economic Value Added-EVA) พบว่า มีค่า EVA ระหว่างปี 2555-2559 คำนวณค่า EVA ได้ค่าติดลบ แสดง<br />

ถึงผลขาดทุนในการดำเนินของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย แสดงถึงมีการบริหารงานและการ<br />

บริหารสินทรัพย์เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้น้อย นั่นเป็นเพราะธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็น<br />

รัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เองเพื่อให้เกิดกาไรสูงสุดและ มีเงินงบประมาณที่ได้รับการ<br />

อุดหนุนจากภาครัฐบาล การบริหารสินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้จึงมีไม่มากนัก สิ่งที่ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่ง<br />

หนึ่งในประเทศไทย ต้องตระหนักถึงคือการหาแนวทางในการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมาก<br />

ที่สุด<br />

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย<br />

1. จากผลการศึกษาข้างต้น ตามแนวคิด EVA ทำให้ทราบถึงสิ่งที่ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งใน<br />

ประเทศไทย ต้องตระหนักคือ การหาแนวทางในการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น<br />

จากการวิเคราะห์ตัวเลขทางบัญชีภาวะหนี้สูญหรือการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกหนี้และเรียกเก็บเงินไม่ได้มีค่าตัว<br />

เลขที่สูง ควรเร่งการดำเนินงานในเรียกเก็บจากลูกหนี้ให้เกิดรายได้ให้เร็วที่สุด เป็นต้น<br />

2. จากผลการคำนวณการประเมินผลการดาเนินงานตามแนวคิด EVA ของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่ง<br />

หนึ่งในประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เป็นค่าที่บ่งบอก ณ จุดใดจุดหนึ ่งของเวลา จึงมีข้อจำกัดใน<br />

การประเมินผล ซึ่งการประเมินผลการดำเนินงานของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย ควรมี<br />

เครื่องมืออื่นด้วยในการประเมินที่สามารถสะท้อนถึงศักยภาพขององค์กรอย่างแท้จริง หรือใช้การวิเคราะห์ทาง<br />

การเงินควบคู่ไปด้วย


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

37<br />

บรรณานุกรม<br />

พัชนี จุลรังสี และ ลักคณา วงศิลป์ชัย. (2557). การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิง<br />

เศรษฐกิจ (Economic Valua Added-EVA) กรณีศึกษา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)<br />

งานวิจัยบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยรามคำแหง<br />

มณฑา เอมสวัสดิ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยธุรกิจ ระดับการเปิดเผยข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทาง<br />

การเงิน และมูลค่าธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.<br />

ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560 จาก http://www.hu.ac.th/ejournal2/Document/y12<br />

วรศักดิ์ ทุมมานนท์และคณะ. (2552). มิติใหม่ของงบการเงินและการวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4).<br />

กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ เพรส.<br />

สมนึก เอื้อ จิระพงษ์พันธ์ ปานแก้วตา ลัคนาวานิช และไพศาล แซ่แต้. (2549). การใช้เทคนิคทางการบัญชี<br />

บริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาการจัดการ. 24(2), 55-68.<br />

พูนศักดิ์ แสงสันต์, วันเพ็ญ อนิวรรตนพงศ์, วิไลวรรณ ทองประยูร. (ม.ป.ป.) . ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560, จาก<br />

www.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/viewFile/63527/52153<br />

สำนักเศรษฐกิจและการคลัง, 2560. คู่มือระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน<br />

2560 จาก https://www.google.co.th/search?q<br />

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2554). การจัดการการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: ยงพลเทรดดิ้ง .<br />

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.). (2559). การกำหนดค่าตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณค่า EP<br />

ประจำปี 2559. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.sepo .go.th/evm/EP_ปี<br />

2559.pdf<br />

ชำนาญ ชมดวง. (2550). วิธีการประเมินผลการดาเนินงานขององค์กร ต า ม แ น ว คิด Economic Value<br />

Added (EVA) กรณีศึกษา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. งานวิจัยเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต,<br />

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.<br />

จีรวัฒน์ หงสกุล. (2550). การประเมินผลกระทบที่มีต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Value<br />

Added: EVA) ขององค์กรจากพัฒนาการของธุรกิจโทรคมนาคมไทยกรณีศึกษา: บริษัท ทีโอที จำกัด<br />

(มหาชน). งานวิจัยเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.<br />

พรชนก วิถีธรรม. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนผู้บริหารกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ และ<br />

ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น. งานนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.<br />

พิมลพรรณ เรืองสถิตพร. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของการเปิดเผยความเสี่ยงกับมูลค่าเพิ่มเชิง<br />

เศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added: EVA). งานวิจัยบัญชีมหาบัณฑิต<br />

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.<br />

อังคณา บุญคิด. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์กับผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่ม<br />

อาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552. การค้นคว้า<br />

แบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.<br />

ธนาคารออมสิน.(2560). การดำเนินงาน,รายงานการเงิน,งบการเงินประจำปี. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560. จาก<br />

https://www.gsb.or.th/about-us/financial-information.aspx<br />

Byrne,F.S.,& Young,S.D. (2000). EVA and Value-Based Management: A Practicul Guide to<br />

Implement. New York: McGraw-Hill.<br />

Stern, J. (2001). The EVA Challenge. New York; John Willey & Sons.


38<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์บางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี<br />

STRENGTH OF COMMUNITY BUSINESS OF BANG KHU ORGANIC VEGETABLES COMMUNITY<br />

IN THA WUNG, LOPBURI PROVINCE<br />

ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์1* , ชวลิต ศุภศักดิ์ธำรง 2<br />

Sasitorn Wachirapanyapong 1 , Chavalit Supasaktumrong 2<br />

1,2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี<br />

1,2 Faculty of Management Science, Thepsatri Rajabhat University<br />

บทคัดย่อ<br />

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์บางคู้ ตำบล<br />

บางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 73 คน จากสมาชิก<br />

กลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู้ ได้จากการคำนวณจากสูตรของ Krejcie & Morgan โดยการใช้<br />

แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.959 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />

ผลการวิจัยพบว่าความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ<br />

กลุ่ม โดยเรียงลำดับความสำคัญจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การติดตามและประเมินผล 2) ภาวะ<br />

ผู้นำกลุ่ม 3) การวางแผน และ 4) โครงสร้างกลุ่ม<br />

คำสำคัญ : ธุรกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์ ความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชน กลุ่มธุรกิจผักเกษตรอินทรีย์<br />

Abstract<br />

The objective of this research was to study strength of community business of Bang<br />

Khu organic vegetable community in Tha Wung District, Lopburi Province. The sample size of<br />

73 people who members of community business organic vegetables community in Bang Khu<br />

was calculated from the Krejcie&Morgan formula. Research methodology by questionnaire<br />

which alpha coefficient reliability of 0.959. Data analysis and statistics include mean, standard<br />

deviation. The research result found that the strength of community business of Bang Khu<br />

organic vegetables community need to focus in community management. To show sort by<br />

average from high to low the following was monitoring and evaluation, leadership, planning<br />

and group organizing<br />

Keywords: Community business, organic vegetables, strength of community business, organic<br />

vegetables community business<br />

* Corresponding Author<br />

Email: sasi3310@hotmail.com


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

39<br />

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา<br />

นโยบายของรัฐบาลที่มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปีงบประมาณ 2559 ประเด็นหนึ่ง คือ<br />

เร่งรัดดำเนินการจากนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับเกษตรกร และ<br />

ผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัย ซึ่งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนและขับเคลื่อนการ<br />

พัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ผลักดันให้มีการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ ปัจจัย<br />

การผลิต และความต้องการของตลาด พัฒนาผลผลิตการเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีสุขภาพอนามัยใน<br />

ระดับสากล<br />

จากหลักการเกษตรอินทรีย์ที่กำหนดโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Organic<br />

Agriculture Movements – IFOAM) ประกอบด้วยหลักการ 4 ข้อสำคัญ คือ 1) สุขภาพเกษตรอินทรีย์ ควร<br />

จะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก 2)<br />

นิเวศวิทยาเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติ การผลิต<br />

การเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฏจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืน<br />

มากขึ้น 3) ความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อม<br />

โดยรวมและสิ่งมีชีวิต 4) การดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่าง<br />

ระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้ง<br />

พิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย (สหกรณ์กรีนเนท, 2560) ดังนั้นธุรกิจที่จะผลิตผักเกษตรอินทรีย์ จึง<br />

ต้องใช้ความพยายามและความระมัดระวังยิ่งขึ้นในการเพาะปลูก ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตที่ได้ให้มีความปลอดภัย<br />

ปลอดจากการปนเปื้อนของสารพิษต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพผู้บริโภค<br />

องค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้ ได้จัดตั้งกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นจากการ<br />

รวมตัวกันของเกษตรกรในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และรับจ้างทั่วไป แต่ประสบปัญหาขาด<br />

แคลนน้ำในการทำนา ทำให้ขาดรายได้ ประสบปัญหาว่างงาน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของครอบครัว จึง<br />

เกิดการรวมตัวของกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้ โดยเน้น<br />

ให้ปลูกไว้เพื่อบริโภคในครอบครัว ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากสารพิษ ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว<br />

และเหลือจากการบริโภคให้นำไปจำหน่าย ในชุมชนจึงได้จัดทำโครงการแก้จนแก้จริงด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง<br />

ขึ้น โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ในครัวเรือน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ สารกำจัดแมลงชีวภาพ และ<br />

การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน มีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 54 ครัวเรือน เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ<br />

จึงได้จัดตั้งกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้น ซึ่งกลุ่มฯ ปัจจุบันมีการจัดการกลุ่มฯ ยังไม่<br />

สมบูรณ์และมีปัญหาอุปสรรค ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความเข้มแข็งของจัดการธุรกิจกลุ ่มผักเกษตร<br />

อินทรีย์ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีเพื่อศึกษาความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์<br />

บางคู้ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีโดยศึกษาเกี่ยวกับ การวางแผน โครงสร้างของกลุ่ม ผู้นำกลุ่ม<br />

และการติดตามและประเมินผล ของกลุ่มเป้าหมาย ผลของการศึกษานี้จะได้ทราบถึงแนวทางการจัดการธุรกิจ<br />

ของกลุ่มธุรกิจเกษตรอินทรีย์ให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจชุมชนอื่นที่สนใจ ให้เกิดความ<br />

เข้มแข็ง ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเกษตรอินทรีย์ ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป<br />

วัตถุประสงค์การวิจัย<br />

เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์บางคู ้ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัด<br />

ลพบุรี


40<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

วิธีดำเนินการวิจัย<br />

1. ขอบเขตของการวิจัย จำแนก ดังนี้<br />

1.1 ด้านพื้นที่ในการวิจัย ศึกษากลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ องค์การบริหารส่วน ตำบลบางคู้<br />

อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี<br />

1.2 ด้านระยะเวลา ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน พ.ศ.2559<br />

1.3 ด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ สมาชิกกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู้<br />

อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี จำนวน 87 คน (องค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้, 2559)<br />

1.4 ด้านกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวนที่แน่นอน คำนวณหา<br />

จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมจากประชากรทั้งหมด ด้วยสูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ของ Krejcie &<br />

Morgan โดยใช้ขนาดประชากร 90 คน จะได้ขนาดตัวอย่าง 73 คน<br />

2. ตัวแปรที่ศึกษา<br />

การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชน จึงใช้แนวคิดด้าน<br />

กระบวนการบริหารจัดการได้แก่ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ (Leading)<br />

และการควบคุม (Controlling) มาปรับให้เหมาะกับบริบทการบริหารจัดการกลุ่มชุมชน ได้ตัวแปรตาม 4 ตัว<br />

แปร คือ การวางแผน (Planning) โครงสร้างของกลุ่ม (Organizing) ผู้นำกลุ่ม (Leading) การติดตามและ<br />

ประเมินผล (Controlling)<br />

3. กรอบแนวคิดการวิจัย<br />

จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้วิจัยจึงกำหนด<br />

กรอบแนวคิดของการวิจัยครั้งนี้ ศึกษาความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู้ อำเภอ<br />

ท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ผู้วิจัยได้นำแนวคิดกระบวนการบริหารจัดการ ของ พยอม วงศ์สารศรี (2552) ที่<br />

ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม มาปรับใช้เป็นกรอบในการวิจัยดังภาพที่ 1<br />

ตัวแปรอิสระ<br />

ตัวแปรตาม<br />

1. เพศ<br />

2. อายุ<br />

3. การศึกษา<br />

4. รายได้เฉลี่ยต่อเดือน<br />

1. การวางแผน<br />

2. โครงสร้างของกลุ่ม<br />

3. ผู้นำกลุ่ม<br />

4. การติดตามและประเมินผล<br />

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย<br />

4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย<br />

การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กับสมาชิกกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู้<br />

อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยศึกษาใน 4 ด้าน คือ การวางแผน โครงสร้างของกลุ่ม ผู้นำกลุ่ม การติดตามและ<br />

ประเมินผล


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

41<br />

5. การเก็บรวบรวมข้อมูล<br />

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดที่ได้จาก<br />

การศึกษาแนวคิดทฤษฏีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยประยุกต์แนวคิดแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ซึ่ง<br />

ผ่านความเห็นชอบและการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับเนื้อหา (IOC)<br />

ตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.959 ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Alpha<br />

Coefficient) หลังจากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูล กับสมาชิกกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัด<br />

ลพบุรีที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2559<br />

6. การวิเคราะห์ข้อมูล<br />

การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้จากแบบสอบถาม ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ<br />

พื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)<br />

สรุปผลการวิจัย<br />

ด้านข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น<br />

เพศหญิง อายุ 31 - 60 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยไม่เกิน 10,000 บาท ต่อเดือน<br />

ด้านความเข้มแข็งของกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีในภาพรวม ดัง<br />

แสดงรายด้าน ดังนี้<br />

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้านความเข้มแข็งของกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู้<br />

อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี<br />

รายการ<br />

ค่าเฉลี่ย<br />

(Mean)<br />

S.D. การแปลค่า<br />

ด้านการวางแผน 4.69 0.321 มากที่สุด<br />

ด้านโครงสร้างของกลุ่ม 4.61 0.410 มากที่สุด<br />

ด้านผู้นำกลุ่ม 4.77 0.682 มากที่สุด<br />

ด้านการติดตามและประเมินผล 4.78 0.595 มากที่สุด<br />

ค่าเฉลี่ยรวม 4.71 0.812 มากที่สุด<br />

จากข้อมูลในตารางที่ 1 สามารถจำแนกเป็นรายด้าน นำเสนอโดยเรียงลำดับมากไปหาน้อย ดังนี้<br />

อันดับที่ 1 ด้านการติดตามและประเมินผลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับรายข้อที่มี<br />

ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระบวนการประเมินผลเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด การควบคุมวัสดุ<br />

อุปกรณ์ที่ใช้ในกลุ่มฯ และการควบคุมกระบวนการตลาด<br />

อันดับที่ 2 ด้านผู้นำกลุ่มในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3<br />

อันดับแรก ดังนี้ ความน่าเชื ่อถือไว้วางใจจากสมาชิกกลุ่มฯ ใช้วิธีนำกลุ่มสมาชิกด้วยความสนิทสนมกับกลุ่ม<br />

สมาชิกและมีการจัดประชุมกลุ่มสมาชิกเพื่อชี้แจง<br />

อันดับที่ 3 ด้านการวางแผนในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3<br />

อันดับแรก ดังนี้ แผนการลงปลูกผักเกษตรอินทรีย์ แผนการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกผักเกษตร และแผนการ<br />

เพิ่มประสบการณ์และความรู้ให้กับสมาชิกกลุ่ม


42<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

อันดับที่ 4 ด้านโครงสร้างของกลุ่มในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับรายข้อที่มีค่าเฉลี่ย<br />

สูงสุด 3 อันดับแรก ดังนี้ ด้านโครงสร้างของกลุ่มการจัดการกลุ่มสอดคล้องกับลักษณะงานที่เป็นจริง ด้าน<br />

โครงสร้างของกลุ่มความรับผิดชอบของสมาชิกกลุ่มได้แก่ประธานฝ่ายผลิตฝ่ายตลาดฝ่ายการเงินและบัญชี และ<br />

โอกาสในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกลุ่มให้เหมาะสมกับลักษณะงานของกลุ่ม<br />

จากข้อมูลพบว่า การสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ด้านการบริหารจัดการ<br />

กลุ่ม ควรให้ความสำคัญกับการบริหาร โดยเรียงลำดับความสำคัญจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) การ<br />

ติดตามและประเมินผล 2) ภาวะผู้นำกลุ่ม 3) การวางแผน และ 4) โครงสร้างกลุ่ม<br />

การอภิปรายผล<br />

จากผลการศึกษา พบว่า ความเข้มแข็งของกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางคู ้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัด<br />

ลพบุรี ที่สำคัญที่สุดคือ ด้านการติดตามและประเมินผล โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการควบคุมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้<br />

ในกลุ่มและการควบคุมกระบวนการตลาด โดยติดตามเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการบริหารด้านทรัพยากรให้เกิด<br />

ความคุ้มค่าและคุ้มทุน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ มนเฑียร โรหิตเสถียร (2549) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการ<br />

ดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ<br />

วิสาหกิจชุมชน ประการหนึ่งคือการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่และปัจจัยอื่นๆ เพื่อสามารถติดตาม<br />

วัดผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้<br />

ข้อเสนอแนะ<br />

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป<br />

1. วิจัยเปรียบเทียบระหว่างด้านการบริหารจัดการกลุ่มกับการบริหารงานด้านอื่นที่<br />

เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจชุมชน เพื่อค้นหาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน<br />

2. วิจัยเปรียบเทียบปัจจัยความสำเร็จที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของการจัดการธุรกิจชุมชน<br />

รูปแบบอื่นๆ เพื่อค้นหาประเด็นสู่ความเข้มแข็งของธุรกิจรูปแบบอื่นต่อไป เพื่อการพัฒนาธุรกิจชุมชนให้<br />

เข้มแข็งยั่งยืนต่อไป<br />

ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาธุรกิจชุมชน<br />

ผู้นำและสมาชิกของกลุ่มควรวางแผนการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มด้วยการให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติ<br />

ต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้<br />

1. ด้านการติดตามและประเมินผลกลุ่มธุรกิจชุมชน ควรกำหนดกระบวนการประเมินผลกำหนดเกณฑ์<br />

ที่ใช้ในการเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด สร้างระบบการควบคุมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกลุ่มฯ และกำหนด<br />

แผนทางการตลาด<br />

2. ด้านผู้นำกลุ่มกลุ่มธุรกิจชุมชน ควรเสริมสร้างภาวะผู้นำ มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิก และ<br />

มีระบบการประชุมเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในกลุ่มสมาชิก<br />

3. ด้านการวางแผนกลุ่มธุรกิจชุมชน ควรสร้างระบบการวางแผนการทำงานในทุกส่วน ทั้งด้านการผลิต<br />

การตลาด และการบริหารจัดการ<br />

4. ด้านโครงสร้างของกลุ่มกลุ่มธุรกิจชุมชน ควรกำหนดความชัดเจนด้านโครงสร้างของกลุ่มการบริหาร<br />

จัดการกลุ่มสอดคล้องกับลักษณะงานที่เป็นจริง และมีความยืดหยุ่น


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

บรรณานุกรม<br />

กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ. (2553). รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง: กรณีศึกษา กลุ่ม<br />

ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านดอกแดง อ.ดอยสะเก็ต จ.เชียงใหม่. รายงานการวิจัย คณะบริหารธุรกิจ<br />

มหาวิทยาลัยแม่โจ้.<br />

พยอม วงศ์สารศรี (2551). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏ<br />

สวนดุสิต.<br />

มนเฑียร โรหิตเสถียร (2549). การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าในจังหวัดเชียงใหม่.<br />

การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.<br />

สหกรณ์กรีนเนท. (2560). ตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย. สืบค้นจาก http://www.greennet.or.th<br />

/article/1009 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2560.<br />

องค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้. (2559). กลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเพื่อนพึ่ง (ภาฯ). สืบค้นจาก<br />

http://www.bangkhu.go.th/otop_detail.php?id=83 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560.<br />

43


44<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์<br />

MARKETING MIX AFFECTING THE DECISION TO BUY THE SPECIAL GOVERNMENT<br />

SAVINGS LOTTERY OF THE GOVERNMENT SAVINGS BANK, SRI NAKHON MARKET,<br />

NAKHON SAWAN PROVINCE<br />

วรษ ศรีนาค 1* จิราวรรณ สมหวัง 2 และ สุกัญญา พยุงสิน 3<br />

Waros Srinark 1* , Chirawan Somwany 2 and Sukunya Payungsin 3<br />

1,2,3 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี<br />

1,2,3 Faculty of Management Science, Thepsatri Rajabhat University<br />

บทคัดย่อ<br />

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดที ่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออม<br />

สินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยจำแนก<br />

ตาม เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ<br />

สลากออมสินพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าธนาคารออมสิน จำนวน 321 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย มีค่า<br />

ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.932 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ<br />

ทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย<br />

เป็นรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์<br />

ผลการวิจัยพบว่า<br />

ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื ้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขา<br />

ตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้าน<br />

ราคา ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านสิ่งแวดล้อมทาง<br />

กายภาพ และด้านบุคลากร จำแนกตามอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนก<br />

ตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และจำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส<br />

อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ ไม่แตกต่างกัน<br />

คำสำคัญ: ส่วนประสมการตลาด การตัดสินใจซื้อ สลากออมสินพิเศษ<br />

Abstract<br />

The purposes of this research were 1) To study Marketing Mix affecting the decision to<br />

buy the Special Government Savings Lottery of the Government Savings Bank, Sri Nakhon<br />

Market, Nakhon Sawan province and 2) To compare the Marketing Mix’s factors affecting the<br />

decision to buy the Special Government Savings Lottery of the Government Savings Bank, Sri<br />

Nakhon Market, Nakhon Sawan province that were classified by gender, marital status, age,<br />

education level, career, monthly income, and the influencers who influenced the buyer to<br />

* Corresponding Author<br />

Email: rossalinja@gmail.com


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

45<br />

make decision to buy the lottery. The research samples were 321 persons of the bank clients<br />

age over 20 years old using the simple sampling method and 5 rating-scale questionnaire<br />

with the reliability of 0.932. The statistics tools were used in the data analysis were the<br />

frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and Fisher Least<br />

Significant Difference (LSD) test.<br />

The research results were found as the following;<br />

1) The mean measurement of the marketing mix affecting the decision to buy the<br />

special government savings lottery of the government savings bank, Sri Nakhon market,<br />

Nakhon Sawan province was shown as high level and the in descending order from most to<br />

least factors as the following; product, price, process, promotion, place, physical evidence,<br />

and people.<br />

2) The comparison of the mix factors effecting the decision to buy the special<br />

government savings Lottery of the government savings bank, Sri Nakhon market, Nakhon<br />

Sawan province which was classified by career, the statistical significance difference was at<br />

the 0.05 level. Once classified by education level, the statistical significance difference was at<br />

the 0.01 level. However, when classified by gender, marital status, age, monthly income, and<br />

the influencer of making decision to buy the lottery, the result was no statistical significantly<br />

difference.<br />

Keywords: Marketing mix, decision to buy, government savings lottery<br />

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา<br />

ธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงิน ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในฐานะที่เป็นธนาคาร<br />

ของรัฐ ที่มีจุดมุ่งหมายเริ่มแรกของการก่อตั้งเพื่อเป็นสถาบันการเงินที่เก็บและรักษาทรัพย์ของประชาชนให้<br />

ปลอดภัย ไม่ได้มุ ่งเน้นในด้านการค้าหรือแสวงหาผลประโยชน์เหมือนธนาคารพาณิชย์อื่น และทำหน้าที่ระดม<br />

เงิน (funding) ให้กับรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นกลไกในการสร้างเสถียรภาพทางการเงิน รวมถึงเป็นแหล่งเงินทุนแก่<br />

ภาคธุรกิจเอกชนอีกด้วยธนาคารออมสินจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489<br />

วัตถุประสงค์หลักของธนาคาร คือ การส่งเสริมการออมให้กับประชาชน รวมถึงการรับฝากเงิน การถอนเงิน<br />

การออกพันบัตรและสลากออมสิน การบริหารงานของธนาคารออมสินอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลว่าการ<br />

กระทรวงการคลัง<br />

ธุรกิจการฝากเงินถือว่าเป็นการบริการที่สำคัญของธนาคารมีบริการรับฝากเงินเพื่อให้ประชาชนเลือกใช้<br />

บริการได้ตามความเหมาะสมคือด้านการรับฝากเงินทั่วไปและเงินฝากสลากออมสินพิเศษปัจจุบันมีเงินฝาก<br />

สลากออมสินพิเศษ 3 ปีเพียงรูปแบบเดียวที่ระบุชื่อเจ้าของและสามารถถอนคืนได้เต็มมูลค่าที่ฝาก จึงทำให้<br />

ประชาชนรู้จักสลากออมสินในลักษณะ "สลากออมสินไม่กินทุน" โดยจำหน่ายหน่วยละ 50 บาทส่วนที่เป็น<br />

ประโยชน์กับลูกค้าคือเมื่อตัดสินใจซื้อ มีสิทธิ์ถูกรางวัล ทุกเดือนเป็นเวลานานถึง 36 เดือน รางวัลที่ 1 มูลค่า<br />

รางวัลละ 10 ล้านบาท และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ฝากครบอายุรับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย หน่วยละ 53.00<br />

บาทเงินรางวัลและดอกเบี้ยของบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษีและในกรณีมีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วน ไม่ต้อง<br />

ยกเลิกหรือขายคืนสลากออมสินพิเศษ เนื่องจากทางธนาคารให้สิทธิ์กู้เงินในวงเงินไม่เกินร้อยละ 95 ของมูลค่า


46<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

เงินที่ซื้อใช้เวลาชำระหนี้ 1 ปี กรณีที่ชำระหนี้ไม่ครบวงเงินกู้ สามารถต่อสัญญาได้ทุก 1ปี จนกว่าจะครบสัญญา<br />

การซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

จากสถานการณ์ดังกล่าวที่ได้นำเรียนมาเบื้องต้นผู ้วิจัยจึงสนใจทำการวิจัยเรื ่องการตัดสินใจซื้อสลาก<br />

ออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสินสาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ โดยมุ่งเน้นการให้ข้อมูลที่เป็น<br />

ประโยชน์แก่ลูกค้าและผู ้ที่มีบทบาทและอำนาจมากที่สุดในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษซึ่งจะส่งผลทำให้<br />

ฐานะทางการเงินของธนาคารมีความมั่นคง รวมถึงทำให้รัฐบาลมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง สามารถให้การ<br />

สนับสนุนในการให้สินเชื่อหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการด้านสาธารณูปโภคและโครงการพื้นฐานทาง<br />

เศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น<br />

วัตถุประสงค์การวิจัย<br />

1. เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์<br />

2. เพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้า<br />

ธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา<br />

อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

นิยามศัพท์<br />

ในการวิจัยครั้งนี้ นิยามศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลาก<br />

ออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์<br />

1. สลากออมสินพิเศษ หมายถึง รูปแบบของการออมเงิน โดยผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่<br />

กำหนดพร้อมมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลทุกเดือนเป็นเวลานานถึง 36 เดือนเมื่อครบกำหนดได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย<br />

แบบคุ้มแล้วคุ้มอีกเป็นเงินหน่วยละ 53.00 บาท ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษและเอกลักษณ์เฉพาะของสลากออมสิน<br />

พิเศษ (ราคาหน่วยละ 50 บาทอายุการฝาก 3 ปี)<br />

2. ส่วนประสมทางการตลาด หมายถึง การให้บริการสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน<br />

สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ประเมินค่าทางเลือกในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ ประกอบด้วย<br />

7 ด้าน ได้แก่<br />

2.1 ด้านผลิตภัณฑ์ หมายถึง สลากออมสินของธนาคารมีความมั่นคงและน่าเชื่อถือ สลากออม<br />

สินพิเศษมีมูลค่ารางวัลที่สูง มากถึง 10 ล้านบาท ผู้ซื้อสลากออมสินพิเศษมีโอกาสถูกรางวัลและยังสามารถทวี<br />

เป็นเงินออมของผู้ฝากได้ และผู้ซื้อสลากออมสินพิเศษสามารถไถ่ถอนคืนก่อนกำหนดได้<br />

2.2 ด้านราคา หมายถึง ราคาสลากออมสินต่ำกว่าธนาคารอื่น มีการกำหนดราคาและสลาก<br />

ออมสินพิเศษที่เหมาะสม สลากออมสินพิเศษมีผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารอื่น จำนวนดอกเบี้ยที่<br />

ได้รับในกรณีที่ไถ่ถอนก่อนกำหนดมีอัตราสูง และอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากประจำ<br />

2.3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย หมายถึง ช่องทางการซื้อสลากออมสินผ่านระบบออนไลน์ มี<br />

การจัดงานออกรางวัลสลากออมสินสัญจรตามสถานที่ต่างๆ เมื่อถูกรางวัลสามารถโอนเงินรางวัลเข้าบัญชีเงิน<br />

ฝากได้ และสามารถรับรางวัลได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขา<br />

2.4 ด้านส่งเสริมการตลาด หมายถึง การติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าและบริการ<br />

ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา เป็นต้น มีการแจก


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

47<br />

เอกสาร แผ่นพับตามสถานที่ต่างๆ มีการส่งเสริมแนะนำสลากออมสินด้วยวิธีการต่างๆ เช่น บูธแนะนำตาม<br />

สถานที่ชุมชน เป็นต้น<br />

2.5 ด้านบุคลากร หมายถึง พนักงานที่มีหน้าที่ให้บริการของธนาคารออมสินมีการให้บริการที่<br />

ตรงกับความต้องการของลูกค้า มีบุคลิกภาพดี สุภาพ อ่อนน้อม มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้บริการด้วย<br />

ความถูกต้องเชื่อถือได้ มีความพร้อมที่จะให้บริการและเต็มใจที่จะให้บริการอยู่ตลอดเวลา<br />

2.6 ด้านกระบวนการให้บริการ หมายถึง จำนวนพนักงานมีเพียงพอในการให้บริการ มี<br />

ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ มีขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ การให้บริการมีระบบ<br />

บัตรคิวที่ชัดเจน มีการเปิดทำการทุกวัน วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ และมีตัวอย่างการกรอกเอสารของ<br />

ลูกค้า<br />

2.7 ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หมายถึง ธนาคารออมสิน มีความสะอาดเป็นระเบียบ<br />

เรียบร้อย การตกแต่งสาขามีความสวยงาม ความชัดเจนของป้าย เช่น ป้ายบอกประกาศอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น<br />

มีที่นั่งรอรับบริการที่เพียงพอ อุปกรณ์เครื่องใช้เพียงพอต่อผู้ใช้บริการ เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียน และเครื่องคิด<br />

เลข เป็นต้น และมีบริการน้ำดื่มให้กับลูกค้า<br />

กรอบแนวคิดการวิจัย<br />

ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขา<br />

ตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ยึดกรอบแนวคิดและทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดในมุมของธุรกิจ<br />

ของชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2552) ดังภาพที ่ 1<br />

ตัวแปรอิสระ<br />

ตัวแปรตาม<br />

(Independent variables)<br />

(Dependent variables)<br />

ปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการ<br />

ตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้า<br />

ธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร<br />

จังหวัดนครสวรรค์<br />

1. เพศ<br />

2. สถานภาพสมรส<br />

3. อายุ<br />

4. ระดับการศึกษา<br />

5. อาชีพ<br />

6. รายได้เฉลี่ยต่อเดือน<br />

7. ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ<br />

ซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย<br />

1. ด้านผลิตภัณฑ์<br />

2. ด้านราคา<br />

3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย<br />

4. ด้านการส่งเสริมการตลาด<br />

5. ด้านบุคลากร<br />

6. ด้านกระบวนการให้บริการ<br />

7. ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ<br />

วิธีดำเนินการวิจัย<br />

1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ลูกค้าธนาคารออมสิน ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปในช่วงปี<br />

พ.ศ. 2558 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,556 ราย ในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ (ธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร,


48<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

2558) กลุ่มตัวอย่างการศึกษาครั้งนี้ คือ ลูกค้าธนาคารออมสินที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในช่วงปี พ.ศ. 2558<br />

เนื่องจากประชากรมีจำนวนแน่นอน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการ<br />

สุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2555) ได้ขนาดตัวอย่าง 321 คน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย<br />

(Simple Random Sampling) โดยการจับรายชื่อลูกค้าธนาคารออมสินจนครบตามจำนวนตัวอย่าง<br />

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล<br />

ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ จำแนกตาม เพศ<br />

อายุระดับการการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และผู ้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออม<br />

สินพิเศษ<br />

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของ<br />

ลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ครอบคลุมปัจจัยรวม 7 ด้านคือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2)<br />

ด้านราคา 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด 5) ด้านบุคลากร 6) ด้านกระบวนการ<br />

ให้บริการ และ 7) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การหาคุณภาพของเครื่องมือ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ผ่านการ<br />

พิจารณา ตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญความเที่ยงตรง (Validity)<br />

นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จเสนอประธานและกรรมการที่ปรึกษางานวิจัย เพื่อขอความเห็นชอบและเสนอผลการ<br />

พิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน พิจารณาทั้งในด้านเนื้อหาสาระและโครงสร้างของคำถาม ตลอดจนภาษาที่<br />

ใช้ โดยหาค่าดัชนีและตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และผู้วิจัยนำมาหาค่าดัชนีความ<br />

สอดคล้องระหว่างคำถามกับเนื้อหา (Item Objective Congruence Index : IOC) ค่าดัชนีที่ได้จะต้องมีความ<br />

สอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ซึ่งแบบสอบถามครั้งนี้ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ<br />

0.932 แบบสอบถามที่ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระเพื่อขอ<br />

ความเห็นชอบ แล้วจัดพิมพ์แบบสอบถามเป็นฉบับสมบูรณ์ใช้ในการเก็บข้อมูลต่อไป<br />

3. การจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลนำแบบสอบถามทั้งหมดมาตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำ<br />

ข้อมูลที่ได้มากำหนดรหัสและลงรหัสข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่<br />

(Frequency Distribution) และร้อยละ (Percentage) ของข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม<br />

ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของคะแนนที่ได้มาจาก<br />

แบบสอบถามที่วัดส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน<br />

สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์<br />

การแปลความหมายของคะแนน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ แล้วแปลค่าเฉลี่ยโดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนด<br />

ระดับ ดังนี้<br />

คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง ระดับการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ธนาคารออมสินมากที่สุด<br />

คะแนนเฉลี่ย 3.50-4.49 หมายถึง ระดับการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ธนาคารออมสินมาก<br />

คะแนนเฉลี่ย 2.50-3.49 หมายถึง ระดับการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ธนาคารออมสินปานกลาง<br />

คะแนนเฉลี่ย 1.50-2.49 หมายถึง ระดับการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ธนาคารออมสินน้อย<br />

คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.49 หมายถึง ระดับการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ธนาคารออมสินน้อยที่สุด


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

49<br />

4. ทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง<br />

เดียว (one-way ANOVA) ค่าสถิติทดสอบเอฟ (F-test) เมื่อมีนัยสำคัญทางสถิติจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้การ<br />

ทดสอบของฟิชเชอร์ (Fesher’s Least-Significant Difference: LSD)<br />

ผลการวิจัย<br />

จากการวิจัยเรื่องส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคาร<br />

ออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยดังนี้<br />

ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขา<br />

ตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 59.81 สถานภาพ<br />

สมรส จำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 54.52 อายุระหว่าง 30 - 40 ปี จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 43.00<br />

การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 40.50 อาชีพรับราชการ จำนวน 119 คน คิด<br />

เป็นร้อยละ 37.07 รายได้เฉลี ่ยต่อเดือน 15,000 - 20,000 บาท จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 40.50 ญาติพี่<br />

น้องมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 42.05<br />

ข้อมูลระดับการตัดสินใจเลือกซื้อโดยใช้ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสิน<br />

พิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์แสดงดังตารางที่ 1<br />

ตารางที่ 1 ระดับส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน<br />

สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์<br />

ส่วนประสมทางการตลาด<br />

ระดับการตัดสินใจซื้อ<br />

X S.D. การแปลความ<br />

1. ด้านผลิตภัณฑ์ 4.04 0.55 มาก<br />

2. ด้านราคา 3.98 0.47 มาก<br />

3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 3.94 0.46 มาก<br />

4. ด้านการส่งเสริมการตลาด 3.95 0.58 มาก<br />

5. ด้านบุคลากร 3.92 0.50 มาก<br />

6. ด้านกระบวนการให้บริการ 3.96 0.61 มาก<br />

7. ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 3.94 0.43 มาก<br />

ภาพรวม 3.96 0.40 มาก<br />

จากตารางที่ 1 พบว่า ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้า<br />

ธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ด้านภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.96, S.D. = 0.40)<br />

และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดถึงค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (X= 4.04,<br />

S.D. = 0.55) ด้านราคา (X = 3.98, S.D. = 0.47) ด้านกระบวนการให้บริการ (X = 3.96, S.D. = 0.61) ด้านการ<br />

ส่งเสริมการตลาด (X = 3.95, S.D. = 0.58) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (X= 3.94, S.D. = 0.46) ด้าน<br />

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (X = 3.94, S.D. = 0.43) และด้านบุคลากร (X = 3.92, S.D. = 0.50)<br />

จากตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลาก<br />

ออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า จำแนกตาม อาชีพ<br />

แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ


50<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ทางสถิติที่ระดับ 0.01 และจำแนกเพศ สถานภาพสมรส อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และผู้มีอิทธิพลต่อการ<br />

ตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ ไม่แตกต่างกัน<br />

ตารางที่ 2 ผลการทดสอบสมมติฐาน<br />

ตัวแปร ค่าสถิติ p ผลการทดสอบ<br />

1. เพศ 0.256 0.798 ไม่มีนัยสำคัญ<br />

2. สถานภาพสมรส 1.378 0.254 ไม่มีนัยสำคัญ<br />

3. อายุ 0.289 0.833 ไม่มีนัยสำคัญ<br />

4. ระดับการศึกษา 3.223 0.007** มีนัยสำคัญ<br />

5. อาชีพ 2.036 0.050* มีนัยสำคัญ<br />

6. รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 2.392 0.051 ไม่มีนัยสำคัญ<br />

7. ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ 1.602 0.159 ไม่มีนัยสำคัญ<br />

การอภิปรายผล<br />

การศึกษาเรื ่องส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคาร<br />

ออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยพบประเด็นสำคัญ ควรจะนำมาอภิปรายผลดังต่อไปนี้<br />

1. ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขา<br />

ตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากสำหรับการวิจัยครั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านใน<br />

แต่ละด้าน สามารถอภิปรายผลดังต่อไปนี้<br />

1.1 ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของรัฐนันท์ วิริยะอ่องศรี (2557)<br />

ที่ศึกษาวิจัยเรื่องเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครซึ่ง<br />

ผลการวิจัยพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก<br />

1.2 ด้านราคา พบว่า ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของ<br />

ลูกค้าธนาคารออมสิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของรัฐนันท์ วิริยะอ่องศรี (2557) ที่<br />

ศึกษาวิจัยเรื่องเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งผลการวิจัย<br />

พบว่า ด้านราคา อยู่ในระดับมาก<br />

1.3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ<br />

สลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากวรินดา แก้วพิจิตร (2556) ที่<br />

ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของธนาคารออมสิน สาขานครชัยศรี จังหวัด<br />

นครปฐมซึ่งผลการวิจัยพบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมาก<br />

1.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ส่วนประสมการตลาดที ่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลาก<br />

ออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากวรินดา แก้วพิจิตร (2556) ที่ศึกษาวิจัยเรื่อง<br />

ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของธนาคารออมสิน สาขานครชัยศรี จังหวัดนครปฐมซึ่งผลการวิจัย<br />

พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก<br />

1.5 ด้านบุคลากร พบว่า ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากวรินดา แก้วพิจิตร (2556) ที่ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยในการ


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

51<br />

ตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของธนาคารออมสิน สาขานครชัยศรี จังหวัดนครปฐมซึ่งผลการวิจัยพบว่า ด้าน<br />

บุคลากร อยู่ในระดับมาก<br />

1.6 ด้านกระบวนการให้บริการ พบว่า ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลาก<br />

ออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของรัฐนันท์ วิริยะ<br />

อ่องศรี (2557) ที่ศึกษาวิจัยเรื่องเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในเขต<br />

กรุงเทพมหานครซึ่งผลการวิจัยพบว่า ด้านกระบวนการให้บริการ อยู่ในระดับมาก<br />

1.7 ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พบว่า ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ<br />

สลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของรัฐนันท์<br />

วิริยะอ่องศรี (255) ที่ศึกษาวิจัยเรื่องเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในเขต<br />

กรุงเทพมหานครซึ่งผลการวิจัยพบว่า ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อยู่ในระดับมาก<br />

2. การเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้า<br />

ธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา<br />

อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

2.1 ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สิน จำแนกตามเพศ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่สอดคล้องกับงานวิจัย<br />

ของ พรดารา หลวงเจริญ (2554) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสลากออมสินพิเศษของ<br />

ลูกค้าธนาคารออมสิน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า เพศที่แตกต่างกันการซื้อสลากออม<br />

สอนพิเศษของลูกค้าไม่แตกต่างกัน<br />

2.2 ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สินจำแนกตามสถานภาพสมรส ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่สอดคล้อง<br />

กับงานวิจัยของ พรดารา หลวงเจริญ (2554) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสลากออม<br />

สินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพที่แตกต่างกันมี<br />

อิสระต่อปัจจัยการซื้อสลากออมสอนพิเศษของลูกค้าไม่แตกต่างกัน<br />

2.3 ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สิน จำแนกตามอายุ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และไม่สอดคล้องกับ<br />

งานวิจัยของ พรดารา หลวงเจริญ (2554) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสลากออมสิน<br />

พิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า อายุที่แตกต่างกันมีอิสระต่อ<br />

ปัจจัยการซื้อสลากออมสอนพิเศษของลูกค้าไม่แตกต่างกัน<br />

2.4 ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สิน จำแนกตามระดับการศึกษาในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสอดคล้องกับ<br />

สมมติฐานที่ตั้งไว้จากการศึกษาวิจัย แต่ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศราวดี เมฆทับ<br />

(2554) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าในเขตพื้นที่ดูแล<br />

ธนาคารออมสินสาขาพิบูลมังสาหาร ผลการวิจัยพบว่า จำแนกตามการศึกษาไม่แตกต่างกัน<br />

2.5 ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สินจำแนกตามอาชีพ ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน<br />

ที่ตั้งไว้จากการศึกษาวิจัย และไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ พรดารา หลวงเจริญ (2554) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง<br />

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่<br />

ผลการวิจัยพบว่า อาชีพที่แตกต่างกันมีอิสระต่อปัจจัยการซื้อสลากออมสอนพิเศษของลูกค้าไม่แตกต่างกัน


52<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

2.6 ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สินจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้จากการ<br />

ศึกษาวิจัย และไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ รัฐนันท์ วิริยะอ่องศรี (2557) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพล<br />

ต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีอิทธิพลต่อ<br />

การตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br />

2.7 ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สิน จำแนกตามผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับ<br />

สมมติฐานที่ตั้งไว้จากการศึกษาวิจัย แต่สอดคล้องกับงานวิจัยของ พรดารา หลวงเจริญ (2554) ที่ได้ศึกษาวิจัย<br />

เรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน ในอำเภอเมือง จังหวัด<br />

เชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่ให้คำแนะนำในการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกันไม่มีอิสระต่อปัจจัยการซื้อสลาก<br />

ออมสอนพิเศษของลูกค้าไม่แตกต่างกัน<br />

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย<br />

การวิจัยเรื่องส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออม<br />

สิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยดังนี้<br />

1. ข้อเสนอแนะทั่วไป<br />

จากผลการศึกษา ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของ<br />

ลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยมีแนวทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ในแต่<br />

ละด้าน ดังนี้<br />

1.1 ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก เนื่องจากธนาคารมี<br />

การจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับสลากออมสินแต่ละประเภทอีกทั้งยังเพิ่มทักษะความรู้และ<br />

หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ธนาคารออมสินควรจัดให้มีสลากออมสินพิเศษออกมาจำหน่ายเรื่อยๆ และ<br />

ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ซื้อทราบ<br />

1.2 ด้านราคา พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก เนื่องจากสลากออมสินมี<br />

ความเหมาะสมในเรื่องของราคา ผลตอบแทน การโอนเงินรางวัล และการซื้อที่หักในกรณีถอนสลากก่อนอายุ<br />

ครบกำหนด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ควรมีการอธิบายข้อมูลให้ลูกค้าได้มีความรู้ ความเข้าใจ หรือจัดทำแผ่นพับ<br />

ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับสลากออมสินทุกประเภท<br />

1.3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก<br />

เนื่องจาก ธนาคารออมสินมีการบริการลูกค้าในเรื่องการรับรางวัลสลากออมสินพิเศษสามารถโอนเงินรางวัลเข้า<br />

บัญชีได้ และสามารถซื้อสลากออมสินพิเศษได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ดังนั้น ธนาคารออมสินจึง<br />

ควรเพิ่มช่องทางการให้บริการอย่างทั่วถึง โดยเปิดสาขาย่อยตามห้างสรรพสินค้า และเปิดบูธขายสลากออมสิน<br />

พิเศษในวันหยุดตามแหล่งชุมชนต่างๆ<br />

1.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก เนื่องจาก<br />

ธนาคารออมสินมีการประชาสัมพันธ์สลากออมสินพิเศษทางเว็บไซด์ของธนาคารออมสินมีข้อมูลแนะนำสลาก<br />

ออมสินพิเศษผ่านทางช่องทางต่างๆ โดยผ่านโดยผ่านทางสื่อโฆษณา เช่น หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา เป็นต้น<br />

ดังนั้น ธนาคารออมสินควรพัฒนาเว็บไซด์ให้มีความสวยงาม ใช้งานได้ง่าย และมีรายละเอียดเกี ่ยวกับผลิตภัณฑ์<br />

ของธนาคารอย่าครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการค้นคว้าข้อมูลประกอบการตัดสินใจของลูกค้า


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

53<br />

1.5 ด้านบุคลากร พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก เนื่องจาก พนักงานให้<br />

ความสนใจ สามารถบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ พนักงานมีการเรียนรู้และเข้าใจถึง<br />

ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ให้ความสนใจและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ธนาคาร<br />

แจ้งเวลาให้บริการไว้อย่างชัดเจนเพื่อสะดวกในการรับบริการ ดังนั้น พนักงานทุกคนของธนาคารออมสินต้องผ่าน<br />

การอบรมเกี่ยวธุรกิจและผลิตภัณฑ์ เพื่อสามารถใช้ในการประกอบการตัดสินใจทำงานและแก้ไขปัญหาให้กับ<br />

ลูกค้าได้อย่างทันท่วงที<br />

1.6 ด้านกระบวนการให้บริการ พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก เนื่องจาก<br />

ธนาคารออมสินมีความพร้อมในการให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา แก่ลูกค้า ธนาคารออมสินมีระบบการ<br />

ให้บริการสลากออมสินพิเศษที่ชัดเจนและทันสมัย จำนวนพนักงานมีเพียงพอในการให้บริการช่วยให้บริการแก่<br />

ลูกค้าอย่างรวดเร็วทำให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ธนาคารออมสินควรจัดพนักงาน<br />

ให้บริการสำหรับเวลาพักเที่ยงและให้เพียงพอสำหรับการบริการ<br />

1.7 ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก<br />

เนื่องจาก ธนาคารออมสินมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถรองรับลูกค้าได้อย่างเพียงพอ<br />

พนักงานแต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีบุคลิกภาพที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และธนาคารมีการออกแบบตกแต่งสถานที่<br />

สะดวกสบายในการใช้บริการ ดังนั้น ธนาคารออมสิน ควรจัดให้มีบริการเชิงรุก โดยการออกให้บริการนอก<br />

สถานที่ หรือมีบริการช่องทางอื่นๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น การขอรับแบบฟอร์มการซื ้อสลาก<br />

ออมสินทางอินอินเตอร์เน็ต<br />

1.8 ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า แตกต่าง<br />

กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสม<br />

การตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เพราะ<br />

ลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและชอบลงทุนด้านอื่นมากกว่าการซื้อสลากออมสินโดยยังไม่ทราบ<br />

รายละเอียดเกี่ยวสลากออมสินพิเศษเท่าที่ควร ดังนั้น ธนาคารควรจัดให้มีการพัฒนาการส่งเสริมการตลาดให้<br />

คลอบคลุมกลุ่มลูกค้า เช่น ระยะเวลาการถูกรางวัลสลากออมสิน การออกสลากใหม่แต่ละงวด เงินรางวัลสลาก<br />

ซึ่งมีความหลากหลาย และควรเพิ่มจุดติดต่อบริการ และเครื่องอำนวยความสะดวก เช่นเก้าอี้ให้ลูกค้าที่มีความ<br />

จำเป็นต้องนั่งรอการติดต่อ<br />

1.9 ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามอาชีพ พบว่า แตกต่างกันอย่างมี<br />

นัยสำคัญที่ระดับ 0.05 อาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการ<br />

ตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เพราะอาชีพแม่บ้านส่วนใหญ่จะ<br />

ไม่ได้ประกอบอาชีพ หรือเลี้ยงหลานอยู่กับบ้าน ดังนั้น ธนาคารออมสินควรจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์สำหรับ<br />

ขั้นตอนการให้บริการกับลูกค้า แบบฟอร์มที่ใช้ในการขอรับบริการ พร้อมเบอร์ติดต่อพนักงานโดยตรง<br />

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป<br />

จากผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ มีข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้<br />

2.1 ควรมีการศึกษาการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในสาขาอื่นๆ เพราะจะทำให้ทราบว่า<br />

ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสลากออมสินพิเศษในสาขาอื่นๆ มีความคิดเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดสินใจซื้อมากน้อย<br />

เพียงใด เพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น


54<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

2.2 ควรมีการศึกษาคุณภาพการบริการด้านอื่นๆ ของธนาคารออมสิน เพราะจะทำให้ทราบว่า<br />

ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการด้านอื่นๆ ของธนาคารออมสิน มีความคิดเห็นแตกต่างกันในเรื่องคุณภาพการให้บริการมาก<br />

น้อยเพียงใด เพื่อใช้ในการปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และนำไปวางแผนกลยุทธ์การให้บริการ<br />

ของธนาคารออมสินต่อไป<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรช.<br />

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:<br />

บิซิเนสอาร์แอนด์ดี.<br />

พรดารา หลวงเจริญ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสินใน<br />

อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.<br />

รัฐนันท์ วิริยะอ่องศรี. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร.<br />

ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.<br />

ศราวดี เมฆทับ. (2554). ปัจจัยที ่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสลากออมสินพิเศษในเขตพื้นที่ดูแลธนาคาร<br />

ออมสินสาขาพิบูลมังสาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.<br />

วรินดา แก้วพิจิตร. (2556). ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของธนาคารออมสิน สาขานครชัยศรี<br />

จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปกร.


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

55<br />

แนวปฏิบัติที่ดี: แนวคิดและวิธีการจัดทำเพื่อพัฒนาผลของการบริหารหลักสูตร<br />

ของสถาบันอุดมศึกษาไทย<br />

GOOD PRACTICE: THE CONCEPT AND METHOD TO IMPROVE THE OUTCOME OF<br />

CURRICULUM ADMINISTRATION IN HIGHER EDUCATIONAL INSTITUTION IN THAILAND<br />

1*<br />

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์<br />

Subann Ieamvijarn 1*<br />

1 คณะการบัญชีและการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม<br />

1 Mahasarakham Business School, Mahasarakham University<br />

บทคัดย่อ<br />

แนวปฏิบัติที่ดีถือเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาการบริหารหลักสูตร แนวปฏิบัติที่ดีสามารถเกิดขึ้นได้<br />

จากการตกผลึกความคิดของการพัฒนาระบบและกลไก และการประเมินกระบวนการในด้านต่าง ๆ ภายใต้<br />

วงจรคุณภาพ PDCA แนวปฏิบัติที่ดีจะมีส่วนช่วยทำให้การบริหารหลักสูตรเกิดประสิทธิภาพ ตลอดจนบรรลุ<br />

เป้าหมายทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของหลักสูตร<br />

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติที่ดี การบริหารหลักสูตร<br />

Abstract<br />

Good practices are considered to be an important part in the development of<br />

curriculum administration. It can created from crystallization of ideas of systems, mechanisms<br />

and process evaluation in other aspects under PDCA cycle. This will lead to efficiency in<br />

program management and achievement of the program’s quantitative and qualitative targets.<br />

Keywords: Good practice, curriculum administration<br />

บทนำ<br />

สถาบันอุดมศึกษามีภารกิจหลักที่จะต้องปฏิบัติ 4 ประการคือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการ<br />

ทางวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การดำเนินการตามภารกิจทั้ง 4 ประการดังกล่าวมี<br />

ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ปัจจุบันมีปัจจัยภายในและภายนอกหลาย<br />

ประการที่สำคัญที่ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ<br />

อาทิเช่น 1) คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและบัณฑิตภายในประเทศที่มีแนวโน้มแตกต่างกันมากขึ้นซึ่งจะ<br />

ก่อให้เกิดผลเสียแก่สังคมโดยรวมของประเทศในระยะยาว 2) ความท้าทายของโลภาภิวัตน์ต่อการอุดมศึกษาทั้ง<br />

ในประเด็นการบริการการศึกษาข้ามพรมแดนและการเคลื่อนย้ายนักศึกษาและบัณฑิต การประกอบอาชีพของ<br />

บัณฑิตในอนาคตอันเป็นผลจากการรวมตัวของประเทศในภูมิภาคอาเซียน 3) สถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็น<br />

* Corresponding Author<br />

Email: subunn.i@mbs.msu.ac.th


56<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสังคมสามารถพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์<br />

การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาค<br />

การผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน<br />

(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558) นอกจากนี้ จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลปัจจุบัน<br />

สนับสนุนให้การพัฒนาประเทศขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมตลอดจนสภาวการณ์การแข่งขัน<br />

ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้น ดังพิจารณาได้<br />

จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดโครงการ กิจกรรมแนะแนวที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีความถี่ในการ<br />

ประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการพยายามให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจ<br />

ศึกษาต่อในสถาบันนั้น ๆ รวมทั้งการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน บางแห่งทำการปรับโครงสร้าง<br />

องค์กร การยุบรวมคณะให้เป็นวิทยาลัย เพื่อรวมศูนย์การใช้ทรัพยากรร่วมกันเป็นการสร้างความเข้มแข็ง และ<br />

ความสามารถในการแข่งขันให้กับสถาบันของตน กอปรกับการที่โครงสร้างประชากรของไทยมีการเปลี่ยนแปลง<br />

อัตราการเกิดของคนไทยลดลง ทำให้ประชากรเด็กและประชากรวัยเรียนของไทยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก<br />

สตรีมีการศึกษาสูงขึ้น แต่งงานช้าลง ส่งผลต่ออัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง โดยประชากรวัยเรียน (0-21 ปี) ร้อย<br />

ละ 62.30 ต่อประชากรรวมในปี พ.ศ. 2523 มีสัดส่วนที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 29.80 ในปี พ.ศ. 2553 และ<br />

จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2583 ส่งผลทำให้อนาคตความได้เปรียบของประเทศในเชิงประชากร<br />

จะน้อยลง (ไทยพับลิก้า, 2557) จากข้อมูลโครงสร้างประชากรของไทยข้างต้น สถาบันอุดมศึกษาไทยต้อง<br />

ตระหนักว่า ปัจจัยป้อน (Inputs) ซึ่งก็คือ นักเรียน นักศึกษาที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีแนวโน้มที่จะ<br />

ลดลงซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างประชากรของไทยที ่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การที่สถาบันอุดมศึกษาจะยังคง<br />

ความสามารถในการแข่งขันภายใต้สภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงได้นั ้น จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของบัณฑิต<br />

เป็นสำคัญ รวมทั้งการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความศรัทธา ความเชื่อถือเชื่อมั่นต่อกระบวนการผลิตบัณฑิตจาก<br />

ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทุกภาคส่วน จนกระทั่งได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของ<br />

ตลาดแรงงานอย่างแท้จริง การพัฒนาระบบและกลไกของการบริหารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความ<br />

เข้มแข็งจนสามารถผลักดันไปสู่การจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้นั้น จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า<br />

สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนา การยกระดับการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของ<br />

หลักสูตรให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ<br />

ทั้งนี้ตามประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์<br />

และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน พ.ศ. 2557 ข้อที่ 3 ได้กำหนดให้การประกันคุณภาพ<br />

การศึกษาภายในแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่<br />

ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558) ซึ่งการประกันคุณภาพ<br />

การศึกษาภายในระดับหลักสูตรนั้น หากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ผู้บริหารภาควิชา รองคณบดี คณบดี มี<br />

ความประสงค์ต้องการได้รับผลการประเมินฯ ในระดับ 5 คะแนน จะต้องมีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีในหลายๆ<br />

ตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ดังนั้นบทความวิชาการเรื่องแนวปฏิบัติที่ดี:<br />

แนวคิดและวิธีการจัดทำเพื่อพัฒนาผลของการบริหารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

นำเสนอแนวคิดวิธีการจัดทำและตัวอย่างในการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีภายใต้เกณฑ์ประกันคุณภาพภายในระดับ<br />

หลักสูตรและเพื่อพัฒนาผลของบริหารหลักสูตรภายใต้เกณฑ์ประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรให้อยู่ใน<br />

ระดับดี โดยเนื้อหาสาระของบทความนี้ประกอบด้วย 1) ความหมายและความแตกต่างระหว่างแนวปฏิบัติที่ดี<br />

กับแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ 2) แนวปฏิบัติที่ดีกับการเปรียบเทียบ-แข่งดี 3) วิธีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

57<br />

4) องค์ประกอบของการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพ<br />

การศึกษาภายใน 5) สรุปและข้อเสนอแนะ<br />

1) ความหมายและความแตกต่างระหว่างแนวปฏิบัติที่ดีกับแนวปฏิบัติเป็นเลิศ<br />

จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความหมายของแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า มีการนิยามหรือให้<br />

ความหมายแนวปฏิบัติที่ดี และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถ<br />

นำมาสรุปเป็นตารางความหมายของแนวปฏิบัติที่ดีได้ดังตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้<br />

ตารางที่ 1 นิยามของแนวปฏิบัติที่ดี<br />

ลำดับที่ นิยามหรือความหมาย<br />

1 แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีการที่ดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์<br />

หรือเป็นการตรวจสอบตามข้อเสนอแนะ หรือวิธีการต่างๆ ที่<br />

ใช้ในการรับรองผลการดำเนินงาน<br />

2 แนวปฏิบัติที่ดี ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การปฏิบัติให้ดีเท่านั้น แต่ยัง<br />

เป็นการปฏิบัติที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นการทำงานที่ดี<br />

และให้ผลลัพธ์ที่ดีและถูกเสนอให้เป็นตัวแบบในการ<br />

ดำเนินงาน<br />

3 แนวปฏิบัติที่ดี คือ ความคิดริเริ่มที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นการ<br />

ทำงานที่ดี (ตัวอย่างเช่น การประเมินกระบวนการ) และการ<br />

ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี (ตัวอย่างเช่น การประเมินผลผลิตและ<br />

ผลลัพธ์) และถูกเสนอให้เป็นตัวแบบในการดำเนินงาน<br />

4 แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติที่<br />

ทำให้สถาบันประสบความสำเร็จหรือสู่ความเป็นเลิศตาม<br />

เป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ<br />

มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏอย่างชัดเจน โดยมีการสรุป<br />

วิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และ<br />

ประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงาน<br />

ภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้<br />

นักวิชาการหรือหน่วยงาน<br />

ที่กำหนดนิยาม<br />

Gattiker U.E., 2008<br />

FAO., 2014<br />

Janpa, 2015<br />

สำนักงานคณะกรรมการการ<br />

อุดมศึกษา, 2558<br />

จากนิยามหรือความหมายของแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ที่นักวิชาการและหน่วยงานทั้ง<br />

ต่างประเทศและไทยได้ให้ความหมายไว้นั้น สามารถนำมาสรุปเป็นความหมายในทัศนะของผู้เขียนได้ดังนี้<br />

แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติและขั้นตอนปฏิบัติ หรือวิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการ<br />

ดำเนินงานที่ดำเนินงานแล้วส่งผลให้หลักสูตร คณะ หรือสถาบันประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้<br />

เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ โดยมีหลักฐานความสำเร็จของวิธีปฏิบัติดังกล่าวอย่างชัดเจน และต้องมีการสรุปเป็น<br />

วิธีปฏิบัติและขั้นตอนปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีการถอดบทเรียนและประสบการณ์ต่าง ๆจากการแนวปฏิบัติที่ดี<br />

ดังกล่าวบันทึกเป็นเอกสารหรืออยู่ในฐานข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปเว็บไซต์ของคณะ /สถาบัน เผยแพร่<br />

ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และควรมีหนังสือหรือเอกสารตอบรับการใช้


58<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ประโยชน์ส่งกลับมาที่หน่วยงาน เผยแพร่ด้วย ทั้งนี้การค้นหาหรือพัฒนาจนกระทั่งได้แนวปฏิบัติที่ดี อาจดำเนิน<br />

การศึกษาข้อมูลจากคู่เปรียบเทียบของหลักสูตร คณะ หรือสถาบันได้<br />

ตารางที่ 2 นิยามของแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)<br />

ลำดับที่ นิยามหรือความหมาย<br />

1 แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ คือ การปฏิบัติงานที่นำไปเปรียบเทียบกับ<br />

การปฏิบัติงานที่อื่นๆ และได้รับการยืนยันว่าดีกว่าการ<br />

ปฏิบัติงานที่อื่นๆ<br />

2 แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ คือ การอธิบายถึงวิธีที่ดีที่สุดของการ<br />

ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ<br />

3 แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ คือ วิธีการหรือเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ<br />

จากจำนวนหลายๆ วิธีการ ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม บรรลุ<br />

เป้าหมายหรือได้กลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการสิ่งต่างๆ<br />

นักวิชาการหรือหน่วยงานที่<br />

กำหนดนิยาม<br />

Hargreaves, D., 2004<br />

Verbrugge. B., 2016<br />

Wikipedia, 2017<br />

จากนิยามของแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ที่นักวิชาการและหน่วยงานต่างประเทศได้ให้ไว้<br />

นั้น สามารถนำมาสรุปเป็นความหมายในทัศนะของผู้เขียนได้ดังนี้ คือ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ หมายถึง วิธีปฏิบัติ<br />

และขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือวิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้นำไปเปรียบเทียบกับวิธีและ<br />

ขั้นตอนอื่นๆ โดยได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม<br />

ทั้งนี้เมื ่อวิเคราะห์นิยามหรือความหมายของแนวปฏิบัติที่ดีและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศแล้ว สามารถนำมา<br />

สรุปความแตกต่างดังตารางที่ 3 ดังนี้<br />

ตารางที่ 3 ความแตกต่างระหว่างแนวปฏิบัติที่ดีและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ<br />

ด้านที่วิเคราะห์ แนวปฏิบัติที่ดี<br />

ความแตกต่าง (Good Practice)<br />

คุณลักษณะสำคัญ -ต้องเป็นวิธีปฏิบัติและขั้นตอนปฏิบัติ<br />

-ดำเนินการแล้วส่งผลให้ประสบความสำเร็จ<br />

-มีหลักฐานความสำเร็จ<br />

-อาจดำเนินการศึกษาข้อมูลจากคู่<br />

เปรียบเทียบเพื่อให้ได้แนวทางมาพัฒนาเป็น<br />

แนวปฏิบัติที่ดี<br />

จุดเน้น -ต้องมีการสรุปเป็นวิธีปฏิบัติและขั้นตอน<br />

ปฏิบัติ มีการบันทึกเป็นเอกสารเผยแพร่<br />

ให้กับหน่วยงานภายในหรือหน่วยงาน<br />

ภายนอกในการนำไปใช้ประโยชน์และมี<br />

หนังสือตอบกลับ<br />

แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ<br />

(Best Practice)<br />

-ต้องเป็นวิธีปฏิบัติและขั้นตอนปฏิบัติ<br />

-มีการนำไปเปรียบเทียบกับวิธีและขั้นตอน<br />

ปฏิบัติอื่นๆ<br />

-ต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดว่า<br />

เมื่อมีการดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่เป็น<br />

เลิศนี้แล้วจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

59<br />

2) แนวปฏิบัติที่ดีกับการเปรียบเทียบ-แข่งดี<br />

แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) มีความสัมพ ันธ์เชื่อมโยงกับการเปรียบเทียบ -แข่งดี<br />

(Benchmarking) เนื่องจากผู้บริหารหลักสูตร/ คณะ/ สถาบัน จะดำเนินการจนได้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้นั้น<br />

จะต้องดำเนินการเปรียบเทียบ-แข่งดี หรือเปรียบเทียบวัดให้ทราบถึงหลักสูตร /คณะ /สถาบันอื่นที่ดำเนินการ<br />

ได้ดีกว่า โดยต้องเรียนรู้ถึงวิธีปฏิบัติ และขั้นตอนปฏิบัติที่ทำให้ประสบความสำเร็จ หรือมีค่าเทียบเคียง<br />

(Benchmark) ที่สูง เพื่อนำมาปรับหรือประยุกต์ใช้กับหลักสูตร /คณะ /สถาบันของตนเอง ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า<br />

ค่าเทียบเคียง ในการเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบวัดจำเป็นต้องเรียนรู้จากหลักสูตร /คณะ /สถาบันอื่นๆ ที่มีผล<br />

การบริหารและการดำเนินงานที่ดีกว่า และต้องมีการเปรียบเทียบ และวัดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เนื่องจาก<br />

หลักสูตร /คณะ /สถาบัน ที่ดำเนินการได้ดีกว่าย่อมต้องมีการปรับปรุงการดำเนินการให้ดีตลอดเวลา สำหรับ<br />

ความหมายของ Benchmarking นั้น เป็นการเปรียบเทียบ-แข่งดีขององค์กรที่ต้องการจะปรับปรุงและพัฒนา<br />

ให้ดีกว่าเดิม หรือมีสมรรถนะขององค์การที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากกว่าเดิม โดยนำเอาองค์กร<br />

ประเภทเดียวกันและต่างประเภทกันกับตนมาเปรียบเทียบ เรียนรู้และกำหนดกระบวนการวิธีปฏิบัติ ตลอดจน<br />

จุดที่จะต้องพัฒนาไปให้ถึงเพื่อความเป็นเลิศหรือเป็นที่สุด (สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์, 2549) ทั้งนี้กระบวนการ<br />

ดำเนินการเปรียบเทียบ-แข่งดี สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 4 ดังนี้<br />

ตารางที่ 4 กระบวนการดำเนินการเปรียบเทียบ – แข่งดีสำหรับการบริหารหลักสูตร / คณะ / สถาบัน<br />

ขั้นตอนที่ รายละเอียด<br />

ขั้นตอนที่ 1<br />

ในขั้นตอนการวางแผนนี้ จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่<br />

การวางแผน<br />

(1) การกำหนดหัวข้อการเปรียบเทียบ-แข่งดี โดยเลือกจากการวิเคราะห์ใน 2ด้านหลัก คือ<br />

(Planning stage) พิจารณาจากภายในหลักสูตร /คณะ /สถาบัน จากสิ่งต่างๆ ที่ต้องควรปรับปรุงและพัฒนา<br />

และพิจารณาจากภายนอกโดยให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียคาดหวัง โดยเฉพาะ<br />

จากนักศึกษาหรือผู้เรียน<br />

(2) การกำหนดหลักสูตร /คณะ /สถาบัน เพื่อเปรียบเทียบ โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกให้<br />

ชัดเจน<br />

(3) การกำหนดวิธีการเก็บข้อมูล โดยต้องเป็นการศึกษาสิ่งที่จะปรับปรุง และกำหนดรูปแบบ<br />

การเก็บข้อมูลให้เหมาะสมกับหลักสูตร /คณะ /สถาบัน เช่น การสร้างแบบสอบถาม การ<br />

ขั้นตอนที่ 2<br />

การวิเคราะห์ข้อมูล<br />

(Data analysis stage)<br />

ขั้นตอนที่ 3<br />

การบูรณาการ (Integration<br />

stage)<br />

สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เป็นต้น<br />

ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่<br />

(1) การวิเคราะห์ช่วงห่าง (gap) ระหว่างหลักสูตร /คณะ /สถาบันของเรากับหลักสูตร /คณะ<br />

/สถาบัน ที่เราใช้เปรียบเทียบ ทั้งนี้ เพื่อให้เราได้รับข้อมูลและคำตอบว่า หลักสูตร /คณะ /<br />

สถาบัน ของเขาดำเนินการอย่างไรจึงทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี หรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดย<br />

คำตอบที่เราจะได้รับก็คือ ช่วงห่าง (gap) และมีแนวปฏิบัติอะไรบ้างที่สามารถนำมา<br />

ประยุกต์ใช้กับหลักสูตร /คณะ /สถาบัน ของเรา<br />

(2) การใช้ข้อมูลที่หลักสูตร /คณะ /สถาบันของเรามีอยู่ และการนำผลการวิเคราะห์ของช่วง<br />

ห่าง (gap) มาดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ดีเท่ากับเขาหรือสูงกว่าคู่เปรียบเทียบ<br />

ดูภาพที่ 1 ประกอบ<br />

ในขั้นตอนการบูรณาการนี้ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ<br />

(1) หลักสูตร /คณะ /สถาบัน ต้องสื่อสารผลให้บุคลากรทุกระดับได้ทราบและสร้างการ<br />

ยอมรับ โดยต้องเลือกช่องทางและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม<br />

(2) กำหนดเป้าหมาย โดยการนำผลที่รวบรวมมาได้ วิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายทั้ง<br />

ปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ต้องให้ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นชอบการดำเนินการด้วย


60<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ขั้นตอนที่ รายละเอียด<br />

ขั้นตอนที่ 4<br />

การปฏิบัติหรือการดำเนินการ<br />

(Action stage)<br />

ในขั้นตอนการปฏิบัติหรือดำเนินการนี้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ<br />

(1) การจัดทำแผนดำเนินการ โดยให้ระบุวัตถุประสงค์ กิจกรรม ระยะเวลา หน้าที่<br />

งบประมาณ และการติดตามผล และต้องได้รับการยอมรับจากผู้บริหารหลักสูตร /คณะ /<br />

สถาบัน<br />

(2) การนำแผนดำเนินการไปปฏิบัติ และกำกับควบคุมดูแลให้เป็นไปตามแผน ควรรายงานผล<br />

ให้ผู้บริหารทุกระดับได้ทราบเป็นระยะๆ<br />

(3) ดำเนินการเปรียบเทียบผลกับคู่เปรียบเทียบหรือคู่เทียบเคียงที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้ทราบ<br />

ว่าบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร<br />

ปรับปรุง<br />

(improve)<br />

-วิเคราะห์ข้อมูลทั้ง<br />

ระดับหลักสูตร/คณะ/<br />

สถาบันตนเอง เพื่อให้<br />

รู้ตัวตนของเรา (รู้เรา)<br />

-วิเคราะห์ช่วงห่าง<br />

(gap) ทำให้รู้เขา<br />

-สร้างแผนดำเนินการ<br />

-สร้างระบบและกลไก<br />

-ทำตามแผน ระบบ<br />

และกลไก<br />

-ประเมินแผน<br />

-ประเมินกระบวนการ<br />

ภายใต้ระบบและกลไก<br />

-วัดผลทั้งเชิง<br />

ปริมาณและเชิง<br />

คุณภาพ<br />

-ทำการปรับปรุง<br />

อย่างต่อเนื่อง<br />

ส่งผล<br />

ให้เกิด<br />

Good<br />

Practice<br />

&<br />

Best<br />

Practice<br />

ประเมิน<br />

(assess)<br />

การวัด<br />

(measure)<br />

ภาพที่ 1 การเปรียบเทียบ-แข่งดี เพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดี หรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

61<br />

3) วิธีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี<br />

(1) ความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย<br />

โดยเฉพาะความต้องการที่แท้จริงของตลาดแรงงาน<br />

(2) การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมขององค์กร หลักสูตร /<br />

คณะ / สถาบัน<br />

(3) ทำการสื่อสารถึงนักศึกษา บุคลากรทุกคน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ<br />

ตลาดแรงงานให้เกิดความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กร<br />

(4) การวางแผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์<br />

(5) การนำแผนกลยุทธ์ไปถ่ายทอดแก่<br />

บุคลากรทุกส่วนงาน<br />

(6) การทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)<br />

(7) การดำเนินการสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ใน<br />

การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ<br />

การนำองค์กรและ<br />

การบริหารองค์กร<br />

ด้วยการยึดมั่นใน<br />

หลักคุณธรรม การ<br />

กำกับดูแลองค์กรที่<br />

ดี และความ<br />

รับผิดชอบต่อ<br />

สังคมและ<br />

ประเทศชาติ<br />

(14) ให้รางวัลและการยกย่องชมเชย<br />

(13) ให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่<br />

เหมาะสมแก่บุคลากร (แรงจูงใจ)<br />

(12) ทำการจัดการความรู ้ (KM) มุ่งสู่<br />

การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)<br />

(11) ทำการปรับปรุงผลการดำเนินงาน<br />

ภายใต้แนวคิด PDCA<br />

(8) พัฒนาบุคลากรให้เป็น smart teachers และ<br />

smart workers ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0<br />

(9) ทำการปรับปรุงงาน ระบบกลไก และ<br />

กระบวนการภายใต้ระบบกลไกในงานต่าง ๆ<br />

(10) การติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง<br />

เป็นระยะๆ<br />

ภาพที่ 2 การนำองค์การ (หลักสูตร /คณะ /สถาบัน)<br />

ความเป็นเลิศของหลักสูตร /คณะ /สถาบัน หรือการที่หลักสูตรจะมีผลการบริหารหลักสูตรที่ดีหรือ<br />

เป็นเลิศได้นั้น จะต้องเริ่มต้นจากการนำองค์กร ในที่นี้คือ หลักสูตร /คณะ /สถาบัน ด้วยวิสัยทัศน์ และค่านิยม<br />

ระบบการนำองค์การ (หลักสูตร /คณะ /สถาบัน) ที่ชัดเจน จะช่วยทำให้ผู้บริหารทุกคนมองเห็นภาพรวมของ


62<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ระบบบริหารว่าจะขับเคลื่อนหลักสูตร /คณะ /สถาบันไปสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการนั้นได้อย่างไร ประกอบด้วยระบบ<br />

กลไกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นอะไรบ้าง สิ่งที่ทุกคนในองค์กรจะต้องช่วยกันทำก็คือ พยายามบูรณาการทุก<br />

กระบวนการภายใต้ระบบกลไกการนำองค์กร (หลักสูตร /คณะ /สถาบัน) ให้มุ่งส่งเสริมความสำเร็จของการ<br />

บรรลุวิสัยทัศน์และต้องทำการประเมินความสำเร็จของระบบการนำองค์กรเพื่อหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่าง<br />

ต่อเนื่อง (ให้มีความถี่เป็นระยะๆ) ดูภาพที่ 2 ประกอบ<br />

การจะทำให้ผลการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับดี ดีมาก หรือเป็นเลิศได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร<br />

หลักสูตรจะต้องมีภาวะผู้นำ เข้าใจคน เข้าใจงาน มุ่งสร้างและพัฒนาให้คณาจารย์เป็น Smart Teachers และ<br />

บุคลากรให้เป็น Smart Workers ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทั้งนี้ การบริหารองค์กรเป็นทั้งศาสตร์และ<br />

ศิลป์ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว สอดคล้องกับแนวคิดของบดินทร์ รัศมีเทศ (2555) ที่กล่าวว่า ผู้บริหารที่เก่งมัก<br />

มุ่งเน้นเรื่องงาน ในขณะที่ผู้บริหารที่ไม่ค่อยเก่งมักจะเป็นที่รักของคนที่ไม่ค่อยมีศักยภาพในองค์กร เพราะเมื่อ<br />

ขออะไรเจ้านายก็มักจะให้ แต่องค์กรกลับไม่ค่อยเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในขณะที่องค์กรที่เน้นเรื่องงานจะมี<br />

ความเจริญก้าวหน้ามากกว่า แต่พนักงานอาจจะต้องเหนื่อย และพนักงานที่ไม่มีความสามารถก็คงจะไม่ค่อย<br />

ชอบเจ้านายลักษณะนี้เท่าใดนัก แต่สำหรับพนักงานที่มีความสามารถก็จะมีความสุขกับการทำงานที่ท้าทายเมื่อ<br />

องค์กรมีระบบการนำองค์กรที่ดี โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการพัฒนาการบริหารหลักสูตรให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ<br />

บุคลากรทุกส่วนงานจะเกิดความเข้าใจในงาน สร้างและพัฒนางานของคนเองตลอดเวลา มุ่งเน้นแนวคิดพรุ่งนี้<br />

ต้องดีกว่า (Tomorrow Should be Better) จะส่งผลให้เกิดการทำซ้ำและการแก้ไขปัญหา นำผลการแก้ไข<br />

ปัญหามาปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และในที่สุดก็จะกลายเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้<br />

สำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติที ่ดีของหลักสูตร อาจจะเกิดขึ้นจากการทบทวนการดำเนินงานภายใต้<br />

ระบบกลไกของการนำองค์กรดังภาพที่ 2 ได้ หรืออาจจะเกิดจากการทบทวนการดำเนินการภายใต้ระบบกลไก<br />

อื่น ๆ ตามพันธกิจของหลักสูตร ได้เช่นกัน ในการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีของหลักสูตรจะต้องมีการระบุข้อมูลดัง<br />

ตัวอย่างที่ปรากฏในตารางที่ 5 ดังนี้<br />

4) องค์ประกอบของการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพ<br />

การศึกษาภายใน<br />

องค์ประกอบของการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน<br />

นั้น ผู้บริหารทั้งในระดับหลักสูตร คณะและสถาบันควรพัฒนาการดำเนินงานในแต่ละระดับดังกล่าวให้เกิดแนว<br />

ปฏิบัติที่ดีเพื่อยกระดับให้การบริหารทั้งในระดับหลักสูตร คณะและสถาบันให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งการจัดทำ<br />

แนวปฏิบัติที่ดีภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในสามารถดำเนินการได้ดังตารางที่ 5<br />

ต่อไปนี้


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

63<br />

ตารางที่ 5 องค์ประกอบของการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ภายใต้เกณฑ์การประเมินประกัน<br />

คุณภาพการศึกษาภายใน<br />

ลำดับ องค์ประกอบของ<br />

ที่ แนวปฏิบัติที่ดี<br />

สาระสำคัญของแนวปฏิบัติที่ดี<br />

1 เจ้าของผลงาน / สังกัด ให้ระบุว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของแนวปฏิบัติที่ดี<br />

2 หัวข้อ /ประเด็นด้าน ให้ระบุหัวข้อหรือประเด็นที่จะนำมาจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี โดยทั่วไปจะใช้พันธ<br />

กิจ 4 ด้านในการระบุ ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และ<br />

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ<br />

3 หลักการ / ความเป็นมา /<br />

สภาพปัญหาและลักษณะของ<br />

ให้ระบุถึงที่มาหรือสภาพปัญหาและลักษณะงานที่จะนำมาปรับปรุงพัฒนาจนเกิด<br />

แนวปฏิบัติที่ดี<br />

งาน<br />

4 เป้าหมายของการดำเนินงาน ให้ระบุเป้าหมายของการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ดี โดยระบุเป้าหมายทั้งเชิง<br />

5 กระบวนการ / ขั้นตอนการ<br />

ดำเนินงาน<br />

ปริมาณและเชิงคุณภาพ<br />

ให้ระบุถึงขั้นตอนหรือกระบวนกาต่างๆในการดำเนินงานของแนวปฏิบัติที่ดี<br />

ดังกล่าว โดยอาจระบุเป็นข้อๆ เพื่อความชัดเจน<br />

6 ผลสัมฤทธิ์/ ประโยชน์ที่ได้รับ<br />

และการบูรณาการร่วมกับ<br />

กระบวนงานอื่นๆ<br />

7 ความโดดเด่นของงานที่ได้รับ<br />

สามารถรำไปขยายผลใช้กับ<br />

หน่วยงานอื่นได้<br />

8 การวิเคราะห์ความเป็นแนว<br />

ปฏิบัติที่ดี<br />

ให้ระบุถึงผลผลิต ผลลัพธ์ และประโยชนที่เกิดขึ้นจากแนวปฏิบัติทีดี รวมทั้งแสดง<br />

ข้อมูลด้วยว่าผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์และบูรณาการกับงาน<br />

ด้านอื่น ๆ ได้อย่างไร<br />

ให้ระบุความโดดเด่นของแนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวว่ามีแนวทางอย่างไรที่หน่วยงาน<br />

อื่นจะนำไปใช้ให้เกิดผลอย่างเดียวกันกับหน่วยงานเจ้าของแนวปฏิบัติที่ดีด้วย<br />

ให้ระบุว่ามีองค์ประกอบของความเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่ครบถ้วน โดยอาจจัดทำ<br />

เป็นรูปตารางวิเคราะห์ดังตัวอย่างนี้<br />

การวิเคราะห์ หลักฐาน<br />

ลำดับ องค์ประกอบ มี ไม่มี อ้างอิง<br />

1 มีวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนปฏิบัติ P<br />

หรือไม่<br />

2 มีวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนปฏิบัติที่ทำ P<br />

ให้หลักสูตรประสบความสำเร็จหรือ<br />

สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย<br />

อย่างไร<br />

3 มีการสรุปวิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนการ P<br />

ปฏิบัติงานหรือไม่<br />

4 มีการสรุปเป็นความรู้หรือถอด P<br />

ประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร<br />

หรือไม่<br />

5 มีการเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่น<br />

นำไปใช้ประโยชน์ ด้านใดบ้าง<br />

P


64<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

บทสรุปและข้อเสนอแนะ<br />

การที่ประเทศไทยก้าวผ่านการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากประเทศไทย 1.0 (เน้นด้าน<br />

เกษตรกรรม) เข้าสู่ประเทศไทย 2.0 (เน้นด้านอุตสาหกรรมเบา) เข้าสู่ประเทศไทย 3.0 (เน้นด้านอุตสาหกรรม<br />

หนัก) และปัจจุบันเข้าสู ่ประเทศไทย 4.0 เป็นการเปลี่ยนผ่านสู ่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ<br />

นวัตกรรม เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การขับเคลื่อนที่เน้นบริการมากขึ้น ดังนั้น<br />

สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องมีการปรับตัวให้สอดรับกับการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0<br />

เช่นกัน การประกันคุณภาพการศึกษาภายในให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตร<br />

นั้น เป็นเพราะว่าหากทำให้การบริหารหลักสูตรมีคุณภาพและเข้มแข็งได้ ก็จะเป็นหลักประกันได้ว่าบัณฑิตที่<br />

สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะเป็นบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทำงานได้จริง ทั้งนี้การจะทำให้การบริหาร<br />

หลักสูตรมีคุณภาพได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบกลไก การประเมินกระบวนการภายใต้<br />

ระบบกลไกต่างๆ ตลอดจนพัฒนาระบบกลไกให้ก้าวไปสู่คุณภาพการทำงาน และในที่สุดทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่<br />

ดีขึ้นมา การที่หลักสูตรมีแนวปฏิบัติที่ดีได้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้บริหารหลักสูตรมีความ<br />

มุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท เอาจริงเอาจังในการดำเนินการของหลักสูตร จนกระทั่งตกผลึกความคิดของการดำเนินงาน<br />

กลายเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ในที่สุด หากผู้บริหารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทย สามารถดำเนินการให้<br />

ดำเนินการให้หลักสูตรของตนเกิดแนวปฏิบัติที่ดีได้ จะทำให้ผลการบริหารหลักสูตรดังกล่าวมีคุณภาพและได้รับ<br />

ผลการประเมินประกันคุณภาพเป็นที่น่าพอใจอย่างแน่นอน<br />

บรรณานุกรม<br />

ไทยพับลิก้า. (2557). โครงสร้างประชากร 30 ปีข้างหน้า: เมื่อเด็กวัยเรียนลดลดทุกระดับ. ค้นเมื่อวันที่ 21<br />

กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://thaipublica.org.<br />

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันศึกษา<br />

ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.<br />

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2549). Benchmarking: แนวคิดการเปรียบเทียบ-แข่งดี เพื่อยกระดับการพัฒนา<br />

สถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา. 3 (9),19.<br />

บดินทร์ รัศมีเทศ. (2555). เหมืองความคิด idea mining. กรุงเทพฯ: แปลนพริ้นติ้ง.<br />

Janpa. (2015). D 6.1 Definition and Criteria of good Practice for Childhood Obesity<br />

Prevention Programs in Kindergarfens and Schools. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560<br />

จาก http://janpa.cu<br />

FAO. (2014). Good Practices template. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2560 จาก<br />

http://fao.org/.../good practices/.../ Good Pratcies Template EN Marchzo…<br />

Gattiker, U.E. (2008). Good Practice or Best Practice: What Shall It Be? สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม<br />

2560 จาก http://comometrics.com/articles/good-practice-or-best-practice-what-shallit-be/<br />

Hargreaves.D. H. (2004). Learning for life: the foundations for lifelong learning (Bristol, Policy<br />

Press for the Lifelong Learning Foundation).


วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

65<br />

Verbrugge. B. (2016). Best Practice, Model, Framework, Method, Guidance, Standard:<br />

towards a consistent use of terminology revised. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2560<br />

จาก http://vanharen.net/blog/van-haren-publishing best-practice-model-frameworkmethod-guidance-standard-towards-consistent-use-terminology/<br />

Wikipedia. (2017). Best Practice. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 จาก<br />

http://en.wikipedia.org/wiki/Best-practice

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!