17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

2<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา<br />

ปัจจุบันการขนส่งสินค้าโดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของคอนเทนเนอร์ (Containerization) ซึ่งการ<br />

ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์นั้นได้พัฒนารูปแบบการให้บริการแบบ Door to Door ให้เกิดการขนส่งที่มี<br />

ลักษณะเป็นการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) โดยอาศัยตู้คอนเทนเนอร์ในการ<br />

บรรทุกสินค้าเพื่อขนส่ง สินค้าจะถูกบรรจุลงในตู้คอนเทนเนอร์และถูกเคลื่อนย้ายไปตลอดเส้นทางตั้งแต่<br />

จุดเริ่มต้นจนถึงจุดหมายปลายทางโดยอาจมีการถ่ายเปลี่ยน (Transit) จากรูปแบบการขนส่งหนึ่งไปเป็นอีก<br />

รูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางรถไฟ ทางเรือหรือทางอากาศ ซึ่งการขนส่งที่ใช้รูปแบบการขนส่งที่<br />

มากกว่าหนึ่งรูปแบบตลอดเส้นทางหนึ่งเที่ยว ทำให้เกิดประโยชน์มากมายทั ้งต่อผู้ส่งสินค้าและผู้รับสินค้า เช่น<br />

สะดวกในการบรรทุกและขนถ่าย เพราะตู้มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของสินค้า<br />

ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ป้องกันความเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการขนส่งและช่วยป้องกัน<br />

การถูกโจรกรรมได้ สามารถขนส่งได้ปริมาณมาก และตรวจนับสินค้าได้ง่าย (ณกร อินทร์พยุง, 2548) เป็นต้น<br />

รูปแบบการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์นั้นมีทั้งลักษณะที่เป็นส่งออก (Export) นำเข้า (Import) หรือ<br />

ขนส่งภายในประเทศ (Domestic) ซึ่งจะมีลักษณะและการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อมีการบรรจุ<br />

สินค้าเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะต้องมีการออกแบบการจัดเรียงสินค้าเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก<br />

พื้นที่ภายในตู้คอนเทนเนอร์ได้อย่างเหมาะสมและลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด แต่บ่อยครั้งที่การออกแบบการ<br />

จัดเรียงสินค้ายังใช้ระบบ Manual คือ การทำงานโดยอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของพนักงานเป็น<br />

ผู้ออกแบบและควบคุมการปฏิบัติงาน โดยที่ไม่มีระบบหรือไม่ได้อาศัยทฤษฎีใด ๆ เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ<br />

ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าวิธีการเหล่านั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมหรือไม่ ส่งผลให้เกิดการจัดเรียง<br />

สินค้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่ยังเห็นว่ายังสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้เนื่องจากการจัดเรียงยังมี<br />

ความไม่เหมาะสม ทำให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายและต้องใช้แรงงานหรือเครื่องมือในการยกสินค้าขึ้น-ลง<br />

บ่อยครั้งโดยเฉพาะในการขนส่งสินค้าที่มีผู้รับสินค้าหลายจุด การจัดเรียงสินค้าที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดผล<br />

กระทบต่อสินค้า ในกรณีที่มีการบีบอัดสินค้า หรือทำให้สินค้าชำรุดเสียหายเพื่อให้บรรจุสินค้าได้ทั้งหมด<br />

ต้นทุนในการดำเนินการสูงขึ้น เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ภายในตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่เหมาะสม ทำให้<br />

ต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์มากเกินความจำเป็น เป็นต้น หรือบางกรณีที่ปัญหามีความยุ่งยากและซับซ้อนมากเกิน<br />

ความสามารถของพนักงาน จำเป็นต้องมีการนำระบบ IT เข้ามาช่วยในการจัดการ เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยใน<br />

การออกแบบการจัดเรียงสินค้าในคอนเทนเนอร์ ดังนั้นการที่บริษัทต่าง ๆ จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง<br />

ขบวนการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ ระบบเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศและการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และสมควรจะต้องเร่งสร้างและประยุกต์ใช้กันอย่าง<br />

จริงจัง (พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล, 2550)<br />

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นทาง<br />

คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการหารูปแบบที่มีความเหมาะสมที่สุดในการจัดเรียงสินค้าเพื่อบรรจุลงในตู้คอนเทน<br />

เนอร์ โดยพิจารณาจากการมีเงื่อนไขต้นทางจุดเดียวและปลายทางหลายจุด โดยใช้แบบจำลองการตัดสินใจ<br />

ตามวิธี Constructive Approach (Kunihiko and Ichiro, 2001) ซึ่งเป็นการหาคำตอบอย่างเป็นขั้นเป็น<br />

ตอน (Step by Step) จากระบบที่มีความสลับซับซ้อน โดยการเขียนอธิบายขั้นตอนการทำงานเป็นข้อความ<br />

ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้คำตอบ ซึ่งวิธีนี้จะอาศัยข้อมูลของปัญหาในการสร้างขั้นตอนในการหาคำตอบและจะได้<br />

คำตอบเมื่อขั้นตอนทั้งหมดถูกกระทำเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!