17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

53<br />

1.5 ด้านบุคลากร พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก เนื่องจาก พนักงานให้<br />

ความสนใจ สามารถบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ พนักงานมีการเรียนรู้และเข้าใจถึง<br />

ความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ให้ความสนใจและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ธนาคาร<br />

แจ้งเวลาให้บริการไว้อย่างชัดเจนเพื่อสะดวกในการรับบริการ ดังนั้น พนักงานทุกคนของธนาคารออมสินต้องผ่าน<br />

การอบรมเกี่ยวธุรกิจและผลิตภัณฑ์ เพื่อสามารถใช้ในการประกอบการตัดสินใจทำงานและแก้ไขปัญหาให้กับ<br />

ลูกค้าได้อย่างทันท่วงที<br />

1.6 ด้านกระบวนการให้บริการ พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก เนื่องจาก<br />

ธนาคารออมสินมีความพร้อมในการให้บริการ คำแนะนำ ปรึกษา แก่ลูกค้า ธนาคารออมสินมีระบบการ<br />

ให้บริการสลากออมสินพิเศษที่ชัดเจนและทันสมัย จำนวนพนักงานมีเพียงพอในการให้บริการช่วยให้บริการแก่<br />

ลูกค้าอย่างรวดเร็วทำให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น ธนาคารออมสินควรจัดพนักงาน<br />

ให้บริการสำหรับเวลาพักเที่ยงและให้เพียงพอสำหรับการบริการ<br />

1.7 ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พบว่า ภาพรวมและรายด้านทุกข้ออยู่ในระดับมาก<br />

เนื่องจาก ธนาคารออมสินมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถรองรับลูกค้าได้อย่างเพียงพอ<br />

พนักงานแต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีบุคลิกภาพที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และธนาคารมีการออกแบบตกแต่งสถานที่<br />

สะดวกสบายในการใช้บริการ ดังนั้น ธนาคารออมสิน ควรจัดให้มีบริการเชิงรุก โดยการออกให้บริการนอก<br />

สถานที่ หรือมีบริการช่องทางอื่นๆ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น การขอรับแบบฟอร์มการซื ้อสลาก<br />

ออมสินทางอินอินเตอร์เน็ต<br />

1.8 ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า แตกต่าง<br />

กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสม<br />

การตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เพราะ<br />

ลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและชอบลงทุนด้านอื่นมากกว่าการซื้อสลากออมสินโดยยังไม่ทราบ<br />

รายละเอียดเกี่ยวสลากออมสินพิเศษเท่าที่ควร ดังนั้น ธนาคารควรจัดให้มีการพัฒนาการส่งเสริมการตลาดให้<br />

คลอบคลุมกลุ่มลูกค้า เช่น ระยะเวลาการถูกรางวัลสลากออมสิน การออกสลากใหม่แต่ละงวด เงินรางวัลสลาก<br />

ซึ่งมีความหลากหลาย และควรเพิ่มจุดติดต่อบริการ และเครื่องอำนวยความสะดวก เช่นเก้าอี้ให้ลูกค้าที่มีความ<br />

จำเป็นต้องนั่งรอการติดต่อ<br />

1.9 ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามอาชีพ พบว่า แตกต่างกันอย่างมี<br />

นัยสำคัญที่ระดับ 0.05 อาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการ<br />

ตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษของลูกค้าธนาคารออมสิน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เพราะอาชีพแม่บ้านส่วนใหญ่จะ<br />

ไม่ได้ประกอบอาชีพ หรือเลี้ยงหลานอยู่กับบ้าน ดังนั้น ธนาคารออมสินควรจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์สำหรับ<br />

ขั้นตอนการให้บริการกับลูกค้า แบบฟอร์มที่ใช้ในการขอรับบริการ พร้อมเบอร์ติดต่อพนักงานโดยตรง<br />

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป<br />

จากผลการศึกษาวิจัยเรื่อง ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษ<br />

ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาตลาดศรีนคร จังหวัดนครสวรรค์ มีข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้<br />

2.1 ควรมีการศึกษาการตัดสินใจซื้อสลากออมสินพิเศษในสาขาอื่นๆ เพราะจะทำให้ทราบว่า<br />

ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสลากออมสินพิเศษในสาขาอื่นๆ มีความคิดเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดสินใจซื้อมากน้อย<br />

เพียงใด เพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!