17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

23<br />

ขายเส้นไหมและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต จัดหาแหล่งเงินทุน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต สร้างความแตกต่าง<br />

ทางการแข่งขัน สร้างความพึงพอใจโดยอาศัยคุณภาพและบริการ<br />

ด้านการตลาด พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

คือ ผลิตภัณฑ์มีชื่อเสียงที่ยาวนาน ผลิตภัณฑ์มีความละเอียดและประณีต และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาแต่ละ<br />

ครั้งมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า กลุ่มสตรีผ้าไหมมีการก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายจนถึงรุ่น<br />

หลังๆในปัจจุบัน จึงทำให้มีการสร้างกลุ่มกลุ่มสตรีทอผ้าไหม และมีการทำธุรกิจผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมายาวนานถึง<br />

ปัจจุบัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ เมธาวี สุ่มมาตย์ (2556) ได้ศึกษาเรื่องการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจ<br />

กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม ตำบลมะบ้า กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด จากการศึกษา พบว่า<br />

การตลาดนั้นกลุ่มให้ความสำคัญกับ สถานที่จำหน่ายและ ด้านผลิตภัณฑ์โดยเน้นที่ลายของผ้าเป็นส่วนใหญ่<br />

ประเภทผลิตภัณฑ์มี 3 ชนิดคือ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าพื้นและผ้าไหมหางกระรอก โดยกำหนดราคาจากลายและ<br />

คุณภาพของผ้าไหม รวมถึงตำหนิของผ้ากลุ่มมีจุดแข็ง คือ ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เนื้อผ้ามี<br />

ความหนา สีสันสวยงาม กลุ่มยังได้ความรู้จากการอบรมศึกษาดูงานต่าง ๆ และมีการวางแผนรวมกันอย่าง<br />

ต่อเนื่อง ด้านจุดอ่อนนั้น คือวัตถุดิบที่มีราคาแพงทำให้ต้นทุนสูง บวกกับสมาชิกมีฐานะยากจนไม่มีเงินทุน<br />

เพียงพอในการผลิตกลุ ่มยังไม่สามารถช่วยเหลือสมาชิกทุกคนในกลุ่มเนื่องจากเงินทุนของกลุ่มก็มีน้อย แหล่ง<br />

จำหน่ายนั้นไม่มีแหล่งจำหน่ายประจำ โอกาสของกลุ่มเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า คือ ถ้าหากกลุ่มดีรับการ<br />

สนับสนุนทางการเงินมากกว่าขึ้น จัดให้มีการส่งเสริมทางตลาดให้เข้มข้นขึ้นมากกว่าเดิม โดยยังคงเอกลักษณ์<br />

ของกลุ่มไว้เหมือนเดิม ส่วนอุปสรรคที่กลุ่มต้องเผชิญ คือ มีคู่แข่งจำนวนมาก วัตถุดิบท้องถิ่นมีน้อย ไม่มีตลาด<br />

ในการจำหน่ายประจำ ดังนั้น จากจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคสามารถกำหนดกลยุทธ์ได้ดังนี้ กลยุทธ์<br />

การพัฒนาการส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายการขาย กลยุทธ์การพัฒนาการบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์<br />

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดหาแหล่งเงินทุนกลยุทธ์พัฒนาเทคโนโลยี กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างทางการ<br />

แข็งขัน กลยุทธ์สร้างความพึงพอใจโดยอาศัยคุณภาพและบริการ กลยุทธ์การพัฒนาการตลาดและชุมชน กล<br />

ยุทธ์การกำหนดราคากลยุทธ์หารพัฒนาที่ตั้งและสถานที่ทำการผลิต<br />

ด้านองค์กร พบว่า การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น คือ<br />

ผู้นำเป็นที่ยอมรับของสมาชิกกลุ่มและหน่วยงานภายนอก ทราบถึงระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม และผู้นำมี<br />

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ผู้นำเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม เป็นผู้นำที่ดีต่อองค์กร<br />

และเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้แก่องค์กร ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิวพร บุญชูวิทย์ (2555) ได้ศึกษา<br />

การจัดการเชิงกลยุทธ์ธุรกิจผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มทอผ้าอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร พบว่า ได้มีการจัดตั้ง<br />

กลุ่ม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพ การมีงานทำและเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกและครอบครัว และ<br />

เพื่อสร้างความสามัคคีของสตรีในหมู่บ้าน ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองมาก<br />

ขึ้น สถานการณ์ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่ม พบว่าสตรีที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี มันไม่นิยมการทอผ้าและ<br />

มีฐานะยากจน ร้อยละ 85.00 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ทางด้านเศรษฐกิจ พบว่าสมาชิกมี<br />

รายได้จากการเกษตร และรายได้นอกการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 49,502.13 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และมี<br />

รายได้จาการทอผ้าไหมปีละ 20,689.00 บาทต่อครัวเรือนต่อปี การจัดการผ้าไหมนั้นมี 4 ขั้นตอน<br />

ประกอบด้วยการฟอก การย้อม การมัดหมี่ และการทอผ้า พบว่า ร้อยละ98.80 ของสมาชิกใช้สีเคมีในการย้อม<br />

ไหม เส้นไหมที่ใช้ในการผลิตผ้าไหมนั้นได้จากการซื้อ โดยร้อยละ 91.30 ของสมาชิกทอผ้าไหมแบบสองตะกอ<br />

ส่วนการออกแบบลายผ้าไหมลายผ้าไหมของสมาชิก พบว่า ร้อยละ 81.30 ของสมาชิกเป็นผู้ออกแบบลายเอง<br />

ส่วนปริมาณการผลิตในแต่ละปีโดยเฉลี่ย 44.31 เมตรต่อครัวเรือนต่อปี โดยมีช่วงเวลาผลิตคือช่วงเดือน<br />

มกราคม – เมษายน สำหรับปัญหาด้านการผลิตผ้าไหม พบว่า ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!