17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

62<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ระบบบริหารว่าจะขับเคลื่อนหลักสูตร /คณะ /สถาบันไปสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการนั้นได้อย่างไร ประกอบด้วยระบบ<br />

กลไกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นอะไรบ้าง สิ่งที่ทุกคนในองค์กรจะต้องช่วยกันทำก็คือ พยายามบูรณาการทุก<br />

กระบวนการภายใต้ระบบกลไกการนำองค์กร (หลักสูตร /คณะ /สถาบัน) ให้มุ่งส่งเสริมความสำเร็จของการ<br />

บรรลุวิสัยทัศน์และต้องทำการประเมินความสำเร็จของระบบการนำองค์กรเพื่อหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่าง<br />

ต่อเนื่อง (ให้มีความถี่เป็นระยะๆ) ดูภาพที่ 2 ประกอบ<br />

การจะทำให้ผลการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับดี ดีมาก หรือเป็นเลิศได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหาร<br />

หลักสูตรจะต้องมีภาวะผู้นำ เข้าใจคน เข้าใจงาน มุ่งสร้างและพัฒนาให้คณาจารย์เป็น Smart Teachers และ<br />

บุคลากรให้เป็น Smart Workers ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทั้งนี้ การบริหารองค์กรเป็นทั้งศาสตร์และ<br />

ศิลป์ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว สอดคล้องกับแนวคิดของบดินทร์ รัศมีเทศ (2555) ที่กล่าวว่า ผู้บริหารที่เก่งมัก<br />

มุ่งเน้นเรื่องงาน ในขณะที่ผู้บริหารที่ไม่ค่อยเก่งมักจะเป็นที่รักของคนที่ไม่ค่อยมีศักยภาพในองค์กร เพราะเมื่อ<br />

ขออะไรเจ้านายก็มักจะให้ แต่องค์กรกลับไม่ค่อยเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในขณะที่องค์กรที่เน้นเรื่องงานจะมี<br />

ความเจริญก้าวหน้ามากกว่า แต่พนักงานอาจจะต้องเหนื่อย และพนักงานที่ไม่มีความสามารถก็คงจะไม่ค่อย<br />

ชอบเจ้านายลักษณะนี้เท่าใดนัก แต่สำหรับพนักงานที่มีความสามารถก็จะมีความสุขกับการทำงานที่ท้าทายเมื่อ<br />

องค์กรมีระบบการนำองค์กรที่ดี โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการพัฒนาการบริหารหลักสูตรให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ<br />

บุคลากรทุกส่วนงานจะเกิดความเข้าใจในงาน สร้างและพัฒนางานของคนเองตลอดเวลา มุ่งเน้นแนวคิดพรุ่งนี้<br />

ต้องดีกว่า (Tomorrow Should be Better) จะส่งผลให้เกิดการทำซ้ำและการแก้ไขปัญหา นำผลการแก้ไข<br />

ปัญหามาปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และในที่สุดก็จะกลายเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้<br />

สำหรับการจัดทำแนวปฏิบัติที ่ดีของหลักสูตร อาจจะเกิดขึ้นจากการทบทวนการดำเนินงานภายใต้<br />

ระบบกลไกของการนำองค์กรดังภาพที่ 2 ได้ หรืออาจจะเกิดจากการทบทวนการดำเนินการภายใต้ระบบกลไก<br />

อื่น ๆ ตามพันธกิจของหลักสูตร ได้เช่นกัน ในการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีของหลักสูตรจะต้องมีการระบุข้อมูลดัง<br />

ตัวอย่างที่ปรากฏในตารางที่ 5 ดังนี้<br />

4) องค์ประกอบของการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพ<br />

การศึกษาภายใน<br />

องค์ประกอบของการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน<br />

นั้น ผู้บริหารทั้งในระดับหลักสูตร คณะและสถาบันควรพัฒนาการดำเนินงานในแต่ละระดับดังกล่าวให้เกิดแนว<br />

ปฏิบัติที่ดีเพื่อยกระดับให้การบริหารทั้งในระดับหลักสูตร คณะและสถาบันให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งการจัดทำ<br />

แนวปฏิบัติที่ดีภายใต้เกณฑ์การประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในสามารถดำเนินการได้ดังตารางที่ 5<br />

ต่อไปนี้

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!