17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ<br />

<strong>ปีที่</strong> 1 <strong>ฉบับที่</strong> 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2560<br />

39<br />

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา<br />

นโยบายของรัฐบาลที่มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปีงบประมาณ 2559 ประเด็นหนึ่ง คือ<br />

เร่งรัดดำเนินการจากนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับเกษตรกร และ<br />

ผู้บริโภคจะได้บริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัย ซึ่งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนและขับเคลื่อนการ<br />

พัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ผลักดันให้มีการทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ ปัจจัย<br />

การผลิต และความต้องการของตลาด พัฒนาผลผลิตการเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีสุขภาพอนามัยใน<br />

ระดับสากล<br />

จากหลักการเกษตรอินทรีย์ที่กำหนดโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Organic<br />

Agriculture Movements – IFOAM) ประกอบด้วยหลักการ 4 ข้อสำคัญ คือ 1) สุขภาพเกษตรอินทรีย์ ควร<br />

จะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก 2)<br />

นิเวศวิทยาเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติ การผลิต<br />

การเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฏจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืน<br />

มากขึ้น 3) ความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อม<br />

โดยรวมและสิ่งมีชีวิต 4) การดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่าง<br />

ระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้ง<br />

พิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย (สหกรณ์กรีนเนท, 2560) ดังนั้นธุรกิจที่จะผลิตผักเกษตรอินทรีย์ จึง<br />

ต้องใช้ความพยายามและความระมัดระวังยิ่งขึ้นในการเพาะปลูก ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตที่ได้ให้มีความปลอดภัย<br />

ปลอดจากการปนเปื้อนของสารพิษต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพผู้บริโภค<br />

องค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้ ได้จัดตั้งกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นจากการ<br />

รวมตัวกันของเกษตรกรในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และรับจ้างทั่วไป แต่ประสบปัญหาขาด<br />

แคลนน้ำในการทำนา ทำให้ขาดรายได้ ประสบปัญหาว่างงาน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของครอบครัว จึง<br />

เกิดการรวมตัวของกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้ โดยเน้น<br />

ให้ปลูกไว้เพื่อบริโภคในครอบครัว ซึ่งจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากสารพิษ ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว<br />

และเหลือจากการบริโภคให้นำไปจำหน่าย ในชุมชนจึงได้จัดทำโครงการแก้จนแก้จริงด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง<br />

ขึ้น โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ในครัวเรือน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ สารกำจัดแมลงชีวภาพ และ<br />

การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน มีประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 54 ครัวเรือน เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ<br />

จึงได้จัดตั้งกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้น ซึ่งกลุ่มฯ ปัจจุบันมีการจัดการกลุ่มฯ ยังไม่<br />

สมบูรณ์และมีปัญหาอุปสรรค ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความเข้มแข็งของจัดการธุรกิจกลุ ่มผักเกษตร<br />

อินทรีย์ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีเพื่อศึกษาความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์<br />

บางคู้ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีโดยศึกษาเกี่ยวกับ การวางแผน โครงสร้างของกลุ่ม ผู้นำกลุ่ม<br />

และการติดตามและประเมินผล ของกลุ่มเป้าหมาย ผลของการศึกษานี้จะได้ทราบถึงแนวทางการจัดการธุรกิจ<br />

ของกลุ่มธุรกิจเกษตรอินทรีย์ให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจชุมชนอื่นที่สนใจ ให้เกิดความ<br />

เข้มแข็ง ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเกษตรอินทรีย์ ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป<br />

วัตถุประสงค์การวิจัย<br />

เพื่อศึกษาความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนกลุ่มผักเกษตรอินทรีย์บางคู ้ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัด<br />

ลพบุรี

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!