17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

32<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทยเป็นกิจการที่ไม่มีสินค้าคงเหลือ ผลการดำเนินงานในการบริหารสินทรัพย์<br />

พบว่ามูลค่าสินทรัพย์รวมของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ ่งในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีผันแปรตาม<br />

แนวโน้มของหนี้สินรวม ตามตารางที่ 2 อัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์รวม<br />

(Total Asset Turnover) อยู่ในระดับที่ไม่สูง แสดงถึง ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทยมี<br />

ประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์รวมเพื่อก่อให้เกิดรายได้ยังน้อย แต่หากดูประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์<br />

ถาวร (Fixed Asset Turnover) จะมีผลดีกว่าและสุดท้ายการบริหารลูกหนี้ (Average Collection Period)<br />

หรือนโยบายการให้สินเชื่อของ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย พบว่า ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง<br />

ในประเทศไทย มีนโยบายแบบผ่อน (ปรับโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้) ทำให้ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งใน<br />

ประเทศไทย มีระยะเวลาในการได้รับรับชำระหนี้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น<br />

ผลการดำเนินงานความสามารถในการก่อหนี้ พบว่ามูลค่าหนี้สินรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกับ<br />

สินทรัพย์รวม ยอดหนี้สินรวมจะลดลงเมื่อมีการชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า และมีการชำระเงินกู้ยืม โครงสร้างการ<br />

จัดหาเงินของธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย มาจากส่วนของเจ้าของมากกว่าส่วนของเจ้าหนี้<br />

(Debt ratio) แสดงถึงความมั่นคงในองค์กร ทั้งนี้เป็นเพราะธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็น<br />

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีส่วนของเจ้าของซึ่งมีงบประมาณจากรัฐบาลรวมอยู่ด้วยที่บริการตลาดเงินเพื่อ<br />

ประชาชนที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนเป็นที่พึ่งพาของประชาชน ด้านประสิทธิภาพความสามารถในการทำ<br />

กำไร มีผลการดำเนินงานของอัตรากำไรสุทธิที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA)<br />

และอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของเจ้าของ (ROE) มีความสอดคล้องที่มีสัดส่วน<br />

เท่ากันทุกปี เฉลี่ย 5 ปี คือ 19.22% ซึ่งอยู่เกณฑ์ที่ดี แสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์รวมและส่วน<br />

ของเจ้าของเพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิอย่างมีประสิทธิผล<br />

การคำนวณผลการดำเนินงานตามแนวคิด EVA<br />

จากสมการ EVA มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVA) = กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังหักภาษี<br />

(NOPAT) -เงินลงทุนในสินทรัพย์(Capital) x<br />

อัตราต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital)<br />

หรือ EVA = NOPAT – (Invested Capital) x WACC<br />

Capital Charge<br />

ขั้นตอนการคำนวณเพื่อให้ได้ EVA แบ่งออกเป็นส่วนที่ได้ 3 ส่วน คือ กำไรหลังหักภาษี (NOPAT) เงิน<br />

ลงทุน (Capital) และต้นทุนของเงินลงทุน (Capital Charge)<br />

กำไรหลังหักภาษี (NOPAT) ซึ่งคำนวณจากกาไรสุทธิตามงบการเงินปรับปรุงด้วยค่าใช้จ่ายทางด้าน<br />

ปฏิบัติการและภาษี แสดงกำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี (NOPAT) ตามแนวคิด EVA ดังตารางที่ 3 ดังนี้

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!