17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

56<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

ที่จะต้องสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่าสังคมสามารถพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบัณฑิตตอบสนองต่อยุทธศาสตร์<br />

การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล การพัฒนาภาค<br />

การผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน<br />

(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558) นอกจากนี้ จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลปัจจุบัน<br />

สนับสนุนให้การพัฒนาประเทศขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมตลอดจนสภาวการณ์การแข่งขัน<br />

ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้น ดังพิจารณาได้<br />

จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดโครงการ กิจกรรมแนะแนวที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีความถี่ในการ<br />

ประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการพยายามให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจ<br />

ศึกษาต่อในสถาบันนั้น ๆ รวมทั้งการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน บางแห่งทำการปรับโครงสร้าง<br />

องค์กร การยุบรวมคณะให้เป็นวิทยาลัย เพื่อรวมศูนย์การใช้ทรัพยากรร่วมกันเป็นการสร้างความเข้มแข็ง และ<br />

ความสามารถในการแข่งขันให้กับสถาบันของตน กอปรกับการที่โครงสร้างประชากรของไทยมีการเปลี่ยนแปลง<br />

อัตราการเกิดของคนไทยลดลง ทำให้ประชากรเด็กและประชากรวัยเรียนของไทยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก<br />

สตรีมีการศึกษาสูงขึ้น แต่งงานช้าลง ส่งผลต่ออัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง โดยประชากรวัยเรียน (0-21 ปี) ร้อย<br />

ละ 62.30 ต่อประชากรรวมในปี พ.ศ. 2523 มีสัดส่วนที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 29.80 ในปี พ.ศ. 2553 และ<br />

จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2583 ส่งผลทำให้อนาคตความได้เปรียบของประเทศในเชิงประชากร<br />

จะน้อยลง (ไทยพับลิก้า, 2557) จากข้อมูลโครงสร้างประชากรของไทยข้างต้น สถาบันอุดมศึกษาไทยต้อง<br />

ตระหนักว่า ปัจจัยป้อน (Inputs) ซึ่งก็คือ นักเรียน นักศึกษาที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามีแนวโน้มที่จะ<br />

ลดลงซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างประชากรของไทยที ่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การที่สถาบันอุดมศึกษาจะยังคง<br />

ความสามารถในการแข่งขันภายใต้สภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงได้นั ้น จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของบัณฑิต<br />

เป็นสำคัญ รวมทั้งการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความศรัทธา ความเชื่อถือเชื่อมั่นต่อกระบวนการผลิตบัณฑิตจาก<br />

ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทุกภาคส่วน จนกระทั่งได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของ<br />

ตลาดแรงงานอย่างแท้จริง การพัฒนาระบบและกลไกของการบริหารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาให้มีความ<br />

เข้มแข็งจนสามารถผลักดันไปสู่การจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้นั้น จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า<br />

สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนา การยกระดับการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของ<br />

หลักสูตรให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ<br />

ทั้งนี้ตามประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์<br />

และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน พ.ศ. 2557 ข้อที่ 3 ได้กำหนดให้การประกันคุณภาพ<br />

การศึกษาภายในแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่<br />

ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558) ซึ่งการประกันคุณภาพ<br />

การศึกษาภายในระดับหลักสูตรนั้น หากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ผู้บริหารภาควิชา รองคณบดี คณบดี มี<br />

ความประสงค์ต้องการได้รับผลการประเมินฯ ในระดับ 5 คะแนน จะต้องมีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีในหลายๆ<br />

ตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ดังนั้นบทความวิชาการเรื่องแนวปฏิบัติที่ดี:<br />

แนวคิดและวิธีการจัดทำเพื่อพัฒนาผลของการบริหารหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

นำเสนอแนวคิดวิธีการจัดทำและตัวอย่างในการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีภายใต้เกณฑ์ประกันคุณภาพภายในระดับ<br />

หลักสูตรและเพื่อพัฒนาผลของบริหารหลักสูตรภายใต้เกณฑ์ประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรให้อยู่ใน<br />

ระดับดี โดยเนื้อหาสาระของบทความนี้ประกอบด้วย 1) ความหมายและความแตกต่างระหว่างแนวปฏิบัติที่ดี<br />

กับแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ 2) แนวปฏิบัติที่ดีกับการเปรียบเทียบ-แข่งดี 3) วิธีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!