17.02.2018 Views

CPBS ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560)

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

18<br />

<strong>CPBS</strong> JOURNAL<br />

Vol. 1 No. 1 January - June 2017<br />

เส้นไหมแท้เป็นองค์ประกอบหลัก มีเส้นใยอื่นเป็นส่วนประกอบรอง สัดส่วนการใช้เส้นใยชนิดอื่นประกอบต้อง<br />

ระบุให้ชัดเจน ทอด้วยกี่ชนิดใดก็ได้ ย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องผลิตใน<br />

ประเทศไทย (ทองสุข จันทร์วงศ์. 2557: บทสัมภาษณ์) ผ้าไหมมัดหมี่ของอำเภอชนบท สืบไม่ได้ว่าเริ่มมาจาก<br />

ใคร สอบถามคุณลุงทองสุข จันทร์วงศ์ ชาวบ้านด้านผ้าไหมมัดหมี่ (ปัจจุบันอายุประมาณ เจ็ดสิบปี) คุณลุง<br />

บอกเพียงว่า แม่ของลุงเล่าให้ฟังว่า คุณยายสอนให้ทำตั้งแต่ตอนท่านเด็กๆ สมัยก่อนผ้าไหมมัดหมี่เป็นผ้าที่ทำ<br />

ใช้นครัวเรือนเท่านั้นไม่ได้ทำเป็นอาชีพเหมือนเดี๋ยวนี้ ผ้าไหมมัดหมี่ของชนบทเริ่มมีชื่อเสียง เมื่อคุณลุงทองสุข<br />

จันทร์วงศ์ส่งผ้าไหมมัดหมี่ หน้านางลาย ตำลึงทองเข้าประกวดที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และได้รางวัล<br />

ชนะเลิศ ที่๑ ประเภทผ้าไหมมัดหมี่กี่พื้นเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้รางวัล 5000 บาท หลังจากนั้นชาวชนบท<br />

จะส่งผ้าไหมมัดหมี่เข้าประกวด เกือบทุกงานที่จัดขึ้น และส่วนมาก ผ้าไหมมัดหมี่ของอำเภอชนบทจะได้รับ<br />

รางวัล จึงทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นลายผ้าไหมมัดหมี่ ให้วิจิตรตระการตายิ่งขึ้น โดยดูจากลายผ้าไหม มัดหมี่<br />

ของ ชนบทจะมีหลายร้อยลาย และสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอชนบทเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเกิด เป็นงาน<br />

ประจำปีของจังหวัดขอนแก่น “งานประเพณี งานไหม ผูกเสี่ยว จังหวัดขอนแก่น” ซึ่งจัดขึ้นทุกปี เป็นลักษณะ<br />

ของการประดิษฐ์ลวดลายให้เกิดบนผืนผ้าด้วยการใช้เชือกมัดเส้นไหมหรือฝ้ายส่วนที่ไม่ ต้องการให้ติดสีเวลา<br />

ย้อมเป็นเปราะหลังจากการย้อมแล้วเมื่อตัดเส้นเชือกที่มัดออกจึงเกิดลวดลายตาม ต้องการเอกลักษณ์ของผ้า<br />

ไหมชนบทคือ“ลาย”และ“เทคนิคการทอผ้า”ลายเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาและถือ ว่าเป็นลายต้นแบบและเป็น<br />

ลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น คือลายหมี่กงลายขันหมากเบ็งลายขอพระเทพหรือลายเชิงเทียนโดยส่วนใหญ่<br />

เกือบทั้งหมดจะเป็นการทอผ้าแบบ3ตะกอทำให้เนื้อผ้าแน่นสม่ำเสมอมี ลักษณะสีและลวดลายของผ้าด้านหนึ่ง<br />

สีทึบกว่าอีกด้าน สีที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมคือ สีม่วง สีแดง สีเขียว สีเม็ดมะขาม เอกลักษณ์ของการทอผ้าอีก<br />

แบบหนึ่งของชาวชนบท คือ ผ้าปูมหรือผ้าหน้านาง ซึ่งมีลักษณะ แบบโจงกระเบน ประกอบด้วย ลายมัดหมี่<br />

บริเวณท้องผ้า ลายมัดหมี่หน้านางและลายมัดหมี่ริมชายผ้าทั้งสองด้านลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ชนบทลวดลาย<br />

ดั้งเดิม เป็นลวดลายที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ใช้วิธีการ มัดหมี่และทอแบบดั้งเดิม อาจเปลี่ยนแปลงสีสันได้<br />

ตามความต้องการ ลายดั้งเดิมลายขนาดเล็ก ได้แก่ ลายกง ลายโคม ลายหมากจับ ลายปลาซิว ลายดอกแก้ว<br />

น้อย ลายดั้งเดิมลายขนาดกลาง ได้แก่ ลายแมงมุม ลาย กนกเชิงเทียน ลายขอพระเทพ ลายขันหมากเบ็ง ลาย<br />

ต้นสน ลายขาเปียน้อย ลายตำลึงเครือ ลายดั้งเดิมลาย ใหญ่ ได้แก่ ลายนาคเกี้ยว ลายขอเกี้ยว ลายสำเภาหลง<br />

เกาะ ลายต้นสนใหญ่ ลายนกยูง เป็นต้น กรรมวิธีการทอผ้าไหมมัดหมี่ชนบท เป็นการทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง คือมี<br />

การมัดลวดลายและย้อมสีเฉพาะเส้นพุ่งส่วน เส้นยืนใช้เส้นไหมย้อมสีตามที่ต้องการแต่ไม่มีการมัดทำลวดลาย<br />

ซึ่งเป็นกระบวนการในการทอผ้าไหมมัดหมี่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย (ทองสุข จันทร์วงศ์. 2557: บท<br />

สัมภาษณ์) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้า<br />

ไหมมีหลากหลายชนิดทั้ง ผ้าจก ผ้าผืน โดยเฉพาะผ้าไหมมัดมี่ ที่มีชื่อเสียงทำให้เกิดร้านค้า และกลุ่มเกษตรกร<br />

ทอผ้าไหมขึ้นมากมาย โดยในปี 2557 มีเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 3,709 ครัวเรือน จาก 5 หมู่บ้านใน<br />

อำเภอชนบท มีเกษตรกรทอผ้าไหมอยู่ 1 กลุ่ม ที่มีบทบาทสำคัญในพัฒนาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของ<br />

จังหวัดขอนแก่นได้แก่ กลุ่มทอผ้าไหมและกลุ่มสตรีชาวชนบท ตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น<br />

ปัจจุบันทาง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้านางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขอนแก่น ได้ให้<br />

การสนับสนุนทั้งองค์ความรู้และวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้กลุ่มทอผ้าอำเภอชนบท ได้มีการเปิดศูนย์เรียนรู้การทอผ้า<br />

การย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุจากธรรมชาติ การตัดเย็บผ้าไหม การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยเกษตรกรผู้สนใจ<br />

สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานของภาครัฐ และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาการปลูก<br />

หม่อนเลี้ยงไหมทอผ้า ด้านกลุ่มสตรีสหกรณ์อำเภอชนบทมีโครงการจะสร้างจุดเรียนรู้ผู้ปลูกหม่อนไหมครบ<br />

วงจร กลุ่มทอผ้ามีความสามารถที่โดนเด่นและมีบทบาทความสำคัญในการพัฒนาด้านอาชีพผู้ปลูกหม่อนเลี้ยง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!