15.09.2016 Views

lakmuang 285

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง<br />

ทรงพระเจริญ<br />

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๘๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

www.<strong>lakmuang</strong>online.com


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์<br />

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล<br />

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์<br />

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์<br />

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา<br />

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร<br />

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร<br />

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์<br />

พล.อ.อู้ด เบื้องบน<br />

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ<br />

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล<br />

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ<br />

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท<br />

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์<br />

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์<br />

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก<br />

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์<br />

ที่ปรึกษา<br />

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล<br />

พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์<br />

พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ<br />

พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ร.น.<br />

พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ<br />

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล<br />

พล.อ.นพดล ฟักอังกูร<br />

พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์<br />

พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม<br />

พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ<br />

พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล<br />

พล.ท.พฤษภะ สุวรรณทัต<br />

พล.ท.ดำรงศักดิ์ วรรณกลาง<br />

พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร<br />

พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน<br />

พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ<br />

พล.ท.อดุลย์ศักดิ์ บุญวัฒนะกุล<br />

พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์<br />

พล.ท.เดชา บุญญปาล<br />

พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์<br />

พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ<br />

พล.ต.ชวลิต สาลีติ๊ด<br />

ผู้อำนวยการ<br />

พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์<br />

รองผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส<br />

พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์<br />

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์<br />

กองจัดการ<br />

ผู้จัดการ<br />

น.อ.ธวัชชัย รักประยูร<br />

ประจำกองจัดการ<br />

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ<br />

น.ท.วิษุวัตร์ แสนคำ ร.น.<br />

พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์<br />

เหรัญญิก<br />

พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์<br />

ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

ร.ท.เวช บุญหล้า<br />

ฝ่ายกฎหมาย<br />

น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ<br />

ฝ่ายพิสูจน์อักษร<br />

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำรง<br />

ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.<br />

ร.ท.หญิง ประภาพันธ์ มูลละ<br />

กองบรรณาธิการ<br />

บรรณาธิการ<br />

น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.<br />

รองบรรณาธิการ<br />

พ.อ.ทวี สุดจิตร์<br />

พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์<br />

ผู้ช่วยบรรณาธิการ<br />

พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช<br />

ประจำกองบรรณาธิการ<br />

น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ<br />

น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.<br />

พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม<br />

พ.ต.หญิง สิริณี ศรประทุม<br />

พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต<br />

ร.อ.หญิง อัญชลีพร ชัยชาญกุล<br />

ร.อ.หญิง ลลิดา ดรุนัยธร<br />

ร.ต.หญิง พัชรี ชาญชัยพิชิต<br />

ร.ต.วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน<br />

จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง<br />

ส.อ.ธีร์นริศวร์ ขอพึ่งธรรม<br />

น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น.<br />

พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง<br />

น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น.<br />

พ.ต.หญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร์<br />

ร.อ.ยอดเยี่ยม สงวนสุข<br />

ร.ต.ศุภกิจ ภาวิไล<br />

ร.ต.จิรวัฒน์ ถนอมธรรม<br />

ร.ต.หญิง กันยารัตน์ พุกพัก<br />

จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค<br />

ส.อ.หญิง ศิริพิมพ์มา กาญจนโรจน์


บทบรรณาธิการ<br />

เดือนธันวาคมนับเป็นเดือนมหามงคลของปวงชนชาวไทยเนื่องจากในวันที่ ๕ ธันวาคม<br />

๒๕๕๗ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งรัฐบาลได้เชิญชวน<br />

ให้ข้าราชการ และประชาชนทุกหมู่เหล่าพร้อมใจกันแต่งกายด้วยเสื้อสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำวัน<br />

พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ โดยพร้อมเพรียงกัน<br />

ทั้งนี ้ในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๗ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

โดยจะมีกิจกรรมของทหารรักษาพระองค์เฉลิมพระเกียรติฯ โครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ<br />

ถวายเป็นพระราชกุศลฯ และโครงการแพทย์ทหารห่วงใยใส่ใจสุขภาพประชาชนถวายเป็น<br />

พระราชกุศลฯ<br />

วารสารหลักเมืองฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ มีบทความที่น่าสนใจ อาทิ ๙ แผ่นดินของการ<br />

ปฏิรูประบบราชการ, แผนที่เส้นประ ๙ เส้น ที่ลากขึ้นเพื่อกำหนดอาณาเขตของจีนในทะเลจีนใต้<br />

ซึ่งส่งผลให้จีนเกิดความขัดแย้งกับประเทศต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ถึง ๖ ประเทศ และติดตามอ่าน<br />

ถึงผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ณ นครพุกาม สาธารณรัฐ<br />

แห่งสหภาพเมียนมา และสุดท้าย...ติดตามอ่านตอนจบของ “หลักการของนายพลแพตตัน”<br />

ในฉบับหน้ากันครับ<br />

2


ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๘๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

๔<br />

น้ำพระราชหฤทัย<br />

พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว<br />

ในการแก้ไขปัญหาความ<br />

ยากจนในประเทศ<br />

๘<br />

สงครามในสมัย<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราช<br />

๑๒<br />

๙ แผ่นดินของการ<br />

ปฏิรูประบบราชการ<br />

(ตอนที่ ๑)<br />

๑๘<br />

ผลการประชุมรัฐมนตรี<br />

กลาโหมอาเซียน<br />

อย่างไม่เป็นทางการ<br />

ASEAN Defence<br />

Minister’s Meeting<br />

Retreat (ADMM<br />

Retreat)<br />

๒๒<br />

เจาะลึกอาเซียน<br />

๒๖<br />

แผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น"<br />

(nine-dash-line)<br />

๓๐<br />

Ukrain crisis 2014 :<br />

Is Crimea gone?<br />

“ไครเมีย...<br />

ที่ต้องแย่งยื้อ ถือครอง”<br />

๘<br />

๒๖<br />

๓๘<br />

๕๐<br />

๑๒<br />

๓๐<br />

๔๒<br />

๕๔<br />

๔<br />

๑๘<br />

๓๔<br />

๔๖<br />

๓๔<br />

เครื่องบินขนส่งทาง<br />

ทหาร ซี-๒๙๕<br />

๓๘<br />

เปิดประตูสู่เทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศ<br />

(ตอนที่ ๒๓)<br />

จรวด DTI-2 กับความ<br />

สำเร็จด้วยฝีมือคนไทย<br />

๔๒<br />

หลักการของนายพล<br />

แพตตัน (ตอนที่ ๒๘)<br />

๔๖<br />

พระบรมราโชบาย<br />

ในการปกครองระบอบ<br />

ประชาธิปไตย<br />

ในรัชกาลที่ ๗<br />

๕๐<br />

อาณาจักรตองอูกับ<br />

การก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด<br />

ของอำนาจ<br />

๕๒<br />

;-) Winking smile<br />

๕๔<br />

โรคอ้วน (Obesity)<br />

๖๓<br />

กิจกรรมสมาคมภริยา<br />

ข้าราชการสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm<br />

พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด<br />

๖๓<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

3


น้ำพระราชหฤทัย<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ในการแก้ไขปัญหา<br />

ความยากจนในประเทศ<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

4<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


“…พระองค์ท่านทรงริเริ่มทั้งหมด<br />

ในการดูแลประเทศไทย ผมถึง<br />

บอกว่าประเทศไทยเรามีพระมหา<br />

กษัตริย์ที่มีพระคุณอันประเสริฐ<br />

ต่อประเทศไทยมาโดยตลอด ทุก<br />

พระองค์ทำเพื่อประเทศชาติมา<br />

ตลอด และในวันนี้พระองค์ทรงเป็น<br />

พระมหากษัตริย์สมัยใหม่ คือไม่ได้<br />

สู้รบกับข้าศึก แต่สู้กับความยากจน<br />

และรบกับธรรมชาติเพื่อให้คนไทย<br />

อยู่รอดปลอดภัย ฉะนั้นรัฐบาลต้อง<br />

สนองพระราชดำรินี ้ และดำเนิน<br />

งานต่อตามที่พระองค์ท่านเริ่มไว้<br />

ไม่ใช่พระองค์ท่านเริ่มไว้แล้วต้องทำ<br />

เองจนจบ คงไม่ใช่…”<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

5


คำกล่าวข้างต้นคือข้อความบางตอนที่ท่าน<br />

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี<br />

ได้กรุณาให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน<br />

๒๕๕๔ ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเนื้อความที่ท่าน<br />

กล่าวในวันนั้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงความ<br />

สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกร<br />

ชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องการ<br />

แก้ไขปัญหาความยากจนให้แก่คนในชาติ<br />

อันเป็นพระราชปณิธานที่ต้องทรงดำเนิน<br />

พระราชกรณียกิจตามคำกราบบังคมทูล<br />

ของคนไทยทั้งชาติ และเป็นการแสดงออก<br />

ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมิได้<br />

ทรงทอดทิ้งประชาชนของพระองค์ท่าน<br />

ดังพระราชดำรัสพระราชทาน เมื่อวันที่ ๑๙<br />

สิงหาคม ๒๔๘๙<br />

หากทุกท่านมองย้อนไปในอดีต ภาพที่<br />

ทุกท่านเห็นเป็นประจำจนชินตาคือพระราช<br />

กรณียกิจองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

6<br />

ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรใน<br />

ท้องถิ ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะพื้นที่ทุรกันดารและ<br />

พื้นที่ป่าเขาในทุกภูมิภาคของประเทศอย่าง<br />

สม่ำเสมอนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ<br />

ภาพในอดีตคงเป็นประจักษ์พยานที่ช่วยยืนยัน<br />

ให้สังคมไทยได้เห็นถึงน ้ำพระราชหฤทัยที่ทรง<br />

มีต่อพสกนิกรชาวไทยโดยพระราชกรณียกิจที่<br />

ทรงบำเพ็ญส่วนใหญ่คือการพัฒนาประเทศ ทั้ง<br />

ยังได้พระราชทานพระราชดำรัสหรือแนวพระ<br />

ราชดำริแก่ส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ<br />

เพื่อน้อมนำไปปฏิบัติจนสำเร็จลุล่วงและบังเกิด<br />

ประโยชน์สูงสุดยังความร่มเย็นและบังเกิด<br />

ความผาสุกแก่ปวงเหล่าพสกนิกรเสมอมา<br />

ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ท่านดำเนิน<br />

พระราชกรณียกิจในลักษณะที่ใกล้ชิดกับ<br />

ประชาชนทั่วทุกพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศ<br />

ทุกครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียน<br />

ราษฎร พระองค์มิได้ทรงคำนึงถึงเส้นทางเสด็จ<br />

พระราชดำเนินหรือภยันตรายใด ๆ เลยแม้แต่<br />

น้อย แม้ว่าจะมีระยะทางหลายกิโลเมตร บน<br />

เส้นทางที่ขรุขระ บางกรณีต้องขึ้นเขาลงห้วย<br />

ต้องบุกป่าฝ่าดงไปในเส้นทางที่ถนนเข้าไปไม่<br />

ถึง แม้ฝนจะตกหนักเต็มไปด้วยน้ำขังและโคลน<br />

ตม หรืออากาศจะหนาวเหน็บหรือร้อนอบอ้าว<br />

เพียงใด ก็ไม่เป็นอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางการ<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปให้ถึงตัวราษฎรที่ทรง<br />

ห่วงใย<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบถึง<br />

ปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรส่วนใหญ่<br />

ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและได้รับความ<br />

เดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ ขาดแคลน<br />

เครื่องไม้เครื่องมือ และขาดแคลนองค์ความรู้<br />

อันเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการดำเนินการทางการ<br />

เกษตรกรรมและการดำรงชีวิต โดยเฉพาะ<br />

อย่างยิ่งพสกนิกรในท้องถิ่นชนบท พื้นที่<br />

ทุรกันดารจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความ<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ยากจน ขาดเสถียรภาพในการดำเนินชีวิต และ<br />

อ่อนด้อยในด้านคุณภาพชีวิต จึงทรงกำหนด<br />

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ<br />

ขึ้นและพระราชทานให้ส่วนราชการหรือ<br />

หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปพิจารณาดำเนิน<br />

การให้เหมาะสมและถูกต้องในเชิงวิชาการ<br />

ทั้งในเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำ การบำรุงและ<br />

พัฒนาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การพัฒนา<br />

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกรรม พร้อมทั้ง<br />

พระราชทานแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<br />

เพื่อเป็นแนวทางหลักในการดำเนินชีวิตและ<br />

ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างไม่เดือดร้อน<br />

แนวทางและโครงการอันเนื่องมาจาก<br />

พระราชดำริต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ไข<br />

ปัญหาความยากจนของประชาชนในชนบท<br />

ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและ<br />

ครอบครัวให้มีความสุขตามอัตภาพ และยังเป็น<br />

หลักคิดในการดำเนินชีวิตทั ้งของคนในชนบท<br />

และในเมืองให้รู้จักการดำเนินชีวิตบนทาง<br />

สายกลางโดยไม่ใช้ชีวิตจนเกินสุข และไม่ต้อง<br />

ใช้ชีวิตอย่างทุกข์ยากลำเค็ญจนเกินควร หาก<br />

ทุกท่านรู้จักกับคำว่า พอเพียง สิ่งที ่ผู้เขียนได้<br />

เรียบเรียงข้างต้นนี้คือ กล่องวิเศษพระราชทาน<br />

ที่จะช่วยดลบันดาลให้ชีวิตของปวงพสกนิกร<br />

ชาวไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะสามารถ<br />

ประสบสิ่งสมหวังได้ดังใจปรารถนา ทั้งนี้ ส่วน<br />

ราชการหรือหน่วยงาน หรือประชาชน พึงจะ<br />

ต้องน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ และดำเนิน<br />

การให้ประสบผลสำเร็จตามความเหมาะ<br />

สมด้วยองค์กรเอง หรือตัวเอง เพราะกล่อง<br />

วิเศษนี้จะบังเกิดผล ก็ต่อเมื่อท่านได้อธิษฐาน<br />

และให้สัจจะกับตนเองว่าจะปฏิบัติตาม<br />

ที่ท่านปรารถนาตามแนวทางอันถูกต้อง<br />

ชอบธรรม แล้วผลที่เกิดขึ้นจะเป็นผลสำเร็จ<br />

ตามใจอธิษฐาน โดยทุกสิ่งทุกอย่างจะสำเร็จ<br />

ด้วยการกระทำ ด้วยความมานะ อดทน<br />

มีความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยตนเอง เมื่อเป็น<br />

เช่นนี้ ปัญหาความยากจน หรือปัญหาต่าง ๆ<br />

ก็จะคลี่คลายและลุล่วงไปด้วยดีสมดังความ<br />

ปรารถนา และเรื่องที่สำคัญคือขอให้ทุกท่าน<br />

พึงตระหนักคือการทำงานและดำเนินชีวิตบน<br />

พื้นฐานของความรัก ความสามัคคี ปรารถนา<br />

ดี และปันน้ำใจต่อกัน แล้ววันนั้นปัญหาความ<br />

ยากจนและปัญหาต่าง ๆ จะจางหายไปจาก<br />

สังคมไทย<br />

ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นวัน<br />

คล้ายวันพระราชสมภพ ๘๗ พรรษา ขององค์<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เขียนใคร่ขอ<br />

เรียนเชิญทุกท่านร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และ<br />

ดำเนินชีวิตตามความรับผิดชอบบนพื้นฐาน<br />

ของคุณธรรมและความพอเพียง เพื่อถวาย<br />

เป็นพระราชกุศลและถวายพระเกียรติแด่องค์<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงพระเกษม<br />

สำราญ มีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง<br />

เป็นมิ ่งขวัญ เป็นร่มโพธิ์ทองของพสกนิกรชาว<br />

ไทยตลอดกาลนานเทอญ<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

7


สงครามในสมัย<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

ภ<br />

ายหลังจากที่ กรุงอโยธยาศรีราม<br />

เทพนครหรือกรุงศรีอยุธยา ต้อง<br />

เสียทีให้แก่พม่าข้าศึกในช่วงค่ำ<br />

ของวันที่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐ ทำให้เอกราช<br />

ของชาติในเวลานั้นต้องสูญสิ้นไป กล่าวได้ว่า<br />

สถานการณ์บ้านเมืองในเวลานั้นอยู่ในช่วง<br />

การจลาจลครั้งใหญ่ ผู้คนหลายครอบครัว<br />

และประชาชนในเมืองต่างต้องกระจัดกระจาย<br />

พลัดพรากจากกัน บ้างก็ถูกข้าศึกกวาดต้อนไป<br />

เป็นเชลยสำหรับใช้แรงงานหรืออื่น ๆ จิปาถะ<br />

8<br />

บ้างก็ต้องหลบหนีกันหัวซุกหัวซุนเพื่อหลบภัย<br />

สงคราม เรียกได้ว่าบ้านเมืองสมัยนั้นอยู่ใน<br />

สภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ราชอาณาจักร<br />

อยุธยานั้นจึงถูกแบ่งออกเป็นก๊ก เป็นชุมนุม<br />

ที่นำโดยผู้มีอำนาจในพื้นที่ต่าง ๆ และมีความ<br />

เป็นอิสระต่อกันสุดแล้วแต่ว่าชุมนุมใดจะมี<br />

แสนยานุภาพมากกว่ากัน แต่ที่น่าสนใจเป็น<br />

อย่างยิ่งคือชุมนุมต่าง ๆ (ยกเว้นชุมนุมพระยา<br />

ตาก) กลับมิได้มีความสนใจที่จะกอบกู้บ้าน<br />

เมืองอย่างแท้จริง เพียงแต่รักษาฐานอำนาจ<br />

และผลประโยชน์ของตนไว้กับการมองเพียงว่า<br />

ข้าศึกมีความเข้มแข็งมากยังไม่ควรเข้าไปต่อสู้<br />

เพราะในเวลานั้นคนไทยต่างเกรงกลัวความ<br />

ดุร้ายและดุดันของข้าศึกเป็นอย่างยิ่ง<br />

ซึ่งก็มีเพียงชุมนุมของพระยาตากหรือ<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเท่านั้น ที่ยังมี<br />

อุดมการณ์อย่างแรงกล้าในอันที่จะรวบรวม<br />

กองกำลังเพื่อขับไล่กองกำลังข้าศึกที่ยังคง<br />

หลงเหลืออยู่ในกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับกอบกู้<br />

เอกราชของชาติ ด้วยการประกาศตนเป็นผู้นำ<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้<br />

กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม ดังปรากฏ<br />

ในข้อความบางตอนตามพระราชพงศาวดาร<br />

ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของ<br />

พระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า<br />

“...ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรใน<br />

แขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไป<br />

กู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัด<br />

ทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่ง<br />

อนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข<br />

แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนา<br />

การขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็น<br />

เจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อ<br />

กู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลาย<br />

จะเห็นประการใด...”<br />

ทั้งนี้พระยาตากได้มีการซ่องสุมกำลังและ<br />

เตรียมการระดมสรรพกำลังสำหรับบุกจู่โจม<br />

ข้าศึกโดยตั้งแหล่งชุมนุมที่เมืองจันทบุรี ด้วย<br />

การฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการรบ<br />

กอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับ<br />

สั่งให้ต่อเรือรบกับรวบรวมเครื่องศัตราวุธและ<br />

ยุทธภัณฑ์ภายในเวลา ๓ เดือน<br />

ในราวเดือนตุลาคม ๒๓๑๐ ภายหลังจาก<br />

สิ้นฤดูมรสุม พระยาตากได้ยกกองทัพเรือจาก<br />

จันทบุรีเดินทางเลียบอ่าวไทยและเคลื่อนกำลัง<br />

พลพร้อมยุทโธปกรณ์เข้ามาทางปากแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

เป็นที่แรก และเมื่อยึดเมืองธนบุรีและปราบ<br />

นายทองอินผู้ดูแลเมืองได้แล้ว จึงได้เคลื่อนทัพ<br />

ทั้งทางบกและทางเรือเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น<br />

ซึ่งข้าศึกได้ตั้งเป็นฐานที่มั่นในขณะนั้น ซึ่ง<br />

จากการรบอย่างดุเดือดถึงขั้นตะลุมบอนและ<br />

ปะทะกันด้วยอาวุธสั้น ในที่สุดกองกำลังของ<br />

พระยาตากสามารถปราบข้าศึกจนราบคาบ<br />

และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา<br />

เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จุลศักราช<br />

๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่ง<br />

ตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐ รวม<br />

เวลาประมาณ ๗ เดือน ภายหลังจากเสียกรุง<br />

ศรีอยุธยา<br />

ต่อมา พระยาตากได้ปราบดาภิเษก เป็น<br />

พระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค ่ำ เดือนยี่<br />

ปีกุน จุลศักราช ๑๑๒๙ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘<br />

ธันวาคม ๒๓๑๐ ทรงพระนามว่า พระศรีสรร<br />

เพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่เรียก<br />

ขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี<br />

หลังจากนั้นระหว่างปีพุทธศักราช ๒๓๑๑ –<br />

๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรง<br />

9


ปราบปรามบรรดาผู้ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ในชุมนุม<br />

ต่าง ๆ รวม ๔ ชุมนุมให้ราบคาบ เพื่อคง<br />

ความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของราช<br />

อาณาจักรสยาม สำหรับการปราบปรามชุมนุม<br />

นั้นเป็นการดำเนินการกับกลุ่มคนไทยผู้มีความ<br />

เห็นต่างกันซึ่งผู้เขียนไม่ขอนำมาบรรยายใน<br />

ครั้งนี้<br />

สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอคือ<br />

ราชการสงครามกับข้าศึกภายหลังที่สมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชแล้ว<br />

ซึ่งจากการสืบค้นทราบว่ามีราชการศึกในการ<br />

ป้องกันราชอาณาจักรสยามกับพม่าข้าศึก รวม<br />

๙ ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ<br />

สงครามครั้งที่ ๑ : รบพม่าที่บางกุ้ง ปลาย<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๐ พระเจ้ามังระกษัตริย์<br />

พม่า ทราบข่าวการตั้งตัวเป็นใหญ่ของสมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงสั่งให้เจ้า<br />

เมืองทวาย คุมกำลังมาตรวจตราแผ่นดินไทย<br />

มีหน้าที่ปราบปรามผู้ที่กำเริบตั้งตนเป็นใหญ่<br />

ให้ราบคาบโดยมีการรบกันที่เมืองไทรโยค และ<br />

เมืองสมุทรสงคราม การรบครั้งนั้นฝ่ายสยาม<br />

ชนะศึก สามารถยึดเรือรบ เครื่องศัตราวุธ และ<br />

เสบียงอาหารได้เป็นจำนวนมาก<br />

สงครามครั้งที่ ๒ : พม่าตีเมืองสวรรคโลก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๓ รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมือง<br />

สวรรคโลก ทัพสยามสามารถตีแตกไปได้<br />

สงครามครั้งที่ ๓ : ตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๔ เป็นการรบกับพม่าเมื่อ<br />

ฝ่ายสยามยกกองทัพไปตีนครเชียงใหม่ (ซึ่ง<br />

พม่ายึดครองอยู่) เป็นครั้งแรก แต่ไม่สำเร็จ<br />

เนื่องจากเสบียงฝ่ายสยามไม่เพียงพอ<br />

สงครามครั้งที่ ๔ : พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๕ ทัพพม่ายกไปช่วยเมือง<br />

เวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง โดยขากลับ<br />

ผ่านเมืองพิชัย และยกเข้าตีเมืองแต่ก็ไม่สำเร็จ<br />

ปรากฏว่าฝ่ายสยามเป็นฝ่ายชนะ<br />

สงครามครั้งที่ ๕ : พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๖ พม่ายกมาตีเมืองพิชัย เป็น<br />

ครั้งที่ ๒ แต่พม่าตีไม่สำเร็จ และได้เกิดวีรกรรม<br />

พระยาพิชัยดาบหักขึ้น<br />

สงครามครั้งที่ ๖ : ตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ ๒<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๗ กองทัพสยามชนะสงคราม<br />

สามารถ ยึดนครเชียงใหม่คืนกลับจากพม่าได้<br />

พร้อมกับได้เมือง ลำปาง ลำพูน และน่าน กลับ<br />

คืนมาเป็นของสยาม<br />

สงครามครั้งที่ ๗ : รบพม่าที่บางแก้วเมือง<br />

ราชบุรี พุทธศักราช ๒๓๑๗ พม่ายกพลตาม<br />

พวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปยังเมืองราชบุรี<br />

ทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เองโดยตั้งค่าย<br />

ล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียง<br />

อาหาร จนในที่สุดข้าศึกขอยอมแพ้ ชัยชนะ<br />

ในครั้งนี้ส่งผลให้ชาวสยามที่หลบซ่อนตาม<br />

พื้นที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก<br />

เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า<br />

สงครามครั้งที่ ๘ : อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมือง<br />

เหนือ พุทธศักราช ๒๓๑๘ นับเป็นสงคราม<br />

ครั้งใหญ่ที่สุดโดย อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่<br />

เชี่ยวชาญศึก ในครั้งนั้น พม่ายกพลมาประมาณ<br />

๓๕,๐๐๐ คน เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก และล้อม<br />

เมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ<br />

๑๐,๐๐๐ คน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ทรงยกทัพไปช่วย ในที่สุด อะแซหวุ่นกี้ต้องยก<br />

ทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต<br />

กองทัพพม่าส่วนที่กลับไปไม่ทันจึงถูกกองทัพ<br />

สยามจับได้บางส่วน<br />

สงครามครั้งสุดท้าย : พม่าตีเมืองเชียงใหม่<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๙ ทัพพม่าและมอญประมาณ<br />

๖,๐๐๐ คน ยกมาตีเชียงใหม่ ในห้วงแรก<br />

เชียงใหม่ไม่มีกำลังพลพอป้องกันเมืองได้ จึง<br />

ได้อพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมือง<br />

เหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังนครลำปาง ยกไป<br />

ตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ<br />

นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราชโองการโปรด<br />

เกล้า ฯ ให้จัดทัพไปราชการที่เขมรและในบาง<br />

พื้นที่ ซึ่งฝ่ายสยามก็สามารถเอาชนะศึกได้เป็น<br />

ส่วนใหญ่ แต่ส่วนใหญ่มิได้เป็นราชการสงคราม<br />

เพื่อการป้องกันประเทศหรือรักษาเอกราชของ<br />

ชาติเหมือนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น<br />

สิ่งที่ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวถึงต่อไปนี้คือ พระ<br />

ราชนโยบายในการปรับปรุงกิจการทหารให้<br />

เข้มแข็ง ด้วยทรงกำหนดวางมาตรการทาง<br />

ทหารที่สำคัญไว้ ๓ แนวทาง ดังนี้<br />

๑. การรวบรวมแม่ทัพนายกอง โดยทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมผู้ที่มีความ<br />

สามารถในการรบและกิจการทหารมาร่วมกัน<br />

ต่อสู้ศึกและกอบกู้สถานการณ์ โดยทรงแต่งตั้ง<br />

ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นแม่ทัพสนอง<br />

ราชการสงครามทั้งภายในและภายนอกราช<br />

อาณาจักรสยาม ซึ่งบุคคลสำคัญในราชการ<br />

สงครามอาทิ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก<br />

เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) พระยาพิชัย (ทองดี)<br />

หรือพระยาพิชัยดาบหัก<br />

๒. การบริหารจัดการกำลังพล โดยทรง<br />

กำหนดให้ชายฉกรรจ์ไทยทุกคนต้องเป็นทหาร<br />

และเข้ารับราชการทหารตามระยะเวลาที่<br />

กำหนด ด้วยการสำรวจกำลังพลและทำการ<br />

10<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


และการยกกองกำลังทางเรือไปตีเขมรเมื่อ<br />

ปีพุทธศักราช ๒๓๑๔<br />

ข้อความข้างต้นเป็นเพียงเนื้อหาบางส่วน<br />

ของพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราชในการกอบกู้เอกราชและสร้างความ<br />

เป็นปึกแผ่นให้แก่สยามประเทศและรวบรวม<br />

ความเป็นชาติให้แก่สยาม ด้วยพระราชวิริย-<br />

ภาพ และพระอัจฉริยภาพเพราะหากพระองค์<br />

มิได้กอบกู้เอกราชได้ในเวลาอันเหมาะสมแล้ว<br />

จะมีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่าเราจะมีความเป็นชาติ<br />

ไทยได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ กลุ่มชนผู้เคย<br />

พ่ายแพ้สงครามกับพม่าในอดีตส่วนใหญ่แตก<br />

กระจัดพลัดพรายเป็นชนกลุ่มน้อยให้ทุกท่าน<br />

เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเวลานั้นมี<br />

การตั้งก๊ก ตั้งชุมนุมกันหลายชุมนุมและต่างก็<br />

มีความเกรงกลัวข้าศึกอยู่ด้วยแล้ว ความสุ่ม<br />

เสี่ยงที่ชาวสยามจะแตกฉานซ่านเซ็นเป็นชนก<br />

ลุ่มน้อยจึงมีความเป็นไปได้สูงมากในเวลานั้น<br />

สักข้อมือพวกไพร่และทาสทุกคน เพื่อให้<br />

ทราบต้นสังกัดกับชื่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้<br />

ทราบจำนวนที ่แน่นอนและง่ายต่อการควบคุม<br />

บังคับบัญชา<br />

๓. ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้มีการแสวงหา<br />

อาวุธที่มีอานุภาพสูงมาใช้ในกองทัพเป็น<br />

จำนวนมาก ได้รับอาวุธปืนชนิดต่าง ๆ จากต่าง<br />

ประเทศ อาทิ ปืนใหญ่ ปืนคาบศิลา ปืนนกสับ<br />

และปืนจ่ารงค์ โดยเฉพาะปืนใหญ่นอกจากที่<br />

ได้รับจากต่างประเทศแล้ว ยังได้หล่อขึ้นใช้เอง<br />

สำหรับป้องกันพระนครอีกด้วย<br />

๔. ด้านยุทธศาสตร์ทหาร ได้มีการกำหนด<br />

เขตสงคราม ออกเป็นเขตหน้าและเขตหลัง<br />

เพื่อประโยชน์ในการรบและการส่งกำลัง<br />

บำรุง และใช้วิธียกกำลังไปสกัดยับยั้งข้าศึก<br />

ที่มารุกรานที่บริเวณชายแดนเพื่อป้องกัน<br />

ดินแดนภายในราชอาณาจักรไม่ให้เสียหายจาก<br />

ภัยสงครามและไม่เป็นภัยต่อราชธานี<br />

๕. การระดมสรรพกำลังด้านยุทโธปกรณ์<br />

เนื่องจากปืนใหญ่เป็นยุทโธปกรณ์ที่ทรง<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

อานุภาพและเพื่อเพิ่มอำนาจกำลังรบอย่างได้<br />

ผล แต่ในเวลานั้น ปืนใหญ่มีอยู่อย่างจำกัดจึง<br />

ทรงกำหนดนโยบายการใช้ปืนใหญ่ช่วยส่วน<br />

รวม ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารพระราช<br />

หัตถเลขา ตอนศึกอะแซหวุ่นกี้ในตอนหนึ่งว่า<br />

“...ครั้นถึงวันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓<br />

อะแซหวุ่นกี้ก็ให้กองทัพพม่ากองหนึ่ง มาตั้ง<br />

ค่ายตรงวัดจุฬามณีข้างฝั่งตะวันตกสามค่าย<br />

แล้วให้อีกกองหนึ่ง ยกลงมาลาดตระเวนทาง<br />

ฝั่งตะวันตก ได้รบกับไทยตั ้งแต่ค่ายระยะที่<br />

สาม ที่บ้านกระดาษลงมา จนถึงค่ายระยะที่<br />

หนึ่งที่บางทราย ให้กองเกณฑ์หัดคุมปืนใหญ่<br />

รางเกวียน ๓๐ กระบอก ขึ้นไปช่วยรักษา<br />

ค่ายที่บางทราย พม่ารบพุ่งอยู่จนค่ำจึงถอย<br />

กลับไป...”<br />

๖. ตั้งกองกำลังทางเรือ โดยใช้กำลัง<br />

ทางเรือ ในการยกกองทัพไปปฏิบัติราชการ<br />

สงครามในดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไปมาก<br />

อาทิ การยกกองกำลังทางเรือไปตีเมือง<br />

นครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๒<br />

จึงถือว่าสยามประเทศโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่<br />

มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่มีพระราช<br />

สมัญญาว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ นี้ ทาง<br />

ราชการได้จัดพิธีถวายราชสักการะในพระมหา<br />

กรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราชที่ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติและ<br />

ประชาชนชาวไทย ผู้เขียนใคร่ขอเรียนเชิญ<br />

ทุกท่านได้กรุณาน้อมรำลึกถึงพระมหา<br />

กรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและร่วมกันถวาย<br />

ราชสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน<br />

11


แผ่นดิน<br />

ของการปฏิรูประบบราชการ<br />

พระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

พระราชประวัติ พระปรีชาสามารถ<br />

ในการบริหารราชการแผ่นดิน<br />

(ตอนที่ ๑)<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม<br />

12<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


บทนำ<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราชพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ ทรง<br />

สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อ<br />

พุทธศักราช ๒๓๓๕ เจริญรุ่งเรื่องสืบมาถึงพระ<br />

มหากษัตริย์ พระองค์ที่ ๙ รัชสมัยแห่งพระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิ<br />

ตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์สยามินท<br />

ราธิราชบรมนาถบพิตรซึ่งดำรงสิริราชสมบัติ<br />

ครบ ๖๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ รวมเวลา<br />

ได้ ๒๒๔ ปี<br />

กล่าวได้ว่า ชาวไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ล้วนโชคดี ที่ได้อยู่ในร่มพระบารมีของพระมหา<br />

กษัตริย์ที่ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม สมบูรณ์<br />

ด้วยธรรมราชา อันประกอบด้วย จักรวรรดิวัตร<br />

และสังคหวัตถุ ถ้วนทุกพระองค์<br />

พิจารณาประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์<br />

ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลปัจจุบันจะเห็นได้<br />

ว่าพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ทรงปฏิบัติ<br />

บำเพ็ญพระราชภารกิจอันเป็นนโยบายหลัก<br />

สำคัญของบ้านเมือง ในลักษณะสืบสานพระ<br />

ราชปณิธานจากรัชกาลหนึ่งสู่รัชกาลหนึ่งอย่าง<br />

ต่อเนื่องตลอดมา และเป็นความมหัศจรรย์<br />

ประการหนึ่งที่ทุกพระองค์ทรงเหมาะกับยุค<br />

สมัยที่ทรงดำรงสิริราชสมบัติ เสมือนกำหนด<br />

ให้ทรงจุติมาประจำรัชกาลนั้น ๆ เพราะ<br />

แต่ละพระองค์ทรงมีพระราชบุคลิกลักษณะ<br />

และพระอัจฉริยภาพปรีชาญาณในการแก้ไข<br />

เหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในรัชสมัยให้<br />

ลุล่วงปลอดภัยอย่างเป็นคุณประโยชน์ รวมทั้ง<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

ปกป้องวิกฤตการณ์อันล่อแหลมต่อการสูญ<br />

เสียอธิปไตยหลายครั้ง เป็นเกียรติภูมิแก่ชาว<br />

ไทยสุดประมาณ ที่ชาติไทยเป็นชาติเดียวใน<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถธำรงรักษา<br />

เอกราชไว้ได้<br />

การจัดระบบบริหารราชการแผ่นดิน หลัง<br />

จากกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เมื่อพุทธศักราช<br />

๒๓๑๐ มีขึ้นอย่างจริงจังเมื่อพระบาทสมเด็จ<br />

พระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรม<br />

ราชจักรีวงศ์ เสด็จปราบดาภิเษก สถาปนา<br />

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อพุทธศักราช<br />

๒๓๒๕<br />

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากรัชสมัยของสมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราช (พุทธศักราช ๒๓๑๐<br />

ถึง ๒๓๒๕ รวม ๑๕ ปี) หลักจากทรงกู้ชาติ<br />

สถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเป็นศูนย์กลาง<br />

บริหารราชการแผ่นดินแทนกรุงศรีอยุธยาที่<br />

ยั่งยืนมานานกว่า ๔ ศตวรรษ นั้น มีเหตุปัจจัย<br />

ยุ่งยากซับซ้อนหลายประการ ที่เป็นอุปสรรค<br />

จึงไม่มีโอกาสจัดระบบการบริหารราชการ<br />

ได้เต็มที่ สมัยกรุงธนบุรีคงยึดระบบบริหาร<br />

ราชการแผ่นดินแบบเดียวกับกรุงศรีอยุธยา<br />

ต่างแต่ลดขนาดขอบข่าย และจำนวนบุคลากร<br />

การที่ศูนย์กลางอำนาจและการบริหารราชการ<br />

แผ่นดินซึ่งเคยรวมอยู่ที่พระนครศรีอยุธยา<br />

กระจายตัวออกเป็นศูนย์อำนาจอิสระย่อย ๆ<br />

ตามภูมิภาค ทำให้ระยะแรกไม่มีการยอมรับ<br />

การรวมศูนย์อำนาจของสมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราช จึงทรงใช้เวลาปราบปรามหลายปี<br />

เพื่อรวมศูนย์อำนาจและการบริหารราชการ<br />

แผ่นดินกลับมาที่กรุงธนบุรี นอกจากนั้น<br />

ภายหลังจากการรุกรานของพม่ายังมีอย่างต่อ<br />

เนื่องพระราชภารกิจส่วนใหญ่จึงหมดไปกับ<br />

การป้องกันและสร้างความเป็นปึกแผ่นในราช<br />

อาณาจักร อีกทั้งข้าราชการในกรุงศรีอยุธยา<br />

จำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตจากภัยสงคราม<br />

และถูกกวาดต้อนไปกรุงอังวะ ที่เหลือรอด<br />

ต่างกระจัดกระจายไปสังกัดอยู่ในศูนย์กลาง<br />

อำนาจที่แตกตัวออกจากรุงศรีอยุธยา กว่าที่<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงรวบรวม<br />

ข้าราชการให้เพียงพอต่อระบบบริหารราชการ<br />

แผ่นดินในกรุงธนบุรีได้ก็เป็นเวลานานมาก<br />

กระบวนในการสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพ<br />

บุคลากรใหม่ จึงไม่อาจกระทำได้เต็มที่<br />

การที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา<br />

โลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกนั้นกล่าวได้ว่า<br />

เป็นการเปิดศักราชใหม่ให้กับการวางรากฐาน<br />

และพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินตลอด<br />

ทั้งการสร้างประสิทธิภาพข้าราชการอย่าง<br />

จริงจัง การศึกษากระบวนการดังกล่าว จำต้อง<br />

ศึกษาภูมิหลัง คือ พระราชประวัติเบื้องต้นที่<br />

เป็นพื้นฐานอันส่งผลมาสู่การเป็นนักบริหาร<br />

และบทบาทผู้นำในการกำหนดนโยบาย การ<br />

วางรากฐานพัฒนาระบบบริหารราชการ<br />

แผ่นดินและการสร้างประสิทธิภาพให้<br />

ข้าราชการในยุคสร้างบ้านแปงเมืองใหม่<br />

13


พระราชประวัติ<br />

พระปรีชาสามารถในการ<br />

บริหารราชการแผ่นดิน<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช พระนามเดิม ทองด้วง เสด็จพระราช<br />

สมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา ในตระกูลขุนนางฝ่าย<br />

พลเรือน เมื่อวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช<br />

๒๒๗๙ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ<br />

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระชนกคือ หลวงพินิจ<br />

อักษร (ทองดี) “รับราชการเป็นเสมียนตรา<br />

กรมมหาดไทย เทียบได้กับนักบริหารระดับ<br />

กลางในระบบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน<br />

พระมารดาคือ ท่านหยก เป็นครอบครัว<br />

ข้าราชการพลเรือน “ผู้มีอันจะกิน”มีฐานะ<br />

มั่นคงมั่งคั่งครอบครัวหนึ่ง ได้สร้างวัดประจำ<br />

ตระกูล คือวัดทอง ตรงบริเวณใกล้บ้านในกรุง<br />

ศรีอยุธยา และทรงอุปถัมภ์ตลอดมา”<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราชทรงผนวชเมื่อพุทธศักราช ๒๓๐๐<br />

ณ วัดมหาทลายในกรุงศรีอยุธยาเมื่อทรงลา<br />

ผนวชแล้วเข้ารับราชการตามพระชนก อันเป็น<br />

รูปแบบของการคัดสรรบุคคลเข้ารับราชการ<br />

ในสมัยนั้นโดยถวายตัวเริ่มเข้ารับราชการใน<br />

ตำแหน่งมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร<br />

กรมขุนพรพินิตพระราชโอรสของสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ช่วงเวลา ๔ ปีนับตั้งแต่<br />

เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ขณะเมื่อ<br />

พระชนมายุ ๒๕ พรรษา ได้ทรงสมรสกับท่าน<br />

นาค ธิดาในตระกูลคหบดี แห่งบ้านอัมพวา<br />

แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อพม่ารุกรานไทย<br />

ครั้งสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาพุทธศักราช<br />

๒๓๑๐ กรมการเมืองราชบุรีไม่อาจต้านทาน<br />

กองทัพพม่าได้ หลวงยกกระบัตรจำต้องอพยพ<br />

ครอบครัวจากราชบุรีไปซุ่มซ่อนอยู่ในระแวก<br />

บ้านของท่านนาคผู้เป็นภริยา ซึ่งพื้นที่บ้าน<br />

อัมพวาเป็นสวนผลไม้ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง<br />

หลังเสียกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราชทรงตั้งชุมนุมไพร่พลอยู่ที่เมืองจันทบุรี<br />

หลวงยกบัตรเมืองราชบุรีได้แนะนำให้นาย<br />

สุจินดา (บุญมา) ผู้เป็นน้องให้นำพระราชชนนี<br />

ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งอพยพ<br />

หนีพม่าไปอยู่แขวงเมืองเพชรบุรีไปส่งที่ชุมนุม<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จันทบุรี ได้<br />

เข้าร่วมภารกิจกอบกู้บ้านเมืองกับสมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราชด้วย เมื่อรวบรวม<br />

บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นสถาปนากรุงธนบุรีเป็น<br />

ศูนย์อำนาจแห่งใหม่และปราบดาภิเษกเป็น<br />

กษัตริย์หลวงยกกระบัตรได้รับการชักชวนจาก<br />

นายสุจินดาให้นำครอบครัวย้ายเข้ามาพำนัก<br />

ยังกรุงธนบุรีและถวายตัวเข้ารับราชการ ทรง<br />

เป็นกำลังสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน<br />

14<br />

ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในระยะ<br />

เวลาไม่ถึง ๑๐ ปีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์<br />

เจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว พระยศเทียบ<br />

เสมอเจ้าต่างกรมเริ่มตั้งแต่เป็นพระราชวรินทร์<br />

พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยา<br />

จักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกการรับ<br />

ราชการของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช สรุปได้ดังนี้<br />

พุทธศักราช ๒๓๐๔ พระชนมายุ ๒๕ ปี ได้<br />

เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ออกไปรับ<br />

ราชการส่วนภูมิภาคจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๑ ถวายตัวกลับเข้ารับ<br />

ราชการในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับ<br />

พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์<br />

กำกับราชการกรมพระตำรวจ ในปีเดียวกันนี้<br />

ได้โดยเสด็จราชการทัพไปปราบเจ้าพิมาย ทรง<br />

ตีด่านขุนทดและด่านกระโทก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๒ เสร็จศึกเจ้าพิมาย<br />

แล้วได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระยาอภัย<br />

รณฤทธิ์ เป็นแม่ทัพไปตีกรุงกัมพูชาอีกครั้ง ได้<br />

เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์<br />

และเมืองบันทายเพชร์<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๓ ได้รับพระราชทาน<br />

เลื่อนเป็นพระยายมราช บัญชาการกรมหมาด<br />

ไทย แทนสมุหนายก ต่อมาเมื่อเจ้าพระยา<br />

จักรี (แขก) ถึงอสัญกรรม จึงได้รับแต่งตั้งเป็น<br />

เจ้าพระยาจักรี ไปตีกรุงกัมพูชาอีกครั้ง ได้เมือง<br />

พระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และ<br />

เมืองบันทายเพชร์<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๓ เจ้าพระยาจักรี เป็น<br />

แม่ทัพตีเมืองเชียงใหม่กับเจ้าพระยาสุรสีห์<br />

ผู้น้องต่อมามีทัพพม่ามาตั้งมั่นที่บางแก้วอัน<br />

เป็นเขตต่อระหว่างราชบุรีและสมุทรสงคราม<br />

เจ้าพระยาจักรีกลับมาบัญชาการรบอีก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๘ พม่ายกทัพมาตีเมือง<br />

เชียงใหม่ เจ้าพระยาจักรีนำทัพขึ้นไป พอได้<br />

ยินข่าวทัพพม่าก็ย้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน<br />

บังเอิญเป็นเวลาที่อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพเข้าตี<br />

เมืองพิษณุโลกทางด่านแม่ละเมา เจ้าพระยา<br />

จักรีจึงถอยทัพมาตั้งรับพร้อมด้วยพระยาสุรสีห์<br />

ศึกอะแซหวุ่นกี้ครั้งนี้นับว่าสำคัญมาก พม่า<br />

ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้หลายด้าน เข้าตีเมือง<br />

หลายครั้งไม่สามารถตีได้ อะแซหวุ่นกี้สรรเสริญ<br />

ว่า “ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็งอาจสู้รบเรา<br />

ผู้เฒ่าได้ จงอุตสาห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้<br />

เป็นกษัตริย์แท้”<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


พุทธศักราช ๒๓๑๙ เจ้าพระยาจักรี เป็น<br />

แม่ทัพไปตีหัวเมืองทางตะวันออก เมือง<br />

นางรอง จำปาศักดิ์ อัตปือ โขงเจียม สุรินทร์<br />

สังขะและขุขันธ์ เสร็จราชการทัพครั้งนี้ได้เลื่อน<br />

ยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับ<br />

พระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม<br />

พุทธศักราช ๒๓๒๑ สมเด็จเจ้าพระยามหา<br />

กษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ใน<br />

สงครามระหว่างกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนา<br />

คนหุต หลวงพระบางและหัวเมืองขึ้น ได้อัญเชิญ<br />

พระแก้วมรกตกับพระบาง ซึ่งอยู่ที่เวียงจันทน์<br />

ลงมายังกรุงธนบุรี<br />

พุทธศักราช ๒๓๒๓ สมเด็จเจ้าพระยา<br />

มหากษัตริย์ศึก เป็นทัพไปปราบจลาจลที่กรุง<br />

กัมพูชายังไม่ทันเสร็จ เกิดจลาจลในกรุงธนบุรี<br />

จึงต้องยกทัพกลับ และปราบดาภิเษกเป็นพระ<br />

มหากษัตริย์<br />

จะเห็นได้ว่าราชการที่ทรงรับผิดชอบส่วน<br />

ใหญ่คือราชการทัพ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า<br />

ทรงมีประสบการณ์การบริหารราชการฝ่าย<br />

พลเรือนอย่างดี ในช่วงปฏิบัติราชการในหน้าที่<br />

หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีต้องควบคุมดูแล<br />

ข้าราชการฝ่ายพลเรือนด้วยเมื่อแรกถวาย<br />

ตัวเข้ารับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

มหาราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ<br />

ให้กำกับราชการกรมพระตำรวจดูแลความ<br />

สงบเรียบร้อยในพระนครซึ่งเป็นราชการฝ่าย<br />

พลเรือน<br />

ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน<br />

และการรบทัพจับศึก เป็นปัจจัยสำคัญที่<br />

สนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองในราชการของ<br />

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นสิ่งที่มิได้<br />

สะสมขึ้นได้ในเวลาอันสั้นในรัชสมัยกรุงธนบุรี<br />

เท่านั้น ยังประกอบด้วยพัฒนาการที่สั่งสม<br />

ขึ้นมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่ง<br />

มีพื้นฐานมาจากครอบครัว ทำให้สามารถมี<br />

พัฒนาการสั่งสมความรู้ ความถนัดและความ<br />

สามารถมาตั้งแต่วัยเยาว์<br />

เมื่อพิจารณาพระราชประวัติการรับราชการ<br />

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช จะเห็นว่าลักษณะหน้าที่ราชการ<br />

ของพระองค์ท่านในแต่ละช่วง อยู่กึ่งกลาง<br />

ระหว่างราชการทหารและพลเรือนมาตลอด<br />

ตั้งแต่ตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี<br />

เป็นตำแหน่งนักบริหารระดับกลาง ที่มีหน้าที่<br />

จัดระเบียบและตรวจตราบัญชีกำลังพลของ<br />

ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในเมือง<br />

นั้น เมื่อรับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราชทรงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชวรินทร์<br />

กำกับราชการกรมพระตำรวจเป็นงานกึ่ง ๆ<br />

ระหว่างทหารและพลเรือนเช่นกัน อย่างไรก็<br />

ดี กล่าวได้ว่าพระปรีชาสามารถทางการทหาร<br />

ของพระองค์มีความโดดเด่นกว่าพระปรีชา<br />

สามารถด้านพลเรือน ดังจะเห็นได้จากช่วงที่<br />

ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยา<br />

อภัยรณฤทธิ์เมื่อเสร็จศึกปราบชุมนุมเจ้าพิมาย<br />

เป็นการก้าวหน้าในราชการจากพระปรีชา<br />

สามารถด้านการสงครามเป็นลำดับ จนถึง<br />

ระดับสูงสุดที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก<br />

ครั้นเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกเป็นพระมหา<br />

กษัตริย์แล้ว จึงปรากฏชัดเจนว่าพระปรีชา<br />

สามารถในราชการฝ่ายพลเรือนนั้น มิได้แตก<br />

ต่างกันเลย เพราะในฐานะพระมหากษัตริยาธิ<br />

ราชทรงผสานพระปรีชาสามารถทั้งพลเรือน<br />

และทหารเข้าด้วยกัน ราชการฝ่ายพลเรือน<br />

นั้นดูจะมากกว่าราชการฝ่ายทหารซึ่งมีเฉพาะ<br />

ช่วงบ้านเมืองมีศึกสงครามพระปรีชาสามารถ<br />

ในราชการฝ่ายพลเรือนเป็นพื้นฐานให้กับพระ<br />

ราชกรณียกิจในการวางรากฐานระบบบริหาร<br />

ราชการแผ่นดิน และการพัฒนาประสิทธิภาพ<br />

ข้าราชการแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวคือพระ<br />

ราชกรณียกิจในฐานะพระปฐมบรมราชจักรี<br />

วงศ์ หรือที่ทรงได้รับการสดุดีพระเกียรติคุณ<br />

ในฐานะ“พระผู้สร้าง” คือ การสถาปนาของ<br />

15


การบริหารราชการแผ่นดินและศูนย์รวม<br />

ความจงรักภักดีของข้าราชการและอาณา<br />

ประชาราษฎร์ การสถาปนาพระมหานคร<br />

แห่งใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารพระราช<br />

อาณาจักรให้ละม้ายศูนย์กลางเดิมอันรุ่งเรือง<br />

มายาวนาน ๔ ศตวรรษ คือ กรุงศรีอยุธยา<br />

การสถาปนาพระบรมมหาราชวังและวัดพระ<br />

ศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประทับของพระ<br />

มหากษัตริย์และศูนย์กลางการบริหารทั้งฝ่าย<br />

พุทธจักรและอาณาจักรซึ่งพระราชกรณียกิจ<br />

ต่อไปในฐานะ “พระผู้สร้าง” เป็นรากฐาน<br />

สำคัญในพระราชกรณียกิจต่อไปในฐานะ<br />

“พระผู้ทรงวางรากฐาน” การบริหารราชการ<br />

แผ่นดินและการพัฒนาประสิทธิภาพของ<br />

ข้าราชการ<br />

พระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราชในฐานะ<br />

“พระผู้สร้าง”<br />

การสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์พระราช<br />

นิพนธ์วรรณคดีไทย บทละครเรื่องรามเกียรติ์<br />

ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ความตอนหนึ่งว่า<br />

“....อันพระนครทั้งหลาย<br />

ก็เหมือนกับกายสังขาร<br />

กษัตริย์คือจิตวิญญาณ<br />

เป็นประธานแก่ร่างอินทรีย์...”<br />

พระราชนิพนธ์นี้แสดงถึงแนวทางพระดำริ<br />

สถานภาพพระมหากษัตริย์ ที่มีความสำคัญ<br />

ประดุจจิตวิญญาณของมนุษย์ เพราะ “แม้จิต<br />

จากกายก็บรรลัย” พระมหากษัตริย์จึงเป็น<br />

เสมือนศูนย์กลางของการบริหารการปกครอง<br />

ราชอาณาจักรทรงเป็นประธานในระบบ<br />

บริหารราชการแผ่นดิน มีพระราชอำนาจ<br />

กำหนดนโยบายสาธารณะและการตัดสินใจ<br />

พระราชหฤทัยในกระบวนการบริหารราชการ<br />

แผ่นดิน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของ<br />

รัฐสืบทอดพระราชอำนาจโดยราชสันตติวงศ์<br />

เสด็จขึ้นสู่อำนาจเพียงพระองค์เดียว โดย<br />

ไม่มีการสถาปนาพระราชวงศ์ไม่ได้ เพราะ<br />

การสถาปนาราชวงศ์มีความจำเป็นในการ<br />

สร้างฐานแห่งความชอบธรรมในการปกครอง<br />

อาณาจักร เพื่อแสดงให้ปรากฏกับสาธารณชน<br />

ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เป็นบุคคล<br />

ผู้มีตระกูลวงศ์ ประกอบด้วยเครือญาติร่วม<br />

สายโลหิตที่พร้อมจะสนับสนุนและสืบทอด<br />

การปกครองบ้านเมืองของพระองค์ให้สถาวร<br />

นอกจากนั้นยังเป็นการกำหนดบทบาทและ<br />

หน้าที่ของบุคคลที่เป็นสมาชิกในราชสกุล<br />

16<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ผู้ร่วมสายโลหิตของพระมหากษัตริย์ให้ชัดเจน<br />

บทบาทของสมาชิกในราชสกุลทุกคนล้วน<br />

สำคัญในการค้ำคูณเกื้อหนุนช่วยราชการให้<br />

บ้านเมืองเจริญมั่นคงไพบูลย์ ในความมั่นคง<br />

ของราชสกุลของพระมหากษัตริย์ หมายถึง<br />

ความมั่นคงและความอยู่รอดของบ้านเมือง<br />

ด้วย<br />

ยุคที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลาง<br />

และประธานการปกครองและการบริหาร<br />

ราชการแผ่นดินนั้น ราชสกุลของพระองค์<br />

ต้องรับราชการด้วย เป็นระบบบริหารราชการ<br />

แผ่นดินที่พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงสืบธรรมเนียมการสถาปนาพระราชวงศ์<br />

ตามแบบแผนกษัตริย์ไทยครั้งโบราณพระบรม<br />

ราชจักรีวงศ์ จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น<br />

ราชวงศ์ของ “พระผู้สร้าง” ราชสกุลรุ่นแรก<br />

คือ พระเชษฐภคินี พระอนุชาธิราชร่วมสาย<br />

พระโลหิต และบรรดาลูกหลานของท่าน<br />

เหล่านี้ เมื่อได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น<br />

พระราชวงศ์แล้ว หลายพระองค์ก็ได้รับความไว้<br />

วางพระราชหฤทัยให้รับราชการสนองพระเดช<br />

พระคุณในระบบบริหารราชการแผ่นดินของ<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ ได้กำหนดสถานะ บทบาทที่<br />

ชัดเจนของเจ้านายแต่ละพระองค์ทั้งฝ่ายชาย<br />

และฝ่ายหญิง<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

17


ผลการประชุมรัฐมนตรี<br />

กลาโหมอาเซียน<br />

อย่างไม่เป็นทางการ<br />

ASEAN Defence<br />

Minister’s Meeting Retreat<br />

(ADMM Retreat)<br />

ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ พฤศจิกายน<br />

๒๕๕๗ ณ นครพุกาม สาธารณรัฐ<br />

แห่งสหภาพเมียนมา<br />

สำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม<br />

18<br />

สำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม


ก<br />

ารประชุม รมว.กห. อาเซียน อย่าง<br />

ไม่เป็นทางการที่จัดขึ้นระหว่างวันที่<br />

๑๘ - ๑๙ พ.ย.๕๗ ณ นครพุกาม<br />

สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา ที่ผ่านมานี้ มี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อรับทราบพัฒนาการและความ<br />

คืบหน้าความร่วมมือระหว่าง กห.ประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียน และ ระหว่าง กห. ประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียนกับ กห. ประเทศคู่เจรจา รวม<br />

ทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุม<br />

มองเกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงและความ<br />

ท้าทายด้านความมั ่นคงของภูมิภาคร่วมกัน<br />

โดยการประชุม รมว.กห.อาเซียนของทั้ง<br />

๑๐ ประเทศสมาชิก ได้มีการพูดคุยถึงปัญหา<br />

ความซับซ้อนของสถานการณ์โลก ที่มีความ<br />

ท้าทายต่ออาเซียนมากขึ้น ซึ่งทุกประเทศ<br />

สมาชิกต้องมีความร่วมมือกันทุกระดับอย่าง<br />

ใกล้ชิด ขณะเดียวกันความร่วมมือนอกอาเซียน<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศมหาอำนาจ<br />

ถือว่ามีความสำคัญ ที่อาเซียนสามารถใช้<br />

โอกาสดังกล่าวเป็นเครื่องมือถ่วงดุลประเทศ<br />

มหาอำนาจ เพื่อสร้างเสถียรภาพความมั่นคง<br />

ในภูมิภาค และพัฒนาศักยภาพของอาเซียน<br />

ในการเผชิญกับความท้าทายของภูมิภาคที่<br />

เกิดขึ้น เช่น ความมั่นคงทางทะเล ภัยพิบัติ<br />

โรคระบาด การก่อการร้าย ภัยจากสงคราม<br />

ไซเบอร์ เป็นต้น ที่ประชุมได้ประณามและ<br />

ปฏิเสธการสนับสนุนกลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่ม<br />

ก่อการร้าย ISIS และเห็นว่าเป็นการบิดเบือน<br />

คำสอนศาสนา ซึ่งอาเซียนควรต่อต้านแนว<br />

ความคิดการสร้างรัฐอิสลามในพื้นที่ต่าง ๆ<br />

ของโลกด้วย ขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้บทเรียน<br />

ที่สำคัญ จากพายุไต้ฝุ่นไห่เยียน ที่ภูมิภาคนี้<br />

สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนากลไก<br />

และแนวทางในการสร้างความร่วมมือในการ<br />

บริหารจัดการบรรเทาภัยพิบัติ และการฟื้นฟู<br />

ร่วมกัน นอกจากนั้นยังเห็นตรงกันว่าช่องแคบ<br />

มะละกาและทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางเดินเรือ<br />

ที่สำคัญของภูมิภาคและของโลก จึงควรร่วม<br />

มือกันลดปัญหาความขัดแย้ง สนับสนุนให้ทุก<br />

ฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ ปฏิบัติตามกฎหมาย<br />

ระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดเสรีภาพในการ<br />

เดินเรือ รวมทั้งยังเห็นว่าความมั่นคงในพื้นที่<br />

ชายแดนนั้นเกิดได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูล<br />

ข่าวสาร การฝึกร่วม/ผสม และการพัฒนา<br />

ความสัมพันธ์ในทุกระดับ นอกจากนั้น ยังได้<br />

เสนอกลไกและแนวทางร่วมมือด้านความ<br />

มั่นคง เช่น การจัดตั้ง Hot Line ระหว่าง<br />

กห.อาเซียน จัดทำเอกสารแนวความคิดด้าน<br />

การจัดตั้งการประชุม ADMM และ ADMM<br />

Plus แผนปฏิบัติงาน ๓ ปีของ ADMM การ<br />

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนายทหารระดับล่าง ความ<br />

ร่วมมือในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้ง<br />

ความร่วมมือระหว่าง กห. กับภาคประชาสังคม<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

19


ท้าทายร่วมกัน โดยญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อ<br />

ความมั่นคงทางทะเลและเห็นควรยึดหลัก ๓<br />

ประการ คือ ๑. ยึดกฎระหว่างประเทศ ๒. ไม่<br />

ใช้กำลังในการแก้ปัญหา และ ๓. แก้ไขความ<br />

ขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยทั้ง ๒ ฝ่ายควรร่วม<br />

กันกำหนดประเด็นความร่วมมือในอนาคตที่<br />

ชัดเจนขึ้นผ่านกลไกความร่วมมือต่าง ๆ<br />

นอกจากนี้เป็นโอกาสดีที่ พล.อ.ประวิตร<br />

วงษ์สุวรรณ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้มี<br />

โอกาสหารือทวิภาคีระหว่าง รมว.กห.ประเทศ<br />

ต่างๆ อันประกอบด้วย สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม สาธารณรัฐ<br />

แห่งสหภาพเมียนมา และ มาเลเซีย ซึ่ง<br />

พล.อ.ประวิตร ฯ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้<br />

ใช้โอกาสนี้สร้างความเข้าใจถึงสถานการณ์ใน<br />

ไทย และความจำเป็นต่อการเข้ามาแก้ปัญหา<br />

ภายในประเทศของ คสช. และรัฐบาล รวมทั้ง<br />

แผนการดำเนินงานตาม Road Map ที่จะ<br />

ร่วมกันนำพาประเทศไทยไปสู่การปฏิรูป<br />

ที่ประชุมได้ตระหนักถึงความท้าทายจาก<br />

โรคระบาด เช่น อีโบล่า ซึ่งเป็นความกังวลของ<br />

อาเซียนร่วมกัน โดยในโอกาสนี้ พล.อ.ประวิตร<br />

วงษ์สุวรรณ รอง นรม.และ รมว.กห. ได้เสนอ<br />

การจัดตั้งศูนย์การแพทย์ทหารอาเซียนขึ้นใน<br />

ประเทศไทย ในปี ๒๕๕๘ พร้อมทั้งทำการฝึก<br />

ร่วมด้านการแพทย์ทหารกับด้านการให้ความ<br />

ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัย<br />

พิบัติ เพื่อทดสอบศูนย์ฝึกดังกล่าวในปี ๒๕๕๙<br />

ซึ่งได้การตอบรับจากทุกชาติสมาชิกด้วยดี<br />

พร้อมกับได้ใช้โอกาสนี้ นำเสนอนโยบายของ<br />

รัฐบาลในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณ<br />

ชายแดน จำนวน ๕ พื้นที่ และเชิญชวนประเทศ<br />

สมาชิกที่มีชายแดนติดกัน และประเทศสมาชิก<br />

อื่น ได้ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ การค้าและการ<br />

ลงทุน และการสร้างความมั่นคงแนวชายแดน<br />

ร่วมกัน ซึ่งทุกประเทศสมาชิกเห็นประโยชน์ที่<br />

จะได้รับร่วมกัน<br />

การประชุมครั้งนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญที่<br />

รมว.อาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ได้ร่วมประชุมกับ<br />

รมว.กห.ญี่ปุ่น นาย Akinori Eto ซึ่งถือเป็นการ<br />

เปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่าง<br />

กห.อาเซียน กับ กห.ญี ่ปุ่น โดย นรม.ญี่ปุ่นได้<br />

ประกาศนโยบายเสริมสร้างสันติภาพเชิงรุกใน<br />

ภูมิภาคอาเซียน (Proactive Contribution<br />

To Peace) ซึ ่งญี่ปุ่นสามารถมีบทบาทและ<br />

ความร่วมมือด้านความมั่นคงมากขึ้นในอนาคต<br />

เช่น การรักษาสันติภาพ การสนับสนุนด้านการ<br />

ส่งกำลังบำรุง การช่วยเหลือประชาคมระหว่าง<br />

ประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะยังคงเป็นชาติ<br />

ที่รักสันติภาพและจะร่วมมือกับประเทศอื่นๆ<br />

ในการแสวงหาผลประโยชน์และเผชิญความ<br />

20<br />

สำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม


และการเลือกตั้งได้ตามกำหนดเวลา ซึ่งทุก<br />

ประเทศมีความเข้าใจเราเป็นอย่างดี เพราะ<br />

ได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งของไทยมา<br />

เกือบ ๑๐ ปี โดยปัญหาของไทย มีผลกระทบ<br />

เชื่อมโยงต่อภูมิภาคร่วมกัน ทุกประเทศได้<br />

แสดงความยินดีต่อการเข้ามาแก้ปัญหาของ<br />

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.<br />

พร้อมทั้งให้กำลังใจและเวลาในการดำเนิน<br />

งานกับเรา และยินดีให้การสนับสนุนทุกเรื่อง<br />

เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างเสถียรภาพ<br />

และความมั่นคงได้โดยเร็ว โดยเฉพาะ รมว.<br />

กห.สิงคโปร์ ได้ใช้โอกาสการจัดประชุม<br />

Shangri-La Dialogue ซึ่งเป็นการพูดคุยกับ<br />

รมว.กห.หลายประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกา<br />

และสหราชอาณาจักร โดยแสดงความเห็นว่า<br />

ไทยต้องการเวลาในการสร้างเสถียรภาพและ<br />

ความมั่นคง รัฐบาลไทยต้องการการสนับสนุน<br />

มิใช่การถูกคว่ำบาตร ขณะเดียวกันทุกประเทศ<br />

ก็พร้อมที่จะร่วมกันพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ<br />

ชายแดนที่ติดกัน เพื่อความมั่นคงและความ<br />

เป็นอยู่ที่ดีของประชาชนที่มีชายแดนติดกัน<br />

อย่างยั่งยืนต่อไป<br />

การแสดงความเข้าใจและจริงใจของทุก<br />

ประเทศสมาชิกต่อไทยครั้งนี้ แสดงให้เห็น<br />

ถึงความใกล้ชิดและความเป็นหนึ่งเดียวของ<br />

รมว.กห.อาเซียน และกองทัพ ที่ทำงานร่วม<br />

กันมาด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างต่อเนื่อง<br />

ในการที่จะดำเนินการพัฒนาภูมิภาคอาเซียน<br />

โดยมุ่งเน้นความเป็นหนึ่งเดียว ความเป็น<br />

ศูนย์กลางของความร่วมมือในภูมิภาค การเน้น<br />

ที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และความเชื่อมโยง<br />

ระหว่างประชาชน เพื่อนำพาภูมิภาคอาเซียน<br />

ไปสู่ความสงบมั่นคงร่วมกันอย่างยั่งยืน<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

21


22<br />

พันเอก อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี


เจาะลึกอาเซียน<br />

พันเอก อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี<br />

๑. ย้อนรอยอาเซียน<br />

จากอดีตในดินแดนแห่งคาบสมุทรของ<br />

เอเชียอาคเนย์ ซึ่งขนาบด้วยทะเลจีนใต้และ<br />

มหาสมุทรอินเดีย แหล่งอารยธรรมที่สมบูรณ์<br />

ทรัพยากรธรรมชาติปริมาณมหาศาลทั้งบน<br />

แผ่นดิน และในทะเล<br />

ทุกประเทศล้วนผ่านบทเรียนในอดีตที่เจ็บ<br />

ปวดจากการยึดครองของชาติตะวันตก การ<br />

มีประวัติศาสตร์ที่ร่วมกันและความสัมพันธ์<br />

ระหว่างประเทศที่ผันเปลี่ยนไป มาสู่ยุคของ<br />

การรวมกลุ่มของประเทศเพื่อการต่อรองทาง<br />

เศรษฐกิจของแต่ละประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ<br />

ทั่วโลก ทำให้เกิดแนวคิดการรวมดินแดนใน<br />

แถบนี้เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ที่เรารู้จักกัน<br />

ในชื่อ “อาเซียน”<br />

ประวัติของอาเซียนเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐<br />

โดยเมื ่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ไทย<br />

อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ได้<br />

ร่วมก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวัน<br />

ออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of<br />

South East Asian Nations)<br />

ปี พ.ศ.๒๕๒๗ บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้า<br />

มาเป็นสมาชิก<br />

ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เวียดนามได้เข้ามาเป็น<br />

สมาชิก<br />

ปี พ.ศ.๒๕๔๐ พม่าและลาวเข้ามาเป็น<br />

สมาชิก<br />

และปี พ.ศ.๒๕๔๒ ประเทศสุดท้ายคือ<br />

กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ปัจจุบันอาเซียนมี<br />

ประเทศสมาชิกทั้งหมด ๑๐ ประเทศ<br />

๒. ความแตกต่าง<br />

ในภูมิภาคนี้มีอะไร?<br />

สิ่งที่แตกต่างของประเทศในอาเซียน คือ<br />

จำนวนประชากร ขนาดของพื้นที่ ศาสนาและ<br />

ภาษา แยกเป็นแต่ละประเทศได้ดังนี้<br />

รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei<br />

Darussalam) มีประชากร ประมาณ ๔ แสนคน<br />

ขนาดพื้นที่ ๕,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรส่วนใหญ่<br />

นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาที่ใช้คือบาซาร์<br />

มาเลย์<br />

ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of<br />

Cambodia) มีประชากร ประมาณ ๑๔ ล้านคน<br />

ขนาดพื้นที่ ๑๘๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรส่วน<br />

ใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือเขมร<br />

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of<br />

Indonesia) มีประชากร ประมาณ ๒๔๐<br />

ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๒๔๐,๐๐๐,๐๐๐ ตาราง<br />

กิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ภาษา<br />

ที่ใช้คือบาซาร์อินโดนีเซีย<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

23


่<br />

่<br />

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว<br />

(Lao People's Democratic Republic)<br />

มีประชากร ประมาณ ๖ ล้านคน ขนาดพื้นที<br />

๑๓๖,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือ<br />

ศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือลาว<br />

มาเลเซีย (Malaysia) มีประชากร<br />

ประมาณ ๒๘ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๓๒๙,๐๐๐<br />

ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม<br />

ภาษาที่ใช้คือบาร์ซามาเลย์<br />

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The<br />

Republic of the Union of Myanmar)<br />

หรือที่เราเรียกว่า พม่า มีประชากร ประมาณ<br />

๕๔ ล้านคน ขนาดพื้นที่ ๖๗๘,๐๐๐ ตาราง<br />

กิโลเมตรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่<br />

ใช้คือพม่า<br />

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the<br />

Philippines) มีประชากร ประมาณ ๙๕ ล้าน<br />

คนขนาดพื้นที่ ๒๙๘,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร<br />

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้คือ<br />

ตากาล็อกและอังกฤษ<br />

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of<br />

Singapore) มีประชากร ประมาณ ๕ ล้าน<br />

คนขนาดพื้นที่ ๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรภาษา<br />

ที่ใช้คือ อังกฤษและบาร์ซามาเลย์<br />

ราชอาณาจักรไทย (Thailand)<br />

มีประชากร ประมาณ ๖๔ ล้านคน ขนาดพื้นที่<br />

๕๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือ<br />

ศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือไทย<br />

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม<br />

(Socialist Republic of Vietnam)<br />

มีประชากรประมาณ ๘๘ ล้านคน ขนาดพื้นที<br />

๓๓๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือ<br />

ศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้คือเวียดนาม<br />

ความแตกต่างของอาเซียนไม่ได้เป็น<br />

อุปสรรคสำคัญในการรวมกลุ่ม แต่กลับเป็น<br />

จุดแข็งของอาเซียนซึ่งทำให้เกิดจุดแข็งสำหรับ<br />

การเป็นกลุ่มประเทศที่หลายประเทศรวมทั้ง<br />

ประเทศมหาอำนาจสนใจ<br />

๓. ประเทศมหาอำนาจ<br />

มองอาเซียนอย่างไร?<br />

ประเทศมหาอำนาจที่เราจะพูดถึงใน<br />

ปัจจุบัน นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ประเทศ<br />

จีนก็เป็นประเทศที่กำลังจะก้าวขึ้นสู่ความเป็น<br />

มหาอำนาจในอนาคตอันใกล้นี้ สองประเทศนี้<br />

มองอาเซียนอย่างไร<br />

๓.๑ สหรัฐอเมริกา<br />

ภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย<br />

สหรัฐอเมริกาก็เป็นมหาอำนาจเพียงประเทศ<br />

เดียวในโลกและแน่นอนที่สุดความเป็น<br />

24<br />

มหาอำนาจสำคัญคืออำนาจด้านการทหาร<br />

สหรัฐอเมริกามีพันธมิตรทางทหารทั่วโลก<br />

และมีบทบาททางทหารทั่วโลก โดยเฉพาะใน<br />

ภูมิภาคเอเชียตะวันออก สหรัฐฯ มีพันธมิตร<br />

หลัก ๆ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ พันธมิตรในเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย ฟิลิปปินส์ และใน<br />

ออสเตรเลีย รัฐบาลสหรัฐฯ ที่มองว่า จีนจะ<br />

ขยายอิทธิพลออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งภูมิภาคสำคัญ<br />

ที่อเมริกาห่วงว่าจีนจะขยายอิทธิพลเข้าครอบง ำ<br />

คืออาเซียน สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มปรับนโยบาย<br />

ใหม่ทั้งหมด<br />

การประชุมสุดยอดกับอาเซียนครั้งแรก<br />

ในปี ๒๐๐๙<br />

การส่งทูตมาประจำที่อาเซียน เข้าร่วม<br />

ประชุม ADMM + ๘<br />

เปลี่ยนท่าทีเรื่อง SEANWFZ หรือ เขต<br />

ปลอดอาวุธนิวเคลียร์<br />

เปลี่ยนนโยบายต่อพม่าใหม่หมด<br />

๓.๒ จีน<br />

การก้าวขึ้นมาทางเศรษฐกิจของจีน เป็นสิ่ง<br />

ที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเป็นอย่างมาก ขนาด<br />

เศรษฐกิจจีนกำลังจะทำให้จีนเป็นประเทศที่มี<br />

ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก และด้วยเหตุที่<br />

ประเทศจีนอยู่ใกล้กับภูมิภาคอาเซียนมากกว่า<br />

สหรัฐอเมริกา ทำให้จีนรุกคืบเข้าหาอาเซียนได้<br />

เป็นอย่างมาก<br />

จีนเจรจา FTA กับอาเซียนมาตั้งแต่ปี<br />

๒๐๐๑ เป็น Strategic Partner ของอาเซียน<br />

ลงนามรับรอง TAC ของอาเซียน<br />

แถลงจุดยื่นเรื่อง SEANWFZ หรือ เขต<br />

ปลอดอาวุธนิวเคลียร์<br />

ลงนามข้อตกลงด้านการลงทุนกับ<br />

อาเซียน และตั้งกองทุนช่วยเหลืออาเซียน<br />

วงเงิน ๒ หมื ่นล้านเหรียญ<br />

เมื่ออยู่ท่ามกลางการขยายอิทธิพลของ<br />

สองอภิมหาอำนาจ อาเซียนจึงต้องวางแนวทาง<br />

ความสมดุลแห่งสองอำนาจให้ได้ สิ่งที่ทำให้<br />

อาเซียนเนื้อหอมขนาดนี้ แน่นอนที่สุด อาเซียน<br />

มีข้อได้เปรียบกลุ่มประเทศอื่น ๆ ที่เรียกว่า<br />

“จุดแข็ง”<br />

๔.จุดแข็งของอาเซียน<br />

ทางกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นจุดแข็งต่าง ๆ<br />

ที่ทำให้เราได้เปรียบกลุ่มประเทศอื่น ๆ ซึ่ง<br />

ประกอบด้วย<br />

๔.๑ คมนาคมสะดวก ไม่ว่าคุณจะเป็น<br />

คนประเทศไหน จากส่วนไหนของโลกที่ต้อง<br />

เดินทางไปมาหาสู่กันในกลุ่มประเทศอาเซียน<br />

หรือติดต่อค้าขาย ขนส่งสินค้าภายในกลุ่ม<br />

ก็ตาม สามารถเดินทางไปได้ด้วยหลายเส้นทาง<br />

ที่เชื่อมถึงกันทั้งทางอากาศที่มีสนามบิน<br />

นานาชาติหลากหลายแห่งในประเทศเฉพาะ<br />

ในประเทศไทยประเทศเดียวก็มีถึง ๑๑ ท่า<br />

อากาศยานแล้ว ทางบกที่สามารถเดินทาง<br />

ได้หลายรูปแบบ รถไฟที่มีเส้นทางระหว่าง<br />

ประเทศที่สะดวกสบาย หรือทางน้ำที่ทั้ง ๙<br />

ประเทศสมาชิกมีพื้นที่ติดทะเล และมีท่าเรือ<br />

ที่สามารถขนส่งโดยสารและสินค้าได้ ยกเว้น<br />

ประเทศลาวประเทศเดียวที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล<br />

เลย แต่สามารถออกสู่ทะเลได้ทางแม่น้ำโขงที่<br />

ไหลผ่านเวียดนามและกัมพูชา<br />

๔.๒ แรงงานราคาถูก ค่าจ้างแรงงานถือ<br />

เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกลงทุน อาเซียน<br />

ถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีแรงงานราคาถูกและ<br />

มีคุณภาพแรงงานที่มีความสามารถสูง ตอบ<br />

สนองความต้องการแรงงานได้ดีพอสมควร<br />

ประชาชนในอาเซียนเป็นแรงงานที่มีความ<br />

สามารถอันหลากหลาย และยังมีฝีมือในเรื่อง<br />

เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทักษะเรื่องภาษาอังกฤษที่<br />

มีคนใช้ภาษาอังกฤษได้มากกว่าด้วย ดังนั้นการ<br />

จะได้แรงงานที่มีคุณภาพนั้นอาเซียนถือเป็น<br />

ตัวเลือกที่น่าสนใจอันดับแรก ๆ ก็ว่าได้<br />

๔.๓ แหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติที่หลาก<br />

หลาย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศอยู่ในเขต<br />

ร้อน ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติจึงมีอยู่หลาก<br />

หลายให้สามารถนำไปใช้งานได้มาก และพื้นที่<br />

ในเขตร้อนนี่เองเป็นแหล่งรวมของความหลาก<br />

หลายทั ้งพันธ์ุพืชและสัตว์มากมาย ความอุดม<br />

สมบูรณ์ของดินและน้ำที่มากเพียงพอสำหรับ<br />

การเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตร<br />

ที่มากขึ้น จากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์<br />

พันเอก อภิสิทธิ์ บุศยารัศมี


่<br />

ดังนั้นอาเซียนจึงกลายเป็นผู้ผลิตอาหาร<br />

สำหรับโลกไปโดยปริยาย<br />

๔.๔ สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก มีสถานที<br />

ท่องเที่ยวที่สวยงาม น่าเทียวมากมาย ทั้งทะเล<br />

ภูเขา น้ำตก สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม<br />

โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ<br />

เชิงอนุรักษ์ที่กำลังได้รับความนิยม ทั้งหมดที่<br />

กล่าวมานั้น ล้วนมีอยู่ในหลายประเทศอาเซียน<br />

เช่น ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า<br />

มาเลเซีย อินโดนีเซีย เรียกได้ว่าทุกประเทศ<br />

ในอาเซียนนั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ<br />

และน่าท่องเที่ยวอย่างยิ่งอากาศในภูมิภาค<br />

นี้ค่อนข้างอบอุ่น ผู้คนจากซีกโลกเหนือที่มี<br />

อากาศหนาวเย็นจึงนิยมมาเที่ยวกันที่นี่ รัฐบาล<br />

ของประเทศอาเซียนนั้นส่งเสริมธุรกิจและ<br />

อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทั้งยังให้<br />

ชาวต่างชาติลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวได้ด้วย<br />

ดังนั้นจึงเป็นข้อดี และจุดแข็งของประเทศ<br />

อาเซียน ในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม<br />

ของผู้คนทั่วโลก<br />

๔.๕ แหล่งรวมศิลปวัฒนธรรม ประวัติ-<br />

ศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนนั้นมีมา<br />

ยาวนานหลายร้อยปี คนรุ่นเก่าได้ทิ้งมรดกทาง<br />

วัฒนธรรมเอาไว้แก่คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และ<br />

คงรักษาเอาไว้ แต่ละประเทศของอาเซียนนั้น<br />

มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ในภูมิภาค<br />

เดียวกันก็ตามที ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน<br />

วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ประยุกต์ข้อดีของ<br />

แต่ละประเทศมาใช่เพื่อการพัฒนาศิลปะที่<br />

สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะให้ได้เข้าถึง และ<br />

เข้าใจมากขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีการท่องเที่ยว<br />

เชิงวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นด้วยสามารถ<br />

สร้างรายได้จากความแตกต่างนี้ได้ด้วย<br />

๔.๖ สถาบันการเงินมั่นคง ระบบการเงิน<br />

และธนาคารในหลายประเทศค่อนข้างมีความ<br />

มั่นคงและรัฐบาลส่งเสริมให้ชาวต่างชาติ<br />

สามารถหาแหล่งเงินในการระดมทุนได้โดย<br />

มีนโยบายลดดอกเบี้ยสำหรับนักลงทุนที่<br />

ต้องการเงินทุนเพื่อทำธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศ<br />

ในอาเซียน และรัฐบาลในแต่ละประเทศก็<br />

สนับสนุนการลงทุนต่าง ๆ อยู่แล้ว ข้อดีแบบ<br />

นี้จึงเป็นเหตุผลทำให้สามารถดึงดูดเงินทุนจาก<br />

ทั่วโลกมาลงในอาเซียน<br />

๔.๗ ผู้คนเป็นมิตร ในอาเซียนนั้นมี<br />

ประชากรอยู่มากมายและแตกต่างในเรื่อง<br />

ภาษา วัฒนธรรม การแต่งกาย ดนตรี อาชีพ<br />

หรืออื่น ๆ แต่มีสิ่งเดียวที่คนในอาเซียนนั้นมี<br />

คล้าย ๆ กันนั่นก็คือ ความมีน้ำใจและมิตรไมตรี<br />

ต้อนรับผู้คนที่หลั่งไหลมาทำธุรกิจ นักท่อง<br />

เที่ยวที่หอบเงินมาใช้ในภูมิภาคนี ้ หรือคนที่<br />

เดินทางมาเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ ต่างชื่นชมใน<br />

ความเป็นมิตรของผู้คนในหลากหลายประเทศ<br />

ในกลุ่มอาเซียนนี้<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

๔.๘ เทคโนโลยีล้ำสมัย หลายประเทศ<br />

ในอาเซียนนั้นมีบุคลากร สถาบันการศึกษา<br />

และองค์ความรู้มากมายที่สามารถคิดค้น<br />

สร้างสรรค์เทคโนโลยีต่าง ๆ มาเพื่อตอบสนอง<br />

ผู้คนในประเทศที่ไม่มีสินค้า หรือเทคโนโลยีที่<br />

ทันสมัยเอาไว้ใช้งาน โดยเฉพาะประเทศไทย<br />

สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น<br />

๔.๙ แหล่งกระจายสินค้า ท่าเรือน้ำลึก<br />

หลาย ๆ แห่ง สนามบินนานาชาติ และเส้นทาง<br />

ติดต่อค้าขายที่สำคัญของโลกก็ผ่านอาเซียน<br />

ด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าภายในกลุ่มต้องการ<br />

กระจายสินค้าออกไปนอกภูมิภาคนี้ก็สามารถ<br />

ทำได้ง่าย และยิ่งมีความสะดวกมากขึ้นเมื่อการ<br />

ร่วมมือกัน เอื้ออำนวยกัน หรือกลุ่มประเทศ<br />

อื่น ๆ ต้องการเอาสินค้ามาขายในอาเซียนก็<br />

สามารถกระจายสินค้าของตัวเองสู่ประเทศ<br />

ต่าง ๆ ในอาเซียนได้สะดวกยิ่งขึ้น<br />

๔.๑๐ ฐานการผลิตที่สำคัญ ในประเทศ<br />

อาเซียนนอกจากสินค้าเกษตรกรรมที่มี<br />

มากแล้ว สินค้าต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในโลกนี้ก็<br />

มาตั้งฐานการผลิตในหลายประเทศในอาเซียน<br />

ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ<br />

อิเล็กทรอนิกส์<br />

และถ้าเป็นไปตามแผนที่อาเซียนวาง<br />

ไว้ ภายหลังปี ๒๐๑๕ เมื่อมีการรวมตัวทาง<br />

เศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง การพัฒนาเป็นไป<br />

อย่างรวดเร็ว การพัฒนาด้านความร่วมมือด้าน<br />

การเมือง ความมั่นคงและสังคมของอาเซียน<br />

จะทำให้อาเซียนมีการพัฒนาอย่างมั่นคง เป็น<br />

ปึกแผ่นเทียบเท่าหรือเหนือกว่า การรวมกลุ่ม<br />

ของประเทศใดในโลก<br />

ที่มาของแหล่งข้อมูล : ๑. รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี<br />

๒. http://bps.ops.moph.go.th/Statistic/<br />

๓. www.ประเทศอาเซียน.com<br />

เครดิตภาพจาก : ๑. เกร็ดความรู้ .net<br />

๒. www.ประเทศอาเซียน.com<br />

25


แผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น"<br />

(nine-dash-line)<br />

ต้นกำเนิดความขัดแย้ง<br />

ในทะเลจีนใต้<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ<br />

26<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


แ<br />

ผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น" (ninedash-line)<br />

หรือที่บางครั้งเรียกว่า<br />

"เส้น ๙ จุด" (nine-dotted-line)<br />

คือเส้นที่ลากขึ้นเพื่อกำหนดอาณาเขตของจีน<br />

ในทะเลจีนใต้ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.<br />

๒๔๙๐ หรือตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง<br />

ได้เพียง ๒ ปี จัดทำโดยรัฐบาลพรรค "ก๊กมินตั๋ง"<br />

ของจีนคณะชาติซึ่งยังครอบครองจีนแผ่นดิน<br />

ใหญ่อยู่ในขณะนั้น เส้นดังกล่าวเป็นแนวเส้น<br />

ที่ลากลงมาจากเกาะไหหนาน หรือ "ไหหลำ"<br />

ของจีนบริเวณอ่าวตั๋งเกี๋ย ขนานกับชายฝั่ง<br />

เวียดนามมาจนถึงเกาะบอร์เนียวบริเวณรัฐ<br />

ซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับเลียบชายฝั่ง<br />

บรูไน ผ่านรัฐซาบาห์ ตัดตรงเข้าไปในน่านน้ำ<br />

ของฟิลิปปินส์ เลาะชายฝั่งของจังหวัดปาลาวัน<br />

เรื่อยไปจนถึงเกาะลูซอน แล้วขึ้นไปสิ้นสุดที่<br />

เกาะไต้หวัน<br />

แนวเส้นประ ๙ เส้นนี้ ก่อให้เกิดพื้นที่ที ่มี<br />

ลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ครอบคลุมท้องน้ำ<br />

ของทะเลจีนใต้อันกว้างใหญ่ไพศาล รัฐบาล<br />

ก๊กมินตั๋งของจีนในขณะนั้นประกาศว่า พื้นที่<br />

ภายในเส้นประ ๙ เส้นทั้งหมดคืออาณาเขต<br />

ของจีน โดยมีการส่งหน่วยสำรวจแผนที่เดิน<br />

ทางเข้าไปในทะเลจีนใต้ พร้อมกับจัดทำเส้น<br />

เขตแดนลงไปในแผนที่ฉบับใหม่ของตน แต่ก็<br />

ไม่มีประเทศใดหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสร้าง<br />

ความขัดแย้ง เนื่องจากในขณะนั้นสงครามโลก<br />

ครั ้งที่สองเพิ่งสิ้นสุดลง แต่ละประเทศอยู่<br />

ในสภาวะบอบช้ำ บ้านแตกสาแหรกจากมหา<br />

สงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน ประกอบกับรัฐบาล<br />

ก๊กมินตั๋งเองก็กำลังสู้รบติดพันในลักษณะ<br />

"เจียนอยู่ เจียนไป" กับพรรคคอมมิวนิสต์<br />

ของเหมาเจ๋อตุง จนในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์<br />

ก็สามารถยึดจีนแผ่นดินใหญ่ได้ในปีต่อมา<br />

ทำให้รัฐบาลก๊กมินตั๋งต้องถอยไปปักหลักอยู่ที่<br />

ไต้หวันมาจนถึงทุกวันนี้<br />

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ก่อตั้งสาธารณรัฐ<br />

ประชาชนจีนขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๑ เหมาเจ๋อตุง<br />

ก็ประกาศใช้แผนที่ที่มีเส้นประ ๙ เส้นนี้ พร้อม<br />

กับประกาศว่า ดินแดนต่าง ๆ ในอาณาเขต<br />

ทะเลจีนใต้ที่เป็นถุงขนาดใหญ่นี้่คืออาณาเขต<br />

ของจีน โดยควบรวมดินแดนทั้งหมู่เกาะพารา<br />

เซลและหมู่เกาะสแปรตลีอันอุดมสมบูรณ์ไป<br />

ด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมหาศาล<br />

เข้าไปด้วย การประกาศดังกล่าวเริ่มกลายเป็น<br />

ประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อเวียดนาม มาเลเซีย<br />

ฟิลิปปินส์ บรูไนและไต้หวัน ซึ่งมีพื้นที่เขต<br />

เศรษฐกิจจำเพาะของตนอยู่ในทะเลจีนใต้<br />

ต่างก็ออกมาคัดค้าน ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้<br />

อินโดนีเซียซึ่งแต่ก่อนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใน<br />

พื้นที่พิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลีแต่อย่าง<br />

ใด ต้องพลอยฟ้าพลอยฝนติดร่างแหไปด้วย<br />

เนื่องจากบริเวณตอนล่างสุดของเส้นประ ๙<br />

เส้นนั้น ลากมาจนเกือบจะถึงเกาะ "นาทูน่า"<br />

(Natuna) ของตน ส่งผลให้พื้นที่ส่วนล่างของ<br />

เส้นดังกล่าวอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของ<br />

อินโดนีเซียไปด้วยโดยปริยาย<br />

นอกจากนี้จีนยังตอกย้ำความขัดแย้งดัง<br />

กล่าวด้วยการใช้แผนที่เส้นประ ๙ เส้นเป็น<br />

ส่วนประกอบในการร่างแนวปราการป้องกัน<br />

อาณาเขตทางทะเลของตนที่เรียกว่า "แนวห่วง<br />

โซ่ปราการของเกาะชั้นแรก" (First Islands<br />

Chain) ที่ลากเส้นประ ๙ เส้นให้ต่อยาวเป็น<br />

เส้นทึบ พร้อมกับลากให้ยาวขึ้นไปครอบคลุม<br />

จนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยจีนประกาศว่าในปี<br />

พ.ศ.๒๕๖๓ หรือ ค.ศ.๒๐๒๐ ตนจะสามารถ<br />

ใช้ "แนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรก" นี้<br />

เป็นแนวปราการสกัดกั้นอิทธิพลของสหรัฐฯ<br />

ในทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวัน<br />

ออก ซึ่งจะทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจีน<br />

บริเวณด้านที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิคมีความ<br />

มั่นคงอย่างมาก<br />

จีนไม่เพียงแต่กำหนดยุทธศาสตร์ลงบน<br />

แผนที่เท่านั้น หากแต่ยังลงมือเสริมสร้างกำลัง<br />

ทางเรืออย่างขนานใหญ่ พร้อมส่งกำลังทางเรือ<br />

คืบคลานเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง<br />

เพื่อเตรียมการปิดล้อมทะเลต่าง ๆ ตามแนว<br />

เส้นประ ๙ เส้นและตามแนวห่วงโซ่ปราการ<br />

ของเกาะชั้นแรกดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการ<br />

ป้องกันมิให้สหรัฐฯ ส่งกำลังทางเรือรุกล้ำเข้า<br />

มา จนทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับประเทศ<br />

ต่าง ๆ ที่อยู่ในแนวเส้นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง<br />

อาจกล่าวได้ว่าแผนที่ "เส้นประ ๙ เส้น"<br />

ได้ส่งผลให้จีนเกิดความขัดแย้งกับประเทศ<br />

ต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ถึง ๖ ประเทศด้วย<br />

กัน คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย<br />

บรูไน ฟิลิปปินส์และไต้หวัน รวมทั้งยังสร้าง<br />

ความกังวลอย่างมากต่อสิงคโปร์ ที ่อาศัย<br />

ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้า<br />

ผ่านช่องแคบมะละกา ความขัดแย้งดังกล่าวส่ง<br />

ผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์การ<br />

ป้องกันประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

27


ขนานใหญ่ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อ<br />

รับมือกับภัยคุกคามจากการแผ่ขยายอาณาเขต<br />

ของจีนในครั้งนี้<br />

การปรับยุทธศาสตร์ประการแรกคือ การ<br />

เสริมสร้างกำลังทางเรือ เพื่อรักษาน่านน้ำ<br />

และผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล<br />

ของตนเองแทนการเสริมสร้างแสนยานุภาพ<br />

ทางบกที่ดำเนินมาเป็นเวลาช้านาน ส่วนการ<br />

ปรับยุทธศาสตร์ประการที่สองนั้น สืบเนื่อง<br />

มาจากสงครามในอิรักทั้งสองครั้งและสงคราม<br />

ในอัฟกานิสถาน ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ<br />

ของกำลังทางอากาศ ที่มีขีดความสามารถใน<br />

การทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและเด็ด<br />

ขาด ทำให้ขนาดความใหญ่โตและจำนวนของ<br />

เรือรบไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกำหนดชัยชนะ<br />

อีกต่อไป หากแต่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงและ<br />

ระบบเรดาห์ที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นตัว<br />

ชี้นำอาวุธปล่อยนำวิถีและขีปนาวุธทั้งจากพื้น<br />

สู่พื้น พื้นสู่อากาศ อากาศสู่อากาศและอากาศ<br />

สู่พื้น ให้พุ่งเข้าทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ<br />

ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้มีการเสริม<br />

สร้างแสนยานุภาพทางอากาศควบคู่ไปกับ<br />

แสนยานุภาพทางเรือเป็นหลัก<br />

เวียดนามเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ<br />

ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการปรับเปลี ่ยน<br />

ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอย่างขนาน<br />

ใหญ่ โดยแต่เดิมในช่วงสงครามเย็นนั้น<br />

เวียดนามมีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง<br />

บกจนมีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ติด<br />

อันดับต้น ๆ ของโลก เนื่องจากมีภัยคุกคามทาง<br />

บกจากทิศด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็น<br />

กลุ่มประเทศโลกเสรีที่เผชิญหน้ากับเวียดนาม<br />

มาอย่างยาวนาน แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลง<br />

ประกอบกับการหันไปพัฒนาเศรษฐกิจของตน<br />

ตามนโยบาย "โด๋ย เหม่ย" ก็ทำให้เวียดนามว่าง<br />

เว้นจากการสร้างแสนยานุภาพมาเป็นระยะ<br />

28<br />

เวลาหนึ่ง จนกระทั่งจีนได้เคลื่อนตัวเข้ามาและ<br />

มีท่าทีที่เป็นภัยคุกคามในการครอบครองพื้นที่<br />

ต่าง ๆ ตามแนวเส้นประ ๙ เส้นดังกล่าว อัน<br />

เป็นพื ้นที่ที่เวียดนามกล่าวอ้างกรรมสิทธิเหนือ<br />

ดินแดนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน<br />

เมื่อภัยคุกคามของเวียดนามได้เปลี่ยน<br />

จากภัยคุกคามทางบกด้านตะวันตก มาเป็น<br />

ภัยคุกคามทางทะเลด้านตะวันออก โลกจึง<br />

ได้เห็นการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเล<br />

อย่างขนานใหญ่ของเวียดนาม มีการสั่งซื้อเรือ<br />

ดำน้ำพลังงานดีเซลชั้น "กิโล" (Kilo) จำนวน ๖<br />

ลำ มูลค่ากว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก<br />

รัสเซีย เรือดำน้ำดังกล่าวนับเป็นเรือดำน้ำที่ทัน<br />

สมัยที่สุดชนิดหนึ่ง มีขีดความสามารถในการ<br />

เป็น "เพชฌฆาตเงียบใต้ท้องทะเล" ที่สามารถ<br />

ทำลายเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำและอากาศยาน<br />

เหนือน่านฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรือดำน้ำ<br />

สองลำแรกคือเรือ "ฮานอย" และ "โฮ จิ มินห์<br />

ซิตี้" ได้มีการส่งมอบให้กับกองทัพเรือเวียดนาม<br />

ไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๖ และต้นปี พ.ศ.<br />

๒๕๕๗ ตามลำดับ รวมทั้งมีกำหนดส่งมอบลำ<br />

ที่สามคือ "ไฮ ฟอง" ในปลายปีนี้ และจะส่ง<br />

มอบส่วนที่เหลือให้ครบภายในห้วงเวลา ๒ ปี<br />

ข้างหน้า โดยเรือดำน้ำทั้งหมดจะประจำการที่<br />

ฐานทัพเรืออ่าวคัมรานห์ ซึ่งทำให้มีพื้นที่ปฏิบัติ<br />

การครอบคลุมแนวเส้นประที่ ๑ – ๓<br />

สำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง<br />

อากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่องบิน<br />

ขับไล่ประสิทธิภาพสูง ๒ ที่นั่งและ ๒<br />

เครื่องยนต์แบบ ซู-๓๐ เอ็มเค ๒ เพิ่มขึ้นอีก<br />

จำนวน ๑๒ ลำจากรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า ๖๐๐<br />

ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่เวียดนามเคยสั่ง<br />

ซื้อมาแล้วสองครั้งจำนวน ๒๐ ลำในปี พ.ศ.<br />

๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ ซึ่งทำให้เวียดนามมีฝูงบิน<br />

ซู-๓๐ ถึง ๓ ฝูงด้วยกัน เครื่องบินที่สั่งซื้อครั้ง<br />

ล่าสุดจะมีการส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ<br />

๒๕๕๘ เครื่องบินรุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี<br />

แบบอากาศสู่พื้นเพื่อมุ่งทำลายเรือผิวน้ำเป็น<br />

หลัก โดยเวียดนามได้จัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถี<br />

ต่อต้านเรือแบบ เอเอส-๑๗ คริปตอน รุ่น เค<br />

เอช-๓๕เอ จากรัสเซียจำนวน ๑๐๐ ลูกและ<br />

แบบ เอเอส-๑๔ รุ่น เคเอช-๒๙ ที เพื่อนำมา<br />

ใช้กับเครื่องบินขับไล่แบบ ซู-๓๐ และซู-๒๗ ที่<br />

มีอยู่เดิมอีกด้วย<br />

สำหรับอินโดนีเซียนั้นเป็นอีกประเทศ<br />

หนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการ<br />

ป้องกันประเทศ โดยจากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่<br />

ได้รับเอกราชในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ภัยคุกคาม<br />

ของอินโดนีเซียร้อยละ ๖๗ เป็นภัยคุกคาม<br />

ในประเทศอันเกิดจากกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง<br />

และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ ที่พยายามแยกตัว<br />

ออกเป็นอิสระ เช่น ติมอร์ตะวันออก ปาปัว<br />

ตะวันตก อาเจะห์และอิเรียนจายา แต่เมื่อ<br />

ปัญหาเหล่านี้เบาบางลงภายหลังจากการ<br />

แยกตัวเป็นเอกราชของติมอร์ เลสเต ตลอด<br />

จนการล่มสลายของกลุ่มต่อต้านในอาเจะห์<br />

อินโดนีเซียก็ต้องเผชิญหน้ากับ "แนวเส้นประ<br />

๙ เส้น" ของจีนที่ผนวกพื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะ<br />

บริเวณเกาะนาทูน่าของตนเข้าไปด้วย ทำให้มี<br />

การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมารับมือกับภัย<br />

คุกคามในทะเลจีนใต้ โดยมีการเสริมสร้างกำลัง<br />

ทางเรืออย่างยิ่งใหญ่ เช่น การตั้งเป้าที่จะเพิ่ม<br />

จำนวนเรือรบให้มีถึง ๒๕๐ ลำในปี พ.ศ.๒๕๖๗<br />

หรือภายในสิบปีข้างหน้า ปัจจุบันกองทัพเรือ<br />

อินโดนีเซียมีกองเรือจำนวน ๒ กองเรือคือ กอง<br />

เรือภาคตะวันออกอยู่ที่เมืองสุราบายา และ<br />

กองเรือภาคตะวันตกอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า เมือง<br />

หลวงของอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซียมีแผนที่จะ<br />

เพิ่มกองเรือขึ้นอีก ๓ กองเรือ โดยจะขยายกอง<br />

เรือภาคตะวันออกขึ้นอีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพ<br />

อยู่ที่เมืองอัมบอน เมืองเมอเรากิและเมืองคูปัง<br />

ตลอดจนขยายกองเรือภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นอีก<br />

๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองตันจุงปีนัง เมือง<br />

นาตันและเมืองเบลาวัน รวมทั้งตั้งกองเรือภาค<br />

กลางขึ้นมาใหม่อีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่<br />

เมืองมากัสซ่าร์และเมืองเทรากัน<br />

นอกจากนี้ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ อินโดนีเซียได้<br />

สั่งต่อเรือดำน้ำชั้น "ชาง โบโก แบบ ๒๐๙”<br />

ระวางขับน้ำ ๑,๘๐๐ ตันจากบริษัทแดวูของ<br />

เกาหลีใต้จำนวน ๓ ลำ จากเดิมที่มีประจำ<br />

การอยู่แล้ว ๒ ลำคือเรือดำน้ำชั้น "จักกรา"<br />

(Chakkra) จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเรือดำน้ำ<br />

"ชาง โบโก" จำนวนสองลำจะต่อที่อู่ต่อเรือ<br />

ในเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท<br />

แดวูและรัฐวิสาหกิจการต่อเรือของอินโดนีเซีย<br />

ส่วนเรือดำน้ำลำที่สามจะต่อในอินโดนีเซีย<br />

ล่าสุดประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งเพิ่งเข้า<br />

รับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่าน<br />

มา ได้เปิดเผยว่าอินโดนีเซียกำลังพิจารณา<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


จัดซื้อเรือดำน้ำชั้น "กิโล" รุ่นปรับปรุงใหม่จาก<br />

โครงการ ๖๓๖ (Project 636) ของรัสเซีย ซึ่ง<br />

เป็นโครงการเดียวกับเรือดำน้ำของเวียดนาม<br />

เนื่องจากมีขีดความสามารถในการครองน่าน<br />

น้ำและครองอากาศครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้น<br />

เรือดำน้ำรุ่นที่อินโดนีเซียสนใจนั้น จะมีระบบ<br />

โซน่าร์ที่ทันสมัยกว่าของเวียดนาม โดยเป็นการ<br />

พัฒนาจากแบบ เอ็มจีเค-๔๐๐ อี เป็นรุ่น เอ็ม<br />

จีเค-๔๐๐ อีเอ็ม คาดว่าอินโดนีเซียจะสั ่งซื้อ<br />

เป็นจำนวนถึง ๑๐ ลำเลยทีเดียว<br />

ส่วนกำลังทางอากาศนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๕๖<br />

กองทัพบกอินโดนีเซียได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์<br />

โจมตีแบบ เอเอช-๖๔ อี "อาปาเช่" จำนวน<br />

๘ ลำจากสหรัฐฯ มูลค่ากว่า ๕๐๐ ล้าน<br />

เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีติด<br />

อาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น ที่ประสบ<br />

ความสำเร็จอย่างมากจากการรบในอิรักและ<br />

อัฟกานิสถาน โดยคาดว่าอินโดนีเซียจะได้รับ<br />

เฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดในปี พ.ศ.๒๕๖๐ การสั ่ง<br />

ซื้อครั้งนี้ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สอง<br />

ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ที่มี<br />

เฮลิคอปเตอร์โจมตีชั้นสุดยอดของโลกชนิด<br />

นี้อยู่ในประจำการ กองทัพบกอินโดนีเซีย<br />

วางแผนที่จะนำเฮลิคอปเตอร์อาปาเช่จำนวน<br />

๔ ลำ เข้าประจำการที่เกาะ "นาทูน่า" เพื่อ<br />

คุ้มครองเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตนจาก<br />

แนวเส้นประ ๙ เส้นของจีนนั่นเอง นอกจากนี้<br />

อินโดนีเซียยังเสริมสร้างกำลังทางอากาศด้วย<br />

การสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบซุคคอย ซู-๓๐<br />

จากรัสเซียเป็นจำนวนถึง ๖๔ ลำและเครื่อง<br />

แบบขับไล่แบบเอฟ-๑๖ จากสหรัฐฯ จำนวน<br />

๓๒ ลำ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินมือสองจำนวน<br />

๒๔ ลำที่ได้รับการ "ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า"<br />

จากสหรัฐฯ เมื่อครั้งประธานาธิบดี บารัก<br />

โอบาม่า เดินทางเยือนอินโดนีเซียในปี พ.ศ.<br />

๒๕๕๓ แต่อินโดนีเซียต้องออกค่าใช้จ่ายใน<br />

การปรับปรุงสมรรถนะมูลค่ากว่า ๗๕๐ ล้าน<br />

เหรียญเอง<br />

ทางด้านมาเลเซียนั้น ก็มีการปรับ<br />

ยุทธศาสตร์ให้มีความพร้อมในการรับมือกับ<br />

ภัยคุกคามในทะเลจีนใต้ แทนการรับมือภัย<br />

คุกคามทางบกจากประเทศเพื่อนบ้านทาง<br />

ทิศเหนือและทิศใต้ดังเช่นในอดีต เนื่องจาก<br />

มาเลเซียมีพื้นที่ทับซ้อนอยู่ในแนวเส้นประ ๙<br />

เส้นของจีนด้วยเช่นกัน มาเลเซียเป็นประเทศ<br />

แรก ๆ ที่สั่งซื้อเรือดำน้ำสกอร์ปีเน่ จำนวน<br />

๒ ลำจากการร่วมผลิตของประเทศฝรั่งเศส<br />

และสเปน โดยเรือดำน้ำลำแรกคือ เรือดำน้ำ<br />

"ตุนกู อับดุล ราห์มาน" ได้เข้าประจำการ<br />

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ส่วนเรือดำน้ำอีกลำหนึ่ง<br />

คือเรือดำน้ำ "ตุนกู อับดุล ราซัก" เข้าประจำ<br />

การในปีถัดมา เรือดำน้ำทั้งสองลำนี้เป็นเรือ<br />

ดำน้ำพลังงานดีเซล มีระวางขับน้ำ ๑,๖๐๐<br />

ตัน ความยาว ๖๖.๔ เมตร ความเร็วขณะ<br />

ดำน้ำ ๒๐ น๊อตหรือ ๓๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง<br />

ดำน้ำได้ลึกกว่า ๓๐๐ เมตร ติดตั้งตอร์ปิโด<br />

นำวิถีแบบ "แบล็คชาร์ค" (Blackshark)<br />

ขนาด ๒๑ นิ้ว (๕๓๓ มิลลิเมตร) จำนวน ๖<br />

ท่อยิง และอาวุธปล่อยนำวิถีจากใต้น้ำต่อ<br />

ต้านเรือผิวน้ำแบบ เอกโซเซต์ เอสเอ็ม ๓๙<br />

ของฝรั่งเศส ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีเอกโซเซต์<br />

รุ่นนี้คล้ายกับรุ่นเอ็มเอ็ม ๔๐ (MM40) ซึ่งเป็น<br />

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือหรือแบบพื้นสู่<br />

พื้นที่ติดตั้งบนเรือเร็วโจมตีชั้น "เปอร์ดานา"<br />

จำนวน ๔ ลำซึ่งมาเลเซียสั่งต่อจากฝรั่งเศส<br />

และชั้น "ฮันดาลัน" จำนวน ๔ ลำที่สั่งต่อจาก<br />

สวีเดน เพียงแต่ถูกออกแบบให้ยิงจากท่อส่งที่<br />

อยู่ภายในเรือดำน้ำเท่านั้น มาเลเซียได้นำเรือ<br />

ดำน้ำทั้งสองลำเข้าประจำการที่ฐานทัพเรือ<br />

"เซปังการ์" (Sepanggar) ในรัฐซาบาห์ ซึ่งเป็น<br />

ที่ตั้งกองบัญชาการกองเรือภาคที่ ๒ หรือ<br />

"มาวิลล่า ดัว" ฐานทัพนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ<br />

ของเกาะบอร์เนียว ทอดตัวขนานไปกับแนว<br />

เส้นประเส้นที่ ๔ และ ๕ ของจีน ส่งให้เรือดำ<br />

น้ำดังกล่าวมีพื ้นที ่ปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่<br />

พิพาททั้งหมด<br />

ทางด้านฟิลิปปินส์นั้นก็เช่นเดียวกับ<br />

ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนทั้งสามที่กล่าวมา<br />

ข้างต้น ที่ปรับยุทธศาสตร์จากการเสริมสร้าง<br />

แสนยานุภาพทางบก ซึ่งมุ่งเน้นการรับมือ<br />

กับภัยคุกคามภายในประเทศอันเกิดจากการ<br />

ก่อการร้ายของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มแนวร่วม<br />

ปลดปล่อยอิสลามโมโร ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่<br />

เกาะมินดาเนาแห่งนี้มาตั้งแต่คริสตศตวรรษ<br />

ที่ ๑๖ แต่เมื่อมีการลงนามครั้งประวัติศาสตร์<br />

กับกลุ่มดังกล่าวเพื่อยุติสงครามกลางเมืองที่<br />

ยาวนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ<br />

วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ก็ทำให้<br />

ภัยคุกคามภายในประเทศของฟิลิปปินส์มีแนว<br />

โน้มลดลง ในทางกลับกันภัยคุกคามจากจีน<br />

ในทะเลจีนใต้กลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น<br />

เรื่อย ๆ ส่งผลให้ฟิลิปปินส์ต้องปรับยุทธศาสตร์<br />

มาเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทะเลและ<br />

ทางอากาศ แม้จะต้องประสบกับภาวะการ<br />

ขาดแคลนงบประมาณอย่างมากก็ตาม<br />

ก่อนหน้านี้กองทัพเรือฟิลิปปินส์มีเรือ<br />

ฟริเกตเพียงลำเดียวคือ เรือ "ราชา ฮัมอาบอน"<br />

ซึ่งเป็นเรือชั้นเดียวกับเรือหลวง "ปิ่นเกล้า" ของ<br />

ราชนาวีไทยที่มีอายุกว่า ๕๐ ปีและปลดประจำ<br />

การไปแล้วเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ แต่เนื ่องจาก<br />

ความขาดแคลนทำให้ฟิลิปปินส์ต้องใช้เรือ<br />

ดังกล่าวต่อไป การปรับยุทธศาสตร์เพื่อรับมือ<br />

ภัยคุกคามทางทะเลทำให้ฟิลิปปินส์จัดหา<br />

เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง "มือสอง" ชั้น "แฮมิล<br />

ตัน" จากหน่วยป้องกันและรักษาฝั่งสหรัฐฯ<br />

จำนวน ๒ ลำ เพื่อเข้าประจำการในฐานะเรือ<br />

ฟริเกต ประกอบด้วยเรือ "เกรโกริโอ เดล พิลาร์"<br />

เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ และเรือ<br />

"รามอน อัลคาราซ" เข้าประจำการในปี พ.ศ.<br />

๒๕๕๖ ที่ผ่านมา รวมทั้งจัดซื้อเครื่องบินขับไล่<br />

อเนกประสงค์แบบ เอฟ/เอ-๕๐ ซึ่งพัฒนามา<br />

จากเครื่องบินฝึกความเร็วเหนือเสียงแบบ ที-<br />

๕๐ โกลเด้น อีเกิ้ล ผลิตโดยบริษัทอุตสาหกรรม<br />

การบินของเกาหลีใต้ จำนวน ๑๒ ลำมูลค่ากว่า<br />

๔๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นการสั่งซื้อ<br />

ยุทโธปกรณ์ครั้งสำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุดอีก<br />

ครั้งหนึ่งของฟิลิปปินส์ โดยเครื่องบินดังกล่าว<br />

๒ ลำแรกจะส่งมอบให้กับฟิลิปปินส์ภายใน<br />

สิ้นปี พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึก<br />

สำหรับที่เหลืออีก ๑๐ ลำ จะทยอยส่งมอบ<br />

ครั้งละ ๒ ลำในทุก ๆ ๒ เดือน<br />

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างการ<br />

ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของประเทศในภูมิภาค<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเตรียมรับมือกับ<br />

ยุทธศาสตร์การแผ่ขยายอาณาเขตของจีนตาม<br />

แนวทาง "เส้นประ ๙ เส้น" ซึ่งนับแต่นี้ต่อไป<br />

ความเคลื่อนไหวในทะเลจีนใต้ จะยิ่งทวีความ<br />

เข้มข้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อประเทศต่าง ๆ<br />

ได้รับอาวุธยุทโธปรณ์ที่สั่งซื้อครบถ้วนแล้ว ก็<br />

จะส่งผลให้ "การเผชิญหน้ากับจีน" กลายเป็น<br />

สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

29


Ukrain crisis 2014 :<br />

Is Crimea gone?<br />

“ไครเมีย...<br />

ที่ต้องแย่งยื้อ ถือครอง”<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม<br />

บ<br />

นคาบสมุทรบอลข่าน ประเทศใน<br />

แถบทะเลดำ ที่เต็มไปด้วยปัญหา<br />

สารพัดทั้งเรื่องศาสนา ดินแดน<br />

ลัทธิทางการเมืองและเชื้อชาติ เรื่องราวเหล่านี้<br />

ล้วนแต่เขย่าความมั่นคงของสังคมโลก<br />

มาแล้วทั้งสิ้น เอาแค่ใกล้ตัวในเรื่องราวที่พอ<br />

จะจำกันได้ ในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง<br />

ในปี ๑๙๑๔ นั้น ความน่ากลัวและโหดร้าย<br />

ของเหตุการณ์ที่มีชนวนมาจากประเทศใน<br />

คาบสมุทรนี้ ก็สร้างความพินาศต่อระบบสังคม<br />

30<br />

ไปทั่วทั้งโลก รวมถึงการสูญเสียชีวิตพลเรือน<br />

และทหารทั้งสองฝ่ายอีกนับล้าน<br />

การสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็เป็น<br />

เพียงการสิ้นสุดเนื่องจากอ่อนเปลี้ยกำลังกัน<br />

เท่านั้น แต่ความแค้นจากรอยแผลเดิม ๆ<br />

สาเหตุเดิม ๆ ก็ยังอยู่ในใจของชาติที่เป็นอริกัน<br />

อยู่ พร้อมกับสร้างเสริมกำลังกันอย่างเงียบ ๆ<br />

ไปพร้อมกับการฟื้นฟูประเทศ จนกระทั่งมา<br />

แตกหักรบกันอีกรอบในสงครามโลกครั้งที่<br />

สอง ซึ่งเริ่มในปี ๑๙๓๙ และสงครามโลกครั ้ง<br />

ที่สองนี้ น่าจะจบบทบาทของสงครามโลก<br />

อย่างชัดเจน ไม่น่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สามอีก<br />

แล้ว เนื่องจากทุกประเทศซาบซึ้งถึงหายนะ<br />

หลังสงครามที่ร้ายกาจกันอย่างเจ็บปวด อีก<br />

ทั้งประชาคมโลกก็มีความเข้มแข็งขึ้นในรูป<br />

ขององค์การสหประชาชาติ อันเป็นองค์กรที่<br />

เกิดขึ้นหลังสงครามสงบ คอยประคับประคอง<br />

ประชาชาติไปในทางที่เป็นมิตรและสร้างสรรค์<br />

สงครามโลกครั้งที่สองปิดฉากลง จากการ<br />

เกิดขึ้นของระเบิดนิวเคลียร์ ชาติที่ช้ำใจที่สุด<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ก็คือญี่ปุ่น ซึ่งรับไปเต็ม ๆ ถึงสองลูกในเดือน<br />

สิงหาคม ๑๙๔๕ คือ Little Boy และ Fat<br />

Man จักวรรดิ์ญี่ปุ่นถึงกับจุกเสียดแน่นไปหมด<br />

จักรพรรดิญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ ก่อนที่<br />

ชาติจะยับเยินมากกว่านี้<br />

เมื่อโลกสงบจากสงครามโลกครั้งที่สอง<br />

ประมาณปี ๑๙๔๕ มีประเทศเกิดใหม่และ<br />

ประเทศที่ถูกผนวกเข้าไปเป็นสาธารณรัฐอยู่<br />

มากโดยเฉพาะในยุโรปและบริเวณคาบสมุทร<br />

บอลข่าน ความขัดแย้งตรงหน้าได้ลดระดับลง<br />

ไปใต้ดินเป็นสงครามเย็นที่เผชิญหน้ากันของ<br />

สองค่ายลัทธิการปกครองคือประชาธิปไตย<br />

อันมีประเทศสหรัฐฯ เป็นหัวเรือใหญ่ และฝ่าย<br />

ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ<br />

กาลเวลาผ่านไปพร้อมกับแนวความคิดในการ<br />

เผชิญหน้าก็ลดลงไป ต่างฝ่ายต่างหันมามอง<br />

ความผาสุกและความเป็นอยู่ในทางเศรษฐกิจ<br />

ของตนเองมากขึ้น<br />

สิ่งบอกเหตุอันแรกของการสิ้นสุดสงคราม<br />

เย็นคือ ในปี ๑๙๘๙ เกิดการทลายกำแพง<br />

เบอร์ลิน เพื่อการรวมกันอย่างสันติของคนเชื้อ<br />

ชาติเดียวกันคือเยอรมันตะวันออกและตะวัน<br />

ตก จนกระทั่งถึงปี ๑๙๙๑ ซึ่งถือว่าเป็นปีที่สิ้น<br />

สุดสงครามเย็นอย่างแท้จริง สหภาพโซเวียตที่<br />

ยิ่งใหญ่โดยผู้นำชื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟ ภายใต้<br />

นโยบายปฎิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ ได้<br />

ปล่อยให้ชาติดั่งเดิมในการผนวกภายใต้การ<br />

ปกครองเป็นอิสระ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศใน<br />

ยุโรปตะวันออก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือยูเครน เมือง<br />

หลวงคือกรุงเคียฟ (Kieve)และสาธารณรัฐ<br />

ปกครองตนเองไครเมีย (Crimea) เมืองหลวง<br />

คือกรุงซิมฟัสโตปอล (Savastopol) หากแต่<br />

ในขณะนั้นไครเมียอยู่ภายใต้ร่มธงของยูเครน<br />

เนื่องจากมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ผู้คน<br />

ส่วนใหญ่ในไครเมียเป็นคนรัสเซีย ส่วนใน<br />

ยูเครนก็เป็นคนยูเครน และยังมีพวกไครเมีย-<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

ตาตาร์ เป็นชาวมุสลิมซุนหนี่ ชื่อดูแปลก ๆ<br />

เจือปนอยู่บ้าง<br />

สรุปแล้วในดินแดนแถบนี้พวกเขามีความ<br />

แตกต่างกันในเรื่องเชื้อชาติกันอยู่แล้ว ซึ่ง<br />

เป็นที่แน่นอนทางด้านภูมิศาสตร์และเชื้อชาติ<br />

คนยูเครนก็ต้องการที่จะเป็นแบบยุโรปตะวัน<br />

ตก คือมีแนวคิดการปกครองและสถานะทาง<br />

เศรษฐกิจที่ไปในทางที่เจริญกว่า และมีความ<br />

พยายามที่จะผูกตนเองเข้ากับกลุ่มเศรษฐกิจ<br />

EU สำหรับไครเมียและบางส่วนของยูเครน<br />

ตะวันออก ที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นคนรัสเซีย<br />

ก็ยังมีความต้องการลึกๆที่จะอยู่กับรัสเซีย<br />

ก็เพื่อความมั่นคงของพวกเขานั่นเอง ขืนอยู่ใน<br />

ยูเครนต่อไป สถานะตนเองจะเป็นแค่ชนกลุ่ม<br />

น้อยไปโดยปริยาย<br />

ในที่สุดแรงแค้นภายในยูเครนและไคร<br />

เมียก็เดินทางมาถึงจุดจบหรือจุดที่ควรจะ<br />

เป็น ความตึงเครียดถึงขั้นแตกหักเกิดขึ้นใน<br />

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ซึ่งเป็นวันสุดท้าย<br />

ที่รัฐบาลแห่งกรุงเคียฟของยูเครน โดยนาย<br />

วิคเตอร์ ยูโนโควิช ประธานาธิบดีจะต้อง<br />

ลงนามกับ EU (Europian Union) ตาม<br />

ข้อตกลงที่ให้ไว้กับประชาชน ที่จะนำพา<br />

ประเทศเข้าร่วมในกลุ่มประเทศ EU แต่ผู้นำ<br />

รัฐบาลยูเครนกลับไม่ใส่ใจเอาดื้อ ๆ โดยได้<br />

แสดงที่ท่าอย่างชัดเจนไม่ลงนามในการเข้า<br />

ร่วมเป็นกลุ่มสมาชิก EU ตามความต้องการ<br />

ของคนยูเครนส่วนใหญ่ รวมถึงไม่ใส่ใจในข้อ<br />

เรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาล<br />

ยูเครนปฏิรูปรัฐธรรมนูญพร้อมกับจัดให้มีการ<br />

เลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อผิดคำมั่น<br />

สัญญาและเสียงเรียกร้องที่ไม่ได้รับการตอบ<br />

สนอง กระแสความไม่พอใจถูกปลุกเร้าขึ้น<br />

เรื่อย ๆ ประชาชนแห่กันออกมาประท้วงสร้าง<br />

ความวุ่นวายและเกิดความเสียหายต่อชีวิตและ<br />

ทรัพย์สินทั้งของรัฐและของเอกชนอย่างหนัก<br />

ความวุ่นวายในระดับที่น่ากลัวเหล่านี้กระจาย<br />

ไปทั่วทุกหนแห่งในเคียฟรวมไปถึงเมืองใหญ่ ๆ<br />

อีกหลายเมืองที่นิยมยุโรปตะวันตก<br />

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความต่อเนื่องและ<br />

จะเลวร้ายลงทุกที นายวิกเตอร์ ยานูโควิช<br />

ประธานาธิบดียูเครน ผู้นำที่อยู่ในคาถาของ<br />

รัสเซียต้องหนีไปตั้งหลักในรัสเซีย พร้อมกับ<br />

ขอความช่วยเหลือทางทหารให้เข้าไปช่วย<br />

รักษาความสงบหรือทวงคืนอำนาจของเขา<br />

กลับมา รัสเซียซึ่งรอทีท่าอยู่แล้วได้ส่งกำลัง<br />

ทหารนับหมื่นนายเข้าไปในแหลมไครเมีย โดย<br />

อ้างแบบหรู ๆ ตามเชิงทางการทูตว่า เพื่อการ<br />

ปกป้องคนรัสเซียไม่ถูกกดขี่ข่มเหง อีกทั้งยัง<br />

เสริมกำลังทหารจ่อประชิดชายแดนด้านติด<br />

กับยูเครน พร้อมบุกเมื่อสั่ง และเพื่อเป็นการ<br />

ข่มขู่ด้วย และในขณะเดียวกันนั้นยูเครนได้ตั้ง<br />

31


รัฐบาลรักษาการณ์ซึ่งนิยมยุโรปตะวันตกขึ้น<br />

บริหารประเทศ<br />

แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่หลายฝ่าย<br />

หวาดวิตกกันมากว่า สถานการณ์จะไปถึง<br />

ขั้นนองเลือดรบกันแตกหักนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้น<br />

เนื่องจากผู้นำมหาอำนาจทั้งอเมริกาและยุโรป<br />

เข้าช่วยไกล่เกลี่ยกับนายปูติน ประธานาธิบดี<br />

รัสเซีย แต่ในที่สุดเรื่องของการคับที่อยู่ได้คับใจ<br />

อยู่ยากก็เกิดขึ้นของชาวไครเมีย<br />

สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียได้จัด<br />

ทำประชามติในเดือนมีนาคมให้ประชาชนใน<br />

แหลมไครเมียเลือกที่จะเป็นอิสระจากยูเครน<br />

และเข้าไปอยู่กับรัสเซีย ผลก็เป็นไปตามคาด<br />

หมายคือ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่จะไป<br />

อยู่กับรัสเซีย ยิ่งตรงใจรัสเซียมาก เพราะรัสเซีย<br />

เองมีความต้องการที่จะรื้อฟื้นสหภาพยูเรเซีย<br />

(Eurosia Union) หรือโซเวียต II ให้กลับมา<br />

ยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้ รัฐสภา<br />

ดูมาของรัสเซียถึงกับรีบประกาศผนวกแหลม<br />

ไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียทันที<br />

จากข้อมูลตามประวัติศาสตร์ของแหลมไคร<br />

เมียนั้น แหลมทองของบอลข่านแห่งทะเลดำนี้<br />

เคยเป็นของรัสเซีย แต่ในยุคของนิกิต้า ครุสชอฟ<br />

ผู้นำสหภาพโซเวียต ได้ยกเป็นรางวัลให้<br />

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ในปี ค.ศ.<br />

๑๙๕๔ ด้วยความผูกพันซื่อสัตย์กันดี ที่ยูเครน<br />

ยอมอยู่ใต้ธงกับรัสเซียมายาวนานถึงสามร้อยปี<br />

การได้แหลมไครเมียอยู่ในการปกครองของ<br />

รัสเซีย ทำให้รัสเซียมีความมั่นใจในยุทธศาสตร์<br />

ตนเองมากขึ้น เนื่องจากรัสเซียมีกองเรือขนาด<br />

ใหญ่ในทะเลดำ มีฐานปฏิบัติการที่เมืองซิมฟัส<br />

โตปอล (Savastopol) ทำให้ไม่ต้องกังวล<br />

การปิดล้อมของนาโตในภูมิภาคนี้ รัสเซีย<br />

สามารถที่จะครองความเป็นเจ้าอากาศและเจ้า<br />

ทะเลเหนือคาบสมุทรบอลข่านได้อย่างสบายๆ<br />

อย่างไรก็ตามทั้งรัสเซียและยุโรปก็ซดกัน<br />

ได้ไม่เต็มที่นัก เนื่องจากผลประโยชน์ที่เอื ้อกัน<br />

มหาศาลของท่อก๊าซจากรัสเซียผ่านดินแดน<br />

ยูเครนไปยังยุโรป สำหรับศักดิ์ทางด้าน<br />

เศรษฐกิจของแหลมไครเมียนั้น ไครเมียเป็น<br />

แหล่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาด<br />

ใหญ่ รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้าเลี้ยงรัสเซียด้วย<br />

และที่สำคัญในเรื่องของเชื้อชาติ รัสเซียเชื่อมั่น<br />

ว่าการผนวกดินแดนครั้งนี้ คงไม่สร้างปัญหา<br />

ภายในรบกวนรัสเซียอย่างแน่นอน เนื่องจาก<br />

เป็นประชามติของประชาชนชาวไครเมียที่ผู้คน<br />

ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย<br />

เรื่องน่าเศร้าของความขัดแย้งที่สร้างความ<br />

หดหู่ให้กับชาวโลกคือ ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม<br />

ตามเวลาท้องถิ่น ๑๒๑๕ เครื่องบินแบบ<br />

Boeing 777-200ER ของ Malaysia Airline<br />

พร้อมโดยสารและลูกเรือรวมกัน ๒๘๕ คน<br />

เดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์<br />

32<br />

ไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ถูกขีปนาวุธ<br />

แบบ BUK ผลิตโดยรัสเซีย ยิงตกขณะบิน<br />

เหนือน่านฟ้าบนแผ่นดินที่เป็นกรณีพิพาท<br />

ของรัฐบาลยูเครนและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน<br />

โดยเครื่องบินอยู่สูงถึง ๓๓,๐๐๐ ฟุต หรือ<br />

๑๐ กิโลเมตรซึ่งเป็นระยะสูงที่สายการบิน<br />

พลเรือนทำการบินเป็นปกติ ผู้โดยสารและ<br />

ลูกเรือทั้งหมดต้องพลัดพรากจากผู้เป็นเป็น<br />

ที่รัก ทั้งที่ยังไม่ได้สั่งเสีย<br />

เศษซากของเครื่องบินกระจายเป็นบริเวณ<br />

กว้างถึง ๑๕ กิโลเมตรในเขต โดเนตสค์<br />

ทางภาคตะวันออกของยูเครน ติดพรมแดน<br />

รัสเซีย และนิยมรัสเซีย สาเหตุที่แท้จริง<br />

กำลังสอบสวน แต่ที่แท้จริงยิ่งกว่าคือ ไม่มี<br />

ฝ่ายใดออกมาแสดงความรับผิดชอบ ซึ่ง<br />

ก่อนหน้านี้ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม เครื่องบิน<br />

ของกองทัพยูเครนแบบ แอนโตนอฟ-๒๖ ก็ถูก<br />

ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนยิงตกมาแล้ว ผล<br />

ความผิดพลาดต่อเป้าหมายพลเรือนครั้งนี้<br />

ทำให้สายการบินพานิชย์หลายสัญชาติ<br />

ทบทวนหรือหลีกเลี่ยงการบินผ่านน่านฟ้า<br />

มหาภัยนี้ทันที<br />

Ukrain Crisis 2014 คงเป็นเรื่องที่ต้องใช้<br />

เวลาในการเจรจากันอีกยาวนาน เนื่องจาก<br />

ความซับซ้อนของปัญหาไปพัวพันกันไว้มาก<br />

เช่น เชื้อชาติ, ศาสนา, ดินแดน, ผลประโยชน์<br />

และทรัพยากร โดยมีคู่เจรจาหลัก ๆ ตอนนี้<br />

คือ สหรัฐฯ ซึ่งมีลูกคู่คือ EU แต่ออกตัวแรงไม่<br />

ได้มากนัก เนื่องจากมีผลประโยชน์แฝงอยู่มาก<br />

หรืออีกนัยยะหนึ่งกลุ่มแรกนี้สามารถเรียกได้<br />

ว่าเป็นกลุ่ม องค์สนธิสัญญาแอตแลนติคเหนือ<br />

หรือนาโต (NATO) ก็ได้ อีกสองชาติคือรัสเซีย<br />

และยูเครน ซึ่งประเทศหลังนี้ต้องเข้าข้าง EU<br />

แน่นอนอยู่แล้ว อีกทั้งผู้นำรัฐบาลรักษาการณ์<br />

ของยูเครนเองก็ประกาศชัดเจนว่า ยินดีเจรจา<br />

ทุกเรื่องราวแต่จะอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ยอมรับ<br />

การผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ซึ่งย่อมทำให้<br />

ปัญหายุ่งยากเข้าไปอีก<br />

อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ให้สัญญากันว่า<br />

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นข้อขัดแย้งกัน จะใช้<br />

วิถีทางเจรจาทางการทูตเป็นหลัก แม้ว่า<br />

ขณะนี้ยังมีการสู้รบในเขตยูเครนตะวัน<br />

ออกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับ<br />

การสนับสนุนจากรัสเซียอย่างไม่เปิดเผย<br />

ก็ตาม สำหรับการต่อสู้ในระดับรัฐสภาราดา<br />

(RADA) ของยูเครนนั้น ประธานาธิบดี<br />

เปโตร โปโรเซนโก ได้ประกาศยุบสภาและ<br />

เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ ๒๖<br />

ตุลาคม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ<br />

ประชาชน และเพื่อสกัดออกสมาชิกรัฐสภาอีก<br />

จำนวนมากที่เห็นดีเห็นงามกับกลุ่มกบฏแบ่ง<br />

แยกดินแดน ส่วนเรื่องการ Sanstions ของ<br />

สหรัฐฯ และ EU ต่อรัสเซียนั้น ก็เป็นเพียงแค่<br />

ยาอ่อนๆ เท่านั้น และต้องระมัดระวังการตอบ<br />

กลับของรัสเซียด้วยเช่นเดียวกัน “หยิกเล็บ<br />

ก็เจ็บเนื้อ”<br />

การต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายคือรัฐบาลยูเครน<br />

และกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ที่มีฐานที่มั่นคง<br />

อยู่ที่เมืองโดเนตสก์และลูฮานสก์ ทางตะวัน<br />

ออก ยังเหลือเป้าหมายสำคัญที่ยังเผด็จไม่ได้<br />

คือเมืองมาริอูโปลเมืองยุทธศาสตร์สำคัญทาง<br />

ทะเลอาซอฟ การต่อสู้ของพวกเขาทั้งสอง<br />

ฝ่ายนั ้น ยังไม่ใส่กันเต็มที่นักเพราะว่ายังห่วง<br />

ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและ<br />

อยู่ข้อตกลงทางการทูตกันอยู่ ในระหว่างที่<br />

คุมเชิงกันนี้ ตามภาพข่าวต่างประเทศจะเห็น<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


รถถังยานเกราะรัสเซียกระจายอยู่ทั่วไปใกล้<br />

แนวชายแดนทั้ง MD-BTR,T-42 BM และ T-80<br />

กลุ่มนาโตเองก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อพันธะ<br />

สัญญาที่มีต่อกัน ประกาศเสริมความแข็งแกร่ง<br />

ของกองกำลังเพื่อช่วยยูเครน แต่ก็ทำได้เพียง<br />

แค่ขีดจำกัดอันหนึ่งคือ ไม่สามารถตั้งทัพถาวร<br />

ตามแนวชายแดนได้ตามข้อตกลง NATO-<br />

RUSSIA FOUUDING ACT 1997 ก่อนหน้า<br />

นี้นาโตก็เผชิญหน้ากับรัสเซียมาหมาด ๆ คือ<br />

ศึกโคโซโวปี ๑๙๘๘ และสงครามจอร์เจีย<br />

ปี ๒๐๐๘<br />

ครั ้นเมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อกันมาห้าเดือน มี<br />

ประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องอยู่ในสถานะพลัดถิ่น<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

เป็นล้านคน ทั้งคนยูเครนเองที่หนีเข้ามาตอน<br />

ในและคนยูเครนเชื้อสายรัสเซียที่หนีเข้าไปใน<br />

รัสเซีย ยอดผู้เสียชีวิตรวมกันสูงถึง ๒.๖ พันราย<br />

เข้าไปแล้ว ก่อนจะสาหัสไปมากกว่านี้ ข้อตกลง<br />

หยุดยิงอย่างเป็นทางการครั้งแรกก็เกิดขึ้นเมื่อ<br />

๕ กันยายน ๑๕๐๐ ตามเวลา UTC ที่กรุงมินสก์<br />

ประเทศเบลารุส โดยมีสักขีพยานคือ องค์กร<br />

สนับสนุนความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป<br />

(OSCE), EU และรัสเซีย แต่ฝ่ายกบฏยังรักษา<br />

จุดยืนเดิมคือ จะต้องปลดปล่อยพื้นที่ตะวัน<br />

ออกของยูเครนให้เป็นอิสระให้ได้ ในระหว่างนี้<br />

EU ยังห้ามผู้นำกบฏเดินทางเข้าออก EU ส่วน<br />

การ Sanction รัสเซียแบบหยอก ๆ ของ EU<br />

และสหรัฐฯ ก็ยังมีผลอยู่ และรัสเซียเองก็<br />

โต้ตอบด้วยขนาดที ่พอ ๆ กัน คือสั่งห้ามสินค้า<br />

หลายประเภทของ EU เข้ารัสเซีย<br />

การประกาศหยุดยิงครั้งนี้นั้น มีผลมา<br />

จากการประชุมกลุ่มประเทศนาโตเมื่อ ๔-๕<br />

กันยายน ที ่เวลส์ ประเทศสหราชอาณาจักร<br />

(อังกฤษ) ซึ่งนาโตมีข้อเรียกร้องต่อรัสเซีย<br />

ด้วยว่า ให้ถอนกำลังออกจากภาคตะวันออก<br />

ของยูเครนและยุติการครอบครองไครเมีย<br />

ซึ่งประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย<br />

คงไม่ยินดียินร้ายมากนัก<br />

33


ดุลยภาพทางการทหารของประเทศอาเซียน<br />

เครื่องบินขนส่งทางทหาร<br />

ซี-๒๙๕<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

ก<br />

องทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF)<br />

จัดซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหาร<br />

รุ่นใหม่แบบซี-๒๙๕ (C-295) รวม<br />

๓ เครื่อง จากประเทศสเปน เมื่อวันที่ ๑๘<br />

กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๗ เพื่อจะเพิ่มขีดความ<br />

สามารถในการขนส่งทางอากาศ เนื่องจาก<br />

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกาะมีเกาะ<br />

รวมทั้งสิ้น ๗,๑๐๗ เกาะ ชายฝั่งทะเลยาว<br />

๓๖,๒๘๙ กิโลเมตร ที่ตั้งทางทหารสำคัญอยู่<br />

ห่างไกลกันมากดังนั้นการขนส่งทางอากาศ<br />

จึงมีความสำคัญยิ่ง เครื่องบินขนส่งขนาด<br />

กลางใช้เครื่องยนต์ใบพัดจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า<br />

เครื่องยนต์แบบไอพ่น ทั้งค่าใช้จ่ายทำการบิน<br />

ต่อชั่วโมงบินและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง<br />

ตลอดห้วงระยะเวลาอายุการใช้งาน กองทัพ<br />

อากาศฟิลิปปินส์ (PAF) จะได้รับมอบเครื่องบิน<br />

เครื่องแรก เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๘ จะรับ<br />

มอบเครื่องบินเครื่องที่สอง เดือนมีนาคม พ.ศ.<br />

34<br />

กองทัพอากาศอินโดนีเซียรับมอบเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295)<br />

ชุดแรกรวม ๒ เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนพ.ศ.๒๕๕๕ ประจำการฝูงบิน ๒ ฐานทัพ<br />

อากาศฮาลิม (Halim Perdanakusuma International Airport) จังหวัดชวา<br />

ตะวันออก<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


กองทัพอากาศอินโดนีเซียรับมอบเครื่องบินชุดแรกรวม ๒ เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๙<br />

กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ประจำการที่ฝูงบิน ๒ ฐานทัพอากาศฮาลิม จังหวัดชวาตะวันออก<br />

จะทดแทนเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นเก่าที่กำลังจะหมดอายุการใช้งานแบบ เอฟ-๒๗<br />

ฟอร์คเกอร์ (F-27 Fokker) ประจำการ ๖ เครื่อง กองทัพอากาศอินโดนีเซียจัดซื้อตาม<br />

โครงการรวม ๙ เครื่อง<br />

และส่งกลับสายแพทย์ เนื่องจากสนามรบใน<br />

อัฟกานิสถานส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายขนาด<br />

ใหญ่ที่แห้งแล้ง พร้อมทั้งที่ตั้งของประเทศสูง<br />

กว่าระดับน้ำทะเลกว่า ๔,๐๐๐ เมตร และ<br />

ไม่มีถนนสายหลักที่จะใช้ขนส่งได้ การขนส่ง<br />

ทางอากาศจึงมีความสำคัญยิ่ง กองทัพอากาศ<br />

โปแลนด์ประจำการด้วยเครื่องบินขนส่งทาง<br />

ทหารซี-๒๙๕ (C-295) ในปี พ.ศ.๒๕๔๖-<br />

๒๕๕๑ รวม ๘ เครื่อง ต่อมาได้จัดซื้อเพิ่มเติม<br />

อีกและได้รับมอบเครื่องบินชุดสุดท้าย เมื่อวัน<br />

ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ รวมประจำการ<br />

ทั้งสิ้น ๑๗ เครื่อง<br />

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) จัด<br />

ซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นใหม่แบบ<br />

ซี-๒๙๕ (C-295) รวม ๙ เครื่อง ราคา ๓๒๕<br />

๒๕๕๙ และรับมอบเครื่องบินเครื่องที่สามหรือ<br />

เครื่องสุดท้าย เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ นำ<br />

เข้าประจำการกองบิน ๒๒๐ ฐานทัพอากาศ<br />

เซบู<br />

เครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดกลางแบบ<br />

ซี-๒๙๕ (C-295) ทำการวิจัยพัฒนาจาก<br />

ประเทศสเปน ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘<br />

พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ ใช้ในภารกิจขนส่ง<br />

ทางทหาร ทำการผลิตในปี พ.ศ.๒๕๔๔ มี<br />

ข้อมูลที่สำคัญคือนักบิน ๒ นาย บรรทุกผู้<br />

โดยสารได้ ๗๑ ที ่นั่ง (พลร่มพร้อมสัมภาระ ๔๘<br />

นาย) ขนาดยาว ๒๔.๕๐ เมตร ช่วงปีก ๒๕.๘๑<br />

เมตร พื้นที่ปีก ๕๙ ตารางเมตร สูง ๘.๖๐ เมตร<br />

น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๒๓,๒๐๐ กิโลกรัม น้ำหนัก<br />

บรรทุก ๙,๒๕๐ กิโลกรัม เครื่องยนต์ เทอร์โบ<br />

พรอพ ขนาด ๒,๖๔๕ แรงม้า (รวม ๒ เครื่อง)<br />

ใบพัดชนิดหกกลีบ (เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด<br />

๓.๘๙ เมตร) ความจุเชื้อเพลิง ๗,๗๐๐ ลิตร<br />

ความเร็วสูงสุด ๕๗๖ กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัย<br />

บิน ๑,๓๐๐ กิโลเมตร (น้ำหนักบรรทุก ๙,๒๕๐<br />

กิโลกรัม) เพดานบินสูง ๙,๑๐๐ เมตร ระยะ<br />

ทางบินขึ้นยาว ๖๗๐ เมตร และระยะทางบิน<br />

ลงยาว ๓๒๐ เมตร จึงมีความเหมาะสมที่จะ<br />

ใช้ปฏิบัติการ ที่สนามบินในเขตหน้าของพื ้นที่<br />

การรบ ประจำการกองทัพอากาศสเปนเดือน<br />

พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ รวม ๑๓ เครื่อง<br />

ปัจจุบันเป็นเครื่องบินขนส่งทางทหารขนาด<br />

กลางรุ่นใหม่ของโลก<br />

เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕<br />

(C-295) มีการผลิตรวม ๕ รุ่น ประกอบด้วย<br />

รุ่นซี-๒๙๕ เอ็ม (C-295M), รุ่นเอ็นซี-๒๙๕<br />

(NC-295/CN-295) ซื้อลิขสิทธิ์สำหรับผลิต<br />

ในประเทศอินโดนีเซีย, รุ่นซี-๒๙๕เอ็มพี<br />

(C-295MP) ภารกิจตรวจการณ์ทางทะเลและ<br />

ปราบเรือดำน้ำ ติดตั้งอาวุธภายนอกลำตัวได้<br />

หกจุด (ตอร์ปิโด, จรวดนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ,<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ เอ็มพีเอ (C-295MPA) รุ่นลาดตระเวนทาง<br />

ทะเลติดตั้งอาวุธได้ ๖ จุด ประจำการกองทัพอากาศโปรตุเกส ๕ เครื่อง และกองทัพ<br />

อากาศโอมาน ๕ เครื่อง<br />

ทุ่นระเบิด และระเบิดน้ำลึก), รุ่นซี-๒๙๕ เอ<br />

อีดับเบิ้ลยู (C-295 AEW) ภารกิจใช้เตือนภัย<br />

ทางอากาศ ในขณะนี้ยังเป็นเครื ่องบินต้นแบบ<br />

และรุ่นซี-๒๙๕ ดับเบิ้ลยู (C-295W) ทำการ<br />

ปรับปรุงใหม่ทางด้านเครื่องยนต์ และระบบปีก<br />

ปี พ.ศ.๒๕๕๖ เครื่องบิน ซี-๒๙๕ (C-295) มี<br />

ยอดการผลิตรวม ๑๑๔ เครื่อง ขณะนี้ประจำ<br />

การรวม ๑๗ ประเทศ<br />

กองทัพอากาศโปแลนด์นำเครื่องบินขนส่ง<br />

ทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ปฏิบัติการ<br />

สนับสนุนกำลังทหารโปแลนด์ในกองกำลัง<br />

ไอซาฟ (ISAF) ประเทศอัฟกานิสถาน ที่จังหวัด<br />

กาซ์นี (Ghazni) มีกำลังทหาร ๑,๑๓๐ คน<br />

ภารกิจขนส่งสัมภาระ ทิ้งสัมภาระทางอากาศ<br />

ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.<br />

๒๕๕๕ ที่งานแสดงการบินประเทศสิงคโปร์ รับ<br />

มอบเครื่องบินชุดแรกรวม ๒ เครื่อง เมื่อวันที่<br />

๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ต่อมานำเข้าประจำ<br />

การฝูงบิน ๒ ฐานทัพอากาศฮาลิม(Halim<br />

Perdanakusuma International Airport)<br />

จังหวัดชวาตะวันออก เพื่อจะทดแทนเครื่องบิน<br />

ขนส่งทางทหารรุ่นเก่าที่ได้ประจำการมานาน<br />

รวม ๓๕ ปี กำลังจะหมดอายุการใช้งานแบบ<br />

เอฟ-๒๗ ฟอร์คเกอร์ (F-27 Fokker) ประจำ<br />

การ ๖ เครื่อง เครื่องบินซี-๒๙๕ (C-295) ส่วน<br />

หนึ่งจะทำการประกอบที่โรงงานผลิตเครื่อง<br />

บินในประเทศ (PT Dirgantara Indonesia)<br />

รวม ๓ เครื่อง ที่ตั้งโรงงานที่เมืองบันดุง<br />

35


เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ภารกิจขนส่งทางทหาร สามารถจะ<br />

บรรทุกพลร่มพร้อมสัมภาระได้ ๔๘ นาย<br />

เครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) ขณะทำการทิ้งสัมภาระโดยการใช้<br />

ร่มในระดับต่ำสำหรับยุทโธปกรณ์ขนาดหนักที่ส่งลงเพื่อสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดิน<br />

(มีเจ้าหน้าที่ ๓,๗๒๐ คน ปี พ.ศ.๒๕๔๗)<br />

จังหวัดชวาตะวันตก เป็นโรงงานผลิตเครื่องบิน<br />

ใหญ่ที่สุดของประเทศกลุ่มอาเซียน จะช่วยเพิ่ม<br />

ขีดความสามารถในการขนส่งทางอากาศให้มี<br />

ความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น<br />

เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศ<br />

หมู่เกาะ มีเกาะรวม ๑๗,๕๐๘ เกาะ ชายฝั่ง<br />

ทะเลยาว ๕๔,๗๑๖ กิโลเมตร พื้นที่ขนาด<br />

ใหญ่ ๑,๘๙๐,๗๕๔ ตารางกิโลเมตร อาณาเขต<br />

จาก ตะวันออก-ตะวันตก มีความยาว ๕,๑๐๐<br />

กิโลเมตร จาก เหนือ-ใต้ ขนาดยาว ๑,๘๐๐<br />

กิโลเมตร แบ่งโซนเวลาเป็น ๓ โซน นับว่า<br />

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศขนาดใหญ่ ที่<br />

ตั้งทางทหารอยู่ห่างไกลกันมากภายในประเทศ<br />

และอินโดนีเซียยังควบคุมจุดยุทธศาสตร์<br />

ทางทหารที่สำคัญยิ่งของโลกคือช่องแคบ<br />

มะละกา ที่เรือสินค้าขนาดใหญ่จะต้องแล่น<br />

เลียบชายฝั่งทะเลของเกาะสุมาตราเป็นระยะ<br />

ทางยาว จึงจะผ่านช่องแคบมะละกาและเข้าสู่<br />

ทะเลจีนใต้ และช่องแคบซุนดาที่เชื่อมระหว่าง<br />

เกาะชวากับเกาะสุมาตรา ที่เชื่อมทะเลชวา<br />

กับมหาสมุทรอินเดีย (ถ้าจำเป็นจะต้องเลี่ยง<br />

ช่องแคบมะละกา) ดังนั้นการขนส่งสัมภาระ<br />

ทางอากาศจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ<br />

อินโดนีเซีย<br />

กองทัพอากาศเวียดนามจัดซื ้อเครื่องบิน<br />

ขนส่งทางทหารรุ่นใหม่แบบซี-๒๙๕ (C-295)<br />

รวม ๓ เครื่อง ราคา ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ<br />

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ กองทัพอากาศเวียดนาม<br />

จะรับมอบเครื่องบินชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๘<br />

จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่ง<br />

ทางอากาศให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจาก<br />

เวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาว ๓,๔๔๔ กิโลเมตร<br />

พร้อมทั้งใช้ในการขนส่งทางอากาศที่เชื่อมกับ<br />

เกาะในทะเลจีนใต้ของเวียดนาม<br />

เครื่องยนต์ แพร็ตแอนวิทนีย์ (Pratt & Whitney PW 127G) เท<br />

อร์โบพรอพ ขนาด ๒,๖๔๕ แรงม้า รวม ๒ เครื่อง ใบพัดชนิดหก<br />

กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๘๙ เมตร<br />

36<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินขนส่งทางทหารซี-๒๙๕ (C-295) ผลิตรวม ๕ รุ่น มียอดการผลิตรวม ๑๑๔ เครื่อง ขณะนี้ประจำการรวม ๑๗ ประเทศ<br />

ที่สำคัญคือ สเปน (๑๓), บราซิล (๑๒), เม็กซิโก (๑๔), โปแลนด์ (๑๗), โปรตุเกส (๑๒), อินโดนีเซีย (๙), เวียดนาม (๓) และ<br />

ฟิลิปปินส์ (๓)<br />

ภายในห้องเคบินของเครื่องบินขนส่งทางทหารแบบซี-๒๙๕ (C-295) มีพื้นที่ ๕๗ ตารางเมตร โดยสามารถบรรทุกพลร่มพร้อม<br />

สัมภาระได้ ๔๘ นาย หรือบรรทุกทหารได้ ๗๑ ที่นั่ง<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

37


38<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)


เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (ตอนที่ ๒๓)<br />

จรวด DTI-2 กับความสำเร็จ<br />

ด้วยฝีมือคนไทย<br />

เ<br />

มื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗<br />

ที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์<br />

หนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน<br />

ประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. และ<br />

แวดวงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ<br />

ไทย เนื่องจากทาง สทป. ได้ทำการทดสอบ<br />

และสาธิตการยิงจรวด DTI-2 ขนาด ๑๒๒<br />

มิลลิเมตรให้กับนายทหารและนักศึกษาจาก<br />

หลักสูตรต่าง ๆ ของกองทัพได้ชมเป็นผลสำเร็จ<br />

ในวันรวมอำนาจการยิงของศูนย์การทหาร<br />

ปืนใหญ่ ที่สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การ<br />

ทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี<br />

DTI-2 เป็นจรวดที่ทำขึ้นด้วยฝีมือของคน<br />

ไทย ๑๐๐% โดยใช้เทคโนโลยีส่วนหนึ่งที่ได้<br />

รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการ DTI-1<br />

รวมเข้ากับประสบการณ์และเทคโนโลยีของ<br />

นักวิจัย สทป. ที่สั่งสมขึ้นมาใช้ในการออกแบบ<br />

และทดสอบผลิตจรวด DTI-2 ซึ่งนำมาสู่การ<br />

ทดสอบการยิงดังกล่าว โดยการยิงนั้นทำการ<br />

ยิงจากเครื่องยิงแบบลากจูงซึ่งสามารถติด<br />

กระเปาะหรือ Pod ที่บรรจุจรวด DTI-2 ได้<br />

หลายนัด แต่ในวันนั้นบรรจุจำนวน ๒ นัด และ<br />

อีกส่วนหนึ่งทำการยิงจากรถยิง DTI-1 ที่ติดตั้ง<br />

ท่อรองในเพื่อทำให้สามารถยิงจรวด DTI-2 ที่มี<br />

ขนาดเล็กกว่าได้ โดยทำการยิง ๔ นัดแบบซัลโว<br />

การติดตั้งท่อรองในบนรถยิง DTI-1 จะ<br />

ทำให้รถยิง DTI-1 ที่ปรกติจะใช้ยิงจรวดขนาด<br />

๓๐๒ มม. ทำการยิงจรวด DTI-2 ขนาด ๑๒๒<br />

มม. เพื่อใช้ในการฝึก เนื่องจากจรวด DTI-1 นั้น<br />

มีระยะยิงที่ไกลมากและมีราคาแพงกว่า แต่ถ้า<br />

ใช้จรวด DTI-2 ที่มีราคาถูกกว่ามากและมีระยะ<br />

ยิงที่ใกล้กว่าก็จะทำให้กำลังพลสามารถฝึกได้<br />

อย่างต่อเนื่องและสมจริงตามวงรอบการฝึก<br />

ของกองทัพบก<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

39


เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จรวด DTI-1 ซึ่ง<br />

เป็นจรวดขนาดใหญ่ที่มีระยะยิงถึง ๑๘๐<br />

กิโลเมตรจะถูกใช้งานในระดับยุทธการ ส่วน<br />

จรวด DTI-1 ที่มีระยะยิงสั้นกว่าคือ ๔๐<br />

กิโลเมตรจะถูกใช้งานในระดับยุทธวิถี ซึ่ง<br />

การพัฒนาจรวดทั้งสองแบบนี้นอกจากจะ<br />

เป็นการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความ<br />

เชี่ยวชาญที่นักวิจัยและนักพัฒนาของ สทป.<br />

มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังทำให้ สทป.<br />

สามารถสนับสนุนกองทัพบกให้มีจรวดทั้งใน<br />

ระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการที่สอดคล้อง<br />

กับภัยคุกคามที่มีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต<br />

ได้อีกด้วย<br />

ในส่วนของเครื่องยิงแบบลากจูงนั้น ก็<br />

เป็นการพัฒนาโดยนักวิจัยของ สถาบัน<br />

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)<br />

กระทรวงกลาโหม เองเช่นกัน ซึ่งแท่นยิงดัง<br />

กล่าวสามารถติดตั้งกระเปาะบรรจุจรวด DTI-<br />

2 จำนวน ๒๐ ลำกล้องได้ ๒ กระเปาะ ทำให้<br />

รวมแล้วสามารถยิงจรวดได้ถึง ๔๐ ลูกทีเดียว<br />

DTI-2 นั้นจะมีระยะยิงทั้งหมด ๓ ระยะ<br />

คือ ๑๐ กิโลเมตร ๓๐ กิโลเมตร และ ๔๐<br />

กิโลเมตร ซึ่ง สทป. ได้ทำการพัฒนาทั้งใน<br />

ส่วนของดินขับ หัวรบ และชุดพวงหาง และ<br />

40<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)


ทำการผลิตองค์ประกอบของจรวดในประเทศ<br />

ทั้งหมด ซึ่งในวันรวมอำนาจการยิงที่ผ่านมา<br />

จรวดทั ้ง ๖ ลูกสามารถทำลายเป้าหมายเป็น<br />

พื้นที่ที่อยู่ห่างออกไป ๔ กิโลเมตรได้ถูกต้อง<br />

ตามที่คำนวณเอาไว้<br />

โดยในอนาคต สทป. กับกองทัพบกกำลังจะ<br />

ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อพัฒนา<br />

จรวด DTI-2 และนำส่งให้กองทัพบกไปทดลอง<br />

ใช้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบท่อรองในที่ใช้งานใน<br />

การยิงครั้งนี ้ให้กองทัพบกนำไปทดลองใช้ การ<br />

พัฒนาจรวดระยะยิง ๔๐ กิโลเมตรเพื่อใช้งาน<br />

กับจรวดหลายลำกล้อง SR-4 ที่กองทัพบกจัด<br />

ซื้อจากต่างประเทศ และการติดตั้ง DTI-2 บน<br />

รถสายพานลำเลียงพล Type-85 ทดแทนจรวด<br />

หลายลำกล้องขนาด ๑๓๐ มม. ที่มีระยะยิงสั้น<br />

กว่าอีกด้วย<br />

หลังจากนี้ สทป. จะทำการทดสอบและ<br />

ปรับปรุงจรวด DTI-2 ให้ดียิ่งขึ ้น ซึ่งยังต้อง<br />

ทำการยิงทดสอบอีกเป็นจำนวนมากก่อนที่<br />

จะพร้อมผลิตเข้าประจำการต่อไป แต่ผลลัพธ์<br />

ที่ได้จากการพัฒนา DTI-2 ด้วยฝีมือคนไทย<br />

นั้นเริ่มแสดงให้เห็นแล้วว่า ในวันที่คนไทย<br />

สามารถพัฒนาอาวุธเพื่อใช้งานได้เอง ก็จะ<br />

ทำให้ประเทศลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่าง<br />

ประเทศ ทำให้กองทัพสามารถใช้งานจรวดที่<br />

ผลิตขึ้นได้ในประเทศโดยไม่ติดข้อจำกัดการนำ<br />

เข้าอาวุธ สามารถประหยัดงบประมาณที่ต้อง<br />

ใช้ในการจัดซื้ออาวุธ และรวมถึงเป็นการสร้าง<br />

เทคโนโลยีซึ่งสามารถต่อยอดไปยังการพัฒนา<br />

จรวดแบบอื่น ๆ ได้ต่อไป<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

41


หลักการของ<br />

นายพลแพตตัน<br />

(ตอนที่ ๒๘)<br />

พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา<br />

42<br />

พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา


อย่าให้ความตายมาเยือนถึงเตียง<br />

“คนส่วนมากตายบนเตียง มากกว่าตายใน<br />

สงคราม!”<br />

นายพลแพตตันอธิบาย “การนอนก็เหมือน<br />

กับการขุดหลุมบุคคล มันง่ายที่ความตายจะ<br />

จับตัวคุณได้ขณะกำลังหลับ พระผู้เป็นเจ้าทรง<br />

กล่าวไว้ว่า “จงเก็บที่นอน แล้วเดิน!” การอยู่<br />

บนเตียงนอนก็เหมือนกับการนั่งบนเก้าอี้หมุน<br />

นาน ๆ สมองจะอุดตันและร่างกายจะเจ็บไข้<br />

ต่อมาคุณก็คงทราบดีว่าจะมีหมอนำยามาให้<br />

คุณกิน จนกว่าคุณจะอยู่ในสภาพปกติ เพียง<br />

แต่คุณเคลื่อนไหวไปโน่นมานี่ ผมว่ามันจะดี<br />

กว่าการที่คุณจะกินยาเป็นกำมือ”<br />

บรรดากำลังพลได้หัวเราะขึ้น พวกเราที่<br />

เป็นฝ่ายเสนาธิการคิดกันว่านายพลแพตตัน<br />

ได้ผลักดันกำลังพลจนเกินไป นั่นเป็นปี พ.ศ.<br />

๒๔๘๕ (ค.ศ.๑๙๔๒) หลายปีต่อมาบรรดา<br />

นายแพทย์ก็เริ่มที่จะใช้วิธีให้คนไข้ผ่าตัดของ<br />

ตน “เก็บที่นอน แล้วก็เดิน” ในวันหรือสอง<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

43


44<br />

พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา


วันหลังการผ่าตัด ด้วยความรู้ของท่านที่ได้<br />

จากคัมภีร์ไบเบิ้ล นายพลแพตตันได้สั่งสอน<br />

ข้อปฏิบัติเช่นนี้มามากกว่าสามสิบปี ก่อนที่ผู้<br />

เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะเริ่มใช้วิธีการเดิน<br />

เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาพยาบาล<br />

ผมไม่เคยพอใจผลกระทบจากความ<br />

คิดของนายพลแพตตันจนกระทั่งผมได้ไป<br />

เยี่ยมเยียนสถานพยาบาลภายหลังสงคราม<br />

สถานพยาบาลเหล่านี้ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของ<br />

นายพลแพตตัน “จงตะลุยไปข้างหน้า และ<br />

เผชิญกับความตายในแบบที่คุณต้องการ!”<br />

มันใช้เวลาหลายปีทีเดียวก่อนที่สังคมจะคิด<br />

กันว่า บางทีประชาชนน่าจะมีสิทธิ์ตายในแบบ<br />

ที่พวกเขาต้องการ แทนที่จะถูกรักษาพยาบาล<br />

แบบจะตายมิตายแหล่เป็นเวลายี่สิบปีเหมือน<br />

กับผักหญ้าต้นหนึ่ง ยานอนหลับปริมาณมาก ๆ<br />

จะทำให้พวกคนแก่เหล่านั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ยัง<br />

กับเป็นต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถาง<br />

ผมจำคำกล่าวของนายพลแพตตันได้<br />

“คนส่วนมากจะตายที่อายุสี่สิบ แต่ยังไม่ถูก<br />

ฝังจนกระทั่งอีกสามสิบปีต่อมา ผู้คนส่วนมาก<br />

ป่วยในระยะสั้น ๆ แต่ยอมแพ้ และตายไปขณะ<br />

มีอายุอยู่ในช่วงต้น ๆ แห่งชีวิต พวกเขาไปหา<br />

หมอคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง จนกระทั่งความตาย<br />

มาจับตัวพวกเขาถึงเตียงนอน”<br />

นายพลแพตตันมักจะสั่งสอนอยู่เสมอว่า<br />

ถ้าคุณไม่เคลื่อนไหวไปมาเลือดลมของคุณจะ<br />

ไหลเวียนได้ไม่ดี การตายของนายพลแพตตัน<br />

ไม่ได้เกิดจากการที่คอของท่านหัก ซึ่งเป็นผล<br />

จากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ท่านตายจาก<br />

การที่มีเลือดคั่งในปอด และหัวใจ เลือดลมของ<br />

ท่านไหลเวียนไม่ถูกต้อง พระเจ้ามีความคิดเห็น<br />

พ้องกับผมที่ว่า นายพลแพตตันต้องโมโหแน่ ๆ<br />

หากให้ท่านตายบนเตียงนอน<br />

วิทยาศาสตร์การแพทย์เจริญก้าวหน้าอย่าง<br />

รวดเร็ว แต่ยังไม่มียาขนานใดที่แรงเท่ากับคำ<br />

แนะนำของนายพลแพตตัน “จงตายในแบบ<br />

ที่คุณต้องการ!” ประชาชนจำนวนมากตาย<br />

ขณะยังหนุ่ม และถูกฝังตอนแก่ พวกเรา<br />

หลายคนกลัวมากกับความตายซึ่งเรายัง<br />

ไม่เคยพบพาน<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

45


พระบรมราโชบายใน<br />

การปกครองระบอบ<br />

ประชาธิปไตยในรัชกาลที่ ๗<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์<br />

46<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


ก<br />

ารปกครองระบอบประชาธิปไตย<br />

มิใช่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ประเทศ<br />

ใดประเทศหนึ่งจะสถาปนาขึ้นมา<br />

ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือเป็นสิ่งที่จะ<br />

หยิบยกเอารูปแบบจากประเทศอื่นมาใช้ แต่<br />

ต้องเป็นกระบวนการที่พัฒนามายาวนาน<br />

เพราะนอกจากปัจจัยในการพัฒนาสถาบัน<br />

การเมืองอันเป็นเรื่องที่มีปัญหาในการพิจารณา<br />

อยู่มิใช่น้อย แล้วประชาชนซึ่งเป็นรากฐาน<br />

ของการปกครองระบอบนี้จะต้องได้รับการ<br />

ศึกษา และมีความสำนึกทางการเมืองอัน<br />

เป็นประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้นหลักการของ<br />

ประชาธิปไตยที่ว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของ<br />

ปวงชนก็จะเป็นเพียงในนาม เป็นประชาธิปไตย<br />

แบบไทยมาจน ๘๐ กว่าปีแล้ว<br />

ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า<br />

อยู่หัว ทรงตระหนักถึงความยากลำบากใน<br />

การหยั่งรากของประชาธิปไตยให้ฝังลึกลงไป<br />

อย่างมั่นคง จึงได้มีพระบรมราโชบายเตรียม<br />

การที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบ<br />

ประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับ<br />

โดยเริ่มจากสร้างความสำนึกทางการเมือง<br />

ให้กับประชาชนผ่านกระบวนการของการ<br />

ปกครองท้องถิ่น ก่อนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

47


ในการปกครองระดับชาติ เพื่อเป็นการฝึกหัด<br />

ให้องคมนตรีรู้จักวิธีการประชุมปรึกษาแบบ<br />

รัฐสภา มีดำริให้ปรับปรุงสภาองคมนตรีใหม่<br />

เรียกว่า กรรมการสภาองคมนตรี ให้ยกร่าง<br />

รัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณาถึง ๒ ฉบับ ในตอน<br />

ต้นรัชกาลฉบับหนึ่ง และก่อนการเปลี่ยนแปลง<br />

การปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เล็กน้อยอีกฉบับ<br />

ทรงมีพระราชดำริว่า "ถ้ามีการยอมรับกัน<br />

ว่า วันใดวันหนึ่งเราอาจจะต้องถูกบังคับให้<br />

มีประชาธิปไตยแบบใดแบบหนึ่งในประเทศ<br />

สยาม เราจะต้องเตรียมตัวของเราเองอย่าง<br />

ค่อยเป็นค่อยไป เราจะต้องเรียนรู้และจะ<br />

ต้องให้การศึกษาแก่ตัวของเราเอง เราจะต้อง<br />

เรียนและทดลอง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ระบอบการ<br />

ปกครองแบบรัฐสภาจะดำเนินไปได้อย่างไรใน<br />

ประเทศสยาม เราต้องพยายามให้การศึกษาแก่<br />

ประชาชนเพื่อที่จะให้ประชาชนมีความสำนึก<br />

ทางการเมือง ที่จะตระหนักถึงผลประโยชน์<br />

ที่แท้จริงเหล่านี้ เพื ่อที่ประชาชนจะได้ไม่ถูก<br />

ชักนำไปโดยพวกนักปลุกระดมหรือพวกนักฝัน<br />

หวานถึงพระศรีอารย์ ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภา<br />

เราจะต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียง<br />

อย่างไร และจะเลือกผู้แทนที่จะมีจิตใจฝักใฝ่<br />

กับประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริงอย่างไร"<br />

แนวความคิดที่จะให้มีรัฐธรรมนูญเป็นหลัก<br />

ในการปกครองประเทศได้มีขึ้นเป็นครั้งแรก<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังจะเห็นได้จากคำกราบ<br />

บังคมทูลความเห็นของเจ้านายและข้าราชการ<br />

เมื่อ ร.ศ.๑๐๓ แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า<br />

สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก่อนอื่นมีอยู่ ๒ ประการ<br />

คือ การปฏิรูปการบริหาร เพื่อที่จะให้ข้าราชการ<br />

ทุกกรมมีงานทำอย่างเต็มที่ มีความรับผิดชอบ<br />

ในหน้าที่การงานของตน และมีการประสาน<br />

งานระหว่างกัน อีกประการก็คือ ทรงเห็นว่า<br />

จำเป็นจะต้องมีผู้ร่างกฎหมาย ซึ่งจะต้องเป็น<br />

ผู้ตริตรอง ตรวจการทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งเป็น<br />

ผู้พิจารณาแก้ไขข้อขัดข้องด้วย โดยทรงพระ<br />

ราชดำริว่า ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่เรียบร้อย<br />

การอื่น ๆ ยากนักที่จะตลอดไปได้ ดังนั้น<br />

คำกราบบังคมทูลความเห็นของเจ้านายและ<br />

ข้าราชการเมื่อ ร.ศ.๑๐๓ จึงยังไม่ได้รับการ<br />

สนองตอบ<br />

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว คณะผู้ก่อการ ร.ศ.๑๓๐ ได้คิด<br />

ทำการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการ<br />

ปกครอง และสถาปนาให้มีรัฐธรรมนูญเป็น<br />

หลักในการปกครองประเทศ แต่คณะผู้ก่อการ<br />

ได้ถูกจับกุมเสียก่อน สำหรับพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่<br />

จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่พสกนิกรของ<br />

พระองค์ตั้งแต่ต้นรัชกาล แต่ทรงเห็นว่าคนไทย<br />

เราโดยทั่วไปพร้อมอยู่หรือยังที่จะใช้อำนาจ<br />

เลือกผู้แทนของตัวเองทำการปกครอง มีความ<br />

เสียใจที่ยังแลไม่เห็นว่าจะทำการเช่นนั ้นสำเร็จ<br />

ได้ เพราะแม้แต่การเลือกกรรมการสุขาภิบาล<br />

ประจำตำบลซึ่งเป็นขั้นแรกแห่งการเลือกผู้<br />

ปกครองตนเองก็ยังทำไม่ได้จริงจัง เจ้าหน้าที่<br />

ฝ่ายเทศาภิบาลต้องคอยเสี้ยมสอนอยู่ทุก<br />

แห่งไป การเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งต่ำลงไป<br />

กว่านั้น และทำได้ง่ายกว่าก็ยังทำกันเหมือน<br />

เล่นละครตลก ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงระงับพระ<br />

ราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน<br />

48<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยก<br />

ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ๒ ฉบับ เพื่อจะได้ศึกษา<br />

พิจารณาว่าจะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือ<br />

ไม่เพียงใด ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย<br />

ที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ดำริที่จะให้มีการ<br />

ปกครองระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้<br />

รัฐธรรมนูญ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเป็น<br />

ร่างของพระยากัลยาณไมตรี หรือ ดร.ฟราน<br />

ซิสบีแซร์ ซึ่งยกร่างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ส่วน<br />

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒ ยกร่างโดย นาย<br />

เรมอนด์ บีสตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการ<br />

ต่างประเทศ และพระยาศรีวิสารวาจา ปลัด<br />

ทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งร่างขึ้น<br />

ในปี พ.ศ.๒๔๗๔<br />

อนึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งนายเรมอนด์<br />

บีสตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา ต่างไม่เห็น<br />

ด้วยที่จะให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดย<br />

อ้างเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลา เพราะคนไทยส่วน<br />

ใหญ่ยังไม่เหมาะสมที่จะมีส่วนในการปกครอง<br />

เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าสภานิติบัญญัติจะทำงาน<br />

ได้อย่างน่าพอใจ กรรมการทั้ง ๒ ท่านมีความ<br />

เห็นว่า จะต้องให้ประชาชนได้มีประสบการณ์<br />

ในการปกครองตนเองก่อน ต่อมาทรงทำ<br />

หนังสือเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญไปถึงที่ประชุม<br />

อภิรัฐมนตรี ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๗๔ เพื่อ<br />

จะได้ปรึกษากันในที่ประชุมอภิรัฐมนตรี<br />

ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะพระราชทาน<br />

รัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย ในวันที่ ๖<br />

เมษายน ๒๔๗๕ อันเป็นวันสถาปนาราชวงศ์<br />

จักรีครบ ๑๕๐ ปี แต่เมื่อถึงวันดังกล่าวก็มิได้<br />

มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ต่อ<br />

จากนั้นไม่ถึง ๓ เดือน คณะราษฎร์ก็ได้ทำการ<br />

เปลี่ยนแปลงการปกครอง แม้จะยังไม่พบ<br />

หลักฐานแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของบุคคล<br />

ต่าง ๆ ในสมัยนั้น ต่างได้ความตรงกันว่าการ<br />

งดประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ ๖ เมษายน<br />

๒๔๗๔ เป็นเพราะอภิรัฐมนตรีสภาไม่เห็นด้วย<br />

อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวยังทรงยืนยันที่จะให้มีการปกครอง<br />

ระบอบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ<br />

ในการเตรียมประชาชนให้มีความพร้อม<br />

สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบ<br />

รัฐสภา มีพระบรมราโชวาทในงานประจำปีของ<br />

วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน<br />

๒๔๗๕ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

๓ เดือน ความตอนหนึ่งว่า<br />

“การปกครองที่จะดีนั้นยิ่งเป็นแบบรัฐสภา<br />

หรือแบบปาลิเมนต์ด้วยแล้ว ถ้าจะดีได้ก็<br />

ต้องอาศัยความดีของประชาชน ต้องอาศัย<br />

น้ำใจ และนิสัยประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ถ้า<br />

ประเทศใดมีประชาชนมีน้ำใจดี รู้จักวิธีการที่<br />

จะปกครองตนเองโดยแบบมีรัฐสภาจริง ๆ แล้ว<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

การปกครองนั้นก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศ<br />

เป็นอันมาก”<br />

ทรงอธิบายถึงแนวทางที่จะให้ประชาชนมี<br />

น้ำใจดี โดยทรงยกตัวอย่างประเทศอังกฤษว่า<br />

อยู่ที่การฝึกฝนตามแบบอย่างโรงเรียนราษฎร<br />

ที่เป็นโรงเรียนประจำที่เรียกว่า พับลิกสกูล ซึ่ง<br />

มีวิธีการสอนสรุปได้ ๓ ประการคือ ประการ<br />

แรก พับลิกสกูลจะสอนให้รักขนบธรรมเนียม<br />

ของโรงเรียน และของประเทศ ขนบธรรมเนียม<br />

ใดที่มีมาแต่เดิม แม้จะคร่ำครึไม่มีประโยชน์ แต่<br />

ถ้าหากไม่เสียหายก็ควรรักษาไว้เพื่อให้นักเรียน<br />

ภาคภูมิใจ ให้นึกถึงความรุ่งเรืองของโรงเรียนที่<br />

มีมาแล้วตั้งแต่ในอดีต เมื่อเด็กอังกฤษเติบโต<br />

ขึ้นก็จะมีน้ำใจรักขนบธรรมเนียมของบ้านเมือง<br />

เป็นอย่างยิ่ง การรักขนบธรรมเนียมไม่ได้ทำให้<br />

ประเทศอังกฤษมีความเจริญล้าหลังประเทศ<br />

อื่น ๆ เลย แต่ทำให้ประเทศอังกฤษสามารถ<br />

เปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองได้อย่าง<br />

เรียบร้อย ประการที่สอง ในโรงเรียนพับลิก<br />

สกูลของอังกฤษมีการปกครองกันเป็นลำดับ<br />

ชั้น มีการปกครองที่เข้มงวดมากเป็นลำดับ<br />

ชั้น ตั้งแต่ครู เด็กชั้นผู้ใหญ่ เด็กชั้นเล็ก จะให้<br />

ปกครองกันเป็นลำดับชั้น และมีวินัยเคร่งครัด<br />

ทั้งนี้เพื่อฝึกหัดให้รู้จักปกครองกันเองตาม<br />

ลำดับชั้น ถ้าไม่มีก็ย่อมปกครองกันไม่ได้ ทรง<br />

เห็นว่า ถ้าจะให้ประเทศไทยมีการปกครอง<br />

ที่ดีงามต่อไป เราต้องฝึกหัดเด็กของเราให้<br />

รู้จักเคารพนับถือผู้ใหญ่ และให้รู้จักรับผิด<br />

ชอบที่จะปกครองผู้น้อยต่อไปโดยยุติธรรม<br />

ประการที่สาม ต้องฝึกหัดให้นักเรียนมีน้ำใจ<br />

เป็นนักกีฬาแท้ มีพระราชดำริว่า การฝึกหัด<br />

น้ำใจนั้นเป็นของสำคัญยิ่ง เราจะปกครองใน<br />

ระบอบประชาธิปไตยก็ยิ่งสำคัญมากขึ้น ทรงให้<br />

อรรถาธิบายคำว่านักกีฬาว่า จะเล่นเกมอะไรก็<br />

ต้องเล่นให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของเกมนั้น<br />

ไม่ใช้วิธีโกงเล็กโกงน้อย ถ้าเกมนั้นเล่นกันหลาย<br />

คนก็ต้องเล่นเพื่อชัยชนะของฝ่ายตน ไม่ใช่เล่น<br />

เพื่อแสดงความเก่งของคนคนเดียว ข้อสำคัญ<br />

คือนักกีฬาแท้ต้องรู้แพ้รู้ชนะ ทรงเห็นว่า หลัก<br />

การของความเป็นนักกีฬาแท้นี้เป็นประโยชน์<br />

ทางด้านการเมืองด้วย โดยเฉพาะเมื่อประเทศ<br />

ของเราจะปกครองในระบอบรัฐสภา<br />

มีพระราชดำรัสว่า “การปกครองแบเดโม<br />

คราซีนั้น ผู้ที่ชนะแล้วได้เข้ามาปกครองบ้าน<br />

เมือง ก็ควรจะต้องนึกถึงน้ำใจของฝ่ายน้อย<br />

ที่แพ้เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราชนะแล้วก็หาวิธี<br />

กดขี่ข่มเหงผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ต่าง ๆ นานาหาได้<br />

ไม่ ย่อมต้องมุ่งปกครองเพื่อประโยชน์ของคณะ<br />

ต่าง ๆ ทั้งหมด ส่วนผู้ที่แพ้ก็เหมือนกัน เมื่อแพ้<br />

แล้วถ้าตั้งกองวิวาทเรื่อย บอกว่าถึงแม้คะแนน<br />

โหวตแพ้ กำหมัดยังไม่แพ้เช่นนั้นแล้ว ความ<br />

เรียบร้อยจะมีไม่ได้ คงได้เกิดตีกันหัวแตกเต็ม<br />

ไป ฝ่ายผู้แพ้ควรต้องนึกว่าคราวนี้เราแพ้แล้ว<br />

ต้องไม่ขัดขวางหรือขัดคอพวกที่ชนะอย่างใด<br />

เลย ต้องปล่อยให้เขาดำเนินการตามความเห็น<br />

ของเขาต่อไป ภายหน้าเราอาจเป็นฝ่ายที่ชนะ<br />

ได้เหมือนกัน”<br />

จึงเห็นได้ว่า ประเทศไทยกำลังจะมี<br />

รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๒๐ ภายใต้การร่างของ<br />

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี ศ.ดร.<br />

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน คงไม่อาจ<br />

นำพาประชาธิปไตยกลับมาสู่ประเทศไทยตาม<br />

ความวาดหวังได้ หากตราบใดหัวใจของคนเล่น<br />

กติกายังขาดความมีน้ำใจนักกีฬาเป็นสำคัญ<br />

แล้วประชาธิปไตยแบบไทยไทยที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ<br />

ตลอดเวลา ๘๒ ปี ก็คงเสียของเหมือนเดิมอย่าง<br />

แน่นอน<br />

49


อาณาจักรตองอูกับการก้าว<br />

ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

อาณาจักรพม่าแห่งพุกามเป็นอาณาจักร<br />

พม่ายุคแรกก้าวขึ้นสู่อำนาจสูงสุดเหนือแม่น้ำอิ<br />

ระวดี มีอาณาจักรที่กว้างใหญ่ในสมัยของพระ<br />

เจ้าอโนรธามังช่อ (Anawrahta Minsaw) ทรง<br />

ครองราชสมบัติระหว่างปี พ.ศ.๑๕๘๗ - ๑๖๒๐<br />

ครองราชสมบัตินาน ๓๓ ปี ต่อมาอาณาจักรก็<br />

เริ่มอ่อนแอลง ในที่สุดก็ถูกกองทัพมองโกลจาก<br />

ทางตอนเหนือโจมตีในปี พ.ศ.๑๘๒๗ กองทัพ<br />

พม่าไม่สามารถจะต้านทานกองทัพมองโกลที่<br />

ยิ่งใหญ่ได้ ต่อมาก็พ่ายแพ้ในการรบ และใน<br />

ที่สุดอาณาจักรได้ล่มสลายในปี พ.ศ.๑๘๓๐<br />

อาณาจักรพม่าในยุคที่หนึ่งมีอายุยืนนานถึง<br />

๒๔๓ ปี...........บทความนี้ กล่าวถึงอาณาจักร<br />

พม่าแห่งกรุงหงสาวดีในยุคที่สองได้ก้าวขึ้น<br />

สู่จุดสูงสุดของอำนาจของพระเจ้าบุเรงนอง<br />

(Bayinnaung)<br />

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ (Shwemawdaw Paya) มีอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี สร้างขึ้น<br />

ในยุคที่มอญเรืองอำนาจได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง พระเจ้าบุเรงนองได้สร้างฉัตร<br />

ถวายเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง (ชาวสยามรู้จักในชื่อเจดีย์ชเวมอดอว่าพระธาตุมุเตา)<br />

การรบที่สำคัญที่รู้จักในชื่อการรบ<br />

นองโย (Battle of Naungyo) ปี พ.ศ.<br />

๒๐๘๑ พื้นที่การรบอยู่ที่บริเวณที่ราบลุ่ม<br />

ปากแม่น้ำอิระวดีก่อนจะถึงเมืองแปร<br />

๑. สถานการณ์ทั่วไป<br />

ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty) แห่ง<br />

กรุงหงสาวดีเป็นอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง<br />

จึงเริ่มต้นการขยายดินแดนไปยังอาณาจักร<br />

ของเพื่อนบ้านที่อ่อนแอกว่าทีละอาณาจักร<br />

จนอาณาจักรเริ่มมีอาณาเขตกว้างใหญ่ขึ้น<br />

50<br />

อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีตที่ผ่านมา จาก<br />

อาณาจักรต่าง ๆ มีที่ตั้งตามแนวของลุ่มแม่น้ำ<br />

อิระวดี ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำโขง<br />

ประกอบด้วยเมืองที่สำคัญคือพุกาม ไทใหญ่<br />

ล้านนา อยุธยา ล้านช้าง และมณีปุระ จึงเป็น<br />

มหาอำนาจทางทหารแห่งอุษาคเนย์<br />

๒. ราชวงศ์ตองอูก้าวขึ้นสู่<br />

จุดสูงสุดของอำนาจ<br />

๒.๑ อาณาจักรตองอู<br />

ราชวงศ์ตองอูก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าเมงจีโย<br />

(Mingyinyo) เมืองตองอู พระองค์ทรงครอง<br />

ราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๕๓ - ๒๐๗๓ เป็นเวลา<br />

นาน ๒๐ ปี พระราชโอรสคือพระเจ้าตะเบ็ง<br />

ชะเวตี้ (Tabishwehti) ทรงดำรงความมุ่งหมาย<br />

จะรวมอาณาจักรพม่าให้เป็นหนึ่งเดียว แม่ทัพ<br />

ใหญ่คู่พระทัยคือแม่ทัพบุเรงนองที่ได้สร้างชื่อ<br />

จากศึกนองโย (Nauagyo Battle) ปัจจุบัน<br />

อยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำอิระวดีก่อนจะ<br />

อาณาจักรหงสาวดีแห่งราชวงศ์ตองอู<br />

มีอาณาเขตที่กว้างขวางครอบครองเมือง<br />

ที่สำคัญตามแนวแม่น้ำอิระวดี, แม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา และแม่น้ำโขง มีอาณาเขตที่<br />

กว้างใหญ่ จึงเป็นมหาอำนาจทางทหาร<br />

แห่งอุษาคเนย์ (ลูกศรชี้คือเมืองตองอู<br />

จุดเริ่มต้นของราชวงศ์ตองอู)<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


พระราชวังของพระเจ้าบุเรงนองที่รัฐบาลพม่าสร้างจำลองขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓<br />

ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง อยู่ที่เมืองหงสาวดี<br />

ถึงเมืองแปร แต่ความมุ่งหมายของพระองค์<br />

ไม่สำเร็จโดยพระองค์ทรงสวรรคตเสียก่อน<br />

พระเจ้าบุเรงนองทรงขึ้นครองราชย์ปี พ.ศ.๒๐๙๔<br />

โดยการปราบดาภิเษก เป็นกษัตริย์ลำดับที่<br />

สามแห่งราชวงศ์ตองอู มีชื่อว่าบะยิ ่นเหน่าว<br />

มีความหมายว่าพระเชษฐาธิราช มีพระนาม<br />

เต็มว่าบะยิ่นเหน่าวจ่อถิ่นหน่อยะถ่า ชาวสยาม<br />

จะเรียกว่าบุเรงนองกะยอดินนรธา โดยมีความ<br />

หมายว่าพระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภินิหาร<br />

แต่ชาวยุโรปจะรู้จักพระองค์ในนามชื่อ บราจิ<br />

โนโค (Braginoco) พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์<br />

ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๑๒๔ ขณะ<br />

พระองค์ทรงยกกองทัพพม่าแห่งหงสาวดีไปตี<br />

เมืองทางด้านตะวันตกคือเมืองยะไข่ (อาระกัน)<br />

๒.๒ พระราชวังกัมโพชธานี (Kamboza<br />

Thadi Palace)<br />

พระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างพระราชวัง<br />

กัมโพชธานีขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๐๙ ตั้งอยู่ทางตอน<br />

ใต้ของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุ<br />

มุเตา) หลังจากทรงขึ้นครองราชย์สมบัติมานาน<br />

๑๕ ปี เป็นห้วงที่พระองค์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด<br />

ของอำนาจ โดยใช้แรงงานมาจากประเทศราช<br />

ต่าง ๆ ที่ขึ้นกับอาณาจักรตองอูแห่งหงสาวดี<br />

พระองค์ทรงใช้ชื่อประตูเมืองตามชื่อของ<br />

แรงงานของเมืองที่สร้างขึ้น เป็นพระราชวัง<br />

ที่มีขนาดใหญ่โตสมพระเกียรติ หลังจากที่<br />

พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลงในปี พ.ศ.๒๑๒๔<br />

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๖๕ พรรษา<br />

(ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๔ - ๒๑๒๔ ขณะที่ทรง<br />

มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา) อาณาจักรตองอู<br />

แห่งหงสาวดีก็เริ่มอ่อนแอลงเพราะขาดความ<br />

เข้มแข็ง ประกอบกับเมืองขึ้นหลายเมืองไม่<br />

ยอมรับอำนาจจากศูนย์กลางคือกรุงหงสาวดี<br />

การรบใหญ่จึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

ต่อมาถูกกองทัพเมืองยะไข่เข้าโจมตีกรุง<br />

หงสาวดีและพระราชวังกัมโพชธานีก็ถูกเผา<br />

ทำลายในปี พ.ศ.๒๑๔๒<br />

พ.ศ.๒๕๓๓ รัฐบาลประเทศพม่าได้สร้าง<br />

พระราชวังกัมโพชธานีจำลองขึ้นใหม่ โดย<br />

พระราชวังของเดิมคงเหลือเพียงตอไม้ที่อยู่<br />

บริเวณแนวพื้นดิน บริเวณพระราชวังเดิมมี<br />

การขุดพบโบราณวัตถุมากมายและซากไม้ที่<br />

ใช้สร้างพระราชวังในอดีต ไม้แต่ละท่อนมีตัว<br />

อักษรจารึกอยู่ว่าเป็นไม้ที่มาจากเมืองใด และ<br />

ส่วนที่สองคือบัลลังก์หรือเป็นพระราชฐาน<br />

ชั้นใน<br />

๒.๓ ราชวงศ์ตองอู<br />

พระเจ้าบุเรงนอง ทรงมีพระราชโอรส<br />

และพระราชธิดารวม ๖๘ พระองค์ ประกอบ<br />

ด้วยพระราชโอรส ๓๓ พระองค์ และพระราช<br />

ธิดา ๓๕ พระองค์ พระมเหสีประกอบด้วย<br />

พระอัครมเหสีตำหนักใต้ (พระนามเดิมตะขิ่นจี<br />

พระพี่นางในพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้), พระ<br />

อัครมเหสีตำหนักเหนือ (พระนามเดิมสิริโพง<br />

ทุต พระธิดาพระเจ้ากรุงอังวะ), พระอัครมเหสี<br />

ตำหนักกลาง (พระนามเดิมฉิ่นเทวละหรือเซง<br />

ทะเว พระธิดาพระเจ้ากรุงพะโค) และพระ<br />

มเหสีเล็ก (พระสุพรรณกัลยา พระธิดาพระ<br />

มหาธรรมราชา กรุงศรีอยุธยา ที่ชาวพม่าเรียก<br />

ว่าอะเมี้ยวโยง) พร้อมทั้งทรงมีพระสนมรวม<br />

๓๐ พระองค์ พระราชโอรสและพระราชธิดา<br />

ที่สำคัญคือ<br />

เจ้าชายงาสู่ด่ายะก่ามิน (เจ้าวังหน้า) หรือ<br />

เจ้าชายนันทบุเรง พระราชโอรสองค์โต ของ<br />

พระนางตะขิ่นจี ต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติ<br />

สืบต่อจากพระราชบิดาคือพระเจ้าบุเรงนอง<br />

มีพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง (โนนเตี๊ยะ<br />

บาเยง)<br />

พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนองแห่ง<br />

อาณาจักรพม่ากรุงหงสาวดี เป็น<br />

มหาราช (หนึ่งในสามของอาณาจักร<br />

พม่า) ที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศ<br />

เมียนมาร์<br />

พระนางเมงกอสอ พระราชธิดาพระองค์<br />

ใหญ่ของพระนางตะเกงจี ต่อมาทรงอภิเษก<br />

กับพระเจ้าตองอู เป็นพระราชมารดาของนัด<br />

จินหน่อง (Natshinnaung) หรือพระสังขทัต<br />

(ชาวสยามจะรู้จักในชื่อนี้) มีความรอบรู้ทาง<br />

ด้านบทกวีและพระไตรปิฎก<br />

เจ้าชายมังนรธาสอ พระโอรสของพระมเหสี<br />

ราชเทวี พระตำหนักกลาง ต่อมาพระเจ้า<br />

บุเรงนองส่งมาปกครองอาณาจักรล้านนา<br />

ปี พ.ศ.๒๑๒๑ รู้จักในชื่ออโนรธาเมงสอ<br />

และเป็นแม่ทัพที่ยกกองทัพพม่าแห่งล้านนา<br />

ลงมาตีอยุธยา พ.ศ.๒๑๒๘ หลังจากที่อยุธยา<br />

ได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ.ศ.๒๑๒๗<br />

๓. บทสรุป<br />

อาณาจักรพม่าแห่งตองอูเริ่มต้นการขยาย<br />

อำนาจจากอาณาจักรขนาดเล็กสู่อาณาจักร<br />

ใกล้เคียง เนื่องจากมีอาวุธใหม่คือปืนคาบศิลา<br />

และปืนใหญ่จากโปรตุเกส พระเจ้าบุเรงนอง<br />

กษัตริย์นักรบที่มีความเชี่ยวชาญในกลศึก<br />

และทำการรบเข้มแข็ง พร้อมทั้งทรงเป็นนัก<br />

ปกครองและนักบริหาร ทรงนำกองทัพพม่า<br />

ในการเข้าตีเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์<br />

อาณาจักรพม่าแห่งกรุงหงสาวดีจึงเป็นจุดเริ่ม<br />

ต้นของอาณาจักรพม่าในยุคที่สองเริ่มต้นสู่<br />

ความยิ่งใหญ่<br />

51


;-) Winking smile<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ<br />

ด้<br />

วยอิทธิพลของเทคโนโลยีการ<br />

สื่อสารของระบบเครือข่าย<br />

(Social network) เช่น SMS,<br />

Twitter Facebook หรือ Line จนกลาย<br />

เป็นภาพชินตาในสังคมไทยไปแล้ว เราคุยกัน<br />

น้อยลง และนั่งตั้งหน้าตั้งตาพิมพ์ส่งข้อความ<br />

กันทั้งวัน หลายคนเสียมารยาทมากในการส่ง<br />

ข้อความในที่ประชุม แถมยังมีเสียงดัง ปริ้ง<br />

ปริ ้ง ตลอดเวลาโดยผู้ใช้โทรศัพท์ไม่คำนึงถึง<br />

มารยาททางสังคมเอาเสียเลย ที่ต้องเขียนใน<br />

นี้เพราะทนไม่ไหวจริง ๆ เพราะเห็นหลาย ๆ<br />

คนทั้งที่แต่งเครื่องแบบทหาร นั ่งประชุม ก็ยัง<br />

Chat ไม่หยุด บางคนอ้างว่ามีงานด่วนที่จะต้อง<br />

ติดตาม ทุกคนก็นั่งก้มหน้าไม่ฟังการบรรยาย<br />

หรือการประชุม อาจารย์วันดีก็ยอมรับว่าเป็น<br />

คนหนึ่งที่ติด Chat เช่นกัน แต่พยายามที่จะ<br />

ไม่นำโทรศัพท์เข้าไปห้องประชุมเพื่อทำให้เรา<br />

ไม่มีสมาธิ เคยมีเหตุการณ์ที่ดูแล้วน่าอายมาก<br />

เมื่อนำนักเรียนทหารไปเข้าฟังการบรรยายที่<br />

เมืองพัทยา ในขณะที่มีการบรรยายต้อนรับ<br />

คณะอยู่นั้น นายทหารนักเรียนจำนวนมาก<br />

ก้มหน้าเล่น Line กัน จนเราในฐานะเป็นผู้นำ<br />

คณะรู้สึกอาย แต่จะห้ามตอนนั้นก็ห้ามไม่ได้<br />

เลยต้องใช้วิธีเขียนไปใน Line กลุ่มว่า “ทุกคน<br />

คะ เลิกเล่น Line ค่ะ” หลังจากนั้นปฏิกิริยา<br />

ที่เห็นก็คือ ทุกคนเก็บโทรศัพท์มือถือทันที<br />

ดังนั้นจะพูดว่าระบบการสื่อสารเครือข่าย<br />

นั้นไม่มีประโยชน์ก็ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้<br />

เทคโนโลยีให้ถูกกาลเทศะแค่ไหน ฉบับนี้<br />

ขอเอาใจผู้สูงอายุทั้งหลายที่มีไฟในการส่ง<br />

ข้อความ SMS ที่จะได้เข้าใจภาษา SMS พร้อม<br />

กันกับผู้เขียนนะคะ หรือจะส่ง line มาคุยกัน<br />

ก็ได้ค่ะ เช่น ภาษาอารมณ์ ต่อไปนี ้<br />

$-( I spent too much money<br />

ใช้เงินเยอะเกินไป<br />

%-( Confuse and sad<br />

งงและเสียใจ<br />

%-} Intoxicated<br />

มึนเมา<br />

:-) Smile<br />

ยิ้ม<br />

'-) Winking<br />

ขยิบตา<br />

*:-) Clown<br />

ตัวตลก<br />

;-) Winking smile<br />

ยิ้มขยิบตา<br />

:-( Sad face<br />

หน้าเศร้า<br />

:'-(<br />

Crying<br />

ร้องไห้<br />

:-(o) Shouting<br />

ตะโกน<br />

:) Small smile<br />

ยิ้มน้อย ๆ<br />

:'-) Tear of joy<br />

น้ำตาแห่งความสุข<br />

:- ) Big smile<br />

ยิ้มเต็มที่<br />

:- )) Really happy<br />

มีความสุขจริง ๆ<br />

8-) Drunk laughter<br />

ขำ<br />

:@<br />

:-@<br />

Pig<br />

หมู<br />

Screaming<br />

กรี๊ดร้อง<br />

:-/ Skeptical<br />

สงสัย<br />

:{) I've got a moustache<br />

ไว้หนวด<br />

:-~) Having a cold<br />

เป็นหวัด<br />

$-) A surprise smile<br />

ยิ้มแปลก ๆ<br />

:-7 Cynical laugh<br />

หัวเราะแบบเยาะเย้ย<br />

:-c<br />

:-d<br />

Unhappy<br />

ไม่มีความสุข<br />

Delighted smile<br />

ยิ้มแบบดีใจ<br />

:p Stick tongue out<br />

แลบลิ้นออกมา<br />

:-D Laughing<br />

หัวเราะ<br />

:-o Kiss from me<br />

ส่งจูบ<br />

:-o zz Bored<br />

เบื่อ<br />

:-v Talking<br />

กำลังคุย<br />

:-X Kiss<br />

จูบ<br />

@ At<br />

อยู่ที่<br />

@->;- A rose<br />

ดอกกุหลาบ<br />

[ ] Hug<br />

กอด<br />

=:) Bunny<br />

กระต่าย<br />

52<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


:-( Very angry<br />

โกรธมาก<br />

_


สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

โรคอ้วน (Obesity)<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

โ<br />

รคอ้วนจัดเป็นปัญหาหลักทาง<br />

สาธารณสุขที่พบมากขึ้นโดยเฉพาะ<br />

ในกำลังพลสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม พบว่ากำลังพลที่มีอาหารการกิน<br />

อุดมสมบูรณ์มีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน อีกทั้ง<br />

ยังมีปัญหาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายสืบ<br />

เนื่องมาจากโรคอ้วน มีคนจำนวนมากที่เข้าใจ<br />

ผิดว่าการมีไขมันส่วนเกินเพียงเล็กน้อยที่หน้า<br />

ท้อง ต้นแขน ต้นขา ก็ถือว่า "อ้วน" ซึ่งถือว่า<br />

เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ ่งเนื่องจากคำว่า<br />

"อ้วน" ในความหมายของคนทั่วไป กับความ<br />

หมายทางวิชาการมีความแตกต่างกันและควร<br />

ที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เกิด<br />

ปัญหาว่ามีความคิดวิตกกังวลว่าตนเอง "อ้วน"<br />

ทั้งที่จริง ๆ แล้วน้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ<br />

ในทางวิชาการมีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยว่า<br />

เป็นโรคอ้วนหรือไม่ ขององค์การอนามัยโลก<br />

โดยใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index<br />

(BMI) ค่าที่ได้ดังกล่าวได้มาจากการคำนวณ<br />

ค่าน้ำหนักตัวปกติซึ่งควรอยู่ในช่วง ๑๘.๕<br />

– ๒๔.๙ และจะถือว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อมีค่า<br />

BMI มากกว่า ๓๐ ขึ้นไป ในบทความนี้จะมีวิธี<br />

คำนวณค่า BMI เพื่อให้ผู้ที่สนใจลองคำนวณ<br />

หาค่า BMI ของตนเอง และจะได้ประเมินว่า<br />

ร่างกายของท่านอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือ<br />

ไม่ ร่วมกับการพิจารณาประกอบว่าควรจะลด<br />

น้ำหนักลงมากน้อยเพียงใดและเมื่อท่าน "อ้วน"<br />

มีปัจจัยเสี่ยงของโรคใดบ้าง และท่านควร<br />

ปฏิบัติตนอย่างไรในการลดน ้ำหนัก เพื่อช่วย<br />

ให้ท่านสามารถลดน้ำหนักได้ และมีสุขภาพ<br />

ทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดีสามารถปฏิบัติ<br />

กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ และมี<br />

น้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงและอายุของ<br />

ตนเองหรือไม่<br />

ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index<br />

(BMI) คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและ<br />

ส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมัน<br />

ในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณ<br />

อย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และ<br />

สามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัยและทุกเชื้อชาติ<br />

ดัชนีมวลกาย (BMI)<br />

= น้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม)<br />

ความสูง ๒ (หน่วยเมตร ๒)<br />

54<br />

เมื่อคำนวณแล้วท่านมีค่า BMI มากกว่า<br />

๒๕ ถือว่ามีน้ำหนักตัวมากเกิน (overweight)<br />

และถ้ามีค่า BMI มากกว่า ๓๐ ถือว่า<br />

"อ้วน" (obesity) นอกจากนี้มีการจำแนก<br />

ประเภทดัชนีมวลกาย (BMI) ตามเกณฑ์ของ<br />

International Obesity Task Force (IOTF)<br />

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการเกิดการ<br />

เจ็บป่วยเมื่อมีค่า BMI ในระดับต่าง ๆ ดังตาราง<br />

จากตารางข้างต้นจะพบว่าผู้มีน้ำหนักตัว<br />

เกิน (ค่า BMI มากกว่า ๒๕) และผู้ที่เป็นโรค<br />

อ้วน (ค่า BMI มากกว่า ๓๐) จะมีความเสี่ยงต่อ<br />

การเกิดการเจ็บป่วยอย่างมาก หรือกล่าวอีกนัย<br />

หนึ่งได้ว่าการที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือความอ้วน<br />

นั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผล<br />

ต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบด้วย<br />

กัน ได้แก่<br />

ประเภท ดัชนีมวลกาย (BMI) ความเสี ่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วย (BMI)<br />

น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ น้อยกว่า ๑๘.๕ ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)<br />

น้ำหนักตัวปกติ ๑๘.๕ – ๒๔.๙ ปกติ<br />

น้ำหนักตัวเกิน ๒๕ – ๒๙.๙ เพิ่มกว่าปกติ<br />

โรคอ้วนขั้นที่ ๑ ๓๐ – ๓๔.๙ เพิ่มขึ้นอย่างมาก<br />

โรคอ้วนขั้นที่ ๒ ๓๕ – ๓๙.๙ ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)<br />

โรคอ้วนขั้นที่ ๓ ๔๐ ขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึงขั้นรุนแรง<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอด<br />

เลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันใน<br />

เลือดสูง โรคหลอดเลือดโคโรนารี<br />

โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี (gallbladder<br />

disease)<br />

โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis)<br />

มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก<br />

เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูกรังไข่ เต้านม<br />

ถุงน้ำดีตับอ่อน<br />

โรคทางเดินหายใจและปอดหายใจ<br />

ลำบากขณะนอนหลับนอนกรน (snoring)<br />

เพราะทางเดินหายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะ<br />

ขาดออกซิเจน ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่<br />

ส่งผลให้ง่วงนอนในเวลากลางวัน บางคน<br />

อาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถจนเกิด<br />

อุบัติเหตุได้<br />

โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความ<br />

ดันโลหิตสูง<br />

โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม<br />

(Os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณ<br />

สะโพกหัวเข่าข้อศอก<br />

โรคเก๊าท์ (gout)<br />

โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)<br />

เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน<br />

(stroke)<br />

ซึมเศร้า (depression)<br />

เส้นเลือดขอด (varicose vein)<br />

เหงื ่อออกมาก (sweating)<br />

การเป็นหมัน (infertility)<br />

จากการเสี่ยงต่อสุขภาพของโรคอ้วนที่กล่าว<br />

ถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึงมี<br />

การศึกษาถึงอันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่า<br />

คนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคน<br />

รูปร่างปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า<br />

อัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง<br />

๒ – ๑๒ เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคลแต่ถ้า<br />

กลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน้ำหนักเกินสามารถ<br />

ลดน้ำหนักได้เพียง ๕ – ๑๐% ของน้ำหนักตัว<br />

เริ่มต้นก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และ<br />

อัตราการตาย (morbidity and mortality<br />

rate) ได้ระดับหนึ่งทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมี<br />

ความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิด<br />

ผลเสียได้มากกว่าผลดี "น้ำหนัก" ก็เช่นกัน ถ้า<br />

มากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ<br />

มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความอ้วนลงมาให้<br />

ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะ<br />

เกิดขึ้นได้ แล้วคนที่มี "น้ำหนักเกิน" หรือ "อ้วน"<br />

สามารถรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดความ<br />

อ้วนมากเกินไปได้ โดยทั่วไปสาเหตุของ "อ้วน"<br />

มีหลายสาเหตุ บางคนอาจเกิดจากสาเหตุเดียว<br />

อ้วนหรือหลายสาเหตุประกอบกันก็ได้<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

สาเหตุของโรคอ้วน<br />

๑. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่<br />

เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง<br />

๒. รับประทานอาหารมากเกินไป แล้วไม่มี<br />

เวลาออกกำลังกาย กล่าวคือ พลังงานที่ได้รับ<br />

จากการรับประทานมากกว่าพลังงานที่ใช้ไปใน<br />

การออกกำลังกาย เช่น ชอบรับประทานอาหาร<br />

ที่มีไขมันและแคลอรี่สูง เช่น หนังไก่ทอด มัน<br />

หมู หมูสามชั ้น ขาหมู ครีม เค้ก ฯลฯ แล้วไม่<br />

ยอมหาเวลาว่างออกกำลังกายเพื่อให้มีการใช้<br />

พลังงานที่ได้รับเข้ามา<br />

๓. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่<br />

เหมาะสมทำให้มีการใช้พลังงานต่ำ และทำให้<br />

เสียโอกาสในการทำกิจกรรมหรือออกกำลัง<br />

กายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น การจราจร<br />

ติดขัดในกรุงเทพ ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องนั่ง<br />

เฉยบนรถยนต์หลายชั่วโมงต่อวัน ลักษณะงาน<br />

ที่ต้องนั่งทำงานตลอดเวลา พฤติกรรมชอบรับ<br />

ประทานอาหารจุกจิก เป็นต้น<br />

๔. โรคบางชนิด เช่น Cushings Syndrome<br />

ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อ้วน<br />

โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติ<br />

ของฮอร์โมนในร่างกาย จนทำให้อ้วนบริเวณ<br />

ใบหน้า ลำตัว ต้นคอด้านหลัง แต่แขนขาจะ<br />

เล็ก และไม่มีแรง ในกรณีนี้จะต้องรักษาที่<br />

ต้นเหตุคือ ฮอร์โมนที่มีความผิดปกติจึงจะ<br />

สามารถหายอ้วนได้ สำหรับการรักษาโรคอ้วน<br />

นี้ วิธีการรักษาที่ดีควรต้องมีการผสมผสานการ<br />

รักษาหลายวิธีร่วมกันคือ การควบคุมอาหาร<br />

การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลง<br />

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่วนการรักษาโดย<br />

ใช้ยานั้นต้องใช้ในกรณีจำเป็นต่อการรักษาโรค<br />

อ้วนจริง ๆ และมักต้องอาศัยการรักษาด้วยยา<br />

ร่วมกับวิธีอื่น ๆ หรือถึงแม้ไม่ได้รับการรักษา<br />

ด้วยยาถ้าต้องการลดน้ำหนักก็ต้องอาศัยทั้ง<br />

๓ วิธีข้างต้นร่วมกันในการรักษาและควบคุม<br />

น้ำหนัก การควบคุมอาหาร (diet) ในการลด<br />

น้ำหนักคนอ้วน คือ ให้พลังงานจากอาหาร<br />

น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึง<br />

สลายพลังงานที่เก็บสะสมในร่างกายออกมา<br />

ใช้แทน น้ำหนักก็จะลดลง การควบคุมอาหาร<br />

เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก<br />

ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของตัวท่าน<br />

เองเพราะถ้าท่านยังไม่สามารถตัดใจในเรื่อง<br />

อาหารได้ ความสำเร็จในการลดน ้ำหนักก็จะ<br />

ลดลงด้วย ลองตั้งใจเต็ม ๑๐๐% ในการควบคุม<br />

อาหาร แล้วท่านก็จะประสบความสำเร็จ แต่มี<br />

ข้อแนะนำว่าท่านไม่ควรงดอาหารชนิดใดชนิด<br />

หนึ่งอย่างเด็ดขาด หรือไม่ยอมรับประทาน<br />

อาหารในมื้อนั้น ๆ เพื่อจะลดน้ำหนักแต่ควร<br />

มีการควบคุมปริมาณอาหารที่ได้รับแต่ละมื้อ<br />

มากกว่า เพราะถ้างดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง<br />

อย่างเด็ดขาดอาจทำให้ท่านขาดสารอาหาร<br />

ที่จำเป็นต่อร่างกายได้และถ้าท่านไม่ยอมรับ<br />

ประทานอาหารในมื้อใดมื้อหนึ่งอย่างเด็ด<br />

ขาด ก็อาจทำให้ท่านเป็นโรคกระเพาะอาหาร<br />

อักเสบได้เช่นกัน<br />

การออกกำลังกาย (exercise) เป็นวิธีที่<br />

สำคัญในการลดน้ำหนัก กล่าวคือเป็นส่วนของ<br />

การใช้พลังงานที่ถูกสะสมไว้ในรูปของไขมันซึ่ง<br />

ถ้าสัดส่วนของการใช้พลังงานมากกว่าสัดส่วน<br />

ของพลังงานที่ได้รับเข้าไปก็จะสามารถลด<br />

น้ำหนักได้ และวิธีการออกกำลังกายนี้สามารถ<br />

ลดน้ำหนักได้ในระยะยาว นอกจากมีผลดีใน<br />

การลดน้ำหนักแล้วยังมีข้อดีอีกหลายประการ<br />

ไม่ว่าจะผลดีต่อระบบหายใจทำให้การทำงาน<br />

ของหัวใจและปอดดีขึ้น แล้วยังลดปัญหาด้าน<br />

ภูมิแพ้ โดยจะเพิ่มความต้านทานแก่ร่างกาย<br />

ด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีทั้ง<br />

ทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยทั่วไปมักใช้วิธี<br />

ออกกำลังกายนี้ควบคู่กับการควบคุมอาหาร<br />

การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรใช้เวลา<br />

ประมาณ ๓๐ – ๖๐นาทีต่อครั้งสัปดาห์ละ<br />

๓ – ๕ ครั้ง แค่นี้เราก็จะไม่อ้วนกันอีกต่อไป<br />

แล้ว<br />

55


พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธีมอบทุนและประมูลจัดหาทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์<br />

ศิลปะ ประจำปี ๒๕๕๗ แก่นิสิตนักศึกษาที่มีประวัติการศึกษาดีและความประพฤติดี โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี<br />

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย<br />

ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี เมื่อ ๑๙ พ.ย.๕๗<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก<br />

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก<br />

พร้อมด้วย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัด<br />

กระทรวงกลาโหมและผู้นำเหล่าทัพ ร่วม<br />

บันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพรชัยมงคล<br />

เนื ่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๗ พรรษา ๕<br />

ธันวาคม ๒๕๕๗ ในนามกระทรวงกลาโหม ณ<br />

สถานีโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อ ๖ พ.ย.๕๗<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัย<br />

ป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ โดยมี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและ<br />

ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องบรรยายรวม วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถ.วิภาวดีรังสิต<br />

เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๗<br />

56


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๗<br />

กองบัญชาการกองทัพไทย<br />

กองทัพอากาศ<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

57


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๗<br />

กองทัพบก<br />

กองทัพเรือ<br />

58


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พลเอก<br />

ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช<br />

สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พลเอก ศิริชัย<br />

ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ร่วมงานเลี้ยงรับรองเนื่องในวันกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๗ ณ หอประชุมกองทัพเรือ<br />

เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๗<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานวันราชวัลลภ ประจำปี ๒๕๕๗<br />

ณ กองบังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ เขตพญาไท เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๗<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม วางพวงมาลาในนามกระทรวงกลาโหมเนื่องในวันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประจำปี<br />

๒๕๕๗ โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสาฯ บริเวณท้องสนามหลวง เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๗<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

59


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ<br />

สร้างเสริมคุณภาพชีวิตกำลังพล<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมี<br />

นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องพินิต<br />

ประชานาถ ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๗<br />

พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์<br />

ประธานคณะกรรมาธิการบริหารราชการ<br />

แผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับฟัง<br />

การบรรยายสรุปแนวนโยบายและ<br />

ยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม<br />

โดยมี พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหมและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วม<br />

ให้การต้อนรับ ณ ห้องภาณุรังษี ภายใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๗<br />

60


พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายอาเมียร์ คายน์ (Amir kain) รองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และเจ้ากรมรักษาความปลอดภัยหน่วยงานด้านการป้องกันประเทศกลาโหมรัฐอิสราเอล ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ<br />

ณ ห้องกัลยาณไมตรี เมื่อ ๑๓ พ.ย.๕๗<br />

พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย<br />

และแผนกลาโหม ให้การต้อนรับ พ.อ.Desmond<br />

D. Walton เจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมสหรัฐอเมริกา ใน<br />

โอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้อง<br />

ขวัญเมือง ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๔ พ.ย.๕๗<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

61


พลเอก นพดล ฟักอังกูร เจ้ากรมเสมียนตรา เป็นประธานในพิธีรับมอบเงินบริจาคสมทบ "กองทุนกรมเสมียนตรา ๔๐/๕๗" โดยมีนายทหาร<br />

ชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๔ พ.ย.๕๗<br />

พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีรับมอบทุนการศึกษาประจำปี ๒๕๕๗ จากวัดมหาธาตุ<br />

ยุวราชรังสฤษฎิ์ ให้กับบุตรกำลังพลในสังกัดสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์<br />

เขตพระนคร เมื่อ ๑๒ พ.ย.๕๗<br />

62


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยา<br />

ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ<br />

อุปนายกสมาคม ฯ ร่วมงานเลี้ยงรับรองเนื่องใน<br />

วันกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๕๗ ณ ห้องเจ้าพระยา<br />

หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๗<br />

นางธัญรัศม์ อาจวงษ์ อุปนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตกำลังพล สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ พ.ย.๕๗<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

63


คณะกรรมการสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร เขตคลองสาน<br />

เมื่อ ๒๔ พ.ย.๕๗<br />

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยา<br />

ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นประธานในการประชุมใหญ่สามัญ<br />

ประจำปี ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุม ชั้น ๖<br />

อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

(ศรีสมาน) เมื่อ ๒๘ ต.ค.๕๗<br />

64


พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมสัมมนาสถานีวิทยุกระจายเสียงสาธารณะ<br />

ด้านความมั่นคงเครือข่ายสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รุ่นที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ ระหว่าง<br />

วันที่ ๑๙ - ๒๑ พ.ย.๕๗<br />

บทอาเศียรวาท<br />

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

๕ ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

ธ ทรงเป็น เช่นตะวัน ขวัญแห่งชาติ รอยพระบาท จาริกไกล เพื่อไทยสุข<br />

ธ ทรงงาน เพื่อชนชาติ บำราศทุกข์ ปีติปลุก ทั่วถิ่น แผ่นดินไทย<br />

พระดำริ ผลิสาน งานบังเกิด แสนล้ำเลิศ ทั่วพิภพ สบสมัย<br />

พระดำรัส รัฐราษฎร์รอด และปลอดภัย น้ำพระทัย ล้นเยี่ยม เปี่ยมเมตตา<br />

พฤกษ์พันธ์ุแล เขียวชอุ่ม และชุ่มชื้น ต้นน้ำฟื้น ทรงปกปัก ทรงรักษา<br />

ทรงดำริ ความพอเพียง เลี้ยงชีวา ภูมิปัญญา วิถีไทย จึงได้คง<br />

ยามแห้งแล้ง มีฝนหลวง ทรงห่วงหา ป้องมหา ชลาหลั่ง ดั่งประสงค์<br />

อุทกพัฒน์ แก้เหตุ สมเจตน์จง<br />

อีกธำรง ชัยพัฒนา พาชีวี<br />

พระดำรัส การปรองดอง เพื่อผองราษฎร์ ลดพิพาท ลดห้ำหั่น สรรสุขี<br />

สมานฉันท์ นำประชา สามัคคี ยื่นไมตรี ปันน้ำใจ ให้แก่กัน<br />

คุณธรรม พระราชทาน สานคุณค่า เพื่อประชา ประสบ พบสุขสันต์<br />

ใต้ร่มฉัตร สยามสุข ทุกคืนวัน ธ มุ่งมั่น ขับเคลื่อนไทย ให้รุ่งเรือง<br />

ปวงข้าบาท อัญเชิญพร บวรกวิน เทพทั่วถิ่น ประสิทธิ์ ฤทธิ์ลือเลื่อง<br />

เทิดถวาย พระพรชัย ไท้เมลือง พระเกียรติเฟื่อง พราวเพริศ เลิศนิรันดร์.<br />

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ<br />

ข้าพระพุทธเจ้า กำลังพลสังกัดกระทรวงกลาโหม<br />

(พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้ประพันธ์)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!