15.09.2016 Views

lakmuang 285

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

พุทธศักราช ๒๓๑๙ เจ้าพระยาจักรี เป็น<br />

แม่ทัพไปตีหัวเมืองทางตะวันออก เมือง<br />

นางรอง จำปาศักดิ์ อัตปือ โขงเจียม สุรินทร์<br />

สังขะและขุขันธ์ เสร็จราชการทัพครั้งนี้ได้เลื่อน<br />

ยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก รับ<br />

พระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม<br />

พุทธศักราช ๒๓๒๑ สมเด็จเจ้าพระยามหา<br />

กษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ใน<br />

สงครามระหว่างกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนา<br />

คนหุต หลวงพระบางและหัวเมืองขึ้น ได้อัญเชิญ<br />

พระแก้วมรกตกับพระบาง ซึ่งอยู่ที่เวียงจันทน์<br />

ลงมายังกรุงธนบุรี<br />

พุทธศักราช ๒๓๒๓ สมเด็จเจ้าพระยา<br />

มหากษัตริย์ศึก เป็นทัพไปปราบจลาจลที่กรุง<br />

กัมพูชายังไม่ทันเสร็จ เกิดจลาจลในกรุงธนบุรี<br />

จึงต้องยกทัพกลับ และปราบดาภิเษกเป็นพระ<br />

มหากษัตริย์<br />

จะเห็นได้ว่าราชการที่ทรงรับผิดชอบส่วน<br />

ใหญ่คือราชการทัพ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า<br />

ทรงมีประสบการณ์การบริหารราชการฝ่าย<br />

พลเรือนอย่างดี ในช่วงปฏิบัติราชการในหน้าที่<br />

หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีต้องควบคุมดูแล<br />

ข้าราชการฝ่ายพลเรือนด้วยเมื่อแรกถวาย<br />

ตัวเข้ารับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

มหาราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ<br />

ให้กำกับราชการกรมพระตำรวจดูแลความ<br />

สงบเรียบร้อยในพระนครซึ่งเป็นราชการฝ่าย<br />

พลเรือน<br />

ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน<br />

และการรบทัพจับศึก เป็นปัจจัยสำคัญที่<br />

สนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองในราชการของ<br />

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นสิ่งที่มิได้<br />

สะสมขึ้นได้ในเวลาอันสั้นในรัชสมัยกรุงธนบุรี<br />

เท่านั้น ยังประกอบด้วยพัฒนาการที่สั่งสม<br />

ขึ้นมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่ง<br />

มีพื้นฐานมาจากครอบครัว ทำให้สามารถมี<br />

พัฒนาการสั่งสมความรู้ ความถนัดและความ<br />

สามารถมาตั้งแต่วัยเยาว์<br />

เมื่อพิจารณาพระราชประวัติการรับราชการ<br />

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช จะเห็นว่าลักษณะหน้าที่ราชการ<br />

ของพระองค์ท่านในแต่ละช่วง อยู่กึ่งกลาง<br />

ระหว่างราชการทหารและพลเรือนมาตลอด<br />

ตั้งแต่ตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี<br />

เป็นตำแหน่งนักบริหารระดับกลาง ที่มีหน้าที่<br />

จัดระเบียบและตรวจตราบัญชีกำลังพลของ<br />

ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนในเมือง<br />

นั้น เมื่อรับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราชทรงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชวรินทร์<br />

กำกับราชการกรมพระตำรวจเป็นงานกึ่ง ๆ<br />

ระหว่างทหารและพลเรือนเช่นกัน อย่างไรก็<br />

ดี กล่าวได้ว่าพระปรีชาสามารถทางการทหาร<br />

ของพระองค์มีความโดดเด่นกว่าพระปรีชา<br />

สามารถด้านพลเรือน ดังจะเห็นได้จากช่วงที่<br />

ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยา<br />

อภัยรณฤทธิ์เมื่อเสร็จศึกปราบชุมนุมเจ้าพิมาย<br />

เป็นการก้าวหน้าในราชการจากพระปรีชา<br />

สามารถด้านการสงครามเป็นลำดับ จนถึง<br />

ระดับสูงสุดที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก<br />

ครั้นเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกเป็นพระมหา<br />

กษัตริย์แล้ว จึงปรากฏชัดเจนว่าพระปรีชา<br />

สามารถในราชการฝ่ายพลเรือนนั้น มิได้แตก<br />

ต่างกันเลย เพราะในฐานะพระมหากษัตริยาธิ<br />

ราชทรงผสานพระปรีชาสามารถทั้งพลเรือน<br />

และทหารเข้าด้วยกัน ราชการฝ่ายพลเรือน<br />

นั้นดูจะมากกว่าราชการฝ่ายทหารซึ่งมีเฉพาะ<br />

ช่วงบ้านเมืองมีศึกสงครามพระปรีชาสามารถ<br />

ในราชการฝ่ายพลเรือนเป็นพื้นฐานให้กับพระ<br />

ราชกรณียกิจในการวางรากฐานระบบบริหาร<br />

ราชการแผ่นดิน และการพัฒนาประสิทธิภาพ<br />

ข้าราชการแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวคือพระ<br />

ราชกรณียกิจในฐานะพระปฐมบรมราชจักรี<br />

วงศ์ หรือที่ทรงได้รับการสดุดีพระเกียรติคุณ<br />

ในฐานะ“พระผู้สร้าง” คือ การสถาปนาของ<br />

15

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!