15.09.2016 Views

lakmuang 285

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รัฐบาลรักษาการณ์ซึ่งนิยมยุโรปตะวันตกขึ้น<br />

บริหารประเทศ<br />

แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่หลายฝ่าย<br />

หวาดวิตกกันมากว่า สถานการณ์จะไปถึง<br />

ขั้นนองเลือดรบกันแตกหักนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้น<br />

เนื่องจากผู้นำมหาอำนาจทั้งอเมริกาและยุโรป<br />

เข้าช่วยไกล่เกลี่ยกับนายปูติน ประธานาธิบดี<br />

รัสเซีย แต่ในที่สุดเรื่องของการคับที่อยู่ได้คับใจ<br />

อยู่ยากก็เกิดขึ้นของชาวไครเมีย<br />

สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียได้จัด<br />

ทำประชามติในเดือนมีนาคมให้ประชาชนใน<br />

แหลมไครเมียเลือกที่จะเป็นอิสระจากยูเครน<br />

และเข้าไปอยู่กับรัสเซีย ผลก็เป็นไปตามคาด<br />

หมายคือ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการที่จะไป<br />

อยู่กับรัสเซีย ยิ่งตรงใจรัสเซียมาก เพราะรัสเซีย<br />

เองมีความต้องการที่จะรื้อฟื้นสหภาพยูเรเซีย<br />

(Eurosia Union) หรือโซเวียต II ให้กลับมา<br />

ยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้ รัฐสภา<br />

ดูมาของรัสเซียถึงกับรีบประกาศผนวกแหลม<br />

ไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียทันที<br />

จากข้อมูลตามประวัติศาสตร์ของแหลมไคร<br />

เมียนั้น แหลมทองของบอลข่านแห่งทะเลดำนี้<br />

เคยเป็นของรัสเซีย แต่ในยุคของนิกิต้า ครุสชอฟ<br />

ผู้นำสหภาพโซเวียต ได้ยกเป็นรางวัลให้<br />

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน ในปี ค.ศ.<br />

๑๙๕๔ ด้วยความผูกพันซื่อสัตย์กันดี ที่ยูเครน<br />

ยอมอยู่ใต้ธงกับรัสเซียมายาวนานถึงสามร้อยปี<br />

การได้แหลมไครเมียอยู่ในการปกครองของ<br />

รัสเซีย ทำให้รัสเซียมีความมั่นใจในยุทธศาสตร์<br />

ตนเองมากขึ้น เนื่องจากรัสเซียมีกองเรือขนาด<br />

ใหญ่ในทะเลดำ มีฐานปฏิบัติการที่เมืองซิมฟัส<br />

โตปอล (Savastopol) ทำให้ไม่ต้องกังวล<br />

การปิดล้อมของนาโตในภูมิภาคนี้ รัสเซีย<br />

สามารถที่จะครองความเป็นเจ้าอากาศและเจ้า<br />

ทะเลเหนือคาบสมุทรบอลข่านได้อย่างสบายๆ<br />

อย่างไรก็ตามทั้งรัสเซียและยุโรปก็ซดกัน<br />

ได้ไม่เต็มที่นัก เนื่องจากผลประโยชน์ที่เอื ้อกัน<br />

มหาศาลของท่อก๊าซจากรัสเซียผ่านดินแดน<br />

ยูเครนไปยังยุโรป สำหรับศักดิ์ทางด้าน<br />

เศรษฐกิจของแหลมไครเมียนั้น ไครเมียเป็น<br />

แหล่งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาด<br />

ใหญ่ รวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้าเลี้ยงรัสเซียด้วย<br />

และที่สำคัญในเรื่องของเชื้อชาติ รัสเซียเชื่อมั่น<br />

ว่าการผนวกดินแดนครั้งนี้ คงไม่สร้างปัญหา<br />

ภายในรบกวนรัสเซียอย่างแน่นอน เนื่องจาก<br />

เป็นประชามติของประชาชนชาวไครเมียที่ผู้คน<br />

ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย<br />

เรื่องน่าเศร้าของความขัดแย้งที่สร้างความ<br />

หดหู่ให้กับชาวโลกคือ ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม<br />

ตามเวลาท้องถิ่น ๑๒๑๕ เครื่องบินแบบ<br />

Boeing 777-200ER ของ Malaysia Airline<br />

พร้อมโดยสารและลูกเรือรวมกัน ๒๘๕ คน<br />

เดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์<br />

32<br />

ไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ถูกขีปนาวุธ<br />

แบบ BUK ผลิตโดยรัสเซีย ยิงตกขณะบิน<br />

เหนือน่านฟ้าบนแผ่นดินที่เป็นกรณีพิพาท<br />

ของรัฐบาลยูเครนและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน<br />

โดยเครื่องบินอยู่สูงถึง ๓๓,๐๐๐ ฟุต หรือ<br />

๑๐ กิโลเมตรซึ่งเป็นระยะสูงที่สายการบิน<br />

พลเรือนทำการบินเป็นปกติ ผู้โดยสารและ<br />

ลูกเรือทั้งหมดต้องพลัดพรากจากผู้เป็นเป็น<br />

ที่รัก ทั้งที่ยังไม่ได้สั่งเสีย<br />

เศษซากของเครื่องบินกระจายเป็นบริเวณ<br />

กว้างถึง ๑๕ กิโลเมตรในเขต โดเนตสค์<br />

ทางภาคตะวันออกของยูเครน ติดพรมแดน<br />

รัสเซีย และนิยมรัสเซีย สาเหตุที่แท้จริง<br />

กำลังสอบสวน แต่ที่แท้จริงยิ่งกว่าคือ ไม่มี<br />

ฝ่ายใดออกมาแสดงความรับผิดชอบ ซึ่ง<br />

ก่อนหน้านี้ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม เครื่องบิน<br />

ของกองทัพยูเครนแบบ แอนโตนอฟ-๒๖ ก็ถูก<br />

ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนยิงตกมาแล้ว ผล<br />

ความผิดพลาดต่อเป้าหมายพลเรือนครั้งนี้<br />

ทำให้สายการบินพานิชย์หลายสัญชาติ<br />

ทบทวนหรือหลีกเลี่ยงการบินผ่านน่านฟ้า<br />

มหาภัยนี้ทันที<br />

Ukrain Crisis 2014 คงเป็นเรื่องที่ต้องใช้<br />

เวลาในการเจรจากันอีกยาวนาน เนื่องจาก<br />

ความซับซ้อนของปัญหาไปพัวพันกันไว้มาก<br />

เช่น เชื้อชาติ, ศาสนา, ดินแดน, ผลประโยชน์<br />

และทรัพยากร โดยมีคู่เจรจาหลัก ๆ ตอนนี้<br />

คือ สหรัฐฯ ซึ่งมีลูกคู่คือ EU แต่ออกตัวแรงไม่<br />

ได้มากนัก เนื่องจากมีผลประโยชน์แฝงอยู่มาก<br />

หรืออีกนัยยะหนึ่งกลุ่มแรกนี้สามารถเรียกได้<br />

ว่าเป็นกลุ่ม องค์สนธิสัญญาแอตแลนติคเหนือ<br />

หรือนาโต (NATO) ก็ได้ อีกสองชาติคือรัสเซีย<br />

และยูเครน ซึ่งประเทศหลังนี้ต้องเข้าข้าง EU<br />

แน่นอนอยู่แล้ว อีกทั้งผู้นำรัฐบาลรักษาการณ์<br />

ของยูเครนเองก็ประกาศชัดเจนว่า ยินดีเจรจา<br />

ทุกเรื่องราวแต่จะอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ยอมรับ<br />

การผนวกดินแดนแหลมไครเมีย ซึ่งย่อมทำให้<br />

ปัญหายุ่งยากเข้าไปอีก<br />

อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ให้สัญญากันว่า<br />

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นข้อขัดแย้งกัน จะใช้<br />

วิถีทางเจรจาทางการทูตเป็นหลัก แม้ว่า<br />

ขณะนี้ยังมีการสู้รบในเขตยูเครนตะวัน<br />

ออกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับ<br />

การสนับสนุนจากรัสเซียอย่างไม่เปิดเผย<br />

ก็ตาม สำหรับการต่อสู้ในระดับรัฐสภาราดา<br />

(RADA) ของยูเครนนั้น ประธานาธิบดี<br />

เปโตร โปโรเซนโก ได้ประกาศยุบสภาและ<br />

เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ ๒๖<br />

ตุลาคม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ<br />

ประชาชน และเพื่อสกัดออกสมาชิกรัฐสภาอีก<br />

จำนวนมากที่เห็นดีเห็นงามกับกลุ่มกบฏแบ่ง<br />

แยกดินแดน ส่วนเรื่องการ Sanstions ของ<br />

สหรัฐฯ และ EU ต่อรัสเซียนั้น ก็เป็นเพียงแค่<br />

ยาอ่อนๆ เท่านั้น และต้องระมัดระวังการตอบ<br />

กลับของรัสเซียด้วยเช่นเดียวกัน “หยิกเล็บ<br />

ก็เจ็บเนื้อ”<br />

การต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายคือรัฐบาลยูเครน<br />

และกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ที่มีฐานที่มั่นคง<br />

อยู่ที่เมืองโดเนตสก์และลูฮานสก์ ทางตะวัน<br />

ออก ยังเหลือเป้าหมายสำคัญที่ยังเผด็จไม่ได้<br />

คือเมืองมาริอูโปลเมืองยุทธศาสตร์สำคัญทาง<br />

ทะเลอาซอฟ การต่อสู้ของพวกเขาทั้งสอง<br />

ฝ่ายนั ้น ยังไม่ใส่กันเต็มที่นักเพราะว่ายังห่วง<br />

ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและ<br />

อยู่ข้อตกลงทางการทูตกันอยู่ ในระหว่างที่<br />

คุมเชิงกันนี้ ตามภาพข่าวต่างประเทศจะเห็น<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!