15.09.2016 Views

lakmuang 285

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ปราบปรามบรรดาผู้ที่ตั้งตนเป็นใหญ่ในชุมนุม<br />

ต่าง ๆ รวม ๔ ชุมนุมให้ราบคาบ เพื่อคง<br />

ความเป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกันของราช<br />

อาณาจักรสยาม สำหรับการปราบปรามชุมนุม<br />

นั้นเป็นการดำเนินการกับกลุ่มคนไทยผู้มีความ<br />

เห็นต่างกันซึ่งผู้เขียนไม่ขอนำมาบรรยายใน<br />

ครั้งนี้<br />

สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอคือ<br />

ราชการสงครามกับข้าศึกภายหลังที่สมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชแล้ว<br />

ซึ่งจากการสืบค้นทราบว่ามีราชการศึกในการ<br />

ป้องกันราชอาณาจักรสยามกับพม่าข้าศึก รวม<br />

๙ ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ<br />

สงครามครั้งที่ ๑ : รบพม่าที่บางกุ้ง ปลาย<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๐ พระเจ้ามังระกษัตริย์<br />

พม่า ทราบข่าวการตั้งตัวเป็นใหญ่ของสมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงสั่งให้เจ้า<br />

เมืองทวาย คุมกำลังมาตรวจตราแผ่นดินไทย<br />

มีหน้าที่ปราบปรามผู้ที่กำเริบตั้งตนเป็นใหญ่<br />

ให้ราบคาบโดยมีการรบกันที่เมืองไทรโยค และ<br />

เมืองสมุทรสงคราม การรบครั้งนั้นฝ่ายสยาม<br />

ชนะศึก สามารถยึดเรือรบ เครื่องศัตราวุธ และ<br />

เสบียงอาหารได้เป็นจำนวนมาก<br />

สงครามครั้งที่ ๒ : พม่าตีเมืองสวรรคโลก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๓ รบกับพม่าครั้งพม่าตีเมือง<br />

สวรรคโลก ทัพสยามสามารถตีแตกไปได้<br />

สงครามครั้งที่ ๓ : ตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๔ เป็นการรบกับพม่าเมื่อ<br />

ฝ่ายสยามยกกองทัพไปตีนครเชียงใหม่ (ซึ่ง<br />

พม่ายึดครองอยู่) เป็นครั้งแรก แต่ไม่สำเร็จ<br />

เนื่องจากเสบียงฝ่ายสยามไม่เพียงพอ<br />

สงครามครั้งที่ ๔ : พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๕ ทัพพม่ายกไปช่วยเมือง<br />

เวียงจันทน์รบกับหลวงพระบาง โดยขากลับ<br />

ผ่านเมืองพิชัย และยกเข้าตีเมืองแต่ก็ไม่สำเร็จ<br />

ปรากฏว่าฝ่ายสยามเป็นฝ่ายชนะ<br />

สงครามครั้งที่ ๕ : พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๖ พม่ายกมาตีเมืองพิชัย เป็น<br />

ครั้งที่ ๒ แต่พม่าตีไม่สำเร็จ และได้เกิดวีรกรรม<br />

พระยาพิชัยดาบหักขึ้น<br />

สงครามครั้งที่ ๖ : ตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ ๒<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๗ กองทัพสยามชนะสงคราม<br />

สามารถ ยึดนครเชียงใหม่คืนกลับจากพม่าได้<br />

พร้อมกับได้เมือง ลำปาง ลำพูน และน่าน กลับ<br />

คืนมาเป็นของสยาม<br />

สงครามครั้งที่ ๗ : รบพม่าที่บางแก้วเมือง<br />

ราชบุรี พุทธศักราช ๒๓๑๗ พม่ายกพลตาม<br />

พวกมอญที่หนีเข้ามาในเขตไทย จึงทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพไปยังเมืองราชบุรี<br />

ทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เองโดยตั้งค่าย<br />

ล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียง<br />

อาหาร จนในที่สุดข้าศึกขอยอมแพ้ ชัยชนะ<br />

ในครั้งนี้ส่งผลให้ชาวสยามที่หลบซ่อนตาม<br />

พื้นที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก<br />

เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า<br />

สงครามครั้งที่ ๘ : อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมือง<br />

เหนือ พุทธศักราช ๒๓๑๘ นับเป็นสงคราม<br />

ครั้งใหญ่ที่สุดโดย อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่<br />

เชี่ยวชาญศึก ในครั้งนั้น พม่ายกพลมาประมาณ<br />

๓๕,๐๐๐ คน เข้าล้อมเมืองพิษณุโลก และล้อม<br />

เมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ<br />

๑๐,๐๐๐ คน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ทรงยกทัพไปช่วย ในที่สุด อะแซหวุ่นกี้ต้องยก<br />

ทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต<br />

กองทัพพม่าส่วนที่กลับไปไม่ทันจึงถูกกองทัพ<br />

สยามจับได้บางส่วน<br />

สงครามครั้งสุดท้าย : พม่าตีเมืองเชียงใหม่<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๙ ทัพพม่าและมอญประมาณ<br />

๖,๐๐๐ คน ยกมาตีเชียงใหม่ ในห้วงแรก<br />

เชียงใหม่ไม่มีกำลังพลพอป้องกันเมืองได้ จึง<br />

ได้อพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมือง<br />

เหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังนครลำปาง ยกไป<br />

ตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ<br />

นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราชโองการโปรด<br />

เกล้า ฯ ให้จัดทัพไปราชการที่เขมรและในบาง<br />

พื้นที่ ซึ่งฝ่ายสยามก็สามารถเอาชนะศึกได้เป็น<br />

ส่วนใหญ่ แต่ส่วนใหญ่มิได้เป็นราชการสงคราม<br />

เพื่อการป้องกันประเทศหรือรักษาเอกราชของ<br />

ชาติเหมือนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น<br />

สิ่งที่ผู้เขียนใคร่ขอกล่าวถึงต่อไปนี้คือ พระ<br />

ราชนโยบายในการปรับปรุงกิจการทหารให้<br />

เข้มแข็ง ด้วยทรงกำหนดวางมาตรการทาง<br />

ทหารที่สำคัญไว้ ๓ แนวทาง ดังนี้<br />

๑. การรวบรวมแม่ทัพนายกอง โดยทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวบรวมผู้ที่มีความ<br />

สามารถในการรบและกิจการทหารมาร่วมกัน<br />

ต่อสู้ศึกและกอบกู้สถานการณ์ โดยทรงแต่งตั้ง<br />

ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นแม่ทัพสนอง<br />

ราชการสงครามทั้งภายในและภายนอกราช<br />

อาณาจักรสยาม ซึ่งบุคคลสำคัญในราชการ<br />

สงครามอาทิ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก<br />

เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) พระยาพิชัย (ทองดี)<br />

หรือพระยาพิชัยดาบหัก<br />

๒. การบริหารจัดการกำลังพล โดยทรง<br />

กำหนดให้ชายฉกรรจ์ไทยทุกคนต้องเป็นทหาร<br />

และเข้ารับราชการทหารตามระยะเวลาที่<br />

กำหนด ด้วยการสำรวจกำลังพลและทำการ<br />

10<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!