15.09.2016 Views

lakmuang 285

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

พระราชประวัติ<br />

พระปรีชาสามารถในการ<br />

บริหารราชการแผ่นดิน<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช พระนามเดิม ทองด้วง เสด็จพระราช<br />

สมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา ในตระกูลขุนนางฝ่าย<br />

พลเรือน เมื่อวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช<br />

๒๒๗๙ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ<br />

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระชนกคือ หลวงพินิจ<br />

อักษร (ทองดี) “รับราชการเป็นเสมียนตรา<br />

กรมมหาดไทย เทียบได้กับนักบริหารระดับ<br />

กลางในระบบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน<br />

พระมารดาคือ ท่านหยก เป็นครอบครัว<br />

ข้าราชการพลเรือน “ผู้มีอันจะกิน”มีฐานะ<br />

มั่นคงมั่งคั่งครอบครัวหนึ่ง ได้สร้างวัดประจำ<br />

ตระกูล คือวัดทอง ตรงบริเวณใกล้บ้านในกรุง<br />

ศรีอยุธยา และทรงอุปถัมภ์ตลอดมา”<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราชทรงผนวชเมื่อพุทธศักราช ๒๓๐๐<br />

ณ วัดมหาทลายในกรุงศรีอยุธยาเมื่อทรงลา<br />

ผนวชแล้วเข้ารับราชการตามพระชนก อันเป็น<br />

รูปแบบของการคัดสรรบุคคลเข้ารับราชการ<br />

ในสมัยนั้นโดยถวายตัวเริ่มเข้ารับราชการใน<br />

ตำแหน่งมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร<br />

กรมขุนพรพินิตพระราชโอรสของสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ช่วงเวลา ๔ ปีนับตั้งแต่<br />

เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ขณะเมื่อ<br />

พระชนมายุ ๒๕ พรรษา ได้ทรงสมรสกับท่าน<br />

นาค ธิดาในตระกูลคหบดี แห่งบ้านอัมพวา<br />

แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อพม่ารุกรานไทย<br />

ครั้งสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาพุทธศักราช<br />

๒๓๑๐ กรมการเมืองราชบุรีไม่อาจต้านทาน<br />

กองทัพพม่าได้ หลวงยกกระบัตรจำต้องอพยพ<br />

ครอบครัวจากราชบุรีไปซุ่มซ่อนอยู่ในระแวก<br />

บ้านของท่านนาคผู้เป็นภริยา ซึ่งพื้นที่บ้าน<br />

อัมพวาเป็นสวนผลไม้ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง<br />

หลังเสียกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราชทรงตั้งชุมนุมไพร่พลอยู่ที่เมืองจันทบุรี<br />

หลวงยกบัตรเมืองราชบุรีได้แนะนำให้นาย<br />

สุจินดา (บุญมา) ผู้เป็นน้องให้นำพระราชชนนี<br />

ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งอพยพ<br />

หนีพม่าไปอยู่แขวงเมืองเพชรบุรีไปส่งที่ชุมนุม<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จันทบุรี ได้<br />

เข้าร่วมภารกิจกอบกู้บ้านเมืองกับสมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราชด้วย เมื่อรวบรวม<br />

บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นสถาปนากรุงธนบุรีเป็น<br />

ศูนย์อำนาจแห่งใหม่และปราบดาภิเษกเป็น<br />

กษัตริย์หลวงยกกระบัตรได้รับการชักชวนจาก<br />

นายสุจินดาให้นำครอบครัวย้ายเข้ามาพำนัก<br />

ยังกรุงธนบุรีและถวายตัวเข้ารับราชการ ทรง<br />

เป็นกำลังสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน<br />

14<br />

ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในระยะ<br />

เวลาไม่ถึง ๑๐ ปีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์<br />

เจริญก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว พระยศเทียบ<br />

เสมอเจ้าต่างกรมเริ่มตั้งแต่เป็นพระราชวรินทร์<br />

พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพระยา<br />

จักรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกการรับ<br />

ราชการของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช สรุปได้ดังนี้<br />

พุทธศักราช ๒๓๐๔ พระชนมายุ ๒๕ ปี ได้<br />

เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ออกไปรับ<br />

ราชการส่วนภูมิภาคจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๑ ถวายตัวกลับเข้ารับ<br />

ราชการในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับ<br />

พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์<br />

กำกับราชการกรมพระตำรวจ ในปีเดียวกันนี้<br />

ได้โดยเสด็จราชการทัพไปปราบเจ้าพิมาย ทรง<br />

ตีด่านขุนทดและด่านกระโทก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๒ เสร็จศึกเจ้าพิมาย<br />

แล้วได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระยาอภัย<br />

รณฤทธิ์ เป็นแม่ทัพไปตีกรุงกัมพูชาอีกครั้ง ได้<br />

เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์<br />

และเมืองบันทายเพชร์<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๓ ได้รับพระราชทาน<br />

เลื่อนเป็นพระยายมราช บัญชาการกรมหมาด<br />

ไทย แทนสมุหนายก ต่อมาเมื่อเจ้าพระยา<br />

จักรี (แขก) ถึงอสัญกรรม จึงได้รับแต่งตั้งเป็น<br />

เจ้าพระยาจักรี ไปตีกรุงกัมพูชาอีกครั้ง ได้เมือง<br />

พระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และ<br />

เมืองบันทายเพชร์<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๓ เจ้าพระยาจักรี เป็น<br />

แม่ทัพตีเมืองเชียงใหม่กับเจ้าพระยาสุรสีห์<br />

ผู้น้องต่อมามีทัพพม่ามาตั้งมั่นที่บางแก้วอัน<br />

เป็นเขตต่อระหว่างราชบุรีและสมุทรสงคราม<br />

เจ้าพระยาจักรีกลับมาบัญชาการรบอีก<br />

พุทธศักราช ๒๓๑๘ พม่ายกทัพมาตีเมือง<br />

เชียงใหม่ เจ้าพระยาจักรีนำทัพขึ้นไป พอได้<br />

ยินข่าวทัพพม่าก็ย้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน<br />

บังเอิญเป็นเวลาที่อะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพเข้าตี<br />

เมืองพิษณุโลกทางด่านแม่ละเมา เจ้าพระยา<br />

จักรีจึงถอยทัพมาตั้งรับพร้อมด้วยพระยาสุรสีห์<br />

ศึกอะแซหวุ่นกี้ครั้งนี้นับว่าสำคัญมาก พม่า<br />

ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้หลายด้าน เข้าตีเมือง<br />

หลายครั้งไม่สามารถตีได้ อะแซหวุ่นกี้สรรเสริญ<br />

ว่า “ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็งอาจสู้รบเรา<br />

ผู้เฒ่าได้ จงอุตสาห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้<br />

เป็นกษัตริย์แท้”<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!