15.09.2016 Views

lakmuang 285

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

พระราชวังของพระเจ้าบุเรงนองที่รัฐบาลพม่าสร้างจำลองขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓<br />

ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรพม่าในยุคที่สอง อยู่ที่เมืองหงสาวดี<br />

ถึงเมืองแปร แต่ความมุ่งหมายของพระองค์<br />

ไม่สำเร็จโดยพระองค์ทรงสวรรคตเสียก่อน<br />

พระเจ้าบุเรงนองทรงขึ้นครองราชย์ปี พ.ศ.๒๐๙๔<br />

โดยการปราบดาภิเษก เป็นกษัตริย์ลำดับที่<br />

สามแห่งราชวงศ์ตองอู มีชื่อว่าบะยิ ่นเหน่าว<br />

มีความหมายว่าพระเชษฐาธิราช มีพระนาม<br />

เต็มว่าบะยิ่นเหน่าวจ่อถิ่นหน่อยะถ่า ชาวสยาม<br />

จะเรียกว่าบุเรงนองกะยอดินนรธา โดยมีความ<br />

หมายว่าพระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภินิหาร<br />

แต่ชาวยุโรปจะรู้จักพระองค์ในนามชื่อ บราจิ<br />

โนโค (Braginoco) พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์<br />

ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๑๒๔ ขณะ<br />

พระองค์ทรงยกกองทัพพม่าแห่งหงสาวดีไปตี<br />

เมืองทางด้านตะวันตกคือเมืองยะไข่ (อาระกัน)<br />

๒.๒ พระราชวังกัมโพชธานี (Kamboza<br />

Thadi Palace)<br />

พระเจ้าบุเรงนองทรงสร้างพระราชวัง<br />

กัมโพชธานีขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๐๙ ตั้งอยู่ทางตอน<br />

ใต้ของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุ<br />

มุเตา) หลังจากทรงขึ้นครองราชย์สมบัติมานาน<br />

๑๕ ปี เป็นห้วงที่พระองค์ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุด<br />

ของอำนาจ โดยใช้แรงงานมาจากประเทศราช<br />

ต่าง ๆ ที่ขึ้นกับอาณาจักรตองอูแห่งหงสาวดี<br />

พระองค์ทรงใช้ชื่อประตูเมืองตามชื่อของ<br />

แรงงานของเมืองที่สร้างขึ้น เป็นพระราชวัง<br />

ที่มีขนาดใหญ่โตสมพระเกียรติ หลังจากที่<br />

พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลงในปี พ.ศ.๒๑๒๔<br />

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๖๕ พรรษา<br />

(ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๙๔ - ๒๑๒๔ ขณะที่ทรง<br />

มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา) อาณาจักรตองอู<br />

แห่งหงสาวดีก็เริ่มอ่อนแอลงเพราะขาดความ<br />

เข้มแข็ง ประกอบกับเมืองขึ้นหลายเมืองไม่<br />

ยอมรับอำนาจจากศูนย์กลางคือกรุงหงสาวดี<br />

การรบใหญ่จึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

ต่อมาถูกกองทัพเมืองยะไข่เข้าโจมตีกรุง<br />

หงสาวดีและพระราชวังกัมโพชธานีก็ถูกเผา<br />

ทำลายในปี พ.ศ.๒๑๔๒<br />

พ.ศ.๒๕๓๓ รัฐบาลประเทศพม่าได้สร้าง<br />

พระราชวังกัมโพชธานีจำลองขึ้นใหม่ โดย<br />

พระราชวังของเดิมคงเหลือเพียงตอไม้ที่อยู่<br />

บริเวณแนวพื้นดิน บริเวณพระราชวังเดิมมี<br />

การขุดพบโบราณวัตถุมากมายและซากไม้ที่<br />

ใช้สร้างพระราชวังในอดีต ไม้แต่ละท่อนมีตัว<br />

อักษรจารึกอยู่ว่าเป็นไม้ที่มาจากเมืองใด และ<br />

ส่วนที่สองคือบัลลังก์หรือเป็นพระราชฐาน<br />

ชั้นใน<br />

๒.๓ ราชวงศ์ตองอู<br />

พระเจ้าบุเรงนอง ทรงมีพระราชโอรส<br />

และพระราชธิดารวม ๖๘ พระองค์ ประกอบ<br />

ด้วยพระราชโอรส ๓๓ พระองค์ และพระราช<br />

ธิดา ๓๕ พระองค์ พระมเหสีประกอบด้วย<br />

พระอัครมเหสีตำหนักใต้ (พระนามเดิมตะขิ่นจี<br />

พระพี่นางในพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้), พระ<br />

อัครมเหสีตำหนักเหนือ (พระนามเดิมสิริโพง<br />

ทุต พระธิดาพระเจ้ากรุงอังวะ), พระอัครมเหสี<br />

ตำหนักกลาง (พระนามเดิมฉิ่นเทวละหรือเซง<br />

ทะเว พระธิดาพระเจ้ากรุงพะโค) และพระ<br />

มเหสีเล็ก (พระสุพรรณกัลยา พระธิดาพระ<br />

มหาธรรมราชา กรุงศรีอยุธยา ที่ชาวพม่าเรียก<br />

ว่าอะเมี้ยวโยง) พร้อมทั้งทรงมีพระสนมรวม<br />

๓๐ พระองค์ พระราชโอรสและพระราชธิดา<br />

ที่สำคัญคือ<br />

เจ้าชายงาสู่ด่ายะก่ามิน (เจ้าวังหน้า) หรือ<br />

เจ้าชายนันทบุเรง พระราชโอรสองค์โต ของ<br />

พระนางตะขิ่นจี ต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติ<br />

สืบต่อจากพระราชบิดาคือพระเจ้าบุเรงนอง<br />

มีพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง (โนนเตี๊ยะ<br />

บาเยง)<br />

พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบุเรงนองแห่ง<br />

อาณาจักรพม่ากรุงหงสาวดี เป็น<br />

มหาราช (หนึ่งในสามของอาณาจักร<br />

พม่า) ที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศ<br />

เมียนมาร์<br />

พระนางเมงกอสอ พระราชธิดาพระองค์<br />

ใหญ่ของพระนางตะเกงจี ต่อมาทรงอภิเษก<br />

กับพระเจ้าตองอู เป็นพระราชมารดาของนัด<br />

จินหน่อง (Natshinnaung) หรือพระสังขทัต<br />

(ชาวสยามจะรู้จักในชื่อนี้) มีความรอบรู้ทาง<br />

ด้านบทกวีและพระไตรปิฎก<br />

เจ้าชายมังนรธาสอ พระโอรสของพระมเหสี<br />

ราชเทวี พระตำหนักกลาง ต่อมาพระเจ้า<br />

บุเรงนองส่งมาปกครองอาณาจักรล้านนา<br />

ปี พ.ศ.๒๑๒๑ รู้จักในชื่ออโนรธาเมงสอ<br />

และเป็นแม่ทัพที่ยกกองทัพพม่าแห่งล้านนา<br />

ลงมาตีอยุธยา พ.ศ.๒๑๒๘ หลังจากที่อยุธยา<br />

ได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง พ.ศ.๒๑๒๗<br />

๓. บทสรุป<br />

อาณาจักรพม่าแห่งตองอูเริ่มต้นการขยาย<br />

อำนาจจากอาณาจักรขนาดเล็กสู่อาณาจักร<br />

ใกล้เคียง เนื่องจากมีอาวุธใหม่คือปืนคาบศิลา<br />

และปืนใหญ่จากโปรตุเกส พระเจ้าบุเรงนอง<br />

กษัตริย์นักรบที่มีความเชี่ยวชาญในกลศึก<br />

และทำการรบเข้มแข็ง พร้อมทั้งทรงเป็นนัก<br />

ปกครองและนักบริหาร ทรงนำกองทัพพม่า<br />

ในการเข้าตีเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมสวามิภักดิ์<br />

อาณาจักรพม่าแห่งกรุงหงสาวดีจึงเป็นจุดเริ่ม<br />

ต้นของอาณาจักรพม่าในยุคที่สองเริ่มต้นสู่<br />

ความยิ่งใหญ่<br />

51

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!