15.09.2016 Views

lakmuang 285

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ขนานใหญ่ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อ<br />

รับมือกับภัยคุกคามจากการแผ่ขยายอาณาเขต<br />

ของจีนในครั้งนี้<br />

การปรับยุทธศาสตร์ประการแรกคือ การ<br />

เสริมสร้างกำลังทางเรือ เพื่อรักษาน่านน้ำ<br />

และผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล<br />

ของตนเองแทนการเสริมสร้างแสนยานุภาพ<br />

ทางบกที่ดำเนินมาเป็นเวลาช้านาน ส่วนการ<br />

ปรับยุทธศาสตร์ประการที่สองนั้น สืบเนื่อง<br />

มาจากสงครามในอิรักทั้งสองครั้งและสงคราม<br />

ในอัฟกานิสถาน ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ<br />

ของกำลังทางอากาศ ที่มีขีดความสามารถใน<br />

การทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและเด็ด<br />

ขาด ทำให้ขนาดความใหญ่โตและจำนวนของ<br />

เรือรบไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกำหนดชัยชนะ<br />

อีกต่อไป หากแต่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงและ<br />

ระบบเรดาห์ที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นตัว<br />

ชี้นำอาวุธปล่อยนำวิถีและขีปนาวุธทั้งจากพื้น<br />

สู่พื้น พื้นสู่อากาศ อากาศสู่อากาศและอากาศ<br />

สู่พื้น ให้พุ่งเข้าทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ<br />

ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้มีการเสริม<br />

สร้างแสนยานุภาพทางอากาศควบคู่ไปกับ<br />

แสนยานุภาพทางเรือเป็นหลัก<br />

เวียดนามเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ<br />

ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการปรับเปลี ่ยน<br />

ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอย่างขนาน<br />

ใหญ่ โดยแต่เดิมในช่วงสงครามเย็นนั้น<br />

เวียดนามมีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง<br />

บกจนมีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ติด<br />

อันดับต้น ๆ ของโลก เนื่องจากมีภัยคุกคามทาง<br />

บกจากทิศด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็น<br />

กลุ่มประเทศโลกเสรีที่เผชิญหน้ากับเวียดนาม<br />

มาอย่างยาวนาน แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลง<br />

ประกอบกับการหันไปพัฒนาเศรษฐกิจของตน<br />

ตามนโยบาย "โด๋ย เหม่ย" ก็ทำให้เวียดนามว่าง<br />

เว้นจากการสร้างแสนยานุภาพมาเป็นระยะ<br />

28<br />

เวลาหนึ่ง จนกระทั่งจีนได้เคลื่อนตัวเข้ามาและ<br />

มีท่าทีที่เป็นภัยคุกคามในการครอบครองพื้นที่<br />

ต่าง ๆ ตามแนวเส้นประ ๙ เส้นดังกล่าว อัน<br />

เป็นพื ้นที่ที่เวียดนามกล่าวอ้างกรรมสิทธิเหนือ<br />

ดินแดนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน<br />

เมื่อภัยคุกคามของเวียดนามได้เปลี่ยน<br />

จากภัยคุกคามทางบกด้านตะวันตก มาเป็น<br />

ภัยคุกคามทางทะเลด้านตะวันออก โลกจึง<br />

ได้เห็นการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเล<br />

อย่างขนานใหญ่ของเวียดนาม มีการสั่งซื้อเรือ<br />

ดำน้ำพลังงานดีเซลชั้น "กิโล" (Kilo) จำนวน ๖<br />

ลำ มูลค่ากว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก<br />

รัสเซีย เรือดำน้ำดังกล่าวนับเป็นเรือดำน้ำที่ทัน<br />

สมัยที่สุดชนิดหนึ่ง มีขีดความสามารถในการ<br />

เป็น "เพชฌฆาตเงียบใต้ท้องทะเล" ที่สามารถ<br />

ทำลายเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำและอากาศยาน<br />

เหนือน่านฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรือดำน้ำ<br />

สองลำแรกคือเรือ "ฮานอย" และ "โฮ จิ มินห์<br />

ซิตี้" ได้มีการส่งมอบให้กับกองทัพเรือเวียดนาม<br />

ไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๖ และต้นปี พ.ศ.<br />

๒๕๕๗ ตามลำดับ รวมทั้งมีกำหนดส่งมอบลำ<br />

ที่สามคือ "ไฮ ฟอง" ในปลายปีนี้ และจะส่ง<br />

มอบส่วนที่เหลือให้ครบภายในห้วงเวลา ๒ ปี<br />

ข้างหน้า โดยเรือดำน้ำทั้งหมดจะประจำการที่<br />

ฐานทัพเรืออ่าวคัมรานห์ ซึ่งทำให้มีพื้นที่ปฏิบัติ<br />

การครอบคลุมแนวเส้นประที่ ๑ – ๓<br />

สำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพทาง<br />

อากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่องบิน<br />

ขับไล่ประสิทธิภาพสูง ๒ ที่นั่งและ ๒<br />

เครื่องยนต์แบบ ซู-๓๐ เอ็มเค ๒ เพิ่มขึ้นอีก<br />

จำนวน ๑๒ ลำจากรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า ๖๐๐<br />

ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่เวียดนามเคยสั่ง<br />

ซื้อมาแล้วสองครั้งจำนวน ๒๐ ลำในปี พ.ศ.<br />

๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ ซึ่งทำให้เวียดนามมีฝูงบิน<br />

ซู-๓๐ ถึง ๓ ฝูงด้วยกัน เครื่องบินที่สั่งซื้อครั้ง<br />

ล่าสุดจะมีการส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และ<br />

๒๕๕๘ เครื่องบินรุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี<br />

แบบอากาศสู่พื้นเพื่อมุ่งทำลายเรือผิวน้ำเป็น<br />

หลัก โดยเวียดนามได้จัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถี<br />

ต่อต้านเรือแบบ เอเอส-๑๗ คริปตอน รุ่น เค<br />

เอช-๓๕เอ จากรัสเซียจำนวน ๑๐๐ ลูกและ<br />

แบบ เอเอส-๑๔ รุ่น เคเอช-๒๙ ที เพื่อนำมา<br />

ใช้กับเครื่องบินขับไล่แบบ ซู-๓๐ และซู-๒๗ ที่<br />

มีอยู่เดิมอีกด้วย<br />

สำหรับอินโดนีเซียนั้นเป็นอีกประเทศ<br />

หนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการ<br />

ป้องกันประเทศ โดยจากอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่<br />

ได้รับเอกราชในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ภัยคุกคาม<br />

ของอินโดนีเซียร้อยละ ๖๗ เป็นภัยคุกคาม<br />

ในประเทศอันเกิดจากกลุ่มศาสนาหัวรุนแรง<br />

และกลุ่มเชื้อชาติต่าง ๆ ที่พยายามแยกตัว<br />

ออกเป็นอิสระ เช่น ติมอร์ตะวันออก ปาปัว<br />

ตะวันตก อาเจะห์และอิเรียนจายา แต่เมื่อ<br />

ปัญหาเหล่านี้เบาบางลงภายหลังจากการ<br />

แยกตัวเป็นเอกราชของติมอร์ เลสเต ตลอด<br />

จนการล่มสลายของกลุ่มต่อต้านในอาเจะห์<br />

อินโดนีเซียก็ต้องเผชิญหน้ากับ "แนวเส้นประ<br />

๙ เส้น" ของจีนที่ผนวกพื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะ<br />

บริเวณเกาะนาทูน่าของตนเข้าไปด้วย ทำให้มี<br />

การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมารับมือกับภัย<br />

คุกคามในทะเลจีนใต้ โดยมีการเสริมสร้างกำลัง<br />

ทางเรืออย่างยิ่งใหญ่ เช่น การตั้งเป้าที่จะเพิ่ม<br />

จำนวนเรือรบให้มีถึง ๒๕๐ ลำในปี พ.ศ.๒๕๖๗<br />

หรือภายในสิบปีข้างหน้า ปัจจุบันกองทัพเรือ<br />

อินโดนีเซียมีกองเรือจำนวน ๒ กองเรือคือ กอง<br />

เรือภาคตะวันออกอยู่ที่เมืองสุราบายา และ<br />

กองเรือภาคตะวันตกอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า เมือง<br />

หลวงของอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซียมีแผนที่จะ<br />

เพิ่มกองเรือขึ้นอีก ๓ กองเรือ โดยจะขยายกอง<br />

เรือภาคตะวันออกขึ้นอีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพ<br />

อยู่ที่เมืองอัมบอน เมืองเมอเรากิและเมืองคูปัง<br />

ตลอดจนขยายกองเรือภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นอีก<br />

๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองตันจุงปีนัง เมือง<br />

นาตันและเมืองเบลาวัน รวมทั้งตั้งกองเรือภาค<br />

กลางขึ้นมาใหม่อีก ๑ กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่<br />

เมืองมากัสซ่าร์และเมืองเทรากัน<br />

นอกจากนี้ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ อินโดนีเซียได้<br />

สั่งต่อเรือดำน้ำชั้น "ชาง โบโก แบบ ๒๐๙”<br />

ระวางขับน้ำ ๑,๘๐๐ ตันจากบริษัทแดวูของ<br />

เกาหลีใต้จำนวน ๓ ลำ จากเดิมที่มีประจำ<br />

การอยู่แล้ว ๒ ลำคือเรือดำน้ำชั้น "จักกรา"<br />

(Chakkra) จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเรือดำน้ำ<br />

"ชาง โบโก" จำนวนสองลำจะต่อที่อู่ต่อเรือ<br />

ในเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือระหว่างบริษัท<br />

แดวูและรัฐวิสาหกิจการต่อเรือของอินโดนีเซีย<br />

ส่วนเรือดำน้ำลำที่สามจะต่อในอินโดนีเซีย<br />

ล่าสุดประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งเพิ่งเข้า<br />

รับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่าน<br />

มา ได้เปิดเผยว่าอินโดนีเซียกำลังพิจารณา<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!