15.09.2016 Views

lakmuang 285

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ในการปกครองระดับชาติ เพื่อเป็นการฝึกหัด<br />

ให้องคมนตรีรู้จักวิธีการประชุมปรึกษาแบบ<br />

รัฐสภา มีดำริให้ปรับปรุงสภาองคมนตรีใหม่<br />

เรียกว่า กรรมการสภาองคมนตรี ให้ยกร่าง<br />

รัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณาถึง ๒ ฉบับ ในตอน<br />

ต้นรัชกาลฉบับหนึ่ง และก่อนการเปลี่ยนแปลง<br />

การปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ เล็กน้อยอีกฉบับ<br />

ทรงมีพระราชดำริว่า "ถ้ามีการยอมรับกัน<br />

ว่า วันใดวันหนึ่งเราอาจจะต้องถูกบังคับให้<br />

มีประชาธิปไตยแบบใดแบบหนึ่งในประเทศ<br />

สยาม เราจะต้องเตรียมตัวของเราเองอย่าง<br />

ค่อยเป็นค่อยไป เราจะต้องเรียนรู้และจะ<br />

ต้องให้การศึกษาแก่ตัวของเราเอง เราจะต้อง<br />

เรียนและทดลอง เพื่อที่จะได้รู้ว่า ระบอบการ<br />

ปกครองแบบรัฐสภาจะดำเนินไปได้อย่างไรใน<br />

ประเทศสยาม เราต้องพยายามให้การศึกษาแก่<br />

ประชาชนเพื่อที่จะให้ประชาชนมีความสำนึก<br />

ทางการเมือง ที่จะตระหนักถึงผลประโยชน์<br />

ที่แท้จริงเหล่านี้ เพื ่อที่ประชาชนจะได้ไม่ถูก<br />

ชักนำไปโดยพวกนักปลุกระดมหรือพวกนักฝัน<br />

หวานถึงพระศรีอารย์ ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภา<br />

เราจะต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียง<br />

อย่างไร และจะเลือกผู้แทนที่จะมีจิตใจฝักใฝ่<br />

กับประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริงอย่างไร"<br />

แนวความคิดที่จะให้มีรัฐธรรมนูญเป็นหลัก<br />

ในการปกครองประเทศได้มีขึ้นเป็นครั้งแรก<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังจะเห็นได้จากคำกราบ<br />

บังคมทูลความเห็นของเจ้านายและข้าราชการ<br />

เมื่อ ร.ศ.๑๐๓ แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า<br />

สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก่อนอื่นมีอยู่ ๒ ประการ<br />

คือ การปฏิรูปการบริหาร เพื่อที่จะให้ข้าราชการ<br />

ทุกกรมมีงานทำอย่างเต็มที่ มีความรับผิดชอบ<br />

ในหน้าที่การงานของตน และมีการประสาน<br />

งานระหว่างกัน อีกประการก็คือ ทรงเห็นว่า<br />

จำเป็นจะต้องมีผู้ร่างกฎหมาย ซึ่งจะต้องเป็น<br />

ผู้ตริตรอง ตรวจการทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งเป็น<br />

ผู้พิจารณาแก้ไขข้อขัดข้องด้วย โดยทรงพระ<br />

ราชดำริว่า ถ้าการเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่เรียบร้อย<br />

การอื่น ๆ ยากนักที่จะตลอดไปได้ ดังนั้น<br />

คำกราบบังคมทูลความเห็นของเจ้านายและ<br />

ข้าราชการเมื่อ ร.ศ.๑๐๓ จึงยังไม่ได้รับการ<br />

สนองตอบ<br />

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว คณะผู้ก่อการ ร.ศ.๑๓๐ ได้คิด<br />

ทำการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการ<br />

ปกครอง และสถาปนาให้มีรัฐธรรมนูญเป็น<br />

หลักในการปกครองประเทศ แต่คณะผู้ก่อการ<br />

ได้ถูกจับกุมเสียก่อน สำหรับพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่<br />

จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่พสกนิกรของ<br />

พระองค์ตั้งแต่ต้นรัชกาล แต่ทรงเห็นว่าคนไทย<br />

เราโดยทั่วไปพร้อมอยู่หรือยังที่จะใช้อำนาจ<br />

เลือกผู้แทนของตัวเองทำการปกครอง มีความ<br />

เสียใจที่ยังแลไม่เห็นว่าจะทำการเช่นนั ้นสำเร็จ<br />

ได้ เพราะแม้แต่การเลือกกรรมการสุขาภิบาล<br />

ประจำตำบลซึ่งเป็นขั้นแรกแห่งการเลือกผู้<br />

ปกครองตนเองก็ยังทำไม่ได้จริงจัง เจ้าหน้าที่<br />

ฝ่ายเทศาภิบาลต้องคอยเสี้ยมสอนอยู่ทุก<br />

แห่งไป การเลือกกำนันผู้ใหญ่บ้านซึ่งต่ำลงไป<br />

กว่านั้น และทำได้ง่ายกว่าก็ยังทำกันเหมือน<br />

เล่นละครตลก ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงระงับพระ<br />

ราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน<br />

48<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!