15.09.2016 Views

lakmuang 285

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

โรคอ้วน (Obesity)<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

โ<br />

รคอ้วนจัดเป็นปัญหาหลักทาง<br />

สาธารณสุขที่พบมากขึ้นโดยเฉพาะ<br />

ในกำลังพลสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม พบว่ากำลังพลที่มีอาหารการกิน<br />

อุดมสมบูรณ์มีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน อีกทั้ง<br />

ยังมีปัญหาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายสืบ<br />

เนื่องมาจากโรคอ้วน มีคนจำนวนมากที่เข้าใจ<br />

ผิดว่าการมีไขมันส่วนเกินเพียงเล็กน้อยที่หน้า<br />

ท้อง ต้นแขน ต้นขา ก็ถือว่า "อ้วน" ซึ่งถือว่า<br />

เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ ่งเนื่องจากคำว่า<br />

"อ้วน" ในความหมายของคนทั่วไป กับความ<br />

หมายทางวิชาการมีความแตกต่างกันและควร<br />

ที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เกิด<br />

ปัญหาว่ามีความคิดวิตกกังวลว่าตนเอง "อ้วน"<br />

ทั้งที่จริง ๆ แล้วน้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ<br />

ในทางวิชาการมีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยว่า<br />

เป็นโรคอ้วนหรือไม่ ขององค์การอนามัยโลก<br />

โดยใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index<br />

(BMI) ค่าที่ได้ดังกล่าวได้มาจากการคำนวณ<br />

ค่าน้ำหนักตัวปกติซึ่งควรอยู่ในช่วง ๑๘.๕<br />

– ๒๔.๙ และจะถือว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อมีค่า<br />

BMI มากกว่า ๓๐ ขึ้นไป ในบทความนี้จะมีวิธี<br />

คำนวณค่า BMI เพื่อให้ผู้ที่สนใจลองคำนวณ<br />

หาค่า BMI ของตนเอง และจะได้ประเมินว่า<br />

ร่างกายของท่านอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือ<br />

ไม่ ร่วมกับการพิจารณาประกอบว่าควรจะลด<br />

น้ำหนักลงมากน้อยเพียงใดและเมื่อท่าน "อ้วน"<br />

มีปัจจัยเสี่ยงของโรคใดบ้าง และท่านควร<br />

ปฏิบัติตนอย่างไรในการลดน ้ำหนัก เพื่อช่วย<br />

ให้ท่านสามารถลดน้ำหนักได้ และมีสุขภาพ<br />

ทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดีสามารถปฏิบัติ<br />

กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ และมี<br />

น้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงและอายุของ<br />

ตนเองหรือไม่<br />

ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index<br />

(BMI) คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและ<br />

ส่วนสูงมาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมัน<br />

ในร่างกาย ซึ่งค่าดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณ<br />

อย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และ<br />

สามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัยและทุกเชื้อชาติ<br />

ดัชนีมวลกาย (BMI)<br />

= น้ำหนักตัว (หน่วยกิโลกรัม)<br />

ความสูง ๒ (หน่วยเมตร ๒)<br />

54<br />

เมื่อคำนวณแล้วท่านมีค่า BMI มากกว่า<br />

๒๕ ถือว่ามีน้ำหนักตัวมากเกิน (overweight)<br />

และถ้ามีค่า BMI มากกว่า ๓๐ ถือว่า<br />

"อ้วน" (obesity) นอกจากนี้มีการจำแนก<br />

ประเภทดัชนีมวลกาย (BMI) ตามเกณฑ์ของ<br />

International Obesity Task Force (IOTF)<br />

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการเกิดการ<br />

เจ็บป่วยเมื่อมีค่า BMI ในระดับต่าง ๆ ดังตาราง<br />

จากตารางข้างต้นจะพบว่าผู้มีน้ำหนักตัว<br />

เกิน (ค่า BMI มากกว่า ๒๕) และผู้ที่เป็นโรค<br />

อ้วน (ค่า BMI มากกว่า ๓๐) จะมีความเสี่ยงต่อ<br />

การเกิดการเจ็บป่วยอย่างมาก หรือกล่าวอีกนัย<br />

หนึ่งได้ว่าการที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือความอ้วน<br />

นั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผล<br />

ต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบด้วย<br />

กัน ได้แก่<br />

ประเภท ดัชนีมวลกาย (BMI) ความเสี ่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วย (BMI)<br />

น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ น้อยกว่า ๑๘.๕ ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)<br />

น้ำหนักตัวปกติ ๑๘.๕ – ๒๔.๙ ปกติ<br />

น้ำหนักตัวเกิน ๒๕ – ๒๙.๙ เพิ่มกว่าปกติ<br />

โรคอ้วนขั้นที่ ๑ ๓๐ – ๓๔.๙ เพิ่มขึ้นอย่างมาก<br />

โรคอ้วนขั้นที่ ๒ ๓๕ – ๓๙.๙ ต่ำ (เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ)<br />

โรคอ้วนขั้นที่ ๓ ๔๐ ขึ้นไป เพิ่มขึ้นถึงขั้นรุนแรง<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!