15.09.2016 Views

lakmuang 285

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคหลอด<br />

เลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันใน<br />

เลือดสูง โรคหลอดเลือดโคโรนารี<br />

โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี (gallbladder<br />

disease)<br />

โรคเกี่ยวกับตับ เช่น ตับแข็ง (cirrhosis)<br />

มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก<br />

เยื่อบุมดลูก ต่อมลูกหมาก มดลูกรังไข่ เต้านม<br />

ถุงน้ำดีตับอ่อน<br />

โรคทางเดินหายใจและปอดหายใจ<br />

ลำบากขณะนอนหลับนอนกรน (snoring)<br />

เพราะทางเดินหายใจเริ่มตีบตัน ร่างกายจะ<br />

ขาดออกซิเจน ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่<br />

ส่งผลให้ง่วงนอนในเวลากลางวัน บางคน<br />

อาจเป็นมากขนาดหลับในขณะขับรถจนเกิด<br />

อุบัติเหตุได้<br />

โรคเกี่ยวกับไต เช่น นิ่ว ไตวายจากความ<br />

ดันโลหิตสูง<br />

โรคกระดูกและข้อต่อ โรคข้อต่อเสื่อม<br />

(Os-teoarthritis in joints) โดยเฉพาะบริเวณ<br />

สะโพกหัวเข่าข้อศอก<br />

โรคเก๊าท์ (gout)<br />

โรคเบาหวาน (diabetes mellitus)<br />

เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน<br />

(stroke)<br />

ซึมเศร้า (depression)<br />

เส้นเลือดขอด (varicose vein)<br />

เหงื ่อออกมาก (sweating)<br />

การเป็นหมัน (infertility)<br />

จากการเสี่ยงต่อสุขภาพของโรคอ้วนที่กล่าว<br />

ถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึงมี<br />

การศึกษาถึงอันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่า<br />

คนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคน<br />

รูปร่างปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า<br />

อัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง<br />

๒ – ๑๒ เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคลแต่ถ้า<br />

กลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน้ำหนักเกินสามารถ<br />

ลดน้ำหนักได้เพียง ๕ – ๑๐% ของน้ำหนักตัว<br />

เริ่มต้นก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และ<br />

อัตราการตาย (morbidity and mortality<br />

rate) ได้ระดับหนึ่งทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมี<br />

ความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิด<br />

ผลเสียได้มากกว่าผลดี "น้ำหนัก" ก็เช่นกัน ถ้า<br />

มากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ<br />

มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความอ้วนลงมาให้<br />

ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะ<br />

เกิดขึ้นได้ แล้วคนที่มี "น้ำหนักเกิน" หรือ "อ้วน"<br />

สามารถรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดความ<br />

อ้วนมากเกินไปได้ โดยทั่วไปสาเหตุของ "อ้วน"<br />

มีหลายสาเหตุ บางคนอาจเกิดจากสาเหตุเดียว<br />

อ้วนหรือหลายสาเหตุประกอบกันก็ได้<br />

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

สาเหตุของโรคอ้วน<br />

๑. พันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็นโรคอ้วน ลูกที่<br />

เกิดมาก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนสูง<br />

๒. รับประทานอาหารมากเกินไป แล้วไม่มี<br />

เวลาออกกำลังกาย กล่าวคือ พลังงานที่ได้รับ<br />

จากการรับประทานมากกว่าพลังงานที่ใช้ไปใน<br />

การออกกำลังกาย เช่น ชอบรับประทานอาหาร<br />

ที่มีไขมันและแคลอรี่สูง เช่น หนังไก่ทอด มัน<br />

หมู หมูสามชั ้น ขาหมู ครีม เค้ก ฯลฯ แล้วไม่<br />

ยอมหาเวลาว่างออกกำลังกายเพื่อให้มีการใช้<br />

พลังงานที่ได้รับเข้ามา<br />

๓. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่<br />

เหมาะสมทำให้มีการใช้พลังงานต่ำ และทำให้<br />

เสียโอกาสในการทำกิจกรรมหรือออกกำลัง<br />

กายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น การจราจร<br />

ติดขัดในกรุงเทพ ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องนั่ง<br />

เฉยบนรถยนต์หลายชั่วโมงต่อวัน ลักษณะงาน<br />

ที่ต้องนั่งทำงานตลอดเวลา พฤติกรรมชอบรับ<br />

ประทานอาหารจุกจิก เป็นต้น<br />

๔. โรคบางชนิด เช่น Cushings Syndrome<br />

ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อ้วน<br />

โดยสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติ<br />

ของฮอร์โมนในร่างกาย จนทำให้อ้วนบริเวณ<br />

ใบหน้า ลำตัว ต้นคอด้านหลัง แต่แขนขาจะ<br />

เล็ก และไม่มีแรง ในกรณีนี้จะต้องรักษาที่<br />

ต้นเหตุคือ ฮอร์โมนที่มีความผิดปกติจึงจะ<br />

สามารถหายอ้วนได้ สำหรับการรักษาโรคอ้วน<br />

นี้ วิธีการรักษาที่ดีควรต้องมีการผสมผสานการ<br />

รักษาหลายวิธีร่วมกันคือ การควบคุมอาหาร<br />

การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลง<br />

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่วนการรักษาโดย<br />

ใช้ยานั้นต้องใช้ในกรณีจำเป็นต่อการรักษาโรค<br />

อ้วนจริง ๆ และมักต้องอาศัยการรักษาด้วยยา<br />

ร่วมกับวิธีอื่น ๆ หรือถึงแม้ไม่ได้รับการรักษา<br />

ด้วยยาถ้าต้องการลดน้ำหนักก็ต้องอาศัยทั้ง<br />

๓ วิธีข้างต้นร่วมกันในการรักษาและควบคุม<br />

น้ำหนัก การควบคุมอาหาร (diet) ในการลด<br />

น้ำหนักคนอ้วน คือ ให้พลังงานจากอาหาร<br />

น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายต้องใช้ ร่างกายจึง<br />

สลายพลังงานที่เก็บสะสมในร่างกายออกมา<br />

ใช้แทน น้ำหนักก็จะลดลง การควบคุมอาหาร<br />

เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก<br />

ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความแน่วแน่ของตัวท่าน<br />

เองเพราะถ้าท่านยังไม่สามารถตัดใจในเรื่อง<br />

อาหารได้ ความสำเร็จในการลดน ้ำหนักก็จะ<br />

ลดลงด้วย ลองตั้งใจเต็ม ๑๐๐% ในการควบคุม<br />

อาหาร แล้วท่านก็จะประสบความสำเร็จ แต่มี<br />

ข้อแนะนำว่าท่านไม่ควรงดอาหารชนิดใดชนิด<br />

หนึ่งอย่างเด็ดขาด หรือไม่ยอมรับประทาน<br />

อาหารในมื้อนั้น ๆ เพื่อจะลดน้ำหนักแต่ควร<br />

มีการควบคุมปริมาณอาหารที่ได้รับแต่ละมื้อ<br />

มากกว่า เพราะถ้างดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง<br />

อย่างเด็ดขาดอาจทำให้ท่านขาดสารอาหาร<br />

ที่จำเป็นต่อร่างกายได้และถ้าท่านไม่ยอมรับ<br />

ประทานอาหารในมื้อใดมื้อหนึ่งอย่างเด็ด<br />

ขาด ก็อาจทำให้ท่านเป็นโรคกระเพาะอาหาร<br />

อักเสบได้เช่นกัน<br />

การออกกำลังกาย (exercise) เป็นวิธีที่<br />

สำคัญในการลดน้ำหนัก กล่าวคือเป็นส่วนของ<br />

การใช้พลังงานที่ถูกสะสมไว้ในรูปของไขมันซึ่ง<br />

ถ้าสัดส่วนของการใช้พลังงานมากกว่าสัดส่วน<br />

ของพลังงานที่ได้รับเข้าไปก็จะสามารถลด<br />

น้ำหนักได้ และวิธีการออกกำลังกายนี้สามารถ<br />

ลดน้ำหนักได้ในระยะยาว นอกจากมีผลดีใน<br />

การลดน้ำหนักแล้วยังมีข้อดีอีกหลายประการ<br />

ไม่ว่าจะผลดีต่อระบบหายใจทำให้การทำงาน<br />

ของหัวใจและปอดดีขึ้น แล้วยังลดปัญหาด้าน<br />

ภูมิแพ้ โดยจะเพิ่มความต้านทานแก่ร่างกาย<br />

ด้วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีทั้ง<br />

ทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยทั่วไปมักใช้วิธี<br />

ออกกำลังกายนี้ควบคู่กับการควบคุมอาหาร<br />

การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรใช้เวลา<br />

ประมาณ ๓๐ – ๖๐นาทีต่อครั้งสัปดาห์ละ<br />

๓ – ๕ ครั้ง แค่นี้เราก็จะไม่อ้วนกันอีกต่อไป<br />

แล้ว<br />

55

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!