20.11.2016 Views

Android App Development ฉบับสมบูรณ์

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

9<br />

การพัฒนาแอพพลิเคชันติดต่อกับ GPS<br />

และการอ้างอิงกับระบบแผนที่ (Map)<br />

เนื้อหาในบทนี้ จะเป็นการฝึกพัฒนาแอพพลิเคชันติดต่อกับระบบ GPS (Global Positioning System) และ<br />

การอ้างอิงกับระบบแผนที่ (Google Map) ซึ่งจุดประสงค์ของบทนี้จะเป็นการเรียกใช้งานคลาส LocationManager<br />

ที่ระบุถึงค่าพิกัดและนำค่านั้นมาแสดงบนแผนที่<br />

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ GPS<br />

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก หรือ GPS (Global Positioning System) เป็นระบบที่ระบุตำแหน่งบน<br />

พื้นโลก โดยคำนวณจากค่าสัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ทำให้ทราบตำแหน่งที่<br />

แน่นอน จึงสามารถระบุตำแหน่งต่างๆ ของอุปกรณ์รับสัญญาณต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง<br />

ดาวเทียม GPS เป็นดาวเทียมที่ใช้บนวงโคจรระดับกลาง หรือ MEO (Medium Earth Orbit) ซึ่งโดย<br />

ทั่วไปนั้นจะมีวงโคจรที่ระดับความสูงประมาณ 20,000 กิโลเมตร<br />

ซึ่งการยืนยันตำแหน่งต่างๆ จะอาศัยค่าพิกัดจากดาวเทียมอย่าง<br />

น้อย 4 ดวง โดยปกติแล้วดาวเทียมแต่ละดวงจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 12<br />

ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ โดยมีความเร็วประมาณ 4 กิโลเมตร/วินาที (km/s) และ<br />

การโคจรในแต่ละรอบนั้นจะแบ่งออกเป็น 6 ระนาบ ซึ่งแต่ละระนาบจะมี<br />

ดาวเทียมจำนวน 4 ดวง โดยทำมุมที่ 55 องศา (Degree) ดังนั้น โดยรวม<br />

แล้วทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียมอย่างน้อยจำนวน 24 ดวง<br />

โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์รับสัญญาณในปัจจุบัน จะผนวกเข้ากับ<br />

ระบบแผนที่เพื่อใช้ระบุรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงสามารถนำ<br />

มาประยุกต์ใช้ในการนำทางได้อีกด้วย<br />

ตัวอย่างแอพพลิเคชันติดต่อกับ GPS และการอ้างอิงกับระบบแผนที่ (Map)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!