20.11.2016 Views

Android App Development ฉบับสมบูรณ์

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ตัวแปรอาร์เรย์<br />

ตัวแปรอาร์เรย์เปรียบเสมือนการนำตัวแปรมาเรียงต่อกันหลายๆ ตัว โดยที่ทุกตัวจะมีชนิดข้อมูล<br />

เดียวกัน มีชื่อตัวแปรเดียวกัน แต่สามารถอ้างถึงตำแหน่งข้อมูลแต่ละตัวที่เรียงต่อกันด้วยลำดับการจัดเรียง ซึ่ง<br />

เรียกตำแหน่งข้อมูลแต่ละตัวว่า อินเด็กซ์ (Index)<br />

ตัวแปรอาร์เรย์ที่มีให้ใช้งานในภาษา Java นั้นสามารถแยกได้ 2 แบบคือ ตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติและ<br />

ตัวแปรอาร์เรย์หลายมิติ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ และตัวแปรอาร์เรย์<br />

3 มิติเท่านั้น<br />

ตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ<br />

ตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติเปรียบได้กับการนำตัวแปรมาเรียงต่อกันหลายๆ ตัวในลักษณะของแถวข้อมูล<br />

ซึ่งสามารถจำลองตัวอย่างตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ ชื่อตัวแปร intEx1 เป็นตัวแปรชนิดจำนวนเต็มที่สามารถเก็บ<br />

ข้อมูลจำนวนเต็มได้ 6 ตัวยกตัวอย่างดังนี้<br />

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ตัวแปรอาร์เรย์สามารถเก็บข้อมูลได้ 6 ตัว โดยที่<br />

• ตัวแปรตัวแรกคือ ตำแหน่งอินเด็กซ์ที่ 0 มีค่าเท่ากับ 5 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น intEx1[0] = 5<br />

• ตัวแปรตัวที่ 2 คือ ตำแหน่งอินเด็กซ์ที่ 1 มีค่าเท่ากับ 8 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น intEx1[1] = 8<br />

• ตัวแปรตัวสุดท้ายคือ ตำแหน่งอินเด็กซ์ที่ 5 มีค่าเท่ากับ 2 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น intEx1[5] = 2<br />

ตัวแปรอาร์เรย์หลายมิติ<br />

ตัวแปรอาร์เรย์หลายมิติคือ ตัวแปรที่มีมุมมองการเข้าถึงข้อมูลของตัวแปรได้มากกว่า 1 ด้าน<br />

ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติและตัวแปรอาร์เรย์ 3 มิติเท่านั้น<br />

ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ<br />

ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติเปรียบได้กับการนำตัวแปรมาเรียงต่อกันหลายๆ ตัวในลักษณะของตารางข้อมูล<br />

ซึ่งสามารถจำลองตัวอย่างตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ ชื่อตัวแปร intEx2 เป็นตัวแปรชนิดจำนวนเต็มที่สามารถเก็บ<br />

ข้อมูลจำนวนเต็มได้ 15 ตัวยกตัวอย่างดังนี้<br />

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ตัวแปรอาร์เรย์ที่มีขนาด 3 แถว 5 คอลัมน์สามารถเก็บข้อมูลได้ 15 ตัว โดยที่<br />

• ตัวแปรแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 1 มีค่าเท่ากับ 3 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น intEx2[0][0] = 3<br />

• ตัวแปรแถวที่ 1 คอลัมน์ที่ 2 มีค่าเท่ากับ 7 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น intEx2[0][1] = 7<br />

• ตัวแปรแถวที่ 3 คอลัมน์ที่ 2 มีค่าเท่ากับ 2 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น intEx2[2][1] = 2<br />

• ตัวแปรแถวที่ 3 คอลัมน์ที่ 5 มีค่าเท่ากับ 3 ซึ่งสามารถเขียนได้เป็น intEx2[2][4] = 3<br />

ภาคผนวก ความรู้เบื้องต้นการเขียนโปรแกรมภาษาจาวา 337

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!