20.11.2016 Views

Android App Development ฉบับสมบูรณ์

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

11<br />

การพัฒนาแอพพลิเคชันทำงานกับฐานข้อมูล<br />

เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการฝึกพัฒนาแอพพลิเคชันทำงานกับฐานข้อมูล (Database) ที่ติดตั้งบนระบบ<br />

ปฏิบัติการ <strong>Android</strong> เพื่อเป็นพื้นฐานให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในการพัฒนาแอพพลิเคชันขั้นสูงได้<br />

อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานกับฐานข้อมูล<br />

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันฐานข้อมูลที่มีใช้อยู่นั้นจะมีหลากหลายค่าย เช่น MySQL, SQLite และ Microsoft<br />

Access แต่ในบทเรียนนี้ผู้เขียนจะใช้อ้างอิงกับฐานข้อมูลของ SQLite<br />

ฐานข้อมูลของ SQLite เป็นระบบฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากใน Smart Phone และ<br />

ระบบปฏิบัติการ <strong>Android</strong> เนื่องจาก SQLite มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน รวมไปถึงคุณลักษณะของ SQLite ที่มีการ<br />

ทำงานแบบเครื่องเดี่ยว (Standalone) ซึ่งจะเหมาะสำหรับฐานข้อมูลที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เนื่องจากโทรศัพท์<br />

เคลื่อนที่นั้นมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน เช่น หน่วยความจำและความสามารถของการประมวลผล เป็นต้น<br />

ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS (Database Management System) สามารถแบ่งลักษณะการ<br />

ทำงานออกได้เป็นหลายๆ ส่วน เช่น แอพพลิเคชันที่ใช้จัดการฐานข้อมูล อุปกรณ์หน่วยความจำ (Device Memory)<br />

และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย (Security) เป็นต้น<br />

ในปัจจุบันมี DBMS ที่นิยมใช้งานมากมาย เช่น MySQL, PostgreSQL, Microsoft Access, SQL<br />

Server, FileMaker, Oracle, Sybase และ dBASE เป็นต้น ซึ่งปกติแล้ว DBMS แต่ละชนิดจะมีส่วนเชื่อมต่อให้ฐาน<br />

ข้อมูลสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลประเภทอื่นๆ ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ODBC (Open Database Connectivity)<br />

งานอย่างหนึ่งที่ถือได้ว่า มีความสำคัญกับระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นอย่างยิ่งก็คือ การออกแบบ<br />

ฐานข้อมูลโดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพการทำงานเมื่อคลังข้อมูลมีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถแบ่งแนวคิดการ<br />

ออกแบบฐานข้อมูลได้เป็นหลายประเภท เช่น<br />

• รูปแบบข้อมูลแบบโครงสร้างแบบลำดับชั้น (Hierarchical data model) – One to Many<br />

• รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data model) – Many to Many<br />

• รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model) – Row and Column

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!