16.07.2018 Views

กค.61

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

เบญจราชกกุธภัณฑ์<br />

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก<br />

เครื่องราชภัณฑ์ ซึ่งเป็น<br />

เครื่องประกอบพระราช<br />

อิสริยยศของพระมหา<br />

กษัตริย์นับเป็นมรดกทาง<br />

วัฒนธรรมอันล้ำค่า นอกจาก<br />

แสดงถึงการสืบสานและ<br />

สร้างสรรค์ในเชิงศิลปกรรม<br />

แล้ว ยังแสดงถึงภูมิปัญญา<br />

เชิงช่างอันวิจิตรของช่างไทย<br />

อีกด้วย ทั้งนี้ นับตั้งแต่การ<br />

ประดิษฐานพระบรมราชวงศ์<br />

จักรีขึ้นในราชอาณาจักร<br />

สยาม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕<br />

เครื่องราชภัณฑ์ทั้งหมดต้องมี<br />

การสร้างขึ้นใหม่ทั้งสิ้น<br />

แนวคิดในการสร้าง<br />

ราชภัณฑ์ สันนิษฐานว่าน่าจะ<br />

เพื่อสนองตอบกิจพิธีสำคัญ<br />

อันเป็นโบราณราชประเพณีที่<br />

สำคัญ และคงสืบเนื่องมาจาก<br />

อินเดียเพราะในคัมภีร์<br />

พระพุทธศาสนาสอดคล้อง<br />

กันว่า มีสิ่งสำคัญอยู่ ๕ สิ่ง<br />

เรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์<br />

สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยปรากฏ<br />

หลักฐานในจารึกวัดป่ามะม่วง เรื่องพระ<br />

ราชพิธีราชาภิเษกพญาลือไท มีเครื่อง<br />

ราชภัณฑ์อยู่ ๓ สิ่ง คือ มงกุฎ พระขรรค์<br />

ชัยศรีและเศวตฉัตร แต่ตามภาพที่สลัก<br />

บนแผ่นไม้สมัยสุโขทัย ซึ่งปัจจุบันเก็บไว้<br />

ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดสุโขทัย<br />

มีอยู่ ๕ สิ่งคือ แส้ พระขรรค์ กะบังหน้า<br />

ฉลองพระบาทและธารพระกร แสดงว่ามี<br />

การเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามเหตุผลและ<br />

กาลสมัย<br />

แม้ในสมัยรัตนโกสินทร์เองก็ยังมี<br />

มากกว่า ๕ สิ่งในบางรัชกาล เช่น รัชกาล<br />

ที่ ๒ ปรากฏมีอยู่๗ สิ่ง ได้แก่ พระมหาพิชัย<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์<br />

มงกุฎ พระแสงขรรค์ ฉลองพระบาท<br />

ธารพระกร ฉัตร วาลวิชนีและพระแสง<br />

ดาบ ส่วนในรัชกาลที่ ๗ มีอยู่ ๕ สิ่ง คือ<br />

พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี<br />

ฉลองพระบาท ธารพระกร และวาลวิชนี<br />

ซึ่งคงใช้มาจนถึงรัชกาลที่ ๙<br />

18<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!