16.07.2018 Views

กค.61

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เ<br />

มื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๕ พระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล<br />

อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรง<br />

พระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริ<br />

ให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาจรวดบรรจุ<br />

สารซิลเวอร์ไอโอไดด์ ยิงขึ้นจากพื้นดินเข้าสู่<br />

ก้อนเมฆหรือยิงจากเครื่องบิน โดยทรงเล็ง<br />

เห็นว่า จรวดฝนเทียมสามารถใช้ทดแทน<br />

การนำเครื่องบินขึ้นไปโปรยสารฝนหลวง<br />

ในภาวะที่มีข้อจำกัดทางยุทธวิธีได้ เช่น<br />

ฝนตกปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน<br />

และรุนแรง หรือสภาพภูมิประเทศที่เป็น<br />

ภูเขาสูงชัน สภาพอากาศปิดไม่สามารถ<br />

ทำการบินได้โดยปลอดภัย เพื่อแก้ไข ปัญหาดังกล่าว กรมฝนหลวงและการบิน<br />

เกษตร ได้เห็นถึงศักยภาพและความ<br />

เชี่ยวชาญของสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน<br />

ประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป.<br />

ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจรวด<br />

จึงเกิดแนวความคิดในการสร้างความ<br />

ร่วมมือระหว่างสามหน่วยงาน คือ กรม<br />

ฝนหลวงและการบินเกษตร กับสถาบัน<br />

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การ<br />

มหาชน) และศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์<br />

เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพ<br />

อากาศ หรือ ศวอ.ทอ. โดยกรมฝนหลวง<br />

และการบินเกษตร กำหนดความต้องการ<br />

ทางเทคนิค ให้ สทป. ออกแบบและผลิต<br />

จรวดเพื ่อบรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์<br />

สำหรับทำฝนซึ่งได้รับการวิจัยพัฒนาจาก<br />

ศวอ.ทอ. สำหรับใช้เสริมในภารกิจ<br />

ปฏิบัติการฝนหลวง<br />

โดยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง<br />

ความร่วมมือระหว่างสถาบัน<br />

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

(องค์การมหาชน) กระทรวง<br />

กลาโหมกับกรมฝนหลวง<br />

และการบินเกษตร กระทรวง<br />

เกษตรและสหกรณ์ ณ โรงแรม<br />

มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น<br />

ในวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.<br />

๒๕๕๙ เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการวิจัย<br />

และพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ<br />

(Weather Modification Rocket) โดยมี<br />

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบจรวด<br />

ดัดแปรสภาพอากาศที่มีสมรรถนะสูง<br />

เพียงพอสำหรับการใช้ในภารกิจยับยั้งพายุ<br />

ลูกเห็บ และทดลองทำฝนจากเมฆเย็น<br />

ในสภาพอากาศของประเทศไทย เพื่อช่วย<br />

เสริมการปฏิบัติการของเครื่องบินในภาวะ<br />

ที่มีข้อจำกัดทางยุทธวิธี โดยความร่วมมือ<br />

ดังกล่าวได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการ<br />

ดำเนินโครงการระหว่างเดือนมกราคม<br />

๒๕๕๙ - กันยายน ๒๕๖๑<br />

ในปีแรก (๒๕๕๙) สทป. ได้<br />

ดำเนินการออกแบบระบบขับเคลื่อน<br />

ระบบ Payload และระบบฐานปล่อย<br />

จรวดเพื่อจัดทำ Proof of concept โดย<br />

ในปีที่สอง (๒๕๖๐) ได้ดำเนินการผลิต<br />

ต้นแบบระบบจรวดดัดแปรสภาพอากาศ<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๖๑<br />

45

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!