26.07.2018 Views

สป 60

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ผลการดำเนินงานของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ประจำปี ๒๕๖๐<br />

๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

สำนักนโยบาย<br />

และแผนกลาโหม<br />

กรมเสมียนตรา<br />

สำนักงบประมาณ<br />

กลาโหม<br />

สำนักงานเลขานุการ<br />

สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

สำนักพัฒนา<br />

ระบบราชการ<br />

กลาโหม<br />

กองพันทหารสารวัตร<br />

สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

กรมพระธรรมนูญ<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ<br />

และพลังงานทหาร<br />

กรมการเงินกลาโหม<br />

กรมการสรรพกำลัง<br />

กลาโหม<br />

กรมการพลังงานทหาร<br />

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

โรงงานวัตถุระเบิดทหาร<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร<br />

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ<br />

กรมวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี<br />

กลาโหม<br />

กรมเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศและ<br />

อวกาศกลาโหม<br />

สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

สำนักงาน<br />

ตรวจสอบภายใน<br />

กลาโหม<br />

สำนักโยธาธิการ<br />

สำนักงานแพทย์


วิสัยทัศน์<br />

เป็นองค์กรนำในงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนากองทัพไปสู่การพัฒนาตัวเองและการ<br />

พัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศ<br />

พันธกิจ<br />

๑. พิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

๒. เสนอแนะและบูรณาการนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม<br />

๓. ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม<br />

๔. พัฒนางานเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และกิจการอวกาศเพื่อความมั่นคง<br />

๕. พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เพื่อการพึ่งพาตนเอง<br />

๖. เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของรัฐ การพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน<br />

รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่สำคัญของชาติ<br />

๗. สนับสนุนการรักษาความมั่นคงของรัฐ การพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน รวมถึง<br />

การแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่สำคัญของชาติ<br />

๘. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการกระทรวงกลาโหม รวมทั้งพัฒนาระบบติดตามประเมินผล<br />

ที่เป็นรูปธรรมไปสู่การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี<br />

๙. ดำเนินการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเพื่อความมั่นคง<br />

ค่านิยมองค์กร<br />

เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว เพื่อความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา<br />

พระมหากษัตริย์


แนวทางการปฏิบัติงานของปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล<br />

เจตนารมณ์ของปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทนำในด้านการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์<br />

ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศด้าน<br />

การวิจัยพัฒนา ด้านกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและด้านพลังงานทหาร โดยมีการบริหารจัดการงบประมาณ<br />

ที่มีความโปร่งใส ถูกต้อง และตรวจสอบได้ ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมในการอำนวยการ ประสานงาน<br />

และกำกับดูแล เพื่อให้กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานหลักด้านการป้องกันประเทศ การแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ<br />

การพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ การพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการสนับสนุนคณะรักษา<br />

ความสงบแห่งชาติ และรัฐบาลในการขับเคลื่อนและปฏิรูปประเทศเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย คือ “ประเทศมั่นคง ประชาชน<br />

มีความมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” อันจะทำให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นที่เชื่อมั่น และยอมรับศรัทธาของหน่วยงาน<br />

ราชการทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม ภาคเอกชน และเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส ทั้งนี้ เพื่อให้<br />

บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ จึงได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ประกอบ<br />

ด้วย “แนวทางทั่วไป” และ “แนวทางที่กำหนดผลสัมฤทธิ์ภายใน ๑ ปี” ดังนี้<br />

แนวทางการปฏิบัติงานทั่วไป<br />

๑. ยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลนโยบายของ<br />

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นโยบายและการสั่งการของอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจน<br />

กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน<br />

๒. ให้ความสำคัญและความเร่งด่วนสูงสุดในการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยการเฝ้า<br />

ระวัง และป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ ชี้แจงข้อเท็จจริงจากกรณีการบิดเบือนข้อมูลและพาดพิง<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพพระราชกรณียกิจที่สำคัญและจัด<br />

โครงการ/กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรม<br />

วงศานุวงศ์ทุกพระองค์ในทุกโอกาส โดยให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

ในภาพรวมของกระทรวงกลาโหมตลอดจนขยายผลและเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสนับสนุนโครงการ<br />

พัฒนาตามแนวทางพระราชดำริให้กว้างขวางอย่างต่อเนื่อง<br />

๓. พัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่ฝ่ายอำนวยการให้มีขีดความสามารถแบบมืออาชีพ มีการประสานงานกับ<br />

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา<br />

อย่างรอบด้าน การจัดทำข้อพิจารณาที่มีความรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นมาตรฐาน สามารถใช้เป็นแบบอย่างให้กับ<br />

หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพได้<br />

๔. ยึดถือการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๖๗ ซึ่งได้กำหนด<br />

กลุ่มงานที่สอดคล้องตามภารกิจ และหน่วยรับผิดชอบ ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติงานทางฝ่ายอำนวยการ จำนวน ๖<br />

กลุ่มงาน ไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานของทุกหน่วย มุ่งไปสู่การตอบสนองงานของสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม และกระทรวงกลาโหม ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


๕. ปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ ให้มีความสอดคล้องกับการบริหารราชการยุคใหม่ที่มุ่งเน้น<br />

ความคล่องตัว มีความทันสมัย และอ่อนตัว สามารถปฏิบัติภารกิจที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยให้นำระบบ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการปฏิบัติงานอันจะเป็นการสนับสนุนการก้าวสู่การเป็นดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital<br />

Thailand) ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และทักษะด้านดิจิทัลกับกำลังพลรวมทั้ง<br />

สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในแต่ละระบบงานได้อย่างเหมาะสม<br />

๖. บริหารจัดการระบบงานกำลังพลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการบูรณาการฐานข้อมูลด้านกำลังพล ระบบ<br />

มาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ระบบการปลดถ่ายกำลังพล ดำเนินการเรื่องสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และค่าตอบแทน<br />

ของกำลังพลทุกประเภทอย่างเหมาะสม รวดเร็ว และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด รวมถึงการจัดทำ<br />

ระบบสรรหา การคัดเลือกกำลังพล การให้ความสำคัญกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน และระบบตอบแทน<br />

ผลงานตามสิทธิและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของกำลังพลบนพื้นฐานความเสมอภาค ความยุติธรรมโปร่งใส<br />

มีธรรมาภิบาล<br />

๗. บริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรของรัฐให้เกิดความโปร่งใสเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ มีมาตรการ<br />

ป้องกัน และตรวจสอบการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างเป็นระบบ รวมทั้งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบ<br />

คำสั่ง แบบแผนของทางราชการที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบมีความคุ้มค่า โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ<br />

ตลอดจนปลูกจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมให้กับกำลังพล และเสริมสร้างเครือข่ายในการป้องกันและ<br />

ปราบปรามการทุจริตอย่างต่อเนื่อง<br />

แนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนดผลสัมฤทธิ์ภายใน ๑ ปี<br />

๑. พัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังพล เพื่อให้มีกำลังพลที่มีคุณภาพและสมรรถนะ มีขนาดเหมาะสมสอดคล้อง<br />

กับภารกิจ มีการบริหารจัดการที่ทันสมัย และมีความภาคภูมิใจในความเป็นทหารอาชีพโดยให้มีการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑.๑ พัฒนาความรู้ของกำลังพล โดยส่งเสริมให้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรตามแนวทางการรับราชการ<br />

หลักสูตรเฉพาะหน้าที่ หลักสูตรภาษาต่างประเทศเพื่อการปฏิบัติงาน และหลักสูตรการศึกษาทางพลเรือนในระดับที่<br />

สูงขึ้น ทั้งในสถาบันการศึกษาภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม รวมทั้งสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ<br />

๑.๒ จัดตั้งโรงเรียนของหน่วย (Unit School) เพื่อให้กำลังพลที่มีความรู้และประสบการณ์ได้ถ่ายทอด<br />

ความรู้ในการปฏิบัติงานในแต่ละด้านให้กับกำลังพลที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ หรือกำลังพลในรุ่นหลังๆ อันจะนำไป<br />

สู่การพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานทั้งในระดับบุคคล ระบบงาน และองค์กรให้สูงขึ้น<br />

๑.๓ เร่งรัดการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องให้เสร็จ<br />

สมบูรณ์ เพื่อให้สามารถบรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหมทดแทนกำลังทหารประจำการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ<br />

ด้านได้โดยเร็ว โดยจัดทำรายละเอียดด้านสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ ค่าตอบแทน และแนวทางการรับราชการของ<br />

ข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้มีความชัดเจน<br />

๒. ประสานและเร่งรัดการจัดทำบันทึกความตกลงความร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน (Memorandum Of<br />

Understanding : MOU) ให้เป็นไปตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเพื่อให้กระทรวงแรงงานให้การ<br />

สนับสนุนการฝึกอบรมอาชีพให้กับทหารกองประจำการของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ รวมทั้งการ<br />

จัดหางานให้กับทหารกองประจำการให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพตามความ<br />

ถนัด และสอดคล้องกับตลาดแรงงาน ซึ่งจะทำให้ทหารกองประจำการและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลัง<br />

จากปลดประจำการไปแล้ว


๓. ให้ความสำคัญในการดูแลข้าราชการชั้นผู้น้อยและครอบครัวเพื่อให้มีขวัญกำลังใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น<br />

โดยให้ดำเนินการในเรื่องสวัสดิการให้มีความเป็นรูปธรรม ดังนี้<br />

๓.๑ ปรับปรุงการให้บริการขนส่งสำหรับการเดินทางไป-กลับ ระหว่างที่ทำงานและที่พักอาศัยให้<br />

ครอบคลุมในทุกพื้นที่และมีความสะดวกอย่างทั่วถึง<br />

๓.๒ ดูแลสุขอนามัยและการให้บริการทางการแพทย์แก่กำลังพลและครอบครัว ให้มีความสะดวก รวดเร็ว<br />

และเป็นมาตรฐาน<br />

๓.๓ ปรับปรุงสถานที่ทำงาน บ้านพักอาศัย สถานที่พักผ่อน และสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีความน่าอยู่<br />

และมีสภาพแวดล้อมที่ดี<br />

๓.๔ จัดกิจกรรมเพื่อการนันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจให้กับกำลังพลและครอบครัว รวมทั้งการมอบ<br />

ทุนการศึกษาให้กับบุตรของกำลังพลตามขีดความสามารถของหน่วย<br />

๓.๕ จัดทำโครงการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนสอดแทรกการปลูกฝังความมีระเบียบวินัย<br />

อุดมการณ์ความรักชาติ และความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ให้กับบุตรหลานของกำลังพลในห้วงปิดภาค<br />

การศึกษาในทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง<br />

๔. ให้มีการจัดทำฐานข้อมูล และบูรณาการเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการข่าวกับเครือข่ายประชาคมข่าวกรองทั้ง<br />

ภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม เสริมสร้างและขยายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวกรองกับมิตรประเทศ<br />

อย่างเป็นระบบ และทันสมัยในลักษณะของศูนย์กลางข้อมูลข่าวกรองร่วม (Information and Intelligence Fusion<br />

Center) สามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อการวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง<br />

และทันเวลา โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมพร้อมทั้งพัฒนากำลังพลที่ปฏิบัติ<br />

งานด้านการข่าวให้มีขีดความสามารถในการรวบรวมตรวจสอบ และวิเคราะห์ข่าวกรองระดับยุทธศาสตร์ได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ<br />

๕. จัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ -<br />

๒๕๖๙ แผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๙ ให้มีความสอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์<br />

การป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ เพื่อให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ<br />

ใช้เป็นกรอบแนวทางดำเนินการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ โดยห้วงระยะ ๕ ปีแรกมีเป้าหมายที่สำคัญ<br />

ได้แก่ เสริมสร้างความพร้อมรบทั้งในด้านกำลังพล ยุทโธปกรณ์ หลักนิยมการฝึกศึกษาและขีดความสามารถในการปฏิบัติ<br />

ภารกิจป้องกันประเทศ การแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติก่อนการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการกระทรวงกลาโหม<br />

ในระยะต่อไป<br />

๖. เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี พร้อมทั้งพัฒนาและขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทหารกับนานา<br />

ประเทศ ตามแนวทางที่รัฐบาลได้กำหนดความสำคัญและความเร่งด่วนไว้ รวมทั้งแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือ<br />

ด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๖๐ ดังนี้<br />

๖.๑ ให้ความเร่งด่วนในการจัดทำกรอบความตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาค<br />

ลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคต่างๆ บนพื้นฐานของผลประโยชน์แห่งชาติ<br />

ความเท่าเทียม ความมีเกียรติและศักดิ์ศรีในเวทีระหว่างประเทศ<br />

๖.๒ มุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือทางทหารกับประเทศที่ได้มีการลงนามความตกลงไว้แล้วให้<br />

มีผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น<br />

๖.๓ การจัดทำระบบฐานข้อมูลความร่วมมือทางทหารกับมิตรประเทศ ที่ครอบคลุมทั้งการจัดทำความ<br />

ตกลง และความร่วมมือในทุกๆ ด้าน เพื่อให้การสนับสนุนข้อมูล ตลอดจนการดำเนินการจัดทำประเด็นสารัตถะให้กับ


ผู้บังคับบัญชาในการประชุมทวิภาคี พหุภาคี หรือการหารือกับมิตรประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง<br />

และทันเวลา<br />

๗. สนับสนุนการขับเคลื่อนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม<br />

โดยมุ่งเน้นการดำเนินการในเรื่องที่สำคัญ ดังนี้<br />

๗.๑ การพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN<br />

Defence Ministers’Meeting : ADMM) การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา<br />

(ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus : ADMM-Plus) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมือง<br />

และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF)<br />

๗.๒ ให้การสนับสนุนคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับ<br />

รัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ADMM-Plus Experts’Working Group : EWG) เพื่อสร้างความร่วมมือในการ<br />

เผชิญกับภัยคุกคามที่ไม่ใช่ทางทหารในภูมิภาคร่วมกันในทุกมิติ<br />

๗.๓ การพัฒนาศักยภาพศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Center of Military Medicine : ACMM)<br />

ให้มีขีดความสามารถในการเป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือทั้งในด้านการอำนวยการ ประสานงาน และการบริหาร<br />

จัดการด้านการแพทย์ทหารในภารกิจการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติแก่ประเทศสมาชิก<br />

อาเซียนและประเทศนอกภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

๘. จัดทำ/ปรับปรุงแนวทางการรับรองแขกต่างประเทศ พิธีการต่างประเทศ การใช้ล่ามภาษาต่างประเทศ<br />

รวมทั้งฐานข้อมูลด้านวิเทศสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนงานเสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ และการสร้างความไว้เนื้อ<br />

เชื่อใจระหว่างกันตามแนวความคิดการทูตเชิงป้องกัน ตลอดจนให้การรับรองแขกต่างประเทศอย่างสมเกียรติ และถูกต้อง<br />

ตามหลักมาตรฐานสากล<br />

๙. พัฒนางานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทาง<br />

ทหารได้อย่างเพียงพอ ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต โดยมุ่งเน้นการดำเนินการในเรื่อง<br />

ต่อไปนี้ ให้มีความเป็นรูปธรรมภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๙.๑ การผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ กระสุน ดินส่งกระสุน และวัตถุระเบิด ที่ใช้ในกองทัพ โดยยึดมั่นใน<br />

หลักการ “พึ่งพาตนเอง” ตลอดจนการเสริมสร้างและขยายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกกระทรวง<br />

กลาโหม และต่างประเทศเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย “การผลิตใช้ในราชการ”ที่สอดคล้องตามความต้องการของเหล่าทัพ<br />

๙.๒ ให้การสนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ทั้งในด้ านการปรับปรุงโครงสร้าง การพัฒนา<br />

ระบบบริหารจัดการ และการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกำหนดกระบวนการพัฒนาไปสู่การผลิตของภาค<br />

เอกชน โรงงานของรัฐอื่นๆ ให้มีความเหมาะสม และเกื้อกูลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการที่นำไปสู่การมีศักยภาพ<br />

ในการแข่งขันและ “การผลิตเพื่อการพาณิชย์” ได้โดยสมบูรณ์และมีความยั่งยืน<br />

๙.๓ บูรณาการขีดความสามารถร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อปรับปรุงระบบสายการผลิต และยก<br />

ระดับผลผลิตยาและเวชภัณฑ์ แบตเตอรี่ น้ำมันเชื้อเพลิงและส่วนประกอบ ให้มีความเป็นมาตรฐานเทียบเท่าแหล่งผลิต<br />

อื่นๆ อันจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ให้สูงขึ้น รวมถึงการพัฒนาด้านพลังงานไปสู่การผลิตพลังงานทางเลือก<br />

อื่นๆ การสำรวจแหล่งพลังงานจากธรรมชาติเพิ่มเติมเพื่อเป็นหลักประกันการสะสมพลังงานสำรองที่พอเพียงใน<br />

สถานการณ์วิกฤตของชาติ<br />

๑๐. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมทั้งการ<br />

สื่อสารภาคพื้น การสื่อสารผ่านดาวเทียม และระบบเครือข่ายสารสนเทศที่ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของทุกส่วน<br />

ราชการซึ่งเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย มีความปลอดภัยสูงสุด


ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมให้สามารถสนับสนุนเหล่าทัพ และหน่วยอื่นๆ ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อ<br />

ความมั่นคงได้อย่างเป็นรูปธรรม<br />

๑๑. เสริมสร้างขีดความสามารถการปฏิบัติการด้านไซเบอร์กระทรวงกลาโหม โดยแสวงหาและขยายความร่วมมือ<br />

ด้านไซเบอร์กับทุกภาคส่วนทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและรับมือกับภัยคุกคามด้าน<br />

ไซเบอร์ที่มีแนวโน้มความรุนแรง สลับซับซ้อน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงชองชาติ และภูมิภาคในขอบเขตที่<br />

กว้างขวางมากยิ่งขึ้นโดยมีความเร่งด่วนในการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑๑.๑ บูรณาการแผนงาน/โครงการในภาพรวมของกระทรวงกลาโหมอย่างเป็นเอกภาพ เพื่อให้มีการ<br />

พัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ของทุกส่วนราชการ ทั้งในระดับยุทธศาสตร์/นโยบาย และระดับ<br />

ปฏิบัติในลักษณะคู่ขนาน<br />

๑๑.๒ พัฒนาขีดความสามารถของศูนย์ไซเบอร์ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ทั้งการ<br />

เสริมสร้างความรู้ด้านไซเบอร์ให้กับกำลังพลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านไซเบอร์สิ่งอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความ<br />

สะดวก ตลอดจนการพัฒนาหลักนิยม และหลักการสำหรับการปฏิบัติการด้านไซเบอร์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ<br />

๑๑.๓ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับกำลังพลทั่วไป โดยการให้ความรู้เพื่อให้มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคาม<br />

ด้านไซเบอร์ และมีความตื่นตัวในการปฏิบัติตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง<br />

๑๒. พัฒนาระบบงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ อันจะนำไปสู่การเป็นผู้ซื้อและผู้ใช้ที่ฉลาด<br />

การผลิตใช้ในราชการที่ตอบสนองตามความต้องการของเหล่าทัพ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้<br />

งานยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิม โดยสร้างความเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนากับงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การ<br />

พัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย การพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องร่วมกับเครือข่ายด้านการวิจัย การสร้างระบบเชื่อมโยง<br />

งานมาตรฐานทางทหารในระดับกระทรวงกลาโหมรวมถึงการคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อ<br />

สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจ<br />

ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ตามนโยบายการพัฒนา “Thailand 4.0” ของรัฐบาล<br />

๑๓. พัฒนาระบบการระดมสรรพกำลัง ให้สอดคล้องกับนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และแผนผนึกกำลัง<br />

และทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ รวมทั้งแนวความคิดการใช้กำลังของเหล่าทัพให้มีความพร้อมสนับสนุนภารกิจ<br />

ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ทั้งด้านการปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศ และภารกิจทางทหารอื่นๆ<br />

ที่ไม่ใช่สงคราม ได้อย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ยามปกติ โดยให้มีการวางแผน อำนวยการ และประสานงานกับทุกภาคส่วน<br />

ที่เกี่ยวข้องรวมถึงการจัดทำฐานข้อมูล และการฝึกร่วมกันอย่างเป็นระบบ<br />

๑๔. พัฒนาระบบกำลังสำรอง เพื่อมุ่งไปสู่การบรรจุทดแทนและเสริมกำลังทหารประจำการเมื่อประเทศต้อง<br />

เผชิญกับสถานการณ์วิกฤตตั้งแต่ยามปกติ และสามารถรองรับการขยายกำลังในยามสงคราม รวมทั้งผลักดันและเร่งรัด<br />

การนำกำลังพลสำรองมาบรรจุรับราชการเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ยามปกติ ตามพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.<br />

๒๕๕๘ มาตรา ๓๐ โดยมีสิทธิประโยชน์และสวัสดิการให้แก่กำลังพลสำรองที่เหมาะสม ให้มีผลในการปฏิบัติโดยเร็ว<br />

๑๕. ยึดถือการดำเนินการตามแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ๒๕๕๘ ในการอำนวยการ และ<br />

ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อให้มี<br />

การบูรณาการขีดความสามารถร่วมกันทั้งในการแจ้งเตือน และการให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ<br />

ทางธรรมชาติ หรือสาธารณภัยอื่นๆ อย่างเป็นระบบซึ่งจะสามารถลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน<br />

ได้อย่างทันเวลาในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยให้ดำเนินการภายใต้กรอบของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม<br />

๑๖. สนับสนุนการขับเคลื่อน และการปฏิรูปประเทศตามยุทธศาสตร์และนโยบายของคณะรักษาความสงบ<br />

แห่งชาติ และรัฐบาล ตามแนวทาง “ประชารัฐ” รวมทั้งให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติในมิติต่างๆ<br />

เพื่อให้ประเทศมีความสงบเรียบร้อย และสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่นำทาง (Roadmap) ซึ่งจะนำไปสู่การ<br />

เลือกตั้งทั่วไป ตามกรอบเวลาที่กำหนดในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๐


๑๗. ให้การสนับสนุนรัฐบาลในการดูแลปัญหา การบรรเทาความเดือดร้อนและการบริการประชาชนตามขีด<br />

ความสามารถของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่หน่วยมีที่ตั้งอยู่และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น การ<br />

ให้บริการด้านการขนส่งสำหรับการเดินทางของประชาชนที่ประสบอุทกภัย การจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการ<br />

ทางการแพทย์แก่ประชาชน การจัดโครงการตลาดนัดสินค้าราคาถูกเพื่อลดค่าครองชีพของกำลังพล ครอบครัว และ<br />

ประชาชนทั่วไป การจัดกำลังพลสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือการแก้ไขปัญหาสังคมของส่วน<br />

ราชการพลเรือน องค์กร ภาคเอกชนต่างๆ รวมทั้งการให้บริการและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน<br />

ในช่วงเทศกาลสำคัญ เป็นต้น<br />

๑๘. พัฒนาเครือข่ายงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกระทรวงกลาโหม รวมทั้งจัดทำข้อมูลบริการประชาชน<br />

แบบอิเล็กทรอนิกส์ ในการเผยแพร่ผลการขับเคลื่อนและการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กระทรวง<br />

กลาโหม และรัฐบาลในภาพรวม เพื่อให้หน่วยงานภายนอกและสาธารณชนทั่วไปได้รับทราบอย่างต่อเนื่องตลอดจน<br />

สร้างการรับรู้ให้ประชาชนมีความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร รวมทั้งการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล<br />

ในห้วงที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลได้มีความพยายามในการขับเคลื่อน และติดตามการแก้ปัญหาของประเทศมาโดยต่อเนื่อง<br />

๑๙. พัฒนาระบบงานกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทหาร เพื่อให้เป็นองค์กรหลักของกระทรวงกลาโหม<br />

ที่สามารถอำนวยความยุติธรรม แนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ผู้บังคับบัญชา ข้าราชการและประชาชนได้อย่างถูกต้อง<br />

เป็นที่ยอมรับ และสามารถสร้างเครือข่ายงานด้านกฎหมายให้เป็นสากล โดยมีเรื่องที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ดังนี้<br />

๑๙.๑ พิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เก่า ล้าสมัย หรือพิจารณาจัดทำกฎหมายใหม่ เพื่อให้การบังคับใช้ทั้ง<br />

ในด้านการจัดเตรียมกำลัง และการใช้กำลังของกระทรวงกลาโหม มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยี และบริบทของสังคม<br />

ไทยในปัจจุบัน รวมทั้งตรวจสอบและเร่งรัดดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง<br />

เพื่อรองรับกฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้วโดยเร็ว<br />

๑๙.๒ ศึกษากฎหมายที่ออกมาใหม่ของทุกส่วนราชการ ซึ่งอาจมีทั้งกฎหมายที่เกื้อกูลหรือเป็นอุปสรรค<br />

ต่อการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้ เพื่อกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในภาพรวมของ<br />

กระทรวงกลาโหมที่มีความเหมาะสม อ่อนตัว และเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยเฉพาะในด้านการใช้กำลัง<br />

ในภารกิจทางทหารอื่นๆ ที่ไม่ใช่สงคราม<br />

๒๐. พัฒนาระบบราชการของกระทรวงกลาโหม และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชกฤษฎีกา<br />

ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ และแนวทางที่รัฐบาลกำหนด โดยมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์<br />

ของการปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับร่างยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙<br />

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ<br />

ทุกภาคส่วน ความมีประสิทธิภาพและโปร่งใส รวมทั้งการพัฒนาองค์กรให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานในอนาคต<br />

๒๑. พัฒนาระบบงานด้านงบประมาณ การเงิน และการตรวจสอบภายในกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย<br />

มีความรวดเร็ว ถูกต้องและเชื่อถือได้ โดยให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อรองรับการ<br />

ปฏิบัติงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ซึ่งยังคงยึดถือการดำเนินการตามระเบียบ คำสั่งของทางราชการอย่าง<br />

เคร่งครัด รวมทั้งให้มีการปรับปรุงระเบียบ คำสั่งและข้อบังคับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการให้<br />

บริการแก่ข้าราชการทหารรวมถึงการดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ และ<br />

งบประมาณที่กันไว้เหลื่อมปีให้เป็นไปตามแผนและมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเคร่งครัด<br />

มีความโปร่งใส และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด<br />

พลเอก<br />

(ชัยชาญ ช้างมงคล)<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ตุลาคม ๒๕๕๙


พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๑)<br />

พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๒)<br />

พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๓)<br />

พลเอก อาชาไนย ศรีสุข<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม (๔)


บทนำ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติของ พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมให้เป็นหน่วยงานที่มีบทบาท<br />

นำในด้านการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคง<br />

กับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ด้านการวิจัยพัฒนา ด้านกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ<br />

ด้านพลังงานทหาร โดยมีการบริหารจัดการงบประมาณที่มีความโปร่งใส ถูกต้อง และตรวจสอบได้ ตลอดจนเป็น<br />

หน่วยงานที่มีความพร้อมในการอำนวยการ ประสานงาน และกำกับดูแล เพื่อให้กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วย<br />

งานหลักด้านการป้องกันประเทศ การแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ การพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ<br />

การพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการสนับสนุนรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ<br />

ในการขับเคลื่อนและปฏิรูปประเทศเพื่อนำไปสู่เป้ าหมาย คือ “ประเทศมั่นคง ประชาชนมีความมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”<br />

อันจะทำให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นที่เชื่อมั่น และยอมรับศรัทธาของหน่วยงานราชการทั้งภายใน<br />

และภายนอกกระทรวงกลาโหม ภาคเอกชน และเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกโอกาส โดยหน่วยขึ้นตรงสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ดังนี้


สารบัญ<br />

• สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๓<br />

• สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม ๑๖<br />

• สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๐<br />

• สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ๒๘<br />

• กรมเสมียนตรา ๔๓<br />

• สำนักงบประมาณกลาโหม ๔๙<br />

• กรมพระธรรมนูญ ๕๕<br />

• ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๕๙<br />

• กรมการพลังงานทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๖๓<br />

• ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ<br />

กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๖๕<br />

• กรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๖๗<br />

• โรงงานวัตถุระเบิดทหาร<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๗๕<br />

• ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๗๙<br />

• โรงงานเภสัชกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ๘๙<br />

• กรมการเงินกลาโหม ๙๕<br />

• กรมการสรรพกำลังกลาโหม ๑๐๑<br />

• กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ๑๑๓<br />

• กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ๑๒๕<br />

• สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๓๗<br />

• สำนักโยธาธิการ<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๔๒<br />

• สำนักงานแพทย์<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑๔๖<br />

• สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม ๑๕๐


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม (สน.ปล.กห.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการ การรับรอง และการ<br />

ประสานการปฏิบัติงานด้านพิธีการให้กับปลัดกระทรวงกลาโหม รอง<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

การประชาสัมพันธ์ให้กับสำนักงานปลัดกระทรวง และกระทรวงกลาโหม<br />

ในภาพรวม และปฏิบัติราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ<br />

ส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงโดยเฉพาะมีปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท ชวลิต สาลีติ๊ด<br />

หัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

งานด้านสารบรรณ<br />

๑. รับ-ส่ง เอกสารจาก นขต.<strong>สป</strong>. ลงทะเบียนควบคุม<br />

ตามลำดับชั้นความลับ และแยกเรื่องนำเรียน รอง ปล.กห.(๑),<br />

(๒), (๓), (๔) รวมทั้ง ปล.กห. และ รมว.กห. ตามสายงานของ<br />

ผู้บังคับบัญชา<br />

๒. รับ-ส่ง เอกสาร และบัตรเชิญงานพิธีต่างๆ นำเรียน<br />

นายทหารชั้นนายพล, ปษ.พิเศษ <strong>สป</strong>., ปษ.<strong>สป</strong>., ผทค.พิเศษ<br />

<strong>สป</strong>., ผทค.<strong>สป</strong>. และ ผชก.<strong>สป</strong>. อาทิ งานสโมสรสันนิบาต<br />

การปฏิบัติหน้าที่เวรราชองครักษ์ การเป็นผู้แทน รมว.กห.,<br />

ปล.กห. ไปในงานพิธีต่างๆ การทดสอบฝึกบินตามวงรอบ<br />

ประจำปี ตลอดจนงานการกุศลจัดหารายได้ของ นตท.<br />

รุ่นต่างๆ อาทิ กอล์ฟ, มวย, โบว์ลิ่ง และผ้าป่า รวมทั้งจัดส่ง<br />

ทางไปรษณีย์<br />

๓. สนับสนุนจัดทำข้อมูลสำหรับนายทหารชั้นนายพล<br />

ที่มิได้ดำรงตำแหน่งหลัก ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาอบรม<br />

หลักสูตรต่างๆ<br />

๔. สนับสนุนผู้บังคับบัญชาชั้นสูงและอดีตผู้บังคับบัญชา<br />

เกี่ยวกับการขอรับการสนับสนุนพลขับรถ นายทหารประจำ<br />

ตัวผู้บังคับบัญชา สิทธิกำลังพล และสิทธิประโยชน์ต่างๆ<br />

ใบรับรองภาษี และสมาชิกฌาปนกิจวัดโสมนัสราชวรวิหาร<br />

13


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

งานด้านกำลังพลและธุรการ<br />

๑. แจ้งประสานกำลังพลเพื่อเข้ารับการศึกษาหลักสูตร<br />

ต่างๆ, จัดทำรายงานการส่งเข้ารับการศึกษา, จัดทำเรื่อง<br />

สำคัญเวียนทราบ, จัดทำเรื่องการใช้สิทธิลาตามสิทธิกำลังพล<br />

และหนังสือรับรองภาษาไทย-อังกฤษ, จัดทำบัญชีจ่ายตรง<br />

เงินเดือนของกรมบัญชีกลาง, ประเมินผลการปฏิบัติงานของ<br />

<strong>สป</strong>., รวบรวม จัดทำ และรายงานสถิติทางการงบประมาณและ<br />

กำลังพล รวมทั้งการรายงานผลการกวดขันวินัยประจำเดือน,<br />

ประสานและจัดทำคำขอมีบัตรประจำตัวข้าราชการทุกระดับ<br />

ชั้นยศ และบัตรอื่นๆ, จัดทำรายงานการตรวจสุขภาพประจำปี<br />

และการทดสอบสมรรถภาพให้แก่กำลังพลของ <strong>สป</strong>. (ส่วน<br />

บังคับบัญชา) และ สน.ปล.กห.<br />

๒. ให้การสนับสนุนคณะทำงานภายใต้การกำกับดูแลของ<br />

รอง ปล.กห.<br />

๓. จัดเตรียมการสำหรับพระราชพิธีเข้าเฝ้าฯ ถึง ปล.กห.,<br />

รอง ปล.กห. และผู้บังคับบัญชาระดับสูง, ทำคำสั่งเดินทาง<br />

ไปราชการของ ปล.กห., รอง ปล.กห. และสำนักงานผู้บังคับ<br />

บัญชาชั้นสูง<br />

งานด้านการส่งกำลังบำรุง<br />

๑. ดูแลปรนนิบัติบำรุงเบื้องต้นและตรวจสอบสถานภาพ<br />

ของยานพาหนะที่ใช้งานใน <strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา) และ<br />

สน.ปล.กห. ดังนี้<br />

๑.๑ ใช้งานที่ สำนักงาน ปล.กห. จำนวน ๙ คัน<br />

๑.๒ ใช้งานที่สำนักงาน รอง ปล.กห.(๑) จำนวน ๕ คัน<br />

๑.๓ ใช้งานที่สำนักงาน รอง ปล.กห.(๒) จำนวน ๕ คัน<br />

๑.๔ ใช้งานที่สำนักงาน รอง ปล.กห.(๓) จำนวน ๕ คัน<br />

๑.๕ ใช้งานที่สำนักงาน รอง ปล.กห.(๔) จำนวน ๕ คัน<br />

๑.๖ ใช้งานที่ สน.ปล.กห. จำนวน ๑๔ คัน<br />

๒. จัดยานพาหนะส่วนกลางสนับสนุนนายทหาร<br />

ชั้นผู้ใหญ่ของ<strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา) และสำนักงานผู้บังคับบัญชา<br />

เพื่อเดินทางไปรับ-ส่งเสด็จ ร่วมงานรัฐพิธีราชพิธีพิธีการต่างๆ<br />

รวมทั้งงานสวัสดิการของกำลังพล สน.ปล.กห. ในการประชุม<br />

และส่งเอกสารสำคัญ<br />

๓. ประสานงานการปฏิบัติกับ สสน.<strong>สป</strong>.เพื่อนำ<br />

ยานพาหนะของ <strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา) และ สน.ปล.กห. ที่ชำรุด<br />

ตามสภาพการใช้งานเข้าซ่อมและปรนนิบัติบำรุง เพื่อให้<br />

ใช้งานได้ตามปกติ<br />

14


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๔. ขอรับการสนับสนุนห้องประชุมและอาหารว่างพร้อม<br />

เครื่องดื่มสำหรับการประชุมฯ ของผู้บังคับบัญชา นายทหาร<br />

ชั้นผู้ใหญ่ของ <strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา) และคณะทำงานภายใต้<br />

การกำกับดูแลของ รอง ปล.กห.<br />

๕. ดำเนินการเบิกจ่ายครุภัณฑ์วัสดุสำนักงาน วัสดุงานบ้าน<br />

งานครัว และวัสดุคอมพิวเตอร์สนับสนุนสำนักงานผู้บังคับ<br />

บัญชา, สน.ปล.กห. และคณะทำงานภายใต้การกำกับดูแล<br />

ของ รอง ปล.กห.<br />

๖. ดำเนินการวัสดุอาภรณ์ภัณฑ์ตามสิทธิกำลังพลให้แก่<br />

ผู้บังคับบัญชา, กำลังพลประจำ <strong>สป</strong>. และกำลังพล สน.ปล.กห.<br />

๗. จัดทำรายงานสถิติการใช้น้ำมันและตรวจสอบการใช้<br />

น้ำมันตามบัตรเครดิตน้ำมันของผู้บังคับบัญชาในสำนักงาน<br />

ของ <strong>สป</strong>.(ส่วนบังคับบัญชา) และ สน.ปล.กห.<br />

๘. ขอรับการสนับสนุนและกำกับดูแลการใช้โทรศัพท์<br />

เคลื่อนที่ของผู้บังคับบัญชา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของ <strong>สป</strong>.<br />

(ส่วนบังคับบัญชา) และ สน.ปล.กห.<br />

งานด้านกิจการพิเศษ<br />

๑. ดำเนินการสนับสนุนกีฬาภายใน <strong>สป</strong>. กีฬากองทัพไทย<br />

ชมรมกอล์ฟหลักเมือง กอล์ฟราชองครักษ์ และตำรวจ<br />

ราชสำนัก<br />

๒. การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของ<br />

สำนักงานผู้บังคับบัญชาและข้าราชการ สน.ปล.กห. โดยการใช้<br />

หนี้เงินยืม/ค่าใช้จ่ายในการจัดสัมมนา/ค่าใช้จ่ายในการศึกษา<br />

ดูงาน<br />

๓. ตรวจสอบรับรองสำเนาใบเสร็จสวัสดิการ และออก<br />

หนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล/<br />

ค่าการศึกษาบุตรข้าราชการ <strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา) และ<br />

สน.ปล.กห.<br />

๔. รวบรวมข้อมูลความต้องการเข้าพักอาศัยในอาคาร<br />

ที่พักอาศัย <strong>สป</strong>., ดำเนินการในเรื่องของการใช้สิทธิและการ<br />

เบิกค่าเช่าบ้าน และการจัดทำหนังสือผ่านสิทธิการขอกู้เงิน<br />

ธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัย<br />

๕. ดำเนินการและอำนวยความสะดวกในเรื่องการ<br />

ฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ. การเกษียณอายุ/ลาออกจาก<br />

ราชการ/ย้ายไปรับราชการนอก <strong>สป</strong>. และค่าจัดการศพของ<br />

สมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ.<br />

๖. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการเพื่อ<br />

เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานและการเดินทางไปราชการ<br />

ให้กับข้าราชการ <strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา)<br />

๗. ขอรับการสงเคราะห์จากกองทุนบรรเทาทุกข์<br />

ข้าราชการและครอบครัวที่ประสบเคราะห์กรรม และขอรับ<br />

เงินช่วยเหลือจากกองทุน <strong>สป</strong>. พ.ศ.๒๕๕๓<br />

๘. เสนอขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น<br />

สายสะพายและต่ำกว่าสายสะพายให้กับข้าราชการ <strong>สป</strong>.<br />

(ส่วนบังคับบัญชา) และข้าราชการ สน.ปล.กห.<br />

๙. ประชาสัมพันธ์งานที่กำลังพลควรทราบและประสาน<br />

การปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการตรวจสอบภายใน<br />

งานด้านคณะทำงานภายใต้การกำกับดูแลของ<br />

รอง ปล.กห. จำนวน ๙ คณะทำงาน<br />

๑. รับสมัครนายทหารชั้นนายพล เข้าเป็นคณะกรรมการฯ<br />

(เม.ย. และ ต.ค.) รวบรวมรายชื่อ ส่ง สม. เพื่อออกคำสั่ง<br />

๒. รวบรวมความต้องการงบประมาณ (วัสดุครุภัณฑ์-<br />

งบประมาณการเดินทางไปราชการ) เพื่อนำเรียนขออนุมัติ<br />

ปล.กห. (ผ่าน สงป.กห.)<br />

๓. จัดการแถลงแผนงาน ให้ ปล.กห. ทราบ (นำคณะ<br />

ทำงานเข้าพบ รอง ปล.กห.ตามสายงาน เพื่อขอรับนโยบาย)<br />

๔. การยืม-เบิกเงินเดินทางไปราชการ การให้การ<br />

สนับสนุนห้องประชุม<br />

๕. จัดการแถลงผลงาน ประจำปี ๒๕๖๐ (๖ เดือน และ<br />

๑๒ เดือน) ให้กับ ปล.กห. เพื่อกรุณาทราบ<br />

15


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม (สพร.กห.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่เสนอนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับ<br />

ดูแล พิจารณา เสนอแนะ และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ<br />

ของ กห. และ <strong>สป</strong>. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการ<br />

บ้านเมืองที่ดี และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้อำนวยการ<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์<br />

ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

การประเมินผลการปฏิบัติราชการ<br />

๑. การประเมินผลการปฏิบัติราชการของ นขต.กห. และ<br />

เหล่าทัพ<br />

๑.๑ ในปี ๒๕๖๐ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ปรับเปลี่ยน<br />

รูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ<br />

ทั่วประเทศ จากการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ<br />

เป็นการประเมินผลตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ<br />

ในการปฏิบัติราชการ ตามคำสั่ง หน.คสช.ที่ ๕/๒๕๕๙ ลง<br />

๑ ก.พ.๕๙ เรื่อง มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติ<br />

ราชการ ที่กำหนดให้มีการประเมินส่วนราชการและบุคลากร<br />

ภาครัฐ สรุปได้ดังนี้<br />

- การประเมินข้าราชการทหาร ได้รับการยกเว้น<br />

ตามมาตรการดังกล่าว แต่ยังคงให้ กห.จัดให้มีการประเมิน<br />

ภายใน กห.<br />

- การประเมินส่วนราชการของ กห. ไม่ได้กำหนด<br />

รายละเอียดไว้ในคำสั่งดังกล่าว ว่า กห. จะต้องเข้ารับการ<br />

ประเมินส่วนราชการจากสำนักงาน ก.พ.ร. หรือได้รับการ<br />

ยกเว้น ซึ่งประเด็นนี้สำนักงาน ก.พ.ร. ต้องนำเข้าพิจารณาใน<br />

ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)<br />

๑.๒ คณะข้าราชการที่กำกับดูแลงานด้านการ<br />

พัฒนาระบบราชการของ <strong>สป</strong>., บก.ทท. และเหล่าทัพ เข้าพบ<br />

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบ<br />

16


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ราชการ เพื่อรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนา<br />

ระบบราชการ เมื่อ ๒๗ ต.ค.๕๙ โดยมี ดร.วิษณุ เครืองาม<br />

รอง นรม. เป็นประธาน สรุปดังนี้ ส่วนราชการ กห. ไม่ต้อง<br />

เข้ารับการประเมินจากสำนักงาน ก.พ.ร. โดยให้ดำเนินการ<br />

ประเมินผลการปฏิบัติราชการกันเองภายใน กห. และส่งผล<br />

การประเมินฯ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อรวบรวมและรายงาน<br />

นายกรัฐมนตรี<br />

๑.๓ เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการภายใน<br />

กห. มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ สพร.กห. จึงได้ประชุมร่วมกับ<br />

ผู้แทน นขต.กห. และเหล่าทัพ พิจารณากำหนดแนวทางการ<br />

ปฏิบัติและมีการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑) จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการระหว่าง<br />

หน. นขต.กห. และ ผบ.เหล่าทัพ กับ รมว.กห. โดยให้นำ<br />

แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง<br />

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่สำนักงาน ก.พ.ร.กำหนด<br />

เป็นกรอบดำเนินการ โดยสามารถปรับและประยุกต์ให้มีความ<br />

เหมาะสม<br />

๒) รมว.กห. อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา<br />

ระบบราชการกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วย ๓ คณะ ดังนี้<br />

๒.๑) คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ<br />

กลาโหม (ก.พ.ร.กห.) มี รอง ปล.กห. (สายงานยุทธการ) เป็น<br />

ประธาน ผอ.สพร.กห. เป็นเลขานุการ<br />

๒.๒) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ<br />

ราชการกลาโหม (อพร.กห.) มี ผอ.สพร.กห. เป็นประธาน<br />

ผอ.กนผ.สพร.กห. เป็นเลขานุการ<br />

๒.๓) คณะอนุกรรมการติดตามประเมินผล<br />

การปฏิบัติราชการกลาโหม (อตผ.กห.) มี ผอ.สพร.กห. เป็น<br />

ประธาน ผอ.กตพ.สพร.กห. เป็นเลขานุการ<br />

กระบวนการสุดท้ายของการจัดทำคำรับรองการ<br />

ปฏิบัติราชการ คือ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบ<br />

ราชการกลาโหม (ก.พ.ร.กห.) ซึ่งมี รอง ปล.กห. เป็นประธาน<br />

เพื่อพิจารณาตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย น้ำหนัก และเกณฑ์การ<br />

ให้คะแนน ประกอบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ<br />

หลังจากนั้น นขต.กห. และเหล่าทัพ จะดำเนินการจัดทำคำรับรอง<br />

การปฏิบัติราชการของหน่วย ซึ่ง รมว.กห. ได้กรุณาลงนาม<br />

รับคำรับรองการปฏิบัติราชการ เมื่อ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๙<br />

ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของแผนงาน คือ ภายในไตรมาสแรก<br />

๑.๔ การตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ<br />

ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ<br />

หลังจากที่มีคำรับรองการปฏิบัติราชการของ นขต.กห.<br />

และเหล่าทัพแล้ว ให้รายงานผลการประเมิน รอบ ๕ เดือน,<br />

๑๐ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน สำหรับ นขต.กห. และเหล่าทัพ<br />

ได้มีการดำเนินการตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ<br />

ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ โดยคณะอนุกรรมการ<br />

ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการกลาโหม (อตผ.กห.) ซึ่ง<br />

นำผลการตรวจติดตามประเมินผลฯ สรุปนำเรียน รมว.กห.<br />

และส่งผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อนำเรียน นรม.<br />

ต่อไป<br />

17


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๑.๕ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับ<br />

<strong>สป</strong>. มีลักษณะรูปแบบที่คล้ายคลึงกับการประเมินผลการ<br />

ปฏิบัติราชการของ นขต.กห.และเหล่าทัพ โดยลดระดับเป็น<br />

ระดับ นขต.<strong>สป</strong>. โดย สพร.กห. ได้ดำเนินการประชุม นขต.<strong>สป</strong>.<br />

เพื่อพิจารณากำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย น้ำหนัก และเกณฑ์<br />

การให้คะแนน สำหรับใช้ประกอบการจัดทำคำรับรองการ<br />

ปฏิบัติราชการระหว่าง นขต.<strong>สป</strong>. กับ ปล.กห.<br />

การตรวจรับรองคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ<br />

ระดับพื้นฐาน ฉบับที่ ๒ (PMQA-FL2)<br />

ปล.กห. ได้กรุณาอนุมัติให้ <strong>สป</strong>. รับการตรวจรับรอง<br />

คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน ฉบับที่ ๒<br />

(PMQA-FL2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งในการ<br />

ดำเนินการเพื่อรับการตรวจรับรองฯ ดำเนินการภายใต้คณะ<br />

อนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของ<br />

<strong>สป</strong>. ที่ประกอบด้วยคณะทำงาน จำนวน ๗ คณะทำงาน โดย<br />

มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ สนผ.กห., สม., สงป.กห.,<br />

ทสอ.กห. และ สพร.กห.<br />

การจัดการความรู้ “Knowledge Management<br />

หรือ KM”<br />

ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ และพัฒนามาโดยตลอด<br />

ซึ่งแต่ละ นขต.<strong>สป</strong>. จะจัดทำองค์ความรู้อย่างน้อยหน่วยละ ๑<br />

เรื่อง โดยเริ่มจากการประชุมคณะอนุกรรมการการจัดการ<br />

ความรู้ของ <strong>สป</strong>.ประจำปี ซึ่งมี รอง ปล.กห. เป็นประธาน เพื่อ<br />

พิจารณาแผนการจัดการความรู้ของ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

หลังจากประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ละ<br />

หน่วยจะไปดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ของตนเอง<br />

และในไตรมาสที่ ๔ จะมีการจัดนิทรรศการเผยแพร่องค์<br />

ความรู้จากผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย<br />

การจัดทำแผนงาน/โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ<br />

ทำงาน<br />

๔.๑ ตามสั่งการของ นรม. ในที่ประชุม ครม. เมื่อ ๑<br />

ส.ค.๖๐ ให้ทุกส่วนราชการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการ<br />

ทำงานภายในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างน้อย<br />

เดือนละ ๑ งาน หรือกิจกรรม และให้สำนักงาน ก.พ.ร.<br />

กำหนดแนวทางรายงานความคืบหน้าและตัวชี้วัดการประเมิน<br />

ผลการดำเนินการ เพื่อให้ส่วนราชการรายงานผลทุกเดือน<br />

สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้กำหนดให้เป็นตัวชี้วัดการประเมิน<br />

ส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติ<br />

ราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ในหัวข้อการพัฒนา<br />

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งติดตามตัวชี้วัด<br />

เพื่อการปฏิรูปหัวหน้าหน่วยราชการ และหน่วยราชการเชิง<br />

ผลสัมฤทธิ์ของทุกส่วนราชการ ได้แก่ การลดกระดาษ การใช้<br />

ระบบสารสนเทศ การลดพลังงาน การประหยัดงบประมาณ<br />

การปราบปรามการทุจริต และการบูรณาการผลงาน โดยให้<br />

เป็นคะแนนพิเศษ เพื่อนำมาพิจารณาในการแต่งตั้ง จ่ายค่า<br />

ตอบแทน หรือปรับย้าย<br />

๔.๒ สำนักงาน ก.พ.ร. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร<br />

๑๒๐๑/๓๐๙๔ ลง ๒๙ ก.ย.๖๐ และหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร<br />

๑๒๐๑/๓๐๙๔ ลง ๒๗ ต.ค.๖๐ แจ้งรายละเอียดแนวทางการ<br />

ดำเนินงานและการประเมินตัวชี้วัดการพัฒนาประสิทธิภาพ<br />

ในการปฏิบัติงาน ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการ<br />

ปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ สรุปได้ดังนี้<br />

18


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๔.๒.๑ จัดทำแผนการดำเนินงานการพัฒนา<br />

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการส่งสำนักงาน ก.พ.ร. ภายใน<br />

๑๕ พ.ย.๖๐ ผ่านระบบ Electronic Self Assessment<br />

Report : e-SAR<br />

๔.๒.๒ ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพ<br />

ในการปฏิบัติราชการตามสั่งการ นรม. จำนวน ๖ กิจกรรม<br />

รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพ<br />

(บังคับ) โดยมีค่าเป้าหมายและระยะเวลาการดำเนินการตาม<br />

ที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนด และให้พิจารณาคัดเลือกดำเนิน<br />

การกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดย<br />

สามารถกำหนดค่าเป้าหมายและระยะเวลาการดำเนินการ<br />

ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.ได้กำหนด<br />

รายละเอียดให้ส่วนราชการดำเนินการ ดังนี้ี้<br />

ลำดับ กิจกรรม เริ่มดำเนินการ ค่าเป้าหมาย การรายงานผล<br />

๑ การลดพลังงาน<br />

ลดลงร้อยละ ๑๐ เทียบกับ<br />

ค่ามาตรฐาน (ทุกเดือน)<br />

๒ การลดกระดาษ งบประมาณจัดซื้อกระดาษลดลง<br />

ต.ค.๖๐<br />

รอบที่ ๑ ร้อยละ ๕<br />

รอบที่ ๒ ร้อยละ ๑๐ (นับสะสม)<br />

๓ การประหยัดงบประมาณ งบประมาณที่สามารถประหยัด<br />

ได้<br />

รอบที่ ๑ ร้อยละ ๒<br />

รอบที่ ๒ ร้อยละ ๕ (นับสะสม)<br />

๔ การใช้ระบบสารสนเทศ<br />

- ส่วนราชการกำหนดผลผลิต<br />

๕ การป้องกันและแก้ไข<br />

ตามข้อมูลพื้นฐานของส่วน<br />

ปัญหาการทุจริต ไตรมาสที่ ๒<br />

ราชการ<br />

๖ การบูรณาการความร่วมมือ - สามารถเลือกเรื่องใดดำเนิน<br />

ระหว่างหน่วยงาน<br />

การก่อนหลังได้<br />

รายงานผลการใช้พลังงาน<br />

ทุกเดือน<br />

รายงานงบประมาณ<br />

การซื้อกระดาษที่ลดลง (เฉพาะ<br />

เดือนที่ซื้อ)<br />

รายงานการใช้งบประมาณที่<br />

ลดลง (เฉพาะเดือนที่ประหยัด)<br />

รายงานผลความก้าวหน้า<br />

ในการดำเนินกิจกรรมทุกเดือน<br />

ตั้งแต่เดือนที่เริ่มต้น จนกว่าจะ<br />

สิ้นสุดแผนการดำเนินงาน<br />

๗<br />

๘<br />

ส่วนราชการพิจารณาเรื่อง<br />

ที่จะดำเนินการ เดือนละ<br />

เม.ย.๖๑<br />

พ.ค.๖๑<br />

ส่วนราชการกำหนดผลผลิตตาม<br />

ข้อมูลพื้นฐานของส่วนราชการ<br />

๙ ๑ เรื่อง มิ.ย.๖๑<br />

๑๐ ก.ค.๖๑<br />

๑๑ ส.ค.๖๑<br />

๑๒ ก.ย.๖๑<br />

รายงานผลความก้าวหน้าในการ<br />

ดำเนินกิจกรรมทุกเดือน ตั้งแต่<br />

เดือนที่เริ่มต้น จนกว่าจะสิ้นสุด<br />

แผนการดำเนินงาน<br />

๔.๓ ปล.กห. ได้กรุณาสั่งการในการประชุม หน.นขต.<br />

<strong>สป</strong>. ครั้งที่ ๘/๖๐ ลง ๙ ส.ค.๖๐ ให้ นขต.<strong>สป</strong>. จัดทำแผนงาน/<br />

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หน่วยละไม่น้อยกว่า<br />

๓ โครงการ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการปฏิบัติงานที่เกิด<br />

ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การให้บริการที่ดี ลดความ<br />

ซ้ำซ้อนการปฏิบัติงาน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ลดปริมาณ<br />

การใช้กระดาษ เป็นต้น ซึ่ง สพร.กห. ได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้<br />

๔.๓.๑ รวบรวมแผนงาน/โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ<br />

การปฏิบัติราชการที่นขต.<strong>สป</strong>. เสนอ รวมจำนวน ๖๗ กิจกรรม<br />

และได้รับความเห็นชอบจาก ปล.กห. แล้วในขั้นต้น จำนวน<br />

๑๘ กิจกรรม<br />

19<br />

๔.๓.๒ ห้วงระหว่าง ก.ย. - ต.ค.๖๐ จัดประชุม<br />

ร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบแผนงานทั้ง ๑๘ กิจกรรม<br />

เพื่อพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมและสามารถเพิ่ม<br />

ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของ <strong>สป</strong>.ในภาพรวม ตลอดจน<br />

สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ.ร.<br />

กำหนด จำนวน ๑๒ กิจกรรม<br />

๔.๓.๓ เมื่อ ๓๑ ต.ค.๖๐ ได้จัดประชุมให้ความรู้<br />

ความเข้าใจแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบแผนงาน ทั้ง ๑๒<br />

กิจกรรม เพื่อจัดทำรายละเอียดแผนการดำเนินงานการพัฒนา<br />

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของ <strong>สป</strong>. เพื่อนำเรียนขอ<br />

อนุมัติ ปล.กห. ต่อไป


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สลก.<strong>สป</strong>.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ดำเนินการในเรื่องธุรการ การเลขานุการ การรับรอง<br />

และการบริการของปลัดกระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ<br />

ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่ปลัดกระทรวงกลาโหมมอบหมาย วางแผน อำนวยการ<br />

ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการในเรื่องการประชาสัมพันธ์ รวมทั้ง<br />

การปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย มีเลขานุการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลตรี ยุทธนินทร์ บุนนาค<br />

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

งานด้านเลขานุการ<br />

ดำเนินการวางแผน อำนวยการ ประสานงาน และกำกับ<br />

ดูแลงานด้านการเลขานุการให้กับปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้ที่ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่<br />

ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งประเภทงานได้ดังนี้<br />

๑. งานราชพิธี รัฐพิธี และงานพิธีการ ดำเนินการด้าน<br />

เอกสารกำกับดูแล ประสานการปฏิบัติงานด้านพิธีการให้<br />

ผู้บังคับบัญชา และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วย<br />

20


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑.๑ การเข้าเฝ้าฯ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในโอกาส<br />

สำคัญต่างๆ อาทิ การเข้าเฝ้าฯ เนื่องในโอกาสวันราชาภิเษก<br />

สมรส การทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการออกร้านงาน<br />

กาชาด เป็นต้น<br />

๑.๒ การจัดงานพิธีในนามของสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหมในวันสำคัญต่างๆ ได้แก่ พิธีรดน้ำขอพร<br />

ผู้บังคับบัญชาเนื่องในวันสงกรานต์ พิธีอวยพรเนื่องในวันขึ้น<br />

ปีใหม่ พิธีอวยพรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ตลอดจนการ<br />

จัดงานพิธี เพื่อแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสต่างๆ<br />

๑.๓ การจัดพิธีมอบทุนการศึกษาพร้อมอุปกรณ์<br />

การเรียน เพื่อสนับสนุนการศึกษาของนักเรียน ในนามของ <strong>สป</strong>.<br />

๒. งานการรับรองและการบริการ ดำเนินการรับรอง<br />

อำนวยความสะดวกให้ผู้บังคับบัญชา ในด้านต่างๆ ดังนี้<br />

๒.๑ การเข้าร่วมงานราชพิธี รัฐพิธี งานพิธีการ กรณี<br />

ที่หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เชิญเข้าร่วมงาน<br />

๒.๒ การจัดส่วนล่วงหน้าเพื่อประสานงานการประชุม<br />

หรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของผู้บังคับบัญชา<br />

๒.๓ การอำนวยความสะดวกในภารกิจการเดินทาง<br />

ไปราชการภายในประเทศ<br />

๒.๔ การเตรียมข้อมูลและให้การรับรอง กรณีที่มีคณะ<br />

บุคคลขอเข้าพบปลัดกระทรวงกลาโหมในโอกาสต่างๆ<br />

๒.๕ การจัดเตรียมแจกันดอกไม้กระเช้าของขวัญ รวมถึง<br />

พวงหรีดเคารพศพในนามปลัดกระทรวงกลาโหม และรองปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย<br />

๒.๖ จัดทำหนังสืออวยพรวันคล้ายวันเกิดในบางกรณี<br />

ที่ไม่มีการเข้าอวยพร<br />

๒.๗ ประสานจัดบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร<br />

ชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา<br />

๒.๘ จัดลำดับงานเลี้ยงเกษียณอายุราชการให้กับ<br />

ข้าราชการครบเกษียณอายุราชการ ในสังกัด <strong>สป</strong>.<br />

๒.๙ ประสานการปฏิบัติของปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และรองปลัดกระทรวงกลาโหม ในการอำลาชีวิตราชการ<br />

๒.๑๐ จัดทำวาระงานของปลัดกระทรวงกลาโหม และ<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อนำเรียนผู้บังคับบัญชาล่วงหน้า<br />

เป็นรายสัปดาห์<br />

๓. งานการประชุม ประสานการปฏิบัติกับ นขต.<strong>สป</strong>. กรณี<br />

ที่ปลัดกระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับเชิญ<br />

เข้าร่วมประชุม ซึ่งแบ่งเป็น ๓ กรณี คือ<br />

๓.๑ การประชุมในฐานะกรรมการ อนุกรรมการหรือ<br />

ที่ปรึกษาในคณะกรรมการต่างๆ ของหน่วยงานภายนอก กห.<br />

๓.๒ การประชุม การสัมมนา เพื่อให้ข้อคิดเห็นหรือ<br />

ข้อเสนอแนะ หรือร่วมชี้แจงในเรื่องต่างๆ เฉพาะกรณี<br />

๓.๓ การประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งกระทรวงต่างๆ และหมุนเวียนกันเป็น<br />

เจ้าภาพในการจัดประชุม โดยประสานการปฏิบัติร่วมกับ<br />

สนผ.กห.<br />

21


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๔. งานให้การสนับสนุนหรือความอนุเคราะห์ ดำเนิน<br />

การด้านเอกสารหรือประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณ<br />

เพื่อให้ความร่วมมือกรณีที่หน่วยงานภาครัฐขอรับการ<br />

สนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในด้าน<br />

กอล์ฟการกุศล, โบว์ลิ่งการกุศล, มวยการกุศล พร้อมทั้งร่วม<br />

กับเหล่าทัพ ในการถวายผ้าพระกฐินประจำทุกปี และการ<br />

ประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆ ให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหมทราบ เป็นต้น<br />

๕. งานด้านการตรวจและวิเคราะห์ข่าว ดำเนินการตรวจ<br />

วิเคราะห์ข่าวสารจากหน้าหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์<br />

ในด้านการทหาร การเมือง สังคมจิตวิทยา และสถานการณ์<br />

ต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับ กห. พร้อมทั้งด้านความมั่นคง<br />

ทางด้านต่างๆ หรือเป็นข่าวที่น่าสนใจเพื่อนำเสนอต่อผู้บังคับ<br />

บัญชาชั้นสูง และ หน.นขต.<strong>สป</strong>. เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์<br />

ประเด็นสำคัญในด้านการข่าวเป็นประจำทุกวัน<br />

๖. การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดำเนินการด้านเอกสาร<br />

และพิจารณาสรุปข้อร้องเรียนต่างๆ ที่บุคคลหรือหน่วยงาน<br />

ร้องเรียนมายัง <strong>สป</strong>. และนำเรียนผู้บังคับบัญชา พร้อมประสาน<br />

ให้หน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อข้อร้องเรียน หรือแก้ไขหรือ<br />

ชี้แจงข้อเท็จจริงจนได้ข้อยุติ<br />

๗. งานสำรวจและสถิติ ดำเนินการเกี่ยวกับการสำรวจ<br />

ทัศนคติของข้าราชการและประชาชนทั่วไปที่มีผลต่อการ<br />

ปฏิบัติงานของ กห. และงานด้านเลขานุการของ <strong>สป</strong>. เพื่อ<br />

รวบรวมเป็นสถิติและข้อมูลประกอบการพิจารณาและกำหนด<br />

นโยบาย รวมถึงการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของผู้บังคับบัญชา<br />

๘. งานด้านธุรการ ดำเนินการด้านเอกสาร การจัดทำคำสั่ง<br />

เดินทางไปราชการภายในประเทศ การจัดทำหนังสือแสดง<br />

ความยินดี หรือแสดงความขอบคุณในวาระสำคัญต่างๆ ให้กับ<br />

ผู้บังคับบัญชา ตลอดจนการจัดทำคำกราบบังคมทูล คำกล่าว<br />

คำขวัญ โอวาท คำปราศรัย คำนิยม และสารอวยพร<br />

๙. การสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมภริยาข้าราชการ <strong>สป</strong>.<br />

อำนวยความสะดวกให้สมาคมภริยาฯ ในด้านต่างๆ ในการ<br />

ประสานงานระหว่างสมาคมภริยาฯ กับหน่วยงาน ในสังกัด<br />

<strong>สป</strong>. ดำเนินการจัดทำวารสารสมาคมภริยาฯ พร้อมแจกจ่าย<br />

ให้กับหน่วยใน <strong>สป</strong>.<br />

งานด้านการประชาสัมพันธ์<br />

ดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ของ <strong>สป</strong>. และ กห.<br />

ในภาพรวม รวมทั้งผู้บังคับบัญชาของ <strong>สป</strong>. และผู้ดำรงตำแหน่ง<br />

อื่นตามที่ ปล.กห. มอบหมาย ตลอดจนการประสานงานด้าน<br />

การประชาสัมพันธ์กับส่วนราชการ หน่วยงานและบุคคลที่<br />

เกี่ยวข้อง โดยแยกงานออกเป็น<br />

- การประชาสัมพันธ์ให้กับ <strong>สป</strong>. และ กห. ในภาพรวม<br />

- การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของ กห.<br />

- การดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

๑. การประชาสัมพันธ์ให้กับ <strong>สป</strong>. และ กห. ในภาพรวม<br />

ได้แก่<br />

๑.๑ การจัดทำนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์<br />

ของ กห. เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์<br />

ประจำปีของ กห., <strong>สป</strong>., บก.ทท. และเหล่าทัพ โดย สลก.<strong>สป</strong>.<br />

22


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑.๒.๓ สื่อสิ่งพิมพ์ได้แก่วารสารหลักเมือง ซึ่งเป็น<br />

วารสารรายเดือนของ <strong>สป</strong>. จัดพิมพ์เผยแพร่ให้ส่วนราชการ<br />

ในสังกัด กห. ส่วนราชการพลเรือน รวมทั้งภาคเอกชน จัดทำ<br />

หนังสือผลการดำเนินงานของ <strong>สป</strong>. หนังสือผลการดำเนินงาน<br />

ประจำปีของ กห.<br />

ทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประชาสัมพันธ์<br />

กระทรวงกลาโหม (กปชส.กห.)<br />

๑.๒ การดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้กับ กห. ผู้บังคับ<br />

บัญชาชั้นสูง และหน่วยขึ้นตรง <strong>สป</strong>. เกี่ยวกับกิจกรรมของ<br />

กห. และ <strong>สป</strong>. อาทิ การประชุมสภากลาโหม วันที่ระลึกคล้าย<br />

วันสถาปนา กห. การพบปะระหว่างผู้นำทางทหารของมิตร<br />

ประเทศกับ รมว.กห. หรือ ปล.กห. การประชุมที่เกี่ยวข้องกับ<br />

กลาโหมอาเซียน โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อต่างๆ ได้แก่<br />

๑.๒.๑ สื่อโทรทัศน์ โดยการประสานในการทำ<br />

ข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจและกิจกรรม<br />

ต่างๆ เผยแพร่สู่ประชาชนทางสถานีวิทยุโทรทัศน์<br />

การผลิตแผ่นพับ โปสเตอร์สารของ รมว.กห. และ ปล.กห.<br />

ในโอกาสต่างๆ การจัดทำสมุดรายนามโทรศัพท์ของ <strong>สป</strong>. และ<br />

เอกสารประชาสัมพันธ์ต่างๆ รวมถึงการผลิตเอกสารข่าว และ<br />

ประสานส่งภาพข่าวประชาสัมพันธ์ภารกิจ กิจกรรมของ กห.<br />

และ <strong>สป</strong>. ให้กับสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์<br />

๑.๒.๒ สื่อวิทยุ สถานีวิทยุคลื่นหลัก (ในกำกับ<br />

ดูแลของ <strong>สป</strong>.) ระบบคลื่น FM ๙๐.๕ MHz. และระบบคลื่น<br />

AM ๗๙๒ KHz. ว.พท. โดยทำหน้าที่ผลิตบทความนำเสนอ<br />

เป็นประจำทุกวันราชการและร่วมผลิตรายการ “สาระน่ารู้<br />

กับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม” และได้ส่งบทความ<br />

ดังกล่าว ให้กับสถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายในพื้นที่ทาง<br />

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำทุกสัปดาห์ รวมทั้งข่าวสาร<br />

ต่างๆ ของ กห. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใน<br />

พื้นที่ของแต่ละภูมิภาคได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่าง<br />

ต่อเนื่อง<br />

๑.๒.๔ สื่อสารสนเทศ ดำเนินการประชาสัมพันธ์<br />

ภาพข่าวการปฏิบัติภารกิจและกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการ<br />

นำเสนอผลงานทางสื่อสารสนเทศผ่านทางเว็บไซต์ และสื่อ<br />

สารสนเทศในกำกับดูแล ประกอบด้วย เว็บไซต์lakmuangonline.com,<br />

thewhiteradio.mod.go.th, จิตสำนึกรักเมือง<br />

ไทย.com รวมถึง Facebook ของโฆษก กห., หลักเมือง<br />

ออนไลน์, จิตสำนึกรักเมืองไทย, เครือข่ายสีขาว, พิพิธภัณฑ์<br />

ปืนใหญ่โบราณ และ G–news<br />

23


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๑.๒.๕ สื่อวีดิทัศน์ ดำเนินการจัดทำวีดิทัศน์เพื่อ<br />

นำเสนอในโอกาสสำคัญต่างๆ<br />

๑.๒.๖ การแถลงข่าวและชี้แจงข้อเท็จจริง เตรียม<br />

ข้อมูลและจัดการแถลงข่าวภารกิจและกิจกรรมของ กห. ใน<br />

สถานการณ์ปกติ และการชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ประชาชน<br />

ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง อันจะส่งผล<br />

กระทบต่อการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงหรือภาพลักษณะ<br />

ของ กห. และ <strong>สป</strong>.<br />

๒.๑.๒ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติโดยการจัดทำสื่อ<br />

ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

อาทิ <strong>สป</strong>อตวิทยุทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุ<br />

กระจายเสียงซึ่งเป็นเครือข่ายในพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศ<br />

หนังสือเฉลิมพระเกียรติฯ โปสเตอร์เฉลิมพระเกียรติฯ และ<br />

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ตามความเหมาะสม<br />

๒. การดำเนินการประชาสัมพันธ์ตามยุทธศาสตร์ของ กห.<br />

สลก.<strong>สป</strong>. ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยการ<br />

ริเริ่มดำเนินการเพื่อสนับสนุนงานประเด็นยุทธศาสตร์ของ <strong>สป</strong>.<br />

ตามแผนปฏิบัติราชการ ดังนี้<br />

๒.๑ ประเด็นยุทธศาสตร์การพิทักษ์รักษาและเทิดทูน<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์<br />

๒.๑.๑ กิจกรรมการเทิดทูนสถาบันพระมหา<br />

กษัตริย์ โดยการจัดทำสื่อเพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

อาทิ ป้ายประชาสัมพันธ์ (Cut-Out) ป้ายประชาสัมพันธ์<br />

(Banner) เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบัน<br />

พระมหากษัตริย์ ในโอกาสสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อ<br />

สร้างจิตสำนึกและเผยแพร่โครงการพระราชดำริและพระราช<br />

กรณียกิจ ผ่านช่องทางและสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง<br />

๒.๑.๓ กิจกรรมการป้องกัน การเทิดทูน รวมทั้ง<br />

ตอบโต้สร้างความเข้าใจมิให้มีการล่วงละเมิดสถาบันพระมหา<br />

กษัตริย์ โดยการจัดโครงการ “สถานีวิทยุสีขาว เทิดไท้องค์<br />

ราชา” เพื่อสร้างและขับเคลื่อนเครือข่ายสถานีวิทยุกระจาย<br />

เสียงในพื้นที่ ในการเป็นเครือข่ายร่วมป้องกันและนำความ<br />

เข้าใจมิให้มีการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบด้วย<br />

กิจกรรมดังนี้<br />

24


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒.๑.๓.๑ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ<br />

ความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงและร่วมมือในการสร้าง<br />

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ร่วมกับ<br />

สถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายในพื้นที่นักวิชาการ วิทยากร<br />

ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงในเครือข่าย<br />

ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องดังกล่าว<br />

๒.๑.๓.๒ การผลิตเผยแพร่สารคดีและสื่อ<br />

ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ ที่มีเนื้อหาให้ความรู้ความเข้าใจที่<br />

ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และความมั่นคง เพื่อ<br />

มอบให้สถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายในพื้นที่น ำไปเผยแพร่<br />

ออกอากาศ<br />

๒.๑.๓.๓ การจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์<br />

โดยอาศัยความร่วมมือของสถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่าย<br />

ในพื้นที่เป็นกลไกหลัก ริเริ่มกิจกรรมกับชุมชนในพื้นที่ออก<br />

อากาศ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการดำเนิน<br />

กิจกรรมสาธารณประโยชน์ตามแนวพระราชดำริปรัชญา<br />

เศรษฐกิจพอเพียง<br />

๒.๒ ประเด็นยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ โดยการ<br />

จัดทำแผนการบริหารงานด้านการประชาสัมพันธ์ เป็นการ<br />

ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อเผยแพร่ทำความเข้าใจ<br />

ในนโยบาย ทั้งในส่วนที่สนองนโยบายของรัฐบาล คสช. และ<br />

ในส่วนความมั่นคง ซึ่งเป็นภารกิจหลักของ <strong>สป</strong>. และ กห.<br />

ในภาพรวม ให้ประชาชนได้รับทราบ โดยดำเนินการจัดทำ<br />

สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบและช่องทางการเผยแพร่ โดย<br />

พิจารณาความเหมาะสมของช่องทางและกลุ่มเป้าหมาย<br />

ประกอบด้วย สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์<br />

และสื่อสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังมีการประเมินผลการ<br />

ประชาสัมพันธ์ โดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูล นำผลมา<br />

ศึกษาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนางานด้านการประชาสัมพันธ์อย่าง<br />

ต่อเนื่อง<br />

๒.๓ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและ<br />

ช่วยเหลือประชาชน<br />

๒.๓.๑ ผลผลิตการสร้างความปรองดอง<br />

สมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย จากการ<br />

ดำเนินโครงการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันประเทศและ<br />

รักษาความมั่นคงของ <strong>สป</strong>. โดยการบูรณาการพลังอำนาจ<br />

แห่งชาติด้านการทหาร (<strong>สป</strong>.) และด้านสังคม (สื่อสารมวลชน,<br />

เยาวชน และภาคประชาสังคม) ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่สำคัญ<br />

ของชาติด้วยการถ่ายทอดแนวความคิดในการสร้างความ<br />

ปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติผ่านกิจกรรมและโครงการ<br />

ต่างๆ ของ <strong>สป</strong>.อย่างเหมาะสม ดังนี้<br />

๒.๓.๑.๑ กิจกรรมสื่อมวลชนเพื่อความมั่นคง<br />

(วิทยุกระจายเสียงเครือข่ายในพื้นที่) ซึ่งเป็นสื่อที่มีอิทธิพล<br />

ต่อประชาชนในพื้นที่และมีความใกล้ชิดกับประชาชน โดยได้<br />

ดำเนินการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง <strong>สป</strong>. ภายใต้<br />

แนวคิดสื่อสารมวลชนเพื่อความมั่นคงของชาติ ผลการดำเนิน<br />

การที่ผ่านมาได้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย<br />

- กิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร โดยดำเนินการ<br />

จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้าง<br />

ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสื่อมวลชนกับ <strong>สป</strong>. ในระดับผู้บริหาร<br />

และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งเป็นการสร้างความเข้าใจให้<br />

สื่อมวลชนในภารกิจของ <strong>สป</strong>. และ กห. ในงานความมั่นคงใน<br />

มิติต่างๆ อาทิ งานด้านพลังงานทหาร งานด้านอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ รวมถึงพันธกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นส่วนหนึ่ง<br />

ในการเสริมสร้างให้สื่อมวลชนได้ตระหนักถึงบทบาทและ<br />

25


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หน้าที่โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงให้การ<br />

สนับสนุนงานด้านความมั่นคงในบริบทต่างๆ<br />

- กิจกรรมการอบรมสัมมนาการสร้างเครือข่าย<br />

ประชาสัมพันธ์งานความมั่นคง ตามแผนงานโครงสร้าง<br />

จิตสำนึกในการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคงของ<br />

<strong>สป</strong>. ประจำปี ๒๕๖๐ โดยดำเนินการจัดกิจกรรมการอบรม<br />

สัมมนาการสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์งานความมั่นคง<br />

มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลจากการฝึกอบรมหลักสูตร “การ<br />

พัฒนาสัมพันธ์สื่อสารมวลชนเพื่อความมั่นคงของชาติ” ของ<br />

<strong>สป</strong>. ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อการ<br />

เสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนประเภท<br />

วิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก<br />

เฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ให้มีความแน่นแฟ้น อันจะนำมาสู่<br />

เป้าหมายการมีส่วนร่วมของภาคสังคม ในการถ่ายทอดแนว<br />

ความคิดเกี่ยวกับการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของ<br />

คนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตยและขยายผลสร้างจิตสำนึก<br />

ที่ดีในการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคงของชาติและ<br />

เป็นเครือข่ายการประชาสัมพันธ์งานด้านความมั่นคงต่อไป<br />

๒.๓.๑.๒ โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย มี<br />

วัตถุประสงค์สำคัญในการให้เยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก<br />

ได้เกิดความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อ<br />

ตนเองและผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ โดยดำเนิน<br />

การผ่านโครงการจิตสำนึกรักเมืองไทยของ <strong>สป</strong>. ซึ่งดำเนินการ<br />

อย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ ๙ (เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒)<br />

เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีเวทีแสดงความสามารถและความคิด<br />

สร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมการประกวดตามหัวข้อที่กำหนด ซึ่ง<br />

ในปีที่ ๙ ได้เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีเวทีแสดงความคิดเห็น<br />

ผ่านกิจกรรมการประกวดโครงงานในการพัฒนาภูมิปัญญา<br />

ท้องถิ่น ร่วมสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อ<br />

เป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไป<br />

รวมทั้งเป็นการสร้างพื้นฐานการทำความดีตามรอยเบื้อง<br />

พระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล<br />

อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ภายใต้หัวข้อ “เยาวชนนักพัฒนา<br />

The Young Developers” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ<br />

นรม./หน.คสช. ในการสร้างความสามัคคีปรองดองเป็น<br />

หัวข้อหลัก เพื่อให้เยาวชนได้นำเสนอแนวความคิด ถ่ายทอด<br />

จินตนาการด้วยศรัทธา และพลังของความรัก ความสมัคร<br />

สมานสามัคคี<br />

26


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๓. การดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

การบรรยายสรุปข่าวสารประจำวันที่เกี่ยวข้องกับ กห.<br />

และข่าวที่น่าสนใจจากสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ รวมถึงการ<br />

รวบรวมจัดทำวีดิทัศน์สรุปภาพกิจกรรมของ กห. (ในส่วนของ<br />

รมว.กห. และ นขต.<strong>สป</strong>.) เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูง<br />

เป็นประจำทุกสัปดาห์<br />

๒.๓.๒ การแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมการ<br />

ป้องกันยาเสพติด สลก.<strong>สป</strong>. ในฐานะคณะอนุกรรมการด้าน<br />

รณรงค์ป้องกันและประชาสัมพันธ์ ศูนย์อำนวยการป้องกัน<br />

และปราบปรามยาเสพติดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

(ศอ.ปส.<strong>สป</strong>.) มีหน้าที่ในการจัดทำและรวบรวมแผนงาน<br />

งบประมาณและดำเนินงานในด้านการรณรงค์ป้องกันและ<br />

ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับยาเสพติดของ <strong>สป</strong>. ซึ่งได้มีการพัฒนา<br />

ดำเนินงานในระดับยุทธวิธีในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดย<br />

ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา<br />

ยาเสพติดในรูปแบบและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งมีการจัดการอบรม<br />

สัมมนากำลังพลในสังกัด <strong>สป</strong>. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มา<br />

ซึ่งแนวคิดมาตรการและแผนปฏิบัติการในการรณรงค์ป้องกัน<br />

สร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็น<br />

รูปธรรม โดยการจัดกิจกรรม “ครอบครัวอบอุ่น ต้านภัย<br />

ยาเสพติด” ให้กับข้าราชการ <strong>สป</strong>. และครอบครัวเป็นประจำ<br />

ทุกปี<br />

27


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม (สนผ.กห.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับนโยบาย<br />

และยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร<br />

ของกระทรวงกลาโหม ทั้งระบบการควบคุมบังคับบัญชาและระบบการบริหารราชการทั่วไป นโยบายและแผน<br />

ด้านการทหาร การข่าว การส่งกำลังบำรุงการระดมสรรพกำลัง การต่างประเทศ การพัฒนาประเทศและการ<br />

ช่วยเหลือประชาชนและมีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติของส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมให้เป็นไป<br />

ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขอัตราของส่วนราชการ<br />

ในกระทรวงกลาโหม การฝึก การศึกษาอบรมในต่างประเทศ การวิเทศสัมพันธ์ กิจการของสภากลาโหม<br />

การรักษาความปลอดภัย และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ<br />

แผนกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลเอก วัลลภ รักเสนาะ<br />

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

งานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์<br />

๑. การจัดทำนโยบายและแผนการปฏิบัติงานที่สำคัญ<br />

๑.๑.๑ จัดทำแผนปฏิบัติงานที่สำคัญตามนโยบาย<br />

เร่งด่วนของ รมว.กห. และแนวทางการปฏิบัติงานของ ปล.กห.<br />

โดยกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ ในแต่ละไตรมาสอย่างชัดเจน เพื่อ<br />

ให้ หน.นขต.<strong>สป</strong>. ยึดถือปฏิบัติและเร่งรัดการดำเนินการให้เป็น<br />

ไปตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างเป็นรูปธรรม<br />

๑.๑.๒ จัดทำแผนงานในภารกิจหลักของ กห.<br />

ระยะ ๒๐ ปี (ตุลาคม ๒๕๕๙ ถึง พ.ศ.๒๕๗๙) รองรับ<br />

ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ<br />

กห. พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ แผนแม่บทการปฏิรูปการบริหาร<br />

จัดการและการปรับปรุงโครงสร้าง กห. พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙<br />

และแผนพัฒนาขีดความสามารถ กห. พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๙<br />

ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม<br />

แห่งชาติฉบับที่๑๒ และประเด็นการปฏิรูปของสภาขับเคลื่อน<br />

การปฏิรูปประเทศ<br />

28


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑.๒ การดำเนินงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์<br />

๑.๒.๑ ดำเนินงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะ<br />

กรรมการยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของ รมว.กห. คณะ<br />

ทำงานพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ภายใต้การกำกับดูแล<br />

ของ รอง ปล.กห. การจัดการบรรยายพิเศษและจัดทำบท<br />

วิเคราะห์สถานการณ์สำคัญในภูมิภาคเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่<br />

ข้าราชการ <strong>สป</strong>. และประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย<br />

ของผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่สำคัญ ได้แก่ ศาสตร์ของพระราชา<br />

กับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ประเทศไทยกับมาตรการ<br />

การป้องกันการก่อการร้าย สถานการณ์ด้านความมั่นคง<br />

ทั้งภายในและภายนอกประเทศ สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้และผลกระทบต่อไทย รวมทั้งการตรวจสอบ<br />

สภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ และประสานงานด้านความ<br />

มั่นคงในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๑ – ๔<br />

๒. งานด้านการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง<br />

กับมิตรประเทศ<br />

๒.๑ การดำเนินงานความร่วมมือในกรอบทวิภาคี<br />

๒.๑.๑ จัดการประชุมโครงการความร่วมมือ<br />

ทวิภาคี (Bilateral Annual Cooperation Programme<br />

Talks) ระหว่าง กห. กับ กห.สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อ<br />

ติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินโครงการฯ ประจำปี ๒๕๕๙<br />

และพิจารณาโครงการฯ ประจำปี ๒๕๖๐ ระหว่าง ๒๘ - ๓๐<br />

พ.ย.๕๙ ณ ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๑.๒.๒ จัดการบรรยายและสาธิตผลงานวิจัยและ<br />

พัฒนาตามแนวทาง Thailand 4.0 กับนวัตกรรมที่หลากหลาย<br />

เมื่อ ๒๘ มิ.ย.๖๐ ณ ห้องยุทธนาธิการ ในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เพื่อรับทราบผลงานวิจัยและพัฒนาที่เป็นนวัตกรรมที่ทันสมัย<br />

ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งให้<br />

กองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย<br />

จัดทำแผนงานโครงการวิจัยร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การผลิต<br />

ยุทโธปกรณ์ที่ตรงกับความต้องการของหน่วยที่ใช้งาน<br />

ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ<br />

ทรัพย์สินของประชาชนและการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัด<br />

ชายแดนภาคใต้<br />

๒.๑.๒ เข้าร่วมการประชุมหารือด้านการทหาร<br />

ระหว่าง กห. กับ กห.สาธารณรัฐอินเดีย (Thailand-India<br />

Defence Dialogue) ครั้งที่ ๕ เพื่อหารือนโยบายด้านความ<br />

มั่นคงและทบทวนกิจกรรมความร่วมมือทางทหารที่ดำเนิน<br />

การในปัจจุบัน รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือทางทหารใน<br />

อนาคต ระหว่าง ๑๓ - ๑๖ ธ.ค.๕๙ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐ<br />

อินเดีย<br />

๒.๑.๓ จัดการหารือระดับผู้เชี่ยวชาญระหว่าง<br />

กห. กับ กห.สหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่าง ๒๐ – ๒๑ ธ.ค.๕๙<br />

ณ ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อร่วมหารือกำหนดแนวทางและ<br />

พัฒนาความร่วมมือทางทหารระหว่างกัน ซึ่งเป็นการดำเนิน<br />

การที่สืบเนื่องจากการลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาล<br />

แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย<br />

ว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร (Agreement between the<br />

Government of the Russian Federation and the<br />

Government of the Kingdom of Thailand on Military<br />

Cooperation) เมื่อ ๑๘ พ.ค.๕๙<br />

29


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒.๑.๔ การประชุมคณะกรรมการร่วม<br />

ด้านความมั่นคงไทย–เวียดนาม ครั้งที่ ๑ ระหว่าง<br />

๔ – ๕ ก.ค.๖๐ ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยม<br />

เวียดนาม เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น<br />

ในประเด็นด้านความมั่นคงและการทหารใน<br />

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งกระชับ<br />

ความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือทางทหารใน<br />

ระดับทวิภาคีระหว่าง กห. กับ กห.เวียดนาม<br />

๒.๑.๕ การจัดทำความตกลงกับ<br />

กระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ โดยดำเนินการ<br />

ดังนี้<br />

๒.๑.๕.๑ ปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการจัด<br />

ทำความตกลงฯ จำนวน ๒ คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการ<br />

กลั่นกรองการจัดทำความตกลงระหว่าง กห. กับมิตรประเทศ<br />

และองค์การระหว่างประเทศ และคณะกรรมการจัดทำความ<br />

ตกลงกับกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ โดย รมว.กห. ได้<br />

กรุณาลงนามคำสั่งฯ เมื่อ ๕ ก.พ.๖๐<br />

๒.๑.๕.๒ การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง<br />

กห. กับ กห.รัฐอิสราเอล ว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร<br />

(Memorandum of Understanding between the Ministry<br />

of Defence of the Kingdom of Thailand and the<br />

Ministry of Defence of the State of Israel Regarding<br />

Defence Cooperation) โดย ปล.กห. และ ปล.กห.รัฐ<br />

อิสราเอล ณ ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๗ ส.ค.๖๐<br />

๒.๑.๕.๓ การลงนามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ<br />

คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางทหารระหว่าง<br />

ไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Terms of Reference of<br />

Thailand-the Philippines Joint Committee on Military<br />

Cooperation : TOR) โดย ปล.กห. และ ปล.กห.สาธารณรัฐ<br />

ฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ ๑๗ ส.ค.๖๐<br />

๒.๒ การดำเนินงานความร่วมมือในกรอบพหุภาคี<br />

๒.๒.๑ เข้าร่วมการประชุม Tokyo Defense<br />

Forum ครั้งที่ ๒๑ ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ ๒๖ - ๓๑ มี.ค.๖๐<br />

เพื่อร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์<br />

เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ การเสริมสร้าง<br />

มาตรการไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันในภูมิภาค และกระชับความ<br />

สัมพันธ์ทางทหารกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก<br />

๒.๒.๒ เข้าร่วมการประชุมด้านความมั่นคง<br />

ระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๖ (6 th Moscow International<br />

Security Conference : MISC) เมื่อ ๒๔ - ๒๘ เม.ย.๖๐ ณ<br />

สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อหารือปัญหาด้านความมั่นคงในระดับ<br />

ภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ<br />

แนวทางการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคง และการ<br />

แก้ไขปัญหาการก่อการร้าย เพื่อสนับสนุนสันติภาพและความ<br />

มั่นคง<br />

๒.๒.๓ เข้าร่วมการประชุม IISS Shangri-La Dialogue<br />

ครั้งที่ ๑๖ เมื่อ ๒ – ๔ มิ.ย.๖๐ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

เพื่อร่วมรับฟังการแถลงนโยบายและวิสัยทัศน์และการหารือ<br />

เกี่ยวกับประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก<br />

โดยเฉพาะประเด็นปัญหาทะเลจีนใต้ โครงการพัฒนาอาวุธ<br />

นิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ การก่อการร้ายและแนวคิด<br />

หัวรุนแรง รวมทั้งการหารือด้านความมั่นคงแบบทวิภาคีกับ<br />

มิตรประเทศ<br />

๒.๒.๔ จัดทำแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือ<br />

ด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศของ กห. (๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)<br />

ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของ กห.<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ และสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง<br />

ในปัจจุบัน เพื่อกำหนดกรอบแนวทางและความเร่งด่วน<br />

ในการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงของ กห.<br />

กับ กห.มิตรประเทศของส่วนราชการ กห. ให้มีความชัดเจน<br />

ลดความซ้ำซ้อน รวมทั้งช่วยให้การวางแผนด้านงบประมาณ<br />

เป็นไปอย่างมีระบบและมีทิศทางอย่างเป็นรูปธรรม<br />

๒.๓ การดำเนินงานภายใต้กรอบการประชุม ADMM<br />

และ ADMM–Plus<br />

๒.๓.๑ การจัดทำแนวทางปฏิบัติของ กห. ในการ<br />

ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน เพื่อให้ส่วนราชการ กห. และ<br />

หน่วยที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประชาคม<br />

การเมือง และความมั่นคงอาเซียนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม<br />

๒.๓.๒ การประชุมความร่วมมือในกรอบการ<br />

ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN<br />

Defence Ministers’ Meeting Retreat : ADMM-Retreat)<br />

30


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน-ญี่ปุ่น อย่างไม่เป็น<br />

ทางการ เมื่อ ๑๖ - ๑๗ พ.ย.๕๙ ณ กรุงเวียงจันทน์สาธารณรัฐ<br />

ประชาธิปไตยประชาชนลาว<br />

๒.๓.๓ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหม<br />

อาเซียน (ASEAN Defence Senior Officers’ Meeting<br />

: ADSOM) และการประชุมเจ้าหน้าที่กลาโหมอาเซียนกับ<br />

เจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence<br />

Senior Officers’ Meeting-Plus : ADSOM-Plus) เมื่อ ๔-๘<br />

เม.ย.๖๐ ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์<br />

๒.๓.๔ การประชุมหารือพหุภาคีระหว่างรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม ประเทศสมาชิกอาเซียนกับ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อ ๒-๔ มิ.ย.๖๐<br />

ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

๒.๓.๕ เข้าร่วมการประชุมด้านความมั่นคงใน<br />

ฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ASEAN-EU ระหว่าง<br />

๑๓-๑๘ มิ.ย.๖๐ ณ กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม<br />

เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับ<br />

กฎระเบียบ หลักเกณฑ์โครงสร้าง และการดำเนินงานของ EU<br />

รวมทั้งแสวงหาแนวทางความร่วมมือต่างๆ ด้านความมั่นคง<br />

ในกรอบ ADMM และ ADMM–Plus ที่ EU สามารถเข้าร่วม<br />

กิจกรรมได้<br />

๒.๔ การต้อนรับแขกต่างประเทศและการเดินทาง<br />

เยือนต่างประเทศของผู้บังคับบัญชาระดับสูง<br />

๒.๔.๑ การต้อนรับแขกต่างประเทศที่เข้าเยี่ยม<br />

คำนับผู้บังคับบัญชาระดับสูงในโอกาสต่างๆ และการรับรอง<br />

แขกต่างประเทศที่เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ<br />

ในฐานะแขกของ กห. ที่สำคัญ ได้แก่ การรับรองรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงป้องกันประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย<br />

ประชาชนลาว, รมว.กห.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย, รมว.กห.<br />

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม, รัฐมนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน, รอง นรม.<br />

และ รมว.มท.มาเลเซีย, ปล.กห.รัฐอิสราเอล และ รมว.กห.<br />

เครือรัฐออสเตรเลีย<br />

๒.๔.๒ การเดินทางเยือนต่างประเทศของ<br />

ผู้บังคับบัญชาระดับสูง เพื่อกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้าง<br />

ความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่<br />

การเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว<br />

ของ รอง นรม. และ รมว.กห. เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี<br />

กลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมรัฐมนตรี<br />

กลาโหมอาเซียน-ญี่ปุ่น อย่างไม่เป็นทางการ, การเดินทาง<br />

เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ของ รอง นรม. และ รมว.กห.,<br />

การเข้าร่วมประชุมและนิทรรศการ International Defence<br />

Exhibition and Conference (IDEX 2017) ของ รอง<br />

ปล.กห. ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, การเข้าร่วมงานนิทรรศการ<br />

Langkawi International Maritime and Aerospace Exhibition<br />

2017 (LIMA 2017) ของ รอง ปล.กห. ณ เกาะลังกาวี<br />

ประเทศมาเลเซีย และการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการ<br />

ร่วมด้านความมั่นคง ไทย–เวียดนาม ครั้งที่ ๑ ของ ปล.กห.<br />

ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม<br />

๒.๕ กิจกรรมการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ<br />

อื่นๆ<br />

๒.๕.๑ จัดผู้แทนเดินทางเยือนสถาบันความ<br />

สัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านการป้องกันประเทศ (Institute<br />

for Defence International Relations : IDIR) ณ สาธารณรัฐ<br />

สังคมนิยมเวียดนาม เมื่อ ๒๐ – ๒๔ มี.ค.๖๐ เพื่อเสริมสร้าง<br />

และพัฒนาความสัมพันธ์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความ<br />

มั่นคงระหว่างกัน ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็น<br />

ประจำทุกปี โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑<br />

31


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒.๕.๒ จัดผู้แทนเข้าร่วมประชุมอาเซียนว่าด้วย<br />

ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย<br />

- แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) ณ ประเทศ<br />

นิวซีแลนด์สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพ<br />

เมียนมา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบ่งปันความรู้และ<br />

ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน<br />

๒.๕.๓ การเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต<br />

โดยการจัดพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ผู้นำทางทหาร<br />

ระดับสูงต่างประเทศ ได้แก่ พลโท Perry Lim ผู้บัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด สาธารณรัฐสิงคโปร์ และการจัดงานเลี้ยงให้แก่<br />

เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยและผู้ช่วย<br />

ทูตฝ่ายทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ ณ<br />

กรุงเทพฯ ในโอกาสต่างๆ<br />

๒.๕.๔ การดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติ<br />

งานของ ปล.กห. และ หน.นขต.<strong>สป</strong>. ประจำปีงบประมาณ<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ ได้แก่ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานพิธีการและ<br />

การรับรองแขกต่างประเทศ และการจัดทำฐานข้อมูลความ<br />

ร่วมมือด้านความมั่นคงกับมิตรประเทศ<br />

๒.๕.๕ การจัดการบรรยายสรุปให้แก่ผู้ช่วยทูตฝ่าย<br />

ทหาร ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ต่างประเทศ ก่อน<br />

เดินทางไปปฏิบัติราชการ ณ ต่างประเทศ<br />

๒.๕.๖ การจัดทำประเด็นสนทนาในการเข้าเยี่ยม<br />

คำนับผู้บังคับบัญชาระดับสูงของแขกต่างประเทศ<br />

๒.๕.๗ การสนับสนุนการเตรียมจัดงาน Defense<br />

& Security 2017 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่าง ๖ – ๙ พ.ย.๖๐<br />

ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี<br />

๒.๕.๘ การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บังคับ<br />

บัญชาระดับสูง รวมทั้งจัดผู้แทนเข้าร่วมงานเลี้ยงวันชาติและ<br />

วันกองทัพ ที่จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ ณ<br />

กรุงเทพฯ และการวางพวงมาลาเนื่องในโอกาสการรำลึกวาระ<br />

สำคัญต่างๆ ของ กห.มิตรประเทศ<br />

๒.๕.๙ ร่วมการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุภัยพิบัติ<br />

ฉุกเฉินระดับภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Disaster<br />

Response Simulation Exercise : ARDEX 2016) เมื่อ ๒๘<br />

พ.ย. – ๑ ธ.ค.๕๙ ณ เนอการาบรูไนดารุซซาลาม<br />

๒.๕.๑๐ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ASEAN<br />

Humanitarian Civil–Military Coordination Workshop<br />

2017 (ASEAN–CMCoord 2017) ณ จ.ชลบุรี เมื่อ ๓ – ๗<br />

เม.ย.๖๐ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างพลเรือน-ทหาร<br />

ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติใน<br />

ภูมิภาคอาเซียน<br />

32


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒.๕.๑๑ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ASEAN<br />

Military Capacity Building for International Humanitarian<br />

Assistance and Disaster Relief Workshop เมื่อ<br />

๒๑ – ๒๗ พ.ค.๖๐ ณ จ.ชลบุรี เพื่อเป็นการเพิ่มพูนขีดความ<br />

สามารถกำลังพลในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการ<br />

บรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียน<br />

๒.๕.๑๒ ร่วมการประชุม ASEAN Militaries<br />

Ready Group on Humanitarian Assistance and Disaster<br />

Relief (AMRG on HADR) ครั้งที่ ๑ ระหว่าง ๗ – ๑๓<br />

พ.ค.๖๐ และครั้งที่ ๒ ระหว่าง ๘ – ๑๒ ส.ค.๖๐ ณ ประเทศ<br />

มาเลเซีย<br />

๓. งานด้านการข่าวและการรักษาความปลอดภัย<br />

๓.๑ ขออนุมัติกำหนดมาตรการควบคุมระบบไร้คนขับ<br />

ของ นขต.กห. และเหล่าทัพ โดยมีความสอดคล้องกับนโยบาย<br />

ระเบียบ คำสั่ง กฎ ข้อบังคับและกฎหมายระหว่างประเทศ<br />

เพื่อใช้เป็นแนวทางและบูรณาการการใช้ การควบคุม การ<br />

รักษาความปลอดภัยและการวิจัยพัฒนา ให้เป็นมาตรฐาน<br />

เดียวกัน<br />

๓.๒ การประสานงานด้านการข่าวกับประชาคม<br />

ข่าวกรองทั้งภายในและภายนอก กห.<br />

๓.๒.๑ การประสานงานด้านการข่าวกับ<br />

ประชาคมข่าวกรองในประเทศ เพื่อรับทราบสถานการณ์ด้าน<br />

ความมั่นคงและนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแนวทางการบูรณาการ<br />

ด้านการข่าวของ กห.<br />

๓.๒.๒ การประสานงานด้านการข่าวกับ<br />

ประชาคมข่าวกรองในต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างและขยาย<br />

ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวกรองกับมิตรประเทศ และ<br />

นำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำแนวทางการบูรณาการด้านการข่าว<br />

ของ กห. โดยเดินทางไปเข้าร่วมประชุมความร่วมมือด้าน<br />

ข่าวกรองกับมิตรประเทศและประสานงานด้านการข่าวกรอง<br />

กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา<br />

๓.๒.๓ การจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน<br />

สนับสนุนงานด้านการข่าวในการรักษาความปลอดภัยที่ตั้ง<br />

การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชนทหารของ<br />

<strong>สป</strong>. การประสานงานกับสถานีตำรวจในเขตพื้นที่ที่เป็น<br />

ที่ตั้งอาคารที่พักอาศัยของ <strong>สป</strong>.ทุกพื้นที่ และสำนักงานคณะ<br />

กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อเฝ้าระวังและ<br />

แจ้งเตือนด้านการข่าวเกี่ยวกับยาเสพติดและประสานกับคณะ<br />

อนุกรรมการด้านปราบปราม ศูนย์อำนวยการป้องกันและ<br />

ปราบปรามยาเสพติด <strong>สป</strong>. ดำเนินการต่อไป<br />

๓.๓ ขออนุมัติกำหนดแนวทางการปฏิรูประบบงาน<br />

ด้านการข่าว กห. และจัดทำแนวทางการบูรณาการด้านการ<br />

ข่าวของ กห. ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนแม่บทการปฏิรูป<br />

การบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้าง กห. พ.ศ.๒๕๖๐<br />

– ๒๕๖๙ (ระบบงานการข่าวกรอง) ให้เกิดความประสาน<br />

สอดคล้อง มีการบูรณาการทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ<br />

และยุทธวิธี<br />

๓.๔ การเพิ่มความเข้มงวดในการรักษาความ<br />

ปลอดภัยผู้บังคับบัญชาระดับสูง และบุคคลสำคัญที่เดินทาง<br />

เข้ามาในพื้นที่ สนับสนุนเจ้าหน้าที่สารวัตรทหารแก่ศาลทหาร<br />

กรุงเทพ การจัดชุดสายตรวจอาคารบ้านพักอาศัยข้าราชการ<br />

<strong>สป</strong>. จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายที่จำเป็นในการ<br />

ปฏิบัติงาน กฎการใช้กำลังของทหารสารวัตรในการรักษา<br />

33


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ความปลอดภัยพื้นที่รับผิดชอบ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ<br />

ในพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ แผนเผชิญเหตุการณ์เมื่อพบวัตถุ<br />

ต้องสงสัยพื้นที่ พัน.สห.<strong>สป</strong>. และแผนเผชิญเหตุสถานการณ์<br />

ชิงตัวผู้ต้องหาขณะมาขึ้นศาลทหาร (ธน.) โดยกำหนดขั้นตอน<br />

การดำเนินการอย่างเป็นระบบการรักษาความปลอดภัยที่ตั้ง<br />

และการจัดการฝึกอบรมการใช้อาวุธแก่เจ้าหน้าที่รักษาความ<br />

ปลอดภัยเพื่อสร้างความคุ้นเคยและความชำนาญการใช้อาวุธ<br />

ในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยศาลาว่าการกลาโหม<br />

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

๓.๕ การปฏิบัติงานในฐานะคณะอนุกรรมการด้าน<br />

ปราบปราม ของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปราม<br />

ยาเสพติด <strong>สป</strong>. โดยทบทวนมาตรการป้องกันและปราบปราม<br />

ยาเสพติดในพื้นที่หน่วยทหารและพื้นที่พักอาศัยของ <strong>สป</strong>. การ<br />

จัดสายตรวจออกปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่บ้านพักอาศัยของ <strong>สป</strong>.<br />

และสุ่มตรวจหาสารเสพติดทหารกองประจำการที่มาปฏิบัติ<br />

งานในพื้นที่ศาลาว่าการกลาโหมอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุม<br />

มิให้เกิดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่หน่วยทหารและ<br />

ชุมชนทหารและป้องปรามไม่ให้กำลังพลและครอบครัวเข้าไป<br />

ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด<br />

๓.๖ จัดการฝึกยิงปืนให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความ<br />

ปลอดภัยในพื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อให้มีความคุ้นเคย<br />

และความชำนาญในการใช้อาวุธประจำกายและอาวุธที่ใช้<br />

ในการปฏิบัติภารกิจอารักขาบุคคลสำคัญ การฝึกอบรมการ<br />

ป้องกันและระงับอัคคีภัยในพื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม ประจำ<br />

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ให้กับข้าราชการของ สร. และ<br />

หน่วยขึ้นตรง <strong>สป</strong>. ในพื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อให้เกิด<br />

ความมั่นใจในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นได้อย่างรวดเร็ว<br />

และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการอบรมนายทะเบียนข้อมูล<br />

ข่าวสารลับ เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับระเบียบ วิธีปฏิบัติ<br />

ต่อข้อมูลข่าวสารลับ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการ<br />

ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง<br />

๔. งานด้านกิจการพลเรือน<br />

๔.๑ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวและสถาบันพระมหากษัตริย์โดยจัดตั้งจุดรับรอง<br />

ให้บริการและช่วยเหลือประชาชน ที่มาแสดงความอาลัยถวาย<br />

แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรม-<br />

นาถบพิตร ตั้งแต่ ๑๘ ต.ค.๕๙ – ๑๘ ม.ค.๖๐ จัดการสัมมนา<br />

เรื่อง “ตามรอยเท้าพ่อ...อยู่อย่างพอเพียง” เมื่อ ๒๒ – ๒๓<br />

ธ.ค.๕๙ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

รวมทั้งจัดกิจกรรมแสดงความอาลัยเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่<br />

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

สวรรคต “ใต้ร่มพระบารมี สดุดีจอมทัพไทย” ระหว่าง ๑๕ -<br />

๑๗ ก.พ.๖๐<br />

34<br />

๔.๒ โครงการผลิตละครเพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์<br />

ความรักชาติ โดยให้การสนับสนุนกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์<br />

และสถานที่แก่สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ ในการ<br />

ถ่ายทำละครโทรทัศน์เรื่อง “ภารกิจรัก” รวม ๔ ตอน ได้แก่<br />

เหนี่ยวหัวใจสุดไกปืน (ทหารบก) ราชนาวีที่รัก (ทหารเรือ)<br />

ยึดฟ้าหาพิกัดรัก (ทหารอากาศ) และมือปราบเจ้าหัวใจ<br />

(ตำรวจ) เพื่อเสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๔.๓ การติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหา<br />

ยาเสพติดของ กห. ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ โดยจัดการประชุม<br />

คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหา<br />

ยาเสพติดของ กห. ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ และติดตามการแก้ไข<br />

ปัญหายาเสพติดในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๓ (จ.แม่ฮ่องสอน<br />

และ จ.เชียงใหม่) ระหว่าง ๒๕ - ๒๘ เม.ย.๖๐ และในพื้นที่<br />

กองทัพภาคที่ ๒ (จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.ศรีสะเกษ และ<br />

จ.สุรินทร์) ในห้วงเดือน ก.ย.๖๐ โดยมีพล.อ.ธีระฉัตร คำรพวงศ์<br />

ที่ปรึกษา รมว.กห. เป็นหัวหน้าคณะ<br />

๔.๔ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการ<br />

ช่วยเหลือประชาชน ดังนี้<br />

๔.๔.๑ การเตรียมความพร้อม อาทิ การจัด<br />

ทำสื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจาก<br />

ภัยพิบัติและการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน ทั้งในรูปแบบปฏิทิน<br />

และคู่มือปฏิบัติตน การจัดการอบรม เรื่อง การประสานงาน<br />

ระหว่างพลเรือน–ทหาร ในการตอบโต้ภัยพิบัติ ครั้งที่ ๔ การ<br />

จัดการสัมมนา เรื่อง การพัฒนาความร่วมมือและเสริมสร้าง<br />

ศักยภาพของเครือข่ายการบรรเทาสาธารณภัยของ กห. และ<br />

การจัดทำแนวทางปฏิบัติต่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม<br />

และการบรรเทาภัยพิบัติของ กห. รวมทั้งการจัดกำลังพล<br />

เข้าร่วมการฝึกด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบ<br />

บูรณาการ พ.ศ.๒๕๖๐ (IDMEx 2017) ณ จ.นครราชสีมา<br />

และการฝึกการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการ<br />

บรรเทาภัยพิบัติ ประจำปี ๒๕๖๐ ณ จ.ระยอง และสนับสนุน<br />

วิทยากรเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแผนบรรเทาสาธารณภัย<br />

กห. ๒๕๕๘ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติต่อการช่วยเหลือด้าน<br />

มนุษยธรรม และการบรรเทาภัยพิบัติแก่หน่วยงานทั้งในและ<br />

นอก กห. มากกว่า ๘ ครั้ง<br />

๔.๔.๒ การช่วยเหลือประชาชน อาทิการเชิญชวน<br />

ให้ข้าราชการและครอบครัว ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย<br />

ภาคใต้และมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ สำนักปลัดสำนัก<br />

นายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือในภาพรวม<br />

ของรัฐบาลต่อไป การจัดกำลังพลเข้าร่วมประชุมติดตาม<br />

สถานการณ์และแก้ไขปัญหาอุบัติภัยทางถนนและทางน้ำ (๗<br />

วันอันตราย) ในห้วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ ณ<br />

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน การประสานงานกับ<br />

เครือข่ายสภาวิศวกรเพื่อตรวจสอบระบบไฟฟ้าและเผยแพร่<br />

ความรู้เกี่ยวกับการระวังและป้องกันอัคคีภัยให้แก่ประชาชน<br />

ในพื้นที่ชุมชนสามแพร่ง รวมทั้งการจัดหาถังบรรจุน้ำเพื่อ<br />

แจกจ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บรรเทา<br />

สาธารณภัย <strong>สป</strong>. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

๔.๕ การแก้ไขปัญหาการนำเข้าน้ำมันปาล์มและ<br />

ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี<br />

ประสิทธิภาพและเหมาะสมสอดคล้องกับคณะทำงานที่ได้ไป<br />

รับตำแหน่งที่สูงขึ้น รอง นรม. (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)<br />

ประธานกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ได้ลงนามใน<br />

คำสั่งคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่๑/๒๕๖๐<br />

ลง ๒ ก.พ.๖๐ แต่งตั้งคณะทำงานการแก้ไขปัญหาการ<br />

นำเข้าน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม (แก้ไขเพิ่มเติม<br />

ครั้งที่ ๒)<br />

๔.๖ โครงการบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำ<br />

สาธารณะ (คลองลาดพร้าว) คณะกรรมการอำนวยการกำหนด<br />

นโยบายการบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะ<br />

ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม./รมว.กห. เป็น<br />

ประธาน โดยให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบการดำเนินการ<br />

ก่อสร้างและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์<br />

35


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ดำเนินการจัดทำผังที่อยู่อาศัยตลอดแนวทางคลองลาดพร้าว<br />

ในส่วนของ กห. (ทบ.) ได้จัดกำลังพลชุดปฏิบัติการจิตวิทยา<br />

และมวลชน จำนวน ๑๒๐ นาย จากกองพลที่๑ รักษาพระองค์<br />

ให้การสนับสนุนในพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว<br />

๔.๗ การแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ กห.<br />

สนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหายางพารา เพื่อช่วยเหลือ<br />

เกษตรกรยางพาราเป็นกรณีเร่งด่วน โดยมีแนวทางสนับสนุน<br />

การใช้ยาง ปี ๖๐ ประมาณ ๑๑,๐๐๐ ตัน (หากได้รับการ<br />

จัดสรรงบประมาณกลาง จำนวน ๑,๕๐๐ ล้านบาทเศษ) และ<br />

ในปี ๖๑ มีแผนการสนับสนุนการใช้ยาง จำนวนประมาณ<br />

๑,๔๐๐ ตันเศษ (ตามงบประมาณปกติ)<br />

๕. งานด้านส่งกำลังบำรุงและการสรรพกำลัง<br />

๕.๑ การพัฒนา ปรับปรุง อาคาร สถานที่ สิ่งอำนวย<br />

ความสะดวกและการใช้ประโยชน์ที่ดินของ <strong>สป</strong>. ได้เสนอขอ<br />

อนุมัติผังบริเวณรวมของ <strong>สป</strong>. พื้นที่ศรีสมาน เพื่อเป็นผังหลัก<br />

ในการดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง อาคาร สถานที่ และสิ่ง<br />

อำนวยความสะดวกในพื้นที่ศรีสมาน และการกำหนดที่ตั้ง<br />

หน่วยรองรับการปรับโครงสร้างของหน่วยใหม่ให้พร้อมปฏิบัติ<br />

งานในพื้นที่ศรีสมาน ได้แก่ สงป.กห., กง.กห., สสน.<strong>สป</strong>.,<br />

สำนักงานมาตรฐาน วท.กห. และชมรมผู้สูงอายุ <strong>สป</strong>. รวมถึง<br />

การเสนอความต้องการงบประมาณในการพัฒนา ปรับปรุง<br />

อาคาร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยงาน<br />

ใน <strong>สป</strong>. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ พร้อมทั้ง<br />

จัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการ/งานฯ เพื่อเตรียมความ<br />

พร้อมในการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเหลือจ่าย<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๕.๓ จัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราช<br />

อาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ว่าด้วย<br />

ความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร และจัดทำบันทึกความ<br />

เข้าใจว่าด้วยการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงระหว่าง<br />

รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศ<br />

ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อ ๑๘ เม.ย.<br />

๖๐ และ ๔ ก.ค.๖๐ รวมทั้งดำเนินการตามอนุมัติ รมว.กห.<br />

ในการจัดทำเอกสารความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุง<br />

ระหว่างกองทัพเรือกับกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายใต้<br />

กรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลัง<br />

บำรุงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง<br />

สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

๕.๔ วางแผนและเข้าร่วมการฝึกการระดม<br />

สรรพกำลังเพื่อการทหาร ประจำปี ๒๕๖๐ ณ มทบ.๑๒<br />

จ.ปราจีนบุรี ระหว่าง ๑๓ – ๑๕ มิ.ย.๖๐ ซึ่งเป็นการดำเนิน<br />

การตามแผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ<br />

ในการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรจากส่วนราชการพลเรือน<br />

รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน มาสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ<br />

๕.๒ การพัฒนาและปฏิรูประบบงานด้านการส่งกำลัง<br />

บำรุงของ <strong>สป</strong>. เพื่อให้มีระบบงานด้านการส่งกำลังบำรุง<br />

ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบบูรณาการที่สามารถ<br />

สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของหน่วย โดยได้ดำเนินการ<br />

นำเข้าข้อมูลอัตราสิ่งอุปกรณ์ถาวรของหน่วยใน <strong>สป</strong>. เพื่อเป็น<br />

แนวทางในการดำเนินการด้านอื่นๆ ต่อไป<br />

ป้องกันประเทศตั้งแต่ในภาวะปกติได้อย่างเพียงพอและ<br />

ทันเวลา รวมทั้งให้สามารถประสานและดำเนินการด้านกิจการ<br />

พลเรือน สนับสนุนการปฏิบัติตามแผนป้องกันประเทศอย่าง<br />

ต่อเนื่อง โดยดำเนินการซักซ้อมแผนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ<br />

เพื่อให้การประสานงานและบูรณาการแผนต่างๆ ของ<br />

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ<br />

๕.๕ วางแผนและเข้าร่วมการฝึกการบริหาร<br />

วิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปี ๒๕๖๐ (C-MEX 17) เมื่อ<br />

๑๕ มิ.ย.๖๐ ณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นการ<br />

ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ.<br />

36


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒๕๕๗ - ๒๕๖๑ โดยนำนโยบาย/ยุทธศาสตร์/แผน/ขั้นตอน<br />

การปฏิบัติ มาทำการทดสอบการบริหารจัดการภัยที่เกิดขึ้น<br />

ประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งทหาร ตำรวจ<br />

พลเรือน และภาคเอกชน<br />

๕.๖ พิจารณาและดำเนินการตามขั้นตอนการออก<br />

ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่<br />

เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.<br />

๒๕๓๐ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๖๐ โดยสอดคล้องกับคำสั่งมอบ<br />

อำนาจและการปรับโครงสร้างการจัดหน่วยของ กห. ทั้งนี้<br />

คณะกรรมการควบคุมยุทธภัณฑ์ ได้มีมติเห็นชอบแล้ว และ<br />

รมว.กห. โดยความเห็นชอบของ ครม. ได้ลงนามในประกาศฯ<br />

เมื่อ ๒๖ มี.ค.๖๐ พร้อมทั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว<br />

เมื่อ ๔ พ.ค.๖๐<br />

๕.๗ จัดการประชุมคณะกรรมการควบคุมยุทธภัณฑ์<br />

ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๐ ประจำ<br />

ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โดยได้ให้ความเห็นชอบร่างบันทึก<br />

ข้อตกลงว่าด้วยการดำเนินการต่อของที่เป็นยุทธภัณฑ์เพื่อ<br />

บรรเทาสาธารณภัย ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ฯ ระหว่าง<br />

กห. กับ กทม. และการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุม<br />

ยุทธภัณฑ์ฯ เพื่อกำหนดอายุของใบอนุญาตสั่งเข้ามา ผลิต<br />

และมีซึ่งยุทธภัณฑ์ รวมทั้งมีข้อสังเกตเรื่องการกำหนดค่า<br />

ธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้สอดคล้องกับการกำหนดอายุ<br />

ใบอนุญาต และการพิจารณาปรับแก้ข้อความ ตาม พ.ร.บ.ให้<br />

สอดคล้องกับปัจจุบัน<br />

๕.๘ ร่วมพิจารณาและจัดทำร่าง พ.ร.บ.เทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศ พ.ศ. .... เพื่อส่งเสริมงานด้านการวิจัย พัฒนา<br />

และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ให้สามารถขยายผลงาน<br />

วิจัยและพัฒนาไปสู่การผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ เพื่อ<br />

การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนและลดการนำเข้าจากต่างประเทศ<br />

รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับประเทศในอนาคต<br />

๖. งานด้านแผน ฝึก ศึกษา และการจัดทำอัตรา<br />

๖.๑ จัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการ<br />

และการปรับปรุงโครงสร้าง กห. พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ สำหรับ<br />

ใช้เป็นกรอบแนวทางการปฏิรูปการบริหารจัดการและการ<br />

ปรับปรุงโครงสร้าง กห. ในห้วงระยะ ๑๐ ปี ให้เป็นไปใน<br />

ทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ เพื่อเสริมสร้างขีดความ<br />

สามารถของกองทัพให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์และ<br />

ภัยคุกคามด้านความมั่นคง นำไปสู่การปฏิบัติตามบทบาท<br />

หน้าที่และความรับผิดชอบของ กห. รวมถึงการสนับสนุน<br />

การดำเนินการแก่ส่วนราชการอื่นในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ<br />

ของชาติ สามารถตอบสนองนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม<br />

๖.๒ จัดทำแผนพัฒนาขีดความสามารถ กห. พ.ศ.<br />

๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ สำหรับใช้เป็นกรอบในการกำหนดความ<br />

ต้องการงบประมาณสำหรับการพัฒนาเสริมสร้างขีดความ<br />

สามารถกำลังกองทัพ ให้มีความสมบูรณ์ พร้อมรบ โดย<br />

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ กห. พ.ศ.๒๕๖๐<br />

– ๒๕๖๙ และแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการและการ<br />

ปรับปรุงโครงสร้าง กห. พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๙<br />

๖.๓ จัดทำและขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผน<br />

ปฏิบัติการกลุ่มภารกิจงานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ<br />

ทรัพย์สิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ สำหรับใช้ในการ<br />

บูรณาการ ติดตาม ขับเคลื่อนและกำกับดูแลการดำเนินงาน<br />

ของกลุ่มภารกิจงานฯ ตามแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและ<br />

พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ ให้เป็น<br />

ไปตามนโยบายของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา<br />

จังหวัดชายแดนภาคใต้<br />

37


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๖.๔ แผนปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดและคำรับรอง<br />

การปฏิบัติราชการของ สนผ.กห.(ฉบับปรับปรุง) ประจำปี<br />

งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๖.๔.๑ จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี<br />

งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ของ สนผ.กห.(ฉบับปรับปรุง)<br />

เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติงานโดยสอดคล้องกับ<br />

แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีฯ ของ สนผ.กห.<br />

๖.๔.๒ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การ<br />

กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ สนผ.กห. เพื่อเตรียม<br />

ความพร้อมในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของ <strong>สป</strong>.<br />

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ระหว่าง ๒ – ๔ พ.ย.๕๙ เพื่อ<br />

ให้หน่วยขึ้นตรงฯ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการกำหนดตัว<br />

ชี้วัดและค่าเป้าหมายความสำเร็จ รวมถึงสามารถประเมินผล<br />

การปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ<br />

๖.๔.๓ จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ สนผ.<br />

กห. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ เพื่อแสดงความมุ่งมั่น<br />

ในการยึดถือปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๖.๕ ประสานการปฏิบัติและอำนวยการตรวจเยี่ยม<br />

โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ในความ<br />

ควบคุมของเหล่าทัพ โดย รมว.กห. และคณะผู้บังคับบัญชา<br />

ระดับสูง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการเสริมสร้างความ<br />

ร่วมมือระหว่าง กห. กับภาคเอกชน และ กห.มิตรประเทศ<br />

ตามนโยบายเร่งด่วนของ รมว.กห. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.<br />

๒๕๖๐ ในการพัฒนากิจการด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

และการวิจัยพัฒนา เพื่อมุ่งสู่การผลิตใช้ในราชการและเพื่อ<br />

การพาณิชย์ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปี ๒๕๖๐ รวมทั้ง<br />

จัดทำบทสรุปข้อมูลการวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศของ กห. ซึ่งเป็นผลจากการตรวจเยี่ยมฯ เสนอ ครม.<br />

ทราบเมื่อ ๑๘ เม.ย.๖๐<br />

๖.๖ ประสานการปฏิบัติและอำนวยการตรวจเยี่ยม<br />

นขต. <strong>สป</strong>. ของ ปล.กห. ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ<br />

ต่างจังหวัด<br />

๖.๗ จัดทำคำสั่งการเดินทางไปปฏิบัติราชการ เพื่อ<br />

ผลัดเปลี่ยนการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจรักษาสันติภาพผสม<br />

ระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติ ในดาร์ฟูร์ (UN-<br />

AMID) และในภารกิจของคณะผู้สังเกตการณ์ทางทหารของ<br />

สหประชาชาติในสาธารณรัฐอินเดียและสาธารณรัฐอิสลาม<br />

ปากีสถาน (UNMOGIP) ตลอดจนการขออนุมัติเดินทาง<br />

ไปราชการ เพื่อเข้าร่วมการประชุม ฝึก ศึกษา สัมมนา ณ<br />

ต่างประเทศ ของข้าราชการ <strong>สป</strong>. และผู้บังคับบัญชาระดับสูง<br />

ของ บก.ทท. และเหล่าทัพ<br />

๖.๘ ประสาน นขต. <strong>สป</strong>. เสนอความต้องการและ<br />

พิจารณาหลักสูตรเฉพาะทางตามภารกิจและความต้องการ<br />

ของหน่วย หรือในสาขาที่หน่วยขาดแคลน รวมทั้งหลักสูตร<br />

ในระดับปริญญาโท/ปริญญาเอก ในสาขาที่เป็นประโยชน์กับ<br />

การปฏิบัติงานของหน่วย และการพัฒนาทักษะการใช้ภาษา<br />

อังกฤษ ภาษาเวียดนามและภาษาจีน ณ ต่างประเทศ รวมทั้ง<br />

กำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการของผู้เข้ารับศึกษาให้เกิด<br />

ประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติงานของหน่วย<br />

๖.๙ ประสานงานและสนับสนุนการจัดตั้งคณะ<br />

กรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจา กห. เพื่อกำกับดูแล<br />

ระบบการตรวจสอบและประเมินผลของ กห. และหน่วยงาน<br />

ในสังกัดให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการตรวจสอบและ<br />

ประเมินผลภาคราชการกำหนด รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ<br />

และประเมินผลแผนงาน/โครงการ ผลการดำเนินงานและ<br />

สถานะทางการเงินของ กห. และหน่วยงานในสังกัดให้เป็น<br />

ไปอย่างมีประสิทธิภาพ<br />

๖.๑๐ กำหนดแนวทางและกรอบระยะเวลาดำเนินการ<br />

จัดทำอัตราข้าราชการพลเรือนกลาโหม ตามนโยบายเร่งด่วน<br />

ของ รมว.กห. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ และแนวทาง<br />

การปฏิบัติงานของ ปล.กห. โดยกำหนดหน่วยงานนำร่องในการ<br />

จัดทำอัตราข้าราชการพลเรือนกลาโหม ตามความรับผิดชอบ<br />

เพื่อสามารถบรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหม ตั้งแต่๑ ต.ค.๖๐<br />

เป็นต้นไป<br />

๖.๑๑ การปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างการจัดและอัตรา<br />

ของส่วนราชการ กห. ตามนโยบายรัฐบาล กห. และแผนหลัก<br />

ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ ยกเลิกอัตราตำแหน่งประธานคณะ<br />

ที่ปรึกษาตามคำสั่ง คสช. การจัดตั้งสำนักงานประสานภารกิจ<br />

ด้านความมั่นคงกับ กอ.รมน.ของส่วนราชการ เพื่อสนับสนุน<br />

38


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

การปฏิบัติงานของ กอ.รมน.ตามนโยบาย นรม. การจัดตั้งศูนย์<br />

ไซเบอร์ทหารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานด้าน<br />

ไซเบอร์ทหารของ บก.ทท. การจัดตั้งสำนักการฝึกและสำนัก<br />

การศึกษา ยศ.ทบ. รับผิดชอบงานด้านการฝึกและศึกษาใน<br />

ภาพรวมของ ทบ. ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วย<br />

สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจพิเศษ เป็นต้น<br />

๖.๑๒ การจัดวิทยากรสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ และ<br />

การเยี่ยมชมกิจการของ กห. และ <strong>สป</strong>. ได้แก่ ผู้เข้ารับการ<br />

อบรมหลักสูตรผู้ช่วยทูตทหารบกไทย/ต่างประเทศ หลักสูตร<br />

นายทหารสัญญาบัตรชั้นสูง กรมพระธรรมนูญ หลักสูตรหลัก<br />

ประจำวิทยาลัยการทัพบก หลักสูตรการจัดงานส่งกำลังบำรุง<br />

ชั้นสูง หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าแผนที่ คณะวิทยาลัยป้องกัน<br />

ราชอาณาจักรมาเลเซีย และคณะนักการทูตบรรจุใหม่ของ<br />

กระทรวงการต่างประเทศ<br />

๖.๑๓ จัดการฝึกทหารใหม่(ทหารกองประจำการ ผลัด<br />

ที่ ๒/๕๙ และผลัดที่ ๑/๖๐) ระยะเวลา ๑๐ สัปดาห์ ตามคู่มือ<br />

การฝึกของ ยศ.ทบ. อาทิ การต้อนรับ การดำเนินด้านธุรการ<br />

การปรับสภาพร่างกายให้พร้อมรับการฝึก ๖ สถานีหลัก โดย<br />

หน่วยฝึกฯ ได้ดำเนินการฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีการ<br />

เฝ้าระวังอาการบาดเจ็บจากการฝึก มีการจัดทำแผนเผชิญ<br />

เหตุโรคลมร้อน โดยมีเสนารักษ์ประจำหน่วยฝึกคอยดูแลอย่าง<br />

ใกล้ชิด เพื่อให้ทหารมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อม<br />

เป็นกำลังพลที่มีศักยภาพของหน่วยต่อไป<br />

อนุกรรมการ โดยจัดการประชุมคณะกรรมการเตรียมการฯ<br />

และเชิญพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง และภาคส่วนต่างๆ มา<br />

ร่วมให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะแก่คณะอนุกรรมการรับฟัง<br />

ความคิดเห็นฯ ในส่วนกลาง และการจัดการประชุมกลุ่มย่อย<br />

โดยเชิญพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง และภาคส่วนต่างๆ ร่วม<br />

ทบทวนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้ให้ไว้แล้ว การสรุปผล<br />

การประชุมคณะกรรมการฯ และผลการดำเนินการของคณะ<br />

อนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการเตรียมการฯ ได้แก่ การจัด<br />

ทำเอกสารความเห็นร่วมฯ และการจัดทำร่างสัญญาประชาคม<br />

๗. การสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลและ<br />

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ<br />

๗.๑ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะ<br />

กรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ซึ่ง<br />

มี นรม. เป็นประธาน โดยมี ปล.กห. เป็นเลขานุการ และ<br />

เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อ<br />

สร้างความสามัคคีปรองดอง โดยมี ปล.กห. เป็นประธาน<br />

ความเห็นร่วมฯ เพื่อนำกราบเรียน นรม. ในฐานะประธานคณะ<br />

กรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ<br />

ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)<br />

เพื่อกรุณาทราบ และพิจารณาร่างสัญญาประชาคมความเห็น<br />

ร่วมฯ รวมทั้งการแถลงสัญญาประชาคมความเห็นร่วมเพื่อ<br />

สร้างความสามัคคีปรองดองต่อไป<br />

๗.๒ คณะอนุกรรมการโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา ด้านการออกแบบและภูมิสถาปัตย์ที่มี ปล.กห.<br />

เป็นประธานอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการอำนวยการ<br />

โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห.<br />

เป็นประธานกรรมการ) ได้ดำเนินการด้านการออกแบบ<br />

และภูมิสถาปัตย์ พร้อมทั้งส่งมอบรายละเอียดและรูปแบบ<br />

โครงการฯ ตามสัญญาให้กรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว<br />

39


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๗.๓ ร่วมกับส่วนราชการต่างๆ สร้างการรับรู้ ความ<br />

เข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของ<br />

รัฐบาลและ คสช. รวมทั้งผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้<br />

เป็นไปอย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและทั่วถึงทุกพื้นที่โดยจัดทา “ชุด<br />

คำพูด” (Theme Message) เสนอ ทบ. (กองกำลังรักษาความ<br />

สงบเรียบร้อย) เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจให้กับ<br />

ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่ ๑๑ ก.พ.๕๙<br />

๗.๔ การสนับสนุนรัฐบาลในการพัฒนาแหล่งน้ำและ<br />

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ<br />

๗.๔.๑ จัดกำลังพลเข้าร่วมติดตามสถานการณ์<br />

และแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ๑๒ จังหวัดภาคใต้ และ<br />

จ.ประจวบคีรีขันธ์ ณ กองบัญชาการป้องกันและบรรเทา<br />

สาธารณภัยแห่งชาติ การจัดคณะผู้แทนศูนย์บรรเทา<br />

สาธารณภัย กห. ลงพื้นที่ประเมินผลกระทบจากอุทกภัยและ<br />

เตรียมการสนับสนุนรัฐบาลในการฟื้นฟู ประสานงานและ<br />

กำกับดูแลการจัดหน่วยทหาร ดำเนินการซ่อมแซมบ้านและ<br />

สร้างบ้านใหม่ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย รวมทั้งการประสานงาน<br />

กับเครือข่ายภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องมือช่าง<br />

ให้แก่หน่วยทหารในการสร้างที่พักอาศัย (บ้าน) ให้แก่<br />

ผู้ประสบภัย<br />

๗.๔.๒ สนับสนุนการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ<br />

ทั่วประเทศ ตามแนวทางคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ<br />

แห่งชาติและข้อสั่งการของ นรม. กำหนดดำเนินการใน ๔<br />

ระยะ โดยในระยะที่ ๑ การกำจัดขยะวัชพืชและผักตบชวา<br />

ในลำน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่าง ๒๕ - ๒๗ ก.ค.๖๐<br />

และในพื้นที่ต่างจังหวัด ระหว่าง ๒๙ - ๓๑ ก.ค.๖๐ ระยะที่ ๒<br />

การพัฒนาแหล่งน้ำตามแผนงาน/โครงการบริหารจัดการน้ำ<br />

ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามยุทธศาสตร์การบริหาร<br />

จัดการทรัพยากรน้ำและการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล<br />

ระยะที่ ๓ การพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณะ ๑ อำเภอ ๑ แห่ง<br />

ในห้วง ส.ค. – ก.ย.๖๐ และระยะที่ ๔ การดำเนินการเพิ่มเติม<br />

จาก ระยะที่ ๒ และ ๓<br />

๗.๕ ดำเนินการตามข้อสั่งการของ นรม. และผลการ<br />

เดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนอย่างเป็นทางการของ<br />

นรม. ในการประสานการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านการ<br />

แพทย์ระหว่างไทยกับบาห์เรน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์<br />

และความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักร<br />

บาห์เรน<br />

๗.๖ สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์แก้ไขปัญหา<br />

ความมั่นคงแบบบูรณาการ ณ ศาลาว่าการกลาโหม ตั้งแต่<br />

๑ ต.ค.๖๐ ทำหน้าที่ติดตาม อำนวยการ ประสานงานการ<br />

แก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติให้เป็นไป<br />

ด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพแบบบูรณาการ มีเอกภาพ<br />

ทั้งในด้านแนวความคิดและการปฏิบัติที่ทันต่อสถานการณ์<br />

มากยิ่งขึ้น<br />

๗.๗ จัดทำระเบียบปฏิบัติประจำว่าด้วยการจัดส่ง<br />

และรายงานประเด็นข่าวสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ของ <strong>สป</strong>.<br />

เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดส่งและรายงานประเด็นข่าว<br />

สำคัญแก่รัฐบาล และ คสช. สนับสนุนการจัดเตรียมข้อมูลการ<br />

ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า การ<br />

ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการ<br />

แผ่นดิน คณะที่ ๕ การติดตาม ขับเคลื่อนงานเร่งด่วนและการ<br />

เสนอประเด็นที่ต้องการความร่วมมือจากส่วนราชการ รวมถึง<br />

จัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการของส่วนราชการ<br />

ตามข้อสั่งการของ นรม.<br />

๗.๘ รวบรวมและจัดทำข้อมูลสำหรับการแถลงผลงาน<br />

๒ ปี และ ๓ ปี ของรัฐบาล รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการผลงาน<br />

ที่สำคัญของรัฐบาล โดยดำเนินการในรูปแบบของกลุ่มงาน<br />

ด้านความมั่นคง ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม กระทรวง<br />

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย<br />

กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักข่าวกรอง<br />

แห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์อำนวย<br />

40


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้และสถาบันบริหารจัดการ<br />

ธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)<br />

๘. งานด้านการสนับสนุนและงานอื่นๆ<br />

๘.๑ การจัดการประชุมในฐานะฝ่ายเลขาธิการใน<br />

การประชุมสภากลาโหม/และฝ่ายเลขานุการในการประชุม<br />

หน.นขต.<strong>สป</strong>. ตลอดจนการสนับสนุนการใช้ห้องประชุม<br />

อุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ สำหรับการประชุมภายในพื้นที่ศาลา<br />

ว่าการกลาโหม การประชุมทางไกลระหว่าง นขต.<strong>สป</strong>. และ<br />

ส่วนราชการภายนอก กห. รวมทั้งสนับสนุนเจ้าหน้าที่พร้อม<br />

อุปกรณ์เคลื่อนที่ เมื่อมีการประชุมนอกพื้นที่<br />

๘.๒ กิจกรรมสาธารณประโยชน์<br />

๘.๒.๑ สนับสนุนกำลังพลเข้าร่วมกิจกรรม<br />

ทำความสะอาดในพื้นที่โดยรอบศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑<br />

ธ.ค.๕๙ ณ ลานอเนกประสงค์ ในศาลาว่าการกลาโหม การ<br />

จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ร่วมกับชุมชนสามแพร่ง<br />

เมื่อ ๒๑ ธ.ค.๕๙ ณ ชุมชนสามแพร่ง เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

๘.๒.๒ จัดเลี้ยงอาหารกลางวันและมอบสิ่งของ<br />

แก่เด็กพิการและทุพพลภาพ บ้านนนทภูมิ เมื่อ ๒๗ ธ.ค.๕๙<br />

ณ สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด<br />

“บ้านนนทภูมิ”<br />

๘.๒.๓ ตรวจเยี่ยมครอบครัวของกำลังพลที่มีความ<br />

ต้องการพิเศษของ สนผ.กห. รวม ๔ ครอบครัว (๖ คน) โดย<br />

มี คุณพรรณิภา ศรีสุข อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการ <strong>สป</strong>./<br />

ประธานโครงการ “สายใยรักษ์เพื่อคนพิเศษ” เป็นหัวหน้าคณะ<br />

และคุณดวงพร รักเสนาะ ภริยา ผอ.สนผ.กห. ร่วมตรวจเยี่ยมฯ<br />

๘.๓ การจัดกิจกรรมเพื่อถวายความอาลัย และ<br />

บำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่ง พัน.สห.<strong>สป</strong>. ร่วมกับ<br />

ชุมชนเทิดราชัน และสำนักงานเขตดอนเมือง จัดกิจกรรม<br />

ถวายความอาลัยและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเป็นพระราชกุศล<br />

ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร ประกอบด้วย การร่วมร้องเพลงสรรเสริญ<br />

พระบารมี การจัดนิทรรศกาลรวบรวมผลงานโครงการตาม<br />

พระราชดำริ การทำความสะอาดวัดและคูคลองในบริเวณ<br />

ชุมชน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านพักอาศัย<br />

ผู้ยากไร้ในบริเวณรอบหน่วย<br />

๘.๔ โครงการยุทธศาสตร์พระราชทานกับการแก้ไข<br />

ปัญหาที่สำคัญของชาติซึ่งได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานฯ<br />

มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ ทั้งในด้าน<br />

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิต<br />

และความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการดำเนินการอย่างมี<br />

ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สอดคล้องกับแนวทางประชารัฐ<br />

41


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ตามนโยบายของรัฐบาล โดยร่วมกับมณฑลทหารบกที่ ๓๘<br />

ชมรมศิษย์เก่าศรีสวัสดิ์ รุ่นที่ ๒๘/๓๑ การศึกษานอกโรงเรียน<br />

ภูเพียง หน่วยจัดการต้นน้า น้ำแก่น–น้ำสา หน่วยป้องกันรักษา<br />

ป่าน่าน กลุ่มต้นน้ำมีชีวิตกลุ่มรวมพลคนทำฝาย Kozemboys<br />

และประชาชนหมู่บ้านดงป่าสัก (ห้วยก๋วง) ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง<br />

จ.น่าน ดำเนินโครงการยุทธศาสตร์พระราชทานกับการแก้ไข<br />

ปัญหาที่สำคัญของชาติเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

ในพื้นที่ จ.น่าน ระหว่าง ๘ – ๑๒ ธ.ค.๕๙ ในการสร้างฝาย<br />

กึ่งถาวร ๑ ฝาย สร้างฝายธรรมชาติ ๕ ฝาย ปลูกไม้ยืนต้นและ<br />

พืชสวนครัว ขุดบ่อน้ำอุปโภค ๑๐ บ่อ สร้างโรงเลี้ยงเป็ดและ<br />

ไก่ ๑๐ โรง ซ่อมแซมบ้าน ๕ หลัง รวมทั้งสร้างโรงเพาะเห็ด<br />

และทำหัวเชื้อเห็ด ๒,๐๐๐ ก้อน<br />

42


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

กรมเสมียนตรา (สม.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการ<br />

เกี่ยวกับนโยบายและแผนงานการกำลังพล ตลอดจนการดำเนินการกำลังพลที่อยู่ใน<br />

อำนาจของปลัดกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม การควบคุม<br />

กำกับดูแลการปฏิบัติของส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามนโยบายด้านการ<br />

กำลังพลที่กระทรวงกลาโหมกำหนด การศึกษาอบรมในประเทศ การสวัสดิการของ<br />

ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวง การสารบรรณ ราชการประจำทั่วไปของกระทรวงกลาโหม<br />

และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย มีเจ้ากรมเสมียนตรา เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลเอก วิสุทธิ์ นาเงิน<br />

เจ้ากรมเสมียนตรา<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

- จัดกิจกรรมและเข้าร่วมพิธีเพื่อแสดงความจงรัก<br />

ภักดีต่อสถาบันและพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นการ<br />

แสดงออกถึงความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

อันเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยทุกคน เช่น การวาง<br />

พานพุ่มดอกไม้ของ กห. ถวายเป็นราชสักการะพระบรม<br />

ราชานุสาวรีย์, จัดข้าราชการเฝ้ารับเสด็จและการเป็นเจ้าภาพ<br />

พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพพระบาทสมเด็จ<br />

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และพิธี<br />

บำเพ็ญกุศลสัตตมวาร (๗ วัน) พิธีบำเพ็ญกุศลปัณรสมวาร<br />

(๑๕ วัน) และพิธีบำเพ็ญกุศลปัญญาสมวาร (๕๐ วัน) และ<br />

พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสัตมวาร ครบรอบ ๑๐๐ วัน และการ<br />

จัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่<br />

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถ<br />

บพิตร และถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิรา<br />

ลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร<br />

- การจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร เนื่องในเทศกาล<br />

วันขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๐ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ<br />

ถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร<br />

เทพยวรางกูร<br />

43


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

- กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสมหามงคล<br />

เฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์<br />

ถวายพระพรชัยมงคล และพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็น<br />

พระราชกุศล และจัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพร<br />

ชัยมงคล และพิธีทำบุญตักบาตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล<br />

แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่๙<br />

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา และ<br />

พิธีลงนามถวายพระพร ในวันศุกร์ที่ ๑๑ ส.ค.๖๐<br />

- การปฏิบัติธรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

กิจกรรมพัฒนาวัด พัฒนาจิตใจ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม<br />

จริยธรรม และกิจกรรมปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์<br />

เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และการดำเนินการ<br />

อบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงาน<br />

ราชการในสังกัด <strong>สป</strong>. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

- จัดทำบันทึกข้อตกลงกับกระทรวงแรงงาน<br />

ว่าด้วยการส่งเสริมการมีงานทำให้กับทหารกองประจำการ<br />

เพื่อฝึกอาชีพให้แก่ทหารกองประจำการตามความถนัด และ<br />

สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน พร้อมทั้ง<br />

ประสานกับสถานประกอบการเพื่อจัดหางานให้หลังจาก<br />

ปลดประจำการไปแล้ว ทั้งนี้ ได้กำหนดหน่วยนำร่องในการ<br />

ดำเนินการและสำรวจความต้องการของทหารกองประจำ<br />

การที่ประสงค์จะฝึกอาชีพหรือจัดหางาน ประกอบด้วย<br />

กองพลทหารราบที่ ๙ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และ<br />

หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน โดยหลังจากนี้กระทรวงแรงงาน<br />

จะดำเนินการจัดฝึกอาชีพและนัดพบนายจ้างต่อไป<br />

- ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลสำหรับ<br />

ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเองของกำลังพลให้ โดยมี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งของกำลังพล<br />

เพื่อเตรียมพร้อมให้มีคุณสมบัติความสามารถและศักยภาพใน<br />

การทำงาน<br />

- ดำเนินการจัดทำแผนบทเรียนการเรียนการสอน<br />

ภายในหน่วย เพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังพลของหน่วยโดยการ<br />

ให้ความรู้ การฝึกอบรม ปัจจุบันหน่วยได้จัดการเรียนการสอน<br />

ตามแผนบทเรียนภายในหน่วยให้กำลังพลเรียบร้อยแล้ว<br />

- เข้าร่วมประชุมและสัมมนาเพื่อจัดทำร่างแผน<br />

พัฒนาบุคลากรของ กห. ร่วมกับ บก.ทท. และเหล่าทัพ<br />

ปัจจุบันได้ดำเนินการวิเคราะห์บริบท ทิศทางเชิงยุทธศาสตร์<br />

จัดทำร่างวิสัยทัศน์ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา<br />

บุคลากรของ กห. เรียบร้อยแล้ว โดยจะดำเนินการจัดทำแผน<br />

ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๑<br />

44


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

- ดำเนินการโครงการเกษียณอายุราชการก่อน<br />

กำหนดของ กห. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับลดจ ำนวนกำลังพล<br />

สูงอายุ รวมถึงการลดความคับคั่งของกำลังพลชั้นยศสูง โดย<br />

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ มีผู้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุ<br />

ราชการก่อนกำหนดของ กห. จำนวนทั้งสิ้น ๘,๘๕๔ นาย ดังนี้<br />

๑. โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดตาม<br />

มติสภากลาโหม จำนวน ๑๗ นาย<br />

๒. โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด<br />

ตามมติคณะกรรมการข้าราชการทหาร (สิ้นสุดโครงการ<br />

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ (ต.ค.๖๑) จำนวน ๑๖๒ นาย<br />

๓. โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด<br />

ตามมติ ครม. (สิ้นสุดโครงการในปีงบประมาณ ๒๕๖๑/ต.ค.<br />

๖๐) จำนวน ๘,๖๗๕ นาย<br />

ทั้งนี้ ผลการดำเนินโครงการเกษียณอายุราชการ<br />

ก่อนกำหนดของ กห. ทั้ง ๓ รูปแบบ ในห้วง ๕ ปีที่ผ่านมา<br />

มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น ๒๓,๙๗๗ นาย<br />

- ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง และยกเลิก กฎ ข้อบังคับ<br />

ระเบียบ ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับสภาวการณ์<br />

ปัจจุบัน ดังนี้<br />

๑. ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยโรงเรียนช่างฝีมือทหาร<br />

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๒. ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและ<br />

วันหยุดราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๓. ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและ<br />

วันหยุดราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๔. ระเบียบ กห.ว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดี<br />

อาญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๕. ระเบียบ กห.ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษสำหรับ<br />

ตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ<br />

พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๖. ระเบียบ กห.ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษสำหรับ<br />

ตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านควบคุมอากาศยาน<br />

และแจ้งเตือน พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๗. ระเบียบ กห.ว่าด้วยเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง<br />

ที่มีเหตุพิเศษสำหรับหน่วยเรือ (ฉบับที่ ๕) ระเบียบ กห.<br />

ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้บังคับ<br />

อากาศยานไร้คนขับ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๘. คำสั่ง กห.ที่ ๓๙๕/๒๕๖๐ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์<br />

การเบิกจ่ายเงินเพิ่มค่าฝ่าอันตรายสำหรับผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ<br />

การผลิต การทดลอง การซ่อม และการทำลายวัตถุระเบิดเป็น<br />

ครั้งคราว<br />

๙. ระเบียบ กห.ว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จ<br />

พิเศษในเวลาปกติ (ฉบับที่ ๔) ระเบียบ กห.ว่าด้วยเงินเพิ่ม<br />

พิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้บังคับอากาศยาน<br />

ไร้คนขับ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

- จัดทำระบบบริหารจัดการข้าราชการพลเรือน<br />

กลาโหม โดยในการประชุม กขท. ครั้งที่๑/๖๐ เมื่อ ๑๑ ม.ค.๖๐<br />

ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.ฎ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน<br />

กลาโหม พ.ศ. .... และในการประชุมสภากลาโหม ครั้งที่<br />

๑/๒๕๖๐ เมื่อ ๓๐ ม.ค.๖๐ สภากลาโหมได้กรุณาให้ความ<br />

เห็นชอบร่าง พ.ร.ฎ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ.<br />

.... เรียบร้อยแล้วโดยร่าง พ.ร.ฎ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน<br />

กลาโหม พ.ศ. .... ได้นำเรียนเลขาธิการ ครม. ตามขั้นตอน<br />

และอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับส่วนราชการต่างๆ ที่ได้ให้<br />

ข้อสังเกตเพิ่มเติม<br />

- ดำเนินการกฎหมายลำดับรอง แล้วเสร็จและ<br />

ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการทหาร และ<br />

สภากลาโหม เรียบร้อยแล้วมีจำนวน ๓ ฉบับ ประกอบด้วย<br />

๑. ร่างกฎกระทรวง ว่าด้วยโรค พ.ศ. .... ซึ่งออกตาม<br />

ความในมาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.ฎ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน<br />

กลาโหม พ.ศ. .... ที่บัญญัติว่า ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็น<br />

ข้าราชการพลเรือนกลาโหม จะต้องไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการ<br />

รับราชการ ซึ่งใช้มาตรฐานเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนสามัญ<br />

แต่ในอนาคตหากเห็นว่าควรกำหนดโรคต้องห้ามเพิ่มเติม<br />

ก็สามารถดำเนินการออกเป็นข้อบังคับ กห. เพิ่มเติมได้เอง<br />

๒. ร่างกฎกระทรวง ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติ<br />

หน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการพลเรือนกลาโหม<br />

ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. .... ร่างกฎ<br />

กระทรวงฉบับนี้ ได้วางหลักเกณฑ์ให้ข้าราชการพลเรือน<br />

กลาโหม ที่บรรจุใหม่ต้องทำการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ<br />

โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๑ ปี<br />

โดยผู้บังคับบัญชาจะทำการมอบหมายงานให้เป็น<br />

ลายลักษณ์อักษร ให้คำปรึกษาแนะนำ ติดตามเมื่อครบระยะ<br />

เวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ แล้วจัดทำบันทึกผล<br />

45


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อส่งให้คณะกรรมการ<br />

ประเมินผลเป็นผู้พิจารณา หากผ่านเกณฑ์ที่กำหนดก็<br />

ให้มีคำสั่งให้รับราชการต่อไป หากไม่ผ่านเกณฑ์อาจให้<br />

ขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือมีคำสั่งให้ผู้นั้น<br />

ออกจากราชการก็ได้<br />

๓. ร่างกฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์<br />

และวิธีการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน<br />

กลาโหมและการให้ได้รับเงินเดือน พ.ศ. ....<br />

- จัดทำร่างระเบียบ กห.ว่าด้วยกำลังพลสำรอง<br />

เข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว พ.ศ. .... เพื่อใช้เป็นกรอบใน<br />

การบริหารจัดการบุคคลกำลังพลสำรอง และร่างระเบียบ กห.<br />

ว่าด้วยหลักเกณฑ์การได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทนอย่างอื่นและ<br />

สิทธิประโยชน์ของกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการ<br />

ชั่วคราว พ.ศ. .... เพื่อใช้เป็นกรอบในการให้สิทธิประโยชน์และ<br />

ค่าตอบแทนให้กับกำลังพลสำรอง ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการ<br />

ทหาร ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อ ๙ ส.ค.๖๐ ปัจจุบันอยู่<br />

ในระหว่างการนำรายละเอียดในเรื่องสิทธิประโยชน์และ<br />

ค่าตอบแทนขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อให้มี<br />

ผลบังคับใช้ต่อไป<br />

- ดำเนินการจัดทำและกำหนดคุณวุฒิท้ายอัตรา<br />

ของตำแหน่งแรกบรรจุ กำหนดประเภทสายงาน และ<br />

กลุ่มสายงาน พร้อมทั้งพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการกำหนด<br />

ความก้าวหน้าตามสายงาน และการข้ามสายงานและ<br />

กลุ่มสายงาน โดยสามารถกำหนดประเภทสายงานของ<br />

นายทหารสัญญาบัตรได้ จำนวน ๔๔ สายงาน นายทหาร<br />

ประทวน จำนวน ๒๘ สายงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ<br />

ปรับปรุงมาตรฐานเฉพาะตำแหน่งที่เหมาะสมในภาพรวมต่อไป<br />

- จัดทำฐานข้อมูลกำลังพลของ <strong>สป</strong>. พัฒนาและ<br />

ปรับปรุงระบบการบริหารงานกำลังพลทางอิเล็กทรอนิกส์<br />

จำนวน ๑๒ ระบบงาน ผ่านทางระบบเครือข่ายอินทราเน็ต<br />

ของ <strong>สป</strong>. ดังนี้<br />

๑. ระบบงานเพื่อช่วยในการบริหารจัดการด้าน<br />

กำลังพล ๙ ระบบงาน ได้แก่ ระบบงานทะเบียนประวัติ<br />

ระบบงานบรรจุ ระบบงานยศ ระบบงานปรับย้าย ระบบงาน<br />

พิจารณาบำเหน็จความชอบ ระบบงานเครื่องราชอิสริยาภรณ์<br />

ระบบงานช่วยปฏิบัติราชการ ระบบงานการออกจากราชการ<br />

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บังคับบัญชา<br />

- จัดทำแนวทางการเทียบตำแหน่งสำหรับการรับ<br />

โอนข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นข้าราชการทหารในชั้นยศ<br />

พล.ต. ขึ้นไป เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของ กห. สำหรับการรับโอน<br />

ข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นข้าราชการทหาร และสามารถ<br />

นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการด้านอื่นๆ อีกทั้ง เพื่อให้<br />

ข้าราชการทหารที่มีความรู้ ความสามารถ มีโอกาสเข้ารับ<br />

การสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ<br />

แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ได้กำหนดคุณสมบัติของ<br />

ผู้สมควรได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ใน<br />

การเป็นผู้รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่า<br />

อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ทั้งนี้ รมว.กห. ได้<br />

กรุณาอนุมัติใช้แนวทางการเทียบตำแหน่งดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว<br />

๒. ระบบงานเพื่อช่วยในการบริหารการพัฒนา<br />

กำลังพล ๓ ระบบงาน ได้แก่ ระบบมาตรฐานเฉพาะตำแหน่ง<br />

ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานทางอิเล็กทรอนิกส์ และ<br />

ระบบงานการพัฒนาบุคลากร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่าง<br />

การปรับปรุงระบบให้ครอบคลุม ตรงตามเงื่อนไขและสะดวก<br />

ต่อการใช้งาน<br />

- ดำเนินการจัดทำแผนงานการกำลังพลของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ระยะ ๕ ปี เพื่อใช้เป็น<br />

แนวทางในการจัดหากำลังพลได้อย่างเหมาะสมตามความ<br />

ต้องการและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งทบทวน และ<br />

ปรับปรุงนโยบายการกำลังพลของ <strong>สป</strong>. ให้มีความทันสมัย<br />

สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน<br />

46


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

- ดำเนินการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้กับกำลังพล<br />

ใน กห. เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ และครอบคลุมในด้านต่างๆ<br />

อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ตามนโยบายของ<br />

รมว.กห. สรุปผลการปฏิบัติที่สำคัญได้ ดังนี้<br />

๑. ในรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา คณะ<br />

กรรมการข้าราชการทหาร ได้ให้ความเห็นชอบกำหนด<br />

ตำแหน่งข้าราชการทหารให้เป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงิน<br />

ประจำตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทวิชาชีพเฉพาะ<br />

และประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อให้ได้รับค่าตอบแทนที่<br />

เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ความรู้เฉพาะทาง และ<br />

ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมทั้งสิ้น ๒๕๘ ตำแหน่ง ๗๖๙<br />

อัตรา คิดเป็นเงินงบประมาณ จำนวน ๖.๗ ล้านบาทเศษ<br />

- คณะกรรมการข้าราชการทหาร พิจารณาปรับปรุง<br />

วิธีการรับเงินเดือนโดยกำหนดร่างหลักเกณฑ์และวิธีการ<br />

เยียวยาให้แก่ข้าราชการทหารผู้ได้รับผลกระทบจากความ<br />

เหลื่อมล้ำของอัตราเงินเดือน ระหว่างอัตราเงินเดือนของ<br />

ข้าราชการทหารกับข้าราชการพลเรือนสามัญ เสนอต่อ ครม.<br />

โดยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อ ๔ ม.ค.๖๐<br />

- กำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของ<br />

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี สำหรับนายทหาร<br />

สัญญาบัตรในอัตรา ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน และนายทหาร<br />

ประทวนในอัตรา ๓,๘๐๐ บาทต่อเดือน ปัจจุบันอยู่ระหว่าง<br />

การนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการข้าราชการทหาร<br />

- ดำเนินการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงิน<br />

ประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร พ.ศ.๒๕๕๓ (เพิ่มเติม<br />

สาขาวิชาชีพเฉพาะ) โดยคณะกรรมการข้าราชการทหาร ได้มี<br />

มติเห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.ฎ.การได้รับเงินประจำตำแหน่งของ<br />

ข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม<br />

พ.ร.ฎ.การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร พ.ศ.<br />

๒๕๕๓ เพื่อเพิ่มเติมสาขาวิชาชีพเฉพาะ จำนวน ๖ สาขา ให้<br />

ครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ที่มีลักษณะงานซึ่งต้องใช้วิชาชีพ<br />

ในปัจจุบันอันจะเป็นการก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินประจำ<br />

ตำแหน่ง และเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้กับข้าราชการ<br />

ทหารซึ่งปฏิบัติงานที่ต้องใช้วิชาชีพที่กำหนดเพิ่มเติม ขณะนี้<br />

ร่าง พ.ร.ฎ. อยู่ระหว่างนำเสนอเข้าพิจารณาในที่ประชุม ครม.<br />

- การเตรียมการรองรับการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการ<br />

รับเงินประจำตำแหน่งข้าราชการทหารประเภทวิชาการและ<br />

การกำหนดเงินประจำตำแหน่งประเภทวิทยฐานะ โดยคณะ<br />

กรรมการข้าราชการทหาร ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขหลักเกณฑ์<br />

การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้มีขีดความ<br />

สามารถทางด้านวิชาการ สามารถดำรงตำแหน่งทางวิชาการ<br />

ได้โดยไม่ผูกติดกับชั้นยศ และกำหนดหลักเกณฑ์การได้รับ<br />

เงินประจำตำแหน่งให้กับข้าราชการทหารที่ได้รับการแต่งตั้ง<br />

ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิทยฐานะโดยการปรับปรุงบัญชี<br />

อัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการทหารประเภทวิชาการ<br />

(ตำแหน่ง ศ., รศ., ผศ.) จากเดิมที่กำหนดชั้นยศควบคู่กับ<br />

ตำแหน่งทางวิชาการ ให้เหลือเพียงตำแหน่งทางวิชาการ<br />

รวมทั้งเพิ่มเติมบัญชีเงินประจำตำแหน่งประเภทวิทยฐานะ<br />

แนบท้าย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.๒๕๒๑ และมี<br />

มติให้แก้ไข พ.ร.ฎ.การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการ<br />

ทหาร พ.ศ.๒๕๕๓ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้บริหาร ซึ่งมี<br />

ตำแหน่งทางวิชาการ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งทั้งประเภท<br />

บริหารและประเภทวิชาการ พร้อมทั้งมีสิทธิได้รับเงิน<br />

ค่าตอบแทนจำนวนเท่ากับเงินประจำตำแหน่งที่มีอัตราสูงกว่า<br />

เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจน<br />

กำหนดหลักเกณฑ์การได้รับเงินประจำตำแหน่งให้กับ<br />

ข้าราชการทหารที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภท<br />

วิทยฐานะนั้น กองงานคณะกรรมการข้าราชการทหาร<br />

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกลาโหม สม.ได้จัดการ<br />

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมการรองรับการแก้ไขกฎหมาย<br />

ดังกล่าวแล้ว ซึ่งขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร<br />

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ ร่าง พ.ร.ฎ.การได้รับเงินประจำ<br />

ตำแหน่งของข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... อยู่ระหว่าง<br />

การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา<br />

- ดำเนินการจัดส่งข้าราชการเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติม<br />

ให้สอดคล้องกับหน้าที่ จำนวน ๖๐ หลักสูตร ๖๖๓ นาย<br />

แบ่งเป็นหลักสูตรตามแนวทางการรับราชการ จำนวน ๓๖<br />

หลักสูตร และหลักสูตรเพิ่มพูนความรู้ จำนวน ๒๔ หลักสูตร<br />

- มอบทุนการศึกษาให้กับข้าราชการเพื่อพัฒนา<br />

ตนเองให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ ได้แก่ ระดับปริญญาโท จำนวน ๑๓ ทุน, ระดับ<br />

ปริญญาตรี จำนวน ๑๒ ทุน, ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน<br />

๓ ทุน และหลักสูตรระยะสั้น จำนวน ๓๐ ทุน รวมทั้งจัดให้มี<br />

47


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

การอบรมหลักสูตรที่เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต<br />

ได้แก่ หลักสูตรนายทหารชั้นต้นของ สม., หลักสูตรนายทหาร<br />

กำลังพลของ <strong>สป</strong>. และหลักสูตรการฝึกข้าราชการบรรจุใหม่<br />

- ดำเนินการตามนโยบายของ ปล.กห. โดยให้ความ<br />

สำคัญในการดูแลข้าราชการชั้นผู้น้อยและครอบครัว เพื่อให้<br />

มีขวัญกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่าง<br />

เหมาะสม มีเกียรติและศักดิ์ศรีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ<br />

พอเพียง ได้แก่การปรับปรุงบริการขนส่งระหว่างที่ทำงานและ<br />

อาคารที่พักอาศัย การบริการทางการแพทย์ให้กำลังพลและ<br />

ครอบครัวในพื้นที่อาคารที่พักอาศัย และกำหนดแผนงานการ<br />

ปรับปรุงอาคารที่พักอาศัย รวมทั้งกิจกรรมสันทนาการและ<br />

กีฬาให้กับครอบครัว และบุตรหลานกำลังพลอย่างต่อเนื่อง<br />

- รอง ปล.กห./ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกัน<br />

และปราบปรามยาเสพติด <strong>สป</strong>. และคณะได้เดินทางไปตรวจ<br />

เยี่ยมการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่<br />

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือฯ รวมทั้งจัดกิจกรรมกีฬา<br />

ต้านภัยยาเสพติดและทัศนศึกษานอกสถานที่ ให้กับเยาวชน<br />

บุตรหลาน ของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการใน<br />

สังกัด <strong>สป</strong>. เพื่ออบรมให้เยาวชนมีระเบียบวินัย รู้จักการเสียสละ<br />

ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว เสริมสร้าง<br />

พฤติกรรมที่ดีในการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันให้ห่างไกล<br />

ยาเสพติด<br />

48


สำนักงบประมาณกลาโหม (สงป.กห.)<br />

Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่พิจารณา เสนอนโยบาย อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการ<br />

เกี่ยวกับการงบประมาณ การบริหารทรัพยากรและงานในสายงานงบประมาณอื่นๆ<br />

ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติของส่วนราชการในกระทรวง<br />

กลาโหม ให้เป็นไปตามนโยบายด้านงบประมาณที่กระทรวงกลาโหมกำหนด<br />

มีผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลเอก สุวโรจน์ ทิพย์มงคล<br />

ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

งานตามประเด็นยุทธศาสตร์ของ <strong>สป</strong>. ที่หน่วยรับผิดชอบ<br />

หรือสนับสนุน<br />

กห. ได้รับการจัดสรรงบประมาณตาม พ.ร.บ.<br />

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ จำนวน<br />

ทั้งสิ้น ๒๑๓,๕๔๔ ล้านบาทเศษ สูงกว่างบประมาณรายจ่าย<br />

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ จำนวน ๗,๐๘๒ ล้านบาทเศษ<br />

หรือสูงกว่าร้อยละ ๓.๔๓ โดยคิดเป็นร้อยละ ๑.๔๔ ของ<br />

GDP หรือคิดเป็นร้อยละ ๗.๘๑ ของงบประมาณประเทศ<br />

ประกอบด้วยงบประมาณจำแนกตามส่วนราชการได้ ดังนี้<br />

49


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ส่วนราชการ<br />

<strong>สป</strong>.<br />

<strong>สป</strong>.<br />

อผศ.<br />

นถปภ.รอ.<br />

รอ.<br />

บก.ทท.<br />

ทบ.<br />

ทร.<br />

ทอ.<br />

สทป.<br />

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙<br />

พ.ร.บ.ฯ สัดส่วน<br />

๘,๖๗๔.๙๘๙๐<br />

๕,๗๗๓.๓๒๓๔<br />

๑,๘๘๙.๐๖๕๗<br />

๑,๐๑๒,๕๙๙๙<br />

๗๔๒.๒๘๓๒<br />

๑๕,๘๒๒.๙๒๙๙<br />

๑๐๑,๔๒๖,๘๔๕๑<br />

๔๐,๓๙๕,๔๑๗๓<br />

๓๘,๒๐๘,๕๗๒๓<br />

๑,๑๙๐.๒๗๔๑<br />

๔.๒๐%<br />

๒.๘๐%<br />

๐.๙๑%<br />

๐.๔๙%<br />

๐.๓๖%<br />

๗.๖๖%<br />

๔๙.๑๓%<br />

๑๙.๕๗%<br />

๑๘.๕๑%<br />

๐.๕๘%<br />

เสนอขอ<br />

๑๐,๑๓๙.๐๐๕๖<br />

๖,๘๘๘,๕๗๓๒<br />

๒,๐๐๘,๗๒๓๓<br />

๑,๒๔๑.๗๐๙๑<br />

๘๗๓,.๒๑๙๗<br />

๑๘,๐๖๐.๒๖๒๖<br />

๑๑๔,๕๘๒.๑๔๐๙<br />

๔๕,๕๔๕.๐๒๘๐<br />

๔๒,๔๑๗.๓๑๐๘<br />

๑,๕๑๕.๓๓๙๐<br />

๙,๑๓๒.๘๓๔๘<br />

๕,๙๕๖.๔๑๔๖<br />

๑,๙๔๗.๔๓๑๑<br />

๑,๒๒๘,๙๘๙๑<br />

๘๕๙.๘๑๒๖<br />

๑๖,๓๗๗.๔๑๘๔<br />

๑๐๔,๙๔๕.๑๔๖๖<br />

๔๑,๙๓๓.๐๖๑๖<br />

๓๙,๐๘๘.๘๙๖๑<br />

๑,๒๐๖.๘๔๙๓<br />

๔.๒๘%<br />

๒.๗๙%<br />

๐.๙๑%<br />

๐.๕๘%<br />

๐.๔๐%<br />

๗.๖๗%<br />

๔๙.๑๔%<br />

๑๙.๖๔%<br />

๑๘.๓๐%<br />

๐.๕๗%<br />

๔๕๗,๘๔๕๘<br />

๑๘๓.๐๙๑๒<br />

๕๘.๓๖๕๔<br />

๒๑๖.๓๘๙๒<br />

๑๑๗.๕๒๙๔<br />

๕๕๔.๔๘๘๕<br />

๓,๕๑๘.๓๐๑๕<br />

๑,๕๓๗.๖๔๔๓<br />

๘๘๐.๓๒๓๘<br />

๑๖.๕๗๕๒<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

ได้รับ สัดส่วน เพิ่ม/ลดจากปี ๕๙<br />

๕.๒๘%<br />

๓.๑๗%<br />

๓.๐๙%<br />

๒๑.๓๗%<br />

๑๕.๘๓%<br />

๓.๕๐%<br />

๓.๔๗%<br />

๓.๘๑%<br />

๒.๓๐%<br />

๑.๓๙%<br />

รวมทั้งสิ้น<br />

๑๐๐.๐๐% ๒๓๓,๑๓๒,๓๐๖๖ ๒๑๓,๕๔๔.๐๑๙๔ ๑๐๐.๐๐% ๗,๐๘๒.๗๐๘๕ ๓.๔๓%<br />

โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าว เป็นงบประมาณสำหรับ<br />

ดำเนินภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ ของ กห. ใน ๖ ยุทธศาสตร์ ๑ รายการ ดังนี้<br />

๑. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบัน<br />

พระมหากษัตริย์ ได้รับการจัดสรร จำนวน ๑,๒๕๗.๙๓๔๒<br />

ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๕๙ ของวงเงินทั้งสิ้น ประกอบ<br />

ด้วย<br />

๑.๑ การปฏิบัติภารกิจประจำพื้นฐานของหน่วย<br />

ในการถวายความปลอดภัย การถวายพระเกียรติ และปฏิบัติ<br />

ตามพระราชประสงค์ เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความ<br />

ปลอดภัยสูงสุด จำนวน ๑,๐๙๖.๘๕๓๔ ล้านบาท คิดเป็น<br />

ร้อยละ ๐.๕๑<br />

๑.๒ โครงการเทิดทูน ป้องกัน รวมทั้งตอบโต้และ<br />

ทำความเข้าใจให้มีการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

จำนวน ๑๖๑.๐๘๐๘ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๐๘ ของ<br />

วงเงิน<br />

๒. ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การป้องกันประเทศ ได้รับการจัดสรร<br />

จำนวน ๑๐๐,๒๑๙.๔๔๘๙ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ<br />

๔๖.๙๓ ของวงเงินทั้งสิ้น ประกอบด้วย<br />

๒.๑ การปฏิบัติภารกิจพื้นฐานในการเสริมสร้าง<br />

ศักยภาพการป้องกันประเทศ และการรักษาความมั่นคง<br />

ภายใน จำนวน ๙๒,๖๓๑.๓๙๙๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ<br />

๔๓.๓๘<br />

๒.๒ โครงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพเพื่อ<br />

ให้กองทัพมียุทโธปกรณ์ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการป้องกัน<br />

ประเทศ จำนวน ๖,๗๙๙.๒๕๓๘ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ<br />

๓.๑๘<br />

๒.๓ การดำเนินงานภายใต้แผนงานบูรณาการส่งเสริม<br />

การวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนการวิจัยและผลงานวิจัยให้<br />

สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนากองทัพ จำนวน<br />

๗๘๘.๗๙๗๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๓๗<br />

๓. ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การรักษาความมั่นคงของรัฐ ได้รับ<br />

การจัดสรร จำนวน ๑,๔๙๐.๘๐๕๓ ล้านบาท หรือคิดเป็น<br />

ร้อยละ ๐.๗๐ ของวงเงินทั้งสิ้น โดยเป็นการดำเนินงาน<br />

ภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัด<br />

ชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่<br />

จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ด้วยการปฏิบัติการ<br />

ด้านยุทธการ การปฏิบัติการด้านการข่าว การส่งเสริมอาชีพ<br />

และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้ง<br />

เสริมสร้างความสัมพันธ์กับประชาชน<br />

๔. ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างความร่วมมือด้าน<br />

ความมั่นคงกับต่างประเทศ ได้รับการจัดสรร จำนวน<br />

๑,๓๐๐.๒๘๑๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๖๑ ของวงเงิน<br />

ทั้งสิ้น ประกอบด้วย<br />

๔.๑ โครงการดำเนินงานความร่วมมือด้านความ<br />

มั่นคงในกรอบอาเซียนเพื่อเสริมสร้าง พัฒนากลไกความ<br />

ร่วมมือทางทหารกับประเทศสมาชิกอาเซียน ยกระดับความ<br />

50


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

สามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้และ<br />

ประสบการณ์ต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของประชาคม<br />

อาเซียนในเวทีนานาชาติ จำนวน ๑๐๖.๕๘๑๕ ล้านบาท<br />

หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๐๕<br />

๔.๒ การปฏิบัติภารกิจพื้นฐานในการเสริมสร้างความ<br />

สัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความสัมพันธ์<br />

ทางทหารที่ดีและบทบาทในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ<br />

ในกรอบสหประชาชาติ และเวทีระหว่างประเทศนานาชาติ<br />

จำนวน ๑,๑๙๓.๖๙๙๖ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๕๖<br />

๕. ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาประเทศและช่วยเหลือ<br />

ประชาชน ได้รับการจัดสรร จำนวน ๓,๗๙๒.๙๙๓๖ ล้านบาท<br />

หรือคิดเป็นร้อยละ ๑.๗๘ ของวงเงินทั้งสิ้น ประกอบด้วย<br />

๕.๑ การดำเนินการตามแผนงานบูรณาการสร้าง<br />

ความปรองดองและสมานฉันท์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ<br />

ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบนพื้นฐานของความ<br />

สมานฉันท์จำนวน ๕๙.๗๘๙๔ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๓<br />

๕.๒ การดำเนินการตามแผนงานบูรณาการป้องกัน<br />

ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้ประชาชน<br />

กลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างภูมิคุ้มกัน และการบำบัดฟื้นฟู<br />

ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ รวมถึงการลด<br />

การนำเข้าและตัดวงจรการค้ายาเสพติด จำนวน ๓๓๒.๒๕๘๒<br />

ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๑๖<br />

๕.๓ การปฏิบัติภารกิจพื้นฐานในการพัฒนาโครงสร้าง<br />

พื้นฐานและการช่วยเหลือประชาชน เพื่อยกระดับประชาชน<br />

ในพื้นที่ดำเนินการที่ กห. ได้รับมอบหมาย มีความเป็นอยู่<br />

ที่ดีขึ้น และรักษาผลประโยชน์ของชาติ ได้รับจำนวน<br />

๓,๓๗๕.๑๔๐๖ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๑.๕๘<br />

๕.๔ การดำเนินการตามแผนงานบูรณาการพัฒนา<br />

พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี เพื่อให้พื้นที่<br />

ดังกล่าวได้รับความคุ้มครอง การจัดระบบโครงสร้างพื้นฐาน<br />

ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงที่ได้<br />

มาตรฐานและมีความปลอดภัย จำนวน ๒๕.๘๐๕๔ ล้านบาท<br />

คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๑<br />

๖. ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเพื่อ<br />

ความมั่นคง ได้รับการจัดสรร จำนวน ๑,๑๗๗.๕๒๖๗<br />

ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๕๕ ของวงเงินทั้งสิ้น เพื่อ<br />

ดำเนินการในภารกิจพื้นฐานในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก<br />

และครอบครัว ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีเกียรติและศักดิ์ศรี<br />

ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจ และสนับสนุนการมีส่วนร่วม<br />

ในภารกิจการป้องกันภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐ<br />

๗. รายการค่าดำเนินการภาครัฐ สำหรับเป็นค่าใช้จ่าย<br />

ในแผนงานบุคลากรภาครัฐ เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบัน<br />

หลักของชาติและแผนงานบุคลากรภาครัฐ เสริมสร้างศักยภาพ<br />

การป้องกันประเทศ จำนวน ๑๐๔,๓๐๕.๐๒๙๖ ล้านบาท<br />

คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๘๔ ของวงเงินทั้งสิ้น<br />

วงเงินงบประมาณของกระทรวงกลาโหม สามารถ<br />

จำแนกตามโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำ<br />

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ของรัฐบาลได้ ดังนี้<br />

๑. กลุ่มงบประมาณรายจ่าย กระทรวง/หน่วยงาน<br />

(Function) จำนวนทั้งสิ้น ๒๑๐,๘๔๖.๕๖๕๐ ล้านบาท<br />

คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๗๔ ของวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ประกอบ<br />

ด้วย<br />

๑.๑ แผนงานบุคลากรภาครัฐ จำนวน<br />

๑๐๔,๓๐๕.๐๒๙๖ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๘๔<br />

๑.๒ แผนงานพื้นฐาน จำนวน ๙๖,๐๙๙.๔๗๘๗<br />

ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๐๐<br />

๑.๓ แผนงานยุทธศาสตร์จำนวน ๑๐,๔๔๒.๐๕๖๗<br />

ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๔.๘๙<br />

๒. กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda)<br />

จำนวนทั้งสิ้น ๒,๖๗๑.๖๔๙๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๑.๒๕<br />

ของวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ประกอบด้วย<br />

๒.๑ แผนงานบูรณาการสร้างความปรองดองและ<br />

สมานฉันท์จำนวน ๕๙.๗๘๙๔ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๓<br />

๒.๒ แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา<br />

จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน ๑,๔๙๐.๘๐๕๓ ล้านบาท คิดเป็น<br />

ร้อยละ ๐.๗๐<br />

๒.๓ แผนงานบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และ<br />

บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จำนวน ๓๓๒.๒๕๘๒ ล้านบาท<br />

คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๖<br />

๒.๔ แผนงานบูรณาการส่งเสริมการวิจัยและ<br />

พัฒนา จำนวน ๗๘๘.๗๙๖๑ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๗<br />

๓. กลุ่มงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ (Area) จำนวน<br />

๒๕.๘๐๕๔ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๑ เป็นงบประมาณ<br />

ในแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ<br />

พุน้ำร้อน โดยคำของบประมาณดังกล่าว มีสาระสำคัญของ<br />

วงเงินงบประมาณสามารถจำแนกตามประเภทค่าใช้จ่าย ดังนี้<br />

๓.๑ รายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็น ได้รับจำนวน<br />

๑๐๗,๐๓๘.๕๑๙๘ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๑๒<br />

ของวงเงินทั้งสิ้น<br />

51


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๓.๒ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจประจำพื้นฐาน<br />

ได้รับจำนวน ๔๗,๗๙๑.๙๓๕๓ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ<br />

๒๒.๓๘ ของวงเงินทั้งสิ้น<br />

๓.๓ โครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่เป็นภาระ<br />

ผูกพันเดิม ได้รับจำนวน ๒๗,๘๒๒.๗๘๔๑ ล้านบาท หรือคิดเป็น<br />

ร้อยละ ๑๓.๐๓ ของวงเงินทั้งสิ้น ซึ่งส่วนราชการจำเป็นต้อง<br />

เสนอขอตั้งตามข้อผูกพันสัญญาในปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

จำนวน ๖๕ โครงการ<br />

๓.๔ โครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพ ได้รับจำนวน<br />

๒๙๗ โครงการ วงเงิน ๓๐,๘๙๐.๗๘๐๒ ล้านบาท หรือคิด<br />

เป็นร้อยละ ๑๔.๔๗ ของวงเงินทั้งสิ้น ประกอบด้วย โครงการ<br />

ปีเดียว จำนวน ๒๖๗ โครงการ เป็นเงิน ๒๒,๔๐๘.๙๗๖๖<br />

ล้านบาท และโครงการผูกพันใหม่ จำนวน ๓๐ โครงการ<br />

เป็นเงิน ๘,๔๘๑.๘๐๓๖ ล้านบาทเศษ<br />

งานตามภารกิจหน่วย<br />

๑. การดำเนินงานด้านงบประมาณในปีงบประมาณ<br />

พ.ศ.๒๕๖๐<br />

จากการที่กห. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย<br />

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ จำนวน ๒๑๓,๔๔๙.๙๑๗<br />

ล้านบาท งบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น จำนวน<br />

๒๑๓,๓๙๔.๐๖๙ ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ<br />

รายจ่ายภาพรวมตามระบบ GFMIS ณ วันที่ ๓๐ ก.ย.๖๐<br />

จำนวน ๑๘๔,๕๐๙.๑๓๕ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๔๖<br />

ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ภาครัฐกำหนดให้เบิกจ่ายไม่น้อยกว่า<br />

ร้อยละ ๙๖.๐๐ อยู่ร้อยละ ๙.๕๔ และมีผลการเบิกจ่าย<br />

งบประมาณรายจ่ายลงทุน จำนวน ๓๕,๔๒๘.๓๘๕ ล้านบาท<br />

หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๑.๘๗ ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน<br />

จำนวน ๔๙,๒๙๓.๔๘๖ ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ภาครัฐ<br />

กำหนดให้เบิกจ่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๗.๐๐ อยู่ร้อยละ<br />

๑๕.๑๓<br />

ในส่วนของ <strong>สป</strong>. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย<br />

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ จำนวน ๙,๑๓๒.๘๓๕<br />

ล้านบาท งบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสิ้น จำนวน<br />

๙,๗๑๕.๓๘๓ ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย<br />

ภาพรวมตามระบบ GFMIS ณ วันที่ ๓๐ ก.ย.๖๐ จำนวน<br />

๙,๓๗๙.๒๗๘ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๖.๕๔ ซึ่งสูงกว่า<br />

เป้าหมายที่ภาครัฐ อยู่ร้อยละ ๐.๕๔ และมีผลการเบิกจ่าย<br />

งบประมาณรายจ่ายลงทุน จำนวน ๑,๙๒๑.๑๑๔ ล้านบาท<br />

หรือคิดเป็นร้อยละ ๙๑.๘๔ ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน<br />

จำนวน ๒,๐๙๑.๗๔๙ ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ภาครัฐ<br />

กำหนดร้อยละ ๔.๘๔<br />

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายภาพรวมของกระทรวงกลาโหม<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

หน่วย<br />

งบประมาณหลังโอน<br />

ร้อยละ สูงหรือต่ำกว่า<br />

เบิกจ่ายแล้ว ร้อยละ<br />

เปลี่ยนแปลง<br />

เป้าหมาย เป้าหมาย<br />

<strong>สป</strong>. ๙,๗๑๕.๓๘๓ ๙,๓๗๙.๒๗๘ ๙๖.๕๔ ๙๖.๐๐๐ ๐.๕๔<br />

รอ. ๒๗๗.๒๖๔ ๒๗๗.๑๗๙ ๙๙.๙๗ ๙๖.๐๐๐ ๓.๙๗<br />

บก.ทท. ๑๖,๓๖๑.๑๘๘ ๑๔,๙๑๑.๓๓๓ ๙๑.๑๔ ๙๖.๐๐๐ -๔.๘๖<br />

ทบ. ๑๐๔,๘๖๓.๑๙๗ ๙๑,๐๗๔.๖๗๙ ๘๖.๘๕ ๙๖.๐๐๐ -๙.๑๕<br />

ทร. ๔๑,๙๓๒.๕๖๒ ๓๖,๙๗๙.๕๓๑ ๘๘.๑๙ ๙๖.๐๐๐ -๗.๘๑<br />

ทอ. ๓๙,๐๓๗.๖๒๖ ๓๐,๖๘๐.๒๘๖ ๗๘.๕๙ ๙๖.๐๐๐ -๑๗.๔๑<br />

สทป. ๑,๒๐๖.๘๔๙ ๑,๒๐๖.๘๔๙ ๑๐๐.๐๐ ๙๖.๐๐๐ ๔.๐๐<br />

รวมทั้งสิ้น ๒๑๓,๓๙๔.๐๖๙ ๑๘๔,๕๐๙.๑๓๕ ๘๖.๔๖ ๙๖.๐๐๐ -๙.๕๔<br />

52


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนของกระทรวงกลาโหม<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

หน่วย<br />

งบประมาณหลังโอน<br />

ร้อยละ สูงหรือต่ำ<br />

เบิกจ่ายแล้ว ร้อยละ<br />

เปลี่ยนแปลง<br />

เป้าหมาย กว่าเป้าหมาย<br />

<strong>สป</strong>. ๒,๐๙๑.๗๔๙ ๑,๙๒๑.๑๑๔ ๙๑.๘๔ ๘๗.๐๐ ๔.๘๔<br />

รอ. ๑๑๕.๑๔๔ ๑๑๕.๑๔๔ ๑๐๐.๐๐ ๘๗.๐๐ ๑๓.๐๐<br />

บก.ทท. ๓,๙๓๖.๕๖๒ ๓,๖๒๕.๓๖๕ ๙๒.๐๙ ๘๗.๐๐ ๕.๐๙<br />

ทบ. ๒๑,๓๘๒.๔๑๔ ๑๒,๗๐๒.๖๓๓ ๕๙.๔๑ ๘๗.๐๐ -๒๗.๕๙<br />

ทร. ๘,๙๘๘.๐๖๘ ๗,๒๔๒.๔๖๔ ๘๐.๕๘ ๘๗.๐๐ -๖.๔๒<br />

ทอ. ๑๒,๑๗๗.๙๑๒ ๙,๒๒๐.๐๒๘ ๗๕.๕๔ ๘๗.๐๐ -๑๑.๒๙<br />

สทป. ๖๐๑.๖๓๗ ๖๐๑.๖๓๗ ๑๐๐.๐๐ ๘๗.๐๐ ๑๓.๐๐<br />

รวมทั้งสิ้น ๔๙,๒๙๓.๔๘๖ ๓๕,๔๒๘.๓๘๕ ๗๑.๘๗ ๘๗.๐๐ -๑๕.๑๗<br />

๒. การติดตามเร่งรัดโครงการ/งานที่สำคัญ<br />

๒.๑ การตรวจและติดตามผลความก้าวหน้าโครงการ/<br />

งาน ของ <strong>สป</strong>. ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย ระหว่าง<br />

๖ – ๘ ก.พ.๖๐ จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการ<br />

จัดหาอุปกรณ์หยั่งธรณี (Wireline Logging Truck) และ<br />

โครงการจัดหารถผสมและสูบส่งซีเมนต์เหลว รวมทั้ง<br />

ผลการดำเนินงานเงินอุดหนุนการสำรวจปิโตรเลียมบนบก<br />

ในภาคเหนือของ พท.ศอ.พท.<br />

๒.๓ การตรวจและติดตามผลความก้าวหน้าโครงการ<br />

ของ กห. ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ระหว่าง ๒๗ - ๒๘ มิ.ย.๖๐<br />

จำนวน ๑ โครงการ คือ โครงการจัดตั้งกองพลทหารราบที่ ๗<br />

๒.๒ การตรวจและติดตามผลความก้าวหน้าโครงการ<br />

ของ กห. และ <strong>สป</strong>. ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น ระหว่าง ๒๑ - ๒๒<br />

มี.ค.๖๐ จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการจัดตั้ง<br />

กองพลทหารม้าที่ ๓ และโครงการดำรงสถานภาพระบบ<br />

เครือข่ายการสื่อสารหลัก (Backbone) ของ กห.<br />

53


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒.๔ การตรวจและติดตามผลความก้าวหน้าโครงการ<br />

ของ กห. ในพื้นที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ระหว่าง ๒๙ - ๓๐<br />

ส.ค.๖๐ จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการจัดหา<br />

เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง และโครงการจัดหาเรือลากจูงขนาด<br />

กลาง<br />

งานสำคัญอื่นๆ<br />

งานด้านการพัสดุ<br />

ขออนุมัติจัดซื้อ/จัดจ้าง ของ นขต.<strong>สป</strong>., นขต.กห. และ<br />

เหล่าทัพ งานที่วงเงินอยู่ในอำนาจอนุมัติของ ปล.กห. และ<br />

รมว.กห. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

อานาจ ปล.กห.<br />

อานาจ รมว.กห.<br />

หน่วย รวม<br />

กาลังดาเนิน<br />

อยู่ระหว่าง<br />

จานวน อนุมัติแล้ว การ จานวน อนุมัติแล้ว<br />

ดาเนินการ<br />

<strong>สป</strong>. ๑๓ ๙ ๙ - ๔ ๔ -<br />

รอ. ๑ - - - ๑ - ๑<br />

บก.ทท. ๙ - - - ๙ ๙ -<br />

ทบ. ๔๐ - - - ๔๐ ๓๕ ๕<br />

ทร. ๒๒ - - - ๒๒ ๑๙ ๓<br />

ทอ. ๙ - - - ๙ ๙ -<br />

รวม ๙๔ ๙ ๙ - ๘๕ ๗๖ ๙<br />

54


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

กรมพระธรรมนูญ (ธน.)<br />

ภารกิจ : มีขอบข่ายการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมาย และ<br />

กระบวนการยุติธรรมของทหาร ซึ่งประกอบด้วย ศาลทหาร อัยการทหาร ทนาย<br />

ทหาร และนายทหารพระธรรมนูญ รวมตลอดถึงงานให้การศึกษาอบรมงานตรวจ<br />

ร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย การดำเนินการและประสานงานการทำข้อตกลง<br />

ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทหาร งานการคดี งานตรวจร่างสัญญา งานตอบ<br />

ข้อหารือ วินิจฉัยให้ข้อเสนอแนะทางกฎหมายงานสงเคราะห์ทางกฎหมาย งาน<br />

สังคมศาสตร์ และงานราชทัณฑ์ในส่วนของราชการทหาร มีเจ้ากรมพระธรรมนูญ<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลเรือเอก กฤษฎา เจริญพานิช<br />

เจ้ากรมพระธรรมนูญ<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

งานด้านศาลทหาร<br />

๑. ศาลทหารสูงสุด มีผลการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑.๑ พิจารณาพิพากษาคดีแล้วเสร็จ ระหว่าง ต.ค.๕๙ – ก.ย.๖๐ จำนวน ๔๓ คดี<br />

๑.๒ ออกคำสั่ง, หมายปล่อยตัวชั่วคราว จำนวน ๓๐ คดี<br />

๑.๓ พิจารณาพิพากษา, มีการออกคำสั่งและหมายปล่อยชั่วคราว จำนวน ๕๐ คดี<br />

๒. ศาลทหารกลาง มีผลการดำเนินการ ดังนี้<br />

๒.๑ คดีที่อยู่ระหว่างพิจารณายกมาจากเดือน ก.ย.๕๙ จำนวน ๑๙๑ คดี<br />

๒.๒ คดีที่รับเข้าใหม่ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๙ – ๓๐ ก.ย.๖๐ จำนวน ๑๕๖ คดี<br />

๒.๓ พิจารณาพิพากษาและมีคำสั่งแล้วเสร็จ จำนวน ๒๕๐ คดี<br />

๒.๔ คงเหลือคดียกไป ต.ค.๖๐ จำนวน ๘๘ คดี<br />

55


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๓. ศาลทหารกรุงเทพ มีผลการดำเนินการ ดังนี้<br />

๓.๑ คดีที่อยู่ระหว่างพิจารณายกมาจากเดือน ก.ย.๕๙ จำนวน ๒๑๙ คดี<br />

๓.๒ คดีที่รับเข้าใหม่ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๙ – ๓๐ ก.ย.๖๐ จำนวน ๓๔๖ คดี<br />

๓.๓ พิจารณาพิพากษาและมีคำสั่งแล้วเสร็จ จำนวน ๔๒๒ คดี<br />

๓.๔ คงเหลือคดียกไป ต.ค.๖๐ จำนวน ๑๔๓ คดี<br />

งานด้านอัยการทหาร<br />

มีผลการดำเนินคดีงานด้านอัยการทหารในรอบปี ดังนี้<br />

อัยการศาลทหารกรุงเทพ<br />

- รับสำนวน จำนวน ๓๙๐ คดี<br />

- สั่งฟ้อง จำนวน ๑,๒๐๔ คดี<br />

- สั่งไม่ฟ้อง จำนวน ๕๒ คดี<br />

- สั่งชะลอฟ้อง จำนวน ๕,๑๖๘ คดี<br />

- ส่งสำนวนคืน, ส่งไปที่อื่น จำนวน ๑๕ คดี<br />

- จำหน่ายคดี จำนวน ๕๓ คดี<br />

- อยู่ระหว่างพิจารณา จำนวน ๖๖๒ คดี<br />

อัยการฝ่ายอุทธรณ์และฎีกา<br />

- สำนวนคดีเข้าทั้งหมด จำนวน ๓๔๙ คดี<br />

- คดีที่โจทก์ไม่อุทธรณ์ จำนวน ๒๖๙ คดี<br />

- คดีที่โจทก์อุทธรณ์ จำนวน ๕ คดี<br />

- คดีที่โจทก์แก้อุทธรณ์ จำนวน ๔ คดี<br />

- คดีที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์ จำนวน ๓ คดี<br />

- คดีที่โจทก์ไม่ฎีกา จำนวน ๓๓ คดี<br />

- คดีที่โจทก์ฎีกา จำนวน ๖ คดี<br />

- คดีที่โจทก์แก้ฎีกา จำนวน ๗ คดี<br />

- คดีที่ ศท.ก.ท. มีคำสั่งให้จำหน่วยคดี<br />

(เนื่องจากจำเลยกับผู้เสียหายตกลงยอมความกัน) จำนวน ๑ คดี<br />

- คดีที่ ศท.ก.ท. มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี<br />

(เนื่องจากจำเลยเสียชีวิต) จำนวน ๑ คดี<br />

- คดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาของ ศท.ก.ท.<br />

ศาลไต่สวนกรณีจำเลยเสียชีวิต จำนวน ๑ คดี<br />

- คดีที่จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศท.กลาง มีคำสั่งให้ถอนอุทธรณ์<br />

โจทก์ไม่ฎีกาคำสั่ง จำนวน ๑ คดี<br />

- คดีที่ ศท.สูงสุด มีคำสั่งให้ ศท.ก.ท. ดำเนินกระบวนพิจารณา<br />

มีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี จำนวน ๑ คดี<br />

- คดีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องโดยมอบหมายให้<br />

อก.ศท.ก.ท. ฟ้องคดีแทน จำนวน ๑ คดี<br />

- คดีที่ ศท.ก.ท. ไม่ประทับฟ้องโจทก์<br />

โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศท.ก.ท. จำนวน ๓ คดี<br />

- คดีที่ ศท.สูงสุด มีคำพิพากษาถึงที่สุด จำนวน ๓ คดี<br />

56


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

อัยการฝ่ายวิชาการ<br />

ตรวจสำนวนเอกสารรายงานการคดี จำนวน ๔,๓๑๖ คดี<br />

รายงานการปฏิบัติหน้าที่ จำนวน ๒,๑๔๓ คดี<br />

งานด้านทนายทหาร<br />

มีผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ดังนี้<br />

๑. งานด้านทนายจำเลยในศาลทหาร<br />

๑.๑ ตั้งทนายให้จำเลย (คดีที่ ศท.ก.ท. ขอตั้งทนาย) จำนวน ๖๒ คดี<br />

๑.๒ ตั้งทนายให้จำเลย (คดีที่ ศาล มทบ., จทบ.ขอตั้งทนาย จำนวน ๔๗ คดี<br />

๑.๓ จัดหาทนายให้จำเลย (คดีที่จำเลยร้องขอให้แต่งทนาย) จำนวน ๒ คดี<br />

๒. งานให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือทางกฎหมาย จำนวน ๑๓ คดี<br />

๓. งานร่วมฟังการสอบสวน จำนวน ๘ คดี<br />

งานด้านกฎหมาย<br />

มีผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา ดังนี้<br />

๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๓. ร่างพระราชบัญญัติการถวายความปลอดภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๔. ร่างพระราชบัญญัติราชองครักษ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๕. ร่างพระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๖. ร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กรมราช<br />

องครักษ์ กระทรวงกลาโหม และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ....<br />

๗. ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย<br />

รักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ....<br />

๘. ร่างพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๙. ร่างพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๑๐ ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรีและสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....<br />

๑๑. ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม<br />

พ.ศ.๒๕๒๑ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนช่างกรมอู่ทหารเรือ พ.ศ. ....<br />

กองนิติธรรมทหาร<br />

มีเรื่องที่ดำเนินการทั้งหมด จำนวน ๔๑๙ เรื่อง<br />

- การพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จำนวน ๑๒๔ เรื่อง<br />

- การดำเนินคดีแพ่ง จำนวน ๙๙ เรื่อง<br />

- การตรวจร่างสัญญา จำนวน ๗๐ เรื่อง<br />

- การเรือนจำ (ย้ายนักโทษ) จำนวน ๒๓ เรื่อง<br />

- การอภัยโทษ จำนวน ๑๐๓ เรื่อง<br />

กองคุ้มครองพยาน<br />

มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้<br />

๑. ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองพยานในคดีอาญาของ กห. ให้แก่กำลังพลของ มทบ.๒๔<br />

และ มทบ.๑๗ เพื่อให้กำลังพลได้รับทราบถึงสิทธิในการเป็นพยานในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดี<br />

อาญา พ.ศ.๒๕๔๖ และระเบียบ กห. ว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๕๘<br />

57


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒. เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตร “การคุ้มครอง<br />

พยานในคดีค้ามนุษย์อาเซียน” เมื่อ ๑๕ – ๑๘ ส.ค.๖๐ ณ<br />

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งจัด<br />

โครงการกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม<br />

๓. ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือการคุ้มครองพยาน<br />

ในคดีอาญาของ กห. เพื่อดำเนินการแจกจ่ายให้ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

และเหล่าทัพ ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน<br />

๔. ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงาน<br />

คุ้มครองพยานในคดีอาญาของ กห. ให้แก่กำลังพลของ<br />

มทบ.๑๗, พล.ร.๙ และ มทบ.๒๔ เมื่อ ๒๖ พ.ค.๖๐ และ<br />

เมื่อ ๒๒ ส.ค.๖๐<br />

- จัดโครงการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายเนื่อง<br />

ในโอกาส ธน. ครบ ๑๑๑ ปี จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ ก.ค.๖๐<br />

ณ สโมสรทหารมหาดเล็กฯ ร.๑ พัน.๑ รอ. มีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชน วงการวิชาการ<br />

ด้านกฎหมาย และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษารู้จัก<br />

ธน. กระบวนการยุติธรรมทหาร และกฎหมายทหารให้เป็น<br />

ไปอย่างกว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้นอีกทั้ง เปิดโอกาส<br />

ให้นิสิตและนักศึกษาได้แสดงความรู้ความสามารถทางด้าน<br />

กฎหมาย<br />

- โครงการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาด้าน<br />

นิติศาสตร์ โดยจัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ศาสตร์<br />

พระราชาด้านนิติศาสตร์” เมื่อวันที่ ๒๗ เม.ย.๖๐<br />

ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยมี วิทยากร<br />

บรรยายประกอบด้วย ศาสตราจารย์กิตติคุณวิษณุ เครืองาม<br />

รอง นรม. และศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัด<br />

สำนักนายกรัฐมนตรี มีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายประกอบ<br />

ด้วย ข้าราชการสังกัด <strong>สป</strong>. นายทหารเหล่า ธน.รวมถึง<br />

ข้าราชการในสายงานด้านกำลังพลและการสารวัตรทหาร<br />

ของเหล่าทัพต่างๆ จำนวน ๓๕๐ นาย และมีผู้สื่อข่าวจาก<br />

สำนักข่าวต่างๆ ได้ให้ความสนใจเผยแพร่ข่าวเป็นจำนวนมาก<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติและ<br />

เผยแพร่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีคุณูปการ<br />

ต่อปวงชนชาวไทยและประเทศชาติ เพื่อเผยแพร่ศาสตร์<br />

พระราชาด้านนิติศาสตร์ ให้ข้าราชการในสังกัด <strong>สป</strong>. นายทหาร<br />

เหล่าทหารพระธรรมนูญ และข้าราชการในสายงานด้าน<br />

กฎหมายของเหล่าทัพต่างๆ ได้มีความรู้และความเข้าใจที่<br />

ถูกต้องเพื่อน้อมนำไปปฏิบัติอันจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ<br />

งานด้านศึกษาอบรม<br />

- ได้ส่งนายทหารพระธรรมนูญเข้ารับหลักสูตร<br />

การพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับชำนาญการขึ้นไป รุ่นที่<br />

๑๙, ๒๐, ๒๑ ประจำปีงบประมาณ จำนวน ๓๒ นาย (รวม<br />

เหล่าทัพ) และหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับ<br />

ปฏิบัติการ รุ่นที่ ๑๓, ๑๔ จำนวน ๖๕ นาย (รวมเหล่าทัพ)<br />

โดยใช้งบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา<br />

มีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรประมาณ ๓ เดือน<br />

ทั้งนี้ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ ๖ (การพัฒนากฎหมายและ<br />

ส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี) ของแผนบริหาร<br />

ราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๑ โดยมีสำนักงาน<br />

คณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานข้าราชการพลเรือน<br />

เป็นเจ้าภาพ<br />

58


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอพท.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ส่งเสริม และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศและพลังงานทหาร วางแผน อำนวยการ ประสานงาน พิจารณาเสนอ<br />

ความเห็น ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม และปฏิบัติงานอื่นตามที่<br />

ได้รับมอบหมาย มีผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลเอก ฐิตินันท์ ธัญญสิริ<br />

ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์<br />

เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกระทรวงกลาโหม<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙<br />

ตามมติสภากลาโหม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อ ๒๙ ก.พ.<br />

๕๙ เรื่อง แผนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

เพื่อการพึ่งพาตนเอง โดยให้ <strong>สป</strong>. ดำเนินการหารือร่วมกับ<br />

บก.ทท., เหล่าทัพ และ สทป. ในการกำหนดแนวทางการ<br />

พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเอง<br />

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีการวิจัยพัฒนาสำหรับการผลิตใช้<br />

ในราชการและการส่งออกในเชิงพาณิชย์ อันจะนำไปสู่การ<br />

ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศและสร้างรายได้ให้<br />

กับประเทศต่อไป<br />

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติ<br />

การเพื่อการพัฒนากิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

ของ กห. และสรุปรายงานผลการดำเนินการต่อ รมว.กห.<br />

เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง รมว.กห. ได้กรุณาอนุมัติ ให้ปรับปรุงแผน<br />

แม่บทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๓<br />

ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ กห. พ.ศ.<br />

๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ และยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของรัฐบาล ให้<br />

แล้วเสร็จภายใน มิ.ย.๖๐ เพื่อรวมระบบการบริหารจัดการ<br />

59


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

ของ กห. เข้าไว้ด้วยกัน และกำหนดเป้าหมายให้สอดรับกับ<br />

แนวทางการวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

ระยะ ๒๐ ปี (ปี ๖๐ – ๗๙) ของ กห. ตามที่ได้รายงานให้<br />

ที่ประชุม ครม. ทราบเรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือน เม.ย.๖๐<br />

ที่ผ่านมา ซึ่งมีกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญ ๔ ระยะ<br />

ได้แก่ ระยะที่ ๑ (๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) การปฏิรูป, ระยะที่ ๒<br />

(๒๕๖๕ - ๒๕๖๙) การส่งเสริมความเข้มแข็ง, ระยะที่ ๓<br />

(๒๕๗๐ - ๒๕๗๔) การส่งผ่านการผลิตและการซ่อมบำรุง<br />

สู่ภาคเอกชน และระยะที่ ๔ (๒๕๗๕ - ๒๕๗๙) การสร้าง<br />

ความยั่งยืน เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการปฏิรูป<br />

โครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Thailand 4.0” ซึ่งต้องขับเคลื่อน<br />

ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์<br />

โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ นโยบายการตัดสินใจ “สร้าง<br />

หรือซื้อ” (Make or Buy) เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์<br />

สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อต่อยอดความเข้มแข็ง<br />

ของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในปัจจุบันและยกระดับไปสู่<br />

อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต และปฏิบัติ<br />

ตามมติสภากลาโหม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ ศอพท. จึงได้จัด<br />

ทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.<br />

๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้<br />

เกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยคณะกรรมการระดับนโยบายที่มี รมว.กห.<br />

เป็นประธาน และมี ปล.กห.,. ผบ.ทสส. และ ผบ.เหล่าทัพ<br />

เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการและมีอำนาจหน้าที่ในการ<br />

กำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ ของ กห.<br />

และเมื่อวันที่ ๒๘ ส.ค.๖๐ สภากลาโหมได้มีมติ<br />

เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห. พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙<br />

และให้ <strong>สป</strong>. (ศอพท.) รับไปดำเนินการต่อไป และเมื่อ ๒๔<br />

ก.ย.๖๐ รมว.กห. ได้กรุณาอนุมัติยุทธศาสตร์การพัฒนา<br />

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห.<br />

เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือปฏิบัติต่อไป เรียบร้อยแล้ว<br />

๒. การจัดทำร่างแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔<br />

แผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ กห. พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ เพื่อใช้เป็น<br />

หลักในการบริหารจัดการงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศร่วมกันในลักษณะบูรณาการ<br />

<strong>60</strong>


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

และมุ่งสู่การปฏิรูปกรอบงานการกำหนดความต้องการ<br />

ยุทโธปกรณ์ของ กห. เพื่อดำรงขีดความสามารถการ<br />

ผลิตที่มีความคุ้มทุนไว้ในประเทศ และสร้างกลไกการ<br />

ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากผู้ขายให้กลับ<br />

เข้ามาสู่อุตสาหกรรมภายในประเทศ ด้วยการส่งเสริม<br />

การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและยกระดับภาคการผลิตของ<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นเป้าหมายในระยะที่ ๑<br />

(ปี ๖๐ - ๖๔) ตามร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์<br />

เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห. อยู่ระหว่าง<br />

นำเรียน รมว.กห. เพื่อกรุณาอนุมัติร่างแผนการพัฒนา<br />

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห.<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือ<br />

ปฏิบัติต่อไป<br />

๓. การปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ<br />

คณะกรรมการด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการ<br />

พลังงานทหาร ตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ ๑๙๕/๕๒ ลง<br />

๑๘ มิ.ย.๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม<br />

ตามนโยบายรัฐบาลที่นำประเทศไทยไปสู่การปฏิรูป<br />

โครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อก้าวข้าม “Thailand 3.0” ไปสู่<br />

“Thailand 4.0” ซึ่งต้องเกิดอุตสาหกรรม ๔.๐ ที่ขับเคลื่อน<br />

ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ โดยการ<br />

พัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ<br />

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ และ<br />

มีกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ นโยบายการตัดสินใจ “สร้างหรือซื้อ”<br />

(Make or Buy) เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์สำหรับ<br />

อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อต่อยอดความเข้มแข็ง<br />

ของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพปัจจุบันและยกระดับไปสู่<br />

อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต และตามมติสภา<br />

กลาโหม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อ ๒๙ ก.พ.๕๙ เรื่อง แผนการ<br />

พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเอง<br />

กห. จึงควรรวมระบบงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศและระบบงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเชื่อมต่อการวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศของ กห. เข้ากับระบบการพัฒนางานวิจัยสู่<br />

สายการผลิตใช้ในราชการ/เชิงพาณิชย์ของ สทป. โดยการ<br />

บริหารราชการภายใน กห. จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๒<br />

ประการ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห. พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙<br />

และการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติด้วยคณะกรรมการ<br />

ระดับนโยบาย ที่มี ปล.กห., ผบ.ทสส. และ ผบ.เหล่าทัพ<br />

เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการและมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด<br />

นโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศ ของ กห. อยู่ระหว่างนำเรียน รมว.กห. เพื่อกรุณา<br />

อนุมัติปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ<br />

คณะกรรมการต่อไป<br />

ตามแผนแม่บทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พ.ศ.<br />

๒๕๕๘ - ๒๕๖๓ สสอป.ศอพท.ได้ปฏิบัติงานในส่วนที่<br />

เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ ดังนี้<br />

๑. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การผลิตสนับสนุนภารกิจกองทัพ<br />

กลยุทธ์ที่ ๑.๑ การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต<br />

ของโรงงานในสังกัด กห.<br />

การดำเนินโครงการโดยใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ<br />

๑.๑ โครงการผลิตลูกปืน สอ.๓๗ มม. ชนิดฝึกต่อเนื่อง<br />

รมว.กห. ได้อนุมัติ เมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๖ ให้<br />

โครงการผลิตลูกปืน สอ.๓๗ มม. ชนิดฝึกต่อเนื่อง เป็น<br />

โครงการเริ่มใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ระยะเวลา<br />

ดำเนินโครงการฯ ๔ ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ - ๒๕๖๐<br />

ผลิตเฉพาะลูกปืนฯ TYPE 74 (บก) จำนวน ๑๕,๐๐๐ นัด<br />

เพื่อขายให้กับ ทร. ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐<br />

ปีละ ๕,๐๐๐ นัด ราคานัดละ ๒,๖๘๑.๓๓.- บาท ใช้เงิน<br />

ทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ลงทุนวงเงิน<br />

๓๗,๖๔๗,๐๑๒.- บาท เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ จะมีประมาณ<br />

การรายรับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔๐,๒๑๙,๙๕๐.- บาท<br />

สพ.ทร. ได้ซื้อลูกปืนฯ แล้ว รวมจำนวน<br />

๑๐,๐๐๐ นัด ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ และ ๒๕๕๙ สำหรับ<br />

ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ได้ซื้อลูกปืนฯ จำนวน ๕,๐๐๐ นัด<br />

ครบตามจำนวนผลิตของโครงการฯ และชำระเงินล่วงหน้า<br />

ร้อยละ ๗๕ แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐,๐๕๔,๙๘๗.๕๐.- บาท<br />

ขณะนี้โครงการฯ ได้ดำเนินการผลิตลูกปืนฯ<br />

จำนวน ๕,๑๐๐ นัด ครบตามแผนการผลิต งวดการผลิตที่ ๓<br />

ซึ่งเป็นงวดการผลิตสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว แบ่งเป็นการผลิต<br />

เพื่อทดสอบการทำงานของไพรเมอร์และเทรเซอร์ จำนวน<br />

๗๐ นัด คงเหลือที่ต้องส่งมอบให้กับกรมสรรพาวุธทหารเรือ<br />

จำนวน ๕,๐๓๐ นัด (๓๐ นัด สำหรับยิงทดสอบตรวจรับ)<br />

ซึ่ง ศอพท. โดย สสอป.ศอพท. ได้นำไปส่งมอบให้กับ ทร.<br />

เมื่อ ๒๙ ส.ค.๖๐ และได้ทำการยิงทดสอบตรวจรับลูกปืนฯ<br />

เมื่อ ๒๑ ก.ย.๖๐ โดยสรุปผลการยิงในเบื้องต้น ลูกปืนฯ<br />

ผ่านเกณฑ์การยิงทดสอบ<br />

๑.๒ โครงการผลิตกระสุนขนาดกลาง<br />

รมว.กห. ได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการผลิต<br />

กระสุนขนาดกลาง โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรม<br />

61


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ป้องกันประเทศ ลงทุนวงเงิน ๒๖๒,๘๙๑,๑๗๔.- บาท ระยะ<br />

เวลาดำเนินโครงการ ๖ ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ -<br />

๒๕๖๔ ผลิตกระสุน ขนาด ๒๓ มม. จำนวน ๑๐๐,๐๐๐<br />

นัด และกระสุนขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มม. จำนวน ๒๕,๐๐๐<br />

นัด เพื่อขายให้กับ ทอ. เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ จะมีประมาณ<br />

การรายรับ ๒๘๖,๘๗๕,๐๐๐.- บาท ตามแผนการดำเนิน<br />

โครงการในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ได้แก่ การจัดหา<br />

เครื่องจักร และวัสดุสำหรับการผลิต แต่เนื่องจากมีปัญหา<br />

ขัดข้องในการดำเนินการด้านการพัสดุ ทำให้โครงการฯ<br />

ไม่สามารถดำเนินการผลิตกระสุน ขนาด ๒๓ มม. จำนวน<br />

๒๕,๐๐๐ นัด ได้ตามแผนในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ดังนั้น<br />

จึงได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงโครงการฯ โดยปรับแผนการ<br />

ผลิตและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับ<br />

การปฏิบัติงานจริง สรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ปรับ<br />

แผนการใช้จ่ายงบประมาณใน ๓ ปีแรก (ปีงบประมาณ<br />

๒๕๕๙ - ๒๕๖๑) และปรับแผนการผลิตฯ ในปีงบประมาณ<br />

๒๕๕๙ ไปดำเนินการผลิตในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ และเพิ่ม<br />

กำลังการผลิตในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ จาก ๒๕,๐๐๐ นัด<br />

เป็น ๕๐,๐๐๐ นัด ทั้งนี้ การปรับแผนดังกล่าวสอดคล้อง<br />

กับความต้องการใช้งานกระสุนขนาด ๒๓ มม. ของ ทอ.<br />

โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดซื้อกระสุนของ สพ.ทอ. และ<br />

ขณะนี้ ปล.กห. ได้กรุณาอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงโครงการฯ<br />

เรียบร้อยแล้ว<br />

ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ทอ. ได้ตกลงซื้อกระสุน ขนาด<br />

๒๓ มม. งวดที่ ๑ จำนวน ๒๕,๐๐๐ นัด ราคานัดละ ๑,๑๑๐.-<br />

บาท รวมเป็นเงิน ๒๗,๗๕๐,๐๐๐.- บาท และจ่ายเงินล่วงหน้า<br />

ร้อยละ ๗๕ เป็นเงิน ๒๐,๘๑๒,๕๐๐.- บาท แล้ว<br />

ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ทอ. ตกลงซื้อกระสุน ขนาด<br />

๒๓ มม. งวดที่ ๒ จำนวน ๒๕,๐๐๐ นัด ราคานัดละ ๑,๑๑๐.-<br />

บาท รวมเป็นเงิน ๒๗,๗๕๐,๐๐๐.- บาท และจ่ายเงิน<br />

ล่วงหน้า ร้อยละ ๗๕ เป็นเงิน ๒๐,๘๑๒,๕๐๐.- บาท แล้ว<br />

โครงการฯ ได้ผลิตกระสุนขนาด ๒๓ มม. งวดที่ ๑<br />

ครบตามแผน จำนวน ๒๕,๐๐๐ นัด ซึ่ง ศอพท. โดย สสอป.<br />

ศอพท. ได้นำไปส่งมอบ ให้กับ ทอ. เมื่อ ๒๙ ก.ย.๖๐ และได้<br />

ทำการยิงทดสอบตรวจรับกระสุนฯ เมื่อ ๑๐ ต.ค.๖๐ โดย<br />

สรุปผลการยิงทดสอบในชั้นต้น กระสุนฯ ผ่านเกณฑ์การยิง<br />

ทดสอบ<br />

๑.๓ โครงการผลิตลูกปืน สอ.๓๗ มม. ชนิดฝึกต่อเนื่อง<br />

(ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ - ๒๕๖๕)<br />

รมว.กห. ได้อนุมัติ เมื่อ ๒๐ ต.ค.๕๙ ให้โครงการ<br />

ผลิตลูกปืน สอ.๓๗ มม. ชนิดฝึกต่อเนื่อง (ปีงบประมาณ<br />

๒๕๖๐ - ๒๕๖๕) เป็นโครงการเริ่มใหม่ ประจำปีงบประมาณ<br />

๒๕๖๐ โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศ ลงทุนวงเงิน ๖๘,๘๒๐,๔๒๔.- บาท ระยะเวลา<br />

ดำเนินการ ๖ ปี ผลิตลูกปืน สอ.๓๗ มม. Type 74 ชนิด<br />

ฝึก จำนวน ๒๕,๐๐๐ นัด โดยเริ่มผลิตตั้งแต่ปีงบประมาณ<br />

๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ เพื่อขายให้กับ ทร. ปีละ ๕,๐๐๐ นัด ราคา<br />

นัดละ ๒,๘๖๒.๒๖.- บาท เมื่อสิ้นสุดโครงการจะมีประมาณ<br />

การรายรับ ๗๑,๕๕๖,๕๐๐.- บาท<br />

แผนการดำเนินโครงการในปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

ได้แก่ การจัดซื้อวัสดุสนับสนุนการผลิต โดยมีความต้องการ<br />

งบประมาณ จำนวน ๓๙,๒๘๗,๙๖๙.- บาท ซึ่งขณะนี้อยู่<br />

ระหว่างการดำเนินกรรมวิธีจัดหาวัสดุเพื่อให้โครงการฯ<br />

เปิดสายการผลิตในต้นปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ต่อไป<br />

๒. ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ<br />

โครงการนำร่องการนำผลงานวิจัยสู่สายการผลิตใช้<br />

ในราชการและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์<br />

ทร. ร่วมกับ สทป. ดำเนินโครงการความร่วมมือ<br />

การผลิตลูกปืน สอ. ๓๐ x ๑๗๓ มม. ชนิดฝึก เพื่อรับรอง<br />

มาตรฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องการนำผลงาน<br />

วิจัยสู่สายการผลิตใช้ในราชการและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์<br />

โดยการดำเนินโครงการมีผลสำเร็จเป็นอย่างดี และ ทร.ได้<br />

เสนอความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศสำหรับดำเนินโครงการผลิตลูกปืน สอ. ๓๐ x ๑๗๓<br />

มม. ชนิดฝึก<br />

ผลการดำเนินการ<br />

ปล.กห. ได้อนุมัติ เมื่อ ๒ พ.ย.๕๙ ให้โครงการผลิต<br />

ลูกปืน สอ. ๓๐ x ๑๗๓ มม. ชนิดฝึก (ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ -<br />

๒๕๖๕) เป็นโครงการเริ่มใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑<br />

ใช้เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ลงทุน<br />

วงเงิน ๖๙,๖๓๘,๑๖๒.- บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ<br />

๕ ปี ผลิตลูกปืน สอ. ๓๐ x ๑๗๓ มม. ชนิดฝึก จำนวน<br />

๑๕,๐๐๐ นัด เพื่อขายให้กับ ทร. ปีละ ๓,๐๐๐ นัด ราคา<br />

นัดละ ๔,๗๔๖.๑๙.- บาท เมื่อสิ้นสุดโครงการจะมีประมาณ<br />

การรายรับ ๗๑,๑๙๒,๘๕๐.- บาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง<br />

ได้อนุมัติประมาณการรายจ่ายเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำ<br />

ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ แล้ว และ สสอป.ศอพท. ได้เตรียม<br />

ดำเนินกรรมวิธีจัดหาวัสดุเพื่อให้โครงการฯ เปิดสายการผลิต<br />

ในต้นปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ต่อไป<br />

62


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

กรมการพลังงานทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (พท.ศอพท.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่วางแผน ดำเนินการ ควบคุม วิจัย พัฒนา ผลิต จัดหา สะสม และให้<br />

บริการเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและการพลังงานทดแทน เพื่อสนับสนุนภารกิจ<br />

ของกระทรวงกลาโหม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน เพื่อความมั่นคง<br />

ของประเทศตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนให้การสนับสนุนเสริม<br />

ด้านวิชาการ และประสานความร่วมมือด้านพลังงานกับองค์กรภาครัฐและเอกชน<br />

ตามที่ได้รับมอบหมาย มีเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศและพลังงานทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี<br />

เจ้ากรมการพลังงานทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. ด้านพลังงานทดแทน<br />

ได้ดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก<br />

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จากสำนักงาน<br />

นโยบายและแผนพลังงาน และกรมพัฒนาพลังงานทดแทน<br />

และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อดำเนินงานด้าน<br />

พลังงานทดแทน ภายใต้การดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลง<br />

ความร่วมมือระหว่าง พน. และ กห. เมื่อ ๒๓ เม.ย.๕๖ โดยมี<br />

ผลการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑.๑ โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสง<br />

อาทิตย์แบบอิสระผสมผสานแบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย<br />

(Grid Back up System) ขนาดไม่น้อยกว่า ๓๐ กิโลวัตต์ เพื่อ<br />

ความมั่นคงในหน่วยทหาร (จำนวน ๑๐ ระบบ)<br />

๑.๒ โครงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสง<br />

อาทิตย์สำหรับฐานปฏิบัติการทางทหาร ปี ๒๕๕๘ (จำนวน<br />

๔๒ ชุด)<br />

๑.๓ โครงการจัดสร้างระบบผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำด้วย<br />

เซลล์แสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ขนาดไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ วัตต์<br />

เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหาร (จำนวน ๒๐๐ ระบบ)<br />

๑.๔ โครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสง<br />

อาทิตย์ เพื่อความมั่นคงในหน่วยทหาร (จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด)<br />

๑.๕ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ใน<br />

หน่วยทหาร และหน่วยงานในสังกัด กห. (จำนวน ๕๐ ระบบ)<br />

63


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สาธารณภัยและภัยพิบัติปัญหาภัยแล้ง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์<br />

ในการบูรณาการทรัพยากรของภาครัฐกับหน่วยงานราชการอื่น<br />

ในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ<br />

๑.๖ โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสง<br />

อาทิตย์แบบผสมผสานอัจฉริยะด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบ<br />

สายส่งและแบตเตอรี่สำรอง Smart Hybrid PV-Grid and<br />

Battery System) ขนาดไม่น้อยกว่า ๓๐ กิโลวัตต์ เพื่อความ<br />

มั่นคงในหน่วยทหาร<br />

๑.๗ โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสง<br />

อาทิตย์แบบ Mini Grid-Hybrid (Grid Backup) ขนาด<br />

ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ กิโลวัตต์และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์<br />

แสงอาทิตย์แบบ Mini Grid-Hybrid (Grid Backup) ขนาด<br />

ไม่น้อยกว่า ๓๐ กิโลวัตต์ บริเวณพื้นที่โรงเรียนนายสิบ<br />

ทหารบก จำนวน ๒ ระบบ<br />

๑.๘ โครงการจัดสร้างระบบผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำด้วย<br />

เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ วัตต์ บนรถลากจูง<br />

ขนาดเล็ก เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหาร จำนวน ๑๒๕ ระบบ<br />

๒. งานสำคัญอื่นๆ<br />

- โครงการแก้มลิงช่วยเหลือประชาชน โดยได้<br />

ประสาน นพค. ๓๒ สนภ. ๓ นทพ. เพื่อขอรับการสนับสนุน<br />

เจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ และออกแบบประมาณการเป็นหน่วย<br />

รับผิดชอบ รวมทั้งโครงการแก้มลิงช่วยเหลือประชาชน โดย<br />

การขยายพื้นที่รับน้ำอ่างเก็บน้ำหนองผักหนาม โดยมีระยะ<br />

เวลาดำเนินงานตั้งแต่ ๑๕ พ.ค.๖๐ – ๒๐ มิ.ย.๖๐ ซึ่งเป็น<br />

ไปตามดำริของ ปล.กห. เมื่อคราวเดินทางไปตรวจเยี่ยม<br />

ศพปน.พท.ศอพท. เมื่อวันที่ ๖ – ๗ ม.ค.๖๐ และเมื่อ<br />

๒๓ มิ.ย.๖๐ ได้รับการส่งมอบโครงการขุดลอกหนองผักหนาม<br />

ซึ่งสามารถขยายพื้นที่แหล่งกักเก็บน้ำ โดยการขุดลอกอ่างเก็บ<br />

น้ำหนองผักหนาม เดิมขนาดพื้นที่๒๑,๘๒๐ ตร.ม. ให้ได้ขนาด<br />

๒๘,๔๕๕ ตร.ม. ปริมาณดินขุด ๘๘,๖๕๐ ลบ.ม. ที่บ้านสันป่าก่อ<br />

หมู่ ๒ ต.แม่คะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เกิดประโยชน์ในการ<br />

เพิ่มปริมาณน้ำจืดสำรองสำหรับใช้ในกิจการปิโตรเลียมของ<br />

ศพปน.พท.ศอพท. และเพิ่มเติมขีดความสามารถจัดหาแหล่งน้ ำ<br />

จืดสำรองสำหรับช่วยเหลือประชาชนในด้านการบรรเทา<br />

ทั้งนี้ ได้ขยายผลการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่ง<br />

กักเก็บน้ำหนองผักหนามเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์รองรับ<br />

ภารกิจด้านปิโตรเลียม การพัฒนาหน่วย รวมถึงงานกิจการ<br />

พลเรือน การบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพสูงสุด<br />

๓. กิจกรรมการปฏิบัติงานที่สำคัญในรอบปี ๒๕๖๐<br />

ร่วมน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายระบบผลิตไฟฟ้า<br />

และสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่ขนาดไม่น้อยกว่า<br />

๑,๒๐๐ วัตต์ แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม<br />

ราชกุมารี เมื่อวันที่ ๑๕ ก.พ.๖๐<br />

64


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศพปน.พท.ศอพท.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ วางแผน ประสานงาน ดำเนินการเกี่ยวกับ การสำรวจการ<br />

กลั่นปิโตรเลียมในพื้นที่ที่ได้รับมอบ รวมถึงการวิจัย การพัฒนา การจัดหา การสะสม<br />

การผลิตสำรองเพื่อความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและกระแสไฟฟ้า<br />

หรือพลังงานรูปแบบอื่นให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม มีผู้อำนวยการ<br />

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลตรี กานต์ กลัมพสุต<br />

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ<br />

กรมการพลังงานทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. การสำรวจ ขุดเจาะการผลิต การกลั่น และโรงไฟฟ้าฯ<br />

๑.๑ การเจาะ : ดำเนินการเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียม<br />

จำนวน ๒ หลุม ดังนี้<br />

- หลุมเจาะ FA-PK-<strong>60</strong>-09 เมื่อวันที่ ๖ ม.ค.๖๐ โดย<br />

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปล.กห. เป็นประธาน Spud หลุม<br />

65


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

- หลุมเจาะ FA-MP-<strong>60</strong>-07 เมื่อวันที่ ๑๒ มิ.ย.๖๐<br />

โดย พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ รอง ปล.กห. (๑) เป็นประธาน<br />

Spud หลุม<br />

๑.๒ การผลิตน้ำมันดิบ : เป้าหมายการผลิต ๒๙๒,๐๐๐<br />

บาร์เรล ผลการผลิตน้ำมันดิบ ผลิตได้ ๒๓๘,๘๔๔.๖๐ บาร์เรล<br />

คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๘๐ ของเป้าหมาย<br />

๑.๓ การกลั่น : เป้าหมายการกลั่น ๒๙๒,๐๐๐ บาร์เรล<br />

ผลการกลั่นน้ำมันดิบ กลั่นได้ ๒๑๗,๓๙๒.๓๕<br />

บาร์เรล คิดเป็นร้อยละ ๗๔.๔๕ ของเป้าหมาย<br />

๑.๔ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมัน : เป้าหมาย การ<br />

จำหน่าย ๓๐๗,๗๐๗,๓๐๐.- บาท<br />

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมัน จำหน่ายได้<br />

๓๒๑,๐๘๖,๐๓๓.๓๘.- บาท คิดเป็นร้อยละ ๑๐๔.๓๕ ของ<br />

เป้าหมาย<br />

๑.๕ การผลิตกระแสไฟฟ้า : เป้าหมาย ๓๐,๓๐๕,๐๐๐<br />

กิโลวัตต์/ชั่วโมง<br />

ผลิตกระแสไฟฟ้าได้๒๕,๔๗๑,๖๘๐ กิโลวัตต์/ชั่วโมง<br />

คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๐๕ ของเป้าหมาย<br />

66


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (อท.ศอพท.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่วางแผนและดำเนินการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับราชการทหาร<br />

ตามนโยบายของกระทรวงกลาโหม โดยประสานงานกับกระทรวงอื่นเฉพาะที่<br />

เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยใช้ในการทหาร และควบคุมและส่งเสริม<br />

กิจการขององค์การอุตสาหกรรมต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย มีเจ้ากรมการ<br />

อุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท ภาณุพล บรรณกิจโศภน<br />

เจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

(๑ เม.ย.๕๘ – ๓๑ มี.ค.๖๐)<br />

พลโท ชมพล อามระดิษ<br />

เจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

(๑ เม.ย.๖๐ – ปัจจุบัน)<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

ด้านโรงงานอุตสาหกรรม และการผลิตแบตเตอรี่ทหาร<br />

๑. ด้านการผลิต<br />

งานประกอบแบตเตอรี่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ได้จำนวน ๑๒,๖๑๙ หม้อ และอยู่ระหว่างผลิตในเดือน ก.ย.๖๐<br />

จำนวน ๑,๐๐๔ หม้อ รวมยอดผลิต ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จำนวน ๑๓,๖๒๓ หม้อ ดังนี้<br />

ประกอบแบตเตอรี่ยานยนต์รบ<br />

- แบตเตอรี่แบบ 2HN จำนวน ๒๐ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ LV 13-6 จำนวน ๘ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ 6N (ฝาเดี่ยว) จำนวน ๒๓๔ หม้อ<br />

67


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

- แบตเตอรี่แบบ 65-1 จำนวน ๒ หม้อ<br />

รวม จำนวน ๒๖๔ หม้อ<br />

ประกอบแบตเตอรี่ยานยนต์ธุรการ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 40 จำนวน ๒ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 50 จำนวน ๖๕ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ NS <strong>60</strong> จำนวน ๒๗ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ NS <strong>60</strong>L จำนวน ๑๕ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N <strong>60</strong> จำนวน ๑๑๗ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N <strong>60</strong>L จำนวน ๔ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ NS 70 จำนวน ๒๔ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 70 จำนวน ๑,๖๔๙ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 70L จำนวน ๑๘๒ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 70Z จำนวน ๘๓ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 100 จำนวน ๖๑๑ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 120 จำนวน ๑,๖๐๕ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 150 จำนวน ๑,๑๑๕ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ N 200 จำนวน ๔๙๒ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ UNX จำนวน ๒๐ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ DIN 75 จำนวน ๓๙ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ DIN 88 จำนวน ๙ หม้อ<br />

รวม จำนวน ๖,๐๕๙ หม้อ<br />

ประกอบแบตเตอรี่รถพิเศษ (รถไฟ)<br />

- แบตเตอรี่แบบ TRE 8-6 จำนวน ๑,๔๙๖ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ TRA-12 จำนวน ๔,๕๐๐ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ 8D จำนวน ๓๐๐ หม้อ<br />

รวม จำนวน ๖,๒๙๖ หม้อ<br />

อยู่ระหว่างผลิตเดือน ก.ย. ๖๐<br />

- แบตเตอรี่แบบ TRE 8-6 จำนวน ๓๐๔ หม้อ<br />

- แบตเตอรี่แบบ 8D จำนวน ๗๐๐ หม้อ<br />

รวม จำนวน ๑,๐๐๔ หม้อ<br />

๒. ด้านการขาย<br />

รับใบสั่งซื้อ/ใบสั่งงาน และส่งมอบผลิตภัณฑ์แล้วประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

๒.๑ รับใบสั่งซื้อและใบสั่งงาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จำนวน ๑๑,๘๐๙ หม้อ เป็นเงิน ๗๐,๕๖๔,๑๑๓.๖๙.-<br />

บาท และรอรับใบสั่งซื้อ เดือน ก.ย. ๖๐ จำนวน ๑,๘๐๐ หม้อ เป็นเงิน ๑๖,๑๑๐,๐๐๐.- บาท<br />

68


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

รับใบสั่งซื้อ/ใบสั่งงาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

ลำดับ หน่วยงาน จำนวน (หม้อ) จำนวนเงิน หมายเหตุ<br />

๑ ทบ. ๓,๗๘๙ ๑๕,๕๑๒,๓๗๗.๒๓<br />

๒ ทร. ๑,๗๐๐ ๙,๖๕๙,๗๑๕.๒๕<br />

๓ ทอ. ๓๒๐ ๑,๓๓๙,๖๕๘.๘๗<br />

๔ บก.ทท. ๔๒๓ ๑,๗๔๗,๐๘๐.๕๐<br />

๕ <strong>สป</strong>. ๗๓ ๒๒๘,๑๑๑.๖๒<br />

๖ รฟท. ๕,๕๐๐ ๔๒,๐๕๐,๐๐๐.๐๐<br />

๗ รฟท. ๑,๘๐๐ ๑๖,๑๑๐,๐๐๐.๐๐ รอรับใบสั่งซื้อเดือน ก.ย.๖๐<br />

๘ ตามร้องขอ ๔ ๒๗,๑๗๐.๒๒<br />

รวม ๑๓,๖๐๙ ๘๖,๖๗๔,๑๑๓.๖๙<br />

๒.๒ ส่งมอบผลิตภัณฑ์แล้ว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จำนวน ๑๑,๐๔๑ หม้อ เป็นเงิน ๖๓,๘๔๕,๑๐๖.๙๖.- บาท<br />

รอการส่งมอบ<br />

ส่งมอบผลิตภัณฑ์แล้ว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

ลำดับ หน่วยงาน<br />

ส่งมอบผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

จำนวน (หม้อ) จำนวนเงิน (บาท)<br />

๑ ทบ. ๓,๗๘๙ ๑๕,๕๑๒,๓๗๗.๒๓<br />

๒ ทร. ๑,๖๓๒ ๙,๓๕๕,๗๕๕.๒๕<br />

๓ ทอ. ๓๒๐ ๑,๓๓๙,๖๕๘.๘๗<br />

๔ บก.ทท. ๔๒๓ ๑,๗๔๗,๐๘๐.๕๐<br />

๕ <strong>สป</strong>. ๗๓ ๒๒๘,๑๑๑.๖๒<br />

๖ รฟท. ๔,๘๐๐ ๓๕,๖๑๐,๐๐๐.๐๐<br />

๗ ตามร้องขอ ๔ ๒๗,๑๗๐.๒๒<br />

๘ จำหน่ายเศษวัสดุสูญเสีย ๒๔,๙๕๓.๒๗<br />

รวม ๑๑,๐๔๑ ๖๓,๘๔๕,๑๐๖.๙๖<br />

รอการส่งมอบผลิตภัณฑ์<br />

หมายเหตุ<br />

ลำดับ หน่วยงาน<br />

ผลิตภัณฑ์รอส่งมอบ<br />

จำนวน (หม้อ) จำนวนเงิน (บาท)<br />

หมายเหตุ<br />

๑ รฟท. ๗๐๐ ๖,๔๔๐,๐๐๐ กำหนดส่งมอบ ๒๐ ต.ค.๖๐<br />

๒ รฟท. ๑,๘๐๐ ๑๖,๑๑๐,๐๐๐ กำหนดส่งมอบ ปี ๖๑<br />

รวม ๒,๕๐๐ ๒๒,๕๕๐,๐๐๐<br />

69


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

แผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑<br />

ด้านการขาย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ตาม MOU ของเหล่าทัพ การรถไฟฯ ประมาณการขายจำนวน ๑๖,๕๐๐<br />

หม้อ เป็นเงิน ๑๐๔,๔๙๖,๘๐๐ บาท<br />

ตาม MOU ของเหล่าทัพ<br />

- บก.ทท. จำนวน ๑,๔๐๑ หม้อ เป็นเงิน ๖,๒๕๒,๖๔๘.๓๙ บาท<br />

- ทบ. จำนวน ๕,๖๘๑ หม้อ เป็นเงิน ๒๓,๓๓๐,๒๑๙.๗๔ บาท<br />

- ทร. จำนวน ๑,๘๔๘ หม้อ เป็นเงิน ๑๑,๕๙๕,๕๑๗.๘๗ บาท<br />

- ทอ. จำนวน ๒๗๐ หม้อ เป็นเงิน ๑,๐๘๗,๒๑๔.๐๐ บาท<br />

รวม จำนวน ๙,๒๐๐ หม้อ เป็นเงิน ๔๒,๒๖๕,๖๐๐.๐๐ บาท<br />

การรถไฟ<br />

- แบตเตอรี่ TRA-12 จำนวน ๔,๕๐๐ หม้อ เป็นเงิน ๓๕,๑๔๙,๐๐๐ บาท<br />

- แบตเตอรี่ TRE 8-6 จำนวน ๑,๘๐๐ หม้อ เป็นเงิน ๑๗,๒๓๗,๗๐๐ บาท<br />

- แบตเตอรี่ 8D จำนวน ๑,๐๐๐ หม้อ เป็นเงิน ๙,๘๔๔,๐๐๐ บาท<br />

รวม จำนวน ๗,๓๐๐ หม้อ เป็นเงิน ๖๒,๒๓๑,๒๐๐ บาท<br />

๓. ด้านการผลิต ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ วางแผนการผลิต จำนวน ๑๖,๕๐๐ หม้อ/หน่วย<br />

หน่วยงานตาม MOU ของเหล่าทัพและการรถไฟฯ<br />

ไตรมาสที่ ๑ ผลิต ๖,๒๗๑ หม้อ<br />

- บก.ทท. จำนวน ๑๕๔ หม้อ<br />

- ทบ. จำนวน ๖,๐๖๑ หม้อ<br />

- ทร. จำนวน ๕๖ หม้อ<br />

ไตรมาสที่ ๒ ผลิต ๖,๙๖๖ หม้อ<br />

- บก.ทท. จำนวน ๑,๐๘๙ หม้อ<br />

- ทร. จำนวน ๑,๑๐๗ หม้อ<br />

- ทอ. จำนวน ๒๗๐ หม้อ<br />

- รฟท. จำนวน ๔,๕๐๐ หม้อ<br />

ไตรมาสที่ ๓ ผลิต ๓,๒๖๓ หม้อ<br />

- บก.ทท. จำนวน ๑๕๘ หม้อ<br />

- ทร. จำนวน ๓๐๕ หม้อ<br />

- รฟท. จำนวน ๒,๘๐๐ หม้อ<br />

ด้านการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม<br />

รัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนจัดตั้งโรงงานท ำ ประกอบ<br />

ซ่อมแซม และเปลี่ยนลักษณะอาวุธ สนับสนุนราชการทหาร ตำรวจ<br />

และหน่วยงานด้านความมั่นคง เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระทางการ<br />

ผลิตของทางราชการ โดยกรมการอุตสาหกรรมทหารฯ เป็นหน่วย<br />

รับผิดชอบการออกใบอนุญาตให้เอกชนจัดตั้งโรงงานตามพระราชบัญญัติ<br />

โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.๒๕๕๐<br />

70


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ปัจจุบันบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต แบบ อ.๒ และเปิดดำเนินการผลิตอาวุธแล้ว จำนวน ๘ โรงงาน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้<br />

กลุ่มโรงงานผลิตกระสุนปืน อาวุธปืน และส่วนประกอบ<br />

๑. บริษัท ไทยอามส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ผลิตกระสุนปืน ขนาดต่างๆ ได้แก่ ขนาด ๙ มม.,<br />

๕.๕๖ มม., ๗.๖๕ มม., ๗.๖๒ มม., ๐.๓๒ นิ้ว, .๓๘ นิ้ว, .๔๐ นิ้ว, .๔๕ นิ้ว, .๓๕๗ นิ้ว, .๓๘๐ นิ้ว, .๔๔ นิ้ว, .๒๕ นิ้ว และ<br />

กระสุนปืนลูกซอง<br />

๒. บริษัท บุลเล็ท มาสเตอร์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ผลิตกระสุนปืนขนาดต่างๆ<br />

ได้แก่ ขนาด ๙ มม., ๖.๓๕ มม., ๗.๖๕ มม., .๓๒ นิ้ว, .๓๘ นิ้ว, .๔๐ นิ้ว, .๔๔ นิ้ว, .๔๕ นิ้ว, .๓๕๗ นิ้ว,<br />

.๓๘๐ นิ้ว, ๕.๕๖ มม., ๗.๖๒ มม. และกระสุนปืนลูกซอง<br />

๓. บริษัท รอยัล แอมมูนิชั่น จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่<br />

อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ผลิตกระสุนปืนขนาดต่างๆ<br />

ได้แก่ ขนาด ๙ มม., .๓๘ นิ้ว และ .๔๕ นิ้ว<br />

๔. บริษัท ณธรรศชาตรี จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ผลิตกระสุนปืน ขนาด ๙ มม. และ<br />

อาวุธปืนพก กล็อก (GLOCK), บาร์เร็ตต้า (BERETTA), อาร์มสกอร์ (ARMSCOR), สไตเออร์ (STEYR) และอาวุธปืนของ บริษัท<br />

Shooters Guns & Ammo Corporation สาธารณรัฐฟิลิปปินส์<br />

71


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๕. บริษัท เนแรค อาร์มส อินดัสตรี จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผลิตหัวกระสุนปืน,<br />

ปลอกกระสุนปืน และกระสุนปืนขนาดต่างๆ ได้แก่ ขนาด ๙ มม., .๓๘ นิ้ว, .๓๘๐ นิ้ว, .๓๕๗ นิ้ว, .๔๐ นิ้ว,<br />

.๔๔ นิ้ว, .๔๕ นิ้ว, กระสุนปืนลูกซอง ขนาด ๑๒ เกจ และกระสุนปืนใหญ่ขนาด ๓๐ มม., ๓๗ มม. และ ๗๕ มม.<br />

กลุ่มโรงงานผลิตวัตถุระเบิด<br />

๑. บริษัท ใช้ เอ็กซ์โพลซีฟส์ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ผลิตวัตถุระเบิดเพื่อการอุตสาหกรรม<br />

ได้แก่ EMULSION SLURRY TYPE, เชื้อปะทุชนิดไม่ใช้ไฟฟ้า (NON-ELECTRIC DETONATORS) (สีส้ม), เชื้อปะทุไฟฟ้า<br />

(ELECTRIC DETONATORS) จำนวน ๒ ชนิด คือ ชนิดธรรมดา IED และชนิดถ่วงเวลา MSD<br />

๒. บริษัท อัสพรรณ เอ็กซ์โพลซีฟ จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ผลิตวัตถุระเบิดเชื้อปะทุชนิดไฟฟ้า<br />

(สีขาว-สีเหลือง), เชื้อปะทุชนิดถ่วงเวลา (สีขาว-สีส้ม), เชื้อปะทุชนิดไม่ใช้ไฟฟ้าถ่วงเวลา (Non Electric Detonator (สีฟ้า))<br />

และวัตถุระเบิด EMULSION<br />

๓. บริษัท พี.วี.เอ็กซโพลซิฟ (ไทยแลนด์) จำกัด โรงงานตั้งอยู่ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ผลิตเชื้อปะทุชนิดไฟฟ้า<br />

(สีขาว-สีน้ำเงิน) และเชื้อปะทุชนิดไฟฟ้าหน่วงเวลา (สีขาว-สีแดง)<br />

72


การควบคุมโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน<br />

- ดำเนินการตาม พ.ร.บ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน<br />

พ.ศ.๒๕๕๐ รวมทั้งสิ้น ๘๒๑ ฉบับ ดังนี้<br />

๑. การออกหนังสืออนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต<br />

การเปลี่ยนแปลงโรงงาน การขยายสายการผลิต และการเปิด<br />

สายการผลิต รวม ๖๒๓ ฉบับ<br />

๒. รายงานขออนุมัติแผนการขนย้ายกระสุนและวัตถุ<br />

ระเบิดจาก คสช. ให้กับโรงงานผลิตอาวุธของเอกชนฯ จำนวน<br />

๑๐๙ ฉบับ ๓๖๗ เส้นทาง<br />

๓. รายงานการนำเข้ามาซึ่งวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธ<br />

หรืออาวุธที่ใช้ในการผลิตอาวุธเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวน<br />

๓๕ ฉบับ<br />

๔. รายงานการปฏิบัติงานของโรงงานผลิตอาวุธฯ<br />

เกี่ยวกับข้อมูลวัตถุดิบ, การผลิต, ทดสอบ, สูญเสีย, ขาย,<br />

จำหน่าย และคงคลัง เป็นประจำทุกเดือน จำนวน ๑๒ ฉบับ<br />

๕. การแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายทะเบียนท้องที่<br />

ที่มีการซื้อขายกระสุนปืน และวัตถุระเบิด จำนวน ๔๒ ฉบับ<br />

๖. จัดเก็บค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต, ใบอนุญาต<br />

และหนังสืออนุญาตฯ เพื่อนำส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดิน<br />

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๑๐๘,๒๐๐.- บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสน<br />

แปดพันสองร้อยบาทถ้วน)<br />

๗. งานการพัฒนาระบบควบคุมอาวุธยุทธภัณฑ์<br />

และการออกใบอนุญาตด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ<br />

การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบ National Single Window<br />

(NSW) ส่วนเพิ่มเติม โดยระบบดังกล่าวเป็นการพัฒนา<br />

แอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ ที่มีหน้าจอในการกรอกข้อมูล<br />

หนังสืออนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่ง<br />

วัตถุหรืออาวุธเพื่อใช้ในการผลิตอาวุธ หรือเป็นตัวอย่าง<br />

หรือเพื่อวิจัยเกี่ยวกับการผลิตอาวุธ สำหรับหน่วยงานตาม<br />

มาตรา ๗ (แบบ อ.๘) โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการสั่ง<br />

หรือนำเข้าฯ กับกรมศุลกากร ผ่านระบบ NSW ตั้งแต่<br />

๑๕ ส.ค.๖๐<br />

ด้านการควบคุมยุทธภัณฑ์และพัฒนาอุตสาหกรรม<br />

๑. งานที่เกี่ยวกับสถานที่เก็บยุทธภัณฑ์<br />

๑.๑ การตรวจสอบสถานที่เก็บยุทธภัณฑ์การประชุม<br />

แนะนำกับประชาชน และผู้ประกอบการจำนวน ๗๑๔ ราย<br />

๑.๒ การตรวจสอบติดตามสถานที่เก็บยุทธภัณฑ์เพื่อ<br />

กำกับดูแลผู้ประกอบการ ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย<br />

จำนวน ๙ ครั้ง<br />

Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒. การออกใบอนุญาต/หนังสืออนุญาต<br />

๒.๑ ออกใบอนุญาตสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต และมีซึ่ง<br />

ยุทธภัณฑ์ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๐ จำนวน<br />

ทั้งสิ้น ๑๒,๓๘๖ ฉบับ<br />

๑) ใบอนุญาตมีฯ ๔,๘๙๙ ฉบับ<br />

๒) ต่ออายุใบอนุญาตมีฯ ๖,๔๓๗ ฉบับ<br />

๓) ใบอนุญาตผลิตฯ ๕๓ ฉบับ<br />

๔) ต่ออายุใบอนุญาตผลิต ๘๖ ฉบับ<br />

๕) ใบอนุญาตสั่งเข้ามาฯ ๘๘๘ ฉบับ<br />

๖) ต่ออายุใบอนุญาตสั่งเข้ามาฯ ๔ ฉบับ<br />

๗) ใบอนุญาตนำเข้ามาฯ ๑๙ ฉบับ<br />

นำส่งเงินค่าธรรมเนียมคำขอฯ และใบอนุญาตฯ รวม<br />

เป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๒๘๖,๓๐๐.- บาท<br />

๒.๒ ออกหนังสือกำกับการส่งออก ตาม พ.ร.บ.ควบคุม<br />

การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่<br />

ใช้ในการสงคราม พ.ศ.๒๔๙๕ จำนวนทั้งสิ้น ๕๓๘ ฉบับ<br />

๑) หนังสืออนุญาตส่งออกราย ๖ เดือน จำนวน<br />

๖๑ ฉบับ<br />

๒) หนังสืออนุญาตส่งออกราย Shipment จำนวน<br />

๔๔๕ ฉบับ<br />

๓) หนังสือแจ้งการส่งออก ๑ ปี จำนวน ๓๒ ฉบับ<br />

๒.๓ การจัดงานนิทรรศการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

๒๐๑๗ (Defense & Security 2017)<br />

- สนับสนุนงานของคณะอนุกรรมการประสานงานในการ<br />

จัดงานนิทรรศการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (Defense &<br />

Security 2017) ในห้วง ๖ – ๙ พ.ย.๖๐ ณ ศูนย์การแสดง<br />

สินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยดำเนินการ<br />

ในเรื่องต่างๆ เช่น การดำเนินพิธีการทางศุลกากร เกี่ยวกับ<br />

การนำสิ่งของและอาวุธยุทธภัณฑ์ที่บริษัทต่างประเทศ<br />

ผู้ร่วมงานนำเข้ามาแสดงในงาน การออกหนังสือรับรองการ<br />

ร่วมงานแสดงฯ ให้กับบริษัทต่างประเทศ การแต่งตั้งผู้แทน<br />

ผู้ประกอบการขนส่ง (Freigt Forwarder Agent) การตรวจ<br />

นับสินค้าที่นำเข้ามาแสดงที่ด่านศุลกากร การดำเนินการ<br />

ส่งกลับสินค้า และล้างทัณฑ์บนเพื่อขอรับหนังสือค้ำประกัน<br />

ของ อท.ศอพท. คืนจากกรมศุลกากร เป็นต้น<br />

๓. การดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง<br />

การประชุมคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ ตามกฎ<br />

กระทรวงการมีและใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด<br />

ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ของหน่วยราชการและ<br />

รัฐวิสาหกิจและการมอบให้ประชาชนมีและใช้เพื่อช่วยเหลือ<br />

73


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ราชการ พ.ศ.๒๕๕๓ ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่อง<br />

กระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน<br />

พ.ศ.๒๔๙๐<br />

- พิจารณาอนุญาตให้หน่วยราชการมีและใช้อาวุธปืน<br />

เครื่องกระสุนปืน จำนวน ๓ หน่วย ดังนี้<br />

๑) กรมการปกครอง (สำนักกิจการความมั่นคงภายใน) มี<br />

และใช้อาวุธปืนลูกซอง จำนวน ๑,๙๐๐ กระบอก และเครื่อง<br />

กระสุนปืนลูกซอง จำนวน ๔๖๒,๓๐๒ นัด<br />

๒) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีและใช้<br />

อาวุธปืนลูกซอง จำนวน ๕๔๗ กระบอก และเครื่องกระสุนปืน<br />

ลูกซอง จำนวน ๑๓,๖๗๕ นัด<br />

๓) กรมการปกครอง (สำนักอำนวยการกองอาสารักษา<br />

ดินแดน) มีและใช้เครื่องกระสุนปืน ขนาด ๙ มิลลิเมตร จำนวน<br />

๒๕๐,๕๐๐ นัด เครื่องกระสุนปืน ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร<br />

จำนวน ๓๐๐,๖๐๐ นัด เครื่องกระสุนปืนลูกซอง จำนวน<br />

๑๕๐,๑๕๐ นัด และพิจารณาปรับแก้คำสั่งคณะกรรมการตาม<br />

กฎกระทรวงฯ พ.ศ.๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ<br />

ตรวจสอบการปฏิบัติของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจตาม<br />

กฎกระทรวงฯ พ.ศ.๒๕๕๓ เนื่องจาก อท.ศอพท. มีการปรับ<br />

แก้โครงสร้างการจัดภายในเกี่ยวกับภารกิจด้านการควบคุม<br />

อาวุธปืน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาวุธปืนฯ พ.ศ.๒๔๙๐<br />

๔. การประชุมคณะอนุกรรมการร่างกฎกระทรวงและ<br />

ประกาศกำหนดยุทธภัณฑ์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๔ ส.ค.<br />

๖๐ พิจารณา จำนวน ๒ เรื่อง คือ<br />

๔.๑ ร่างกฎกระทรวงการอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต<br />

และการออกใบแทน ใบอนุญาตสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต<br />

หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... อท.ศอพท. ได้พัฒนา<br />

งาน การยื่นขออนุญาตสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต มี ส่งออก<br />

และส่งผ่านแดน และการต่ออายุใบอนุญาตแต่ละประเภท<br />

ผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ประกอบการ จึงมีความจำเป็นต้อง<br />

แก้ไขกฎกระทรวงการอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และ<br />

การออกใบแทนใบอนุญาตสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต หรือมีซึ่ง<br />

ยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๕๕ เพื่อกำหนดการปฏิบัติในการยื่นขอ<br />

อนุญาตทางอินเทอร์เน็ต สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบ<br />

การสามารถติดต่อสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทาง<br />

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และมีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวกับ<br />

การยื่น ณ อท.ศอพท. ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้ยกร่างกฎ<br />

กระทรวงฯ และผ่านการตรวจแก้สาระสำคัญจาก ธน. แล้ว<br />

มติที่ประชุม พิจารณาเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการ<br />

อนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต<br />

สั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิต หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์ ซึ่งอยู่ระหว่าง<br />

ดำเนินการนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการควบคุมยุทธภัณฑ์<br />

๔.๒ ร่างประกาศ กห. เรื่องกำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่<br />

ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๐<br />

(ฉบับที่ ..) พ.ศ.... ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุม<br />

ยุทธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๗ ก.ค.๕๘ ให้ อท.ศอพท./ฝ่ายเลขานุการ<br />

คณะอนุกรรมการฯ ดำเนินการปรับแก้ประกาศ กห. ลงวันที่<br />

๓๐ พ.ย.๕๐ เรื่อง กำหนดชนิดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตาม<br />

พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๐ จัดทำคำอ่านภาษาไทย<br />

ควบคู่กับชื่อยุทธภัณฑ์ภาษาอังกฤษเพื่อให้เกิดความชัดเจน<br />

เพียงพอที่บุคคลทั่วไปจะสามารถเข้าใจได้นั้น ฝ่ายเลขานุการฯ<br />

จึงได้ดำเนินการปรับปรุงชนิดยุทธภัณฑ์ ตามประกาศ กห.ฯ<br />

จำนวน ๓ ฉบับ ซึ่งมียุทธภัณฑ์จำนวนทั้งสิ้น ๓๐๒ รายการ<br />

โดยมีกรอบแนวคิดในการปรับปรุงคือ จัดทำคำอ่านภาษาไทย<br />

ปรับปรุงรายการอาวุธ ตัดรายการยุทธภัณฑ์ที่ซับซ้อนกับ<br />

กฎหมายอื่น รวมทั้งเพิ่มและแก้ไขรายการยุทธภัณฑ์ เพื่อให้<br />

มีความทันสมัยครบถ้วน และลดความซ้ำซ้อนในการควบคุม<br />

กับหน่วยงานอื่น โดยควบคุมเท่าที่จำเป็น<br />

มติที่ประชุม เนื่องจากชนิดยุทธภัณฑ์ที่แก้ไขปรับปรุงมี<br />

จำนวนมาก ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและถี่ถ้วนในการ<br />

พิจารณา ประธานฯ จึงขอให้อนุกรรมการฯ นำร่างประกาศ<br />

กห. พร้อมข้อมูลดังกล่าว กลับไปพิจารณาและส่งข้อคิดเห็น<br />

หรือข้อเสนอแนะมาที่ฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อรวบรวมข้อมูล<br />

นำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งต่อไป<br />

ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ<br />

๕. การจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการดำเนินการต่อของที่<br />

เป็นยุทธภัณฑ์เพื่อบรรเทาสาธารณภัย ตาม พ.ร.บ.ควบคุม<br />

ยุทธภัณฑ์ พ.ศ.๒๕๓๐ ระหว่าง กห. กับ กทม. ตามคำสั่ง<br />

หน.คสช. ที่ ๕๑/๒๕๕๙ ลง ๒๕ ส.ค.๕๙<br />

รมว.กห. กรุณาอนุมัติ เมื่อ ๒๙ ก.ย.๖๐ เห็นชอบร่าง<br />

บันทึกข้อตกลงฯ และมอบอำนาจ ให้ จก.อท.ศอพท. ลงนาม<br />

เป็นผู้แทน กห. และ ผอ.กคยพ.อท.ศอพท. ลงนามเป็นพยาน<br />

ในร่างบันทึกข้อตกลงฯ<br />

74


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

โรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (รวท.อท.ศอพท.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ดำเนินการผลิตวัตถุระเบิดและกระสุน วิจัยและพัฒนา<br />

เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ให้แก่ส่วนราชการกระทรวงกลาโหม ส่วนราชการ<br />

อื่นและเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด<br />

มีผู้อำนวยการโรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การ<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลตรี สราวุธ รัชตะนาวิน<br />

ผู้อำนวยการโรงงานวัตถุระเบิดทหาร<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. งานตามประเด็นยุทธศาสตร์ของ <strong>สป</strong>. ที่หน่วยรับผิดชอบ<br />

หรือสนับสนุน<br />

๑.๑ จัดกิจกรรมค่ายอบรมเยาวชนป้องกันยาเสพติด<br />

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ให้กับบุตรหลานของกำลังพล<br />

และเยาวชนในพื้นที่ใกล้เคียง อายุระหว่าง ๘ – ๑๘ ปี จำนวน<br />

๗๐ คน โดยมีการดำเนินการ ดังนี้<br />

๑.๑.๑ เมื่อ ๑๖ มี.ค.๖๐ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ<br />

ยาเสพติด คุณธรรม จริยธรรม และกิจกรรมสันทนาการ เพื่อ<br />

75


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ณ ห้องประชุม ๒ รวท.<br />

อท.ศอพท. โดยวิทยากรจากชมรม To Be Number One<br />

มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา<br />

๑.๑.๒ เมื่อ ๑๗ มี.ค.๖๐ นำบุตรหลานไปทัศนศึกษา<br />

ณ สถานที่ตากอากาศบางปูและเมืองโบราณ อ.เมือง<br />

จ.สมุทรปราการ<br />

๑.๓ ดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือป้องกันบรรเทา<br />

สาธารณภัยและภัยพิบัติโดยหน่วยได้นำถังเก็บน้ำ จำนวน ๒๕ ถัง<br />

ไปแจกจ่ายให้กับประชาชน ต.ยางขาว ต.นิคมเขาบ่อแก้ว<br />

และ ต.เนินมะกอก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ รวมทั้งได้นำ<br />

น้ำประปาที่หน่วยผลิตได้เอง ไปแจกจ่ายให้กับประชาชน<br />

ที่ประสบภัยแล้ง เพื่อใช้อุปโภคและบริโภคอย่างต่อเนื่อง<br />

โดยได้นำน้ำประปาไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในเขตพื้นที่<br />

คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งสิ้น ๑,๘๑๙,๐๐๐ ลิตร<br />

๑.๒ ข้าราชการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันหยุด<br />

ราชการ เพื่อสืบหาข้อมูลด้านการข่าวและปราบปรามยาเสพติด<br />

ในพื้นที่บ้านพักอาศัย และพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบที่ตั้งหน่วย<br />

เพื่อเป็นการป้องกันและป้องปรามมิให้กำลังพลและประชาชน<br />

ในพื้นที่โดยรอบหน่วยเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด<br />

76


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒. งานตามภารกิจหน่วย<br />

๒.๑ การผลิตผลิตภัณฑ์<br />

๒.๑.๑ ดินส่งกระสุน จำนวน ๘,๔๓๕ กก. ประกอบด้วย<br />

- ดินส่งกระสุน ขนาด ๒๓ มม. จำนวน ๒,๑๐๘ กก.<br />

- ดินส่งกระสุน ขนาด ๓๐ มม. จำนวน ๒,๕๒๓ กก.<br />

- ดินส่งกระสุน SB103 จำนวน ๑,๒๓๔ กก.<br />

- ดินส่งกระสุน ขนาด ๕.๕๖ มม. จำนวน ๒,๕๗๐ กก.<br />

๒.๑.๒ กระสุนปืน จำนวน ๓,๘๐๙,๒๖๗ นัด ประกอบด้วย<br />

- ๙ มม. 124 Gr.FMJ. จำนวน ๙๑๔,๙๖๗ นัด<br />

- ๙ มม. 115 Gr.FMJ. จำนวน ๗๘,๔๓๗ นัด<br />

- .๓๘ นิ้ว 158 Gr.LRN. จำนวน ๒๑๘,๑๑๕ นัด<br />

- .๓๘๐ นิ้ว 95 Gr.FMJ. จำนวน ๑๐,๒๓๕ นัด<br />

- .๔๕ นิ้ว 230 Gr.FMJ. จำนวน ๖๑๑,๙๘๕ นัด<br />

- .๓๘ นิ้ว (พาราฟิน) จำนวน ๖๑,๗๐๐ นัด<br />

- ๕.๕๖ มม. M193 จำนวน ๑,๕๙๔,๘๘๓ นัด<br />

- ๕.๕๖ มม. M855 จำนวน ๑๔๒,๖๖๗ นัด<br />

- กระสุนปืนลูกซอง จำนวน ๑๗๖,๒๗๘ นัด<br />

๒.๒ ยอดการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์<br />

ได้ขายผลิตภัณฑ์ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ให้กับเหล่าทัพ และลูกค้า คิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๘,๐๔๘,๔๖๕.๖๔<br />

บาท ประกอบด้วย<br />

๒.๒.๑ ดินส่งกระสุน จำนวน ๑๒,๘๗๘ กก. เป็นเงิน ๒๑,๓๖๐,๔๗๓.๔๔ บาท<br />

๒.๒.๒ กระสุนปืน จำนวน ๒,๔๗๕,๐๙๕ นัด เป็นเงิน ๓๖,๔๑๒,๗๒๓.๔๐ บาท<br />

๒.๒.๓ ไนโตรกลีเซอรีน จำนวน ๑๖๐ กก. เป็นเงิน ๒๗๕,๒๖๘.๘๐ บาท<br />

๓. งานสำคัญอื่นๆ<br />

๓.๑ โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตดินส่งกระสุน สำหรับกระสุน ขนาด ๓๐ × ๑๖๕ มม. เพื่อวิจัยและพัฒนาการ<br />

ผลิตดินส่งกระสุน ขนาด ๓๐ × ๑๖๕ มม. สำหรับนำไปผลิตเป็นกระสุนปืนใหญ่อัตโนมัติที่ติดตั้งบนรถยานเกราะล้อยาง BTR<br />

ของ ทบ. และ ทร. ได้ดำเนินการผลิตดินส่งกระสุนต้นแบบ โดยผลการทดสอบมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และ<br />

นำไปประกอบรวมเป็นกระสุนครบนัด เพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งาน โดยแจกจ่ายให้กับกองพลนาวิกโยธิน และกรมทหารราบที่<br />

๒๑ รักษาพระองค์ ซึ่งจะทำการยิงทดสอบในห้วง ก.ย.๖๐ เมื่อโครงการนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โรงงานวัตถุ<br />

ระเบิดทหารฯ สามารถผลิตดินส่งกระสุน สำหรับกระสุนซ้อมรบ ขนาด ๓๐ × ๑๖๕ มม. สนับสนุนเหล่าทัพได้ตามนโยบาย<br />

การพึ่งพาตนเองของ ปล.กห.<br />

77


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๓.๒ การเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติโดยได้จัดเตรียมความพร้อมของ<br />

บุคลากรและอุปกรณ์ สำหรับการปฏิบัติงานในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งในเรื่องการช่วยเหลือน้ำท่วมและช่วยเหลือภัยแล้ง<br />

ตามขีดความสามารถของหน่วย ให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง สนองตอบต่อความต้องการขอรับการสนับสนุนจาก<br />

องค์กรปกครองท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงที่ตั้งหน่วย<br />

78


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอว.ศอพท.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน จัดตั้ง ควบคุม ดำเนินการและ<br />

ร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กร และภาคเอกชนอื่น ในการให้การศึกษา วิจัย พัฒนาและ<br />

ผลิตยุทโธปกรณ์และส่วนประกอบยุทโธปกรณ์ สนับสนุนและจำหน่ายให้แก่เหล่าทัพ<br />

ส่วนราชการ องค์กร หรือภาคเอกชนอื่นทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อการพึ่งพาตนเอง<br />

ด้านความมั่นคงของชาติและจำหน่ายให้ต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาประเทศ<br />

รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายของ<br />

กระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศและพลังงานทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท นภนต์ สร้างสมวงษ์<br />

ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. การดำเนินการตามภารกิจหน่วย<br />

๑.๑ งานโครงการที่ได้ดำเนินการในงบประมาณปี<br />

๒๕๖๐ จำนวน ๕ งาน/โครงการ<br />

๑.๑.๑ โครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ ขนาด<br />

๑๕๕ มม. แบบลากจูงให้เป็นแบบอัตตาจร ล้อยาง (ให้ครบ<br />

จำนวน ๑ กองพัน) (ระยะที่ ๑) ระยะเวลา ๔ ปี (ปี ๕๘ – ๖๑)<br />

เป็นโครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มม. แบบ<br />

ลากจูง ให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง (ให้ครบจำนวน ๑ กองพัน)<br />

(ระยะที่ ๑) เพื่อปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ขนาด ๑๕๕ มม. ของ<br />

ทบ. ให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง จำนวน ๖ กระบอก พร้อม<br />

ระบบเข้าที่ตั้งยิงอัตโนมัติ (ชี้ทิศและกำหนดพิกัดอัตโนมัติ)<br />

และระบบควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติประจำทุกหมู่ปืน<br />

รวมทั้งระบบควบคุมการยิงอัตโนมัติระดับกองร้อย จำนวน ๑<br />

ระบบ และระบบเรดาร์ตรวจสภาพอากาศ และการเชื่อมต่อ<br />

ระบบควบคุมและอำนวยการยิงเข้ากับเรดาร์ กำหนดที่ตั้ง<br />

ป. และ ค. ของ ทบ. ด้วยการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่<br />

เกี่ยวข้องในการผลิตชิ้นส่วนที่เป็นระบบทางกลและระบบ<br />

ไฮโดรลิกของปืนใหญ่, การประกอบรวม, การปรับปรุงพัฒนา,<br />

79


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

การใช้งานและซ่อมบำรุงด้วยตนเองในอนาคตต่อไป รมว.กห.<br />

ได้อนุมัติโครงการ เมื่อ ๑๘ มี.ค.๕๖ โดยได้ลงชื่อในสัญญาแล้ว<br />

ตามสัญญาเลขที่ (ศอว.ศอพท.) ๓๐๒/๒๕๕๘ ลง ๒๑ ก.ค.<br />

๕๘ กับบริษัท เอลบิท ซิสเต็มส์ แลนด์ แอนด์ ซีโฟร์ไอ จำกัด<br />

- เมื่อ ๙ - ๑๑ ม.ค.๖๐ บริษัทเข้าสำรวจความ<br />

พร้อมของอุปกรณ์ เครื่องจักรกลในโรงงานของ ศอว.ศอพท.<br />

ที่จะใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ให้<br />

กับเจ้าหน้าที่ของ ศอว.ศอพท. (ตามสัญญาข้อ ๕.๑.๑)<br />

- เมื่อ ๔ - ๑๒ ก.พ.๖๐ บริษัทได้เชิญคณะ<br />

กรรมการตรวจรับพัสดุ จำนวน ๔ นาย และสังเกตการณ์<br />

จาก ศอว.ศอพท. จำนวน ๒ นาย เพื่อทำการตรวจรับสิ่งของ<br />

ของระบบ ATMG ก่อนทำการส่งของลงเรือ ณ โรงงานของ<br />

ประเทศผู้ผลิต รัฐอิสราเอล (ตามสัญญาข้อ ๕.๑.๒)<br />

- เมื่อ ๒๐ มี.ค.๖๐ บริษัทได้จัดการประชุม<br />

เพื่อชี้แจงความก้าวหน้าของโครงการและขั้นตอนการผลิต<br />

ชิ้นส่วนที่สามารถดำเนินการของโครงการต่อคณะกรรมการ<br />

บริหารสัญญาและคณะกรรมการทางเทคนิค ณ ห้องประชุม<br />

บก.ศอว.ศอพท.(๒)<br />

- เมื่อ ๒๑ - ๒๓ มี.ค.๖๐ บริษัทส่งเจ้าหน้าที่<br />

เข้าทำการสำรวจยานพาหนะของ ทบ. ที่จะทำการติดตั้งระบบ<br />

อำนวยการยิงอัตโนมัติ ณ ศป. และ พล.ป. (ร้อย.ป.คปม.)<br />

- เมื่อ ๒๔ - ๒๘ เม.ย.๖๐ บริษัทได้ส่ง<br />

เจ้าหน้าที่ของบริษัทเพื่อทำการเตรียมการและฝึกสอนอบรม<br />

การปรนนิบัติบำรุง และการปฏิบัติการทางเทคนิคเพื่อการ<br />

ทบทวนของระบบปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มม. แบบอัตตาจร<br />

ล้อยาง (ATMG) ให้กับเจ้าหน้าที่ของ ป.พัน.๗๒๑ ณ ป.พัน.๗๒๑<br />

- เมื่อ ๓ พ.ค.๖๐ บริษัทได้ส่งวัสดุอุปกรณ์รวม<br />

จำนวน ๑๒ ตู้บรรจุสินค้า (Containers) น้ำหนักรวมทั้งสิ้น<br />

จำนวน ๑๒๐,๘๔๐ กก.<br />

- เมื่อ ๑๓ มิ.ย.๖๐ บริษัทได้ส่งแบบรูปการ<br />

ปรับปรุงรถ ศอย. เพื่อขอความเห็นชอบในแบบรูปโดยมีผู้แทน<br />

ของ รง.ปค.ศอว.ศอพท., ผู้แทนจาก พล.ป. (ป.พัน.๗๒๑) และ<br />

ผู้แทน ศป. ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบ ณ ห้องประชุม<br />

บก.รง.ปค.ศอว.ศอพท.<br />

- เมื่อ ๒๑ มิ.ย.๖๐ บริษัทได้ส่งมอบสิ่งของ<br />

ตามสัญญา พร้อมส่งมอบแบบรูป (Drawing) ทั้งหมดของ<br />

การดำเนินการ รวมจำนวน ๕ ตู้บรรจุสินค้า พร้อมรถจำนวน<br />

๒ คัน<br />

- จ่ายเงินงวดที่ ๓ ของการชำระเงินงวด<br />

ร้อยละ ๔๐ เป็นเงิน ๑๔๒,๒๓๐,๖๑๑.๕๖ บาท เมื่อ ๓๐ มิ.ย.๖๐<br />

ปัจจุบัน การดำเนินการเป็นไปตามสัญญาการดำเนินการ<br />

จะเสร็จตามสัญญาภายใน พ.ค.๖๑<br />

๑.๑.๒ โครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ ขนาด<br />

๑๕๕ มม. แบบอัตตาจรล้อยาง (ให้ครบจำนวน ๑ กองพัน)<br />

(ระยะที่ ๒) ระยะเวลา ๓ ปี (ปี ๖๐ - ๖๒) เป็นโครงการ<br />

ปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มม. แบบอัตตาจร<br />

ล้อยาง (ให้ครบจำนวน ๑ กองพัน) (ระยะที่ ๒) เพื่อปรับปรุง<br />

พัฒนาปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มม.ของ ทบ. ให้เป็นแบบอัตตาจร<br />

ล้อยาง จำนวน ๖ กระบอก พร้อมระบบเข้าที่ตั้งยิงอัตโนมัติ<br />

(ชี้ทิศและกำหนดพิกัดอัตโนมัติ) และระบบควบคุมและอำนวย<br />

การยิงอัตโนมัติประจำหมู่ปืน รวมทั้งติดตั้งระบบควบคุมการ<br />

ยิงอัตโนมัติระดับกองร้อย จำนวน ๑ ระบบ ด้วยการรับการ<br />

ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วน<br />

ทุกระบบ, การประกอบรวม, การปรับปรุงพัฒนา, การใช้งาน<br />

และซ่อมบำรุงและทำการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนทุกชนิด<br />

ที่สามารถดำเนินการได้ ภายใต้การกำกับดูแลตรวจสอบจาก<br />

บริษัทผู้ผลิตที่มีประสบการณ์และความชำนาญ รวมทั้งเป็น<br />

ที่ยอมรับในระดับสากล และเมื่อได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี<br />

พร้อมได้รับสิทธิในการปรับปรุงพัฒนาแล้วสามารถที่จะ<br />

ดำเนินการผลิตชิ้นส่วน ปรับปรุงพัฒนาและซ่อมบำรุงด้วย<br />

ตนเองในอนาคตได้ต่อไป<br />

80


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

- ปล.กห. ได้กรุณาอนุมัติแต่งตั้งคณะ<br />

กรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ และคณะกรรมการตรวจรับ<br />

พัสดุ เพื่อดำเนินการจัดซื้อตามโครงการ เมื่อ ๑๐ ม.ค.๖๐<br />

และได้ลงชื่อในสัญญาแล้ว ตามสัญญาเลขที่ (ศอว.ศอพท.)<br />

๓๐๐/๒๕๖๐ ลง ๒๙ มี.ค.๖๐ กับบริษัท เอลบิท ซิสเต็มส์<br />

แลนด์ แอนด์ ซีโฟร์ไอ จำกัด<br />

- เมื่อ ๑๘ - ๒๒ เม.ย.๖๐ คณะกรรมการ<br />

ตรวจรับพัสดุ จำนวน ๖ นาย เดินทางไปทำการตรวจรับ<br />

สิ่งของด้วยสายตาสำหรับการซ่อมบำรุงปรับปรุงหรือติดตั้ง<br />

เครื่องจักรกล เพื่อใช้ในการจัดตั้งสายการผลิตกระสุนปืน<br />

รถถัง ณ ประเทศผู้ผลิต รัฐอิสราเอล ตามสัญญาข้อ ๔.๒ และ<br />

ชำระเงินร้อยละ ๓๐ (สามสิบ)<br />

- เมื่อ ๔ - ๒๒ มิ.ย.๖๐ ได้ส่งเจ้าหน้าที่<br />

จำนวน ๘ นาย เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรพื้นฐานการผลิต<br />

อุปกรณ์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ทุกระบบการประกอบรวมและ<br />

การปรับปรุงพัฒนา ณ รัฐอิสราเอล<br />

- เมื่อ ๒๕ มิ.ย. - ๑๓ ก.ค.๖๐ ได้ส่งเจ้าหน้าที่<br />

จำนวน ๖ นาย และ ทบ. จำนวน ๔ นาย รวมจำนวน ๑๐<br />

นาย เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการใช้งานและซ่อมบำรุง<br />

ขั้นสูงของระบบปืนใหญ่และระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้อง<br />

ณ รัฐอิสราเอล (ตามสัญญาข้อ ๕.๑.๑)<br />

ปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการตามสัญญา การ<br />

ดำเนินการจะเสร็จตามสัญญา ภายใน ก.ค.๖๒<br />

๑.๑.๓ โครงการปรับปรุงพัฒนาเครื่องยิง<br />

ลูกระเบิด ขนาด ๑๒๐ มม. แบบอัตตาจรล้อยาง ระยะเวลา<br />

๓ ปี (ปี ๕๙ - ๖๑) เป็นการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการ<br />

ประกอบรวม เพื่อปรับปรุงพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด<br />

๑๒๐ มม. ให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง จำนวน ๑๐ กระบอก<br />

(สำหรับกองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิด จำนวน ๙ กระบอก<br />

และ ศร. จำนวน ๑ กระบอก) โดยการนำเครื่องยิงลูกระเบิด<br />

ขนาด ๑๒๐ มม. ติดตั้งบนรถยนต์บรรทุก พร้อมระบบเข้าที่<br />

ตั้งยิงอัตโนมัติ (กำหนดพิกัดและทิศทางอัตโนมัติ) และระบบ<br />

ควบคุม และอำนวยการยิงอัตโนมัติประจำหมู่ค. รวมทั้งระบบ<br />

ควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติระดับกองร้อย จำนวน<br />

๕ ระบบ (สำหรับ ร้อย ค. จำนวน ๔ ระบบ และ ศร. จำนวน<br />

๑ ระบบ) ด้วยการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากบริษัท<br />

ผู้ผลิตที่มีประสบการณ์และความชำนาญ รวมทั้งเป็นที่ยอมรับ<br />

ในระดับสากลและเมื่อได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อม<br />

สิทธิ์ในการปรับปรุงพัฒนาแล้ว สามารถที่จะดำเนินการ<br />

ปรับปรุงพัฒนาและซ่อมบำรุงด้วยตนเองในอนาคตได้ต่อไป<br />

ซึ่ง รมว.กห. ได้อนุมัติโครงการเริ่มใหม่ ๕๙ เมื่อ ๑๕ ส.ค.๕๘<br />

และได้ลงชื่อในสัญญาแล้ว ตามสัญญาเลขที่ (ศอว.ศอพท.)<br />

๓๐๑/๒๕๕๙ ลง ๓๑ มี.ค.๕๙ กับบริษัท เอลบิท ซิสเต็มส์<br />

แลนด์ แอนด์ ซีโฟร์ไอ จำกัด<br />

- เมื่อ ๒๐ มี.ค.๖๐ บริษัทได้จัดการประชุม<br />

เพื่อนำเสนอการออกแบบขั้นสุดท้ายของโครงการ ต่อคณะ<br />

กรรมการบริหารสัญญา คณะกรรมการบริหารทางเทคนิคและ<br />

หน่วยที่เกี่ยวข้องของ ทบ. ณ ห้องประชุม บก.ศอว.ศอพท.(๑)<br />

- เมื่อ ๑๘ - ๒๖ พ.ค.๖๐ เจ้าหน้าที่ จำนวน<br />

๕ นาย และ ทบ. จำนวน ๓ นาย รวม ๘ นาย เดินทางเข้าร่วม<br />

ดำเนินการประกอบรวมและติดตั้งต้นแบบเครื่องยิงลูกระเบิด<br />

ขนาด ๑๒๐ มม. ณ รัฐอิสราเอล<br />

- เมื่อ ๑๔ - ๒๐ มิ.ย.๖๐ ได้ส่งเจ้าหน้าที่<br />

จำนวน ๕ นาย เข้าร่วมดำเนินการทดสอบเพื่อการยอมรับ<br />

(ATP) ต้นแบบเครื่องยิงลูกระเบิด ณ รัฐอิสราเอล ตามสัญญา<br />

ข้อ ๕.๑.๕<br />

- เมื่อ ๑๙ - ๒๕ มิ.ย.๖๐ ได้ส่งเจ้าหน้าที่<br />

จำนวน ๕ นาย และ ทบ. จำนวน ๕ นาย รวมจำนวน ๑๐<br />

นาย เข้าร่วมดำเนินการยิงทดสอบต้นแบบเครื่องยิงลูกระเบิด<br />

ณ รัฐอิสราเอล ตามสัญญาข้อ ๕.๑.๕<br />

- เมื่อ ๒๗ มิ.ย.๖๐ บริษัทได้ส่งแบบ<br />

รูปการติดตั้งอุปกรณ์ของระบบควบคุมและอำนวยการ<br />

ยิงอัตโนมัติระดับกองร้อยบนยานพาหนะของ ทบ.และ<br />

ขอความเห็นชอบต่อแบบรูปกับ รง.ปค.ศอว.ศอพท.<br />

และที่ปรึกษาโครงการจาก ศร. และ พล.ร.๒ รอ. ร่วมพิจารณา<br />

เห็นชอบแบบรูป ณ ห้องประชุม บก.รง.ปค.ศอว.ศอพท.<br />

- เมื่อ ๑๘ - ๒๔ ก.ค.๖๐ ได้ส่งคณะกรรมการ<br />

ไปดำเนินการตรวจรับพัสดุก่อนส่งสินค้าลงเรือ ณ รัฐอิสราเอล<br />

ตามสัญญาข้อ ๕.๑.๖ และผู้ขายทำการขนส่งต้นแบบ รวมทั้ง<br />

ต้นแบบระบบควบคุมและอำนวยการยิงอัตโนมัติระดับ<br />

กองร้อยและพัสดุหรือสิ่งของที่ใช้ในการดำเนินการปรับปรุง<br />

แก้ไข ภายใน ๒๒ ก.ย.๖๐ ตามสัญญาข้อ ๕.๑.๗<br />

81


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ปัจจุบัน การดำเนินการเป็นไปตามสัญญา<br />

การดำเนินการจะแล้วเสร็จ ตามสัญญา ภายใน ก.ค.๖๑<br />

๑.๑.๔ โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต<br />

กระสุนปืนรถถังเพื่อสนับสนุนเหล่าทัพ และเพื่อการส่งออก<br />

ต่างประเทศ (ระยะที่ ๑) (ช่วงที่ ๒) ระยะเวลา ๔ ปี (ปี ๕๘<br />

- ๖๑) เป็นโครงการเฟสที่ ๒ โครงการเพิ่มขีดความสามารถ<br />

ในการผลิตกระสุนปืนรถถัง เพื่อสนับสนุนเหล่าทัพและเพื่อ<br />

การส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี<br />

ในการผลิตกระสุนปืนรถถัง ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตตัวกระสุน<br />

การบรรจุดินระเบิด (COMP A3) จนถึงขั้นการประกอบ<br />

รวมกระสุน โดยได้ลงชื่อในข้อตกลงแล้ว ตามข้อตกลงเลขที่<br />

ศอว.ศอพท.๑/๒๕๕๘ ลง ๒๐ ก.ย.๕๘ กับบริษัท Israel<br />

Military Industries Ltd. (IMI)<br />

- เมื่อ ๑๒ - ๑๗ ก.ค.๖๐ เจ้าหน้าที่<br />

จำนวน ๖ นาย เดินทางไปทำการตรวจรับสิ่งของ<br />

สำหรับใช้ในการผลิตกระสุนปืนรถถัง ณ ประเทศผู้ผลิต<br />

รัฐอิสราเอล และชำระเงินร้อยละ ๑๐<br />

- เมื่อ ๘ ส.ค.๖๐ ได้ประชุมคณะกรรมการ<br />

บริหารข้อตกลงและคณะกรรมการทางเทคนิคร่วมกับ<br />

เจ้าหน้าที่บริษัท ณ ห้องประชุม บก.ศอว.ศอพท.(๒) และ<br />

บริษัทได้ดำเนินการเข้าสำรวจเครื่องจักรเพื่อเตรียมความ<br />

พร้อมสำหรับการผลิต ณ กองการผลิต รง.กสย.ศอว.ศอพท.<br />

- เมื่อ ๑๕ ส.ค.๖๐ บริษัทได้เข้าดำเนินการ<br />

ปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผลิต<br />

ณ กองการผลิต รง.กสย.ศอว.ศอพท.<br />

ปัจจุบัน บริษัทดำเนินการตรวจเช็กและซ่อมบำรุง<br />

เครื่องจักรกล การดำเนินการเป็นไปตามข้อตกลง การดำเนิน<br />

การจะเสร็จตามข้อตกลงภายใน มี.ค.๖๑<br />

๑.๑.๕ โครงการดำรงขีดความสามารถและเพิ่ม<br />

ประสิทธิภาพโรงงานของ ศอว.ศอพท. ระยะเวลา ๖ ปี<br />

(ปี ๕๗ - ๖๒) เพื่อดำเนินการซ่อมฟื้นฟูและปรับปรุงเพิ่ม<br />

ประสิทธิภาพและจัดหาเพิ่มเติม เครื่องจักรกล เครื่องมือ<br />

อุปกรณ์ อาคารโรงงาน และระบบสาธารณูปโภคของโรงงาน<br />

ทั้งสามของหน่วย งบประมาณปี ๕๗ - ๖๑<br />

- ในปี ๒๕๖๐ ทำการตรวจรับสิ่งของที่ใช้<br />

ในการจัดตั้งสายการผลิต และสิ่งของที่ใช้ในการผลิตภายใน<br />

พ.ค.๖๐ และทำการจัดตั้งสายการผลิต รวมทั้งทำการผลิต<br />

กระสุนชนิดระเบิดกะเทาะเกราะส่องวิถี (HESH-T) จำนวน<br />

๑,๒๐๐ นัด กระสุนชนิดฝึก จำนวน ๑๐๐ นัด และประกอบ<br />

รวมกระสุนชนิดเจาะเกราะทิ้งเปลือกทรงตัวด้วยหางส่องวิถี<br />

(พลังงานจลน์) เอ็ม ๔๒๖ (APFSDS (KE)) จำนวน ๑๐๐ นัด<br />

- เมื่อ ๑๘ - ๒๒ เม.ย.๖๐ คณะกรรมการ<br />

ตรวจรับพัสดุ จำนวน ๖ นาย เดินทางไปทำการตรวจรับ<br />

สิ่งของด้วยสายตาสำหรับการซ่อมบำรุงปรับปรุงหรือติดตั้ง<br />

เครื่องจักรกล เพื่อใช้ในการจัดตั้งสายการผลิตกระสุนปืน<br />

รถถัง ณ ประเทศผู้ผลิต รัฐอิสราเอล และชำระเงินร้อยละ ๓๐<br />

- เมื่อ ๕ พ.ค.๖๐ บริษัทได้ส่งเครื่องจักร<br />

อุปกรณ์เครื่องมือใหม่ รวมจำนวน ๑ ตู้บรรจุสินค้า (๓ ไม้รอง<br />

สินค้า) น้ำหนักรวมทั้งสิ้น ๘,๖๖๒ กก.<br />

82


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ทั้งนี้ได้ลงชื่อในสัญญาแล้ว เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

การดำเนินงานเป็นไปตามสัญญา ส่งมอบงานและเบิกจ่าย<br />

เรียบร้อยแล้ว<br />

๑.๒ งานด้านการผลิต ที่ดำเนินการด้วยเงินทุนหมุนเวียน<br />

ศอว. จำนวน ๑๑ งาน/โครงการ<br />

๑.๒.๑ โครงการผลิตเครื่องช่วยให้ทางสูงระบบ<br />

คอยล์<strong>สป</strong>ริง ปบค.๑๐๕ มม. เอ็ม ๑๐๑ เอ ๑ (ปรับปรุง)<br />

จำนวน ๒๘ กระบอก : ระยะเวลาตั้งแต่ ส.ค.๕๙ - พ.ย.๕๙<br />

กำหนดส่งมอบ ธ.ค.๕๙ - ม.ค.๖๐ ปัจจุบัน ได้ดำเนินการผลิต<br />

เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการติดตั้งชุดคอยล์<strong>สป</strong>ริง<br />

ให้กับหน่วยใช้เรียบร้อยแล้ว ผลการดำเนินงานคิดเป็น<br />

ร้อยละ ๑๐๐<br />

๑.๒.๒ งานผลิตเปลือก ลย./ค.๖๐ มม.รบ.เอ็ม ๒๖๑<br />

(บรรจุดินระเบิด) จำนวน ๕,๐๐๐ ชิ้นงาน (งานผลิตปี ๕๗<br />

สำรองไว้เพื่อขาย) ปี ๕๗ (เพิ่มเติม<br />

๒) : ระยะเวลาตั้งแต่ ธ.ค.๕๗ - ก.พ.<br />

๖๐ กำหนดส่งมอบ มี.ค.๖๐ เป็นงาน<br />

ผลิตเพื่อสำรองไว้ขายให้กับเหล่าทัพ<br />

ตามบันทึกข้อตกลงการสั่งซื้อ/สั่ง<br />

จ้างผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมป้องกัน<br />

ประเทศ โดยความร่วมมือระหว่าง<br />

<strong>สป</strong>. กับเหล่าทัพ ปี ๕๘ ปัจจุบัน ได้<br />

ดำเนินการผลิต ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดแท่งบิลเลทจนถึงขั้นตอน<br />

การบรรจุดินระเบิดได้จำนวน ๕,๐๖๐ ชิ้นงาน ผลการดำเนิน<br />

งานคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐<br />

๑.๒.๓ โครงการประกอบรวม ลย./ค.๖๐ มม.รบ.<br />

เอ็ม ๒๖๑ (ไม่ประกอบชนวนหัว) จำนวน ๕,๐๐๐ นัด<br />

(โครงการปี ๕๙ สำรองไว้เพื่อขาย)<br />

: โดยนำงานผลิตตามข้อ ๑.๒.๒ มา<br />

ดำเนินการ ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย.<br />

๕๙ - พ.ค.๖๐ กำหนดการส่งมอบ<br />

มิ.ย.๖๐ ปัจจุบัน ได้ดำเนินการ<br />

ประกอบรวมเสร็จเรียบร้อยแล้ว<br />

และได้ดำเนินการยิงทดสอบ เมื่อ ๓๐ พ.ค.๖๐ ณ สนาม<br />

ยิงปืนใหญ่ ศป. ผลการยิงทดสอบผ่านตามมาตรฐานการ<br />

ทดสอบ การดำเนินงานเป็นไปตามแผน<br />

๑.๒.๔ งานผลิตเปลือก ลย./ค.๖๐ มม.รบ.เอ็ม<br />

๒๖๑ (บรรจุดินระเบิด) จำนวน ๕,๐๐๐ ชิ้นงาน (งานผลิต<br />

ปี ๕๙ สำรองไว้เพื่อขาย) : ระยะเวลา<br />

ตั้งแต่ เม.ย.๕๙ - ส.ค.๖๐ กำหนดการ<br />

ส่งมอบ ก.ย.๖๐ ปัจจุบัน ได้ดำเนิน<br />

การผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน<br />

๕,๐๕๒ ชิ้นงาน (จบงาน) ผลการดำเนิน<br />

งานคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ การดำเนิน<br />

งานเป็นไปตามแผน<br />

๑.๒.๕ โครงการประกอบรวม ลย./ค.๖๐<br />

มม.รบ.เอ็ม ๒๖๑ (ไม่ประกอบชนวนหัว) จำนวน<br />

๕,๐๐๐ นัด (โครงการปี ๖๐ ตามบันทึกข้อตกลง<br />

ปี ๖๐) โดยนำงานผลิตตามข้อ ๑.๒.๔ มาดำเนินการ ระยะ<br />

เวลา ๒ ปี (๒๕๖๐ - ๒๕๖๑)<br />

: ระยะเวลาตั้งแต่ มิ.ย.๖๑ -<br />

ส.ค.๖๑ กำหนดส่งมอบ ก.ย.<br />

๖๑ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนิน<br />

กรรมวิธีจัดหา และอนุมัติซื้อวัสดุ<br />

สำหรับการประกอบรวม คิดเป็น<br />

ร้อยละ ๒๐ การดำเนินงานเป็นไปตามแผน<br />

๑.๒.๖ งานผลิตเปลือก ลย./ค. ๖๐ มม.รบ.เอ็ม<br />

๒๖๑ (บรรจุดินระเบิด) จำนวน ๕,๐๐๐<br />

ชิ้นงาน กำหนดส่งมอบงาน ก.ย.๖๑<br />

ปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาวัสดุ<br />

สำหรับงานผลิต คิดเป็นร้อยละ ๒๐ งาน<br />

ผลิตเป็นไปตามแผน<br />

83


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๑.๒.๗ งานผลิต ลย.ค.๘๑ มม.รบ.เอ็ม ๒๖๒<br />

(ไม่ประกอบชนวนหัว) จำนวน<br />

๕,๐๐๐ นัด ปี ๕๙ (สำรองไว้เพื่อ<br />

ขาย) : ระยะเวลาตั้งแต่ เม.ย.๕๙<br />

- ส.ค.๖๐ กำหนดการส่งมอบ ก.ย.<br />

๖๐ ปัจจุบัน ได้ดำเนินการผลิต<br />

เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ดำเนินการ<br />

ยิงทดสอบ เมื่อ ๓๐ พ.ค.๖๐ ณ สนามยิงปืนใหญ่ ศป. ผลการ<br />

ยิงทดสอบผ่านตามมาตรฐานการทดสอบ การดำเนินงานเป็นไป<br />

ตามแผน<br />

๑.๒.๘ งานผลิต ลย./ค.๘๑ มม.รบ.เอ็ม ๒๖๒<br />

(ไม่ประกอบชนวนหัว) จำนวน<br />

๕,๐๐๐ นัด (งานผลิตปี๖๐ สำรอง<br />

ไว้เพื่อขาย) ระยะเวลา ๒ ปี(๒๕๖๐<br />

- ๒๕๖๑) : ระยะเวลาตั้งแต่ มิ.ย.<br />

๖๐ - มี.ค.๖๑ กำหนดการส่งมอบ<br />

เม.ย.๖๑ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการ<br />

ดำเนินกรรมวิธีจัดหาวัสดุสำหรับการผลิต ผลการดำเนินงาน<br />

คิดเป็นร้อยละ ๒๐ การดำเนินงานเป็นไปตามแผน<br />

๑.๒.๙ งานผลิตเปลือก ลย./ค.๘๑ มม.รบ.เอ็ม<br />

๒๖๒ (บรรจุดินระเบิด) จำนวน ๕,๐๐๐ นัด (งานผลิต ปี ๖๐<br />

สำรองไว้เพื่อขาย) ระยะเวลา ๒ ปี<br />

(๒๕๖๐ - ๒๕๖๑) : ระยะเวลาตั้งแต่<br />

ต.ค.๖๐ - ก.ค.๖๑ กำหนดการส่งมอบ<br />

ส.ค.๖๑ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการดำเนิน<br />

กรรมวิธีจัดหาวัสดุสำหรับการผลิต<br />

ผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ ๒๐<br />

การดำเนินงานเป็นไปตามแผน<br />

๑.๒.๑๐ งานผลิต ลย./ค.๑๒๐ มม.รบ.เอ็ม ๒๙๓<br />

(ไม่ประกอบชนวนหัว) จำนวน ๕,๐๐๐ นัด (งานผลิต ปี ๕๖<br />

ตามบันทึกข้อตกลงปี๕๖) ระยะเวลา ๔ ปี (ปี ๕๗ - ๖๐) ปี ๕๖<br />

(เพิ่มเติม ๕) : ระยะเวลาตั้งแต่ มี.ค.๕๘ - มิ.ย.๖๐ กำหนดการ<br />

ส่งมอบ ก.ค.๖๐ เป็นงานผลิตไว้<br />

ขายให้กับเหล่าทัพ ตามบันทึกข้อ-<br />

ตกลงการสั่งซื้อ/สั่งจ้างผลิตภัณฑ์<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดย<br />

ความร่วมมือระหว่าง <strong>สป</strong>. กับ<br />

เหล่าทัพ ปี ๕๖ ปัจจุบัน ได้ดำเนินการ<br />

ผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วและได้ดำเนินการยิงทดสอบ เมื่อ ๓๐<br />

พ.ค.๖๐ ณ สนามยิงปืนใหญ่ ศป. ผลการยิงทดสอบผ่านตาม<br />

มาตรฐานการทดสอบ การดำเนินงานเป็นไปตามแผน<br />

๑.๒.๑๑ งานผลิตเปลือก ลย./ค.๑๒๐ มม.รบ.เอ็ม<br />

๒๙๓ (บรรจุดินระเบิด) จำนวน ๕,๐๐๐ ชิ้นงาน (งานผลิตปี<br />

๕๗ สำรองไว้เพื่อขาย) ระยะเวลา ๕ ปี (ปี ๕๗ - ๖๑) ปี ๕๗<br />

(เพิ่มเติม ๒) : ระยะเวลาตั้งแต่ ม.ค.<br />

๕๘ - ก.พ.๖๑ กำหนดการส่งมอบ<br />

มี.ค.๖๑ เป็นงานผลิตเพื่อสำรองไว้<br />

ขายให้กับเหล่าทัพ ตามบันทึกข้อ-<br />

ตกลงการสั่งซื้อ/สั่งจ้างผลิตภัณฑ์<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศโดย<br />

ความร่วมมือระหว่าง <strong>สป</strong>. กับเหล่าทัพ<br />

ปี ๕๗ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างดำเนินการผลิตหาง ตั้งแต่ขั้นตอน<br />

การตัดแท่งอะลูมิเนียมจนถึงขั้นตอนการชุบอะโนไดซ์<br />

ADAPTER ได้จำนวน ๕,๑๕๘ ชิ้นงาน ผลการดำเนินงาน<br />

คิดเป็นร้อยละ ๔๘ เนื่องจากได้ส่งมอบเครื่องอัดขึ้นรูปตัว<br />

กระสุนให้กับบริษัท อินดี้ซัพพลาย แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด<br />

เพื่อดำเนินการตามโครงการดำรงขีดความสามารถและเพิ่ม<br />

ประสิทธิภาพโรงงาน ของ ศอว.ศอพท. จึงทำให้การดำเนิน<br />

งานไม่เป็นไปตามแผน<br />

๑.๓ งานด้านการวิจัยและพัฒนา<br />

๑.๓.๑ โครงการวิจัยและพัฒนาชนวนหัวกระทบ<br />

แตกไว/ถ่วงเวลา สำหรับ ลย./ค. : ระยะเวลาดำเนินการ<br />

๒ ปี (๑ พ.ค.๕๘ - มิ.ย.๖๐) เป็นโครงการวิจัยที่ดำเนินการ<br />

ร่วมกับ สทป. โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา<br />

ชนวนหัวกระทบแตกไว/ถ่วงเวลา<br />

จนถึงขั้นตอนการจัดสร้างชนวนหัว<br />

รวมถึงปัญหาข้อขัดข้องทางเทคนิค<br />

ต่างๆ นำมาต่อยอดพัฒนาเป็น<br />

โครงการพัฒนาชนวนหัวกระทบ<br />

แตกไว/ถ่วงเวลาสำหรับ ลย./ค.<br />

เพื่อให้ได้ต้นแบบชนวนหัวสำหรับ<br />

ลย./ค. ที่มีคุณลักษณะและขีดความสามารถเทียบเท่ากับ<br />

ต่างประเทศโดยใช้วัสดุภายในประเทศให้มากที่สุดเพื่อนำเข้า<br />

รับรอง กมย.ทบ. แล้วจึงเข้าสู่สายการผลิตต่อไป ปัจจุบัน<br />

ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาชนวนหัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว<br />

การดำเนินการเป็นไปตามแผนการวิจัยพัฒนา<br />

๑.๓.๒ โครงการวิจัยและพัฒนาหัวรบจรวด<br />

ขนาด ๑๒๒ มม. : ระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี (มิ.ย.๕๘ - มิ.ย.<br />

๖๐) เป็นโครงการวิจัยเริ่มใหม่ที่ดำเนินการร่วมกับ สทป. ซึ่ง<br />

เป็นการดำเนินการวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การ<br />

ผลิตต่อไป โดยเมื่อ พ.ย.๕๙ ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนา<br />

84


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

- ดำเนินการเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Propak 6),<br />

อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม (Antena) และ IMU<br />

การติดตั้งชุดขับมอเตอร์และเซนเซอร์<br />

ปัจจุบัน มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน คิดเป็น<br />

ร้อยละ ๕๒<br />

๑.๓.๔ กิจกรรมศึกษาความเป็นไปได้ในการ<br />

พัฒนาโครงสร้างยานพาหนะบรรทุกบุคคล ขนาด ๒ ๑/๒<br />

ตัน ขึ้นไป ให้สามารถป้องกันระเบิดแสวงเครื่อง น้ำหนัก<br />

๕๐ กก. : ระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี (ต.ค.๕๘ - ก.ย.๖๐)<br />

เป็นกิจกรรมวิจัยที่ดำเนินการโดยใช้งบประมาณ วท.กห. เพื่อ<br />

ให้ได้องค์ความรู้และรูปแบบพร้อมทั้งชนิดของวัสดุที่ใช้ในการ<br />

พัฒนาโครงสร้างยานพาหนะบรรทุกบุคคล ขนาด ๒ ๑/๒ ตัน<br />

ขึ้นไป ให้สามารถป้องกันระเบิดแสวงเครื่อง น้ำหนัก ๕๐ กก.<br />

หัวรบแล้วเสร็จ จำนวน ๕๐ หัว และส่งมอบให้ สทป. เพื่อ<br />

ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปแล้ว<br />

๑.๓.๓ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบกำหนด<br />

พิกัดและชี้ทิศทางอัตโนมัติ : ระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี (ปี<br />

๕๙ - ๖๐) เป็นโครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยใช้งบประมาณ<br />

ของ วท.กห. เพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบของระบบกำหนด<br />

พิกัดและชี้ทิศทางอัตโนมัติให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น<br />

ก่อให้เกิดองค์ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการนำเข้าสู่สายการ<br />

ผลิตต่อไป<br />

- เมื่อ ม.ค.๖๐ ปรับปรุงกระบวนการออกแบบ<br />

โปรแกรมระบบ INS : การทำ Calibration ข้อมูลจาก GPS<br />

และ Gyro Sensor<br />

- ดำเนินการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์เพิ่มเติม<br />

คือ อุปกรณ์รับสัญญาณ Ring Laser Gyro<br />

- ปรับปรุงกระบวนการออกแบบโปรแกรม<br />

ระบบ INS การสร้างเครื่องมือทดสอบ การวัดค่ามุมทิศและ<br />

มุมยิง และการสร้างเครื่องมือทดสอบแรงสะท้อนถอยหลัง<br />

- ได้รับเงินงบประมาณเงินอุดหนุนการวิจัย<br />

และพัฒนาทางทหาร จาก วท.กห. แล้ว จำนวน ๑๓๙,๒๔๐<br />

บาท อยู่ระหว่างดำเนินการจำลองการระเบิด และผลจากการ<br />

ระเบิดต่อโครงสร้างที่ได้ออกแบบไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์<br />

- ได้จัดทำและส่งเอกสารวิจัยบทที่๑ บทที่๒<br />

และ บทที่ ๓ เพื่อใช้ประกอบการขอเบิกจ่ายงบประมาณงวด<br />

ที่ ๒ และงวดที่ ๓ ไปยัง วท.กห. แล้วเมื่อ ๒๔ ก.ค.๖๐ และ<br />

เมื่อ ๘ ส.ค.๖๐<br />

ปัจจุบัน มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานคิดเป็น<br />

ร้อยละ ๔๘<br />

๒. กิจกรรมที่สำคัญ<br />

- ร่วมพิธีลงนามถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จ<br />

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ ศาลา<br />

ประชาคมเทศบาลเมืองลพบุรี อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี และ<br />

ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมถวายฯ ณ วัดเสาธงทอง<br />

(พระอารามหลวง) อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี<br />

85


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ที่ ๒ ณ ศาลาอเนกประสงค์ ศอว.ศอพท. ค่ายจิรวิชิตสงคราม<br />

และร่วมพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล เนื่องใน<br />

วันกองทัพไทย ประจำปี ๒๕๖๐ ณ สนามสีหราชเดโช นสศ.<br />

อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี<br />

- ผอ.ศอพท. และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยม<br />

และฟังการบรรยายสรุป เพื่อรับทราบภารกิจ การจัดการ<br />

ดำเนินงานที่สำคัญและปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติ<br />

งานของหน่วย ณ ห้องประชุม บก.ศอว.ศอพท.(๑) ค่าย<br />

จิรวิชิตสงคราม อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี พร้อมเดินทางไป<br />

ชมผลงานการสร้าง การผลิต และการวิจัยพัฒนาอาวุธ<br />

ยุทโธปกรณ์ของ ศอว.ศอพท. ณ กองการผลิต รง.กสย.ศอว.<br />

ศอพท.<br />

- พิธีเปิดกิจกรรมรวมพลังแห่งความภักดีของ<br />

เทศบาลเมืองเขาสามยอด ร่วมกับ ศอว.ศอพท. และ รพ.<br />

อานันทมหิดล เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีส่วนร่วมใน<br />

การแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จ<br />

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในโอกาส<br />

วันคล้ายวันพระราชสมภพ ปีที่ ๘๙ ณ บริเวณหน้าค่ายจิรวิชิต<br />

สงคราม ศอว.ศอพท. อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี<br />

- จัดพิธีส่งทหารซึ่งรับราชการครบกำหนดปลด<br />

จากกองประจำการ, จัดพิธีต้อนรับทหารใหม่ รุ่นปี ๒๕๕๙<br />

ผลัดที่ ๒, จัดงานวันพร้อมญาติทหารใหม่ รุ่นปี ๒๕๕๙ ผลัด<br />

86


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

- ปล.กห. และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยม และ<br />

ฟังการบรรยายสรุปเพื่อรับทราบภารกิจ การจัดการดำเนิน<br />

งานที่สำคัญและปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของหน่วย<br />

ณ ห้องประชุม บก.ศอว.ศอพท.(๑) ค่ายจิรวิชิตสงคราม<br />

อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี พร้อมเดินทางไปชมผลงานการสร้าง<br />

การผลิต และการวิจัยพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ณ กองการ<br />

ผลิต รง.กสย.ศอว.ศอพท. และให้โอวาทกำลังพล<br />

มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม<br />

๒๕๖๐ ณ ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองลพบุรี อ.เมืองลพบุรี<br />

จ.ลพบุรี<br />

- ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า<br />

สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสวัน<br />

เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ดังนี้<br />

พิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ ศาลาประชาคมเทศบาล<br />

เมืองลพบุรี, พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

และถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม<br />

ราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ณ ลานอเนกประสงค์ โรงเรียนพิบูล<br />

วิทยาลัย อ.เมืองลพบุรี และพิธีถวายเครื่องราชสักการะ และ<br />

พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสวันเฉลิม<br />

พระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ ลาน<br />

อเนกประสงค์ โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี<br />

- จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาส<br />

มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม<br />

๒๕๖๐ ร่วมกับเทศบาลเมืองเขาสามยอด โดยมีกิจกรรมปลูก<br />

ต้นไม้และปล่อยปลา ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำ ศอว.ศอพท. และพิธี<br />

เจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคล พิธีทำบุญตักบาตร<br />

ถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีลงนามถวายพระพร ณ อาคาร<br />

พาสนยงภิญโญ ค่ายจิรวิชิตสงคราม อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี<br />

และร่วมพิธีลงนามถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาส<br />

- จัดงานวันสถาปนา ครบรอบปีที่ ๓๘ ซึ่งมีพิธี<br />

เปิดศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บริเวณด้านข้าง<br />

อ่างเก็บน้ำเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี ศอว.ศอพท. และมีการกระทำพิธี<br />

เทิดเกียรติ ปล.กห. และผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของ <strong>สป</strong>. เนื่องใน<br />

โอกาสเกษียณอายุราชการ ณ ศอว.ศอพท. ค่ายจิรวิชิตสงคราม<br />

87


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

อ.เมืองลพบุรีจ.ลพบุรี โดยมี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปล.กห.<br />

เป็นประธาน<br />

- จัดพิธีเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่เกษียณอายุราชการ<br />

และผู้ลาออกตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด<br />

และพิธีแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้า<br />

โปรดกระหม่อม พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ณ ศอว.ศอพท.<br />

ค่ายจิรวิชิตสงคราม อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี<br />

88


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (รภท.ศอพท.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ ดำเนินการ ศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนา เตรียมการผลิตยาและ<br />

เวชภัณฑ์ทางการทหาร ที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉินและผลิต รับจ้างผลิต จำหน่าย จัดหา<br />

วิจัย วิเคราะห์ยาและเวชภัณฑ์สนับสนุนกองทัพและส่วนราชการสังกัดกระทรวง<br />

กลาโหม หน่วยงานอื่น ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น<br />

ภาคเอกชน ประชาชนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ มีผู้อำนวยการโรงงาน<br />

เภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลตรี ไชย หว่างสิงห์<br />

ผู้อำนวยการโรงงานเภสัชกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. ผลการดำเนินงาน<br />

รายละเอียดเปรียบเทียบการขาย และรายได้สุทธิ ปริมาณการผลิต มูลค่าการผลิต (ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐)<br />

89<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

รายการ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ<br />

๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐<br />

ใบสั่งซื้อ<br />

การส่งยา<br />

มูลค่าการผลิต<br />

๑๔๓.๕๔<br />

๑๔๒.๘๓<br />

๑๕๔.๙๑<br />

๑๒๓.๐๘<br />

๑๓๓.๙๑<br />

๑๘๔.๑๗<br />

๑๒๘.๑๗<br />

๑๒๘.๒๗<br />

๑๔๗.๙๘<br />

๑๓๙.๔๗<br />

๑๓๓.๕๕<br />

๑๕๒.๕๕


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

แผนภูมิเปรียบเทียบการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ – ๒๕๕๙<br />

๒. ยอดการจำหน่ายยา<br />

- สรุปยอดจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ดังนี้<br />

หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๙๔,๙๒๒,๘๖๑.๕๓ บาท<br />

องค์การเภสัชกรรม<br />

๑๔,๐๔๐,๒๒๐.๐๐ บาท<br />

หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข<br />

๑๔,๐๐๓,๓๑๕.๙๙ บาท<br />

หน่วยราชการอื่นๆ ๓๕๕,๐๗๗.๔๙ บาท<br />

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา<br />

๖,๓๙๘,๖๗๙.๐๐ บาท<br />

ภาคเอกชน<br />

๓,๙๖๑,๘๗๒.๔๒ บาท<br />

ร้านขายยา รภท.ศอพท.<br />

๕,๗๙๐,๒๐๓.๑๑ บาท<br />

รวม<br />

๑๓๙,๔๗๒,๒๒๙.๕๔ บาท<br />

๓. การวิจัยและพัฒนา<br />

๓.๑ การขึ้นทะเบียนตำรับยา<br />

๓.๑.๑ งานขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๑ รายการ คือ ตำรับ Chlorpheniramine Maleate Syrup<br />

2 mg/5 ml ซึ่งได้รับมติให้แก้ทะเบียนตำรับยาจาก อย. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการแก้ไขเอกสารทะเบียนตำรับยาตามที่ อย. แจ้ง<br />

๓.๑.๒ งานขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ จำนวน ๑๑ รายการ ได้แก่<br />

3.1.2.1 ตำรับยาแคปซูลเบญจกูล ขนาด 450 mg.<br />

3.1.2.2 ตำรับยาแคปซูลธรณีสันฑะฆาต ขนาด 500 mg.<br />

3.1.2.3 ตำรับยาแคปซูลธาตุบรรจบ ขนาด 500 mg.<br />

3.1.2.4 ตำรับยาแคปซูลประสะไพล ขนาด 500 mg.<br />

3.1.2.5 ตำรับยาแคปซูลจันทน์ลีลา ขนาด 450 mg.<br />

3.1.2.6 ตำรับยาแคปซูลบำรุงโลหิต ขนาด 450 mg.<br />

3.1.2.7 ตำรับยาแคปซูลสหัสธารา ขนาด 500 mg.<br />

90


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

3.1.2.8 ตำรับยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง ขนาด 30 ml.<br />

3.1.2.9 ตำรับยาชงหญ้าหนวดแมว ขนาด 2 g.<br />

3.1.2.10 ตำรับยาชงรางจืด ขนาด 2 g.<br />

3.1.2.11 ตำรับยาน้ำมันสมุนไพรโชน่า ขนาด <strong>60</strong> ml.<br />

3.2 งานวิจัยยาใหม่มียาอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 9 รายการ ดังนี้<br />

3.2.1 ยาเม็ดทำน้ำบริสุทธิ์ (Pure Water Tab)<br />

3.2.2 Potassium chloride syrup 20 mEq/15 ml.<br />

3.2.3 10% Ethanol in 5% dextrose Injection : 20 ml.<br />

3.2.4 Morphine Sulfate IR 10 mg tablet<br />

3.2.5 Metoclopramide 5 mg/ml Injection<br />

3.2.6 Alprazolam tablet<br />

3.2.7 Ephedrine HCl injection 30 mg./ml.<br />

3.2.8 DPF Powder<br />

3.2.9 ครีมน้ำมันไพล 14% w/w<br />

๔. การประชาสัมพันธ์<br />

- จัดพิธีมอบรางวัลหน่วยงานสนับสนุนงานด้าน<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (ยาและเวชภัณฑ์) ประจำปี<br />

๒๕๕๙ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และแสดงความ<br />

ขอบคุณต่อหน่วยงานสังกัด กห. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ<br />

ที่ให้การสนับสนุนงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

ประเภทยาและเวชภัณฑ์ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้<br />

- ร่วมออกบูธแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงาน<br />

ประชุมวิชาการ “งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ<br />

ประจำปี ๒๕๖๐” ระหว่าง ๒๒ – ๒๔ ก.พ.๖๐ ณ โรงแรม<br />

มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ<br />

- ได้นำโครงการวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับยาเม็ดทำ<br />

น้ำบริสุทธิ์เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน “วันนิทรรศการ<br />

วิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ๒๕๕๙” เมื่อวันที่<br />

๑๐ พ.ย.๕๙ ณ รร.จปร. จ.นครนายก<br />

- จัดงานสัมมนาเภสัชกรทหาร–ตำรวจ ประจำปี<br />

๒๕๖๐ ณ สวนนงนุช การ์เด้น รีสอร์ท จ.ชลบุรี เพื่อให้<br />

เภสัชกรสังกัด ทบ., ทร., ทอ., สตช. และ รพ.ผศ. ซึ่งเป็นลูกค้า<br />

เป้าหมายของ รภท.ศอพท. ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความ<br />

คิดเห็นและความรู้ด้านเภสัชกรรม และสร้างความสัมพันธ์<br />

ที่ดีในกลุ่มเภสัชกร ซึ่งจะนำไปสู่การประสานงานและเพิ่ม<br />

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน<br />

91


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

- จัดบูธแสดงผลงานวิจัยเข้าร่วมในงานนิทรรศการ<br />

“KM DAY สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๐๑๗” ณ ห้อง<br />

พินิตประชานาถ ชั้น ๒ ภายในศาลาว่าการกลาโหม โดยมี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยน<br />

เรียนรู้ การเรียนรู้ร่วมกันของข้าราชการและหน่วยใน <strong>สป</strong>.<br />

๕. การพัฒนาบุคลากร<br />

- จัดสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์<br />

และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้<br />

แก่กำลังพล ณ โสมาภา ป่าสัก รีสอร์ท จ.ลพบุรี<br />

- จัดการอบรมเรื่อง “ทิศทางผลิตภัณฑ์สมุนไพร<br />

รภท.ศอพท. กับแผนแม่บทแห่งชาติด้านสมุนไพรไทย พ.ศ.<br />

๒๕๖๐ – ๒๕๖๔” ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์อาคารอำนวยการ<br />

รภท.ศอพท. โดยมีข้าราชการเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย<br />

จำนวน ๔๕ นาย<br />

- ร่วมจัดแสดงผลงานและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย<br />

ภายในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติและการประชุมวิชาการ<br />

ประจำปี การแพทย์แผนไทย, การแพทย์พื้นบ้านและการ<br />

แพทย์ทางเลือก ครั้งที่ ๑๔ ภายใต้หัวข้อ “เสน่ห์ไทย สมุนไพร<br />

ไทย ๔.๐ : THAI HERBAL PRODUCTS 4.0–A CHARM<br />

OF THAINESS” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค<br />

เมืองทองธานี<br />

- จัดการบรรยายการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล<br />

(IDP) ให้แก่ข้าราชการในสังกัด ชั้นยศตั้งแต่ ร.ต. – พ.ต.<br />

จำนวน ๓๙ นาย ณ ห้องกอเตย อาคารอำนวยการ<br />

รภท.ศอพท.<br />

๖. การตรวจเยี่ยม และการศึกษาดูงาน<br />

- พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปล.กห., และคณะ<br />

ตรวจเยี่ยมพร้อมทั้งให้โอวาทแก่ข้าราชการและกำลังพล ณ<br />

ห้องกระถินณรงค์ อาคารอำนวยการ รภท.ศอพท.<br />

- ให้การต้อนรับ พล.อ.ฐิตินันท์ ธัญญสิริ<br />

ผอ.ศอพท. และคณะ ในโอกาสตรวจเยี่ยมหน่วยและเยี่ยมชม<br />

การผลิตยา การวิจัยและควบคุมคุณภาพยา และการเก็บรักษา<br />

ยาและเวชภัณฑ์ ณ รภท.ศอพท.<br />

92


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๗. กิจการพลเรือนและการช่วยเหลือประชาชน<br />

- ให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนที่มาร่วม<br />

ถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล<br />

อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ ท้องสนามหลวง โดยแจกยาและ<br />

เวชภัณฑ์ให้แก่ประชาชน<br />

- คณาจารย์ นักเรียนแพทย์ทหาร/นักศึกษาแพทย์<br />

ชั้นปีที่ ๓ รุ่นที่ ๔๐ จาก วพม. เข้าศึกษาดูงานด้านการผลิต<br />

และการวิจัยและการประกันคุณภาพ<br />

- รร.สร.พบ. ได้นำอาจารย์ พร้อมคณะนายสิบ<br />

นักเรียน หลักสูตรนายสิบเภสัชกรรม รุ่นที่๘ จำนวน ๑๘ นาย<br />

เข้าฝึกปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต, การควบคุม<br />

คุณภาพ, การเก็บรักษา และงานเภสัชกรรมด้านอื่นๆ<br />

- พล.อ.ภัสสร อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้า<br />

คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

พร้อมคณะ เดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงาน<br />

- คณะอาจารย์และนายสิบนักเรียน หลักสูตร<br />

นายสิบส่งกำลังสายแพทย์ รุ่นที่ ๑๙ จำนวน ๓๐ นาย เข้า<br />

ศึกษาดูงานด้านการผลิต ด้านการวิจัย และการประกัน<br />

คุณภาพ ณ รภท.ศอพท.<br />

- พล.อ.พฤษภะ สุวรรณทัต ปษ.<strong>สป</strong>./หัวหน้าคณะ<br />

ทำงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

ภายใต้กำกับดูแลของ รอง ปล.กห.(๑) และคณะ เข้าเยี่ยมชม<br />

การดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความคืบหน้า<br />

ในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับร่างแผนการพัฒนาสมุนไพร<br />

เพื่อการเภสัชกรรม (ฉบับที่ ๑) พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ และ<br />

โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ณ รภท.ศอพท.<br />

อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี<br />

93


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

- จัดกิจกรรมเภสัชกรร่วมใจให้บริการทาง<br />

การแพทย์แก่ประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

ณ รภท.ศอพท. ภายในงานมีกิจกรรมตรวจรักษาโรค<br />

โดยแพทย์ การให้บริการทางทันตกรรมโดยทันตแพทย์<br />

การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและจ่ายยาโดยเภสัชกร<br />

94


กรมการเงินกลาโหม (กง.กห.)<br />

Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ<br />

และควบคุม การใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ<br />

ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานด้านการเงินและการบัญชี<br />

และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย มีเจ้ากรมการเงินกลาโหม<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

๑. งานการเบิกจ่ายเงินและการบัญชี<br />

๑.๑ ผลการปฏิบัติงานด้านการเงินและการบัญชี<br />

ได้ทำการเบิกจ่ายเงินในงบประมาณและเงิน<br />

นอกงบประมาณให้กับ สร., นขต.<strong>สป</strong>., นถปภ.รอ., เหล่าทัพ และ<br />

พลโท อนุชิต อินทรทัต<br />

เจ้ากรมการเงินกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ รวมทั้งได้รองจ่ายเงินทดรองราชการ<br />

ตามที่ สร. และ นขต.<strong>สป</strong>. ร้องขอ และจัดทำรายงานการเงิน<br />

ส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ภายในระยะเวลา<br />

ที่กำหนด ตามรายละเอียดดังนี้<br />

๑.๑.๑ ผลการจ่ายเงิน ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๙ - ๓๐ ก.ย.๖๐<br />

ประเภท จำนวน (ฎีกา) จำนวนเงิน (บาท)<br />

จ่ายเงินให้กับ สร., นขต.<strong>สป</strong>., เหล่าทัพ และผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ<br />

๑. เงินงบประมาณ ๘,๑๕๘ ๒,๔๐๓,๗๐๐,๙๓๒.๒๕<br />

๒. เงินทดรองราชการ ๑,๔๙๒ ๒๔๓,๑๘๗,๑๕๐.๖๐<br />

95


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๑.๑.๑ ผลการจ่ายเงิน ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๙ - ๓๐ ก.ย.๖๐ (ต่อ)<br />

ประเภท จำนวน (ฎีกา) จำนวนเงิน (บาท)<br />

๓. เงินทดรองราชการ-เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ๑๓๘ ๑๔๑,๑๐๘,๘๘๐.๖๖<br />

๔. จ่ายเงินให้กับ นถปภ.รอ. ๘๔๘ ๑,๔๖๗,๘๑๖,๒๒๐.๑๑<br />

รวมจ่ายทั้งสิ้น ๑๐,๖๓๖ ๔,๒๕๕,๘๑๓,๑๘๓.๖๒<br />

๑.๑.๒ การปฏิบัติงานด้านการบัญชีที่สำคัญ<br />

- จัดทำรายงานการเงินจากระบบ GFMIS<br />

ของ กง.กห. และงบเดือนรายได้แผ่นดินของ <strong>สป</strong>. ประจำเดือน<br />

ส่ง สตง.<br />

- จัดทำรายงานเงินรายได้แผ่นดินของ <strong>สป</strong>.<br />

ประจำเดือน ส่ง สงป.กห.<br />

- จัดทำงบการเงินประจำปีงบประมาณ<br />

พ.ศ.๒๕๕๙ ของ <strong>สป</strong>. ส่ง สตง. และกรมบัญชีกลาง<br />

- จัดทำงบการเงินรวมระดับกระทรวง<br />

ส่ง สตง. และกรมบัญชีกลาง<br />

- จัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับการสอบทาน<br />

รายงานการเงินส่งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล<br />

ประจำ กห. (ค.ต.ป. ประจำ กห.) โดยผ่าน สตน.กห. ในฐานะ<br />

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ<br />

- จัดทำรายงานสรุปการประเมินผล<br />

การปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงินของส่วนราชการระดับกรม<br />

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ รอบที่ ๒ และประจำปี<br />

งบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ รอบที่ ๑ ส่งกรมบัญชีกลาง<br />

- ดำเนินการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์<br />

ในระบบ GFMIS โดยได้จัดส่งรายละเอียดบัญชีพักสินทรัพย์<br />

ประจำเดือนให้หน่วยในส่วนกลางตรวจสอบ และยืนยัน<br />

รายละเอียด<br />

๑.๑.๓ การปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายการจัดทำ<br />

รายงานการเงินและการดำเนินการเกี่ยวกับการเงินอื่นๆ<br />

- จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินอุดหนุน<br />

การพัฒนาทางวิชาการ การระดมสรรพกำลังและการสวัสดิการ<br />

ณ ๓๐ ก.ย.๕๙ ส่ง สตง. และกระทรวงการคลัง<br />

- จัดทำงบรับจ่ายกองทุนสวัสดิการ <strong>สป</strong>.<br />

ประจำเดือน และประจำปี ๒๕๕๙ ส่ง สม.<br />

- ดำเนินการเบิก - จ่ายเงินอุดหนุน<br />

การสำรวจปิโตรเลียมบนบกในภาคเหนือของ พท.ศอพท.<br />

เพื่อการสวัสดิการ ให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินฯ และจัด<br />

ทำทะเบียนคุมการรับ - จ่ายเงินอุดหนุนการสำรวจปิโตรเลียม<br />

บนบกในภาคเหนือของ พท.ศอพท. เพื่อการสวัสดิการ<br />

- จัดการประชุมคณะกรรมการพิจารณา<br />

การใช้จ่ายเงินอุดหนุนการสำรวจปิโตรเลียมบนบกในภาคเหนือ<br />

ของ พท.ศอพท. เพื่อการสวัสดิการ รายไตรมาส รวม ๔ ครั้ง/ต่อปี<br />

โดยมี รอง ปล.กห. สายงานด้านการเงิน เป็นประธาน<br />

- จัดทำรายงานสถานภาพเงินนอก<br />

งบประมาณประเภทที่ ๒ ประจำเดือน<br />

- จัดทำรายงานสถานภาพกองทุน ฯพณฯ<br />

นายชวน หลีกภัย และ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประจำเดือน เม.ย.<br />

และ ต.ค. ของทุกปี<br />

- ดำเนินการจัดสรรดอกเบี้ยเงินฝากของ<br />

บัญชีเงินทุนสวัสดิการพิเศษสงเคราะห์ข้าราชการ เมื่อครบ<br />

กำหนด ๓ ปี ให้กับ นขต.กห.<br />

- ดำเนินการเบิก - จ่ายเงินมูลนิธิพระ<br />

บรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก และจัดทำงบการเงินมูลนิธิพระ<br />

บรมธาตุเจดีย์กาญจนาภิเษก ประจำปีส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชี<br />

- สนับสนุนเงินยืมให้กับ สร. และ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

โดยจ่ายจากเงินนอกงบประมาณ กรณีที่ไม่สามารถใช้จ่าย<br />

จากเงินทดรองราชการ<br />

- ดำเนินการจ่ายเงินกองทุนเพื่อการ<br />

ช่วยเหลือบุตรที่มีความต้องการพิเศษของกำลังพลในสังกัด<br />

<strong>สป</strong>. จำนวน ๕๕ ราย/เดือน เป็นเงิน ๑,๑๔๐,๕๐๐ บาท<br />

- นำส่งเงิน กบข., กสจ. และประกันสังคม<br />

ประจำเดือน<br />

- นำส่งหนี้สินต่างๆ ดังนี้<br />

๑) สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ฯ<br />

“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” จำนวน<br />

๒ ราย/เดือน<br />

๒) กรมบังคับคดีจำนวน ๕ ราย/เดือน<br />

๓) สหกรณ์ออมทรัพย์ <strong>สป</strong>. จำกัด<br />

จำนวน ๔ ราย/เดือน<br />

๔) ช.ค.บ. เกินสิทธิจำนวน ๓ ราย/เดือน<br />

๕) ธนาคารออมสิน สำนักราชดำเนิน<br />

จำนวน ๑ ราย/เดือน<br />

96


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๖) สหกรณ์ออมทรัพย์ จทบ.ล.ป.<br />

ลำปาง จำนวน ๑ ราย/เดือน<br />

๗) สำนักงานบังคับคดี จ.ลพบุรี<br />

จำนวน ๑ ราย/เดือน<br />

๘) ศาลจังหวัดธัญบุรี จำนวน ๑ ราย/<br />

เดือน<br />

๙) สหกรณ์ออมทรัพย์กรมแผนที่ทหาร<br />

จำกัด จำนวน ๑ ราย/เดือน<br />

- จัดส่งแบบ ภ.ง.ด. ๑ ก (พิเศษ) และ<br />

รายละเอียดฎีกาเบิกเงินประกอบ ภ.ง.ด. ๑ ก (พิเศษ) ประจำปี<br />

๒๕๕๙ ของ สร., นขต.<strong>สป</strong>. และ นถปภ.รอ. ให้กรมสรรพากร<br />

- รายจ่ายอื่น จำนวน ๘๔ ฎีกา เป็น<br />

จำนวนเงิน ๓๐,๙๙๖,๐๓๖.๔๑ บาท<br />

๒. งานเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ<br />

๒.๑ จัดทำเรื่องขอรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ให้กับ<br />

ข้าราชการสังกัด สร., <strong>สป</strong>. และ นถปภ.รอ. ที่เกษียณอายุ<br />

ราชการและลาออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุ<br />

ราชการก่อนกำหนด โดยมี<br />

๒.๑.๑ ผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน ๑๖๑ ราย<br />

๒.๑.๒ ผู้ที่ลาออกจากราชการตามโครงการเกษียณ<br />

อายุราชการก่อนกำหนด จำนวน ๙๑ ราย<br />

- ร่วมกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา<br />

พระนคร ๒ และสาขาปากเกร็ด ๒ มาให้บริการรับยื่นแบบ<br />

ภาษีเงินได้ประจำปีภาษี ๒๕๕๙ แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง<br />

และพนักงานราชการ สังกัด <strong>สป</strong>. เมื่อ ๘ มี.ค.๖๐ ณ ห้อง<br />

หลักเมือง ๑ ในศาลาว่าการกลาโหม มีผู้มารับบริการ จำนวน<br />

๒๐๔ ราย และ ๑๗ มี.ค.๖๐ ณ ห้องรับรองแขกต่างประเทศ<br />

ชั้นลอย อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) มีผู้มารับบริการ จำนวน<br />

๑๓๒ ราย รวมผู้มารับบริการทั้งสิ้น จำนวน ๓๓๖ ราย<br />

๑.๒ ผลการปฏิบัติการเบิกจ่ายเงิน<br />

๑.๒.๑ ผลการปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ<br />

รายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖๐ จนถึง ก.ย.๖๐ เป็นจำนวนเงิน<br />

๑๐,๕๒๒,๘๑๑,๖๓๔.๕๘ บาท<br />

๑.๒.๒ ดำเนินการตรวจสอบฎีกาเบิกเงินเดือน<br />

เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เงินค่า<br />

ตอบแทนพิเศษ เงินช่วยเหลือ และเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็น<br />

รายเดือนของ นถปภ.รอ. รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๓๘<br />

ล้านบาทเศษ<br />

๑.๒.๓ ดำเนินการตรวจสอบและเบิกเงินให้กับ<br />

นถปภ.รอ.<br />

- เงินอุดหนุนทั่วไป จำนวน ๒๔ ฎีกา<br />

เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๔๘๕,๘๓๕.๘๙ บาท<br />

๒.๒ การเบิกเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ, บำเหน็จ<br />

ดำรงชีพ, เงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และค่าการศึกษา<br />

ของบุตร ซึ่งมีผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่ขอรับเงินทาง <strong>สป</strong>.<br />

จำนวน ๑๔,๙๑๗ ราย โดยได้จัดสถานที่ให้บริการกับผู้รับ<br />

เบี ้ยหวัดบำนาญ ๒ แห่ง ได้แก่ กบน.กง.กห. บริเวณชั้น ๑<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม และ กบน.กง.กห. บริเวณ<br />

ชั้น ๑ อาคาร เอ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

๒.๓ จัดส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำปี<br />

ภาษี ๕๙ ให้กับผู้รับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญที่รับเงินทาง<br />

<strong>สป</strong>. จำนวน ๑๔,๙๑๗ ราย<br />

๒.๔ การรับรองเวลาราชการตอนเป็นทหารให้กับ<br />

ข้าราชการต่างกระทรวงที่เคยรับราชการทหารเพื่อนำไป<br />

รวมเวลารับราชการในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ จำนวน<br />

๕๘๐ ราย<br />

๒.๕ การรับรองเวลาราชการเป็นทวีคูณให้กับบุคคล<br />

ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กห. กำหนดของหน่วยงานศูนย์<br />

บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน<br />

๑๒,๑๖๒ ราย<br />

๒.๖ การกำหนดส่วนบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพให้กับ<br />

ข้าราชการสังกัด กห. และบุคคลที่ทำหน้าที่ตามที่กห. กำหนด<br />

จำนวน ๕๑ ราย<br />

97


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒.๗ ทำหนังสือแสดงเจตนาระบุผู้รับบำเหน็จตกทอด<br />

ของผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ จำนวน ๒๙๖ ราย<br />

๒.๘ ทำหนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอด เพื่อใช้เป็น<br />

หลักประกันการกู้เงินจากสถาบันการเงิน จำนวน ๔๓๗ ราย<br />

๒.๙ การให้ความช่วยเหลือผู้รับบำนาญพิเศษในฐานะ<br />

ทายาท รับ ช.ค.บ.ไปเกินสิทธิ จำนวน ๕ ราย โดยดำเนินการ<br />

ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่กค ๐๔๐๖.๕/ว ๖๒<br />

ลง ๓๐ มิ.ย.๕๘ เรื่อง แนวทางการเรียกเงินช่วยค่าครองชีพ<br />

ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ซึ่งผู้รับบำนาญพิเศษในฐานะ<br />

ทายาทได้รับไปเกินสิทธิส่งคืนคลัง สรุปได้ดังนี้<br />

๒.๙.๑ ปล.กห.อนุมัติให้หลุดพ้นจากการผ่อน<br />

ชำระหนี้ จำนวน ๒ ราย<br />

๒.๙.๒ อยู่ระหว่างดำเนินการมีหนังสือนำเรียน<br />

ปล.กห. ขออนุมัติเพื่อให้ยุติการดำเนินการทางคดี จำนวน<br />

๓ ราย ซึ่งทั้ง ๓ ราย ได้ชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่า<br />

ทนายความเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว<br />

๒.๑๐ จัดปัจฉิมนิเทศข้าราชการสำหรับผู้ที่<br />

เกษียณอายุราชการและผู้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการ<br />

ก่อนกำหนด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เมื่อ ๒๕ ส.ค.๖๐,<br />

๐๗๓๐ - ๑๖๐๐ ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม มีข้าราชการผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน<br />

๑๖๑ นาย และผู้เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการ<br />

ก่อนกำหนดประจำปีงบประมาณ ๖๐ จำนวน ๙๑ นาย<br />

รวมทั้งสิ้น ๒๕๒ นาย<br />

๓. งานพัฒนาข้อบังคับ ระเบียบเกี่ยวกับการเงิน<br />

การบัญชีของ กห. และงานด้านสิทธิกำลังพล<br />

๓.๑ การขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำนวน<br />

๑๒ เรื่อง ดังนี้<br />

๓.๑.๑ เรื่อง ร่างระเบียบ กห.ว่าด้วยการจ่ายค่า<br />

ป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักแก่ล่ามหรือ<br />

ล่ามภาษามือที่เข้าร่วมในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือ<br />

พิจารณาคดีอาญา พ.ศ.....<br />

๓.๑.๒ เรื่อง ร่างระเบียบ กห. ว่าด้วยการจ่าย<br />

ค่าตอบแทน ค่าพาหนะเดินทาง ค่าป่วยการ และค่าเช่าที่พักแก่<br />

พยานในคดีอาญา พ.ศ.....<br />

๓.๑.๓ เรื่อง ร่างระเบียบ กห.ว่าด้วยการจ่าย<br />

ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น<br />

แก่บุคคลในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.....<br />

๓.๑.๔ เรื่อง ร่างระเบียบ กห.ว่าด้วยการจ่าย<br />

ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น<br />

แก่บุคคลในคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.....<br />

98


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๓.๑.๕ เรื่อง ร่างระเบียบ กห. ว่าด้วยการจ่าย<br />

ค่าตอบแทนและค่าพาหนะเดินทางแก่นักจิตวิทยาหรือ<br />

นักสังคมสงเคราะห์ที่เข้าร่วมในการร้องทุกข์ การสอบสวน<br />

การไต่สวนมูลฟ้องและการพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วย<br />

ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.....<br />

๓.๑.๖ เรื่อง ขอทำความตกลงเบิกค่ารักษาพยาบาล<br />

จำนวน ๑๕ ราย<br />

๓.๑.๗ เรื่อง ขอทำความตกลงเกี ่ยวกับตำแหน่ง<br />

และจำนวนตำแหน่งของทหารหน่วยเรือ<br />

๓.๑.๘ เรื่อง การขอกำหนดเงินเพิ่มสำหรับ<br />

ตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ (UAV)<br />

๓.๑.๙ เรื่อง การขอกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง<br />

ที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมอากาศยาน<br />

และแจ้งเตือน<br />

๓.๑.๑๐ เรื่อง ขอปรับอัตราเงินเพิ่มประจำตำแหน่ง<br />

ที่มีเหตุพิเศษสำหรับทหารหน่วยเรือ (พ.น.ร.)<br />

๓.๑.๑๑ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ กห.<br />

ว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาปกติ พ.ศ.๒๕๒๙<br />

๓.๑.๑๒ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย<br />

เงินเพิ่มค่าฝ่าอันตรายสำหรับผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการผลิต<br />

การทดลอง การซ่อม และการทำลายกระสุนวัตถุระเบิด<br />

เป็นครั้งคราว<br />

๓.๒. เรื่องขอหารือ จำนวน ๖ เรื่อง ดังนี้<br />

๓.๒.๑ การปฏิบัติในการเรียกเก็บค่าลงทะเบียน<br />

การศึกษา<br />

๓.๒.๒ กรณีบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพของ<br />

อส.ทพ.กล้วย เมฆทา<br />

๓.๒.๓ การเรียกคืนเงินที่ได้รับเกินสิทธิของ<br />

พ.อ.อ.สถิตย์ รักถิ่น<br />

๓.๒.๔ การเรียกคืนเงินที่ได้รับเกินสิทธิของ<br />

นายประพนธ์ แฟงคล้าย<br />

๓.๒.๕ กรณี นางกรรณิกา พึ่งเย็น (ผู้อนุบาล)<br />

ขอเป็นผู้ยื่นหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด<br />

๓.๒.๖ ตอบข้อหารือกรณีบำนาญพิเศษของผู้อยู่<br />

ในอุปการะของชาวเขาอาสาสมัคร จันทร์ อินสุด<br />

๓.๓ เรื่องนำเรียน รมว.กห. เพื่อกรุณาอนุมัติและ<br />

เพื่อทราบ จำนวน ๔ เรื่อง<br />

๓.๓.๑ ข้อสั่งการของ นรม. ในการแก้ไขปัญหา<br />

การบังคับใช้ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น<br />

(ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๔๓ ของอดีตข้าราชการทหาร<br />

99<br />

๓.๓.๒ ขอรับความเห็นชอบคู่มือการจัดทำบัญชี<br />

เงินรายรับของสถานศึกษาของ กห.<br />

๓.๓.๓ ขอให้ทบทวนระเบียบและข้อบังคับ กห.<br />

๓.๓.๔ ขออนุมัติปรับปรุงอัตราเงินค่าใช้สอย<br />

และเงินค่าใช้จ่ายในการจัดงานเลี้ยงรับรองในวันกองทัพไทย<br />

ประจำสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร<br />

เหล่าทัพ<br />

๔. งานด้านนโยบาย และการบริหารจัดการ<br />

๔.๑ ปรับปรุงโครงสร้างการจัดและอัตรากำลังพลของ<br />

กง.กห. และ สกง.สสน.<strong>สป</strong>. เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ<br />

ด้านการเงินในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจพิเศษ<br />

๔.๒ จัดการตรวจเยี ่ยมหน่วย สกง.นขต.<strong>สป</strong>., สกง.<br />

นขต.สน.ปล.กห., สกง.นขต.ศอพท. และ สกง.นขต.วท.กห.<br />

ที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ กท., จว.ล.บ., จว.น.ว. และ จว.ช.ม.<br />

๔.๓ ดำเนินการจัดทำระบบมาตรฐานเฉพาะตำแหน่ง<br />

ของ <strong>สป</strong>. ในส่วนของ กง.กห.<br />

๔.๔ จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของ กง.กห. ตามแผน<br />

การปฏิบัติงานตามคู่มือเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการ<br />

ภาครัฐระดับพื้นฐาน ฉบับที่ ๒ (หมวด ๖)<br />

๕. งานพัฒนาบุคลากร<br />

๕.๑ จัดการศึกษาหลักสูตรนายทหารการเงินชั้นนายร้อย<br />

รุ่นที่ ๑๓ ของ <strong>สป</strong>. ระหว่าง ๑ พ.ย.๕๙ - ๖ ก.พ.๖๐<br />

๕.๒ จัดการอบรมหลักสูตรการเพิ่มขีดความสามารถ<br />

และสมรรถนะการบริหารงานด้านการเงินการคลัง และ<br />

การบัญชี ระหว่าง ๖ - ๑๓ มี.ค.๖๐


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๕.๓ จัดการเรียนการสอนภายในหน่วย (Unit School)<br />

ให้กับข้าราชการ กง.กห. เพื่อรับทราบระเบียบงานใหม่ๆ<br />

ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ตามห้วงเวลาที่เหมาะสม<br />

๕.๔ จัดการฝึกอาวุธปืนให้กับข้าราชการ กง.กห. ประจำปี<br />

งบประมาณ ๒๕๖๐ เมื่อ ๓๐ มี.ค.๖๐<br />

โดยดำเนินการจ้างบริษัท คอม เทรดดิ้ง จำกัด พัฒนา<br />

ระบบงานฯ ตามสัญญาเลขที่ ๗/๒๕๕๙ ลง ๑๕ มิ.ย.๕๙<br />

เสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ทำ<br />

การตรวจรับงานเมื่อวันที่ ๘ พ.ค.๖๐ ปัจจุบันอยู่ระหว่าง<br />

การปฏิบัติงานคู่ขนาน<br />

๕.๕ จัดการอบรมหลักสูตรการอบรมเพื่อเพิ่มพูน<br />

องค์ความรู้ข้าราชการเหล่า กง. (ระดับปฏิบัติการ) ระยะเวลา<br />

การศึกษา ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๕ พ.ค.๖๐<br />

๕.๖ จัดการสัมมนาเรื่อง “กองทัพกับนโยบาย National<br />

e-Payment และ KTB Corporate Online for GFMIS”<br />

เมื่อ ๑๓ มิ.ย.๖๐<br />

๕.๗ ดำเนินการคัดเลือกนายทหารประทวนเหล่า กง.<br />

เพื่อเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรของ <strong>สป</strong>. ประจำปี<br />

งบประมาณ ๒๕๖๐<br />

๕.๘ จัดทำแผนพัฒนารายบุคคลของ กง.กห. (Individual<br />

Development Plan: IDP) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐<br />

๗. งานด้านอื่นๆ<br />

๗.๑ จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา กง.กห. ครบรอบ<br />

๑๓๐ ปี (๘ เม.ย.๖๐) โดยจัดพิธีสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์<br />

ณ วัดคลองบ้านใหม่ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ<br />

และจัดเลี้ยงอาหาร บริจาคเงินและสิ่งของให้กับเด็กพิการ<br />

ณ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ จว.น.บ.<br />

เมื่อวันที่ ๓ และ ๑๐ เม.ย.๖๐<br />

๗.๒ จัดทำและส่งหนังสือรับรองภาษีเงินได้ของผู้รับ<br />

บำนาญให้ถึงบ้านทางไปรษณีย์ ทั้งนี้สามารถสั่งพิมพ์หนังสือ<br />

รับรองภาษีเงินได้ของตนเองได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ<br />

อินเทอร์เน็ต<br />

๗.๓ การจัดทำข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ให้ทันสมัย<br />

รวมทั้งประชาสัมพันธ์การให้บริการแก่ผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ<br />

บำนาญ การใช้แบบพิมพ์ในการเบิกเงินสวัสดิการต่างๆ ลง<br />

เผยแพร่ทางระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์ของ กง.กห.<br />

๗.๔ การขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ กรณีผู้รับบำนาญ<br />

อายุตั้งแต่ ๖๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้รับ<br />

บำนาญทราบล่วงหน้า ๒ เดือน ก่อนอายุครบ ๖๕ ปีบริบูรณ์<br />

๖. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

งานพัฒนาระบบงานการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง<br />

ค่าตอบแทนของข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ<br />

ของ นถปภ.รอ. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานภารกิจพิเศษ<br />

100


กรมการสรรพกำลังกลาโหม (กกส.กห.)<br />

Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน<br />

กำกับดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร<br />

การกำลังสำรอง การสัสดีของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนประสานความร่วมมือ<br />

กับต่างประเทศ และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย มีเจ้ากรม<br />

การสรรพกำลังกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท ปรีชา สายเพ็ชร<br />

เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

ดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ : การป้องกัน<br />

ประเทศ<br />

การฝึกการระดมสรรพกำลังเพื่อการทหาร ประจำปี<br />

๒๕๖๐ (กรส.๖๐) ร่วมกับส่วนราชการทหาร ส่วนราชการ<br />

พลเรือน รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องตาม<br />

แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ โดย<br />

บูรณาการการฝึกร่วมกับการฝึกร่วมกองทัพไทย ประจำปี ๒๕๖๐<br />

(กฝร.๖๐) ภายใต้กรอบการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์<br />

ระดับชาติ ประจำปี ๒๕๖๐ (C-MEX17) โดยมีขั้นตอน<br />

การฝึกฯ ดังนี้<br />

๑. การสัมมนาและประชุมวางแผนการฝึกขั้นต้น<br />

๒. การสัมมนาและประชุมวางแผนการฝึกขั้นกลาง<br />

๓. การสัมมนาและประชุมวางแผนการฝึกขั้นสุดท้าย<br />

๔. การอบรมการบริหารวิกฤตการณ์เพื่อการฝึกฯ<br />

๕. การอบรมปรับมาตรฐานเพื่อการฝึกฯ<br />

๖. การตรวจภูมิประเทศ<br />

๗. การอบรมการฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX)<br />

๘. การอบรมการฝึกภาคสนาม (FTX)<br />

๙. การสัมมนาและประชุมสรุปบทเรียนจากการฝึกฯ<br />

101


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

การฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX) กรส.๖๐ ระหว่าง<br />

๒๔ - ๒๖ พ.ค.๖๐ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนทรัพยากร<br />

ตามความต้องการทางทหาร จำนวน ๑๐ ด้าน ตามแผนผนึก<br />

กำลังฯ ใช้กรอบสถานการณ์จาก กฝร.๖๐ ในขั้นการป้องกัน<br />

ประเทศ โดยใช้ระบบติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การรับ-ส่งข่าว<br />

ผ่าน EOC Web, การประชุมทางไกล โดย VTC, การติดต่อ<br />

สื่อสารทางระบบโทรศัพท์และการติดต่อสื่อสารทางระบบวิทยุ<br />

โดยมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ดังนี้<br />

๑. ศูนย์บัญชาการทางทหาร (ศบท.) - บก.ทท.<br />

๒. ศูนย์ระดมสรรพกำลัง (ศรส.) - ห้องประชุม<br />

ยุทธศาสตร์ กกส.กห.<br />

๓. ศูนย์ปฏิบัติการด้านแรงงาน - กระทรวงแรงงาน<br />

๔. ศูนย์ปฏิบัติการด้านอาหาร - กระทรวงเกษตร<br />

และสหกรณ์<br />

๕. ศูนย์ปฏิบัติการด้านน้ำ - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ<br />

และสิ่งแวดล้อม<br />

๖. ศูนย์ปฏิบัติการด้านการคมนาคม - กระทรวงคมนาคม<br />

๗. ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ<br />

การสื่อสาร - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม<br />

๘. ศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข -<br />

กระทรวงสาธารณสุข<br />

๙. ศูนย์ปฏิบัติการด้านอุตสาหกรรมและปัจจัยการผลิต -<br />

กระทรวงอุตสาหกรรม<br />

๑๐. ศูนย์ปฏิบัติการด้านเชื้อเพลิงและพลังงาน - กระทรวง<br />

พลังงาน<br />

๑๑. ศูนย์ปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์ - กรม<br />

ประชาสัมพันธ์<br />

๑๒. ศูนย์ปฏิบัติการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและ<br />

อื่นๆ - กระทรวงมหาดไทย<br />

๑๓. ส่วนควบคุมการฝึกฯ - ห้องอเนกประสงค์ กกส.กห.<br />

ผลการฝึกฯ ศรส. ดำเนินการปล่อยโจทย์สถานการณ์<br />

การฝึกให้แก่ศูนย์ปฏิบัติการด้านต่างๆ ที่เป็นหน่วยรับผิดชอบ<br />

ทรัพยากรทั้ง ๑๐ ด้าน ซึ่งได้มีการจัดเจ้าหน้าที่เข้าประจำ<br />

ศูนย์ปฏิบัติการ ณ ที่ตั้งหน่วย และหน่วยงานส่วนกลางทั้ง<br />

๙ หน่วยงาน ณ กกส.กห. ทุกส่วนได้ร่วมกันระดมทรัพยากร<br />

ที่หน่วยรับผิดชอบ เข้าแก้ปัญหาตามโจทย์สถานการณ์ที่ได้รับ<br />

ผ่านช่องทางระบบติดต่อสื่อสารที่กำหนด โดยมีปัญหา<br />

ข้อขัดข้องในการติดต่อสื่อสารเป็นบางห้วงเวลา ซึ่งจะนำปัญหา<br />

ข้อขัดข้องดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพ<br />

ต่อไป<br />

การฝึกภาคสนาม (FTX) กรส.๖๐ ระหว่าง ๑๓ - ๑๕<br />

มิ.ย.๖๐ ในพื้นที่การฝึก มทบ.๑๒ จ.ปราจีนบุรี โดยมุ่งเน้น<br />

การระดมทรัพยากรจากฝ่ายพลเรือนสนับสนุนตามความ<br />

ต้องการที ่ทางฝ่ายทหารร้องขอ โดยมีรายละเอียดการฝึก<br />

ภาคสนาม ๑๕ เรื่อง ดังนี้<br />

102


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑๔. การระดมเฮลิคอปเตอร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ<br />

และภาคเอกชน เพื่อเคลื่อนย้ายกำลังพลที่บาดเจ็บ<br />

๑๕. การระดมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน<br />

ผลการฝึกฯ ส่วนราชการทหาร ส่วนราชการพลเรือน<br />

รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ<br />

เป็นอย่างดี ซึ่งจะนำไปพัฒนาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพ<br />

ต่อไป<br />

การประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมด้านการระดม<br />

สรรพกำลังเพื่อความมั่นคง<br />

จัดการประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมด้านการ<br />

ระดมสรรพกำลังเพื่อความมั่นคง จำนวน ๒ ครั้ง เมื่อ ๒๖<br />

ม.ค.๖๐ ณ ห้องประชุมจิร วิชิตสงคราม ชั้น ๗ อาคาร บี<br />

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ และ ๔ ก.ย.๖๐ ณ ห้องประชุม<br />

กกส.กห. ชั้น ๔ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) โดยมีวัตถุประสงค์<br />

๑. การระดมอุปกรณ์สื่อสาร, รถสื่อสาร และรถสื่อสาร<br />

ดาวเทียม<br />

๒. การระดมสถานีวิทยุกระจายเสียง และสื่อมวลชน<br />

ท้องถิ่น<br />

๓. การระดมด้านอุตสาหกรรมและปัจจัยการผลิต<br />

๔. การระดมด้านอาหาร<br />

๕. การระดมรถผลิตน้ำดื่ม<br />

๖. การระดมน้ำมันเชื้อเพลิง<br />

๗. การระดมรถกึ่งพ่วงชานต่ำในการขนย้ายรถถัง<br />

๘. การระดมรถโดยสาร<br />

๙. การระดมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข<br />

๑๐. การระดมรถไฟฟ้าส่องสว่าง<br />

๑๑. การระดมรถผลิตกระแสไฟฟ้า<br />

๑๒. การระดมผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล<br />

๑๓. การระดมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษ สารเคมี<br />

103


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เพื่อให้คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมพิจารณาแนวทางในการ<br />

พัฒนา ปรับปรุงงานด้านการระดมสรรพกำลัง ตามแผน<br />

ผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อ<br />

ให้การป้องกันประเทศสามารถสนับสนุนการเตรียมการและ<br />

การจัดการที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่<br />

เพื่อให้ส่วนราชการพลเรือน รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน<br />

สามารถสนับสนุนทรัพยากรด้านต่างๆ ในการปฏิบัติการ<br />

ทางทหารในภาวะปกติได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ<br />

ผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้<br />

๑. หน่วยประสานงานหลักในการเตรียมความพร้อมของ<br />

ทรัพยากรทั้ง ๑๐ ด้าน ตามแผนผนึกกำลังฯ กำลังดำเนินการ<br />

จัดทำแผนเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรในระดับกระทรวง<br />

รวมทั้งให้หน่วยเตรียมพร้อมในระดับจังหวัด ได้จัดทำแผน<br />

เตรียมพร้อมด้านทรัพยากรควบคู่กันไป และสนับสนุน<br />

เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการจัดทำแผนฯ ดังกล่าว<br />

๒. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการจัดทำหลักสูตรอบรมการ<br />

ระดมสรรพกำลังเพื่อความมั่นคง และยินดีส่งผู้แทนเข้าร่วม<br />

อบรมฯ<br />

การอบรมและสัมมนาเสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการ<br />

สรรพกำลังกลาโหม<br />

ดำเนินการจัดการอบรมและสัมมนาเสริมสร้างความรู้<br />

เพื่อพัฒนาการสรรพกำลังกลาโหม ณ จ.สมุทรสงคราม<br />

เมื่อ ๒๒ - ๒๓ พ.ย.๕๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการ<br />

เสริมสร้างความรู้ให้กับทุกภาคส่วน รวมถึงมีการระดม<br />

ความคิด ข้อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนางานด้าน<br />

การระดมสรรพกำลัง ตลอดจนสร้างความร่วมมือและ<br />

ประสานงานระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้งานการระดมสรรพกำลัง<br />

เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ<br />

จ.อำนาจเจริญ, จ.ยโสธร, จ.ศรีสะเกษ, จ.สุรินทร์และ จ.บุรีรัมย์<br />

เมื่อ ๒๐ - ๒๔ มี.ค.๖๐ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้าง<br />

ความเข้าใจในงานการระดมสรรพกำลัง การดำเนินการ<br />

ในการติดต่อประสานงานและร่วมมือกันระหว่างส่วนราชการ<br />

ทหารกับส่วนราชการพลเรือน ทั้งจากส่วนกลางและ<br />

ส่วนภูมิภาค เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหารในภาวะไม่ปกติ<br />

หรือในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเผชิญ<br />

กับภัยต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ ตามแผน<br />

ผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ ภายใต้<br />

กรอบยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ และเพื่อรับทราบ<br />

ข้อคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรคจากทุกภาคส่วน เกี่ยวกับ<br />

ขั้นตอนการปฏิบัติงานการระดมสรรพกำลัง<br />

การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสำรวจ<br />

ตรวจสอบข้อมูลทรัพยากรเพื่อการระดมสรรพกำลัง<br />

ได้ดำเนินโครงการการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ<br />

เกี่ยวกับการสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพยากรเพื ่อการ<br />

ระดมสรรพกำลัง จำนวน ๓ ครั้ง ในพื้นที่ ทภ.๒ - ทภ.๔<br />

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้<br />

๑. เพื่อสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพยากรจากส่วนราชการ<br />

พลเรือน รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ตามบัญชีความต้องการ<br />

ทางทหารของ บก.ทท. และเหล่าทัพ ในการปฏิบัติภารกิจ<br />

ป้องกันประเทศ<br />

การพัฒนาสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนเพื่อการระดม<br />

สรรพกำลัง<br />

ได้เดินทางไปพัฒนาสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนเพื่อการ<br />

ระดมสรรพกำลังในพื้นที่ ทภ. ๒ รวม ๕ จังหวัด ได้แก่<br />

104


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒. เตรียมความพร้อมข้อมูลทรัพยากรด้านการส่ง<br />

กำลังบำรุง ๑๐ ด้าน ประกอบด้วย คน, อาหาร, น้ำ, การคมนาคม-<br />

ขนส่ง, การสื่อสาร, การแพทย์และสาธารณสุข, อุตสาหกรรม<br />

และปัจจัยการผลิต, เชื้อเพลิงและพลังงาน, การประชาสัมพันธ์<br />

ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกและอื่นๆ ตามความต้องการ<br />

ของเหล่าทัพ จากส่วนราชการพลเรือน รัฐวิสาหกิจ และ<br />

ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถสนับสนุนกองทัพในการ<br />

ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศในภาวะไม่ปกติ ตลอดจน<br />

สามารถให้การสนับสนุนส่วนราชการพลเรือนเพื่อเผชิญกับ<br />

สาธารณภัยและในสถานการณ์ฉุกเฉิน<br />

๓. มีการวางแผน ประสานงาน รวมทั้งการบริหารจัดการ<br />

ทรัพยากร ระหว่างส่วนราชการทหาร กับส่วนราชการพลเรือน<br />

รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถสนับสนุน<br />

ภารกิจทางทหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

เยี่ยมชมแหล่งทรัพยากรเป้าหมายเพื่อการระดมสรรพกำลัง<br />

เพื่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ เช่น กำลังการผลิตสูงสุด ฯลฯ<br />

และนำมาปรับปรุงในระบบข้อมูลการระดมสรรพกำลัง<br />

การประชุมเชิงปฏิบัติการระบบข้อมูลการระดม<br />

สรรพกำลัง ศูนย์รวมข้อมูลเสริมสร้างพลังเพื่อการป้องกัน<br />

ประเทศ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓<br />

จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระบบข้อมูลการระดม<br />

สรรพกำลัง ศูนย์รวมข้อมูลเสริมสร้างพลังเพื่อการป้องกัน<br />

ประเทศ จำนวน ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๑๕ ธ.ค.๕๙<br />

ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) และครั้งที่ ๒<br />

เมื่อ ๑๖ ก.พ.๖๐ ณ ห้องสันติธำรง ศูนย์ปฏิบัติการ<br />

เพื่อสันติภาพ ชั้น ๒ บก.ทท. ประเทศ และครั้งที่ ๓<br />

เมื่อ ๘ มิ.ย.๖๐ ณ ห้องฝึกอบรม (๑) กง.กห. อาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(ศรีสมาน) ชั้น ๒ มีดังนี้<br />

การดำเนินการบรรยายเกี่ยวกับภารกิจ, นโยบาย<br />

การเตรียมพร้อมแห่งชาติ และแผนผนึกกำลังและทรัพยากร<br />

เพื่อการป้องกันประเทศให้กับภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัท<br />

โรงพยาบาล สถานศึกษา ฯลฯ ที่เป็นแหล่งทรัพยากรเป้าหมาย<br />

เพื่อการระดมสรรพกำลัง พร้อมทั้งให้ผู้แทนจากแหล่ง<br />

ทรัพยากรเป้าหมายนั้น ได้มีการตรวจสอบข้อมูลทรัพยากร<br />

เพื่อการระดมสรรพกำลัง โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการ<br />

พลเรือน รัฐวิสาหกิจ ร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ<br />

เกี่ยวกับเรื่องการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรด้านต่างๆ พร้อมทั้ง<br />

๑. การบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจของ<br />

หน่วยที่เกี่ยวข้องกับงานการระดมสรรพกำลัง และระบบข้อมูล<br />

การระดมสรรพกำลัง ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศในการจัดเก็บ<br />

ข้อมูลทรัพยากรเพื่อการระดมสรรพกำลัง รวมทั้งการนำระบบ<br />

ข้อมูลฯ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนราชการทหาร และการ<br />

ช่วยเหลือในการบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับ<br />

การเชื่อมต่อระบบข้อมูลการระดมสรรพกำลัง<br />

๒. ให้หน่วยงานทางฝ่ายทหารที่เชื่อมต่อระบบข้อมูล<br />

การระดมสรรพกำลังไปใช้ประโยชน์ตามภารกิจของหน่วย<br />

ได้แก่ มทบ.๑๙ (จทบ.ส.ก.), มทบ.๑๔, กบ.ทหาร, วสท.<strong>สป</strong>ท.<br />

รวมถึงข้าราชการสังกัด <strong>สป</strong>. ได้ทดลองใช้งานระบบข้อมูล<br />

การระดมสรรพกำลัง<br />

จากการประชุมฯ ดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างให้<br />

ข้าราชการมีความรู้ความเข้าใจในงานการระดมสรรพกำลัง<br />

และเป็นการเผยแพร่ระบบข้อมูลการระดมสรรพกำลัง โดย<br />

ผู้เข้าร่วมประชุมฯ สามารถนำข้อมูลทรัพยากรที ่จัดเก็บลง<br />

ในระบบฐานข้อมูลต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจ<br />

ของหน่วย หรือใช้วางแผนปฏิบัติการทางทหารตามภารกิจ<br />

105


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

การป้องกันประเทศ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลช่วยเหลือในการ<br />

บรรเทาสาธารณภัยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ บก.ทท. และเหล่าทัพ<br />

หลายหน่วยงานได้ให้ความสนใจในการเชื่อมต่อระบบข้อมูลฯ<br />

เช่น ศตก. เห็นว่าระบบข้อมูลฯ มีประโยชน์กับภารกิจ<br />

ของหน่วยในการวางแผนการฝึกการต่อต้านการก่อการร้าย<br />

และบางหน่วยที่ได้เชื่อมต่อระบบข้อมูลฯ แล้ว เช่น วสท.<strong>สป</strong>ท.<br />

ได้ชื่นชม กกส.กห. ว่ามีข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์จึงมีความ<br />

ต้องการเชื่อมต่อระบบข้อมูลฯ ตลอดไป ทั้งนี้ จะดำเนินการ<br />

ปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย โดยการ<br />

ประสานขอรับการสนับสนุนข้อมูลจากส่วนราชการพลเรือน<br />

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นหน่วยเจ้าของข้อมูลทรัพยากร<br />

ตามที่แผนผนึกกำลังฯ ได้กำหนดไว้<br />

การสัมมนาการดำเนินการด้านข้อมูลทรัพยากรเพื่อการ<br />

ระดมสรรพกำลัง ข้อมูลพร้อมสรรพ ทรัพยากรเพื่อกองทัพ<br />

จัดการสัมมนาการดำเนินการด้านข้อมูลทรัพยากร<br />

เพื่อการระดมสรรพกำลัง ข้อมูลพร้อมสรรพ ทรัพยากร<br />

เพื่อกองทัพ เมื่อ ๑๐ ม.ค.๖๐ ณ ห้องอเนกประสงค์ กกส.กห.<br />

ชั้น ๔ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) ดังนี้<br />

๑. การบรรยายเรื่อง “การดำเนินการด้านข้อมูลทรัพยากร<br />

เพื่อการระดมสรรพกำลัง ข้อมูลพร้อมสรรพ ทรัพยากร<br />

เพื่อกองทัพ” มีเนื้อหาประกอบด้วย<br />

๑.๑ ภารกิจของหน่วยที่เกี่ยวข้องกับงานการระดม<br />

สรรพกำลัง โดยการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรตามแผนผนึกกำลัง<br />

และทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ ทั้ง ๑๐ ด้าน<br />

๑.๒ ระบบข้อมูลการระดมสรรพกำลัง ซึ่งเป็น<br />

ระบบสารสนเทศในการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรเพื่อการระดม<br />

สรรพกำลัง ประกอบด้วยข้อมูลที่ได้รับการสนับสนุนจาก<br />

ทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลให้มีความครอบคลุม<br />

กับบัญชีความต้องการทางทหารที่จำเป็นต้องระดมจาก<br />

ฝ่ายพลเรือน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน โดยได้<br />

เพิ่มระบบฐานข้อมูลด้านการระดมสรรพกำลัง จำนวน ๒ ด้าน<br />

คือ ข้อมูลด้านการฝึกและศึกษา และข้อมูลสนับสนุนการระดม<br />

สรรพกำลัง รวมทั้งหมด ๑๒ ด้าน ๗๑ ระบบงานย่อย<br />

๑.๓ การนำระบบข้อมูลฯ ไปใช้ประโยชน์ต่อส่วน<br />

ราชการทหารและการช่วยเหลือในการบรรเทาสาธารณภัย<br />

106


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ได้แก่ ระบบงานข้อมูลถนน สามารถใช้เป็นข้อมูลกำหนด<br />

เส้นทางหลัก/เส้นทางรองในการส่งกำลังบำรุง, ระบบงาน<br />

ข้อมูลโรงพยาบาล สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน<br />

การส่งกลับสายแพทย์ และระบบงานข้อมูลสถานศึกษา<br />

สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อกำหนดเป็นสถานที่พักอาศัย<br />

ให้กับประชาชน หากเกิดภาวะไม่ปกติหรือสาธารณภัยได้<br />

จากผลการสัมมนาฯ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้<br />

ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการด้านข้อมูลทรัพยากร<br />

เพื่อการระดมสรรพกำลัง ประเภทข้อมูลทรัพยากรที่จัดเก็บ<br />

ในระบบฐานข้อมูลทรัพยากรการระดมสรรพกำลัง มาตรฐาน<br />

การจัดเก็บ และการให้การสนับสนุนข้อมูลกับหน่วยงาน<br />

ทางทหาร สามารถอธิบายเรื่องข้อมูลทรัพยากรเพื่อการ<br />

ระดมสรรพกำลัง และประชาสัมพันธ์หน่วยงานได้ ตลอดจน<br />

นำความรู้มาปรับใช้หากได้รับการปรับย้ายมาปฏิบัติงาน<br />

ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องได้ในอนาคต<br />

การอบรมสัมมนาปลูกปัญญาธรรม น้อมนำแนวทาง<br />

พระราชดำริ สร้างหลักคิดสู่แนวทางปฏิบัติ<br />

ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมสัมมนาปลูกปัญญาธรรม<br />

น้อมนำแนวทางพระราชดำริ สร้างหลักคิดสู่แนวทางปฏิบัติ<br />

เมื่อ ๖ - ๗ ธ.ค.๕๙ ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(ศรีสมาน) ตามกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ<br />

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

และสถาบันพระมหากษัตริย์ กลุ่มงานถวายเป็นพระราชกุศล<br />

การดำเนินงาน มีดังนี้<br />

๑. เมื่อ ๖ ธ.ค.๕๙ ได้นมัสการพระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ<br />

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยานนาวา มาบรรยายธรรมในหัวข้อ<br />

“ปลูกปัญญาธรรม น้อมนำแนวทางพระราชดำริ สร้างหลักคิด<br />

สู่แนวทางปฏิบัติ” กล่าวถึงหลักทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ<br />

ประกอบด้วย ทาน ศีล บริจาค อาชวะ มัททวะ ตบะ อักโกธะ<br />

อวิหิงสา ขันติ และอวิโรธนะ และเรื่องความพอเพียงในชีวิต<br />

ที่แต่ละคนมีความพอเพียงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการ<br />

ของแต่ละคน ซึ่งความต้องการนั ้นต้องไม่เดือดร้อนตนเอง<br />

และผู้อื่น<br />

๒. เมื่อ ๗ ธ.ค.๕๙ นำข้าราชการในสังกัด <strong>สป</strong>. เดินทางไป<br />

ปฏิบัติธรรม ณ วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อ<br />

ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี ถวายเป็นพระราชกุศล<br />

และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบารมีของพระบาท<br />

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

107


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

การดำเนินการบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของ<br />

ทางราชการ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้แสดงออกถึงความ<br />

จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีจิตสำนึกใน<br />

พระมหากรุณาธิคุณ พร้อมร่วมใจกันเทิดทูน ปกป้องสถาบัน<br />

พระมหากษัตริย์ และได้นำแนวทางพระราชดำริของ<br />

พระองค์ท่านมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการ รวมทั้ง<br />

ข้าราชการได้รับฟังการบรรยายธรรม และปฏิบัติธรรมด้วยการ<br />

เดินจงกรม นั่งสมาธิ พร้อมซักถามปัญหาธรรมะ ซึ่งเป็นไปตาม<br />

วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ดังกล่าว จากแบบสอบถามพบว่า<br />

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการฯ<br />

คิดเป็นร้อยละ ๙๘ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก<br />

การประชุมคณะกรรมการกำลังพลสำรอง (คกส.)<br />

ประจำปี ๒๕๖๐<br />

จัดการประชุมคณะกรรมการกำลังพลสำรอง (คกส.)<br />

ประจำปี ๒๕๖๐ เมื่อ ๒๔ ก.ค.๖๐ ณ ห้องภาณุรังษี<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม ผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้<br />

- ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการเรื่อง การพิจารณา<br />

สิทธิประโยชน์ให้กับนายจ้างที่สนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็น<br />

กำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหาร ตามที่ กกส.กห./<br />

สำนักงานเลขานุการของ คกส. เสนอ รวม ๖ เรื่อง และ<br />

การพิจารณาสิทธิประโยชน์ให้กับกำลังพลสำรอง ตามที่<br />

กกส.กห./สำนักงานเลขานุการของ คกส. เสนอ รวม<br />

๑๒ เรื่อง โดยมอบให้คณะอนุกรรมการกำลังพลสำรอง<br />

ด้านสิทธิประโยชน์และการสวัสดิการ ไปศึกษาและพิจารณา<br />

ความเหมาะสมในแต่ละเรื่องให้ได้ข้อยุติ รวมถึงให้รับ<br />

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ไปประกอบ<br />

การพิจารณาให้มีความรอบคอบ รวมทั้งมีมติเห็นชอบ<br />

ในหลักการเรื่อง การเสนอแนวทางการพัฒนากิจการกำลังพล<br />

สำรองของ กห. ในห้วงระยะเวลา ๕ - ๑๐ ปี รวม ๘ เรื่อง<br />

และมอบให้ กกส.กห./สำนักงานเลขานุการของ คกส. รับไป<br />

ประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป รวมถึง<br />

ให้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ไปประกอบ<br />

การพิจารณาให้มีความรอบคอบ<br />

การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล<br />

การพัฒนาระบบกำลังสำรองของ กห. ประจำปี ๒๕๖๐<br />

จัดการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล<br />

การพัฒนาระบบกำลังสำรองของ กห. ประจำปี ๒๕๖๐<br />

เมื่อ ๒๘ ส.ค.๖๐ ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

สรุปผลการประชุม ดังนี้<br />

- ที่ประชุมรับทราบผลการปฏิบัติตามแผนระยะสั้น<br />

ปี ๒๕๖๐ ของ กกส.กห., บก.ทท., และเหล่าทัพ ตามที่กำหนด<br />

ไว้ในแผนแม่บทการพัฒนากิจการกำลังพลสำรองของ กห.<br />

พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔<br />

- ที่ประชุมรับทราบผลการปฏิบัติในการเรียกเข้า<br />

รับราชการทหาร ปี ๒๕๖๐ ของ ทบ. และผลการปฏิบัติ<br />

ในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบและฝึกวิชาทหาร ปี ๒๕๖๐<br />

ของ ทร. และ ทอ.<br />

- ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการฯ ได้เสนอ<br />

ข้อคิดเห็นในเรื่อง แนวทางการพัฒนากิจการกำลังพลสำรอง<br />

ของ กห. ในห้วงระยะเวลา ๕ - ๑๐ ปี ตามประเด็นที่กกส.กห./<br />

ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ ทั้ง ๘ ประเด็น โดยแจ้งผลการพิจารณา<br />

ให้ กกส.กห. เพื่อดำเนินการต่อไป<br />

- จก.กกส.กห./รองประธานกรรมการ ประธานการ<br />

ประชุมฯ ได้มอบแนวทางให้หน่วยที่เกี่ยวข้องกับกิจการ<br />

กำลังพลสำรอง พิจารณาดำเนินการดังนี้<br />

๑. ให้ บก.ทท., ทบ., ทร. และ ทอ. ดำเนินการ<br />

จัดทำแผนงานการพัฒนากิจการกำลังพลสำรอง ในห้วงแผน<br />

ระยะกลาง (ปีงบประมาณ ๖๑ - ๖๓) ให้มีผลการปฏิบัติ<br />

เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ<br />

๒. ให้ บก.ทท. และ มทบ. พิจารณาจัดตั้งกองร้อย<br />

บรรเทาสาธารณภัย เพื่อเป็นหน่วยนำร่องในการดำเนินการ<br />

ตามบทบัญญัติของมาตรา ๒๔ แห่ง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง<br />

พ.ศ.๒๕๕๘<br />

108


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์พ.ร.บ.กำลังพลสำรองให้กับ<br />

ทุกภาคส่วน และการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล<br />

การเตรียมพลของเหล่าทัพ<br />

จัดชุดเจ้าหน้าที่เดินทางไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์<br />

พ.ร.บ.กำลังพลสำรองให้กับทุกภาคส่วน รวมทั้งติดตาม<br />

ตรวจสอบ และประเมินผลการเตรียมพลของเหล่าทัพ ในพื้นที่<br />

ทภ.๑ - ทภ.๔ ดังนี้<br />

๑. เมื่อ ๓๑ ม.ค. - ๓ ก.พ.๖๐ ณ พื้นที่ ทภ.๔ ประกอบ<br />

ด้วย มทบ.๔๕, มทบ.๔๒ และ มทบ.๔๑ โดยมีเจ้าหน้าที่<br />

สายงานกำลังสำรอง สายงานสัสดี และหน่วยรับการบรรจุ/<br />

หน่วยฝึกฯ ในพื้นที่เข้าร่วมรับฟัง จำนวน ๑๕๐ นาย<br />

๒. เมื่อ ๑๔ - ๑๗ ก.พ.๖๐ ณ พื้นที่ ทภ.๒ ประกอบด้วย<br />

มทบ.๒๒, มทบ.๒๕ และ มทบ.๒๖ โดยมีเจ้าหน้าที่สายงาน<br />

กำลังสำรอง สายงานสัสดี และหน่วยรับการบรรจุ/หน่วยฝึกฯ<br />

ในพื้นที่เข้าร่วมรับฟัง จำนวน ๑๕๑ นาย<br />

๓. เมื่อ ๑๖ - ๑๙ พ.ค.๖๐ ณ พื้นที่ ทภ.๓ ประกอบด้วย<br />

มทบ.๓๕, มทบ.๓๖ และ มทบ.๓๘ โดยมีเจ้าหน้าที่สายงาน<br />

กำลังสำรอง สายงานสัสดี และหน่วยรับการบรรจุ/หน่วยฝึกฯ<br />

ในพื้นที่เข้าร่วมรับฟัง จำนวน ๙๓ นาย<br />

๔. เมื่อ ๑ - ๔ ส.ค.๖๐ ณ รร.กสร.ศสร., พื้นที่ มทบ.๑๕<br />

มทบ.๑๖ และ มทบ.๑๗ โดยมีเจ้าหน้าที่สายงานกำลังสำรอง<br />

สายงานสัสดี และหน่วยรับการบรรจุ/หน่วยฝึกฯ ในพื ้นที่<br />

เข้าร่วมรับฟัง จำนวน ๑๓๙ นาย<br />

การตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานและเผยแพร่ความรู้<br />

ทางวิชาการสายงานสัสดี<br />

เดินทางไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานและเผยแพร่ความรู้<br />

ทางวิชาการสายงานสัสดี ในพื้นที่ ทภ. ๑ - ทภ. ๔ เพื่อศึกษา<br />

และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานอื่นนอก กห. และ<br />

รวบรวมข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์นำมากำหนดกรอบ<br />

การดำเนินงานในเรื่องการจัดทำนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย<br />

ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ<br />

สัสดีซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการกำหนดหน้าที่สัสดี<br />

พ.ศ.๒๕๕๓ ให้กับข้าราชการสายงานสัสดี, ผู้แทนหน่วยทหาร,<br />

ผู้แทนส่วนราชการพลเรือน, ผู้แทนสถานศึกษา, กำนัน และ<br />

ผู้ใหญ่บ้าน ดังนี้<br />

- พื ้นที่ ทภ.๑ จ.จันทบุรี, จ.ชลบุรี, จ.ปราจีนบุรี และ<br />

จ.สระแก้ว เมื่อ ๑๓ - ๑๖ ธ.ค.๕๙<br />

- พื้นที่ ทภ.๒ จ.ร้อยเอ็ด, จ.มหาสารคาม และ<br />

จ.ขอนแก่น เมื่อ ๒๐ - ๒๓ ธ.ค.๕๙<br />

- พื้นที่ ทภ.๓ จ.กำแพงเพชร, จ.พะเยา, และ จ.ลำปาง<br />

เมื่อ ๒๑ - ๒๔ ก.พ.๖๐<br />

- พื้นที่ ทภ.๔ จ.ชุมพร, จ.ระนอง, จ.สุราษฎร์ธานี และ<br />

จ.นครศรีธรรมราช เมื่อ ๒๖ - ๓๐ มิ.ย.๖๐<br />

ผลการดำเนินการ ผู้เข้ารับฟังมีความเข้าใจการปฏิบัติ<br />

ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ในเรื่องเกี่ยวกับการ<br />

ลงบัญชีทหารกองเกิน การรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร<br />

ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหาร<br />

109


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ เพื่อทดลองความพร้อม<br />

และการระดมพล ซึ่งได้ชี้แจงรายละเอียด แนวทางการปฏิบัติ<br />

บทบาทหน้าที่กำลังพลสำรอง สิทธิประโยชน์ต่างๆ<br />

ให้ทราบแล้ว สมควรดำเนินการตรวจเยี่ยมและเผยแพร่<br />

ความรู้ฯ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง<br />

การตรวจเยี่ยมการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้า<br />

รับราชการทหารกองประจำการ<br />

รมว.กห. ได้กรุณาอนุมัติให้ <strong>สป</strong>. (กกส.กห.) กำกับ<br />

ดูแลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกอง<br />

ประจำการ ให้เป็นไปตามนโยบายของ กห. และข้อบังคับ กห.<br />

ว่าด้วยการกำหนดหน้าที่สัสดี พ.ศ.๒๕๕๓ โดย ปล.กห. ได้<br />

มอบหมายให้พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ชเยมะ รอง ปล.กห. พร้อมคณะ<br />

และข้าราชการ กกส.กห. ตรวจเยี่ยมการตรวจเลือกฯ เมื่อ<br />

๔ เม.ย.๖๐ ณ ศาลาการเปรียญวัดพรหมวงศาราม เขตดินแดง<br />

กทม. ซึ่ง รอง ปล.กห. ได้กรุณาให้คำแนะนำในเรื่องเกี่ยวกับ<br />

สถานที่ตรวจเลือกฯ และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับ<br />

การตรวจเลือกฯ ควรต้องมีความทันสมัย และเดินทางไป<br />

กองประจำการ การดำเนินการขอยกเว้นหรือผ่อนผัน<br />

การพ้นจากฐานะยกเว้นหรือผ่อนผัน การตรวจโรคก่อน<br />

การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกอง<br />

ประจำการ การขึ้นทะเบียนกองประจำการ การแก้ไขทะเบียน<br />

กองประจำการ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว<br />

เพิ่มขึ้นหลังจากรับฟังการบรรยายแล้ว ซึ่งการเดินทางไป<br />

ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ<br />

สายงานสัสดี ประจำปี ๒๕๖๐ เป็นไปตามวัตถุประสงค์<br />

ที่ทางราชการกำหนดไว้ ผู้ที่ได้เข้ารับฟังมีความเข้าใจถึง<br />

หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ.รับราชการ<br />

ทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ที่มีการปรับปรุงพัฒนา เพิ่มเติมขึ้น<br />

ในแต่ละปี ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำแนวทาง<br />

การชี้แจงจากคณะตรวจเยี่ยมฯ ไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง<br />

นอกจากนี้มีการสอบถามการปฏิบัติเกี่ยวกับ พ.ร.บ.<br />

กำลังพลสำรอง พ.ศ.๒๕๕๘ เรื่องเรียกพลเพื่อตรวจสอบ<br />

สังเกตการณ์ตรวจเลือกฯ ระหว่าง ๗ - ๑๐ เม.ย.๖๐ ในพื้นที่<br />

ทภ.๑ อ.หนองแค จ.สระบุรี, อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี,<br />

อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่ ทภ.๒<br />

อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ, อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น, อ.พล<br />

จ.ขอนแก่น, อ.คง จ.นครราชสีมา, อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา<br />

คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ปฏิบัติตามกฎกระทรวง<br />

ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ.๒๕๑๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติ<br />

รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง<br />

โดยมีปัญหา ข้อขัดข้อง ข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้<br />

๑. ทหารกองเกินที่มีความประสงค์จะร้องขอความ<br />

เป็นธรรมต่อคณะกรรมการชั้นสูง สามารถดำเนินการได้<br />

ภายใน ๓๐ เม.ย. ของปีที่ตรวจเลือกฯ ซึ่งเป็นเวลาหลังจาก<br />

วันตรวจเลือกฯ อาจนานเกินไปทำให้มีการปรับเปลี่ยน<br />

สภาพร่างกายได้ ควรกำหนดให้ร้องขอความเป็นธรรมทันที<br />

ในวันตรวจเลือกฯ<br />

110


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒. ทหารกองเกินที่มีโรคขัดต่อการรับราชการทหาร<br />

ไม่ตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกฯ ทำให้คณะกรรมการตรวจ<br />

เลือกฯ ต้องใช้เวลาในการวินิจฉัยโรคเป็นเวลานาน เกิดความ<br />

ล่าช้า ควรมีการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลในสังกัด ทบ.<br />

ที่ตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกฯ ให้ทหารกองเกินทราบ<br />

อย่างทั่วถึง<br />

๓. การจัดเป็นคนจำพวกที่ ๒ (ภาวะเพศสภาพไม่ตรง<br />

กับเพศกำเนิด) ควรพิจารณาจากใบรับรองแพทย์ จาก<br />

โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบกเท่านั้น ไม่ควรให้ใช้ดุลพินิจ<br />

ของคณะกรรมการตรวจเลือกฯ<br />

๔. การพิสูจน์ตัวบุคคลกรณีบัตรประจำตัวประชาชน<br />

สูญหาย ต้องให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รับรองตัวบุคคล เกิด<br />

ความล่าช้า ควรเพิ่มโปรแกรมการพิสูจน์ตัวบุคคลโดยผ่าน<br />

ระบบคอมพิวเตอร์ เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก<br />

๕. ทหารกองเกินที่ร้องขอ (สมัคร) มีความต้องการที่จะ<br />

บรรจุลงหน่วยที่ใกล้กับภูมิลำเนาทหาร หรือปฏิบัติงาน<br />

ตรงตามคุณวุฒิ และต้องการได้รับการดูแลที่ดีจากกองทัพ<br />

เมื่อเข้าไปเป็นทหารกองประจำการ<br />

๖. การบันทึกหลักฐานการตรวจเลือกฯ ที่ต้องใช้กระดาษ<br />

คาร์บอน เกิดข้อผิดพลาดกรณีกระดาษคาร์บอนหลุดหาย<br />

ควรให้มีกระดาษคาร์บอนในตัว และการใช้กระดาษเทปกาว<br />

เขียนลำดับหมายเลขผู้เข้ารับการตรวจเลือกฯ ลอกหลุดง่าย<br />

เกิดความล่าช้าเนื่องจากต้องตรวจสอบลำดับหมายเลขใหม่<br />

ควรนำเทคโนโลยีแบบสายรัดข้อมือมาใช้แทน ซึ่งต้องเพิ่ม<br />

งบประมาณให้ ทบ. จัดหาสำหรับการตรวจเลือกฯ ในปีต่อไป<br />

๗. สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เหล่าทัพกำหนดและทหาร<br />

กองเกินจะได้รับ จะเป็นแรงจูงใจที่มีส่วนสำคัญให้ทหาร<br />

กองเกินร้องขอ (สมัคร) เข้ารับราชการทหารกองประจำการ<br />

มากขึ้น<br />

๘. การเรียกและส่งคนเข้าเป็นทหารและตำรวจ<br />

กองประจำการ ที่ได้ดำเนินการแบ่งเฉลี่ยคนที่จะเรียกเข้า<br />

กองประจำการแล้วในแต่ละปี ตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ลับ<br />

ที่ ๑๖๘/๕๓ ลง ๗ มิ.ย.๕๓ เรื่อง การเรียกและส่งคนเข้าเป็น<br />

ทหารและตำรวจกองประจำการ มีเพียงบางเหล่าทัพแจ้งยอด<br />

ความต้องการขอเรียกเกณฑ์ (ทหารกองประจำการ) ให้<br />

<strong>สป</strong>. (กกส.กห.) ทราบ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่สำคัญ<br />

สำหรับตรวจเยี่ยมการตรวจเลือกฯ ของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง<br />

ทุกเหล่าทัพ จึงสมควรแจ้งให้ทราบด้วยเช่นเดียวกัน<br />

ทั้งนี้ การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหาร<br />

กองประจำการ ทหารกองเกินที่มาเข้ารับการตรวจเลือกฯ<br />

ส่วนใหญ่ต้องการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการหากมี<br />

แรงจูงใจที่ดี เช่น การสมัครเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร<br />

ได้รับราชการในหน่วยที่ไม่ไกลจากภูมิลำเนาของตน ประสงค์<br />

จะอยู่ในหน่วยที่มีลักษณะการทำงานตามคุณวุฒิที่ได้ศึกษามา<br />

และได้รับการดูแลที่ดีจากกองทัพ หากกองทัพพิจารณาเพิ่ม<br />

เรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจะเป็น<br />

แรงจูงใจให้ทหารกองเกินสมัครเข้ากองประจำการมากขึ้น<br />

ซึ่ง กกส.กห. จะกำกับดูแลการตรวจเลือกฯ ให้เป็นไปตาม<br />

นโยบายของ กห. ตั้งแต่การแบ่งเฉลี่ยยอดความต้องการ<br />

ขอเรียกเกณฑ์ (ทหารกองประจำการ) ในพื้นที่แต่ละ ทภ.<br />

ให้เป็นไปตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ลับ ที่ ๑๖๘/๕๓ ลง<br />

๗ มิ.ย.๕๓ เรื่อง การเรียกและส่งคนเข้าเป็นทหารและตำรวจ<br />

กองประจำการ และการบรรจุทหารกองประจำการลงหน่วย<br />

ตำแหน่งที่มีความเหมาะสมกับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือ<br />

ความสามารถพิเศษ โดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชา<br />

111


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ปฏิบัติต่อทหารกองประจำการอย่างดีที่สุด เนื่องจากเป็น<br />

บุคคลที่มีเกียรติ เสียสละเพื่อเข้ามารับราชการ<br />

การประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุน<br />

การสรรพกำลังกลาโหม<br />

ได้จัดข้าราชการเดินทางไปราชการ เพื่อประสานงาน<br />

ด้านการประชาสัมพันธ์ จำนวน ๒ ครั้ง ในพื้นที่ ทภ.๒<br />

และ ทภ.๓ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานด้านการ<br />

ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างความเข้าใจในงานการ<br />

ระดมสรรพกำลัง เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน<br />

และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างส่วนราชการทหาร<br />

ส่วนราชการพลเรือน รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ตาม<br />

ยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติและแผนผนึกกำลัง<br />

และทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อม<br />

ในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของฝ่ายทหารตั้งแต่<br />

ภาวะปกติ ดังนี้<br />

- ครั้งที่ ๑ (ไตรมาสที่ ๑) เมื่อ ๒๘ พ.ย. - ๒ ธ.ค.๕๙<br />

เดินทางประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์ ในพื้นที่ ทภ.๓<br />

รวม ๔ จังหวัด ได้แก่ จ.อุทัยธานี, จ.ตาก, จ.แม่ฮ่องสอน และ<br />

จ.ลำปาง<br />

- ครั้งที่ ๒ (ไตรมาสที่ ๒) เมื่อ ๒๐ - ๒๔ มี.ค.๖๐<br />

เดินทางประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุน<br />

การสรรพกำลังกลาโหม ในพื้นที่ ทภ.๒ รวม ๕ จังหวัด<br />

ได้แก่ จ.อำนาจเจริญ, จ.ยโสธร, จ.ศรีสะเกษ, จ.สุรินทร์<br />

และ จ.บุรีรัมย์<br />

112


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (วท.กห.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน<br />

กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศ ตลอดจนบริหารจัดการเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน โครงการ และ<br />

งบประมาณให้เป็นไปตามนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกัน<br />

ประเทศของกระทรวงกลาโหม และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

มีเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท ศิรศักดิ์ ยุทธประเวศน์<br />

เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. งานตามประเด็นยุทธศาสตร์ของ <strong>สป</strong>.<br />

๑.๑ งานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์<br />

การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ รมว.กห.<br />

ได้กรุณาอนุมัติให้ประกาศใช้ เมื่อ ๕ ก.พ.๖๐ โดยได้จัดทำให้<br />

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี นโยบายและยุทธศาสตร์<br />

การวิจัยแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ<br />

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ<br />

กระทรวงกลาโหม แผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวง<br />

กลาโหม และแผนแม่บทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

โดยยุทธศาสตร์ฉบับใหม่นี้จะเป็นแผนหลักในการบริหาร<br />

จัดการงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

ให้มีการบูรณาการกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอก<br />

กห. สอดคล้องความต้องการใช้งาน หรือการใช้ประโยชน์<br />

ของกองทัพ และนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อ<br />

การพึ่งพาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป<br />

๑.๒ งานด้านการประสานความร่วมมือกับเครือข่าย<br />

การวิจัย<br />

๑.๒.๑ หน่วยงานวิจัยวิจัยของเหล่าทัพ ได้ทำ<br />

การทดสอบต้นแบบรองเท้าลดอันตรายจากทุ่นระเบิด<br />

113


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สังหารบุคคล โดยการมอบต้นแบบรองเท้าฯ จำนวน ๓๘ คู่<br />

ให้กับ สวพ.ทบ., สวพ.ทร. และ ศวอ.ทอ. เพื่อนำไปทดลองใช้งาน<br />

และประเมินผล ก่อนที่จะนำเข้าสู่การผลิตในอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศต่อไป<br />

๑.๒.๒ หน่วยงานวิจัยวิจัยในประเทศ<br />

๑.๒.๒.๑ ได้แสวงความร่วมมือกับสถาบัน<br />

การศึกษาภายในประเทศที่มีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนา<br />

ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้งานทางด้านความมั่นคง โดยเมื่อ<br />

๒๙ มิ.ย.๖๐ ได้เข้าพบ ศ. ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)<br />

เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัย โดยที่ผ่านมา<br />

ได้มีการโครงการวิจัยร่วมกับ ทบ. เช่น แขนกลหุ่นยนต์<br />

ติดปืนฉีดน้ำแรงดันสูงทำลายวงจรระเบิด เสื้อเกราะกันกระสุน<br />

เครื่องผลิตไฟฟ้าแบบพกพา ประกับรองปืนกล M16 เป็นต้น<br />

สำหรับแนวทางการร่วมมือด้านการวิจัยกับ<br />

มหาวิทยาลัยดังกล่าว จะทำให้สามารถต่อยอดผลงานวิจัย<br />

ด้านความมั่นคงนำมาใช้งานทางทหาร ซึ่งจะประหยัดเวลา<br />

และงบประมาณในการทำวิจัยเอง รวมทั้งยังเป็นการช่วย<br />

ให้งานวิจัยของสถาบันการศึกษานำมาขยายผลสู่การนำไป<br />

ใช้งานจริง ทั้งนี้ จะได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง<br />

กห. กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ<br />

และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง<br />

เพื่อร่วมมือด้านการวิจัยและบุคลากรต่อไป<br />

๑.๒.๒.๓ ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกับ<br />

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยี<br />

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เกี่ยวกับงานวิจัยและ<br />

พัฒนากล้องส่องกลางคืน (Night Vision Device)<br />

๑.๒.๒.๒ หารือแนวทางความร่วมมือ<br />

ด้านการวิจัยกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร<br />

ลาดกระบัง (สจล.) โดยทาง สจล. ยินดีรับโจทย์งานวิจัย<br />

ทางด้านความมั่นคงไปให้คณะอาจารย์และนักศึกษาจัดทำ<br />

โครงการวิจัยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของ กห. ซึ่งได้มี<br />

การจัดทำโครงการวิจัยด้านความมั่นคงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์<br />

กับกองทัพ เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาชุดอุปกรณ์ถ่ายทอด<br />

สัญญาณภาพและเสียง และรถลาดตระเวนดัดแปลงจาก<br />

โครงรถที่ผลิตในประเทศ<br />

๑.๒.๓ หน่วยงานวิจัยต่างประเทศ<br />

๑.๒.๓.๑ การแสวงความร่วมมือระหว่าง<br />

กห. และ กห.สาธารณรัฐเกาหลี(กล.ต.) ในงานด้านการมาตรฐาน<br />

ทางทหารและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

โดยคณะได้ประชุมหารือกับหน่วย DTaQ ซึ่งเป็นหน่วยงาน<br />

ในสังกัดของ กห.กล.ต. มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการจัดการ<br />

มาตรฐานทางทหาร และการประกันคุณภาพยุทโธปกรณ์<br />

ของ กห.กล.ต. โดยจะแบ่งความร่วมมือเป็น ๒ ระดับ คือ<br />

ระดับที่๑ การแลกเปลี่ยนข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้อาจจัดขึ้น<br />

ในรูปแบบการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นที่ประเทศไทย<br />

ระดับที่ ๒ ขั้นการทดสอบเทคโนโลยีร่วมกัน ทาง กห.กล.ต.<br />

(โดย DTaQ) ให้ความสนใจที่จะส่งยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยี<br />

ทางทหารของ กล.ต. มาเข้าร่วมทดสอบเทคโนโลยีร่วมกัน<br />

114


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ในโครงการสาธิตและทดสอบเทคโนโลยีทางทหารประจำปี<br />

ภายใต้รหัส Crimson Viper ในอนาคต<br />

๑.๒.๓.๒ การเข้าร่วมประชุม Japan-<br />

ASEAN Multilateral Conference on Defense<br />

Equipment and Technology Cooperation and<br />

Mast Asia 2017 ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๖ มิ.ย.๖๐ ณ ศูนย์<br />

การประชุม Makahari จ.ชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ทราบถึง<br />

แนวทางการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ภายใต้กรอบ<br />

ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการป้องกันประเทศ<br />

ระหว่าง กห.ญี่ปุ่น และ กห.มิตรประเทศ ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอ<br />

ให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่าง กห. กับ กห.ญี ่ปุ่น<br />

ว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร และข้อตกลงว่าด้วยการถ่ายโอน<br />

ยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลไทย<br />

และรัฐบาลญี่ปุ่นในอนาคต<br />

๑.๒.๔ การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ<br />

ในการพัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความมั่นคง<br />

ปล.กห. ลงนามในบันทึกข้อตกลง<br />

ความร่วมมือระหว่าง กห. สำนักงานคณะกรรมการวิจัย<br />

แห่งชาติ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อร่วมกัน<br />

บูรณาการด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันในการพัฒนา<br />

ศักยภาพ “ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความมั่นคง”<br />

เมื่อ ๒๐ ก.ค.๖๐ ณ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์<br />

เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมุ่งเพิ่มขีดความสามารถ<br />

ในการบริหารจัดการ และการบูรณาการด้านการวิจัยและ<br />

พัฒนาร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความรู้ ทรัพยากรและบุคลากร<br />

ตลอดจนการผลิต หรือพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มาตรฐาน<br />

และปริมาณ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ<br />

๑.๓ งานด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนา<br />

การทหาร<br />

๑.๓.๑ การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนา<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการทหารกระทรวงกลาโหม<br />

(กวท.กห.) และคณะอนุกรรมการต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้<br />

๑.๓.๑.๑ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อ ๘ พ.ย.๕๙<br />

เพื่อให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ -<br />

๒๕๗๙ และให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณโครงการ<br />

วิจัยและพัฒนาการทหารของ กห. ประจำปีงบประมาณ<br />

๒๕๖๐ วงเงิน ๕๕,๐๗๔,๑๐๐ บาท<br />

๑.๓.๑.๒ ครั้งที่๑/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๔ ก.ค.๖๐<br />

เพื่อให้ความเห็นชอบโครงการวิจัยและพัฒนาการทหาร<br />

เริ่มใหม่ (งบบูรณาการ) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑<br />

และให้ความเห็นชอบโครงการวิจัยและพัฒนาการทหาร<br />

เริ่มใหม่(งบเงินอุดหนุนการวิจัยและพัฒนาการทหารของ กห.)<br />

และให้ความเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณโครงการวิจัย<br />

และพัฒนาการทหารของ กห. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑<br />

วงเงิน ๔๙,๐๗๔,๑๐๐ บาท<br />

๑.๓.๑.๓ การประชุมคณะอนุกรรมการ<br />

บริหารงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

การทหาร กระทรวงกลาโหม (อกวท.กห.บริหาร) ครั้งที่<br />

๑/๒๕๖๐ เมื่อ ๓๐ ม.ค.๖๐ เพื่อเห็นชอบโครงการวิจัย<br />

และพัฒนาการทหารของ กห. ประจำปี ๖๑ เริ่มใหม่ ๒<br />

โครงการ ยกเลิก ๑ โครงการ ชะลอ ๑ โครงการ เปลี่ยนแปลง<br />

หน่วยงาน ๑ โครงการ และเปลี่ยนแปลงนายทหารโครงการ<br />

๓ โครงการ<br />

115


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๑.๓.๑.๔ ครั้งที่๒/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๙ มี.ค.๖๐<br />

เพื่อเห็นชอบโครงการวิจัยและพัฒนาการทหารของ กห.<br />

ประจำปี ๖๑ เริ่มใหม่ (งบบูรณาการ) ๑ โครงการ คือ<br />

โครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของ ทร.<br />

(Midget Submarine) ขอความเห็นชอบการปรับเปลี่ยน<br />

แผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน<br />

๑ โครงการ<br />

๑.๓.๑.๕ ครั้งที่๓/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๖ พ.ค.๖๐<br />

เพื่อเห็นชอบหลักการจัดสรรงบประมาณให้โครงการวิจัย<br />

และพัฒนาการทหารของ กห. (งบเงินอุดหนุน) ประจำปี<br />

งบประมาณ ๒๕๖๑ จำนวน ๑๓ โครงการ วงเงิน<br />

๕๑,๐๗๔,๑๐๐ บาท และเห็นชอบให้โครงการเฉลิมพระเกียรติ<br />

การศึกษา ความหลากหลายทางชีวภาพของตัวไรอ่อน<br />

พาหะนำโรคสครับไทฟัส ในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา<br />

และไทย-กัมพูชา ของ ศวพท. เป็นโครงการย่อยภายใต้<br />

โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางทหาร เพื่อเทิดทูน<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยใช้งบประมาณปี ๖๐<br />

๑.๓.๑.๖ การประชุมคณะอนุกรรมการ<br />

บริหารชุดโครงการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการดำรง<br />

สภาพ และ/หรือเพิ่มประสิทธิภาพยุทโธปกรณ์ของกองทัพ<br />

(อกวท.กห.ดำรงสภาพ) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อ ๓ มี.ค.๖๐<br />

เพื่อให้ความเห็นชอบในการดำเนินการโครงการย่อยเริ่มใหม่<br />

ปี ๖๐ จำนวน ๓ โครงการ และติดตามความก้าวหน้า<br />

สถานภาพการดำเนินโครงการย่อย จำนวน ๑๒ โครงการ<br />

๑.๓.๑.๗ การประชุมคณะอนุกรรมการ<br />

วัดผลและประเมินผลโครงการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยีการทหาร กระทรวงกลาโหม (อกวท.กห.<br />

วัดผลและประเมินผล) ครั้งที ่ ๔/๒๕๖๐ เมื่อ ๕ มิ.ย.๖๐<br />

เพื่อการประเมินโครงการวิจัยและพัฒนาการทหารของ กห.<br />

ที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นและรายงานขออนุมัติปิดโครงการ<br />

แล้ว พร้อมให้ความเห็นชอบในการปิดโครงการ จำนวน<br />

๔ โครงการ<br />

๑.๓.๑.๘ ครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ เมื่อ ๑๓<br />

ก.ค.๖๐ เพื่อการประเมินสถานภาพโครงการวิจัยฯ ประจำ<br />

ไตรมาสที่ ๒/๖๐ ผลการประเมินโครงการวิจัยที่ดำเนิน<br />

โครงการเสร็จสิ้นและรายงานขออนุมัติปิดโครงการแล้ว พร้อม<br />

ให้ความเห็นชอบในการปิดโครงการ จำนวน ๒ โครงการ<br />

๑.๓.๑.๙ ครั้งที่ ๖/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๔<br />

ส.ค.๖๐ เพื่อการประเมินโครงการวิจัยและพัฒนาการทหาร<br />

ของ กห. ที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นและรายงานขออนุมัติ<br />

ปิดโครงการแล้ว พร้อมให้ความเห็นชอบในการปิดโครงการ<br />

จำนวน ๓ โครงการ<br />

๑.๓.๑.๑๐ ครั้งที่ ๗/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๑<br />

ก.ย.๖๐ เพื่อการประเมินสถานภาพโครงการวิจัยฯ ประจำ<br />

ไตรมาสที่ ๓/๖๐<br />

๑.๓.๑.๑๑ การประชุมคณะอนุกรรมการ<br />

บริหารชุดโครงการขยายผลงานวิจัยและพัฒนาการทหาร<br />

สู่การใช้งาน (อกวท.กห.ขยายผล) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อ<br />

๑๕ ธ.ค.๕๙ เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการย่อย<br />

ภายใต้โครงการขยายผลฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘<br />

และงบประมาณ ๒๕๕๙ พิจารณากลั่นกรองโครงการย่อย/<br />

กิจกรรมภายใต้โครงการขยายผลฯ ประจำปีงบประมาณ<br />

๒๕๖๐ จำนวน ๔ โครงการ<br />

๑.๓.๑.๑๒ การประชุมคณะอนุกรรมการ<br />

บริหารงานด้านการมาตรฐานกระทรวงกลาโหม (อกมท.กห.<br />

บริหาร) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๑ เม.ย.๖๐ เพื่อพิจารณา<br />

หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานกระสุนฝึก ขนาด ๓๐ มม.<br />

ของ สทป. การปรับปรุงคณะอนุกรรมการภายใต้กมย.กห. และ<br />

116


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

การรับรองมาตรฐานเสื้อเกราะกันกระสุน ระดับ 3A และ<br />

ระดับ ๓ ของบริษัท โกลแฟ็บ จำกัด<br />

๑.๓.๑.๑๓ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อ ๒๙<br />

ส.ค.๖๐ เพื่อพิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับร่างมาตรฐานยุทโธปกรณ์<br />

กห.ว่าด้วยกระสุนฝึก ขนาด ๓๐ มม. และการรับรอง<br />

มาตรฐานกระสุนฝึก ขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มม. ของ สพ.ทร.<br />

๑.๓.๒ การติดตามประเมินผลโครงการวิจัย<br />

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ มีโครงการวิจัยและ<br />

พัฒนาที่อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งสิ้น จำนวน ๒๕ โครงการ<br />

เป็นโครงการต่อเนื่อง ๑๓ โครงการ และโครงการเริ่มใหม่ ๑๒<br />

โครงการ โดยมีการเดินทางเพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ<br />

วิจัยและพัฒนาสร้างลำตัวอากาศยานด้วยวัสดุผสมของ ศวอ.<br />

ทอ. เมื่อ ๑๗ ส.ค.๖๐ โดยผลการทดสอบต้นแบบ ทำการบิน<br />

ทดสอบโดยไม่ได้ติดตั้งระบบบรรทุก (Pay Load) ผลการ<br />

ทดสอบพบว่า สามารถนำอากาศยานขึ้นบินและสามารถบิน<br />

อยู่ในอากาศด้วยความเสถียร สามารถปฏิบัติการบินได้เป็นไป<br />

ตามแผนการบินที่กำหนดและสามารถนำอากาศยานต้นแบบ<br />

ลงสู่พื้นดินได้อย่างสมบูรณ์แบบ<br />

๑.๔ การปิดโครงการวิจัย<br />

โครงการ/กิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปี ๖๐<br />

มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๑๘ โครงการ/กิจกรรม แบ่งออกเป็น<br />

โครงการปกติ จำนวน ๖๑ โครงการ และโครงการย่อย/<br />

กิจกรรม จำนวน ๕๗ โครงการ/กิจกรรม ใน ๑๑๘ โครงการ<br />

มีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และปิดโครงการแล้ว<br />

จำนวน ๑๗ โครงการ ได้แก่<br />

๑) โครงการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบ<br />

ขึ้น-ลงทางดิ่ง สำหรับแก้ปัญหาการก่อความรุนแรง<br />

๒) โครงการวิจัยและพัฒนากล้องมองกลางคืน<br />

๓) โครงการพัฒนาและผลิตเกราะใส<br />

๔) โครงการพัฒนาเสื้อเกราะกระสุน ระดับ ๓<br />

จากวัสดุคอมโพสิต<br />

๕) โครงการพัฒนาระบบสื่อสารสำหรับชุด<br />

เฝ้าตรวจทางอากาศ<br />

๖) โครงการพัฒนาเครื่องมือวัดสัญญาณเครื่อง<br />

ป้องกันการจุดระเบิดสนับสนุนจังหวัดชายแดนภาคใต้<br />

๗) โครงการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการตั้งท้อง<br />

ในแม่ม้าระหว่างน้ำเชื้อพ่อลาแบบสดและแบบแช่แข็งด้วยการ<br />

ผสมเทียม<br />

๘) โครงการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจริญ<br />

เติบโตของลูกม้าที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อสด<br />

และน้ำเชื้อแช่แข็ง<br />

๙) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการวิจัย<br />

โครงการรักษาความปลอดภัยระบบสื่อสารไร้สายและ<br />

อินเทอร์เน็ต<br />

๑๐) โครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ระบุพิกัด<br />

หน่วยทหารขนาดเล็กด้วยดาวเทียมโดยใช้เครือข่ายวิทยุ<br />

สื่อสาร<br />

๑๑) โครงการวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ<br />

ภูมิศาสตร์เพื่องานด้านความมั่นคงของประเทศ<br />

๑๒) โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการตั้งหลัก<br />

ฐานยิงอัตโนมัติสำหรับปืนใหญ่สนาม<br />

๑๓) โครงการการรับรู้ของประชาชนต่อกิจกรรม<br />

เทิดทูนพระมหากษัตริย์ของ ทบ. ในเขตกรุงเทพฯ และ<br />

ปริมณฑล<br />

๑๔) โครงการวิจัยนำร่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุก<br />

ที่ดินในความครอบครองของ ทบ. ด้วยระบบภูมิสารสนเทศ<br />

กรณีศึกษาเฉพาะในพื้นที่ จทบ.ก.จ.<br />

๑๕) โครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ Independent<br />

สำหรับเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด<br />

๑๖) โครงการความพร้อมและสมรรถนะพยาบาล<br />

สำหรับการปฏิบัติงานในสถานการณ์ความไม่สงบ ๓ จังหวัด<br />

ชายแดนภาคใต้ของประเทศ<br />

๑๗) โครงการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการแปล<br />

สำนวนภาษาไทยเป็นภาษามลายูถิ่นเพื่อภารกิจด้าน<br />

ความมั่นคง<br />

๑.๕ การขยายผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์<br />

ดำเนินการส่งมอบยุทโธปกรณ์พิเศษผลงานวิจัย<br />

และพัฒนาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่<br />

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี ๖๐ ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๐<br />

ก.ย.๖๐ ณ ห้องประชุม บก.มทบ.๔๒ ค่ายเสนาณรงค์<br />

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จำนวน ๘ ผลงาน ได้แก่<br />

๑) เสื้อเกราะกันกระสุน ระดับ ๓ จำนวน ๗๒ ตัว<br />

๒) การ์ดเข้ารหัสวิทยุสื่อสาร (ว.มือถือ ICOM V82)<br />

จำนวน ๒๐๐ การ์ด<br />

๓) ระเบิดขว้างเสียง จำนวน ๒๐๐ ลูก<br />

๔) เครื่องแปลภาษามลายูถิ่น จำนวน ๙ ชุด<br />

๕) ผงโรยป้องกันอาการคันในร่มผ้า (DPF<br />

POWDER) จำนวน ๕,๐๐๐ ชุด<br />

๖) สเปรย์ป้องกันกลิ่นเท้าจากสมุนไพรมะกรูด<br />

จำนวน ๕,๐๐๐ ชุด<br />

117


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๗) แบตเตอรี่สำหรับอากาศยานไร้นักบินแบบ<br />

นารายณ์ จำนวน ๑๐ ชุด<br />

๘) ยากันยุง จำนวน ๓,๐๐๐ ชุด<br />

๑.๖ งานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยของ<br />

กห.<br />

๑.๖.๑ การจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัย<br />

ในโอกาสต่างๆ<br />

๑.๖.๑.๑ ร่วมจัดแสดงผลงานวิจัย<br />

ในงาน “วันนิทรรศการวิชาการ รร.จปร. ๒๕๕๙” ระหว่างวันที่<br />

๙ - ๑๑ พ.ย.๕๙ ณ รร.จปร. อ.เมือง จ.นครนายก โดยมี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัย<br />

และการสร้างความร่วมมือของสถาบันการศึกษาในระดับ<br />

อุดมศึกษาทั้งในและนอก กห. มีหน่วยงาน/สถาบันฯ<br />

เสนอผลงานเข้าร่วมจัดงานฯ จำนวน ๓๗ ผลงาน<br />

โดยขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูลเชิญ<br />

พล.อ.หญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

ทรงเป็นประธานพิธีเปิดงาน และพระราชทานของที่ระลึก<br />

ให้แก่หน่วยงาน/สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ร่วมจัดงาน<br />

เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๙ ซึ่งมีผลงานวิจัยเข้าร่วมจัดนิทรรศการ<br />

จำนวน ๔ ผลงาน<br />

118


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑.๖.๑.๒ นำผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์<br />

คิดค้นทางทหารเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการกับสำนักงาน<br />

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงาน “วันนักประดิษฐ์”<br />

ประจำปี ๒๕๖๐ ระหว่าง ๒ - ๖ ก.พ.๖๐ ณ Event<br />

Hall 102 - 103 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา<br />

กรุงเทพฯ การจัดงานมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ<br />

แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร ในการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น “เครื่องกล<br />

เติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้า แบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำ<br />

ชัยพัฒนา” และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร<br />

การประดิษฐ์แด่พระมหากษัตริย์เป็นพระองค์แรกของโลก<br />

เมื่อ ๒ ก.พ.๓๖ และทรงได้รับสมัญญานาม “พระบิดา<br />

แห่งการประดิษฐ์ไทย”<br />

๑.๖.๑.๓ นำผลงานวิจัยและพัฒนาการ<br />

ทหารเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ในงานมหกรรมวิจัย<br />

แห่งชาติ ๒๕๖๐ (Thailand Research Expo 2017)<br />

จัดโดย วช. ระหว่าง ๒๓ - ๒๗ ส.ค.๖๐ ณ โรงแรมเซ็นทารา<br />

แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์<br />

กรุงเทพฯ ซึ่ง วท.กห. ได้รับรางวัล Silver award<br />

จากการประกวดผลงานวิจัยที่นำมาเข้าร่วมจัดแสดง<br />

โดยผลการตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช.<br />

๑.๖.๑.๔ ร่วมกับ นขต.<strong>สป</strong>., บก.ทท.,<br />

เหล่าทัพ และ สทป. นำผลงานวิจัยและพัฒนาการทหาร<br />

ของ กห. หรือสิ่งประดิษฐ์ทางทหารของภูมิปัญญานักรบไทย<br />

ไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์<br />

ประจำปี ๒๕๖๐ ณ ฮอลล์ ๘ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม<br />

อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ระหว่าง ๑๗ - ๒๗ ส.ค.๖๐<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย<br />

ผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เพื่อเผยแพร่<br />

ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี ทั้งในประเทศและนานาชาติ เพื่อกระตุ้น<br />

ความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย<br />

และเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยี และอาชีพด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและ<br />

ประชาชนทั่วไป มีหน่วยงานที่เข้าร่วม จำนวน ๗ กระทรวง<br />

รวมทั้งสถาบันการศึกษาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน<br />

สมาคม และอีก ๑๘ หน่วยงาน<br />

๑.๖.๒ การประกวดผลงานนวัตกรรมของ กห.<br />

ประจำปี ๒๕๖๐<br />

ได้จัดการประกวดผลงานนวัตกรรมของ<br />

กห. ประจำปี ๒๕๖๐ เมื่อ ๒๓ ส.ค.๖๐ มีผลงานเข้าร่วม<br />

การประกวด รวมทั้งสิ้น ๓๕ ผลงาน โดยแบ่งผลงาน<br />

นวัตกรรมออกเป็น ๖ กลุ่ม คือ ผลงานนวัตกรรมด้านหลักการ<br />

จำนวน ๑ กลุ่ม และผลงานนวัตกรรมด้านยุทโธปกรณ์<br />

119


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

จำนวน ๕ กลุ่ม ผลการตัดสิน มีผลงานที่ได้รับรางวัล<br />

จำนวนทั้งสิ้น ๒๐ ผลงาน แบ่งเป็นรางวัลชนะเลิศ จำนวน<br />

๒ ผลงาน, รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน ๖ ผลงาน และ<br />

รางวัลชมเชย จำนวน ๑๒ ผลงาน ซึ่งผลงานนวัตกรรม<br />

ที่ได้รับรางวัลจะส่งเข้าร่วมการประกวดรางวัลนวัตกรรม<br />

แห่งชาติ ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวง<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับการมอบรางวัล<br />

ผลงานนวัตกรรมของ กห. ประจำปี ๒๕๖๐ ได้จัดขึ้น<br />

เมื่อ ๒๕ ก.ย.๖๐ ณ ห้องพินิตประชานาถ ในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการคิดค้น<br />

สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ของข้าราชการและ<br />

บุคลากรในสังกัด กห. และเป็นโอกาสในการนำเสนอ<br />

เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมสู่สาธารณชน สร้างความเชื่อมโยง<br />

กับเครือข่ายหน่วยงานวิจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก<br />

กห. รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนผลงานนวัตกรรมของ กห.<br />

ให้มุ่งสู่การพึ่งพาตนเอง และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

ต่อไป<br />

๑.๖.๓ การพัฒนากำลังพลด้านการวิจัยพัฒนา<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

๑.๖.๓.๑ การฝึกอบรมหัวหน้างานเป็นเลิศ<br />

ระหว่าง ๒๒ - ๒๓ ธ.ค.๕๙ ณ โรงแรมบัดดี้ โอเรียนทอล<br />

ริเวอร์ไซด์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึก<br />

อบรมมีความรู้และเข้าใจในทักษะที่จำเป็นสำหรับการ<br />

เป็นหัวหน้างานที่ดีขององค์กร และเพื่อให้บุคลากรสามารถ<br />

นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์<br />

ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน<br />

๑.๗ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัย<br />

โครงการจัดหาและพัฒนาขีดความสามารถ<br />

ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลตามแผน<br />

พัฒนาขีดความสามารถ กห. พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙<br />

(Modernization Plan: Vision 2026)<br />

ได้จัดทำแผนพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยและ<br />

พัฒนาการผลิตต้นแบบยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในราชการ<br />

ที่ตอบสนองตามความต้องการของเหล่าทัพ รวมทั้ง<br />

การเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานยุทโธปกรณ์ที่มี<br />

อยู่เดิม โดยสร้างความเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนากับงาน<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย<br />

การพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องร่วมกับเครือข่ายด้านการวิจัย<br />

การสร้างระบบเชื่อมโยงงานมาตรฐานทางทหารในระดับ กห.<br />

รวมถึงการคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ<br />

เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ<br />

ประเทศไปสู่ “Value - Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจ<br />

ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ตามนโยบายการพัฒนา<br />

“Thailand 4.0” ของรัฐบาล<br />

๑.๘ งานด้านการมาตรฐานทางทหารของ กห.<br />

๑.๘.๑ การจัดตั้งสำนักมาตรฐานทางทหาร<br />

ตามแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหาร<br />

จัดการและการปรับปรุงโครงสร้าง กห. พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๙<br />

กำหนดให้มีการจัดตั้งสำนักมาตรฐานทางทหาร เป็น นขต.<br />

วท.กห. ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๖๑ ปล.กห. ได้กรุณาอนุมัติ<br />

การจัดตั้งสำนักมาตรฐานทางทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยีกลาโหม (สมท.วท.กห.) เป็นอัตราเพื่อพลาง เมื่อ<br />

๘ ก.พ.๖๐ โดยมีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน การ<br />

ตรวจสอบและประเมินผลการทดสอบและรับรองมาตรฐาน<br />

ด้านยุทโธปกรณ์ ผลงานวิจัยพัฒนา และสิ่งประดิษฐ์ทาง<br />

ทหารของ กห. ประกอบด้วย ๓ กองงาน และได้เริ่มทดลอง<br />

ปฏิบัติงาน ตั้งแต่ ๑ ก.พ.๖๐ และเมื่อ ๒๕ ส.ค.๖๐ รมว.กห.<br />

ได้กรุณาอนุมัติการแก้ไขอัตราเฉพาะกิจของ วท.กห. และ<br />

ศวพท.วท.กห. รวมเป็นอัตราเดียวกัน พร้อมการจัดตั้ง สมท.<br />

วท.กห. เป็นอัตราถาวร มีกำลังพล ๖๑ อัตรา มีผลตั้งแต่<br />

๑ ต.ค.๖๐ เป็นต้นไป<br />

๑.๘.๒ การพัฒนาบุคลากรด้านการมาตรฐาน<br />

๑.๘.๒.๑ การบรรยายการถ่ายทอดความรู้<br />

เรื่อง “การรับรองมาตรฐานทางทหารเพื่อสู่การผลิต”<br />

เมื่อ ๒๑ ก.ค.๖๐ ณ ห้องรับรองแขกต่างประเทศ ชั้น M<br />

120


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) ซึ่งถือเป็นหัวข้อการจัดการความรู้<br />

ของ วท.กห. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ประโยชน์<br />

ที่ได้รับจากการบรรยาย เป็นการเพิ่มพูนความรู้ด้านการรับรอง<br />

มาตรฐานทางทหารให้แก่กำลังพล และเพื่อให้หน่วยงาน<br />

ที่เกี่ยวข้องสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ด้านการ<br />

มาตรฐานทางทหารได้ต่อไป<br />

๑.๘.๒.๒ การอบรมความรู้เรื่อง “ความรู้<br />

พื้นด้านการมาตรฐาน” ได้ส่งข้าราชการเข้ารับการอบรม<br />

หลักสูตรระยะสั ้นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการมาตรฐาน<br />

ของสำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม และสถาบันมาตรวิทยา<br />

ในหลักสูตรต่างๆ ได้แก่<br />

๑) หลักสูตรผู้ตรวจสอบการทำ<br />

ผลิตภัณฑ์ เมื่อ ๑๓ - ๑๔ ก.ค.๖๐ ณ สำนักงานมาตรฐาน<br />

อุตสาหกรรม (สมอ.) เนื้อหาสาระสำคัญในการอบรมเป็น<br />

เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการการตรวจสอบในการขอรับรอง<br />

มาตรฐานอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์<br />

๒) หลักสูตรข้อกำหนดและ<br />

การประยุกต์ใช้ISO/IEC 17025 : 2005 เมื่อ ๒๕ - ๒๖ ก.ค.๖๐<br />

ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค เนื้อหาของการอบรมเป็นเรื่อง<br />

เกี่ยวกับกระบวนการในการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ<br />

และเป็นการรับรองระบบการบริหารงานคุณภาพ ทำให้<br />

สามารถเลือกใช้ห้องปฏิบัติการในการทดสอบมาตรฐาน<br />

ผลงานวิจัยได้<br />

๓) หลักสูตรการตรวจสอบ<br />

ความใช้ได้ของวิธีวัดทางเคมี เมื่อ ๓ - ๔ ส.ค.๖๐ จัดโดย<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ผลที่ได้คือความรู้ในการเลือกใช้<br />

เครื่องมือและวิธีทดสอบทางเคมี เพื่อตรวจวัดสารที่สนใจ<br />

ที่อยู่ในตัวกลางต่างๆ ที่มีความเหมาะสมกับสารที่ทดสอบ<br />

โดยมีความละเอียดของผลการตรวจวัดตามที่ต้องการและ<br />

ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม<br />

๑.๘.๓ การประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐาน<br />

ยุทโธปกรณ์ กห. (กมย.กห.) มีดังนี้<br />

๑.๘.๓.๑ ครั้งที่๑/๒๕๖๐ เมื่อ ๑๕ ก.พ.๖๐<br />

ณ ห้องสยามปฐพีพิทักษ์ (ชั้น ๑๐) อาคาร สทป. เป็น<br />

การชี้แจงให้คณะกรรมการฯ รับทราบบทบาทหน้าที่และ<br />

การดำเนินงาน รวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุง<br />

คำสั่ง และคณะอนุกรรมการที่๓ คณะ ได้แก่คณะอนุกรรมการ<br />

บริหารงานมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กห. ทำหน้าที่ในการ<br />

พิจารณากลั่นกรองรายการยุทโธปกรณ์ หรือผลงานวิจัย<br />

และพัฒนาการทหารที่จะนำเข้าสู่กระบวนการมาตรฐาน<br />

รวมทั้งพิจารณากำหนดมาตรฐาน และการรับรองมาตรฐาน<br />

คณะอนุกรรมการตรวจสอบทดสอบและประเมินมาตรฐาน<br />

ทางทหาร ทำหน้าที่ดำเนินตรวจสอบ ทดสอบ และประเมิน<br />

ยุทโธปกรณ์ หรือผลงานวิจัยและพัฒนาการทหาร รวมถึง<br />

ห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบ และคณะอนุกรรมการ<br />

ตรวจสอบโรงงาน ตาม พ.ร.บ.โรงงานผลิตอาวุธเอกชน พ.ศ.<br />

๒๕๕๐<br />

๑.๘.๓.๒ ครั้งที่๒/๒๕๖๐ เมื่อ ๑๔ ก.ย.๖๐<br />

ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) ที่ประชุมมีมติ<br />

เห็นชอบการร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐาน<br />

ยุทโธปกรณ์ กห., ร่างมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กห. ว่าด้วย<br />

กระสุนฝึก ขนาด ๓๐ มม. และเห็นชอบการรับรองมาตรฐาน<br />

กระสุนฝึก ขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มม. ของ สพ.ทร.<br />

121


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

จำกัด เป็น ๑ ใน ๔ บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ<br />

ดังกล่าว ให้เข้าร่วมโครงการวิจัยการพัฒนาและผลิตเสื้อเกราะ<br />

กันกระสุนน้ำหนักเบา ระดับ NIJ III และในการนี้ บริษัท<br />

โกลแฟ็บฯ ได้ส่งเสื้อเกราะกันกระสุนเข้าทดสอบ ณ ห้องปฏิบัติ<br />

การทดสอบของ HP White Laboratory, Inc. สหรัฐอเมริกา<br />

ตามมาตรฐาน NIJ Standard - 0101.04 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่<br />

กห. ใช้อ้างอิงในการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กห. ว่าด้วย<br />

เสื้อเกราะกันกระสุน (กมย.กห.๑/๒๕๔๗) โดยผลการทดสอบ<br />

เสื้อเกราะผ่านตามมาตรฐานที่กำหนด<br />

๑.๘.๔ การรับรองมาตรฐานกระสุนฝึก ขนาด<br />

๓๐ มม.<br />

ได้จัดทำร่างมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กห.<br />

ว่าด้วยกระสุนฝึก ขนาด ๓๐ มม. เพื่อใช้เป็นข้อกำหนด<br />

สำหรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยได้<br />

ดำเนินการทดสอบเพื่อรับรองมาตรฐาน ได้แก่ กระสุนฝึก<br />

ขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มม. ซึ่งได้ผ่านการทดสอบเรียบร้อยแล้ว<br />

และนำผลการทดสอบเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ<br />

กำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม (กมย.กห.)<br />

ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อ ๑๒ ก.ย.๖๐ ซึ่งที่ประชุมให้ความ<br />

เห็นชอบร่างมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กห. ว่าด้วยกระสุนฝึก<br />

ขนาด ๓๐ มม. และรับรองมาตรฐานกระสุนฝึก ขนาด<br />

๓๐ x ๑๗๓ มม. ของ สพ.ทร. ในขั้นตอนต่อไปจะได้นำเรียน<br />

รมว.กห. กรุณาลงนามในคำสั่ง กมย.กห. เพื่อกำหนด<br />

และรับรองมาตรฐานกระสุนฝึก ขนาด ๓๐ มม. ดังกล่าวต่อไป<br />

๒. งานตามภารกิจหน่วย<br />

๒.๑ งานด้านถ่ายทอดเทคโนโลยี<br />

๒.๑.๑ การจัดสาธิตและทดลองเทคโนโลยี<br />

ทางทหาร ประจำปี๒๕๖๐ ภายใต้รหัส Crimson Viper 2017<br />

(CV17)<br />

๑.๘.๕ การรับรองมาตรฐานเสื้อเกราะกันกระสุน<br />

ระดับ 3A และ 3 ของบริษัท โกลแฟ็บ จำกัด<br />

รมว.กห. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน<br />

การบูรณาการการวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุน เมื่อ ๒ ธ.ค.๔๘<br />

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุน<br />

ที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมี<br />

จก.วท.กห. เป็นประธานกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง<br />

จากใน กห. และนอก กห. ร่วมเป็นกรรมการ บริษัท โกลแฟ็บ<br />

การจัดสาธิตและทดลองเทคโนโลยี<br />

ทางทหาร ภายใต้การดำเนินงานโครงการ Crimson Viper<br />

เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กห. โดย วท.กห. และ<br />

กห.สรอ. โดยศูนย์ทดลองเทคโนโลยีทางทหาร กองบัญชาการ<br />

สหรัฐอเมริกา ประจำภาคพื้นแปซิฟิก รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา<br />

หรือ TEC จัดขึ้นระหว่าง ๓๑ ก.ค. - ๔ ส.ค.๖๐ ณ พื้นที่<br />

รร.ชุมพลทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมา<br />

จัดแสดงรวมผลงาน ๖ รายการ และนอกเหนือไปจากนั้น<br />

ยังถือเป็นครั้งแรกที่ กห.ญี ่ปุ่น ได้แสดงความประสงค์<br />

ที่จะนำอากาศยานไร้คนขับ Fixed-wing UAVs Type B-5<br />

122


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

(ระยะปฏิบัติการ ๗๒๐ กม.) และ Drone Deterrence<br />

System มาเข้าร่วมการสาธิต/ทดลองด้วย<br />

๒.๑.๒ การถ่ายทอดองค์ความรู้งานวิจัย<br />

๒.๑.๒.๑ ระหว่าง ๑๘ - ๒๑ ก.ค.๖๐<br />

ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรระบบประมวลผลสัญญาณ<br />

ดิจิทัลสำหรับนักวิจัย ครั้งที่ ๔ (DSP for Researcher IV) ให้<br />

กับข้าราชการในสังกัด กห.<br />

๒.๑.๒.๒ ระหว่าง ๒๙ พ.ค. - ๑ มิ.ย.๖๐<br />

ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรเทคโนโลยีทางแสง<br />

ครั้งที่ ๔ (Photonics Technology IV) ให้กับข้าราชการ<br />

ในสังกัด กห.<br />

๒.๑.๒.๓ ระหว่าง ๕ - ๖ มิ.ย.๖๐ ได้<br />

ดำเนินการจัดการอบรมหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง “การเขียนแบบ<br />

สำหรับงานควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ (CNC)” ให้กับ<br />

ข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านงานวิจัย โดยได้เชิญวิทยากร<br />

ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการควบคุมเครื่องจักร CNC มาเป็น<br />

วิทยากรบรรยาย ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงการใช้งาน<br />

ขอบเขต และขีดความสามารถของโปรแกรมที่สามารถ<br />

แปลงข้อมูลแบบทางวิศวกรรม (Engineering Drawing)<br />

ให้เป็นโปรแกรมสำหรับเครื่องจักรอัตโนมัติ ตลอดจนเทคนิค<br />

การทำงานต่างๆ ของเครื่องจักรอัตโนมัติ (CNC) รวมถึง<br />

การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมแก่ชิ้นงานต้นแบบ<br />

เป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้ปฏิบัติ อันจะนำ<br />

ไปสู่การสร้างสื่อนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ Infographic<br />

ที่มีประสิทธิภาพต่อไป รวมถึงจัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้กับ<br />

ข้าราชการ นขต.<strong>สป</strong>. และสำหรับผู้ปฏิบัติให้ผู้เข้ารับการอบรม<br />

มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสั่งการในการสร้างสื่อ<br />

นำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ Infographic ให้กับผู้ปฏิบัติ<br />

ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม<br />

๒.๒ งานด้านการวิจัยและพัฒนา<br />

๒.๒.๑ อุปกรณ์ระบุพิกัดหน่วยทหารขนาดเล็ก<br />

ด้วยดาวเทียม โดยใช้เครือข่ายวิทยุสื่อสาร เป็นผลงานวิจัย<br />

ที่ดำเนินการเสร็จเมื่อปี งป.๕๘ ได้ต้นแบบอุปกรณ์ระบุพิกัด<br />

หน่วยทหารขนาดเล็กด้วยดาวเทียมโดยใช้เครือข่ายวิทยุ<br />

สื่อสารที่สามารถแจ้งพิกัดตามเวลาที่กำหนด มีการแจ้งเตือน<br />

เมื่อมีความผิดปกติ และไปให้หน่วยผู้ใช้ในเหล่าทัพ เช่น ศร.,<br />

ศม., นย. และหน่วยทหารที่ปฏิบัติงานใน ๓ จชต. ได้ทดลอง<br />

ใช้งานจริง เพื่อประเมินผลการใช้งานก่อนที่จะพัฒนาต้นแบบ<br />

ระบบฯ ไปสู่ขั้นการผลิตใช้ในราชการต่อไป<br />

๒.๑.๒.๔ การอบรมบุคลากรด้านสารสนเทศ<br />

๑) การอบรมเรื่องการสร้าง<br />

ความตระหนักต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เรื่อง “แนวทาง<br />

การปฏิบัติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์” ให้กับข้าราชการ เมื่อ ๑๙ ธ.ค.๕๙<br />

ณ ห้องอเนกประสงค์ กง.กห. ชั้น ๒ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

๒) ดำเนินการการอบรม<br />

“การสร้างสื่อนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ Infographic”<br />

ให้กับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้าง<br />

และพนักงานราชการ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจ<br />

วิธีการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ Infographic สามารถ<br />

๒.๒.๒ รองเท้าลดอันตรายจากทุ่นระเบิดสังหาร<br />

บุคคล ผลงานวิจัยนี้สามารถลดอันตรายจากทุ่นระเบิดสังหาร<br />

บุคคลประเภทแรงระเบิดแบบ MI4 ได้โดยอาศัยหลักการ<br />

ของรูปทรง V-Shape และคุณสมบัติของวัสดุคอมโพสิต<br />

โดยพื้นรองเท้าจะมีลักษณะเป็น V-Shape เพื่อเบี่ยงเบน<br />

แรงระเบิด<br />

ในห้วงที่ผ่านมาได้ส่งมอบผลงานวิจัยฯ<br />

ไปให้หน่วยผู้ใช้ในเหล่าทัพ เช่น ศวอ.ทอ., สวพ.ทบ., สวพ.ทร.<br />

และ กปช.จต. ได้ทดลองใช้งาน เพื่อนำผลการประเมิน<br />

ประสิทธิภาพมาปรับปรุงพัฒนาต้นแบบฯ ให้มีความปลอดภัย<br />

สูงสุด<br />

123


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒.๒.๓ ชุดโครงการวิจัยรูปแบบกำลังพลสำรอง<br />

รองรับพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.๒๕๕๘ เป็น<br />

โครงการวิจัยที่ดำเนินการดำเนินเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือน<br />

มี.ค.๖๐ และได้นำเสนอผลงานวิจัยดังกล่าวให้กับหน่วยที่<br />

เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปเรียบร้อยแล้ว<br />

ได้แก่ กกส.กห. และ นรด.<br />

๒.๒.๔ โครงการพัฒนาต่อยอดโล่กันกระสุน<br />

ระดับ ๓ จากวัสดุคอมโพสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา<br />

โล่กันกระสุน ระดับ ๓ ตามมาตรฐาน<br />

NU001.06 ให้สามารถต้านทาน<br />

กระสุนอาวุธสงคราม ปลย. ๕.๕๖ มม.<br />

และ ปลย. ๗.๖๒ มม. (เจาะเกราะ)<br />

จะแล้วเสร็จใน ก.ย.๖๑<br />

๒.๒.๕ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบสั่งการ<br />

ทางทหารจากสมาร์ทโฟน (Smart phone) มีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารทางวิทยุทหารให้มีความปลอดภัย<br />

สูงขึ้นด้วยวิธีส่งข้อความและตำแหน่ง GPS จากสมาร์ทโฟน<br />

ผ่านวิทยุสื่อสารทหาร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสร้างวงจร<br />

เข้ารหัสสัญญาณดิจิทัล และเขียนโปรแกรมสื่อสารข้อมูล<br />

กำหนดวิจัยเสร็จสมบูรณ์ ใน ก.ย.๖๐ โดยส่งมอบต้นแบบ<br />

ระบบสื่อสารฯ จำนวน ๖ ชุด ให้กับหน่วยผู้ใช้ใน ๓ จชต.<br />

นำไปทดลองใช้งานและทำการประเมินผล<br />

๒.๓.๒ การจัดอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษ<br />

ระยะสั้นต่างๆ อาทิ หลักสูตรภาษาอังกฤษสัญจร (English<br />

Mobile Team) สำหรับ นขต.<strong>สป</strong>. นอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร<br />

และปริมณฑล หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร<br />

ในชีวิตประจำวัน (กลุ่มที่ ๒) และหลักสูตรค่ายภาษา<br />

ภาคฤดูร้อน (Summer Camp)<br />

๒.๒.๖ กิจกรรมการประเมินการปฏิบัติงานของ<br />

ศูนย์ประสานงานมวลชน ทบ. มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา<br />

แนวทางการพัฒนากิจการด้านมวลชนของ ศปช.ทบ. โดย<br />

สนับสนุนการวิจัยให้กับ ทบ. (กร.ทบ.) ปัจจุบันอยู่ระหว่าง<br />

การเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานด้านมวลชนจาก มทบ.<br />

ทั่วประเทศ ภายใน ก.ย.๖๐<br />

๒.๓ งานด้านการฝึกอบรมภาษาต่างประเทศ<br />

๒.๓.๑ การจัดอบรมหลักสูตรภาษาเมียนมา<br />

เบื้องต้นให้แก่ข้าราชการ <strong>สป</strong>. ระหว่าง ๑๕ พ.ค. - ๕ มิ.ย.๖๐<br />

ณ ห้องปฏิบัติการทางภาษา วท.กห. ชั้น ๓ อาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(ศรีสมาน)<br />

124


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม (ทสอ.กห.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่พิจารณา เสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน<br />

กำกับดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร<br />

เพื่อการบริหารราชการทั่วไป คลื่นความถี่ กิจการอวกาศ และภาพถ่าย<br />

ดาวเทียมเพื่อความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม และปฏิบัติงานอื่นตามที่<br />

ได้รับมอบหมาย มีเจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม<br />

เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท มโน นุชเกษม<br />

เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. งานด้านการสื่อสาร<br />

๑.๑ ให้บริการระบบโทรศัพท์พื้นฐานให้กับ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

ณ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) ในปี ๖๐ โดยแบ่งการให้บริการ<br />

ออกเป็น ๓ ระบบ ดังนี้<br />

๑.๑.๑ ระบบโทรศัพท์องค์การ<br />

จำนวน ๓๒๐ เลขหมาย<br />

๑.๑.๒ ระบบโทรศัพท์ ๔ ตัว<br />

จำนวน ๗๐๐ เลขหมาย<br />

๑.๑.๓ ระบบโทรศัพท์โทรคมนาคมทหาร<br />

จำนวน ๔๐๐ เลขหมาย<br />

๑.๒ งานระบบเครือข่ายการสื่อสารหลัก (Backbone)<br />

ของ กห.<br />

ได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้าง<br />

พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ<br />

ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ กห.ปี ๕๑ - ๕๖<br />

เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนามุ่งสู่การยกระดับ<br />

เป็น กห. อิเล็กทรอนิกส์ (e-Defense) ให้ประสบ<br />

ความสำเร็จและบรรลุเป้าประสงค์อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น<br />

จึงได้ดำเนินงานจัดทำเครือข่ายข้อมูลของ กห. ประกอบด้วย<br />

๓ โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ<br />

125


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เครือข่ายข้อมูล กห. ปี ๕๑ - ๕๓ (พื้นที่กรุงเทพฯ และ<br />

ปริมณฑล), โครงการวางระบบเครือข่ายการสื่อสารหลัก<br />

(Backbone) ของ กห. ปี ๕๑ - ๕๓ (พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง<br />

และภาคใต้) และโครงการวางระบบเครือข่ายการสื่อสารหลัก<br />

(Backbone) ส่วนเพิ่มเติมของ กห. ระยะที่ ๑ ปี ๕๔ - ๕๖<br />

พื้นที่ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ<br />

ภาคกลางบางส่วน โดยคำนึงถึงความประหยัดงบประมาณ<br />

ในการดำเนินงาน จึงได้จัดทำบันทึกความตกลง (MOU)<br />

ร่วมกับ กฟภ. ในการเช่าใช้ประโยชน์สายใยแก้วนำแสง<br />

ระยะทาง ๘,๖๒๘ กม. โดยวางสายใยแก้วนำแสงจาก<br />

สถานีไฟฟ้าเข้าหน่วยทหาร ระยะทาง ๑,๔๓๒ กม. และ<br />

ติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายความเร็วสูง (SDH) ชนิด<br />

STM-64 จำนวน ๑๖ ชุด (รองรับการใช้งานช่องสัญญาณ<br />

ขนาด 10 Gbps), STM-16 จำนวน ๙๙ ชุด (รองรับการใช้งาน<br />

ช่องสัญญาณ ขนาด 2.5 Gbps), STM-4 จำนวน ๗๑ ชุด<br />

(รองรับการใช้งานช่องสัญญาณ ขนาด 622 Mbps),<br />

STM-1 จำนวน ๑ ชุด (รองรับการใช้งานช่องสัญญาณ ขนาด<br />

155 Mbps), อุปกรณ์กระจายสัญญาณชนิด L3 จำนวน<br />

๑๗๖ ชุด, ชนิด L2 จำนวน ๑๖๘ ชุด สนับสนุนหน่วยทหาร<br />

ในระดับ มทบ., กองพล, กองบิน, ทัพเรือภาค และกองทัพภาค<br />

จำนวน ๑๘๐ หน่วย และเมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๘ ได้ทำบันทึก<br />

ความร่วมมือระหว่าง กห. กับบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด<br />

(มหาชน) “ว่าด้วยการใช้งานช่องการสื่อสารผ่านเคเบิ้ล<br />

ใต้น้ำ สนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดน<br />

ภาคใต้” ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและ<br />

ทรัพย์สินของประชาชนเป็นส่วนรวม รวมทั้งต้องสูญเสีย<br />

กำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพเป็นจำนวน<br />

มากด้วย ซึ่งกองทัพไทยถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่จะต้อง<br />

นำความสงบสุขกลับมาสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้จงได้<br />

ความร่วมมือร่วมใจและการได้รับการสนับสนุนจาก<br />

ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ พลเรือน ภาคประชาชน<br />

ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชน นับว่ามีความจำเป็นและ<br />

มีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะเพิ่มขีดความสามารถ<br />

ทางทหารให้สามารถบรรลุภารกิจดังกล่าว ขีดความ<br />

สามารถหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง<br />

ต้องการการประกันความมีประสิทธิภาพให้ได้ ก็คือ<br />

ขีดความสามารถในการดำรงการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้การ<br />

ควบคุมบังคับบัญชาสั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว<br />

และทันเวลา จึงได้ดำเนินการวางเครือข่ายการสื่อสารหลัก<br />

(Backbone) ของ กห. ทั่วประเทศ ผ่านสายใยแก้วนำแสง<br />

และเพื่อลดจุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคใต้ที่มีระยะ<br />

ทางยาวและเป็นแนวแคบ ไม่สามารถวางเส้นทางการสื่อสาร<br />

สำรองในพื้นที่ภาคใต้ได้ กห. และบริษัท กสท โทรคมนาคม<br />

จำกัด (มหาชน) เห็นว่า หากสามารถเพิ่มช่องทางการสื่อสาร<br />

จากศูนย์บัญชาการทางทหารในส่วนกลาง ลงไปยังหน่วย<br />

บังคับบัญชาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหน่วยงาน<br />

ทางทหาร และหน่วยงานพลเรือนได้ โดยใช้ศักยภาพช่องทาง<br />

การสื่อสารผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำ จะเป็นคุณูปการอย่างยิ่งต่อภารกิจ<br />

ดังกล่าว<br />

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้สนับสนุนการใช้งาน<br />

ให้กับ นขต.เหล่าทัพ ซึ่งมีการใช้งานหลักดังนี้<br />

๑.๒.๑ <strong>สป</strong>. ใช้งานระบบประชุมทางไกล (VTC),<br />

ระบบงานสารบรรณ, ระบบงานกำลังพล กห., ระบบงาน<br />

สรรพกำลัง กห., การฝึกระดมสรรพกำลัง กห. ของทุกปี<br />

ระบบรายงานประเมินผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองของ<br />

นขต.กห., สพร.กห. และบริการอินเทอร์เน็ตให้กับ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

และเหล่าทัพ<br />

๑.๒.๒ บก.ทท. ใช้งานระบบ C 4 I, การฝึกร่วม<br />

กองทัพไทย (กฝร.), การฝึก รร.สธ. เหล่าทัพ (วสท.<strong>สป</strong>ท.<br />

ระบบ JATIL), การฝึกร่วมผสม คอบบร้าโกลด์, ระบบงาน<br />

กำลังพล, ระบบรายงานสถานภาพสิ่งอุปกรณ์ ของ กบ.ทหาร,<br />

การเชื่อมตู้ระบบชุมสายโทรศัพท์สื่อสารทหาร และการใช้งาน<br />

อินเทอร์เน็ต<br />

๑.๒.๓ ทบ. ใช้งานระบบประชุมทางไกล (VTC),<br />

ระบบกล้องวงจรปิด, การเชื่อมตู้ชุมสายของ ทบ. (PABX),<br />

ระบบงาน E-Army, ระบบส่งกำลังบำรุงอัตโนมัติของ<br />

บชร.๒, การเชื่อมต่อภายใน (Intranet) ของ นขต.ทบ.,<br />

ระบบงานกำลังพล, การฝึกกองพันทหารสื่อสารร่วม การฝึก<br />

แผนป้องกันประเทศ การฝึก รร.สธ.ทบ. (วสท.<strong>สป</strong>ท.<br />

ระบบ JATIL) และอินเทอร์เน็ต รวมถึงสถานการณ์เร่งด่วน<br />

เช่น สนับสนุนช่องการสื่อสารสำหรับหน่วยทหารในพื้นที่<br />

ภารกิจเขาพระวิหาร จาก กกล.สุรนารี - ทภ.๒ - ศปก.ทบ.<br />

ในการใช้งานระบบประชุมทางไกล (VTC) ระบบกล้องวงจรปิด<br />

(CCTV) เป็นต้น<br />

๑.๒.๔ ทร. ใช้งานระบบประชุมทางไกล (VCS),<br />

ระบบ C 3 I, การเชื่อมต่อระบบตู้ชุมสายของ ทร. (PABX),<br />

ระบบงานกำลังพล, การฝึก รร.สธ.ทร. (วสท.<strong>สป</strong>ท.ระบบ<br />

JATIL) และการใช้งานอินเทอร์เน็ต รวมถึงสถานการณ์<br />

เร่งด่วน เช่น สนับสนุนช่องการสื่อสารสำหรับ ฉก.นย. กรณี<br />

ถูกผู้ก่อการร้ายโจมตี จาก ฉก.นย. - ศปก.ทร. - ศปก.ทบ.<br />

ในการใช้งานระบบประชุมทางไกล (VTC) เป็นต้น<br />

126


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑.๒.๕ ทอ. ใช้งานระบบ ACCS, LMIS, Tactical<br />

Data Link, GIS ทอ., การถ่ายทอดสัญญาณภาพการลาดตระเวน<br />

ทางอากาศ (Video Downlink) และการบริการข้อมูล<br />

ภาพถ่ายทางอากาศและข้อมูลสารสนเทศให้แก่หน่วยต่างๆ<br />

ในพื้นที่ จชต., การเชื่อมต่อภายใน (Intranet), ระบบงาน<br />

กำลังพล การฝึก รร.สธ.ทอ. (วสท.<strong>สป</strong>ท.ระบบ JATIL)<br />

และการใช้งานอินเทอร์เน็ต รวมถึงสถานการณ์เร่งด่วน เช่น<br />

สนับสนุนช่องการสื่อสารสำหรับหน่วยทหารในพื้นที่ ภารกิจ<br />

เขาพระวิหาร จาก บน.๑ - ศสอต.๒ ในการใช้งานระบบสื่อสาร<br />

ข้อมูล เป็นต้น<br />

๑.๒.๖ รอ. ใช้งานการเชื่อมตู้ชุมสาย (PABX),<br />

ระบบงานการอบรมผู้เข้าราชองครักษ์เวร ระหว่างพระตำหนัก<br />

จิตรลดารโหฐานและพระราชวังไกลกังวล การเชื่อมต่อภายใน<br />

(Intranet) ระบบงานกำลังพล และการใช้งานอินเทอร์เน็ต<br />

๑.๒.๗ กอ.รมน. ใช้งานระบบงานการส่งกำลัง<br />

บำรุงของ ทบ. และงานระบบประชุมทางไกล (VCS)<br />

สนับสนุนภารกิจ จชต. และการเชื่อมระบบตู้ชุมสายโทรศัพท์<br />

(PABX)<br />

๑.๒.๘ มท. ใช้งานระบบประชุมทางไกล ครม.<br />

สัญจร ในการเชื่อมต่อมายัง กห. เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง<br />

นขต.กห. หน่วยเจ้าของเรื่องชี้แจงต่อที่ประชุม ครม.<br />

๑.๒.๙ ในระดับ กห. สนับสนุนระบบประชุม<br />

ทางไกล สำหรับศูนย์แก้ไขปัญหาความมั่นคงแบบบูรณาการ<br />

(ศมบ.) และสำนักงานคณะกรรมขับเคลื่อนการแก้ไข<br />

ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) บก.พล.ร.๑๕ มายัง<br />

ศปก.กห. สำหรับ รมว.กห. และ รมช.กห.<br />

เนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ มีข้อจำกัด<br />

ด้านงบประมาณ จึงมีการปรับลดเส้นทางเช่าใช้สายใยแก้ว<br />

นำแสงของ กฟภ. จากเดิม ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗<br />

เช่าใช้งานอยู่ประมาณ ๘,๘๘๙ กม. ใช้งบประมาณค่าเช่าใช้<br />

๕๓.๕ ล้านบาท/ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ ปรับลด<br />

ระยะทางไปทั้งสิ้น ๔,๓๓๒.๘๘ กม. คงเหลือเช่าใช้งาน<br />

จำนวน ๔,๕๕๖.๒๒ กม. จนถึงปัจจุบัน<br />

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ได้จัดทำโครงการ<br />

ดำรงสถานภาพระบบเครือข่ายการสื่อสารหลัก (Backbone)<br />

ของ กห. โดยมีลักษณะการดำเนินงานเหมือนปีงบประมาณ<br />

พ.ศ.๒๕๕๙ แต่เพิ่มเติมโดยการจัดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้<br />

ความสามารถให้กับผู้ใช้งานของหน่วยงานในแต่ละพื้นที่<br />

จำนวน ๕ ครั้ง ได้แก่ พื้นที่ ทภ.๑ จัดที่ มทบ.๑๒ พื้นที่,<br />

ทภ.๒ จัดที่มทบ.๒๓, พื้นที่ทภ.๓ จัดที่มทบ.๓๓, พื้นที่ทภ.๔<br />

จัดที่ มทบ.๔๒ และพื้นที่ส่วนกลาง จัดที่ ทสอ.กห. ปัจจุบัน<br />

ดำเนินการแล้วใน ๓ พื้นที่ ในการประชุมคณะกรรมการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กห. ครั้งที่ ๑/๖๐<br />

ให้ ทสอ.กห. เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสัมมนาเพื่อบูรณาการ<br />

เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายใน<br />

กห. เมื่อ ๙ - ๑๐ มี.ค.๖๐ โดยมี นขต.กห. และเหล่าทัพ<br />

เข้าร่วมการประชุม พร้อมสนับสนุนข้อมูลด้านเครือข่าย<br />

การสื่อสารที่มีอยู่ปัจจุบันและที่มีแผนจะพัฒนา โดยมี<br />

แนวทางในการสนับสนุนการใช้งานร่วมกัน พร้อมทั้งเสนอ<br />

ให้ตั้งคณะอนุกรรมการบูรณาการเครือข่ายการสื่อสารของ กห.<br />

ภายใต้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร<br />

กห. เพื่อผลักดันและร่วมมือให้การบูรณาการเครือข่าย<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายใน กห. เกิดเป็น<br />

รูปธรรมและภาพเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและ<br />

การสื่อสารภายใน กห. มุ่งสู่เครือข่ายเป็นแบบพื้นที่สามารถ<br />

ใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคตต่อไป<br />

๑.๓ งานระบบการประชุมทางไกล (Video Conference<br />

System)<br />

เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๔๕ เพื่อสนับสนุน สนผ.กห.<br />

สำหรับบรรยายสรุปสถานการณ์ด้านการข่าวตอนเช้า<br />

(Morning Brief) ผ่านระบบประชุมทางไกล ระหว่าง<br />

ห้องสุรศักดิ์มนตรี ในศาลาว่าการกลาโหม กับอาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(แจ้งวัฒนะ) และหน่วยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พท.ศอพท.,<br />

อท.ศอพท., รภท.ศอพท., ศอว.ศอพท., รวท.อท.ศอพท.,<br />

ศพปน.พท.ศอพท., ศวพท., สสน.<strong>สป</strong>. และ รภท.ศอพท.<br />

โดยปัจจุบันเป็นระบบกล้องแบบรายละเอียดสูง (Full High<br />

Definition) อีกทั้งระบบเครือข่ายเป็นระบบเครือข่าย<br />

ความเร็วสูง ทำให้ระบบการประชุมทางไกลเป็นไปอย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ<br />

127


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีการใช้งานระบบ<br />

ประชุมทางไกลที่สำคัญ ดังนี้<br />

๑.๓.๑ การบรรยายสรุปสถานการณ์ด้านการข่าว<br />

ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี หรือตามที่ ปล.กห. ดำริ<br />

๑.๓.๒ การประชุม นขต.<strong>สป</strong>. ประจำเดือน<br />

๑.๓.๓ การประชุมของ นขต.ศอพท. ประจำเดือน<br />

๑.๓.๔ การประชุม ศปก.นรม. กับ ศปก.กห.<br />

และเหล่าทัพ<br />

๑.๓.๕ การประชุม คปต.ส่วนหน้า (คณะกรรมการ<br />

ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้) โดย<br />

รมช.กห. เป็นหัวหน้าคณะฯ จาก บก.พล.ร.๑๕ - ศปก.กห.<br />

ทุกวันอังคาร<br />

๑.๓.๖ การบรรยายเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ<br />

*** รวมการใช้งาน ทั้งสิ้น ๑๒๐ ครั้ง/ปี ประมาณ<br />

๑๐ ครั้ง/เดือน ***<br />

ปัญหาและข้อเสนอแนะ<br />

เนื่องจากอุปกรณ์ชุดประชุมทางไกลที่ใช้งาน<br />

ในปัจจุบันได้จัดหามาตั้งแต่ปี ๕๓ ได้มีการชำรุดตามอายุ<br />

การใช้งานไปตามลำดับ ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานประชุมทางไกล<br />

เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ควบคุมทางไกลแบบหลายจุด<br />

(MCU) จัดตั้งแต่ปี ๕๒ มีความจำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ใหม่<br />

ขึ้นทดแทนต่อไป<br />

๑.๔ งานบริการระบบจานดาวเทียม UBC ได้มีการเช่า<br />

ใช้งาน ๒ แบบ ดังนี้<br />

๑.๔.๑ แบบโกลด์แพคเก็จ จะมีช่องรายการตาม<br />

มาตรฐาน ๗๕ ช่องรายการ ติดตั้งสนับสนุนให้กับผู้บังคับบัญชา<br />

ระดับสูงในศาลาว่าการกลาโหม จำนวน ๑๖ จุด ได้แก่<br />

ปล.กห., รอง ปล.กห. ๑ - ๔ และ หน.สน.ปล.กห.<br />

๑.๔.๒ แบบกำหนดช่องตามความต้องการ จำนวน<br />

๕ ช่องรายการ ได้แก่ ช่อง CNN, FOX MOVIES PREMIUM,<br />

DISCOVERY, FOX SPORT, TRUE SPORT 2 พร้อมระบบ<br />

ช่องสัญญาณโทรทัศน์พื้นฐาน (๓,๕,๗,๙,๑๑ และ Thai PBS)<br />

ติดตั้งให้กับ นขต.<strong>สป</strong>. ในพื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม จำนวน<br />

๑๙๐ จุด และอาคาร <strong>สป</strong>.ศรีสมาน จำนวน ๒๖๙ จุด<br />

ปัญหาและข้อเสนอแนะ<br />

ปัจจุบันระบบสายนำสัญญาณและอุปกรณ์ขยาย<br />

สัญญาณ ระบบสัญญาณโทรทัศน์ รวมที่ติดตั้งให้บริการ<br />

กับ นขต.<strong>สป</strong>. ในพื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม ได้ติดตั้งใช้งาน<br />

มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ทำให้คุณภาพของสัญญาณไม่ดี<br />

เท่าที่ควร หากได้รับการปรับปรุงจะทำให้สามารถรองรับ<br />

การใช้งานสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลได้<br />

๒. งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

๒.๑ งานเครือข่ายสารสนเทศของ <strong>สป</strong>.<br />

ได้เริ่มพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศของ <strong>สป</strong>.<br />

ตามโครงการแผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กห.<br />

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๓ จากนั้นได้มีการปรับปรุง<br />

เครือข่ายสารสนเทศตามโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ<br />

เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ <strong>สป</strong>. ในปีงบประมาณ<br />

พ.ศ.๒๕๕o ได้ขยายเครือข่ายสารสนเทศเพื่อให้หน่วยงาน<br />

ภายใน <strong>สป</strong>. และ นขต.กห. สามารถเชื่อมโยงเพื่อสื่อสาร<br />

และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันได้ตามโครงการพัฒนาและ<br />

ปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายข้อมูลของ กห. ประจำปี<br />

งบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ ได้มีการพัฒนาและ<br />

ปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายสารสนเทศให้บริการแก่<br />

นขต.<strong>สป</strong>. และ นขต.กห. โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศ<br />

ในปัจจุบันมีห้องควบคุมระบบสารสนเทศและการสื่อสาร<br />

กลาโหม ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) เป็นศูนย์บริการ<br />

เครือข่ายหลักมีการเชื่อมโยงไป นขต.<strong>สป</strong>. ดังนี้<br />

๒.๑.๑ การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศไปยัง<br />

ศาลาว่าการกลาโหม โดยใช้เครือข่ายสื ่อสารข้อมูลหลัก<br />

(Backbone) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ขนาด<br />

Bandwidth 1 Gbps เป็นเครือข่ายหลัก และใช้เครือข่าย<br />

วงจรเช่าของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)<br />

ขนาด Bandwidth 350 Mbps เป็นเครือข่ายสำรอง<br />

๒.๑.๒ การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศไปยัง ธน.<br />

(อาคาร <strong>สป</strong>.แจ้งวัฒนะ) โดยใช้เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber<br />

Optic) ขนาด Bandwidth 1 Gbps เป็นเครือข่ายหลัก และ<br />

ใช้เครือข่ายวงจรเช่าของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด<br />

(มหาชน) ขนาด Bandwidth 20 Mbps เป็นเครือข่ายสำรอง<br />

๒.๑.๓ การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศไปยัง<br />

นขต.<strong>สป</strong>. พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยใช้เครือข่ายสื่อสาร<br />

ข้อมูลหลัก (Backbone) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)<br />

128


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

ขนาด Bandwidth 45 Mbps เป็นเครือข่ายหลักไปยัง<br />

พท.ศอพท., อท.ศอพท. และ สยธ.สสน.<strong>สป</strong>. และใช้เครือข่าย<br />

วงจรเช่าของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)<br />

ขนาด Bandwidth 40 Mbps เป็นเครือข่ายสำรองสำหรับ<br />

ศวพท.วท.กห. และ รภท.ศอพท. ใช้เครือข่ายวงจรเช่าของ<br />

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ขนาด Bandwidth<br />

<strong>60</strong> Mbps และ พัน สห.<strong>สป</strong>.(คูนายกิม) 20 Mbps เป็น<br />

เครือข่ายหลักโดยไม่มีเครือข่ายสำรอง<br />

๒.๑.๔ การเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศไปยัง<br />

นขต.<strong>สป</strong>. ต่างจังหวัด (ศอว.ศอพท., รวท.อท.ศอพท. และ<br />

ศพปน.พท.ศอพท.) โดยใช้เครือข่ายสื่อสารข้อมูลหลัก<br />

(Backbone) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ขนาด<br />

Bandwidth 45 Mbps เป็นเครือข่ายหลัก และใช้เครือข่าย<br />

วงจรเช่าของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)<br />

เป็นเครือข่ายสำรองสำหรับ ศอว.ศอพท. ขนาด Bandwidth<br />

40 Mbps และสำหรับ รวท.อท.ศอพท., ศพปน.พท.ศอพท.<br />

ขนาด Bandwidth 20 Mbps โดยเป็นการเชื่อมโยงไปยัง<br />

ส่วนบังคับบัญชาเท่านั้น<br />

๒.๒ การให้บริการเครือข่ายสารสนเทศแบบไร้สาย<br />

(Wireless LAN) ของ <strong>สป</strong>.<br />

ได้ดำเนินการให้บริการเครือข่ายสารสนเทศ<br />

แบบไร้สาย ตามโครงการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายของ <strong>สป</strong>.<br />

เพื่อให้บริการเครือข่ายสารสนเทศแบบไร้สายให้กับข้าราชการ<br />

ของ <strong>สป</strong>. ที่ทำงานในพื้นที่ศาลาว่าการกลาโหมและอาคาร ธน.<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ และในพื้นที่อาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(ศรีสมาน) ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ โดยมีการวาง<br />

อุปกรณ์กระจายสัญญาณเครือข่ายไร้สาย (Access Point)<br />

เพื่อใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สายเพื่อให้ครอบคลุม<br />

พื้นที่ดังกล่าว รวมเป็นจำนวน ๒๕๙ ตัว (ที่ศาลาว่าการ<br />

กลาโหมและอาคาร ธน. จำนวน ๑๒๖ ตัว และพื้นที่อาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(ศรีสมาน) จำนวน ๑๓๓ ตัว)<br />

๒.๓ การให้บริการอินเทอร์เน็ต <strong>สป</strong>.<br />

ดำเนินการให้บริการอินเทอร์เน็ต <strong>สป</strong>. ให้กับ<br />

ผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย ข้าราชการ ของ <strong>สป</strong>. และข้าราชการ กห.<br />

ตามสัญญาจ้างให้บริการสื่อสารข้อมูลอินเทอร์เน็ต (สัญญาจ้าง<br />

เลขที่๓/๒๕๖๐ ลง ๑๕ ธ.ค.๕๙) ซึ่งการให้บริการอินเทอร์เน็ต<br />

<strong>สป</strong>. ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง<br />

โดยปัจจุบันมีความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)<br />

ในการรับส่งข้อมูลเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์<br />

ภายในประเทศ ขนาด 1 Gbps (Giga Bit Per Second)<br />

และระหว่างประเทศ ขนาด 700 Mbps (Mega Bit per<br />

Second) และได้ทำการจัดเก็บข้อมูลการจราจรตาม พ.ร.บ.<br />

ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๖o<br />

ต้องมีการบันทึกเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของ<br />

ผู้ใช้งานไว้ไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ<br />

และการใช้งานได้<br />

ภาพแสดงกราฟปริมาณข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต <strong>สป</strong>.<br />

๒.๔ การพัฒนาและการบริหารจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์<br />

ได้พัฒนาและดูแลหน้าแรกเว็บไซต์ กห., <strong>สป</strong>.,<br />

ทสอ.กห. และสมาคมภริยาข้าราชการ <strong>สป</strong>. ให้มีข้อมูลที่ทันสมัย<br />

รวมทั้งให้คำแนะนำการดำเนินงานด้านเว็บไซต์และเนื้อหา<br />

เกี่ยวกับการจัดเก็บเว็บไซต์ให้กับ นขต.<strong>สป</strong>. ดังนี้<br />

ภาพแสดงหน้าเว็บไซต์ กห. (www.mod.go.th.)<br />

ภาพแสดงหน้าเว็บไซต์ <strong>สป</strong>. (www.opsd.mod.go.th.)<br />

129


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ภาพแสดงหน้าเว็บไซต์ กห. (www.dist.mod.go.th.)<br />

๒.๔.๑ เว็บไซต์กห. ดำเนินการเพิ่มกิจกรรม รมว.กห.<br />

๕๐ กิจกรรม และข่าวประชาสัมพันธ์ ๔ ข่าว<br />

๒.๔.๒ เว็บไซต์<strong>สป</strong>. ดำเนินการเพิ่มกิจกรรม ปล.กห.<br />

๗๒ กิจกรรม<br />

๒.๔.๓ เว็บไซต์ ทสอ.กห. ดำเนินการเพิ่มกิจกรรม<br />

จก.ทสอ.กห. ๗๘ กิจกรรม และข่าวประกวดราคา ๒๒ ข่าว<br />

๒.๔.๔ เว็บไซต์สมาคมภริยาข้าราชการ <strong>สป</strong>.<br />

ดำเนินการเพิ่มกิจกรรม ๙๕ กิจกรรม<br />

ภาพแสดงหน้าเว็บไซต์ <strong>สป</strong>. (www.wives.mod.go.th.)<br />

๒.๕ การให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)<br />

ของ <strong>สป</strong>.<br />

ได้จัดหาระบบการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์<br />

โดยกำหนดให้มีชื่อโดเมน @mod.go.th และมีการพัฒนา<br />

ประสิทธิภาพระบบการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์<br />

ตามลำดับ ระบบจดหมายมีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล (inbox)<br />

ขนาด 5 GB สามารถสืบค้นรายชื่อผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์<br />

ทั้งหมดได้รวมทั้งมีMail gateway สำหรับการคัดกรองสแปม<br />

พร้อมทั้งสามารถเลือกการส่งจดหมายแบบเข้ารหัสได้<br />

ภาพแสดงระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของ กห.<br />

130


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒.๖ การให้บริการด้านสารสนเทศ และซ่อมบำรุง<br />

อุปกรณ์สารสนเทศ<br />

จัดให้มีบริการด้านสารสนเทศแก่ผู้บังคับบัญชา<br />

ข้าราชการ และพนักงานราชการ ในกรณีที่มีปัญหาด้าน<br />

การใช้งานและแก้ปัญหาข้อขัดข้องในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ใช้<br />

สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้<br />

สามารถขอคำแนะนำหรือแจ้งข้อขัดข้องในการใช้งานเครือข่าย<br />

สารสนเทศ <strong>สป</strong>. ได้ที่หมายเลข ๐ ๒๕๐๑ ๖๖๖๐ ต่อ ๕๕๑๕<br />

โทร. ทหาร ๕๗ ๕๒๙๙๐ และโทร. ภายใน ๕๕๑๕<br />

๒.๗ การกำกับดูแลและพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้แก่<br />

นขต.<strong>สป</strong>. ดังนี้<br />

๒.๗.๑ พัฒนาระบบตามคำร้องของ นขต.<strong>สป</strong>. ได้แก่<br />

๒.๗.๑.๑ ระบบข้อมูลผู้ป่วยกายภาพบำบัด<br />

(สนพ.สสน.<strong>สป</strong>.)<br />

๒.๗.๑.๒ ระบบจัดเก็บข้อมูลบุตรที่มี<br />

ความต้องการพิเศษ (สมาคมภริยาฯ)<br />

๒.๗.๑.๓ ระบบบริหารจัดการข้อมูลสมาชิก<br />

และกิจกรรม สคภ.<strong>สป</strong>. (สมาคมภริยาฯ)<br />

๒.๗.๒ พัฒนาระบบสารสนเทศ ใช้ภายในหน่วยงาน<br />

ได้แก่<br />

๒.๗.๒.๑ ระบบจองห้องประชุม ทสอ.กห.<br />

๒.๗.๒.๒ ระบบจัดเก็บสืบค้นเอกสาร<br />

(กำลังพัฒนา)<br />

๒.๗.๒.๓ ระบบสืบค้นหมายเลขโทรศัพท์<br />

ภายใน (กำลังพัฒนา)<br />

๒.๗.๓ กำกับดูแลระบบสารสนเทศ ดังนี้<br />

๒.๗.๓.๑ ระบบสารสนเทศด้านงาน<br />

สารบรรณ <strong>สป</strong>. (ทร. เป็นผู้พัฒนา)<br />

๒.๗.๓.๒ ระบบรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์<br />

(กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้พัฒนา)<br />

๒.๗.๓.๓ ระบบฐานข้อมูลงานด้านการ<br />

ส่งกำลังบำรุง <strong>สป</strong>. (สนผ.กห.)<br />

๒.๗.๓.๔ ศูนย์การเรียนรู้ด้านกิจการอวกาศ<br />

(กกอ.ทสอ.กห.)<br />

๒.๗.๓.๕ ระบบจัดการตารางปฏิบัติงาน<br />

ราชการกำลังพล กกส.กห. (กกส.กห.)<br />

๒.๘ การบริหารอบรมสัมมนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ<br />

๒.๘.๑ เปิดการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ให้กับบุตรหลานในภาคฤดูร้อน ตามโครงการรณรงค์ป้องกัน<br />

ยาเสพติด โดยเปิดอบรมหลักสูตรการอบรมคอมพิวเตอร์<br />

สำหรับบุตรหลานข้าราชการ <strong>สป</strong>. จำนวน ๒ รุ่น ณ ห้องฝึกอบรม<br />

คอมพิวเตอร์ ทสอ.กห. ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

๒.๘.๒ ให้การสนับสนุนห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์<br />

ทสอ.กห. ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) ให้กับ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

ได้แก่ สงป.กห., สตน.กห., สยธ.สสน.<strong>สป</strong>., และ สพร.กห.<br />

๒.๙ การป้องกันและการรักษาความปลอดภัยระบบ<br />

สารสนเทศภายใน <strong>สป</strong>.<br />

๒.๙.๑ ดำเนินการติดตั้งระบบตรวจสอบตัวตน<br />

การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต <strong>สป</strong>. ให้กับ นขต.<strong>สป</strong>. ซึ่ง<br />

สามารถกำหนดนโยบายความปลอดภัยจากข้อมูลของเครื่อง<br />

ผู้ใช้งานโดยคัดกรองเครื่องที่มีความเสี่ยงออกจากการใช้งาน<br />

อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์<br />

ผู้ใช้งานเครือข่ายสารสนเทศของ <strong>สป</strong>. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

๒.๙.๒ ดำเนินการนำมาตรฐาน IEEE 802.1X<br />

และการเข้ารหัสแบบ WPA2 มาใช้ในระบบเครือข่ายไร้สาย<br />

(Wireless) <strong>สป</strong>. เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย<br />

และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น<br />

๒.๙.๓ กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบ<br />

ปฏิบัติการ Windows XP และ Windows Vista ไม่สามารถ<br />

เข้าใช้งานบนเครือข่าย <strong>สป</strong>. ได้ เนื่องจากบริษัท Microsoft<br />

Corporation เจ้าของผลิตภัณฑ์ ได้ประกาศยุติการปรับปรุง<br />

ความปลอดภัยให้กับระบบปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้อาจจะเกิด<br />

ภัยคุกคามจากการบุกรุกและเจาะข้อมูลระบบ, ขโมยรหัสผ่าน,<br />

<strong>สป</strong>ายแวร์, และซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ในรูปแบบต่างๆ<br />

เข้ามาในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ <strong>สป</strong>. เพื่อให้เกิดความ<br />

ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น<br />

๒.๙.๔ กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันการโจมตี<br />

และแพร่กระจาย Ransomware และ Malware เนื่องด้วย<br />

มีเหตุการณ์การแพร่กระจาย Ransomware: Wannacry<br />

เมื่อ พ.ค.๖๐ และ Malware เรียกค่าไถ่ Petya สายพันธุ์ใหม่<br />

พร้อมแนะนำวิธีการป้องกันสำหรับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์<br />

และผู้ดูแลเครือข่ายสารสนเทศของ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

๒.๙.๕ ดำเนินการตรวจสอบประเมินความเพียงพอ<br />

และความมีประสิทธิผลของมาตรการควบคุมการปฏิบัติงาน<br />

สารสนเทศทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยบนระบบเครือข่าย<br />

สารสนเทศ <strong>สป</strong>.<br />

๒.๙.๖ ดำเนินการตรวจสอบและป้องกันภัยคุกคาม<br />

การโจมตีเครือข่ายสารสนเทศของ <strong>สป</strong>., เว็บไซต์ กห.,<br />

เว็บไซต์<strong>สป</strong>., อีเมล (@mod.go.th) และไวรัสคอมพิวเตอร์ทั้งที่<br />

มีการโจมตีทั้งจากเครือข่ายภายในและภายนอก เพื่อให้เกิด<br />

ความมั่นคงปลอดภัยบนระบบเครือข่ายสารสนเทศ <strong>สป</strong>.,<br />

131


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ทำให้เว็บไซต์ปลอดภัยและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น, ป้องกัน<br />

อีเมลก่อกวน ปลอมแปลงตัวตน และไวรัสคอมพิวเตอร์<br />

ที่แฝงมากับอีเมล ทำให้ระบบเมลมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น<br />

๓. การดำเนินงานด้านกิจการอวกาศและภาพถ่าย<br />

ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง<br />

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้<br />

๓.๑ รมว.กห. ได้กรุณาอนุมัติให้ความเห็นชอบร่างบันทึก<br />

ความร่วมมือระหว่าง วท. กับ กห. ว่าด้วยความร่วมมือด้าน<br />

เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ซึ่งมีการจัดพิธีลงนาม<br />

ในร่างบันทึกความร่วมมือฯ เมื่อ ๒๖ ก.ย.๖๐ โดยมี ปล.กห.<br />

เป็นประธานในพิธีลงนามฯ และเป็นผู้แทน กห. ลงนาม<br />

ในร่างบันทึกความร่วมมือฯ มี จก.ทสอ.กห. ร่วมลงนาม<br />

ในส่วนของ วท. มี ปล.วท. เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึก<br />

ความร่วมมือฯ ซึ่งมี ผอ.สทอภ. ร่วมลงนาม<br />

๓.๒ การฝึกอบรมหลักสูตรการข่าวกรองและ<br />

ภูมิสารสนเทศของ ทสอ.กห. (ระดับต้น) ระหว่าง ๒๑ ส.ค.๖๐ -<br />

๑ ก.ย.๖๐ ณ ห้องฝึกอบรม กกอ.ทสอ.กห. ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(ศรีสมาน) มีผู้รับการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย ขว.ทหาร,<br />

ศรภ., ขว.ทบ., ขกท., ขว.ทอ. และ ศลภ.คปอ. จำนวน<br />

๑๐ นาย การฝึกอบรมฯ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ด้านวิชาการ<br />

เป็นการบรรยายเกี่ยวกับทฤษฎีการสำรวจระยะไกล, ระบบ<br />

การบันทึกภาพถ่ายดาวเทียมระบบ OPTICAL และ RADAR<br />

และการตีความภาพถ่ายดาวเทียมในภารกิจทางทหาร<br />

และการฝึกปฏิบัติการ เป็นการฝึกเรียนรู้และใช้งานกับ<br />

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมสำหรับงานข่าวกรอง<br />

ภูมิสารสนเทศ และงานข่าวกรองการภาพ การนำเข้า<br />

การแสดงผลภาพถ่ายดาวเทียม และการวิเคราะห์ภาพถ่าย<br />

ดาวเทียมในกิจทางทหาร<br />

๓.๓ การสนับสนุนงานด้านข่าวกรองการภาพแก่เหล่าทัพ<br />

๓.๓.๑ สนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อม<br />

โปรแกรมด้านข่าวกรองการภาพ (Image Intellgence:<br />

IMINT) จำนวน ๑ ระบบ แก่ ขว.ทหาร<br />

๓.๓.๒ สนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อม<br />

โปรแกรมด้านข่าวกรองภูมิสารสนเทศ (Geospatial<br />

Intelligence: GEOINT) จำนวน ๑ ระบบ และอุปกรณ์<br />

คอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมด้านข่าวกรองการภาพ (Image<br />

Intelligence: IMINT) จำนวน ๑ ระบบ ให้กับ ขว.ทบ.<br />

๓.๓.๓ สนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อม<br />

โปรแกรมด้านข่าวกรองภูมิสารสนเทศ (Geospatial<br />

Intelligence: IMINT) จำนวน ๑ ระบบ แก่ ขว.ทอ.<br />

๓.๓.๔ สนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อม<br />

โปรแกรมด้านข่าวกรองการภาพ (Image Intelligence)<br />

จำนวน ๑ ระบบ ให้กับ คปอ.<br />

๓.๔ การเข้าร่วมประชุมและสัมมนา<br />

๓.๔.๑ ร่วมประชุมวิชาการ 1 ST Thailand<br />

Conference Situational Awareness ซึ่งเป็นความร่วมมือ<br />

ระหว่าง รร.นนก. กับศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและ<br />

ดาราศาสตร์ (LESA: Learning model on Earth Science<br />

and Astronomy) ภายใต้การสนับสนุนของ ทอ. เมื่อ ๒๐ ก.ค.๖๐<br />

ณ ห้องนภัศวิน อาคารสโมสรนักเรียนนายเรืออากาศ<br />

รร.นนก. โดยมี พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผบ.ทอ. เป็นประธาน<br />

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้<br />

ประสบการณ์ รวมทั้งการเสริมสร้างความร่วมมือและเครือข่าย<br />

ด้านการเฝ้าระวังทางอวกาศในระดับประเทศและนานาชาติ<br />

๓.๔.๒ ร่วมประชุมคณะกรรมการภูมิสารสนเทศ<br />

แห่งชาติ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามแผนแม่บท<br />

ภูมิสารสนเทศแห่งชาติ, การจัดทำแผนแม่บท IT และ<br />

แผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยระบบและบริการ<br />

ภูมิสารสนเทศกลางของประเทศ และการจัดทำแผนงาน<br />

บูรณาการงบประมาณด้านภูมิสารสนเทศของประเทศ<br />

๓.๔.๓ ร่วมสัมมนา “โครงการวิจัยเพื่อการศึกษา<br />

แนวทางร่างกฎหมายอวกาศและกิจการดาวเทียม” เมื่อ<br />

๗ เม.ย.๖๐ ณ หอประชุม ชั้น ๑ กทช. โดยมีรองเลขาธิการ<br />

กสทช. เป็นประธาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความคิดเห็น<br />

เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติกำกับกิจการอวกาศ พ.ศ....<br />

ให้คณะวิจัยไปปรับปรุงแก้ไขร่างฯ หลายประเด็น เช่น<br />

การให้ความหมายของคำจำกัดความต่างๆ ความชัดเจนของ<br />

อำนาจหน้าที่ของหน่วยที่เกี่ยวข้อง และความครอบคลุม<br />

ด้านกิจการอวกาศ เป็นต้น ในส่วนเกี่ยวข้องกับ กห. กกอ.ฯ<br />

จะได้ติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้นำมาใช้<br />

ประโยชน์ต่อทางราชการต่อไป<br />

๔. การดำเนินงานด้านกิจการกระจายเสียง กิจการ<br />

โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม<br />

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้<br />

๔.๑ จัดเจ้าหน้าที่เป็นผู้แทน ปล.กห. เพื่อเข้าร่วมประชุม<br />

คณะอนุกรรมการที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ<br />

บริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการ<br />

โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ<br />

จำนวน ๓ คณะ ดังนี้<br />

132


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๔.๑.๑ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการและ<br />

งบประมาณที่ใช้จ่ายจากเงินกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการ<br />

กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม<br />

เพื่อประโยชน์สาธารณะ<br />

๔.๑.๒ คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล<br />

โครงการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการ<br />

โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ<br />

๔.๑.๓ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและ<br />

แผนยุทธศาสตร์กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง<br />

กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์<br />

สาธารณะ<br />

๔.๒ ติดตามงานที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ กิจการวิทยุ<br />

กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของ<br />

ทหาร, ประสานการปฏิบัติกับองค์กรในระดับชาติทั้งภาครัฐ<br />

และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาแก้ไขข้อกฎหมาย<br />

ต่างๆ เพื่อให้ทหารมีคลื่นความถี่ทางทหารใช้งานได้อย่าง<br />

เพียงพอ รวมทั้งทำให้การดำเนินการของสถานีวิทยุกระจายเสียง<br />

ของทหารและสถานีโทรทัศน์ของทหารสามารถดำรง<br />

การใช้งานด้านประชาสัมพันธ์เชิงรุกและสงครามจิตวิทยา<br />

ได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเสนอความเห็นในการรักษา<br />

ผลประโยชน์ของ กห. เกี่ยวกับสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์<br />

ที่ทหารมีอยู่ เพื่อให้ กห. สามารถดำเนินกิจการต่อไป<br />

ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี ้ ในปีงบประมาณ<br />

๒๕๖๐ สง.กสท.กห. ได้จัดเจ้าหน้าที่ดำเนินการในส่วนที่<br />

เกี่ยวข้องร่วมกับสำนักงาน กสทช. ที่สำคัญ อาทิ<br />

๔.๒.๑ เข้าร่วมการอบรม เรื่อง “การประชุมเชิง<br />

ปฏิบัติการ การดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการ<br />

กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม<br />

แห่งชาติ (กสทช.) เกี่ยวกับมาตรฐานทางเทคนิคของ<br />

สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่”<br />

๔.๒.๒ เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น<br />

สาธารณะต่อ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง<br />

กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)<br />

เรื่อง “แผนความถี่วิทยุกิจการกระจายเสียงระบบดิจิทัล<br />

เพื่อการทดลองหรือทดสอบ”<br />

๔.๒.๓ เข้าร่วมประชุมการกำหนดแนวทาง<br />

การดำเนินงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ เอฟ.เอ็ม.<br />

๔.๒.๔ จัดการอบรม เรื่อง “การบริหารคลื่นความถี่<br />

เบื้องต้น” ให้กับเจ้าหน้าที่ บก.ทท., เหล่าทัพ และ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจาก กสทช. และกรมประชาสัมพันธ์<br />

เป็นวิทยากรพิเศษ<br />

๕. การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย<br />

ระบบสารสนเทศและสงครามไซเบอร์<br />

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้<br />

๕.๑ เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านไซเบอร์ ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๖๐ Cyber Subject<br />

Matter Expert Exchange (SMEE) 17-1 เมื่อ ๑ - ๓ มี.ค.๖๐,<br />

๐๙๐๐ - ๑๖๐๐ ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ อาคารกองข่าวอากาศ<br />

ทสส.ทอ. โดยมีน.อ.วิเชียร เรืองพระยา รอง ผอ.สบค.ทสส.ทอ.<br />

เป็นประธาน บรรยายในหัวข้อด้านการป้องกันภัยคุกคาม<br />

ไซเบอร์ที่มีต่อระบบควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติซึ่งเป็นพื้นฐาน<br />

สำคัญของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานวิกฤติ<br />

๕.๒ ได้ดำเนินงานพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของ<br />

กำลังพลภายในหน่วย (Unit School) ให้กับกำลังพลของ<br />

ศซบ.ทสอ.กห. รวมถึงกำลังพลที่ปรับย้ายและบรรจุใหม่<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นให้พร้อม<br />

ปฏิบัติภารกิจด้านไซเบอร์ ซึ่งเป็นการวางรากฐานที่สำคัญ<br />

สำหรับการปฏิบัติการไซเบอร์เชิงรุก มีการอบรมทั้งภาคทฤษฎี<br />

และภาคปฏิบัติ โดยมีหัวข้อการอบรมที่สำคัญ ดังนี้<br />

๕.๒.๑ ระบบเครือข่ายการสื่อสารหลัก (Backbone)<br />

ของ กห.<br />

๕.๒.๒ เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ <strong>สป</strong>.<br />

๕.๒.๓ การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายจาก<br />

ภัยคุกคามผ่านช่องโหว่ (CompTIA Security+)<br />

133


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๕.๒.๔ รปจ.ทสอ.กห. ว่าด้วยการปฏิบัติงาน<br />

ประจำห้องปฏิบัติการไซเบอร์ ทสอ.กห. พ.ศ.๒๕๕๙<br />

๕.๒.๕ การใช้ระบบเฝ้าระวังข้อมูลในสังคม<br />

ออนไลน์ (โปรแกรม Th3re)<br />

๕.๒.๖ การใช้งานระบบวิเคราะห์ภัยคุกคาม<br />

ในเครือข่ายสารสนเทศ <strong>สป</strong>. (Security and Event<br />

Management: SIEM)<br />

๕.๒.๗ การใช้งานระบบตรวจประเมินช่องโหว่<br />

ในระบบสารสนเทศ (โปรแกรม Acunetix)<br />

๕.๒.๘ การใช้งานระบบทดสอบความมั่นคง<br />

ปลอดภัยสารสนเทศ (โปรแกรม Metasploit)<br />

๕.๒.๙ การปิดบังตัวตนในมิติไซเบอร์ด้วยเครื่อง<br />

แม่ข่ายส่วนตัวแบบเสมือน (Virtual Private Server: VPS)<br />

๕.๓ การฝึกการบริหารวิกฤติการณ์ระดับชาติ ประจำปี<br />

๒๕๖๐ (C-MEX 17)<br />

ได้เข้าร่วมการฝึกการบริหารวิกฤติการณ์ระดับชาติ<br />

ประจำปี ๒๕๖๐ (Crisis Management Exercise: C-MEX<br />

17) เมื่อ ๓ - ๕ เม.ย.๖๐ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ๓ โรงแรม<br />

เซ็นทรา บายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์<br />

แจ้งวัฒนะ โดยมี รมช.กห. เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึก<br />

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบ เฝ้าระวังสถานการณ์<br />

ทางไซเบอร์ การตรวจสอบและป้องกันการโจมตี ระบบ<br />

คอมพิวเตอร์ กลไกการจัดการข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์<br />

การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์<br />

การสร้างความตระหนักและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่การรับมือ<br />

ภัยทางไซเบอร์ โดยผู้เข้าร่วมการฝึกฯ ในประเด็นการฝึก<br />

การบริหารจัดการภัยความมั่นคงไซเบอร์จัดจากผู้แทน<br />

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ดศ. และหน่วยงานในสังกัด<br />

ดศ., สพธอ., ทสอ.กห., ศซบ.ทบ., สสท.ทร., ปอท., สรอ.,<br />

กฟผ., บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ<br />

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)<br />

๕.๔ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศเข้าบรรยาย<br />

ให้ความรู้ สร้างความตระหนักด้านการรักษาความปลอดภัย<br />

ไซเบอร์ โดยปฏิบัติร่วมกับการตรวจสอบสารสนเทศกับ<br />

สตน.กห. ประจำปีงบประมาณ ๖๐ ตามประกาศ <strong>สป</strong>.<br />

เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัย<br />

ด้านสารสนเทศ ระหว่าง พ.ค. - มิ.ย.๖๐ โดยได้เข้าตรวจสอบ<br />

สารสนเทศกับ นขต.<strong>สป</strong>. และ สร. จำนวน ๒๔ หน่วย ซึ่งผล<br />

การตรวจจะนำมาสรุปเพื่อพัฒนาการรักษาความปลอดภัย<br />

สารสนเทศต่อไป<br />

๕.๕ เข้าร่วมการฝึกป้องกันและการเจาะระบบเครือข่าย<br />

การปฏิบัติงานสงครามไซเบอร์แบบเป็นหน่วย ระหว่าง<br />

๓๑ พ.ค. - ๒ มิ.ย.๖๐ และการฝึกภาคสนามระหว่าง ๖ - ๘<br />

มิ.ย.๖๐ ณ ห้องประชุม ยก.ทหาร โดยมี จก.ยก.ทหาร<br />

เป็นประธาน<br />

๕.๖ ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนา Thailand<br />

Cybersecurity Week 2017 เมื่อ ๒๘ มิ.ย.๖๐ ณ หอประชุม<br />

ทบ. โดยมี รอง.นรม. เป็นประธาน โดยมีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อเป็นการตระหนักถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เผยแพร่ข้อมูล<br />

ข่าวสารเกี่ยวกับวิธีการประเมินความเสี่ยงต่อภัยคุกคามฯ<br />

ตลอดจนแนวทางการจัดการที่เป็นมาตรฐานให้แก่หน่วยงาน<br />

ภาครัฐ<br />

ส่งผู้ปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ จำนวน ๕ นาย<br />

เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการออกแบบและการพัฒนาระบบ<br />

จำลองการฝึกด้านไซเบอร์ (Cyber Range) ระหว่าง<br />

๑๙ - ๒๘ ก.ค.๖๐ ณ ห้องบรรยาย ชั้น ๔ อาคารกองข่าว<br />

อากาศ<br />

134


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

กห.ฟป. และ กห.นิวซีแลนด์ เป็นเจ้าภาพจัดการ<br />

ประชุมฯ ระหว่าง ๑๖ - ๒๐ ก.ค.๖๐ โดยมีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ในกรอบงาน<br />

ด้านความมั่นคงไซเบอร์ รวมทั้งรับทราบนโยบาย และ<br />

ขีดความสามารถของประเทศสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา<br />

ความร่วมมือในด้านไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ และ<br />

เป็นรูปธรรมต่อไป<br />

๕.๙ การประชุม ADMM - Plus EWG on Cyber<br />

Security ครั้งที่ ๑ ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยหารือ<br />

ร่วมกับผู้แทน กห.สหรัฐฯ ในการจัดตั้งระบบ COMSEC<br />

โดยได้ดำเนินการจัดเตรียมห้องสำหรับติดตั้ง COMSEC<br />

ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยในครั้งนี้เป็นการประเมินความ<br />

ปลอดภัยสำหรับเตรียมการติดตั้งอุปกรณ์ COMSEC ตาม<br />

มาตรฐาน กห.สหรัฐฯ เมื่อ ๔ ส.ค.๖๐ ณ ศซบ.ทสอ.กห.<br />

๕.๑๐ Mr. Dan Carmel ผชท.ทหารอิสราเอล และ<br />

Mr. Paul Friedberg รองผู้อำนวยการกรมส่งออกและ<br />

ความร่วมมือทางทหาร กห.อิสราเอล เข้าหารือในความ<br />

ร่วมมือด้านความมั ่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กับ จก.ทสอ.กห.<br />

เมื่อ ๘ ส.ค.๖๐<br />

๕.๗ จัดการฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคด้านการตรวจ/ยึด<br />

และตรวจพิสูจน์หลักฐาน โดยมีผู้เข้าอบรม จำนวน ๒๐ คน<br />

ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ ศซบ.ทสอ.กห. และสมาชิกเครือข่าย<br />

เพื่อดำเนินการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ระหว่างวันที่<br />

๓๑ ก.ค. - ๒ ส.ค.๖๐ ณ ห้องประชุม ศซบ.ทสอ.กห. ชั้น ๕<br />

อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

๕.๘ การประชุม ADMM - Plus EWG on Cyber<br />

Security ครั้งที่ ๑ ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์<br />

๕.๑๑ การประชุมความร่วมมือด้านไซเบอร์ ในการประชุม<br />

คณะกรรมการสั่งการและควบคุมร่วม ไทย - สหรัฐฯ ครั้งที่๕๓<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบความก้าวหน้า และติดตาม<br />

โครงการความร่วมมือด้านระบบสื่อสารและสารสนเทศ<br />

ระหว่างไทย - สหรัฐฯ โดยผู้เข้าร่วมประชุมฯ ฝ่ายไทย<br />

ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานด้านสื่อสารของ บก.ทท. และ<br />

เหล่าทัพ รวมทั้งผู้แทน สนผ.กห. และ ทสอ.กห. ในฐานะ<br />

ผู้แทนหน่วยงานรับผิดชอบด้านไซเบอร์ของ กห. ในส่วน<br />

ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ฝ่ายสหรัฐฯ ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงาน<br />

ด้านสื่อสารกองกำลังกองทัพสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก<br />

(US Pacific Command: PACOM J65), กองทัพอากาศ<br />

กองกำลังป้องกันชาติรัฐวอชิงตัน (Washington Air National<br />

Guard: WA ANG) และผู้แทน JUSMAGTHAI/PACAP<br />

135


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ระหว่าง ๖ - ๑๓ ส.ค.๖๐ ณ เมืองทาโคมา รัฐวอชิงตัน<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

๕.๑๒ ส่งข้าราชการ จำนวน ๔ นาย เข้าร่วมการแข่งขัน<br />

ทักษะทางไซเบอร์ ทท. ระหว่าง ๑๖ - ๑๗ ส.ค.๖๐<br />

ณ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์กองทัพไทย แหลมแท่น จ.ชลบุรี<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรทางไซเบอร์ให้มีทักษะ<br />

และความสามารถในการปฏิบัติการทางไซเบอร์ ตลอดจน<br />

เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างผู้เข้าร่วมการแข่งขันฯ โดยมี<br />

ทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น จำนวน ๑๐ ทีม ประกอบด้วย<br />

<strong>สป</strong>. ๑ ทีม, บก.ทท. ๒ ทีม, ทบ. ๑ ทีม, ทร. ๒ ทีม, ทอ. ๒ ทีม,<br />

สทป. ๑ ทีม และ จปร. ๑ ทีม ทั้งนี้ผลการแข่งขันทีม <strong>สป</strong>.<br />

(ทสอ.กห.) ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ ๔<br />

๕.๑๓ ปล.กห. กรุณาให้ความเห็นชอบสิทธิ์การใช้งาน<br />

ระบบเฝ้าระวังข้อมูลในสังคมออนไลน์ให้กับหน่วยงานต่างๆ<br />

จำนวน ๑๑๑ บัญชีประกอบด้วย หน่วยงานภายใน <strong>สป</strong>. จำนวน<br />

๘๕ บัญชี และหน่วยงานภายนอก <strong>สป</strong>. จำนวน ๒๖ บัญชี<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังพลของหน่วยต่างๆ ที่ได้รับ<br />

สิทธิ์การใช้งานระบบฯ ทำหน้าที่เฝ้าตรวจการล่วงละเมิด<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และจัดทำ<br />

รายงานให้รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการต่อไป รวมทั้ง ทสอ.กห.<br />

เป็นหน่วยรับผิดชอบดูแลระบบ โดยสามารถบริหารจัดการ<br />

ฐานข้อมูลและประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของผู้ร่วมใช้งาน<br />

ระบบฯ ได้โดยตรง ในการเพิ่ม เปลี่ยนแปลง ระงับ ยกเลิก<br />

สิทธิ์การใช้งานได้ตามความเหมาะสมหากไม่มีการเข้าใช้งาน<br />

๕.๑๔ การวางแผน เตรียมการ และตรวจสอบข้อมูล<br />

ทางเทคนิค เพื่อรองรับการจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR)<br />

สำหรับงานพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติการไซเบอร์<br />

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑<br />

ได้ดำเนินการพิสูจน์แนวคิด (Proof of Concept:<br />

POC) สำหรับงานพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติการ<br />

ไซเบอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ โดยได้เชิญ<br />

บริษัทต่างๆ เข้าร่วมทดสอบการทำงานจริงของผลิตภัณฑ์<br />

ในห้วง ๑๒ ก.ค. - ๒๘ ส.ค.๖๐ ณ ทสอ.กห. เพื่อให้ทราบถึง<br />

คุณลักษณะและขีดความสามารถของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้<br />

ผลจากการพิสูจน์แนวคิด (POC) ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์<br />

ต่อการปรับปรุงร่างขอบเขตของงาน (TOR) สำหรับงานพัฒนา<br />

ขีดความสามารถการปฏิบัติการไซเบอร์ ประจำปีงบประมาณ<br />

พ.ศ.๒๕๖๑ ให้มีความทันสมัยและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อ<br />

ทางราชการต่อไป<br />

136


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สสน.<strong>สป</strong>.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่สนับสนุนทางการส่งกำลังและซ่อมบำรุง การขนส่ง<br />

การบริการทางการแพทย์ การบริการ การโยธาธิการ การควบคุมดูแล<br />

อสังหาริมทรัพย์ กิจการดุริยางค์ กิจการโรงพิมพ์ของสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับการที่ดินของกระทรวงกลาโหม และ<br />

ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลโท อภิชาต อุ่นอ่อน<br />

ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. ให้การสนับสนุน นถปภ.รอ.<br />

ด้านการส่งกำลังบำรุง ทั้งการสนับสนุนยานพาหนะ<br />

ดำเนินกรรมวิธีในการจัดหาเครื่องแบบทหาร เครื่องประกอบ<br />

๑.๑ การดำเนินกรรมวิธีในการจัดหาเครื่องแบบทหาร เครื่องประกอบการแต่งกาย<br />

การแต่งกาย และการสนับสนุนอื่นๆ ตามที่ รอ.นถปภ.รอ.<br />

ร้องขออย่างต่อเนื่อง สรุปได้ดังนี้<br />

137


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๑.๒ การขนส่ง<br />

๑.๒.๑ ได้รับโอนรถยนต์จาก รอ.นถปภ.รอ.<br />

จำนวน ๒๘๒ คัน และดำเนินการดังนี้<br />

- รอ.นถปภ.รอ. ขอรับการสนับสนุน จำนวน<br />

๑๓๓ คัน<br />

- สสน.<strong>สป</strong>. รับผิดชอบ จำนวน ๓๖ คัน<br />

- โอนให้ สร. และ นขต.<strong>สป</strong>. จำนวน<br />

๕๗ คัน<br />

- จำหน่ายด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนหรือ<br />

วิธีการขาย จำนวน ๕๖ คัน<br />

๑.๒.๒ ดำเนินการจดทะเบียนยานพาหนะ<br />

ซ่อมบำรุงยานยนต์ ควบคุมการใช้รถยนต์ในการสนับสนุนการ<br />

ปฏิบัติภารกิจพิเศษ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย<br />

๒. การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง<br />

การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้กับ <strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา,<br />

สพร.กห., สสน.<strong>สป</strong>., สยธ.สสน.<strong>สป</strong>., สนพ.สสน.<strong>สป</strong>. และ<br />

รอ.นภปภ.รอ.) ซึ่งผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในห้วง<br />

ปีงบประมาณ ๖๐ มีโครงการงานที่สำคัญ ดังนี้<br />

๒.๑ โครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย พร้อม<br />

สิ่งอำนวยความสะดวก (พื้นที่ศรีสมาน) เป็นโครงการผูกพัน<br />

ข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๓ วงเงินตามสัญญา<br />

๙๔๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๒๙ มี.ค.๖๐<br />

๒.๒ โครงการพัฒนาและปรับปรุงอาคารพักอาศัยและ<br />

สิ่งอำนวยความสะดวกของ <strong>สป</strong>. แบ่งออกเป็น<br />

๒.๒.๑ งานปรับปรุงอาคารพักอาศัยนายทหาร<br />

ประทวน <strong>สป</strong>. (พื้นที่แจ้งวัฒนะ) วงเงินตามสัญญา<br />

๑๗,๘๗๕,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๑๕ ก.พ.๖๐<br />

๒.๒.๒ งานปรับปรุงอาคารพักอาศัยนายทหาร<br />

สัญญาบัตร <strong>สป</strong>. (พื้นที่แจ้งวัฒนะ) วงเงินตามสัญญา<br />

๑๘,๙๘๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๑๕ ก.พ.๖๐<br />

๒.๒.๓ งานปรับปรุงอาคารพักอาศัย <strong>สป</strong>. (พื้นที่<br />

บางจาก) วงเงินตามสัญญา ๑๗,๒๘๐,๐๐๐ บาท ลงนาม<br />

ในสัญญาเมื่อ ๑๕ ก.พ.๖๐<br />

๒.๓ โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย<br />

พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก พัน สห.<strong>สป</strong>. (ระยะที่ ๘) วงเงิน<br />

ตามสัญญา ๖,๓๐๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ<br />

๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๔ งานปรับปรุงอาคารศาลาว่าการกลาโหม วงเงิน<br />

ในสัญญา ๗,๙๑๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ<br />

๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๕ งานปรับปรุงอาคารพักอาศัย <strong>สป</strong>. (พื้นที่ศรีสมาน)<br />

วงเงินในสัญญา ๒,๓๕๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ<br />

๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๖ งานปรับปรุงอาคารพักอาศัย <strong>สป</strong>. (พื้นที่พระราม ๕)<br />

วงเงินในสัญญา ๓,๑๕๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ<br />

๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๗ งานปรับปรุงอาคารพักอาศัย (พื้นที่ประชาชื่น)<br />

วงเงินในสัญญา ๖,๘๙๕,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ<br />

๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๘ งานปรับปรุงอาคารสำนักงาน และระบบจ่าย<br />

กระแสไฟฟ้าภายนอก (พื้นที่ประชาชื่น) วงเงินในสัญญา<br />

๓,๘๙๙,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙ งานเสริมสร้างปรับปรุงอาคารและสิ่งก่อสร้าง <strong>สป</strong>.<br />

แบ่งออกเป็น<br />

๒.๙.๑ งานก่อสร้างหลังคาคลุมทางเดิน พื้นที่<br />

ศรีสมาน (เพิ่มเติม) วงเงินในสัญญา ๙๔๐,๐๐๐ บาท ลงนาม<br />

ในสัญญาเมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙.๒ งานปรับปรุงอาคาร กบก.สสน.<strong>สป</strong>. เป็น<br />

อาคารอเนกประสงค์ พื้นที่ประชาชื่น วงเงินในสัญญา<br />

๑,๙๘๕,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙.๓ งานปรับปรุงห้องตัดผม, คลัง สลก.<strong>สป</strong>., สยธ.<br />

สสน.<strong>สป</strong>. (ส่วนหน้า) และห้องแถลงข่าว ชั้น ๑ ศาลาว่าการ<br />

กลาโหม วงเงินในสัญญา ๑,๒๙๗,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญา<br />

เมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙.๔ งานปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบไฟฟ้า<br />

แสงสว่างภายในศาลาว่าการกลาโหม วงเงินในสัญญา<br />

๑,๘๘๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙.๕ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม วงเงินในสัญญา ๑,๙๓๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญา<br />

๒๘ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙.๖ งานปรับปรุง พัน สห.<strong>สป</strong>. วงเงินในสัญญา<br />

๔๗๔,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๒๘ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙.๗ งานปรับปรุงห้อง ปษ.ปล.กห., ห้อง หน.สนง.<br />

รอง ปล.กห.๔ และกองรักษาการณ์ ศาลาว่าการกลาโหม<br />

วงเงินในสัญญา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ<br />

๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๙.๘ งานปรับปรุงพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย และ<br />

ทาสีเส้นจราจร ศาลาว่าการกลาโหม วงเงินในสัญญา<br />

๓๗๖,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

138


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒.๙.๙ งานปรับปรุง สง.ปล.กห. ชั้น ๒ และต่อเติม<br />

ห้องเวร ศปก.กห.ชั้น ๓ ศาลาว่าการกลาโหม วงเงินในสัญญา<br />

๓๖๑,๐๐๐ บาท ลงนามในสัญญาเมื่อ ๒๙ ธ.ค.๕๙<br />

๒.๑๐ งานจ้างเหมาบริการต่อเนื่อง จำนวน ๓๔ รายการ<br />

๒.๑๑ การจัดหาเครื่องแบบและเครื่องประกอบเครื่อง<br />

แต่งกายของนายทหารชั้นนายพล<br />

๒.๑๒ การจัดหาเครื่องแบบและเครื่องประกอบเครื่อง<br />

แต่งกายของ <strong>สป</strong>. (ส่วนบังคับบัญชา), สพร.กห., สสน.<strong>สป</strong>.,<br />

สยธ.สสน.<strong>สป</strong>. และ สนพ.สสน.<strong>สป</strong>.<br />

๒.๑๓ การจัดหาเครื่องแบบและเครื่องประกอบเครื่อง<br />

แต่งกายของ รอ.นภปภ.รอ.<br />

๒.๑๔ การจัดหาพัสดุ ครุภัณฑ์สนับสนุนตามภารกิจ<br />

ของหน่วย<br />

๓. การดำเนินการด้านพัสดุ<br />

มีงานที่สำคัญ ดังนี้<br />

๓.๑ จำหน่วยยานพาหนะโดยการขายทอดตลาด จำนวน<br />

๗ รายการ<br />

๓.๒ จำหน่ายสิ่งปลูกสร้างออกจากทะเบียนที่ราชพัสดุ<br />

๓.๓ จำหน่วยวัสดุที่ได้จากการรื้อถอน ๔ พื้นที่<br />

๔. การดำเนินการด้านการบริการ<br />

๔.๑ การขนส่ง<br />

- จัดรถยนต์สนับสนุนเป็นส่วนรวมให้กับ <strong>สป</strong>.<br />

(ส่วนบังคับบัญชา) และ นขต.<strong>สป</strong>. ตามที่ได้รับการร้องขอ<br />

- จัดรถยนต์โดยสารขนาดใหญ่ สำหรับสวัสดิการ<br />

รับ - ส่งข้าราชการและลูกจ้างที่พักอาศัยในอาคารที่พักอาศัย<br />

ของ <strong>สป</strong>. ในพื้นที่ต่างๆ มายังสถานที่ปฏิบัติงาน จำนวน<br />

๙ คัน เป็นประจำทุกวันราชการ<br />

๔.๒ การโภชนาการ<br />

- ดำเนินการจัดเลี้ยงเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น<br />

การประชุม สภากลาโหม, การประชุม หน.นขต.<strong>สป</strong>. และ<br />

งานพิธีต่างๆ ตามที่ได้รับการร้องขอ<br />

๔.๓ การบริการ<br />

- ดำเนินการเกี่ยวกับการบริการ การจัดสถานที่<br />

และการรักษาความสะอาดของอาคารสถานที่ที่อยู่ใน<br />

ความรับผิดชอบ<br />

๔.๔ กิจการโรงพิมพ์<br />

- ดำเนินการจัดพิมพ์เอกสารให้กับ นขต.<strong>สป</strong>. โดย<br />

สามารถประหยัดงบประมาณของทางราชการในการจ้างพิมพ์<br />

จากภายนอก สำหรับงานพิมพ์ที่สำคัญ เช่น หนังสือที่ระลึก<br />

งานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของ กห. เป็นต้น<br />

139


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐” เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๖๐,<br />

๐๘๓๐ - ๑๕๐๐ ณ ห้องประชาชื่น ชั้น ๖ อาคาร สสน.<strong>สป</strong>.<br />

๕.๔ สสน.<strong>สป</strong>. ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานที่ได้รับ<br />

คะแนน สูงสุดในการดำเนินกิจกรรม ๕ ส “ระดับดีมาก”<br />

โดยมีผลคะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน เป็นลำดับที่ ๑ ของ <strong>สป</strong>.<br />

๔.๕ กิจการดุริยางค์<br />

- จัดวงโยธวาทิต สำหรับเดินนำแถวทหารใน<br />

โอกาสต่างๆ เช่น พิธีเปิด - ปิดกีฬาภายใน <strong>สป</strong>. และงานพิธี<br />

สำคัญต่างๆ (พิธีรับ - ส่งหน้าที่, พิธีวางศิลาฤกษ์) เป็นต้น<br />

- จัดวงหัสดนตรี บรรเลงในงานเลี้ยงต่างๆ ให้กับ<br />

หน่วยที่ขอรับการสนับสนุน<br />

๕. การดำเนินงานอื่นๆ<br />

๕.๑ การจัดเตรียมความพร้อมในการบรรเทาภัยพิบัติ<br />

ต่างๆ โดยการจัดเตรียมชุดปฏิบัติการ จำนวน ๒ ชุด คือ<br />

ชุดเข้าช่วยเหลือกู้ภัยจาก สยธ.สสน.<strong>สป</strong>. และชุดรักษา<br />

พยาบาลจาก สนพ.สสน.<strong>สป</strong>.<br />

๕.๒ การศึกษาดูงานด้านการบริการอาหาร, เครื่องดื่ม<br />

และเทคนิคการให้บริการด้านอื่นๆ ณ โรงเรียนการโรงแรม<br />

และท่องเที่ยว รีเจ้นท์ ชะอำ จ.เพชรบุรี ระหว่าง ๒๓ - ๒๔<br />

มี.ค.๖๐<br />

๕.๓ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การดำเนินการ<br />

ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง<br />

๕.๕ จัดทำองค์ความรู้ของหน่วย เรื่อง การดำเนินการ<br />

ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัด<br />

จ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.๒๕๖๐ โดย สสน.<strong>สป</strong>.<br />

ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ในการประกวดการจัดการ<br />

ความรู้ของ <strong>สป</strong>. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

รายละเอียดผลการดำเนินงานที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

การจัดซื้อจัดจ้าง<br />

ลำดับ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง รวมจำนวนเรื่อง รวมวงเงิน (บาท) หมายเหตุ<br />

๑ ตกลงราคา ซื้อ ๔๐๗ ๒๐,๕๑๙,๖๒๐.๘๖<br />

จ้าง ๒๑๐ ๑๗,๔๕๑,๐๑๗.๙๘<br />

เช่า ๙ ๑,๖๘๕,๐๖๕.๐๐<br />

๒ สอบราคา ซื้อ ๒ ๒,๗๙๗,๑๒๙.๐๐<br />

จ้าง ๘ ๑๐,๓๓๘,๕๒๖.๐๐ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๙<br />

เช่า ๐ ๐.๐๐ ถึง ๒๒ ส.ค.๖๐<br />

๓ e-Bidding ซื้อ ๐ ๐.๐๐<br />

จ้าง ๑๒ ๑,๐๔๓,๓๖๑,๐๗๕.๘๔<br />

เช่า ๐ ๐.๐๐<br />

140


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

การจัดซื้อจัดจ้าง (ต่อ)<br />

ลำดับ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง รวมจำนวนเรื่อง รวมวงเงิน (บาท) หมายเหตุ<br />

๔ วิธีพิเศษ ซื้อ ๖ ๔๘,๘๑๒,๐๗๔.๑๑<br />

จ้าง ๑๕ ๕๖,๕๓๙,๑๙๔.๐๐<br />

เช่า ๐ ๐.๐๐ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๙<br />

๕ วิธีกรณีพิเศษ ซื้อ ๑๙ ๓๑๖,๖๐๙.๘๗ ถึง ๒๒ ส.ค.๖๐<br />

จ้าง ๑ ๑,๘๕๔,๙๑๒.๐๐<br />

เช่า ๐ ๐.๐๐<br />

รวมทั้งสิ้น ๖๘๙ ๑,๒๐๑,๖๗๕,๒๒๔.๖๖<br />

รวมทั้งสิ้น ๖๘๙ ๑,๒๐๑,๖๗๕,๒๒๔.๖๖<br />

การจัดซื้อจัดจ้างหลัง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

(มีผลบังคับใช้ วันที่ ๒๓ ส.ค.๖๐)<br />

ลำดับ วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง รวมจำนวนเรื่อง รวมวงเงิน (บาท) หมายเหตุ<br />

๑ e-Bidding ซื้อ ๐ ๐.๐๐<br />

จ้าง ๐ ๐.๐๐<br />

เช่า ๐ ๐.๐๐<br />

๒ คัดเลือก ซื้อ ๓ ๒,๙๙๘,๒๐๐.๐๐<br />

จ้าง ๐ ๐.๐๐ ตั้งแต่ ๒๓ ส.ค.๖๐<br />

เช่า ๐ ๐.๐๐ ถึง ๒๒ ก.ย.๖๐<br />

๓ เฉพาะเจาะจง ซื้อ ๘๖ ๒,๗๔๒,๙๓๘.๗๒<br />

จ้าง ๓๓ ๘,๖๗๙,๕๗๙.๖๓<br />

เช่า ๐ ๐.๐๐<br />

รวมทั้งสิ้น ๑๒๒ ๑๔,๔๒๐,๗๑๘.๓๕<br />

ตารางสรุปการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง<br />

141


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักโยธาธิการ<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สยธ.สสน.<strong>สป</strong>.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่เสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแล<br />

และดำเนินการเกี่ยวกับการโยธาธิการ การควบคุมดูแลอสังหาริมทรัพย์ของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำเนินการสำรวจออกแบบก่อสร้างและ<br />

ประมาณการ จัดสร้างและซ่อมบำรุงสิ่งก่อสร้างและงานสาธารณูปโภค<br />

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำเนินการเกี่ยวกับการที่ดินของ<br />

กระทรวงกลาโหม ในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจพิเศษ และปฏิบัติงาน<br />

อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้อำนวยการสำนักโยธาธิการ สำนักงาน<br />

สนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลตรี พุฒิประสิทธิ์ จิระมะกร<br />

ผู้อำนวยการสำนักโยธาธิการ<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

งานก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสถานที่<br />

๑. งานก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสำนักงาน<br />

๑.๑ งบประมาณต่อเนื่อง<br />

๑.๑.๑ โครงการก่อสร้างอาคารบริการพร้อม<br />

สิ่งอำนวยความสะดวกของ <strong>สป</strong>. (พื้นที่ศรีสมาน) (งบลงทุนฯ)<br />

งบผูกพัน ๔ ปี (๕๘ - ๖๑) รวม ๙๔๗,๙๙๕,๐๐๐ บาท<br />

ปี ๕๘ จำนวน ๑๔๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท<br />

ปี ๕๙ จำนวน ๒๖๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท<br />

ปี ๖๐ จำนวน ๓๒๘,๖๙๖,๒๐๐ บาท<br />

ปี ๖๑ จำนวน ๒๑๓,๒๙๘,๘๐๐ บาท<br />

(กำหนดแล้วเสร็จ ๑๒ ม.ค.๖๑)<br />

142


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑.๑.๒. โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์<br />

พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกของ <strong>สป</strong>. (พื้นที่ศรีสมาน)(งบลงทุนฯ)<br />

งบผูกพัน ๔ ปี (๕๙ - ๖๒) รวม ๘๔๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท<br />

ปี ๕๙ จำนวน ๑๖๙,๒๘๐,๙๐๐ บาท<br />

ปี ๖๐ จำนวน ๒๘๘,๑๐๒,๑๐๐ บาท<br />

ปี ๖๑ จำนวน ๓๔๒,๗๒๖,๔๐๐ บาท<br />

ปี ๖๒ จำนวน ๔๔,๘๙๐,๖๐๐ บาท<br />

(กำหนดแล้วเสร็จ ๑๗ ก.ย.๖๑)<br />

๑.๒ งบประมาณปีเดียว<br />

๑.๒.๑ โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานและ<br />

ที่พักอาศัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก พัน สห.<strong>สป</strong>. (ระยะ<br />

ที่ ๘) วงเงิน ๖,๓๐๐,๐๐๐ บาท ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ<br />

- ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคภายนอก<br />

ส่วนที่เหลือ (ถนนพร้อมทางเท้า, ท่อระบายน้ำ, รั้วและ<br />

ไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับถนนส่วนที่เหลือ)<br />

๑.๒.๒ งานปรับปรุงอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

วงเงิน ๗,๙๑๐,๐๐๐ บาท ผลการดำเนินงานแล้วเสร็จ<br />

๑.๒.๓ งานก่อสร้างหลังคาคลุมทางเดินพื้นที่<br />

ศรีสมาน (เพิ่มเติม) วงเงิน ๙๔๐,๐๐๐ บาท<br />

๑.๒.๔ งานตกแต่งภายในอาคาร <strong>สป</strong>. พื้นที่ศรีสมาน<br />

ชั้น ๑ - ๗ วงเงิน ๕๓,๗๖๔,๒๐๐ บาท<br />

๑.๒.๕ งานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศาลาว่าการ<br />

กลาโหม วงเงิน ๑,๙๓๐,๐๐๐ บาท<br />

๑.๒.๖ งานปรับปรุงหอพระ <strong>สป</strong>. (พื้นที่ศรีสมาน)<br />

วงเงิน ๙๘๘,๐๐๐ บาท<br />

๒.๒ งบประมาณปีเดียว<br />

๒.๒.๑ งานปรับปรุงอาคารที่พักอาศัยนายทหาร<br />

สัญญาบัตร <strong>สป</strong>. (พื้นที่แจ้งวัฒนะ) วงเงิน ๑๘,๙๘๐,๐๐๐ บาท<br />

(กำหนดแล้วเสร็จ ๑๒ พ.ย.๖๐)<br />

๒.๒.๒ งานปรับปรุงอาคารที่พักอาศัยนายทหาร<br />

ประทวน <strong>สป</strong>. (พื้นที่แจ้งวัฒนะ) วงเงิน ๑๗,๘๗๕,๐๐๐ บาท<br />

(กำหนดแล้วเสร็จ ๑๒ ธ.ค.๖๐)<br />

๒.๒.๓ งานปรับปรุงอาคารที่พักอาศัย <strong>สป</strong>. (พื้นที่<br />

บางจาก) วงเงิน ๑๗,๒๘๐,๐๐๐ บาท (กำหนดแล้วเสร็จ<br />

๑๒ พ.ย.๖๐)<br />

๒.๒.๔ งานปรับปรุงอาคารพักอาศัย <strong>สป</strong>. (พื้นที่<br />

ประชาชื่น) วงเงิน ๖,๘๙๕,๐๐๐ บาท<br />

๒.๒.๕ งานปรับปรุงอาคารที่พักราชองครักษ์<br />

(อาคาร ๑/๔) พระตำหนักจิตรลดา วงเงิน ๒,๒๒๕,๐๐๐ บาท<br />

(กำหนดแล้วเสร็จ ๒๑ ก.ย.๖๐)<br />

การสนับสนุนงานของ <strong>สป</strong>.<br />

๑. จัดทำซุ้มถวายพระเกียรติและแสดงความอาลัย<br />

แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร เมื่อ ๕ ธ.ค.๕๙ พื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม<br />

พื้นที่ถนนประชาชื่น และพื้นที่ศรีสมาน<br />

๒. งานก่อสร้างและปรับปรุงที่พักอาศัย<br />

๒.๑ งบประมาณต่อเนื่อง<br />

- โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัย พร้อมสิ่ง<br />

อำนวยความสะดวกของ <strong>สป</strong>. (พื้นที่ศรีสมาน) (งบลงทุนฯ)<br />

วงเงินรวม ๙๔๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท ผูกพัน ๔ ปี ( ปี ๖๐ - ๖๓ )<br />

ปี ๖๐ จำนวน ๑๙๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท<br />

ปี ๖๑ จำนวน ๒๓๔,๖๗๗,๕๐๐ บาท<br />

ปี ๖๒ จำนวน ๓๘๓,๑๕๘,๗๕๐ บาท<br />

ปี ๖๓ จำนวน ๑๔๑,๑๖๓,๗๕๐ บาท<br />

(กำหนดแล้วเสร็จ ๑๓ มี.ค.๖๓)<br />

143


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒. ประดับธงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน<br />

ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราช<br />

สมภพ ๒ เม.ย.๖๐ และสนับสนุนการจัดพิธีวางพวงมาลา<br />

ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เนื่องในวันปิยมหาราช<br />

วันที่ ๒๓ ต.ค.๕๙ ณ อาคาร <strong>สป</strong>. (พื้นที่ศรีสมาน)<br />

๓. การจัดงานรวมพลังแห่งความภักดี เมื่อ ๒๒ พ.ย.๕๙<br />

ณ ถนนสนามไชย หน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

๔. งานพิธีทางศาสนา<br />

- พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของ กห. ประจำปี<br />

๒๕๕๙ เมื่อ ๓ พ.ย.๕๙ ณ วัดชิโนรสรามวรวิหาร<br />

- งานกิจกรรมพัฒนาวัด พัฒนาจิต เทิดทูนสถาบัน<br />

พระมหากษัตริย์ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ<br />

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อ ๒๔<br />

พ.ย.๕๙ ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร<br />

- โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเพื่อถวายเป็น<br />

พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล<br />

อดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ<br />

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาส<br />

วันคล้ายวันพระราชสมภพ ระหว่าง ๑๕ - ๒๑ มี.ค.๖๐<br />

ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร<br />

- พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล, พิธี<br />

ทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสวันเฉลิม<br />

พระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา (๑๒ ส.ค.๖๐) และพิธีลงนาม<br />

ถวายพระพร เมื่อ ๑๑ ส.ค.๖๐ ณ ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๕. พิธีเททองหล่อและพิธีพุทธาภิเษก “พระพุทธไตร<br />

เสนากลาโหมพิทักษ์” เมื่อ ๒๒ ก.พ.๖๐ ณ วัดปริวาส<br />

ราชสงคราม และพิธีสมโภช “พระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์”<br />

เมื่อ ๓๐ พ.ค.๖๐ พื้นที่ศรีสมาน<br />

๖. สนับสนุน สนผ.กห. ซ่อมและเปลี่ยนกล้องโทรทัศน์<br />

วงจรปิด ภายในอาคารศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๑ ม.ค.๖๐<br />

งานที่ดินและอสังหาริมทรัพย์<br />

๑. รอง ปล.กห.(๓)/หัวหน้าคณะทำงานแก้ไขปัญหา<br />

การบุกรุกที่ดินในความครอบครอง ดูแล ใช้ประโยชน์ ของ<br />

หน่วยงานทางทหาร และคณะทำงานฯ เดินทางตรวจพื้นที่<br />

บุกรุกที่ดินภาคเหนือ สถานีวิทยุ เอ.เอ็ม.เชียงใหม่ ต.ดอนแก้ว<br />

อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้ยุติปัญหาการบุกรุกที่ดิน<br />

ดังกล่าวแล้ว โดยมีการบันทึกข้อตกลงระหว่างสถานีวิทยุ<br />

เอ.เอ็ม.เชียงใหม่ (<strong>สป</strong>.) กับคณะกรรมการหมู่บ้าน<br />

พระเจ้านั่งโก๋น เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการรุกล้ำที่ดิน<br />

ของสถานีวิทยุ เอ.เอ็ม.เชียงใหม่ และทั้งสองฝ่ายได้<br />

ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานรับทราบบันทึกข้อตกลง ปัจจุบัน<br />

สถานีวิทยุ เอ.เอ็ม.เชียงใหม่ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง<br />

รั้วเรียบร้อยแล้ว<br />

144


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒. รอง ปล.กห.(๑)/หัวหน้าคณะทำงานแก้ไขปัญหา<br />

การบุกรุกที่ดินในความครอบครอง ดูแล ใช้ประโยชน์<br />

ของหน่วยงานทางทหาร และคณะทำงานฯ เดินทางเพื่อติดตาม<br />

และประเมินผลการบุกรุกที่ดินทางทหาร พื้นที่ภาคใต้ จว.ร.น.<br />

(ร.๒๕ พัน.๒ ค่ายรัตนรังสรรค์), (ทรภ.๓ เกาะพยาม) และ<br />

ฐานทัพเรือพังงา ซึ่งคณะทำงานได้ร่วมกับหน่วยทหารในพื้นที่<br />

ตรวจพื้นที่การบุกรุกและร่วมประชุมหารือกับหน่วยทหารและ<br />

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อหาข้อยุติและแนวทาง<br />

การแก้ไขปัญหาการบุกรุกให้หน่วยดำเนินการต่อไป<br />

๓. การจัดทำร่างคู่มือการปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไข<br />

ปัญหาการบุกรุกที่ดินในความครอบครอง ดูแล ใช้ประโยชน์<br />

ของหน่วยงานทางทหาร โดยมีการจัดประชุมย่อย ๓ ครั้ง<br />

และสัมมนา ๑ ครั้ง ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น<br />

กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงาน บก.ทท., ทบ.,<br />

ทร., ทอ., อผศ. และ <strong>สป</strong>. เพื่อให้หน่วยทหารของ กห. ร่วมกัน<br />

แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำร่างคู่มือ<br />

การแก้ไขปัญหาฯ ตามแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหา<br />

การบุกรุกที่ดินของ กห. ที่ รมว.กห. ได้อนุมัติไว้<br />

145


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักงานแพทย์<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สนพ.สสน.<strong>สป</strong>.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ ครอบคลุมถึงการตรวจรักษา<br />

ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รวมถึงการบริการทางทันตกรรม กายภาพบำบัด<br />

แพทย์ทางเลือก ให้กำลังพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ<br />

ครอบครัว รวมถึงประชาชนทั่วไป และเป็นฝ่ายอำนวยการด้านการแพทย์<br />

ให้กับปลัดกระทรวงกลาโหม มีผู้อำนวยการสำนักงานแพทย์ สำนักงาน<br />

สนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลตรี ต่างแดน พิศาลพงศ์<br />

ผู้อำนวยการสำนักงานแพทย์<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. การให้บริการทางการแพทย์<br />

ณ ที่ตั้งหน่วยในศาลาว่าการกลาโหม และอาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

146


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๒. สถิติการให้บริการทางการแพทย์โดยแยกประเภทผู้ป่วย ดังนี้<br />

สถิติการให้บริการทางการแพทย์โดยแยกประเภทการเข้ารับการรักษา ดังนี้<br />

๓. การจัดหน่วยแพทย์และทันตกรรมเคลื่อนที่<br />

๓.๑ การบริการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และการบริการ<br />

หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ ณ นขต.<strong>สป</strong>.<br />

147<br />

๔. ดำเนินกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา<br />

เอดส์ของ <strong>สป</strong>.<br />

๔.๑ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการให้<br />

คำปรึกษา และแนะนำการปฏิบัติตัวให้ห่างไกลเอดส์สำหรับ<br />

กำลังพลสายแพทย์” ณ บ้านอ้อมกอดขุนเขา อ.สวนผึ้ง<br />

จ.ราชบุรี เมื่อ ๔ - ๕ ก.พ.๖๐


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๕. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่กำลังพล <strong>สป</strong>.<br />

๔.๒ การฝึกอบรมให้ความรู้ในการป้องกันและแก้ไข<br />

ปัญหาเอดส์ให้กับบุคลากรของ <strong>สป</strong>. พื้นที่ศรีสมาน ณ ห้องรับรอง<br />

แขกต่างประเทศ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) เมื่อ ๒๘ มี.ค.๖๐<br />

และอาคารศาลาว่าการกลาโหม ณ ห้องพินิตประชานาถ<br />

เมื่อ ๒๓ มิ.ย.๖๐<br />

๔.๓ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การลดความเสี่ยง<br />

การติดเชื้อเอชไอวีในกำลังพล <strong>สป</strong>. ที่ปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือ<br />

ประชาชน” ณ ห้องหลักเมือง ๒ เมื่อ ๑๒ ก.ค.๖๐<br />

๔.๔ ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานบูรณาการป้องกัน<br />

ปราบปรามและบำบัดผู้ติดยาเสพติด<br />

๕.๑ การตรวจสุขภาพประจำปี ๒๕๖๐ เมื่อ ๑๐ - ๒๔<br />

ก.พ.๖๐<br />

๕.๒ การตรวจสุขภาพประจำปีครอบครัวกำลังพล <strong>สป</strong>.<br />

ในโครงการ “ครอบครัวพอเพียง” ณ อาคารอเนกประสงค์<br />

บ้านพักข้าราชการ <strong>สป</strong>. (พื้นที่บางจาก) เมื่อ ๑๖ ก.ย.๖๐<br />

๕.๓ กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รู้โรค บริโภคดี<br />

มีวินัย ใส่ใจการออกกำลังกาย ต้านภัย NCDS” ณ ห้องพินิต<br />

ประชานาถ เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๙ และห้องประชุม ศอพท.<br />

อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) เมื่อ ๓๑ ส.ค.๖๐ โดยมีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อให้กำลังพลที่เข้าร่วมโครงการ “รู้โรค บริโภคดี มีวินัย<br />

ใส่ใจออกกำลังกาย ต้นภัย NCDS” ได้รับความรู้<br />

เพิ่มเติม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการบริโภค และ<br />

การออกกำลังกาย เพื ่อป้องกัน/แก้ไขปัญหาน้ำหนักเกิน,<br />

อ้วน/อ้วนลงพุง รวมถึงผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน<br />

โดยการเข้าร่วมการแข่งขันในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ<br />

และนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมงาน สมาชิก<br />

ในครอบครัวต่อไป<br />

๕.๔ กิจกรรม “องค์กรจอมขยับ” ออกกำลังกายต่อเนื่อง<br />

ทุกวันพุธ โดยจัดขึ้นใน ๓ พื้นที่ ได้แก่ ศาลาว่าการกลาโหม,<br />

รภท.ศอพท. และ อท.ศอพท.<br />

148


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๖. ให้การดูแลสุขภาพทหารกองประจ ำการ พัน สห.<strong>สป</strong>.<br />

กิจกรรม “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจ พัน สห.”<br />

๖.๑ การอบรมครูฝึกทหารใหม่<br />

และการตรวจคัดกรองทหารใหม่<br />

ผลัด ๑ ประจำปี ๒๕๖๐<br />

๖.๒ การตรวจคัดกรองทหาร<br />

ใหม่<br />

๗. สร้างเสริมสุขภาพแก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ <strong>สป</strong>.<br />

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๖๐ ของชมรมผู้สูงอายุ<br />

<strong>สป</strong>. และทัศนศึกษาเชิงสุขภาพ ณ ศูนย์ฝึกศึกษาบุคลากร<br />

ด้านปิโตรเลียมและพลังงานทหาร <strong>สป</strong>. หาดพลา จ.ระยอง<br />

เมื่อ ๒๗ - ๒๘ เม.ย.๖๐<br />

๘. ภารกิจสนับสนุน และอื่นๆ<br />

๘.๑ สนับสนุนการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย เพื่อ<br />

เลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวน<br />

ประจำปี ๒๕๖๐<br />

๘.๒ สนับสนุนการทดสอบสมรรถภาพร่างกายข้าราชการ<br />

ลูกจ้าง และพนักงานราชการ สังกัด <strong>สป</strong>. ประจำปี ๒๕๖๐<br />

๘.๓ กิจกรรม “รณรงค์ลดอุบัติเหตุในช่วยเทศกาล<br />

สงกรานต์ ๒๕๖๐” รวท.ศอพท. เมื่อ ๑๑ - ๑๗ เม.ย.๖๐<br />

๘.๔ ตรวจสุขาภิบาลอาหาร ภายในสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ณ ศาลาว่าการกลาโหม<br />

๙. กิจกรรมตามนโยบายผู้บังคับบัญชา<br />

๙.๑ การให้บริการทางการแพทย์และช่วยเหลือประชาชน<br />

ที่มาแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร<br />

๙.๒ การให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ที่มาร่วมพิธีถวาย<br />

ดอกไม้จันทน์ และพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ<br />

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร<br />

๙.๓ โครงการรณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันโรคปอดบวม<br />

และโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล<br />

แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร<br />

๙.๔ กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติของ <strong>สป</strong>. ประจำปี<br />

๒๕๖๐ เมื่อ ๑๔ ม.ค.๖๐<br />

๙.๕ การอบรม “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ<br />

การจัดการเมื่อเกิดอัคคีภัย” ณ ศพปน.พท.ศอพท. เมื่อ<br />

๒๒ ก.พ.๖๐<br />

๙.๖ สนับสนุนทางการแพทย์ในกิจกรรม “สานสัมพันธ์<br />

จากใจ ทหารไทยกับประชาชน” ณ ชุมชนสามแพร่ง, หมู่บ้าน<br />

มิตรประชา, วัดมหรรณพารามวรวิหาร, พื้นที่ศรีสมาน และ<br />

หมู่บ้านมิตรประชา เมื่อ ๒๖ ก.ค.๖๐<br />

๙.๗. จัดกิจกรรม “สานสัมพันธ์จากใจ ทหารไทย<br />

กับประชาชน” ณ พื้นที่ศรีสมาน และหมู่บ้านมิตรประชา<br />

วัดมหรรณพารามวรวิหาร<br />

149


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม (สตน.กห.)<br />

ภารกิจ : มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในให้แก่<br />

ส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานรัฐมนตรี<br />

ตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน<br />

ของทางราชการ ตรวจสอบการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม พิจารณาความรับผิดชอบของข้าราชการในทางแพ่ง<br />

และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบ<br />

ภายในกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ<br />

พลตรี ภราดร จินดาลัทธ<br />

ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม<br />

สรุปผลการปฏิบัติงานที ่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐<br />

๑. งานตามภารกิจหน่วย<br />

การตรวจสอบภายใน, การตรวจการปฏิบัติราชการ<br />

และอาคารที่พักอาศัย, การตรวจสอบภายในระดับกระทรวง<br />

และการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ดังนี้<br />

๑.๑ การตรวจสอบภายใน ตามแผนการตรวจสอบภายใน<br />

ประจำปีงบประมาณ ๖๐ ของ สตน.กห. ให้แก่ส่วนราชการ<br />

ใน <strong>สป</strong>. และ สร. ดังนี้<br />

๑.๑.๑ ตรวจสังเกตการณ์การตรวจนับพัสดุ<br />

ประจำปีและตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายปี ประจำปี<br />

งบประมาณ ๕๙ จำนวน ๒๐ หน่วย ใน ต.ค.๕๙<br />

150


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

๑.๒.๑ ตรวจการปฏิบัติราชการ ด้านการรักษา<br />

ความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล เอกสาร และสถานที่,<br />

งานสารบรรณ, การป้องกันและระงับอัคคีภัย, สายกำลังพล,<br />

ยานพาหนะ และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย<br />

จำนวน ๒๔ หน่วย ได้แก่ สม., ศอว.ศอพท., พท.ศอพท.,<br />

ศพปน.พท.ศอพท., สน.ปล.กห., ธน., สงป.กห., สลก.<strong>สป</strong>.,<br />

สนผ.กห., สร., อท.ศอพท., รวท.อท.ศอพท., สสน.<strong>สป</strong>.,<br />

สยธ.สสน.<strong>สป</strong>., สนพ.สสน.<strong>สป</strong>., ศวพท.วท.กห., รภท.ศอพท.,<br />

ทสอ.กห., วท.กห., กง.กห., ศอพท., กกส.กห., สพร.กห.<br />

และ สตน.กห.<br />

๑.๑.๒ ตรวจสอบด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ<br />

และทรัพย์สิน การควบคุมงบประมาณเฉพาะการเบิกจ่ายเงิน<br />

การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การสอบทานการประเมิน<br />

ความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน เงินทุนหมุนเวียน<br />

และเงินอุดหนุน ในครั้งที่ ๑ ให้แก่หน่วยรับตรวจ จำนวน<br />

๒๐ หน่วย ได้แก่ สร., สน.ปล.กห., สลก.<strong>สป</strong>., สนผ.กห.,<br />

สม., สงป.กห., ธน., ศอพท., พท.ศอพท., อท.ศอพท.,<br />

รวท.อท.ศอพท., รภท.ศอพท., ศอว.ศอพท., กง.กห., กกส.กห.,<br />

วท.กห., ศวพท.วท.กห., ทสอ.กห., สสน.<strong>สป</strong>. และ สตน.กห.<br />

และครั้งที่๒ ตรวจหัวข้อเดียวกับครั้งที่๑ (ยกเว้นการสอบทาน<br />

การประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน)<br />

๑.๑.๓ ตรวจสอบการดำเนินงานที่มีผลการประเมิน<br />

ความเสี่ยงสูงสุด ๒ ลำดับแรก จากโครงการทั้งหมด จำนวน<br />

๓๕ โครงการ/งาน ที่นำมาจัดลำดับความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติ<br />

การตรวจสอบภายใน เรื่อง การประเมินความเสี่ยงเพื่อวางแผน<br />

การตรวจสอบของกรมบัญชีกลาง ดังนี้<br />

๑.๑.๓.๑ โครงการจัดหาเครื่องจักรเพื่อ<br />

ทดแทนและการขยายกำลังการผลิตของ รภท.ศอพท.<br />

๑.๑.๓.๒ โครงการขยายขีดความสามารถ<br />

ในการผลิตดินส่งลูกระเบิดจากเครื่องยิงลูกระเบิด (ระยะที่ ๒)<br />

ของ รวท.อท.ศอพท.<br />

๑.๑.๔ ตรวจสอบสารสนเทศ ในเรื่องการควบคุม<br />

ทั่วไป และตามประกาศ <strong>สป</strong>. ลง ๑๖ ก.พ.๕๙ เรื่อง นโยบาย<br />

และแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ<br />

โดยกรรมการตรวจสอบสารสนเทศของ สตน.กห. และ<br />

ผู้เชี่ยวชาญจาก ทสอ.กห. เข้าร่วมในการตรวจสอบฯ<br />

๑.๒ การตรวจการปฏิบัติราชการและอาคารที่พักอาศัย<br />

ตามแผนการตรวจการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ ๖๐<br />

มีดังนี้<br />

การรักษาความปลอดภัย<br />

งานสารบรรณ<br />

การป้องกันและระงับอัคคีภัย<br />

151


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

สายกำลังพล ยานพาหนะ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย<br />

๑.๒.๒ ตรวจอาคารที่พักอาศัย ด้านการปฏิบัติตาม<br />

ระเบียบว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของทาง<br />

ราชการ, การรักษาความปลอดภัยประจำอาคาร, การป้องกัน<br />

และระงับอัคคีภัยประจำอาคาร และเรื่องอื่นๆ จำนวน<br />

๘ หน่วย ๑๗ พื้นที่ได้แก่ สม. (๖ พื้นที่), สนผ.กห., อท.ศอพท.,<br />

รภท.ศอพท., กง.กห., รวท.อท.ศอพท., ศพปน.พท.ศอพท.<br />

(๒ พื้นที่), และ ศอว.ศอพท. (๔ พื้นที่)<br />

๑.๓ การตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ดำเนินการ<br />

ตรวจสอบให้กับ นขต.กห., บก.ทท. และเหล่าทัพ ตามแผน<br />

การตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ประจำปีงบประมาณ ๖๐<br />

โดยการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/งาน/<br />

โครงการที่มีความสำคัญ หรือเป็นงาน/โครงการที่มีความ<br />

เสี่ยงสูง หรือเชื่อมโยงกับหลายส่วนราชการ หรือที่ได้รับ<br />

มอบหมายจากปลัดกระทรวง และ/หรือคณะกรรมการ<br />

ตรวจสอบและประเมินผลประจำ กห. ในภาพรวมของ กห.<br />

(ระดับกระทรวง) จำนวน ๖ งาน/โครงการ ดังนี้<br />

๑.๓.๑ โครงการพัฒนาและปรับปรุง รร.ตท.<strong>สป</strong>ท.<br />

ระยะที่ ๓ ของ บก.ทท.<br />

๑.๓.๒ โครงการจัดตั้ง กรม ร.๒ พล.นย. ของ ทร.<br />

๑.๓.๓ งานปรับปรุงท่าเทียบเรือ หมายเลข ๑๒<br />

ทลท.กทส.ฐท.สส. ของ ทร.<br />

๑.๓.๔ โครงการขยายขีดความสามารถในการ<br />

ผลิตดินส่งลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด (ระยะที่ ๒)<br />

ของ <strong>สป</strong>. (รวท.อท.ศอพท.)<br />

๑.๓.๕ โครงการปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ข.<br />

๑๙/ก (ระยะที่ ๓) ช่วงที่ ๓ ของ ทอ.<br />

๑.๓.๖ โครงการปรับปรุงกองบิน และ รร.การบิน<br />

ของ ทอ.<br />

๑.๔ การพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง<br />

โดยพิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวกับการรายงาน<br />

ทรัพย์สินหรือเงินราชการเสียหาย สูญหาย ขาดบัญชี หรือ<br />

เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต รวมทั้งรายงานผลการสอบสวน<br />

ข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ<br />

สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับ<br />

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ และข้อบังคับ<br />

กห. ว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสียหายแก่เงินราชการ<br />

หรือทรัพย์สินของทางราชการ อันเนื่องมาจากการกระทำ<br />

ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๔๒ (ขกล. ๔๒) นำเรียน<br />

152


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

รมว.กห. เพื่อกรุณาทราบ และแจ้งกระทรวงการคลังทราบ,<br />

การพิจารณานำเรียน รมว.กห. เพื่อพิจารณาอนุมัติการ<br />

ผ่อนชำระ และอนุมัติผู้ค้ำประกันการผ่อนชำระกรณีผิดสัญญา<br />

ลาศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง<br />

กำหนด และการพิจารณาโต้ตอบหนังสือระหว่างกระทรวง<br />

หน่วย<br />

หน่วย<br />

เงิน/<br />

ทรัพย์สิน<br />

ราชการ<br />

เสียหาย<br />

สูญเสีย<br />

ทุจริต<br />

ยักยอก<br />

เงิน/<br />

ทรัพย์สิน<br />

ราชการ<br />

จำนวน/<br />

โครงการ<br />

ทุจริต<br />

จัดซื้อ<br />

จัดจ้าง<br />

ประเภทรายงาน (เรื่อง)<br />

ทุจริต<br />

ไม่ปฏิบัติ<br />

ยักยอก<br />

ตาม<br />

น้ำมัน<br />

กฎหมาย ลาศึกษา<br />

เชื้อเพลิง<br />

หรือ<br />

ระเบียบ<br />

การคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน<br />

การตรวจเงินแผ่นดิน กับส่วนราชการในสังกัด กห. โดย<br />

สตน.กห. ได้รายงานทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย สูญหาย<br />

เงินขาดบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต จำนวน ๑๒๘ เรื่อง<br />

รวมมูลค่าความเสียหาย ๘๗๘,๗๔๘,๖๘๖ บาท ดังนี้<br />

เบิกค่า<br />

รักษา<br />

พยาบาล<br />

เท็จ<br />

การสอบทาน<br />

ณ ที่ตั้งงาน/โครงการ เชิญหน่วยมาชี้แจง<br />

เบิกค่า<br />

เช่าบ้าน<br />

เท็จ<br />

ณ ที่ตั้งงาน/โครงการ<br />

และเชิญหน่วยมาชี้แจง<br />

<strong>สป</strong>. ๓ - ๓ -<br />

บก.ทท. ๓ ๒ ๑ -<br />

ทบ. ๔ ๒ ๒ -<br />

ทร. ๓ ๒ - ๑<br />

ทอ. ๔ ๑ ๑ ๒<br />

รวม ๑๗ ๗ ๗ ๓<br />

รวมมูล<br />

ค่าความเสียหาย<br />

(บาท)<br />

บก.ทท. ๑๐ ๓ - - ๒ ๑ - - ๑๖ ๑๑,๖๕๒,๗๘๐<br />

ทบ. ๕๙ ๑๑ - ๒ - - ๑ - ๗๓ ๖๕๖,๙๘๐,๗๖๓<br />

ทร. ๑๒ - - - - - - - ๑๒ ๑๐,๔๐๔,๘๒๗<br />

ทอ. ๑๒ ๔ ๑ - ๕ ๑ ๑ - ๒๔ ๑๙๙,๓๙๖,๙๑๗<br />

<strong>สป</strong>. ๑ - - - ๑ ๑ - - ๓ ๓๑๓,๔๐๐<br />

รวม ๙๔ ๑๘ ๑ ๒ ๘ ๓ ๒ - ๑๒๘ ๘๗๘,๗๔๘,๖๘๖<br />

๒. งานสำคัญอื่นๆ<br />

๒.๑ สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ<br />

ตรวจสอบและประเมินผลประจำ กห. (ค.ต.ป.ประจำ กห.) ซึ่งมี<br />

พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง ร.น. เป็นประธานกรรมการ และ<br />

ผอ.สตน.กห. เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยจัดการประชุม<br />

เดือนละ ๑ ครั้ง และทำหน้าที่สอบทานและติดตาม ตรวจสอบ<br />

ประเมินผลโครงการ แนวทางการตรวจสอบและประเมินผล<br />

ชื่อแผนงาน<br />

การสอบทาน<br />

ณ ที่ตั้งงาน/โครงการ เชิญหน่วยมาชี้แจง<br />

แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้<br />

(บก.ทท., ทบ., ทร., ทอ.)<br />

- ๑<br />

แผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ๔ ๑<br />

รวม ๔ ๒<br />

รวม<br />

ภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ดังนี้<br />

๒.๑.๑ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลโครงการ/<br />

งานของ นขต.กห., บก.ทท. และเหล่าทัพ จำนวนทั้งสิ้น ๑๗ งาน/<br />

โครงการ ซึ่งได้เชิญหน่วยที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง จำนวน ๗ งาน/<br />

โครงการ, เข้าทำการสอบทาน ณ ที่ตั้งโครงการ จำนวน ๗ งาน/<br />

โครงการ และได้เชิญหน่วยที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงและเข้าทำการ<br />

สอบทาน ณ ที่ตั้งโครงการ จำนวน ๓ งาน/โครงการ<br />

๒.๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานภายใต้แผนงานบูรณาการ และแผนงานสำคัญตามที่ ค.ต.ป. ประจำ กห.<br />

กำหนด จำนวน ๒ แผนงาน<br />

153


ผลการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๒.๒ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม./ปฏิบัติ<br />

ราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง พล.ต.ภราดร<br />

จินดาลัทธ ผอ.สตน.กห. เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ<br />

สอบสวนข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินงานโครงการของ<br />

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)<br />

๒.๓ จัดเจ้าหน้าที่ชุดตรวจ ตรวจสอบความถูกต้องและ<br />

ให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการ<br />

ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหน้า<br />

(สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า) ตามที่รมว.กห. (ปล.กห. รับคำสั่งฯ)<br />

ได้กรุณาอนุมัติเมื่อ ๓ พ.ค.๖๐ ณ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย<br />

อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ระหว่าง ๒๙ พ.ค. - ๒ มิ.ย.๖๐ เพื่อให้<br />

พร้อมรับการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก ในประเด็น<br />

ของแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน<br />

การบัญชี และการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งการสอบทาน<br />

ระบบการควบคุมภายในของหน่วยให้เกิดความถูกต้อง<br />

เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ<br />

๒.๔ การตรวจประเมินกิจกรรม ๕ส ให้นขต.<strong>สป</strong>. ในฐานะ<br />

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรม ๕ส<br />

ระหว่าง ๒๘ ก.พ. - ๒๒ มี.ค.๖๐ โดย ปล.กห. ได้กรุณา<br />

แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการอำนวยการ<br />

ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ๕ส ของ <strong>สป</strong>. จำนวน ๔ คณะ<br />

ตามคำสั่ง <strong>สป</strong>. ที่ ๔๔/๒๕๔๔ ลง ๑๔ มิ.ย.๕๔ ดังนี้<br />

๒.๔.๑ คณะกรรมการอำนวยการดำเนินการ<br />

กิจกรรมตามโครงการ ๕ส ของ <strong>สป</strong>. โดยมี รอง ปล.กห.<br />

สายงานด้านกำลังพล เป็นประธาน<br />

๒.๔.๒ คณะอนุกรรมการส่งเสริมกิจกรรม ๕ส<br />

โดยมี รอง จก.สม. เป็นประธาน<br />

๒.๔.๓ คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์กิจกรรม<br />

๕ส โดยมี ลก.<strong>สป</strong>. เป็นประธาน<br />

๒.๔.๔ คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผล<br />

กิจกรรม ๕ส โดยมี ผอ.สตน.กห. เป็นประธาน และ ผอ.กตร.<br />

สตน.กห. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ<br />

๒.๕ การรายงานความคืบหน้าการดำเนินคดี กรณีการ<br />

จัดซื้อเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ วัตถุระเบิด (GT 200)<br />

ซึ่ง รมว.กห. ได้กรุณาอนุมัติให้สตน.กห. เป็นหน่วยรับผิดชอบ<br />

ในภาพรวมของ กห. ในการประสานกับส่วนราชการทั้งใน<br />

และนอก กห. ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าของ<br />

การดำเนินการทางคดีดังกล่าว และสรุปรายงานความคืบหน้า<br />

นำเรียน รมว.กห. ทราบตามห้วงระยะเวลาที่เหมาะสม โดย<br />

กำหนดห้วงเวลาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานความคืบหน้า<br />

การดำเนินคดีฯ ทุกวงรอบ ๖ เดือน (ก.พ. และ ส.ค.) ซึ่ง สตน.กห.<br />

ได้สรุปรายงานความคืบหน้าการดำเนินคดีฯ ครั้งแรก นำเรียน<br />

รมว.กห. เมื่อ ๒๑ ต.ค.๕๙<br />

๒.๖ การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน<br />

และแนวทางการตรวจสอบตามคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างของ <strong>สป</strong>.<br />

เมื่อ ๔ พ.ย.๕๙ ณ ห้องอเนกประสงค์ สตน.กห. ชั้น ๕ อาคาร<br />

<strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

๒.๗ การจัดอบรมให้ความรู้แก่กำลังพล เรื่อง การ<br />

พัฒนาระบบสารสนเทศของ สตน.กห. เมื่อ ๑๗ พ.ค.๖๐<br />

ณ ห้องอเนกประสงค์ สตน.กห. ชั้น ๕ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน)<br />

๒.๘ การฝึกอบรมระบบงานความรับผิดทางละเมิด<br />

และแพ่ง ระหว่าง ๕ - ๖ ก.ย.๖๐ ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์<br />

ทสอ.กห. ชั้น ๖ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) โดยเชิญเจ้าหน้าที่<br />

จากกรมบัญชีกลางมาเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมขั้นตอน<br />

การทำงานของระบบงานความรับผิดทางละเมิดและแพ่งให้<br />

กับข้าราชการของ นขต.<strong>สป</strong>. จำนวนทั้งสิ้น ๖๔ นาย โดยแบ่ง<br />

การฝึกอบรมออกเป็น ๒ รุ่น รุ่นละ ๑ วัน เพื่อให้ข้าราชการ<br />

ของ นขต.<strong>สป</strong>. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องดังกล่าว มีความรู้ความ<br />

เข้าใจขั้นตอน วิธีการใช้งาน ระบบงาน ความรับผิดทางละเมิด<br />

และแพ่ง และเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้มี<br />

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น<br />

154<br />

๒.๙ การอบรมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการ<br />

ปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการตรวจสอบภายใน ระหว่าง<br />

๑๔ - ๑๕, ๑๘ - ๒๐ ก.ย.๖๐ ณ ห้องอเนกประสงค์


Office of the Permanent Secretary for Defence<br />

สตน.กห. ชั้น ๕ อาคาร <strong>สป</strong>. (ศรีสมาน) โดยให้ข้าราชการ<br />

ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ<br />

การตรวจสอบมาเป็นผู้บรรยาย<br />

๒.๑๐ กิจกรรมการสัมมนาการตรวจสอบภายในสัมพันธ์<br />

กห. ประจำปีงบประมาณ ๖๐ ระหว่าง ๒๘ - ๒๙ พ.ย.๕๙<br />

ณ โรงแรมชัยนาทธานี อ.เมือง จ.ชัยนาท โดยเชิญผู้ตรวจสอบ<br />

ภายในสังกัด กห. (ฝตส.รอ., สตน.ทหาร., สตน.ทบ., สตน.ทร.,<br />

สตน.ทอ. และ สตน.กห.) เข้าร่วมการสัมมนา เพื่อให้การ<br />

ประสานงานเกิดความแน่นแฟ้น และมีการแลกเปลี่ยน<br />

เรียนรู้ประสบการณ์ในการตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่อง<br />

รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องจาก<br />

การตรวจสอบที่ผ่านมาอย่างบูรณาการ และยั่งยืน ก่อให้เกิด<br />

การพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบ<br />

ภายในของ กห. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการปฏิบัติงาน<br />

เป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน<br />

๒.๑๑ การจัดการเรียนการสอนภายในหน่วย (Unit<br />

School) ของ สตน.กห. ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น ๕ อาคาร <strong>สป</strong>.<br />

(ศรีสมาน) เป็นประจำทุกวันพุธ โดย หน.นขต.สตน.กห.<br />

(ระดับกอง) จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกกำลังพล หรือ นตส.<br />

ประจำส่วนราชการใน <strong>สป</strong>. ที่มีความรู้ความสามารถในการ<br />

ตรวจด้านต่างๆ หรือกำลังพลที่ผ่านการอบรมหลักสูตร<br />

ต่างๆ จากภายนอก มาเป็นผู้บรรยาย เพื่อพัฒนาความรู้<br />

ความสามารถ และทักษะของกำลังพลให้ได้รับการศึกษา<br />

อบรม และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง<br />

๒.๑๒ ส่งข้าราชการเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ<br />

ภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการตรวจสอบของ<br />

กรมบัญชีกลาง, สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์,<br />

สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย, โครงการอบรม<br />

หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ (CGIA)<br />

ของกรมบัญชีกลาง และหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง<br />

๒.๑๓ ส่งข้าราชการเข้าศึกษาอบรมหลักสูตรต่างๆ<br />

ในต่างประเทศ เช่น หลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยหัวเฉียว<br />

เมืองเซียะเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลักสูตร<br />

ภาษาอังกฤษระยะสั้น ณ เมืองเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย<br />

๒.๑๔ ผอ.สตน.กห. นำคณะ รอง ผอ.สตน.กห. และ<br />

หน.นขต.สตน.กห. (ระดับกอง) เข้าพบ พล.อ.บุณยวัจน์<br />

เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอทราบแนวทางการตรวจ<br />

และข้อเสนอแนะของสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อให้การปฏิบัติงาน<br />

มีความสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับแนวทาง<br />

การปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อ ๓๑ ต.ค.๕๙<br />

ณ สำนักงาน ป.ป.ช. จ.นนทบุรี<br />

๒.๑๕ ได้จัดทำคู่มือนายทหารตรวจสอบภายในประจำ<br />

ส่วนราชการใน <strong>สป</strong>. พ.ศ.๒๕๖๐ เพื่อให้การปฏิบัติงานของ<br />

นายทหารตรวจสอบภายในประจำส่วนราชการใน <strong>สป</strong>. มีความ<br />

ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมี<br />

แนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน<br />

ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ ่มมากขึ้นและ<br />

เป็นที่ยอมรับของหน่วยรับตรวจ ซึ่ง ปล.กห. ได้กรุณาอนุมัติ<br />

ให้ใช้คู่มือดังกล่าวแล้ว เมื่อ ๔ พ.ค.๖๐<br />

155


พิมพ์ที่ หจก. อรุณการพิมพ์<br />

โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

http://opsd.mod.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!